“...การเกษตรนั้นถือได้ว่า เป็นรากฐานและชีวิตสำ�หรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะแก่ประเทศเราอย่างยิ่งก็คือ จะต้องทำ�นุบำ�รุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น....” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๑
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต Creating Value For Better Life
กองบรรณาธิการ รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต บวรนันท์ ทองกัลยา ยลไฉไล จาตุรทิศ สุเทพ เล้ารัตนบูรพา กิจพัฒน์ ตระกูลเมฆี ดร.วิชิต ลิ่วคงสถาพร ดร.เสกสรรค์ พรหมนิช ดร.สมหวัง อนุสนธิ์พรเพิ่ม ชัยวัฒน์ งาสาร พักตร์พิมล กัมพลานุวัตร สาธิตา เจียมสุชน กรรณิกา ว่องกุศลกิจ วิยดา เกียวกุล ปริญญา เฉลิมเกียรติกุล เรียบเรียง : อลิศร์ ชมถาวร เจ้าของ : บริษัท น้ำ�ตาลมิตรผล จำ�กัด พิมพ์ครั้งแรก : มกราคม 2560 ISBN : 978-616-92819-0-0
พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์ 45/12-14, 33 หมู่ 4 ต.บางขุนนนท์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 โทร. 02-879-9154-6 แฟกซ์ 02-879-9153 E-mail : parbpim@gmail.com Tax ID : 0103524005437
เราจะเป็นบริษัทชั้นนำ�ระดับโลก ในอุตสาหกรรมน้ำ�ตาล และ Bio-based โดยใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ร่วมกับการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างคุณค่า สร้างอนาคตให้กับสังคม
สารจากผู้บริหาร
อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผล เวลา 60 ปีที่ผ่านมา กลุ่มมิตรผลได้เดินทางไปไกลจากจุดเริ่มต้นของเราไม่ใช่น้อย จากครอบครัวไร่อ้อยที่ผลิตน้ำ�เชื่อม และน้ำ�ตาลเกล็ดเล็กๆ เราได้ก้าวไปสู่การเป็น บริษทั ชัน้ นำ�ระดับโลกในอุตสาหกรรมอ้อยและน้�ำ ตาล และยังเป็นผูน้ �ำ ด้านธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ของเอเชีย แม้เราจะก้าวรุดหน้าไปเท่าไร หาก “รากเหง้า” และ “แก่นแกน” อันสำ�คัญของธุรกิจ นั่นคือ “อ้อย” และ “น้ำ�ตาล” จะเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่เคยลืม ผมย้ำ�เรื่องนี้และกระตุ้นเตือนทุกคนเสมอ ไม่ให้เราแค่ภูมิใจกับสิ่งที่คนรุ่นเก่าได้สร้างไว้ หากให้เรียนรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองให้รุดไปข้างหน้าและก้าวทันโลกอยู่เสมอ เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราต้องปรับตัวให้ทันกระแสโลก ที่เรียกว่า Disruptive Economy ฉะนั้น ความรู้ทางด้านดิจิตอล และเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำ�คัญ ที่ทุกคน ต้องเรียนรู้ให้ถ่องแท้ ขณะเดียวกัน ต้องรู้จักนำ�ขุมทรัพย์ทางปัญญา และองค์ความรู้ของโลกมาปรับใช้ให้ เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ชุมชน คนในองค์กร หรือนักธุรกิจ เพราะนี่คือรากฐานสำ�คัญที่ ทำ�ให้ธุรกิจของเรายั่งยืน กลุ่มมิตรผลในวันนี้กำ�ลังจะออกเดินทางสู่โลกกว้างอีกครั้ง ด้วยเป้าหมายในการ ก้าวสูก่ ารเป็น World Class Organization ทีท่ กุ คนทุกฝ่ายจะร่วมกันยกระดับความรู้ ความสามารถ ของตนพาองค์กรให้ทันสมัยเป็นสากล ความมุ่งหวังของผมได้ปักธงไว้ที่อนาคตในปี ค.ศ. 2020 หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า เราทุกคนในกลุ่มมิตรผลจะประกาศความสำ�เร็จนั้นร่วมกันอย่างภาคภูมิใจ ผมเชื่ออยู่เสมอว่า ด้วยพลังและความทุ่มเทของพวกเราทุกคน เราจะเป็นองค์กรธุรกิจที่ ตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น โลกจะหมุนเวียนไปกี่ครั้ง เราจะเป็น Sunshine Business อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อวานนี้ วันนี้ หรือวันพรุ่งนี้
สารจากผู้บริหาร
กฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” เป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติที่กลุ่มมิตรผลให้ ความสำ�คัญมาตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจจนถึงวันนี้ได้ก้าวสู่ปีที่ 60 แล้ว นับเป็นช่วงเวลา ที่มีความหมายอย่างยิ่ง ธุรกิจของกลุ่มมิตรผลมีต้นกำ�เนิดจากต้นอ้อย สู่น้ำ�ตาลเกล็ดเล็กๆ และ พัฒนาไปสูธ่ รุ กิจต่อยอดจนก้าวสูค่ วามเป็นผูน้ �ำ ในวงการผูผ้ ลิตและส่งออกน้�ำ ตาล ของโลก แต่เราคงยังมุ่งมั่นที่จะดำ�เนินงานอย่างโปร่งใส มีจรรยาบรรณ ให้ความ เป็นธรรมกับผูเ้ กีย่ วข้อง และให้ความสำ�คัญต่อชุมชนและสิง่ แวดล้อมอย่างต่อเนือ่ ง เพราะเราเชือ่ ว่า แนวทางการดำ�เนินงานเช่นนีจ้ ะเป็นหนทางทีจ่ ะนำ�ไปสูก่ ารพัฒนา ที่ยั่งยืนในสังคมโลก การก้าวสู่ทศวรรษใหม่บนโลกที่ขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว กลุ่มมิตรผลได้ วางเป้าหมายใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม ด้วยการพาองค์กรไปสู่การเป็น “World Class Organization” หรือองค์กรชั้นนำ�ระดับโลก การเดินหน้าสู่การเป็น World Class Organization ถือเป็นการเดินตาม วิสัยทัศน์ของกลุ่มมิตรผลที่มุ่งมั่นจะเป็นบริษัทชั้นนำ�ระดับโลกในอุตสาหกรรม น้ำ�ตาลและ Bio-based โดยใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีร่วมกับการบริหารจัดการ อย่างบูรณาการ เพื่อสร้างคุณค่า สร้างอนาคตให้กับสังคม ขณะเดียวกันก็มุ่งเน้น การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการสร้างงานให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีรายได้ เราภูมใิ จทีม่ สี ว่ นช่วยสร้างงานและรายได้ให้ชมุ ชน และมีสว่ นส่งเสริม การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยทั้งในด้านการลงทุนและการสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งถือเป็นปณิธานภายใต้แนวคิด “สร้างคุณค่า สร้างอนาคต” ที่กลุ่มมิตรผลยึดมั่นเสมอมา
creating value ส6 ทศวรรษ า รกลุบั่มมิตรผล ญ บทนำ� บทที่ 1 หยั่งรากบนแผ่นดินแห่งโอกาส บทที่ 2 ก่อเกิดและเติบโต บทที่ 3 ต้นไม้ที่เติบใหญ่ วันที่เปลี่ยนแปลง บทที่ 4 ปรับ ขยับโครงสร้าง บทที่ 5 รุดหน้าพัฒนา - “เปลี่ยนแปลง” บน “ความกล้า” - ขับเคลื่อนไม่หยุดยั้ง - เปิดประตูสู่แดนมังกร - Grow Together ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ บทที่ 6 แสงสว่างท่ามกลางพายุเศรษฐกิจ - We have to change the way we think - สร้างฝ่ายวิจัย พัฒนา และวางแผนอนาคต - Modern Farm ก้าวต่อไปของเกษตรกรไทย - รู้จักอ้อย รู้จักน้ำ� - ลูกหลานชาวไร่ กับโมเดิร์นฟาร์ม - เปลี่ยนชานอ้อยเป็นวัสดุทดแทนไม้ - ข้ามพรมแดนครั้งที่สอง - (กราฟิก ผลิตภัณฑ์น�้ำ ตาลมิตรผล) - จากน้ำ�ตาล สู่พลังงานทางเลือก - บริหารจัดการ “ชานอ้อย” วัตถุดิบมีค่า - ผู้น�ำ พลังงานเอทานอล - (กราฟิก รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ) บทที่ 7 พลังแห่งอนาคต - (กราฟิก จากอ้อยสู่ผลิตภัณฑ์)
12 16 20 24 28 32 33 34 37 38 40 42 44 46 47 48 49 52-53 55 57 58 60-61 62 66
for better life - เปลี่ยนผ่านสู่ ไร่อ้อยดิจิตอล - เทคโนโลยี ผู้ช่วยของชาวไร่ - เขียวทั้งไร่ กำ�ไรทั้งปี - ต่อยอดห่วงโซ่คุณภาพ - มิตรผลรักษ์โลก “โรงงานสีเขียว” - Solar Rooftop สู่ Solar Farm - (กราฟิก Solar Rooftop) - (กราฟิก อาณาจักร “มิตรผล”) บทที่ 8 “คน” คือพลังขับเคลื่อน - ชาวไร่อ้อย หุ้นส่วนธุรกิจ - (กราฟิก ปรัชญา กลุ่มมิตรผล) - คนคุณภาพ - คัมภีร์ “คนคุณภาพ” ของกลุ่มมิตรผล - วัฒนธรรมมิตรผล - องค์กรแห่งการเรียนรู้ - (กราฟิก หนทางสู่ความสำ�เร็จของพนักงาน) - (กราฟิก โฆษณาของมิตรผล) บทที่ 9 สร้างคุณค่า สร้างอนาคต - (กราฟิก 6 Dimension to World Class Organization) - (กราฟิก S-Curve) - (กราฟิก World Class Organization) กราฟิก - (กราฟิก Mitr Phol Evolution And The Sugar Story)
67 69 70 73 74 76 77 78-79 80 81 84 85 86 87 89 91 92-93 94 96 97 98
ด้
บทนำ�
วยศักยภาพการผลิตของธุรกิจน้ำ�ตาลซึ่งครองตำ�แหน่งผู้ผลิตและส่งออกอันดับ 5 ของโลก อันดับ 1 ของเอเชีย อันดับ 1 ของประเทศไทย และสามารถก้าวสู่ความ เป็นผูน้ �ำ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ของเอเชีย เป็นเครือ่ งยืนยันความสำ�เร็จในเวทีระดับ โลกของธุรกิจสัญชาติไทย การก้าวขึ้นสู่หัวแถวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความสำ�เร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบนเส้นทางที่โรยด้วย กลีบกุหลาบ หากสร้างมาด้วยน้�ำ พักน้ำ�แรงและความอดทน ความเป็นธุรกิจครอบครัวทีย่ ดึ มัน่ ในปรัชญาชีวติ และการทำ�มาค้าขายทีค่ นรุน่ พ่อและแม่ได้เขียน ลงบนหัวใจของลูกหลาน ทำ�ให้ทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ “ก้าวสู่ความเป็นเลิศ” แม้จะต้องผ่านอุปสรรค ขวากหนาม ความขัดแย้ง การเปลี่ยนแปลงนานัปการ คัมภีร์ธุรกิจ ความเป็นเลิศที่จารึกอยู่ในหัวใจของคนในองค์กรมิตรผลนั้น ต้องก้าวเดินอยู่บน เส้นทางของยุทธจักรแห่งคุณธรรม ยึดมั่นในสัจจะ ความซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ วัฒนธรรมองค์กรนี้จึงนำ�พา “กลุ่มมิตรผล” ก้าวสู่แถวหน้าของเวทีโลก 60 ปีของการเดินทาง วันนีก้ ลุม่ มิตรผลมุง่ มัน่ ทีจ่ ะก้าวไปไกลเกินกว่าเส้นทางของผูใ้ ห้ความหวาน ด้วยการมองการณ์ไกลไปสู่อนาคต อนาคตทีม่ ใิ ช่เพียงธุรกิจของครอบครัวหรือของประเทศเท่านัน้ หากเป็นธุรกิจของโลกทีม่ ปี ระชากร มากถึง 8,000 ล้านคน เป็นเป้าหมายอันชัดเจนและแจ่มชัดยิ่ง นี่คือคำ�มั่นสัญญาของกลุ่มมิตรผล ณ ปี พ.ศ. นี้ “เราจะเป็นบริษัทชั้นนำ�ระดับโลกในอุตสาหกรรมน้ำ�ตาลและ Bio-based โดยใช้นวัตกรรมทาง เทคโนโลยีร่วมกับการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างคุณค่า สร้างอนาคตให้กับสังคม” ภายใต้ปรัชญาองค์กรอันเข้มแข็ง ซึ่งขับเคลื่อนไปด้วยขุมพลังแห่งอนาคต “มุง่ สูค่ วามเป็นเลิศ เชือ่ ในคุณค่าของคน ตัง้ อยูใ่ นความเป็นธรรม รับผิดชอบต่อสังคม” สี่วลีสั้นๆ ที่มีความหมายกว้างไพศาล ตัวเลข 60 ปี จึงไม่ใช่เป็นเส้นชัย หากเป็นการปักหมุดเพื่อเดินทาง สูเ่ ป้าหมายอย่างมัน่ คง ชัดเจน แข็งแรง และเปีย่ มไปด้วยคุณธรรม ของยักษ์สฟี า้ นามว่า “มิตรผล”
12
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
1
หยั่งรากบนแผ่นดินแห่งโอกาส มิเพียงแต่หยั่งรากธุรกิจ การปักหลักทำ�มาหากินลงบนผืนแผ่นดินเมื่อ 60 ปีก่อน “คนแซ่ว่อง” จากจีนแผ่นดินใหญ่ ได้หยั่งรากปรัชญาการดำ�เนินชีวิต การสืบทอดธุรกิจผสาน กับหยาดเหงื่อแรงงานลงบนหัวใจของลูกหลานรุ่นต่อมา
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เสียงของบรรพบุรุษยังแว่วอยู่เสมอ “เป็นคนดี มีน้ำ�ใจ ขยัน ห้ามโกหก ทำ�ดี คิดดี มีสัจจะ ปฏิบัติชอบต่อผู้อื่นและผืนดิน ทุกตารางนิ้วที่เกื้อกูลชีวิตให้โอกาสทำ�มาหากิน” นีค่ อื คำ�สอนทีท่ กุ คนใน “ว่องกุศลกิจ” จดจำ� และยึดเป็นแนวทางการดำ�เนินชีวิตและธุรกิจ คำ�สอนที่เกิดจากวัตรปฏิบัติของ “พ่อว่องจือ้ ไฉ่” และ “แม่ฟา้ -ฉินเหน่าฟ้า” ทีย่ ดึ มัน่ ทำ� มาตั้งแต่ครั้งที่อพยพล่องเรือมาจากมณฑลกวางตุ้ง เพื่อเริ่มชีวิตใหม่บนแผ่นดินแห่งความหวังที่บ้าน ห้วยกระบอก ตำ�บลกรับใหญ่ อำ�เภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี ในปี พ.ศ. 2475 ช่วงที่ประเทศกำ�ลังปรับ เปลีย่ นการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตยพอดี ช่วงแรกทั้งสองต้องมาแบ่งอยู่แบ่งกินแบบ กงสีกับพี่ชาย ช่วยกันปลูกยาสูบ ปลูกข้าว ปลูก มันสำ�ปะหลัง และปลูกอ้อยเลี้ยงชีพ ก่อนที่จะ แยกออกมาตั้งครอบครัว ใช้นามสกุลและสร้าง อาณาจักร “ว่องกุศลกิจ” ของตัวเองในเวลาต่อมา แต่เส้นทางยาวนานนี้มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หลังจากทีค่ นสกุลว่องปักหลักฝากชีวติ ไว้กบั แผ่นดินบ้านโป่ง แม้จะขัดสนแต่ด้วยความมานะ บากบั่น ขยัน มัธยัสถ์ และอดทน หมั่นเก็บหอม รอมริบทีละเล็กละน้อย จนในปี พ.ศ. 2482 จึงได้ มีที่ดินของตัวเอง 7 ไร่ ในตำ�บลกรับใหญ่ อำ�เภอ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพือ่ ทำ�ไร่ออ้ ย โดยมีแรงงาน
13
14
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ของพ่อ แม่ และลูกๆ ร่วมกับลูกจ้างอีก 5-6 คน เป็นกำ�ลังหลัก วิกฤตเศรษฐกิจปกคลุมไปทั่วประเทศ เมื่อไทยก้าวเข้าสู่ภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ปี พ.ศ. 2484 ในฐานะพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่น ชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนถูกเพ่งเล็งเพราะรัฐ เชื่อว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ผู้เป็นพ่อซึ่งยังเป็นจีนต่างด้าวจึงจำ�ต้องพา ครอบครัวอพยพไปอยูก่ บั ญาติทอี่ �ำ เภอกำ�แพงแสน จังหวัดนครปฐม จนเมือ่ สงครามยุตใิ นปี พ.ศ. 2488 จึงกลับบ้านมาฟืน้ ฟูไร่ออ้ ยทีก่ รับใหญ่อกี ครัง้ เริม่ หีบ อ้อยเคีย่ วน้�ำ เชือ่ มทำ�น้�ำ ตาลทรายแดง เป็นเวลาเดียว กับที่โรงงานน้ำ�ตาลทยอยเปิดตัวขึ้นอีกหลายโรง ผลกระทบของสงครามทำ�ให้เศรษฐกิจตกต่ำ� อย่างหนัก น้ำ�ตาลราคาตก ครอบครัวชาวไร่อ้อย ต้องหยุดกิจการและเปลี่ยนไปทำ�โรงงานแป้งมัน สำ�ปะหลังและสาคูร่วมกับญาติ แต่ท้ายที่สุดก็ต้อง กลับมาสู่ธุรกิจในแนวถนัดอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2490 บ้านว่องกุศลกิจได้เช่าพื้นที่ ปลูกอ้อยเพิ่มเติมอีก 20 ไร่ เพื่อผลิตน้�ำ เชื่อม โดย ในเวลานั้นยังใช้เครื่องทุ่นแรงที่อาศัยแรงโค กระบือ ชานอ้อยทีไ่ ด้น�ำ ไปตากแห้งแล้วกองไว้เป็นเชือ้ เพลิง ส่วนน้ำ�อ้อยก็นำ�มาเคีย่ วจนงวดเป็นน้ำ�เชื่อมเข้มข้น ตักใส่ถงั 200 ลิตร ขนใส่รถบรรทุกส่งไปขายให้โรงงาน ผลิตน้�ำ ตาลทีจ่ งั หวัดชลบุรเี พือ่ นำ�ไปผลิตเป็นน้�ำ ตาล กิจการดีขึ้นเป็นลำ�ดับ หากโชคชะตาพลิกผันเมื่อ “พ่อ-ว่องจื้อไฉ่” หัวหน้าครอบครัวถึงแก่กรรมลง ด้วยวัยเพียง 51 ปี ทิ้งให้ “แม่ฟ้า” ดูแลครอบครัว พร้อมกับขับเคลื่อนงานทุกอย่างแทน ใครจะคาดคิดว่า อุตสาหกรรมครัว เรือนขนาดเล็กนี้จะเป็นก้าวแรกของอาณาจักร ที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เป็นคนดี มีน้ำ�ใจ ขยัน ห้ามโกหก ทำ�ดี คิดดี มีสัจจะ ปฏิบัติชอบต่อผู้อื่น และผืนดินทุกตารางนิ้ว ที่เกื้อกูลชีวิตให้โอกาสทำ�มาหากิน
