เปิดแฟ้มไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์นักล่า

Page 1




ISBN : 978-616-527-722-8 ราคา : 65 บาท สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส ห้ามน�ำส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไป ลอกเลียนแบบ ท�ำส�ำเนา ถ่ายเอกสาร หรือน�ำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับ อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางส�ำนักพิมพ์เท่านั้น ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึงเป็นของบริษัทนั้นๆ

ผู้แต่ง Olivia Brookes ภาพประกอบ Peter Scott, Simon Mendez, Studio Inklink, David Wright และ John Sibbick ผู้แปล อารดา กันทะหงษ์ DINOSAURS ON FILE: PREDATORS Copyright © 2011 Orpheus Books Limited. Thai language translation rights arranged with MIS Publishing Co., Ltd., through Arika Interrights Agency. บรรณาธิการบริหาร ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ | ประสานงานฝ่ายผลิต อิสรีย์ แจ่มข�ำ, ชนาภัทร พรายมี | ศิลปกรรม ภรณีย์ สนองผัน, วณิชยา ตันเจริญลาภ | พิสจู น์อกั ษร บุษกร กูห้ ลี | ประสานงานสือ่ สิง่ พิมพ์ บุษกร กูห้ ลี | ฝ่ายการตลาด วราลี สิทธิจนิ ดาวงศ์ พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จ�ำกัด | ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา เสริม พูนพนิช จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส 213/3 ซอยพัฒนาการ 1 (สาธุประดิษฐ์ 34 แยก 6) แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-2294-8787 www.MISbook.com

จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ชั้น 19 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 www.se-ed.com

กรณีต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมาก กรุณาติดต่อฝ่ายการตลาด ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 เพื่อรับส่วนลดพิเศษ หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ�ำ ้ หน้าขาดหาย ส�ำนักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยน ให้ใหม่ โดยส่งมาเปลี่ยนตามที่อยู่ด้านบน หรือติดต่อส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ)



สารบัญ บทน�ำ

ซีโลไฟซิส อัลโลซอรัส คอมพ์ซอกนาทัส อาร์คีออปเทอริกซ์ บาริโอนิกซ์ ไดโนนีคัส สไปโนซอรัส สตรูธิโอไมมัส

5

6 8 10 12 14 16 18 20

4

โอวิแรปเตอร์ อัลเบอร์โตซอรัส เทอริซิโนซอรัส

22 24 26

คาร์โนทอรัส ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ดรรชนี

28 30 32


บทน�ำ ไดโนเสาร์หลายชนิดเป็นสัตว์กินพืชที่ไม่ดุร้ายอันตราย

และมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ หาต้นไม้ใบหญ้ากินเป็นอาหาร แต่กม็ หี ลายชนิดทีแ่ สนจะร้ายกาจ พวกมันคอยจ้องขย�ำ้ สัตว์อนื่ ๆ เพื่อกินเนื้อเป็นอาหาร ไดโนเสาร์นักล่าเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเทอโรพอด ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในบรรดา อสูรร้ายที่โหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ เทอโรพอดสามารถเดินวิง่ ด้วยสองขาหลังอันทรงพลัง พวกมันมีแขนสัน้ มีกรงเล็บส�ำหรับการ ตะปบจับ และมีล�ำคอโค้งยาว บางชนิดรูปร่างใหญ่มหึมา อย่างเจ้าไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่มี ขนาดยาวถึง 12 เมตร แต่บางชนิดก็รูปร่างเล็กเท่ากับแมวเท่านั้น หนึ่งในพวกเทอโรพอดขนาด เล็กอาจเป็นบรรพบุรุษของนก และอาจมีขนปกคลุมตามตัว ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือออร์นิโธไมมิด มีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศในปัจจุบัน และมีลักษณะคล้ายนกที่บินไม่ได้ทั่วๆ ไปคือ เป็น นักวิ่งจอมพลัง สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่มักออกล่าเหยื่อตามล�ำพัง โดยใช้ฟันคมกริบดุจมีดสั้น กัดฉีกเนื้อของเหยื่อ ส่วนสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กลงมามักออกล่าเหยื่อเป็นฝูง เพื่อง่ายต่อการ ล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าพวกมัน เราเรียกไดโนเสาร์ล่าเนื้อโดยรวมๆ ว่าเทอโรพอด ถึงแม้ไม่ใช่เทอโรพอดทุกชนิดที่กินเนื้อ เป็นอาหารก็ตาม อย่างเช่นพวกเทอริซโิ นซอร์ทกี่ นิ พืชเป็นอาหาร และยังมีชนิดอืน่ ๆ ทีก่ นิ แต่ปลา และแมลงเท่านั้น

