พลาสติก
แกว
สวัสดีค่ะ เพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่าน
เวลาผ่านไปเร็วนะคะ จุลสารชุมชนของเราฉบับนี้เป็นฉบับส่งท้ายปีเก่าแล้ว ช่วงปลายปี แบบนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่เราน่าจะลองหาเวลาทำความสะอาดหรือสำรวจข้าวของต่าง ๆ ในบ้านของเราเอง ว่ามีสิ่งใดชำรุดต้องซ่อมแซมหรือเปล่า ของใดเก็บไว้นานจนลืมไม่ได้ใช้ อะไรที่มีมากเกินความจำเป็น สิ่งไหนจะทิ้งหรือขายต่อ เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งดี ๆ ที่กำลังจะ ก้าวเข้ามาในศักราชใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ จุลสารชุมชนของเราฉบับนี้ มีโครงการด้านการจัดการของเสียหรือขยะในหลากหลาย
พื้นที่มาเล่าให้ฟังค่ะ อาทิ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ตัวอย่างการจัดการขยะในอุตสาหกรรมเกษตรชุมชน ณ จังหวัดกระบี่
ที่เครือไทยออยล์ร่วมกับผู้แทนชุมชนได้เดินทางไปศึกษาดูงานกันมา หรือตัวอย่างหมู่บ้าน
ไร้ของเสียที่จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่างแนวทางในการจัดการขยะในชุมชน
ของเราต่อไป ที่จะลืมไม่ได้เลยคือคำขอบคุณในน้ำใจของพี่น้องชุมชนทุกท่าน ที่ช่วยให้งานทอดกฐิน สามัคคีเครือไทยออยล์ ประจำปี 2553 ณ วัดใหม่เนินพยอม งานบุญใหญ่อีกงานหนึ่งของ ชุมชนบ้านเราผ่านพ้นไปด้วยดีอีกครั้ง สะท้อนถึงพลังสามัคคีของชุมชนเราอย่างแท้จริง และ ในครั้งนี้พวกเรายังได้ร่วมอนุโมทนาบุญกับทีมมูลนิธิอาสาบรรเทาสาธารณภัย สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ ทีอ่ าสานำข้าวสารอาหารแห้งทีท่ กุ ท่านร่วมกันตักบาตร ไปช่วยผูป้ ระสบอุทกภัย ทางภาคใต้ ชมภาพบรรยากาศงานได้จากจุลสารเล่มนี้เลยค่ะ ช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวแบบนี้ คงถูกใจคนที่ทำงานเหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งปี หลาย คนคงเก็บกระเป๋าเตรียมตัวไปท่องเที่ยวกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัวกันแล้ว ทีมงานจุลสาร ชุมชนของเรา ขอให้ทุกท่านท่องเที่ยวอย่างสนุกสนาน ปลอดภัยและที่สำคัญอย่าลืมดูแล สุขภาพกันด้วยนะคะ พบกันใหม่ปหี น้าค่ะ บรรณาธิการ จุลสารชุมชนของเรา
เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จัดทำโดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร สำนักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยคี่ อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร 0-2299-0024 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3840-8500, 0-3835-9000 โทรสาร 0-3835-1554, 0-3835-1444 แผนกบริหารงานชุมชน 08-1835-2524, 08-9092-5089
สารบัญ เรื่องจากปก
1
ตามรอยพ่อ
4
รอบรั้วไทยออยล์
6
ข่าวศูนย์สุขภาพ
8
จิตอาสา
9
เคล็ดลับสุขภาพ
10
ก้าวทันโลก
11
ปลอดภัยใกล้ตัว
12
ลับสมองลองเล่นเกม
13
พี่เก่าข่าวเรื่อง
14
สกู๊ปพิเศษ
16
กระบอกเสียงชุมชน
18
ของดีบ้านเรา
20
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม
22
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน
24
เรื่องจากปก
โดย กองบรรณาธิการ
การเอาของเสียมาทำประโยชน์ให้หมดในภาษาวิชาการ เรียกว่าการทำของเสียให้เป็นศูนย์ หรือที่พูดง่าย ๆ ว่าไม่มี อะไรเหลือทิ้งเป็นขยะให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเลยนั้น กำลังเป็นที่กล่าวถึงในยุคที่ทุกคนกำลังตื่นตัวเรื่องภาวะโลกร้อน ทราบหรือไม่ว่าโดยเฉลี่ยแล้ว มนุษย์คนหนึ่ง ๆ สร้างขยะได้ถึง 0.9-1 กิโลกรัมในแต่ละวัน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ สภาพแวดล้อม และสุขภาพของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้ในเมืองไทยของเราเอง หลายหน่วยงานได้มีความพยายามที่จะช่วยลดปริมาณขยะ ให้เหลือน้อยที่สุด ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ เป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาท อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการทำของเสียให้เป็นศูนย์ในชุมชน เมื่อวันที่ 9-11 กรกฎาคม และวันที่
8-10 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะเดินทางกว่า 60 ชีวิตอันประกอบด้วยพนักงานเครือไทยออยล์ ผู้แทน ชุมชนรอบโรงกลั่นทั้ง 7 ชุมชน ผู้อำนวยการโรงเรียน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมทัศนวิชาการ การจัดการแบบไร้ของเสีย เพื่อนำตัวอย่างที่ได้พบเห็นมา ประยุกต์ใช้กับงานและชุมชนของตนเอง โดยมี รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการ ม.เกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ เป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้ตลอดการเดินทาง จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมทัศนวิชาการในครั้งนี้ คุณสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วย กรรมการอำนวยการ ด้านบริหารองค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าเพื่อให้เกิดการ เรียนรู้ถึงแนวความคิดด้านการจัดการแบบไร้ของเสีย ซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานและการ ดูแลชุมชนของเราต่อไป การได้ชมตัวอย่างการนำวัสดุเหลือใช้ในธรรมชาติ ตลอดจนผลผลิต ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานอันสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบ
ต่อสังคมของเครือฯ ในการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้กับชุมชน รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการ ม.เกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ ได้อธิบาย ถึงบทบาทและหน้าที่ของศูนย์ฯ ว่า “ที่ผ่านมานั้น การบริการวิชาการซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของ ม.เกษตรศาสตร์ ยังขาดการเข้าถึง ชุมชน เลยต้องปรับวิธีการว่าแทนที่จะสร้างศูนย์เรียนรู้ไว้ในมหาวิทยาลัยอย่างเดียว น่าจะไปสร้าง ศูนย์เรียนรู้ไว้ในชุมชนเลยคือการทำห้องเรียนมีชีวิตในชุมชน งานบริการวิชาการที่ผมพัฒนาในช่วง เวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา ผมมองว่าถ้าเราพัฒนาการจัดการแบบไร้ของเสีย หรือทำขยะให้เป็นศูนย์
เราจะพบว่าแทนที่จะมีรายได้จากเพียงแค่ผลผลิตหลักเพียงร้อยละ 20 หรือ 25 เรายังมีชีวมวลเหลือ อีกตั้ง 75 หรือ 80 ที่มักจะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่เมื่อเรานำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามา ใช้ในการแปรรูปหรือการพัฒนาวัตถุดิบที่เหลือใช้เหล่านี้ เราจะพบว่ามันสร้างมูลค่าเพิ่มและลด ต้นทุนการผลิต ส่งผลให้ศักยภาพในการแข่งขันของเราสูงมาก และเมื่อเรานำเทคโนโลยีตรงนี้ไป
ถ้าเราพัฒนาการจัดการแบบ
ไร้ของเสีย หรือทำขยะให้เป็นศูนย์ เราจะพบว่าแทนที่จะมีรายได้จาก แค่ผลผลิตหลักเพียงร้อยละ 20 หรือ 25 เรายังมีชีวมวล เหลืออีกตั้ง 75 หรือ 80 ที่มักจะ ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ผูอ้ ำนวยการศูนย์วทิ ยบริการ ม.เกษตรศาสตร์ จ.กระบี ่
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
เรื่องจากปก
ทดสอบจริงในชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมทำให้เกิดเป็นรูปธรรม ปรากฏว่าสัมฤทธิผล และเป็น ไปตามทฤษฎีและเป้าประสงค์ที่เราวางไว้ และหลังจากนั้นก็จะกลายเป็นชุมชนต้นแบบในเรื่อง เทคโนโลยีให้คนมาศึกษาเรียนรู้ได้” ศูนย์วิทยบริการ ม.เกษตรฯ จ.กระบี ่ คณะเดินทางเริม่ ต้นดูงานอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันชุมชนแบบไร้ของเสีย ภายในบริเวณศูนย์ฯ เอง ซึ่งใช้ทุกส่วนของต้นปาล์มอย่างคุ้มค่า อาทิ ใช้ทางปาล์มน้ำมันเลี้ยงแพะและวัว มูลสัตว์ที่ได้ก็ นำไปผลิตก๊าชชีวภาพ ทางปาล์มใช้ทำถ่านแฟนซีสำหรับดับกลิ่น ใยปาล์มใช้ทำกระถางต้นไม้ย่อย สลายได้ อิฐบล็อกประสาน ขุยปาล์มใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงด้วงสาคู เป็นต้น พื้นที่ว่างระหว่างต้น ปาล์มยังปลูกพืชแซม อาทิ อ้อย สับปะรด กระถินเทพา รวมถึงการเลี้ยงเป็ด ปลาดุก และกบ เพื่อ ใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่มีการปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นหนึ่ง ในตัวอย่างด้านการจัดการแบบไร้ของเสียที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถทำได้แม้ในพื้นที่เล็ก ๆ หรือในระดับชุมชน ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง
บ้านเกาะกลาง ต.คลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ ต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ลงรถต่อเรือหัวโทงเพื่อไปเยี่ยมชมบ้านเกาะกลาง พาหนะบนเกาะมีเพียงรถจักรยานยนต์และรถ จักรยานที่คณะเดินทางรุ่น 2 ได้มีโอกาสขี่จักรยานท่องเที่ยวรอบชุมชนอีกด้วย หมู่บ้านเกาะกลางเป็นหมู่บ้านที่ ศูนย์วิทยบริการร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาเป็นหมู่บ้านต้นแบบอุตสาหกรรมข้าว ชุมชนแบบไร้ของเสีย คือการใช้ทุกส่วนของต้นข้าวทั้งเมล็ดข้าว แกลบ รำ ปลายข้าว ฟางข้าง ตลอดจน
ตอซังข้าวให้เป็นประโยชน์ โดยมีกลุ่มชาวนา 70 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าว 800 ไร่ ผลิตข้าวสังข์หยดที่ได้รับ
ความนิยมเป็นอย่างสูงในท้องตลาด ชุมชนแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถทำอุตสาหกรรมข้าว
แบบไร้ของเสียได้ อาทิ โรงสีข้าวชุมชน เครื่องผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ เครือ่ งสกัดน้ำมันรำข้าว เป็นต้น นอกจากนีใ้ นหมูบ่ า้ นยังมีกลุม่ อาชีพอืน่ ๆ เช่น กลุ่มทำผ้าปาเต๊ะ กลุ่มผลิตเรือหัวโทง กลุ่มแปรรูปอาหารทะเล กลุ่มโฮมสเตย์ จัดได้ว่าเป็นห้องเรียนชุมชนที่มีชีวิตและเข้มแข็งอย่างแท้จริงชุมชนหนึ่ง นานาทัศนะของผู้ร่วมกิจกรรม
คุณสมชาย ชัยรักษ์วงศา พนักงาน บมจ. ไทยออยล์ ผมรู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้เห็นสิ่ง แปลกใหม่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น วิ ธี ก ารทำงานของ อ.สมบั ติ พยายามสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ครบวงจร โดยนำ เทคโนโลยีมาช่วยประกอบการทำ เพื่อทำให้รวมกลุ่ม พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนมีรายได้ หรือเรื่องปาล์ม น้ำมัน อ.สมบัติ ก็ทำเครือ่ งมือเครือ่ งจักรให้ครบวงจร เพื่อลดมลภาวะ ไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้นในการผลิต ต่าง ๆ ของการปลูกน้ำมันปาล์ม และจะพัฒนานำเอา ของเสี ย ต่ า ง ๆ เหล่ า นั้ น มาสร้ า งมู ล ค่ า ให้ กั บ
ชุ ม ชนเพี่ อ ลดของเสี ย รู้ สึ ก ว่ า เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี สำหรับทุก ๆ คนที่ได้มาพบเห็น รู้สึกยินดีที่เรามีคน แบบนี้ในสังคมที่จะสร้างสรรค์ให้มันดีขึ้น
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
คุณบุญเริง วิรัญจะ พนักงาน บมจ. ไทยออยล์ “เป็นครั้งแรกที่ผมได้ร่วมกิจกรรม CSR ถือว่า เป็ น ประโยชน์ จ ริ ง เพราะว่ า เราได้ รั บ ความรู้ จ าก กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการไปดูงานโรงงานทำปุ๋ย ทุก กิจกรรมเขาพยายามไม่ให้เหลือขยะหลุดลอดออกไป ก็เป็นสิ่งที่ดีที่เรามองถึงเรื่องขยะที่จะเป็นปัญหาของ โลกไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย เศษขยะ อย่างทะลายปาล์ม ที่เอามาเพิ่มมูลค่าเป็นส่วนผสมทำปุ๋ย ทั้งที่เดิมเป็น ของเสียที่จะทิ้ง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัด แต่ พอทำเป็นปุ๋ย ตันหนึ่งมูลค่าหลายพันบาท เกิดเป็น รายได้ เท่ากับได้สองทางคือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การกำจัดและได้มลู ค่าในการขายปุย๋ ผมเชือ่ ว่าทุกคน ที่มาร่วมทริปนี้ ก็คงรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วม ถือว่า เป็นโอกาสที่ดีครับ”
อ.ไพบูลย์ กัญญาคำ ประธานชุมชนบ้านเขาน้ำซับ “มาร่ ว มกิ จ กรรมกั บ ไทยออยล์ ค รั้ ง นี้ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ สู ง สุ ด ในด้ า นวิ ช าการ และด้ า นความ สนุ ก สนาน ผมรู้ สึ ก ว่ า ไทยออยล์ ใ ห้ ป ระโยชน์ กั บ ชุ ม ชนรอบ ๆ เป็ น อย่ า งดี ยิ่ ง ได้ ค วามรู้ ก็ น ำมา ปรับปรุงชุมชนของเราให้เจริญ นำประสบการณ์มา ต่อยอดให้กับชุมชนของเรา นอกจากนั้นยังได้มาพบ มาพูดคุยกับ อ.สมบัติ ซึ่งท่านเป็นคนที่รอบรู้ เสีย สละ สร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน และก็มีธรรม ประจำใจ คือ พรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้วคิดก้าวไกลให้ท้องถิ่นที่ท่านไป พัฒนาให้ยั่งยืนต่อไป”
เรื่องจากปก
ก่อนนั่งเรือกลับขึ้นฝั่ง คณะฯ ยังได้ช่วยกันทำกิจกรรม CSR ร่วมกับชาวชุมชนบ้านเกาะกลาง ด้ ว ยการปล่ อ ยพั น ธุ์ ปู ท ะเลบริ เ วณป่ า ชายเลนเพื่ อ ความยั่ ง ยื น และอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องแหล่ ง อาหาร
