CSR Thaioil Journal 8

Page 1


สารบัญ เรื่องจากปก

1

ตามรอยพ่อ

4

รอบรั้วไทยออยล์

6

บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ 10

50 เรื่องราวความผูกพัน ความทรงจ�ำต่อไทยออยล์

ในโอกาสครบรอบ 50 ปีการด�ำเนินกิจการของเครือไทยออยล์ ขอเชิญทุกท่านบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจของท่าน ที่มีต่อ เครือไทยออยล์ผ่านตัวอักษรความยาว 1 หน้า กระดาษ A4 ส่งมาที่กองบรรณาธิการ จุลสาร ชุมชนของเรา หรือ อีเมลมาที่ chantawan@thaioilgroup.com

เรื่องใดได้รับการตีพิมพ์ในจุลสารชุมชนของเรา ทางกองบรรณาธิการมีของรางวัลมอบให้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2299 0000, 0 2797 2999 ต่อ 7231, 7235

จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) จัดทำ�โดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร สำ�นักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยค่ี อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2299 0000, 0 2797 2999 โทรสาร 0 2797 2974 โรงกลัน่ : เลขที่ 42/1 หมูท่ ี่ 1 ถนนสุขมุ วิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุง่ สุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0 3840 8500, 0 3835 9000 โทรสาร 0 3835 1554, 0 3835 1444 แผนกบริหารงานชุมชน 0 3835 5028-31

เคล็ดลับสุขภาพ

11

ก้าวทันโลก

12

ปลอดภัยใกล้ตัว

13

จิตอาสา

14

ปราชญ์ชุมชน

16

ของดีบ้านเรา

18

กระบอกเสียงชุมชน

20

รู้จักพลังงานทางเลือก

22

ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

24

เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

26

ชุมชนที่ฉันรัก

28

ลับสมองลองเล่นเกม

29


เรื่องจากปก

โดย กองบรรณาธิการ

กองทุนการศึกษาเครือไทยออยล์

เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนในชุมชน

เครือไทยออยล์สานต่อปณิธานในการเพิม่ โอกาสและศักยภาพด้านการศึกษา ให้เยาวชนในชุมชนรอบโรงกลัน่ และสถานศึกษาในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 250 ทุน โดยจัดพิธีมอบ ทุนการศึกษา และกองทุนการศึกษาเครือไทยออยล์ ในโอกาสครบรอบวันสถาปนาบริษัทครบ 50 ปี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีคุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) ประธาน ที่ ป รึ ก ษานายกเทศมนตรี น ครแหลมฉบั ง นายกเทศมนตรี น ครแหลมฉบั ง รองอธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักเขตพื้นที่ประถมศึกษาชลบุรีเขต 3 ผู้บริหารบริษัท ในเครือไทยออยล์ ประธานชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียน ให้เกียรติร่วมงาน ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน

บนเส้นทางการเติบโตทางธุรกิจด้านการกลั่นน�้ำมันและปิโตรเคมี ตลอดระยะเวลา 50 ปี เครือไทยออยล์ได้มงุ่ มัน่ พัฒนาสังคมให้เจริญเติบโต เคียงคูก่ บั ธุรกิจอย่างยัง่ ยืนเสมอมา ด้วยส�ำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา เพราะเชื่อมั่นว่าการศึกษาคือทรัพย์สิน ทางปัญญาทีจ่ ะติดตัวน�ำไปใช้ประกอบอาชีพ เพือ่ น�ำความรูค้ วามสามารถ กลับมาพัฒนาถิน่ ฐานบ้านเกิดให้เจริญก้าวหน้า พร้อมทัง้ ยังเป็นเครือ่ งมือ น�ำไปสู่การพัฒนาสังคมรอบตัวและประเทศชาติในอนาคต เครือไทยออยล์มงุ่ พัฒนาการศึกษาอย่างแน่วแน่และต่อเนือ่ ง โดยได้จดั โครงการมอบทุนการศึกษาตัง้ แต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับ อุดมศึกษา และมอบทุนอุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์การเรียน แก่นักเรียนและโรงเรียนรอบโรงกลั่น รวมทั้งในเขตอ�ำเภอศรีราชาเป็นประจ�ำ ทุกปีนบั แต่อดีต และได้มอบกองทุนการศึกษาเครือไทยออยล์เพือ่ สถาบันการศึกษาแก่โรงเรียนในอ�ำเภอศรีราชาและเขตเทศบาลต�ำบล แหลมฉบังในขณะนั้น เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่อมาเครือฯ ได้สร้างความยัง่ ยืนของโครงการ ด้วยการให้ทนุ การศึกษาต่อเนือ่ งระดับประถมศึกษาและระดับอุดมศึกษา รวมทัง้ ได้ขยายโอกาสทางการศึกษาจากเดิม 7 ชุมชนรอบโรงกลั่น เป็นโรงเรียนในเขต 22 ชุมชนของเทศบาลนครแหลมฉบัง นับแต่อดีตจนถึงวาระครบรอบ 50 ปีการก่อตั้ง บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) เจตนารมณ์ในการเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน และสังคมโดยรวม ได้รับการเติมเต็มด้วยการมีส่วนร่วมของพนักงานและอดีตพนักงานไทยออยล์ ผ่านทางชมรม สมาคม ที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งล้วนมีความมุ่งมั่นตั้งใจร่วมสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน และต่อยอดโครงการให้มีมูลค่าและความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) “การด�ำเนินธุรกิจควบคูก่ บั ความรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นภารกิจหลักของบริษทั ฯ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ การส่งเสริมงานด้านการศึกษา ซึง่ ถือเป็นรากฐานส�ำคัญของสังคม หากเยาวชนทีจ่ ะเติบโต ไปเป็นก�ำลังของชาติในอนาคตมีศกั ยภาพทีด่ ี ก็จะสามารถร่วมกันพัฒนาท้องถิน่ แหลมฉบังของเรา และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป นับว่าเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน ในวาระครบรอบการก่อตั้ง 50 ปีของบริษัทฯ ในวันนี้ เรามุ่งเน้นการศึกษาอย่างต่อเนื่องกับ นักเรียนและนิสิตมากยิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากพนักงานเครือไทยออยล์อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนของเราได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนเพิ่มเติมและต่อเนื่อง ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

1


เรื่องจากปก ผมขอขอบพระคุณท่านนายกเทศบาล ประธานคณะที่ปรึกษา ผู้บริหารสถาบัน คณาจารย์ และคณะกรรมการชุมชน ที่ให้โอกาสบริษัทฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศ และสังคมอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ถ้าไม่มีชุมชนที่แข็งแกร่ง ไทยออยล์ก็อยู่ไม่ได้ เรา ถือเสมือนว่าเราเป็นพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน ทุนการศึกษาเป็นสิ่งเล็กน้อยที่พอ จะช่วยแบ่งเบาภาระของท่านผู้ปกครอง เพื่อให้ลูกหลานของเราสามารถมีศักยภาพ ในการศึกษาและปฏิบัติหน้าที่เป็นประชาชนที่ดีต่อไปในอนาคต ไทยออยล์หวังเป็น อย่างยิ่งว่า ลูกหลานของเราคงจะเติบโตที่นี่ เรียนหนังสือที่นี่ และท�ำงานที่นี่”

คุณบุญเลิศ น้อมศิลป์ ประธานที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง “ผมในฐานะที่เคยด�ำรงต�ำแหน่งนายกเทศมนตรีต�ำบลแหลมฉบังมา 4 สมัย 18 ปี สมัยก่อนบ้านผม อยู่ที่บ้านทุ่ง จะต้องเดินผ่านไทยออยล์ไปเรียนที่โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอมแล้วค่อยย้ายมาวัดมโนรม ผมอยากจะบอกกับลูกหลานของพวกเราไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือนักเรียนว่า บริษัท ไทยออยล์และบริษัท ในเครือได้ให้ความส�ำคัญกับลูกหลานของพวกเรามาตลอดในการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น ๆ ซึ่ง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นในระดับอ�ำเภอหรือแม้กระทั่งในระดับของจังหวัด ไทยออยล์ได้ให้ความส�ำคัญอยู่ เสมอมา วันนี้ได้แจกทุนให้กับลูกหลานของพวกเรา 241 ทุน เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณสองล้านกว่าบาท และไม่ใช่เพิ่งจะมาแจก เขาแจก มาตลอด ผมต้องขอบคุณเครือไทยออยล์นะครับ ทีไ่ ด้ให้ความกรุณาและเห็นความส�ำคัญของการศึกษา ได้มอบทุนให้กบั ลูกหลานของพวกเรา ท�ำให้ลูกหลานของพวกเราได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการศึกษา และขอให้ลูกหลานของเรานั้นได้น�ำทุนไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับ การศึกษา เพื่อให้ส�ำเร็จออกมาท�ำงานรับราชการ หรือมาท�ำงานในบริษัทต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงชีพตัวเองต่อไป” คุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง “ตามทีท่ า่ นประธานทีป่ รึกษา อดีตนายกบุญเลิศ น้อมศิลป์ ท่านกล่าวถึงบทบาทของบริษทั ไทยออยล์ ทีไ่ ด้มตี อ่ สังคม ซึง่ ดิฉนั เองก็ได้รบั สืบทอดเจตนารมณ์จากท่านทีจ่ ะประสานงานร่วมกับเครือไทยออยล์ เพือ่ พัฒนาแหลมฉบังให้เป็นเมืองน่าอยูค่ กู่ บั อุตสาหกรรม ซึง่ นับว่าเป็นสิง่ ทีค่ อ่ นข้างยากในการทีจ่ ะด� ำเนินการ ในด้านต่าง ๆ ได้เพียงล�ำพัง แต่ถา้ หลาย ๆ หน่วยงานไม่วา่ จะเป็นบริษทั หรือชุมชนหรือว่าท้องถิน่ มีสว่ นร่วม เราก็จะพัฒนาท้องถิ่นได้ ดิฉนั ต้องขอขอบคุณไทยออยล์ และขอแสดงความยินดีกบั นักเรียน นักศึกษา นิสติ ทุกคน ทีว่ นั นีไ้ ด้รบั การคัดเลือกจากชุมชนมารับทุนการศึกษาของบริษทั ฯ ซึง่ ก็นบั ว่าพวกเราได้รบั โอกาสจากทางบริษทั ฯ ขอให้ทกุ คน ตั้งใจเรียน ประพฤติตนให้เป็นคนดี และน�ำทุนการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ สมเจตนารมณ์ของ ทางไทยออยล์ จะได้เป็นก�ำลังที่ส�ำคัญของชุมชนและประเทศชาติต่อไปได้ และในโอกาสเป็นวันมงคลของบริษัทในเครือไทยออยล์ ในวันนี้ ก็ขออวยพรให้บริษัท ไทยออยล์จงอยู่คู่กับประเทศไทย ชุมชนและท้องถิ่นสืบต่อไปอย่างยั่งยืนค่ะ”

2

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


เรื่องจากปก อาจารย์สนธยา นาคปฐม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม “เด็ก ๆ โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอมของเราตั้งใจเรียนดีครับ เพราะว่าเขาได้รับก�ำลังใจจากหลาย ๆ ฝ่าย บริษัท ไทยออยล์ได้มอบ ทุนการศึกษาให้กับนักเรียนของเราเป็นอย่างดีมาโดยตลอด และขณะนี้มีทุนการศึกษาต่อเนื่องให้กับเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-ประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเด็กพวกนี้จะตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี และทุนนี้ยังช่วยลดภาระของผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่ของ นักเรียนในโรงเรียนเรามีฐานะยากจน เมื่อได้รับสนับสนุนจะช่วยลดภาระในการเลี้ยงดูบุตรหลานในแต่ละปี ที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่ง คือ กองทุนการศึกษาที่บริษัท ไทยออยล์ให้มา โรงเรียนได้น�ำมาใช้ในการพัฒนา โรงเรียนของเราโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของเทคโนโลยีและดนตรีไทย ขณะนีเ้ รามีดนตรีไทยทีค่ อ่ นข้างจะ ได้มาตรฐาน ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์จากไทยออยล์นี่ละครับ เราเคยถามเด็ก ๆ ของเราว่าโตขึ้นหนูอยากจะเป็นอะไร นักเรียนของเราตอบว่าอยากเป็น คุณหมอบ้าง อยากเป็นต�ำรวจบ้าง อยากเป็นทหารบ้าง บางคนก็บอกว่าอยากเป็นคุณครู อยากเป็นพยาบาล แต่มีนักเรียนหลาย ๆ คนบอกว่า เขาอยากท�ำงานที่บริษัท ไทยออยล์ ผมถามว่าท�ำไม เขาตอบว่า เขารัก ไทยออยล์และมีความผูกพันกับไทยออยล์” คุณวิศิษฐ์ พุทธตรัส ประธานกรรมการชุมชนบ้านทุ่ง “กรรมการชุมชนจะคัดสรรทุนการศึกษาให้เด็ก โดยดูวา่ ต้องมีความกตัญญูนะครับ เชือ่ ฟังพ่อแม่ ถือว่า เป็นหลัก ๆ เลย เรียนดีไม่เกเร และมีความตั้งใจ ก็จะได้รับทุนที่ไทยออยล์มอบให้ ท�ำให้ผู้ปกครองดีใจ เด็กก็ดีใจ และคณะกรรมการชุมชนเองก็เห็นความจริงใจในการดูแลการศึกษา หรือว่ามอบปัญญาให้กับ เยาวชน ปีนไี้ ทยออยล์ครบ 50 ปี ต้องขอขอบคุณพนักงานของบริษทั ไทยออยล์ทรี่ ว่ มมอบทุนให้อกี ท�ำให้ เยาวชนของเราได้มโี อกาสในการรับทุนในครัง้ นีเ้ พิม่ ขึน้ สุดท้ายนีข้ อให้ทางบริษทั ไทยออยล์และบริษทั ใน เครือรวมถึงทีมงานทุกท่าน ให้ประสบความสุข ความเจริญในหน้าทีก่ ารงานและส่วนตัว และขอให้ไทยออยล์ จงอยู่คู่กับประเทศไทยและชุมชนของเราตลอดไป ขอขอบคุณครับ” นางสาวดวงกมล สงวนรัตน์ นักศึกษาคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา “หนูเป็นคนบ้านอ่าวอุดมมาแต่ก�ำเนิดค่ะ ตอนสมัย เด็ก ๆ หนูเรียนอยูท่ โี่ รงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 ทีอ่ ยูใ่ กล้ บ้าน ในช่วงทีเ่ รียนหนูได้รบั ทุนการศึกษาจากไทยออยล์มา โดยตลอด จากนัน้ หนูไปเรียนต่อชัน้ มัธยมศึกษาทีโ่ รงเรียน ศรีราชา ซึ่งหนูก็มีโอกาสอีกครั้งที่ได้รับทุนการศึกษาจาก ไทยออยล์ พี่ ๆ คณะกรรมการชุมชนและไทยออยล์คดั เลือก หนูให้ได้รับทุนการศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษาค่ะ ปัจจุบนั นีห้ นูเรียนอยูช่ นั้ ปีที่ 3 คณะทรัพยากรและสิง่ แวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา ปีหน้าก็จะมีโอกาสได้เข้ามาฝึกงานที่บริษัท ไทยออยล์ด้วย ซึ่งคงจะได้เรียนรู้การท�ำงานจากพี่ ๆ หนูจะพยายามท�ำให้ดีที่สุดนะคะ ให้สมกับโอกาส ที่หนูได้รับทุนจากไทยออยล์มาโดยตลอด เมือ่ หนูเรียนจบ หนูตงั้ ใจจะกลับมาท�ำงานใกล้ ๆ บ้าน ถ้าเป็นไปได้กอ็ ยากจะเข้า มาท�ำงานในบริษทั ไทยออยล์ จะได้นำ� ความรูต้ า่ ง ๆ ทีห่ นูได้เรียนมาไปใช้ทำ� ประโยชน์ แก่ชุมชนและท�ำประโยชน์ให้แก่บริษัทฯ สุดท้ายนี้ หนูขอขอบคุณไทยออยล์ที่ให้ โอกาสในด้านการศึกษาตั้งแต่หนูเล็ก ๆ จนถึงปัจจุบันนะคะ และหนูสัญญาว่าหนู จะท�ำให้ดีที่สุดค่ะ ขอบคุณค่ะ”

ผลิ ต ผลที่ ง อกงามเติ บ โตจากการ สนับสนุนและขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ เด็กและเยาวชนของเรา จะส่งผลให้พวกเขา เหล่านั้นน�ำความรู้ ความสามารถกลับมา พัฒนาบ้านเกิดให้เติบโตตามวิถีของแต่ละ ชุ ม ชน เพื่ อ สร้ า งคุ ณู ป การอั น ไม่สิ้นสุด แก่ชมุ ชนและสังคม 50 ปีแห่งการก้าวย่าง อย่างมัน่ คง ด้วยส�ำนึกความรับผิดชอบต่อ สังคม เครือไทยออยล์พร้อมจะก้าวต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและ สังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

3


โดย กระดาษกรอง

เก็บความรู้ เกี่ยวปัญญาจาก

“บ้านของพ่อ”

คงไม่ มี วั ง ของพระมหากษั ต ริ ย ์ อ งค์ ใ ดในโลกนี้ จะแปลกและน่าสนใจยิง่ ไปกว่าวังของพระมหากษัตริย์ ไทย อีกแล้ว เพราะ “พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน” ซึ่งตั้งอยู่ บนถนนราชวิถี เขตดุสติ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่ทปี่ ระทับหรือ “บ้าน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เท่านัน้ แต่ทนี่ นั่ ยังเป็นที่ทรงงาน และที่ตั้งของ “โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” โครงการทดลองทางด้านการเกษตรใน พระราชด�ำริ ที่ทรงก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 อีกด้วย

