สวัสดีค่ะ เพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่าน
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่ประเทศญี่ปุ่น และประเทศพม่า ความแปรปรวน ของสภาพภูมิอากาศ จนถึงวิกฤตการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศเราเอง อาจส่งสัญญาณอะไรบางอย่างให้รู้ว่าโลกของเรากำลังต้องการการดูแลอย่างจริงจัง ปัญหาโลกร้อนส่งผลกระทบกับทุกชีวิตบนโลกอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง แม้กระทั่งชีวิตสัตว์ ตัวเล็ก ๆ ใต้ทะเลอย่างปะการัง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวขึ้นกับ ปะการังทัว่ โลกรวมทัง้ ประเทศไทยของเรา ด้วยความห่วงใยต่อปัญหาทีเ่ กิดขึน้ เครือไทยออยล์ จึงได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงในชุมชนของเรา ช่วยกันดูแลรักษาแนวปะการังบริเวณ
หมู่เกาะสีชัง เพื่อให้ชุมชนบ้านเราคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลไปตราบนาน เท่านาน เนื่องจากแนวปะการังนั้นมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในท้องทะเลเป็นอย่างสูง และ ยังเป็นที่อนุบาลของสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ชุมชนของเราฉบับต้อนรับฤดูร้อนนี้ เราขออาสาพาเพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่านหลบร้อน ไปเยี่ยมชมสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และพาไปสถานที่ท่องเที่ยวใกล้บ้านที่เต็ม ไปด้วยมนต์เสน่ห์แต่มักถูกมองข้ามอย่างเกาะสีชัง รวมทั้งนานาสาระที่สรรหาฝากทุกท่าน อย่างเช่นเคย อาทิ การเตรียมตัวรับมือกับหน้าร้อน บทสัมภาษณ์อาจารย์ไพบูลย์ กัญญาคำ ประธานชุมชนบ้านเขาน้ำซับ กิจกรรมที่ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เป็นต้น สุดท้าย ต้องขอขอบคุณทุกความเห็น ข้อเสนอแนะ และคำติชมจากทุกท่านที่เสียสละ เวลาตอบแบบสำรวจความพึงพอใจทีม่ ตี อ่ จุลสารชุมชนของเรา และส่งกลับมาทีก่ องบรรณาธิการ เสียงสะท้อนเหล่านี้ล้วนเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราทุกคน มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อชุมชนของเราต่อไปค่ะ อย่าลืมนะคะ ใครมีเรื่องราวความประทับใจในชุมชน อย่าเก็บไว้ คนเดียว ขอเชิญส่งมาร่วมแบ่งปันความประทับใจให้ผู้อ่านท่านอื่น ๆ ได้ที่กองบรรณาธิการ เรามีของที่ระลึกมอบให้ค่ะ พบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ บรรณาธิการ จุลสารชุมชนของเรา
เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จัดทำโดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร สำนักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยคี่ อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร 0-2299-0024 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3840-8500, 0-3835-9000 โทรสาร 0-3835-1554, 0-3835-1444 แผนกบริหารงานชุมชน 08-1835-2524, 08-9092-5089
สารบัญ เรื่องจากปก
1
ตามรอยพ่อ
4
รอบรั้วไทยออยล์
6
บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ 7 CSR Focus
8
เคล็ดลับสุขภาพ
10
ก้าวทันโลก
11
ปลอดภัยใกล้ตัว
12
ลับสมองลองเล่นเกม
13
พี่เก่าเล่าเรื่อง
14
ปราชญ์ชุมชน
16
กระบอกเสียงชุมชน
18
ของดีบ้านเรา
20
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม
22
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน
24
เรื่องจากปก
โดย กองบรรณาธิการ
ไทยออยลห์ ว่ งใย ร่วมดูแลแนวปะการัง
หมู่เกาะสีชัง
แนวปะการังถือเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งของชายฝั่งทะเล เพราะเปรียบเสมือนกำแพงป้องกันการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งจากคลื่นลม เป็ น แหล่ ง ดึ ง ดู ด ให้ สิ่ ง มี ชี วิ ต ต่ า ง ๆ ใช้ เ ป็ น ที่ อ ยู่ อ าศั ย วางไข่ และเลี้ ย งตั ว อ่ อ น แนวปะการังจึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เชื่อหรือไม่ว่าเราสามารถพบพืช และสั ต ว์ ที่ ส ามารถมองเห็ น ด้ ว ยตาเปล่ า มากกว่ า 2,000 ชนิ ด ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น แนวปะการังยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจทั้งต่อภาคอุตสาหกรรมประมงและ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการัง
ฟอกขาวรุนแรงขึน้ ทัว่ โลก เนือ่ งจากน้ำทะเลมีอณุ หภูมสิ งู ขึน้ เกินกว่าทีป่ ะการังจะดำรงชีวติ อยู่ได้ ส่งผลให้แนวปะการังได้รับความเสียหายและมีสภาพเสื่อมโทรมลงมาก ซึ่งหาก ปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต การประกอบอาชีพประมงเพราะจำนวนปลาและ สัตว์น้ำต่าง ๆ ลดน้อยลง การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงความเป็นอยู่ ของคนในพื้นที่ได้ ด้วยความห่วงใยต่อปัญหาและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เครือไทยออยล์
ที่ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ
การดูแลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่เราอาศัยอยู่มานานเกือบครึ่งศตวรรษ
จึ ง ได้ ร่ ว มดู แ ลแนวปะการั ง บริ เ วณหมู่ เ กาะสี ชั ง พร้ อ มด้ ว ยกรมทรั พ ยากรทางทะเล
และชายฝั่ง (ทช.) และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการความร่วมมือในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปะการังและการฟื้นฟูแนวปะการัง นี้ จะดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปะการัง ด้วยวิธีการย้ายปลูกปะการังและการเพิ่ม พื้นที่ลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง รวมถึงการขยายพันธุ์ปะการังด้วยการเพาะขยายพันธุ์ จากเซลล์สืบพันธุ์ของปะการัง ซึ่งยังไม่เคยมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมาก่อนใน ประเทศไทย แต่มีการดำเนินการกันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
เรื่องจากปก
ใ่ ช้วิธีผูกทุ่นแทนการ ทิ้งสมอเรือลงในแนวปะการัง เพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศและ ห่วงโซ่อาหาร และความสมบูรณ์ของ สัตว์น้ำทางทะเล ให้คงอยู่คู่ท้องทะเลไทย ไปตราบนานเท่านาน
วัตถุประสงค์ของโครงการความร่วมมือนี้ นอกจากการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ ปะการังบริเวณหมู่เกาะสีชัง บนพื้นที่ 0.63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 394 ไร่ เพื่อ เพิ่มศักยภาพในการขยายพันธุ์ปะการังและขีดความสามารถในการฟื้นตัวของปะการังตาม ธรรมชาติ และการจัดสร้างแหล่งอนุบาลพันธุ์ปะการังแล้ว ยังมุ่งหวังให้โครงการในพื้นที่นี้ เป็นแหล่งศึกษาดูงาน สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคล ทั่วไป คุณเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวถึง พันธมิตรผู้ร่วมโครงการว่า “ขอขอบคุณบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้เล็งเห็น ความสำคัญโดยให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการนี้อย่างเต็มที่ และขอขอบคุณทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่นำงานวิจัยการขยายพันธุ์ปะการังด้วยการเพาะขยายพันธุ์ จาก เซลล์สืบพันธุ์ของปะการังมาใช้ในโครงการนี้ นอกจากจะทำให้แนวปะการังที่เสื่อมโทรม บริเวณหมู่เกาะสีชังได้รับการฟื้นฟูแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อเรียนรู้ระบบ นิเวศแนวปะการัง และวิธีการฟื้นฟูแนวปะการังให้แก่ นิสิต นักศึกษา นักท่องเที่ยวและผู้ที่ เกี่ยวข้องต่อไป” ทางด้านศาสตราจารย์นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบัน ปะการังที่เพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้มีมากกว่า 10 ชนิด ทั้งปะการังกิ่งและปะการังก้อน ซึ่งวิธีการเพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ มีอัตราการ ปฏิสนธิมากกว่าร้อยละ 95 อัตราการลงเกาะร้อยละ 50-75 และอัตราการรอดภายหลัง การเลี้ยงเป็นเวลา 6 เดือน ร้อยละ 40-50 ที่สำคัญ ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่ง ที่สำคัญของทุกภาคส่วน ที่จะมาร่วมกันเริ่มต้นแก้ไขปัญหาแนวปะการัง” คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการ ครั้งนี้ เปิดเผยว่า “บริษัทฯ เห็นความสำคัญของการ รักษาสภาพแวดล้อมทั้งบนบกรวมถึงสิ่งแวดล้อมใน ทะเล เรามีนโยบายในการดูแลรักษาและเน้นการ ป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลให้ทะเล
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
เรื่องจากปก
ที่อยู่รายรอบโรงกลั่นยังอยู่ในสภาพที่ดี ชาวประมงสามารถหาเลี้ยงชีพได้ ชุมชนอยู่ได้ ไทยออยล์ก็อยู่ได้ ดังนั้นการที่บริษัทฯ สนับสนุนโครงการนี้ถือเป็นการดูแลชุมชนด้วย นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีโครงการนำหอกลั่นขนาดใหญ่ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วไปทำ แนวปะการังโดยมีการประสานกับกองทัพเรือ เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุบาลกล้าปะการังได้ อีกทางหนึ่ง” ในส่วนของพี่น้องชุมชนบ้านอ่าวอุดมที่ยึดอาชีพประมงมานานแต่ครั้งรุ่นปู่ย่า
ตายาย ให้ความเห็นต่อโครงการว่า “การอนุรักษ์แนวปะการัง ถ้าทำได้ก็ดี แต่ขอให้ระบุบริเวณที่วาง ปะการังให้ชัดเจนและเหมาะสม เรือหาปลาจะได้ระวังไม่ ไปวาง อวนในบริเวณนั้น ปกติเรือที่บ้านก็ ไปถึงเกาะสีชัง ไปวางปลา ส่วนถ้าเป็นปูจะวางแถวชายฝั่ง ไม่เกินรัศมีประมาณ 4 กม.” คุณชะเอม ทรงนิสัย “ถ้าทำโครงการแถวชายฝั่งก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าทำข้างนอก กลัวว่าเราจะไป วางอวนโดนได้ ปกติแถวชายฝั่งไม่ค่อยมีปลาอยู่แล้ว เรือวางอวนไม่ ได้ เพราะมีทุ่นเรือ สมอเรือ หากทำโครงการแล้ว ตรงไหนวางอวนได้ก็วาง
วางไม่ ได้เราก็จะไม่วาง โดยมากพี่มักจะออกไปตรงแถวหัวสะพานไทยออยล์ ก็หวังว่าปลาคงจะเยอะขึ้น แต่ช่วงนี้ ไม่ค่อยได้ออกเรือเพราะมีมรสุม” คุณยินดี เรืองดี “ผมอยู่ที่นี่ตั้งแต่เกิด ทำอาชีพประมงมาตลอด ตอนนี้ก็พอจับปู จับปลาได้อยู่
ก็ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ การทำโครงการฟื้ น ฟู แ นวปะการั ง นี้ ค รั บ แต่ ต้ อ งบอกแนวที่ ว าง ปะการังไว้ด้วย” คุณประกอบทรัพย์ เรืองดี พวกเราทุกคนเองก็มีส่วนช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูแนวปะการังได้ ด้วยการไม่ซื้อปะการังมาประดับ บ้านหรือตู้ปลา เวลาไปเที่ยวดำน้ำชมปะการัง ขอให้ดำด้วยความระมัดระวัง อย่าเหยียบย่ำลงบนแนว ปะการัง เพราะปะการังมีความบอบบางมากและใช้เวลาในการฟื้นตัวนาน ช่วยกันไม่ทิ้งขยะลง ชายหาดและในทะเล เพราะปะการังอาจตายได้หากน้ำทะเลสกปรก ไม่ทิ้งสมอเรือลงในแนวปะการัง แต่ใช้วิธีผูกทุ่นแทน เพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศทางทะเลและห่วงโซ่อาหารคงอยู่คู่ท้องทะเลไทยไป ตราบนานเท่านาน ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
ตามรอยพ่อ
โดย ลูกคนเล็ก
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง... ต้นกำเนิดโครงการหลวง
ฉบับนี้ขออาสาพาผู้อ่านตามรอยพ่อไปไกลถึงจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยม ชมการดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่นอกจากจะงดงามไปด้วย ไม้ดอกเมืองหนาวนานาพันธุ์แล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานีทดลอง ค้นคว้า และวิจัย
