CSR Thaioil ชุมชนของเรา 5

Page 1


บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่าน ทุก ๆ คน ให้มีความสำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่ปรารถนา ความปรารถนาของทุกคน คงไม่แตกต่างกันนัก คือ ต้องการให้ตนเองมีความสุขความเจริญ และให้บ้านเมือง มีความสงบร่มเย็น ในปีใหม่นี้ข้าพเจ้าจึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นคนไทยมีความสุข ถ้วนหน้าด้วยการให้ คือ ให้ความรักความเมตตากัน ให้น้ำใจไมตรีกัน ให้อภัยกัน ให้การสงเคราะห์อนุเคราะห์กัน โดยมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกันด้วยความบริสุทธิ์ใจและจริงใจ ทุกคน ทุกฝ่ายจะได้สามารถร่วมมือ ร่วมความคิดอ่านกัน สร้างสรรค์ความสุข ความเจริญมั่นคง ให้แก่ตน แก่ประเทศชาติ อันเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องการให้สำเร็จผล ได้ดังที่ตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงคุ้มครองรักษาท่านทุกคนให้มีความสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีภัย ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน

พรปีใหม่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสวันขึ้นปีใหม่ประจำปีพุทธศักราช 2554


สวัสดีปีใหม่ครับ เพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่าน เทศกาลปีใหม่และตรุษจีนที่เพิ่งผ่านพ้นไป หลายท่านคงได้มีโอกาสพักผ่อนกับครอบครัวหรือ มิตรสหายกันอย่างมีความสุขเต็มที่ เชื่อว่าทุกคนคงเปี่ยมด้วยพลัง และพร้อมเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปี กระต่ายที่สดใสยิ่งขึ้นนะครับ ตลอดปี 2553 ที่ผ่านมา ผมต้องขอบคุณเพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่าน รวมทั้งเทศบาลนคร แหลมฉบัง โรงพยาบาลอ่าวอุดม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ที่ให้ความร่วมมือ ร่วมใจในทุก ๆ กิจกรรม ทุกโครงการที่เราคิดร่วมกัน เราทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีเปิด

ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน งานถวายเทียนพรรษา งานทอดกฐินสามัคคี การรณรงค์รกั ษาสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ การช่วยกันดูแลความปลอดภัยในชุมชน ยิง่ ไปกว่านัน้ สิง่ สำคัญ ที่สุดคือความเข้าใจและกำลังใจที่ทุกท่านมีให้กับพวกเราเสมอมา ซึ่งทำให้ผมรู้สึกซาบซึ้งและเข้าใจ อย่างถ่องแท้ถึงความหมายของคำว่า “ครอบครัว” ผมขอถือโอกาสใช้พื้นที่จุลสารชุมชนของเราฉบับปีใหม่นี้ มอบของขวัญจากใจเครือไทยออยล์ อันได้แก่ โครงการและกิจกรรมเพื่อประโยชน์สุขและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเพื่อนบ้านไทยออยล์

ทุกท่านที่จะเกิดขึ้นในปี 2554 ซึ่งเป็นปีครบรอบการดำเนินงานปีที่ 50 ของไทยออยล์ ของขวัญชิ้นแรก คือ การสร้างอาคารฉุกเฉินหลังใหม่ มูลค่าประมาณ 50 ล้านบาทให้กับ

โรงพยาบาลอ่าวอุดม ซึ่งนอกจากจะมีห้องฉุกเฉินแล้ว ยังมีห้องผ่าตัดและห้องคลอด เพื่อรองรับงาน บริการประชาชนให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ ของไทยออยล์ ที่จะทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีกับชุมชนอย่างแท้จริง ของขวัญชิ้นที่สอง คือ การมอบเงินกองทุนสนับสนุนโครงการร่วมให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ เชิงรุก ในพื้นที่ชุมชนรอบโรงกลั่นร่วมกับโรงพยาบาลอ่าวอุดม ไม่ว่าจะเป็นงานด้านทันตกรรม

งานเวชศาสตร์ชุมชน หลังจากการจัดทำประชาคมร่วมกับชุมชนรอบโรงกลั่นและการสำรวจข้อมูล เพื่อจัดทำแผนที่สุขภาพแล้ว จะได้มีการต่อยอดโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างถูกทางและยั่งยืน ต่อไป ของขวัญชิ้นที่สามเป็นโครงการจัดการด้านขยะในชุมชน ในปีนี้เราจะช่วยกันสร้างมูลค่าให้ขยะ ด้วยการรณรงค์แยกขยะอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมถึงการทำก๊าซชีวมวลจากขยะเศษอาหาร ที่จะ เริ่มโครงการที่โรงพยาบาลอ่าวอุดม และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โครงการ เหล่านี้นอกจากจะทำให้มีเงินทุนเหลือเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนของเราแล้วยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อม

ที่ดีและสวยงามน่าอยู่ในชุมชนของเราด้วยนะครับ นอกจากนั้น ในปีนี้เราได้เปิดพื้นที่จุลสารชุมชนของเรา ให้ผู้สนใจส่งงานเขียน เรื่องราวความ ประทับใจในชุมชนของเรา มาได้ที่กองบรรรณาธิการตามที่อยู่ด้านล่าง หากผลงานของท่านใด

ได้รับการตีพิมพ์ในจุลสารชุมชนของเรา ทางกองบรรณาธิการมีรางวัลมอบให้ สุดท้ายคงไม่สายเกินไปนะครับ ที่จะกล่าวคำอวยพร

ปีใหม่กับทุกท่าน ในนามพนักงานเครือไทยออยล์ ผมขอ อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายใน สากลโลก จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความ เจริญ มีสุขภาพพลานามัยแข็ง แรง คิด หวัง สิ่งใดได้ตาม ปรารถนาทุกประการครับ สุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

จุลสารชุมชนของเรา

เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จัดทำโดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร สำนักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยคี่ อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร 0-2299-0024 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3840-8500, 0-3835-9000 โทรสาร 0-3835-1554, 0-3835-1444 แผนกบริหารงานชุมชน 08-1835-2524, 08-9092-5089

สารบัญ ทักทาย

1

เรื่องจากปก

2

ตามรอยพ่อ

4

รอบรั้วไทยออยล์

6

จิตอาสา

8

เคล็ดลับสุขภาพ

10

ก้าวทันโลก

11

ปลอดภัยใกล้ตัว

12

ลับสมองลองเล่นเกม

13

พี่เก่าเล่าเรื่อง

14

ปราชญ์ชุมชน

16

กระบอกเสียงชุมชน

18

ของดีบ้านเรา

20

ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

22

เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

24


เรื่องจากปก

โดย กองบรรณาธิการ

ไทยออยล์สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนด้วย

เวชศาสตร์ชุมชน

ท่ามกลางความเจริญทางเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ ทำให้สภาพสังคมถ้อยทีถ้อยอาศัยแบบเดิมเปลี่ยนแปลง กลายเป็น สังคมที่เร่งรีบ แย่งกันทำมาหากิน เพื่อตอบสนองความต้องการทางวัตถุจนเกินความพอดีและพอเพียง ความเอื้ออาทรต่อกัน ลดน้อยลง ผู้คนต่างคนต่างอยู่ ขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตน นำไปสู่ปัญหาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ก่อเกิด ความเครียดสะสม ต้นเหตุของโรคร้ายที่คุกคามสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โดยไม่ทันรู้ตัว ‘ป้องกัน’ ดีกว่า ‘แก้ไข’ คนในชุมชนมีสขุ ภาพแข็งแรง คือ เป้าหมายหลักของศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน นอกเหนือจากงานบริการด้านทันตกรรมในกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนรอบโรงกลั่นฯ ศูนย์สุขภาพฯ ยังมุ่งสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกของคนในชุมชน ที่เน้นการดูแลป้องกันตนเอง

ไม่ให้เป็นโรค มากกว่าการเยียวยารักษา ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ โดยให้ชุมชนมี

ส่วนร่วมในการวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพ และช่วยกันคิดหาวิธีการป้องกัน

ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญจากโรงพยาบาลอ่าวอุดม ตามแนวทางของ

เวชศาสตร์ชมุ ชน สำรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 จนถึงเดือนมกราคม 2554 ที่ผ่านมา บ้านทุกหลังในชุมชนบ้านอ่าวอุดมและชุมชน ตลาดอ่าวอุดม คงได้มีโอกาสต้อนรับนักศึกษาพยาบาล จากมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมาชิก ในแต่ละครอบครัวทั้งข้อมูลด้านสุขภาพ อาทิ จำนวนสมาชิกและสุขภาพของคนในครอบครัว มีใครป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง ข้อมูลสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ อาชีพ รวมถึงสุขอนามัย ของแต่ ข้อจมูกรรม ลเหล่านี้ ศูนย์สุขภาพฯ จะได้นำมาจัดทำแผนที่สุขภาพของ นานาทัลศะครอบครั นะของผู้รว่วมกิ ชุมชน ที่เปรียบเสมือนคลังบรรจุข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนทุกคนในชุมชน ซึ่งถือ

ได้ว่าเป็นหัวใจหลักของงานเวชศาสตร์ชุมชน ที่แต่เดิมยังไม่เคยมีการสำรวจข้อมูลเช่นนี้

ในพื้นที่ชุมชนของเรามาก่อน ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสำรวจนั้น จะทำให้เราและโรงพยาบาลอ่าวอุดมสามารถวิเคราะห์ ปัญหาสุขภาพของชุมชนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จัดลำดับความสำคัญของปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ประจำตัว ปัญหาสุขอนามัย และสภาพแวดล้อมในชุมชน เพื่อนำไปสู่การป้องกันได้อย่างถูกจุด มี

ประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลอ่าวอุดมเป็นผู้ให้คำปรึกษา และเจ้าหน้าที่

ฝ่ายส่งเสริมป้องกันควบคุมโรคติดต่อเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นแกนหลักในการประสานกับชุมชน พลังชุมชนร่วมสร้างสุขภาพ การเสริมสร้างสุขภาพในชุมชนไม่อาจสำเร็จลงได้ด้วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยลำพัง ด้วยตระหนักถึง ความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ ศูนย์สุขภาพฯ จึงได้จัดประชุม ประชาคมร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั้ง 7 ชุมชนรอบโรงกลั่น ผู้แทนจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สาธารณสุขเทศบาล เพื่อช่วยกันคิดวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งได้จัดลำดับ

ความสำคัญของปัญหาสุขภาพในชุมชนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุม่ โรคไม่ตดิ ต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ กลุม่ โรคติดต่อ เช่น

โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ และกลุม่ ผูข้ าดโอกาสทางสังคม เช่น ผู้พิการ ผู้ติดยาเสพติด ผู้สูงอายุ เป็นต้น

ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553


เรื่องจากปก คัดกรองโรคที่มีความเสี่ยง จากข้อมูลการประชุมประชาคมทำให้เรารู้ว่า กลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเป็นปัญหาสำคัญในชุมชนของเรา ศูนย์สุขภาพฯ จึงได้จัดกิจกรรมคัดกรองคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ อันได้แก่ เบาหวาน ความดั น โลหิ ต สู ง โลหิ ต จาง และทดสอบสมรรถภาพร่ า งกาย โดยเริ่ ม จากกลุ่ ม ที่ ม าร่ ว มกิ จ กรรม

เต้นแอโรบิกที่ศูนย์สุขภาพฯ กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงนั้นแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นโรค กลุ่มปกติ และ กลุ่มเสี่ยง (มีแนวโน้มว่า จะเป็นโรคได้) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ด้วยกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกอาหาร และการ

ออกกำลังกายตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงของคนในกลุ่มนี้ให้ลงมาอยู่ในระดับปกติ เปลี่ยนนิสัย ใส่ใจสุขภาพ เป้าหมายประการหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของชุมชน คือ การปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัย ความเคยชินของกลุ่มเสี่ยง ตัวอย่างเช่น นาย ก. ชอบกินข้าวขาหมู

มัน ๆ อาทิตย์ละ 3 วัน เปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นกินสลัดผักแทน นางสาว น. ชอบนอนดึก-ตืน่ สาย เปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นเข้านอนเร็ว-ตื่นเช้า หรือเด็กชาย ป. ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ทุกเย็น เปลี่ยน พฤติกรรมมาเตะฟุตบอลกับเพื่อน ๆ แทน โดยเชื่อว่าเมื่อกลุ่มเสี่ยงยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงแม้ว่าจะทำได้ ยาก แต่เป็นหนทางที่ช่วยให้ปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลดลงได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้อง อาศัยบุคคลใกล้ชิดจากครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน และในชุมชนช่วยดูแลและให้กำลังใจ กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแข็งแรง บริเวณลานด้านหน้าศูนย์สุขภาพฯ ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย อาทิ เต้นแอโรบิก เต้นฮูลา่ ฮูป รำกระบอง รำวงพืน้ บ้าน ฯลฯ รวมถึงการติดตัง้ เครือ่ งเล่น เสริมพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กและสถานีออกกำลังกายที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้คนในชุมชนได้มี พื้ น ที่ ใ นการพบปะสั ง สรรค์ ออกกำลั ง กายร่ ว มกั น เพื่ อ ให้ ร่ า งกายแข็ ง แรง จิ ต ใจเบิ ก บาน ลด ความเครียดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน ในอนาคต ศูนย์สุขภาพฯ จะได้จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เช่น อบรมแกนนำสุขภาพ คลินิก ปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มเสี่ยงที่พบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค โครงการประกวด

ทันตอนามัยโรงเรียน เป็นต้น กองกำลังเสริม นอกจาก กำลังคน จากทุกภาคส่วนในชุมชน ที่เป็นพลังสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพของชุมชนแล้ว เครือไทยออยล์ยังได้มอบกองทุนสนับสนุน โครงการร่วมให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อชุมชนรอบเครือ

ไทยออยล์ เพื่อให้งานส่งเสริมสุขภาพชุมชนเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานของโครงการดังกล่าว ครอบคลุมถึงงานบริการด้านทันตกรรมที่ศูนย์สุขภาพฯ รวมถึงงานด้านเวชศาสตร์ชุมชนอื่น ๆ อาทิ การทำแผนที่ สุขภาพ กิจกรรมตรวจสมรรถภาพและคัดกรองความเสี่ยง เป็นต้น สำหรับในปี 2554 นี้ ศูนย์สุขภาพฯ จะได้สานต่องานสำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อจัดทำแผนที่สุขภาพอีก

5 ชุมชนที่เหลือ พร้อมกับการจัดอบรมแกนนำสุขภาพในเรื่องของการดูแลสุขภาพพื้นฐาน และการดูแล ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่พบในครอบครัว รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และดูแลซึ่งกันและกันในชุมชนทั้งผู้นำและสมาชิกทุกคนในชุมชน เพราะ ตราบใดที่สุขภาพของคนในชุมชนแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตราบนั้นชุมชนย่อมแข็งแกร่ง พร้อมเผชิญหน้ากับทุกปัญหา สามารถพึ่งพาตนเอง และดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขตามแนว

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างแท้จริง ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553


ตามรอยพ่อ

โดย ลูกคนเล็ก

หลักการทรงงานของ

นั บ เป็ น โอกาสดี ข องการเริ่ ม ต้ น ปี ใ หม่ ด้ ว ยการ น้ อ มนำหลั ก การทรงงานของพระบาทสมเด็ จ

พระเจ้ า อยู่ หั ว มาเป็ น หลั ก ชั ย ในการดำเนิ น ชี วิ ต ซึ่ ง

เราทุกคนสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการทำงาน

ให้ ป ระสบความสำเร็ จ เกิ ด ประโยชน์ แ ก่ ต นเองและ

ส่วนรวม โดยพระองค์ทรงมีหลักการทรงงาน ดังเช่น

พระมหากษัตริยน์ กั พัฒนา ผูท้ หี่ วั ใจมีแต่คำว่า “ประชาชน”

• ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ กว่าที่พระองค์จะทรงพระราชทาน โครงการใดนั้น จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น เอกสาร แผนที่ สอบถามเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้ข้อมูลที่

ถูกต้อง เพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตรงตาม ความต้องการของประชาชน

• ทำตามลำดับขัน ้ และค่อยเป็นค่อยไป การทำงานโดยคำนึงถึงปัจจัย และเงื่อนไขเวลา ด้วยความพอดี สมดุล รอบคอบ สอดคล้องกับลักษณะของงาน

และองค์กร จะทำให้ได้งานที่มีคุณภาพมากกว่าการเร่งรัดและไม่มีการวางแผน

ดังพระราชดำรัสที่ว่า “…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้าง

พืน้ ฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบือ้ งต้นก่อน ใช้วธิ กี าร และอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอ สมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่ สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ ประการเดี ย ว โดยไม่ ใ ห้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารสั ม พั น ธ์ กั บ ภาวะของประเทศและของ ประชาชนโดยสอดคล้อง ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็น ความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังที่อารยประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรงในเวลานี้…”

• แก้ปัญหาที่จุดเล็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมองปัญหาในภาพ รวมก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็ก ๆ คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าที่คนมักจะมองข้าม ดังพระราชดำรัสที่ว่า “…ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก เป็นอย่างนั้น ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน มันไม่ได้เป็นการแก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะ ให้อยู่ในสภาพที่คิดได้ แบบภาพรวม (Macro) นี้เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ่อม เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ วิธีทำต้องค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้...”