ปลูกต้นไม้เพื่อลดภาวะโลกร้อน และมอบพันธุ์ผักสวนครัวรั้วกินได้ให้ชุมชนบ้านเกาะกลางอีกด้วย นอกจากนั้น คณะฯ ยังมีโอกาสได้ชมตัวอย่างการทำอุตสาหกรรมที่มีการจัดการแบบไร้ของเสีย อีกหลายแห่ง อาทิ บริษทั เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาด 45 ตันปาล์มสดต่อชัว่ โมง เป็นโรงงาน ต้นแบบของการจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตในด้านต่าง ๆ เช่น • ทะลายปาล์มเปล่า ให้เกษตรกรนำไปคลุมดิน • เส้นใยปาล์ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อไอน้ำสำหรับนึ่งปาล์มสด • กะลาปาล์ม ขายให้ผู้ที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง/ใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อไอน้ำนึ่งปาล์มสด • น้ำเสียจากการนึ่งและการกรองแยกน้ำมันปาล์มดิบ ผลิตเป็นก๊าซชีวภาพสำหรับผลิตไฟฟ้า บริษทั ไทยอินโด ปาล์มออยล์ แฟคทอรี่ จำกัด โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทีม่ กี ำลังการผลิตสูงสุด 60 ตัน ทะลายปาล์มสดต่อชั่วโมง ที่โรงงานนี้มีการใช้ประโยชน์เศษวัสดุที่เหลือจากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ทุกส่วนเช่นเดียวกัน แต่จดุ เด่นอีกประการหนึง่ ทีท่ ำให้คณะเดินทางทึง่ ไปตาม ๆ กันคือโรงงานนีม้ รี ายได้ จากการขายไฟที่ได้จากระบบก๊าซชีวภาพของบ่อน้ำเสียจากกระบวนการผลิตสูงถึงเดือนละนับล้านบาท บริษัท เกษตรสิทธี จำกัด บริษัทผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากทะลายปาล์มเปล่า กำลังผลิต 50 ตัน/วัน โดยใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์เป็นตัวเร่งการย่อยสลายทะลายปาล์ม นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ยังได้รับการสนับสนุน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พัฒนาต้นแบบระบบสกัดน้ำมันปาล์มดิบแบบแห้ง ขนาด กำลังการผลิต 5 ตันปาล์มสด/ชั่วโมง เหมาะกับพื้นที่ปลูกที่ไม่มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ ก่อนกลับทุกคนยังได้ปุ๋ยเป็นที่ระลึกคนละถุง
คุณแดง กลิ่นหอม รองประธานชุมชนบ้านชากยายจีน “รู้สึกภูมิใจและดีใจ ที่ไทยออยล์และอ.สมบัติ นำชุมชนทั้ง 7 ชุมชนและอาจารย์ที่อยู่รอบโรงกลั่น มาในครั้งนี้ ได้ความรู้ต่าง ๆ การทำเศรษฐกิจพอ เพียง และถ้าเราไปบอกกล่าวกับชาวบ้านในละแวกที่ ชุมชนอยู่ ก็น่าจะเปลี่ยนวิถีชีวิตเขาได้ เช่น การหมัก ปุ๋ย ถ้าเรามีที่น้อยก็หมักน้อย มีที่มากก็หมักมาก หรือการเลี้ยงปลา เราต้องไปสอนเขาให้เขาทำ และ หากมีอาจารย์ที่ปรึกษาช่วยดูแลเขา ผมว่าในอนาคต ชุมชนก็น่าจะเจริญเติบโต ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นทาง ไทยออยล์หรือทางเทศบาล เขาก็ให้ความร่วมมือกับ ชุมชนเป็นอย่างดี ตรงนี้อยากฝากกลุ่มไทยออยล์ขอ ให้ยืนหยัดและต่อสู้ไปเรื่อย ๆ อย่าย่อท้อ เป็นที่พึ่ง ของชาวบ้านในชุมชนรอบโรงกลั่นไทยออยล์ต่อไป
อ.วีรภัทร สงวนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดแหลมฉบัง “ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสมาร่วมกิจกรรม กับคณะไทยออยล์และชุมชนโดยรอบโรงกลั่น ประทับ ใจและดีใจมาก ทำให้เราสนิทกันมากขึ้น รู้กำลังกัน แล้ว รู้ศักยภาพและจะได้ไปลงที่พื้นที่ เพราะแต่ละ โรงเรียน มีจดุ เด่นจุดด้อยไม่เหมือนกัน กิจกรรมครัง้ นี้ ถื อ ว่ า ดี ม าก อยู่ ที่ นี่ แ ค่ ส ามวั น อาจารย์ พ าไปทั้ ง วิสาหกิจชุมชนที่บ้านเกาะกลาง ไปดูโรงงานปาล์ม น้ำมันที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบ ได้ดูโรงงานปุ๋ย ทำให้เรา เห็นว่ามีตัวเลือกหรือวิธีคิดอีกเยอะ ทำให้กลับมาคิด ว่ า การจั ด การศึ ก ษาในชุ ม ชนต้ อ งปรั บ วิ ธี คิ ด ใหม่ คิดทางเลือกเดียวเราก็มีคำตอบเดียว ต้องคิดให้ได้ หลายทางเลือก”
ทัศนวิชาการการจัดการแบบไร้ของเสียในครัง้ นี้ ช่วยสร้างความเข้าใจด้านการจัดการแบบไร้ของเสีย
ให้ ชั ด เจนยิ่ ง ขึ้ น ว่ า ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งหมายความถึ ง อุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือภาคเกษตรกรรมเท่านั้น เราทุกคนสามารถนำของเสียมาทำประโยชน์ได้ โดย เริ่มตั้งแต่ในบ้านของเราเอง ในที่ทำงาน ในชุมชน สำคัญตรงที่ต้องเริ่มจากการพัฒนาความคิดของเรา ให้มีมุมมองด้านนี้ ผสานเข้ากับการนำเทคโนโลยีมา เป็นตัวช่วย ไม่แน่ว่าขยะจากก้นครัวเราที่ถูกมองว่า
ไร้ค่า น่ารังเกียจ เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม อาจกลับ กลายเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าขึ้นมาได้ และที่สำคัญยังช่วย ให้ชมุ ชนของเราเป็นชุมชนสะอาด ปราศจากขยะอีกด้วย
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
ตามรอยพ่อ
“ปัญหาสำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน
ทำไม่ยากนัก ในบางเทคโนโลยีทำได้แล้ว ในเมืองไทยเองก็ทำได้ แล้วก็ต้องทำการเรียกว่า การกรองน้ำ ให้ทำน้ำนัน้ ไม่ให้โสโครก แล้วปล่อยน้ำลงมาทีเ่ ป็นทีท่ ำการเพาะปลูก หรือทุง่ หญ้า หลังจากนั้นน้ำที่เหลือก็จะลงทะเลโดยไม่ทำให้น้ำนั้นเสีย”
โดย ลูกคนเล็ก
กระแสพระราชดำรัส วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553
“ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” ที่แหลมผักเบี้ย ในความเป็ น จริ ง แล้ ว การจั ด การน้ ำ เสี ย และ ขยะชุมชน มิใช่เรื่องที่จะฝากความหวังทั้งหมดไว้กับ เทคโนโลยีการกำจัดขั้นสูงแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะนัน่ หมายถึงการทุม่ เทงบประมาณจำนวนมหาศาล เพื่อซื้อขีดความสามารถของเทคโนโลยี ในขณะที่งบ อาจมีจำกัดและจำเป็นต้องใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ ชี วิ ต ในด้ า นอื่ น ๆ ที่ มี ค วามจำเป็ น เร่ ง ด่ ว น แนวคิ ด พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ ในการบำบั ด น้ ำ เสี ย และขยะชุ ม ชน ด้ ว ยหลั ก การ “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” คือ บทพิสูจน์สัจธรรมที่ แสนเรี ย บง่ า ย แต่ ค งคุ ณ ค่ า ยิ่ ง ใหญ่ ใ นการพลิ ก ฟื้ น ธรรมชาติให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ ได้ อย่างยั่งยืน
ย้ อ นเวลากลั บ ไปเมื่ อ ปี พ.ศ. 2534 โครงการศึ ก ษาวิ จั ย และพั ฒ นา
สิง่ แวดล้อมแหลมผักเบีย้ อันเนือ่ งมาจาก พระราชดำริ ได้ ถื อ กำเนิ ด ขึ้ น ในพื้ น ที่ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็น แหล่งศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะด้วยวิธีการทางธรรมชาติบนพื้นที่ 642 ไร่ ซึ่ง
แต่เดิมพื้นที่บางส่วนเคยมีสภาพเป็นนากุ้งและนาเกลือที่แห้งแล้ง แต่ด้วยผลของความเพียรในการปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ ทำให้ สามารถพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งรับน้ำเพื่อใช้บำบัดน้ำเสีย สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์เริ่มกลับคืนมา ทั้งแหล่งน้ำจืด พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าชายเลน ชายหาด และพื้นที่ชายฝั่งกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นกน้ำและนกป่าชนิด ต่าง ๆ ขณะที่ เ ดิ น ทางถึ ง พื้นที่โครงการฯ เม็ดฝนเริ่มโปรยปราย
ลงมาเป็นระยะ ๆ แต่กไ็ ม่เป็นอุปสรรคใด ๆ ต่อการเรียนรูค้ วามหมาย ตามแนวทางพระราชดำริ “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” เพื่อการแก้ไข ปั ญ หาน้ ำ เสี ย และขยะชุ ม ชน ซึ่ ง ทรงเน้ น ให้ เ ลื อ กใช้ เ ทคโนโลยี
ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ราคาประหยัด สะดวก ทำได้งา่ ย และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
โครงการฯ ได้เริ่มต้นศึกษาแนวทางการใช้ เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธี “ธรรมชาติช่วย ธรรมชาติ” พบว่าสามารถทำได้หลายวิธี เริ่มด้วย “ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย” โดยอาศัยธรรมชาติ ใช้ หลักการง่าย ๆ คือ การกักเก็บและพักน้ำเสียจากชุมชนในเมือง เพชรบุรี ซึ่งถูกส่งผ่านมาทางท่อของเทศบาลด้วยระยะทางกว่า
18.5 กิโลเมตรไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามค่าความสกปรกของน้ำ
ของเสียในน้ำจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ขณะที่สาหร่ายในน้ำจะ อาศัยแสงอาทิตย์เป็นพลังงานในการสังเคราะห์แสง และปลดปล่อย ออกซิเจนให้จุลินทรีย์ใช้หายใจ สาหร่ายเองก็จะใช้สารที่ได้จากการ ย่อยสลายในการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ยังอาศัยแรงลมช่วยในการ พลิกน้ำและเติมอากาศ ช่วยให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายสาร อิ น ทรี ย์ ไ ด้ เ ต็ ม ที่ ม ากขึ้ น ช่ ว งที่ พั ก น้ ำ ยั ง ได้ อ าศั ย ประโยชน์ จ าก แสงแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคอีกด้วย ส่วนกระบวนการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับน้ำเสีย ทำได้โดย จัดสร้างบ่อดิน 3 บ่อ ประกอบด้วย บ่อแรกคือ “บ่อตกตะกอน” ทำ หน้าที่บำบัดน้ำเสียเบื้องต้น จากนั้นส่งต่อไปที่ “บ่อผึ่ง” ซึ่งต้องจัด ให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี บ่อสุดท้ายเป็น “บ่อปรับสภาพ” มี
ช่องทางระบายน้ำระหว่างบ่อบำบัด และช่องทางสำหรับปล่อยน้ำที่ ผ่านการบำบัดแล้วออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ถัดจากนัน้ เราค่อย ๆ ลัดเลาะไปตามแนวขอบบ่อซึง่ เป็นบึงน้ำ ขนาดใหญ่ จนมาถึงพื้นที่ศึกษาทดลองเรื่องการบำบัดน้ำเสียด้วย ระบบพืช ด้วยการทำ “พื้นที่ชุ่มน้ำเทียม” โดยใช้ธูปฤาษีและกกกลม และใช้ “หญ้ า กรองน้ ำ เสี ย ” ได้ แ ก่ หญ้ า แฝกพั น ธุ์ อิ น โดนี เ ซี ย หญ้าสตาร์ หญ้าคาลล่า และหญ้าโคสครอส โดยทั้งสองรูปแบบใช้ หลั ก การเดี ย วกั น คื อ ปล่ อ ยน้ ำ เสี ย ให้ ขั ง และไหลผ่ า นแปลงพื ช ออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของพืช จะเพิ่มพลังให้จุลินทรีย์ย่อย สลายน้ำเสีย สารจากการย่อยสลายก็จะทำให้พืชเจริญเติบโต เมื่อ ครบระยะเวลา 45 วัน จะตัดพืชออก แต่ถ้าหากเป็นธูปฤาษีต้องใช้ เวลาประมาณ 90 วัน พืชที่ตัดแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ เช่น จักสาน ทำเยื่อกระดาษ หรือทำเชื้อเพลิง ส่วนรูปแบบสุดท้ายเป็นการใช้ “ป่าชายเลนช่วยบำบัดน้ำเสีย” ใช้หลักการเจือจางระหว่างน้ำเสียกับน้ำทะเล โดยการกักพักน้ำเสีย
กับน้ำทะเลไว้ระยะเวลาหนึ่ง เลียนแบบสภาพธรรมชาติตามระยะ เวลาการขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละวัน เพื่อให้สารอินทรีย์ในน้ำเสีย ตกตะกอน อาศัยระบบรากของพืชป่าชายเลน ช่วยทำหน้าที่ปล่อย ก๊าซออกซิเจนเติมให้กบั น้ำเสียและจุลนิ ทรียใ์ นดิน ทำให้กระบวนการ ย่อยสลายเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น พื้นที่อีกส่วนหนึ่งในโครงการฯ ยังจัดให้เป็นสถานที่ศึกษา ทดลองเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีการกำจัดขยะ” ซึ่งเป็นตัวอย่างง่าย ๆ
ที่แต่ละชุมชนสามารถนำไปปรับใช้ในครัวเรือนและในชุมชนของ
ตัวเองได้ เพื่อช่วยกันลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ขยะอินทรีย์ เช่น เศษพืชผักผลไม้ที่เหลือจากการกิน เศษอาหาร
เศษใบไม้ใบหญ้าตลอดจนซากพืชซากสัตว์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้
โครงการฯ ได้ศึกษาวิธีการกำจัดขยะด้วยการทำปุ๋ยหมักใน กล่องคอนกรีต เริ่มจากการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างกล่อง คอนกรี ต จะต้ อ งไม่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาเรื่ อ งกลิ่ น และการซึ ม ของน้ ำ ชะล้างขยะ การหมักขยะเริ่มด้วยการใส่ทรายละเอียดที่ฐานกล่อง คอนกรี ต เพื่ อ เป็ น ตั ว กรองน้ ำ เสี ย นำขยะอิ น ทรี ย์ ใ ส่ ล งในกล่ อ ง คอนกรีตเป็นชั้น ๆ ระหว่างชั้นจะใส่ดินแดงหรือดินนาเพื่อช่วยให้ จุลินทรีย์ย่อยสลายได้สมบูรณ์ขึ้น ดินที่กลบทับยังช่วยป้องกันไม่ให้ เกิดกลิ่นเหม็น เทคนิคสำคัญอีกอย่าง คือการฝังขยะต้องซ้อนกันเป็น ชั้น ๆ จะทำให้เกิดการย่อยสลายได้ดี และควรรดน้ำทุก ๆ 7 วัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและช่วยลดความร้อนที่เกิดจากการย่อยสลาย ทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น หากมีการแยกขยะก่อนนำมาหมัก
จะใช้ระยะเวลาทำปุ๋ยหมักเพียง 30 วัน ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ ปัจจุบัน โครงการฯ ได้ขยายแนวคิดให้แพร่หลายมากขึ้น โดย ผ่านการทำงานร่วมกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้ แ ก่ สุ โ ขทั ย อุ ต รดิ ต ถ์ อุ บ ลราชธานี สุ พ รรณบุ รี จั น ทบุ รี นครนายก และตรัง ด้วยความมุ่งหวังที่จะกระจายฐานความรู้ที่ได้ จากการศึกษาวิจัยออกสู่ชุมชน เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง แท้จริง
รฯ ได้ที่ : สนใจเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อโครงกา้านแหลม จ.เพชรบุรี หมู่ที่ 1 บ้านพะเนิน ต.แหลมผักเบี้ย อ.บ 65 โทร. 0-3244-1264-5 โทรสาร 0-3244-12 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
รอบรั้วไทยออยล์
โดย หน่วยกลั่นข่าว
ออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนเคลื่อนที่ เครือไทยออยล์ร่วมกับโรงพยาบาลอ่าวอุดม เทศบาลตำบลแหลมฉบังและ
คณะกรรมการชุมชนออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนเคลือ่ นที่ ณ ศาลเจ้าพ่อโกมินทร์ ชุมชนตลาดอ่าวอุดม และชุมชนบ้านแหลมฉบัง เมือ่ วันที่ 26 สิงหาคม และวันที่ 16 กันยายนตามลำดับ การออกหน่วยครัง้ นีม้ กี ารตรวจสุขภาพ จัดนิทรรศการให้ความรู ้ ด้านการดูแลสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมสร้างความบันเทิง โดยมีชุมชนให้ความสนใจ
เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
กิจกรรมส่งเสริมและปรับพฤติกรรมสุขภาพ เครือไทยออยล์รว่ มกับทีมงานสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลอ่าวอุดมจัด กิจกรรมส่งเสริมและปรับพฤติกรรมสุขภาพทุกวันศุกร์ เวลา 16.00-18.00 น. ตัง้ แต่วนั ที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป ณ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ เพื่ อ ชุ ม ชน โดยเริ่ ม จากกลุ่มผู้ที่เต้นแอโรบิกและฮูล่าฮูป เป็นประจำที่ศูนย์สุขภาพฯ