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ 1. โครงการไม่ใช่ธุรกิจ ได้แก่ นาข้าวทดลอง ป่าไม้สาธิต การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล กังหันลม ระบบผลิตน�้ำเย็นโดยใช้พลังงาน ความร้อนจากแกลบ บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบสูบน�ำ้ ด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม โรงกระดาษสา 2. โครงการกึ่งธุรกิจ ซึ่งเป็นกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบทาง การเกษตร รวมทั้งจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ในราคาที่ไม่หวังผลก�ำไร เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าทีผ่ ลิตได้เองภายในประเทศ โดยรายได้ จะน�ำมาใช้บริหารจัดการภายในโครงการต่อไป ได้แก่ กลุ่มงานนม เน้นการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการ วันนีเ้ ราจึงจะไปดูให้เห็นด้วยตาว่า “บ้านของพ่อ” น่าสนใจอย่าง เลี้ยงโคนม และการแปรรูปน�้ำนมดิบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ส่งเสริมให้ ประชาชนบริโภคนมและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน�ำ้ นม ซึง่ มีประโยชน์ตอ่ ที่เขาพูดกันจริงหรือไม่ เพราะเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประเทศ จึงท�ำให้ภายใน สุขภาพ ได้แก่ โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงนมผงสวนดุสิต ศูนย์รวมนม “บ้านของพ่อ” หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า “วังสวนจิตร” เต็มไปด้วย โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงเนยแข็ง โรงนมยูเอชทีสวนจิตรลดา โครงการทดลองเกีย่ วเนือ่ งทางด้านการเกษตรมากมาย ทัง้ นีเ้ พราะทุกที่ ที่เสด็จพระราชด�ำเนินเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร จะทรงเห็นปัญหา ของชาวบ้านที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องดิน น�้ำ ป่าเขา ที่ท�ำกิน อาชีพ ผลผลิตที่ได้ เมื่อเสด็จกลับจึงทรงน�ำปัญหาเหล่านั้นมาศึกษา เพื่อหา วิธีแก้ไขปัญหาของเกษตรกรเหล่านั้น

4

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


กลุ่มงานข้าว ศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษา ข้าวเปลือก การสีขา้ ว และการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้จากการสีขา้ ว พร้อมทั้งส่งเสริมให้ชาวนารวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ และด�ำเนินการ สีขา้ วเปลือกเอง ได้แก่ โรงสีขา้ วตัวอย่างสวนจิตรลดา และโรงบดแกลบ กลุ่มงานแปรรูปผลไม้ ศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการ แปรรูปผัก และผลไม้ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากผัก และผลไม้ ได้แก่ โรงน�ำ้ ผลไม้สวนจิตรลดา โรงน�ำ้ ผลไม้ บรรจุกระป๋อง โรงผลไม้อบแห้ง และขนมอบ กลุ่มงานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง ศึกษาและเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการผลิตเชื้อเพลิง (ทดแทนน�้ำมัน) รวมทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์ จากแอลกอฮอล์ ได้แก่ การผลิตแอลกอฮอล์ การผลิตแก๊สโซฮอล์และ ดีโซฮอล์ การผลิตไบโอดีเซล และสุดท้ายคือ กลุม่ งานอืน่ ๆ ศึกษาและเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และการน�ำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้แก่ โรงปุ๋ยอินทรีย์ การเพาะเลี้ยงและแปรรูป สาหร่ายเกลียวทอง โรงเพาะเห็ด โรงน�ำ้ ดืม่ โรงน�ำ้ ผึง้ โรงหล่อเทียนหลวง น่าทึ่งไหมคะว่าใน “บ้านของพ่อ” มีโครงการต่าง ๆ มากมาย พร้อมให้เราเข้าไปเรียนรู้ไปศึกษา เรียกว่าเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ทาง ด้านการเกษตรครบวงจร” เลยทีเดียว ทรงค้นคว้าทดลองทั้งทางด้าน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนือ่ งและยาวนาน เพือ่ ให้คนไทย ได้ดูเป็นตัวอย่าง ได้เก็บเกี่ยวความรู้ไปเพาะปลูกในพื้นที่ของตนเอง และสังคมต่อไป “ที่ นี่ เ ป็ น แค่ โ ครงการตั ว อย่ า งที่ อ ยากให้ ค นเข้ า มาดู ง าน ได้มาศึกษา มาเห็นของจริงแล้วน�ำสิ่งที่ได้ไปปรับใช้กับงานของตัวเอง ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์กบั ชุมชนต่อไป ฝากประชาสัมพันธ์บอกต่อ ด้วยนะคะว่า เราเปิดให้เข้าเยี่ยมชมฟรีค่ะ” เจ้าหน้าที่ที่น�ำชมกล่าว เชิญชวนในตอนท้าย การเยีย่ มชมของเราจบลงด้วยความสุขและอิม่ เอิบใจกับความรู้ ทีไ่ ด้ แม้ฉนั จะไม่ได้ทำ� การเกษตร แต่กม็ คี วามรูม้ ากมายทีฉ่ นั สามารถน�ำ ไปบอกต่อ ไปสอนลูกหลานได้ ถ้าเรารูจ้ กั พอเพียง ชีวติ เราก็จะเพียงพอ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย บนแผ่นดินทีม่ ใี นหลวงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทา่ นทรงเป็นพลัง ของแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง

ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย บนแผ่นดินที่มีในหลวงเป็น พระมหากษัตริย์ พระองค์ ท่านทรงเป็นพลังของ แผ่นดินไทยอย่างแท้จริง

ขอจงทรงพระเจริญ

การติดต่อขอเข้าดูงาน : โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10303 โทรศัพท์ : 0 2282 7171-4 หรือ 0 2282 1150-1 เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จะไปแบบครอบครัวหรือหมู่คณะก็ได้ ข้อมูล : http://kanchanapisek.or.th/kp1/index_th.html, http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2011/06/14/entry-1 ภาพ : ไชยยศปั้น ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

5


รอบรั้วไทยออยล์

โดย หน่วยกลั่นข่าว

สวดมนต์ชำ� ระใจ

เมือ่ วันที่ 16 พฤษภาคมทีผ่ า่ นมา เครือไทยออยล์ได้จดั โครงการ สวดมนต์ชำ� ระใจและไหว้พระ ซึง่ ได้นมิ นต์พระสงฆ์จากวัดใหม่เนินพยอม จ�ำนวน 9 รูป โดยมีพระครูสาทรธรรมกิจเป็นประธานน�ำสวดมนต์และ นัง่ สมาธิ ในครัง้ นีม้ ชี มุ ชนรอบโรงกลัน่ และกลุม่ เยาวชนทีส่ นใจเข้าร่วม กิจกรรมกว่าร้อยคน โดยมีคณุ ยุทธนา ภาสุรปัญญา ผูจ้ ดั การฝ่ายผลิต โรงกลัน่ น�ำ้ มันไทยออยล์ เข้าร่วมกิจกรรมในครัง้ นีด้ ว้ ย กิจกรรมสวดมนต์ช�ำระใจจะจัดเป็น ประจ�ำทุกเดือน ในทุก ๆ วันขึน้ 14 ค�ำ่ ตัง้ แต่ เวลา 18.30-20.00 น. ขอเชิญเพือ่ นบ้านไทยออยล์ ทุกท่าน มาร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใจได้ ณ หอพระ บริเวณศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน

ประสานมือ ประสานใจ ก้าวไปสูค่ วามยัง่ ยืน ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม ทีผ่ า่ นมา เครือไทยออยล์ ทีซพี ี และเครือข่าย 7 ชุมชนรอบโรงกลัน่ ไทยออยล์กว่า 130 คน ได้รว่ มกันจัด กิจกรรมโครงการ “พัฒนาสัมพันธ์เครือไทยออยล์ ทีซพี ี และเครือข่าย ชุมชน” ภายใต้แนวคิด ประสานมือ ประสานใจ ก้าวไปสูค่ วามยัง่ ยืน ในครัง้ นีไ้ ด้นำ� ผูแ้ ทนชุมชนไปดูงาน การจัดการแหล่งท่องเทีย่ วชุมชน ณ จังหวัดกาญจนบุรี อยุธยาและลพบุรี และได้รว่ มจัดองค์ผา้ ป่าทอดถวาย วัดป่าพุทธญาณ นอกจากนี้ ยังได้รว่ มกันมอบตูท้ ำ� น�ำ้ เย็นให้นกั เรียนโรงเรียนวัดท่าน�ำ้ ตืน้ ต.แก่งเสีย้ น อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

โครงการสาธิต และการทดลองฝึกกระโดดเชือก เครือไทยออยล์ได้จดั โครงการ “สาธิตและทดลองกระโดดเชือก” โดยมีวทิ ยากร และทีมงานจากมูลนิธหิ วั ใจในพระบรมราชูปถัมภ์และโรงเรียนวัดประดูธ่ รรมาธิปตั ย์มา สอนทักษะการกระโดดเชือกอย่างถูกวิธี เพือ่ เป็นทางเลือกหนึง่ ของการออกก�ำลังกายเพือ่ สุขภาพดีสำ� หรับเยาวชน และเผยแพร่กฬี ากระโดดเชือกให้กบั เยาวชนทัง้ 7 ชุมชนรอบ โรงกลัน่ ทีเ่ ข้าร่วมโครงการนี้ จ�ำนวน 180 คน ณ ศูนย์สขุ ภาพฯ เมือ่ เร็ว ๆ นี้ นอกจากนัน้ ยังได้สญั จรไปอบรมและสาธิตการกระโดดเชือกให้กบั นักเรียน ในโรงเรียนรอบ ๆ อาทิ โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนเทศบาล โรงเรียนวัดแหลมฉบัง และโรงเรียนบ้านชากยายจีน

6

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


มอบกระเช้าดอกไม้ เมือ่ เร็ว ๆ นี้ พีน่ อ้ งในชุมชนทีอ่ ยูใ่ กล้กบั ศูนย์สขุ ภาพและการ เรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน ซึง่ มาร่วมกิจกรรมเต้นแอโรบิก โยคะ ตลอดจนร�ำกระบองเพือ่ สุขภาพเป็นประจ�ำ ได้รว่ มกันมอบกระเช้า ดอกไม้ให้คณุ สุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารบริษทั ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) เพือ่ แสดงความขอบคุณทีไ่ ทยออยล์ได้ให้การสนับสนุน โครงการต่าง ๆ เพือ่ สร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะทีด่ ใี ห้กบั ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิง่ การสร้างศูนย์สขุ ภาพฯ และในโอกาสนีค้ ณุ สุรงค์ ได้รว่ มเต้นแอโรบิกกับชุมชน ณ บริเวณลานออกก�ำลังกายด้านหน้า ศูนย์สขุ ภาพฯ ด้วย

ติดตามความคืบหน้าโครงการเพาะเลีย้ งปะการังเกาะสีชงั เมือ่ วันที่ 16 มิถนุ ายน ทีผ่ า่ นมา คุณสมชัย วงศ์วฒั นศานต์ ผูช้ ว่ ยกรรมการ อ�ำนวยการ ด้านบริหารองค์กร บริษทั ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมกับ คุณเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ รองศาสตราจารย์เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั ทรัพยากร ทางน�ำ้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น�ำคณะสือ่ มวลชนและผูแ้ ทนจากชุมชนรอบ โรงกลัน่ ติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือด้านการเพาะเลีย้ งขยายพันธุ์ และฟืน้ ฟูปะการังบริเวณหมูเ่ กาะสีชงั จ.ชลบุรี โดยมีการบรรยายสรุปความก้าวหน้า ของโครงการดังกล่าว ซึง่ ขณะนีอ้ ยูใ่ นขัน้ การเพาะฟักพันธุป์ ะการังในโรงเพาะ ก่อนน�ำไปฟืน้ ฟูตอ่ ในธรรมชาติ และในโอกาสนีช้ มุ ชนรอบโรงกลัน่ ยังได้แลกเปลีย่ น แนวคิดและการด�ำเนินงานด้านการเพาะเลีย้ งปะการังร่วมกับชุมชนบนเกาะสีชงั อีกด้วย

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

7


บ้านอ่าวอุดม ชุมชนปลอดขยะ ฉบับนีม้ ขี า่ วโครงการดี ๆ เพือ่ ชุมชนและสิง่ แวดล้อมมาเล่าสูก่ นั ฟังครับ เมือ่ วันที่ 3 มิถนุ ายน ทีผ่ า่ นมานีเ้ อง ทีมจัดงานถือฤกษ์งามยามดีกอ่ นวันสิง่ แวดล้อมโลก เพียง 2 วัน จัดพิธเี ปิดโครงการบ้านอ่าวอุดม ชุมชนปลอดขยะขึน้ ส่วนรายละเอียด โครงการจะเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ หลายท่านคงยังจ�ำช่วงปลายปีกอ่ นทีม่ นี อ้ ง ๆ นิสติ พยาบาล ชัน้ ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยบูรพา ลงสอบถาม ข้อมูลสุขภาวะชุมชนในท้องถิน่ ของเรากันได้นะครับ ผลจากการส�ำรวจนัน้ น้อง ๆ พบว่าชุมชนได้สะท้อน ปัญหาเรือ่ งการจัดการขยะทีย่ งั ไม่ดพี อ มีกลิน่ เหม็นจากขยะหมักหมม ปัญหาลิงรือ้ ค้นถังขยะ ฯลฯ เครือไทยออยล์ได้นำ� ปัญหานีม้ าขยายผลเพือ่ หาทางแก้ไขให้ดขี นึ้ โดยเปิดเวทีหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐคือเทศบาลนครแหลมฉบัง ภาคเอกชนน�ำโดยเครือไทยออยล์ และภาคชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านอ่าวอุดม และโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม ผ่านการระดมความคิด กันหลายครัง้ หลายครา เพือ่ หาข้อสรุปและรูปแบบวิธกี ารอันเหมาะสมเพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด จนตกผลึกเป็นโครงการน�ำร่องทีช่ มุ ชน บ้านอ่าวอุดม โดยใช้ชอื่ ว่า โครงการบ้านอ่าวอุดม ชุมชนปลอดขยะ ซึง่ ตัง้ เป้าไว้วา่ จะขยายไปยังชุมชนอืน่ ต่อไปในอนาคต พิธเี ปิดโครงการอย่างเป็นทางการเริม่ ตอน 09.00 น. ก่อนหน้านัน้ ท้องฟ้ามืดครึม้ เหมือนฝนจะตก แต่คงเป็นเพราะจิตใจทีอ่ ยาก ช่วยกันท�ำดีเพือ่ ชุมชนของทุกคนทีม่ าร่วมงาน จึงส่งผลบุญให้ฝนไม่ตก พิธเี ปิดจึงผ่านพ้นไปได้ดว้ ยดี ผูร้ ว่ มงานกว่า 350 คนจาก ทุกภาคส่วนมาพร้อมกันในบริเวณพิธี ณ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน อันได้แก่ เทศบาลนครแหลมฉบัง น�ำโดย คุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง ซึ่งให้เกียรติเป็นประธานในพิธี คุณภูษิต แจ่มศรี ปลัดเทศบาล คุณสุนทรี จิตรีพล ผูอ้ ำ� นวยการส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิง่ แวดล้อมเทศบาล รวมทัง้ เจ้าหน้าทีท่ กุ ท่าน ประธานชุมชนบ้านอ่าวอุดม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม ภาคเอกชนที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ เครือไทยออยล์ และทีซีพี บมจ.ปตท. บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) บจ.สยามคอมเมอร์เชียล ซีพอร์ท บจ.เคอร์รี่ สยามซีพอร์ต บจ.เจ.ซี.มารีนเซอร์วิส และพนักงานจากบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) ที่มาร่วมงานและน�ำถุงมือมาช่วยงานถึง 350 คู่ หลังจากนั้นเวลาประมาณ 09.45 น. คณะผู้ร่วมงานได้ร่วมกันออก เดินรณรงค์จากศูนย์สุขภาพฯ มุ่งหน้าไปยังวัดใหม่เนินพยอม น�ำโดย วงดุริยางค์จากนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 ตัวแทนชุมชนบ้านอ่าวอุดม น�ำโดยคุณสุนนั ท์ เสียงดัง ประธานชุมชน โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอมน�ำโดย คุณสนธยา นาคปฐม ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียน โดยถือป้ายรณรงค์ให้ชมุ ชนช่วยกัน แยกขยะ โดยจะติดตั้งป้ายรณรงค์นี้ไว้ตามชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์อีก ทางหนึง่ ด้วย เมือ่ ผ่านหน้า บมจ.ไทยลูบ้ เบส ทีมงานได้บริการน�ำ้ ดืม่ และผ้าเย็นให้