พืชผลเมืองหนาว ที่ทำให้เมืองไทยของเราสามารถปลูกพืชผลเมืองหนาวได้ และชาวเขามีรายได้ทดแทนจากการปลูกฝิ่นหรือการทำไร่เลื่อนลอย
ย้อนกลับไปกว่า 40 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชิ นี น าถ ได้ เ สด็ จ พระราชดำเนิ น เยี่ ย มราษฎรที่ ห มู่ บ้ า นผั ก ไผ่ อำเภอฝาง
อำเภอเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่
ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้เลี้ยงชีพด้วยการปลูกฝิ่น แต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่นของประเทศได้
จึงทรงมีพระราชดำริว่า พื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และ สภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จาก การปลู ก ท้ อ พื้ น เมื อ ง และทรงทราบว่ า ที่ ส ถานี ท ดลองไม้ ผ ลเมื อ งหนาวของมหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อซื้อที่ดิน จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2512
โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งประธาน มูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ไม้ ผ ล ผั ก ไม้ ด อก เมื อ งหนาว เพื่ อ เป็ น ตั ว อย่ า งแก่ เ กษตรกรชาวเขาในการนำพื ช เหล่ า นี้
มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า “สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง” จึงกล่าวได้ว่าที่แห่งนี้คือจุดกำเนิดของโครงการหลวงนั่นเอง
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554
เราใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงจากตัวเมืองเชียงใหม่มาถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ถนน สภาพดีตลอดสาย แม้บางช่วงบางตอนจะค่อนข้างสูงชัน แต่ก็ไม่ยากลำบากเกินไป รถยนต์ สามารถขับขึ้นมาได้ เมื่อมายืนอยู่บริเวณสโมสรอ่างขาง แม้จะเป็นเวลาบ่ายต้นที่แดดจัด แต่ยัง สัมผัสได้ถึงความเย็นสดชื่น มุมด้านหน้าสโมสรมีป้ายบอกอุณหภูมิต่ำสุดของวัน ทำให้เราอดขยาด ไม่ได้ว่าคืนนี้จะทนหนาวไหวหรือ เพราะบนพื้นราบที่เราจากมา เริ่มเข้าหน้าร้อนแล้ว จึงไม่มีใคร เตรียมเครื่องกันหนาวมา สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในเขตตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มี
ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร จึงทำให้มีสภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี เหมาะแก่การเป็นสถานีในการศึกษาวิจัยพืชเมืองหนาวของโครงการหลวง ไม่ว่าจะเป็นไม้ผลอย่าง สาลี่ พีช พลับ พลัม สตรอเบอร์รี ผักเมืองหนาว สมุนไพร ชาจีน ไผ่ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งไม้ ดอกไม้ประดับกว่า 50 สายพันธุ์ นับเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาวที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย นอกจากภารกิจหลักในการวิจัยเกษตรบนพื้นที่สูงแล้ว สถานีเกษตรหลวงอ่างขางยังมีหน้าที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรบนพื้นที่สูง เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาการด้านการปลูกพืชบนที่สูง แต่ละปี มีผู้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานเป็นจำนวนมาก สถานีฯ จึงเป็นสถานที่ฝึกอบรมให้ผู้ที่สนใจจากทั้ง ในและต่างประเทศ งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขาเป็นอีกภารกิจที่สำคัญของสถานีเกษตร หลวงอ่างขาง ชาวเขาที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมี 3 เผ่า ได้แก่ ปะหล่อง มู เ ซอ และจี น ยู น นาน โดยมี กิ จ กรรมที่ ส ำคั ญ เช่ น การพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ
การวางแผนการใช้ที่ดิน การส่งเสริมการปลูกไม้ผล ไม้ตัดดอก พืชผัก ชาจีน
การผลิตไหลสตรอเบอร์รี เป็นต้น ในครั้งนี้เราโชคดีได้เห็นสถานที่เพาะพันธุ์เห็ด พอร์โทเบลโล (Portobello Mushroom) หรือเห็ดหอมชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ นอกจากจะมีรสอร่อยและมีกลิ่นหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้ หลับง่าย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ของโครงการหลวงด้วย ตลอดสองวันบนดอยอ่างข่าง เมื่อมีโอกาสได้เยี่ยมชมการดำเนินงานโดย รอบสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เราพบเห็นความสุขแบบเรียบง่ายได้จากรอยยิ้ม ของเจ้าหน้าที่ ชาวเขาที่เข้ามาทำงาน ตลอดจนนักท่องเที่ยว ที่สำคัญคือความภาคภูมิใจ
จากการชมผลงานที่ไม่ใช่การจัดโชว์เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่ที่นี่คือสถานที่ทำงานโครงการ ต่าง ๆ ของพ่อ ผู้ทุ่มเททุกอย่างเพื่อลูกอย่างแท้จริง สี่เหลี่ยมตามลักษณะของ
ดอยอ่างขาง อ่างขางเป็นภาษาเหนือ หมายถึง อ่างรูป มาณ 5 กิโลเมตร กว้าง
ดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวโดยรอบประ เวณโดยรอบ แต่เนือ่ งจาก 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกับบริแล้วยุบตัวลงกลายเปน็ แอ่ง
เป็นภูเขาหนิ ปูน เมือ่ ถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเปน็ โพรง รหลวงอ่างขาง มีพนื้ ทีร่ าบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึง่ เป็นทีต่ งั้ ของสถานเี กษต ต็นท์ และรา้ นอาหารใน ปัจจุบนั สถานเี กษตรหลวงอ่างขางมีบริการบ้านพัก ลานกางเวามปลอดภัย สโมสรทีใ่ ช้ผลผลติ จากโครงการหลวง โดยรบั ประกนั ความสดและค
ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ : 0 5345 0107-9 โทรสาร : 0 5345 0106 เว็บไซต์ : www.angkhangstation.com ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
รอบรั้วไทยออยล์
โดย หน่วยกลั่นข่าว
กิจกรรมปรับเปลีย่ นพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาพ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ร่วมกับโรงพยาบาลอ่าวอุดม
จัดกิจกรรมปรับเปลีย่ นพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาพขึน้ เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยมี วิทยากรให้การอบรมการเล่นโยคะ รำกระบอง เต้นฮูลา่ ฮูป เพือ่ ให้ผเู้ ข้าร่วมกิจกรรม
มีสขุ ภาพแข็งแรง ลดความเสีย่ ง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายตามแนวทางเวชศาสตร์ชมุ ชน ณ ห้องอเนกประสงค์เพือ่ ชุมชน ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน สมาคมสือ่ มวลชนศรีราชา ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 เมือ่ วันที่ 3 มีนาคม ทีผ่ า่ นมา สมาคมสือ่ มวลชนศรีราชา ได้จดั ประชุมใหญ่ สามัญประจำปี 2554 ขึน้ โดยได้มแี จ้งผลการเลือกตัง้ คณะกรรมการและนายกสมาคม สือ่ มวลชน ศรีราชา ซึง่ ผูท้ ไี่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นนายกสมาคมคือ นายโต บางแค พร้อม ทัง้ แจ้งเรือ่ งการจัดแข่งขันกีฬาประเพณีของสมาคม โดยมีผเู้ ข้าร่วมการประชุมครัง้ นี้
34 คน ตัง้ แต่เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์เพือ่ ชุมชน ศูนย์สขุ ภาพฯ
โครงการป้องกันโรคพิษสุนขั บ้า ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน ร่วมกับฝ่ายส่งเสริมป้องกัน ควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขและสิง่ แวดล้อม เทศบาลนครแหลมฉบัง โดยสัตวแพทย์ สุรพล ขรึมประเสริฐ ได้เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดฮอร์โมน
คุมกำเนิด รวมทัง้ การตอนสุนขั และแมวฟรี ณ บริเวณพืน้ ทีศ่ นู ย์สขุ ภาพฯ โดยมีชาวชุมชน นำสุนขั และแมวเข้ามารับบริการทัง้ หมด 28 ตัว แบ่งเป็นแมว 16 ตัว สุนขั 12 ตัว
เมือ่ วันที่ 4 มีนาคม 2554 ตัง้ แต่เวลา 09.00 -15.00 น.
ความคืบหน้าอาคารฉุกเฉิน รพ.อ่าวอุดม ตามทีเ่ ครือไทยออยล์ได้มเี จตนารมณ์ทจี่ ะบริจาคเงินเพือ่ การก่อสร้างอาคารฉุกเฉิน โรงพยาบาลอ่าวอุดม เนือ่ งในโอกาส
การดำเนินงานครบรอบ 50 ปีของเครือฯ โดยในเบือ้ งต้นทางโรงพยาบาลเป็นผูก้ ำหนดรูปแบบการใช้งานของอาคาร ว่าชัน้ ใด
จะใช้เป็นห้องอะไรเพื่อให้บริการทางการแพทย์กับชุมชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจากนั้นจึงส่งไปให้กองสถาปัตยกรรม
กระทรวงสาธารณสุขปรับแก้ไขแบบเพือ่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของทางโรงพยาบาล ซึง่ ในขณะนีแ้ บบอาคารใหม่เสร็จ เรียบร้อยแล้วแล้ว เหลือแค่การประเมินราคากลาง คาดว่าจะสามารถวางศิลาฤกษ์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ โดย ตั๊กแตน
ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรู้ไทยออยล์ จะจัดสาธิตกระโดดเชอื กและรับสมัคร ครูและนักเรียนทีส่ นใจ เพือ่ ฝึกซ้อม คัดเลือกเป็นทีมตัวแทนพืน้ ที่ เข้าอบรมระดบั ประเทศ ปัจจุบันนี้ การกระโดดเชือกได้พัฒนาขึ้นเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบวิธีการเล่นหลากหลาย มีกฎ กติกามากมาย และต้อง อาศัยทักษะ เรียนรู้เทคนิคที่ต้องฝึกฝน จนทำให้มีท่ากระโดดที่พลิกแพลง ซับซ้อน มีสีสันความสวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจ สนุกสนาน และท้าทายความสามารถ โดยการจัดแข่งขันนั้นจะแบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ระดับผู้เริ่มเล่นระดับกลาง จนสู่ระดับ มืออาชีพ และมีเวทีการแข่งขันทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ขอเชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน อายุระหว่าง 10-18 ปี และคุณครูทั้งที่อยู่ใน โรงเรียนหรืออยู่อาศัยในเขตชุมชน ต.ทุ่งสุขลา เข้าร่วมรับฟังและชมการสาธิตกระโดดเชือก โดยทีมสาธิตจากมูลนิธิหัวใจแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการสาธิตครั้งนี้ จะมีสิทธิ
สมัครเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนของพื้นที่ ไปฝึกอบรมการกระโดดเชือกเพื่อ
แข่งขัน ซึ่งจัดโดยมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา ประมาณ 5 วัน การสาธิตนี้มีกำหนดจัดขึ้น ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน ประมาณเดือนพฤษภาคม 2554 ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ จากป้ายประชาสัมพันธ์หน้าศูนย์สุขภาพฯ
ชุมชนบา้ นอ่าวอุดม เทศบาลนครแหลมฉบัง และศนู ย์สขุ ภาพฯ ทำโครงการชุมชนปลอดขยะ ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ร่วมกับเทศบาลนครแหลมฉบัง ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ เริ่มโครงการ ชุมชนปลอดขยะ โดยจัดให้มีการรับซื้อขยะเป็นครั้งแรก ที่วัดใหม่เนินพะยอม ในวันที่ 27 เมษายน 2554 นี้ ประเภทขยะที่นำมาขายได้ คือ กระดาษ โลหะทุกประเภท ขวดพลาสติกทั้งใสและขุ่น แก้ว อุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้ขอความร่วมมือทุกท่านให้แยกประเภทขยะ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วได้เงินทันที ยิ่งนำ มาขายกันมาก น้ำหนักที่ได้ทั้งหมดจะถูกนำมาคำนวณเป็นเงิน กองทุนให้กับชุมชนใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับเวลานัดหมายให้ ติดตามจากเสียงตามสาย และป้ายประชาสัมพันธ์ต่อไป ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
โดย พริบพันดาว
ก๊าซชีวภาพ พลังงานสะอาด จากไทยออยล์เพือ่ ชุมชน
เมื่ อ แรกสำรวจพื้ น ที่ เ พื่ อ ทำโครงการก๊ า ซชี ว ภาพจากฟาร์ ม เลี้ ย งสุ ก ร ณ หมู่ บ้ า นนเรศ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรีนั้น สภาพด้านหน้าฟาร์ม เจ้าของขุดบ่อขนาดใหญ่สำหรับใช้เป็นบ่อน้ำทิ้ง ซึง่ เต็มไปด้วยขีห้ มูและน้ำล้างจากการทำความสะอาดเล้าหมูขนาด 700 ตัว ถัดออกไปคือลานขนาดใหญ่ สำหรับตากขี้หมูขายส่งเป็นปุ๋ย คงไม่ต้องบรรยายถึงกลิ่นตลบอบอวลชนิดที่ว่าพอลงจากรถปุ๊บ