5


ซี โลไฟซิส ลักษณะ : หัวเพรียวยาวคล้ายนกกระสา ล�ำคอ

โค้งยาว ล�ำตัวเล็กกะทัดรัด ขายาว เท้าคล้าย นกและมีนวิ้ เท้า 3 นิว้ แขนสัน้ และมีนวิ้ มือเป็น กรงเล็บ 3 นิว้ หางยาว (ครึง่ หนึง่ ของความยาว ทัง้ หมด) เพือ่ ถ่วงความสมดุลของล�ำตัวส่วนหน้า

พบที่ไหนและเมื่อไร : พื้นที่กึ่งทะเลทราย ในทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อ 225 ล้านปีที่แล้ว (ยุคไทรแอสสิก) เหยื่อ :

กิ้งก่าและไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก เช่น เทคโนซอรัสและรีวัลโตซอรัส

ลักษณะเด่น :

ศัตรูนักล่า : ไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่น และพาราซูเชียนซึ่ง เป็นสัตว์เลื้อยคลานคล้ายจระเข้และกินเนื้อเป็นอาหาร

รูปร่างเพรียว กระดูกมีน�้ำหนักเบาและเป็น โพรงกลวง ขายาวส�ำหรับการวิ่งระยะสั้นด้วยความเร็วสูง กรงเล็บส�ำหรับการกดตรึงร่างเหยื่อ ซี่ฟันโค้งแหลมคมคล้ายใบเลื่อย

เครือญาติ : โกจิราซอรัส โพโดเกซอรัส เซกีซอรัส (ทวีป

อเมริกาเหนือ) และโปรคอมพ์ซอกนาทัส (ทวีปยุโรป)

ซีโลไฟซิสอาจเป็นฝูงนักล่าที่เหี้ยมโหดที่สุด พวกมันโจมตี เหยื่อด้วยการตีวงล้อมก่อนจะกระโจนรุม (การอยู่รวมกัน เป็นฝูงยังช่วยป้องกันการถูกโจมตีจากนักล่าขนาดใหญ่กว่าอีก ด้วย) ทันทีทเี่ จอเหยือ่ ฝูงซีโลไฟซิสไม่รรี อทีจ่ ะกระโจนใส่ทนั ที

ซีโลไฟซิสแต่ละตัวสามารถใช้ปากฉีกเนื้อเหยื่อได้เพียง ชัว่ พริบตา หากเป็นเหยือ่ ขนาดเล็ก มันสามารถกลืนลงท้อง ได้ทั้งตัว หากเป็นเหยื่อขนาดใหญ่ มันจะใช้กรงเล็บช่วย จับ ก่อนจะฉีกเนื้อเป็นชิ้นๆ ด้วยซี่ฟันคมกริบ

