ISBN : 978-616-527-719-8 ราคา : 65 บาท สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส ห้ามน�ำส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไป ลอกเลียนแบบ ท�ำส�ำเนา ถ่ายเอกสาร หรือน�ำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับ อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางส�ำนักพิมพ์เท่านั้น ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึงเป็นของบริษัทนั้นๆ
ผู้แต่ง Olivia Brookes ภาพประกอบ Julius T. Csotonyi, Steve Kirk, Simon Mendez, Nicki Palin, Peter Scott, John Sibbick และ Studio Inklink ผู้แปล อารดา กันทะหงษ์ DINOSAURS ON FILE: THE AGE OF GIANTS Copyright © 2011 Orpheus Books Limited. Thai language translation rights arranged with MIS Publishing Co., Ltd., through Arika Interrights Agency. บรรณาธิการบริหาร ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ | ประสานงานฝ่ายผลิต อิสรีย์ แจ่มข�ำ, ชนาภัทร พรายมี | ศิลปกรรม ภรณีย์ สนองผัน, วณิชยา ตันเจริญลาภ | พิสจู น์อกั ษร บุษกร กูห้ ลี | ประสานงานสือ่ สิง่ พิมพ์ บุษกร กูห้ ลี | ฝ่ายการตลาด วราลี สิทธิจนิ ดาวงศ์ พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จ�ำกัด | ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา เสริม พูนพนิช จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส 213/3 ซอยพัฒนาการ 1 (สาธุประดิษฐ์ 34 แยก 6) แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-2294-8787 www.MISbook.com
จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ชั้น 19 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 www.se-ed.com
กรณีต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมาก กรุณาติดต่อฝ่ายการตลาด ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 เพื่อรับส่วนลดพิเศษ หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ�ำ ้ หน้าขาดหาย ส�ำนักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยน ให้ใหม่ โดยส่งมาเปลี่ยนตามที่อยู่ด้านบน หรือติดต่อส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ)
สารบัญ บทน�ำ
5
แผ่นทวีปเคลื่อนที่ 6 ต�ำนานไดโนเสาร์ 8 โลกในยุคไทรแอสสิก 10 โลกในยุคจูแรสสิก 12 ยุคจูแรสสิกในทวีปอเมริกาเหนือ 14 ยุคจูแรสสิกในทวีปเอเชีย 16 ยุคจูแรสสิกในทวีปยุโรป 18
4
โลกในยุคครีเทเชียส ยุคครีเทเชียสในทวีปอเมริกาเหนือ ยุคครีเทเชียสในทวีปเอเชีย ยุคครีเทเชียสในทวีปยุโรป