8

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


ขบวนรณรงค์ได้ชนื่ ใจ หายเหนือ่ ย หายร้อนไปได้เยอะ และยังใจดีนำ� ไอศกรีม อีก 2 ถังไปให้บริการทีว่ ดั ใหม่เนินพยอมในช่วงบ่ายอีกด้วย ต้องขอขอบพระคุณ คุณอภินนั ท์ สุภตั รบุตร กรรมการอ�ำนวยการ บมจ.ไทยลูบ้ เบสและพนักงาน ทุกท่านเป็นอย่างสูงนะครับ พอถึงวัดใหม่เนินพยอม คณะแบ่งกลุม่ ช่วยกันท�ำความสะอาดคนละไม้ คนละมือ จัดการขยะภายในวัดจนเรียบร้อยเป็นทีน่ า่ ประทับใจ ท�ำงานเสร็จปุบ๊ อาหารกลางวันจากท่าเรือ เจซี มารีน ท่าเรือสยามคอมเมอร์เชียล และท่าเรือ สยามซีพอร์ตก็พร้อมให้บริการ ทัง้ ขนมจีน แกงไก่ แกงหมู ก๋วยเตีย๋ วหมูตนุ๋ ลูกชิน้ หมู ข้าวต้มมัด ฯลฯ พร้อมกับสายฝนทีเ่ ทลงมา แต่โชคดีทงี่ านในช่วงเช้า เสร็จแล้ว ทุกคนรับประทานอาหารอยูใ่ นทีป่ ลอดภัยไม่ตอ้ งตากฝน หลังจากอิม่ หน�ำส�ำราญกันดีแล้ว กองทัพมีเรีย่ วแรงกลับมาอีกครัง้ ฝนก็เหมือนจะรูใ้ จหยุดตกเพือ่ ให้ทำ� งานได้สะดวก ผู้ร่วมงานแบ่งขบวนออกเป็น 2 กอง ชุดหนึ่งขึ้นรถบัสไปบริเวณ Material Jetty ซึ่งพี่น้องในชุมชนเรียกกันว่า สะพานสั้น อีกชุดไปบริเวณหนองกระสือ เพือ่ ไปรณรงค์เชิญชวนพีน่ อ้ งในชุมชนละแวกนัน้ ออกมาช่วยกันเก็บขยะในชุมชน จากนัน้ จึงกลับไป รวมก�ำลังทีว่ ดั ใหม่เนินพยอมอีกครัง้ หนึง่ พร้อมกับน�ำถุงด�ำทีบ่ รรจุขยะมากองรวมกัน และรอลุน้ ผลการชัง่ น�ำ้ หนักขยะ โดยระหว่าง นัน้ เครือไทยออยล์ได้นำ� ขนมจีบ ซาลาเปามาให้บริการเป็นของว่าง และไอศกรีมจาก บมจ.ไทยลูบ้ เบส เจ้าหน้าทีเ่ ทศบาลซึง่ เตรียมพร้อมอยูแ่ ล้ว ได้ชว่ ยค�ำนวณน�ำ้ หนักขยะทีร่ ณรงค์เก็บได้ในวันนี้ และประกาศให้ทกุ คนรับทราบ ถึงผลงานแห่งความร่วมมือร่วมใจในระยะเวลาสัน้ ๆ เพียงแค่วนั เดียวทุกคนช่วยกันเก็บขยะได้ถงึ 1,000 กิโลกรัม ผลทีต่ ามมาคือ จิตส�ำนึกของคนในชุมชนทุกฝ่ายทีจ่ ะช่วยกันท�ำให้ชมุ ชนบ้านอ่าวอุดมของเรา เป็นชุมชนทีส่ ะอาด ปราศจากโรคภัย พืน้ ทีม่ ี ความสวยงาม น่ามอง น่าอยู่ ความส�ำเร็จของโครงการในครัง้ นีเ้ กิดจากการท�ำงานแบบ 3 ประสานอย่างทีก่ ล่าวมาข้างต้น โดยใช้หลัก 5 ร่วม คือ ร่วมคิด - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมปรึกษาหารือตลอดจนวางแผนปฏิบัติร่วมกัน ร่วมท�ำ - การน�ำแผนที่วางไว้ไปลงมือปฏิบัติจริง ร่วมแก้ไข - สิ่งใดที่ไม่เป็นไปตามแผนต้องแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์ ร่วมรับผล - การประกาศผลงานร่วมกัน ไม่มีการปัดผลเสียให้กันและกัน ร่วมพัฒนา - การน�ำสิ่งที่ได้ร่วมกันทั้ง 4 ด้านมาหารือกันว่าจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร

พิธเี ปิดโครงการบ้านอ่าวอุดม ชุมชนปลอดขยะในครัง้ นีเ้ ป็นเพียงจุดเริม่ ต้น เราต้องท�ำประชาคมรณรงค์ให้เกิดการแยกขยะอย่างถูกวิธี ถูกเวลาอย่างต่อเนือ่ ง โครงการยังต้องเดินหน้าต่อไปเพือ่ สานฝันให้เป็นจริง สักวันหนึง่ ข้างหน้า ชุมชน อ่าวอุดมและชุมชนอื่นในพื้นที่แหลมฉบังนี้จะกลายเป็นชุมชนปลอดขยะ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในชุมชนอย่างแท้จริง ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

9


บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ โดย ตั๊กแตน

ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชนให้การสนับสนุน ส่งครูพละพร้อมเยาวชนจาก รร. ในพืน้ ที่ 7 ชุมชนรอบโรงกลัน่ ไปอบรมเป็นครูฝกึ กระโดดเชือกตามมาตรฐานสากล หลังจากที่เด็ก ๆ ได้รู้จักการกระโดดเชือกจากทีมสาธิตของมูลนิธิหัวใจ แห่งประเทศไทยมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและมิถุนายนมาแล้ว ทางศูนย์สุขภาพฯ ได้ก้าวไปอีกขั้น โดยในช่วงวันที่ 22-24 สิงหาคมนี้ จะส่งตัวแทนครูพละและนักเรียน โรงเรียนละ 1 ทีม ไปฝึกอบรมการเป็นครูฝึกกระโดดเชือกตามมาตรฐานสากล เพื่อจะได้กลับมาฝึกเด็ก ๆ ในชุมชนของเราอย่างถูกวิธี และจัดแข่งขันในพื้นที่เพื่อ คัดทีมส่งไปแข่งระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานในช่วงปลายปี ศูนย์สุขภาพฯ จะเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปอบรมครั้งนี้ โดยจะเปิดรับสมัครครูและ นักเรียนที่สมัครใจไปฝึกในช่วงเดือนสิงหาคม ติดตามรายละเอียดจากหนังสือ ประชาสัมพันธ์ตามโรงเรียนต่อไปครับ

ศูนย์สขุ ภาพฯ นำ�ร่องสำ�รวจคัดกรองเบาหวาน ความดัน ทำ�แฟ้มสุขภาพบุคคลทีบ่ า้ นอ่าวอุดม ภายในเดือนสิงหาคม ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพฯ เทศบาลนคร แหลมฉบัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.อ่าวอุดม อสม. และอาสาสมัคร นักศึกษาในพืน้ ทีบ่ า้ นอ่าวอุดม จะเริม่ นำ�ร่องพบกับชาวบ้านอ่าวอุดม ทีอ่ ายุตง้ั แต่ 35 ปีขน้ึ ไป เพือ่ พูดคุย ตรวจประเมินเบือ้ งต้นว่ามีความเสีย่ ง โรคเบาหวาน โรคความดันหรือไม่ ผูท้ มี่ คี วามเสีย่ งจะได้รบั สิทธิพเิ ศษ ในการตรวจประเมิน และคำ�แนะนำ�ในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยละเอียดต่อไป สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องสร้างเองนะครับ

เดือนสิงหาคม - กันยายน นักศึกษาจากวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ลงพืน้ ทีท่ �ำ แฟ้ม ข้อมูลและแผนทีส่ ขุ ภาพทีบ่ า้ นแหลมฉบัง

ศูนย์สุขภาพฯ ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.ชลบุรี มีโครงการสำ�รวจสุขภาวะชุมชน (เช่นเดียวกับเมื่อปีที่ ผ่านมาที่ได้เริ่มดำ�เนินการที่ชุมชนบ้านอ่าวอุดม) เพื่อจัดทำ�แฟ้ม สุขภาพครอบครัวและแผนทีส่ ขุ ภาพ เพือ่ จะได้มขี อ้ มูลพืน้ ฐานด้าน สุขภาพของทุกครอบครัวในพื้นที่ งานนี้จะเป็นประโยชน์แก่การ ทำ�งานของ อสม. กรรมการชุมชนที่ต่อไปจะมีข้อมูล และเข้าใจ ปัญหาสุขภาพอย่างเป็นระบบ และร่วมกันปรับปรุง พัฒนาชุมชน ได้ดีขึ้น

ชุมชนบ้านอ่าวอุดม เทศบาล และศูนย์สขุ ภาพฯ ไทยออยล์ เดินหน้า โครงการแยกขยะชุมชนอ่าวอุดม เข้าทุกซอยขอความร่วมมือ กรรมการชุมชน อสม. และแกนนำ�ในพืน้ ทีบ่ า้ นอ่าวอุดม และเจ้าหน้าทีเ่ ทศบาล ได้จดั เดินรณรงค์การแยกขยะ การจัดเตรียมทิง้ ขยะให้เป็นทีเ่ ป็นเวลาไปทีละกลุม่ ซอย ในบ้านอ่าว ผู้ที่จะมีส่วนให้โครงการครั้งนี้สำ�เร็จอย่างแท้จริง คือพวกเราทุกคนใน ชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของบ้านเช่า หอพัก ที่นอกจากจะมีส่วนช่วยพัฒนา บ้านเราให้เป็นชุมชนต้นแบบแล้ว ยังจะมีรายได้เพิ่มจากขยะที่ขายได้อีกทางหนึ่ง

10 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


“ผักกูด” เฟิร์นกินได้ เคล็ดลับสุขภาพ

โดยกาบกล้ คนใกล้วหยมอ โดย

เมือ่ วันก่อนไปเดินซือ้ กับข้าวทีต่ ลาด ระหว่างเดิน ตัดสินใจว่า มือ้ เย็นจะทำ�อะไรกินดี พลันสายตาก็ไปเจอเอาผัก รูปร่างหน้าตาแปลก ๆ ดูคล้าย ๆ ใบเฟิรน์ เลยรีเ่ ข้าไปสอบถามคนขายว่าคืออะไร “ผักกูดจ้ะหนู เอาไปลวกกินกับน�้ำพริก หรือผัดน�้ำมันเฉย ๆ กินกับน�้ำพริกกะปิก็อร่อย ท�ำย�ำก็ได้ หรือท�ำแกงส้มก็ได้ ลองดูไหม อร่อยน้า..หากินยากด้วยนะหนู..เอ้า..เอาไปลองกินสักก�ำไหม” เลยใจอ่อน หลงคารมแม่ค้า คว้าเจ้าผักกูดติดมือกลับบ้านเป็นอาหารเย็น แต่ ไ หน ๆ จะกิ น กั น ทั้ ง ที ลองหาข้ อ มู ล ประกอบก่ อ นการกิ น หน่ อ ยก็ ไ ม่ เ สี ย หลาย เพือ่ ความสบายใจ ถึงบ้านจึงจัดแจงเปิดคอมพิวเตอร์ ต่ออินเทอร์เน็ต พิมพ์คำ� ว่า “ผักกูด” เข้าไปให้อาจารย์กู (เกิล) ช่วยหาค�ำตอบ

โอ้โฮ...ข้อมูลเพียบ สรุปสัน้ ๆ คือ “ผักกูด” เป็นผักชนิดหนึง่ ในตระกูลเฟิรน์ (วงศ์ Athyriaceae) ทีก่ นิ ได้ มีเหง้าสูงได้ 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก ต้นอ่อนจะ แตกเป็นรูปขนนกชัน้ เดียวคูข่ นานกันไปตัง้ แต่โคนใบถึงปลายใบ เมือ่ อายุมากขึน้ ใบ จะเปลี่ยนเป็นรูปขนนก 2 ชั้น ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย เติบโต ได้ดีในช่วงฤดูฝนในที่โล่งแจ้งมีน�้ำชื้นแฉะ พบมากในป่าทึบ ชาวบ้านรุ่นเก่า ๆ รูจ้ กั ผักกูดมาตัง้ แต่โบราณแล้ว ส่วนคนรุน่ ใหม่นอ้ ยนักจะรูจ้ กั และรูจ้ กั รับประทาน ปัจจุบันมียอดอ่อนขายตามตลาดสดทั่วไป ผักกูดมีสารเบต้าแคโรทีน (สารต้านมะเร็ง) และธาตุเหล็กในตัวสูง เป็น ผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์มาก มีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน พิษอักเสบ บ�ำรุงสายตา บ�ำรุงโลหิต ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และขับปัสสาวะ วิธีกิน ลวกจิ้มน�้ำพริกชนิดต่าง ๆ ผักกูดผัดน�้ำมันกินกับน�้ำพริกกะปิ ย�ำผักกูด ผักกูดผัดน�้ำมันหอย แกงส้มผักกูด แกงกะทิกับปลาย่าง ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสด ๆ กัน เพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน โอ๊ว...สรรพคุณมากมายขนาดนี้...ไม่กินไม่ได้แล้ว...ท�ำย�ำผักกูด ก็ท่าทาง จะอร่อยค่ะ...ว่าแล้วก็ลงมือท�ำกันเลยนะคะ ลองดูเครือ่ งปรุงและวิธที ำ� ก็ไม่มอี ะไร มาก รายละเอียดตามนี้เลยค่ะ เครื่องปรุง • ผักกูด 2-3 ก�ำ • หมูสับ 1 ขีด • กุ้งแกะเปลือก 2 ขีด • พริกขี้หนู 5-10 เม็ด • กระเทียม 5 กลีบ

• หอมหัวแดงซอยบาง ๆ 5 หัว • น�้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ • น�้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ • น�้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีท�ำ 1. เด็ดผักกูดเอาแต่ยอดอ่อน ส่วนที่เหลือตัดเป็น ท่อน ๆ ยาวประมาณ 1 นิว้ (ไม่เอาก้านทีแ่ ข็ง ๆ) น�ำผักกูด ไปลวกในน�ำ้ เดือดประมาณ 1 นาที ตักผักกูดขึน้ แล้วน�ำไปแช่ น�ำ้ เย็นจัดทันที เพือ่ ให้ผกั ดูเขียวสดและคงความกรอบอยู่ 2. ลวกกุ้งให้พอสุก ตักขึ้นพักไว้ในชาม จากนั้น น�ำหมูสบั ไปลวกให้พอสุกเช่นกัน แล้วตักขึน้ พักไว้ในชาม เช่นกัน 3. น�ำพริกขีห้ นู (จ�ำนวนเม็ดขึน้ อยูก่ บั รสเผ็ดทีช่ อบ) และกระเทียมที่เตรียมไว้มาโขลกเข้าด้วยกันให้ละเอียด เติมน�้ำมะนาว น�้ำตาลทราย น�้ำปลา คนให้เข้ากัน ชิม รสชาติ (ปรุงให้อร่อยถูกปากคนชิม) 4. น�ำกุง้ และหมูสบั ทีพ่ กั ไว้ ผักกูดลวกและหอมหัวแดง ซอยมาผสมในน�้ำย�ำที่เตรียมไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากันก็ เป็นอันเสร็จ เท่านี้เราก็จะได้ย�ำผักกูดที่แสนอร่อย แต่เต็มไป ด้วยคุณประโยชน์ แอบกระซิบว่า แซบ ๆ แบบนี้กินกับ ไข่ต้มยางมะตูมจะอร่อยมากขึ้นค่ะ

ที่มา : หนังสือผักพื้นบ้าน 1, อุไร จิรมงคลการ ส�ำนักพิมพ์บ้านและสวน, พ.ศ. 2547 หนังสือพิมพ์ข่าวสด http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

11


ก้ า วทั นโลก โดย ติมา

สาวไทยเก่ง พัฒนาครีมต้านริ้วรอย จากร�ำข้าว

ผลงานวิจัยดีเด่นของนักศึกษาไทย ต่อยอดน�ำ ของดีในร�ำข้าวไทยมาสร้างเครือ่ งส�ำอางคุณภาพเยีย่ ม ต้านริ้วรอยได้ประสิทธิภาพสูง อนาคตจะมีครีมน�ำ้ มัน ร�ำข้าวนาโนให้คนไทยได้ใช้ของดี ราคาถูก ค่าใช้จา่ ยส่วนหนึง่ ของสาว ๆ ยุคนีห้ นี ไม่พน้ ค่าเครือ่ งส�ำอาง หนึง่ ในเมนูเครือ่ งส�ำอาง ยอดฮิตติดตลาดทีท่ กุ ยีห่ อ้ ต้องผลิตมาวางขาย คือ ครีมต้านริ้วรอย ก็แหม! คงไม่มีใครอยาก แก่เกินวัย ทุกคนล้วนอยากเด็กกว่าวัยกันทัง้ นัน้ แต่ในบรรดาครีมทัง้ หลาย ครีมต้านริว้ รอยนีแ่ หละ ราคาสูงที่สุด ด้วยสรรพคุณส่วนผสมนานาที่ โฆษณากันว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ลา่ สุด ซึง่ ส่วนใหญ่ มาจากต่างประเทศ ก้าวทันโลกฉบับนี้จึงขอ ย้อนศรกลับมาดูนวัตกรรมใหม่ฝีมือคนไทย กันบ้าง คนเก่งวันนี้เป็นหญิงสาว นักศึกษา โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เธอชื่อรมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ ได้ เข้าร่วมทีมวิจัยกับ ศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย และ ศ.ดร.มาซาฮิโกะ อาเบะ มหาวิทยาลัย วิทยาศาสตร์โตเกียว (Tokyo University of Science: TUS) โดยมี ศ.ดร.อรัญญา มโนสร้อย เป็นอาจารย์ทปี่ รึกษา งานของเธอคือการค้นพบ สารส�ำคัญที่สกัดจากของเหลือในการผลิต น�้ ำ มั น ร� ำ ข้ า วว่ า มี คุ ณ สมบั ติ เ ป็ น สารต้ า น ริว้ รอยได้ผลดีมาก และน�ำมาพัฒนาต่อเป็น เวชส�ำอางนาโน ปกติในกระบวนการสีขา้ วจะเหลือร�ำข้าว ซึ่งส่วนใหญ่จะน�ำไปผลิตเป็นน�้ำมันร�ำข้าว หรือเป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์ แต่ในร�ำข้าว และของเหลือจากการผลิตน�้ำมันร�ำข้าวยัง มีสารส�ำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและ ความงามหลายชนิดหลงเหลืออยูใ่ นปริมาณมาก ได้แก่ แกมมาออไรซานอล กรดไฟติก และ