ซีโลไฟซิสมีขนาดยาว 3 เมตร

6


ปราดเปรียวและเพรียวเบา

ซีโลไฟซิสมีความหมายว่า “โครงสร้างกลวง” ตามโครงสร้างกระดูกของมัน ในยุคที่ซีโลไฟซิสและเทอโรพอดชนิดอื่นๆ มีชีวิตอยู่นั้น ไดโนเสาร์ยัง ไม่แพร่พันธุ์มากนัก กลุ่มผู้ศึกษาซากฟอสซิสได้ท�ำการขุดพื้นที่หนึ่งในเขตโกสต์แรนช์ ของรัฐนิวเม็กซิโก และพบกะโหลก ศีรษะของซีโลไฟซิสจ�ำนวน ซัลโตพัสเป็นเทอโรพอด มากในขนาดแตกต่าง ขนาดเล็กเท่าแมว กันไป แต่รวมอยูด่ ว้ ย กัน เชือ่ ว่าไดโนเสาร์ พวกนี้อาจอยู่รวมกัน เป็นฝูง และเสียชีวิตลง เพราะภาวะน�้ำท่วมฉับพลัน นักวิทยาศาสตร์พบโครงกระดูก 2 ชิ้นของตัวที่โตเต็มวัย และมีโครง กระดูกเล็กจิ๋วซ้อนอยู่ภายใน เราจึงเชื่อ ว่าซีโลไฟซิสเป็นสัตว์กนิ เนือ้ พวกเดียวกัน แต่งานวิจยั ชิน้ ใหม่บง่ ชีว้ า่ โครงกระดูก เล็กจิ๋วนั้นไม่ใช่ของซีโลไฟซิสตัวลูก แต่เป็นของจระเข้ตัวเล็กที่ถูกทับแบนอยู่ใต้ ไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่กว่า ซีโลไฟซิสมีความยาวพอๆ กับรถยนต์คันเล็ก แต่กลับมีน�้ำหนักเบาพอๆ กับ เด็กอายุ 8 ขวบเท่านั้น ซีโลไฟซิสเป็นไดโนเสาร์ชนิดทีส่ องทีข่ นึ้ ไปท่องอวกาศ โดยกะโหลกศีรษะของ มันถูกน�ำขึ้นไปพร้อมกับยานอวกาศเอนดีเวอร์ ในปี ค.ศ. 1998 เฮอร์รีราซอรัส หรือ “สัตว์เลื้อยคลานของเฮอร์รีรา” เป็นชื่อที่เรียกตาม วิกทอเรีย เฮอร์รีรา ซึ่งเป็นชาวไร่ในทวีปอเมริกาใต้ที่ค้นพบโครงกระดูกของมัน เป็นครั้งแรก

เฮอร์รรี าซอรัส (ด้านบน) เป็นหนึง่ ในสัตว์ นักล่าขนาดใหญ่ทสี่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์ มัน มีขนาดใหญ่เป็นสามเท่าของอีโอแรปเตอร์ (ด้านล่าง) ซึง่ เชือ่ กันว่าอาจเป็นเหยือ่ ของ เฮอร์รีราซอรัสด้วย สัตว์ที่ตัวใหญ่และ แข็งแรงกว่ามันมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ ซอโรซูคสั ซึง่ เป็นสัตว์เลือ้ ยคลานลักษณะ คล้ายจระเข้ แต่เนื่องจากเฮอร์รีราซอรัส สามารถยืนตรงได้ และมีชว่ งขายาว เราจึง เชื่อว่ามันอาจเป็นนักล่าที่เก่งกาจกว่า อีกสองชนิดที่กล่าวมา

หนึ่งในรุ่นบุกเบิก

อีโอแรปเตอร์ (“จอมโจรแห่งรุง่ อรุณ”) เป็น หนึง่ ในไดโนเสาร์รนุ่ บุกเบิกในประวัตศิ าสตร์ มันอาศัยอยู่ในป่าของทวีปอเมริกาใต้เมื่อ ประมาณ 228 ล้านปีทแี่ ล้ว มีซฟี่ นั ทัง้ แบบ ของสัตว์กนิ พืชและสัตว์กนิ เนือ้ จึงอาจไม่ใช่ นักล่าสายพันธุ์เหี้ยมโหดที่สุด

อีโอแรปเตอร์มขี นาดเท่ากับ สุนัขจิ้งจอกเท่านั้น มันยาว ประมาณ 1 เมตร และหนัก เพียง 11 กิโลกรัม

7


อัลโลซอรัส ลักษณะ : เป็นเทอโรพอดสายพันธุย์ กั ษ์ เดินด้วยสอง

ขาหลังที่มีขนาดมหึมา มีอุ้งเท้าเหมือนนก แต่ละข้าง มีนวิ้ เท้าซึง่ เป็นกรงเล็บขนาดใหญ่ 3 นิว้ มีแขนค่อนข้างสัน้ แต่แข็งแรง อุ้งมือแต่ละข้างมีนิ้ว 3 นิ้ว มีหัวขนาด ใหญ่ มีสันนูนเหนือดวงตาทั้งสองข้างและอีกอันหนึ่ง พาดยาวลงมาถึงจมูก นอกจากนีย้ งั มีเขีย้ วโค้งยาวและ คมกริบคล้ายมีดสัน้ จ�ำนวนถึง 60 ซี่

พบทีไ่ หนและเมือ่ ไร : ทุง่ โล่งกว้างในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 155-145 ล้านปีที่แล้ว (ปลายยุคจูแรสสิก)

