องค์ประกอบศิลป์สำหรับนักถ่ายภาพ The Art of Composition for Photographer

Page 1

สรางสรรคมมุ มองแปลกใหมใหการถายภาพสมบูรณแบบดวยองคประกอบศิลป

องคป์ ระกอบศิลป์ สำหรับ

นัก ถ่ายภาพ

The Art of Composition for Photographer ● ถายภาพใหสวยดวยองคประกอบทางศิลปะ ● สะกดสายตาดวยองคประกอบศิลป ● เทคนิคสรางสรรคมม ุ มองในการถายภาพ

By Mr. Pookie Photographer : สุรพงษ์ บัวเจริญ

สัมผัสประสบการณ

ถายภาพเชิงศิลป

กับ Mr. Pookie ชางภาพมืออาชีพ & นายตากลอง เว็บมาสเตอร taKLONG.com

ีวีดีษ ด ม พรอิ เ ศ

สือ หนังา ค า ร

เพียง

199.-



องค์ประกอบศิลป์ ส�ำหรับนักถ่ำยภำพ

The Art of Composition for Photographer

By Mr. Pookie Photographer


องค์ประกอบศิลป์ส�ำหรับนักถ่ำยภำพ ISBN 978-616-527-200-1 ราคา 199 บาท พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2554 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยส�านักพิมพ์เอ็มไอเอส ห้ามน�าส่วนหนึ่งส่วนใด ของหนังสือเล่มนีไ้ ปลอกเลียนแบบ ท�าส�าเนา ถ่ายเอกสาร หรือน�าไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางส�านักพิมพ์เท่านั้น ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึงเป็นของบริษัทนั้นๆ

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�านักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุรพงษ์ บัวเจริญ. องค์ประกอบศิลป์ส�าหรับนักถ่ายภาพ.-- กรุงเทพฯ : เอ็มไอเอส, 2554. 360 หน้า. 1. การถ่ายภาพ. l. ชื่อเรื่อง. 771 ISBN 978-616-527-200-1

คณะผู้จัดท�า บรรณาธิการส�านักพิมพ์ ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ ผู้เขียน สุรพงษ์ บัวเจริญ ออกแบบรูปเล่ม ไพโรจน์ บรรจงใจรักษ์ ออกแบบปก ภรณีย์ สนองผัน พิสูจน์อักษร วารีรัตน์ แตงภู่ ประสานงานฝ่ายผลิต วราลี สิทธิจินดาวงศ์ ประสานงานสื่อสิ่งพิมพ์ บุษกร กู้หลี ฝ่ายการตลาด ชลพิชา ครื้นจิต, มยุรี ศรีมังคละ พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จ�ากัด ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา เสริม พูนพนิช จัดพิมพ์โดย : ส�านักพิมพ์เอ็มไอเอส 55, 57 ซอยพระรามที ่ 3 ซอย 53 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-2294-8787 www.MISbook.com

จัดจ�าหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ากัด (มหาชน) 1858/87-90 ชัน้ 19 อาคารเนชัน่ ทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 www.se-ed.com

หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ�้า หน้าขาดหาย ส�านักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ โดยส่งมาเปลี่ยนตามที่อยู่ด้านบน หรือติดต่อส�านักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ)