ผู้เข้าร่วมจะได้ทดสอบสมรรถภาพทางกาย คัดกรองความเสี่ยง และได้รับการตรวจ สุขภาพฟัน ทั้งนี้เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพ ให้ทราบถึงสภาพการทำงานของหัวใจ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะได้รับผล ทำให้ทราบว่ามีความผิดปกติเรื่องใด เพื่อจะได้ดำเนินการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมหรือเข้ารับการรักษาต่อไป
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
ลูกเสือ-เนตรนารีร่วมกิจกรรมเดินทางไกล เมือ่ วันที่ 24 กันยายน ทีผ่ า่ นมา เครือไทยออยล์และ TCP ร่วมกับโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม
จัดกิจกรรม “เดินทางอย่างปลอดภัย ร้อยใจผูกพัน รักมั่นสิ่งแวดล้อม” โดยเส้นทางเริ่มจาก โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม เข้าสูเ่ ขตพืน้ ทีเ่ ครือไทยออยล์ จากนัน้ เดินออกทางสูบ่ ริษทั ไทยลูบ้ เบส จำกัด (มหาชน) พร้อมทัง้ จัดกิจกรรมตลอดเส้นทางจนถึงศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน ซึ่งได้จัดฐานกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้โดยผู้เข้าร่วมจะต้องเก็บคะแนนเพื่อรับของรางวัล กิจกรรมในครัง้ นีม้ ลี กู เสือ-เนตรนารีและคณะครูเข้าร่วมกว่า 200 คน
คณะผู้บริหารดูงานสำรวจศักยภาพวัตถุดิบโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เบตง เมือ่ วันที่ 1-3 ตุลาคม ทีผ่ า่ นมา คณะผูบ้ ริหารและพนักงานเครือไทยออยล์ เจ้าหน้าที่ มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และผู้แทนบริษัท ทรู เอนเนอร์ยี่ จำกัด ได้ร่วมเดินทางไป อ.เบตง จ.ยะลา เพือ่ สำรวจศักยภาพวัตถุดบิ ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากเศษไม้ยางพารา ขนาด 4 MW ร่วมกับ บริษทั เบตงกรีน จำกัด ซึง่ โรงไฟฟ้าชีวมวลดังกล่าวเป็นการใช้เศษวัสดุ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตพลังงานหมุนเวียนอันสอดคล้องกับแนวนโยบายการดำเนินโครงการ เพือ่ สังคมของเครือฯ รวมถึงเพือ่ พิจารณาปัจจัยอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องในการพัฒนาโครงการ เช่น ทีต่ งั้ ของโครงการ ระบบสายส่งและแหล่งน้ำในพืน้ ที ่
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
ข่าวศูนย์สุขภาพ
Zone 4
Zone 2
โดย ตั๊กแตน
Zone 5 Zone 1 Zone 6 Zone 3
ประตูไทยออยล์
ขอบเขต Zone สำรวจสุขภาพภาวะชุมชนของ นักศึกษาพยาบาล ม.บูรพา วันที่ 25 ต.ค. 53
ชุมชนบ้านอ่าวอุดม พื้นที่เริ่มทดลองสำรวจสุขภาวะชุมชน โดยนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา
สำรวจสุขภาวะชุมชน....ทำแผนที่สุขภาพ
ก้าวที่ 2 ของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน จากก้าวแรกของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ ด้วยโครงการ
ให้บริการด้านทันตกรรมนักเรียน งานด้านสุขภาพในก้าวที่ 2 คือ
การสำรวจสุขภาวะชุมชน โดยใช้แนวคิดการจัดทำแผนที่สุขภาพ
โดยหวังว่าต่อไป ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ จะทำหน้าที่เป็นคลัง เก็บข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนทุกคนในชุมชน และเพื่อให้ ชุมชนสามารถรวบรวม วิเคราะห์ปัญหาของกลุ่มชุมชนเอง จัดลำดับ ความสำคัญของปัญหาเพือ่ นำไปสูก่ ารแก้ไข โดยทัง้ หมดจะมีเจ้าหน้าที่ จากโรงพยาบาลอ่าวอุดมเป็นผูใ้ ห้คำปรึกษา แนะนำ มีเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ย ส่งเสริมป้องกันควบคุมโรคติดต่อเทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นแกน หลักสำคัญที่จะประสานกับชุมชน และต่อไปจะรณรงค์ให้ความรู้ กระตุ้นให้ชุมชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชน หันมาช่วยกันมอง ปัญหาและแก้ไขร่วมกัน เรามารู้ จั ก การสำรวจสุ ข ภาวะชุ ม ชนและการจั ด ทำแผนที่ สุขภาพกันก่อน ชื่อว่าแผนที่แต่ไม่ใช่แค่การทำผังพื้นที่ แต่เน้นทำแผนที่
เพือ่ รู้จักคน การทำแผนที่จึงจะเกิดตามหลังการสำรวจ การเข้าไป สอบถาม การเข้าไปสังเกตความเป็นอยู่ การเข้าไปรับรู้ข้อมูล และ ปัญหาของแต่ละครอบครัว สมาชิกแต่ละคนในครอบครัว ใช้คำว่าสำรวจสุขภาวะ เพราะไม่ได้ตอ้ งการข้อมูลแค่เรือ่ ง
สุขภาพ แต่จะเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ อาชีพ สุขอนามัย
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่ได้มีอยู่โดด ๆ แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทั้ง สภาพเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางสังคม พฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ความเข้าใจและทัศนคติที่มีอยู่ นอกจากนี้ ข้อมูลสุขภาพยังต้องให้ ได้ทั้งทางกายและใจ คนที่จะเก็บข้อมูลได้ดีที่สุดคือใคร... คือชาวชุมชนด้วยกัน
เอง แต่ในระยะแรกเพื่อให้มีข้อมูลในวงกว้างและเป็นข้อมูลพื้นฐาน ครบทุกครอบครัวก่อน จะมีการระดมความช่วยเหลือจากนักศึกษา พยาบาลบ้าง นักศึกษาแพทย์บ้าง และต่อไปจะให้การอบรมแก่พี่ ๆ อสม. และรับอาสาสมัครนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในชุมชนเอง
ที่มีจิตอาสา สนใจงานสุขภาพมาช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูล และช่วย คณะกรรมการชุมชน อสม. ในการวิเคราะห์ข้อมูล เริ่มการสำรวจตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2553 ถึงสิ้นเดือน
มกราคม 2554 โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งเป็น 4 รุ่น รุ่นละ 16 คน แต่ละรุ่นจะ
ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ โดยเดินสำรวจเก็บข้อมูลครัง้ ละครอบครัว เริ่มต้นจากชุมชนบ้านอ่าวอุดมเป็นการทดลองพื้นที่แรก ผมขอถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนพี่น้องในชุมชนทุก ครอบครัว ร่วมให้ขอ้ มูลตามความเป็นจริงกับน้อง ๆ นักศึกษาพยาบาล เพื่อให้ผลสำรวจที่ได้นั้นเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนของเราเอง
นะครับ
จักรยานเก่าไม่ ไร้ค่า
แบ่งปันมาเพื่อน้องน้อย
จิตอาสา
โดย กองบรรณาธิการ
ความสุขจากการเป็น “ผู้ ให้” ไม่จำเป็นต้อง เกิ ด จากการลงทุ น ที่ ม ากมาย แม้ จ ะเป็ น สิ่ ง
เล็ ก ๆ หากแต่ ห ยิ บ ยื่ น ให้ แ ก่ “ผู้ รั บ ” ด้ ว ย ความเต็ ม ใจ ความสุขนั้นย่อมยิ่งใหญ่เสมอ ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมค่านิยมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของเครือ ไทยออยล์ กลุ่มพนักงานแผนกบริการสวัสดิการและสำนักงาน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
จึงได้ร่วมกันคิดสร้างสรรค์กิจกรรมการนำจักรยานที่หมดอายุการใช้งานในโรงกลั่นมาซ่อมแซมให้กลับ มามีสภาพดีใช้งานได้เหมือนเดิม และทำเรื่องขออนุญาตผ่านแผนกประชาสัมพันธ์โรงกลั่น เพื่อจะได้ นำไปบริจาคให้กับเด็กนักเรียนที่มีความต้องการในชนบทต่อไป แผนกฯ ได้มอบหมายให้คุณอภิรัฐ ทองบันฑิต เป็นผู้ดูแลเรื่องการซ่อมรถจักรยาน และ
คุ ณ มาโนช ดารากร ช่ ว ยประสานงานกั บ โรงเรี ย นที่ ตั้ ง อยู่ ใ นเขตจั ง หวั ด ระยองที่ มี เ ด็ ก นั ก เรี ย นยากจน และมี ค วามต้ อ งการใช้
รถจักรยาน ในการเดินทางไป-กลับระหว่างบ้านและโรงเรียน ซึ่งมาลงเอยที่โรงเรียนบ้านทุ่งเค็ด อ.แกลง จ.ระยอง โรงเรียนบ้านทุ่งเค็ดมีนักเรียนประมาณ 300 คน เปิดสอนระดับอนุบาล-มัธยมต้น มีอาจารย์ประจำ 20 ท่าน แม้ว่าโรงเรียนจะตั้งอยู่ ในจังหวัดระยองที่ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจดี ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะดี แต่นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนนี้มาจากครอบครัว ยากจน ผู้ปกครองเป็นแรงงานต่างถิ่นทำงานรับจ้างรายวัน การมอบจักรยานให้แก่เด็กนักเรียนจึงเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้
ทางหนึ่ง และแล้วก็ถึงวันที่รอคอย เมื่อจักรยานซ่อมเสร็จ วันที่ 4 กันยายน 2553 พนักงานในแผนกฯ กว่า 30 ชีวิต เดินทางนำจักรยาน
สภาพดีพร้อมใช้งานจำนวน 20 คัน ทั้งยังได้น้ำใจจากพันธมิตรร่วมทำดีอีกหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา คลินิกทันตกรรม โมเดิร์นสไมล์ และบริษัท TPN Health Care ได้ร่วมมอบของบริจาคมาเพิ่มเติมอีก เช่น ตู้ยาพร้อมยาและเวชภัณฑ์ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน นาฬิกาปลุก นอกจากนั้น พนักงานและน้อง ๆ ในฝ่ายทรัพยากรบุคคลยังได้รวมเงินสมทบทุนการศึกษาสำหรับเด็กนักเรียนอีกประมาณ 14,000 บาท และได้มอบจักรยานออกกำลังกายให้แก่อาจารย์อีกด้วย คณะได้รับการต้อนรับอย่างดีจากอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ประจำโรงเรียน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้นำชุมชน ที่ซาบซึ้งในน้ำใจ และยังได้ ขอบคุณบริษัทฯ ผ่านทางคณะมาด้วย สำหรับจักรยานนั้นอาจารย์จะได้นำไปจัดสรรให้กับเด็กนักเรียนในรายที่จำเป็นก่อนต่อไป แผนกฯ
ตั้งมั่นว่าจะทำกิจกรรมเช่นนี้ทุกปี ด้วยสำนึกที่ว่าทุกหนแห่งในประเทศไทยของเรา ยังต้องการผู้มีโอกาสหยิบยื่นให้ผู้ด้อยโอกาสเสมอ
ดั่งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์ให้คนที่พร้อมช่วยเหลือคนที่ขาดแคลนกว่า หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการมอบจักรยานแล้ว คณะยังได้แวะไปซื้อผลสละที่สวนครูสมคิด ซึ่งใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการปลูกสละ
ที่หลายคนชิมและยืนยันว่ารสชาติดีมาก ไม่หวานหรือเปรี้ยวเกินไป สวนสละนี้ทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ รักษาคุณภาพของผลผลิตเสมอต้นเสมอปลาย กำหนดราคามาตรฐานกิโลกรัมละ 100 บาท
มานานหลายปี แต่ไม่เคยว่างเว้นจากนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี สุดท้ายไปแวะรับประทานอาหาร กลางวันกันที่ร้านเย็นนภาข้างทุ่งนาเขียวขจี ก่อนเดินทางกลับศรีราชาด้วยความอิ่มท้อง และ
ที่สำคัญคือ ความอิ่มอกอิ่มใจที่ได้ทำดีเพื่อสังคมร่วมกัน ขอบคุณภาพและข้อมูลจากคุณอาภากร วงศ์สถาพรพัฒน์ และทีมงานแผนกบริการสวัสดิการและสำนักงาน
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
เคล็ดลับสุขภาพ
โดย ปักเป้า
กินผักผลไม้หลากสี... ดีต่อสุขภาพ
แม้จะรูว้ า่ การกินผักผลไม้เป็นสิง่ ทีด่ ตี อ่ สุขภาพ แต่หลายคนก็ยงั เลือกทีจ่ ะกินเนือ้ สัตว์ มากกว่ากินผัก และเลือกทีจ่ ะกินขนมหวานมากกว่ากินผลไม้ หรือไม่กเ็ ลือกกินแต่เฉพาะผัก และผลไม้ทตี่ วั เองชอบ และกินซ้ำ ๆ อยูอ่ ย่างนัน้ จนทำให้รา่ งกายได้รบั สารอาหารจากพืชผัก ผลไม้ไม่ครบถ้วน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิด พืชผักผลไม้ส่วนใหญ่ในธรรมชาติมักมีสีสันแตกต่างกัน มีทั้งสีเขียว สีแดง สีเหลือง
สีสม้ สีนำ้ เงิน สีมว่ ง สีขาว ฯลฯ สีสนั ต่าง ๆ ในผักผลไม้หลากชนิด นอกจากจะสร้างความสวยงาม ชวนกินแล้ว แต่ละสียงั มีความหมายและมีคณ ุ ค่าทางโภชนาการ อุดมไปด้วยคุณประโยชน์หลากหลาย ทัง้ วิตามิน เกลือแร่ แร่ธาตุ และสารอาหารทีม่ คี วามจำเป็นต่อร่างกาย หากพร้อมแล้ว เรารีบตามแม่ไปตลาด เพื่อทำความรู้จักกับพืชผักผลไม้หลากสีให้มากขึ้นกันเถอะ • ผักผลไม้สีเขียว ส่วนใหญ่อุดมด้วยสารคลอโรฟิลล์ เช่น กวางตุ้ง ตำลึง ผักหวาน บร็อกโคลี ชะพลู ใบบัวบก ถัว่ พู แตงกวา บวบ ฟักเขียว ชะอม สะตอ กุยช่าย ย่านาง ทองหลาง ผลอะโวคาโด ฯลฯ ยิ่งเป็นผักที่มีใบเขียวเข้มอย่างเช่น คะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ฯลฯ จะมีสารลูทีน ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่ม
แคโรทีนอยด์ มีฤทธิต์ อ่ ต้านอนุมลู อิสระ ทำให้ผนังเซลล์ในร่างกายแข็งแรง ช่วยลดภาวะความเสือ่ มของ จอประสาทตา ช่วยสร้างภูมติ า้ นทานโรค ยังมีธาตุเหล็กและแคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ให้แข็งแรง • ผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ พริกหวานสีแดง หอมแดง แตงโม สตรอว์เบอร์รี เชอร์รี่ ชมพู่แดง
ดอกกระเจี๊ยบ บีทรูท ทับทิม แก้วมังกร ฯลฯ ล้วนอุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะวิตามินบี 1 ช่วยลดอาการอ่อนล้า เสริมสร้างระบบความจำ บำรุงประสาทได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ สารไลโคปีนและแอนโทไซยานิน
ที่มีในพืชผักผลไม้สีแดง ยังช่วยกระตุ้นระบบการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร บำรุงหัวใจและหลอดเลือด รักษาระบบ
ทางเดินปัสสาวะ ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก และยังช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดได้อีก
• ผักผลไม้สีเหลือง หรือสีส้ม เช่น ฟักทอง ดอกโสน ข้าวโพด แครอท ขนุน แคนตาลูป มะละกอสุก สับปะรด กล้วย เสาวรส ฯลฯ จัดเป็นกลุม่ สีทมี่ สี ารต้านอนุมลู อิสระหลายตัว ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์ ไบโอฟลาโวนอยและวิตามินซี ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงสายตา รักษาหลอดเลือด ช่วยกระตุน้ การขับถ่ายของเสียและ ขับสารพิษออกจากร่างกาย ลดโอกาสการเกิดเซลล์มะเร็ง พืชผักผลไม้กลุ่มนี้ยังมีสารที่ช่วยผ่อนคลายระบบ ประสาท สร้างอารมณ์เบิกบานแจ่มใส ลดภาวะความเครียดและความหดหู่ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยกระตุ้น ระบบภูมคิ มุ้ กันโรคในร่างกายของเราด้วย • ผักผลไม้สีน้ำเงิน สีม่วง หรือสีม่วงแดง เช่น กะหล่ำปลีสีม่วง มะเขือม่วง มันเทศ เผือก ดอกอัญชัน