12 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

กรดเฟอรูลิก ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ ความรูน้ ที้ ำ� ให้นกั วิจยั สาวตัง้ สมมุตฐิ าน ที่จะน�ำสารเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นเวชส�ำอาง (เวชส�ำอาง คือ เครื่องส�ำอางที่มีฤทธิ์ทางยา หรือมีผลทางการรักษาเพือ่ ให้เกิดความสวยงาม) การวิจัยจึงทดลองสกัดสารส�ำคัญกึ่งบริสุทธิ์ จากกากร�ำข้าวและของเหลือจากกระบวนการ ผลิตน�้ำมันร�ำข้าว แล้วน�ำมาทดสอบฤทธิ์ ทางชีวภาพ ได้ผลว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทีเ่ ป็นตัวท�ำลายคอลลาเจนใต้ผวิ หนัง ต้านปฏิกริ ยิ า ออกซิเดชันที่เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอย เหี่ยวย่น และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ทีท่ ำ� ให้เกิดจุดด่างด�ำบนใบหน้าได้ดเี ทียบเท่า วิตามินซีและกรดโคจิก การต่ อ ยอดที่ จ ะน� ำ มาพั ฒ นาเป็ น เวชส�ำอางนั้นต้องคิดต่อว่าท�ำอย่างไรถึงจะ เก็บคุณสมบัตดิ ี ๆ ของสารเหล่านีไ้ ว้และน�ำมา สูผ่ วิ พรรณของเราได้ ซึง่ เรือ่ งนี้ ศ.ดร.อรัญญา อาจารย์ที่ปรึกษา ได้อธิบายว่า “สารส�ำคัญจากน�ำ้ มันร�ำข้าวมีความคงตัว ต�่ำ จึงต้องกักเก็บไว้ในถุงนีโอโซมขนาดนาโน เพือ่ ให้มคี วามคงตัวอยูน่ านขึน้ และสามารถซึม เข้าสูเ่ ซลล์ผวิ หนังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ โดยใช้วธิ ซี เู ปอร์คริตคิ อลคาร์บอนไดออกไซด์ ซึง่ ไม่ตอ้ งใช้ตวั ท�ำละลายอินทรีย์ จึงไม่เพิ่มสารพิษ ให้สงิ่ แวดล้อม ส่วนนีโอโซมก็เป็นสารทีผ่ ลิตได้ จากไขมันสัตว์คล้ายไลโปโซม แต่มีการผสม สารลดแรงตึงผิวเข้าไปด้วย” ขัน้ ตอนต่อมา เมือ่ ได้สารสกัดคุณภาพเยีย่ ม ที่ว่าในรูปอนุภาคนาโนแล้ว นักวิจัยจึงน�ำมา

พัฒนาสร้างสูตรเวชส�ำอางในรูปแบบครีม และเจล ซึ่งพบว่าถุงนาโนนีโอโซมที่บรรจุสาร ส�ำคัญจากร�ำข้าวนี้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกับ ครีมและเจลโดยไม่แยกชัน้ และมีความคงตัว อยู่ได้นานกว่า 6 เดือน ที่อุณหภูมิ 45 องศา เซลเซียส นอกจากนีย้ งั ไม่กอ่ ให้เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองหลังจากทดสอบกับผิวหนัง ของกระต่าย และซึมผ่านชั้นผิวหนังของหนู ได้ดกี ว่าผลิตภัณฑ์ทผี่ สมสารสกัดชนิดเดียวกัน แต่ไม่ได้บรรจุในถุงนาโน จากการศึกษาวิจัยที่สถาบันวิจัยของ บริษัท พีแอนด์จี ในเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 6 เดือนซึ่งน�ำผลิตภัณฑ์ไปทดสอบ กับอาสาสมัคร 30 คน พบว่าสามารถเพิ่ม ความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้น และความเนียน ให้ แ ก่ ผิ ว ของอาสาสมั ค รอย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ ภายใน 28 วัน และยังพบว่าผลิตภัณฑ์สามารถ ซึมผ่านได้ลกึ ถึงเซลล์ผวิ ชัน้ ใน และท�ำให้เซลล์ ผิวชั้นในมีสุขภาพดีขึ้นได้ใน 24 วัน สาวไทยคนเก่งและทีมวิจัยใช้เวลา คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ดงั กล่าวเป็นเวลา 5 ปีแล้ว ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างการยืน่ ขอจดสิทธิบตั ร คาดว่าหลังจากนั้นจะถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ เอกชนทีส่ นใจผลิตในเชิงพาณิชย์ มีการศึกษาต่อ ด้วยว่า หากมีการผลิตขายจริงจะสามารถเพิม่ มูลค่าให้ร�ำข้าวได้มากถึง 3,000 เท่า และได้ ผลิตภัณฑ์บำ� รุงผิวทีม่ รี าคาต�ำ่ กว่าประมาณ 4 เท่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์น�ำเข้าที่มีสารสกัด ประเภทเดียวกัน สาวไทยทัง้ หลายอดใจรออีกสักนิด อีก ไม่นานคงได้ใช้ของดี คุณภาพเยี่ยมในราคา ย่อมเยาว์ และยังคุยได้อย่างภูมิใจอีกด้วยว่า คนไทยคิด คนไทยท�ำ แล้วก็ท�ำจากข้าว ซึ่ง เป็นหนึ่งในของดีบ้านเราเช่นกัน


ปลอดภัย ใกล้ตัว

โดย เซฟตี้เกิร์ล

“เท้าแพลง” ทำ�อย่างไร

หากถามว่า เมือ่ เกิดอุบตั เิ หตุกบั ตัวเราหรือคนในครอบครัวขึน้ เราจะสามารถ ดูแลให้การปฐมพยาบาลเบือ้ งต้นเพือ่ ลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บได้หรือไม่ เชื่อว่าหลายคนต้องส่ายหน้า ฉันเองก็เป็นคนหนึ่งเหมือนกันค่ะ ทีไ่ ม่เคยใส่ใจเลยว่า ถ้าเกิดอุบตั เิ หตุทที่ ำ� ให้ เราเจ็บตัวแล้ว เราควรจะดูแลตัวเองเบือ้ งต้น อย่างไร เพราะมั่นใจว่าคนสวยเช่นฉัน ไม่ซมุ่ ซ่ามค่ะ... (คริ คริ แอบชมตัวเองเล็กน้อย) โดยลืมคิดไปว่าอุบัติเหตุไม่จ�ำเป็นต้องเกิด จากเราท�ำตัวเอง คนอื่นท�ำให้เกิดก็มี เหตุเลยเกิดเมื่อฉันต้องไปขึ้นเวทีใน ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึง่ ขณะทีก่ ำ� ลังจะก้าว ลงจากเวที ก็ให้บังเอิญว่าส้นของรองเท้า ส้นสูงที่ใส่วันนั้นดันไปเกี่ยวกับผ้าที่เขาใช้ แต่งเวที ผลคือคนสวยหน้าทิม่ ตกบันไดลงมา 3 ขัน้ เลยค่ะ อ๊ากกกก...เจ็บม้ากกกกกค่ะ.. (แถมอายอีกต่างหาก) ท�ำไงดี...ยืนนิง่ อยูน่ าน เจ้าหน้าทีใ่ นงาน พยายามจะเข้ามาประคอง แต่ซ่าค่ะคิดว่า ไม่เป็นไร เลยพยายามเดินกระโผลกกระเผลก กลับมายังที่นั่ง ผลปรากฏว่าเท้าบวมตุ่ย ขึ้ น มาทั น ที จ นใส่ ร องเท้ า ไม่ ไ ด้ เ ลย ท� ำ อย่างไรดีล่ะทีนี้ ต้ อ งขอบคุ ณ ผู ้ จั ด งานที่ เ ตรี ย ม หน่วยปฐมพยาบาลเอาไว้พร้อม ซึ่งรีบมา ทันทีที่ทราบว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้น สิ่งแรก ทีห่ น่วยปฐมพยาบาลท�ำคือสอบถามอาการ เมื่อทราบบริเวณที่บาดเจ็บซึ่งคือเท้าซ้าย เขารีบตรวจสอบเพื่อสังเกตว่าข้อเท้าหัก หรือไม่ ปรากฏว่ายังโชคดีค่ะที่ขาไม่หัก

เจ้าหน้าที่จึงพ่นยาลดอาการบวม ก่อนจะพันผ้ายืดเอาไว้ให้ “ที่จริงแล้วควรจะประคบเย็นทันที นะครับ เพื่อลดอาการบวม จากนัน้ จึงค่อย พ่นยาและพันผ้า แต่เราท�ำไม่ได้ ผมจึงพันผ้า ไว้ให้กอ่ น เสร็จงานแล้วอยากให้ไปพบคุณหมอ เพือ่ ดูอาการอีกทีครับ ตอนนีไ้ ม่ควรเคลือ่ นไหว” พอจบงานฉันเลยรีบไปโรงพยาบาล ทันที เท้าของฉันบวมมาก คุณหมอจึงจับ เอ็ ก ซ์ เ รย์ เ พื่ อ ตรวจสอบดู ใ ห้ แ น่ ชั ด ว่ า กระดูกข้อเท้าหักหรือไม่ ผลคือไม่หักค่ะ แต่ต้องเข้าเฝือกอ่อนเอาไว้ 1 อาทิตย์ และ งดเดิน ผ่านไป 3 วัน ปรากฏว่าบริเวณนิว้ เท้า เกิดรอยม่วงช�้ำเต็มไปหมด ในคู่มือการ เข้าเฝือกที่โรงพยาบาลให้ มาเขี ย นไว้ ว ่ า หากมีอาการม่วงช�ำ้ ให้รบี พบแพทย์ เท่านัน้ แหละค่ะ รีบแจ้นไปพบคุณหมอแทบไม่ทนั “ไม่ มี อ ะไรหนั ก หนาหรอกครั บ เป็นเพราะว่าตอนที่หกล้มเส้นเลือดฝอย บริเวณเท้าฉีกขาดท�ำให้เลือดออก เวลา เราเคลื่อนไหว ร่างกายจะขับเลือดเสีย เหล่านั้นออกมา เหมือนเวลาเราเดินชน อะไรแล้ ว มี ร อยช�้ ำ นั่ น แหละ ที่ ว ่ า หาก ม่วงช�ำ้ ให้รบี มาพบแพทย์นนั้ เพราะบางคน เฝือกแน่นเกินไปจึงท�ำให้เลือดไม่เดิน ก็ตอ้ ง ตัดเฝือกออกแล้วเข้าใหม่ให้หลวมกว่าเดิม

ส่วนกรณีคณุ ผมว่าคงเป็นเพราะเดินมากไป คุณควรอยู่เฉย ๆ จะท�ำให้อาการดีขึ้น” คุณหมอบอกและย�ำ้ ว่า “เมือ่ ถอดเฝือก แล้วให้ประคบร้อนช่วย ความร้อนจะท�ำให้เลือด ที่คั่งอยู่กระจายตัวได้ดีครับ” ห ลั งจ าก ตั ด เฝื อ ก ฉั นยั งเดิ น กระโผลกกระเผลกต่ อ ไปค่ ะ คุ ณ หมอ บอกว่า เนื่องจากเอ็นอักเสบต้องใช้เวลา ประมาณ 1 เดือน จึงจะหายสนิท ระหว่างนัน้ ให้สวมรองเท้าผ้าใบเพื่อกระชับเท้าเอาไว้ ไม่ให้เคลื่อนไหว พร้อมกับทายาลดบวม ลดอั ก เสบ พร้ อ มกั บ พั น ผ้ า ยื ด เอาไว้ เวลานอน “ใส่รองเท้าผ้าใบไม่ได้ค่ะ เพราะว่า เท้ามันบวมจนยัดไม่ลง” ฉันรีบบอกคุณหมอ คุณหมอหัวเราะพร้อมกับบอกว่า “งั้นก็ ใส่รองเท้าแตะต่อไปและที่ส�ำคัญเดินให้ น้อย ๆ หน่อยครับ”

ข้อควรปฏิบัติเมื่อข้อเท้าแพลง ให้บริเวณข้อนั้น ๆ อยู่นิ่ง ๆ และยกสูงไว้ ประคบน�้ำแข็งทันที เพื่อลดอาการบวมหรือปวด นวดด้วย ยาหม่อง หรือน�้ำมันระก�ำ หรือเจลลดอาการบวมอักเสบ พันผ้ายืดแก้เคล็ดขัดยอก (Elastic bandage) เพื่อ กระชับกล้ามเนือ้ บริเวณนัน้ ไว้ไม่ให้เคลือ่ นไหว ถ้าภายหลังมีอาการบวมมากหรือปวดให้รบี ไปพบแพทย์ หลังจาก หายปวดให้ประคบร้อน เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อและละลายลิ่มเลือดไม่ให้จับตัวเป็นก้อนช�้ำม่วง ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

13


จิตอาสา

โดย กองบรรณาธิการ

ฟังให้รู้ ดูให้จำ� ทำ�ให้เข้าใจ ค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์เครือไทยออยล์

โครงการเพื่อเยาวชนในชุมชนของเรา โครงการหนึ่งที่ด�ำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องคือ ค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ครั้งแรกนั้นจัดขึ้น โดยบริษัท ไทยลู้บเบส จ�ำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2548 จากนัน้ ในปีตอ่ ๆ มาเครือไทยออยล์และ ทีพซี ี จึงได้รว่ มกันจัด โดยการน�ำเยาวชนไปเข้า ค่ายที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง 6 จ.ปทุมธานี ให้ค้างคืน 1 วัน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ สนุกกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ไปพร้อมกับการรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น วันถัดมา จึงน�ำผูแ้ ทนคณะกรรมการชุมชนและผูป้ กครอง ไปร่วมกิจกรรมกับลูกหลานของตน ก่อนกลับ บ้านพร้อมกันตอนเย็น ในโอกาสครบรอบการด�ำเนินการปีที่ 50 ของบริษัทฯ เครือไทยออยล์และทีพีซี จึง ได้ร่วมกันจัดค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ใน รูปแบบใหม่ขึ้นเป็นพิเศษ โดยแบ่งกิจกรรม ออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงที่ 1 วันที่ 18 มิ.ย. เริ่ม ด้วยการเปิดโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก คุณอภินันท์ สุภัตรบุตร กรรมการอ�ำนวยการ บมจ.ไทยลูบ้ เบส เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม ค่ายฯ ณ ศูนย์สุขภาพฯ ก่อนน�ำเยาวชนไปร่วม กิจกรรมด้านสิง่ แวดล้อม ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ส่วนในช่วงที่ 2 นั้นจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มิ.ย. ทีมงานพร้อมพนักงานจิตอาสา ได้ น� ำ เยาวชนกลุ ่ ม เดิ ม เดิ น ทางไปเข้ า ค่ า ย ณ ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาอ่ า วคุ ้ ง กระเบน อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ ของพระบาทสมเด็จ

14 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

พระเจ้าอยู่หัว ภายในแนวคิดที่ว่า “ฟังให้รู้ ดูให้จ�ำ ท�ำให้เข้าใจ” ซึ่งในครั้งนี้นับเป็นเรื่อง น่ายินดียิ่งที่มีผู้ใหญ่ใจดีจากหลายหน่วยงาน มาร่ ว มมื อ กั น ไม่ ว ่ า จะเป็ น คณะกรรมการ ชุมชนทั้ง 7 ชุมชน กลุ่มเยาวชนจิตอาสาบ้าน อ่าวอุดม ที่มาเป็นผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มภาคี ต้นไม้คลับ ที่มีความช�ำนาญในการจัดค่าย วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อน พนั ก งานจากเครื อ ไทยออยล์ แ ละที ซี พี ที่ ขันอาสามาช่วยเป็นพี่เลี้ยงดูแลน้อง ๆ ที่มา เข้าค่ายในปีนี้ 09.00 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน 2554 กลุ่มเยาวชนประถม 4-6 จากหลากหลาย โรงเรียนที่เยาวชนในชุมชนเข้ารับการศึกษา จ�ำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ใช้ชื่อ บริ ษั ท ต่ า ง ๆ ของเครื อ ฯ เป็ น ชื่ อ กลุ ่ ม พนั ก งานเครื อ ไทยออยล์ ที่ ร ่ ว มเป็ น พี่ เ ลี้ ย ง และทีมงาน 15 คน กลุ่มเยาวชนจิตอาสา บ้านอ่าวอุดม 5 คน กว่าร้อยชีวิตออกเดินทาง จากศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ เพือ่ ชุมชน มุง่ หน้าสูอ่ า่ วคุง้ กระเบน ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ด้วยร่างกายและจิตใจที่ พร้อมส�ำหรับการ “ฟังให้รู้ ดูให้จ�ำ ท�ำให้เข้าใจ” อย่างแท้จริง หลังจากอิ่มหน�ำส�ำราญกับอาหารอร่อย มื้อกลางวัน ทุกคนเริ่มกระบวนการ “ฟังให้รู้” ด้วยการเข้าฟังการบรรยายจากวิทยากรของ ศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาอ่าวคุง้ กระเบนในห้องประชุม