//
//
15
16
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
2
ก่อเกิดและเติบโต
2499-2509
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีโรงงานผลิตน้ำ�เชื่อมและน้ำ�ตาลทรายอยู่ไม่เกิน 300 โรง บ้านเซี่ยงว่อง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโรงงานในยุคแรกๆ ที่นอกจากทำ�ไร่แล้วยังเปิดหน้า บ้านทำ�โรงหีบเคี่ยวน้�ำ เชื่อมส่งขายเหมือนคนอื่น โดยไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือมากนัก
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
จนเมื่อ คุณกุศล ว่องกุศลกิจ ลูกชายคนโต (ถึงแก่กรรมแล้ว) ได้มีโอกาสไปเห็นวิธีการผลิต น้�ำ เชื่อมและน้ำ�ตาลของโรงงานอื่น ได้เห็นคุณค่าของเครื่องมือที่ทรงพลังยิ่งกว่าการใช้แรงงาน ทำ�ให้ รู้ว่า การหีบอ้อยแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานโค-กระบือหมุนลูกหีบอย่างที่ทำ�อยู่นั้น รีดน้ำ�อ้อยออกมา ได้ไม่หมด เหลือทิ้งไปกับชานอ้อยเกือบครึ่ง เกิดการสูญเสียอย่างมาก จึงเกิดความสนใจอยากจะใช้ ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าจึงนำ�เครื่องจักรสมัยใหม่มาช่วยในการผลิต ปี พ.ศ. 2499 “ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดโรงงานน้ำ�ตาลมิตรผล” ก่อตั้งขึ้นที่ อำ�เภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท จากการลงขันร่วมกันระหว่าง คุณกุศล ว่องกุศลกิจ คุณฮัก ผาณิตพิเชฐวงศ์ และ คุณวิเทศ ว่องวัฒนะสิน เพื่อผลิตน้�ำ ตาลทรายแดงและน้ำ�ตาลทราย ขาวควบคู่กันไป ส่วนชื่อ “มิตรผล” นั้น มีก�ำ นันในท้องถิ่นผู้หนึ่งช่วยตั้งให้ สื่อถึงความหมายว่า “ผลผลิตที่มา จากมิตร” และนับจากวันนั้น เมื่อมีการขยายกิจการไปจังหวัดใดก็ตามจึงใช้คำ�นำ�หน้าว่า “มิตร” และใช้ชื่อจังหวัดนั้นต่อท้ายเสมอ หลักไมล์แรกของอาณาจักรน้�ำ ตาลจึงเกิดขึ้น
17
18
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
โรงงานน้ำ�ตาลใหม่นี้มีคนงานเพียง 70 ชีวิต มี คุณวิเทศ ว่องวัฒนะสิน รับหน้าที่ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณฮัก ผาณิตพิเชฐวงศ์ เป็นผู้จัดการโรงงานน้ำ�ตาล คุณกุศล ว่องกุศลกิจ ดูแลด้านการค้าขายกับชาวไร่ คุณสุนทร ว่องกุศลกิจ ดูแลด้านโรงงานและ การค้า ส่วน คุณกมล และ คุณวิมล ว่องกุศลกิจ รับหน้าที่ดูแลงานไร่อ้อย ในเวลานั้นได้มี การนำ�รถแทรกเตอร์มาช่วยงานจึงทำ�ให้สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มไปได้มากถึง 400 ไร่ คุณกุศลได้เสียชีวิตลงในวัยหนุ่ม เมื่ออายุเพียง 28 ปี สถานการณ์ธุรกิจไม่ได้ราบรื่นนัก ประกอบกับภาวะการเมืองที่ไม่แน่นอนและมีการผูกขาดการค้าจากทางรัฐในห้วงเวลานั้น ทำ�ให้โรงงานน้ำ�ตาลมิตรผลในช่วงเริ่มก่อตั้งต้องกู้เงินจากธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงลิ่วถึง ร้อยละ 25 ต่อปี เพื่อนำ�มาหมุนเวียนธุรกิจ แต่ค�ำ ว่า “ท้อ” ไม่เคยปรากฏอยู่ในพจนานุกรมของ “ว่องกุศลกิจ” คาถาของบรรพบุรุษที่ตอกย้�ำ ...ค้าขายต้องซื่อสัตย์ เพราะความซื่อตรงเป็นต้นทุนหนึ่งที่ท�ำ ให้ธุรกิจยั่งยืน... โรงงานน้�ำ ตาลมิตรผลไม่เคยผิดนัดชำ�ระหนี้แม้แต่ครั้งเดียว สถาบันการเงินจึงให้ความเชือ่ ถืออย่างสูงและผูกสัมพันธ์กนั อย่างแน่นแฟ้นและยาวนาน มาจนถึงปัจจุบัน
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ความเชื่อถือ เชื่อมั่นนี้ไม่ใช่จะทำ�กันสำ�เร็จชั่วข้ามคืน หากเกิดการสั่งสมเครดิตจาก “สัจจะ” ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ต้นทางของว่องกุศลกิจ จนเป็นแรงขับเคลื่อนให้ ธุรกิจเติบโตได้อย่างไม่หยุดยั้ง ถ้าการนับหนึ่ง เริ่มต้นที่การหักร้างถางพงเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวของ คุณพ่อ-ว่องจื้อไฉ่ กับ คุณแม่ฟา้ -ฉินเหน่าฟ้า จนเปลีย่ นผ่านมาถึงมือ คุณกุศล ว่องกุศลกิจ ลูกชายคนโตทีเ่ ข้ารับช่วง ต่ออย่างวิรยิ อุตสาหะ กล้าคิด กล้าทำ� มาจนถึงยุคบุกเบิกทำ�โรงงานน้�ำ ตาลในรุน่ ของ คุณกมล คุณสุนทร คุณวิมล คุณวิฑูรย์ และแตกหน่อต่อยอดสู่ธุรกิจต่างๆ ในช่วงของ แพทย์หญิง ลักษมี คุณอิสระ และคุณชนินท์ จนมาถึงมือหลานรุ่นใหญ่อย่าง คุณบรรเทิง คุณชูศักดิ์ คุณวีระเจตน์ ว่องกุศลกิจ และคุณอัมพร กาญจนกำ�เนิด เซี่ยงว่อง ได้สืบทอดกันมาได้ 3 รุ่นแล้ว และกิจการยังคงเจริญรุดหน้าขึ้นเป็นลำ�ดับ สิง่ เหล่านีเ้ ป็นเครือ่ งยืนยันได้วา่ ปรัชญาการทำ�ธุรกิจทีก่ ลุม่ มิตรผลยึดถือสืบทอดมานัน้ เป็นสิ่งที่ยั่งยืน ...เป็นคนดี มีน้ำ�ใจ ขยัน ห้ามโกหก ทำ�ดี คิดดี มีสัจจะ ปฏิบัติชอบต่อผู้อื่นและ ผืนดินทุกตารางนิ้วที่เกื้อกูลชีวิตให้โอกาสทำ�มาหากิน...
19
20
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
3
ต้นไม้ที่เติบใหญ่ วันที่เปลี่ยนแปลง
2509-2519
เมือ่ มีความต้องการน้�ำ ตาลมากขึน้ ความจำ�เป็นในการใช้เครือ่ งจักรในการผลิตก็เพิม่ ด้วย นั่นหมายถึง ความจำ�เป็นในการนำ�เข้าจากต่างประเทศ ในยุคนั้นในทวีปเอเชีย ไต้หวันถือเป็น ประเทศที่ก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไม่แพ้ญี่ปุ่น
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ในปี พ.ศ. 2510 หลังจากที่คุณวิฑูรย์ได้ คว้าปริญญาตรีในสาขาเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มาได้เป็นคนแรกของบ้าน และได้ ไปทำ�งานตระเวนขายยาทั่วประเทศอยู่เกือบปีก็ กลับมาช่วยงานที่บ้านอย่างเต็มตัว เขาได้รับมอบ หมายจากคุณสุนทรให้เจรจากับไต้หวันเพื่อติดต่อ ซื้อเครื่องจักรใหม่ ไม่นานนักเครื่องจักรใหม่จากไต้หวันถูกนำ� มาติดตั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหีบอ้อยและ ผลิตน้�ำ ตาลทรายเพือ่ รองรับการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของอุตสาหกรรมน้�ำ ตาลทัว่ ประเทศ มีประสิทธิภาพ การหีบอ้อยได้วันละ 3,000 ตัน ส่วนเครื่องจักรเก่า หุ้นส่วนทั้งสามตกลง ใจร่วมกันให้นำ�ไปตั้งโรงงานใหม่ที่อำ�เภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งตั้งห่างจากโรงงานเดิมเพียง
3 กิโลเมตร ในชื่อ โรงงานน้�ำ ตาลมิตรเกษตร ในเขตจังหวัดราชบุรแี ละกาญจนบุรมี โี รงงาน น้�ำ ตาลเปิดขึน้ มาก อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจทีไ่ ด้ราคา ดีและมีผลตอบแทนแน่นอนมากกว่าการปลูกพืช ชนิดอื่น จึงทำ�ให้มีการปลูกอ้อยป้อนโรงงานกัน เป็นจำ�นวนมาก 2 ปีหลังจากใช้เครือ่ งจักรของไต้หวัน โรงงาน น้�ำ ตาลมิตรผลก็เพิม่ รางหีบอีก 1 ชุด ขยายกำ�ลัง การผลิตเป็น 5,000 ตันต่อวัน น้�ำ ตาลทัง้ ทรายขาว และทรายแดงถูกลำ�เลียงออกมาจากสายการผลิต เทีย่ วแล้วเทีย่ วเล่า ขึน้ รถบรรทุกลงเรือส่งออกไป ยังปลายทางทั้งในและต่างประเทศ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำ�ตาลรุ่งเรืองมาก ทำ�ให้ภายในเวลาไม่กี่ปี โรงงานน้ำ�ตาลมิตรผลก็ สามารถปลดหนีท้ กี่ ยู้ มื จากธนาคารมาลงทุนได้หมด
21
22
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ปี พ.ศ. 2515 หลังจากจบการศึกษาได้เปิดโลกแห่งความรูแ้ ละประสบการณ์ใหม่ๆ ในสหรัฐอเมริกา คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ผู้เป็นน้องคนรองจากคุณวิฑูรย์ ก็ได้กลับมาช่วยธุรกิจของครอบครัวอย่างเต็มตัว เขาเริ่มจากการเป็นล่ามให้พี่ชายเพื่อติดต่อทำ�การค้ากับลูกค้าต่างชาติ ดูแลการจัดซื้อ การรับจ่ายเงิน และการจัดจ้าง จากนั้นจึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบงานที่มีความสำ�คัญมากขึ้น “การศึกษา” เป็นการต่อทอดสะพานของธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวเข้ากับโลกกว้าง อย่างมีอนาคต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมน้ำ�ตาลเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด รัฐอนุมัติให้มี การเปิดโรงงานผลิตน้�ำ ตาลขึน้ อีกหลายแห่งเพือ่ รองรับความต้องการทัง้ ในและตลาดต่างประเทศ โอกาส ธุรกิจเปิดกว้าง ธุรกิจน้�ำ ตาลกลายเป็นเค้กก้อนใหญ่ทมี่ มี ลู ค่าสูงจนมีกลุม่ ทุนไม่นอ้ ยในเมืองไทยทีข่ อเข้ามามีสว่ น กับเค้กก้อนนี้ เวลานั้น คุณวิเทศ ว่องวัฒนะสิน ได้แยกหุ้นโดยขอเอาโรงงานน้ำ�ตาลมิตรเกษตร ที่ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ออกไปบริหารเอง
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
โรงงานน้ำ�ตาลมิตรผลที่อำ�เภอบ้านโป่งจึงมีเพียง “ว่องกุศลกิจ” และ “ผาณิตพิเชฐวงศ์” 2 หุน้ ส่วนร่วมกัน บริหาร อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำ�ตาลก้าวสู่ความรุ่งเรือง ขณะทีผ่ ผู้ ลิตน้�ำ ตาลรายใหญ่ของโลกอย่างคิวบาและบราซิล ประสบปัญหาความแห้งแล้ง ผลผลิตตกต่�ำ อย่างหนัก ราคา น้ำ�ตาลในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ผู้ผลิตในไทยต่างเร่งส่งออก บ้านโป่ง ราชบุรี และกาญจนบุรี กลายเป็นสมรภูมิ ตะวันตกที่มีการแข่งขันกันสูงในการรับซื้ออ้อยจากชาวไร่ ในปี พ.ศ. 2516 หุ้นส่วน 2 ตระกูล ได้รับใบ อนุญาตสร้างโรงงานเพิม่ อีกแห่งหนึง่ จึงตัดสินใจขยายพืน้ ที่ การแข่งขัน ไปสูพ่ นื้ ทีใ่ หม่ในอำ�เภอเมือง จังหวัดกำ�แพงเพชร และตั้งโรงงานน้ำ�ตาลมิตรสยามขึ้น โดยมีคุณวิฑูรย์เป็น ผู้ควบคุมการก่อสร้างและเป็นผู้จัดการโรงงานขนาดกลาง แห่งนี้เป็นคนแรก โดยมีกำ�ลังหีบอ้อยได้วันละ 6,000 ตัน (ปี พ.ศ. 2540 ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมกับ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานน้�ำ ตาลมิตรกาฬสินธุ์”) ต่อมาได้ มีการมอบหมายให้คุณอิสระเป็นผู้ดูแลโรงงานและพัฒนา จนกลายเป็นโรงงานที่ทันสมัย ส่วนด้านการส่งออกน้ำ�ตาล ในเวลานั้นบริษัท อุตสาหกรรมน้ำ�ตาลแห่งประเทศไทย ยังเป็นผู้ดำ�เนินการ เพียงรายเดียว โดยทำ�หน้าที่รวบรวมน้ำ�ตาลจากโรงงาน ต่างๆ ติดต่อผู้ซื้อและทำ�การส่งออก ต่อมาโรงงานน้ำ�ตาล ต่างๆ จึงรวมตัวกันก่อตั้งบริษัทผู้ส่งออกน้ำ�ตาลรายที่ 2 ในปลายปี พ.ศ. 2517 บริษัท ค้าผลผลิตน้ำ�ตาล จำ�กัด จึงก่อตัง้ ขึน้ และเป็นบริษทั ส่งออกให้กบั ธุรกิจน้ำ�ตาล ของกลุม่ มิตรผลนับตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. 2535 ก่อนที่กลุ่มมิตรผลจะตั้งบริษัทส่งออกของตนเองในนาม บริษัท แปซิฟิก ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด ธุรกิจน้ำ�ตาลของ 2 ตระกูลเติบโตขึ้น มีการขยาย กิจการเพิ่มกำ�ลังการผลิตมากมาย และมีสำ�นักงานใหญ่ เป็นอาคาร 5 ชั้นแห่งแรกที่ถนนทรัพย์ สี่พระยา และ เพื่อรองรับการส่งออกได้สร้างคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ ริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา ทีอ่ �ำ เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2518
23
24
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
4
ปรับ ขยับโครงสร้าง
2519-2529
ธุรกิจน้�ำ ตาลของ 2 หุน้ ส่วน “ว่องกุศลกิจ” และ “ผาณิตพิเชฐวงศ์” เติบโตขึน้ เป็นลำ�ดับ และมีการขยายงานอย่างรวดเร็ว
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ในปี พ.ศ. 2522 มีการสร้าง “โรงงานน้ำ�ตาลบ้านโป่ง” ในจังหวัดราชบุรีขึ้นเป็นแห่งที่ 3 ซึ่ง โรงงานแห่งนี้ถือว่าใหม่และทันสมัยที่สุดในเวลานั้น มีก�ำ ลังผลิตสูงถึง 10,000 ตันอ้อยต่อวัน แต่เพียง 2 ปีให้หลัง ในปี พ.ศ. 2524 คุณฮัก ผาณิตพิเชฐวงศ์ ขอแยกตัวและนำ�โรงงานน้ำ�ตาล บ้านโป่งออกไปบริหาร ว่องกุศลกิจ จึงได้ดำ�เนินธุรกิจ “โรงงานน้ำ�ตาลมิตรผล” ที่ราชบุรี และ “โรงงานน้ำ�ตาลมิตร สยาม” ที่จังหวัดกำ�แพงเพชร ในฐานะเจ้าของอย่างเต็มตัว การขยับปรับเปลี่ยนนี้จึงทำ�ให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานครั้งใหญ่ โดยแต่งตั้งให้ คุณสุนทร เป็นประธานกรรมการ คุณกมล เป็นรองประธานกรรมการ คุณวิฑรู ย์ รับหน้าทีก่ รรมการผูจ้ ดั การ ส่วนคุณอิสระ เป็นรองกรรมการผู้จัดการ และคุณชนินท์ เป็นกรรมการบริษัท นอกจากนั้นยังมีการนำ�แนวคิดใหม่ๆ เข้ามาปรับโครงสร้างทางธุรกิจและการบริหารจัดการ มีการขยายไลน์ธุรกิจออกไปอีกมากมาย โดยมีแนวคิดทำ�ธุรกิจแบบประสานประโยชน์ร่วมกับพันธมิตร
25
26
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ปี พ.ศ.