ลูกพรุน ลูกหว้า ถัว่ ดำ ถัว่ แดง ฯลฯ จะมีสารกลุม่ แอนโทไซยานิน ซึ่งมีความสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระไม่ให้ไปทำลายเซลล์ ในร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผนังหลอดเลือด และยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อน ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว รวมถึงลดโอกาสการเป็นอัมพาตอีก ด้วย นอกจากนี้ ยังมีสารโฟโนลิก เกลือแร่ และวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาฟางหรือตาบอดตอนกลางคืน • ผั ก ผลไม้ สี ข าว หรื อ สี น้ ำ ตาลอ่ อ น เช่ น กะหล่ ำ ปลี ดอกกะหล่ ำ หั ว ไชเท้ า ข่ า ขิ ง แอปเปิ้ ล ฝรั่ ง
หอมหัวใหญ่ กระเทียม เงาะ ลิ้นจี่ แห้ว ลูกเดือย ฯลฯ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และยังช่วย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน การกินพืชผักและผลไม้หลากสี โดยหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนกันเป็นประจำ และลดทอนการกินเนื้อสัตว์ลงบ้าง สามารถช่วยลดสารพิษสะสมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้ระบบการขับถ่าย ทำงานได้สะดวก เพราะผักและผลไม้อุดมไปด้วยกากใยอาหารสูง ช่วยให้ท้องไม่ผูก ห่างไกลจากโรคริดสีดวงทวาร และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นการให้ของขวัญกับตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหารให้เป็นยานั่นเอง
10 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
แหล่งข้อมูล : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) www.thaihealth.or.th กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข www.anamai.moph.go.th
Ya & YOU
สืบค้นไว อุ่นใจเมื่อใช้ยา
ก้าวทันโลก โดย ติมา
สองสามเดือนมานี้ ใครไม่เป็นหวัด หรือไม่คัดจมูกเลยแม้แต่น้อย ต้องขอคารวะด้วยความนับถือว่าแข็งแรงจริง ส่วนตัวผู้เขียนนั้นเป็นหวัดงอม ไปสองสามรอบ มีทั้งขั้นงอมแงม งอมพระราม จนถึงงอมแบบม่อยกระรอก คือ หลับอย่างเดียว เหมือนกระรอกที่หล่นจากต้นไม้ลงมาไม่ตายก็ เลี้ยงไม่โต ด้วยความรู้ว่าหวัดไม่มียารักษาโดยตรง และเชื่อเสมอมาว่า ต้องนอนพัก ดื่มน้ำมาก ๆ แต่บางทีก็สู้เจ้าไวรัสไม่ไหว เมื่อถึงขั้นโงหัวไม่ขึ้น และก้มหน้าก็ไม่ได้เพราะจมูกกลายเป็นก๊อกรั่วให้น้ำมูกไหลอย่างไม่เกรงใจ จึงยอมตัดใจเดินเข้าร้านขายยา “พี่เภสัชฯ คะ ขอยาแก้หวัด ลดน้ำมูก เอาแบบไม่ง่วงนอนนะคะ เพราะต้องทำงานด้วย” ไม่รู้เป็นเพราะความเชื่อหรือได้ยินใครบอกต่อมาว่ามียาแก้หวัดที่กินแล้วไม่ง่วง ก็เลยสั่งคุณหมอตี๋อย่างนี้ทุกทีและก็จะ ได้ยาเม็ดสีขาว ๆ หน้าตาแปลกกว่า คลอเฟ (คลอเฟนิรามีน) ยาแก้แพ้ที่แสนจะเคยชินตั้งแต่ห้องพยาบาลในโรงเรียน ที่ไหน ๆ ก็แจกยานี้ เม็ดเล็ก ๆ สีเหลือง กินแล้วง๊วง ง่วง ส่วนเจ้ายาแก้หวัดแบบไม่ง่วงนี้เม็ดสีขาว รูปทรงกระบอกยาว ๆ ขนาดเล็กอยู่ในแผงสีเงิน สกรีนชื่อว่า Alerest กินแล้วสบายใจว่าไม่ง่วง (ถึงจะง่วงก็คงฝืนไว้ อย่างไรก็ ไม่โทษยา) เพราะผู้เขียนเป็นคนเชื่อหมอ (ตี๋) นี่คะ
จนกระทัง่ รูว้ า่ ตัวเองเชยจริง ๆ ก้าวไม่ทนั โลกเสียเลย ก็เดีย๋ วนีเ้ ขามี เว็บไซต์ทชี่ ว่ ยให้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ทีไ่ ม่มคี วามรูเ้ รือ่ งยาแต่ตอ้ งเป็นคน กินนัน้ ได้ตรวจสอบ ศึกษา ทบทวนก่อนทีจ่ ะหยิบ “ยา” ใส่ปาก ซึง่ บางที ยาดีกอ็ าจกลายเป็นยาพิษทำลายตัวเรามากกว่ารักษา ดังนัน้ เมือ่ ได้ยามา หรือซือ้ ยามาแล้ว ก่อนหยิบเข้าปาก ขอแนะนำให้เปิดคอมฯ เข้าเน็ตดูเว็บไซต์ www.yaandyou.net ก่อนค่ะ เว็บไซต์นเี้ รียกชือ่ ง่าย ๆ ว่า “ยากับยู” หรือยากับคุณ สโลแกนเขาคือ สืบค้นไว อุน่ ใจเมือ่ ใช้ยา เชือ่ ว่าอุน่ ใจได้แน่ เพราะเว็บไซต์นผี้ สู้ ร้างเขาตัง้ ใจ มาก คือ ศูนย์เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับมูลนิธเิ พือ่ การวิจยั และพัฒนาระบบยา (มูลนิธิ วพย.) เปิดตัวไปตัง้ แต่ปลายปี 2551 แรก ๆ ยังไม่คอ่ ยมีใครทราบและยังไม่คอ่ ยครอบคลุม แต่ มี ก ารพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ปั จ จุ บั น มี ฐ านข้ อ มู ล ยา (Drug Monograph) ที่สามารถสืบค้นได้ง่ายทั้งแบบทั่วไปและขั้นสูง แบ่งเป็น ข้อมูลยาสามัญจำนวน 851 รายการ และข้อมูลยาทางการค้าจำนวน 14,317 รายการ มีรายละเอียดทัง้ สรรพคุณ วิธใี ช้และผลข้างเคียง รวมถึง บทความและวิดที ศั น์เกีย่ วกับเรือ่ งโรคต่าง ๆ สององค์กรที่ร่วมกันพัฒนาสร้างเว็บไซต์นี้ขึ้นเพราะเห็นว่ายังไม่มี เว็บไซต์ขอ้ มูลยาทีเ่ ป็นภาษาไทย หรือมีกเ็ ป็นข้อมูลทีน่ อ้ ยมาก ข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์ยากับคุณนี้จะรวบรวมจากแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ
มีวตั ถุประสงค์เพือ่ เป็นแหล่งความรูใ้ ห้คนไทย รูจ้ กั ยาและการใช้ยาอย่างถูก วิธีและเหมาะสม เว็บไซต์นี้และข้อมูลต่าง ๆ ย้ำว่าไม่ได้มีวัตถุประสงค์ ทางการค้า ผศ.ภญ.ดร.ภูรี อนันตโชติ กรรมการมูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนา ระบบยา กล่าวไว้ในงานแถลงข่าวเปิดตัวเว็บไซต์นวี้ า่ “หลัก ๆ คือได้ยามา แล้วต้องรู้อะไรบ้าง ต้องกินอย่างไร ถ้ามียาอยู่ในมือแล้วจะใช้อย่างไรให้ เหมาะสม และข้อมูลจากเว็บไซต์จะช่วยเตรียม พร้อมก่อนไปพบแพทย์ว่าต้องถาม
อะไรกับแพทย์บ้าง เพราะเรามีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่จะได้คุยกับแพทย์จึงต้อง ใช้ช่วงเวลานั้นให้เต็มที่ ทั้งนี้มีงานวิจัยของสหรัฐฯ ระบุว่าในสหรัฐฯ มี ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาถึง 30% จากค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคทั้งหมด” ข้อมูลภายในเว็บไซต์ระบุเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา ชื่อยาสามัญ ชื่อยา ทางการค้า วิธกี ารใช้ โดยเป็นยาทีม่ ใี ช้เฉพาะในเมืองไทย และส่วนใหญ่เป็น ยาเม็ด ส่วนยาฉีดนัน้ ทางผูส้ ร้างมองว่าเป็นเรือ่ งเฉพาะของโรงพยาบาลจึง ยังไม่ได้รวบรวมไว้ ยกเว้นข้อมูลเกีย่ วกับอินซูลนิ ยาฉีดรักษาไตและยาฉีด รักษามะเร็ง เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยทราบว่าใช้ยาแล้วจะเกิดผลข้างเคียงอย่างไร ส่วน ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดงนั้นจะไม่มีระบุไว้ ในฐานข้อมูล อนาคตทางผูพ้ ฒั นาเว็บไซต์ ก็จะปรับปรุงอย่างต่อเนือ่ ง คาดว่าน่าจะ มีการเพิม่ เติมรูปภาพ เพือ่ ให้ผใู้ ช้ได้สบื ค้น ถ้าไม่ทราบชือ่ ยาแต่มตี วั อย่าง
ยาอยู่ในมือ รวมถึงการเพิ่มข้อมูลในส่วนของยาหยอด ยาทาและยาน้ำ แต่ทางเจ้าของเว็บไซต์ยำ้ เสมอว่าวัตถุประสงค์หลักของเว็บไซต์คอื ให้ผู้ ใช้ยาสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ เพื่อช่วยลดปัญหาที่ผู้ป่วยได้ยามา
แล้วใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ให้ผู้ป่วยสืบค้นวิธีรักษาด้วยตัวเอง ตัวผูเ้ ขียนก็ทดลองใช้ทนั ที พิมพ์คำว่า Alerest ลงไปก็ได้เรือ่ ง คราวนี้ จึงได้รกู้ นั เสียทีวา่ หลอกตัวเอง และโดนหมอหลอกมาตัง้ นานว่า กินยาแล้ว ไม่งว่ ง ทีจ่ ริงหมอเขาก็ไม่เคยพูด แค่หยิบยามาให้คนซือ้ หมอหรือเภสัชฯ เขาคงเบือ่ จะบอกว่า ถ้าคุณอยากหาย กินยาแล้วก็ตอ้ งนอน จะเอายาแบบ ไม่งว่ งไปทำไม คิดไปคิดมาก็จริงของหมอ คราวหน้าผูเ้ ขียนสัญญาจะซือ้ ยา แบบไม่มเี งือ่ นไขต่อรอง และรับรองว่าจะไม่ลมื เปิดคอมพิวเตอร์ เข้าเว็บไซต์ ปรึกษาเภสัชกรส่วนตัว ก่อนหยิบยาเข้าปากแน่นอนค่ะ ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
11
ขยะอันตราย มาแลกไข่ครับ
ปลอดภัยใกล้ตัว
โดย เซฟตี้แมน
อ๊ะ..อ๊ะ ทิง้ ขยะ
อิเล็กทรอนิกส์อย่างไร ปลอดภัยต่อตัวเอง ชุมชน และสิง่ แวดล้อม บางคนเลือกใช้วิธีบริจาคเป็นของมือสอง แต่ ก็ต้องแน่ใจว่ายังสามารถใช้การได้ เพียงแค่อาจ
ตกรุ่นไปบ้าง เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการย้ายขยะพิษ จากที่หนึ่งไปไว้อีกที่หนึ่งโดยไม่รู้ตัว ขณะที่บางคน เลือกที่จะเก็บไว้รอขายให้รถซาเล้งรับซื้อของเก่า บ้างก็ตอบสั้น ๆ แค่ทิ้งในถังขยะหน้าบ้าน เดี๋ยวรถ ขยะก็มาขนไปเอง บางคนได้แต่บ่นปวดหัว ไม่รู้ เหมือนกันว่าจะทิ้งที่ไหน ขอเก็บไว้อย่างนั้นจนสุม กองรวมกัน นั่นก็ก่อให้เกิดมลพิษใกล้ตัวได้เช่นกัน ซ้ำร้ายกว่านั้น บางคนรู้เท่าไม่ถึงการณ์เลือกใช้วิธี เผาขยะพิ ษ พร้ อ มกั บ ขยะจากบ้านและเศษกิ่งไม้
ใบหญ้า โดยหารู้ไม่ว่ากำลังตายผ่อนส่งจากพิษร้าย ที่แฝงอยู่ในสินค้าไฮเทคทั้งหลายนั้น ทุกวันนี้ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” จากชุมชน ส่วนใหญ่มักถูกทิ้งปะปนอยู่กับขยะมูลฝอยทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการปัญหาอย่างไม่ถูกวิธี
นี่เป็นสิ่งที่น่าวิตกอย่างยิ่งครับ เพราะชิ้นส่วนของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถย่อยสลายได้ตาม ธรรมชาติ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ทองแดง นิกเกิล แมงกานีส ฯลฯ หากสารเหล่านี้รั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ ซึมลงในดิน หรือลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ ย่อมสร้าง ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของผู้คน ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว “เซฟตีแ้ มน” จึงอยากเชิญชวนพีน่ อ้ งในชุมชน เริ่มต้นช่วยกันจัดการกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธกี ารง่าย ๆ ด้วยตัวเองก่อน ดังนีค้ รับ • คัดแยกขยะพิษทิ้งในที่เฉพาะ ไม่ทิ้งปะปน กับขยะทั่วไป ทำได้ง่าย ๆ ครับ เพียงแค่นำขยะ อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฯลฯ ทิ้ ง ลงในกล่ อ งหรื อ ตู้ รั บ ทิ้ ง ซาก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพบเห็นได้ตามใจกลาง ชุมชนใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า บริษัทผู้ผลิต หรื อ หน่ ว ยงานของรั ฐ เช่ น กรมควบคุ ม มลพิ ษ
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ย่อมจะทำให้ การรวบรวมขยะพิ ษ มี ค วามเป็ น ระบบมากขึ้ น สามารถนำไปคัดแยกและกำจัดได้อย่างปลอดภัย
12 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
หลายคนคงเคยพบปัญหาเมื่อต้องการทิ้งขยะจำพวกมือถือรุ่นเก่า แบตเตอรี่ที่ชาร์จเท่าไหร่ ไฟก็ ไม่เข้า ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ หมึกเครื่องพิมพ์ คอมพิ ว เตอร์ ต กยุ ค ตู้ เ ย็ น สนิ ม เกาะ แอร์ โ บราณคร่ ำ ครึ ตลอดจนซาก ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่น ๆ ที่หมดอายุตามสภาพและ ไม่เป็นที่ต้องการแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี • ร่วมใจกันจัดตั้ง “ธนาคารขยะชุมชน” เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย ในชุมชนของเราได้เป็นอย่างดี ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่กำหนดจุดรับทิ้งขยะอันตรายในสถานที่ที่เหมาะสม ห่างไกลจากแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชนและวัตถุไวไฟต่าง ๆ พร้อมกับเน้นการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ คนในชุมชนรับรู้โดยทั่วกัน อาจใช้วิธีสร้างแรงจูงใจด้วยการกำหนดแต้มคะแนนเพื่อนำขยะพิษมาแลกไข่ หรืออาหารแห้ง เมือ่ รวบรวมขยะได้ในระดับหนึง่ ผูน้ ำชุมชนควรรีบติดต่อประสานงานให้เจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง มาดำเนินการจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินไป เพราะอาจเกิดสารพิษ ตกค้างในพื้นที่ชุมชนได้ • เป็นผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ จงเริ่มต้นปฏิวัติตัวเองสู่การเป็นผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจเลือกซื้อ เลือกใช้ “สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” (eco-product) ด้วยการสังเกต “ฉลาก” หรือ “ตราสัญลักษณ์” บนหีบห่อบรรจุภัณฑ์หรือที่ตัวสินค้า ซึ่งแสดงว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ผลิตด้วยกระบวนการทาง เทคโนโลยีสะอาด ที่ใส่ใจต่อการใช้พลังงานน้ำ ไฟฟ้า และลดการปล่อยของเสียให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง ได้แก่
• บอกตัวเอง “ทางเลือกมีมากกว่าหนึ่ง” หากเราสามารถเลือกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำ กลับมาใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้ง แทนการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น การเลือกใช้ถ่านไฟฉายที่สามารถชาร์จ พลังงานใหม่ได้ หรือการเลือกใช้แบตเตอรี่คุณภาพและเป็นอะไหล่แท้ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้คุ้มค่า
มากที่สุดก่อนทิ้งเป็นขยะก็เท่ากับได้ช่วยลดปริมาณขยะอันตรายได้อีกทางหนึ่ง • ช่วยกันอุดหนุนสินค้าและผลิตภัณฑ์ของบริษทั ผูผ้ ลิตทีร่ บั คืนซาก ปัจจุบนั มีผผู้ ลิตสินค้าและบริการ หลายรายที่ให้ความสำคัญต่อการทำหน้าที่จัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ในโครงการ ต่าง ๆ เช่น คิดสักนิด ก่อนทิ้งขยะพิษ ฯลฯ เพื่อหวังช่วยกระตุ้นจิตสำนึกให้ผู้บริโภคตระหนักถึงพิษภัยที่ เกิ ด จากปั ญ หาขยะพิ ษ พร้ อ มทั้ ง จั ด หาถั ง หรื อ ภาชนะที่ ป ลอดภั ย หรื อ จั ด ตั้ ง ตู้ รั บ คื น ซากผลิ ต ภั ณ ฑ์
ที่หมดอายุและไม่ต้องการใช้งานแล้ว เพื่อนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล หรือกรรมวิธีการกำจัดขยะอย่าง ปลอดภัยต่อไป หากแต่ละคน แต่ละชุมชน ช่วยกันคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ทิ้งให้ถูกที่ถูกทาง ย่อมจะเป็นพื้นฐาน
ในการป้องกันชุมชนของตนเองให้ห่างไกลภัยจากสารพิษปนเปื้อน อีกทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาการจัดการ ขยะให้กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย สังคมของเราจะดีขึ้นได้ หากเราทุกคนช่วยกันครับ
คุณทราบหรือไม่ว่า...