ก่อนติดตามวิทยากรของศูนย์ฯ น�ำชมป่าชายเลน ซึ่ ง ขึ้ น ชื่ อ เรื่ อ งความสมบู ร ณ์ แ ห่ ง หนึ่ ง ของ ประเทศที่อยู่ตรงข้ามกับห้องประชุม เพื่อเข้าสู่ กระบวนการ “ดูให้จ�ำ” ต่อไป สะพานเดินเท้าทอดยาวในป่าชายเลน ระยะทาง 1,800 เมตร สร้างขึ้นด้วยความ แข็งแรง พร้อมมีศาลาพักเป็นระยะเพื่ออธิบาย ลักษณะที่หลากหลายของผืนป่าแห่งนี้ที่มีทั้ง ความเขียวขจีของต้นแสม ต้นโกงกาง ฯลฯ บริเวณพื้นที่แห้ง บริเวณพื้นที่ชุ่มน�้ำ บริเวณที่ เป็นหลุมบ่อตื้น ๆ และพื้นที่ติดกับชายทะเล ยิ่งไปกว่านั้นผืนป่าชายเลนที่คุ้งกระเบนนี้ยังมี ความหลากหลายของสัตว์ต่าง ๆ อาทิ ปูแสม ปลา กุ้งดีดขัน หอย นกชายเลน และสัตว์น�้ำ ชายฝั่งอื่น ๆ วิทยากรยังถ่ายทอดให้เยาวชน ฟังว่า บริเวณนี้เคยมีปลาพะยูนหรือที่เรียกว่า หมูดุด แม่-ลูก 2 ตัว เข้ามาหากิน ซึ่งเป็น ดัชนีแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของแหล่ง อาหารทีพ่ ะยูนชอบกินอย่างหญ้าทะเล หลังจาก ศึกษาธรรมชาติบริเวณป่าชายเลนแล้ว เด็ก ๆ ยังได้มีโอกาสเข้าชมพิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลที่ อยู่ในบริเวณเดียวกัน ก่อนเข้าสู่กิจกรรมกลุ่ม บริเวณชายหาด กิจกรรมในช่วงนี้ฝึกให้เยาวชนท�ำงาน ร่ ว มกั น เป็ น ที ม และเรี ย นรู ้ ก ารเป็ น นั ก สื บ ชายหาด คือการฝึกความเป็นคนช่างสังเกตให้ มากขึ้น ด้วยการฝึกสังเกตเปลือกหอยประเภท ต่าง ๆ ซากพืช ซากสัตว์ ที่พบเห็นตามทาง


สังเกตต้นไม้ น�ำ้ ทะเล โดยมีวทิ ยากรและพีเ่ ลีย้ ง คอยแนะน�ำ และเยาวชนจิตอาสาบ้านอ่าวอุดม มาช่วยน�ำเกมสันทนาการ ท�ำให้เด็ก ๆ ได้ทั้ง สาระและบันเทิงเต็มที่ ก่อนจะแยกย้ายเข้าสู่ เรือนพักที่จัดแยกห้องชาย-หญิงไว้ เพื่อเตรียม อาบน�้ำก่อนกลับมารับประทานอาหารเย็นที่ อาคารศูนย์ต่อไป หลังอาหารเย็นเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้ เด็ก ๆ ได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ โดยเด็ก ทั้ง 8 กลุ่มจะได้รับมอบหมายภารกิจให้สร้าง หอคอยกลุม่ ละ 1 หลัง จากอุปกรณ์ทมี่ เี ท่ากันคือ กระดาษหนังสือพิมพ์ และกระดาษกาว บทเรียน ทีไ่ ด้จากกิจกรรมนีค้ อื จะสร้างหอคอยให้สงู นัน้ ต้องสร้างฐานให้มั่นคงเสียก่อน เช่นเดียวกับ การประสบความส� ำ เร็ จ ในชี วิ ต ต้ อ งมาจาก รากฐานที่มั่นคงคือการศึกษานั่นเอง วันที่สองเด็ก ๆ ได้เรียนรู้กระบวนการ “ท�ำให้เข้าใจ” โดยได้เข้าทดสอบเรือ่ งดิน เรือ่ งน�ำ้ เพื่อให้รู้ถึงประเภทของดิน ประโยชน์ของน�้ำ ด้ ว ยตนเอง ก่ อ นจะได้ รั บ ประกาศนี ย บั ต ร ผ่ า นการเข้ า ค่ า ยที่ ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นา อ่าวคุง้ กระเบน จากนัน้ เด็ก ๆ ต่างแยกย้ายเก็บ สัมภาระส่วนตัวเดินทางกลับศรีราชา แต่ภารกิจ การเข้าค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ ยังไม่จบแค่นั้น เด็ก ๆ ยังต้องกลับไปพัฒนา ท้องถิ่นของตนเองด้วยการปลูกป่าชายเลนที่ แหลมฉบังกันต่อ วิ ท ยากรที่ ใ ห้ ค� ำ แนะน� ำ วิ ธี ก ารปลู ก ป่าชายเลนกับเด็ก ๆ คือ อภิวิชญ์ นวลแก้ว หรื อ “ครู จ ่ า ” ท่ า นเป็ น ผู ้ ใ ห้ ค วามสนใจ เรื่องป่าชายเลนเป็นอย่างมาก เมื่อถึงวาระ ที่ต้องย้ายออก จากฐานกองร้อยจึงตัดสินใจ ลาออกจากการเป็ น ทหาร สมั ค รท� ำ งาน ในโรงเรี ย นวั ด แหลมฉบั ง เป็ น ครู อั ต ราจ้ า ง สอนนักเรียนและดูแลป่าชายเลน อาศัยการ

อ่าวคุ้งกระเบน ชื่อนี้มีที่มาจากภูเขา ที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลแห่งนี้ มีรูปทรงเหมือนตัวปลากระเบน โดยบริเวณส่วนหางของปลานั้น เป็นป่าชายเลนทอดยาวสู่ท้องน�้ำ สามารถมองเห็นได้ชัดจากที่สูง ค้นคว้าด้วยตนเอง ใคร ๆ พากันเรียกท่านว่า ครูจ่า เพราะเคยเป็นจ่าทหารเรือ แล้วมาเป็น ครูสอนหนังสือ ปัจจุบันครูจ่าไม่ยอมสอบบรรจุ เป็นบุคลากรครู เพราะเกรงว่าจะถูกบรรจุที่อื่น แล้วไม่ได้ดูแลป่าชายเลนที่ตัวเองรัก ครูจ่าเดินทางด้วยรถประจ�ำทางไปกลับ คุ้งกระเบน-แหลมฉบัง บ่อยครั้ง เพื่อศึกษา หาความรู้ และน�ำความรู้นั้นมาลองปฏิบัติที่ ป่าชายเลนบ้านแหลมฉบัง จนกระทั่ง ผอ.ศูนย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาอ่ า วคุ ้ ง กระเบนจ� ำ ท่ า นได้ จึงจัดที่พักให้เวลาครูจ่าไปศึกษาที่คุ้งกระเบน และให้เรียนรู้ได้ทุกเรื่องเพื่อจะได้น�ำกลับมา

Happy to you y Birthda

พัฒนาที่แหลมฉบัง คุณความดีของครูจ่ามี ผู้ชื่นชมและให้การสนับสนุน จนจัดตั้งชมรม สิ่งแวดล้อมที่บ้านแหลมฉบัง โดยครูจ่าเป็น ประธานชมรม หน่วยงานเอกชนและภาครัฐในพื้นที่ ต่างให้ความร่วมมือกับครูจ่า ในการพัฒนา พื้ น ที่ ก องทุ น พั ฒ นาชุ ม ชนรอบโรงไฟฟ้ า ไทยออยล์ เ องได้ ช ่ ว ยสร้ า งสะพานเดิ ม ชม ป่าชายเลน เอกชนรายอื่น ๆ ช่วยท�ำศาลาให้ ค�ำบรรยาย และเป็นที่นั่งพักผ่อนในป่าชายเลน นอกจากนั้น ครูจ่ายังจัดฝึกอบรมนักเรียน โรงเรี ย นบ้ า นแหลมฉบั ง ให้ เ ป็ น มั ค คุ เ ทศก์ น�ำคณะเที่ยวชมป่าชายเลน และส่งเสริมให้

โรงเรียนวัดแหลมฉบังท�ำโครงการด้านป่าชายเลน ประกวด ซึ่งได้รับรางวัลมานับไม่ถ้วน เมือ่ เด็ก ๆ เดินทางจากคุง้ กระเบนมาถึง บ้านแหลมฉบัง ต้องเดินอีกประมาณ 250 เมตร จึงจะถึงปากทางเข้าบริเวณป่าชายเลน ครูจ่า อธิบายวิธีการใช้รองเท้าส�ำหรับลุยป่าชายเลน อธิบายวิธีการปลูกป่าว่าให้ขุดหลุมด้วยเสียม เล็ก ๆ ให้ลึกพอสมควรแล้วฉีกถุงที่ห่อดินออก หย่อนกล้าไม้ลงในหลุม เอาดินกลบ ปักหลักไม้ และเอาเชือกผูกยึดกล้าไว้ กลุ่มไหนปลูกเสร็จ จะร่วมกันร้องเพลง แฮปปี้ เบิรธ์ เดย์ ทู ยู อวยพร ให้ตน้ ไม้ทปี่ ลูก การปลูกกล้าโกงกางนี้ ท�ำให้เด็ก ๆ ของเราได้ใช้กระบวนการ “ฟังให้รู้ ดูให้จ�ำ ท�ำให้เข้าใจ” อย่างครบถ้วนในกิจกรรมเดียว กล้าไม้โกงกางจากคุ้งกระเบนถูกน�ำมา ปลูกที่แหลมฉบัง เสมือนเชื่อมความสัมพันธ์ ของสองท้องถิ่น โดยมีพลังจากมือเล็ก ๆ ของ เด็ก ๆ ช่วยกันปลูกมิตรภาพให้ยงั่ ยืน โดยได้รบั ความอนุเคราะห์รองเท้าส�ำหรับลุยป่าชายเลน จากโรงเรี ย นแหลมฉบั ง นั ก เรี ย นรุ ่ น พี่ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ยังได้ช่วยเตรียมหลักยึด กล้าไม้ที่ลงปลูกแล้ว เทศบาลแหลมฉบังยัง ช่วยน�ำรถน�้ำมาให้เด็ก ๆ ได้ล้างเนื้อล้างตัว หลังจากปลูกป่า นอกจากนั้น กรรมการชุมชน บ้านแหลมฉบังและสมาชิกสภาเทศบาลยังให้ เกียรติมาร่วมงานและให้ก�ำลังใจเด็ก ๆ ด้วย ค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7 นี้ ส�ำเร็จลงด้วยดี ตามเป้าหมายทีต่ อ้ งการปลูกฝัง เด็ก ๆ ให้มีใจรักวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม วันนีป้ า่ ชายเลนทีบ่ า้ นแหลมฉบังของเราอาจจะ ยังไม่สมบูรณ์เท่าที่คุ้งกระเบน แต่ด้วยความ ตั้งใจจริงของทุกฝ่ายที่ร่วมแรงร่วมใจกันและ พลังจิตอาสาของทุกคน เราจึงมั่นใจว่าต้นไม้ เหล่านี้จะเติบโตเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ไป พร้อม ๆ กับจิตใจรักษ์สิ่งแวดล้อมและท้องถิ่น ของลูกหลานเรานั่นเอง ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

15


ปราชญ์ช ุมชน

โดย สรีชา

ครูจ่า

ค่าของครูอยู่ที่ความส�ำเร็จของลูกศิษย์ “ลูกศิษย์ผมมีโอกาสเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก็เพราะกีฬาวอลเลย์บอล ผมยอมสละชีวติ เรา หนึง่ ชีวติ แต่ทำ� ให้เด็กอีกหลายชีวติ ได้มโี อกาส ผมว่าคุม้ ไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่ผมเชือ่ ว่าผม ไม่อดตาย”

อภิวชิ ญ์ นวลแก้ว หรือทีท่ กุ คนเรียกกันสัน้ ๆ ว่า ครูจา่ ครูจา่ เป็นใคร ครูจา่ ไม่ใช่คนชลบุรี โดยก�ำเนิด ไม่ใช่คนที่นี่ ไม่ได้เติบโตหรือเกี่ยวข้องใด ๆ กับชุมชนเลย... แหลมฉบังเป็นเพียง สถานทีท่ วี่ นั หนึง่ ทหารหนุม่ ได้ผา่ นมา ขณะนัง่ พักหลังจากฝึกทหารเสร็จ เขาเห็นชีวติ ของเด็ก ๆ ที่นี่...และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ครูจ่ากลายเป็นคนนอกที่เข้าถึงชุมชน เข้าถึงใจคนแหลมฉบัง เป็นสมาชิกใหม่ที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างรัก และหากจะยกย่องให้ครูจ่าเป็นปราชญ์ชุมชน แม้ จะมีอายุน้อยคงไม่มีใครคัดค้าน สิ่งที่ครูจ่ามีและเป็นไม่ใช่ความรู้ที่มีมาเป็นทุนเดิมมากมาย แต่ชายคนนี้มีทุนทางใจ ที่ใหญ่ยิ่งนับจากวันนั้นในปี 2535 “ตอนนั่งพักมองมาเห็นครูผู้หญิงอายุค่อนข้างมากก�ำลังพาเด็ก ๆ มาซ้อมวอลเลย์บอล ก็นั่งดู เห็นแล้วเลยเข้าไปถามว่า พี่จะช่วยสอนให้เอาไหม สอนกันอยู่สองวันฝึกทหารเสร็จ ผม ต้องกลับ เด็ก ๆ บอก พี่ ๆ มาสอนผมอีกนะ เพราะเขาไม่เคยมีครูสอนกีฬามาก่อน” หลังจากนั้นทุกเย็นวันศุกร์ จ่าอภิวิชญ์จะหิ้วเป้จากที่ท�ำงาน คือ หน่วยบัญชาการต่อสู้ อากาศยานและรักษาชายฝั่ง (สอ.รฝ.) จากสัตหีบมาแหลมฉบัง เงินเดือนจ่าไม่กี่บาท นอกจาก ควักสตางค์ค่ารถมาแล้วยังมีค่ากินอยู่ ครูจ่าใช้วิธีกินนอนง่าย ๆ อยู่ที่โรงเรียน ฝึกสอนเด็ก ๆ ท่ามกลางสนามทรายร้อนระอุ และเสียงสบประมาท

ภาพอดีตครูจ่ากับเด็ก ๆ รุ่นแรก ที่ได้แชมป์วอลเลย์บอลระดับต่าง ๆ

16 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

“ซ้อมให้ตาย ก็ ไม่มีทางไปสู้ ใครเขาได้” ยิง่ เสียงเหล่านัน้ ดังขึน้ เท่าไร ครูจา่ ยิง่ มี แรงมุมานะมากขึน้ “ผมจะต้องท�ำให้ได้” จาก โรงเรียนวัดเล็ก ๆ ที่ไม่เคยได้รางวัลจากการ แข่งขันใดเลย ปีแรกที่ครูจ่าเข้ามาทุกวันหยุด ท�ำให้โรงเรียนแห่งนี้ได้รางวัลแชมป์อ�ำเภอ ศรีราชา อีกปีก็ได้แชมป์ประจ�ำจังหวัดชลบุรี “ผู้บริหารโรงเรียนสมัยนั้นคุยกับผมว่า อยากให้ชว่ ยอีก โค้ชคนอืน่ ๆ ในระดับจังหวัด มองว่าก็คงได้แค่นแี้ หละ ผมเลยประกาศว่าถ้า ไม่ติดระดับประเทศจะไม่เลิก” ครูจ่าจึงตัดสินใจขอย้ายมาอยู่หน่วยที่ แหลมฉบังแทน เพื่อว่าจะได้มีเวลาซ้อมเต็มที่ ทุกเย็นหลังเลิกงาน ครูจ่าจะมาฝึกเด็กและ พาไปซ้อมแข่งกับทีมต่าง ๆ ที่อายุมากกว่า ในที่สุดสามารถคว้ารางวัลระดับประเทศได้ ท�ำให้โรงเรียนเล็ก ๆ กลายเป็นทีพ่ ดู ถึง ทุกคน อยากรู้จักว่าอยู่ส่วนไหนของประเทศ “ที่ ภู มิ ใ จมากคื อ ที ม เราไม่ ไ ด้ มี ตัวเลือก ไปเอาตัวเก่งจากที่นั่นที่นี่มา ทุกคน ต่างเป็นเด็กในหมูบ่ า้ น สมัยนัน้ ม.1 ห้องหนึง่ มีนักเรียนแค่ 17-18 คน เด็กผู้ชายไปแข่งที ละ 7 คน หมดไปครึ่งห้องแทบไม่ต้องเรียน กันแล้ว อีกอย่างคือเด็กแค่ ม.2 แต่สามารถ เอาชนะ ม.5-ม.6 ไปเป็นตัวแทนระดับภาค และแข่งจนได้แชมป์ระดับประเทศ”


ครูจ่ากับน้องเบิร์ด (นายพูลศักดิ์ สุขเรือง)