อาหาร : เนื้อสัตว์ เหยื่อ : ไดโนเสาร์กินพืช เช่น อะแพโทซอรัส คามา

ลักษณะเด่น :

รูปร่างปราดเปรียว กระดูกขากรรไกรขยายกว้างได้ ราซอรัส แคมป์โทซอรัส ดิโพลโดคัส และสเตโกซอรัส

ซีฟ่ นั แหลมส�ำหรับเคีย้ วเนือ้ และ เครือญาติ : กิกา้ โนโตซอรัส (ทวีปอเมริกาใต้), คาร์ชา กระดูกอ่อน โรดอนโทซอรัส (ทวีปแอฟริกาเหนือ), นีโอเวนเอเทอร์ กรงเล็บยาวส�ำหรับกดตรึงร่าง (ทวีปยุโรป), อะโครแคนโทซอรัส (ทวีปอเมริกาเหนือ) เหยื่อ ในการล่าเหยื่อซึ่งอาจเป็นพวกซอโรพอดที่ อ่อนแอหรือยังเด็กอยู่ พวกอัลโลซอรัสจะซุ่ม รอจังหวะที่เหมาะสม ก่อนจะพุ่งกระโจนเข้า ใส่และขย�ำ้ เหยื่อด้วยฟันแหลมคม ขณะใช้ กรงเล็บตะครุบกดเหยื่อไว้ มันจะใช้ฟัน ฉีกเนื้อของเหยื่อให้เร็วที่สุด

นักล่ารุ่นเล็ก สองตัว (ออร์ นิโธเลสทิส) ก� ำ ลั ง รอกิ น ซากเนื้อสัตว์ ที่เหลือ

เจ้าหงอนคู่

ไดโลโฟซอรัส (ด้านซ้าย) เป็นเทอโรพอดรุ่นเล็ก อีกหนึง่ สายพันธุข์ องยุคจูแรสสิก มันมีหงอนคูท่ ดี่ เู ด่น แปลกตา ซึ่งเพศผู้อาจใช้ส�ำหรับดึงดูดความสนใจ ของเพศเมีย มันยังเป็นดาวเด่นในภาพยนตร์เรื่อง จูแรสสิคพาร์ค เมื่อปี ค.ศ. 1993 อีกด้วย แต่ ผูส้ ร้างได้เติมแต่งลักษณะเด่นอืน่ เข้าไป คือมีแผงคอ และน�ำ้ ลายอาบพิษ (ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง)

8

อัลโลซอรัสมีขนาดยาว 9.7 เมตร และความสูง 2.5 เมตร


อัลตัวโต...

อัลโลซอรัสมีความหมายว่า “กิง้ ก่าทีแ่ ตกต่าง” ทีไ่ ด้ชอื่ นีก้ เ็ พราะรูปทรง กระดูกของมันเมื่อครั้งที่ถูกค้นพบครั้งแรก (ปี ค.ศ. 1877) แตกต่าง จากของไดโนเสาร์ชนิดอื่น อัลโลซอรัสยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “อัลตัวโต” อีกด้วย อัลโลซอรัสเคยเป็นหนึ่งในเทอโรพอดขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่พวก ไทรันโนซอริดจะมีวิวัฒนาการขึ้นในอีก 70 ล้านปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานกระดูกซี่โครงที่หักร้าวของเจ้าอัลโลซอรัส คาดว่ามันอาจบาดเจ็บจากการล้ม เนื่องจากเสียการทรงตัวขณะวิ่ง เหมืองไดโนเสาร์คลีฟแลนด์ลอยด์ ในรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ครัง้ หนึ่งอาจเคยเป็น “กับดักนักล่า” แม้ยุคนั้นสัตว์กินพืชจะมีจ�ำนวนมากกว่า สัตว์กนิ เนือ้ ขนาดใหญ่ แต่เรากลับพบซากเจ้าอัลโลซอรัสในเหมืองถึง 40 ตัว มากกว่าซากเหยือ่ ของพวกมันเสียอีก คาดว่าเหมืองแห่งนีอ้ าจเคยเป็นบ่อโคลน เมือ่ สัตว์กนิ พืชตกลงไปจึงเป็นเป้าล่อให้ฝงู นักล่ารุมตามลงไปสูค่ วามตายด้วย อัลโลซอรัสมีอายุเฉลี่ยประมาณ 22-28 ปี