ชาวบ้านรีบบอกด้วยความหวังดีว่าให้ปิดรถทันที ไม่อย่างนั้นกลิ่นจะเข้ารถตามติดตัวเรากลับไปบ้าน ด้วยเป็นแน่ โครงการก๊าซชีวภาพ พลังงานสะอาด จากไทยออยล์เพื่อชุมชน ณ หมู่บ้านนเรศ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในโครงการที่เครือไทยออยล์ดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) ภายใต้โครงการกลไกพลังงานสีเขียว ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการนำพลังงานที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ โครงการก๊าซชีวภาพ พลังงานสะอาด จากไทยออยล์เพื่อชุมชนนี้ เป็นโครงการที่สามารถช่วย ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกวัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงยินดีสนับสนุนเพราะตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ขณะเดียวกัน เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่ง คือต้องมีีครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ มากพอ แม่ชีอาจารย์ ดร.สายจิตร จะวะนะ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ผู้ดูแลโครงการและเจ้าของ เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ได้อธิบายให้เราฟังว่า “จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพนั้น สามารถใช้
ในการกำจัดของเสียได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย เศษอาหาร มูลสัตว์ สามารถใช้ได้หมด การที่ ไทยออยล์สนใจที่จะเอาขี้หมูมาผลิตก๊าซชีวภาพก็รู้สึกยินดี เพราะเป็นเป้าหมายอยู่แล้วในการที่จะ กำจัดขยะ บำบัดน้ำเสีย นอกจากนั้นยังเป็นจุดจุดหนึ่งในการเผยแพร่เทคโนโลยีง่าย ๆ อย่างนี้ให้กับ ชุ ม ชน แล้ ว ต่ อ ยอดไปสู่ ชุ ม ชนอื่ น ได้ อี ก เรื่ อ ย ๆ ถึ ง แม้ เ ทคโนโลยี นี้ จ ะไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งใหม่ แ ละไม่ ใ ช่
เรื่องยาก แต่สำคัญตรงที่ต้องทำให้ดี ถ้ามีหน่วยงานดี ๆ มาให้ทุนสนับสนุน ให้ทุนเพื่อต่อยอด มันก็ เป็นสิ่งที่ดี ทำให้พลังงานสิ่งแวดล้อม และชุมชนอยู่คู่กันไปได้เรื่อย ๆ”
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
ขัน้ ตอนการดำเนินงานเริม่ จากชาวบ้าน จำนวน 23 หลังคาเรือน ได้ลงชือ่ เพือ่ เข้าร่วม โครงการฯ ทีมงานผู้รับเหมาเริ่มดำเนินการ ก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม 2553 โดยได้ปรับ สภาพพื้ น ที่ ห น้ า ฟาร์ ม กลบบ่ อ น้ ำ ทิ้ ง เดิ ม และสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโดมคงที่ (Fixed Dome) คือมีรูปทรงกลมคล้ายโอ่ง ขนาดใหญ่ ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร บ่อล้น บ่อตากกากขี้หมู พร้อมงานวางระบบท่อจ่าย ก๊าซชีวภาพจากบริเวณบ่อหมักเป็นท่อหลัก ไปตามแนวถนนหลั ก ในหมู่ บ้ า น สำหรั บ
ต่ อ ท่ อ ย่ อ ยเข้ า ไปยั ง ครั ว เรื อ นที่ เ ข้ า ร่ ว ม
โครงการฯ เพือ่ นำไปใช้ในการประกอบอาหาร ทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) รวมระยะเวลา ก่อสร้างและเดินท่อประมาณ 2 เดือน แม้ว่า จะมีปัญหาเรื่องท่อขาดตลาด แต่ยังสามารถ สร้างเสร็จทันตามกำหนดเวลา โครงการก๊าซชีวภาพฯ ที่บ้านนเรศนี้ คงไม่อาจสำเร็จลงได้ หากขาดการมีส่วน ร่วมของชาวบ้าน ทางโครงการฯ ได้จดั ประชุม ชาวบ้านที่ร่วมโครงการเป็นระยะ เพื่อสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ การบริหาร
จัดการโครงการฯ และจัดตั้งคณะกรรมการ ประจำโครงการฯ เพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืน โดย สมาชิกมีข้อสรุปร่วมกันว่าจะให้มีการจัดเก็บ ค่าสมัครสมาชิกแรกเข้าจำนวน 300 บาทต่อ ครัวเรือน และให้มีการจัดเก็บค่าก๊าซจำนวน 50 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน โดยแต่ละครัวเรือน ทีเ่ ข้าร่วมโครงการฯ ต้องดูแลค่าใช้จา่ ยในส่วน ของท่อก๊าซที่ต่อจากท่อหลักเข้าตัวบ้านและ หัวเตาเอง ทั้งนี้ เพื่อนำเงินที่จัดเก็บได้ไป จ่ายคืนเงินที่ทางชุมชนจัดหามาเพื่อสมทบ
ค่าใช้จา่ ยในการก่อสร้างของโครงการ และใช้ สำหรับบำรุงรักษาระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ต่อไป คุ ณ ศรี สุ ร างค์ บำรุ ง วงษ์ เจ้ า ของ ฟาร์มสุกรในหมู่บ้าน (ต้องจ่ายเงินจำนวน 50,000 บาท สบทบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โครงการฯ) กล่าวถึงโครงการฯ ด้วยความ ภาคภูมิใจว่า “ก่อนที่จะเข้าร่วมก็ได้ศึกษามา ก่อนเรื่องพลังงานทดแทน หรือก๊าซชีวภาพ จากหนั ง สื อ และการอบรมของกระทรวง เกษตรฯ พาไปดูงานเราก็เห็นว่าดี โชคดีที่เรา มีฟาร์มเป็นของตัวเอง ถึงแม้ว่าฟาร์มนี้จะ
เกิดก่อนหมู่บ้าน ซึ่งไม่ได้รบกวนใครอยู่แล้ว เพียงแต่เรามองถึงภาวะโลกร้อนที่มันมีผล กระทบต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เลยคิด ว่าถ้าเราทำแล้วมันเกิดประโยชน์กับชาวบ้าน เราก็ว่ามันคุ้มและได้ประโยชน์สูงสุด แล้วก็ ช่วยโลกได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นจุดเล็ก ๆ แต่เรา ก็ช่วยได้ ปกติฟาร์มของเรามีบ่อทิ้งมูลสัตว์อยู่ หน้าฟาร์ม เวลาใครผ่านไปผ่านมา มันไม่ น่ า ดู แต่ ต อนนี้ ห ลั ง จากที่ ท ำบ่ อ นี้ ขึ้ น มา สภาพแวดล้ อ มหรื อ ภู มิ ทั ศ น์ มั น ดี ขึ้ น มาก และกลิ่นก็ไม่มี ทำให้เราภูมิใจมาก” ส่วนเรื่องวัตถุดิบหมักก๊าซชีวภาพให้ มี ป ริ ม าณคงที่ ส ม่ ำ เสมอสำหรั บ ลู ก บ้ า น จำนวน 23 หลังคาเรือนนั้น เจ้าของฟาร์ม คนขยั น เล่ า ให้ ฟั ง ว่ า “ปกติ แ ล้ ว เราก็ ต้ อ ง กวาดขี้หมู ทำความสะอาดหมู ล้างเล้าอยู่ แล้ว เป็นเรื่องที่ต้องทำทุกวัน ทีนี้เราก็แค่ดัน ขี้หมูลงสู่ระบบเท่านั้นเอง พี่รู้สึกว่าเหมือน ได้ทำบุญอย่างหนึ่งเหมือนกันนะ”
อึเราไม่เหม็นอีกต่อไป แล้วยังดีตอ่ สิง่ แวดล้อมด้วย
คุณชุมพล อยูว่ งศ์อนั๋ สมาชิกองค์การ บริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ หนึ่งในชาวบ้าน ที่เข้าร่วมโครงการฯ เสริมว่า “จริง ๆ แล้ว
ที แ รกมี โ ครงการของ อบต. ของจั ง หวั ด เป็ น แบบขนาดเล็ ก ใช้ พ ลาสติ ก คลุ ม โดย แต่ละบ้านต้องมีหลุมของตัวเอง ส่วนตัวผมเอง คิดว่ามันไม่คอ่ ยได้ผล เพราะการดูแลค่อนข้าง ยุ่งยาก กลัวว่าแก๊สมันจะรั่วง่าย แต่ก็มีบ้าน บางหลังเขาทำ ปกติที่บ้านผมขายก๋วยเตี๋ยว ซื้อถ่าน 100 บาท ใช้ได้ไม่กี่วันก็หมด เดือน ๆ หนึ่ง เสียค่าถ่านหลายร้อยบาท ได้ระบบแก๊สขี้หมู
นี้มาใช้ก็คิดว่าน่าจะประหยัดลงได้ คงจะ
คุ้มทุนในระยะยาว ผมอยากฝากขอบคุณ บริษทั ฯ และพนักงานไทยออยล์ทกุ คน โดยเฉพาะ ที่มาร่วมงานในวันนี้ ก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือชาวบ้านนเรศ หาก อยากมาเยี่ยมชมดูงานก็ยินดีเสมอครับ” เดี๋ยวนี้กลิ่นเหม็นหายไป บ่อที่เคยเต็ม ไปด้วย ขี้มูล น้ำล้างคอกหมู ไม่มีเห็นให้ รำคาญตาแล้ว เหลือเพียงบ่อหมักก๊าชชีวภาพ ที่ช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อน ปัญหาด้าน สุขอนามัย แมลงพาหะนำโรคร้าย และที่ สำคัญลดค่าใช้จ่ายในกระเป๋าของชาวชุมชน บ้านนเรศ อ.ดอนเจดีย์ แห่งนี้ด้วย
ในชุมชนของเราเองก็มโี ครงการดี ๆ แบบนี้ เ ช่ น เดี ย วกั น นะคะ ปั จ จุ บั น เรามี
การดำเนิ น โครงการชุ ม ชนปลอดขยะ
โดยความร่ ว มมื อ ของเครื อ ไทยออยล์ เทศบาลนครแหลมฉบั ง และชุ ม ชน
บ้านอ่าวอุดม รวมทั้งโครงการที่ไทยออยล์ ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ศึกษาการทำก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร สำหรับใช้ในโรงพยาบาลอ่าวอุดม เพื่อให้ ชุมชนของเราเป็นชุมชนพลังงานสะอาด
และมี ส ภาพแวดล้ อ มที่ ส วยงามและถู ก
สุขอนามัยค่ะ ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
เคล็ดลับสุขภาพ
โดย คนใกล้หมอ
อยูเ่ ย็นอย่างไรในหนา้ ร้อน
ร้อนจัง! ร้อน...ร้อน! ทำไมถึงร้อน
อย่ า งนี้ น ะ! สารพั ด เสี ย งบ่ น เมื่ อ ย่ า งเข้ า สู่ ฤ ดู ร้ อ น
ของบ้านเราที่เรียกได้ว่าร้อนเอาการ ยังดีนะที่ชุมชนของ เราอยู่ริมทะเล ทำให้พอมีลมพัดให้คลายร้อนกันได้บ้าง เพื่อไม่ให้อุณหภูมิร้อน ๆ มาเผาผลาญบั่นทอนสุขภาพ กายใจของเรา จนพาให้เจ็บไข้ ได้ป่วยลงได้ เรามาลองดู เคล็ดลับการดูแลสุขภาพเพื่อรับมือหน้าร้อนกันดีกว่าค่ะ
• ดืม่ น้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ความทีใ่ นหน้าร้อนนัน้
ร่างกายจะสูญเสียเหงื่อมาก จึงต้องการน้ำเพื่อชดเชย แต่ควรหลีก เลี่ยงน้ำหวาน เพราะจะยิ่งทำให้กระหายน้ำมากขึ้น อาจเลือกดื่ม
น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพรที่มีรสไม่หวานจัดแทน ส่วนใหญ่ผู้คนนิยม ทานน้ำแข็งหรือดืม่ น้ำเย็นจัด ๆ เพือ่ ดับร้อน แต่เป็นสิง่ ทีพ่ งึ หลีกเลีย่ ง นะคะ เพราะของเย็น ๆ เหล่านีจ้ ะมีผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร น้ำเย็นปริมาณมากจะไปเจือจางน้ำย่อย และมีผลให้เลือดที่มาหล่อ เลี้ยงกระเพาะอาหารเพื่อทำการย่อยลดน้อยลง ทำให้สมรรถภาพ การย่อยอาหารลดลง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะ ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เป็นผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น อาจ ทำให้เกิดการขาดน้ำ นอกจากนี้ ในหน้าร้อนแอลกอฮอล์จะซึมเข้าสู่ กระแสโลหิตได้เร็ว ทำให้เมาง่าย ร่างกายอาจช็อกหรือหมดสติได้ เลือกทานอาหารที่เหมาะสม อาหารที่เหมาะสำหรับหน้า ร้ อ น คื อ อาหารรสขมเย็ น เช่ น ฟั ก แฟง มะระ สะเดา ซึ่ ง มี คุณสมบัติช่วยลดความร้อนในร่างกาย นอกจากนี้ ควรเลือกทาน อาหารที่สะอาด สด ใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดโรคทางเดินอาหารที่ ติดมากับอาหารปนเปื้อนแบคทีเรีย ออกกำลั ง กายแต่ พ อดี ในฤดู ร้ อ นอย่ า ออกกำลั ง กาย หักโหม และควรหลีกเลีย่ งการออกกำลังกายกลางแจ้งหรือแดดเปรีย้ ง เพราะจะทำให้ เ จ็ บ ป่ ว ยง่ า ยขึ้ น อย่ า งไรก็ ดี ควรออกกำลั ง กาย
• • •
10 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
สัปดาห์ละ 3-4 วัน ครั้งละครึ่งชั่วโมง เพราะจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิ ต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ดี เลือกสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายความร้อนได้ง่าย เช่น เสื้อผ้าฝ้าย ผ้าป่าน และควรดูแลความสะอาดของร่างกายไม่ให้เกิด การอับชื้น หากเกิดผดผื่นคันควรปรึกษาแพทย์ ใช้ครีมกันแดดอย่างถูกวิธี ใช้ครีมกันแดดเมื่อออกกลาง แจ้งหรือในที่แดดแรง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดผิวไหม้จากการได้รับ แสงแดดมากเกินไป และควรสวมแว่นกันแดดเพื่อปกป้องสายตา
ไม่ควรทาครีมกันแดดอย่างเร่งรีบ แพทย์ผิวหนังแนะนำให้ทาให้