2526 “กลุ่มมิตรผล” ได้ร่วมกับ Tate & Lyle จากประเทศอังกฤษ โรงงานน้�ำ ตาลตะวันออก และโรงงานน้ำ�ตาลหนองใหญ่ ตั้ง “โรงงานน้�ำ ตาลมิตรภูเขียว” ขึ้นที่จังหวัดชัยภูมิ และได้กลายเป็น โรงงานน้�ำ ตาลที่ ใหญ่และทันสมัยที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานั้น
ทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มผู้ผลิต น้ำ�ตาล ผู้แปรรูป ผู้ส่งออก ระหว่างนั้นน้ำ�ตาลในตลาดโลกก็มีราคาพุ่งขึ้น เรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยประสบภาวะแล้ง ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2522-2523 ส่งผลให้ผลผลิตอ้อย ในช่วงนั้นลดลงกว่าครึ่งจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตัน ราคาน้�ำ ตาลส่งออกดีกว่าราคาในประเทศมาก ทำ�ให้ผู้ผลิตในไทยต่างเร่งส่งออก ราวปี พ.ศ. 2523-2525 เกิดการลักลอบค้าขาย ในตลาดมืด ผู้ผลิตบางรายลักลอบส่งออกน้ำ �ตาล มากกว่าโควตา ราคาน้ำ�ตาลขายปลีกในประเทศ พุง่ จากกิโลกรัมละ 12 บาท เป็น 15 บาท น้�ำ ตาลในประเทศ ขาดแคลนจนต้องจำ�กัดจำ�นวนการซื้อ ถือเป็นช่วงวิกฤต ของผู้บริโภคน้ำ�ตาลครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของไทย ถึงขั้นมีการประกาศนำ�เข้าน้�ำ ตาลจากอินเดียเป็นครั้งแรก เพื่อให้มีน�้ำ ตาลเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ ในปี พ.ศ. 2526 กลุม่ มิตรผลได้รว่ มกับ Tate & Lyle จากประเทศอังกฤษ โรงงานน้�ำ ตาลตะวันออก และโรงงาน น้ำ�ตาลหนองใหญ่ ตั้ง “โรงงานน้ำ�ตาลมิตรภูเขียว” ขึ้น ที่จังหวัดชัยภูมิ ใช้เทคโนโลยีและแนวการบริหารจัดการ แบบอังกฤษของ Tate & Lyle และได้กลายเป็นโรงงาน น้�ำ ตาลทีใ่ หญ่และทันสมัยทีส่ ดุ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเวลานั้น มีกำ�ลังการผลิตวันละ 12,000 ตัน และมี ชาวไร่อ้อยเป็นคู่สัญญามากกว่า 5,000 ราย นับเป็นกลุ่มธุรกิจน้ำ�ตาลรายแรกๆ ของประเทศที่ มีรปู แบบการจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารสมัยใหม่ มีการควบคุมต้นทุนและใช้ระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐาน หลังจากที่มีปัญหาเกี่ยวกับการลักลอบส่งออก น้�ำ ตาล ส่งผลให้น�้ำ ตาลในประเทศขาดแคลน คนไทยต้อง ซือ้ น้�ำ ตาลในราคาทีแ่ พงขึน้ จึงเป็นทีม่ าของพระราชบัญญัติ อ้อยและน้�ำ ตาลทรายปี พ.ศ. 2527 (ระบบ 70:30 ระบบ แบ่งปันรายได้) ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยให้ผู้แทน
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ชาวไร่อ้อย ผู้แทนโรงงาน และผู้แทนส่วนราชการ ร่วมกันบริหารอุตสาหกรรม เพื่อรักษาความมั่นคง ทางเศรษฐกิจของประเทศ และคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อย (ค่าอ้อย) ในด้านการผลิตและ จำ�หน่ายน้�ำ ตาล เพือ่ ให้อตุ สาหกรรมอ้อยและน้�ำ ตาลทราย เติบโตโดยมีเสถียรภาพ และเกิดความเป็นธรรม แก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของโรงงานน้�ำ ตาล และประชาชนผู้บริโภค ในส่วนของโรงงานน้ำ�ตาลมิตรภูเขียวในช่วงเริ่มต้น ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย แต่ก็ เป็นการเริ่มต้นที่ไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากสภาพอากาศและพื้นที่อ้อยในเขตภาคอีสานมีความแตกต่างจาก ทางภาคกลาง ในช่วงปีแรกๆ จึงมีปริมาณอ้อยไม่มากเท่าที่ควร จนทำ�ให้ในช่วงนั้นเกิดการตั้งคำ�ถามกันว่า มิตรผลคิดอย่างไรถึงไปตั้งโรงงานอยู่บนเขา ? มิตรผลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการทุ่มเทศึกษาและพัฒนาในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ช่วงเวลาและวิธีการ ปลูกอ้อย หาพันธุอ์ อ้ ยทีเ่ หมาะสม ไปจนถึงการพัฒนาระบบชลประทานให้มนี �้ำ เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของอ้อย โดยมี คุณประดิษฐ์ กาญจนกำ�เนิด สามีคุณวิมล ช่วยไปส่งเสริมให้ความรู้แก่ชาวไร่ ขณะเดียวกับที่ คุณบรรเทิง บุตรชายคนโตของคุณกมลก็ได้เริม่ เข้ามาช่วยงานในมิตรผลจนกลายเป็น อีกหนึ่งกำ�ลังสำ�คัญในการช่วยส่งเสริมชาวไร่และพัฒนาพื้นที่อ้อยในแถบนั้น โรงงานน้ำ�ตาลมิตรภูเขียว ใช้เวลากว่า 2-3 ปี จึงเริ่มลงตัว และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการขยาย โรงงานในแถบภาคอีสานของมิตรผลต่อไป
27
28
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
5
รุดหน้าพัฒนา
2529-2539
ราวปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยนสำ�คัญอีกครั้ง เมื่อรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ พยายามพาประเทศก้าวพ้นจากข้อจำ�กัดจากการเป็นเพียงแต่ประเทศการเกษตรและอุตสาหกรรม การเกษตร จึงวางทิศทางเศรษฐกิจสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ทิศทางนี้ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง มากมาย การเปิดพื้นที่ทางภาคตะวันออกเพื่อสร้าง อีสเทิร์นซีบอร์ด เขตอุตสาหกรรมใหม่ที่ชายฝั่งและ เปิดประตูการค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทำ�ให้มีการ พัฒนาสาธารณูปโภคครั้งใหญ่ สร้างถนนหนทาง การคมนาคมใหม่ ทีม่ งุ่ ไปสูภ่ าคตะวันออกและชายฝัง่ อีสเทิรน์ ซีบอร์ดทำ�ให้เศรษฐกิจไทยเติบโต มีเงิน ทุนต่างชาติไหลเข้ามามหาศาล ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รุง่ เรืองสุดขีด โดยพืน้ ทีใ่ นจังหวัดทีใ่ กล้กรุงเทพฯ อย่าง ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน กาญจนบุรี เป็นเป้าหมาย ของนักลงทุนเพื่อนำ�ไปทำ�รีสอร์ทและสนามกอล์ฟ ขณะเดียวกัน พื้นที่เป้าหมายของกลุ่มทุนก็ เป็นทำ�เลทองสำ�หรับการสร้างโรงงานน้�ำ ตาลเช่นกัน เพราะใกล้แหล่งวัตถุดิบคือ พื้นที่ปลูกอ้อย และ
สามารถใช้แม่น้ำ�แม่กลองในการขนส่งสินค้า เป็นการคมนาคมที่ต้นทุนต่ำ� ทำ�ให้พื้นที่ในเส้นทาง บ้านโป่งถึงกาญจนบุรีที่ไม่ไกลมากนักจึงมีโรงงาน น้ำ�ตาลขนาดใหญ่เปิดขึ้นกว่า 10 แห่ง แม้ไร่อ้อยจะทำ�เงินได้พอควร แต่เมื่อราคา ทีด่ นิ พุง่ สูงขึน้ จึงมีชาวไร่ออ้ ยจำ�นวนไม่นอ้ ยตัดสินใจ ตัดทีแ่ บ่งขายเพือ่ ต้องการปลดหนีร้ วมทัง้ มีการหันไป ปลูกพืชเกษตรอื่นๆ พื้นที่ปลูกอ้อยลดน้อยลงจนไม่ สามารถป้อนโรงงานน้�ำ ตาลได้เพียงพอ ทำ�ให้เกิดการ แย่งชิงวัตถุดบิ แย่งกันรับซือ้ อ้อย โรงงานต้องออกไป หาวัตถุดิบไกลขึ้น ค่าขนส่งจึงแพงขึ้น ทำ�ให้ต้นทุน การผลิตสูงขึ้น ผลกำ�ไรต่อปีลดลงอย่างชัดเจน แนวคิดการย้ายโรงงานจึงเกิดขึ้น และกลาย เป็นข้อถกเถียงของครอบครัวว่าจะอยู่หรือไป
29
30
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
คุณสุนทรเสนอความคิดเรื่องย้ายโรงงานและมอง ไปที่อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ผืนดินแห่งโอกาส แห่งใหม่อยู่เลยขึ้นไปทางเหนือ ที่มีดิน มีน้ำ�อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีแรงงานและไม่มีคู่แข่ง ในเบื้องต้นคุณกมลยังไม่เห็นด้วยนัก เรื่องนี้นับเป็น เรื่องใหญ่เพราะบ้านโป่งเป็นพื้นที่ที่มากไปด้วยความหมาย เป็นผืนดินที่ครอบครัวก่อร่างสร้างตัวมาตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตใน เมืองไทย การย้ายโรงงงานจึงเสมือนกับการอพยพออกจาก บ้านเกิดอีกครัง้ แม้จะต้องไปเพือ่ ทำ�มาหากินแต่กเ็ ป็นเรือ่ งที่ ทำ�ใจได้ยาก อีกทั้งการย้ายโรงงานอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับ ชาวไร่อ้อยที่เปรียบเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกันด้วย หากเหตุผลทางธุรกิจและวิสัยทัศน์ในการย้ายไปที่ ใหม่ของคุณสุนทรดูจะมีน�้ำ หนักมากกว่า คุณกมลจึงช่วยดูที่ ตั้งโรงงานแห่งใหม่ และดำ�เนินการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนให้กับชาวไร่อ้อยควบคู่กันไป คุณสุนทรและคุณกมลได้ใช้วิธีเจรจาเปิดใจเล่าถึง ความจำ�เป็นพร้อมหาทางแก้ไขปัญหาให้กับชาวไร่อ้อยได้ อย่างลุล่วง ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2533 มิตรผลจึงย้ายโรงงานจาก บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปทีอ่ �ำ เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำ�คัญ ทีต่ งั้ ใหม่ของโรงงานทีด่ า่ นช้างมีศกั ยภาพมากกว่าโรงงาน ดัง้ เดิมทีบ่ า้ นโป่ง มีแหล่งน้�ำ จากคลองส่งน้�ำ ชลประทานเขือ่ น กระเสียวทีเ่ กษตรกรสามารถใช้ได้อย่างทัว่ ถึง สภาพภูมปิ ระเทศ ก็เหมาะสม ดินส่วนมากเป็นดินร่วนระบายน้�ำ ดีเหมาะต่อการ ทำ�ไร่อ้อย โรงงานใหม่ของมิตรผลทำ�ลายสถิติด้วยปริมาณ การผลิตทีพ่ งุ่ ทะยาน สามารถหีบอ้อยทะลุหลักล้านตันตัง้ แต่ ปีแรก เกษตรกรในพืน้ ทีห่ นั มาปลูกอ้อยกันหลายแสนไร่เพียง พอที่จะป้อนโรงงาน โรงงานน้�ำ ตาลมิตรผลที่ด่านช้าง จึงกลายเป็นโรงงาน ที่มีผลผลิตสูงสุดของมิตรผล
31
32
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
“เปลี่ยนแปลง” บนความ “กล้า” มิตรผลก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อคุณอิสระ เข้ามารับหน้าที่เป็นแม่ทัพขับเคลื่อนต่อจากคุณวิฑูรย์ ในปี พ.ศ. 2531 ตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการเป็นภาระหน้าที่อันหนักหน่วง เนื่องจากขนาดของธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น และการแข่งขันก็สูงขึ้นตามยุคสมัย วิสัยทัศน์และปรัชญาขององค์กรจึงถูกกำ�หนดขึ้นเพื่อก้าวสู่เป้าหมาย ที่ชัดเจน ...มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เชื่อในคุณค่าของคน ตั้งอยู่ในความเป็นธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม... เมื่อเป้าหมายถูกกำ�หนดไว้ที่ “ความเป็นเลิศ” ฉะนั้น สิ่งใดบ้างที่จะทำ�ให้กลุ่มมิตรผลบรรลุผล แม่ทัพคนใหม่ปักธงเดินหน้าพัฒนาบริษัทใน 3 เรื่องใหญ่ นั่นคือ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำ�งานให้ทนั สมัย ต้องก้าวล้�ำ พร้อมนวัตกรรม เทคโนโลยีการบริหารจัดการ และองค์กรที่ทันสมัย พัฒนาประสิทธิภาพโรงงานการผลิตและคุณภาพบุคลากร นั่นหมายถึง ความคิดใหม่ บุคลากรที่มี คุณภาพสูงขึ้น ชาวไร่ที่มีความรู้ความชำ�นาญมากขึ้น พัฒนาระบบการจัดการและการตลาด สร้างคุณภาพสินค้าให้สูงกว่ามาตรฐาน และพัฒนาอ้อยให้มี คุณค่าราคาสูงขึ้น เพื่อให้ชาวไร่ได้รับประโยชน์มากที่สุด ขณะเดียวกัน เมื่อต้องการมุ่งสู่ความเป็นเลิศนั้น ต้องเชื่อมั่นใน “คุณค่าของคน” ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า จะเป็นพนักงานหรือชาวไร่อ้อย “ความเป็นธรรม” ที่ยืนหยัดจะช่วยทำ�ให้ทุกชีวิตต้องมีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ที่ยั่งยืน และ “ความรับผิดชอบดูแลสังคม” ร่วมกันนั้นจะทำ�ให้ทุกคนมีความสุขได้ ทัง้ หมดนีจ้ ะต้องผูกร้อยเข้าด้วยกันด้วยสายใยทีถ่ กั ทออย่างแน่นเหนียว บนแนวคิด Grow Together หรือ “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” เข็มทิศของแม่ทัพคนใหม่ถูกแปรเป็นรูปธรรมอีกมากมายหลายอย่าง จนเกินกว่าที่ใครจะคาดเดา
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ขับเคลื่อนไม่หยุดยั้ง ในช่วงเวลานั้น โรงงานน้ำ�ตาลมิตรภูเขียว ที่จังหวัดชัยภูมิ ต้องเผชิญกับปัญหาจาก ชานอ้อยทีเ่ หลือจากการผลิต กลายเป็นภาระก้อนใหญ่ทตี่ อ้ งขนนำ�ไปทิง้ แนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้น โดยการนำ � ชานอ้อยมาผลิตเป็นแผ่นไม้ปาร์ติเกิลเพื่อทำ�เฟอร์นิเจอร์ ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ให้ประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็มพี ปาร์ติเกิล บอร์ด จำ�กัด ขึ้นที่จังหวัด ชัยภูมิ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่ม บริษัท พาเนล พลัส ดำ�เนินการผลิต ไม้ปาร์ตเิ กิล ไม้เอ็มดีเอฟ และไม้เคลือบ เมลามีน สามารถผลิตไม้ปาร์ติเกิลได้ ปีละ 300,000 ลูกบาศก์เมตร ไม้เอ็มดีเอฟ ปีละ 300,000 ลูกบาศก์เมตร และ กระดาษเคลือบเมลามีนได้ถึงปีละ 23.5 ล้านตารางเมตร วัสดุทดแทนไม้นี้ ถือเป็นทาง เลือกใหม่ในการใช้ไม้จากธรรมชาติ ช่วย ลดการตัดไม้ทำ�ลายป่า รักษาผืนป่าให้ คงอยูเ่ ป็นต้นน้�ำ และทีอ่ ยูอ่ าศัยของสัตว์ นานาชนิดได้มากกว่าปีละ 45,000 ไร่ ในปี พ.ศ. 2535 กลุ่มมิตรผลได้ตั้ง บริษัท แปซิฟิค ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด ขึ้น เพื่อดำ�เนินธุรกิจเป็นตัวแทนของบริษัทน้ำ�ตาล ในกลุ่มและบริษัทน้ำ�ตาลอื่นๆ ส่งออกน้ำ�ตาลไปยัง ตลาดต่างประเทศ นอกจากนั้น ในห้วงเวลาดังกล่าว ยังได้ขยายกิจการใน ประเทศ โดยได้เข้าซือ้ โรงงานทีอ่ �ำ เภอหนองเรือ (โรงงานน้�ำ ตาลประจวบ อุตสาหกรรม) ในจังหวัดขอนแก่น เดินหน้าปรับปรุงเครือ่ งจักรและกระบวนการผลิตให้ ทันสมัย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานน้�ำ ตาลมิตรภูเวียง”
33
34
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เปิดประตูสู่แดนมังกร หลังจากการขยับขยายสร้างฐานการผลิตในประเทศมั่งคงขึ้น แผนงานในการลงทุนเพิ่มในต่างประเทศ จึงเกิดขึ้น โดยประเทศที่น่าสนใจไปลงทุนมีหลายประเทศ เช่น จีน กัมพูชา พม่า ลาว และอินโดนีเซีย ในเวลานั้น จีน เป็นเป้าหมายใหญ่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นแผ่นดินเกิดของพ่อและแม่ แต่จำ�นวนประชากรในประเทศจีนหลังจาก เปิดประเทศนั้นหอมหวานยิ่งกว่า ความต้องการบริโภคน้ำ�ตาลสูงและยังไม่สามารถผลิตน้ำ�ตาลได้เพียงพอ ต่อความต้องการ เป็นแรงดึงดูดให้มิตรผลเห็นโอกาสอันงดงาม 2 ทศวรรษก่อน คุณสุนทรและคุณกมลกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดบุพการีที่หมู่บ้านมุ้ยเต็ดหลายครั้ง แม้หมู่บ้านจะเป็นพื้นที่ผลิตอ้อยและน้ำ�ตาล แต่ไม่มีใครเคยคิดถึงเรื่องทำ�โรงงานน้ำ�ตาลเลย เพราะเวลานั้น การปลูกอ้อย การตัดอ้อย และการขนส่งในจีนยังล้าหลัง โรงงานน้ำ�ตาลก็อยู่ไกลจากไร่ไป 4-5 กิโลเมตร พันธุ์อ้อยที่ปลูกก็ยังเป็นพันธุ์พื้นบ้านสำ�หรับเคี้ยวเล่น ให้น้ำ�อ้อยไม่มากนัก จึงเห็นว่าไม่น่าลงทุน แต่ที่น่าสนใจคือ มัดกองอ้อยที่ชาวบ้านตัดมัดกองรวมกันไว้ข้างทาง ลิดใบจนสะอาดเกลี้ยงเกลา และใช้ปอมัดเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า มีแรงงานตัดอ้อยให้ใช้เหลือเฟือและทำ�กันอย่างพิถีพิถัน ยิ่งบุกเข้าไป ดูในไร่อ้อยแล้ว ยิ่งประทับใจ เพราะแรงงานไร่อ้อยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ขยันขันแข็ง ทำ�งานได้เรียบร้อย ไม่มีที่ติ อ้อยจึงสะอาดมาตั้งแต่ต้นทาง ยิ่งได้รับข้อมูลใหม่น่าสนใจจากชาวจีนที่มาจากหนานหนิงซึ่งญาติจากฮ่องกงพามาเที่ยวกรุงเทพฯ ว่า ทีม่ ณฑลกวางสีเป็นพืน้ ทีป่ ลูกอ้อยทีส่ ำ�คัญ มีคนปลูกอ้อยเยอะมาก และมีโรงงานน้ำ�ตาลเกิดขึน้ อยูห่ ลายแห่ง ในฤดูเปิดหีบในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 คุณสุนทรจึงเดินทางไปเขตหนานหนิงเพื่อดูโรงงานน้ำ�ตาล ด้วยตัวเอง และพบว่า จีนเป็นพื้นที่ที่น่าลงทุนมาก เพราะจีนมีการเปลี่ยนแปลง โดยปรับนโยบายจากโรงงาน
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ในเวลาต่อมา “มณฑลกวางสี” ที่ “มิตรผล” เข้าไปลงทุน กลายเป็นพื้นที่ปลูกอ้อย และแหล่งผลิตน้ำ�ตาลที่สำ�คัญ ของ “จีน” จนได้รับฉายาว่า