• ไม่ติดตำรา เราไม่ควรนำทฤษฎีหรือหลักวิชาการของผู้อื่นมาใช้ โดยมิได้ พิจารณาให้ถ่องแท้ด้วยสติปัญญา ว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกับองค์กรหรือสภาพปัญหา ที่แท้จริงหรือไม่ การพัฒนาตามแนวพระราชดำริฯ มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลมและ รอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สภาพของสังคม และจิตวิทยาแห่งชุมชน ไม่ผูกมัด ติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

“…ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก เป็นอย่าง นั้ น ต้ อ งแก้ ไ ขการปวดหั ว นี้ ก่ อ น มั น ไม่ ไ ด้ เป็นการแก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัว ก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้...”


• ทำให้ง่าย ด้วยการรู้จักวางแผน ออกแบบ ค้นหาวิธีการดำเนินงานที่เรียบง่าย ประหยัด และเกิดประโยชน์ หากสามารถผสมผสานแนวคิดและเทคนิควิธีอย่างสมเหตุสมผล ย่อมจะช่วยทำงานได้รวดเร็วขึ้น พระองค์ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนา ให้เป็นไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ที่สำคัญ คือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบ นิเวศโดยรวม • รวมทีจ่ ดุ เดียว ทรงเน้นการทำงานบนพื้นฐานของความสามัคคีและความร่วมมือ ร่วมใจ ด้วยการลดช่องว่างในการทำงาน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริหารงาน จากต่างคน ต่างทำและยึดติดกับการเป็นเจ้าของ มาสู่การทำงานแบบประสานความร่วมมือกัน พร้อม ถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน • “ขาดทุน” คือ “กำไร” การทำงานที่ยึดผลสำเร็จแห่ง “ความคุ้มค่า” มากกว่า “คุ้มทุน” คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลสำเร็จที่เป็นตัวเลข และไม่ตีค่าการทำงาน เพียงแค่ตัวเงินเท่านั้น ดังพระราชดำรัสที่ว่า “...การเสีย คือ การได้ ประเทศก็จะก้าวหน้า และ การที่ ค นอยู่ ดี มี สุ ข นั้ น เป็ น การนั บ ที่ เ ป็ น มู ล ค่ า เงิ น ไม่ ไ ด้ . ..ต่ อ พสกนิ ก รชาวไทย “การให้ ”

“การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร...”

“...ทำงานกั บ ฉั น ฉั น ไม่ มี อ ะไรจะให้ น อ ก จ า ก ก า ร มี ค ว า ม สุ ข ร่ ว ม กั น

ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น...”

• “พอเพี ย ง” และ “พออยู่ พ อกิ น ” การพั ฒ นาเพื่ อ ให้ ป ระชาชน ทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิต เกิดขึ้นจากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียน ประชาชนทุกหมู่เหล่าทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระองค์ทรงทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของ ราษฎรด้วยพระองค์เอง จากนั้นทรงพระราชทานความช่วยเหลือให้มีความอยู่ดีกินดี มีชีวิตอยู่ในขั้น “พออยู่พอกิน” ก่อน แล้วจึงขยับขยายให้มีความก้าวหน้าต่อไป ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ถ้าโครงการดี ในไม่ช้าประชาชนก็ได้กำไร จะได้ผล ราษฎรจะอยู่ดีกินดีขึ้น จะได้ประโยชน์...” • การพึง่ ตนเอง คนเราทุกคนไม่ว่าจะทำสิ่งใด ควรศึกษาหาข้อมูล ขวนขวายใคร่รู้ ด้วยตัวเองก่อน เพื่อให้เข้าใจงานนั้น ๆ หากคิดแต่จะพึ่งพาผู้อื่น ก็จะไม่เกิดการพัฒนาตนเอง พระองค์ทรงพระราชทานแนวทางส่งเสริมการพึ่งตนเองความว่า “…การช่วยเหลือสนับสนุน ประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด เพราะ ผู้ มี อ าชี พ และฐานะเพี ย งพอที่ จ ะพึ่ ง พาตนเองได้ ย่ อ มสามารถสร้ า งความเจริ ญ ในระดั บ สู ง

ขั้นต่อไป…”

“…การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความ พอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด เพราะผู้มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่ จะพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญในระดับสูงขั้นต่อไป…” หัวใจของความสำเร็จจากการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกิดขึ้นได้เพราะพระองค์ ทรงยึดการดำเนินงานตามทางสายกลาง ทรงพิจารณาปัญหาอย่างรอบด้าน โดยหาแนวทางการแก้ไขที่ สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวและภูมิสังคมนั้น ๆ ทรงเน้นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการ แก้ไขและพัฒนา สามารถนำแนวคิดไปปฏิบัติได้จริง โดยเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นพื้นฐานก่อ ให้เกิดการรู้รักสามัคคีในชุมชนและประเทศชาติ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การทำงานอย่างมีความ สุข พระองค์ทรงมีความสุขทุกครั้งที่ได้ช่วยเหลือประชาชน ดังสะท้อนได้จากพระราชดำรัสที่ฝากไว้ว่า “...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น...” (เก็บความจากหนังสือ “หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


รอบรั้วไทยออยล์

โดย หน่วยกลั่นข่าว

ไทยออยล์มอบเงินกองทุนสนับสนุนโครงการร่วมให้บริการ สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีมอบเงินกองทุนสนับสนุนโครงการร่วมให้บริการสร้างเสริม

สุขภาพเชิงรุกเพื่อชุมชนรอบเครือไทยออยล์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

ณ โรงพยาบาลอ่าวอุดม อำเภอศรีราชา โดยมีนายแพทย์ณรงค์ศกั ดิ์ เอกวัฒนกุล

ผูอ้ ำนวยการโรงพยาบาลอ่าวอุดม เป็นผูแ้ ทนรับมอบ ทัง้ นี้ การดำเนินงานของ โครงการดังกล่าวครอบคลุมถึงงานบริการด้านทันตกรรมที่ศูนย์สุขภาพและการ

เรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน และงานด้านเวชศาสตร์ชมุ ชนต่าง ๆ อาทิ การ

ทำแผนทีส่ ขุ ภาพ กิจกรรมตรวจสมรรถภาพและคัดกรองความเสีย่ ง เป็นต้น

ไทยออยล์รว่ มกับเทศบาลและชุมชนร่วมพัฒนาชายหาด เมือ่ วันที่ 28 พฤศจิกายน ทีผ่ า่ นมา ชาวชุมชนบ้านอ่าวอุดมโดยการ สนับสนุนของเครือไทยออยล์และเทศบาลนครแหลมฉบัง ร่วมกันทำความสะอาด ด้วยการเก็บขยะ กำจัดวัชพืช และปรับสภาพภูมทิ ศั น์พนื้ ที่ ณ บริเวณชายหาด สะพานสั้น เพื่อร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชน ในโครงการ

“หาดทรายงามสะพรั่ ง ด้ ว ยพลั ง ชุ ม ชน” โดยมี คุ ณ จิ น ดา ถนอมรอด

นายกเทศบาลนครแหลมฉบัง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี และมีพนี่ อ้ งในชุมชน ร่วมโครงการกว่า 250 คน

ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


รณรงค์ถนนปลอดภัย น้อมเกล้าฯ ถวายพ่อหลวง เครือไทยออยล์รว่ มกับเทศบาลนครแหลมฉบัง สถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง และคณะ กรรมการชุมชนละแวกโรงกลัน่ จัดพิธถี วายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนื่องในวโรกาสวันพ่อแห่งชาติ โดยมีนายภูษิต แจ่มศรี รักษาการปลัดเทศบาลนคร

แหลมฉบังเป็นผูแ้ ทนกล่าวถวายราชสดุดี พร้อมจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ “รณรงค์การใช้ รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย” ด้วยการตีเส้นจราจร แจกเอกสารรณรงค์ตามทางแยกต่าง ๆ ของถนนสายอ่าวอุดมให้แก่ผขู้ บั ขีย่ วดยานทีผ่ า่ นไปมา รวมทัง้ บริเวณด้านหน้าศูนย์สขุ ภาพ และการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชนเมือ่ วันที่ 3 ธันวาคมทีผ่ า่ นมา

เทศกาลอาหารทะเลแหลมฉบัง กินปู ดูนก ตกหมึก เครือไทยออยล์รว่ มสนับสนุนเทศกาลอาหารทะเลแหลมฉบัง กินปู ดูนก

ตกหมึก ครัง้ ที่ 4 ซึง่ จัดขึน้ ระหว่างวันที่ 10-13 ธันวาคม 2553 ณ บริเวณพืน้ ทีว่ า่ ง หน้าโรงเรียนวัดแหลมฉบัง ในงานมีการประกวดธิดาชาวเลแหลมฉบัง การแสดง จากโรงเรียนเทศบาล นักร้องยอดนิยม การละเล่น การจำหน่ายอาหารขึน้ ชือ่ และ ของดีประจำแหลมฉบัง โดยมีชาวชุมชน ในพื้นที่เทศบาลและนักท่องเที่ยวมา

ร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ปล่อยปลาคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เมือ่ วันที่ 19 ธันวาคม 2553 พนักงาน เครือไทยออยล์และชุมชน ได้รว่ มกันจับปลา หลากหลายพันธุ์ รวมทัง้ สัตว์นำ้ อืน่ ๆ เช่น เต่า กุง้ จากบ่อน้ำในบริเวณสถานีจา่ ยน้ำมันไทยออยล์ ศรีราชา ไปปล่อยยังอ่างเก็บน้ำบางพระ ในโครงการ “ปล่อยปลาคืนสูแ่ หล่งน้ำธรรมชาติ” เพือ่ ร่วม อนุรกั ษ์ระบบนิเวศและพันธุส์ ตั ว์นำ้ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


จิตอาสา

โดย กองบรรณาธิการ

จิตอาสา...

บราเติมใจ

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง โดยปัจจุบันใน ประเทศไทยพบมากเป็นอันดับหนึง่ สาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่หากตรวจพบในระยะแรกนั้น สามารถรักษา จนหายขาดได้ ทว่าเป็นที่น่าเสียดาย ที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ละเลย การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทั้งที่การป้องกันที่สำคัญที่สุดของ โรคนี้ คือ การค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 เครือไทยออยล์ร่วมกับ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) และชุมชนรอบโรงกลั่น จัดกิจกรรมในโครงการ “จิตอาสา...บราเติมใจ ให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม” โดยเชิญชวนอาสาสมัครมาร่วมกันเย็บ

เต้าเทียม เพื่อช่วยเพื่อนหญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั่วประเทศ และให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม โดยมีคุณสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ ด้านบริหารองค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็น ประธานเปิดงาน ร่วมกับคุณบุญชัย ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ก่อนวันงานทางโครงการได้มีการเชิญชวนให้ร่วมบริจาคเสื้อชั้นในสตรี ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และยังสามารถ

ใช้งานได้ หรือจะเป็นเสื้อชั้นในสตรีที่ซื้อใหม่ เพื่อรวบรวมมอบให้ “ศูนย์มะเร็งประจำโรงพยาบาลต่างจังหวัด” ที่มี

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวนมากและยังขาดทุนทรัพย์ในการซื้อชุดชั้นในใหม่ โดยได้จัดตั้งกล่องรับบริจาคไว้ที่บริเวณ ลานอเนกประสงค์ ศูนย์สุขภาพฯ ในวันงานเริ่มต้นตั้งแต่เช้าด้วยกิจกรรมเย็บเต้านมเทียม โดยผู้เชี่ยวชาญจากซาบีน่าได้สอนอาสาสมัครพนักงาน เครือไทยออยล์และชาวชุมชนละแวกโรงกลั่นเย็บเต้านมเทียม ซึ่งจะมีการสาธิตอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งทีมพยาบาล จากโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา มาสอนวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จากนั้นช่วงบ่ายเป็นการเสวนาให้ความรู้ “รู้ทัน รู้ไว ห่างไกลมะเร็งเต้านม” โดยคุณหมอจากโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา และแขกรับเชิญพิเศษ คือ คุณ ปารณีหรือคุณบ๊วยที่มาเล่าถึงประสบการณ์การต่อสู้จนเอาชนะจากโรคมะเร็งร้าย ในช่วงรายการเสวนานี้มีผู้ให้ความสนใจเข้ารับฟังพร้อมทั้งซักถามเป็นจำนวนมาก ทำให้ เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม อาทิ ยิ่งมีอายุมากขึ้นยิ่งมีโอกาสเกิดสูงขึ้น มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม การเปลีย่ นแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรม การสูบบุหรี่ เป็นต้น และยังทำให้ได้ความรู้ใหม่ ว่า คุณผู้ชายทั้งหลายก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นเดียวกัน

“รู้ทัน รู้ไว ห่างไกลมะเร็งเต้านม”

ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


คุณวีรภรณ์ เนตรคง ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงรายละเอียด โครงการว่า “โครงการเย็บเต้าเติมใจ สู้ภัยมะเร็งเต้านมที่ซาบีน่าร่วมจัดกับไทยออยล์นี้ เป็นโครงการ ที่ต้องการให้เห็นถึงความสำคัญของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานของเราหรือคนในชุมชนให้ดูแล รักษาตัวเอง จะทำอย่างไรให้ห่างไกลจากมะเร็งเต้านม หรือถ้าเป็นแล้วจะทำอย่างไร เติมเต็ม

กำลังใจให้แก่ผู้ที่กำลังเป็นอยู่ ไม่ให้เขาต้องสู้กับวิกฤติโรคร้ายเพียงลำพัง โครงการจะสอนการดูแล ตัวเองอย่างไรให้หา่ งภัยจากมะเร็งเต้านม หากเป็นแล้วจะรักษาตัวเองอย่างไร หรือคนทีเ่ ป็นแล้วถูก ตัดเต้านมเขาจะรู้สึกอย่างไร เราก็พยายามชวนอาสาสมัครมาเย็บเต้าเทียม เพื่อส่งให้กับคนที่ผ่าตัดมะเร็ง เต้านม วันนี้ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาจัดงานร่วมกันในวันนี้ และต้องขอขอบคุณผู้บริหารของไทยออยล์ พนักงานไทยออยล์ รวมถึงชุมชนด้วยทีม่ าร่วมกัน รูส้ กึ ประทับใจมาก คนมากันเยอะมาก มากันเรือ่ ย ๆ แล้วก็นงั่ เย็บกัน บางคนสูงอายุแล้ว บางคน สายตาไม่ดีก็ช่วยทำอย่างอื่น บางคนเย็บไม่ถนัดอีกคนก็ช่วย ทุกคนช่วยกันดีมาก และถ้ามีโอกาส ทางซาบีน่าก็ขอมาร่วม กิจกรรมดี ๆ แบบนี้อีกนะคะ”

วริษา พรหมพากล นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

“มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้เหมือนได้มาทำบุญให้กับผู้ประสบกับโรคร้าย คือ มะเร็งเต้านม และ ก็ ได้รับความรู้กลับไปเผยแพร่ ให้กับคนอื่นได้ด้วย ตอนแรกก็เย็บไม่ค่อยสวย ส่วนตัวไม่ เคยทำกิจกรรมแบบนี้ หากบริษัท ไทยออยล์จัดกิจกรรมแบบนี้อีก ก็จะมาร่วมอีกค่ะ”

คุณอรัญญานนท์ มีซ้าย ชุมชนบ้านอ่าวอุดม

“ทราบข่าวกิจกรรมนี้จากตอนมาเต้นแอโรบิก ตอนเย็นทางไทยออยล์ประกาศเชิญชวน พี่ เคยเห็นโครงการนี้จากในทีวีรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง และรู้สึกว่าจะเคยมาจัดที่โรบินสัน ศรีราชา แต่ตอนนั้นไม่ ได้ ไปร่วม พอที่ศูนย์ฯ จัดก็เลยอยากมาร่วมทำ พี่มาตั้งแต่สิบโมง เย็บไปได้หลายเต้า คนในชุมชนก็มากันหลายคน พี่ว่าโครงการนี้ดี ได้ช่วยคนอื่น ถ้าทาง ศูนย์จัดกิจกรรมอย่างนี้ ก็ตั้งใจว่าจะมาร่วมอีก”

อีกครั้งหนึ่งที่ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนของเราได้ทำ หน้าที่เป็นศูนย์กลางการรวมตัวกันของชุมชนและเครือไทยออยล์ เพื่อทำกิจกรรมดี ๆ ให้กับสังคมและผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ที่ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกันหรือไม่เคยรู้จักกันมา ก่อน เรายังสามารถส่งผ่านความรักและความห่วงใยไปให้พวกเขาเหล่านั้นมีความหวัง และกำลังใจได้ผ่านทางเต้าเทียมกว่า 400 ชิ้น ที่สำเร็จลงได้ด้วยพลังจิตอาสาของ พวกเราทุกคนนั่นเอง ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


เคล็ดลับสุขภาพ

โดย ปักเป้า

ของขวัญปีใหม่จากตระกูล

ผ่านไปอีกหนึ่งปีกับประสบการณ์ชีวิตที่เพิ่มขึ้น หลายคน เลื อ กใช้ โ อกาสดี ปี ใ หม่ เ ริ่ ม ต้ น ทำสิ่ ง ดี ๆ ให้ กั บ ตั ว เอง ครอบครัว และคนที่รัก “เคล็ดลับสุขภาพ” ฉบับนี้ ขอถือ โอกาสดี ต้ น ปี ส่ ง มอบของขวั ญ ทางความคิ ด ให้ กั บ พี่ น้ อ ง สมาชิกชุมชนทุกท่าน เพื่อนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง และบอกต่อ

ให้กับคนใกล้ชิดด้วยความปรารถนาดีต่อไป อาหาร ในแต่ละวันควรกินอาหารให้ ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่า มิใช่เลือกจากรสชาติของความอร่อย หรือรูปลักษณ์แต่เพียงอย่างเดียว และควรดื่มน้ำ สะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว จะช่วยให้ ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น

อากาศ ลองตื่นเช้าขึ้นอีกสักนิด เพื่อ สู ด อากาศบริ สุ ท ธิ์ เ ก็ บ รั บ ออกซิ เ จนให้ เ ต็ ม ปอด สำหรับใช้ในการเผาผลาญและสร้างพลังงานให้กับ ร่างกาย แสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้าอุดมด้วยวิตามินดี ช่วยบำรุงกระดูกและทำให้ร่างกายอบอุ่น

อย่ า อายทำดี สั ง คมจะดี ขึ้ น

ถ้าเราทุกคนช่วยเหลือกัน รู้จักเอื้ออาทร เผื่อแผ่ และแบ่ ง ปั น แก่ ผู้ ที่ เ ดื อ ดร้ อ นลำบาก ส่ ง ผลให้ ผู้ กระทำหรือผู้ให้นั้นย่อมมีความสุขอย่างลึกซึ้ง

ออกจากตั ว ตน ฝึ ก ละทิ้ ง ความเป็นตัวตน ตัวฉัน ของฉัน ด้วยการยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่นและมองแต่ข้อดีของผู้อื่น จะ ช่วยให้ตัวตนของเราเล็กลง ๆ

อย่ า คอยวาสนา ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่างในชีวิตเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย เพราะมีสิ่ง นี้...สิ่งนี้จึงมี โชควาสนาเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถ กำหนดเองได้ด้วยการลงมือทำ จงเรียนรู้ที่จะช่วย ตัวเองก่อน แล้วสิ่งดี ๆ จะตามมา

อภัย ฝึกยกโทษให้แก่ผู้อื่น ไม่ถือโทษ โกรธเคืองกัน พร้อมทั้งรู้จักอโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่เคย ทำร้ายเรา ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม แม้ช่วง แรกอาจจะทำยากและฝืนใจอยู่บ้าง แต่ถ้าตั้งใจที่ จะทำอย่างต่อเนื่อง ใจของเราจะพบกับความสงบ เย็น ซึ่งเป็นความสุขที่แท้จริง

ออกกำลังกาย หมัน่ ออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง หรือวันเว้นวัน การออกกำลังกายรับแสงแดดในช่วง เช้ารับอรุณ ช่วยให้ร่างกายผลิตสารเอ็นดอร์ฟิน

ซึ่งเป็นสารต่อต้านอาการซึมเศร้า ก่อเกิดเป็นพลัง ของความสุข

อย่าอดนอน การนอนหลับคือ การพักผ่อนที่ดีที่สุด ขณะที่เราหลับ ร่างกายจะ สร้ า งกลไกขึ้ น เพื่ อ ซ่ อ มแซมส่ ว นที่ สึ ก หรอของ ร่างกาย หากเป็นคนนอนหลับยาก ขอแนะนำให้หา สมุดโน้ตมาเขียนบันทึกประจำวัน รับรองว่าเมื่อได้ ระบายออกมาเป็นตัวหนังสือ จะช่วยให้หัวสมอง ปลอดโปร่ง สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น

อุตสาหะ หากเราเติมความบากบั่น พยายาม อดทนต่ อ งานหนั ก งานเบาอย่ า งไม่ อนิจจัง สิ่งใดในโลกล้วนอนิจจัง ทุก อารมณ์ จงถนอมและรักษาระดับ เกียจคร้าน และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคระหว่างทาง อย่างคือ ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน มีการ อารมณ์ให้มั่นคง ฝึกคิดในแง่บวก ปล่อยวาง และ เชื่อเถอะว่า เดินทางถึงเป้าหมายได้อย่างแน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราควรเรียนรู้และฝึกปล่อย วางจากเรื่ อ งเศร้ า หมองทั้ ง ปวง และจงอยู่ กั บ โกรธให้น้อยลง อาจใช้วิธีฝึกหายใจคลายเครียด ด้วยการหายใจเข้าอย่างลึก ๆ ช้า ๆ นับ 1-4 แล้ว โอกาส โอกาสดีอยู่ที่การเริ่มต้นลงมือ ปัจจุบันขณะ กลั้นไว้ แล้วหายใจออกยาว ๆ ช้า ๆ และนับ 1-4 ทำทันที เราสามารถสร้างโอกาสดี ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยเวลาหายใจเข้านั้นท้องต้องพองออกเต็มที่ ขณะ เช่น ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยกันทำอาหาร อริยมรรค หากเราเลือกเดินตาม ที่หายใจออกท้องต้องแฟบลง จะช่วยผ่อนคลายได้ กินเอง ชวนกันเข้าวัดฟังธรรม ไปโบสถ์ หรืออาจใช้ ทางสายกลางอันเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ ซึ่งมี เป็นอย่างดี โอกาสนี้ลด ละ เลิกอบายมุขทุกรูปแบบ ย่อมจะ องค์ 8 ย่อมจะทำให้เรามีศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องกำกับการใช้ชีวิตประจำวัน นำมาซึ่งสุข ทำให้ครอบครัวได้กลับมาใกล้ชิดกันมากขึ้น ภาวะทางกายและจิตที่ดี อ...อึ สร้างนิสัยใหม่ขับถ่ายให้เป็นเวลา ตื่นเช้าขึ้นมาจะก่อนหรือล้างหน้าแปรงฟันก็ได้ ลอง ออม “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท” ดื่มน้ำอุ่น ๆ สัก 1-2 แก้ว พลังอานุภาพของน้ำจะ หากเริ่ ม ต้ น หยอดกระปุ ก ตั้ ง แต่

ช่วยขับดันของเสียออกจากร่างกายได้อย่างสะดวก วันนี้ เมือ่ เกิดสิง่ ทีไ่ ม่คาดคิดขึน้ เมื่อใด เงินทองที่เก็บสำรองไว้ จะช่วยเราได้เป็นอย่างดี

10 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


SEGWAY เสกเวย์ สองล้อติดเท้า เอาใจคนชอบเที่ยว เชือ่ ว่าหลายคนเวลาต้องเดินไปไหนนาน ๆ และไปในทีท่ ไี่ ม่มรี ถหรือรถเข้าไม่ถงึ ทุกคนย่อมต้องเคย จินตนาการถึงการเคลื่อนที่ไปโดยไม่ต้องเดิน บ้างอาจคิดว่าถ้าเหาะหรือบินได้คงดี หรือจะลอยตัว อย่างในการ์ตูนผีน้อยแคสเปอร์ก็ไม่เลว หรือที่ใกล้เคียงความจริงสักหน่อย ก็คืออยากมีรองเท้าที่

ติดเครือ่ งแล้วพาเราไปได้โดยไม่ตอ้ งออกแรงเดิน แล้วในทีส่ ดุ ก็มรี องเท้าสเก็ตหรือสเก็ตบอร์ด ออกมา ให้วัยรุ่นได้ซิ่งไปบนทางเท้ารวดเร็วทันใจและสนุกสนาน แต่รองเท้าติดล้อเหล่านี้ก็ดูอันตราย

เกินกว่าคนทั่วไปที่อายุน้อยกว่า 7 ขวบ และมากกว่าวัยที่เรียกตัวว่าเป็นวัยรุ่น (จะเท่าไหร่นั้นก็ แล้วแต่ค่ะ) และแล้วก็มีนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ นายดีน คาเมน เขามีความฝันเหมือนกัน จึงซุ่มคิดค้นมานานนับ 10 ปี และใช้เงินไปกว่า 4,500 ล้านบาท จนสร้างเครื่องเครื่องหนึ่ง ที่ฝรั่ง แซวกันเองว่าหน้าตาเหมือนเครือ่ งตัดหญ้า แต่นายดีนเรียกมันว่า เสกเวย์ ฮิวแมน ทรานส์พอร์ตเตอร์ (Segway Human Transporter) เขาเชื่อว่านี่คือยานพาหนะเพื่ออนาคต จะทำให้เกิดการปฏิวัติ

ด้านการคมนาคมในเมืองหลวงครั้งใหญ่ ไม่แพ้การมีอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว (ขนาดนั้นเลย จริง

หรือเปล่าก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ) เสกเวย์เป็นการคิดค้นที่ฉลาดสุด ๆ ใช้เทคโนโลยีการตรวจจับแรงโน้มถ่วงของร่างกายคน บังคับ (CG - Center of Gravity) ทุก 1 วินาทีจะมีตัวเซนเซอร์ช่วยตรวจจับถึง 100 ครั้ง และ

ตอบสนองทันทีเมื่อค่า CG เปลี่ยนแปลง หรือตำแหน่งของร่างกายเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เสกเวย์จึง ไม่มเี บรก และคันเร่ง บังคับทิศทางและกำหนดความเร็วด้วยการโน้มตัวถ่ายน้ำหนัก เพียงโน้มตัว ไป ในทิศทางที่ต้องการจะไป เสกเวย์ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางนั้น ถ้าโน้มตัวมากความเร็วก็มาก ถ้า โน้มตัวน้อยความเร็วก็น้อย เมื่อทิ้งน้ำหนักกลับมาตรงกลาง คุณก็จะเบรกภายในตัว นายดีนยังเชื่อมั่นอีกว่า เสกเวย์ของเขาจะกลายเป็น “เท้าวิเศษ” ของคนเราในอนาคต เพราะไม่ว่าจะซอกแซก เข้าตรอก ออกซอย จะเล็ก จะแคบขนาดไหน ก็ไปถึงได้สะดวกสบาย ขณะที่วงการสุขภาพของอเมริการีบออกมาโต้ว่า เสกเวย์อาจทำให้คนเสียสุขภาพ เพราะการเดิน เป็นการเคลื่อนไหวที่มีประโยชน์ ถ้าคนอเมริกันเลิกเดินเสียแล้ว หรือเดินกันน้อยลง จะยิ่งทำให้คน