20 22 24 26
ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ การค้นพบไดโนเสาร์ ดรรชนี
28 30 32
บทน�ำ ไดโนเสาร์เคยครองโลกยาวนานถึง 165 ล้านปี ในช่วงเวลานั้นไม่มีสัตว์บกขนาดใหญ่อื่นใด
อาศัยอยูด่ ว้ ยเลย ไดโนเสาร์บางชนิดตัวใหญ่เทอะทะและคอยาว ซึง่ ถือเป็นสัตว์บกทีม่ ขี นาดใหญ่ ที่สุดในประวัติศาสตร์ และไดโนเสาร์บางชนิดอย่างเจ้าไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ก็ถือเป็นสัตว์กิน เนื้อที่ดุร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เช่นกัน ไม่น่าแปลกใจเลยที่บรรดาสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้ถูก ขนานนามเป็นภาษาละตินว่า “ไดโนเสาร์” ซึ่งแปลว่า “กิ้งก่าวายร้าย” นั่นเอง ไดโนเสาร์สามารถยืนและเดินไปมาด้วยขาที่เหยียดตรง ซึ่งอยู่ในต�ำแหน่งใต้ลำ� ตัวพอดี ไม่มี สัตว์เลื้อยคลานชนิดใดที่มีขาเหยียดตรงได้อย่างนี้ สัตว์เลื้อยคลานส่วนใหญ่ รวมทั้งพวกกิ้งก่า และเต่าในยุคปัจจุบัน ต่างก็มีขายื่นออกมาจากข้างล�ำตัว ไดโนเสาร์มีอยู่ด้วยกันหลายร้อยสาย พันธุ์ และหลายๆ สายพันธุ์ก็มีขนาดเล็กกว่าเจ้ายักษ์ใหญ่ที่เรารู้จักกันดี บ้างก็มีขนาดเล็กเท่า แมว และบ้างก็เป็นนักวิ่งลมกรดไม่แพ้นกกระจอกเทศ เราแบ่งไดโนเสาร์ออกเป็นสองกลุ่มตามรูปทรงกระดูกสะโพกหรือกระดูกเชิงกรานของมัน นั่นคือพวกซอริสเชียน หรือไดโนเสาร์ “สะโพกกิ้งก่า” และพวกออร์นิทิสเชียน หรือไดโนเสาร์ “สะโพกนก” ไดโนเสาร์ซอริสเชียนคือพวกเทอโรพอดทัง้ หมด (สัตว์กนิ เนือ้ ) และพวกซอโรพอด ที่มีขนาดใหญ่มหึมา คอยาว และหางยาว อย่างเจ้าดิโพลโดคัส ส่วนไดโนเสาร์ออร์นิทิสเชียนคือ พวกไดโนเสาร์อื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแผ่นกระดูก เขา เกราะหุ้ม หรือหนามแหลม ยุคของไดโนเสาร์เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 230 ล้านปีก่อน และเสื่อมสลายลงเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ในช่วงเวลาอันยาวนานนัน้ (มนุษย์ยคุ ใหม่มวี วิ ฒ ั นาการขึน้ เมือ่ ประมาณ 100,000 ปีนเ่ี อง) ไดโนเสาร์ได้ขยายสายพันธุ์ไปทั่วทุกแห่งบนโลก เมื่อกาลเวลาผ่านไป บรรดา ไดโนเสาร์เหล่านี้ก็มีวิวัฒนาการปรับตัวตาม มีสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นและ สูญพันธุ์ลง
5
แผ่นทวีปเคลื่อนที่ เปลือกโลกของเราถูกแบ่งออกเป็น
พันเจ
ีย