น้องนินักเรียนชั้นอนุบาล 3 มัคคุเทศก์น�ำชมป่าชายเลน ที่อายุน้อยที่สุด

กว่า 5 ปีที่ครูจ่าใช้เวลาพักทั้งหมด ทุ่มเทกับเด็ก จนกระทั่งปี 2539 ครูจ่าจึง ตัดสินใจลาออกจากราชการในวัยเพียง 28 ปี ท่ามกลางความตกใจของแม่และญาติพี่น้อง “ผมเป็นลูกชาวนา ที่บ้านล�ำบากมาก มีพนี่ อ้ ง 9 คน ผมเป็นคนที่ 5 แต่แม่ผมเป็นคน สู้มาก ลูกคนไหนเรียนได้แม่ส่งเต็มที่ ผมจบ มาได้รับราชการถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ทุกคน จึงช็อกเมือ่ ผมบอกจะลาออก ผมคิดอย่างนีว้ า่ สมัยก่อนไม่มโี ครงการเรียนฟรี จะเรียนต่อได้ ต้องมีเงิน ยกเว้นเก่งกีฬาถึงจะได้เรียน ลูกศิษย์ ผมมีโอกาสเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็เพราะ กีฬาวอลเลย์บอล ผมยอมสละชีวิตเราหนึ่ง ชีวิต แต่ท�ำให้เด็กอีกหลายชีวิตได้มีโอกาส ผมว่าคุ้ม ไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่ผมเชื่อว่า ผมไม่อดตาย” เหตุผลอีกอย่างหนึ่งอาจเป็นเพราะ ความฝันในวัยเด็กที่อยากเป็นครู ครูจ่าจึง ตัดสินใจสมัครใจเข้าท�ำงานเป็นครูอัตราจ้าง ที่โรงเรียนวัดแหลมฉบัง รับเงินเดือนเพียง สี่พันบาทเพราะไม่มีปริญญาด้านครูโดยตรง ซึ่งที่สุดแล้วครูจ่าเองก็ไม่ปรารถนา ด้วยเกรง ว่าหากบรรจุเป็นข้าราชการอาจมีการโยกย้าย ไปถิ่นอื่น “ผมรักที่นี่ อยากอยู่กับเด็ก ๆ และ คนที่นี่” นั่นเป็นเหตุผลสั้น ๆ ง่าย ๆ ที่ท�ำให้ ปัจจุบันครูจ่ายังคงเป็นเพียงครูอัตราจ้างรับ

เงินเดือนหลักพันต่อไป “ถ้าเรารู้จักใช้ ไม่ เที่ยวเตร่ก็พอ ผมยังมีรถขับได้” หลังจากเด็ก ๆ ได้แชมป์ประเทศไทย แล้ว ครูจา่ คิดต่อว่าจะท�ำอะไรให้เป็นประโยชน์ ได้ อี ก บ้ า ง จนกระทั่ ง วั น หนึ่ ง มี โ อกาสไป ทัศนศึกษากับเด็ก ๆ ที่โครงการพระราชด�ำริ อนุรกั ษ์ปา่ ชายเลนทีอ่ า่ วคุง้ กระเบน แล้วได้ยนิ เด็กชายคนหนึ่งพูดว่า “มาดูคุ้งกระเบนท�ำไม ป่าบ้านเราก็มี ท�ำไมไม่ท�ำบ้านเราล่ะครู” “ผมได้คดิ เลยไปบอก ผอ. ว่าจะท�ำเรือ่ งนี้ ผอ. บอกว่ายากนะครู เรือ่ งใหญ่ดว้ ย ตอนนัน้ ป่าชายเลนแหลมฉบังเป็นเหมือนป่าขยะดี ๆ นีเ่ อง เป็นทีท่ งิ้ ขยะไม่มใี ครให้ความส�ำคัญเลย” ด้วยความใฝ่รู้ ท�ำจริง ครูจ่าเริ่มทุ่มเท ศึกษาเรื่องป่าชายเลน ทั้งอ่านหนังสือ ไป ดูของจริงตามที่ต่าง ๆ และกลับมาท�ำงาน อนุรักษ์ป่าชายเลนแหลมฉบังร่วมกับเด็ก ๆ ในโรงเรียนและคนในชุมชน ทั้งเรื่องขยะ มลภาวะน�้ำเสีย การปลูกป่าทดแทนส่วนที่ถูก

ท�ำลาย จนพันธุ์สัตว์น�้ำค่อยฟื้นกลับมา เช่น ปูก้ามดาบ ปูแสม ปลาตีน ฯลฯ ถึงวันนี้เกือบ 15 ปีที่อยู่แหลมฉบัง ครูจ่านับเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องป่าชายเลน ในระดับผูเ้ ชีย่ วชาญคนหนึง่ ของประเทศ สิง่ หนึง่ ทีค่ รูเล่าด้วยรอยยิม้ ทีม่ คี วามหมาย คือ การเขียน หลักสูตรสาระการเรียนรูเ้ พิม่ เติมเรือ่ งสิง่ แวดล้อม ศึกษาให้นกั เรียนทัง้ โรงเรียนได้เรียนรู้ ความทุม่ เท ของครูจ่าทั้งความรักและเอาใจใส่ทั้งต่อป่า และตัวเด็ก ๆ จนได้รบั รางวัลมากมาย ล่าสุด ปีนโี้ ครงการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมของเด็ก ๆ ได้ รับรางวัลชนะเลิศ “เธอ คือ แรงบันดาลใจ” จากส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ “ลูกศิษย์ 4 คนทีเ่ ป็นตัวแทนไปน�ำเสนอ โครงการอยู่แค่ ม.2 แต่สามารถตอบค�ำถาม ได้ฉะฉาน สู้กับเด็กมัธยมปลายจากโรงเรียน ดัง ๆ ได้ เราเป็นเพียงโรงเรียนวัด มีนักเรียน ในระดับหลักร้อยเพียงแห่งเดียวที่ติด 1 ใน 12 จากทั้งหมดทั่วประเทศกว่า 400 โรงเรียน” สองปี ที่ แ ล้ ว ครู จ ่ า เองได้ รั บ รางวั ล พระราชทานเป็นคนดีของแผ่นดิน ซึ่งเป็น คนเดียวใน 9 คนทีอ่ ายุนอ้ ย ไม่เป็นทีร่ จู้ กั ไม่มี ค�ำน�ำหน้าเป็นดอกเตอร์ แต่เหนืออืน่ ใดรางวัล ที่ครูจ่าเล่าว่าภูมิใจที่สุดไม่ใช่ถ้วยรางวัลที่ครู รับ แต่เป็นรอยยิ้มและการเติบโตไปสู่ความ ส�ำเร็จของลูกศิษย์ทุกคน คณะครูและตัวแทนกลุ่ม เยาวชนชมรมอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม (ป่าชายเลน) ของโรงเรียนวัดแหลมฉบัง ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เธอ คือ แรงบันดาลใจ

สนใจดูงานการอนุรักษ์ป่าชายเลน ติดต่อครูจ่า 08 4143 0311 ขอบคุณ อาจารย์วีรภัทร สงวนทรัพย์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดแหลมฉบัง ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

17


ของดี บ ้านเรา

โดย คนศรี

ข้าวหลาม

ต�ำนานความอร่อย คำ�ขวัญเมืองชลที่ท่องจำ�ได้ขึ้นใจ คือ ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน... จะหวานสู้ข้าวหลาม ได้ ไหม คนศรีขอพาไปรู้ลึกรู้จริงกับของดีบ้านเรา... ข้าวหลามหนองมน

ข้าวหลามหนองมนนั้นขึ้นชื่อลือชามานาน ใครผ่านมาต้องแวะ ซือ้ ติดมือกลับบ้าน จนคนเมืองชลรุน่ ใหม่อาจถึงขัน้ สับสน คนศรีได้ยนิ เด็กน้อยถามแม่วา่ หนองมนนัน้ เป็นชือ่ ข้าวหลามหรือคะ... เลยคันปาก ต้องค้นมาเล่าว่าอันที่จริง หนองมน นั้นเป็นชื่อหมู่บ้าน เรื่องเก่าคนแก่ เล่าว่า เดิมทีเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งไม่มีชื่ออยู่ในจังหวัดชลบุรี กระทั่งวันหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่งธุดงค์มาถึงหมู่บ้าน และได้ ปักกลดค้างแรมข้างหนองน�ำ้ แห่งหนึง่ ขณะนัน้ ในละแวกหมูบ่ า้ นแถบนี้ ก�ำลังเกิดโรคระบาดร้ายแรง มีผู้คนล้มตายจ�ำนวนมาก รักษาด้วยวิธี ต่าง ๆ สมุนไพรอะไร ๆ ก็รกั ษาไม่หาย ชาวบ้านจึงอาราธนาพระธุดงค์ ให้ช่วยเหลือ พระธุดงค์รูปนั้นจึงท�ำพิธีเสกน�้ำมนต์ให้ชาวบ้านดื่มกิน และประพรมตัวคนที่เจ็บป่วย ปรากฏว่าโรคร้ายหายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อ ชาวบ้านละแวกอื่นได้ยิน ต่างพากันมาขอน�้ำมนต์ไปรักษาโรคร้ายใน หมู่บ้านของตนบ้าง น�้ำมนต์มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ชาวบ้าน จึงพร้อมใจกันขุดพืน้ ดินตรงทีพ่ กั ของพระธุดงค์ให้เป็นบ่อน�้ำ แล้วเชิญ ท่านมาท�ำพิธีเสกน�้ำในบ่อให้ชาวบ้านน�ำไปดื่มกินและรักษาโรคได้ ต่อมาผู้คนต่างพากันอพยพมาอยู่ใกล้ ๆ บ่อน�้ำ เวลานานเข้าบ่อน�ำ้ ก็ขยายใหญ่ขนึ้ กลายเป็นหนองน�ำ้ และกลาย สภาพเป็นหมู่บ้านใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หนองน�้ำมนต์” และเรียก

18 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

หมูบ่ า้ นตามชือ่ หนองน�ำ้ ต่อมาเสียงเรียกสัน้ ลงจึงกลายเป็น “หนองมน” เรือ่ งเล่าไม่รจู้ ริงเท็จประการใด เพราะปัจจุบนั ไม่มหี นองน�ำ้ มนต์ให้เห็น แล้ว ละแวกหนองมนกลายเป็นท้องนาเกือบทั้งหมด และนัน่ ก็เป็นทีม่ าของข้าวหลาม จากทีเ่ ล่าสืบต่อกันมาว่า สมัยก่อน บ้านหนองมนมีอาชีพหลักคือ ท�ำนาปลูกข้าว พอหมดหน้านาชาวบ้าน จะท�ำขนมเลี้ยงกัน ขนมที่นิยมท�ำกันคือ ข้าวหลาม เพราะมีทั้งข้าว และมะพร้าวเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่น คนเก่าเล่าต่อว่าเมื่อมีงานแสดงงิ้ว ที่ศาลเจ้าในหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างพากันมาเที่ยวจนกลายเป็นตลาด จนกระทั่งมีการตัดถนนสุขุมวิทผ่านตลาด ข้าวหลามหนองมนจึงเริ่ม เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้ ร้านข้าวหลามเก่าแก่ดั้งเดิม มีเรื่องเล่าเป็นต�ำนานของตลาด หนองมน คือ ร้านแม่เผือ่ และร้านแม่เหมือน เพราะในสมัยของจอมพลสฤษฎ์ มาพักตากอากาศทีบ่ างแสนพร้อมกับนายพลเนวิน จากประเทศพม่า เคย เรียกแม่เผือ่ และแม่เหมือนไปเผาข้าวหลามให้กนิ ชือ่ “ข้าวหลามแม่เผือ่ ” และ “ข้าวหลามแม่เหมือน” จึงกลายเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ไป ทั่วประเทศ และได้ชื่อว่าเป็น “ข้าวหลามจอมพล” ปัจจุบนั ทัง้ สองร้านยังคงอยูใ่ นตลาดหนองมน ทุกวันนีร้ า้ นแม่เผือ่ ยังการันตีคุณภาพด้วยฝีมือของลูกสะใภ้แม่เผื่อ คือคุณปราณี ศรีป่าน


ที่ยืนยันว่าข้าวหลามที่ร้านคงสูตรโบราณตามต้นต�ำรับ คือ ใช้ ข้าวเหนียวเขี้ยวงู และรสชาติเน้นเค็มมัน หวานน้อย และที่โดดเด่น คือ ยังคงเผาด้วยฟืนแม้จะใช้เวลานาน แต่เพราะข้อดีของการเผา ด้วยฟืนจะท�ำให้ข้าวเหนียวนุ่มทั่วกันจนถึงก้น ไม่เป็นก้อน และคง ความหอมของไม้ไผ่ไว้ ท�ำให้หอมน่ากิน แต่ร้านนี้จะมีให้เลือกแค่ข้าว เหนียวด�ำกับข้าวเหนียวขาว และมีเพียง 2 ไส้ คือ ไส้เผือกและไส้ถั่ว ตามแบบฉบับโบราณ ข้าวหลามอีกหลายร้านต่างพยายามคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ให้แตกต่าง อย่างข้าวหลามสอดไส้ที่มีวิธีการท�ำยุ่งยากสลับซับซ้อน ต้องมีเทคนิคมาก เช่น ต้องดูเนื้อข้าวเป็น ต้องรู้จังหวะเวลาการใส่ไส้ ในข้าวหลาม จึงมีเพียงไม่กรี่ า้ นทีท่ ำ� ได้ลงตัว แต่กอ่ นมีรา้ นแม่เจริญซึง่ เป็นต้นต�ำรับการเผาด้วยแก๊ส เคยท�ำข้าวหลามสอดไส้ไว้ถึง 9 ไส้ คือ ไส้เผือก ไส้ถั่ว ไส้กล้วยตาก ไส้เม็ดบัว ไส้มะพร้าวอ่อน ไส้แปะก้วย ไส้สงั ขยา และไส้ชาเขียวเอาใจวัยรุน่ แต่ปจั จุบนั เหลือเพียง 3 ไส้เท่านัน้ คือ ไส้เผือก ไส้ถั่ว และไส้มะพร้าวอ่อน บางร้านยังมีไส้สังขยาอยู่บ้าง แต่หาค่อนข้างยากแล้ว บางร้าน มีเม็ดบัวผสมกับมะพร้าวอ่อน แล้วแต่ว่าร้านใดจะดัดแปลงกันไป ให้คนชิมเลือกซือ้ ตามชอบ บางร้านอย่างร้านแม่ละเอียดใช้จดุ ขายทีว่ า่

ตัวข้าวหลามเต็มทุกกระบอก ไม่มีหลอกกันแน่นอน รสชาติของ ข้าวหลามหนองมนส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน คือ หวานมันเป็นพิเศษ ยกเว้นร้านแม่เผื่อที่ไม่เน้นหวาน แต่ยังคงหอมมันด้วยกะทิซึ่งเป็น เอกลักษณ์ของข้าวหลามหนองมน ส่วนใหญ่ข้าวหลามหนองมนทุกวันนี้มักจะเผาด้วยเตาแก๊สกัน แล้วทั้งนั้น เพราะสะดวกรวดเร็วกว่าการเผาฟืนซึ่งต้องใช้เวลาเกือบ 3 ชัว่ โมงและต้องมีบริเวณ อีกทัง้ อาจมีฝนุ่ ควันจากการเผา เตาแก๊สเผา ข้าวหลามนัน้ ท�ำเป็นตูส้ เี่ หลีย่ ม ภายในเป็นช่องรางส�ำหรับใส่ขา้ วหลาม เรียงเป็นแถวตอน ซึ่งสามารถปรับอุณหภูมิได้ตลอดเวลาจนข้าวหลาม สุกทั่ว เตาชนิดนี้พัฒนาขึ้นที่ร้านแม่เจริญ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาจน คนนิยมน�ำไปใช้กันทั่วกว่า 20 ปีแล้ว มั่นใจได้ว่าไม่ก่ออันตรายอย่าง แน่นอน เพราะใช้ความร้อนต�่ำ และยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อม เผา ได้ทุกสภาพอากาศ เพราะฉะนัน้ จะอุดหนุนข้าวหลามหนองมนก็เลือกได้นะคะ แบบ ดั้งเดิมเผาฟืนก็อร่อย แบบเผาด้วยแก๊สก็ไม่เสียหาย อร่อยเหมือนกัน ต่างมีข้อดีด้วยกันทั้งนั้น คนกินสลับกันอุดหนุนนะคะ จะได้ช่วยกัน รักษาของดีให้อยู่คู่บ้านเราค่ะ

กระบอกข้าวหลามมาจากไหน

ไม่ใช่ไม้ไผ่ทุกชนิดจะน�ำมาท�ำข้าวหลามได้ ไผ่ขา้ วหลามจะต้องมีคณุ สมบัตพิ เิ ศษ คือ ปล้องยาว 30-60 ซม. และเยื่อไผ่ร่อนดีมาก ท�ำให้เวลารับประทานแกะออกได้ง่าย ได้ทงั้ ความหอมและรูปทรงของข้าวหลาม ไม้ไผ่ทใี่ ช้มอี ยู่ 3 ชนิด คือ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ป่า และไผ่สีสุก เดิมชาวหนองมนจะเลือกใช้ ไผ่ป่าจากเขาบ่อยาง แต่ปัจจุบันไม่มีไผ่เหลือแล้ว จึงต้องสั่งซื้อจาก ที่อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดจันทบุรี และ ประเทศเขมร แต่ไผ่เขมรนั้นไม่มีเยื่อ เมื่อเผาแล้วไม่ได้กลิ่นหอมของ เยื่อไผ่เหมือนไผ่ไทย จึงเป็นทางเลือกเวลาที่ไผ่ขาดตลาดเท่านั้น

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

19


กระบอกเสีย งชุมชน โดย กองบรรณาธิการ

ประเดิมค�ำถามแรกถึงทีม่ าของชือ่ ชุมชน คุณสุวรรณทอง ค�ำภูมี ทีใ่ คร ๆ มักจะเรียกว่า ป๋าแจ๊ว เล่าให้เราฟังในเช้าวันหนึง่ ณ ทีท่ ำ� การกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เครือไทยออยล์ แหลมฉบังเพาเวอร์ และสหโคเจนว่า