พากันอ้วน (เท่าที่เป็นอยู่คนอเมริกันก็มีอัตราการเป็นโรคอ้วนสูงมากอยู่แล้ว) อย่างว่าค่ะ เทคโนโลยี มีทั้งคุณและโทษ อยู่ที่คนใช้จะรู้จักนำไปใช้ให้เหมาะสมได้แค่ไหนค่ะ เมืองไทยก็รวดเร็วทันใจค่ะ สองสามปีที่ผ่านมาเสกเวย์เริ่มเข้ามาโฉบเฉี่ยวบนถนนในแถบ กรุงเทพฯ ชั้นใน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีบริษัทเอกชนเปิดทัวร์ที่นำเสกเวย์มาให้บริการ

เที่ยวกรุงโดย Segway สำนักเทศกิจ กรุงเทพฯ นำรถพลังงานไฟฟ้า หรือเสกเวย์ มาให้เจ้าหน้าทีเ่ ทศกิจส่งเสริมการท่องเทีย่ ว ใช้ตรวจตราดูแล รักษาความปลอดภัย และช่วยเหลือ นักท่องเทีย่ ว รวมถึงการให้คำแนะนำเส้นทางท่องเทีย่ ว โดยเน้นการปฏิบัติหน้าที่บริเวณรอบท้องสนามหลวง รอบพระบรมมหาราชวัง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ ท่าพระจันทร์ ท่าช้าง หน้าศาลฎีกา และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระหว่างเวลา 10.00-15.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ซึง่ ได้รบั การตอบรับ จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็น อย่างดี หากสนใจนำเสกเวย์มาพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน ลองติดต่อขอข้อมูลหรือทดลองใช้บริการได้ที่ บริษัท เสกเวย์ ทัวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ชั้น 1 อาคารท่าเรือมหาราช ถ.มหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0 2221 4525 มือถือ 08 5476 7917 โทรสาร 0 2221 4526

อีเมล contact@segwaytourthailand.com เว็บไซต์ www.segwaytourhailand.com อัตราค่าบริการขั้นต่ำ 1, 900 บาท ต่อคน ต่อเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง

ก้าวทันโลก โดย ติมา

ขอบคุณ ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.rmutphysics.com รูปภาพประกอบจาก www.segwaytourthailand.com และ www.segway.co.th

โดยเฉพาะ ส่วนราชการก็ไม่นอ้ ยหน้า สำนักเทศกิจกรุงเทพฯ สัง่ มาตัง้ 5 เครือ่ ง สนนราคาเท่าไรไม่ทราบแน่ชดั แต่เสกเวย์ รุ่นที่ใช้งานได้อเนกประสงค์คันละเกือบสี่แสนเท่านั้นเอง ข้อดีของเสกเวย์ คือ ใช้พลังงานน้อย ไม่ตอ้ งใช้นำ้ มัน แต่ภายในตัวเครื่องจะมีแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถเสียบปลั๊ก

ชาร์จได้ แบตเตอรี่ 1 คู่ชาร์จครั้งหนึ่งวิ่งได้ไกลถึงประมาณ 38 กิโลเมตร ส่วนล้อยางก็สามารถเปลี่ยนได้เหมือนกับ จักรยาน เสกเวย์ออกแบบมาให้คำนึงถึงความปลอดภัย

เป็ น หลั ก จะมี ทั้ ง ระบบการทำงานหลั ก และระบบย่ อ ย

ไม่น้อยกว่า 5 ระบบ ซึ่งจะช่วยกันรักษาสมดุลได้อย่าง

ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้าขี่เสกเวย์แล้วจะไม่มี วันล้มนะคะ ตั้งแต่มีการวางจำหน่ายเสกเวย์มา มีการเรียกคืน มาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกในปี 2546 เรียกคืน 6,000 คัน

หลั ง จากพบว่ า มั น ทำให้ ผู้ ขี่ ร่ ว งลงจากเสกเวย์ ไ ด้ เมื่ อ แบตเตอรี่หมด และครั้งที่สองในปี 2548 เสกเวย์ถูกเรียกคืน ทั้งหมด 23,500 คัน เนื่องจากมีข้อบกพร่องในระบบที่ทำ

ให้ล้อของมันหมุนในทิศทางตรงกันข้าม ส่งผลให้ผู้ขี่ตกจาก เสกเวย์จนได้รับบาดเจ็บ หัวแตก ข้อมือซ้น หรือแม้แต่

ฟันหักได้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาปรับปรุงข้อบกพร่อง ต่าง ๆ ผู้เล่นก็ยังต้องระมัดระวังด้วยนะคะ หรือแม้แต่ การนำเข้ามาใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวก็ต้องพิจารณา

ให้ดี ทั้งความปลอดภัย ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพราะราคาเจ้าเสกเวย์แต่ละเครื่องนั้นไม่ใช่น้อยเลยค่ะ หากคิดอีกครั้ง การเดินแบบเดิม ๆ ก็ประหยัดพลังงาน และยั ง ได้ สุ ข ภาพดี เ ป็ น ของแถมแบบไม่ ต้ อ งจ่ า ยเงิ น

ด้วยนะคะ แต่อย่างไรก็ต้องขอบคุณคนช่างคิด ที่ประดิษฐ์ ความฝันให้เป็นจริงขึ้นมาค่ะ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

11


ปลอดภัยใกล้ตัว

โดย เซฟตี้แมน

ชวนลูกหลาน

ดูทีวีอย่างฉลาด

รู้หรือไม่ นักจิตวิทยา นักวิชาการ แพทย์ ครูอาจารย์ ตลอดจนผู้ที่ทำงานคลุกคลีกับเด็ก ต่างฟันธงเห็นตรงกันว่า โทรทัศน์หรือทีวีมีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก อาจเป็นสาเหตุที่ ทำให้เด็กมีสมาธิสั้น เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ความก้าวร้าวรุนแรง โรคอ้วน และโรคอื่น ๆ เช่น สายตาสั้น นอนไม่หลับ ความเครียด ฯลฯ แม้การดูโทรทัศน์จะเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในครอบครัว แต่ทุกวันนี้หลายบ้านกำลังเลือกใช้จอตู้สี่เหลี่ยมทำหน้าที่ เป็นพี่เลี้ยงของลูกหลาน เพราะคิดว่าโทรทัศน์มีภาพและเสียงเจื้อยแจ้วชวนดึงดูดความสนใจ ช่วยให้เด็กสามารถนั่งนิ่ง ๆ นาน ๆ ดูภาพและฟังเสียงเหล่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงว่า เด็กกำลังซึมซับอะไรบ้างจากโทรทัศน์ เซฟตีแ้ มนอยากเชิญชวนคุณพ่อ คุณแม่ พี่ ป้า น้า อา ทั้งหลายเปิดใจเรียนรู้วิธีการ ง่าย ๆ สร้างความ “ปลอดภัยใกล้ตวั ” ช่วยให้ ลูกหลาน ดูโทรทัศน์อย่างรู้เท่าทัน ดังนี้ครับ เมื่ อ พบว่ า ลู ก หลานของคุ ณ ติ ด

โทรทั ศ น์ หรื อ หมกมุ่ น กั บ การดู โ ทรทั ศ น์ กรุ ณ าอย่ า บ่ น แต่ เ พี ย งอย่ า งเดี ย ว แต่ ค วร เปลี่ยนมาใช้วิธีการพูดคุยกับเด็ก ชี้ชวนให้เห็น ข้ อ เสี ย ของการดู โ ทรทั ศ น์ ม ากเกิ น ไป หรื อ

ร่วมกันสร้างข้อตกลงในการกำหนดระยะเวลา ดูที่เหมาะสม หรือหาทางลดจำนวนวันที่เด็กดู โทรทัศน์ในแต่ละสัปดาห์ให้น้อยลง งดดูโทรทัศน์ในระหว่างรับประทาน อาหาร เพื่อใช้เวลาช่วงนั้นพูดคุยกันถึงเรื่อง ต่าง ๆ เช่น บรรยากาศการเรียนที่โรงเรียน เพือ่ นฝูงของเด็ก ๆ การเดินทาง อาหารการกิน ฯลฯ ช่วยให้เกิดความใกล้ชิดกันในครอบครัว มากขึ้น เปิดโอกาสให้เด็กเลือกดูรายการที่

เขาต้ อ งการดู โดยที่ พ่ อ แม่ ห รื อ ผู้ ป กครอง พิ จ ารณาแล้ ว ว่ า เหมาะสม ควรให้ ดู เ ฉพาะ รายการที่เด็กสนใจ ไม่ใช่เปิดโทรทัศน์ดูไป เรื่อย ๆ อย่างไร้จุดหมาย การดู โ ทรทั ศ น์ มี ผ ลต่ อ ทั ศ นคติ

และการเรียนรู้ เด็กยังไม่สามารถแยกแยะสิ่งดี และไม่ดี ถูกหรือผิดได้เอง พ่อแม่ควรชี้แนะ เด็กขณะที่ดูโทรทัศน์อยู่ด้วยกัน ให้รู้ว่าสิ่งที่

12 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

เห็นไม่ใช่ความจริง เป็นเพียงการแสดง หาก ทำได้ควรหลีกเลี่ยงการดูรายการโทรทัศน์ที่ แสดงออกถึงการใช้ความรุนแรง ทั้งคำพูด การกระทำ หรือภาพต่าง ๆ พ่อแม่ควรสอน เด็กให้เรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีกว่าการ ใช้ความรุนแรง ถ้ามีผู้ใหญ่คอยช่วยชี้นำ จะ ช่วยให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น พ่ อ แม่ ห รื อ ผู้ ป กครองอาจพู ด คุ ย

หรื อ ตั้ ง คำถามชวนให้ เ ด็ ก คิ ด ตาม พร้ อ ม

สอดแทรกแง่คิด คำสอน หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการดูเนื้อหารายการโทรทัศน์ได้ตามความ เหมาะสม ทั้งในขณะดูรายการ หรือแม้แต่ใน ช่ ว งโฆษณาสิ น ค้ า ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ มั ก จะออก อากาศซ้ำ ๆ บางครั้งนำเสนอแอบแฝงอยู่ใน รายการทีเ่ ด็ก ๆ ชอบดู ทำให้เด็กจดจำชือ่ สินค้า และอยากซื้อตามอย่างโฆษณา ซึ่งหลายครั้ง เกินความจำเป็นในชีวิตประจำวัน ชักชวนเด็ก ๆ ทำกิจกรรมที่สนุก และมีประโยชน์ เช่น ออกกำลังกาย อ่าน หนังสือ ทำงานบ้าน ทำความดี ช่วยเหลือ

ผู้อื่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ เที่ยวสวนสัตว์หรือ

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ฯลฯ เพื่ อ ช่ ว ยลดเวลาในการดู โทรทั ศ น์ ใ ห้ น้ อ ยลง และควรฝึ ก ให้ เ ด็ ก จั ด ทำตารางในแต่ละวัน เช่น เวลาใดทำการบ้าน ทบทวนบทเรี ย น ดู โ ทรทั ศ น์ หรื อ เข้ า นอน เป็นต้น พ่ อ แม่ ห รื อ ผู้ ป กครองควรสะท้ อ น

ความคิดเห็นต่อผู้จัดรายการหรือผู้ผลิต เพื่อ ปรับปรุงรายการให้ดียิ่งขึ้น หรือหากมีปัญหา เกีย่ วกับเด็กกับการดูโทรทัศน์ ควรปรึกษาแพทย์ นักจิตวิทยา หรือแลกเปลี่ยนกับผู้ปกครองของ เพื่ อ นลู ก หรื อ ครู อ าจารย์ เพื่ อ หาทางแก้ ไ ข ปัญหาร่วมกัน ช่ ว งเวลาตั้ ง แต่ เ ด็ ก อยู่ ใ นท้ อ งจนถึ ง

6 ขวบ นับเป็นช่วงวัยทองของการพัฒนาการ ทางสมอง จำเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ พ่ อ แม่ ห รื อ

ผู้เลี้ยงดูจะต้องสื่อสารกับเด็ก เพื่อช่วยกระตุ้น ให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวตาม ธรรมชาติ พยายามหลีกเลี่ยงการให้เด็กสนใจ สื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ที่ ไ ม่ มี ชี วิ ต จิ ต ใจ แต่ ค วร เลือกส่งเสริมพัฒนาการด้วยการเล่น การอ่าน หนังสือ การเลือกใช้หนังสือภาพ ตลอดจน การพูดคุยสื่อสารกับเด็กจะดีกว่าครับ

แหล่งข้อมูล เอกสารแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เอกสารเรื่องเด็กกับโทรทัศน์ จัดทำโดย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะ เยาวชน (สสย.) www.childmedia.net, มูลนิธิรักษ์เด็ก www.rakdek.or.th EST

FOR


ของส่วนใหญ่เมือ่ ไม่ใช้แล้วก็กลายเป็นขยะ แต่วนั นีข้ ยะเก่า ๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ใหม่ ๆ น่าใช้และมีประโยชน์ เพือ่ น ๆ คนเก่งลองทายดูวา่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทีด่ นู า่ ใช้นนั้ ลับสมองลองเล่นเกม ทำมาจากวัสดุเหลือใช้ในภาพใด งานนีโ้ ยงเส้นจับคูไ่ ม่ยากเลยค่ะ โดย กองบรรณาธิการ

ถ่ายเอกสารและส่งคำตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจกรรมเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำนักงาน กรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายใน วันที่ 15 มีนาคม 2554 ชื่อ ................................................. นามสกุล .....................................................................ที่อยู่........................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................... เฉลย คุณทราบหรือไม่ว่า... เฉลยเกมฉบับที่แล้ว ขยะที่คุณทิ้ง ใช้เวลาเท่าไร ในการย่อยสลาย ขอแสดงความยินดีกับผู้ตอบคำถามได้ถูกต้อง และโชคดีจากการจับฉลากรายชื่อ ดังนี้ 1. คุณจารุวรรณ์ แถมศิริ 2. คุณเฉลิมพล การะเกตุ 3. คุณฐิติรัตน์ จำนง 4. ด.ช.ธีรวัฒน์ สายคำ 5. คุณพรชัย ขันคำ 80-100 ปี 2-5 เดือน 25-40 ปี 6 เดือน 6. คุณมณฑา เรืองเดช 5 ปี 12 ปี 450 ปี ไม่ย่อยสลาย 7. คุณยอดธง สายคำ 8. คุณวรัมพร ธรณธรรม 9. คุณอนุชิต ประยงค์รัตน์ 10. คุณอุบล ว่องไว ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