Introduction Introduction

“ภาพถ่ายของฉัน คือภาพนิง่ ในเฟรมสีเ่ หลีย่ ม ธรรมดา ทุกครั้งที่มองภาพในเฟรมสี่เหลี่ยมเหล่านั้น เหตุการณ์ต่างๆ ในภาพนิ่งได้แปรเปลี่ยนเป็นภาพ เคลือ่ นไหวอยูใ่ นความคิด จนสร้างความประทับใจได้ มากกว่าการเป็นแค่เพียงภาพถ่ายธรรมดา สิ่งที่ฉันรู้ ในเวลานี้คือ ฉันถ่ายภาพเพื่อความฝันและความสุข ของตัวเอง จากนัน้ ก็มอบภาพถ่ายเหล่านัน้ เพือ่ ส่งต่อ ความสุขให้คนอื่น” เพราะจุดเริ่มต้นจากการท่องเที่ยว ท�าให้ เด็กช่างคนหนึ่งเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มเก่าๆ ตัวหนึ่งที่ต้องหยิบยืมจากพี่สาว จากกล้องฟิล์มเก่าตัว นั้นพัฒนากลายเป็นกล้องฟิล์มระดับกึ่งอาชีพตัวแรก ของตัวเอง เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีการเรียนรู้และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง ท�าให้การถ่ายภาพสะดุดไปในระยะ เวลาหนึ่ง จนกระทั่งก้าวส�าคัญที่พลิกผันเข้ามาสู่การ ถ่ายภาพยุคดิจติ อลด้วยกล้องคอมแพกต์ความละเอียด สองล้านพิกเซลก็เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ขณะไปฝึกงานอยู่ ทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ จากนัน้ เป็นต้นมา ทุกวันทีเ่ ดินออกจาก บ้านจะต้องมีกล้องคอมแพกต์อยูใ่ นกระเป๋าตลอดเวลา เนือ่ งจากพกพาง่าย มีความคล่องตัวสูง สองปีถดั จากนัน้ การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่างชัดเจนอีกครั้ง โดย การเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR ตัวแรก เวลานั้น


ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะต้องเป็นนักถ่ายภาพ นอกจาก ความต้องการบันทึกความทรงจ�าจากการท่องเที่ยว เก็บไว้เท่านั้น จนกระทั่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปจนถึง ปัจจุบันนี้ การถ่ายภาพได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจนกลาย เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจ�าวันจนมิอาจมองข้ามไป ได้ จากคนที่เคยมองธรรมชาติผ่านสายตาทั้งสองก็ กลายมาเป็นการมองผ่านเลนส์ ด้วยช่องมองภาพสี่เหลี่ยมเล็กๆ กล้องถ่าย ภาพจึงเสมือนเป็นอวัยวะอย่างหนึ่งของร่างกาย ความจริงจังเพิม่ มากขึน้ จนมีอทิ ธิพลต่อชีวติ ประจ�าวัน ถึงขนาดมองทุกสิ่งทุกอย่างในเชิงของการถ่ายภาพ จนกลายเป็นความรักการถ่ายภาพในทีส่ ดุ เมือ่ ความ รักบังเกิดขึ้นมาแล้ว ความพยายามในการทีจ่ ะรักษา ความรักเอาไว้ก็คือ การท่องเที่ยวเพื่อถ่ายภาพอย่าง ต่อเนือ่ งทุกครัง้ ทีม่ โี อกาส เพราะการเป็นนักถ่ายภาพ ถ้าไม่เที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อถ่ายภาพก็คงไม่ ได้ภาพถ่ายกลับมา นักถ่ายภาพทีม่ ชี วั่ โมงบินสูง และ ผ่านสถานการณ์อันหลากหลายย่อมสามารถค้นหา ข้อบกพร่องของตัวเอง เพื่อพัฒนาวิธีการสร้างสรรค์ ภาพถ่ายได้ดีที่สุด เราจึงต้องขยันตลอดเวลา ตั้งแต่เด็กความชอบในวิชาศิลปะ การวาดรูป ได้ขีดได้เขียน ท�าให้เกิดความสุข เพลิดเพลินใจ และมีจิตส�านึกเรื่องความอ่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันเวลาผ่านไปสู่การถ่ายภาพยุคดิจิตอล การสร้าง งานตามจินตนาการของตนเองจึงกลับมาอีกครั้ง จากเดิมที่เคยจับพู่กันวาดภาพก็เปลี่ยนมาเป็นการจับ เมาส์เพื่อตกแต่งภาพ ในเวลานี้การถ่ายภาพดิจิตอลจึงเป็นค�าตอบที่ดีที่สุดในการสร้างงานทัศนศิลป์ของ ตัวเอง ความภูมิใจ สุขใจที่ได้ไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเก็บบันทึกความทรงจ�าเป็นภาพถ่ายให้ผู้อื่นดู


ทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างสรรค์ออกมานั้นยังคงเป็นแนวทางของ ตัวเอง การก�าหนดรูปแบบ วิธีการ และเรียนรู้ด้วยตนเอง อาจ ท�าได้ดบี า้ ง ไม่ดบี า้ ง แต่กย็ งั พยายามทีจ่ ะสร้างสรรค์ตอ่ ไป สมัยนี้ ช่างภาพหลายคนอาจไม่ได้เรียนมาทางสาขาวิชาถ่ายภาพโดยตรง แต่เกิดจากความพยายามฝึกฝนและเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียน รู้ไม่จ�าเป็นต้องรอให้ใครมาสอนเพราะเราสามารถสอนตัวเองได้ ต้องหัดทีจ่ ะเป็นครูให้ตวั เอง เรียนรูท้ จี่ ะค้นคว้าและหาข้อผิดพลาด ของตัวเอง ความขยันและอดทนอย่างไม่รจู้ กั เหน็ดเหนือ่ ยในแต่ละ วันจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้ตัวเรา นอกจากนี้ การมองภาพของคนที่มีผลงานที่ดีหรือ แปลกใหม่จะช่วยสร้างแรงผลักดันให้ตัวเราอยากสร้างผลงาน ที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน เราจึงต้องแข่งขันกับตัวเอง สร้างวินัยและ ความขยันอย่างไม่ย่อท้อในการที่จะท�าให้ตัวเองเกิดการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผมได้สร้างกฎเกณฑ์ให้กับ ตัวเองไว้อย่างหนึ่งว่า “ก่อนจะก้าวตามรอยเท้าของใคร จงก้ม มองหารอยเท้าของตัวเองให้เจอเสียก่อน” ไม่วา่ จะเรือ่ งใดถ้าเรา รู้จักตัวเองก็คงง่ายที่จะเดินไปสู่ความส�าเร็จ การถ่ายภาพสามารถสร้างงานได้ทกุ ทีท่ กุ เวลาขอเพียงแค่มแี สง เพราะการถ่ายภาพเป็นการเขียน ด้วยแสง รากศัพท์เดิมมาจากภาษากรีกสองค�าน�ามาประกอบกัน คือค�าว่า Phos ผสมกับค�าว่า Graphein ค�าว่า Phos หมายถึง Light (แสง) ส่วนค�าว่า Graphein หมายถึง Writing (การเขียน) เมื่อทั้งสองค�านี้ รวมกันจึงหมายถึง “การเขียนด้วยแสง” ก่อนจะท�าการเขียนด้วยแสงได้ใช่วา่ มีแค่กล้องก็จะเขียนด้วยแสง ให้สวยได้ เราจึงต้องมีความรู้ แม้จะมีความรู้แล้วก็ยังไม่เพียงพอ เราต้องมีจินตนาการและความคิดริเริ่ม อย่างสร้างสรรค์ เพือ่ สร้างงานให้มคี วามสมบูรณ์ทางศิลปะการถ่ายภาพ เพือ่ น�าไปสูผ่ ลงานภาพถ่ายทีท่ รง คุณค่า คุณค่าในทีน่ อี้ าจไม่ใช่คณ ุ ค่าส�าหรับทุกคน อาจไม่สวยงามจับใจส�าหรับทุกคน เพราะเราไม่สามารถ ถ่ายภาพเพื่อให้ทุกคนชอบเหมือนกันได้ คุณค่าในที่นี้จึงเป็นคุณค่าที่ท�าให้เกิดประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์


CONTENTs นิยามและการแบ่งประเภทของศิลปะ.............................................................................................2 นิยามขององค์ประกอบทางศิลปะ..................................................................................................8 ทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ (Elements of Art).......................................................................................................................10 1. จุด (Point)..........................................................................................................10 2. เส้น (Line)..........................................................................................................18 3. รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form)....................................................................46 4. ลักษณะผิว (Texture)...........................................................................................60 5. ส่วนสัด (Proportion)...........................................................................................75 6. สี (Color)..............................................................................................................83 7. น�้าหนักหรือค่าความอ่อนแก่ (Tone)...............................................................120 8. แสงและเงา (Light and Shade)............................................................................124 9. ทีว่ า่ ง (Space)......................................................................................................188 ทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักหรือหลักการทางศิลปะ (Principles of Art).................................................................................................................202 1. การซ�า้ (Repetition).............................................................................................202 2. จังหวะ (Rhythm)...............................................................................................209 3. ลวดลาย (Pattern)...............................................................................................213 4. การลดหลัน่ หรือการแปรเปลีย่ น (Gradation)...................................................218 5. ทิศทางและการเคลือ่ นไหว (Direction and Movement)...............................222 6. ความกลมกลืน (Harmony)..............................................................................228