9

กะโหลกศีรษะของอัลโลซอรัสมีขนาด ยาวประมาณ 1 เมตร มีโพรงจมูกใหญ่ บ่งชี้ว่ามันมีประสาทรับกลิ่นยอดเยี่ยม ส่วนกระดูกขากรรไกรล่างถูกยึดไว้อย่าง หลวมๆ เพือ่ ให้มนั อ้าปากได้กว้างขึน้ ฟัน ของเจ้าอัลโลซอรัสหลุดร่วงง่าย แต่กง็ อก ขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ และซากฟอสซิลของ ไดโนเสาร์ที่เราพบมักเป็นของเจ้าอัลโล ซอรัสนี่เอง


คอมพ์ซอกนาทัส ลักษณะ : เป็นเทอโรพอดตัวเล็ก รูปร่างคล้ายนก ขนาดเท่าไก่งวง แต่ลำ� ตัวเพรียวบาง และมีหาง เรียวยาว เดินไปมาด้วยสองขา ขาคู่หน้ามีขนาดสั้น แต่ละมือมีนิ้วเป็น กรงเล็บ 2 นิ้ว ล�ำคอยาวและเคลื่อนไหวได้รอบ หัวยาว เรียวลงไปถึงจมูก นอกจากนี้ยังมีกระดูกขากรรไกรที่ เต็มไปด้วยซี่ฟันโค้งคมกริบ

พบทีไ่ หนและเมือ่ ไร : หมูเ่ กาะในพืน้ ทีก่ งึ่ ทะเลทราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง

ของทวีปยุโรปในปัจจุบัน เมื่อ 150 ล้านปีที่แล้ว (ปลายยุคจูแรสสิก)

อาหาร : เนื้อสัตว์ ปลา และแมลง เหยื่อ : สัตว์จำ� พวกกิ้งก่า เช่น บาวาริซอรัส และแมงปอ เครือญาติ : จูราเวนเอเทอร์ (ทวีปยุโรป), ซิโนซอรอปเทอริกซ์และ

ซิโนคาลลิออปเทอริกซ์ (ประเทศจีน), โคลูรสั และแม้แต่ไทรันโนซอรัส ก็อาจเป็นญาติห่างๆ อีกด้วย (ทวีปอเมริกาเหนือ) โครงกระดูกของคอมพ์ซอกนาทัสคล้ายกับของ อาร์คีออปเทอริกซ์มาก

ลักษณะเด่น :

เป็นนักวิ่งลมกรดที่เร่งความเร็วได้ยอดเยี่ยม รูปร่างปราดเปรียว ง่ายต่อการไล่ล่าเหยื่อในป่ารก หรือพุ่มไม้หนาแน่น กรงเล็บแหลมคมส�ำหรับการตะปบสังหารเหยื่อ สายตาเป็นเลิศส�ำหรับจับความเคลือ่ นไหวของเหยือ่

เป็นญาติกับพวกนกหรือเปล่านะ

ทัง้ คอมพ์ซอกนาทัสและอาร์คอี อปเทอริกซ์มชี วี ติ อยู่ในยุคเดียวกันและพื้นที่เดียวกัน พวกมันมี รูปร่าง ขนาด และสัดส่วนใกล้เคียงกัน โครงกระดูก ก็คล้ายกันมาก จนนักวิทยาศาสตร์ตา่ งเข้าใจผิด มาหลายปีวา่ ซากฟอสซิลของทัง้ สองคือสัตว์ชนิด เดียวกัน ถึงแม้เจ้าคอมพ์ซอกนาทัสจะมี ขนสั้นๆ ปกคลุมตามตัว คล้าย ขนอ่อนของนก แต่งานวิจยั เมือ่ เร็วๆ นี้ ระบุว่าเทอโรพอดสายพันธุ์อื่นๆ เช่น ไดโนนีคัส และโอวิแรปเตอร์กลับน่าจะมีความ ใกล้ชิดกับพวกนกมากกว่า

ซิโนซอรอปเทอริกซ์มขี นเหมือนนก และเป็นญาติกับคอมพ์ซอกนาทัส คอมพ์ซอกนาทัสมี ขนาดยาว 1 เมตรและ สูง 30 เซนติเมตร

10


สวยพิฆาต...