13


พี่เก่าเล่าเรื่อง

โดย สมทบ เนตราคม

ชีวิตการทำงานในรั้วไทยออยล์ของ ผมเริม่ ต้นเมือ่ วันที่ 14 กันยายน 2513 ซึง่ เป็นช่วงเริ่มเดินเครื่องโรงกลั่นที่ 2 ตลอด ระยะเวลา 33 ปี นับตัง้ แต่วนั แรกจนกระทัง่ เกษียณอายุ ทำงานวันสุดท้ายในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ผมมีโอกาสได้เก็บเกีย่ ว ประสบการณ์มากมายจากทีแ่ ห่งนี้ มีทงั้ สุข และทุกข์ปะปนกันไปเป็นธรรมดา แต่สงิ่ หนึง่ ทีผ่ มประทับใจจนทุกวันนี้ คือ ความทรงจำ เมื่อครั้งอดีต ที่เคยร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ ฟันฝ่าเหตุการณ์ทไี่ ม่คาดคิดร่วมกับพีน่ อ้ ง ชาวไทยออยล์และชาวชุมชนบ้านอ่าวอุดม จนกระทัง่ ฝันร้ายนัน้ ผ่านพ้นไปได้ดว้ ยดี ก็ ด้วยเพราะความรักสามัคคีกนั ช่วยกันดูแล ระแวดระวังโรงกลัน่ ฯ ซึง่ เปรียบเสมือนเป็น สมบัตขิ องชุมชน นอกจากนี้ กำลังใจสำคัญ ที่ ท ำให้ พี่ น้ อ งที่ อ ยู่ ใ นเหตุ ก ารณ์ ครั้ ง นั้ น มุมานะช่วยเหลือกันอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ก็คือ ผู้บริหาร และฝ่ายจัดการ (พี่เยี่ยม จันทรประสิทธิ)์ คอยอำนวยการอยูอ่ ย่าง ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลา โดยไม่หนี หายไปไหนเลย แต่กลับกอดคอร่วมกัน ฝ่าวิกฤติจนทำให้เรามีวนั นี ้

กลั่นประสบการณ์ สะท้อนผ่านความประทับใจ

“หนึ่งในครอบครัวไทยออยล์”

ตลอดระยะเวลาที่ทำงานในบ้านหลังใหญ่แห่งนี้ ผมยึดหลักในการทำงาน คือ ผมมี แต่ความรัก ความอบอุน่ ความจริงใจ และการให้อภัย ท่ามกลางเพือ่ นร่วมงานทีเ่ ปรียบเสมือน พี่น้อง ผมเป็นคนโชคดีอยู่อย่างที่มีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่คอยให้กำลังใจและให้ความไว้ วางใจ ถึงแม้ว่าเราจะมีความเห็นขัดแย้งกันบ้าง แต่ก็ล้วนเป็นเรื่องของงานทั้งสิ้น แม้จะ เหนื่อยยากอย่างไรก็ไม่มีปัญหา เมื่อใจเราเป็นสุข ก็สู้ได้ทุกอย่าง ผมเชื่อมั่นว่า การปฏิบัติงานนั้นต้องมีอุดมการณ์ มีใจรัก มีความตั้งใจ มีจุดมุ่งหมาย ในการทำงาน โดยยึดนโยบายของบริษัทฯ เป็นหลัก และการปฏิบัติหน้าที่ขอให้มีธรรม ประจำใจ มีความยุติธรรม มีเมตตา เสียสละ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความเห็นใจและ เข้าใจกัน งานทุกอย่างก็จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ดังหลักคิดที่ผมยึดถือในใจเสมอ มาว่า “อย่าทำอะไรให้ตัวเองต่ำลง อย่าทำสิ่งที่ทำให้สังคมเดือดร้อน และต้องกล้าที่จะ ทำความดี” ในการทำงานเพื่อส่วนรวม ผมได้รับความไว้วางใจทั้งจากเพื่อน ๆ พนักงานและ

ผู้บังคับบัญชา ผมทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการสมาคมสโมสรอยู่หลายสมัย ทำหน้าที่

รองประธานสหกรณ์ อ อมทรั พ ย์ อ ยู่ ก็ ห ลายสมั ย ด้ ว ยกั น รวมทั้ ง เคยเป็ น กรรมการ สหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันไทย เป็นคณะกรรมการลูกจ้าง ซึ่ง งานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นงานสังคมของไทยออยล์ทั้งสิ้น อีกความภาคภูมิใจหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตการทำงานก็คือ การก่อเกิด ”ชมรมเพื่อนไทย” ขึ้น ด้วยเพราะความที่เราเห็น เด็กที่ยากไร้ ขาดแคลนอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ไม่มีแม้แต่

คุณสมทบ เนตราคม

14 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


ข้าวกลางวันจะกิน ไม่นับถึงเสื้อผ้าที่ขาดวิ่นและปราศจากรองเท้าจะสวม ใส่ ดวงตาแห้งแล้งและสิ้นหวัง ในขณะที่พวกเรามีกินอย่างสมบูรณ์ เสื้อผ้า ไม่รจู้ ะเลือกชุดไหนใส่ พวกเราจึงมาคิดกันว่าทำอย่างไรหนอ จะรวบรวมผูม้ ี ความคิดแบบเดียวกันนี้ เสียสละเศษเงินคนละเล็กละน้อยจากบุคคลผู้

มีน้ำใจ จึงได้รวมกลุ่มเพื่อขอปวารณาตัวรับใช้ท่านผู้มีจิตศรัทธารับเป็น ภาระแทนท่าน รวบรวมความเมตตาของท่านในรูปของการบริจาคเป็น

ทุนทรัพย์ คนละ 20 บาทต่อเดือน โดยมีวตั ถุประสงค์ของชมรมฯ ดังนีค้ รับ

1. ให้ความอนุเคราะห์เด็กและนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งให้การสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจการเพื่อ

ช่วยเหลือเด็กและนักเรียน โดยมิใช่ธุรกิจการค้าหรือแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กและนักเรียน 2. ให้ความอนุเคราะห์ต่อสถาบันการศึกษาที่ขาดแคลนงบประมาณ สนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินงานกองทุนต่าง ๆ สำหรับ เด็กและนักเรียน เช่น กองทุนอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน ฯลฯ 3. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ให้ความร่วมมือและสนับสนุนองค์กร

ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมอันดีงามของประชาชน 4. ทำนุบำรุงพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ 5. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองใด ๆ พวกเราคิดหวังอยากจัดตั้งชมรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงรวบรวมเงินกันได้ 5 แสนบาท เพื่อขอจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ แต่ก็ พบกับอุปสรรคต่าง ๆ ในการจดทะเบียน เช่น สัญลักษณ์ใกล้เคียงกับมูลนิธิอื่นบ้างละ วัตถุประสงค์การก่อตั้งกว้างไปบ้างละ แต่ครั้น กำลังเตรียมปรับแก้ไขเพื่อยื่นเรื่องจัดตั้งใหม่อีกครั้ง ก็พอดีกับสำนักงานถูกไฟไหม้ กรรมการก็เลยถอดใจ ส่วนเงินที่รวบรวมเก็บได้นั้นก็ มีอยู่มากกว่า 7 แสนบาท ซึ่งมากเกินความจำเป็นสำหรับชมรมฯ จึงได้มีมติให้นำไปบริจาคสร้างอาคารอนุสรณ์ 100 ปีของโรงพยาบาล สมเด็จฯ ณ ศรีราชา เป็นจำนวน 5 แสนบาท ส่วนที่เหลืออยู่อีก 2 แสนกว่าบาทได้นำมาใช้ทำกิจกรรมต่อเนื่องจนกระทั่งทุกวันนี้ เช่น • สร้างบ่อเก็บน้ำฝนจำนวน 2 บ่อ และเลี้ยงอาหารเด็กทั้งโรงเรียนที่โรงเรียนบ้านท่าเสา อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี • บริจาคข้าวสาร, รองเท้า, เสื้อผ้า, หนังสือ และอุปกรณ์การเรียนให้วัดสระแก้ว จ.อ่างทอง • บริจาคเป็นทุนให้แก่เด็กยากจนที่โรงเรียนแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี • บริจาคเป็นกองทุนอาหารกลางวันเด็กยากจนที่โรงเรียนชุมชนวัดเขาดิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี • บริจาคสร้างตึกอุบัติเหตุ 40,000.-บาท แก่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ปัจจุบัน “ชมรมเพื่อนไทย” ยังคงดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ โดยไม่ได้ขอบริจาคเงินเพิ่มเติม แต่ใช้งบประมาณที่มีอยู่ โดยมีผม...นายสมทบ เนตราคม เป็นประธานชมรมครับ

ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

15


ปราชญ์ชุมชน

โดย ตะวันฉาย

สมชาย สมานตระกูล

ครูภูมิปัญญาวิถี ไทย

สมชาย สมานตระกู ล เป็ น ‘ลู ก หลาน’ ของชาวชุ ม ชน แผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวาโดยกำเนิด เกิด เติบโต และใช้ชีวิตแต่ละ ช่วงวัยผูกพันกับวิถีชุมชนเรื่อยมา แม้ว่าบางช่วงจะออกไปศึกษาและ ทำงานนอกชุมชนบ้าง แต่เมื่อมีโอกาสได้กลับเข้ามาทำงานในชุมชน ตนเองในฐานะครู ‘อาจารย์สมชาย’ ก็ไม่ละเลยที่จะทำงานพัฒนา ชุมชนควบคู่กันตลอดมา เพราะได้มองเห็นถึงจุดแข็งของชุมชนอย่าง แจ่มแจ้ง “จริง ๆ แล้วชุมชนมีการพึง่ ตนเองมาตลอด จากกระบวนการคิด ทำ และเรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเอง ผ่ า นกระบวนการคิ ด วิ เ คราะห์ อ ย่ า ง ยาวนาน ถ้าชุมชนเข้มแข็งจะเป็นกำแพงอันหนึ่งที่เกิดเป็นภูมิคุ้มกัน ในท้องถิ่น ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามวิถีไทยที่มีวัฒนธรรมเป็น พื้นฐาน” อาจารย์สมชายได้น้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้ในชุมชน เพราะเห็นว่าเป็นวิถีที่มีความสอดคล้องกับ หลั ก ศาสนาและการดำเนิ น ชี วิ ต ของชาวชุ ม ชน โดยเน้ น การให้ ‘ความรู’้ ซึ่งเป็นการให้ที่ยั่งยืนแก่ชาวชุมชน ประกอบกับเมื่อปี พ.ศ. 2545 อาจารย์สมชายได้รับการคัดเลือกเป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 2 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากกระทรวง ศึกษาธิการ

16 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

งานชุ ม ชนเป็ น เรื่ อ งแรกที่ เราต้ อ งใฝ่ รู้ ใ ฝ่ ท ำ เพราะ ชุมชนเป็นบ้านของเราเอง ถ้ า ให้ ค นอื่ น มาทำคงไม่ ใ ช่ วิถีที่เหมาะสม

“หลังจากนัน้ ก็มคี นมาเรียนรูบ้ อ่ ยครัง้ เลยทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ ในบ้านตัวเอง มีคนมาศึกษาทุกวัน” จากศูนย์เรียนรู้ฐานแรกที่บ้านของ อาจารย์สมชาย เป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมชุมชนขันอาสาที่จะ

ใช้ บ้ า นตนเองเป็ น ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ เ พิ่ ม ขึ้ น อี ก หลายบ้ า น ช่ ว ยกั น ถ่ายทอดภูมิปัญญาอย่างไม่ปิดบัง กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น ในแต่ ล ะเรื่ อ งถึ ง 7 ฐาน และมี ก ารพั ฒ นาเพิ่ ม เติ ม ตลอดเวลา ปัจจุบันอาจารย์สมชายกำลังจัดทำศูนย์เรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก 1 ฐานใน พื้นที่เพียง 1 ไร่ “การเกษตรมีความสำคัญมาก ถึงแม้วนั นีส้ งั คมจะเปลีย่ นแปลง ไปมากแล้วก็ตาม ฐานล่าสุดที่ผมกำลังทำนี้ย่อมาจากเกษตรทฤษฎี ใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีการบริหารพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ 30-30-30-10 ผมนำพื้นที่ 1 ไร่มาใช้ตามแนวพระราชดำริ ตั้งใจ ว่าจะให้เป็นข้อคิดว่าเรามีพื้นที่น้อยเพียง 1 ไร่ก็สามารถทำได้ และ เป็นตัวอย่างให้นำไปขยายหรือย่อเอาเอง โดยทำเป็นนาข้าว 1 งานครึง่ หรือเท่ากับ 150 ตารางวา เป็นน้ำอีกงานครึง่ รวม 3 งาน อีก 1 งาน เป็นพืชผักสวนครัวและที่อยู่อาศัย” นอกเหนื อ จากเรื่ อ งของการให้ ค วามรู้ ใ นรู ป แบบของศู น ย์

การเรียนรู้ อาจารย์สมชายยังทำงานด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญา อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงในท้องถิ่นของตนเอง แต่มีเป้าหมายเพื่อ เพิ่มพูนภูมิปัญญาให้กระจายในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยเห็น


ว่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจะสามารถช่วยให้ชุมชนและประเทศ ชาติเข้มแข็งอย่างยั่งยืน “ภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่งดงามมาก แอบแฝงอยู่ในวัฒนธรรม มากมาย แต่ไม่มีโอกาสถ่ายทอดในท้องถิ่น ผู้นำน่าจะเข้าใจเรื่อง

ภูมิปัญญาว่าจะนำมาใช้ในชุมชนอย่างไร ครูภูมิปัญญามีหน้าที่ต้องถ่ายทอด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัย เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการสั่งสมบ่มเพาะทั้งความคิด ความรู้และ ประสบการณ์” ในชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา อาจารย์สมชายสืบสาน ความรู้ให้แก่เด็กรุ่นลูกหลานในชุมชนด้วย “ใช้วิธีทำให้ดู อยู่ให้เห็น ในชุมชน” ชุมชนแห่งนี้จะไม่มีร้านอาหารจำหน่าย แต่ละบ้านจะทำ อาหารกันเองในครอบครัว “แขกไปใครมาเราก็ยังรับรองด้วยสิ่งเหล่า นี้อยู่ ลูกหลานก็จะเห็นว่าเราเก็บผักเก็บปลามาทำอาหารกินกัน

นาน ๆ ก็ไปห้างไปอะไรบ้าง แต่ชวี ติ ประจำวันต้องเลือกให้เหมาะสม กับวิถีชีวิตของเรา” การทำให้ดู อยู่ให้เห็นนี้ยังสอดคล้องกับปรัชญาการทำงาน ของอาจารย์สมชายที่กล่าวอย่างหนักแน่นว่า “การทำงานอะไรก็แล้ว แต่ ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนคงยากที่จะสำเร็จ ถ้าเราไม่ทำแล้วไปบอก คนอืน่ ทำมันไม่นา่ เชือ่ ถือ พอเอาตำรามาพูดก็เหมือนสอนท่องสูตรคูณ ก็จะไม่สำเร็จ เท่ากับขาดการปฏิบัติและขาดการดำรงชีวิต ถ้าเรา เองเอาหลักการงานต่าง ๆ มาดำรงชีวิตก็จะเห็นเป็นรูปธรรม” ประสบการณ์ ย าวนานของการทำงานเพื่ อ ชุ ม ชนมาอย่ า ง สม่ำเสมอบนฐานความคิดที่ว่า “ถ้ามัวไปร้องขอก็คงไม่ได้ทำสักที” อาจารย์จึงกลั่นออกมาเป็นเงื่อนไข 5 ประการสู่ความสำเร็จในการ ทำงานชุมชน “หนึ่ง ต้องรู้จักตัวเอง ว่ามีองค์ความรู้อะไร มีความสามารถ