7. การตัดกัน (Contrast).......................................................................................241 8. ดุลยภาพ (Balance)..........................................................................................248 9. เอกภาพ (Unity).................................................................................................253 การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)..................................................................................258 1. ส่วนประกอบภาพ (The Image Components)..................................................258 2. การก�าหนดจุดเด่นของภาพ (Dominance)........................................................261 3. การเน้น (Emphasis)..........................................................................................278 4. รูปแบบการจัดภาพ (Type of Composing)....................................................295 5. การเลือกฉากหน้าและฉากหลัง (Choosing Foreground and Background)..302 เทคนิคการสร้างสรรค์มมุ มอง....................................................................................................304 - การถ่ายภาพมุมเสย (Low Angle Viewpoint)..................................................304 - การถ่ายภาพมุมกด (High Angle Viewpoint)...................................................308 - การปรับมุมมองด้วยการเอียงกล้อง (Tilt Angle)....................................................310 - การสร้างมิติจากการโฟกัสที่ระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกล (Dimension by Focusing)......................................................................................314 - การสร้างความโดดเด่นด้วยการเบลอ (Making Blur)........................................320 - การสร้างภาพจากการสะท้อนพืน้ ผิว (Reflection/Mirror).................................322 - การสร้างลักษณะเด่นโดยใช้สญ ั ลักษณ์ตา่ งๆ (Impact of Symbol)........................328 - การสร้างสรรค์ภาพถ่ายจากน�า้ (Impact of Water).............................................334 - การสร้างภาพแปลกโดยการเปลีย่ นทางยาวโฟกัสของเลนส์ (Zoom Effect)......342


ทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะเกี่ยวกับ องค์ประกอบพื้นฐำนทำงศิลปะ (Elements of Art) “เชือ่ ไหมว่าสิง่ ทีเ่ ราพบเห็นในชีวติ ประจ�าวันเหล่านีส้ ามารถน�ามา ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะภาพถ่ายได้”

จุด (Point) จุด คือ ทัศนธาตุทมี่ องเห็นได้ (Visual Element) มีขนาดเล็กทีส่ ดุ ในองค์ประกอบทัง้ หมด แม้จะเป็นองค์ประกอบทีเ่ ล็กแต่เป็นส่วนประกอบที่ ส�าคัญ เพราะเป็นต้นก�าเนิดขององค์ประกอบทางศิลปะหลายชนิด จุดไม่มีมิติ ไม่มีความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนา แต่ ถ้ามีขนาดใหญ่ขึ้นจะสามารถหาขนาดได้ แปรสภาพเกิดเป็นรูปร่างได้ ยกตัวอย่างเช่น จุดที่เกิดจากผงฝุ่นขนาดเล็กที่ตกอยู่บนกระดาษ สีขาว ถ้าเล็กมากจะไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า นอกจากใช้กล้องก�าลัง ขยายสูงจึงจะมองเห็น ถ้าใหญ่ขึ้นมาอีกนิดก็จะเป็นจุดที่เกิดจากการจรด ปลายปากกา ซึ่งเป็นจุดที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นมาและมองเห็นได้ด้วยตา เปล่า ถ้าใหญ่ขึ้นไปอีก เช่น จุดที่อยู่บนลวดลายของผิวหนังสัตว์ ซึ่งเป็นจุด ทีเ่ กิดขึน้ เองตามธรรมชาติ อาจจะใหญ่จนมองเห็นเป็นรูปร่างทางเรขาคณิต ได้ เช่น ลายจุดกลมของเสือดาว

10AThe

Art of Composition for Photographer


เมื่อน�าจุดมาเรียงซ�้ากันต่อเนื่องสามารถท�าให้เกิดเส้น ถ้าวางรวมกลุ่มกันจะกลายเป็นรูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว จุดยังสร้างให้เกิดความอ่อนแก่ของโทนสีได้ เช่น การวาดภาพโดยใช้จุดในการ ไล่นา�้ หนัก จุดแม้จะเป็นเพียงรอยแต้มขนาดเล็ก แต่เมือ่ ปรากฏอยูบ่ นพืน้ ทีว่ า่ งจะมีความหมายขึน้ มาทันที