คอมพ์ซอกนาทัสมีความหมายว่า “กระดูกขากรรไกรทีส่ วยงาม” หมายถึง ลักษณะโครงกระดูกที่ดูบอบบางสมส่วนของมันนั่นเอง มีการค้นพบซากกระดูกของพวกกิง้ ก่าในร่างของคอมพ์ซอกนาทัสด้วย พวกมันถูกกลืนลงไปทั้งตัว คอมพ์ซอกนาทัสเคยถูกเชื่อว่าเป็นไดโนเสาร์พันธุ์จิ๋วที่สุด จนกระทั่งมี การค้นพบไดโนเสาร์มีขนในทวีปเอเชียตะวันออกเมื่อไม่นานมานี้ คอมพ์ซอกนาทัสเป็นไดโนเสาร์สายพันธุแ์ รกทีเ่ ราพบโครงกระดูกของมัน ในสภาพสมบูรณ์ทสี่ ดุ ตัวอย่างโครงกระดูกชิน้ แรกพบในประเทศเยอรมนี ในช่วงปี ค.ศ. 1850 ส่วนอีกชิ้นพบในประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1972 แต่ตัวที่พบในประเทศเยอรมนีนี้มีขนาดเล็กกว่า และคาดว่าจะมีอายุ น้อยกว่าด้วย คอมพ์ซอกนาทัสมีน�้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม กลุ่มผู้ศึกษาเกี่ยวกับซากฟอสซิลเคยเชื่อว่าคอมพ์ซอกนาทัสมีนิ้วมือ ติดกันเป็นพังผืด จึงเข้าใจว่าพวกมันอาจเป็นสัตว์นำ�้ ที่มีครีบ

อาร์คีออปเทอริกซ์

คอมพ์ซอกนาทัส

เจ้าคอมพ์ซอกนาทัสด�ำรงชีพด้วย การล่าพวกแมลงบินเร็วตัวเล็กๆ กับพวกกิ้งก่า มันจึงต้องมีสายตา เฉียบคมและฝีเท้าเป็นเลิศ

11


อาร์คอี อปเทอริกซ์ ลักษณะ : เป็นไดโนเสาร์จำ� พวกนก เหมือน

นกตรงที่มีขนส�ำหรับช่วยบิน และมีวงปีก กว้าง รูปร่างเล็กจิว๋ น�ำ้ หนักเบา และเหมือน ไดโนเสาร์ตรงที่มีกระดูกขากรรไกร ซี่ฟัน แหลม ล�ำคอยาว กรงเล็บมือมี 3 นิว้ กรงเล็บ “เท้าพิฆาต” และหางยาวแข็งเหมือนกระดูก

พบที่ไหนและเมื่อไร : หมู่เกาะที่มีพื้นที่

กึง่ ทะเลทราย ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของทวีปยุโรป ในปัจจุบนั พบเมือ่ 150 ล้านปีทแ่ี ล้ว (ปลาย ยุคจูแรสสิก)

อาหาร : เนื้อสัตว์ ปลา และแมลง เหยือ่ : สัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมขนาดเล็ก และ กิ้งก่าที่อาศัยตามต้นไม้หรือบนพื้นดิน

เครือญาติ : ไดโนนีคสั (ทวีปอเมริกาเหนือ),

ไมโครแรปเตอร์ เวโลซีแรปเตอร์ และ โอวิแรปเตอร์ (ทวีปเอเชีย) แม้อาร์คีออปเทอริกซ์จะดูคล้ายคอมพ์ซอกนาทัส ซึ่งเป็น ไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่มันน่า จะเป็นสายพันธุ์ใกล้ชิดกับพวกเทอโรพอดขนาดเล็กที่มีขน ปกคลุมมากกว่า (ดูรูปด้านขวา) ความสามารถ ในการบินนี้ช่วยให้มันทั้งโฉบ ตะครุบเหยือ่ และพุง่ หนีการโจมตี ของศัตรูนกั ล่าอืน่ ๆ ได้อย่างสบาย ซึง่ บางทีศตั รูนกั ล่านัน้ อาจเป็น เจ้าคอมพ์ซอกนาทัสนัน่ เอง

พัฒนาการโครงสร้างกระดูกช่วงอก ของเจ้าอาร์คีออปเทอริกซ์ไม่ สมบูรณ์เหมือนของพวก นกยุคใหม่...