ทั่วถึง แม้แต่ในร่มผ้าด้วย โดยทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง ไม่ควรนอนให้ลมหรือความเย็นโกรก ความร้อนจากลม แดดทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เมื่อนอนหลับตากลมในขณะเหงื่อออก จะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ แล้ว เหงื่อไม่สามารถระบายออกมาได้ จะมีความร้อนสะสมอยู่ข้างใน ทำให้เวียนหัว รู้สึกหนักหัว ไม่สดชื่นแจ่มใส อาจทำให้เป็นหวัดได้ ส่วนการใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศไม่ควรให้กระทบโดยตรงกับ ร่างกายนาน ๆ โดยเฉพาะบริเวณท้อง หากโดนลมนาน ๆ จะทำให้ ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียได ้ อากาศร้อนจัดมีผลต่ออารมณ์ ทำให้หงุดหงิดและหดหู่ จากสถิติ ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย ดังนั้น ลองออกไปเดินเล่น ช่ ว งบ่ า ยแก่ ๆ หรื อ ช่ ว งที่ ค นไม่ ม าก สิ่ ง สำคั ญ คื อ พยายาม กระฉับกระเฉงเข้าไว้ค่ะ รู้วิธีรับมือกับหน้าร้อนกันแล้ว ก็ลองนำไปปฏิบัติดูนะคะ เมื่อ ดูแลสุขภาพกายแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพใจกันด้วย อย่าไปหงุดหงิด กั บ สภาพอากาศร้ อ น เพราะยิ่ ง อารมณ์ เ สี ย ก็ ยิ่ ง พาลให้ ร้ อ นไป
กันใหญ่ ลองทำใจให้สบาย เผลอเดี๋ยวเดียว ฝนก็ตกแล้วละค่ะ
• • •
•
แหล่งข้อมูล
• ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธหิ มอชาวบ้าน • หนังสือพิมพ์เดลินวิ ส์
เรื่อง (ใหม่) ของ ‘มุ้ง’.. ที่ ‘ยุง’ ไม่ (กล้า) ยุ่ง
ก้าวทันโลก โดย ติมา
คำโบราณว่า “ยุงร้ายกว่าเสือ” นัน้ เป็นคำเปรียบเปรย ทีส่ ดุ ยอดมาก เพราะเสือกัดตายไม่ตายก็รกู้ นั ไปเลย แต่ ยุงกัดนีอ่ าจเจ็บนิดหน่อยแต่ทรมานมากกว่า จริงไหมคะ ลองนึกถึงประสบการณ์งว่ งสุดขีด หรือ กำลังจะหลับฝันดี แต่แล้วก็ตอ้ งโอ๊ย ๆ คัน คัน้ คัน บางทีกเ็ จ็บจนสะดุง้ หากเจ้ายุงร้ายนัน้ เป็นพันธุ์ตัวใหญ่ ปากแหลมยาวเป็นพิเศษ เวลากัดทีเหมือนจะได้ยนิ เสียงปากเข็มของมัน กัดเจาะเข้าไปในเนือ้ ดังจึก๊ เลยทีเดียว ขึน้ ชือ่ ว่า ยุง ไม่วา่ จะตัวเล็ก ตัวใหญ่ ก็กดั คันเหมือนกัน คันมากคันน้อยก็ทำให้นอนไม่หลับ ยังไม่นบั เสียงบิน หึ่ง ๆ วิ้ง ๆ ๆ ข้างหูอีกต่างหาก
ยุงก็คอื ตัวยุง่ ทีน่ า่ รำคาญเป็นทีส่ ดุ วิธปี ราบยุงซึง่ เป็นทีน่ ยิ มในปัจจุบนั คือ ใช้ไม้ชอ็ ตยุง หรือฉีดยากันยุงทีอ่ าจมีสารเคมี อั น ตรายได้ เราน่ า จะลองหันกลับมาดูวิธี ดัง้ เดิมของคนโบราณทีน่ มุ่ นวลกว่า (เพราะไม่มี เสียงเปรีย๊ ะ ๆ ให้ชวนสะดุง้ ) ในการป้องกันตัว จากยุง คือ การกางมุ้ง เชื่อหรือไม่คะว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตมุ้งรายใหญ่ของโลก โดยมียอดส่งออกมากกว่า 1 ล้านหลังต่อปี แต่มียอดนำเข้ามุ้งฆ่ายุงได้จากต่างประเทศ จำนวน 200,000-250,000 หลั ง ต่ อ ปี เ ช่ น เดียวกัน ทีนี้คนไทยจะยอมเสียดุลการค้าอีก ได้อย่างไร ในเมื่อบ้านเราก็มียุงมากไม่เป็น รองใคร แล้วก็เสียเลือด (ให้ยุง) กันมาแล้ว ไม่ใช่น้อย คนไทยเก่ง ๆ เลยช่วยกันคิดค้น มุง้ พิฆาตยุงขึน้ หรือทีเ่ รียกเท่ ๆ ว่า มุง้ นาโน เพราะผลิตด้วยเทคโนโลยีนำสมัยสุดคือ นาโน เทคโนโลยี ศู น ย์ น าโนเทคโนโลยี แ ห่ ง ชาติ คื อ หน่วยงานที่รวมคนไทยคนเก่ง ช่วยกันศึกษา ข้อมูล วิจยั และพัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์ทมี่ ี คุณสมบัตฆิ า่ ยุง จนในทีส่ ดุ สามารถผลิตสาร สังเคราะห์เลียนแบบธรรมชาติได้ ศ.นพ.สิรฤิ กษ์ ทรงศิวไิ ล ผูอ้ ำนวยการศูนย์ฯ ระบุวา่ สารสำคัญ
ที่ใช้ในการผลิตมุ้งนาโน คือ สารสังเคราะห์ ทางเคมีชื่อ เดลต้าเมทริน (Deltamethrin) ซึง่ เลียนแบบจากสารสกัดในธรรมชาติชนิดทีม่ ี คุณสมบัตปิ อ้ งกันและกำจัดยุงได้ เช่น สารใน ดอกเก๊กฮวย ดอกดาวเรือง สารชนิดนีจ้ ะมีผล หรือมีฤทธิ์กับยุงก้นปล่องและยุงรำคาญเป็น หลัก และอาจมีผลต่อแมลงอืน่ ๆ อีกหลาย ชนิด แต่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคน อย่างแน่นอน ทั นที ที่ยุ งมาเกาะโดนเส้ นใยของมุ้ ง สารสังเคราะห์ชนิดนีจ้ ะซึมผ่านประสาทสัมผัส ยุงที่ปลายขา ซึ่งมีความไวต่อสารกลุ่มนี้เป็น พิเศษ สารนีจ้ ะมีผลต่อระบบประสาทของยุง ทำให้ชอ็ กภายในเวลา 6 วินาที และตายใน ที่สุด ผลการทดสอบของนักวิจัยบอกว่าสถิติ 6 วินาทีนี้เกิดเฉพาะกับยุงก้นปล่องซึ่งเป็น พาหะของไข้มาลาเรียเท่านั้น ส่วนยุงชนิด
อืน่ ๆ เช่น ยุงรำคาญและยุงลาย มีระยะเวลา ตาย เร็ว ช้าต่างกันไป ประเทศไทยถือเป็นรายแรกของโลกที่ ผลิตมุ้งกันยุงด้วยนาโนเทคโนโลยี ซึ่งได้จด ลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เตรียมพร้อม ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรม
สิง่ ทอ เพือ่ ต่อยอดเชิงพาณิชย์ หากมีผลิตวาง
จำหน่ายออกสู่ตลาด คาดว่าราคาจะอยู่ที่ ประมาณ 200-500 บาทต่อหลัง เชือ่ กันว่าแม้ ราคาจะสู ง กว่ า มุ้ ง ทั่ ว ไปแต่ คุ้ ม ค่ า แน่ น อน เพราะเป็นการนำสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบ จากสารสกัดธรรมชาติมาผสมเข้ากับเม็ด พลาสติกแล้วฉีดเป็นเส้นใยทำมุ้ง ทำให้สาร กันยุงติดอยูใ่ นเส้นใยมุง้ อย่างทนทาน ซักล้าง ได้มากกว่า 30 ครัง้ ความสำเร็จครั้งนี้ยังนำไปประยุกต์ให้ เกิดผลิตภัณฑ์กำจัดยุงอีกหลายชนิด เช่น
ผ้าม่าน เสื้อ หรือประยุกต์ใช้ในเครื่องแบบ ทหารตำรวจ เพือ่ ป้องกันโรคทีเ่ กิดจากยุงเป็น พาหะขณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ป่า หรื อ ใช้ ส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ นอกจากนี้ ยังต่อยอดเพิม่ มูลค่าให้อตุ สาหกรรม สิง่ ทอในประเทศไทยได้อกี ด้วย เพราะสิง่ ทอที่ ผ่านการเคลือบด้วยนาโนเทคโนโลยีจะมีราคา สูงขึน้ ประมาณ 1 เท่าถึง 1 เท่าครึง่ มุ้ ง นาโน จึ ง ถื อ เป็ น การผสมผสาน
ภูมิปัญญาดั้งเดิมกับความรู้เทคโนโลยีของ
คนรุน่ ใหม่ได้อย่างลงตัว ทีนกี้ เ็ หลือเพียงแค่รอ ว่าเมื่อไร จะมีวางจำหน่ายเท่านั้น ...จะได้ หลับสบายกันซักที ลาก่อนเจ้ายุง ตัวยุง่
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
11
ปลอดภัยใกล้ตัว
โดย เซฟตี้แมน
บ้านปลอดพิษ ทุกชีวิตปลอดภัย
“บ้านคือวิมานของเรา” เพราะบ้านคือที่รวมของความรัก ความเข้าใจระหว่างสมาชิกใน ครอบครัว เมือ่ อยูบ่ า้ น เรารูส้ กึ อบอุน่ ปลอดภัย มีความสุข และเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ ฉบับนี้ เซฟตี้แมนขอนำทุกท่านออกสำรวจบ้าน (ของตัวเอง) กัน เพื่อตรวจดูว่าบ้านของเรามีสารเคมี อันตรายใดแอบแฝงอยู่ คอยทำร้ายคนในบ้านหรือไม่ จะได้รทู้ นั และเตรียมตัวป้องกันอย่างถูกวิธ ี
ห้องนอน เครื่องปรับอากาศหรือแอร์คอนดิชันที่ทำให้ห้องเย็นฉ่ำ อาจกลายเป็น มลพิษต่อร่างกาย ถ้าคุณละเลยการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพราะฝุน่ ละออง และความชื้นจะสะสมกันจนเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค นอกจากนั้น เราควรทำความ สะอาดเครือ่ งนอนด้วยการซักผ้าปูทนี่ อน ปลอกหมอน หรือหมัน่ นำหมอน ทีน่ อนออก ตากแดด เพือ่ ป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชือ้ โรค ตลอดจนไรฝุน่ ตัวการสำคัญ ของโรคภูมแิ พ้ ข้อสำคัญทีค่ วรจำไว้อกี อย่างหนึง่ คือ ไม่ควรวางต้นไม้ไว้ในห้องนอน เพราะต้นไม้คายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทเี่ ป็นพิษต่อร่างกายได้
ห้องน้ำ อันตรายส่วนใหญ่มาจากสารระเหยจากน้ำยาทำความสะอาด พวกคลอรีนและสารเคมีทมี่ อี นั ตรายต่อสุขภาพและสิง่ แวดล้อม ไม่วา่ จะเป็นก้อนดับกลิน่ ในห้องน้ำทีม่ สี ารเคมีอนั ตราย เราอาจจะใช้ พวกน้ำมันหอมระเหย หรือใช้วิธีปลูกต้นไม้ประดับใน กระถางอย่างเฟิร์น พลูด่าง เป็นต้น ข้อควรระวัง สำคัญ อย่าผสมน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำที่เป็น คลอรีนกับแอมโมเนีย เพราะอาจทำให้เกิดก๊าซพิษที่ เป็นอันตรายถึงชีวติ ได้
ห้องครัว สิ่งที่ควรตรวจตราและระวังเป็นพิเศษ คือมลพิษที่เกิดจาก
แก๊สหุงต้มและปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเตาแก๊สหรือเตาถ่าน เพราะว่า ความร้อนต่างๆ นัน้ เป็นแหล่งสะสมมลพิษ หากระบบการระบายอากาศ ไม่ดพี อ ไม่มอี ากาศบริสทุ ธิห์ มุนเวียน สมาชิกในบ้านอาจตายผ่อนส่งก็ได้ ควรมีหน้าต่างและระบบระบายอากาศในห้องครัว ซึง่ เปิดไว้ในเวลากลาง วันและเวลาทำอาหาร นอกจากนัน้ ในห้องครัวควรจัดการเรือ่ งขยะให้ถกู สุขอนามัย มีการคัดแยกขยะเปียก จำพวกเศษอาหาร เศษผัก เปลือก ผลไม้ ออกจากขยะแห้งอย่างถุงพลาสติก กระดาษ และจัดหาวัสดุ บรรจุ ที่ มิ ด ชิ ด เพื่ อ ป้ อ งกั น สั ต ว์ พ าหะนำโรคอย่ า งแมลงสาบ แมลงวัน หรือหนู สำรวจบ้านหลายห้องจนมาถึงตรงนี้ อย่าเพิง่ กังวลใจจนเครียดเกินไปนะครับ เพราะ สารเคมีทกุ ชนิดเป็นอันตรายก็จริง แต่ถา้ เราใช้ให้ถกู ขนาด ถูกวิธี จัดเก็บในทีป่ ลอดภัย ห่าง ไกลจากมือเด็ก ๆ จะช่วยลดอันตรายและสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ อีกประการหนึง่ ใน ปัจจุบนั นี้ มีการคิดค้นการใช้สารทีม่ อี นั ตรายน้อยกว่าหรือเลีย่ งไปใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ทดแทน แต่วธิ ที ดี่ ที สี่ ดุ คือพยายามใช้เท่าทีจ่ ำเป็น เพือ่ ให้ทกุ ชีวติ ในบ้านของเราปลอดภัยจาก สารเคมีเป็นพิษนะครับ
12 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
แหล่งข้อมูล • นิตยสารรักลูก • ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ห้องรับแขก
เฟอร์นเิ จอร์ตกแต่งบ้านจำนวน มากใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ซงึ่ ระเหยแล้ว กลายเป็น พิษต่อสุขภาพ สร้างความระคายเคืองต่อตา คอ จมูก และระบบหายใจได้ มีรายงานจากศูนย์ ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อประเทศจีนได้เปิดเผย ผลการศึกษาสารพิษฟอร์มาลดีไฮด์ ซึง่ พบมากใน วัสดุตกแต่งอาคาร ไม้อดั และผลิตภัณฑ์ทที่ ำจาก ไม้อัด โฟมที่ใช้ทำฉนวนกันความร้อน ผ้าม่าน พรมปูพนื้ และเฟอร์นเิ จอร์ โดยทีส่ ารเคมีตวั นีจ้ ะ ค่อย ๆ ระเหยออกมาช้า ๆ ตลอดเวลา และ อบอวลอยูใ่ นอาคารบ้านเรือนนานหลายปี การค่อย ๆ รับสารพิษอย่างช้า ๆ และ ไม่ รู้ ตั ว นี้ ทำให้ ค นเป็ น จำนวนมากป่ ว ยด้ ว ย
โรคทางเดิ น หายใจ ภูมิ แ พ้ หอบหืด รวมถึง ความผิดปกติของระบบสืบพันธุอ์ กี ด้วย ในบางราย อาจรุ น แรงถึ ง ขั้ น เป็ น โรคมะเร็ ง นอกจากนั้ น ฝ้ า เพดานที่ ใ ช้ แร่ใยหิน ก็ก่อมลพิษได้เช่น กั น โดยฝุ่ น จะไปสะสมที่ ปอด ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
ตัง้ แต่หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เป็นต้นมา มีการผลิตสารเคมีขนึ้ มากกว่า 72,000 ชนิด โดยมีเพียงร้อยละ 2 เท่านัน้ ที่ เรารูจ้ กั คุณสมบัตทิ แี่ ท้จริง รวมทัง้ วิธที ที่ ำให้ เกิดพิษและการแก้พษิ ในขณะทีป่ จั จุบนั ใน แต่ละบ้านมีสารเคมีเฉลีย่ 62 ชนิด
เพือ่ น ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่าทีจ่ ริงแล้ว ปะการังและดอกไม้ทะเลไม่ใช่พชื แต่จดั เป็น
สัตว์ทะเลชนิดหนึง่ เช่นกัน ฉะนัน้ วันนีเ้ รามาทำความรูจ้ กั กับสิง่ มีชวี ติ ทีส่ วยงามในโลก ใต้ทะเลกันนะคะ มีสตั ว์นา่ รักอยู่ 6 ชนิด รอให้ทกุ คนเรียกชือ่ ให้ถกู ต้อง เพือ่ น ๆ ช่วย เติมชือ่ ใต้ภาพให้ถกู ต้อง..พร้อมแล้วเริม่ ได้เลยค่ะ... ลับสมองลองเล่นเกม โดย กองบรรณาธิการ
ปลาปักเป้า ปะการังเขากวาง ปลาการ์ตนู ปลาสิงโต ปะการังอ่อน ปลาผีเสือ้ ถ่ายเอกสารและส่งคำตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจกรรมเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2554 ชื่อ ................................................. นามสกุล .....................................................................ที่อยู่........................................................................... ...............................................................................................................................................................................................................................