ขยะที่คุณทิ้ง ใช้เวลาเท่าไหร่ ในการย่อยสลาย 80-100 ปี
5 ปี
2-5 เดือน
12 ปี
ลับสมองลองเล่นเกม โดย ติมา
25-40 ปี
6 เดือน
450 ปี
ไม่ย่อยสลาย
ถ่ายเอกสารและส่งคำตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจกรรมเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำนักงาน กรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายใน วันที่ 30 ธันวาคม 2553 ชื่อ ................................................. นามสกุล .....................................................................ที่อยู่........................................................................... ...............................................................................................................................................................................................................................
เฉลยเกมฉบับที่แล้ว
ขอแสดงความยินดีกับผู้ตอบคำถามได้ถูกต้องและโชคดี จากการจับฉลากรายชื่อ ดังนี้ 1 ด.ช.เกียรติศักดิ์ สินถาวร 6 คุณนำพล พยัคฆ์วงศ์ 2 ด.ช.กฤษณพงศ์ อ้อนประเสริฐ 7 คุณพงษ์ธร ถาวร 3 คุณจตุรนต์ ทองสันติ 8 คุณพรชัย ขันคำ 4 คุณชบา ทับละม่อม 9 คุณวันชัย บุญธกานนท์ 5 คุณนรภัทร ธีราวาณิชพัทธ์ 10 ด.ญ.ศิธาริณี ใบเรือ
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
13
พี่เก่าเล่าเรื่อง
โดย ม.ล.จรัสพันธุ์ ชุมสาย
สวัสดีครับพี่น้องชาวไทยออยล์และชุมชนรอบรั้วโรงกลั่นทุกท่าน ผมเป็นศิษย์เก่า คนหนึง่ รับหน้าทีเ่ ล่าเรือ่ งราวชีวติ การทำงานในอดีตฝากไว้ให้อา่ นในจุลสารชุมชนของเรามา ได้สกั 3 ฉบับแล้วครับ คงพอเห็นภาพความยากลำบาก โหด มัน ฮา ตามแบบฉบับคนรุน่ หนุม่ (สมัยนัน้ ) ฉบับนีอ้ ดคันไม้คนั มือไม่ได้ครับ ขอรับหน้าทีข่ ยับปากกาชวนไปค้นหาว่า กว่าจะมา เป็นชมรมศิษย์เก่าไทยออยล์นนั้ เป็นอย่างไร และพวกเราเหล่าศิษย์เก่าได้ตระเตรียมแผนงาน อะไรไว้แล้วบ้างทีจ่ ะช่วยทำประโยชน์ให้แก่ชมุ ชนทีเ่ ราอาศัยอยู ่
กว่าจะมาเป็น “ชมรมศิษย์เก่าไทยออยล์” พร้อมด้วยภารกิจเพื่อวันนี้และวันหน้า ความที่ พ วกเราอยู่ กั น เหมื อ นพี่ น้ อ ง ทำงานอยู่ กั น มาอย่ า งน้ อ ย 30-35 ปี ขึ้ น ไป
แถมเจอหน้ า กั น ทุ ก วั น เคยไปเที่ ย วด้ ว ยกั น
ทำอาหารกินกัน มีงานก็ช่วยกัน ผมจึงคิดว่า ทำอย่ า งไรที่ จ ะมี ศู น ย์ ก ลางซึ่ ง พวกเราจะได้
มี โ อกาสมานั่ ง คุ ย กั น หลั ง จากเกษี ย ณไปแล้ ว อาจจะเป็นการพบปะสังสรรค์กันปีละหนก็ยังดี ปกติ ผ มเองก็ เ ป็ น คนของสั ง คมอยู่ แ ล้ ว ใน
ไทยออยล์ ไม่ว่างานอะไร ไกลแค่ไหน ผมมัก ไม่เคยขาด นอกจากติดภารกิจจำเป็นจริง ๆ พอเกษียณกันไป ต่างคนก็อยู่คนละที่คนละทาง บ้างก็อยู่กรุงเทพฯ บ้างก็ต่างจังหวัด ถ้าเราไม่ ตั้งเป็นชมรมขึ้นมา โอกาสที่จะได้พบเจอกันก็ ยากหรือแทบไม่มีเลย ผมเองเกษี ย ณเมื่ อ วั น ที่ 1 ตุ ล าคม
พ.ศ. 2543 หลังจากที่ทำ Y2K เสร็จ ตอนนั้นผม
14 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
เป็นประธาน Y2K เสร็จงานก็ครบอายุเกษียณ พอดี สมัยก่อนใครเกิดเดือนไหนก็เกษียณเดือน นั้ น พอมาปี พ.ศ. 2544 ผมก็ เ ริ่ ม ชั ก ชวน
เพื่อนฝูงที่เกษียณมารวมตัวกัน ครั้งแรกใช้ชื่อว่า “ชมรมผู้เกษียณอายุไทยออยล์” ปีหนึ่งมีการ
จัดงานเพื่อมาเจอกันสักหนหนึ่ง ตอนนั้นไม่มี เงินทุนใด ๆ เราต้องช่วยกันเอง จัดงานหนึ่งก็ ใช้วิธีเก็บเงินจากผู้มาร่วมงาน อย่างมาสองคน สามีภรรยาก็คิด 500 บาท ถ้าไม่พอ พวกเรา
ก็พร้อมใจแชร์กันออก กรรมการช่วงแรก ๆ ที่ ช่วยกันก็มี คุณจรูญ เกิดสวัสดิ์ คุณณรงค์และ คุณนันทนา สุขสวัสดิ์ คุณสุนทร เกษรางกูล และก็ผม การทำงานในช่วงนั้นมีความยากลำบาก มาก พอส่งจดหมายแจ้งวันจัดงานแล้ว พวกเรา ก็มานั่งช่วยกันโทรศัพท์เช็กว่าได้รับจดหมาย
หรือยัง อยากขอร้องให้มาร่วมงาน เนื้อความ
ในจดหมายก็พูดวิงวอนให้มาเจอกัน ยิ่งใกล้ ๆ วันจัดงาน ก็ต้องโทรศัพท์ไปเช็กอีก แต่งานนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ ทุกคนมากันพร้อม เพรียง จะขาดบ้างก็เฉพาะที่ติดภารกิจจำเป็น จริง ๆ เท่านั้น เราทำงานกันอย่างนี้มาตั้งหลายปี โดย ไม่มงี บแต่เราก็ทำ โดยเฉพาะเวลามีใครเจ็บป่วย ชมรมฯ จะช่วยทำหน้าที่กระจายข่าว ใครป่วย เข้าโรงพยาบาล หรือแม้แต่ตายจาก ชมรมฯ จะเป็ น ธุ ร ะติ ด ต่ อ แจ้ ง ให้ ส มาชิ ก ทราบทั่ ว กั น ใครช่วยตรงไหนได้ก็ช่วยกันไป คนไหนเจ็บป่วย ทางชมรมฯ จะตระเตรียมสิ่งของไปเยี่ยม หาก ตายจาก ชมรมฯ ก็ร่วมทำบุญด้วย ส่วนใหญ่
ก็ใช้เงินที่เหลือจากการจัดงาน บางครั้งก็ช่วย กั น จ่ า ย พวกเราไม่ มี ส ถานที่ ต ายตั ว ในการ ทำงาน บางครั้งประชุมกันที่บ้านผม บางครั้งก็ เป็นร้านอาหาร ต่ อ มาคุ ณ สมเกี ย รติ หั ต ถโกศล รอง กรรมการอำนวยการ ในขณะนั้น ได้มอบหมาย ให้ คุ ณ ณรงค์ ฤ ทธิ์ ถาวรวิ ศิ ษ ฐพร ผู้ ช่ ว ย กรรมการอำนวยการ ด้ า นโรงกลั่ น เป็ น
ผู้ประสานงานกับชมรมฯ โดยเริ่มทำหอประวัติ ไทยออยล์ จ นเป็ น รู ป เป็ น ร่ า ง จนถึ ง ช่ ว งที่
คุ ณ สุ ร งค์ บู ล กุ ล มาเป็ น ประธานเจ้ า หน้ า ที่
บริหาร บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ท่านได้ มอบหมายให้ คุณสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วย กรรมการอำนวยการ ด้านบริหารองค์กรดูแลต่อ ซึ่งคุณสมชัยท่านก็คิดริเริ่มเสนอให้จัดงานคืนสู่ เหย้าชาวไทยออยล์ โดยมีงบประมาณจัดงาน เบื้องต้นให้จำนวนหนึ่ง งานนั้นถือได้ว่าประสบ ผลสำเร็จดีทีเดียว เพราะผู้เกษียณกว่า 90% มา ร่ ว มงาน มี โ อกาสได้ กิ น ข้ า วกลางวั น ร่ ว มกั น จากนั้ น ก็ ไ ปเยี่ ย มชมโรงกลั่ น ฯ พอตกเย็ น ก็
กินข้าวเย็นร่วมกันอีกครั้งที่สโมสรชาวไทยออยล์ นั บ เป็ น โชคดี อ ย่ า งยิ่ ง ครั บ ที่ คุ ณ สุ ร งค์ ท่านให้ความสนใจมาก ผมได้แต่เรียนให้ท่าน
ทราบว่าทางชมรมฯ ยังไม่ได้มีกิจกรรมอะไร เพียงแต่จดั งานพบปะกันปีละหน คุณสุรงค์ทา่ นจึง มีดำริจะจัดกอล์ฟการกุศลให้ หาเงินได้เท่าไหร่ ท่านจะมอบให้กบั ทางชมรมฯ เพือ่ ใช้ทำกิจกรรม ซึ่งภายหลังที่ได้จัดงานไปแล้วนั้น ผลปรากฏว่า ได้เงินกว่า 1,000,000 บาท ชมรมฯ จึงเริ่มมี ทุนรอนสำหรับใช้ทำกิจกรรม หลังจากนั้นทางบริษัทฯ ได้จัดให้มีการ ประชุมร่วมกับคณะกรรมการชมรมฯ อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง โดยมีพนักงานไทยออยล์ใน ปัจจุบันคือ คุณเอกพจน์และคุณวัชรินทร์เข้า ร่วมประชุมด้วย หากคุณสมชัยไม่ติดภารกิจ จำเป็นใด ๆ ท่านก็มักมาประชุมด้วยเสมอ โดย ให้แนวคิดในการทำงานไว้ว่า ชมรมฯ ควรทำ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนใน พื้นที่รอบ ๆ ที่เราอาศัยอยู่ด้วย นั่นจึงเป็นที่มา ของการทำกิ จ กรรมช่ ว ยเหลื อ และให้ บ ริ ก าร สังคมของชมรมฯ โดยชวนกันไปเลี้ยงอาหาร เด็กที่บ้านบางละมุงเป็นครั้งแรก ต่ อ มาคณะกรรมการชมรมฯ ได้ อ อก สำรวจพื้ น ที่ ร อบบริ เ วณบ้ า นพั ก พนั ก งาน
ไทยออยล์ ได้พบโรงเรียนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งอยู่ หลังเขาฉลาก เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่
เด็กเล็ก ๆ ที่นี่ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน หลังเขาฉลาก บ้างก็โตมากับกองขยะ ได้กินอาหารกลางวัน จากเงินที่รัฐบาลสนับสนุน แต่ก็ ไม่ทั่วถึง ชั้น ป.1-ป.6 ประมาณ 170 คน มีห้องอาหาร และห้องสมุดเล็ก ๆ ผมและกรรมการฯ มีโอกาส ได้พดู คุยกับผูอ้ ำนวยการโรงเรียน จึงรูว้ า่ โรงเรียน ต้องการสร้างห้องสำหรับให้เด็ก ๆ ใช้ทำกิจกรรม เช่น ดูวิดีโอเพื่อการศึกษา หรือนั่งฟังบรรยาย
ผู้อำนวยการเองก็พยายามจัดหาผ้าป่า ได้เงิน มาประมาณ 200,000 บาท แต่ก็ยังไม่พอกับ ราคาที่ ช่ า งประเมิ น ไว้ คณะกรรมการฯ จึ ง ประชุมกันมีมติเห็นชอบสนับสนุนเงินทุนช่วย ทางโรงเรียนเป็นเงิน 100,000 บาท เรายังได้รู้ว่า เด็กเล็ก ๆ ที่นี่ ส่วนใหญ่มี ฐานะยากจน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหลังเขาฉลาก บ้างก็โตมากับกองขยะ ได้กินอาหารกลางวัน จากเงินทีร่ ฐั บาลสนับสนุนแต่กไ็ ม่ทวั่ ถึง หลวงพ่อ ที่วัดเขาฉลากมักนำอาหารที่ได้มาจากบิณฑบาต แบ่งให้เด็ก ๆ ได้กินอิ่มท้องเสมอ เด็กที่นี่ไม่เคย มีโอกาสได้ไปเที่ยวไหน เพราะโรงเรียนไม่มี ทุนรอนที่จะพาเด็ก ๆ ไป ผมจึงปรึกษาขอความ อนุเคราะห์จากทางสวนเสือศรีราชา ซึ่งยินดี สนับสนุนให้เด็ก ๆ ได้เข้าฟรี ไม่เสียค่าผ่านประตู ใด ๆ แถมเลี้ยงอาหารให้ด้วยอีกหนึ่งมื้อ ทาง ชมรมฯ ก็ได้จัดหาไอศกรี ม ไปช่ ว ยสนั บ สนุ น
อี ก แรง กิ จ กรรมนี้ เ พิ่ ง ทำผ่ า นไปเมื่ อ เดื อ น กันยายนนี้เอง
ชมรมฯ ยั ง ได้ ว างแผนประสานความ ช่วยเหลือโรงเรียนต่อ โดยขอความร่วมมือจาก พนักงานไทยออยล์ในปัจจุบันช่วยสนับสนุนด้วย เพราะหลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนก็เห็นว่า ยั ง ขาดแคลนสิ่ ง จำเป็ น อี ก มาก เราถื อ ว่ า โรงเรียนอยู่ในพื้นที่ใกล้กับบ้านพักไทยออยล์ เราต้องช่วยกัน ปัจจุบันชมรมฯ กำลังทำเรื่องจัดตั้งเป็น “สมาคมศิษย์เก่าไทยออยล์” ซึ่งแม้เจ้าหน้าที่ ผู้รับจดทะเบียนจะมีคำถามปนความสงสัยว่า ไทยออยล์มีโรงเรียนด้วยเหรอ ถึงได้ใช้คำเรียก ขานว่า “ศิษย์เก่า” แต่พวกเราก็พร้อมใจกัน ยืนยันว่า ไทยออยล์เป็นเสมือน “มหาวิทยาลัย” ของพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นอดีตหรือ คนในรุ่นปัจจุบันก็ตาม...แล้วพบกันใหม่ฉบับ หน้าครับ
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
15
สกู ๊ ป พิเศษ
โดย กองบรรณาธิการ
กฐินสามัคคีเครือไทยออยล์
เช้าตรูท่ ศี่ นู ย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ ชาวชุมชนบ้านอ่าวอุดมและชุมชนตลาดอ่าวอุดม พร้อมใจกัน มาร่วมงานบุญอย่างคับคัง่ ยกกันมาทัง้ ครอบครัวปูย่ า่ ตายายพ่อแม่ลกู ล้วนยินดีเบิกบานหอบหิว้ ข้าวสารอาหารแห้ง มาร่วมบุญกฐินวันนี้ ฝ่ายเจ้าภาพไทยออยล์ก็ไม่น้อยหน้ามากันตั้งแต่เช้า พร้อมต้อนรับอย่างดีด้วยน้ำเต้าหู้เพื่อ
สุขภาพแสนอร่อย พร้อมปาท่องโก๋ทที่ อดกันร้อน ๆ ตรงนัน้ เลย ส่วนใครอยากได้ของหนักท้องหน่อยก็มขี า้ วต้มเครือ่ ง รสชาติเยี่ยมที่หากินได้เฉพาะเวลามีงานบุญเท่านั้น เพราะปัจจุบันแม่ครัวสุขภาพไม่ค่อยดี จึงปิดร้าน อาหารที่เคยขายไปแล้ว
รวมน้ ำ ใจคนอ่ า วอุ ด มกั บ คนไทยออยล์ จึ ง ได้ ข้าวสารอาหารแห้งจำนวนไม่น้อย ตักบาตรเสร็จพระท่านให้ศีลให้พร และร่วมอนุโมทนากัน ถ้วนหน้ากับทีมมูลนิธิอาสาบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่อาสานำข้าวของ จำนวนมากนี้ลงใต้เพื่อไปช่วยผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม คุณประสาน เขียวศิริ รองผู้บังคับ กองร้อย ชุดที่ 8 งานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ลงมาเป็นหัวเรีย่ วหัวแรงใหญ่ประสานงาน กับไทยออยล์อย่างดีเยี่ยมทำให้งานบุญช่วงเช้าผ่านไปอย่างชื่นมื่นกันทั่วหน้า ใครที่พลาดอิ่มข้าวเช้าที่ศูนย์สุขภาพฯ ก็มาต่อกันได้ที่วัดใหม่เนินพยอม