แผ่นขนาดใหญ่หลายชิ้น หรือที่ เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แผ่น เหล่านีป้ ระกอบด้วยแผ่นทวีป และพื้นมหาสมุทร พวกมัน เคลื่อนที่อย่างช้าๆ ประมาณ ปีละ 1 เซนติเมตร ในช่วง เวลาตามธรณีกาลนั้น ทุกทวีป เคลื่อนที่ไปรอบๆ โลก ปะทะชน โลกในยุคไทรแอสสิก กันบ้าง และแยกจากกันบ้าง เมื่อ ประมาณ 250 ล้านปีที่แล้ว พวกมันเคลื่อนที่มาบรรจบกัน รวมเป็น “มหาทวีป” ผืนแผ่นเดียว ที่เรียกกันว่าพันเจีย ในขณะนั้นไม่มีมหาสมุทรแอตแลนติก และทวีปอเมริกา พนื้ มห ก็ยงั เชือ่ มติดกับทวีปแอฟริกาและทวีปยุโรปอยู่ แต่หลังจากนัน้ เป็นต้นมา าสมุ ทร แผ่นทวีปทั้งหมดก็แยกออกจากกัน แม้บางแผ่นยังเชื่อม ติดกันอยู่ เช่น อนุทวีปอินเดียและทวีปเอเชีย เปลือกโลก ความร้อนไหลผ่าน
ทวีปเคลื่อนที่ได้อย่างไร ่นท
แผ
ความร้อนไหลผ่านชัน้ แมนเทิล ซึง่ เป็นชัน้ ทีอ่ ยู่ ด้านในของโลก ประกอบด้วยชัน้ หินกึง่ แข็ง กึ่งหลอมเหลว เมื่อหินที่ได้รับความร้อน สูงจะลอยตัวและปะทุขึ้นไปในทิศทาง ต่างๆ พื้นมหาสมุทรที่ชั้นผิวโลกจะ แยกจากกันอย่างช้าๆ ในที่สุดเมื่อ หินเหล่านี้เย็นตัวลง พวกมันจะจม กลับสู่ที่เดิม และได้รับความร้อน สูงจนลอยตัวขึ้นมาสู่ชั้นผิวโลก อีกครั้ง วัฏจักรที่วนเวียนไปมา นี้เองที่ท�ำให้พื้นมหาสมุทรแยก จากกันและแผ่นทวีปเคลื่อนที่
วปี
แมนเทิล (เนือ้ โลก)
แกนโลก
6
การเปลี่ยนแปลงของโลก
แผนทีเ่ หล่านีแ้ สดงให้เห็นภาพของโลก ในยุคไดโนเสาร์ และการเปลีย่ นแปลง ทีเ่ กิดขึน้ ในช่วง 165 ล้านปี เริม่ จาก ยุคไทรแอสสิก แผ่นทวีปหลักทัง้ หมด เชือ่ มติดกันเป็นผืนแผ่นใหญ่ เรียกว่า มหาทวีปพันเจีย ต่อมาในยุคจูแรสสิก ทวีปต่างๆ เริม่ เคลือ่ นทีจ่ ากกัน พันเจีย ถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือลอเรเซียและ กอนด์วานา การเคลื่อนที่แยกจาก กันด�ำเนินต่อมาเรื่อยๆ จนถึงยุค ครีเทเชียส บางครั้งระดับน�้ำทะเลก็ เพิ่มสูงขึ้นจนท่วมแผ่นดิน และไม่ แห้งเหือดหายไป รูปร่างแผ่นทวีป ต่างๆ จึงเปลี่ยนไปด้วย
ลอเรเซีย กอนด์วา
นา
โลกในยุคจูแรสสิก
โลกในยุคครีเทเชียส
โลกในยุคปัจจุบัน
7
ต�ำนานไดโนเสาร์ ต�ำนานไดโนเสาร์เริ่มต้นขึ้นยาวนานก่อนที่พวกมันจะถือก�ำเนิด
เรื่องราวส่วนใหญ่ของไดโนเสาร์ เกิดขึ้นในช่วงธรณีกาล 2 ยุค คือ ยุ ค จู แ รสสิ ก และยุ ค ครี เ ทเชี ย ส ยุคจูแรสสิกนั้น (หน้าขวา, ด้าน บน) ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของพวก ซอโรพอดยั ก ษ์ ใ หญ่ อ ย่ า งเจ้ า ดิโพลโดคัส ด้วยขนาดอันมโหฬารนี้ เองทีช่ ว่ ยให้พวกมันรอดพ้นจากศัตรู นักล่าจอมกระหายเลือดอย่างเจ้า อัลโลซอรัส ต่อมาพวกเทอโรพอด ขนาดเล็กและมีขนปกคลุมแห่ง ยุคจูแรสสิกก็ได้ววิ ฒ ั นาการไปเป็น สัตว์จำ� พวกนก และในยุคครีเทเชียส (หน้าขวา, ด้านล่าง) พวกซอโรพอด คอยาวในเกือบทุกพืน้ ทีก่ ถ็ กู แทนที่ ด้วยไดโนเสาร์กนิ พืชสายพันธุอ์ นื่ ๆ รวมถึงพวกที่มีเกราะหุ้ม หรือมี อวัยวะอื่นๆ ที่ใช้ป้องกันภัยจาก ศัตรูนักล่า
ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 230 ล้านปีก่อนเสียอีก พวกมันมี วิวฒ ั นาการมาจากสัตว์จำ� พวกปลา ซึง่ เป็นสัตว์ประเภทแรกทีม่ กี ระดูก สันหลัง เมื่อประมาณ 360 ล้านปีก่อน สัตว์จำ� พวกปลาบางชนิดได้ พัฒนาความสามารถในการคืบคลานบนบก ซึง่ ต่อมาได้กลายมาเป็น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ แต่เจ้าสัตว์พวกนี้ยังคงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ แหล่งน�้ำซึ่งถูกใช้ส�ำหรับการวางไข่ ไข่ของพวกมันปกคลุมด้วยเมือก หยุ่นคล้ายเจลลี และต้องใช้เวลาอีก 50 ล้านปีทีเดียวกว่าที่สิ่งมีชีวิต เหล่านี้จะสามารถวางไข่บนบกได้ และแล้ววิวัฒนาการของสัตว์เลื้อย คลานก็เริ่มต้นขึ้น ในยุคไทรแอสสิกเมือ่ 230 ล้านปีกอ่ น สัตว์เลือ้ ยคลานบางประเภท สามารถยืนตรงและเดินไปมาด้วยสองขา ซึ่งก็คือไดโนเสาร์นั่นเอง (ด้านล่าง) พวกไดโนเสาร์กนิ เนือ้ ต่างก็มขี าหลังทีท่ รงพลังส�ำหรับการ วิ่ง และแขนที่สั้นพร้อมกับกรงเล็บส�ำหรับการตะปบเกี่ยว ส่วนพวก ไดโนเสาร์กินพืชก็มีวิวัฒนาการมาจากเจ้าพวกกินเนื้อ พวกมันเริ่ม เดินไปมาด้วยสองขาหลังก่อน แต่พอถึงยุคจูแรสสิก ร่างของพวกมัน ก็ขยายใหญ่ขึ้นมากจนต้องลงมาเดินด้วยขาทั้งสี่แทน 1
2
4
3
รายชื่อ
1. ซีโลไฟซิส 2. พลาทีโอซอรัส 3. ลีสโทรซอรัส 4. ออร์นิโธซูคัส 5. โปรเทอโรซูคัส
5
8
3 1 4 2
5
รายชื่อ
1. ดิโพลโดคัส 2. ไดโลโฟซอรัส 3. อาร์คีออปเทอริกซ์ 4. แบรกคิโอซอรัส 5. อัลโลซอรัส 6. คามาราซอรัส
6
4
3
1
รายชื่อ
1. อิกัวโนดอน 2. สไตราโคซอรัส 3. โคริโทซอรัส 4. ไทรันโนซอรัส 5. สตรูธิโอไมมัส 6. มอร์กานูโคดอน 5
6
2
9
โลกในยุคไทรแอสสิก ยุคไดโนเสาร์เริม่ ต้นขึน้ ในยุคไทรแอสสิก เมือ่ 251-208 ล้านปีทแ่ี ล้ว
ขณะนัน้ แผ่นดินทัง้ หมดบนโลกยังเชือ่ มติดกันเป็นมหาทวีปพันเจีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรกว้างใหญ่ที่ชื่อว่าพันทาลัสซา ความเปลีย่ นแปลงของระดับน�ำ้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ และลดลง ท�ำให้รปู ทรง ของพื้นที่ชายฝั่งเปลี่ยนไปด้วย ทวีปต่างๆ บนแผนที่โลกในยุค ปัจจุบันจึงดูไม่เหมือนเดิม ในยุคไทรแอสสิก อนุทวีปอินเดียยังอยู่ ระหว่างทวีปแอฟริกาและทวีปแอนตาร์กติกา และอยูห่ า่ งจากตอนใต้ ของทวีปเอเชียมาก ต่างกับปัจจุบันโดยสิ้นเชิง
ยุคไทรแอสสิกในทวีปอเมริกาใต้