อะไร มีอาชีพอะไร ชอบอะไร ต้องค้นหาตัวเราให้ได้ก่อน และมี หลักธรรมหรือคุณธรรมอะไรของชุมชนเราที่มีหรือซ่อนอยู่ สอง ต้องรู้จักท้องถิ่น คือ บ้านที่เราอยู่ ชุมชน แหล่งที่อยู่ วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นขาดแคลนอะไร มีอะไรอยู่แล้ว ท้องถิ่นจะตอบโจทย์ได้ว่าเราจะไปข้างหน้าอย่างไร สาม ต้องรู้จักทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพราะแต่ละท้องถิ่น แตกต่างกัน ทรัพยากรไหนที่เหมาะสม นำมาใช้ได้ตอนไหน ใช้แบบ ไหน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชนอย่างไร แต่ละอย่างมี คุณค่าแตกต่างกัน สี่ ต้องรู้จักการประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นที่เราจะทำ เช่น การ แปรรูปอาหาร การพัฒนาต่าง ๆ แปรรูปในรูปแบบอะไรจึงจะใช้ในท้อง ถิ่นได้ โดยไม่ขัดกับวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ถ้าเราไม่สามารถ ประยุกต์ใช้ จะใช้ทรัพยากรได้น้อย ทำให้เราขาดแคลน เราต้อง ออกแบบเองได้ ห้า ต้องอนุรกั ษ์และสืบสาน เอาเรือ่ งดี ๆ เก็บไว้เป็นตำรับตำรา เก็บไว้เป็นองค์ความรู้ให้ได้ มิฉะนั้นความรู้จะหายไปจากท้องถิ่น จากสังคม และเราจะหาอีกไม่ได้แล้ว หรือจนกว่าจะหาได้ก็อีกนาน เพราะความรู้ต้องมีการปฏิบัติ มีการสั่งสม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็ อยู่ใน 5 หลักนี้ด้วย” ด้ ว ยจิ ต วิ ญ ญาณของความเป็ น ครู ความรู้ ที่ สั่ ง สมจาก ประสบการณ์ ความรัก ความหวงแหนในวัฒนธรรมและวิถีชีวิต

ของชุมชน ทำให้ความเข้มแข็งของอาจารย์สมชาย สมานตระกูล ผู้นำชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา หนองจอก กรุงเทพมหานคร แผ่ขยายสู่ผู้คนรอบข้าง ก่อเกิดแรงบันดาลใจในการดำรงชีวิตแบบ

วิถีไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์แก่ชุมชนของตนเองและชุมชน

อื่น ๆ ในสังคมไทยอันเป็นที่รักของเรา

ขอบคุณ อาจารย์สมชาย สมานตระกูล และชาวชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

17


กระบอกเสียงชุมชน โดย กองบรรณาธิการ

จินดา ถนอมรอด

กับภารกิจการพัฒนา เพื่อชาวแหลมฉบัง

ภายหลั ง ที่ ผ ลการเลื อ กตั้ ง ผู้ ด ำรงตำแหน่ ง นายกเทศมนตรี น ครแหลมฉบั ง ได้ รั บ การประกาศ อย่างเป็นทางการ ทีมงานวารสารชุมชนของเราไม่ รอช้ า ขอโอกาสสั ม ภาษณ์ พู ด คุ ย ถึ ง แนวทางการ บริหารงานของผู้หญิงเก่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยรับบทบาท ในฐานะรองนายกเทศมนตรี ในคราวนี้เธอได้รับความ ไว้วางใจสูงสุดจากพี่น้องชาวแหลมฉบังให้กลับมา ทำงานรับใช้ประชาชนอีกครั้ง จินดา ถนอมรอด ในบทบาทของนายกเทศมนตรีหญิงแห่งนครแหลมฉบัง เริ่มต้นย้อน

ให้เห็นที่มาของแนวนโยบาย ซึ่งเธอเก็บรวบรวมมาจากทุกเสียงสะท้อนของประชาชน ขณะ

ออกเดิ น สำรวจพื้ น ที่ ชุ ม ชน ทั้ ง ในช่ ว งของการหาเสี ย งเลื อ กตั้ ง และในช่ ว งที่ รั บ บทบาท

เป็ น รองนายกฯ จนก่ อ เกิ ด เป็ น 3 นโยบายหลั ก ชู ธ งเพื่ อ การพั ฒ นา คื อ ด้ า นการศึ ก ษา

ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขอนามัยและสาธารณูปโภค “พี่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเป็นลำดับแรก โดยเน้นการให้การศึกษาที่มีมาตรฐาน เพื่อสร้างรากฐานชีวิต ทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังช่วยลดปัญหาทางสังคม พี่วางแผน ไว้ว่าจะเพิ่มหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับหน้าที่และศีลธรรมของเด็กและเยาวชน โดยเริ่มที่โรงเรียน ในสังกัดเทศบาล 3 แห่ง และโรงเรียนในเขตพื้นที่แหลมฉบังอีก 14 แห่ง เพื่อช่วยกันปูพื้นฐาน

ให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน รู้จักหน้าที่ของตัวเอง คนเราถ้ารู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ก็จะทำงาน อย่างมีเป้าหมาย ในเนื้อหาของหลักสูตรท้องถิ่น ยังได้เสริมความรู้เพื่อใช้สำหรับทำมาหากินด้วย เด็กนักเรียนทุกคนต้องทำอาหารพื้นฐานเป็น หุงข้าวเป็น ทำกับข้าว ทำขนมเป็น รู้จักวิธีการ “พี่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ การ แปรรูปอาหาร โดยจัดให้มีครูอาสา ซึ่งเป็นชาวบ้านอาวุโสในท้องถิ่นเป็นผู้สอน เช่น การทำ พั ฒ น า ค น เ ป็ น ล ำ ดั บ แ ร ก แกงส้ม กะปิ น้ำปลา หรืออาหารพื้นถิ่นของคนแหลมฉบัง” โดยเน้ น การให้ ก ารศึ ก ษาที่ มี นายกฯ จินดายังให้ความสำคัญกับปัญหาอาคารสถานที่เรียนไม่เพียงพอกับจำนวน มาตรฐาน เพื่อสร้างรากฐาน นักเรียนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความแออัด เกิดบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งหากมองที่มา ของปัญหานี้จะพบว่า พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเต็มไปด้วยแหล่งงานหลากหลาย ชีวิต ทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิต

ประเภท มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศย้ายเข้ามาอาศัยทำมาหากินเลี้ยงชีพ เด็กส่วนหนึ่งต้องย้าย ทีด่ ขี นึ้ และยังช่วยลดปัญหาทาง มาพร้อมกับพ่อแม่ เมื่อถึงวัยเข้าเรียน ก็อาศัยเรียนในโรงเรียนใกล้ ๆ กับพื้นที่ที่พ่อแม่ทำงาน สังคม”

18 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


เพื่อความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย ทางโรงเรียนของรัฐก็จำเป็น ต้องเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้มีที่เรียนอย่างเท่าเทียมกัน “เทศบาลฯ มีแผนจะจัดสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นในปี 2554 นี้ ส่วนปีต่อไปคาดว่าจะสร้างเพิ่มเป็น 8 ชั้นสำหรับโรงเรียนมัธยมฯ โดยใช้งบหลักจากเทศบาล และยังสานต่อแนวคิดของท่านนายกฯ คนเดิม โดยจัดหารถรับส่งนักเรียนฟรี และเพิ่มจำนวนรถให้เพียงพอ กับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง โดยตั้งงบไว้ว่าจะซื้อรถใหม่เพิ่มอีก 5 คัน เดิมมีอยู่แล้ว 21 คัน

ซึ่งเป็นรถเก่าที่ขอมาจาก ขสมก. นำมาซ่อมใหม่ ใช้ได้สิบปีกว่าแล้ว ต่อไปมีแผนจะซื้อเพิ่มปีละคัน เพื่อเปลี่ยนแทนที่คันเก่า ซึ่งหากฝืนใช้ ต่อไปอาจเกิดอันตรายได้” การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แหลมฉบัง ซึ่งเป็นเขต อุตสาหกรรม และที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกตามโครงการพัฒนาพื้นที่ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกนั้น นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายการทำงาน ของเทศบาลนครแหลมฉบัง ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ซึ่งมีภารกิจหลักในการควบคุมและบังคับใช้แผนพัฒนาเมือง เพื่อให้ เกิดความสมดุลระหว่างอุตสาหกรรมและประชาชนยิ่งนัก นายกฯ จินดามุ่งเน้นการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการให้ ความรู้ และสร้างความเข้าใจกับประชาชน บนพื้นฐานที่ต้องการเห็น อุตสาหกรรมและประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ “เราใช้การบริหาร จัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยการเชิญภาคเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม และประชาชน ร่ ว มมื อ กั น ทำกิ จ กรรมที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ ชุ ม ชน

เพื่อสร้างความคุ้นเคยและความใกล้ชิดระหว่างกัน โดยมีเทศบาลฯ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางเชื่อมร้อยทุกภาคส่วน โครงการที่กำลังจะเริ่ม ในเดือนมกราคมนี้ คือ การพัฒนาถนนหนทางและแนวทางเดินเท้า ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย เน้นการทำงานร่วมกับแต่ละชุมชน ตลอดจนเชิญชวนบุคคลที่ถูกคุมประพฤติที่ต้องการบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือสังคม รวมทั้งขอความร่วมมือจากบริษัทเอกชนในพื้นที่ร่วม สมทบจัดหาอาหารและน้ำดื่มไว้บริการ ตั้งเป้าไว้ว่าในหนึ่งเดือนจะ ทำ 3 ครั้ง หมุนเวียนกันไป และจะประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าหนึ่ง

อาทิตย์ให้ชาวชุมชนทราบ เพื่อเตรียมชวนกันมาร่วมรณรงค์รักษา ความสะอาด ส่วนแผนขั้นต่อไปอาจจะจัดให้มีการประกวดรณรงค์ให้ ชุมชนดูแลหน้าบ้านเรือนและถนนหนทางในชุมชนตนเองให้สะอาด เรียบร้อย มีรางวัลให้เป็นกำลังใจ” ส่วนแนวทางการทำงานด้านสุขอนามัยและสาธารณูปโภค นายกฯ จินดาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องเตรียมการขยายท่อระบายน้ำ

ให้กว้างขึ้น เร่งขุดลอกสิ่งอุดตันในท่อและทางระบายน้ำสาธารณะ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมเมือง พร้อมทั้งดำเนินการตรวจตราและ

ติดตั้งไฟฟ้าให้มีความสว่างอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง การเกิดปัญหาอาชญากรรม ในช่วงท้ายของการสนทนา นายกฯ หญิงคนแกร่งยังได้ฝาก มุมคิดทีน่ า่ สนใจไว้วา่ หากเกิดปัญหาในการทำงานร่วมกัน สิง่ สำคัญ คือ จะต้องหันมาพูดคุยกันด้วยความจริง ใช้เหตุใช้ผลมากกว่าต่าง คนต่ า งคิ ด ต่ า งคนต่ า งทำ การพู ด คุ ย กั น เป็ น ทางออกที่ ดี ที่ สุ ด

ทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีปัญหาไหนที่แก้ไม่ได้ การได้พูดคุยกันจะช่วยจูนความคิดให้สอดคล้องกัน แต่ทุกคนจะ ต้องยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งนั่นเป็นพื้นฐานสำคัญ

ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากใจถึงใจ ผู้นำชุมชน คือ ผู้ที่มีจิตใจอาสาและมีความเสียสละอย่างยิ่ง ใน โอกาสปีใหม่นี้ ขอให้ผู้นำชุมชนมีกำลังใจที่เข้มแข็ง พร้อมยึดมั่น ในอุดมการณ์ สานต่อประโยชน์ส่วนรวม และขอให้ดูแลสุขภาพ ของตัวเองให้เข้มแข็งและแข็งแรง รวมทั้งมีสุขภาพใจที่พร้อม เผชิญกับทุกสิ่ง เมื่อกายพร้อม ใจพร้อม จะทำให้เราสามารถ ช่วยเหลือคนอื่นได้อย่างเต็มที ่ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

19


ของดี บ้านเรา

โดย คนศรี

นกกระเรียนไทย ...แห่งเดียวในประเทศ ียน... เร ะ ร ก ก น ู ด ะ ร พ ง า บ ว ี ย ่ ชวนเท ก ั ร ี ม น ค ง อ ข ๆ ี ด ม ร ร ร ก กิจ

ฉบับต้อนรับการเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ในปีกระต่าย คนศรีขอพาทุกท่านไป เที่ยวชมของดีบ้านเรา นั่นคือ สถานีวิจัยเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ (Bangphra Waterbird Breeding Research Center) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการเพาะขยายพันธุ์ นกกระเรียนไทยที่เคยสูญพันธุ์จากประเทศไทยไปแล้ว สถานีแห่งนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2527 ทำหน้าที่สำคัญ ๆ คือ การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์

ให้มีปริมาณมากขึ้น (โดยเฉพาะนกน้ำ) และเมื่อมีโครงการอนุรักษ์นกกระเรียนในพระบรมราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ ปี 2535 ทางเจ้าหน้าที่ก็เพียรพยายามมาตลอด ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะทำให้นกกระเรียน

จับคู่กันและมีลูกกันได้ คุณทรงกลด ภู่ทอง หัวหน้าสถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระเล่าว่า “การจับคู่ผสมพันธุ์นกกระเรียนเริ่มเมื่ออายุ 2-3 ปีขึ้นไป ปกตินกกระเรียนจะจับคู่อยู่ด้วยกันแบบผัวเดียว เมียเดียว ตลอดชีวิต และมีความผูกพันกับคู่สูงมาก แต่นกกระเรียนเป็นนกที่จับคู่ยากมาก หากนกทั้งสองไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน และจะไม่ ยอมจับคู่จนกว่าจะพบคู่ที่พอใจ หากนกกระเรียนเพศเมียที่คู่เดิมตายไปก็อาจอยู่เพียงลำพังเพราะหาคู่ใหม่ที่พอใจ ไม่ได้” เรือ่ งครอบครัวนีม่ นั บังคับฝืนใจกันไม่ได้จริง ๆ นะคะ คนศรีแนะนำว่าหากพาแฟนไปเทีย่ ว ก็อาจเป็นโอกาสดี

ที่จะบอกความตั้งใจของคุณว่าจะเป็นเช่นนกกระเรียน หรือหากพาครอบครัวไปเที่ยว คุณก็อาจเล่าให้ลกู ฟังได้ ถึง ความตัง้ ใจและความรักทีม่ นั่ คงของพ่อแม่ เรียกว่าเทีย่ วนัดเดียวได้ความสุขสองต่อ คือ ทั้งความสนุกและความ อบอุ่นในความสัมพันธ์ด้วยค่ะ กลับมาเรื่องความพยายามของเหล่าเจ้าหน้าที่กว่า 15 ปี ในที่สุดแม่วาดก็ยอมรับรักพ่ออ่าง (แม่นก

กระเรียนชื่อวาด อายุ 10 ปี และพ่อนกกระเรียนชื่ออ่าง อายุ 13 ปี) ก็ตกลงปลงใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

จนปลายปี 2551 แม่วาดก็ให้กำเนิดลูกนกกระเรียน 2 ตัว ค่ะ ตอนนี้น้องเขาน่าจะโตแล้ว เสียดายค่ะ ที่คน ศรีไม่เจอเจ้าหน้าที่ที่จะถามได้ว่า ลูกแม่วาดทั้งสองนั้นชื่ออะไรและเป็นตัวไหนกันแน่