ที่องค์กฐินตั้งรอทุกคนมาร่วมบุญ ภายในวัดคนหนาตามาก ต่างช่วยกันจัด เตรียมข้าวปลาอาหารเพื่อเลี้ยงคนมาร่วมงาน แต่ละซุ้มต่างเป็นน้ำใจของ คนในชุ ม ชนที่ น ำอาหารมาต้ ม มาทอด เลี้ ย งกั น ไม่ อั้ น เจ้ า ภาพใหญ่
16 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
ไทยออยล์ ก็รว่ มด้วยช่วยเต็มที่ เห็นทีมแม่ครัวเสือ้ เขียวทัง้ หลายนัน่ ก็เป็นทีมเฉพาะกิจ (เยอะมาก) ทีอ่ าสามาช่วยเจ้าภาพทำอาหารมือ้ ใหญ่เลีย้ ง คุณสุนนั ท์ เสียงดัง ประธานชุมชนบ้านอ่าวอุดม คนตัวเล็กแต่แกร่งและเก่งชวนป้าลำดวนอดีตแม่ครัวทำของว่างเลี้ยงทุกการประชุมใน
ไทยออยล์มานับสิบปี (คนไทยออยล์ไม่ค่อยเห็นหน้าเพราะอยู่แต่เบื้องหลัง) งานนี้ก็มาเป็น แม่งานอยูเ่ บือ้ งหลังการจัดการซือ้ ข้าวของสด ๆ คิดเมนูอร่อยมาให้อมิ่ หนำ อาทิ ต้มยำขาหมู ขนมจีนน้ำพริก ปลาอินทรีทอดน้ำปลา เป็นต้น ลานกลางวั ด มี เ วที ใ หญ่ ที่ เ มื่ อ คื น ได้ ยิ น ว่ า มี ด นตรี ส นุ ก ให้ ร ำวงกั น จนดึ ก ดื่ น
สายวันนี้หน้าเวทีก็เปลี่ยนเป็นลานเฮฮาที่ชวนคนไทยออยล์กับคนบ้านอ่าวมาเล่นเกม แข่งกัน สามเกมแรก ไทยออยล์ออ่ ยให้กอ่ น ปล่อยให้คนบ้านอ่าวทำคะแนนนำไป ชนะสามเกมรวด มาตีตื้นได้คะแนนเอาเกมหลัง ๆ แต่สุดท้ายก็ยอมให้
ชุมชนรักไทยออยล์มากกว่าคว้าถ้วยไปครอง รายละเอียดจากปากคำเล่าคงไม่เท่าภาพที่เห็น ขอพื้นที่ให้ภาพเล่าเรื่องละกันค่ะว่าสนุกขนาดไหน อิ่มหนำกันดีแล้ว ตอนบ่าย งานบุญใหญ่ที่ทุกคนตั้งตารอก็เริ่มขึ้น ขบวนกฐินสามัคคี เครือไทยออยล์ ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาเริ่มเคลื่อนสู่โบสถ์ นำหน้าโดยทีมลูกหลานของชุมชน ตามด้วยผูบ้ ริหารของไทยออยล์ทวี่ นั นีพ้ ร้อมกันมาร่วมทำบุญ ร่วมสนุกและเป็นขวัญกำลังใจให้ ทุกคน นำโดยคุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและผูบ้ ริหารระดับสูงเครือไทยออยล์ ปลื้ ม ใจกั บ ความตั้ ง ใจของทุ ก คนที่ ม าร่ ว มกั น ทำบุ ญ นอกจากเครื่ อ งอั ฐ บริ ข าร
เครื่องบริโภคอุปโภคต่าง ๆ ที่ถวายแด่ภิกษุสงฆ์ ปัจจัยที่รวมจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งหมดได้
กว่า 1,800,000 บาท วันพระใหญ่ บุญใหญ่ของชาวศรีราชาในวันนี้ เริ่มขึ้น ด้วยแรงกำลังกาย กำลังใจของชาวไทยออยล์และชุมชนก็
จบลงด้วยความสุข อิ่มท้องอิ่มใจ อิ่มบุญกันถ้วนหน้า
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
17
กระบอกเสียงชุมชน โดย กองบรรณาธิการ
“โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม” เพื่อนคู่คิดมิตรคู่
“ชุมชนบ้านอ่าวอุดม”
“โรงเรียน” เป็นหน่วยสำคัญแห่งหนึ่งของชุมชน มีหน้าที่หลักในการอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมให้งอกงามในจิตใจของเด็ก เพื่อพร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ให้มีทั้งวิชาความรู้ติดตัวไว้ใช้ ทำมาหากินเลี้ยงชีพ และมีศีลธรรมเป็นพื้นฐานประจำใจ เรียกได้ว่าเป็น “บ้านหลังที่สอง” ที่มีบทบาทต่อการสร้างคนให้มี ความเข้มแข็งทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ เป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพของชุมชนด้วยทางหนึ่ง ย้อนเวลากลับไปเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2473 “โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม” เริ่มต้นเปิดประตูรั้วโรงเรียนต้อนรับ เด็ก ๆ ในชุมชนบ้านอ่าวอุดมและชุมชนใกล้เคียง ในฐานะสถานศึกษาของรัฐซึ่งพร้อมทำหน้าที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา บ่มเพาะความรู้ให้กับเด็กรุ่นแล้วรุ่นเล่ามาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 80 ปี ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ดำเนินการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษา ปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 700 กว่าคน
สนธยา นาคปฐม ผูอ้ ำนวยการโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม ย้อนเล่าประวัตคิ วามเป็นมา ของวัดใหม่เนินพยอม ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดสร้างโรงเรียนให้ฟังว่า “ผมเคยมีโอกาสได้ ฟังจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสและผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน จึงได้รู้ว่าวัดเดิมนั้นตั้งอยู่ที่หนองกระสือ ซึง่ เป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ บริเวณเนินดินรอบวัดมีตน้ พยอมขึน้ อยูเ่ ป็นจำนวนมาก ชาวบ้าน แถบนั้นนิยมนำเปลือกไม้พยอมใส่ในกระบอกน้ำตาลสดเพื่อป้องกันน้ำตาลเน่าเสีย ต่อมามี การขยับขยายทีต่ งั้ วัดใหม่ยา้ ยมาจัดสร้างในพืน้ ทีห่ มู่ 1 บ้านอ่าวอุดม ตำบลทุง่ สุขลา อำเภอศรีราชา ดั ง เช่ น ปั จ จุ บั น ส่ ว นโรงเรี ย นวั ด ใหม่ เ นิ น พยอมแต่ เ ดิ ม นั้ น ตั้ ง อยู่ ใ นบริ เ วณวั ด ได้ ร าว ๆ
5 ปี โดยใช้ศาลาวัดเป็นห้องเรียน จนถึงปี พ.ศ. 2478 จึงได้ย้ายมาสร้างอาคารเรียนในที่ดินซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าอาวาส
วัดใหม่เนินพยอมให้ใช้ที่ดินของวัดเพื่อทำคุณประโยชน์แก่ชุมชน” นับแต่นั้นมา โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอมมุ่งมั่นทำหน้าที่ให้บริการด้านการศึกษาในระบบโรงเรียน พร้อม ๆ กับการเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในชุมชนบ้านอ่าวอุดมมาโดยตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงยุคสมัยของผู้อำนวยการโรงเรียนท่านใด ต่างก็เห็น
ความสำคัญของการพัฒนาร่วมกันระหว่าง “บ้าน วัด และโรงเรียน” “ผมเริ่มมาเป็นผู้อำนวยการที่โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2537 ตลอด 16 ปีที่อยู่ในชุมชนนี้ ผมประทับใจคนในชุมชนนี้มาก
สัมผัสได้ว่าพวกเขารักโรงเรียน โรงเรียนเป็นของพวกเขา จึงคอยช่วยกันสอดส่องดูแล อย่างเช่น วินมอเตอร์ไซค์ตรงหัวมุมโรงเรียน มักช่วยกันเป็นหู เป็นตาในยามค่ำคืนให้อยู่เสมอ” แม้ปัจจุบันสถานที่ตั้งระหว่างโรงเรียนและวัดใหม่เนินพยอมจะมีถนนในชุมชนตัดผ่าน แต่ทว่าความสัมพันธ์ยังคงอยู่กันอย่างเกื้อกูล “โรงเรียน พร้อมช่วยเหลืองานของวัดและชุมชน พอรู้ว่าวัดจะจัดงานประเพณีทอดกฐิน ผ้าป่า ผมจะพาครูและนักเรียนไปช่วยตลอด ไม่ต้องรอให้หลวงพ่อท่าน เอ่ยปากขอ เน้นช่วยงานทุกอย่าง เช่น การเงิน กองอำนวยการ บริการน้ำดื่ม อาหาร ดนตรีไทย การแสดงบนเวที กลองยาวในขบวนแห่กฐิน เวลาที่ ชาวบ้านมาทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งที่วัด หลวงพ่อท่านก็มักจะแบ่งมาให้ทางโรงเรียนเก็บไว้ใช้เป็นอาหารกลางวันให้กับเด็ก ๆ อยู่เสมอ ทำให้
18 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
เด็กที่นี่มีโอกาสได้กินฟรีทั้งหมด โรงเรียนยังได้ รับความช่วยเหลือจากชุมชนในรูปของทุนการ ศึ ก ษา ของขวั ญ วั น เด็ ก อุ ป กรณ์ ก ารเรี ย น อุ ป กรณ์ กี ฬ า ฯลฯ โดยเฉพาะได้ รั บ การ สนับสนุนจากไทยออยล์เป็นประจำทุกปี ปีละ 20 ทุน ทุนละ 2,000 บาท และยังมีทุนต่อเนื่อง ตั้งแต่ ป.1-ป.6 จนกว่าจะจบอีก 2 ทุน คาดว่า จะทยอยเพิม่ ขึน้ ทุกปี เพือ่ ร่วมกันสร้างโอกาสทีด่ ี ให้กับเด็กในพื้นที่ครับ” โดยปกติแล้วทุกวันจันทร์ชว่ งบ่าย พระจาก วัดใหม่เนินพยอมจะมาสอนนักเรียนชัน้ ป.3-ป.6 เกี่ยวกับพุทธศาสนา คุณธรรม จริยธรรม และ ศาสนพิธี รวมทั้งยังมีปราชญ์ผู้รู้ในชุมชนมา ช่วยสอนด้วย เช่น ความรู้เรื่องพันธุ์พืชและ
สัตว์ป่า การจราจร ยาเสพติด ไข้เลือดออก
สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เด็กนักเรียนยังมีโอกาสได้ไป ศึกษาดูงานภายนอกอยู่บ่อยครั้ง ผอ.สนธยาเชื่อมั่นว่า โรงเรียนทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางของชุมชน เห็นได้จากทุกหน่วยงาน ในพืน้ ทีท่ งั้ ภาครัฐ เอกชน และองค์กรส่วนท้องถิน่ พร้อมใจกันทำกิจกรรมรณรงค์รกั ษาความสะอาด และเก็บขยะในชุมชนเนื่องในโอกาสวันสำคัญ ต่าง ๆ อยู่เสมอ ชุมชนเองก็มักแวะเวียนมาใช้ พื้นที่ในโรงเรียน เช่น เปิดลานแอโรบิกในช่วงเย็น
ของทุกวัน หรือเด็กเล็ก ๆ ก็นิยมมาเล่นฟุตซอล กันอย่างสนุกสนาน ในอีกบทบาทหนึ่งของการทำหน้าที่เป็น “ที่ปรึกษาคณะกรรมการชุมชนบ้านอ่าวอุดม” ผอ.สนธยาสะท้อนให้เห็นถึงแผนงานที่วางไว้
นั่นคือ การใช้พื้นที่บริเวณสะพานข้างโรงเรียน วั ด ใหม่ เ นิ น พยอม ซึ่ ง ต่ อ ยื่ น ออกไปในทะเล ประมาณ 500 เมตร ส่วนปลายสะพานทำเป็น รูปตัวที เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวรูปแบบ ตลาดทะเล โดยจัดเป็นถนนคนเดิน อาจจะจัด สัปดาห์ละครั้ง และเชิญชวนชาวบ้านทำอาหาร อร่อยประจำถิ่นมาวางขาย เช่น แกงส้มปลา เรียวเซียว จังลอน ฮือแซหรือปูจ๋า หรืออาจเป็น สินค้าทำมือ งานศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ ช่วย สร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ คนในชุ ม ชน และเป็ น การ พั ฒ นาให้ เ กิ ด พื้ น ที่ ส ร้ า งสรรค์ ใ นชุ ม ชนได้ อี ก ด้วย โดยโครงการนี้คาดว่าจะขอความร่วมมือ จากหลายฝ่าย ทั้งชุมชน โรงเรียน เทศบาล กรมเจ้าท่า และไทยออยล์
ผอ.สนธยายังทิ้งท้ายฝากไว้ว่า ตนเอง พร้อมทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในการ บริหารบุคลากร เวลา และงบประมาณทีม่ จี ำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเด็ก ๆ ซึ่ง เป็นลูกหลานของชุมชนบ้านอ่าวอุดม หากมี
สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผู้อำนวยการในวัย 55 ปีท่านนี้ ฝันอยากทำไว้ให้ชุมชนก่อนถึงวัยเกษียณ คงจะ เป็นการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เพื่อทดแทน หลังเก่าที่มีอายุกว่า 34 ปีแล้ว โดยวางแผนไว้
ว่าจะจัดทำพื้นที่ล่างสุดของอาคารให้เป็นพื้นที ่ โล่ง ๆ และเป็นสระว่ายน้ำสำหรับเด็ก ๆ ส่วน ห้องเรียนจะอยู่ชั้น 2 และชั้น 3 สำหรับชั้น 4 ตั้งใจอยากทำเป็นห้องพักให้ครูอัตราจ้างได้พัก อยู่ที่โรงเรียน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เพราะลำพังค่าตอบแทนอัตราจ้างสอนไม่สูงนัก เมื่อครูมีความสุข ไม่เป็นทุกข์ในการเลี้ยงชีพ ก็ จะมีพลังในการสอนเด็ก ๆ ได้เต็มที่มากขึ้น คุณภาพการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ก็ย่อมจะพัฒนา เพิ่มขึ้นด้วย
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
19
ของดี บ้านเรา
โดย คนศรี
น้ำตกชันตาเถร...