จับคู่ผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัสดุเหลือใช้
เฉลยเกมฉบับที่แล้ว
ขอแสดงความยินดีกับผู้ตอบคำถามได้ถูกต้อง และโชคดีจากการจับฉลากรายชื่อ ดังนี้ 1. คุณไพโรจน์ เขียวเหลือง 2. คุณจุฬาภรณ์ เทพจันทร์ดา 3. คุณเรียม ธัญญะกิจ 4. ด.ญ.รุ่งฤดี ชะเอม 5. คุณอุบล ว่องไว 6. คุณณัฐยาวรรณ แก้วชนะ 7. คุณมณฑล สายคำ 8. คุณสามารถ คงเคน 9. คุณไพศาล แก้วงาม 10. คุณพรพุทธา นิลมูล ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
13
จากอดีตสู่ปัจจุบัน
พี่เก่าเล่าเรื่อง
โดย ฤทธิพร ริกุลสุรกาน
ไทยออยล์มุ่งมั่นพัฒนาชุมชน
เมือ่ เดือนมกราคม 2507 บริษทั ฯ ได้ยา้ ยสำนักงานจาก เลขที่ 14 ถนนสาทรใต้ บางรัก กรุงเทพมหานคร มาทีส่ ำนักงานใหม่ทโี่ รงกลัน่ อำเภอศรีราชา ในช่วงแรกนีส้ งิ่ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ยังมีไม่มาก ไม่มโี รงอาหาร น้ำดืม่ โพลาริสก็ตอ้ งไปขนมาจากจังหวัดนนทบุรี ใน สมัยนัน้ มีความรูส้ กึ ว่าสำนักงานอยูห่ า่ งไกลจากชุมชนมาก หน้าสำนักงาน site office ปัจจุบนั เดิมเป็นหนองน้ำใหญ่ เช้าวันหนึง่ ประมาณ เจ็ดโมงเศษ พนักงานหลายคนวิง่ ไล่จบั เก้งได้ตวั หนึง่ ทีห่ น้าสำนักงาน ตามบริเวณทีต่ งั้ ถัง (Tank Farm) พนักงานเจองูเหลือม รังผึง้ รังต่อ อยูบ่ อ่ ย ๆ ในปีแรกทีเ่ ริม่ การกลัน่ คืนไหนทีฝ่ นตกตอนกลางคืน แมงดานาจะมาเล่นไฟทีใ่ ต้ flare เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัยจับแมงดานา ได้กนั เป็นปีบ๊ น้ำมันก๊าด แต่เดีย๋ วนีห้ าดูไม่ได้แล้ว แม้จะไม่สะดวกนัก แต่การทำงานของพวกเราก็อบอุน่ ช่วยเหลือซึง่ กันและกันเป็นอย่างดี เพราะต่างก็พลัดถิน่ กันมาทัง้ นัน้ ชาวชุมชนหมูบ่ า้ นอ่าวอุดมก็ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือพนักงานและบริษทั ฯ เป็นอย่างมาก ให้ความ เอ็นดูพนักงานเหมือนลูกหลาน ตอนเย็นหลังเลิกงาน แม่บา้ นจากอ่าวอุดมจะมาทำความสะอาดสำนักงานซึง่ เป็นงานพิเศษนอกเวลา บางคน เป็นแม่บา้ นอยูบ่ า้ นว่าง ๆ ก็มาทำงานเป็นรายได้เสริม และได้พบปะเพือ่ นฝูง เมือ่ ถึงหน้าเทศกาล เช่น งานทอดกฐิน บริษทั ฯ ร่วมกับชาวชุมชนทอดกฐิน โดยหมุนเวียน กันในสามวัดบริเวณข้างโรงกลั่น คือ วัดใหม่เนินพยอม อ่าวอุดม วัดมโนรม ข้างสถานีดาวเทียม ภาคพื้นดินและวัดต้นมะม่วง ในคืนฉลองกฐินพนักงานจะมาชมมหรสพ และมีการละเล่นต่าง ๆ ร่วมกับชาวชุมชน เช้าวันทอดกฐินจะมีการแข่งขันกีฬาระหว่างพนักงานกับทีมชาวชุมชนอย่าง สนุกสนาน พอตกบ่ายก็จะแห่กฐินเวียนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ ผู้จัดการโรงกลั่นจะถือพานผ้า กฐิน ส่วนพนักงานอื่น ๆ ก็ช่วยกันถือเครื่องอัฐบริขาร ไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ในงานนี้ทำให้ หนุ่มสาวได้รู้จักกัน และเวลาต่อมาพนักงานหลายคนได้เป็นเขยอ่าวอุดมและหมู่บ้านใกล้เคียง อย่างน่าอิจฉาทีเดียว
14 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
พอถึงปี 2509 พนักงานได้ย้ายเข้าพักอาศัยที่บ้านพักของ
บริษัทฯ ที่หมู่บ้านไทยออยล์ 1 ตำบลบางพระ ณ ที่นี่เองทำให้
เกิดสังคม สร้างวัฒนธรรมในหมู่พนักงานหลายอย่าง ลองนึกดูว่า หนุ่ม ๆ เกือบสองร้อยคนมาอยู่รวมกันในหมู่บ้านเดียวกัน ทำงานที่ เดียวกัน เล่นกีฬาด้วยกัน มีกิจกรรมมากมายเกิดขึ้น งานสังสรรค์ ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นกันเอง อาหารทะเลที่ไปซื้อหามา ก็มาทำมาปรุง กันเอง ช่วยกันจัดช่วยกันทำอย่างสนุกสนาน และในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ ก็ช่วยกันจัดงานทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็น
สิริมงคลในเทศกาลขึ้นปีใหม่สืบมาจนถึงทุกวันนี้ วันสงกรานต์ก็มี การจัดขบวนแห่พระพุทธรูป มีขบวนกลองยาวนำไปรอบหมู่บ้านเพื่อ ให้สมาชิกในหมู่บ้านได้สรงน้ำพระ และตอนเย็นก็มาร่วมรับประทาน อาหารที่สนามเด็กเล่น กรรมการหมู่บ้านนำปลูกต้นไม้รอบหมู่บ้าน หลายครั้งหลายครา ทำให้หมู่บ้านร่มรื่นเป็นที่กล่าวขวัญของหมู่บ้าน อื่น ๆ และหน่วยราชการบางหน่วยยังยกเป็นตัวอย่างให้ชุมชนอื่น ๆ ได้ปฏิบัติตาม การทอดกฐินสมัยก่อน พนักงานจะร่วมกับชาวชุมชนช่วยกัน แต่งองค์กฐินและสมโภชกันที่หมู่บ้านในวันทอดก็จะแห่จากหมู่บ้าน ไปที่ วั ด วั น สำคั ญ ทางศาสนา เช่ น วั น มาฆบู ช า วั น วิ ส าขบู ช า
วันอาสาฬหบูชา พนักงานส่วนหนึ่งและครอบครัวพากันเดินตามทาง ข้างหมูบ่ า้ นไปเวียนเทียนทีว่ ดั ป่าลิไลวัลย์ (วัดเขาฉลาก) การมีสว่ นร่วม ในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่วา่ การดูแลพัฒนาหมูบ่ า้ น งานเลีย้ งฉลองต่าง ๆ งานตามประเพณีนิยมงานบุญงานกุศล ล้วนจัดกันเอง ทำให้เกิด ความสามัคคี ความเป็นกันเอง เข้าอกเข้าใจกัน ผิดถูกไม่ถือโกรธ อภัยแก่กัน ซึ่งมีผลต่อการทำงานร่วมกัน แม้อยู่ต่างแผนกแต่ก็ให้ ความร่วมมือช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี ในสมัยนั้นทุกคนทำงานกัน อย่างสนุกสนานและมีความสุขมาก กับชาวชุมชนรอบโรงกลัน่ การทำ กิจกรรมร่วมกันก็ทำให้เกิดความเป็นเพื่อน พี่ ป้า น้า อา มีปัญหา อะไรก็จะบอกกล่าวกัน ช่วยกันแก้ไข เราอยู่กันอย่างมีความสุข เมื่อนึกถึงปีแรก ๆ ที่เรามาอยู่ที่ศรีราชาใหม่ ๆ ศรีราชาก็ยัง เป็นเมืองเล็ก ๆ หมู่บ้านอ่าวอุดมก็ยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีอาชีพ การเกษตรและการประมง เมื่อบริษัทฯ มาตั้งโรงกลั่นและมีพนักงาน เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการจ้างงานแก่ชาวชุมชน เกิดอาชีพต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เช่น การค้าขาย การรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า เสริมสวย งานก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และงานอื่น ๆ อีกมากมาย
เมื่อเศรษฐกิจดี ศรีราชาจึงเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองใหญ่เมือง หนึ่ง นับว่าบริษัทฯ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่สร้างความเจริญให้ ศรีราชา ส่วนผมเองก็แอบภูมิใจที่เป็นส่วนเล็ก ๆ ของบริษัทฯ ใน การพัฒนาเมืองนี้เช่นกัน และหวังว่า รุ่นน้อง ๆ ซึ่งมีความรู้ด้าน เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่ารุ่นพี่ ๆ จะยิ่งมีส่วนเสริมสร้างความเจริญ และความอยู่ดีมีสุขให้แก่ศรีราชายิ่ง ๆ ขึ้นไปนะครับ ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
15
ปราชญ์ชุมชน
โดย สรีชา
ความเป็ น ลู ก ผู้ ช ายแบบอย่ า ง ตาไช้ ไม่ ใ ช่ แ ค่ เ รื่ อ งความขยั น อดทนและสู้งาน แต่รวมไปถึงน้ำ จิ ต น้ ำ ใจแบบนั ก เลงโบราณ เสียงดัง มุ่งมั่นและทำจริง
ตาไช้ ลูกผู้ชายบ้านทุ่ง หากมีใครสักคนเฝ้ามองถนนสายเล็ก ๆ ในชุมชนบ้านทุ่งก็จะ เห็ น ผู้ เ ฒ่ า สู ง วั ย คนหนึ่ ง เดิ น ไปมาอยู่ เ ป็ น ประจำ นั่ น คื อ ตาไช้
(ไช้ ด่านเทศ) คนบ้านทุ่งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่เวลาเดินแกจะเอามือ ไขว้หลัง และหลังค้อมลงเล็กน้อยตามประสาวัยที่มากขึ้น ระยะหลัง แกจะเริ่มมีไม้พาย (ที่ใช้กวนขนม) ถือติดมือมาด้วยใช้ต่างไม้เท้า เดินท่อม ๆ ไปตามถนนแวะคุยบ้าง แวะร้านชำซือ้ เครือ่ งดืม่ สุดโปรด บ้าง แกจะก้าวช้า ๆ แต่มนั่ คงไปเรือ่ ย ๆ ไปใกล้บา้ ง ไกลบ้าง (ส่วนจะ เป็นที่ไหนบ้างนั้นผู้เขียนจะค่อย ๆ เล่าให้ฟัง) ภาพตาไช้เดินไปมาจึง กลายเป็ น ภาพชิ น ตาของชาวชุ ม ชนบ้ า นทุ่ ง และละแวกใกล้ เ คี ย ง
ไม่มีใครไม่รู้จักตาไช้ ก่อนจะเอ่ยถึงที่ชื่อเสียงของแก ขอย้อนประวัติสักเล็กน้อย
ตาไช้เกิดและโตที่บ้านทุ่ง ญาติพี่น้องครอบครัวก็คนบ้านทุ่ง แก ทำงานมาแล้วหลายอาชีพ สมัยหนุ่ม ๆ ก็เป็นชาวนามีที่ของตัวเอง อยู่ 2 ไร่ นอกนั้นก็เช่าคนอื่น ลุงเน่า (อุลุม ด่านเทศ) ลูกชายตาไช้ เล่าให้ฟังว่า สมัยหนุ่มนั้นตาไช้แกเป็นคนดุ เสียงดัง กินเหล้าเก่ง คบเพื่อนมาก มีช่วงหนึ่งแกไปรู้จักกับตาป้อม คนทางอ่าวอุดมที่เล่น หนังตะลุงเป็น ตาไช้ก็ไปเล่นกับเขาด้วย ไปช่วยทำหน้าที่ตีกลอง ส่วนเรื่องเหล้าเมื่อก่อนเช้าดื่ม เย็นดื่ม แต่ก็เลิกมานานแล้วหลาย
สิบปี มีเข้าพรรษาปีหนึ่งแกหยุดเหล้า แล้วก็หยุดยาวเลย ไม่กินอีก
16 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
แต่ทุกวันนี้ที่ดื่มหนัก ๆ กลับเป็น เป็บซี่ ลุงเน่าเล่าให้ฟังพร้อม กับหัวเราะขำพ่อตัวเอง “แกกินวันละ 5-6 ขวด ไม่ใช่ขวดเล็กนะ เป็นขวดใหญ่ ขวดละ 10 บาท กินจนเมื่อสองวันก่อนต้องพาไปหมอ เพราะปวดท้อง หมอถามไปถามมา พอรู้สาเหตก็สั่งให้หยุดกิน เพิ่ง หยุดได้สองสามวันนี่เอง” ชื่อเสียงของตาไช้เป็นที่รู้จักมานานนมไม่ใช่เรื่องกินเหล้าเก่ง แต่เป็นฝีไม้ลายไม้ในการทำง่ามหนังสติ๊ก ทำจากไม้เนื้อดี ไม้ฉำฉา ไม้ประดู่ ไม้แดงบ้างแล้วแต่จะหาได้ แล้วแกะเป็นรูปร่างผู้หญิงเปลือย หุ่นดี สัดส่วนอวบอิ่มเป็นที่ต้องตาต้องใจ ชวนให้หลายคนอยากได้ เป็นเจ้าของ ถ้าสังเกตดูให้ดีงานของตาไช้ไม่ใช่แค่งานหัตถกรรมที่
พอมีฝีมือเท่านั้น แต่ตาไช้เป็นคนมีหัว หัวในที่นี้เป็นภาษาพูดชม หมายถึงว่าแกเป็นพวกมีความคิดสร้างสรรค์ ตัวง่ามหนังสติ๊กถูก ออกแบบให้สัดส่วนของรูปทรงผู้หญิงนั้นจับได้เหมาะมือ ส่วนมือทั้ง สองข้างที่ยกชูขึ้นก็ทำเป็นตัวง่ามสำหรับร้อยหนังสติ๊ก ส่วนศีรษะเล็ก กว่าปกติก็เพราะออกแบบให้เป็นเพียงส่วนประกอบ ไม่ใช่ส่วนสำคัญ ของชิน้ งาน เรียกว่าเข้าใจเน้นในส่วนทีค่ วรเน้นจริง ๆ (ส่วนทีล่ กู ค้าชอบ) นอกจากฝีมือการทำง่ามหนังสติ๊ก งานไม้ที่ตาไช้ถนัดอีกอย่าง คือ การทำพายกวนขนม แม่ค้าจากหลายที่ อยู่ไกลถึงอ่าวอุดม
ก็มีกิตติศัพท์แบบปากต่อปากทำให้มีคนเวียนมาสั่งไม้พายอันเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ลุงเน่าก็มีหน้าที่ไปหาไม้จากที่นั่นที่นี่มาให้ ลูกค้าบางคนก็
หาไม้ดี ๆ มาเองเพราะรู้ว่าเชื่อมือได้แน่ว่าจะได้ของดีและปราณีต กวนขนม ราคาแล้วแต่ขนาด ขนาดปกติราคาก็เดิม ๆ ตาไช้คิด