The Art of Composition for Photographer 11


กำรจัดองค์ประกอบภำพ (Composition) ทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ (Elements of Art) และ หลักการทางศิลปะ (Principles of Art) เป็นแนวทางหนึง่ เพือ่ การมองวัตถุทจี่ ะน�ามาสร้างสรรค์ภาพ แม้วา่ หลักการที่กล่าวมาข้างต้นจะมีทฤษฎีมากมายในการน�าไปใช้งาน แต่ใช่ว่าทุกสิ่งจะท�าให้ได้ภาพที่มีคุณค่า ทางศิลปะได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่านักถ่ายภาพจะมีความช�านาญในการควบคุมกล้องจนได้ภาพที่มีความ คมชัด มีปริมาณแสงทีเ่ หมาะสม ตลอดจนเนือ้ หาที่นา่ สนใจ เกิดพลังดึงดูดและสวยงามแล้ว ภาพถ่ายจะมี ความสมบูรณ์ได้ตอ้ งมีหลักการจัดองค์ประกอบทีส่ วยงามด้วย การมีองค์ประกอบพืน้ ฐานทีส่ วยงาม แต่ถา้ ไม่รู้จักการจัดวางต�าแหน่งที่เหมาะสม องค์ประกอบพื้นฐานที่ว่าสวยอยู่แล้วก็อาจจะเป็นตัวท�าลายความ สวยงามของภาพรวมในภาพถ่ายได้ในทีส่ ดุ การจัดองค์ประกอบมีความส�าคัญมากส�าหรับงานประเภท 2 มิติ ทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ราบ ซึง่ การถ่ายภาพก็เป็นงานประเภทเดียวกัน การจัดองค์ประกอบแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้ 1. ส่วนประกอบภาพ (The Image Components) 2. การก�าหนดจุดเด่นของภาพ (Dominance) 3. การเน้น (Emphasis) 4. รูปแบบการจัดภาพ (Type of Composing) 5. การเลือกฉากหน้าและฉากหลัง (Choosing Foreground and Background)

1. ส่วนประกอบภำพ (The Image Components)

หลักทั่วไปในการสร้างงาน ส่วนประกอบภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนประธาน (Principal) คือ จุดสนใจหลักทีอ่ ยูใ่ นภาพ สามารถจัดวางอยูท่ ตี่ า� แหน่งใดของภาพ ก็ได้ เช่น ฉากหน้า (Foreground) ฉากกลาง (Middle-ground) ฉากหลัง (Background) โดยที่เมื่อจัด วางต�าแหน่งแล้วสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นจุดสนใจหลักที่ต้องการน�าเสนอ 258AThe

Art of Composition for Photographer


ส่วนรองประธาน (Subordination) คือ ส่วนประกอบที่ท�าหน้าที่เสริมให้ส่วนประธานเกิด ความส�าคัญ มีการเชื่อมโยงเพื่อเติมเต็มเรื่องราวหรือเหตุการณ์โดยรวมที่ปรากฏอยู่ในภาพ ท�าให้มีความ สมบูรณ์ แต่ถ้าส่วนของรองประธานไม่มีฉากหลังหรือรายละเอียดสนับสนุน อาจท�าให้ส่วนประธานไม่มี ความน่าสนใจของเรื่องราว ขาดการเชื่อมโยงได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องค�านึงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนประธานและรองประธานด้วยทุกครั้งที่มีการจัดองค์ประกอบภาพ

สถานที่: หมู่บ้านมอญ อ�าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ส่วนประธาน คือ เด็กผู้หญิงที่ก�าลังมองตรงมายังกล้อง ส่วนรองประธาน คือ สีหน้า แววตา ปาก และมือทีป่ ระกอบ กันเป็นท่าทาง ท�าให้เกิดการเชื่อมโยงด้านอารมณ์โดยรวม ของเด็ก The Art of Composition for Photographer 259


สถานที่: หมู่บ้านมอญ อ�าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

สถานที่: Alila Hotels & Resorts อ�าเภอชะอ�า จังหวัดเพชรบุรี

270AThe

Art of Composition for Photographer


การจัดองค์ประกอบภาพแบบแนวตั้ง โดยใช้จุดตัด 9 ช่องในแต่ละต�าแหน่ง

สถานที่: ตลาดน�้าด�าเนินสะดวก อ�าเภอด�าเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