น้ำตกที่แสนสุภาพ
ถ้าถามว่าบ้านเรามีอะไรดี ๆ ให้เที่ยวบ้าง หลายคน อาจไม่นึกถึงชื่อนี้ “น้ำตกชันตาเถร” จำได้ว่า เมื่อแรกที่ ได้ยินชื่อก็นึกแปลกใจอยู่นาน อยากรู้นักว่าชื่อชันตาเถร
มีที่มาอย่างไร ลองเดาเล่น ๆ ดูว่าอาจมีตาคนหนึ่งชื่อเถร แล้วไปเดินแถวน้ำตก หรือน้ำตกนั้นชันมากจนตาเถรขึ้น
ไม่ ไหว กลายเป็นตำนาน คนศรีก็คิดไปเรื่อยเปื่อยตั้งใจว่า สักวันไปเที่ยวแล้วจะต้องสืบให้รู้ ดูให้แน่ว่าเป็นอย่างไรกัน เอาเข้าจริง ไปถึงทางเข้าตรงลาน จอดรถ เจอเจ้าหน้าที่สองคน ถามไถ่ก็
ไม่ได้ความ ไม่มีใครรู้ที่มาของชื่อ ทำเอา คนศรี ก็ ห งุ ด หงิ ด คั น หั ว ใจจนถึ ง วั น นี้
หากผู้อ่านท่านใดทราบจะช่วยกันบอกเล่า กลั บ มาที่ ก องบอกอของจุ ล สารเล่ ม น้อย ๆ นีก้ จ็ ะช่วยให้ลกู หลานศรีราชา ตาดำ ๆ ได้รู้จักของดีบ้านเรากัน มากขึ้นนะคะ จากลานจอดรถ เจ้าหน้าที่บอกว่าเดินไปอีกประมาณ 800 เมตร จะถึงน้ำตก ก็เดินกันไปเรื่อย ๆ อากาศเดือนนี้กำลังเย็นสบาย ไม่หนาว ไม่ร้อน แถมร่มไม้ใหญ่สองข้างทางช่วยให้ระยะทางเกือบกิโล นั้นดูสั้นลง ถนนลาดลงเรื่อย ๆ เลี้ยวโค้งนั้นก็ลงไปอีก หักโค้งนี้ก็ลง
ไปอีก จนรู้สึกว่าเหมือนกำลังเดินลงสู่หุบเขาน้อย ๆ ในใจคนศรีแอบคิด ว่าตอนขากลับจะเป็นยังไงนะ ได้ยนิ เสียงน้ำแล้วค่ะ เสียงเบา ๆ แทรกสลับกับเสียงนกร้อง เจ้าหน้าทีบ่ อกตัง้ แต่ทางเข้า แล้วว่า สองสามวันนี้น้ำเริ่มน้อยลง ก็แหม! คนศรีเห็นข่าวน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากก็กังวลนัก ว่าจะเที่ยวน้ำตกได้หรือ ปกติเวลาดีที่เที่ยวน้ำตกแห่งนี้ได้คือช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน
จะมีน้ำมากพอให้โดดเล่นได้เย็นใจ แต่ต้องบอกก่อนค่ะว่าน้ำตกชันตาเถรเป็นน้ำตกไม่ใหญ่ ไม่เล็ก เป็นน้ำตกที่ดูแล้วแสนจะเจียมเนื้อเจียมตัว เพราะเขาแอบกายซ่อนเสียงไว้กลางหมู่ พรรณไม้ที่ยังอุดมสมบูรณ์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ ถ้าจะให้นิยามแบบรักแรกพบ น้ำตกแห่งนี้คงเปรียบเหมือนชายหนุ่มที่สุภาพเรียบร้อย พูดจานุม่ นวล ก็เพราะเสียงน้ำไม่ตกแรงเสียงดังกระโชกโฮกฮากเหมือนน้ำตกใหญ่ ๆ หลายแห่ง ที่ได้ยินเสียงมาแต่ไกลก่อนเห็นตัว ถ้าเป็นหญิงสาวก็เป็นหญิงสาวตัวเล็ก ดูง่าย ๆ ซื่อ ๆ ไม่มีความนัยซับซ้อน เพราะแอ่งน้ำระหว่างชั้นน้ำตกก็ไม่ลึกมืดจนมองไม่เห็น โขดหินก็ปีน ป่ายไม่ยากเกินไป น้ำตกแห่งนีม้ คี วามสูงถึง 5 ชัน้ ชัน้ ที่ 4 มีความสวยงามทีส่ ดุ ต้องเดินเท้า ประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนชั้นที่ 5 ต้องปีนป่ายขึ้นไป (เขาบอกมาค่ะ เพราะคนศรีแก่แล้ว
20 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
ปี น ไม่ ค่ อ ยไหว ขออภั ย ผู้ อ่ า นด้ ว ยนะคะที่ เ ก็ บ ภาพและความงามมา บรรยายได้ไม่ครบถ้วน แต่มีข้อดีคือ ทุกท่านจะได้ไปเซอร์ไพรส์ด้วย ตนเอง) น้ำตกชันตาเถรจึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการผ่อนคลาย สบาย ๆ หรือมาปิคนิคเล่นกับครอบครัววันเสาร์อาทิตย์ ไม่ต้องการเที่ยวธรรมชาติ แบบหักโหมเดินจนเหนื่อย หรือถ้ามีจักรยานจะมาขี่เล่นเป็นคู่ เป็นกลุ่ม เป็นครอบครัว ก็น่าสนุกมากนะคะเพราะสองข้างทางสวยร่มรื่นมาก ที่นี่เปิดให้เข้าเที่ยวชมตั้งแต่หกโมงเช้าถึงสี่โมงเย็น ยิ่งช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงมกราคมเหมาะที่จะมาดูนก โดยเฉพาะนกเงือก หรือถ้า เข้าหน้าแล้งแล้วก็ยังเดินท่องน้ำเล่น ลัดเลาะตัวลำธาร ป่ายปีนขึ้นไป น้ำตกชั้นสูง ๆ ถึงชั้นที่มีแอ่งน้ำอยู่ใต้น้ำตกก็ยังว่ายน้ำเล่นได้ บรรยากาศ สงบเงียบ ชุ่มชื้นและชุ่มชื่นหัวใจเพราะขนาดคนศรีอยู่แค่ชั้นล่าง ๆ ยัง เห็นต้นไม้ใหญ่ขนาดสองสามคนโอบตั้งหลายต้น และเสียงนกร้องก็เซ็งแซ่ แข่งกับเสียงน้ำตก เป็นบรรยากาศเฉพาะของที่นี่จริง ๆ น้ำตกชันตาเถรอยูท่ า่ มกลางผืนป่าทีร่ ะบบนิเวศค่อนข้างสมบูรณ์มาก เมือ่ เทียบกับแหล่งต้นน้ำอืน่ ๆ ในอำเภอศรีราชา และยังเป็นผืนป่าแห่งเดียว ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในอำเภอศรีราชา ซึง่ เหมาะกับการพาเด็ก ๆ มาศึกษาธรรมชาติ บริเวณน้ำตกมีพันธุ์ไม้หลากหลาย ทั้งเฟิร์น หวายป่า ผักหวานป่า และ
ไผ่ตา่ ง ๆ ส่วนสัตว์ปา่ นอกจากนกเงือก นกโพระดก นกตีทอง นกขุนทอง และนกอื่น ๆ อีกมากมาย ยังมีหมูป่า กระรอก กระถิก กระแต และปูชนิด ที่ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำตกใน ภูเขา อ้อ! เขาว่าหน้าแล้ง ผีเสื้อ สวย ๆ ก็มีเยอะค่ะ
ถ้าโชคดีก็จะได้เจอพระเอกของที่นี่ นาย “ตะกอง” หรือ “ลั้ง” หรือ กิ้งก่ายักษ์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบ ในไทย รูปร่างคล้ายอีกัวน่า ตัวโตเต็มที่ตั้งหัวจนถึงหางยาวถึง 90-120 เซนติเมตร มีคนที่เคยเจอเจ้าตะกอง เล่าว่าบางตัวค่อนข้างเชื่องขนาด ยอมให้เข้าใกล้ในระยะประมาณ 2 เมตร แต่ถ้าเข้าใกล้กว่านั้น มันก็จะ ถอยออกไปเพื่อรักษาระยะห่างให้เท่าเดิม ครั้งนี้คนศรีไม่โชคดี ไม่เจอตะกอง ไม่เจอนกเงือก เจอแค่ผีเสื้อ
เล็ก ๆ หนึง่ ตัว แต่กไ็ ด้กอดต้นไม้ใหญ่ ได้นงั่ แช่เท้าในน้ำเย็น ๆ ผ่อนใจฟัง เสียงนกร้อง สลับเสียงครวญเบา ๆ ของน้ำตก แค่นี้ก็สุขจนลืมเหนื่อยที่ ทำงานมา 5 วันเต็ม และต้องรีบมาเล่าให้เพือ่ นพ้องน้องพีช่ าวศรีราชาฟังว่า เรามีของดี ๆ ใกล้ตัว อย่าลืมแวะไปเยี่ยมเยือน พาลูกหลานไปพักผ่อน
กันบ้างนะคะ ใกล้ ๆ แค่บางพระนีเ้ องค่ะ
หากสนใจจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ ติดต่อได้ที่ หัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ สัตว์ป่าเขาเขียว ตู้ ป.ณ. 10 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20210
การเดินทาง
อยู่ห่างจากถนนสุขุมวิท ไปประมาณ 15 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 3144 ทางไปวัดเขาไม้แดง ป้ายบอกทางเป็นระยะ หรือติดต่อขอเช่ารถสองแถวจากตลาดบางพระได้ ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
http://board.palungjit.com http://th.wikipedia.org/wiki/ตะกอง http://www.5provincesforest.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538726260&Ntype=1 ขอบคุณภาพ “ตะกอง” จากคุณกุ๋ยป่า http://www.guipa.net/ และคุณไบนอคสีเขียว http://www.oknation.net/blog/Home61103/2009/08/28/entry-1 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
21
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม
โดย หงวน ชวน ชิม
(เจ้าเก่านาเกลือ) มีเรื่องดี ๆ มากกว่า ความอร่อย คราวนี้ขอแนะนำร้านเก่าแก่ประมาณว่าคนชลฯ น่าจะรู้จักดี คนศรีฯ ไม่มีพลาด ยิ่งคนแถวบางพระ รับรองไม่มีใครไม่เคยแวะไปชิมอาหาร ร้านป้า (เจ้าเก่านาเกลือ) เก่าแก่กว่า 30 ปี และอาหารอร่อย ฝีมือไม่ เคยตก โดยเฉพาะเมนูเด่นของคุณป้าเจ้าของร้านหรือคุณสาคร โพธิ์งาม ที่ทุกวันนี้อายุเกือบ 90 แล้ว เมนูที่ว่า ก็คือ ปลาดุกทอดกรอบผัดเผ็ด รสชาติจัดจ้านเฉพาะตัว ชิมคำแรกก็รู้ว่าต้องเป็นสูตรของป้า เพราะมีทีเด็ด เคล็ดลับที่เครื่องแกงตำเอง กลมกล่อม เนื้อปลาดุกก็แล่มาแต่เนื้อไม่มีก้าง ผัดจนเข้ารสกำลังดีทุกอย่าง ไม่เผ็ดไป หวานไป เวลาเสิร์ฟมาพร้อมกับใบกะเพราแก้วที่ทอดได้สวยใส ไม่มัน น่ากินมาก ชิมแล้วจะติดใจ อดีต ป้าสาครเป็นแม่ครัวของโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ก่อนออกมาเปิดร้านแห่งแรกตั้งอยู่ที่นาเกลือก่อน จึงได้ชื่อว่า เจ้าเก่านาเกลือ ต่อมาจึงย้ายมาแถวอ่างเก็บน้ำบางพระนี้ หากไปช่วงนี้อากาศดี สดชื่นทีเดียว แต่ถ้าไปช่วงฤดูผลไม้ ต้องเลี่ยงเข้าไปนั่งห้องแอร์เพื่อกันแมลง รบกวนค่ะ เดี๋ยวนี้ป้าอายุมากแล้ว ร้านป้า จึงกลายเป็นร้านที่ลุงดำหรือลุงอุดม บุญคำ ลูกเขยคนใต้ที่ใจเป็นคนศรีราชาไปแล้ว อดีตพ่อครัว โรงแรมดังแถวพัทยาเข้ามารับช่วงต่อ ที่ขอเลือกแนะนำร้านเก่าแก่อย่างนี้ ก็เพราะเขามีดีมากกว่าฝีมีอเรื่องอาหาร ทุกเช้าตีสี่ครึ่ง ลุงดำจะตื่นไปจ่ายตลาด เพราะต้องการ
ไปเลือกซื้อหาวัตถุดิบดี ๆ ด้วยตนเอง ลุงดำเล่าว่าไม่ต้องซื้อไกล ตลาดบ้านเราเอง ศรีราชานี่แหละเป็นแหล่งรวมของดี กุ้ง ปู ปลาสด ๆ โดยเฉพาะเมนูจานปลาทีห่ ากินได้ทรี่ า้ นนีท้ เี่ ดียว คือ ปลากำนัน ทอดน้ำปลา อ่านชื่อแล้วชวนสงสัย ใคร ๆ ก็ต้องสั่งมาชม มาชิมว่า ปลากำนันหน้าตาเป็นอย่างไร ที่แท้ปลากำนันก็คือ ปลากุดสลาด ปลาทะเลน้ำลึก ที่จริงเมนูนี้มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมในชื่อธรรมดา ๆ ปลา กุดสลาดทอดน้ำปลา ทอดกระเทียม โน่น นี่ นัน่ ลุงดำเล่าว่า วันหนึง่ มีกำนันท่านหนึ่งมาสั่งปลากุดสลาดไปกินแล้วติดใจ บอกทำไมไม่
ตั้งชื่อใหม่ให้ดึงดูดใจ ลุงดำไม่รู้จะตั้งชื่ออะไร ก็เลยเรียกปลากำนัน ผ่านมาจนถึงวันนี้ยังไม่มีผู้ว่าฯ ท่านใดทักให้เปลี่ยนชื่อเมนูอาหาร
แต่ไม่แน่วันหน้าถ้ามีหมูผู้ใหญ่ ไก่ผู้ว่า ก็เข้าท่านะคะลุงดำ
22 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
นอกจากนี้ ลุงดำยังบอกว่า ปลากุดสลาดนี้มีโอเมก้าสูงมาก หาได้เฉพาะ แถบช่องแสมสารเท่านั้นหรือไม่ก็ต้องสั่งตรงจากทะเลอันดามัน ขอย้ำว่าหากิน ไม่ง่าย มีที่นี่ที่เดียว ถ้าใครไม่เคยกิน เสิร์ฟมาครั้งแรกเห็นแล้วมักตกใจ สั่งปลา ไม่ใช่หรือ ทำไมปลาชิ้นใหญ่เหมือนขาหมูเยอรมันขนาดย่อม ๆ ขอย้ำที่เห็น
ในรูปนัน้ เป็นเนื้อล้วน ๆ ไม่มีก้างเลยแม้แต่นิดเดียวค่ะ ด้วยความที่เป็นอดีตพ่อครัวโรงแรมมาก่อน รู้ว่าอาหารอร่อยเบื้องต้น คือ ต้องมีวัตถุดิบคุณภาพ ลุงดำถึงต้องจ่ายตลาดเอง นอกจากนี้ยังคิดค้นปรับปรุง เมนูใหม่ ๆ มาเสริมให้ร้านป้าเป็นที่ติดอกติดใจมากขึ้น สองเมนูยอดนิยม คือ ไก่บ้านทอดเกลือ และพะแนงเนื้อพริกสด
สำหรับสาวกคนรักเนือ้ วัวต้องไม่พลาดจานนี้ “พะแนงเนือ้ พริกสด” ลุงดำเลือกใช้แต่เนือ้ ส่วนน่องเท่านัน้ เพราะมีเอ็นลาย ทำให้เคีย้ วอร่อย นำมาเคี่ยวด้วยเตาถ่านหลายชั่วโมง จนนุ่มหอมทั้งกลิ่นไฟถ่านและ หอมพริกขี้หนูสด ๆ ส่วนไก่บา้ นทอดเกลือฟังชือ่ แล้วดูธรรมดา แต่ที่ ไม่ธรรมดา คือทีม่ าค่ะ เพราะไก่บ้านที่นี่ลุงดำสั่งตรงจากคนในพื้นที่ ให้ช่วยเลี้ยงไก่ให้ จึงสามารถคัดไก่รุ่นที่ได้อายุพอดี เนื้อเหนียวนุ่มกำลัง เคีย้ วอร่อยไม่หนึบเกิน เช่นเดียวกับพืชผักสมุนไพรในครัว ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กะเพรา ลุงดำก็ให้คนในชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียงปลูกให้ ร้านจะรับซื้อเองทุกอย่าง ข้อดีคือ สามารถควบคุมได้ว่าไม่มีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงแน่นอน เพราะลุงดำ สั่งไว้ว่าไม่ต้องเร่ง ไม่ต้องฉีดยา ให้ผักโตตามธรรมชาติ แก่ได้ที่แล้วจึงเก็บ ทำให้ได้ผักสมุนไพรสดใหม่ รสชาติดีจริง ไม่ว่าจะไปปรุงอะไร หรือจะกิน สด ๆ กับน้ำพริกไข่ปูอีกเมนูขึ้นชื่อ ก็อร่อยแบบสบายใจค่ะ และนี่ก็เป็นอีก หนึ่งเคล็ดลับที่ทำให้เครื่องแกงตำเองของที่ร้านอร่อยกว่าใคร ที่สำคัญได้ ช่วยทั้งคนในชุมชนให้มีรายได้ คนกินได้อร่อยกับอาหารปลอดภัย และช่วย สิ่งแวดล้อมของโลกเราให้สะอาดน่าอยู่ยิ่งขึ้นด้วยค่ะ นอกจากนี้ ลุงดำยังมีแนวคิดปรับปรุง เพิ่มเมนูใหม่ ๆ ที่นำวัตถุดิบใน ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ เช่น หอยขม ปลาบู่ ปลาช่อน ปลาเนื้ออ่อน เพราะเป็นสิ่งที่ คนในชุมชนสามารถจับหามาส่งขายให้ได้เพื่อช่วยให้เพื่อนบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย หลายคนว่าแหม! เบื่อร้านเก่า ๆ อยากไปร้านใหม่เก๋ไก๋ แม้จะเป็นร้านเก่าแก่ แต่ นโยบายทันสมัยเร้าใจคนยุคใหม่ค่ะ เพราะใส่ใจทั้งสิ่งแวดล้อมและชุมชน อย่างนี้จึงต้องช่วย กันสนับสนุนให้ไปอุดหนุนกัน คนศรีราชากินข้าวแล้วก็ยังได้ช่วยคนศรีราชา ช่วยสิ่งแวดล้อม ศรีราชาอีกด้วยนะคะ