“Sugar Province of China” น้ำ�ตาลที่เคยเป็นวิสาหกิจและทางการผูกขาดกำ�หนดราคาอ้อยและน้ำ�ตาล สู่การเปิดให้ทางท้องถิ่นบริหาร โรงงานน้ำ�ตาลเอง แต่รัฐบาลท้องถิ่นบริหารจัดการไม่เป็น ภาระหนี้สินกับธนาคารจึงพอกพูน ทางออกก็คือ ชักชวนให้ คนต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อปลดหนี้และปรับปรุงการบริหารธุรกิจน้�ำ ตาลและสร้างกำ�ไรให้ได้ เพื่อความมั่นใจ คุณสุนทรจึงขอให้คุณกมลและคุณอิสระเดินทางไปดูโรงงานน้ำ�ตาลที่หนานหนิง ก่อนที่จะเปิดหีบรอบใหม่เพื่อการตัดสินใจ การไปครั้งนั้นกลายเป็นการเปิดประตูสู่แดนมังกรอย่างไม่มีใครคาดคิด ในเดือนสิงหาคม คุณกมลและคุณอิสระได้เข้าพบปะและเจรจากับฝ่ายบริหารท้องถิ่นในทุกระดับ รวมถึงเลขาธิการมณฑล ทุกคนและทุกฝ่ายต่างเปิดทางให้ทุกประการ การกลับสู่เมืองไทยครั้งนี้ทั้งคู่จึงมีสัญญาการร่วมลงทุน (MOU) ติดมือกลับมาด้วย การทำ�สัญญาร่วมทุนกับทางการจีนนี้กลุ่มมิตรผลทำ�ขึ้นภายใต้ชื่อ บริษัท กวางสี หนานหนิง อีสต์ เอเชีย ชูการ์ จำ�กัด (Guangxi Nanning East Asia Sugar Co., Ltd.) หากสัญญานี้กลุ่มมิตรผลมีเวลา เพียงแค่ 20 วันเท่านั้นเพื่อทำ�การเปิดหีบฤดูกาลใหม่ของโรงงานที่กวางสีให้ทัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 กลุ่มมิตรผลจึงปักธงลงบนแดนมังกรตั้งแต่วันนั้น แม้จะเป็นการก้าวไปสู่ต่างประเทศเป็นครั้งแรกในเวลาที่ยังไม่ค่อยพร้อมนัก แต่ก็นับว่าเป็นการ ตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะในเวลาต่อมามณฑลกวางสีที่กลุ่มมิตรผลเข้าไปลงทุนกลายเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยและ แหล่งผลิตน้ำ�ตาลที่สำ�คัญของจีน จนได้รับฉายาว่า Sugar Province of China โดยครั้งแรกกลุ่มมิตรผลเข้าไปร่วมทุนและปรับปรุงโรงงานใหม่จำ�นวน 4 แห่งด้วยกันคือ ฝูหนาน ทั่วหลู ฉงจั่ว และหนิงหมิง ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 จึงเข้าร่วมทุนกับโรงงานไห่ถังเพิ่มอีก 1 แห่ง โดย กลุ่มมิตรผลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีสัดส่วนตั้งแต่ 60-90%
35
36
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
Grow Together ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ แนวคิดในการสร้างโอกาสความเท่าเทียมให้กับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เกษตรกร ไปจนถึงชุมชนโดยรอบโรงงานน้ำ�ตาล กลายเป็นกลยุทธ์สำ�คัญที่สร้างความยั่งยืนให้กับ กลุ่มมิตรผล นอกจากที่โรงงานและพนักงานจะได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่พอเหมาะ ลูกค้าได้สินค้าใน ราคาทีเ่ หมาะสมแล้ว ชาวไร่ออ้ ยทีถ่ อื เป็นหัวใจในการทำ�ธุรกิจนี้ กลุม่ มิตรผลมองว่า เป็นพันธมิตรทีม่ คี วาม สำ�คัญอย่างยิ่ง กลุ่มมิตรผลจึงทุ่มเทศึกษา วิจัย ค้นคว้า และพัฒนาคุณค่าของอ้อยและน้ำ�ตาลในทุกรูปแบบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวไร่อ้อยและธุรกิจ ทั้งการหาแหล่งน้ำ� พัฒนาดิน พันธุ์อ้อย วิธีการปลูก วิธีสู้กับ โรคอ้อย รวมไปถึงการเก็บเกี่ยว และการขนส่ง อีกทั้งมีการนำ�เทคโนโลยีและการบริหารจัดการไร่อ้อยมา ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ช่วยพัฒนาให้ชาวไร่อ้อยมีศักยภาพทัดเทียมระดับสากล ที่สำ�คัญคือ มีการทำ�สัญญา Contract Farming อย่างเป็นธรรม โดยกลุ่มมิตรผลยึดมั่นที่จะ รับผิดชอบต่อสัญญาการซื้อขายผลผลิตอย่างจริงใจ เป็นการสร้างความมั่นใจให้ชาวไร่อ้อย ช่วยให้ชาวไร่ อ้อยมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี มีรายได้เพียงพอ รูจ้ กั ทำ�มาหาเก็บ และสามารถดำ�รงอาชีพเกษตรกรนีไ้ ด้อย่างยัง่ ยืน “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” จึงเป็นการก้าวเดินที่เติบโตไปด้วยกันอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน
37
38
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6
แสงสว่างท่ามกลางพายุเศรษฐกิจ
2539-2549
เศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นวิกฤตครั้งสำ�คัญที่สุดขององค์กรกลุ่มมิตรผลได้รับ ผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนจาก 25 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนตัวลงไปแตะที่ 50 บาทต่อดอลลาร์
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ในชั่วข้ามคืนบริษัทที่มีผลกำ�ไรมาอย่างต่อ เนื่องนับพันล้านบาท กลับกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้ สูงถึง 14,000 ล้านบาท จะท้อ หรือ จะสู้ จะถอย หรือ จะรุก แสงสว่างจากกำ�ลังใจทีโ่ อบล้อม ความมัน่ คง ในศรัทธาและมือที่เกาะเกี่ยวกันฟันฝ่าเป็นสิ่งที่ ตอบคำ�ถามได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารตั้งแต่ผู้จัดการขึ้นไปร่วมแรงร่วมใจ ขอลดเงินเดือนตัวเองลง 10% และลดรายจ่าย ทุกทางเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาของบริษัท
งานเลี้ยงปีใหม่เปลี่ยนไปใช้พื้นที่ว่าง บนชั้น 25 ของอาคาร เพื่อจัดงานสังสรรค์กัน ภายในบริษัทด้วยอาหารและขนมแบบง่ายๆ แทนงานเลี้ยงในโรงแรมหรูซึ่งเคยจัดขึ้นทุกปี งานเลี้ยงไม่มีเสียงดนตรี มีแต่เสียงคำ�มั่น สัญญาจากคนที่มีหัวใจเดียวกันที่ทุกคนมุ่งมั่นจะ ฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน รากเหง้าบนปรัชญา “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” จึงเป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนที่สำ�คัญของ กลุ่มมิตรผล
39
40
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
We have to change the way we think ความเข้าใจในสถานการณ์และความร่วมมือร่วมใจของพนักงานช่วยปลดล็อกทำ�ให้ปัญหาภายใน คลี่คลายลง แต่การจะก้าวพ้นจากสถานการณ์อนั วิกฤตนีไ้ ด้ ในมุมมองของแม่ทพั นัน้ เชือ่ ว่า ต้องแก้ไขที่ “ความคิด” We have to change the way we think เป็นแนวคิดที่แม่ทัพของกลุ่มมิตรผลนำ�มาใช้แก้ปัญหาที่ กำ�ลังเผชิญ (คุณอิสระดัดแปลงจากคำ�ของ Jack Welch อดีต CEO ของ GE ว่า You have to change the way you think) ดังนัน้ แทนทีจ่ ะหยุดเพราะเจอปัญหาเช่นบางองค์กร แต่กลุม่ มิตรผลกลับเดินหน้า ทัง้ วางแผนอนาคต และปรับตัวจัดองค์กรครั้งใหญ่ มีการว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาจัดการดูแลในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่ต้นทุนไปจนถึง เงินเดือน โดยมีความร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันปัญหา ขณะเดียวกัน เพื่อแก้วิกฤตให้ลุล่วง การส่งออกจึงเป็นเป้าหมายสำ�คัญ เพราะรายได้ถึงร้อยละ 70 ของกลุ่มมิตรผลมาจากการส่งออก แต่จะทำ�อย่างไรจึงจะมีน้ำ�ตาลมาส่งออกต่อไปให้ได้ปริมาณมากๆ
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
อ้อยจึงเป็นปัจจัยที่สำ�คัญที่สุด เพราะ ถ้าไม่มีอ้อยกลไกอื่นๆ ก็จะหยุดทำ�งาน การลง คลุกเพือ่ แก้ปญ ั หาอ้อยในทุกด้านจึงเป็นทางออก ที่ดีที่สุด คุณอิสระพยายามเจรจาขอให้ธนาคาร ปล่อยสินเชื่อให้ชาวไร่ในสัญญาของบริษัทที่ ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ เพื่อให้ลูกไร่ได้ มีทุนมาปลูกอ้อยได้เต็มที่ โดยวางเป้าหมายไว้ ว่า ชาวไร่ทุกรายจะมีเงินทุนตลอดเวลา 3 ปี เพื่อผลิตอ้อยส่งเข้าสู่โรงงานได้อย่างเต็มกำ�ลัง การผลิต ขณะเดียวกัน ก็สร้างความเชือ่ มัน่ ว่า ธนาคาร จะได้เงินกู้คืนทุกบาททุกสตางค์และสามารถ เข้ามาตรวจสอบความโปร่งใสในทุกขั้นตอนการ ปฏิบัติงานขององค์กรได้ นอกจากนั้น ยังมีการปรับกระบวน การผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาสินค้าใหม่ให้ มีมากขึ้น จากเดิมที่ขายน้ำ�ตาลทรายดิบเทกอง เพียงอย่างเดียวก็พัฒนาขายเป็นบรรจุกระสอบ และผลิตน้ำ�ตาลทรายขาว/ขาวบริสุทธิ์ส่งออก ซึง่ มีมลู ค่าสูงกว่า โดยปัจจุบนั ยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความต้องการของตลาด การเจาะทะลุปัญหาได้ตรงเป้า บวกกับ ผลประกอบการที่เมืองจีนมีกำ�ไรในช่วงนั้นมาก สามารถส่งรายได้กลับมาช่วยกู้สถานการณ์พอดี ทำ�ให้กลุ่มมิตรผลกอบกู้สถานการณ์กลับสู่ปกติ ได้เร็วกว่าที่คาด กลุ่มมิตรผลสามารถปลดภาระหนี้สิน 14,000 ล้านบาท ได้ส�ำ เร็จภายในเวลาเพียง 5 ปี และไม่ได้สญ ู เสียพนักงานจากการเลิกจ้างไปแม้แต่ คนเดียว พร้อมทั้งจัดสรรเงินส่วนที่เคยปรับลด คืนสู่พนักงานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
41
42
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
สร้างฝ่ายวิจัย พัฒนา และวางแผนอนาคต ในช่วงทีเ่ ส้นกราฟดิง่ ลงเหว วิกฤตได้กลายเป็นจุดเปลีย่ นทีส่ ร้างโอกาสด้านการวิจยั และพัฒนา ของกลุ่มมิตรผล เรื่องนี้เกิดจากวิสัยทัศน์ของคุณอิสระที่มองการณ์ไกล เล็งเห็นว่า ประเทศไทยเหมาะกับ อุตสาหกรรมการเกษตร แต่อาชีพเกษตรกรโดยเฉพาะการปลูกอ้อยกลับไม่ได้รับการสนับสนุนดูแล เท่าที่ควร เพราะจากการได้ไปดูงานจากหลายประเทศพบว่า แม้แต่มอริเชียส ประเทศที่มีพื้นที่เล็กๆ ที่ ผลิตน้ำ�ตาลแค่ปีละ 600,000 ตัน ก็ยังทำ�ขึ้นบนพื้นฐานจากงานวิจัย อีกทั้งยังเห็นปัญหาที่ทำ�ให้นักวิจัยไทยไม่สามารถทำ�งานได้เต็มกำ�ลังความสามารถเท่าที่ควร จากเงินทุนและแรงสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ จึงทำ�ให้งานวิจัยไทยไม่โดดเด่นเท่าที่ควร จากจุดนี้เอง ในปี พ.ศ. 2540 บริษัท มิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและน้ำ�ตาล จำ�กัด จึงเกิดขึ้น ที่อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยกลุ่มมิตรผลเป็นเอกชนรายแรกและรายเดียวในเวลานั้น ที่มีหน่วยงานวิจัยเป็นของตัวเอง มิตรผลวิจยั พัฒนาอ้อยและน้ำ�ตาล เกิดขึน้ ด้วยเงินลงทุนเริม่ ต้น 60 ล้านบาท และงบประมาณ ต่อเนื่องอีกปีละหลายสิบล้านบาท จนในปัจจุบันมีงบประมาณเพื่อศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตอ้อย อย่างครบวงจรมากถึงปีละ 400 ล้านบาท
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
43
โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นพอต่อความต้องการของโรงงาน และช่วยคิดค้น พัฒนาและสนับสนุนความรู้ด้านต่างๆ ให้กับชาวไร่อ้อยให้นำ�วิชาการความรู้ที่ได้จากห้องทดลองไป ประยุกต์เพื่อใช้งานในพื้นที่จริง ทั้งด้านการจัดการระบบชลประทาน การพัฒนาพันธุ์อ้อย การเพิ่ม ผลผลิตและเพิ่มค่าความหวาน การใช้อินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงดินและบํารุงตอ การป้องกันโรคแมลง ด้วยวิธีทางธรรมชาติ ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2544 กลุ่มมิตรผลได้ก่อตั้ง บริษัท ไร่ด่านช้าง จำ�กัด และ บริษัท ไร่อีสาน จำ�กัด ขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำ�หรับชาวไร่อ้อยและบุคคลทั่วไปในการศึกษาวิธีการจัดการไร่อ้อย อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความมั่นคงในอาชีพให้ชาวไร่อ้อยมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน การทำ�งานนี้ไม่เพียงแต่การดูแลและจัดการพื้นที่ปลูกอ้อยในแปลงสาธิตของ กลุ่มมิตรผลเท่านั้น ศูนย์วิจัยยังได้มุ่งพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำ�ไร่อ้อยเพื่อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการจัดการไร่อ้อย ร่วมกับฝ่ายส่งเสริมไร่ของโรงงานน้ำ�ตาลและบริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำ�ตาล จำ�กัด อย่างต่อเนื่อง จากหน่วยงานเล็กๆ ในจังหวัดชัยภูมิ ที่มีแค่หัวหน้าศูนย์วิจัยและพนักงาน 20 คน ปัจจุบัน บริษัท มิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและน้ำ�ตาล จำ�กัด ได้ยกระดับเป็นสถาบันวิจัยเรื่องอ้อยและน้ำ�ตาล (RDI) ที่เชิดหน้าชูตาประเทศชาติ มีผู้เชี่ยวชาญระดับด็อกเตอร์ถึง 12 คน และมีนักวิชาการที่จบทั้ง ปริญญาตรีและปริญญาโทมากกว่า 20 คน รวมบุคลากรทั้งหมดเกือบ 130 คน ทั้งยังมีงบประมาณ มากกว่าปีละ 400 ล้านบาท ในการสร้างผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำ�ตาล ให้เกิดขึ้นอย่างมากมาย จนถึงบัดนี้ กลุ่มมิตรผลก็ยังเป็นผู้ผลิตน้ำ�ตาลรายเดียวในประเทศที่มีศูนย์วิจัยและพัฒนา เรื่องอ้อยของตนเอง และมีเจ้าหน้าที่วิจัยระดับสูงทั้งหมดเป็นคนไทยทั้งสิ้น
44
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
Modern Farm ก้าวต่อไปของเกษตรกรไทย เกือบ 20 ปีของการมุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาอ้อยในทุกด้านตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปถึงเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ทำ�ให้กลุ่มมิตรผลหาวิธีป้องกันโรคและแมลงที่จะเกิดกับอ้อยได้ส�ำ เร็จ และเริ่มมีพันธุ์อ้อยของตัวเองจาก การผสมสายพันธุ์ที่ชาวไร่มาช่วยเลือกนับร้อยนับพัน เพื่อสร้างสายพันธุ์อ้อยให้หลากหลายเหมาะและ ทนทานต่อสภาพดินและภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ มีความหวานและสามารถสร้างผลผลิตต่อไร่ได้สูง อีกทั้งมีการพัฒนาระบบน้ำ�หยดบนดินและใต้ดินที่สามารถผสมปุ๋ยลงไปด้วย ทำ�ให้อ้อยได้รับ ปุ๋ยและน้ำ�เต็มที่ ช่วยลดต้นทุนกว่าการราดบนต้นได้ถึง 3 เท่า ล่าสุด ศูนย์วิจัยนี้สามารถทำ�ยีสต์ได้เอง
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
โดยไม่ตอ้ งนำ�เข้า สามารถลดต้นทุนในกระบวนการ ผลิตลงได้ไม่น้อย อีกทั้งกลุ่มมิตรผลยังทำ�การวิจัยร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เพื่อพัฒนา มีดตัดอ้อยสำ�หรับชาวไร่ได้สำ�เร็จ โดยออกแบบด้าม มีดให้มีกริป (grip) จับเหมือนไม้กอล์ฟ เพื่อไม่ให้ หลุดมือง่าย ใช้แรงน้อยลง และตัดอ้อยได้มากขึ้น อีกทั้งยังสอนการตัดอ้อยอย่างถูกวิธีให้กับคนงาน นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มมิตรผลยังมองว่า หากชาวไร่สามารถพัฒนาตัวเองเข้าสู่การทำ�ฟาร์ม สมัยใหม่แล้ว ปัญหาหลายอย่างก็จะคลี่คลายลง การใช้เครื่องจักรกลแม้จะมีต้นทุนสูงแต่ในระยะ ยาวคุ้มค่ากว่าเพราะสามารถทุ่นแรงงานคนได้มาก สะดวกสบายตั้งแต่การไถพรวนจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และไถกลบใบอ้อยแทนการเผาใบอ้อย นอกจาก จะช่วยให้ออ้ ยขายได้ราคาดีขนึ้ แล้ว ยังช่วยปรับปรุง คุณภาพดินให้ดีขึ้นอีกด้วย แต่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานตัดอ้อยที่ ต้องทนทั้งร้อนจากแสงแดดและใบอ้อยบาด ทำ�ให้ เจ้าของไร่จ�ำ เป็นต้องเผาอ้อยเพราะถ้าไม่เผาก็ไม่มี คนงานยอมเข้าไปตัด กลุม่ มิตรผลแก้ปญ ั หาด้วยการทำ�แปลงสาธิต ให้เห็นว่า หากเผาอ้อยจนเกลี้ยงไร่ภายในสัปดาห์ เดียวหญ้าก็จะขึ้นเต็มไปหมดทำ�ให้ต้องเสียเงินซื้อ สารเคมีมากำ�จัดวัชพืช อีกทั้งอ้อยที่เผาใบถ้าไม่ รีบตัดส่งโรงงานในทันทีจะทำ�ให้เสียน้ำ�ตาลและ คุณภาพความหวานไป โดยเฉพาะอ้อยไหม้ไฟทีต่ ดั ทิง้ ไว้ยงิ่ นานจะยิง่ สูญเสียคุณภาพความหวานมากยิง่ ขึน้ ดังนัน้ การใช้รถตัดอ้อยมาช่วยจะได้ผลดีกว่า เพราะนอกจากทำ�งานไว สะดวก รวดเร็ว อ้อยยังจะ ถูกส่งเข้าโรงงานตามเวลาที่ต้องการ ส่วนใบอ้อยที่ เหลือค่อยไถกลบให้เป็นปุ๋ย แทนการเผา วิธีนี้จะ ได้ไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากกว่า
45
46
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
รู้จักอ้อย รู้จักน้�ำ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเกษตร ประกอบกับการมีศูนย์วิจัยและพัฒนา ของตนเอง ทำ�ให้กลุม่ มิตรผลเดินหน้าเข้าสูย่ คุ โมเดิรน์ ฟาร์มมิง่ (Modern Farming) อย่างองอาจ เป้าหมายคือ เพือ่ ให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต แก้ปญ ั หาการขาดแคลนแรงงาน และ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้ได้มากขึ้น การปลูกอ้อยในประเทศไทยแต่เดิมมาเป็นการปลูกพืชไร่ให้เทวดาช่วยเลี้ยง ปล่อยให้ ผลผลิตเป็นไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ แต่ถา้ จะทำ�ไร่ให้ได้ผลดีชาวไร่ออ้ ยจะต้องรูจ้ กั อ้อย และเข้าใจภูมิอากาศอย่างถ่องแท้ หากชาวไร่ประเมินสภาพน้ำ�ในแต่ละปีได้ถูกก็จะสามารถ คาดการณ์ผลผลิตได้ เช่น ปริมาณน้�ำ ฝนต่�ำ กว่า 1,000 มิลลิเมตร ถือว่าเป็นภาวะอันตรายในเรือ่ งความแห้งแล้ง แต่ถา้ น้�ำ เกิน 1,400 มิลลิเมตร หายนะก็มารออยูต่ รงหน้าเช่นกันเพราะความชืน้ มากทำ�ให้ออ้ ยมี โอกาสถูกโจมตีดว้ ยโรคสารพัด หนอน เชือ้ รา เข้ามาทำ�ให้ล�ำ ต้นเน่า หรือแม้แต่เจอภาวะน้�ำ ท่วม ปีไหนน้ำ�มากอ้อยจะไม่หวาน ปีที่น้ำ�น้อยอ้อยจะหวานเข้มข้นขึ้นแต่ผลผลิตต่อไร่ อาจน้อยลง แต่ถ้าเจอความแห้งแล้งในระดับภัยพิบัติอ้อยก็จะแคระแกร็นและยืนต้นแห้ง ตายไปทั่วไร่ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกที่เรียกว่า เอลนีโญ่ (ฝนแล้ง) และ ลานีญ่า (ฝนมาก) ล้วนมีผลต่ออ้อยทั้งสิ้น ถ้าซีกโลกใต้แล้งจัดได้ผลผลิตน้อย ซีกโลกเหนือก็จะได้ผลผลิตดีสลับกันไปมา วงจรการ ผลิตอ้อยจะวนเวียนเป็นเช่นนี้ทั่วโลก และราคาจะผกผันขึ้นลงตามปัจจัยเหล่านี้ ถึงเวลานี้ระบบชลประทานในไร่อ้อยจึงเป็นเรื่องจำ�เป็น เพราะหากดูแลไร่อ้อยดีอย่าง ต่อเนื่องก็จะทำ�ให้มีผลผลิตต่อไร่สูง ขายได้ราคาดีกว่า ผลกำ�ไรมากกว่า เพราะต้นทุนการผลิต อ้อยโดยรวมต่ำ�กว่าการทำ�นา เพราะปลูกแค่ครั้งเดียวสามารถเลี้ยงตอบำ�รุงต่อให้เก็บได้อีก 3-4 รุ่น โดยไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี หากเทียบกัน ระหว่างการปลูกอ้อย ข้าว ข้าวโพด และมันสำ�ปะหลัง ในพื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่เท่ากัน ใช้ดิน น้�ำ ปุ๋ย แสงแดดเหมือนกัน เห็นได้ชัดว่า อ้อยให้ผลตอบแทนดีที่สุด สำ�หรับชาวไร่อ้อยรุ่นใหม่ภายใต้การดูแลของกลุ่มมิตรผลในปัจจุบัน มีการจัดระบบ ชลประทานที่ดีจนสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 15 ตันต่อไร่ และจะทำ�ให้ได้ถึง 20 ตันในอนาคต เมื่อนำ�เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วยเป็นระบบโมเดิร์นฟาร์มอย่างสมบูรณ์