สถานที่: Petronas Twin Towers, Kuala Lumpur,

The Art of Composition for Photographer 271


4. รูปแบบกำรจัดภำพ (Type of Composing) รูปของการจัดภาพมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบให้ความรู้สึกในการมองที่แตกต่างกัน ลักษณะ ของการน�าเสนอขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์ แต่ควรเลือกการน�ามาใช้ให้เหมาะสม การจัดวางภาพสามารถวางได้ทงั้ แนวตัง้ และแนวนอน โดยให้พจิ ารณาร่วมกันระหว่างขนาดและ ที่ว่างว่าสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น กรณีที่โครงสร้างโดยรวมของวัตถุมีความสูง การวางต�าแหน่งภาพแนวตั้ง จะดูสวยงามกว่าแนวนอน เป็นต้น การจัดภาพรูปแบบแนวนอน เป็นการจัดรูปแบบภาพทีเ่ น้นการน�าเสนอให้แผ่ขยายไปตามแนว ยาว ประกอบไปด้วยเส้นนอนเป็นเส้นหลัก ให้ความรู้สึกสงบนิ่ง ผ่อนคลาย เน้นจุดเด่นที่มีรูปร่าง รูปทรง โดยรวมเป็นแนวนอน มีรายละเอียดส่วนใหญ่อยู่ด้านยาวของภาพ

Model: Kate-Kattareeya สถานที่: โรงเรียนด�าน�้าแห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

การจัดภาพแนวนอนในขณะทีต่ วั แบบอยูใ่ นอิรยิ าบถ ของการนอนอย่างสบายใจ ช่วยให้เกิดการแผ่ขยายไป ตามแนวยาว รู้สึกผ่อนคลาย The Art of Composition for Photographer 295


นอกจากนีก้ ารจัดภาพรูปแบบแนวนอนยังช่วยให้สามารถเห็นรายละเอียดของสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นภาพได้ อย่างชัดเจน แต่ให้ระวังเมื่อถ่ายภาพสิ่งที่เป็นระนาบโดยเฉพาะเส้น จะต้องมีการแบ่งพื้นที่ให้ดี โดยทั่วไป จะแบ่ง 1 ใน 2 ส่วน และแบบกฎ 3 ส่วน หรือแบ่ง 1 ใน 3 ของภาพ

การจัดวางภาพแนวนอนโดยการแบ่งพืน้ ทีน่ า�้ 1 ส่วน และท้องฟ้า 2 ส่วน

สถานที่: อ่างเก็บน�้า เขาสามสิบ จังหวัดสระแก้ว

การจัดภาพแบบกฎ 3 ส่วน วาง ภาพไว้ 1 ใน 3 ของภาพ ท�าให้เห็น แนวสะพานแผ่ขยายไปตามแนวยาว ของภาพ

296AThe

Art of Composition for Photographer


สถานที่: ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ

ภาพเงาสะท้อนเพื่อสร้างสมดุลบนเส้นแกนแนวนอนของโครงสร้างอาคารสนามบิน

326AThe

Art of Composition for Photographer


สถานที่: ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

สมดุลจากการวางต�าแหน่งและท�าให้เกิดความแปลกตา

The Art of Composition for Photographer 327


สถานที่: น�้าตกห้วยหลวง อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชานี

การมุดเข้าไปหลังม่านน�้าตกเพื่อถ่ายภาพการหยุดนิ่งของสายน�้าตกด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง หยดน�้าเม็ดกลมมนสร้างความรู้สึกดุจอัญมณีทางธรรมชาติ โดยใช้ค่า ISO ที่สูงมากและใช้แฟลชช่วย จับวัตถุให้หยุดนิ่ง

338AThe

Art of Composition for Photographer


สถานที่: น�้าตกห้วยแม่ขมิ้น จังหวัดกาญจนบุรี

การถ่ายภาพสายน�้าให้รู้สึกว่ามีการเคลื่อนที่ที่นุ่มนวลชวนฝันโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต�่า การสร้าง ความเร็วชัตเตอร์ต�่าท�าได้โดยการปรับรูรับแสงให้แคบ ใช้ค่า ISO ต�่า และสวมฟิลเตอร์ C-PL หรือ ND บังหน้าเลนส์ไว้เพื่อลดแสง