(ก็หน้าตาเขาคล้ายกันหมดนี่นา) ใครไปเที่ยวแล้วฝากถามมาบอกต่อกันบ้างนะคะ ถ้าใครอยากรู้เรื่องนกกระเรียนอย่างละเอียด ก็คุยกับพี่เจ้าหน้าที่ใจดีได้ค่ะ เช่น

นกกระเรียนรูปร่างคล้ายนกยางกับนกกระสา แล้วมันต่างกันอย่างไร พ่ออ่างกับแม่วาดเขา สร้างรังกันแบบไหน เท่าที่ได้ยินมาพ่อนกกระเรียนเขาช่วยแม่ฟักไข่ด้วยนะ หรือจะรู้ได้ อย่างไรว่านกตัวไหนตัวผู้หรือตัวเมีย ประเด็นนี้คนศรีแอบกระซิบได้ด้วยความรู้ขนาดหาง อึ่งว่า ตัวผู้มักจะมีสีสวยสดกว่าตัวเมียค่ะ ดูรูปนกน้ำที่เป็นคู่สิคะ เดาได้เลยค่ะว่าตัวไหน คือพ่อนก

20 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554


แม้ว่าที่สถานีนี้จะไม่เปิดให้ชมอย่างเป็นทางการ แต่บทบาท หน้าที่ขององค์กรที่นอกจากจะเพาะพันธุ์ นำสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อสร้างสมดุลทางระบบนิเวศ เป็นสถานที่เพื่อการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยด้านสัตว์ป่าต่าง ๆ และยังมีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ ความรูต้ า่ ง ๆ ดังนัน้ เจ้าหน้าทีค่ อ่ นข้างใจดีมาก ติดต่อขอเข้าชมได้ เหตุทไี่ ม่เปิดให้เข้าชมเป็นทางการก็เพราะเขาเกรงว่าจะไปรบกวนนก เวลาขอไปเข้าชมจึงต้องแสดงความตั้งใจที่จะเข้าไปชมอย่างสงบ ไม่ส่งเสียงดัง ซึ่งก็จริงค่ะ ถ้าลองเดินคุยกันเสียงดัง ยังไม่ทันเข้าใกล้กรงนก นกก็บินหนีไปหลบหมด แต่ถ้า ย่องไปเงียบ ๆ เขาจะเดินเล่นอวดโฉมให้เราได้ชมถนัดตาเลยทีเดียว ก็เป็นอีกโอกาสนะคะ ที่พ่อแม่จะได้สอนให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การเที่ยว อย่างสงบ ได้สัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง จากประสบการณ์ของคนศรี เด็ก ๆ เขาจะตื่นเต้นและเรียนรู้ที่จะรับเงี่อนไขนี้ได้ค่ะว่าต้องเดิน เงียบ ๆ เพื่อดูนก แต่ถ้าเด็กเล็กเกินไปก็อาจจะยากโดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะบางช่วงนกอาจไม่สบาย หรือ กำลังเลี้ยงลูกอ่อน กำลังใกล้ผสมพันธุ์ ก็จะขอให้งดเข้าไปชมใกล้ ๆ โดยเฉพาะกรงนกกระเรียนไทยค่ะ เพราะทุกวันนี้สถานะของนกกระเรียนไทย แม้ว่าจะมีอยู่ในอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และออสเตรเลียบ้าง แต่ทั้งหมด ก็ตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ รายงานล่าสุดเมื่อปี 2533 มีการสำรวจจำนวนนกกระเรียนพันธุ์ไทยทั่วโลก พบว่าเหลืออยู่ประมาณ

พันกว่าตัวเท่านั้น เพราะถูกไล่ล่า และสภาพแวดล้อมของแหล่งอาศัยหากินซึ่งต้องเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ถูกทำลายเปลี่ยนสภาพ อย่างรวดเร็ว จึงทำให้นกกระเรียนขาดแหล่งอาหารและแหล่งสร้างรังวางไข่ ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้กว้างขวาง ปัจจุบันทางสถานีฯ

กำลังเพาะพันธุ์เพื่อจัดปล่อยคืนสู่ธรรมชาติด้วย อ้อ ! คนศรีมัวแต่ตื่นเต้นกับนกกระเรียน จนลืมเล่าถึงนกอื่น ๆ ซึ่งสวยงามไม่แพ้กัน อย่างเช่น นกเป็ดเทศ นกกระสา นกยาง ไก่ฟ้าพญาลอ และนกแก้ว ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ สีสวย ๆ ทั้งนั้น ส่วนใครที่เป็นคุณพ่อ คุณแม่ หากพาลูกเที่ยวแล้วอาจกลับมาทำกิจกรรมวาดรูปนกต่อที่บ้านก็ได้นะคะ เพราะ ส่วนใหญ่เด็ก ๆ มักจะประทับใจ เราจึงควรเปิดโอกาสให้เขาได้ถ่ายทอดความประทับใจนี้ เป็นงานสร้างสรรค์ด้วยค่ะ ก่อนกลับอย่าลืมบอกลานกแก้วมาคอว์สีขาวสองตัวที่กรงด้านหน้าด้วยนะคะ สองตัว นี้เขารู้งาน เป็นพนักงานต้อนรับที่ใครมาใกล้ ๆ ไม่ได้ ต้องโผมาเกาะร้องทักทายเสียงดัง เชียวค่ะ

นกกระเรียนในโลกมี 17 ชนิด ในจำนวนนี้มี 7 ชนิดที่หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์ นกกระเรียนที่พบในประเทศไทยมีชื่อสามัญว่า Eastern Sarus Crane จัดเป็นสัตว์ปา่ ชนิดหนึง่ ในจำนวนสัตว์ปา่ สงวน 15 ชนิดของไทย (มีนก 3 ชนิด คือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรนิ ธร นกแต้วแร้ว ท้องดำ และนกกระเรียนไทย) ปัจจุบันมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่า

ที่หายากใกล้สูญพันธุ์ (Endanger Species) ปกติมีอายุยืน 80-90 ปี ตามธรรมชาติ ส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 150 ถึง 160 เซนติเมตร แต่

ที่สถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระมีตัวผู้ที่สูงเกือบ 180 เซนติเมตร

น้ ำ หนั ก ตั ว เฉลี่ ย ประมาณ 6-7 กิ โ ลกรั ม นกกระเรี ย นจั ด เป็ น

นกอพยพขนาดใหญ่ที่สามารถบินข้ามทวีปได้ กินปลาเป็นอาหาร

มีคู่แล้วจะไม่ทิ้งคู่ตลอดชีวิต และจะผสมพันธุ์เฉพาะในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก http://bangphra.srirachaoutlook.com\

การเดินนทนาสงา ยรอบอ่างเก็บน้ำบาังงหพวรัดะช ลบุรี

ตั้งอยู่ที่ถ ระ อำเภอศรีราชา จ าเขียว ตำบลบางพแยกเข้าสู่สวนสัตว์เปิดเข ก่อนถึงทาง ้าชมอย่างเป็นทางการ ไม่เปิดให้เขถามที่ ติดต่อสอบ 1-1234, 0 3832-2481 โทร. 0 383 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

21


ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

โดย หงวน ชวน ชิม

ชวนชิมขนมไทย รักสุขภาพ รักษ์โลก

เนื่ อ งในโอกาสฉบั บ รั บ ปี ใ หม่ จึ ง ขอ อาสาพาผู้อ่านที่น่ารักทุกคนไปเที่ยวร้านขนม ไทย ชิมขนมไทย 9 มงคล (ผ่านตัวอักษรและ รูปภาพ) เป็นของขวัญให้ทุกคนได้รับสิ่งดี ๆ กันนะคะ ขอมอบขนมเสน่ห์จันทร์ให้ทุกท่าน เป็ น ที่ รั ก ของเพื่ อ นร่ ว มงานและคนรอบข้ า ง ขนมทองเอกให้ท่านประสบความสำเร็จเป็น หนึ่ ง ในการงาน ฝอยทองให้ ชี วิ ต ที่ ยื น ยาว ทองหยิ บ ทำอะไรก็ ใ ห้ ไ ด้ ห ยิ บ เงิ น หยิ บ ทอง ทองหยอดก็เช่นกันทำการใดก็ได้กำไรเป็นเงิน เป็นทอง เม็ดขนุนช่วยหนุนเนื่องให้หน้าที่การ งานและชีวิตสูงขึ้น ขนมถ้วยฟูทำให้ทุกท่าน เจริญเฟื่องฟู ฐานะการงานให้มั่นคง ขนมชั้น ให้ได้เพิ่มชั้นเลื่อนตำแหน่งกันถ้วนหน้า และ

เสน่ห์จันทร์

22 ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553

ปิดท้ายด้วยขนมจ่ามงกุฎ เป็นสุดยอดขนมใน สมัยโบราณ ในหลวงจะทรงพระราชทานให้ ข้าราชการที่ได้เลื่อนขั้นหรือตำแหน่ง ขนมไทย 9 มงคลนี้นำมาฝากทุกท่าน จากร้านขึ้นชื่อแถวบางพระ ชื่อร้านข้าวเหนียว ครูอ้อค่ะ ครูอ้อ (ณัฐกานต์ อินทร์สระ) เล่าว่า ชือ่ ร้านไม่ได้ตงั้ เอง แต่เกิดจากการเรียกขานกัน จนติดปาก เดิมทีครูอ้อเป็นครูสอนนาฏศิลป์

ที่โรงเรียนรัตนชัย ตั้งแต่เล็กเคยช่วยคุณแม่ (คุณยายหวล ดิษฐ์ปรีชา) ทำข้าวเหนียวปิ้ง ขายแถวตลาดล่างบางพระ คนเก่าแก่รจู้ กั กันดี พอหน้ามะม่วงก็ทำข้าวเหนียวมะม่วงขายด้วย ต่ อ มาครู อ้ อ จึ ง ยึ ด มาเป็ น อาชี พ เสริ ม ในช่ ว ง

ปิดเทอม ซึง่ ตรงกับฤดูมะม่วงพอดี ด้วยความ

ข้าวตู

ทองเอก

ใส่ใจในการเลือกวัตถุดิบและฝีมือที่พิถีพิถัน จนทำให้อร่อยติดปาก ติดใจ ขายดีจนตัง้ ตัวได้ ครูออ้ เลยเปลีย่ นอาชีพจากครูมาเป็นคนขายขนม ด้วยใจรัก ตัง้ แต่นนั้ จนถึงวันนีก้ ห็ ลายสิบปีแล้ว ทุ ก วั น นี้ ค รู อ้ อ ยั ง คงตั้ ง ใจทำขนม

อร่อย ๆ มาให้ลูกหลานศรีราชาได้อร่อยกัน ถ้วนหน้า ขยับขยายจนมีขนมไทยหลากหลาย ให้เลือกอร่อยเกือบ 100 ชนิด และยังคงลงมือ ทำเอง ดู แ ลเองทุ ก ขั้ น ตอน ถ้ า ใครเคยชิ ม

ข้าวเหนียวครูอ้อ รับรองจะติดใจว่าข้าวเหนียว นุม่ และเก็บไว้ได้มากกว่า 1 วัน โดยไม่แช่เย็น ก็ไม่เสีย ไม่มกี ลิน่ หืน เพราะนอกจากจะพิถพี ถิ นั ในการเลือกและสั่งซื้อข้าวสารเหนียวทุกรอบ ครู อ้ อ ต้ อ งหุ ง ทดสอบก่ อ นว่ า คุ ณ ภาพ


เราควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เขากินขนมไทย ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าขนมกรุบกรอบ ที่โฆษณากันมากนะคะ ได้ตามที่ต้องการจึงสั่งซื้อ และยังมีเคล็ดลับ เรื่องความสะอาดของการคั้นกะทิ ลวกต้ม อุปกรณ์ทุกชนิด ข้าวเหนียวของครูจึงอร่อย จริงและอร่อยนาน จนปัจจุบันได้รับเลือกให้ เป็นเมนูขึ้นเสิร์ฟบนสายการบินชื่อดังด้วย ครู อ้ อ ยั ง เป็ น คนแรก ๆ ที่ พั ฒ นา

ข้าวเหนียวให้มีสีสันหลากหลายจากธรรมชาติ ปัจจุบันมี 7 สี คือ สีขาวดั้งเดิม สีเขียวจาก ใบเตย สีเหลืองจากขมิ้น สีม่วงจากอัญชัน

สีชมพูจากสตรอเบอร์รี สีส้มจากแครอท และ สีน้ำตาลจากกาแฟ รวมทั้งมีหน้าต่าง ๆ ทั้ง สังขยา ปลาแห้ง หน้ากุ้ง หน้ากระฉีก ให้ เลือกจับคู่ความอร่อยได้หลากหลาย แล้วใคร จะไม่ชอบล่ะคะ โดยเฉพาะเด็ก ๆ เราควร สนับสนุนและส่งเสริมให้เขากินขนมไทย ซึ่งมี คุณค่าทางโภชนาการ มากกว่าขนมกรุบกรอบ ที่โฆษณากันมากนะคะ เพราะมีรายงานวิจัย

อยู่บ่อย ๆ เรื่องอันตรายในขนมต่าง ๆ เช่น การสุ่มตรวจขนมประมาณ 700 ตัวอย่าง มี เพี ย ง 10% ผ่ า นเกณฑ์ โ ภชนาการ ขนม ทั้งหมดแบ่งได้ 5 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มลูกอม หมากฝรัง่ เยลลี พบน้ำตาลและสารให้ความหวาน เป็นส่วนผสมจำนวนมาก 2. กลุ่มช็อกโกแลต มีไขมันกับน้ำตาลในปริมาณสูง 3. กลุ่มถั่ว

และเมล็ดพืช มีไขมันและโซเดียมมาก 4. กลุม่ ปลาเส้นปรุงรสต่าง ๆ ปลาอบกรอบ แม้จะมี โปรตี น แต่ มี โ ซเดี ย มสู ง ยิ่ ง ปรุ ง รสเข้ ม ข้ น

ก็ยิ่งมีโซเดียมมากขึ้น 5. กลุ่มมันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบ ข้าวอบกรอบ ข้าวโพดอบกรอบ แป้งทอด จะเต็มไปด้วยโซเดียมและไขมัน นอกจากนี้ ข นมไทย ๆ ยั ง ช่ ว ยรั ก ษ์

สิ่ ง แวดล้ อ มอี ก ด้ ว ย เพราะหากดู ใ ห้ ลึ ก ซึ้ ง ขนมกรุบกรอบทั่วไปซึ่งต้องการให้กรอบนาน จึงต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นซองเฉพาะ มีการ พิ ม พ์ สี สั น เคลื อ บพลาสติ ก อาบมั น ให้ น่ า ดู

ขนม 1 ห่ อ ต้ น ทุ น ค่ า ซองน่ า จะมากกว่ า

ค่าขนมเสียอีก กินซองเดียวไม่อิ่มไม่พอ กิน หลายซองก็ ยิ่ ง ทำร้ า ยทั้ ง สุ ข ภาพคนกิ น และ สุขภาพของโลก เพราะต้นทุนทุกอย่างในการ ผลิ ต นั้ น สู ง มาก แค่ ซ องอย่ า งเดี ย วก็ มี ทั้ ง