คุณสุวรรณทอง ค�ำภูมี ประธานชุมชนบ้านชากยายจีน

ชื่อนี้มีที่มา

“ค�ำว่า ชากยายจีน ตามที่มีต�ำนานหรือที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า สมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนบ้านชากยายจีน มีคนจีนคนหนึ่งเป็นผู้หญิง ซึ่งไม่มีใครรู้จักชื่อแก ก็จะเรียกกันว่า คนจีนหรือยายจีน ยายจีนได้มา อาศัยปลูกผักสวนครัวอยูค่ นเดียว ตรงข้ามกับโรงเรียนบ้านชากยายจีน ปัจจุบัน แต่อยู่ ๆ มาก็มีลูกเต้าหรือญาติของแกมารับไปอยู่ด้วย พอมารับไปตรงนัน้ กลายเป็นทีร่ กร้างเฉย ๆ ค�ำว่าชากทีห่ ลาย ๆ คนมัก เขียนผิดเป็นซากนั้น หมายถึง พืชตระกูลล้มลุก ไม่ว่าจะเป็นสาบเสือ หญ้าคา กอแขม นาน ๆ ไปเวลาคนในชุมชนจะนัดหมายกันไม่รู้ว่าจะ นัดกันที่ไหน ก็จะว่านัดเจอกันที่ชากยายจีน ก็เลยเป็นที่มาของค�ำว่า ชากยายจีน

ชุมชนชากยายจีนอยู่ห่างจากป้ายไทยออยล์แค่คนละฝั่งถนน สุขุมวิทเท่านั้น มีพื้นที่ตั้งแต่ถนนสุขุมวิทไปจนถึงถนนสาย 7 พื้นที่ไม่ มากแค่ประมาณ 2.5 ตร.กม. เท่านัน้ เอง พืน้ ทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ของเขตเทศบาล นครแหลมฉบัง แต่มีประชากร 4,000 คนที่มีทะเบียนบ้าน นอกนั้น อีกประมาณ 30,000 คนที่ไม่มีส�ำเนาทะเบียนบ้านเป็นประชากรแฝง ชุมชนเราแยกมาจากหมู่ 1 ปัจจุบันชุมชนชากยายจีนคือหมู่ 8 นะ” ส�ำหรับบทบาทของการท�ำงานพัฒนาชุมชนนัน้ คุณสุวรรณทอง ได้รับความไว้วางใจจากลูกบ้านให้เป็นประธานชุมชนมาเป็นสมัยที่ 2 โดยมุง่ เน้นการท�ำงานในส่วนของการดูแลด้านสาธารณสุขพืน้ ฐานของ ชุมชน การศึกษาและการมีสว่ นร่วมของชุมชน เพือ่ ให้ชมุ ชนเกิดความ สามัคคีและมีส่วนร่วมในทุก ๆ องค์กรที่อยู่ในชุมชน “ในชุมชนของเราจะไม่แยกกันว่า คนนี้ อสม. นะ คนนี้กองทุน หมู่บ้านนะ คนนี้ผู้สูงอายุนะ คนนี้กรรมการชุมชนนะ ส่วนมากเราจะ ไม่แยกแยะ คือเราอยากให้ดูแลบริหารกันแบบพี่แบบน้อง อยู่ร่วมกัน แบบผาสุก” 3 นาทีเพื่อชุมชนของเรา

โครงการหนึ่งที่น�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และถือได้ว่าเป็น โครงการด้านสาธารณสุขทีป่ ระสบผลส�ำเร็จ และแสดงถึงการมีสว่ นร่วม ของคนในชุมชนชาวบ้านชากยายจีนได้อย่างเป็นรูปธรรม คือโครงการ พันมือเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งป๋าแจ๊วได้ไขข้อสงสัยถึงรายละเอียดโครงการ ว่า “โครงการนี้เราเข้าไปดูแลชาวบ้านเป็นกลุ่ม ๆ ไปในแต่ละอาทิตย์ สมมุติว่ากลุ่มนี้พื้นที่มีขยะ มีหญ้ารกรุงรัง มีวัชพืชที่เขาไม่มีเวลาพอที่ จะดูแลได้ เราจะช่วยกันท�ำความสะอาด และฝากให้เขาช่วยดูแลต่อ ตอนนีฉ้ นั ช่วยเธอท�ำให้สะอาดแล้วนะ ขยะและวัชพืชไม่มแี ล้วนะ ต่อไป คุณจะต้องท�ำเอง เราก็ค่อย ๆ ท�ำไป อาทิตย์หนึ่งก็หมู่บ้านหนึ่ง

20 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


ที่ผ่านมาต้องขอบคุณ บริษัท ไทยออยล์ ที่ให้โอกาส ชุมชนโดยรอบ จริง ๆ แล้วเราพูดได้ว่าไทยออยล์เป็นของเรา เป็นของชุมชน เพราะว่าเราได้อยู่ร่วมกันมาตั้ง 50 ปีแล้ว จนกระทั่งเราท�ำเสร็จภายในเวลายังไม่ถึงปี ทุกพื้นทีใ่ นชุมชนของเราสะอาด ที่รกร้างไม่มี ขยะมูลฝอยไม่มี และเกิดการร่วมแรงร่วมใจ กันระหว่างชุมชนกับชาวบ้าน ทั้งยังได้รับ ความอนุเคราะห์จากเทศบาล มีเจ้าหน้าที่มา ช่วยน�ำรถมาเข็นขยะมูลฝอยไปทิ้ง เราท�ำโครงการนีก้ นั อย่างต่อเนือ่ ง กระทัง่ เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เราเพียงแต่ รณรงค์วา่ ต่อไปนีข้ อให้คณุ ท�ำงานถวายในหลวง ทุก ๆ วัน วันละ 3 นาทีก่อนคุณจะขึ้นรถ คือจะออกจากบ้านตอนเช้า ผมขอแค่ 3 นาที ให้คุณท�ำความสะอาดบริเวณหน้าบ้านคุณ แค่นั้นเอง เนื้อที่นิดเดียว ส่วนที่ที่ไม่มีเจ้าของ อาจมีคนซื้อเอาไว้ แต่ไม่ได้มาท�ำประโยชน์ ชุมชนจะให้เทศบาลมาช่วยหรือชุมชนจะท�ำเอง งานของชุมชนเลยมีนดิ เดียว เพราะทุกคนร่วมแรง ร่วมใจกันท�ำ 3 นาทีก่อนขึ้นรถนะครับ” สวนครัวกระถาง

“ส� ำ หรั บ โครงการที่ จ ะท� ำ ต่ อ ไปใน อนาคต คือ ต้นไม้ อยากจะให้คนในชุมชน ปลูกต้นไม้ อย่างเมือ่ 2 ปีทแี่ ล้วก็แจกพุทธรักษา ที่ ไ ด้ รั บ ความอนุ เ คราะห์ จ าก ม.เกษตรฯ ศรีราชา ต้องขอขอบคุณพ่อแม่พี่น้องที่ช่วย น�ำไปปลูกต่อที่บ้าน ตอนนี้ก�ำลังเตรียมท�ำ พืชสวนครัวกระถาง ก�ำลังทดลองดูอยู่ว่า มันมีความเป็นไปได้ไหม อย่างเช่น ตะไคร้ โหระพา กะเพรา พริกใส่กระถาง นะครับ เรา

ก�ำลังจะท�ำให้ เราเพาะแล้วคุณมารับไป ใคร ที่มีกระถางเก่า ๆ ก็เอามาให้เราได้ เป็นการ ช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วย ถ้าเป็นตะไคร้ ข่า เราอาจจะให้แค่ต้นเดียวต่อ 3-4 บ้าน คุณน�ำไปคนละอย่าง ใช่ไหมครับ เวลาจะใช้ ก็แลกเปลี่ยนกัน แต่ถ้าคุณต้องการทุกอย่าง ต้องซื้อจากชุมชน โครงการปลู ก ต้ น ไม้ อ ยากเชิ ญ ชวน ให้ทุกคนมาร่วมกัน อย่างน้อยที่สุดในพื้นที่ ของเราควรมีต้นไม้ เพราะมีแต่ประโยชน์ ไม่ว่าจะฟอกอากาศ หรือเป็นสมุนไพรใช้ใน ครัวเรือนได้ โครงการของผมท�ำอะไรก็แล้วแต่ อยากจะให้มันเกิดประโยชน์ได้หลายด้าน” ร่วมคิด ร่วมท�ำ

คุณสุวรรณทองยังได้เล่าถึงโครงการ ต่าง ๆ อีกมากมาย จนไม่อาจจะถ่ายทอดได้ หมดภายในเนื้อที่จ�ำกัดของคอลัมน์นี้ ไม่ว่า จะเป็นโครงการด้านทุนการศึกษาทีส่ ร้างต้นทุน ทางปั ญ ญาให้ กั บ ลู ก หลานในชุ ม ชนอย่ า ง ต่อเนือ่ ง โครงการดูแลพืน้ ทีป่ า่ ชายเลนบริเวณ บ้านแหลมฉบัง ผ่านกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า รอบชุมชน หรือโครงการลงปะการังเทียม บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ก่อนจากกันยังได้ฝากข้อความทิ้งท้าย ไว้วา่ “ทีผ่ า่ นมาต้องขอบคุณ บริษทั ไทยออยล์ ที่ให้โอกาสชุมชนโดยรอบ จริง ๆ แล้วเราพูด ได้ว่าไทยออยล์เป็นของเรา เป็นของชุมชน เพราะว่าเราได้อยู่ร่วมกันมาตั้ง 50 ปีแล้ว ดีทเี่ รามีบริษทั น�ำ้ มันทีห่ ว่ งใยในชุมชนโดยรอบ

ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะมีอะไรที่ไม่เข้าใจกัน บ้าง เดี๋ยวนี้ก็เดินด้วยกันไปด้วยดี อยากฝาก เรื่องเกี่ยวกับชุมชนทุก ๆ เรื่องไว้ด้วย ที่ผ่านมาไทยออยล์กับชุมชนเรียนรู้ คู่กันมา ซึ่งจะเป็นแม่แบบของเทศบาลนคร แหลมฉบังทั้งหมด ในเรื่องการมีส่วนร่วม เรา อยู่ร่วมกันอย่างไร ไทยออยล์จะส่งพนักงาน ออกมาดูแลชุมชน การบริหารจัดการชุมชน โดยรอบ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมท�ำ ผมจึ ง อยากจะบอกกั บ พ่ อ แม่ พี่ น ้ อ ง ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านชากยายจีน ชุมชน เขาน�ำ้ ซับ ชุมชนตลาดอ่าวฯ ชุมชนบ้านอ่าวฯ ชุมชนบ้านทุ่ง ชุมชนแหลมฉบัง และชุมชน วัดมโนรม ว่าอยากจะให้บรรดาพ่อแม่พี่น้อง 7 ชุมชนโดยรอบ ร่วมกันคิด ร่วมกันท�ำ โครงการดี ๆ ตั้งหลายอย่างที่มองเห็นและที่ ไทยออยล์น�ำเสนอให้กับพวกเรา อย่างเรื่อง การดูแลสุขภาพฟันของคนในชุมชน ผมก็ตอ้ ง ขอขอบคุณเครือไทยออยล์ที่เปิดศูนย์สุขภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์ให้กับพวกเรา ชาว 7 ชุมชน ส�ำหรับพีน่ อ้ งในชุมชนบ้านชากยายจีนเอง ผมต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงในความร่วมมือ ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น โครงการพันมือเป็น หนึง่ เดียว ขอให้ทา่ นรักษาโครงการนีต้ ลอดไป อย่างที่เราเคยคุยกันไว้ว่า ก่อนออกจากบ้าน 3 นาทีให้ดูแลหน้าบ้านตัวเองนะครับ ช่วยกัน ท�ำความสะอาดหน้าบ้านและรอบ ๆ ข้าง ๆ บ้านตัวเองให้สะอาด ให้นา่ อยูอ่ าศัย ก็ขอฝาก จุลสารนี้ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ด้วยครับ”

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

21


รู้จักพลังงานทางเลือก โดย อะตอม

ปั่นน�้ำเป็นไฟ มนุษย์เรามีความผูกพันกับน�้ำมาตลอดชีวิต พื้นที่ 2 ใน 3 ของโลกเป็น แหล่งน�้ำซึ่งรวมถึงน�้ำจืดและน�้ำเค็ม เราใช้ประโยชน์จากแหล่งน�้ำเพื่อดื่มกิน เป็นเส้นทางสัญจร ประกอบอาชีพ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ยิ่งไปกว่านั้นน�้ำยังเป็น พลังงานทางเลือกที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง พลังงานน�ำ้ เป็นพลังงานทางเลือกทีส่ ะอาด ไม่ปล่อยก๊าซพิษหรือก๊าซเรือนกระจก ออกมา น�้ำที่ก�ำลังไหลเต็มไปด้วยพลังงานธรรมชาติมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นน�้ำ จากแม่น�้ำที่ก�ำลังไหลหรือคลื่นในมหาสมุทร ลองนึกถึงพลังการท�ำลายของแม่น�้ำที่ ท�ำให้ชายฝั่งพัง ก่อให้เกิดน�้ำท่วม หรือคลื่นยักษ์อย่างสึนามิที่ท�ำลายชายฝั่ง เราคง พอจะจินตนาการถึงภาพพลังงานมหาศาลได้ พลังงานจากน�้ำนี้สามารถควบคุมและเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้ เราใช้น�้ำปั่นไฟได้ โดยการปล่อยน�้ำให้ไหลผ่านกังหัน ท�ำให้กังหันหมุน และผลิตเป็นไฟฟ้า น�้ำยังเป็น แหล่งพลังงานหมุนเวียน เพราะน�ำ้ ในโลกเพิม่ ขึน้ ใหม่ตลอดเวลาตามวัฏจักรของโลก กล่าวคือเมื่อใช้น�้ำปั่นไฟแล้ว น�้ำนั้นยังสามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรหรือด้าน อืน่ ๆ ได้ตามปกติ และเมือ่ น�ำ้ ระเหยกลายเป็นไอ ก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆ และกลัน่ ตัว กลายเป็นน�้ำฝนตกกลับลงมายังแม่น�้ำล�ำธาร หมุนเวียนอยู่เช่นนั้น แต่สิ่งที่ส�ำคัญที่ ละเลยไม่ได้ คือการอนุรกั ษ์ปา่ ต้นน�ำ้ ซึง่ เป็นต้นทางของวัฏจักรทีม่ คี ณุ ค่านี้ หากไม่มปี า่ ก็ไม่มีสายน�้ำ ไม่มีพลังงานมาผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน ข้อดีของพลังงานจากน�้ำอีกประการหนึ่ง ซึ่งต่างจากพลังงานแสงอาทิตย์และ พลังงานลม คือน�้ำสามารถผลิตพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง และเรียกได้ว่า เปิดปุบ๊ ติดปับ๊ เมือ่ ปล่อยน�ำ้ ไหลไปหมุนกังหันเมือ่ ใด เราก็จะได้พลังงานไฟฟ้าออกมา ทันที ทราบหรือไม่คะว่าในปี พ.ศ. 2549 ทั่วโลกมีการติดตั้งไฟฟ้าพลังน�้ำรวมทั้งสิ้น 777,000 เมกกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของ

22 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


ปริมาณไฟฟ้าโลก และเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 88 ของปริมาณ ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเขื่อน พลังน�ำ้ ขนาดใหญ่ ไฟฟ้าพลังน�ำ้ เกิดจากพลังงานของน�ำ้ ทีไ่ หลจากทีส่ งู ลงทีต่ ำ�่ น�ำ้ ทีไ่ หลจากต้นน�ำ้ ลงไปยังปลายน�ำ้ ยิง่ ปริมาณน�ำ้ ไหลจากทีส่ งู มากเท่าใด น�้ำยิ่งไหลเร็วขึ้นเท่านั้น ท�ำให้ยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่เขื่อนพลังน�้ำขนาดใหญ่อาจจะท�ำลายระบบนิเวศได้ เราควร พิจารณาความต้องการน�้ำของชุมชน ชาวไร่ ชาวนา และระบบนิเวศ ที่อยู่ปลายน�้ำ นอกจากนี้ โครงการพลังน�้ำอาจมีปัญหาในการผลิต ไฟฟ้าได้ในช่วงแห้งแล้งยาวนานและฤดูที่อากาศแห้ง ซึ่งท�ำให้แม่น�้ำ แห้งผากหรือปริมาณน�้ำลดลง อย่างไรก็ตาม ระบบน�ำ้ ขนาดเล็กสามารถผลิตไฟฟ้าปริมาณมาก โดยไม่ต้องพึ่งพาเขื่อนขนาดใหญ่ ระบบน�้ำขนาดเล็กแบ่งประเภท เป็น “เล็ก” “เล็กพอเหมาะ” หรือ “เล็กมาก” ขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้า ที่ผลิตได้ ซึ่งสามารถดึงพลังงานจากแม่น�้ำล�ำธารโดยไม่เปลี่ยนน�้ำ ไปจากการไหลตามธรรมชาติมากเกินไป ซึ่งพลังน�้ำขนาดเล็กเป็น แหล่งพลังงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และมีศักยภาพในการ เติบโตมาก

นอกจากนี้ พลังงานจากคลื่นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของพลังงาน จากน�้ ำ ที่ ก� ำ ลั ง ได้ รั บ การกล่ า วถึ ง กั น มากขึ้ น สภาพลั ง งานโลก ประมาณการว่า พลังคลื่นสามารถผลิตพลังงานได้ 2 เทราวัตต์ต่อปี ซึง่ มากกว่าการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบนั ของโลก 2 เท่า และเทียบเท่ากับ พลังงานทีผ่ ลิตขึน้ จากสถานีนำ�้ มัน ก๊าซ ถ่านหิน และนิวเคลียร์ 2,000 แห่ง หากสามารถควบคุมพลังงานหมุนเวียนทัง้ หมดในมหาสมุทรของโลกได้ จะตอบสนองความต้องการพลังงานโลกในปัจจุบันได้มากกว่า 5,000 เท่า แต่จนถึงปัจจุบัน การควบคุมพลังงานคลื่นเป็นไปได้ในทาง ทฤษฎีเท่านั้น เทคโนโลยีนี้ก�ำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา และยังเร็วไป ที่จะประมาณการว่าต้องใช้เวลานานเท่าใด ที่พลังงานคลื่นจะ ตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของโลกเราได้ เราคงต้องเอาใจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์คิดค้นเทคโนโลยี การน�ำพลังงานจากน�ำ้ ซึง่ เป็นพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน นีม้ าใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้หลากหลายมากขึน้ เพือ่ ใช้เป็น พลังงานทางเลือก ทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิลทีน่ บั วันมีแต่จะ หมดไป และเพื่ออนาคตของลูกหลานและโลกที่เรารักค่ะ