พายแต่ละอันตาไช้จะนั่งถาก วันละนิดวันละหน่อย (ตามกำลัง อันละ 200 บาทมานานนม ในปัจจุบัน) จนได้รูปแล้วก็ใช้ตะไบค่อย ๆ ขัด ๆ ถู ๆ อีกหลายวัน ง่ามหนังสติ๊กกับไม้พาย กลายเป็นรายได้หลักที่แกกินอยู่ได้ กว่าจะเสร็จ เมื่อยก็พัก นอนบ้าง เดินบ้าง โดยไม่ต้องพึ่งลูกหลาน แถมยังปลูกผักให้ทำกินกันในบ้านโดยไม่ พู ด ถึ ง เรื่ อ งเดิ น ก็ ต้ อ งยกให้ ต าใช้ เ ป็ น ปราชญ์ เ รื่ อ งการเดิ น ต้องซื้อ เหลือกินก็เก็บให้ลุงเน่าเอาไปขายเป็นรายได้เสริม นอกจาก เพราะแกเดินเก่งจริง ๆ เดินไปทั่วทั้งบ้านทุ่ง บางทีเลยไปไกลเป็น งานสร้างรายได้และความเพลิดเพลิน (แก้ปวดหลัง) งานเพื่อชุมชน กิโล ๆ ก็มี เช่น ถ้าจะไปเยี่ยมพี่สาวซึ่งบ้านอยู่ไกลออกไปอีกชุมชน ตาไช้ก็ทำมาตั้งแต่รุ่นหนุ่ม คือ แกะมะพร้าวอ่อน (บริเวณเปลือกที่มี หนึ่ง ต้องเดินไปตามถนนใหญ่ที่มีแต่รถสิบแปดล้อวิ่งทั้งวัน (ขอย้ำว่า ใยหนา) ให้เป็นรูปทรงสวยๆ ไว้ใช้ในงานบุญ งานบวช งานแต่ง คน สิ บ แปดล้ อ ) แกก็ ไ ม่ เ คยยั่ น ไม่ เ คยขึ้ น รถ ขอเดิ น ไปเท่ า นั้ น บ้านทุ่งและชุมชนใกล้เคียงล้วนเคยใช้บริการแกมาแล้วทั้งนั้น ใครจะ คุณสำราญ เพ็งหนู ชาวไทยออยล์เล่าให้ฟังว่า “ครั้งหนึ่งผมขับรถ ให้สตางค์หรือไม่ให้แกก็ไม่ว่าเพราะถือว่าเป็นน้ำใจคนบ้านเดียวกัน ผ่านไปเส้นนั้น เห็นแกเดินอยู่ข้างถนน ก็กลัวว่าสิปแปดล้อจะสอยแก (เสียดายที่ไม่เคยมีใครถ่ายรูปผลงานของตาไช้เก็บไว้) แต่น่าจะเชื่อ ไปซะ เลยจอดชวนแกขึน้ รถ จะไปส่งให้ ตาไช้แกโบกมือไล่ ไม่ตอ้ ง ๆ ได้ว่างามแน่ เพราะเมื่อถามลุงเน่าลูกชายว่าสืบทอดฝืมือต่อจากพ่อ แกไม่ขึ้นรถ แกจะเดินไป” บ้างหรือเปล่า ลุงเน่าหัวเราะแล้วตอบว่า “ผมมันใจร้อนทำไม่ได้ เห็นแข็งแรงอย่างนี้ ถ้าถามอายุ ปีนี้ตาไช้ก็กว่า 82 ปี จะย่าง หรอก พ่อแกปราณีต ใจเย็น” 83 ในเร็ววัน ลุงเน่าลูกชายเล่าต่อว่า “แกไม่ค่อยยอมอยู่เฉยๆ ถ้าไม่ แถมมือเย็นด้วย (อันนี้ผู้เขียนการันตี) หลังจากเห็นแปลงผัก ให้ทำก็จะบ่นว่าปวดหลัง ก่อนหน้านี้เคยไปเผาถ่านก็ต้องขอให้หยุด แบบปลูกเล่น ๆ ของแกแล้ว ถามว่า ฉีดยาอะไรบ้างไหม แกก็ว่าไม่ เพราะกลัวเวลาที่เข้าไปเรียงไม้ในเตาเผา เกิดล้มอยู่ในนั้นแล้วไม่มี ใช้แค่สองมือกับความใส่ใจเท่านั้นเอง เพราะถ้าเบื่อกับการถาก
ใครเห็น มาหลังๆ นี่แกก็เลยเปลี่ยนไปปลูกผักแทน” ไม้พาย แกะง่ามหนังสติ๊ก ตาไช้ก็จะมาเดินถอนหญ้า ดูแลแปลงผัก ที่ดินที่ตาไช้ไปปลูกผักเป็นที่ดินว่างเปล่าที่บริษัทไทยออยล์ อย่างดี ซื้อไว้ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ตาไช้ก็เข้ามาพลิกฟื้นกลายเป็น ชี วิ ต ตาไช้ เ ป็ น เสมื อ นแบบอย่ า งของการใช้ ชี วิ ต อยู่ อ ย่ า ง
แปลงผักใหญ่ ขนาดแกบอกว่าทำเล่น ๆ แต่ผักทุกอย่างที่แกปลูก เรียบง่ายและเป็นประโยชน์ให้ลูกหลานชาวบ้านทุ่งได้เห็นและเรียนรู้ ล้วนงามน่ากินทั้งนั้น ไม่ว่ามะเขือเปราะ มะเขือม่วง พริก มะระขี้นก แม้จะสูงวัยแล้วแต่ตาไช้ ก็คือ ตาไช้ ผู้ทรนงในฝืมือการทำงาน
มะละกอ กล้วย ฯลฯ ส่วนแปลงใหม่ที่เพิ่งทำไปไม่นานกำลังรอ อันเป็นเอกลักษณ์ ลูกผู้ชายเสียงดัง มุ่งมั่น ขยัน และทำจริง เป็นอีก ผักบุ้งขึ้นอยู่ คนหนึ่งที่ชุมชนต้องภูมิใจ วิธีปลูกผักของตาไช้ นอกจากจะต้องเดินจากบ้านมาพักใหญ่ แล้ว วิธีเข้าแปลงผักก็ไม่ธรรมดา ทางลัดแบบบันไดขึ้น 3 ขั้น ข้าม กำแพงแล้วลงอีก 3 ขั้น คนอายุ 82 ปืนขึ้นลงคล่องแคล่วจนหนุ่ม ๆ สาว ๆ ต้องอึ้ง ผักทั้งบริเวณที่เห็นนี้ เวลารดน้ำก็ไม่ใช่ง่าย ต้องใช้ วิธีตักน้ำแบบสาวเชือกดึงขึ้นจากบ่อซึ่งลึกไม่ต่ำกว่า 10 เมตร ตักขึ้น มาทีละถัง หิว้ ไปรดทีละแปลงทีจนกว่าจะหมด (ไม่กล้าคิดว่าทัง้ หมดนี้ จะกี่ถังกันแน่) แล้วอย่างนี้จะไม่ขอปรบมือให้ ตาไช้ ลูกผู้ชายบ้านทุ่ง ได้อย่างไร ความเป็นลูกผู้ชายแบบอย่างตาไช้ ไม่ใช่แค่เรื่องความขยัน อดทนและสู้งาน แต่รวมไปถึงน้ำจิตน้ำใจแบบนักเลงโบราณ เสียงดัง มุง่ มัน่ และทำจริง ว่าไงว่ากัน ไม่คดิ เล็กคิดน้อย อย่างง่ามหนังสติก๊ นี่ แกทำขายมาตั้งแต่รุ่นหนุ่ม ขายอันละร้อยบาท ทุกวันนี้ก็ยังร้อยเดียว รูปทรงที่แกะก็รูปเดียว คือ รูปผู้หญิงหุ่นดีที่หนุ่ม ๆ ชอบนักก็เลย ขายดีมาตลอด มีออเดอร์ครั้งละไม่ต่ำกว่า 10 อัน ใครมาบ้านแก ขอซือ้ บ้าง ขอบ้าง ทีห่ ยิบไปเฉย ๆ ก็มี (แกก็ไม่วา่ อะไร) จนไม่มเี หลือ ส่ ว นที่ เ ห็ น ในภาพถ่ า ย อั น สี น้ ำ ตาลอ่ อ นเป็ น งานที่ เ พิ่ ง ทำเสร็ จ
ส่วนอันสีน้ำตาลเข้มนั้นทำให้ลูกชายคือลุงเน่า ตั้งหลายสิบปีมาแล้ว (ที่ดูใหม่ก็เพราะแกเพิ่งหยิบมาขัดทาสีให้ใหม่) ส่วนผลิตภัณฑ์ไม้พาย ขอบคุณ คุณสำราญ เพ็งหนู เอื้อเฟื้อเรื่องราวปราชญ์ชุมชน ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
17
กระบอกเสียงชุมชน โดย กองบรรณาธิการ
วั น เดิ น ทางไปบ้ า นประธานชุ ม ชน
เขาน้ำซับตามเวลานัดหมาย เราตกใจเมื่อ เห็นกลุ่มควันโขมงเต็มหน้าบ้าน พอเข้าไป ใกล้สักหน่อยถึงได้มองเห็นอาจารย์ ไพบูลย์ กั ญ ญาคำ แขกคนสำคั ญ ของเรา กำลั ง ปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน ในการอำนวยการ ดู แ ลงานพ่ น ควั น ไล่ ยุ ง ในเขตชุ ม ชนบ้ า น
เขาน้ำซับอยู่นั่นเอง
คุณไพบูลย์ กัญญาคำ หรือที่ใคร ๆ ต่างเรียกขาน ท่านด้วยความเคารพว่าอาจารย์ไพบูลย์ เล่าถึงความเป็นมา ของชุมชน บ้านเขาน้ำซับให้เราฟังว่า แรกเริ่มเดิมทีกลุ่ม บ้านในบริเวณนี้เรียกกันว่าหมู่บ้านเขาน้ำซับ หมู่ที่ 6 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พื้นที่ติดกับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สมัยก่อนพื้นที่บริเวณ ชุมชนใช้เป็นที่เลี้ยงวัวเลี้ยงควายของชาวบ้าน พอเสร็จ จากหน้านา ชาวบ้านต่างพากันนำวัวควายมาปล่อยให้
หากินตามลำพังของมัน พอถึงหน้านาอีกครั้ง ก็จะมาจับ เอาวัวควายที่ปล่อยไว้กลับไปไถนา สมัยนั้นไม่มีขโมย เหมือนในปัจจุบัน ชาวบ้านรู้จักมักคุ้นกัน เป็นญาติกัน อยู่กันด้วยความสงบสุขเป็นอย่างดีมาก ต่ อ มาประมาณปี 2542 เทศบาลต้ อ งการให้ ประชาชนมี ส่ ว นร่ ว มในการปกครอง จึ ง ได้ จั ด ตั้ ง เป็ น ชุมชนบ้านเขาน้ำซับขึ้น มีกรรมการ 9 คน ที่ปรึกษา ชุมชน 5 คน โดยมีอาจารย์ไพบูลย์รับหน้าที่ประธาน ชุมชนเรื่อยมา
18 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
อาจารย์ไพบูลย์ กัญญาคำ
ประธานชุมชนบ้านเขาน้ำซับ
คณะกรรมการเราก็ใช้วิธี เข้าไปคุยกับเขาเพื่อหาข้อมูล เพื่อช่วยเหลือเขา ถือเป็นการ ช่วยซึ่งกันและกัน “ผมเป็ น ประธานมาตั้ ง แต่ แ รก ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จาก
คณะกรรมการด้วยดีเสมอมา เราปกครองดูแลซึ่งกันและกันเหมือน กับพี่ ๆ น้อง ๆ เป็นแบบคนในครอบครัว มีอะไรเราก็ปรึกษาหารือกัน อาจมีความเห็นขัดแย้งกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วถ้าเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องทุกคนโดยส่วนรวม ทุกคนก็เข้าใจ เลยไม่มีปัญหาอะไร” อาจารย์เล่าถึงหลักการบริหารงานชุมชนที่ ยึดถือมาโดยตลอด จากอดี ต ครู ห นุ่ ม ไฟแรงชาวร้ อ ยเอ็ ด ที่ ย้ า ยมาอาศั ย และ ทำงานอยู่ ที่ ชุ ม ชนแห่ ง นี้ ตั้ ง แต่ ปี 2499 ต่ อ มาได้ ก ลายเป็ น เขย
ชาวบ้านอ่าวอุดม ระยะเวลา 50 กว่าปีที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์ได้ อย่างดีถึงความรักและความผูกพันกับชุมชนท้องถิ่นบ้านเขาน้ำซับ แห่ ง นี้ รวมถึ ง การดู แ ลลู ก หลานในชุ ม ชนด้ ว ยความเมตตาด้ ว ย
จิตวิญญาณแห่งความเป็นครู อาจารย์เล่าให้เราฟังต่อด้วยสีหน้ายิ้ม แย้มว่า “ผมเป็นครูตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ สอนที่โรงเรียนบ้านชากยายจีนจน เกษียณ สอนลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ผมอยากให้ลูกหลานในชุมชน ของเราเวลามีปญั หาอะไรให้มาพูด ไปทำอะไรผิดมาก็ขอให้มาเล่าให้ฟงั เมื่อ 2-3 วันมีเด็กที่กำลังเรียน ปวช. ปวส.อยู่ เขาอยากให้ผมเซ็น รับรองว่า เยาวชนคนนี้มีส่วนร่วมช่วยเหลือชุมชนอย่างไรบ้าง ผม เซ็นรับรองให้ และอดไม่ได้ที่จะสอนเขาตามประสาครูให้ตั้งใจเรียน ต้องมีความกตัญญูกตเวทีตอ่ ท้องถิน่ ต่อพ่อแม่ และผูม้ พี ระคุณทุกคน สอนให้ตั้งใจเรียน เพราะวิชาความรู้เป็นสิ่งสำคัญ ให้ตั้งใจเรียน อย่าไปทำในสิ่งที่ไม่ดี”
ต่อคำถามเรื่องอุปสรรคในการดูแลชุมชน อาจารย์ไพบูลย์ กล่าวว่า “นอกจากปัญหาเรือ่ งยาเสพติดและปัญหาลักเล็กขโมยน้อยแล้ว ชุมชนที่นี่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องขยะมูลฝอย ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่า
ที่บ้านเขาน้ำซับนี้มีร้านค้าของเก่ามากมายเต็มไปหมด บางร้านค้า ของเก่าบางคนต้องขอชมเชยว่า เขามีความรับผิดชอบสูง แต่มบี างแห่ง ที่ยังไม่ค่อยเรียบร้อย คณะกรรมการเราก็ใช้วิธีเข้าไปคุยกับเขาเพื่อ หาข้อมูล เพื่อช่วยเหลือเขา ถือเป็นการช่วยซึ่งกันและกัน” “นอกจากนั้น ในส่วนของพ่อแม่พี่น้องในชุมชน ผมอยาก ขอร้องให้ทุกท่านให้ความร่วมมือกับทางเทศบาล ชุมชน หรือบริษัท ต่าง ๆ เวลาทีเ่ ขามาสอบถามข้อมูลด้านต่าง ๆ หากท่านให้ความร่วมมือ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นาชุ ม ชนก็ จ ะได้ ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ ง เป็นจริง เพื่อที่จะได้นำไปแก้ปัญหาที่ตรงจุด ทำให้ท้องถิ่นของเรา เจริญ และพ่อแม่พี่น้องอยู่อย่างเป็นสุขขึ้น” สำหรับมิตรใกล้ชิดที่คุ้นเคยกันมานานอย่างโรงกลั่นไทยออยล์ อาจารย์ไพบูลย์กล่าวทิ้งท้ายให้เราฟังว่า “ผมขอเรียนจากใจจริงว่า ไทยออยล์เป็นบริษัทฯ ที่จริงใจและจริงจังในการทำงานเพื่อชุมชน โดยไม่มีอะไรเคลือบแฝง นึกถึงแต่ประโยชน์และความสุขของพ่อแม่ พี่น้อง และมีความเมตตากรุณาต่อชาวบ้านทุก ๆ คนเป็นอย่างดี
มีความเป็นประชาธิปไตย ให้ความสำคัญกับความคิดของชาวบ้าน มาโดยตลอด ผมอยากบอกว่า ชุมชนทัง้ 7 ชุมชนของเราก็รกั ไทยออยล์ เหมือนกับพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ”
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
19
ของดี บ้านเรา
โดย คนศรี
สีชัง
ถ้าพูดถึงของดีบ้านเราจะพลาดเกาะสีชังไปได้อย่างไร คนชลบุรีร้อย ทั้งร้อยต้องรู้จักเกาะสีชัง ถามว่ามีกี่คนเคยไปเที่ยวไหม ก็รับรองว่าเกือบ ร้อยบอกว่าเคย แต่ถ้าถามว่าไม่ ได้ ไปเที่ยวนานหรือยัง นั่นแน่ เริ่มมีเสียง คิดดังติ๊ก ๆ ๆ บางคนจำได้ครั้งล่าสุดก็หลายปีมาแล้ว อาจเป็นเพราะใกล้ ตัวจนลืมคิดถึง อย่างเนื้อเพลงที่ว่า สีชัง ชังแต่ชื่อ เกาะนั้นหรือจะชังใคร ดังนั้น เราอย่าเพิ่งชังหรือเบื่อเกาะใกล้บ้านของเราเลยนะคะ เพราะสีชังมี อะไรดี ๆ มากกว่าที่คิดค่ะ
...เกาะที่ไม่น่าชัง
เกาะสีชังเป็นเกาะขนาดใหญ่ มีพื้นที่รวมประมาณ 7.9 ตารางกิโลเมตรอยู่ห่างจากแผ่นดินคือตัวอำเภอศรีราชา ประมาณ 12 กิโลเมตร บนเกาะมีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่นานนับร้อยปี ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านทิศตะวันออกของเกาะ มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน จัดเป็นหนึ่งอำเภอของจังหวัดชลบุรี ความสำคัญของเกาะสีชังเป็นทั้งที่ตั้งของท่าเรือและที่จอดพักเรือสินค้า นานาชาติ และขึ้นชื่อเรื่องทัศนียภาพและสถานที่สวยงามมากมาย จนกลายเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของเกาะสีชัง ที่ผู้คน
ทั่วประเทศนับแต่อดีตนิยมมาเที่ยวที่นี่ จนปัจจุบันความนิยมก็ยังไม่เสื่อมคลาย คุณสามารถเลือกมาท่องเที่ยวในวันเดียวหรือ พักค้างคืนก็ได้ เสน่ห์ความงามทางธรรมชาติของเกาะสีชังขึ้นชื่อ จนกระทั่งเกาะแห่งนี้กลายเป็นเกาะประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง
ของเมืองไทย เพราะมีพระมหากษัตริย์ถึง 3 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เสด็จมาประพาสพักผ่อน
โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชฐานขึน้ เป็นพระราชวังฤดูรอ้ น โดยพระราชทานนามว่า พระจุฑาธุชราชฐาน ตั้งอยู่บริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสีชัง ประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์ พระตำหนัก 14 หลัง ศาลา 1 หลัง ทั้งหมดปลูกสร้างอยู่ตามชั้นเนินเขาที่สูงต่ำลดหลั่นกันอย่างเหมาะเจาะงดงาม ล้อมรอบด้วยหมู่ต้นลั่นทมที่ยามออกดอก
ส่งกลิ่นหอมเย็นทั้งบริเวณ อาคารที่งดงามรายรอบ อาทิ เรือนผ่องศรี ซึ่งโดดเด่นด้วยรูปอาคารแปดเหลี่ยมชั้นเดียวทาสีขาว หลังคารูปโดมโดดเด่น มีบันไดขึ้น 3 ทาง มีเฉลียงโดยรอบพร้อมลูกกรงไม้ มีประตูทั้งหมด 9 ประตู เพดานไม้ซึ่งออกแบบ ช่องระบายอากาศกึ่งกลางเป็นรูปกลีบดอกไม้ มีการวางแนวไม้เป็นวงแหวนโดยรอบอย่างสวยงาม เรือนวัฒนา เป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าทาสีเหลืองหม่น หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องเกล็ดเต่า ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐ ถือปูน แต่พื้นบันไดในอาคาร ประตู หน้าต่าง เพดาน และโครงสร้างของหลังคาทำด้วยไม้สัก มีเฉลียงด้านหน้าที่โดดเด่น อีกหลังหนึ่งที่น่าสนใจคือ เรือนอภิรมย์ เป็นอาคารชั้นเดียวผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวหันหน้าออกสู่ทะเลด้านทิศตะวันออก หลังคามุงกระเบื้องเกล็ดเต่า ลักษณะอาคารแบ่งเป็น 2 หลังขนานกัน มีลานซิเมนต์เชื่อมกลาง ใต้ถุนมีเสาใหญ่เรียงกัน
ด้านหน้า 8 ต้น รับแนวเฉลียงที่มีลูกกรงกันตกดูเรียบง่ายแต่ลงตัว สิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นไม่แพ้อาคารต่าง ๆ คือ สะพานอัษฎางค์ สะพานท่าเรือขนาดใหญ่ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทาสีขาว ทอดยาวลงไปในทะเล บริเวณสะพานมีศาลาให้นั่งพักผ่อนชมวิวได้ 3 แห่ง คือ บริเวณต้น กลาง และปลายสะพาน ตัวศาลา นั้นจะมีหน้าบันซึ่งแกะสลักอย่างประณีตด้วยฝีมือช่างชาวจีน นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สาว ๆ ชอบมาถ่ายรูปมากที่สุด
20 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
หากมาเป็นคู่ก็ต้องมาเดินจูงมือกันที่นี่ในยามเย็น เพราะบรรยากาศ
โรแมนติกมาก นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน ซึ่งมีนักเรียน โรงเรียนเกาะสีชังมาทำหน้าที่ยุวมัคคุเทศก์ นำชมรอบบริเวณพร้อม ข้อมูลและคำอธิบายที่ถูกต้อง ค่าตอบแทนนั้นก็แล้วแต่เห็นสมควร เรื่องรายได้ของเด็ก ๆ อาจเป็นส่วนเสริม แต่ที่ได้แน่ ๆ คือ เพียงแค่ มีพี่ ๆ มาเดินตามฟังน้อง ๆ พูดก็ช่วยให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ และจิตสำนึกรักบ้านเกิดมากขึ้นแล้วค่ะ สถานที่อีกแห่งที่ทุกคนมาถึงเกาะสีชังแล้วนิยมไปสักการะ คือ ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ชาวจีนทั้งในไทยและต่างประเทศให้ความ เคารพนับถือมาก รวมถึงศาลเจ้าแม่กวนอิม ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย และวิ ห ารพระสั ง กั จ จายน์ ส่ ว นวั ด ไทยก็ เ ป็ น ที่ เ คารพไม่ ต่ า งกั น
คือวัดอัษฎางคนิมิตร ซึ่งมีความงดงามมาก พระอุโบสถรูปกลม หลังคาแบน มีเจดีย์ซ้อนอยู่ข้างบน ภายในพระอุโบสถเป็นโถงกลม เพดานโค้งตามรูปเจดีย์ ประตูทางเข้าทั้ง 2 ประตู สร้างเป็นรูปโค้ง ยอดแหลม พร้อมช่องแสงโค้งติดกระจกคล้ายศิลปะสไตล์โกธิค เกาะสีชังยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม ไม่ว่า
จะเป็น ถ้ำเสาวภา ช่องอิศริยาภรณ์ (ช่องเขาขาด) ยามเย็นสามารถ มองเห็นพระอาทิตย์หายลับไปกับขอบน้ำ หาดถ้ำพัง (อ่าวอัษฎางค์) อ่าวโค้งทางทิศตะวันตกของเกาะ ซึ่งมีหาดทรายขาวสวยงาม น้ำใส สะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำและพักค้างแรม มีร้านอาหารและที่พัก ให้บริการ สำหรับขาลุยที่ชอบการแคมป์ปิ้งกางเต็นท์ ก็เลือกจับจอง พื้นที่ได้เลยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เสียเพียงค่าอาบน้ำจืดและเข้า ห้องน้ำเท่านั้น ช่วงที่เหมาะกับการมาเยือนเพื่อพักผ่อน คือ ช่วงฤดู หนาวจนถึงก่อนถึงฤดูฝน เสน่ห์ของเกาะสีชังไม่ใช่แค่สถานที่และบรรยากาศเท่านั้น เพียงก้าวเท้าขึน้ ถึงท่าเรือบนเกาะสีชงั ก็จะพบกับหลากวิธกี ารท่องเทีย่ ว ที่คุณเลือกได้ ขาลุยอยากซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์เที่ยวรอบเกาะหรือ
มาเป็นก๊วนอยากเช่าขี่กันเองก็เที่ยวสนุกได้พร้อมกัน หรือถ้าเป็น หมู่สาวสวยหรือมาเป็นครอบครัว ก็มีรถสกายแลปให้เลือก นั่ง เที่ยวรอบเกาะ อารมณ์เดียวกับนั่งรถตุ๊กตุ๊กเที่ยวกรุงเทพฯ แต่ สกายแลปที่นี่สนุกกว่าแน่นอน เพราะมีลมเย็น ๆ จากทะเลให้
ชื่นใจ ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษก็เที่ยวได้ทั่วเกาะ ค่าเช่ารถคิด เป็นรอบ ๆ รอบละประมาณ 150-250 บาท นอกจากนีท้ ราบไหมคะว่ารอบ ๆ เกาะสีชงั มีแหล่งปะการัง ที่น่าสนใจอยู่ด้วย หากสนใจเที่ยวชมมนต์เสน่ห์ใต้น้ำ ขอแนะนำ ที่ ท่ า ยายทิ ม ทางทิ ศ ใต้ ข องเกาะ ซึ่ ง เชื่ อ มอยู่ กั บ เกาะยายท้ า ว
เวลาน้ำทะเลลดลงเราจะสามารถเดินจากเกาะสีชังข้ามไปยังเกาะ ยายท้าวได้ ซึ่งบนเกาะก็จะมีหาดเล็ก ๆ เป็นจุดดำน้ำชมปะการัง และตกปลาได้ด้วย ปัจจุบันมีถนนคอนกรีตสามารถเดินทางไปได้ สะดวก หรือถ้ามาเทีย่ วหลายวันจะข้ามไปเกาะอืน่ ๆ ทีอ่ ยูใ่ กล้เคียง
ก็มีจุดชมปะการังสวย ๆ และจุดที่น่าเที่ยวอีกหลายแห่งค่ะ เห็นไหมคะ สีชงั คือ เกาะทีไ่ ม่นา่ ชัง แต่นา่ เทีย่ วอย่างจริงจัง ต่างหาก เพราะมีหลายแง่มุมให้ชมได้ไม่มีเบื่อ ใครไม่ได้มาเที่ยว สีชังถือว่ายังไม่ถึงชลบุรีค่ะ ส่วนคนชลบุรีถ้าไม่เที่ยวใกล้บ้านให้ ทะลุปรุโปร่งจะน้อยหน้าคนมาไกลได้นะคะ การข้ามไปเกาะสีชัง ข้ามได้ที่เกาะลอยและที่ “ท่าเรือจรินทร์” ซึ่งมีที่รับฝากรถ ชั่วคราว 50 บาท และจอดค้างคืน 100 บาท อัตราค่าโดยสารคนละ 40 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ
45 นาที เรื อ ออกจากฝั่ ง ศรี ร าชาเวลา 06.00-20.00 น.
ส่วนเรือออกจากเกาะสีชังเวลา 06.00-18.00 น. โดยมีเรือออก ทุก ๆ ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเกาะสีชังเพิ่มเติมได้ที่ ททท. ภาคกลางเขต 3 โทร. 0-3842-7667, 0-3842-8750
โครงการความร่วมมือในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปะการังและ การฟื้นฟูแนวปะการัง บริเวณหมู่เกาะสีชัง เพราะเล็งเห็นความสำคัญของแนวปะการัง บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กรมทรัพยากร
ทางทะเลและชายฝั่ง และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จึงร่วมมือกันพลิกฟืน้ แนวปะการังทีเ่ สือ่ มโทรมให้กลับคืนสภาพสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โครงการความร่วมมือ ในครั้งนี้มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2559 โดยระดมทรัพยากรทั้งองค์ความรู้ งบประมาณ และกำลัง ของผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปะการัง เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการฟื้นตัวของ ปะการังตามธรรมชาติ และจัดสร้างแหล่งอนุบาลพันธุ์ปะการัง ในอนาคตบริเวณหมู่เกาะสีชังจะสามารถ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงนิเวศสำหรับบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษาได้อีกด้วย ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
21
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม
โดย หงวน ชวน ชิม
บุญยังเจ้าเก่า...
่ ญ ห ใ จ ใ ่ ต แ ก ็ ร้ า น เ ล
หนึ่ ง ในเมนู อ าหารจานเดี ย วยอดนิ ย ม ของคนทั่วไปก็คงไม่แคล้ว “ก๋วยเตี๋ยว” ค่าที่ หากินง่าย กินสะดวก ได้เนื้ออิ่มท้อง ได้น้ำซด คล่ อ งคอ ฉบั บ นี้ จึ ง ขอเสนอร้ า นก๋ ว ยเตี๋ ย ว
รสดี ไม่ ไกลโรงกลัน่ ไทยออยล์ เชือ่ ว่าหลายคน ยังคงไม่ ได้ลิ้มลอง เพราะร้านนี้เพิ่งเปิดมาได้ เพียงปีเศษนิด ๆ ร้านชือ่ ก๋วยเตีย๋ วบุญยังเจ้าเก่า แต่คนแถวนีเ้ รียกร้านพีอ่ อ้ ย หรือเจ๊อ้อย (สายสวาท สนิทขำ) หุ้นส่วนใหญ่ของร้านซึ่งเป็นทั้ง หุ้นส่วนชีวิต และเจ้าของพื้นที่คือสามีนั้นก็ไม่ได้ชื่อบุญยัง หลาย คนจึงงงว่าทำไมต้องชื่อร้านบุญยัง พี่อ้อยเฉลยว่าตั้งชื่อร้านให้ เกียรติเพื่อนคนหนองคล้า ศรีราชา ที่เป็นเจ้าของสูตรพะโล้ ทั้ง เป็ดพะโล้ และขาหมู “เมื่อก่อนก็ขายแต่อาหารตามสั่ง ขายมาได้ 7-8 ปีแล้วแต่ ไม่ได้อยู่ตรงนี้ เพิ่งย้ายมาอยู่ที่นี่และขยายมาขายก๋วยเตี๋ยวด้วย ได้แค่ปีกว่า เพราะเห็นว่าแถวนี้ไม่ค่อยมีร้านก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะ ก๋วยเตี๋ยวเป็ดยังไม่มีใครขาย รวมถึงข้าวขาหมูด้วย” พี่อ้อยเล่า ที่มาของร้าน
22 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
เมนูของร้านนอกจากอาหารตามสั่งต่าง ๆ ที่หลายคนคุ้นเคย และติ ด ใจในรสมื อ มาอยู่ แ ล้ ว นั้ น พอเปลี่ ย นบรรยากาศมากิ น ก๋วยเตีย๋ ว ต่างก็ยกให้เป็นเมนูขนึ้ ชือ่ ของร้านไปเลยทีเดียว เพราะพีอ่ อ้ ย นำสูตรพะโล้จากเพือ่ นมาตุน๋ ทัง้ เป็ดและขาหมูได้เนือ้ นุม่ รสกลมกล่อม ขนาดสามีที่ยืนเชียร์อยู่ข้าง ๆ ยังแซวขึ้นว่า “เดี๋ยวนี้ฝีมือดีขึ้น” ทำเอาคนพามาชิม และคนชิมสงสัยต้องถามกลับ “อ้าว! แล้วเมือ่ ก่อน ไม่ อ ร่ อ ยหรื อ ” คุ ณ สามี จึ ง รี บ บอกทั น ที ก่ อ นที่ พี่ อ้ อ ยจะหั น มาว่ า
“เมือ่ ก่อนก็อร่อย แต่ตอนนีร้ สชาตินมุ่ นวลขึน้ ” อือ้ หือ ! ชมกันแบบนี้ ไม่ต้องสงสัยว่าตกเย็นต้องกินข้าวบ้านทุกมื้อแน่นอน นอกจากรสมือดีเยี่ยมแล้ว ไอเดียพี่อ้อยยังเลิศไม่ซ้ำใคร จากสูตรพะโล้ของเพื่อนนำมาขยายเป็นเมนูทั้งข้าวขาหมู ข้าวหน้า เป็ ด ก๋ ว ยเตี๋ ย วเป็ ด และที่ เ ด็ ด สะระตี่ ห ากิ น ที่ ไ หนไม่ ไ ด้ คื อ ก๋วยเตี๋ยวขาหมู เริ่มแรกจากมีคนไม่กินเป็ด แต่อยากกินก๋วยเตี๋ยว พี่อ้อยเลยเสนอให้ใส่ขาหมูแทน ปรากฏหลายคนติดใจจนกลายเป็น เมนูประจำ นอกจากนี้ยังดัดแปลงเพิ่มความอร่อยได้อีกเป็นข้าวราด กะเพราเป็ดและข้าวราดกะเพราขาหมู ทุกเมนูทั้งเป็ดและขาหมู ใครได้กินก็ต้องติดใจ เพราะไม่ใช่ แค่รสดี คุณภาพเยี่ยม แต่ปริมาณก็ยอด ทุกชาม ทุกจานคุณจะได้ สัมผัสลิ้มรสเป็ดและขาหมูแบบเต็ม ๆ (ลองดูในภาพ) ซึ่งพี่อ้อย
ยืนยันว่านี่คือ ปกติ ไม่ใช่พิเศษแต่อย่างใดในราคาเพียง 30 บาท เท่านั้น แล้วจะไม่ให้ติดท้องติดใจกันได้อย่างไร
มาว่าเรื่องอุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ พี่อ้อยบอกเลือก ใช้แต่ของดี ๆ แม้ว่าจะแพงหน่อย แต่ถ้าได้ของดีและสะอาด ลูกค้าก็สบายใจ เริ่มตั้งแต่หม้อพะโล้ ตอนพี่อ้อยไปเลือกซื้อ