...มันจึงต้องใช้วิธี “กระโดด” ช่วง สัน้ ๆ ก่อนโผบินขึน้ ฟ้า หรือต้องร่อน ลงมาจากที่สูง

ลักษณะเด่น :

อาร์คอี อปเทอริกซ์ มี ข นาดยาว 50 เซนติเมตรและสูง 15 เซนติเมตร (ใกล้ เคียงกับขนาดของ นกกางเขน)

ทั้งสมอง ดวงตา และใบหูมีขนาดใหญ่ ท�ำงาน สัมพันธ์กันเพื่อความคล่องแคล่วในการบิน วงปีกมีขนปกคลุมเหมือนนก และมีนำ�้ หนัก เบา เหมาะส�ำหรับทัง้ การบินและการร่อน ขนของมันช่วยกักเก็บความอบอุ่น ให้ร่างกาย กรงเล็บและฟันแหลมคมส�ำหรับสังหารเหยื่อ

12


บรรพบุรุษนก...

อาร์คีออปเทอริกซ์มีความหมายว่า “วงปีกโบราณ” เป็นนกดึกด�ำบรรพ์รุ่นแรกสุดที่เคยถูกค้นพบ อาร์คอี อปเทอริกซ์อาศัยอยูใ่ นพืน้ ทีแ่ ห้งแล้ง ไม่มตี น้ ไม้สงู ใหญ่ แต่เป็นพุม่ ไม้เตีย้ ๆ เราเชือ่ ว่ามันอาจเคยอาศัยอยูต่ ามพืน้ ดิน มาก่อนก็เป็นได้ ในปี ค.ศ. 1999 นิตยสารเนชัน่ แนล จีโอกราฟฟิกได้รายงานการค้นพบ “อาร์คีโอแรปเตอร์” ซึง่ น่าจะเป็น “ตัวเชือ่ ม ที่หายไป” ระหว่าง ชูวูยา เป็น พวกนกกับพวกไดโนเสาร์ แต่ต่อมา ไดโนเสาร์ ได้มกี ารพิสจู น์วา่ ซากฟอสซิลนัน้ กลับ ลักษะคล้ายนก มาจาก ถูกปลอมแปลงขึ้นจากการรวมซาก ประเทศมองโกเลีย ฟอสซิลหลายชนิดเข้าด้วยกัน อาร์คอี อปเทอริกซ์อาจไม่ใช่บรรพบุรษุ สายตรงของพวกนกในปัจจุบนั แต่อาจสืบเชือ้ สายมาจากตระกูลดึกด�ำบรรพ์ทสี่ ดุ ของนก นกต่างสายพันธุ์ กันอาจมีบรรพบุรุษไดโนเสาร์จากต่างตระกูลกันก็ได้ ซากฟอสซิลทุกชิ้นของอาร์คีออปเทอริกซ์ได้มาจาก เหมืองหินใกล้กบั เมืองโซเลนโฮว์เฟน ประเทศเยอรมนี ซากฟอสซิลส่วนใหญ่ยังมีรอยของขนปรากฏให้เห็น ขนทีป่ กคลุมปีกและหางมีลกั ษณะโครงสร้างเดียวกับ ขนที่ใช้บินของนกในปัจจุบัน ส่วนขนที่ปกคลุมล�ำตัว มีลักษณะปุกปุยและอ่อนนุ่ม ซึ่งน่าจะคล้ายขนสัตว์ ที่เป็นเส้นละเอียดมากกว่าขนส�ำหรับบิน

จอมโจรตัวจิ๋ว

ไมโครแรปเตอร์ เป็นเทอโรพอดตัวจิ๋วจาก ทวีปเอเชีย มันมีวงปีกเล็ก มีขนส�ำหรับบิน เหมือนของนกปกคลุมทั้งแขนและขา มี น�ำ้ หนักเบาและสามารถร่อนถลาในระยะใกล้ๆ ได้ และด้วยความยาวเพียง 80 เซนติเมตร บวกกับน�้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม มันจึงเป็น ไดโนเสาร์พันธุ์เล็กจิ๋วที่สุด นักวิทยาศาสตร์ เชือ่ ว่าไมโครแรปเตอร์เป็นสายพันธุใ์ กล้ชดิ กับ พวกนกดึกด�ำบรรพ์ เช่น เจ้าอาร์คอี อปเทอริกซ์

13



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.