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ลูกหลานชาวไร่ กับโมเดิร์นฟาร์ม การวิจัยนี้ยังครอบคลุมไปวางแผนลดการขาดแคลนแรงงานทั้งในระดับมันสมองและระดับแรงงาน โดยมี การสนับสนุนโรงเรียนในพื้นที่โรงงาน ระดับ ปวช. และ ปวส. เน้นการเรียนการสอนด้านการเกษตร โดยรับประกัน ตำ�แหน่งงานให้เมื่อเรียนจบ ส่วนภาคการผลิตก็มีการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่ชาวไร่ นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มมิตรผลยังเล็งเห็นว่า ลูกหลานชาวไร่อ้อยจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญกับภาคเกษตรกรรมต่อไป ในอนาคต เพราะหากไม่มีคนรุ่นใหม่เหล่านี้ต่อไปก็จะไม่มีใครปลูกอ้อยอีกต่อไป จึงมีบทบาทสำ�คัญในการจูงใจให้ลูกหลานชาวไร่กลับบ้านไปทำ�เกษตร ต้องมีการจัดอบรมหลักสูตร ทำ�การเกษตร นำ�ลูกหลานของชาวไร่มาเรียน เข้าคอร์สอบรม แสดงให้เด็กรุ่นใหม่เห็นว่า จบปริญญาตรีกลับไป ทำ�ไร่อ้อยของพ่อแม่แล้วก็สามารถรวยได้ แค่กลับบ้านก็มีช่องทางหาเงินได้หลายอย่าง มีรายได้มากกว่าเงินเดือน คนทำ�งานในเมือง ปัจจุบัน กลุ่มมิตรผลมีแปลงปลูกอ้อยต้นแบบ “โมเดิร์นฟาร์ม” อยู่หลายแห่ง ที่อำ�เภอภูเขียว 20,000 ไร่ และที่สุพรรณบุรี 10,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 5 ปีข้างหน้าจะสามารถเปลี่ยนชาวไร่เข้าสู่ระบบโมเดิร์นฟาร์ม ได้ครึ่งหนึ่งจากที่มีอยู่ทั้งหมด สมาชิกชาวไร่อ้อยของกลุ่มมิตรผลบางแห่งมีประสิทธิภาพการทำ�งานสูงใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้คนเพียงไม่กคี่ นก็สามารถดูแลไร่ออ้ ยนับพันไร่ได้ จากมีระบบรดน้�ำ เป็นเวลา มีเครือ่ งจักรอุปกรณ์ทนุ่ แรงแทนแรงงาน สามารถลดปัญหาเรื่องคนงานลงได้เป็นสิบเท่า ยุคต่อไปงานวิจัยและพัฒนาในเครือกลุ่มมิตรผลจะเดินหน้าเข้าสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีมูลค่า สูงขึ้น เช่น เรื่องไบโอพลาสติก แต่ก็ยังยืนหยัดอยู่บนรากฐานเดิมคือ พัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสิ่งใหม่จากอ้อย และวัสดุเหลือใช้ที่เกิดจากอ้อยเป็นหลัก
47
48
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เปลี่ยนชานอ้อยเป็นวัสดุทดแทนไม้ จากความสำ�เร็จในการสร้างปาร์ติเกิลบอร์ดให้เป็นวัสดุทดแทนไม้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 บริษัท เอ็มพี ปาร์ติเกิล บอร์ด จำ�กัด จึงเข้าไปถือหุ้นใน บริษัท หาดใหญ่พาเนล จำ�กัด ที่อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พาเนล พลัส จำ�กัด ในปี พ.ศ. 2533 ภายใต้การบริหารของ กลุม่ มิตรผล จัดตัง้ ขึน้ เพือ่ ผลิตไม้ปาร์ตเิ กิล ไม้เอ็มดีเอฟ และไม้เคลือบเมลามีนคุณภาพสูง โดยใช้เทคโนโลยี การผลิตและระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ในการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากธรรมชาติในการผลิต เฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบัน บริษัท พาเนล พลัส จำ�กัด มีสำ�นักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ และโรงงานทั้ง 2 สาขา อยู่ที่อำ�เภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สามารถผลิตไม้ปาร์ติเกิล ได้ปีละ 300,000 ลูกบาศก์เมตร ไม้เอ็มดีเอฟปีละ 300,000 ลูกบาศก์เมตร และกระดาษเคลือบเมลามีนอีก 23.5 ล้านตารางเมตรต่อปี พาเนล พลัส จึงเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกลายเป็นสัญลักษณ์ ของการสร้างสรรค์อย่างมีคุณค่า ด้วยการจัดการอย่างมืออาชีพที่กลับคืนสู่คู่ค้า ลูกค้า และธรรมชาติ ได้อย่างลงตัว
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
49
ข้ามพรมแดนครั้งที่สอง กลุ่มมิตรผลเป็นตัวอย่างของเอกชนไทยรายหนึ่ง ที่สนใจ เข้าไปใช้พื้นที่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตอนกลาง เพื่อใช้เป็นฐานการผลิต ตั้งแต่ก่อนที่จะมีความเคลื่อนไหว ในการรวมอาเซียน (AEC) 10 กว่าปีหลังจากการขยายกิจการเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชน จีนซึ่งเป็นจังหวะก้าวและการตัดสินใจครั้งสำ�คัญ ในปี พ.ศ. 2549 กลุม่ มิตรผลได้ขยับสู่ สปป.ลาว ด้วยเล็งเห็นศักยภาพของเพือ่ นบ้านทัง้ ด้านการคมนาคม พืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั สัมปทานอยูไ่ ม่ไกล ผูค้ น และวัฒนธรรม ภาษาที่ใกล้เคียงกัน โดยเข้าไปพัฒนาโครงการปลูกอ้อยและตั้งโรงงานผลิตน้ำ�ตาล ภายใต้ชื่อ บริษัท น้ำ�ตาลมิตรลาว จำ�กัด ในแขวงสะหวันนะเขต ในขนาดเนื้อที่ 62,500 ไร่ มุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งออกไปจำ�หน่าย ยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เนื่องจาก สปป.ลาว ได้รับสิทธิพิเศษ ไม่ต้องเสียภาษีในการส่งสินค้าไปขายในกลุ่มประเทศยุโรป
50
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
สัมปทานที่กลุ่มมิตรผลได้รับคือพื้นที่ปลูก อ้อยจำ�นวน 10,000 เฮกตาร์ ในระยะเวลา 40 ปี โดยเป้าหมายเบือ้ งต้นคาดว่าจะเริม่ ก่อสร้างโรงงาน หีบอ้อยขนาด 10,000 ตันต่อวัน แนวคิดการทำ�งานใน สปป.ลาว ใช้โมเดล การจัดการเหมือนกับที่หนานหนิงคือ เอาช่าง และวิศวกรเข้าไปสร้างโรงงาน เริ่มจากขนาดเล็ก ใช้เทคโนโลยีที่ดีไปช่วยเหลือเพื่อนบ้านให้เติบโต แข็งแรง ส่วนการปลูกอ้อยใช้คนลาวมาช่วยกันทำ� แต่เมือ่ ปฏิบตั งิ านจริง ผลทีไ่ ด้รบั กลับไม่ได้ เป็นไปตามความคาดหมายนัก เนื่องจากสังคม
ความเป็นอยู่ ที่แม้ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่กลับ ไม่เหมือนกัน เช่น คนลาวเลี้ยงวัวแบบปล่อยให้ หากินกันเองตามป่าและที่รกร้าง ฉะนัน้ ต้นอ่อนอ้อยทีเ่ พิง่ เติบโตอย่างงดงาม ในเขตป่าเสือ่ มโทรมทีท่ างการเอามาเปิดสัมปทาน ให้กลุ่มมิตรผลปลูกอ้อยในหลายพันไร่ กลายเป็น อาหารอันโอชะของเหล่าวัวไปเสียสิ้น ทางแก้คอื มิตรลาวลงทุนมหาศาล ล้อมรัว้ ลวดหนามยาวเหยียดถึง 90 กิโลเมตร และ ส่งคนออกไปทำ�มวลชนสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน ทั้งไปสอนให้
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ชาวบ้านรูจ้ กั สร้างรัว้ กันวัวให้อยูเ่ ป็นทีเ่ ป็นทาง และ ปลูกหญ้าสำ�หรับเลี้ยงวัวโดยจัดสรรพื้นที่ให้หญ้า มีเวลาเติบโตแล้วปล่อยวัวเข้าไปเลี้ยงทีละแปลง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ รวมถึง เรื่องวัฒนธรรมและคนที่มีให้แก้เป็นรายวัน เช่น คนงานตัดอ้อยรับค่าแรงไปวันนี้ แล้วหยุดไป 3 วัน หรือการหยุดงานไปร่วมงานบุญจนไม่มาทำ�งาน เวลาผ่านไปร่วมทศวรรษ กลุ่มมิตรผล สามารถปรับตัวเข้าถึงวัฒนธรรมลาวได้ดีจน สปป.ลาว เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ชาวมิตรผลทำ�งาน ด้วยแล้วมีความสุขกายสบายใจ กลายเป็นมิตรสนิท
และเป็นเพื่อนบ้านที่น่ารักที่สุดประเทศหนึ่ง ปัจจุบัน มิตรลาวสามารถตั้งศูนย์เพาะ เลีย้ งเนือ้ เยือ่ ขยายพันธุอ์ อ้ ยทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในภูมภิ าค โดยเพาะเลีย้ งเนือ้ เยือ่ ทีศ่ นู ย์วจิ ยั RDI ในไทย และ นำ�ไปทำ�พันธุ์บริสุทธิ์ที่ สปป.ลาว เพื่อให้สร้าง ความคุ้นเคยกับสภาพอากาศพื้นถิ่น สามารถลด โรคพืชได้ผลดี ในอนาคต สปป.ลาว อาจเป็นต้นแบบของ โมเดิรน์ ฟาร์มอีกแห่งหนึง่ ทีด่ งึ ดูดให้คนเข้าไปดูงาน เพราะทางกลุม่ มิตรผลเข้าไปลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐาน ไว้มาก รอเพียงความพร้อมของบุคลากรเท่านั้น
51
52
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
53
54
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
55
จากน้ำ�ตาล สู่พลังงานทางเลือก (Alternative Energy) จากวิสัยทัศน์ที่ให้ความสำ�คัญกับแนวคิด Zero Waste และดำ�เนิน แนวคิด “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ระหว่างโรงงานกับชุมชน บวกกับนโยบาย ส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ จึงเป็นแรงผลักดันให้กลุ่มมิตรผลมุ่งมั่น ศึกษาและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลอย่างจริงจัง การศึกษานี้สร้างให้วัสดุเหลือใช้อย่างชานอ้อยมีมูลค่าเพิ่ม นำ�ไปสู่ “ธุรกิจไฟฟ้าชีวมวล” ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ช่วยลด ภาวะโลกร้อน และอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยัง่ ยืน เป็นนวัตกรรมสีเขียว Green Innovation ต้นแบบที่ขยายไปสู่โรงงานน้�ำ ตาลอื่นๆ ทั่วประเทศ กลุ่มมิตรผลเริ่มเข้าสู่ธุรกิจไฟฟ้าชีวมวลเต็มรูปแบบเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยก่อตั้ง บริษัท ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด และ บริษัท ภูเขียว ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด ถือเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลในอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำ�ตาล 2 แห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ได้ ในความเป็นจริงแล้ว การผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อย่างใด แต่เป็นเทคโนโลยีที่มีมาพร้อมกับโรงงานน้ำ�ตาล เพราะในการ ผลิตน้ำ�ตาลจากอ้อยจำ�เป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนเครื่องจักร และ ใช้พลังงานความร้อนจากไอน้�ำ ต้มและเคี่ยวน้�ำ อ้อย เมื่อภาครัฐมีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยเข้าระบบใน ปี พ.ศ. 2537 โรงงานน้ำ�ตาลในกลุม่ มิตรผลได้เป็นหนึง่ ในโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ ที่ทำ�สัญญากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อขายไฟฟ้า เข้าระบบ ต่อมาเพื่อสนับสนุนการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ภาครัฐมีนโยบาย ส่งเสริมพลังงานทดแทน ทำ�ให้กลุ่มมิตรผลได้ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพ โรงไฟฟ้าอย่างจริงจัง ทั้งยังตอบโจทย์การดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน ทัง้ ในระดับโรงงาน ชุมชน ประเทศ และระดับโลก จึงตัดสินใจว่าจ้างผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้าน Boiler จากประเทศแอฟริกาใต้ และผู้เชี่ยวชาญจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย มาเป็นทีป่ รึกษาออกแบบ วางแผนโครงการ โดยมีเป้าหมาย ที่การทำ�ให้โรงไฟฟ้ามีเสถียรภาพดีเหมือนกับโรงไฟฟ้าของ EGAT โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งเริ่มเดินเครื่องและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบครั้งแรก (COD) ได้ในปี พ.ศ. 2547 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจไฟฟ้าในกลุ่มมิตรผล จากการได้เรียนรูจ้ นมีประสบการณ์ ความเข้าใจ และมัน่ ใจเพิม่ มากขึน้ กลุ่มมิตรผลจึงขยายธุรกิจไฟฟ้าต่อไปด้วยการนำ�กำ�ลังการผลิตไอน้ำ�ที่เหลือ มาผลิตไฟฟ้าเพิม่ ขึน้ อีกทัง้ ได้สงั่ ซือ้ เครือ่ งจักรมาติดตัง้ ทัง้ ทีโ่ รงไฟฟ้าด่านช้าง
56
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
และภูเขียว ขณะที่โรงงานน้ำ�ตาลอื่นเห็นว่ากลุ่ม มิตรผลสามารถเดินโรงไฟฟ้าแรงดันไอน้ำ�สูงได้ อย่างราบรื่น ก็เริ่มที่จะทำ�ตามอย่าง ช่วงเวลานั้นโรงงานน้�ำ ตาลมิตรกาฬสินธุ์มี โครงการขยายกำ�ลังการผลิตน้�ำ ตาล เป็นโอกาสที่ จะได้ชานอ้อยเพิ่ม และขายไฟฟ้าได้เพิ่มมากขึ้น จึงมีการส่งทีมงานไปศึกษาดูงานทีป่ ระเทศอินเดีย ก่อนการตัดสินใจลงทุนเพิ่ม มิตรกาฬสินธุจ์ งึ กลายเป็นต้นแบบโครงการ โรงไฟฟ้าใหม่ๆ ของกลุ่มมิตรผล ทั้งโครงการ โรงไฟฟ้าด่านช้าง เฟสสอง โครงการโรงงานน้ำ�ตาล มิตรภูหลวง และโครงการโรงไฟฟ้าสิงห์บุรี ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลได้ก้าวขึ้นมาเป็น ผูน้ �ำ ในธุรกิจไฟฟ้าชีวมวลอย่างเต็มตัว สามารถ ส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ถึง 1,200 ล้านหน่วยต่อปี หรือเทียบเท่าเขือ่ นศรีนครินทร์ 1 เขื่อน
จากการขยายกำ�ลังการผลิตและขายไฟฟ้า เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องใช้เชื้อเพลิงชีวมวลมากขึ้น ทำ�ให้ปริมาณชานอ้อยทีน่ อ้ ยลงตามไปด้วยจำ�เป็น ต้องวางแผนจัดหาเชือ้ เพลิงชีวมวลอืน่ ๆ มาเสริม ดังนั้น โครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆ จึงออกแบบ ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงเสริมในสัดส่วนที่เพิ่ม มากขึ้น เช่น ใบอ้อยจากไร่อ้อย และแกลบจาก โรงสีขนาดเล็กในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อลดต้นทุน การขนส่ง อีกทั้งยังได้ช่วยชุมชนในพื้นที่ให้มี รายได้เสริมเพิ่มขึ้นด้วย โมเดลการสร้างโรงงานน้ำ�ตาลคู่โรงงาน ไฟฟ้านี้ ได้แพร่ขยายไปสู่โรงงานของกลุ่มมิตรผล ในต่างประเทศ โดยโรงงานน้ำ�ตาลที่ประเทศจีน 2 แห่ง ที่ฝูหนานและหนิงหมิง ได้ก่อสร้างและ เดินเครือ่ งเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว ส่วนทีอ่ อสเตรเลีย กำ�ลังศึกษาและวางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ เทเบิลแลนด์เป็นแห่งแรก
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
บริหารจัดการ “ชานอ้อย” วัตถุดิบมีค่า เพราะชานอ้อยได้กลายเป็นวัตถุดิบอันมีค่า ฉะนั้น หลังจากฤดูหีบอ้อยได้สิ้นสุดลงในช่วง เดือนมีนาคม-เมษายน อีกความท้าทายหนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับธุรกิจไฟฟ้าคือ การดูแลบริหารจัดการ กองชานอ้อยขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่หลายสิบไร่ให้อยู่ในสภาพดีและมีใช้อย่างเพียงพอ จนกว่าจะถึงฤดู เปิดหีบอ้อยใหม่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม การดูแลอันดับแรกคือ เรื่องการป้องกันไฟไหม้กองชานอ้อย เพราะชานอ้อยถือเป็นเชื้อเพลิง อย่างดี หากมีการสะสมความร้อนหรือมีประกายไฟเกิดขึ้นก็จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ จึงต้องออกมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่เสี่ยง การเชือ่ มอุปกรณ์ตา่ งๆ ในบริเวณ การติดตัง้ กล้องวงจรปิดและกล้องตรวจจับความร้อน การติดตัง้ ระบบ ดับเพลิงแบบต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องมีมาตรการควบคุมฝุ่นชานอ้อยที่อาจจะฟุ้งกระจายไปรบกวนชุมชน รอบโรงงาน จากการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงมีมาตรการป้องกันโดยปลูกต้นไม้สูง โดยรอบ และติดตัง้ ตาข่ายกรองอีกชัน้ หนึง่ หากมีลมกรรโชกแรงจะต้องมีการพรมน้ำ�ลงบนกองชานอ้อย ซึ่งต้องใช้น้ำ�ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจส่งผลให้ชานอ้อยมีความชื้นสูง ทำ�ให้ค่าความร้อน หรือค่าพลังงานของชานอ้อยต่�ำ ลง เช่นเดียวกับปัญหาความชื้นของกองชานอ้อยในฤดูฝนที่เพิ่มขึ้น จึงต้องแก้ปัญหาด้วยวิธี คลุมผ้าใบ และผสมสัดส่วนชานอ้อยส่วนที่เปียกและแห้งให้เหมาะสมก่อนนำ�ไปใช้
57
58