ในยุคไทรแอสสิก เกือบทุกหนแห่งมีสภาพ อากาศร้อนและแห้งแล้ง พืชพรรณไม้ ทีแ่ ข็งแรงทนทานเท่านัน้ ทีส่ ามารถมีชวี ติ รอดในสภาพกึง่ แล้งนีไ้ ด้ หนึง่ ในไดโนเสาร์ สายพั น ธุ ์ แ รกที่ ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น คื อ เจ้ า เฮอร์รรี าซอรัส เป็นนักล่าทีม่ คี วามปราด เปรียว ขนาดยาวประมาณ 3 เมตร และ อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้เมื่อเกือบ 230 ล้านปีกอ่ น ส่วนไดโนเสาร์กนิ พืชที่ ถือก�ำเนิดขึ้นใน 10 ล้านปีต่อมา คือเจ้า ริโอยาซอรัส มันมีนำ�้ หนักตัวถึง 1 ตัน ทีเดียว ในขณะเดียวกัน ไดโนเสาร์กนิ พืช
คอยาวทีอ่ าศัยอยูใ่ นทวีปยุโรปคือเจ้า พลาทีโอซอรัส มันมีอุปนิสัยรักสงบ นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีโดยเจ้า ออร์นิโธซูคัสจอมวายร้าย เจ้าตัวนี้ ไม่ใช่ไดโนเสาร์ แต่เป็นพวกสัตว์เลือ้ ย คลานยุคโบราณทีเ่ รียกว่า เธอโคดอนท์ ส่วนเจ้าซัลโทพัสมีขนาดยาวเพียง 60 เซนติเมตร ซึง่ ไม่ใช่ปญ ั หาส�ำหรับ เจ้าพลาทีโอซอรัสเลย นักล่าตัวจิ๋วนี้ จะกินเพียงแมลงและหนอนเป็นอาหาร
ออร์นิโธซูคัส
พลาทีโอซอรัส
ซัลโทพัส
10
พั น ท า ลั ส ซ า
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาใต้
ซีโลไฟซิส
ปราดเปรียวว่องไว
ทวีปเอเชีย
พ
ทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ 225 ล้านปีก่อน เต็มไปด้วยไดโนเสาร์มากมาย ซีโลไฟซิส มีขนาดยาว 3 เมตร และสูงประมาณ เอวของมนุษย์ มันมีรูปร่างเพรียวบาง ขา คูห่ ลังแข็งแรง และเป็นนักวิง่ ลมกรด ซาก ฟอสซิลของพวกมันจ�ำนวนหลายร้อยชิน้ ถูก ค้นพบทีโ่ กสต์แรนช์ รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา คาดว่า พวกมันอาจอยู่รวมกันเป็น ฝูงใหญ่ และเสียชีวิตลง ทวีปเอเชีย พร้อมกันในช่วงที่เกิด ภาวะน�้ำท่วม ตะวันออก
จีย เ ัน
ทวีปยุโรป
เฉียงใต้
ทะเลเทธีส ทวีปแอฟริกา
อนุทวีปอินเดีย
ทวีปออสเตรเลีย
คิวนีโอซอรัสเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถร่อนได้ มันมีขนาดยาว 72 เซนติเมตร “ปีก” ของมันคือแผงกระดูกซี่โครงซึ่งยื่นออกมาจาก ล�ำตัวและถูกหุ้มไว้ด้วยผิวหนัง ใช้ส�ำหรับช่วยชะลอความเร็วขณะ ร่อนถลาจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้น
11
โลกในยุคจูแรสสิก ในยุคจูแรสสิกเมือ่ 208-144 ล้านปีกอ่ น มหาทวีปพันเจียได้