เล่าว่าเห็นมีทั้งหม้อธรรมดาและหม้อไร้สารตะกั่ว ไม่รู้หรอกว่า หม้ อ แบบนี้ จ ะช่ ว ยให้ ตุ๋ น เนื้ อ ได้ เ ปื่ อ ยเร็ ว ร้ อ นนาน ช่ ว ย ประหยัดแก๊สด้วย เรียกว่าพอเห็นคำว่า “ไร้สาร” แสดงว่าต้อง ดีต่อผู้บริโภคแน่นอน พี่อ้อยก็ซื้อเลยไม่ลังเลใจ ผลดีเลยได้คืน กลับมาทั้งคนกิน เจ้าของร้าน และช่วยรักษ์โลกด้วย ส่วนผักคะน้าทีเ่ ลือกมาลวกกินกับขาหมู ก็ตอ้ งเป็นคะน้าจากเจ้าประจำ ที่รู้จักกันดีว่า สะอาดปลอดภัย เป็ดก็ต้องเป็นเป็ดไทย เห็นแขวนเข้าแถว อยู่ในตู้ตัวเล็ก ๆ ไม่ใหญ่ไม่โตอย่างร้านในเมืองก็อย่าติเตียนกันไป เพราะ พี่อ้อยบอกว่าตั้งใจเลือกเอาแบบนี้ เป็ดไทยจะตัวเล็กกว่าเป็ดปักกิ่ง หรือ เป็ดพันธุอ์ นื่ ทีเ่ ห็นตัวโต ๆ คอยาว ๆ อย่างนัน้ พีอ่ อ้ ยบอกว่า เนือ้ จะค่อนข้าง สาบ กินยาก แต่เป็ดไทยที่พี่เลือกมานี้เป็นเป็ดไข่ ตัวเล็ก ตุ๋นแล้วเนื้อนิ่ม และไม่คอ่ ยมีกลิน่ คนไม่เคยกินเป็ดก็กนิ ได้ ไม่รสู้ กึ ว่าเหม็นหรือคาว นัน่ แน่ อยากชิมแล้วใช่ไหมคะ ที่ติดใจเป็นพิเศษ คือ น้ำดื่มฟรีที่มีให้ทุกโต๊ะ เพราะนอกจากจะ มัน่ ใจได้วา่ เป็นน้ำถังสะอาดแล้ว ทีส่ ำคัญคือน้ำแข็ง พีอ่ อ้ ยก็เลือกน้ำแข็งหลอด ซึ่งราคาแพงกว่าน้ำแข็งป่นทั่วไป แต่การันตีเรื่องความสะอาดได้มากกว่า ยิ่งหน้าร้อนอย่างนี้ นอกจากอาหารที่ต้มสุกสะอาดแล้ว ตัวอันตรายที่ชวน ให้ท้องเสียได้ง่าย ซึ่งคนส่วนใหญ่มองข้ามไปก็คือ น้ำแข็ง นั่นเอง แต่มา ที่ร้านพี่อ้อยแล้วสบายใจหายห่วง จะกิน จะดื่มเท่าไร ดับร้อนแก้กระหาย
ก็สบายใจได้ ร้านนีใ้ ห้ฟรีคะ่ นัง่ นาน ๆ ดืม่ น้ำเย็น ๆ แล้วรับลมเย็น ๆ ก็ยงั ได้ เพราะพี่อ้อยกับคุณสามีจัดร้านให้โล่งโปร่งสบายตามทางลมผ่าน ลมจึง พัดตลอดทะลุหน้าร้าน หลังร้าน ไม่ง้อแอร์ให้เปลืองไฟ (และอาจยังต้อง มาคิดค่าไฟเพิ่มในค่าก๋วยเตี๋ยวอีก) พัดลมตัวเดียวก็อยู่แล้ว ใครว่าร้านเล็ก ๆ จะช่วยดูแลสิง่ แวดล้อมไม่ได้คะ แค่ทำอะไรง่าย ๆ เพียงใช้หัวใจคิดถึงคนอื่นอย่างพี่อ้อย ก็ทำให้ทั้งอาหารอร่อยและช่วยโลก ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมไปอุดหนุนร้านเล็กที่มีหัวใจใหญ่กันนะคะ
ร้านบุญยัง อยู่ที่ชุมชนบ้านทุ่ง ถนนเส้นตรงจากโรงกลั่น ไทยออยล์ ทางแยกก่อนถึงทางเข้า บ. ไทยพาราไซลีน ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 200 เมตร ร้านจะอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามวงเดือนอพาร์ทเม้นท์ เปิดทุกวันตั้งแต่ 07.00 – 17.00 น. สอบถาม โทร. 08-7835-1242
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
23
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน
โดย คำละไม
บ้ า น ร้ ง์ ห้ ว ย ลัแกษณ รักษาอัต อนุรักษ์นิเวศ
รอยยิ้ม เสียงหัวเราะที่ผสานกันของ คนขับเรือและนักท่องเที่ยว ทำให้ลำคลอง ห้ ว ยแร้ ง ยามต้ น หนาวมี ชี วิ ต ชี ว ามากขึ้ น เกาะแก่งที่ผุดชัดมากกว่าสิบแห่ง กลายมา เป็นต้นทุนที่ไม่ต้องซื้อหาของชุมชนริมคลอง แห่ ง นี้ ความเอื้ อ อารี ช่ ว ยสานสั ม พั น ธ์ ระหว่างชาวชุมชนและผู้มาเยือน นำไปสู่
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีคุณค่า ส่งผลให้ ชุ ม ชนสามารถรั ก ษาอั ต ลั ก ษณ์ แ ละสภาพ แวดล้อมเอาไว้ได้ งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : ปฐมบทของชุมชน บ้านใกล้เรือนเคียงไม่ไกลชลบุรีบ้าน เรา ที่อำเภอเมือง จังหวัดตราด ชุมชนบ้าน ห้วยแร้ง เป็นชุมชนเล็ก ๆ ริมคลองที่มีเสน่ห์ เฉพาะตัว ด้วยวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมริมสายน้ำ จากคลองห้ ว ยแร้ ง ที่ ไ หลเรื่ อ ยลงสู่ ท ะเล
ในชุมชนจึงมีทงั้ พืน้ ทีป่ า่ พืน้ ทีส่ วน พืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ อันเป็นธรรมชาติทรี่ ม่ รืน่ และสวยงาม ชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นคนดั้งเดิม มีอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ไร่สับปะรด เป็นต้น “ที่นี่เป็นชุมชนเกษตร บ้านแต่ละหลัง มักจะอยู่ห่าง ๆ กันจนดูเหมือนต่างคนต่าง อยู่ แต่ทุกคนก็จะมารวมตัวกันเสมอเมื่อมี งานประเพณี งานบุญต่าง ๆ” คุณสุทัศน์ สุ น ทรเวช เลขานุ ก ารกลุ่ ม การท่ อ งเที่ ย ว
“...ภาครัฐจะเอาเงินมาให้ ต้องสอดคล้องกับบริบท สังคมของชุมชนถึงจะรับ และเราไม่ร้องขอ เพราะ เงินก็เป็นส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งจึงต้องระวัง โดยเฉพาะถ้าชุมชน ยังไม่เข้มแข็งพอ...” สุทัศน์ สุนทรเวช เลขานุการกลุ่มการท่องเที่ยว เชิงนิเวศตำบลห้วยแร้ง
24 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
เชิงนิเวศตำบลห้วยแร้ง เริ่มต้นเรื่องราวที่จะ นำไปสูก่ ารอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมของชาวห้วยแร้ง “ชุมชนของเรามีธรรมชาติสวยงาม แต่คน
ในชุมชนเห็นเป็นของธรรมดาเพราะเห็นกัน มาตัง้ แต่ปยู่ า่ ตายาย จนกระทัง่ มีคณุ ลุงคนหนึง่ ไปประชุ ม ที่ ต ำบลเนิ น ทรายและได้ พ บกั บ อาจารย์อรุณศรีอื้อศรีวงศ์ ซึ่งทำเรื่องอนุรักษ์ ป่าชายเลนอยู่แล้วรู้สึกประทับใจ ก็เลยขอให้ อาจารย์มาช่วยทีช่ มุ ชนบ้าง อาจารย์ยงั ไม่ได้มา แต่ก็ให้เบอร์โทรติดต่อไว้ จนไปเชิญอาจารย์ อี ก ครั้ ง อาจารย์ ก็ ม าดู และเห็ น ว่ า สภาพ แวดล้อมของชุมชนสวยมาก” ในขณะนั้นอาจารย์อรุณศรีอื้อศรีวงศ์ กำลั ง ทำปริ ญ ญาเอกอยู่ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ราชภัฏอุดรธานี เมื่อได้เห็นธรรมชาติที่ยังคง อุดมสมบูรณ์ และความมีจิตสำนึกในการ อนุ รั ก ษ์ ข องชาวชุ ม ชนห้ ว ยแร้ ง จึ ง ได้ น ำ โมเดลการวิจัยเรื่อง “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” มาเสนอให้ ชาวห้วยแร้งปรับใช้เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิจัยชาวบ้าน ที่มาของความยั่งยืน เมื่ อ ชาวบ้ า นตกลงใจร่ ว มกั น แล้ ว ก็ เชิญตัวแทนชุมชนจาก 11 หมู่บ้านในตำบล ห้วยแร้งกว่า 300 คน รวมคนทั้ง 3 วัย คือ เยาวชน ผู้ใหญ่ และผู้เฒ่าผู้แก่มาร่วมคุยกัน โดยมีอาจารย์อรุณศรีเป็นวิทยากรกระบวนการ
สรุปเนื้อหาเรื่องราวของชุมชนตั้งแต่อดีตว่ามีความเป็นมาอย่างไร จนถึงปัจจุบันชาวบ้าน
อยู่กันอย่างไร และในอนาคตชาวชุมชนอยากจะอยู่กันอย่างไร “ชาวบ้านก็ตกลงใจกันว่าอยากจะรักษาสิง่ แวดล้อมของชุมชนเอาไว้ โดยใช้การท่องเทีย่ ว มาเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แล้วก็ช่วยกันคิดต่อว่า พวกเราต้องการอะไร อยากได้การท่องเที่ยวแบบไหน โดยยกตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ขึ้นมาคุยกัน แล้วก็ สรุปกันว่าเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” คุณสุทัศน์เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเวทีของการคุยกัน
แบบมีส่วนร่วมครั้งแรกของชุมชน
หลังจากนั้นชาวชุมชนห้วยแร้งได้จัด เวทีขนึ้ อีกเป็นระยะ ๆ พร้อมกับลงมือทดลอง ทำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนจึงค่อย ก่อรูปขึ้น และถูกปรับปรุง พัฒนาจากการมี ส่วนร่วมจริง ๆ จนนับเป็นงานวิจัยชาวบ้าน ที่ประสบความสำเร็จกลายมาเป็นต้นแบบให้ ชุมชนอื่นมาศึกษาดูงานในปัจจุบัน “แรก ๆ อาจารย์อรุณศรีให้ลูกศิษย์ มาช่วยท่องเที่ยวและพักตามบ้านกับชาวบ้าน แล้วให้ตอบแบบสอบถามเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข” คุณสุทศั น์ยอ้ นเรือ่ งราวแรกเริม่ “ก็ทำ ไปปรับไปจนค่อย ๆ เกิดเป็นกลุ่มโฮมสเตย์ ขึ้นมา และพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ หลังจาก โดนประเมินแบบย่ำแย่ในตอนแรก ๆ ชาวบ้าน ก็เริ่มมีห้องหับเป็นสัดส่วน มีที่นอนหมอนมุ้ง แยกต่างหาก ห้องน้ำสะอาด ทำกันจนได้ รับรองมาตรฐานจากกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา” นอกจากกลุ่มโฮมสเตย์ที่ประสบความ สำเร็จจากการทดลองปฏิบัติ และพัฒนาจน ได้มาตรฐานแล้ว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของ ชุมชนแห่งนี้ยังก่อให้เกิดกลุ่มต่าง ๆ ที่ใช้ ความรู้ แ ละกระบวนการวิ จั ย มาเป็ น ฐาน
ต่ อ ยอดจนสร้ า งองค์ ค วามรู้ได้ด้วยตัวของ ชาวบ้านเอง “เช่นเรื่องของฝาก เรามาดู ความเห็ น ของคนที่ ม าเที่ ย วว่ า อยากจะซื้ อ ของฝากเป็นสินค้าชุมชน พอดีช่วงนั้นมังคุด ราคาตกขายไม่ได้ ชาวสวนมังคุดเลยไม่เก็บกัน
ความขัดแย้งในชุมชนว่า “พวกเราจะไม่เอา เงินเป็นตัวตั้ง คนในชุมชนต้องมีจิตอาสา จะทำอะไรก็ตามต้องไม่ไปคนเดียว และจะ ไม่ ท ำสิ่ ง ที่ จ ะทำให้ วิ ถี ชี วิ ต ชุ ม ชนเปลี่ ย น ปล่อยให้ร่วงทิ้ง อาจารย์อรุณศรีก็ช่วยไป รักษาความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ให้ได้ เอางานวิจัยเกี่ยวกับมังคุดมาให้ ชุมชนก็นำ สิ่ ง เหล่ า นี้ จึ ง จะเป็ น หั ว ใจของการพั ฒ นาที่
มาทดลองทำผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต่ า ง ๆ เช่ น สบู่ ยั่ ง ยื น ” คุ ณ สุ ทั ศ น์ ก ล่ า วสรุ ป ถึ ง เส้ น ทาง
ครีมอาบน้ำ ครีมพอกหน้า แชมพู ยาสระผม การพัฒนาของชาวชุมชน ทำไปใช้กันไปเองก่อน แล้วค่อย ๆ พัฒนา ความเข้ ม แข็ ง ที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ข อง ไปจนกลายเป็นสินค้าคุณภาพดี” ชุมชนห้วยแร้งในวันนี้ คือ การทำงานร่วม วันนีช้ าวชุมชนห้วยแร้งพัฒนาศักยภาพ กันแบบแบ่งตามกลุ่ม แต่ละกลุ่มไม่มีใคร ตนเอง เกิดเป็นคณะวิจัยกลุ่มต่าง ๆ อาทิ เป็นประธานใหญ่ แต่จะมีเลขานุการคอย กลุ่มทำสินค้าจากมังคุด กลุ่มอาหารรองรับ ประสานงานให้กลุ่มทำงานร่วมกัน ทุกกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยว กลุ่มล่องแก่งและ จะทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีตามความถนัด กิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ กลุ่มชมสวนผลไม้ และด้วยเอกลักษณ์นี้เองทำให้ชาวชุมชนห้วย กลุ่มกลองยาวต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเป็น แร้ ง สามารถรั ก ษาความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข อง กลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มทำนา กลุ่มบำบัดแผนไทย ทรัพยากรชุมชนเอาไว้ได้ และยังได้รับรางวัล เป็นต้น “จากเรื่องท่องเที่ยวเชิงนิเวศเรื่อง ต่ า ง ๆ มากมาย จนกลายมาเป็ น ชุ ม ชน เดียวทำให้เกิดการพัฒนาเป็นกลุ่มต่าง ๆ ต้นแบบที่มีผู้ขอเข้ามาศึกษาดูงานอย่างไม่ ในชุมชนได้มากมาย และทุกกลุ่มเกิดขึ้น ขาดสาย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาว จากการมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชนทั้ ง หมด บ้านทุกคนในชุมชนห้วยแร้ง ชาวบ้านช่วยกันคิดขึ้นเอง ไม่มีเจ้านายสั่ง และเราทำแบบเป็นกระบวนการที่นอกจาก เน้นการมีส่วนร่วมแล้วเรายังให้ความสำคัญ กับการองค์ความรู้ของเราเอง สิ่งที่เกิดขึ้นใน ชุมชนจึงมีความยั่งยืน” คุณสุทัศน์กล่าว ขอบคุณ ง ชาวชุมชนห้วt.ยgแoร้.th/tat รักษาอัตลักษณ์และเป็นหนึ่งเดียว http://www.tarayrang.htm /index_hu ส่วนจาก ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญนอกจาก ข้อมูลบาง ultiply.com การทำงานร่วมกัน ด้วยจิตสำนึกที่เห็นความ :/ http /worras/nit.almbum/114 /photo aeng สำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว /Huai_R แล้ว คือการตั้งกฎร่วมกันไว้เพื่อหลีกเลี่ยง ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2554
25