เม็ดพลาสติก สี น้ำมัน พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับ เครื่องจักร รวมถึงการขนส่ง แต่หากอุดหนุน ขนมไทยใกล้ บ้ า นนั้ น ย่ อ มดี ก ว่ า เพราะ กระบวนการผลิตใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ แปรรูปมาก ไม่ใช้พลังงานกับสิ่งที่ไม่จำเป็น อย่างบรรจุภัณฑ์ เพราะขนมไทยหน้าตาดูดี

น่ากินอยู่แล้วจริงไหมคะ ร้ า นข้ า วเหนี ย วครู อ้ อ ไม่ ไ ด้ มี เ พี ย ง

ข้าวเหนียวมะม่วงขึ้นชื่อและขนมมงคลเท่านั้น แต่ยังมีขนมไทย ๆ หลากหลายอย่าง ทั้งขนม ไทยธรรมดา ๆ แสนอร่อย ขนมกล้วย ขนมมัน ขนมเผือก ขนมฟักทอง ตะโก้ขนมไทยเก่าแก่ หากินยาก เช่น ขนมเต่า ทีท่ ำจากแป้งข้าวเหนียว ข้างในเป็นไส้ถั่วดำ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวตู ถ้า ถึงหน้ามะม่วงเมื่อไร ก็ยังมีไอศกรีมมะม่วง

น้ำดอกไม้แท้ ที่หอมหวานชื่นใจ ไม่มีนมเนย ชวนเพิ่มไขมันค่ะ ขนมไทยอร่อย ๆ อย่างนี้ต้องช่วยกัน อุ ด หนุ น และพาลู ก หลานไปกิ น จะได้ รู้ จั ก

ขนมไทย ทางเลือกใหม่ ๆ ของความอร่อย อย่างมีคุณค่าของวัยเด็กค่ะ ร้านข้าวเหนียวครูอ้อปัจจุบันมีสองสาขา คือ ที่บางพระ และที่ถนนพระยาสัจจา เมืองใหม่ชลบุรี เปิดทุกวันตั้งแต่ 07:00 - 19:00 น. สอบถามโทร. 0 3834 2303 หรือ 08 1861 8794

ข้าวเหนียวแก้ว ขอขอบคุณ ข้อมูลงานวิจัยจาก รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล หัวหน้าฝ่ายมนุษยโภชนา สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล

จ่ามงกุฎ ชุมชนของเรา เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553

23


W

บ้านถ้ำผึ้ง เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

โดย คำละไม

อีกหนึ่งบทของเส้นทาง

เส้นทางสู่ป่า...แห่งชุมชน

อนุรักษ์ป่า

บ้ า นถ้ ำ ผึ้ ง ตั้ ง อยู่ ห มู่ ที่ 5 ตำบลต้ น ยวน อำเภอพนม จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ชื่อของหมู่บ้านมีที่มาจากถ้ำบนภูเขาซึ่งภายในมีผึ้งอาศัยอยู่เป็น จำนวนมาก พื้นที่ของหมู่บ้านตั้งอยู่ในหุบเขาซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญ และ

มี พื้ น ที่ ป่ า ชุ ม ชนของหมู่ บ้ า นประมาณ 1,636 ไร่ อยู่ ใ นเขตพื้ น ที่ ป่ า สงวน

แห่งชาติปา่ ย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระชุม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพารา สวนกาแฟ และสวนผลไม้ “เดิมทีพื้นที่ป่าบ้านถ้ำผึ้งเป็นเขตสัมปทานทำไม้ ในอดีตปี 2527 มีการ ตัดต้นไม้มากกว่า 5,000 ต้นต่อปี จนน้ำในคลองบางคุยเหือดแห้งไป ชาวบ้านเริ่มต่อสู้เพื่ออนุรักษ์ผืนป่าต้นน้ำ โดยรวมกลุ่มกันออกสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำผุดในป่า จนกระทั่งมีการปิดสัมปทานทุกคนจึงร่วมกันฟื้นฟู สภาพป่า นำกล้าไม้มาปลูกพอเข้าปีที่ 4 ป่าก็ฟื้นตัวอุดมสมบูรณ์มีน้ำออกมาจากร่องหินใต้ภูเขา ระดับน้ำใน คลองบางคุยเพิ่มขึ้น ฤดูแล้งก็ยังมีน้ำให้ใช้” บุญทัน บุญชูดำ ผู้ใหญ่บ้านถ้ำผึ้ง ให้ข้อมูลความเป็นมาของ

ป่าชุมชนที่คืนความอุดมสมบูรณ์แล้วในวันนี้ ความโดดเด่นของการอนุรักษ์ป่าชุมชนของชาวบ้านถ้ำผึ้ง คือ สามารถหยุดยั้งการบุกรุกเพื่อใช้พื้นที่ป่าในเชิงอุตสาหกรรมเกษตร อย่างได้ผล ทั้งที่พื้นที่ป่าชุมชนนั้นตั้งอยู่กลางหมู่บ้านล้อมรอบด้วย พื้นที่ทำกิน สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน ขณะที่ป่าชุมชนอื่น ๆ ในภาคใต้มักไม่รอดพ้นปัญหาการถูกบุกรุกพื้นที่ เพื่อทำเป็นสวนปาล์มและสวนยางพารา ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ทำให้ผืนป่าแห่งนี้ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์และการ ท่องเที่ยว และยังได้รับการคัดเลือกจากโครงการ “คนรักป่า ป่ารักชุมชน” ให้เป็น 1 ใน 4 ของป่าชุมชน ตัวอย่างจากป่าชุมชนทั่วประเทศกว่า 7,000 แห่งอีกด้วย

“...เราสามารถสร้างจิตสำนึกให้ กับชุมชนบ้านถ้ำผึ้งได้ว่า การ อนุรักษ์พื้นที่ป่าไม่ใช่ทำได้เพียง แค่ เ จ้ าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น แต่ ชาวบ้านก็สามารถที่จะอนุรักษ์ ผืนป่าได้เช่นกัน...” ป่า 3 อย่าง ความสำเร็จของการอนุรักษ์ ผู้ใหญ่บ้านบุญทัน บุญชูดำ

24 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

ความสำเร็จของการอนุรักษ์ผืนป่าท่ามกลางชุมชนแห่งนี้ ผู้ใหญ่บ้านถ้ำผึ้งเล่าว่า “ชาวชุมชนบ้านถ้ำผึ้งใช้กระบวนการจัดการป่าอย่างเป็นระบบ มีการคัดเลือกคณะ กรรมการป่าชุมชนขึ้นมาดำเนินการบริหารพื้นที่ป่า โดยแบ่งการใช้ประโยชน์ออกเป็น

3 ส่วน ได้แก่ ป่าต้นน้ำ ป่าธนาคารอาหารชุมชน และป่ N าเพื่อการ ใช้สอย” ป่าต้นน้ำ มีพื้นที่กว่า 311 ไร่ เป็นป่าดิบชื้นบนพื้นที่ราบสลับกับ เนินเขา และเป็นป่าต้นน้ำที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีWต้นไม้ขนาดใหญ่Eเช่น W


ตะเคียนทอง ยาง จำปาป่า ฯลฯ เป็นป่าที่ชุมชนจะช่วยกันอนุรักษ์ไว้ ให้เป็นแหล่งต้นน้ำ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคลองบางคุย และยังเป็นต้น กำเนิดน้ำที่ไหลไปรวมกับแม่น้ำตาปี รวมถึงเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำและ สัตว์ป่าด้วย ป่าธนาคารอาหารชุมชน ประมาณ 224 ไร่นั้น เดิมเป็นป่า เสื่อมโทรม ชุมชนจึงใช้ป่าส่วนนี้เป็นธนาคารอาหารชุมชน มีการปลูก พืชผัก ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร เช่น จำปา ผักเหลียง หน่อไม้ และปลูก ป่าเสริม ปล่อยให้ป่าค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติ ที่สำคัญ ยังได้ ปรับปรุงทัศนียภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนำรายได้มาสู่ชุมชน อาทิ บริเวณบ่อน้ำดันทรายดูด บ่อน้ำผุดขนาดเล็กที่มีความสวยแปลกตาม ธรรมชาติ ป่าเพื่อการใช้สอย ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 1,100 ไร่ เป็นป่า ดั้งเดิมทีN่อยู่กลางหมู่บ้าน มีถนนและพื้นที่ทำกินของราษฎรคั่นอยู่ตรง กลาง ชุมชนสามารถใช้พื้นที่ป่าบริเวณนี้ได้ตามความจำเป็น แต่ต้อง อยู่ ภ ายใต้ ข้ อ บั ง คั บ ของชุ ม ชน เพื่ อ ไม่ เ ป็ น การกระทบหรื อ ทำลาย W ทรัพยากรธรรมชาติEและสิ่งแวดล้อม “ป่ า ชุ ม ชนส่ ว นที่ เ ป็ น ป่ า ต้ น น้ ำ จะห้ า มประชาชนเข้ า มาใช้ ประโยชน์ Wเนื่องจากต้องการให้พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แต่ ชาวบ้านก็สามารถที่จะมาใช้ประโยชน์ในการเก็บผักหรือว่าหน่อไม้ได้ ในส่วนของป่าธนาคารอาหารชุมชน ส่วนกิจกรรมที่ชาวบ้านถ้ำผึ้งร่วมกันทำเพื่อพิทักษ์ผืนป่าก็คือ การจัดชุดออกลาดตระเวนเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อสอดส่องดูแลไม่ให้มี การบุกรุกทำลายป่า รวมถึงมีการปลูกป่าเสริมตามพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ในส่วนของป่าธนาคารอาหารชุมชนด้วย” ผู้ใหญ่บ้านบุญทันกล่าวสรุป ถึงวิธีการอนุรักษ์ผืนป่าของชาวชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง

ป่าและชุมชน...ที่เกื้อกูลกัน

เมื่อทรัพยากรธรรมชาติกลับมาอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีความ

เข้ ม แข็ ง ชาวบ้ า นในชุ ม ชนมี ค วามรั ก สามั ค คี เอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่

มีไมตรีจิตต่อกัน นับเป็นความพร้อมอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรม ทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้ เกิดประโยชน์อีกรูปแบบหนึ่งที่ยั่งยืน เพราะมีการจัดการที่คำนึงถึงการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “กลุม่ ท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์บา้ นถ้ำผึง้ ” มีการจัดรูปแบบการท่องเทีย่ ว ในลักษณะคณะกรรมการกลุ่ม โดยแบ่งเป็นฝ่ายร้านค้าผลิตภัณฑ์ ชุมชน ฝ่ายนำเที่ยว ฝ่ายบ้านพัก ฝ่ายอาหาร และฝ่ายยานพาหนะ

มีสมาชิกครั้งแรก 18 ครัวเรือน

http://www2.suratthani.go.th/km/index-31.htm, http://www.thaipost.net/sunday/241010/29098 http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx...D=9510000107924[/url

“บึงมหัศจรรย์น้ำดันทรายดูด”

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของบ้านถ้ำผึ้ง เป็นบึงน้ำใสท่ามกลาง ธรรมชาติที่ร่มรื่น บึงมีความลึกประมาณ 4 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร ก้นบึงมีแรงดันจากใต้ดินขึ้นมา ทำให้ทรายใต้น้ำถูกดันขึ้นมา ตลอดเวลา หากมีการปรบมือหรือทำให้เกิดการสั่นสะเทือนจะทำให้แรง ดันน้ำเพิ่มมากขึ้น และอีก 2 จุดในบึงเดียวกันจะมีลักษณะเป็นทรายดูด หากเอามือกอบทรายขึ้นมาจะรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช็อต เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กั ล ยานิ วั ฒ นา กรมหลวงนราธิ ว าสราชนคริ น ทร์ เสด็ จ พระดำเนิ น

ทอดพระเนตรแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้มาแล้ว

“ปี 2542 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเริ่มเข้ามา ก็มานั่งคุยกันถึง แนวทางที่เราจะทำได้ ในป่าชุมชนบ้านถ้ำผึ้งมีทั้งป่าต้นน้ำ น้ำตก

บางคุย น้ำผุด ถ้ำน้ำลอด บ่อน้ำดันทรายดูดทีโ่ ดดเด่น ชาวชุมชนจึงเสนอ ให้พัฒนาเป็นชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ก็ตั้งกลุ่มอนุรักษ์และกำหนด ระเบียบเที่ยวบ้านถ้ำผึ้ง ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือรักษาป่า สร้าง ความรู้ให้คนในพื้นที่ นอกจากนี้รายได้จากการท่องเที่ยวยังช่วยดึง

ชาวบ้านเข้ามาดูแลป่าเพิ่มขึ้น” ผู้ใหญ่บ้านบุญทันเล่าถึงอีกหนึ่งกลยุทธ์

ที่ชาวบ้านถ้ำผึ้งนำมาใช้ในการอนุรักษ์ป่า ในปี พ.ศ. 2545 ทางกลุ่มเปิดรับสมัครสมาชิกเพิ่ม มีการบริหาร จัดการกลุ่มโดยให้สมาชิกได้ถือหุ้น และปันผลให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นปี สมาชิกที่เข้ามาช่วยในกิจกรรมการท่องเที่ยวจะได้รับการปันผลในอัตรา ที่มากกว่าสมาชิกที่ถือหุ้น แต่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยว “วันนี้เราสามารถสร้างกระแสให้คนในหมู่บ้านเห็นแล้วว่า การ ช่วยกันจัดการป่าชุมชน ช่วยกันดูแล จะทำให้ป่าของเราคงอยู่ได้ แล้ว เราเองก็จะอยู่ได้ด้วย เพราะมีน้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์” ผู้ใหญ่บ้าน ถ้ำผึ้งกล่าวทิ้งท้ายก่อนจากกัน การเยี่ ย มเยื อ นบ้ า นถ้ ำ ผึ้ ง นี้ แม้ ว่ า จะเป็ น ชุ ม ชนคนรั ก ษ์ ป่ า

ซึ่งแตกต่างจากชุมชนริมทะเลอย่างบ้านเรา แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่ ทำให้เห็นว่าการร่วมแรงร่วมใจกัน พร้อมกับการบริหารจัดการอย่าง เป็นระบบจะช่วยพัฒนาชุมชนจนประสบความสำเร็จได้ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554

25


ี ป ้ ั ง ท า ม ั น ก เหนอื่ ยดว้ pยpy สกั วนั ขอ Ha ออยล์นำโดยคุณสุรงค์ บูลกุล น) (มหาช รือไทย คณะผู้บริหารเค ริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด ษาชุมชน ี่ปรึก ้าที่บ ประธานเจ้าหน ม่ร่วมกับคณะกรรมการและท ศบาล ห เท จัดงานเลี้ยงปีใ บโรงกลั่น พร้อมด้วยผู้แทน ารภูไบ 7 ชุมชนรอ ระสงค์ อาค ป ก เน อ น า ล ณ นครแหลมฉบัง ที่ 14 มกราคม 2554 เมื่อวัน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.