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ผู้นำ�พลังงานเอทานอล ในศตวรรษใหม่นี้ พลังงานสะอาดเป็นกระแสความต้องการที่สังคม ทั่วโลกกำ�ลังถามหา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พลังงานทดแทน “เอทานอล” เป็น พลังงานทดแทนที่สะอาดชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตได้จากพืชผลทางการเกษตรที่มีอยู่ มากมายในแผ่นดินไทยโดยเฉพาะอ้อย การส่งเสริมธุรกิจเอทานอลจึงเป็น อีกหนึ่งหนทางที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย และยังเป็นการ ช่วยลดการนำ�เข้าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจากต่างประเทศได้อีกด้วย ในปี พ.ศ. 2548 กลุ่มมิตรผลจึงเดินหน้าลงทุนในธุรกิจเอทานอลโดย จัดตั้ง “บริษัท เพโทรกรีน จำ�กัด” ขึ้นเพื่อผลิตและจำ�หน่ายเอทานอล สำ�หรับใช้เป็นเชื้อเพลิง และเริ่มโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล แห่งแรกที่อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จากนั้นจึงได้ขยายกำ�ลังการผลิตไปสู่ อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำ�เภอ ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปีต่อๆ มา เพือ่ ให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายของกลุม่ มิตรผล จึงมีการเปลีย่ น ชื่อ บริษัท เพโทรกรีน จำ�กัด เป็น “บริษัท มิตรผล ไบโอ-ฟูเอล จำ�กัด” ดำ�เนินการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5% ด้วยกากน้ำ�ตาล (โมลาส) น้ำ�อ้อย และมันสำ�ปะหลัง เป็นวัตถุดิบ ปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอทานอล ทั้งหมด 4 แห่ง สามารถผลิตเอทานอลได้มากถึงวันละ 1,210,000 ลิตร นับว่าเป็นผู้ผลิตเอทานอลที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการผลิตและจำ�หน่าย น้ำ�มันแก๊สโซฮอล์ E85 พลังงานเชื้อเพลิงที่มีเอทานอลผสมอยู่ถึงร้อยละ 85 พร้อมกับรถยนต์ FFV (Flex Fuel Vehicle) ที่สามารถใช้ได้ทั้งน้ำ�มันเบนซิน น้ำ�มันแก๊สโซฮอล์ E10 น้ำ�มันแก๊สโซฮอล์ E20 และน้ำ�มันแก๊สโซฮอล์ E85 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีเชื้อเพลิงสะอาดที่มีสัดส่วนของเชื้อเพลิง เอทานอลซึ่งปลูกได้เองในประเทศมากถึงร้อยละ 85 และยังเป็นครั้งแรกที่มี รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเอทานอลที่ผสมในน้�ำ มันแก๊สโซฮอล์ได้ตั้งแต่ 0–85% การก้าวสู่ธุรกิจใหม่นี้กำ�ลังจะผลักดันแนวคิดเรื่องธุรกิจสีเขียว อุตสาหกรรมรถยนต์ และธุรกิจพลังงาน ไปในทิศทางใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งจะพลิกชีวิตของคนไทยอย่างแน่นอน
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
59
60
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
2555
รางวัล CSR Continuous Awards
2555-57 รางวัล ออยรักษโลก
2555 รางวัล
ICT ทำดีเพื่อสังคม
2555 รางวัลดีเดน
ดานแรงงานสัมพันธ และสวัสดิการแรงงาน
2522
รางวัลดีเดน ดานแรงงานสัมพันธ และสวัสดิการแรงงาน
2554 รางวัล
บรรษัทภิบาล ดีเดน
2547-48
ASEAN Energy Award
2548 รางวัล
อุตสาหกรรมดีเดน ประเภท บริหารงานคุณภาพ
2554 รางวัล
Thailand Energy Awards
2549 รางวัล
โรงงานจรรยาบรรณดีเดน
หอการคาไทย
2558 Bonsucro
Sustainability Award
2554-57 รางวัล โรงงานน้ำตาล ชั้นดี
2551
ASEAN Most Admired Business in Corporate Social Responsibility
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
2559
The Best Employer for Generation Y
2559 Bonsucro Certified
2558
รางวัล อุตสาหกรรม ยอดเยี่ยม
2554 รางวัล
อุตสาหกรรมดีเดน ประเภทโลจิสติกส
2559
AON Best Employers Thailand
2554 ASEAN Energy Award
2552
เพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลง
ดานการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลง
2554
รางวัล EIA Monitoring Awards (ประเภทดีเดน)
รางวัลดีเดน ดานการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2551 รางวัลดีเดน
รางวัลแหง ความภาคภูมิใจ
2552 Green
Excellence Award
2553
รางวัล นวัตกรรมแหงชาติ ดานสังคม (รองชนะเลิศอันดับ 2)
2554
CSR Asian Award
2554
Geospatial Excellence Award
Award
รางวัลเกียรติยศจากตางประเทศ
Award
รางวัลเกียรติยศในประเทศ
61
62
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
7
พลังแห่งอนาคตโลก
2549-2559
ถึงเวลานี้ กลุ่มมิตรผลมิใช่บริษัทท้องถิ่นที่มีแต่เพียงการผลิตน้ำ�ตาลจากอ้อย หากได้ ก้าวสู่การเป็นธุรกิจสากล มีเครือข่ายในต่างประเทศ มีผลิตผลด้านต่างๆ งอกเงยมากมาย ที่ก้าวไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
การก้าวสูก่ ารเป็น Regional Player บริษทั ชัน้ นำ� ระดับโลกในอุตสาหกรรมน้ำ�ตาลและชีวพลังงาน โดย ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการจัดการ ควบคูไ่ ปกับ นโยบายรับผิดชอบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อมไปพร้อมๆ กัน เป็นเป้าหมายที่ถูกกำ�หนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากการลงทุนสร้างโรงงานน้ำ�ตาลใน ต่างประเทศ เช่นในมณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชน จีน และได้รับสัมปทานที่ดินจากรัฐบาลสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นระยะ เวลา 40 ปี พร้อมทัง้ ตัง้ โรงงานน้�ำ ตาลมิตรลาวในแขวง สะหวันนะเขต เพื่อผลิตน้ำ�ตาลและสร้างโรงไฟฟ้า ชีวมวลเป็นแห่งแรกของ สปป.ลาว แล้ว
การเข้าไปใน สปป.ลาว ทำ�ให้มองเห็นโอกาส อืน่ ๆ ในการลงทุน เช่น ในเวลาต่อมาได้ซอื้ บริษทั Savanh Fertilizer ที่เมืองไซยบุรี เพื่อผลิตปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์จากมูลค้างคาว ภายใต้สัมปทาน การขุดมูลค้างคาว 30 ปี เพื่อผลิตและจำ�หน่าย ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2553 กลุ่มมิตร ผลได้เข้าร่วมทุนกับบริษัท แมรี่เบอร์โรว์ ชูการ์ แฟคตอรี จำ � กั ด (Maryborough Sugar Factory-MSF) ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีกำ�ลังการผลิตน้ำ�ตาลถึง 500,000 ตันต่อปี โดยเข้าไปซื้อหุ้นในสัดส่วน 19.99% และมี
63
64
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เครือข่ายและศักยภาพเชื่อมโยงไปยังโรงงานน้�ำ ตาลอื่นๆ โรงงานน้ำ�ตาลที่ออสเตรเลียนี้เป็นการร่วมทุนกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม อ้อยและน้ำ�ตาล อีกทั้งบรรดาผู้ถือหุ้นที่ส่วนใหญ่เป็นนักการเงินการธนาคาร ซึ่งจะ ให้ความสำ�คัญกับตัวเลขผลประกอบการเป็นหลัก ทำ�ให้กลุ่มมิตรผลสามารถดำ�เนิน การบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่ มิใช่แต่เป็นเพียงการลงทุนขยายอาณาจักรธุรกิจเพื่อต่อยอดผลกำ�ไร หากประโยชน์โดยตรงที่ทางกลุ่มมิตรผลได้รับจากออสเตรเลียคือ การได้เรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมอ้อยและการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ ซึ่งต่อมาได้นำ�มา ประยุกต์ใช้กับการทำ� “โมเดิร์นฟาร์ม” ในเมืองไทยจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน กลุ่มมิตรผลมีโรงงานน้ำ�ตาลในรัฐควีนส์แลนด์ 4 แห่ง คือ แมรี่เบอร์โรว์ เซาท์จอห์นสโตน มัลเกรฟ และเทเบิลแลนด์ กลายเป็นผู้ผลิตน้ำ�ตาล รายใหญ่ของออสเตรเลีย สำ�หรับในประเทศไทย กลุ่มมิตรผลได้ก่อตั้ง บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำ�กัด ขึ้นที่อำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก โดย บริษัท เอ็มพี เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด ร่วมทุน กับ บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) และ บริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำ�กัด (มหาชน)
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เพื่อผลิตและจำ�หน่ายเอทานอลเช่นเดียว กับ บริษัท เพโทรกรีน จำ�กัด (ปัจจุบันคือ มิตรผล ไบโอ-ฟูเอล) แต่ใช้น้ำ�อ้อยเป็น วัตถุดิบหลักในการผลิตเพียงอย่างเดียว มีกำ�ลังการผลิตได้ถึงวันละ 230,000 ลิตร กลุม่ มิตรผลกลายเป็นผูผ้ ลิตเอทานอล มากที่สุดในประเทศ โดยผลิตผลที่ได้จะ ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังผลิต และจำ�หน่ายกระแสไฟฟ้าให้หน่วยงานต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้งยังรุกตั้งโรงงานไบโอ-เอ็นเนอร์ยี เพิ่มในพื้นที่ต่างๆ ทั้ง บริษัท กาฬสินธุ์ ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด ทีก่ าฬสินธุ์ Guangxi Funan Bio-energy Co.,Ltd. เพื่อผลิตและ จำ�หน่ายกระแสไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำ� ทีส่ าธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงก่อตัง้ บริษทั สุรินทร์ กรีน เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด (ภายหลัง เปลีย่ นชือ่ เป็น บริษทั ราชสีมา กรีน เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด) โดยเข้าร่วมทุนกับ บริษทั ไบโอ-ฟูเอล เดเวลอปเมนท์ โฮลดิง้ ส์ จำ�กัด เพือ่ เป็นบริษทั พัฒนาโครงการผลิตพลังงานทดแทน เป็นข้อพิสูจน์ว่า กลุ่มมิตรผลไม่ได้ เป็นเพียงแค่ผู้ผลิตน้ำ�ตาล แต่หากเป็นผู้ที่ ทำ�ให้ออ้ ยและน้�ำ ตาลกลายเป็นขุมพลังใหม่ ที่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับโลกใบใหญ่
65
66
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
67
เปลี่ยนผ่านสู่ ไร่อ้อยดิจิตอล ในฐานะองค์กรผูผ้ ลิตน้�ำ ตาลรายใหญ่ตดิ อันดับโลก แม้จะมีการขยายจำ�นวนโรงงาน และไร่ออ้ ยทัง้ ในและต่างประเทศอย่างต่อเนือ่ ง กลุม่ มิตรผลยังคงประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการได้อย่างดียิ่ง กลุ่มมิตรผลตระหนักข้อนี้ดีว่า หากหยุดนิ่งอยู่กับที่เท่ากับล้าหลังไปอีกหลายก้าว การรู้ทันโลกสมัยใหม่ และนำ�นวัตกรรมเข้ามาใช้อย่างเหมาะสมจะส่งผลให้ธุรกิจเติบโต ก้าวไกล รวดเร็ว และยั่งยืน การนำ� “เทคโนโลยีสารสนเทศ” และระบบ “ไอที” มาใช้บริหารจัดการไร่ออ้ ยแบบ กลุ่มมิตรผล กลุม่ มิตรผลเริม่ นำ�ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ตงั้ แต่ปี 2545 โดยนำ� แผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม หรือ GIS (Global Information System) ใช้สำ�รวจและกำ�หนดพิกัด นำ�ไปจัดทำ�แผนที่เขตเพาะปลูกอ้อยและเก็บข้อมูลบันทึกการดำ�เนินงานในไร่อ้อย เพื่อนำ� ไปเป็นฐานข้อมูลวางแผนบริหารจัดการได้อย่างแม่นยำ� อีกทั้งยังนำ�อุปกรณ์ พ็อกเก็ตพีซี ที่เชื่อมต่อระบบ GPS (Global Positioning System) มาใช้ระบุตำ�แหน่งและเก็บภาพพื้นที่สำ�รวจในสเกลที่ตรงความจริงมากที่สุด เพื่อนำ�ไปประเมินและวางแผนเพื่อให้ทีมงานไปช่วยเหลือชาวไร่ได้อย่างตรงจุด
68
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
นอกจากนั้นแล้ว เพื่อรับทราบสภาพที่แท้จริงของลูกไร่นับแสนรายกลุ่มมิตรผลได้จัด ทำ� “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการไร่อ้อย” หรือ Cane MIS (Cane Management Information System) เพื่อเก็บข้อมูลชาวไร่ในเครือข่าย ทั้งพื้นที่ไร่ ประวัติชาวไร่ หนี้สิน การเพาะปลูก หรือปัญหาที่พบ เพื่อนำ�มาวิเคราะห์แก้ปัญหาได้แม่นยำ� ข้อมูลจะบันทึกไว้ในพ็อกเก็ตพีซีและเข้าสู่ระบบแบบเรียลไทม์ผ่าน GPRS (General Packet Radio Service) ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทันทีผ่าน Web Service และตู้ Kiosk แบบ ทัชสกรีนตามเขตส่งเสริมชาวไร่กว่า 50 เขต เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้ามาเปิดดูข้อมูลและ คำ�แนะนำ�ต่างๆ ได้ ซึ่งจะช่วยในการบริหารจัดการในไร่ได้ กลุ่มมิตรผลเริ่มนำ�ระบบดังกล่าวเข้ามาใช้กับโรงงานในแถบภาคอีสานก่อน ครอบคลุม 3 โรงงานคือ ชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ไปสู่สุพรรณบุรี และสิงห์บุรี หากระบบนี้สมบูรณ์ แบบ ประสิทธิภาพในการเพาะปลูกของชาวไร่ทอี่ ยูใ่ นโครงการของกลุม่ มิตรผลจะเพิม่ ขึน้ อีกมาก การก้าวสู่โลกไอที ไปพร้อมกันทั้งผู้ประกอบการและชาวไร่ จากชาวไร่ธรรมดาๆ หาเช้ากินค่�ำ สูเ่ กษตรกรยุคใหม่ (Smart Farmer) คงไม่ใช่แค่การ “พัฒนา” หากเป็นการ “ปฏิวตั ”ิ และเปลี่ยนผ่านยุคของชาวไร่จากอดีตสู่โลกอนาคตอย่างมีความหวัง
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เทคโนโลยี ผู้ช่วยของชาวไร่ การทำ�ไร่อ้อยของ กลุ่มมิตรผลยึดหลักที่ไม่ทำ�ลาย สิ่งแวดล้อม ลดการใช้เคมีในไร่ โดยส่งเสริมปลูกพืชบำ�รุงดิน ลดการไถพรวนและเผาใบอ้อย โดยมีการนำ�เทคโนโลยีมาช่วย ในการจัดการด้านต่างๆ เช่น การนำ�จีพีเอสมาช่วยติดตาม รถตัดอ้อย หรือควบคุมการวิ่งของรถแทรกเตอร์ อีกทัง้ การจัดการชลประทานในไร่ออ้ ย โดยใช้ “เซ็นเตอร์ ไพวอท” (Center Pivot) เครือ่ งรดน้�ำ ทีจ่ ะเคลือ่ นทีเ่ ป็นวงกลม รัศมี 250 เมตร ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน ประหยัดแรงงานคน ขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มผลผลิตมากถึง 20 ตันต่อไร่ โรงงานน้ำ�ตาลมิตรภูเขียว ที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นโครงการ นำ�ร่องการผลิตที่สามารถยกระดับกระบวนการปลูกอ้อยและผลิต น้�ำ ตาลทราย โดยนับเป็นโรงงานน้�ำ ตาลรายแรกของประเทศไทย เป็นโรงงาน น้ำ�ตาลรายที่ 2 ของเอเชีย และเป็นประเทศที่ 5 ของโลก จากสมาชิก 450 ราย ใน 27 ประเทศ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรด้านอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำ�ตาลในระดับโลก Bonsucro Certified 2016 หลังจากที่ได้รับรางวัล Bonsucro Sustainability Award 2015 มาแล้ว บองซูโคร (Bonsucro) เป็นรางวัลและเป็นการรับรองมาตรฐานรูปแบบการทำ�เกษตรสมัยใหม่ Modern Farm ที่กลุ่มมิตรผลได้นำ�มาใช้ในการจัดการไร่อ้อย รวมถึงการบริหารจัดการกระบวนการผลิตน้ำ�ตาลที่ให้ความสำ�คัญ กับการควบคุมคุณภาพ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสูดมาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการยกระดับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอ้อยของไทยอย่างยัง่ ยืน และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ การได้รับรางวัลและการรับรองมาตรฐานนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจยิ่งของกลุ่มมิตรผล เพราะบองซูโคร (Bonsucro) เป็นรางวัลและการรับรองมาตรฐานที่ผู้ผลิตอ้อยทั่วโลกต่างไขว่คว้าเพื่อให้ได้ครอบครอง ในปี พ.ศ. 2564 นี้ มีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ให้ได้ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ปลูกอ้อยของกลุ่ม หรือประมาณ อีก 500,000 กว่าไร่ ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน Bonsucro Certified
มิตรผล ได้ยกระดับกระบวนการปลูกอ้อย และผลิตน้ำ�ตาลทราย จนได้รับรองมาตรฐาน “บองซูโคร” เป็นรายแรกของประเทศไทย และเป็นรายที่ 2 ของเอเชีย
69
70
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เขียวทั้งไร่ กำ�ไรทั้งปี จากประสบการณ์การทำ�ไร่อ้อยมานานกว่า 60 ปี จึงทำ�ให้กลุ่มมิตรผลรู้ และเข้าใจปัญหาของ “อ้อย” และ “ชาวไร่อ้อย” อย่างลึกซึ้ง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของอ้อยคือ คุณภาพดินและปุ๋ย ขณะที่หนึ่งในปัญหา ใหญ่ของชาวไร่ก็อยู่ที่ต้นทุนปุ๋ยที่สูงลิ่วและปุ๋ยที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานเช่นกัน สำ�หรับชาวมิตรผล อ้อยคือ พืชมหัศจรรย์และของกำ�นัลจากฟ้าอย่าง แท้จริง เพราะอ้อยเป็นพืชเกษตรที่นำ�มาทำ�ผลผลิตต่างๆ ได้มากมาย น้ำ�อ้อย ใช้ทำ�น้ำ�ตาล ชานอ้อยนำ�ไปทำ�พลังงานไฟฟ้าชีวมวล กากน้ำ�ตาลที่เหลือจาก กระบวนการผลิตนำ�มาใช้ท�ำ เอทานอล ในการทำ�เอทานอลก็จะมีผลพลอยได้ตัวอื่นอีกมากมาย เช่น “วีแนส” (Vinasses) หรือส่าเหล้า ทีน่ �ำ ไปเลีย้ งยีสต์ จากเดิมผลผลิตนีเ้ คยเป็นภาระต้องนำ� ไปกำ�จัดทิ้ง แต่เมื่อเข้าสู่งานวิจัยทำ�ให้พบว่า วีแนสมีแร่ธาตุสารพัด ดังนั้นแทนที่ จะกำ�จัด วีแนสสามารถกลับคืนสู่ไร่อ้อยในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประโยชน์ได้ การค้นคว้าพัฒนานี้ ทำ�ให้วัฏจักรของนโยบาย “ไร้ของเหลือทิ้ง” (Mitr Phol Sustainable Zero Waste Model) เป็นห่วงโซ่คุณภาพที่สำ�เร็จเป็น รูปธรรมครบวงจรสมบูรณ์แบบจนไม่เหลือทิ้งสิ่งใดจากกระบวนการผลิต เพราะปลายทางของนโยบาย “ไร้ของเหลือทิ้ง” คือการนำ�กากตะกอน หม้อกรอง (Filter Cake) และตะกอนวีแนสที่เหลือจากโรงงานเอทานอลมา