The Art of Composition for Photographer 339


กำรสร้ำงภำพแปลกโดยกำรเปลี่ยนทำงยำวโฟกัสของเลนส์ (Zoom Effect) การเคลื่อนที่หน้ากล้องหรือเปลี่ยนทางยาวโฟกัสของเลนส์ให้เข้าออกขณะที่ม่านชัตเตอร์ยังไม่ ปิด เรียกว่าการระเบิดซูม หรืออาจสร้างสรรค์ได้ด้วยวิธีส่ายกล้องซ้ายขวา หรือขึ้นลง เพื่อให้ผลของภาพ ทีแ่ ปลกตา การสร้างภาพแนวนีค้ วรใช้ขาตัง้ กล้องเพือ่ ช่วยรักษาระนาบของกล้องให้อยูต่ า� แหน่งเดิมตลอด เวลา ขาตั้งกล้องยังช่วยให้ภาพเกิดความคมชัดได้ด้วย

สถานที่: ถนนภายในตัวเมืองพัทยา มองจากจุดชมวิวบนภูเขา จังหวัดชลบุรี 342AThe

Art of Composition for Photographer


การเคลื่อนไหวกล้องไปในทิศทางขึ้นและลงขณะที่ม่านชัตเตอร์ยังไม่ปิด ท�าให้เกิดเส้นเป็นเอฟเฟกต์ ที่แปลกตา

การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต�่า และเปลี่ยนทางยาว โฟกัสของเลนส์เข้าและออกช้าๆ ขณะม่านชัตเตอร์ยังไม่ปิด

The Art of Composition for Photographer 343


องคป์ ระกอบศิลป์ สำหรับ

นักถา่ ยภาพ

Contents

ภาพถายจะดีหรือไมดอี ยูท น่ี กั ถายภาพ นักถายภาพตองมีจนิ ตนาการ มุมมอง แปลกใหม หนังสือเลมนีไ้ ดเขียนขึน้ มา เพือ่ ใหผทู ร่ี กั การถายภาพนำหลักการ ทางองคประกอบศิลปไปใชรวมกับการถายภาพ เรียนรู วิธกี ารมองวัตถุรอบตัวในชีวติ ประจำวัน เพือ่ สรางสรรค ผลงานที่สมบูรณแบบตามหลักการถายภาพเชิงศิลปะ หากมีความเขาใจในองคประกอบอยางถองแทกจ็ ะสามารถ สรางสรรคผลงานที่มีคุณคาได แมจะเปนการถายภาพ จากกลองราคาถูก และยังนำความรูเกีย่ วกับทฤษฎีเหลานี้ ไปประยุกตใชกับการถายภาพไดทุกแนว

• นิยามและการแบงประเภทของศิลปะ • นิยามขององคประกอบทางศิลปะ • ทฤษฎีองคประกอบศิลปะ

เกีย่ วกับองคประกอบพืน้ ฐาน ทางศิลปะ [Elements of Art] • ทฤษฎีองคประกอบศิลปะเกีย่ วกับ องคประกอบหลักหรือหลักการทางศิลปะ [Principles of Art] • การจัดองคประกอบภาพ [Composition] • เทคนิคการสรางสรรคมมุ มอง

กอนจะกาวตามรอยเทาของใคร “ จงกมมองหารอยเทาของตัวเองใหเจอเสียกอน” http://pookiefoto.multiply.com เพื่อชมตัวอยางใน DVD

สแกน QR Code

แรงบันดาลใจจะเกิดขึ้นกับคุณด้วยหนังสือเล่มนี้ การถายภาพ ISBN 978-616-527-200-1

9 786165 272001

องคประกอบศิลป สำหรับนักถายภาพ DVD : 1 แผน ราคา : 199 บาท

ผลิตโดย สำนักพิมพเอ็มไอเอส

55, 57 ซอยพระรามที่;ÃÐÒÁ·Õè 3 ซอย 53 ถนนพระราม¶¹¾ÃÐÒÁ 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท 0-2294-8777 (ÊÒÂÍสายอัตโนมั ติѵâ¹Á Ô) โทรสารâ·ÃÊÒ 0-2294-8787 www.MISbook.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.