ที่ตั้งร้าน “ป้า” มาทางเส้นถนนสุขุมวิท จากตัวเมืองชลบุรีไปไม่ไกล เข้าเขตบางพระแล้วมองทางซ้ายมือ
มีป้ายบอกทาง เข้าซอยมาประมาณ 4 กิโลเมตร สอบถามโทร. 0-3835-7097, 08-1863-8423 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
23
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน
โดย คำละไม
ขยะเหลือศูนย์ ที่ชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 “...โครงการขยะเหลื อ ศู น ย์ ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ ช่ ว ยเหลื อ จาก ทุกภาคส่วน แต่สิ่งที่ทุกคนต้องรู้หน้าที่ คือ การเป็นพลเมืองที่ดีของ ชุมชน รู้จักคัดแยกขยะเพื่อลดปัญหาขยะล้นเมือง...” เชาวรัตน์ คล้ายสอน ประธานชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21
ใครที่ เ ดิ น ทางไปจั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก และแวะเวี ย นเข้ า ไปเยี่ ย มเยื อ นชุ ม ชนบรมไตร-
โลกนารถ 21 อาจจะประหลาดใจว่า ในชุมชนไม่มีถังขยะให้เห็นเลย นั่นเพราะแต่ละครัวเรือน
มีระบบคัดแยกขยะ ที่ทุกคนในชุมชนร่วมมือร่วมใจกันอย่างเข้มแข็งที่จะช่วยลดขยะมูลฝอย
โดยรวมของชุมชน ซึ่งส่งผลถึงการช่วยลดขยะของจังหวัด ของประเทศ และมีส่วนสำคัญในการ ช่วยลดภาวะโลกร้อน
เมื่อขยะ...ล้นเมือง
เทศบาลนครพิษณุโลกเคยประสบปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ จากจำนวนผู้คน และชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่นมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536-2540 ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นจาก 49 ตัน/วัน เป็น 142 ตัน/วัน ทางเทศบาลนครพิษณุโลกจึงได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดและระดมแนวร่วม เพื่อหันมาลดปริมาณขยะด้วยการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย โดยขอสนับสนุนงบประมาณ และผู้เชี่ยวชาญจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาช่วยเหลือในการจัดการ หากศึกษาวิเคราะห์ขยะมูลฝอยจากชุมชนต่าง ๆ กว่า 50 ชุมชนในเขตเทศบาล นครพิษณุโลกจะพบว่า ขยะที่สามารถขายได้มีปริมาณมากถึงร้อยละ 40 ในขณะที่ขยะ ย่อยสลายได้ก็มีมากถึงร้อยละ 40 เช่นเดียวกัน ส่วนขยะอื่น ๆ มีปริมาณเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ซึ่งถ้าสามารถคิดหาวิธีนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้มาก ปริมาณขยะที่จะต้อง กำจัดทิ้งจริง ๆ ก็จะลดน้อยลง และนี่เป็นแนวคิดเริ่มต้นที่ทำให้เทศบาลและชุมชนนำร่อง ช่วยกันจัดตั้งโครงการ “ขยะเหลือศูนย์” หรือ Zero Waste Project ขึ้นมา
เป็นขยะ...ก็มีประโยชน์
ชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 ชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ก็เป็นหนึ่งใน
ชุมชนที่พบกับปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ชาวชุมชนจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนำร่อง “ขยะเหลือศูนย์” และสามารถลดปริมาณขยะในชุมชนลงได้ จนเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้แก่
ชุมชนอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
24 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนใหม่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีประชากร 425 คนจาก 120 ครอบครัว ทางชุมชนได้ริเริ่มโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ทุกครัวเรือน พร้อมใจกันคัดแยกขยะมูลฝอยในบ้านของตัวเองอย่างเคร่งครัด “คนในชุมชนแห่งนี้มีแนวความคิด สอดคล้องกันว่าต้องรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนของตนให้สะอาด ปราศจากขยะและสิ่งปฏิกูล
ในขณะเดียวกันควรนำขยะทีม่ ใี นแต่ละวันมาบริหารจัดการให้กอ่ ประโยชน์และรายได้ ดังนัน้ ในแต่ละ บ้านจะแยกขยะออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนทีส่ ามารถใช้ประโยชน์ตอ่ ได้กน็ ำไปขายให้กบั ธนาคารชุมชน ส่วนที่เป็นพิษก็เก็บไว้ทิ้งในวันที่รถขยะของเทศบาลมาเก็บ และส่วนที่เน่าสลายได้ก็เอามาทำปุ๋ยหมัก จากขยะอินทรีย์” อาจารย์เชาวรัตน์ คล้ายสอน ประธานชุมชน กล่าวถึงจิตสำนึกของชุมชนในเรื่อง สภาพแวดล้อม และด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน ทำให้ขยะที่เคยมีเพิ่มขึ้นกลับลดลงอย่าง รวดเร็ว เห็นได้จากการที่รถเก็บขยะของเทศบาลที่ต้องเข้ามาเก็บขยะเป็นประจำทุกวัน ลดลงเหลือเพียงสัปดาห์ละ 1 วันเท่านั้น และยังเกิดรายได้ เสริมให้กับคนในชุมชนในการนำขยะไปขายอีกด้วย ในส่วนของเทศบาลนัน้ พอถึงปี พ.ศ. 2543 ปรากฏว่าปริมาณขยะมูลฝอยในเทศบาลนครพิษณุโลกลดลงเหลือเพียง 72 ตัน/วัน หรือลดลง ถึงร้อยละ 50 “นี่คือผลสำเร็จ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น โดยเทศบาลเป็นผู้ให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติ” เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก กล่าวด้วยความภาคภูมใิ จ
คุณค่า...ที่ได้มาจาก ‘ขยะ’
กระดาษ
โลหะ
พลาสติก
แก้ว
ในปี พ.ศ. 2550 ชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 ได้รับคัดเลือกเป็นชุมชนธนาคารขยะ
ปี พ.ศ. 2552 ได้รับโล่ชุมชนปลอดขยะจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และปี พ.ศ. 2553 ได้ รั บ รางวั ล ชมเชย และโล่ ร างวั ล ประกาศเกี ย รติ คุ ณ ชุ ม ชนปลอดขยะ Zero Waste
ระดับประเทศ จากโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste Management) ของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากตัวอย่างของชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 อาจกล่าวได้ว่าคุณค่าของการคัดแยกขยะ มูลฝอยในชุมชนได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ทั้งด้านกายภาพที่สะอาดสวยงาม ด้าน เศรษฐกิจเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายจากการนำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ ด้านสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกันคิดและแก้ไขปัญหาขยะ สามารถต่อยอดไปสู่การ แก้ไขปัญหาด้านอื่น ๆ ของชุมชนได้ ด้านอนามัยสามารถลดแหล่งที่อยู่อาศัยของพาหะนำโรค ต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย ส่วนในด้านจิตใจจากการที่ทำงานร่วมกันทำให้ชาวชุมชนเกิด ความสัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักและสามัคคีต่อกัน ส่งผลให้ชาวชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข นับเป็นคุณค่าจากสิ่งไร้ค่าที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย
ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำระดับสูงของนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว เดินทางมาเยี่ยมชมธนาคารขยะที่ชุมชน
บรมไตรโลกนารถ 21 เพื่อนำแนวคิดไปเปิดธนาคารขยะในนครเวียงจันทน์ และได้เชิญอาจารย์เชาวรัตน์ไปเป็นวิทยากร คณะผู้บริหารของเวียงจันทน์ สปป.ลาว ได้มอบไส้เดือนแดงที่นำเข้ามาจากอินเดียให้จำนวนหนึ่ง ทางชุมชนจึงได้เริ่ม การเพาะเลี้ยงไส้เดือนแดง และใช้เป็นตัวเร่งสลายขยะชีวภาพและทำปุ๋ยหมัก ซึ่งได้ผลอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำลาย
สิ่งแวดล้อม อาจารย์เชาวรัตน์เล่าให้ฟังว่า “เวลามีขยะประเภทพืชผัก ผลไม้ โดยปกติกว่าจะย่อยสลายต้องใช้ เวลาหลายวัน และจะมีกลิ่นบูดเหม็นเปรี้ยว เดิมทีเดียวถ้าจะทำปุ๋ยหมักชีวภาพก็ต้องใช้สารอีเอ็ม ใช้กาก น้ำตาล แต่เมื่อเราใส่ไส้เดือนลงไปในอัตรา 100 ตัวต่อเศษพืช 50 กิโลกรัม ไส้เดือนตัวหนึ่งใช้เวลากินอาหารแล้วก็ขยายพันธุ์ ภายในเวลา 48 ถึง 96 ชั่วโมง แล้วแต่ลักษณะของขยะ ซึ่งตอนนี้จุดประสงค์ใหญ่ ๆ ของการเพาะขยายพันธุ์ไส้เดือนของชุมชน
ก็คือ เป็นศูนย์สาธิตในการใช้ไส้เดือนแดงกำจัดขยะมูลฝอย แล้วก็จะมีหน่วยงานต่าง ๆ มาดูงาน” ข้อมูลอ้างอิง : กรมควบคุมมลพิษ http://www.pcd.go.th/info_serv/pol_suc_waste.html, สันนิบาต จังหวัดพิษณุโลก http://www.phsml.com/news.php?new_id=5&ass_id=1, เว็บไซต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดลินิวส์
ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553
25
1 ะกาศผล ปร
การแข่งขันเต้นแอโรบิก
“รักษ์สุขภาพ รักษ์ชุมชน”
ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เครือไทยออยล์ ร่วมกับ TCP จัดกิจกรรมแข่งขันแอโรบิก “รักษ์สขุ ภาพ รักษ์ชมุ ชน” ขึน้ เพือ่ สนับสนุนให้ชมุ ชนรวมถึงหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้ออกกำลังกาย และใช้ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนเป็นเวทีแสดงความสามารถของแต่ละทีม โดยมีคุณพีรสุต ศรีธวัช ณ อยุธยา ผู้จัดการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) เป็นประธาน กล่าวเปิดการแข่งขัน การแข่งขันครัง้ นี้ มีทมี เข้าร่วมทัง้ หมด 7 ทีม ได้แก่ ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ชุมชนตลาดอ่าวอุดม ชุมชนบ้านทุง่ ชุมชนบ้านแหลมฉบัง ชุมชนวัดมโนรม ชุมชนชากยายจีน และโรงพยาบาลอ่าวอุดม โดยมีทีมจากเครือไทยออยล์ TCP และทีมนิสิตพยาบาลจาก มหาวิทยาลัยบูรพาร่วมแสดงเพื่อสร้างความบันเทิงในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย
2 สรุปผลการแข่งขัน
3
1
รางวั ล ชนะเลิ ศ ได้แก่ ทีม Infinity ชุมชนวัดมโนรม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
ได้แก่ ทีม Happy ชุมชนบ้านแหลมฉบัง 2
รางวัลชมเชย
ได้แก่ ทีม Smile Heart ชุมชนบ้านอ่าวอุดม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
ได้แก่3 ทีมชากยายจีน ชุมชนบ้านชากยายจีน 3 2
รางวัลปลอบใจ มี 3 ทีม
ได้แก่ ชุม1ชนบ้านทุ่ง ชุมชนตลาดอ่าวอุดม และโรงพยาบาลอ่าวอุดม
รางวัลกองเชียร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ชุมชนบ้า1นอ่าวอุดม
รางวัลกองเชียร์เฮฮา
ได้แก่ ชุมชนตลาดอ่าวอุดม
สนใจร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เลขที่ 163/84 หมู่ที่ 7 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ 0-3835-5028-31