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ผสมผสานเข้ากับเชื้อจุลินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของดีมีคุณภาพ ที่ผ่านการวิจัยจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมิตรผล ทีถ่ กู พัฒนาสูตรปุย๋ ให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิดและพัฒนาวิธกี ารใช้ปยุ๋ ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด กลุ่มมิตรผลได้จัดตั้ง บริษัท เพิ่มผลผลิต จำ�กัด ขึ้น เพื่อทำ�หน้าที่ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยตามสูตรที่เกษตรกรต้องการ และตรงตาม ความต้องการของพืชแต่ละชนิด และตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งยังพัฒนาวิธีการใช้ปุ๋ยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในราคาที่เหมาะสม โดย ปุย๋ สูตร 21-7-18 คืออีกหนึง่ ความสำ�เร็จจากการยอมรับจนเป็นทีน่ ยิ มใช้กนั อย่างแพร่หลายในไร่อ้อยทั่วประเทศไทย กำ�ลังการผลิตปุย๋ อินทรียจ์ �ำ นวน 6,000 ตันต่อปี และปุย๋ วิทยาศาสตร์ 350,000 ตันต่อปี นี้ เป็นผลผลิตของโรงงานทัง้ 3 แห่ง คือ โรงงานปุย๋ อินทรีย์ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ, โรงงานปุ๋ยสะหวัน แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว และโรงงานปุ๋ย Guangxi East Asia Saksiam Fertilizer ที่เมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี ประเทศจีน ปัจจุบัน บริษัท เพิ่มผลผลิต จำ�กัด มีลูกค้าที่เป็นชาวไร่อ้อยมากกว่า 40,000 รายในประเทศไทย และอีกกว่า 130,000 รายในประเทศจีน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีลูกค้าผู้ปลูกข้าวโพดและมันสำ�ปะหลังที่กำ�ลังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง สามารถกระจายปุ๋ยสู่เกษตรกรได้มากกว่า 3 ล้านไร่ต่อปี
71
72
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ต่อยอดห่วงโซ่คุณภาพ แนวคิดการจัดการของเหลือทิ้ง หรือ Mitr Phol Sustainable Zero Waste Model เป็นกระบวนการ เปลี่ยนของเหลือทิ้งให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า โดยพัฒนาต่อยอดทรัพยากรหรือใช้การหมุนเวียนนำ�กลับมาใช้ใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นห่วงโซ่คุณภาพที่กลุ่มมิตรผลคิดและลงมือทำ�มาอย่างยาวนาน กลุม่ มิตรผลนำ�ทุกส่วนจากอ้อยสร้างให้เกิดประโยชน์ในทุกกระบวนการผลิตจนครบวงจร จนอ้อยกลาย เป็นวัตถุดบิ พลังงานหมุนเวียนทีส่ ามารถสร้างรายได้ พัฒนาความคิด และดูแลสิง่ แวดล้อมไปได้ในเวลาเดียวกัน กระบวนการนี้ ชานอ้อย ถูกทำ�เป็นไม้อัดปาร์ติเกิลบอร์ดและนำ�ไปผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล กากน้ำ�ตาล หรือ โมลาส นำ�ไปกลั่นเป็นเอทานอลใช้เป็นส่วนผสมของน้ำ�มันแก๊สโซฮอล์ ส่วน วีแนส ของเหลือสุดท้ายยังนำ�ไปทำ�เป็นปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดและปุ๋ยน้�ำ ชีวภาพได้อีกด้วย นอกจากการลงทุนขยายโรงงานในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนแล้ว กลุ่มมิตรผลยังก้าวไปอีกขั้นด้วยการ วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ไบโอเบส ต่อยอดจากกระบวนการผลิตเอทานอลจนได้ Fodder Yeast ขึ้นมา Fodder Yeast คือ ยีสต์ที่ทำ�หน้าที่กินน้ำ�ตาลที่เหลืออยู่ในโมลาสให้กลายเป็นเอทานอล ซึ่งยีสต์ที่น�ำ มาใช้นั้นเป็นสายพันธุ์ของกลุ่มมิตรผลเองที่ได้รับการพัฒนาจนสามารถให้ผลผลิตเอทานอลได้สูงที่สุดเท่าที่ เคยทำ�ได้ในประเทศไทย เมือ่ เสร็จงานยีสต์กห็ มดหน้าทีโ่ ดยถูกทิง้ ไปกับน้�ำ วีแนส ซึง่ จะถูกส่งเข้าไร่ออ้ ยในทีส่ ดุ หากคณะทำ�งานพัฒนาโครงการของกลุ่มมิตรผลได้พบว่า ยีสต์เป็นอีกหนึ่งขุมทรัพย์ที่น่าสนใจ เพราะ ทันทีทที่ �ำ ให้บริสทุ ธิ์ ยีสต์จะกลายเป็นแหล่งโปรตีนสูงได้ถงึ 42% ทีส่ ามารถนำ�ไปทดแทนเป็นปลาป่นและกาก ถั่วเหลืองที่เป็นแหล่งโปรตีนของอาหารสัตว์ได้ ซึ่งต่อมาได้จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “Koboten” Fodder Yeast หรือ Koboten จึงกลายเป็นพระเอกที่มาช่วยปลดล็อกปัญหาเรื่องการใช้ปลาป่นเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ผู้ประกอบการวงการปศุสัตว์ได้ในจังหวะที่พอเหมาะพอดี นอกจากผลสำ�เร็จที่ได้รับแล้ว ยีสต์ยังถูกนำ�ไปทดสอบแยกเซลล์ออกจนพบว่ามี เบต้ากลูแคน (Betaglucan) ประมาณ 12-14% ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีราคาสูง สามารถเป็นทั้งอาหาร เสริมและวิตามินที่ใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานของสัตว์ได้ งานวิจยั นีไ้ ด้ท�ำ การทดลองกับสัตว์บก สัตว์น�้ำ สัตว์ปกี ทัง้ สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ทั้งยังนำ�ผลิตภัณฑ์ยีสต์ดังกล่าวไปให้แล็บของบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมทดสอบ ปรากฏว่า Koboten สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น Koboten จึงกลายเป็นทั้งแหล่งโปรตีนพรีเมี่ยมและผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่มีราคาดี เป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้ให้กลุ่มมิตรผล ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลสามารถประหยัดการนำ�เข้ายีสต์สำ�หรับผลิตเอทานอลจากต่างประเทศเป็นเงิน ก้อนใหญ่เพราะใช้โมลาสจากโรงงานของตัวเองสร้างยีสต์ขึ้นมาใช้ได้เอง
73
74
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
มิตรผลรักษ์โลก “โรงงานสีเขียว” กรอบโครงสร้างการดำ�เนินงานของกลุม่ มิตรผลยืนหยัดบนความโปร่งใส มีจรรยาบรรณ ให้ ความเป็นธรรมและคำ�นึงถึงประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งคู่ค้า ลูกค้า ผู้บริโภค ตลอดจนการดูแล สิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชน โดยเชื่อว่าจะเป็นหนทางนำ�ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด ดังนั้น ไม่เพียงแต่การใส่ใจดูแลสภาพแวดล้อมชุมชนรายรอบอย่างดี ทุกโรงงานน้ำ�ตาล กลุ่มมิตรผลจะเนรมิตพื้นที่ให้เขียวขจีประหนึ่งอุทยานพรรณไม้ ผูท้ ปี่ กั ธงแนวความคิด “โรงงานสีเขียว” คือ คุณสุนทร ว่องกุศลกิจ ทีร่ เิ ริม่ แนวคิดนีต้ งั้ แต่ ครั้งที่ย้ายโรงงานน้�ำ ตาลจากบ้านโป่งไปอำ�เภอด่านช้าง ในระหว่างการปรับภูมทิ ศั น์โรงงานมิตรผลด่านช้าง คุณสุนทรไม่ยอมให้ตดั โค่นต้นไม้ใหญ่ ทีม่ อี ยูแ่ ต่เดิมแม้แต่ตน้ เดียว ทัง้ ยังสัง่ ให้ปลูกต้นใหม่เสริมเข้าไปทุกวันเพือ่ สร้างความร่มรืน่ สวยงาม ขึ้นเต็มพื้นที่ นับแต่นั้น รายรอบอาณาบริเวณโรงงานน้ำ�ตาลทุกแห่งของกลุ่มมิตรผลจึงเขียวขจี สดชื่นสบายตาแก่ผู้พักพิงอาศัยและผู้ไปเยือนซึ่งออกปากเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกเหมือนเดิน เที่ยวเล่นอยู่ในรีสอร์ทมากกว่ามาเยี่ยมชมโรงงานน้�ำ ตาล
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
โดยเฉพาะโรงงานน้ำ�ตาลมิตรภูเขียวซึง่ เป็นต้นแบบของ “อุทยานมิตรผล” ในพืน้ ที่ กว่า 1,200 ไร่ แสดงให้เห็นการดำ�เนินธุรกิจอ้อยครบวงจรตั้งแต่ต้นน้�ำ ถึงปลายน้ำ� โรงงาน น้�ำ ตาล โรงงานเอทานอล โรงไฟฟ้าชีวมวล และห้องแล็บวิจยั ตัง้ อยูใ่ นโอบล้อมของป่าสัก อันร่มรื่น นอกจากภาคการผลิตทีม่ ตี วั อย่างการใช้ออ้ ยเป็นวัตถุดบิ อย่างครบวงจรแล้ว อุทยาน มิตรผลยังให้ความสำ�คัญกับการเพิ่มพูนความรู้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยส่งทีม RDI เข้าไปให้ความรู้ แนะนำ�การทำ�ไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตดี ด้วยวิธีจัดการฟาร์มแบบใหม่ ที่ไม่ต้องคอยพึ่งฟ้าฝนอย่างเดียว ภายใต้โครงการหมู่บ้านเพิ่มผลผลิตซึ่งปัจจุบันมีจำ�นวน ถึง 138 หมู่บ้าน และโครงการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
75
76
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
Solar Rooftop สู่ Solar Farm จากความตื่นตัวเรื่องสภาวะโลกร้อนที่ต้องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประกอบกับความต้องการลดปริมาณนำ�เข้าพลังงานจากต่างประเทศ แนวทางในการพัฒนาพลังงานทดแทน จึงเกิดขึ้นหลากหลายวิธี กลุ่มมิตรผลนับเป็นองค์กรแนวหน้าด้านการใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า นำ�ของเหลือทิ้งมาพัฒนาจนกลาย เป็นธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่ช่วยลดการนำ�เข้าพลังงานจากต่างประเทศ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่เสริมความมั่นคง ด้านพลังงานให้กับประเทศแล้ว แม้จะก้าวสูแ่ ถวหน้าในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนระดับเอเชียแล้ว กลุม่ มิตรผลยังมีแนวคิดเรือ่ งการนำ�ทรัพยากร มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ธุรกิจพลังงานสะอาดจึงถูกต่อยอดจากพลังงานชีวมวลสู่พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงาน สะอาดที่สามารถใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด โครงการ โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) จึงเกิดขึ้นจากความคิดที่จะใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากพื้นที่ว่างบนหลังคาบ่อเก็บโมลาสที่โรงไฟฟ้ามิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ กลายเป็นพื้นที่นำ�ร่องก่อนที่จะ เปิดตัวโครงการ โซลาร์รูฟท็อป แห่งแรกของประเทศ กลุ่มมิตรผลใช้งบประมาณกว่า 56 ล้านบาท เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 989 กิโลวัตต์ บนหลังคา อาคารบ่อเก็บโมลาส ทำ�ให้โรงงานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและสามารถผลิตและจำ�หน่ายไฟฟ้าให้ กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มากกว่า 1.3 ล้านหน่วยต่อปี พลังงานบนหลังคาที่ผลิตได้นี้เทียบเท่ากับการลดใช้น้ำ�มันดิบได้มากกว่า 100 ตันต่อปี และช่วยลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 700 ตันคาร์บอนต่อปี จากแนวคิดใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่เกิดขึ้น “บนหลังคา” จนเกิดความสำ�เร็จ กลุ่มมิตรผลรุกคืบหน้าไปสู่ “พื้นดิน” กลุ่มมิตรผลนำ�พื้นที่เสื่อมสภาพไม่สามารถทำ�การเพาะปลูก มาแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ด้วยการสร้าง โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) ที่ตำ�บลหนองมะค่าโมง อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ความคิดนี้เริ่มจาก ความตั้งใจจะทำ�โครงการปั๊มน้ำ�จากแสงอาทิตย์ (Solar Water) มาร่วมกับการใช้ระบบน้ำ�หยดเพื่อช่วย
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
แก้ปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่แล้งได้มีน้ำ�ใช้ และยังช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน จุดเด่นของโครงการนีอ้ ยูท่ กี่ ารให้บริการอย่างครบวงจรตัง้ แต่การออกแบบระบบบ่อน้ำ� แผงโซลาร์ ปัม๊ น้ำ� และระบบน้ำ�หยดที่เหมาะกับพื้นที่ ทั้งยังมีบริการการให้สินเชื่อและรับประกันการทำ�งานด้วย นอกจากจะเป็นการใช้พนื้ ทีอ่ ย่างคุม้ ค่า ทำ�ให้ชมุ ชนได้มแี หล่งพลังงานสะอาดไว้ใช้ในระยะยาวแล้ว กลุม่ มิตรผลยังมีแผนสร้างพืน้ ทีน่ เี้ ป็นศูนย์การเรียนรูแ้ ละศึกษาดูงานด้านพลังงานสะอาดในชุมชน เพือ่ ให้ เกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถนำ�ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ด้านการเกษตรต่อไป
77
78
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
79
80
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
8
“คน” คือพลังขับเคลื่อน ความสำ�เร็จของกลุม่ มิตรผลย่อมมิใช่เกิดขึน้ ด้วยความบังเอิญ เพราะกว่าจะสร้างธุรกิจมา ถึงวันนี้ได้ไม่ใช่เรื่องหวานหอมเหมือนน้�ำ ตาลที่ทำ�อยู่
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ความจริงใจและสัจจะ ที่กลุ่มมิตรผลมีต่อกัลยาณมิตรรวมถึงบุคลากร ภายใต้การปกครองคือพลังขับเคลื่อนสำ�คัญที่ท�ำ ให้ กิจการเจริญเติบโตมาได้ทงั้ ในแง่ขนาดธุรกิจและความ เจริญก้าวหน้า ภายใต้ปรัชญา “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ที่ทุกฝ่ายต้องเติบโตไปด้วยกัน
ชาวไร่อ้อย หุ้นส่วนธุรกิจ เมื่อ “ชาวไร่อ้อย” คือหัวใจในการทำ�ธุรกิจ ฉะนั้น ตลอดกว่า 60 ปี บนปรัชญา “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ทุกคำ�สัญญาที่กลุ่มมิตรผลมีให้กับ ชาวไร่ทุกคนจึงไม่ใช่สัญญาทาส แต่เป็นสัญญา แห่งการแบ่งปันและจริงใจต่อกัน
เพราะการทำ�ไร่ออ้ ยเป็นอาชีพทีห่ ล่อเลีย้ ง ทำ�ให้ครอบครัวว่องกุศลกิจเจริญเติบใหญ่ อีก ทั้งยังเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มมิตรผลซึ่งก้าวจาก โรงงานเล็กๆ มาเป็นบริษทั แสนล้านบาทในวันนี้ ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลมีชาวไร่อ้อยใน พันธสัญญาทีต่ อ้ งดูแลกันประมาณ 2 ล้านไร่ และ ต้นทุนของโรงงานน้�ำ ตาลเกือบ 70% เป็นราคา อ้อย ดังนั้น การที่จะทำ�ให้อุตสาหกรรมยั่งยืน อยูต่ อ่ ไปคือ ต้องดูแลชาวไร่ออ้ ยให้อยูไ่ ด้ เพราะ ถ้าไม่มีอ้อยเครื่องจักรก็ทำ�งานไม่ได้ และหาก ชาวไร่อ้อยขาดทุนโรงงานก็ขาดทุนด้วย ฉะนั้น ชาวไร่อ้อยสำ�หรับกลุ่มมิตรผลจึง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เกษตรกรธรรมดา หากเป็น เสมือน “หุน้ ส่วน” ทีต่ อ้ งเติบโตเคียงคูก่ นั ตลอดไป
81
82
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ครอบครัว “ว่องกุศลกิจ” จึงตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะทำ�ให้ชาวไร่อ้อยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงทุ่มเท สรรพกำ�ลังทีม่ ที �ำ ให้อาชีพการปลูกอ้อยเป็นอาชีพทีย่ งั่ ยืน มีก�ำ ไรเพิม่ พูนแข่งขันกับพืชอืน่ ได้และสร้างให้ครอบครัว ชาวไร่อ้อยมีความสุข กลุ่มมิตรผลนำ�ระบบสมัยใหม่มาใช้ช่วยในการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพจนทำ�ให้ชาวไร่อ้อยมีความ สามารถแข่งขันด้านต้นทุนและคุณภาพได้ โดยจัดเตรียมทีมนักวิชาการเข้าไปช่วยดูแลแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ทั้ง สอนวิธีให้น�้ำ ไถพรวนดินที่ถูกต้อง จัดหาพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และการกำ�จัดวัชพืช อีกทั้งยัง มีระบบค้�ำ ประกันเงินกูใ้ ห้กบั ชาวไร่ในการจัดซือ้ เครือ่ งจักรกลหนักสำ�หรับใช้ในฟาร์มขนาดใหญ่ โดยเมือ่ ขายอ้อย ได้ค่อยทยอยผ่อนหนี้คืนจนกว่าจะครบ แต่ชาวไร่อ้อยที่จะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องนี้ต้องผ่านการกลั่นกรองแล้วว่า เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ ไม่เคยผิดสัญญากับโรงงาน ตั้งใจทำ�มาหากิน ไม่มีประวัติเสียหาย ติดการพนัน หรือยาเสพติด พันธสัญญาที่มีต่อกัน จึงเป็นเรื่องสำ�คัญที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเคารพ ความคิดนี้ยังโยงใยไปถึงลูกหลานชาวไร่อ้อยที่จะเป็นเซลล์ใหม่ของธุรกิจต่อไปในอนาคต เพราะผลผลิต อ้อยเป็นวัตถุดิบสำ�คัญ หากลูกหลานเกษตรกรไม่ท�ำ ไร่อ้อยต่อไปก็จะไม่มีใครปลูกอ้อยให้ บนแนวคิด “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” กลุ่มมิตรผลจึงหาทางขับเคลื่อนเพื่อจูงใจให้ลูกหลานชาวไร่อ้อย กลับบ้านไปทำ�เกษตร ด้วยโครงการ “ทายาทเถ้าแก่ไร่อ้อย” เพื่อเปิดโลกทัศน์และสร้างทัศนคติในอาชีพ ปลูกอ้อยให้กบั เยาวชนลูกหลานได้เห็นมุมมองใหม่ในการประกอบอาชีพในไร่ออ้ ยทีก่ า้ วสูก่ ารทำ�เกษตรแนวใหม่ แบบโมเดิร์นฟาร์มที่มีเทคโนโลยี เครื่องไม้เครื่องมือ และเครื่องจักรกลเป็นตัวทุ่นแรง
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