เริ่มเคลื่อนตัวแยกจากกัน พื้นที่ทางเหนือซึ่งเรียกว่าลอเรเซีย ถูกแยกออกเป็นทวีปเล็กๆ และหมูเ่ กาะมากมายโดยปรากฏการณ์ ระดับน�้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนกอนด์วานาซึ่งเป็นพื้นที่ทาง ใต้ยังคงติดกันเป็นมหาทวีปผืนใหญ่ผืนเดียวอยู่ ขณะที่ทวีป ต่างๆ เคลื่อนตัวแยกจากกันทีละน้อยนั้น สภาพภูมิอากาศก็ เริ่มเปลี่ยนแปลง มีฝนและความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ พืชพรรณต่างๆ ก็เจริญงอกงามไปทั่ว โดยเฉพาะพืชจ�ำพวก สน จนกลายเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของบรรดา ไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ทวีปแอฟริกาในยุคจูแรสสิก
ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหญ่ที่สุดของยุค จูแรสสิกส่วนหนึง่ อาศัยในทวีปแอฟริกา หนึ่งในนั้นคือเจ้าจีราฟฟาไททัน ซึ่งเป็น สายพันธุ์แบรกคิโอซอริด มีความยาว ประมาณ 25 เมตร และน�ำ้ หนักมากกว่า ช้าง 10 เชือกทีเดียว ด้วยขาหน้าที่ยาว และล�ำคอทีส่ งู ชะลูด มันจึงมีความสูงมาก ถึง 13 เมตร เจ้าจีราฟฟาไททันมีฟันซี่ เล็กเรียวแหลมส�ำหรับการกัดทึ้งใบไม้ จากต้นสนสูง รวมไปถึงต้นไม้พมุ่ เตีย้ ลง มาอย่างพวกปรงที่มีพุ่มคล้ายสับปะรด ส่วนไดโนเสาร์อีกสายพันธุ์ในแอฟริกา ซึง่ มีขนาดเล็กลงมาหน่อย แต่กไ็ ม่งา่ ยเลย
ทีจ่ ะต่อกรด้วย นัน่ คือเจ้าเคนโทรซอรัส มันมีแผงกระดูกทีแ่ ข็งแรงยืน่ ออกมา จากแผ่นหลัง และแท่งกระดูกแหลม ทีห่ าง เจ้าแท่งหนามแหลมตรงปลาย หางนี่เอง ที่กลายเป็นอาวุธตัวฉกาจ ของเจ้าไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ เจ้า เคนโทรซอรัสมีขนาดและน�้ำหนัก ประมาณเทียบเท่ากับรถยนต์ครอบครัว ขนาดใหญ่หนึง่ คัน และถูกจัดอยูใ่ นกลุม่ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะหรือสเตโกซอร์ มันเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกับเจ้า จีราฟฟาไททัน แต่สามารถเอือ้ มเด็ด ได้เฉพาะพืชพรรณไม้ทขี่ นึ้ เรีย่ พืน้ ดิน เท่านั้น
ทวีป อเมริกาเหนือ
กอ
นด
์วา
ทวีป อเมริกาใต้
แบรกคิโอซอรัส เคนโทรซอรัส
12
นา
ฝาแฝดเอลวิส?
เทอโรแดคทิลอัสคือหนึ่งใน พวกเทอโรซอร์หางสั้นสาย พันธุ์ใหม่ที่ถือก�ำเนิดขึ้นใน ยุคจูแรสสิก
ทวีปแอนตาร์กติกาในปัจจุบนั ถูกปกคลุม ด้วยน�ำ้ แข็งหนาเกือบทัง้ หมด แต่ในยุค จูแรสสิก มันกลับเป็นดินแดนทีป่ กคลุม ไปด้วยป่าไม้เขตอบอุน่ ไครโอโลโฟซอรัส (กิง้ ก่าหงอนแช่แข็ง) คือพวกเทอโรพอด ที่มีขนาดยาว 8 เมตร และครองทวีป แอนตาร์กติกาในช่วงเวลานั้น มันมี หงอนกระดูกบนหัวที่ดูโดดเด่นทีเดียว
ไซบีเรีย
ลอเ ร เซี ย
ทวีปเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้
ทวีปยุโรป
พันทาลัสซา
ทวีปแอฟริกา
ทะเลเทธีส อนุทวีปอินเดีย
ไครโอโลโฟซอรัส
ทวีปออสเตรเลีย
ยู เ ฮโลพั ส เป็ น พวก ซอโรพอดจากประเทศ จีน และมีขนาดยาว 15 เมตร
ทวีปแอนตาร์กติกา
13