กลุ่มมิตรผลมีความหวังที่จะเห็นการส่งต่อไร่อ้อยจากรุ่นพ่อแม่สู่มือลูกหลานด้วยความภาคภูมิใจ ในเกียรติและศักดิ์ศรีของอาชีพ สานต่อทำ�ให้ไร่อ้อยเติบโตได้อย่างมั่นคงยั่งยืน นำ�ความมั่งคั่งมาสู่ชีวิต โดยพร้อมเป็นพี่เลี้ยงที่จะผลักดันเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่มีความรู้ความสามารถรอบตัว โครงการนี้ยังเป็นการตอบคำ�ถามให้กับเด็กรุ่นใหม่ว่า เมื่อจบปริญญาตรีแล้วกลับไปทำ�ไร่อ้อย ของพ่อแม่แล้วรวยได้หรือไม่ ? หรือเมือ่ จบปริญญาโทกลับไปขับรถแทรกเตอร์ และใช้วธิ กี ารบริหารจัดการไร่ออ้ ยด้วยการเกษตรสมัย ใหม่แล้วให้ผลผลิตสูงขึ้นได้จริงหรือเปล่า ? คำ�ตอบคือ หากกลับบ้านแล้วมีช่องทางหาเงินได้หลายอย่าง ชีวิตสบายขึ้น มีเงินใช้ มีอิสระ แถมยัง ได้อยู่ใกล้พ่อแม่ และดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ นี่คือ คุณภาพชีวิตที่ดีใช่หรือไม่ ? ทั้งหมดนั้น คือการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพ บนแนวทางแบบกลุ่มมิตรผลที่เริ่มต้น จากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นเกษตรกรแสนล้านมืออาชีพ
83
84
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
คนคุณภาพ นอกจากการดูแลหุ้นส่วนสำ�คัญอย่างชาวไร่ อ้อยแล้ว กลุ่มมิตรผลยังเล็งเห็นว่า ในการทำ�ธุรกิจ ให้กา้ วสูค่ วามสำ�เร็จนัน้ แม้จะต้องมีปจั จัยหลายด้าน ทัง้ การลงทุน ด้านเทคโนโลยี การพัฒนาองค์ความรู้ การทำ�วิจัย หรือ R&D ต่างๆ ก็ตาม หากในวิสยั ทัศน์ของครอบครัว “ว่องกุศลกิจ” เชื่อว่าหัวใจของการขับเคลื่อนธุรกิจให้มั่นคงและ เติบโตนั้น “บุคลากร” คือปัจจัยสำ�คัญที่จะนำ�พา ไปสู่ความสำ�เร็จ หรือความล้มเหลวให้กับองค์กร ธรรมนู ญ ของครอบครั ว เชื่ อ ในเรื่ อ ง “คุณค่าคน” ฉะนั้น “การสร้างคน” ในแนวคิด ของกลุ่มมิตรผลจึงมิใช่เพียงการป้อนความคิด ลงไปในระบบความจำ� แต่เป็นการติดอาวุธช่วยพัฒนา ความรู้ ระบบความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนให้ เกิดขึ้น ทำ�ให้คนกลายเป็นขุมพลัง มิใช่เพียงจักรกล หรือเฟืองเล็กๆ ขององค์กร
85
86
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
คัมภีร์ “คนคุณภาพ” ของกลุ่มมิตรผล กลุ่มมิตรผลระบุคุณสมบัติพฤติกรรมที่สร้างความเป็นผู้นำ�ให้กับพนักงานในองค์กร (Leader Attribute) ไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ - รับผิดชอบ รู้ลึก รู้จริง (Accountable & Hands on) - มุ่งมั่น สร้างผลงาน ให้ได้ตามเป้าหมาย (Commitment & Result Oriented) - ทุ่มเท สร้างผลิตภัณฑ์ และบริการที่ดีต่อลูกค้า ทั้งภายในและภายนอก (Passion for Customers) - เตรียมพร้อม นำ�การเปลีย่ นแปลง และพัฒนาสิง่ ใหม่ๆ ทีด่ กี ว่าอยูเ่ สมอ (Agile & Adaptive to Change) - มีส่วนร่วมและสนับสนุนการทำ�งานเป็นทีม (Contribution through Teamwork)
Accountable & Hands on t &ted n e itmOrien m Comesult R
Co Tea ntribu mw tion ork thr ou
gh
Passion for Customers Agile & Adaptive to Change
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
วัฒนธรรมมิตรผล
กลุ่มมิตรผลยังมีการตกผลึกแนวคิดและพฤติกรรมที่ยึดปฏิบัติตกทอดกันมาตั้งแต่รุ่นก่อน จนกลายเป็น “วัฒนธรรมมิตรผล” (Mitr Phol Culture) ที่สืบทอดส่งต่อสู่คนรุ่นใหม่ให้เป็น แนวปฏิบัติให้กับชาวมิตรผล จนทำ�ให้กลุม่ มิตรผลก้าวต่อไปข้างหน้าสู่ความเป็นองค์กรระดับสากล ได้อย่างยั่งยืน - มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) - ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ขยัน และอดทน (Integrity) - จริงใจและเชื่อถือได้ (Trustworthiness) - ใส่ใจและรับผิดชอบต่อสังคม (Care & Accountability) - สรรค์สร้างนวัตกรรม (Innovation)
87
88
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
นอกจากวัฒนธรรมมิตรผลแล้ว กลุ่มมิตรผลยังสร้างความใกล้ชิดกับบุคลากรทุกระดับ ทุกเจเนอเรชั่น ด้วยการทำ� Stay Interview หรือการสอบถามทุกข์สุขของพนักงานอยู่เสมอ อีกทั้งยัง Opendoor Policy เปิดกว้างให้ลกู น้องสามารถเดินมาพูดคุยหรือสอบถามผูบ้ งั คับบัญชาในเรือ่ งต่างๆ ได้ ไม่เพียงเท่านั้น กลุ่มมิตรผลยังมีโครงการ CEO See U โครงการที่เปิดโอกาสให้พนักงานพบ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารได้โดยตรง อีกทัง้ พนักงานยังมี Line Official Account เพือ่ ติดต่อกับผูบ้ ริหาร ได้อีกด้วย ซึ่งคำ�ถามหรือเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นจะเป็นข้อมูลที่ถูกนำ�ไปพัฒนาการบริหารจัดการ ให้ดียิ่งขึ้น แนวทางการบริหารจัดการแบบใกล้ชิดนี้จึงไม่เพียงแต่จะทำ�ให้กลุ่มมิตรผลได้รับรางวัล “สุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย 2559” (Best Employer Thailand 2016) จากการ สำ�รวจโดย เอออน ฮิววิท (Aon Hewitt) บริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านัน้ หากยังช่วยลดปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งานให้กับบุคลากรในทุกระดับชั้น และยังสร้างความรักและผูกพันให้กับ คนทุกรุ่นทุกวัย ทำ�ให้สายสัมพันธ์ของเลือดมิตรผลเข้มข้นยิ่งขึ้น
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
องค์กรแห่งการเรียนรู้ จากความเชือ่ ทีว่ า่ ...บุคลากรชัน้ นำ�เท่านัน้ ทีจ่ ะสร้างสรรค์องค์กรชัน้ เลิศได้...ดังนัน้ การสร้างคนมิตรผลให้เป็นเลิศ จึงเป็นปณิธานที่คุณอิสระวางไว้ ฉะนั้น นอกจากการพัฒนาความรู้และทักษะในการทำ�งานแล้ว การดึงศักยภาพ ที่ซ่อนอยู่ในตัวคนที่เปรียบเสมือนเป็นฐานน้�ำ แข็งก้อนใหญ่ที่ซ่อนอยู่ใต้น�้ำ ออกมาแล้ว พัฒนาให้เกิดคุณค่าต่องานมากขึ้นจึงมีความหมายอย่างยิ่ง แนวทางการพัฒนาคนให้ทุกคนเป็นคนเก่งและรับผิดชอบงานจน “สามารถ พึ่งตัวเอง” และ “ไว้ใจได้” จึงมีกระบวนการมากมาย กลุ่มมิตรผลพัฒนาบุคลากรด้วยการนำ�กลยุทธ์ 70-20-10 มาใช้
70% 20% 10% เรียนรู้จากลงมือทำ�
เรียนรู้จากผู้อื่น
เรียนรู้จาก การฝึกอบรมต่างๆ ที่บริษัทจัดขึ้น
89
90
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
กลุ่มมิตรผลติดอาวุธด้วยโปรแกรมพัฒนาบุคลากร หรือ “Mitr Phol Signature Development Program” ที่เน้นพัฒนาให้ทุกคนมีภาวะผู้นำ� มีทักษะการบริหารจัดการ และแนวคิดเชิงกลยุทธ์ในระดับ ที่สูงขึ้น มีการพัฒนาขีดความสามารถในการเรียนรู้ ของพนักงาน ผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ CE-Mitr Phol Learning Camp นอกจากนี้กลุ่มมิตรผลได้เข้าร่วม สัมมนาประชุมในเวทีระดับสากล อาทิ การประชุม น้ำ�ตาลโลก ISSCT (International Society of Sugar Cane Technologists) เพื่อนำ�เรื่องราวที่ได้รับกลับมา เล่าให้เพื่อนพนักงานหลายพันชีวิตในองค์กรได้รับรู้ ตลอดจนได้มีการจัดหลักสูตร ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมา ให้ความรู้ที่สำ�คัญสำ�หรับการพัฒนาบุคลากรในธุรกิจ อ้อยและน้ำ�ตาล อาทิ หลักสูตร Ironman ซึ่งได้เชิญ ผู้เชี่ยวชาญจาก MSF Sugar ประเทศออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาความรู้ของบุคลากรกลุ่มธุรกิจกลุ่มงาน อ้อยที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่ และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้แก่ชาวไร่ได้ และ หลักสูตร Sugar Milling Technology ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย โดยหลักสูตรดังกล่าวเพื่อมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรธุรกิจน้ำ�ตาลด้าน Sugar Chemistry และ Sugar Technology การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรกลุม่ มิตรผลทีม่ ศี กั ยภาพสูงผ่านโปรแกรม Talent Mobility เพือ่ เปิด โอกาสให้พนักงานได้เรียนรูง้ านของกลุม่ ธุรกิจต่างประเทศ เช่น ธุรกิจในประเทศจีน และประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้กลุ่มมิตรผลให้ความสำ�คัญกับการเตรียมพร้อมด้านกำ�ลังคนเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจ จึงได้มอบทุนการศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก ในสาขาที่มีความสำ�คัญ อาทิ สาขา Mechatronics
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
นอกจากนี้ ยังเปิดเวทีประลองยุทธ์ด้วยการจัดการประกวดนวัตกรรมของบริษัท Mitr Phol Best Innovation Award เป็นประจำ�ทุกปี โดยทำ�ติดต่อกันมาถึง 15 ปีแล้ว ผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้นจะต้องผ่าน การทดสอบการใช้จริงมาก่อนอย่างน้อย 6 เดือน - 1 ปี และผลงานที่ผ่านการประกวดจะถูกนำ�มาใช้จริง ในบริษัท หรือนำ�มาสร้างเป็นธุรกิจของชุมชนเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวของพนักงาน การเปิดเวทีที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงออกในการสร้างผลงานให้คนอื่นรับรู้หรือยกย่อง เป็นการสร้างความภาคภูมิใจและมั่นใจให้กับตัวพนักงาน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดริเริ่ม รู้จักสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมความคิดหรือกลยุทธ์ใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังเปิดกว้างอย่างเต็มที่ เช่น หากพนักงานคนใดต้องการทดลองสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่าง จริงจัง กลุ่มมิตรผลก็จะสนับสนุนห้องแล็บและงบประมาณในการทดลอง การนำ�ชานอ้อยมาทำ�เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ การทำ�โรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อย การสร้าง อิฐบล็อกน้ำ�หนักเบาจากขี้เถ้าชานอ้อยและตะกอนจากบ่อน้ำ�ทิ้ง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลงานส่วนหนึ่งจากเวทีนี้ เวทีเปิดกว้างนี้ไม่เพียงแต่จะสร้าง “คนคุณภาพ” เท่านั้น หากความคิดสร้างสรรค์นั้นยังช่วยลด การสูญเสียและเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มมิตรผลได้หลายพันล้าน
หนทางสู่ความสำ�เร็จของพนักงาน can do ต้องคิดอยู่เสมอว่าตัวเองทำ�ได้ เพื่อสร้างกำ�ลังใจไม่ให้ท้อถอย priority setting สามารถจัดลำ�ดับความสำ�คัญเรื่องที่ต้องทำ�ก่อน-หลังได้ finding new way of the new thinking ค้นหาความคิดใหม่ๆ ในการทำ�งานอยู่เสมอ challenge ทำ�สิ่งที่ท้าทายความสามารถตัวเองเสมอ
91
92
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
93
94
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
9
สร้างคุณค่า สร้างอนาคต จากปฐมบทแห่งการต่อสู้ของชาวจีนชื่อ ว่องจื้อไฉ่ และ ฉินเหน่าฟ้า ที่อพยพจากจีน แผ่นดินใหญ่มาฝากชีวิตและความหวังไว้บนแผ่นดินไทย จนครอบครัวเติบใหญ่จนมั่นคงจาก พืชท้องถิ่นที่เรียกว่า “อ้อย” มิได้เป็นเพียงตำ�นานบทสำ�คัญของคน “ตระกูลว่อง” เท่านั้น หากยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจยุคใหม่ของเมืองไทยที่ต้องบันทึกเอาไว้
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
จากธุรกิจน้ำ�ตาลในครอบครัวขนาดเล็ก ผงาดสู่ “กลุ่มมิตรผล” อาณาจักรแสนล้าน ที่ยัง พุ่งทะยานต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด “เราจะเป็นบริษทั ชัน้ นำ�ระดับโลกในอุตสาหกรรม น้�ำ ตาลและ Bio-based โดยใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ร่วมกับการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อสร้าง คุณค่า สร้างอนาคตให้กับสังคม” นีค่ อื วิสยั ทัศน์ทกี่ ลุม่ มิตรผลจะมุง่ สูท่ ศวรรษหน้า คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ เชื่อมั่นตลอดมาว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำ�ตาลไม่ใช่ Sunset Business แต่ยังเป็น Sunshine Business ตลอดเวลา ฉะนั้น กลุ่มมิตรผลยังสามารถก้าวผ่านพรมแดนไปแสวงหา โอกาสในแผ่นดินใหม่ได้อีกมากมาย การขยายงานออกไปสู่ภูมิภาคอื่นนั้นไม่
เพียงประกาศสถานะว่า เป็นบริษัทชั้นนำ�ใน อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำ�ตาลเท่านั้น แต่ยังได้ ยกระดับกลุม่ มิตรผลให้เป็น “องค์กรชัน้ นำ�ระดับ สากล” ภายใต้ภาพลักษณ์ Global Quality with Sustainability ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มธุรกิจหลัก คือ กลุ่มธุรกิจอ้อย กลุ่มธุรกิจน้ำ�ตาล กรมธุรกิจ พลังงาน กลุม่ ธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ และธุรกิจใหม่ กลุ่มธุรกิจประเทศออสเตรเลีย และ สปป.ลาว และกลุ่มธุรกิจประเทศจีน หากการเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำ�ตาล อันดับ 5 ของโลก อันดับ 1 ของเอเชีย อันดับ 1 ของประเทศไทย และการเป็นผู้นำ�ธุรกิจพลังงาน หมุนเวียนรายใหญ่ของเอเชีย ยังไม่ใช่คำ�ตอบ สุดท้าย
95
96
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
เช่นเดียวกับการเป็นเบอร์ 1 หรือเป็นบริษัทใน Fortune 500 ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่การันตีว่า บริษัทจะ เติบโตอยู่ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป ยิ่งโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว คนก็ต้องยิ่งวิ่งตามให้ทัน คนที่อยู่ในกระแสโลกที่เรียกว่า Disruptive Technology ยิ่งต้องกระโจนไปข้างหน้าอยู่เสมอ เป้าหมายใหญ่ของกลุ่มมิตรผลในทศวรรษต่อไปนั้นจึงอยู่ที่การก้าวขึ้นสู่การเป็น “องค์กรชั้นนำ� ระดับสากล” หรือ World Class Organization ธงใหญ่ระดับโลกที่แม่ทัพอิสระ ว่องกุศลกิจ ตั้งใจที่จะเห็นภายในปี ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563 นี้
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
การทะยานสูจ่ ดุ หมายครัง้ ใหม่ของกลุม่ มิตรผลทีน่ �ำ การวิจยั มาใช้พฒ ั นาร่วมกับเทคโนโลยีทที่ นั สมัย และการจัดการแบบบูรณาการตัง้ แต่ตน้ น้�ำ ถึงปลายน้�ำ จึงทำ�ให้กลุม่ มิตรผลสามารถยกระดับอุตสาหกรรม ไปสู่ New S-Curve ธุรกิจที่เน้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้ง ไบโอเทคโนโลยี ดิจิตอลเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี และโรโบติกเทคโนโลยีได้ เกษตรสมัยใหม่ในรูปแบบของกลุ่มมิตรผลจึงกลายเป็นเมกะเทรนด์ที่ก้าวสู่การเป็นคลัสเตอร์ ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติสำ�คัญ คือเปลี่ยนจากการผลิต สินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม หนักไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เปลี่ยนจากภาคการผลิต ไปสู่ภาคการบริการมากขึ้น
97
98
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
ภารกิจของชาวมิตรผลในวันนี้ไม่เพียงแต่จะต้องปรับปรุงกระบวนการทำ�งาน พัฒนา เทคโนโลยีให้ทันสมัย หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เท่านั้น หากยังให้ความสำ�คัญในเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาและผลักดันให้พนักงานในองค์กรเป็นมนุษย์สายพันธุ์ “รอบรู้” ที่สามารถ ทำ�งานได้ในทุกหน้าทีแ่ ม้จะข้ามสายงานก็ตาม มีการบริหารจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ รูจ้ กั นำ�ระบบ ดิจิตอลมาใช้ดำ�เนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ และช่วยกันนำ�ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ นับเป็น ความสำ�เร็จขององค์กรระดับ World Class Organization เพิ่มเติมไปจากความรู้เรื่อง “อ้อย” อันเป็นรากเหง้าและตัวตนของคนทำ�อุตสาหกรรมนี้
6 ทศวรรษ กลุ่มมิตรผล | สร้างคุณค่า...สร้างอนาคต | Creating Value For Better Life
99
World Class Organization
ขณะเดียวกัน ยังต้องยึดมั่นเดินตามแนวทาง “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ของกลุ่มมิตรผลไว้ อย่างมั่นคง การยึดมั่นในปรัชญาของผู้บุกเบิกก่อตั้ง ผสมผสานกับการมองการณ์ไกลถึงอนาคต ของโลกทัง้ ใบ และการขับเคลือ่ นองคาพยพทีเ่ ปีย่ มไปด้วยคุณภาพ เป้าหมายทีต่ งั้ ไว้จงึ อยูแ่ ค่เอือ้ ม เมื่อถึงเวลานั้น ชื่อของกลุ่มมิตรผลจะถูกบันทึกไว้ในทำ�เนียบ World Class Organization ในฐานะองค์กรที่สร้างคุณค่า สร้างอนาคตให้กับโลก