เครือไทยออยล์ร่วมกับมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน พัฒนาโครงการการน�ำพลังงานงานจากน�้ำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ให้ชุมชนในท้องถิ่นห่างไกล จากระบบสาธารณูปโภคของรัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำทางสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ ดีขึ้น อาทิ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ำชุมชนห้วยปูลิง โรงไฟฟ้าพลังน�้ำวัดจ�ำปาทอง โรงไฟฟ้าพลังน�้ำบ้าน เปียน เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ชุมชนมีไฟฟ้าใช้แล้ว โครงการฯ ยังปลูกฝังให้ชุมชนในท้องถิ่นรักและ ให้ความส�ำคัญกับทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นต้นน�้ำ รวมทั้งอบรมกรรมการชุมชนให้สามารถบริหารจัดการโรง ไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ำห้วยปูลิงได้รับรางวัลดีเด่นด้านพลังงานทดแทน ประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) จากการจัดประกวด Thailand Energy Awards 2011 และยังได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวด ASEAN Energy Awards 2011 ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 อีก รางวัลหนึ่ง www.greenpeace.org หนังสือ พลังงาน : เพื่อความเข้าใจ ใช้อย่างรู้ค่า พัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยส�ำนักงานคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

23


ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

โดย หงวน ชวน ชิม

ตะลุมบอน... จานเดียวได้ทุกอย่าง ข้อดีของตะลุมบอน คือเหมาะกับ คนตะลุยกิน เพราะได้กนิ ทุกอย่าง ที่อยากกินในจานเดียว ตะลุมบอน หมายถึง เป็ดยกพวกตี กับไก่ ฮุกซ้ายเจอกับหมูกรอบ เตะขวาก็เจอ หมูแดง ทั้งหมดอยู่ในสนามเดียวกัน คือ จาน สีเขียวใบใหญ่ตรงหน้า คนกินเลือกได้เลยว่า จะใช้ช้อนใช้ส้อมจิ้มตีพวกไหนกินก่อน หมด ปัญหาเวลาไปร้านแล้วไม่รู้จะสั่งอะไร นั่นก็ อยากกิน นี่ก็อยากกิน ร้านทั่วไปอาจสั่งได้ อย่างมากข้าวหมูแดงบวกหมูกรอบ ประเภท ข้าวหมูแดงบวกเป็ดย่างคงไม่มีที่ไหน ยกเว้น ที่นี่ร้านตะลุมบอน

เจ้าของร้านคือคุณป็อบและคุณเน็ต (ธนพล - ฐิติกาญจน์ ธัญญะธนบดี) สองสามี ภรรยาที่มีดีมากกว่าฝีมือท�ำอาหารคือ ไอเดีย โดนใจคนชอบกิน คุณป็อบเล่าว่าแต่กอ่ นไม่ได้ ชือ่ ร้านตะลุมบอน แต่ใช้ชอื่ ว่า ราชาจานเดียว เมนูเด่นของร้านคือ ตะลุมบอน ที่มีทุกอย่าง ในจานเดียว ทั้งเป็ดย่าง ไก่ย่าง หมูแดง หมูกรอบ คนส่วนใหญ่ชอบเมนูนี้มาก มาทีไร มักสั่งแต่ตะลุมบอน จนเป็นที่ติดปากว่าเที่ยง นี้ไปกินไหน ไปกินตะลุมบอน หรือเดี๋ยวเจอ กันนะ รอที่ตะลุมบอน พอได้ยินได้ฟังลูกค้า พูดบ่อยเข้า คุณป็อบกับคุณเน็ตเลยตกลงใจ เปลีย่ นชือ่ ร้านตามเมนูอาหารเสียเลย จนขาย ดิบขายดียิ่งขึ้น

ร้านตะลุมบอนถูกตะลุมกินทุก ๆ วัน จนปัจจุบนั คุณป็อบต้องขยายสาขาจากแหลมฉบัง มาเปิดเพิ่มที่ศรีราชา ร้านใหม่แต่สดใสด้วยโทนสีส้มน�้ำตาลเช่นเดิม และเลือกการตกแต่ง แบบง่าย ๆ ประหยัดพลังงานแต่เก๋ไก๋ เช่น ไม่ติดแอร์แต่ใช้พัดลมสีสดใส ชมพูช็อกกิ้งพิงค์ เขียวมะนาว ตัดกับสีสม้ สดของโต๊ะอาหาร เลือกใช้บล็อกดินซึง่ ราคาไม่แพง เคลือ่ นย้ายได้สะดวก ตกแต่งผนังและรอบเสาให้ความรู้สึกนุ่มนวลและกั้นขอบเขตรอบเสาเป็นที่ปลูกต้นไม้ได้ด้วย ท�ำให้ห้องแถวธรรมดากลายเป็นร้านอาหารเท่ ๆ ได้ในงบที่ลงทุนได้ ไม่ต้องขึ้นราคาหรือลด ปริมาณให้ลูกค้าช�้ำใจ ความอร่อยหนีไม่พ้นเป็ดย่างที่เนื้อนุ่มหอมกลิ่นเครื่องเทศเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะ หมักข้ามคืนแล้ว คุณเน็ตเล่าว่า รุ่งเช้าจะหมักซ�้ำอีกรอบแบบไม่กลัวเปลืองเครื่อง เพื่อให้รส และกลิ่นเข้าถึงเนื้อเป็ดจริง เป็ดทุกตัวจึงชุ่มฉ�่ำน�้ำหมักก่อนเข้าตู้อบ เมื่ออบเสร็จจึงได้เป็ดที่ หอมนุ่ม หนังกรอบก�ำลังดี ไม่แห้งเกินไป แต่ที่โดนใจลูกค้าจนเป็นที่กล่าวขวัญ บางรายต้อง

24 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


สั่งเฉพาะใส่ถุงกลับไปเคี้ยวต่อที่บ้าน นั่นคือหมูกรอบ ใครกินติดใจทุกราย เพราะหมูกรอบ ที่นี่กรอบไม่เหมือนใคร ถ้าให้เล่าขอให้นึกถึงเสียงเคี้ยวกรอบแบบเสียงเบสที่นุ่มหู เคี้ยวแล้ว มันกรอบแบบของที่ละเอียด กินแล้วนวลปากไม่มีมันเยิ้มให้ระคายเคือง เคล็ดลับอยู่ที่ หมูกรอบตะลุมบอนนัน้ ไม่ผา่ นน�ำ้ มันทอด แต่อบช้า ๆ จนมันทัง้ หมดค่อย ๆ แห้งไป จนเหลือแต่ความกรอบ ส่วนเครื่องดื่มที่ร้านนี้ เขาฉลาดมีให้เลือกหลากหลายไม่ต้องง้อ น�ำ้ อัดลม ทัง้ น�ำ้ มะตูม กระเจีย๊ บ ใบเตย ชาด�ำเย็น หอมอร่อยชืน่ ใจ เพราะ คุณเน็ตบอกว่าทุกอย่างต้มเอง และใช้เฉพาะน�้ำตาลทรายแดงเท่านั้น เพื่อให้รสหวานติดกลิ่นหอม ไม่หวานแหลมอย่างน�้ำตาลทรายขาว ถ้าให้สรุปเคล็ดลับความอร่อยนั้น ทั้งสองคนบอกว่าอยู่ที่ความ เข้มข้น ความลงตัวของวัตถุดิบที่น�ำมาปรุง และวัตถุดิบทุกอย่าง คัดแต่ของดีเท่านั้น แม้แต่เรื่องเล็กน้อยอย่างน�้ำจิ้มซีอิ๊วด�ำหวาน ถ้า สังเกตจะเห็นว่าไม่เหนียวหนืด เพราะเลือกใช้ซีอิ๊วด�ำคุณภาพดีที่ท�ำจาก น�้ำตาลอ้อยแท้ จึงท�ำให้น�้ำจิ้มหอมหวาน ไม่เหนียวและติดขมอย่างซีอิ๊ว คุณภาพต�่ำที่ท�ำจากกากน�้ำตาล

ร้านตะลุมบอน มี 2 สาขา

ส่วนน�ำ้ จิม้ เต้าเจีย้ วทีก่ นิ กับไก่ รสชาติดดี ว้ ยความสดใหม่ของขิงและไม่เค็มจัด อย่างที่คุยว่าร้านนี้เขาคัดแต่วัตถุดิบดี ๆ เท่านั้น น�้ำจิ้มพริกเน้นใช้พริกขี้หนู สดใหม่ เจาะจงพริกเขียว เพราะจะหอมกว่าพริกแดง หัวใจของทุกเมนู คือ น�้ำซอสนั้นปรุงขึ้นด้วยน�้ำจากตัวเป็ดและไก่ จึงหอมหวานเป็นทุนเดิม บวกเพิ่มกับฝีมือ การปรุงสูตรของคุณเน็ตเจ้าของร้านยิง่ อร่อย โดยเฉพาะเมือ่ มาราดอยูบ่ นเวทีตะลุมบอน กินเพลินเกินห้ามใจ เดี๋ยวเดียวหมดต้องสั่งเพิ่ม หรือไม่ก็ต้องหิ้วกลับไปฝากคนที่บ้าน นอกจากข้าวแล้วยังมีก๋วยเตี๋ยวตะลุมบอน เผื่อคนเบื่อข้าวอยากซดอะไรร้อน ๆ ลองเลือกเมนูนไี้ ด้ รับรองไม่ผดิ หวัง เพราะน�ำ้ ซุปก๋วยเตีย๋ วเป็นน�ำ้ พะโล้เป็ดทีห่ อมฉุยจน คนข้าง ๆ ทีส่ งั่ เมนูขา้ วแล้วยังต้องช�ำเลืองมองอยากสัง่ อีกชาม หรือบางรายอดใจไม่ไหว ใช้อาวุธคู่เดิมจ้วงตะลุมกินด้วยเสียเลย... เอ้า ! คุณป็อบเดินมาพอดี “จะสั่งเพิ่มอีกสัก ชามไหมครับ” ขอแนะน�ำว่า สั่งเถอะ จะได้ไม่ต้องแย่งกัน กลัวมีตะลุมบอนของจริงค่ะ

สาขาแหลมฉบัง อยู่ใกล้กับแยกหนองแรก เลี้ยว มาทางเทศบาลแหลมฉบังประมาณ 150 เมตร หยุดทุกวันพุธ

สาขาศรีราชา (เปิดใหม่) อยู่ติดกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในตัวอ�ำเภอศรีราชา เปิดตั้งแต่ 07:30-16:00 น. หยุดทุกวันอาทิตย์ สอบถามโทร. 08 6828 8298 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

25


เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

โดย ศรีคำ�

เครือข่ายเยาวชนคลองใหญ่

พี่สอนน้อง...น้องสอนเพื่อน...รักษ์ป่าชายเลน

“หากไม่มีป่าชายเลน สัตว์น�้ำจะไม่เข้ามาอาศัย เราก็ ไม่มี สัตว์น�้ำให้จับไปท�ำอาหาร ต้องไปซื้อเขากิน เขาอาจจะใส่สารเคมี ต่าง ๆ เกิดอันตรายต่อร่างกาย เราจับเอง บริโภคปลอดภัย ไม่ดี กว่าหรือ แถมอากาศบ้านเรายังดีขึ้นมาอีก” เสียงแจ้ว ๆ ของเด็กรุ่นพี่จากโรงเรียนคลองใหญ่วิทยาคม โรงเรียนมัธยมระดับอ�ำเภอ ก�ำลังบอกเล่าให้น้อง ๆ ชั้นประถมจาก โรงเรียนใกล้เคียงให้เข้าใจถึงงานที่พวกเขาก�ำลังท�ำ คือการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ท�ำไมป่าชายเลนจึงเป็นหัวใจส�ำคัญ ซึ่งเด็ก ๆ โรงเรียนคลองใหญ่วิทยาสืบต่องานนี้กันรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนกลายเป็น เครือข่ายเยาวชนคลองใหญ่ทที่ ำ� งานอนุรกั ษ์กนั อย่างเข้มแข็งกว่าสิบปี เริ่มจาก อย. ตัวน้อย ๆ ย้อนไปเกือบยี่สิบปีก่อน ปี 2536 เมื่อ ครูบัวภา กลางวางแก้ว เพิ่งย้ายมาสอนที่โรงเรียนคลองใหญ่วิทยา ครูเห็นปัญหามากมายของ เด็ก ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่เรียนอ่อน ท�ำให้หลายคนไม่สนใจเรียน บางคนค่อนข้างเกเร ความพยายามแก้ปญั หาทีผ่ า่ น ๆ มาไม่คอ่ ยได้ผล ต่อมาครูบวั ภาคิดได้วา่ วิธแี ก้ปญั หาทีด่ นี า่ จะเป็นการท�ำให้เด็ก ๆ รูส้ กึ ว่า แม้ตนจะเรียนไม่เก่ง แต่มีคุณค่า มีศักยภาพ สามารถท�ำสิ่งต่าง ๆ ได้อกี มากมาย จึงคิดใช้กระบวนการกลุม่ คือรวมเด็กมาท�ำงานร่วมกัน โดยเริ่มต้นจากการเปิด “ชุมนุมคุ้มครองผู้บริโภค” ขึ้นหรือเรียกสั้น ๆ ว่า อย.น้อย

26 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

“เริ่มแรกเหนื่อยมาก ทั้งในเรื่องผู้ปกครองเด็กไม่ไว้ใจว่าจะเอา ลูกเขาไปท�ำอะไร เพราะเพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ ผู้บริหารโรงเรียนเปลี่ยน นโยบายก็ต้องเปลี่ยนตาม แถมยังต้องวิ่งหางบประมาณด้วยตัวเองอีก ต่างหาก” ครูบัวภาเล่าถึงความหลังด้วยรอยยิ้ม กิจกรรมแรก ๆ ของ อย.น้อย คือ การตรวจหาสารปนเปื้อน ในอาหารทั้งในโรงเรียนและตลาด แล้วค่อย ๆ เชื่อมโยงสู่ชุมชน โดย เริม่ จากการรณรงค์เผยแพร่ความรูด้ า้ นต่าง ๆ เช่น ให้ความรูเ้ รือ่ งของ อาหารขยะ โทษของการบริโภคอาหารทีไ่ ม่ถกู สุขลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักปลอดสารพิษ การท�ำน�้ำยาอเนกประสงค์ การเผาถ่าน การรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ


กลายเป็นนักอนุรักษ์ป่าตัวเล็ก ๆ ที่เข้มแข็ง หนึง่ ปีหลังจากตัง้ ชุมนุมฯ มีขา่ วใหญ่เรือ่ งน�ำ้ ท่วมวัดขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ เพราะป่าชายเลนถูกตัดและท�ำลายลงจน ไม่สามารถป้องกันน�้ำทะเลกัดเซาะได้ แผ่นดินชายฝั่งหดหายไป หลายเมตร เรื่องราวนี้สะกิดใจเด็ก ๆ ที่ต่างเป็นลูกหลานของชุมชน คลองใหญ่ซึ่งอยู่ติดทะเลเช่นเดียวกัน ครูบัวภาและกลุ่ม อย.น้อยเริ่ม หันมามองการท�ำกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมค่อย ๆ เกิดขึ้นจนเต็มรูปแบบ เริ่มมีการเกณฑ์สมาชิก รุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียนและชาวบ้านร่วมกันเก็บขยะตามป่าชายเลน ปลูกป่าชายเลนเพิ่ม โดยขอกล้าพันธุ์ไม้จากสถานีพัฒนาทรัพยากร ป่าชายเลนที่ 4 (น�ำ้ เชีย่ ว) จ.ตราด หลังจากนัน้ ได้จดั พิธบี วชป่าชายเลน ท�ำบุญปล่อยเรือ โดยเชิญพระสงฆ์ทำ� พิธี และให้ชาวบ้านมาร่วมท�ำบุญ เพื่อสร้างความผูกพันและหวงแหนป่ามากขึ้น จนกลายเป็นประเพณีที่ จัดเป็นประจ�ำทุกปี ผลจากการดูแลรักษาป่าชายเลนอย่างต่อเนือ่ งของ เด็ก ๆ ท�ำให้ทุกวันนี้ในคลองใหญ่มีกุ้งก้ามกรามเพิ่มมากขึ้น รวมถึง ปูก้ามดาบ ปลาตีน หอยพอก ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ปลูกต้นไม้คนละต้น พวกเขาจะได้มสี ว่ นร่วมเป็นเจ้าของป่าของชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม การรับน้องอย่างนี้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนกิจกรรมหลักที่ท�ำเป็นประจ�ำและต่อเนื่อง คือ สอดส่องดูแล รักษาป่าชายเลน เก็บขยะตามป่าชายเลนทุกเดือน ปลูกป่าเสริม และจัดพิธีบวชป่าชายเลนทุกปี หลังจากท�ำงานพิสจู น์ความตัง้ ใจ เหน็ดเหนือ่ ยกันมานาน ทุกอย่าง เริม่ ดีขนึ้ เมือ่ นักเรียนได้รบั รางวัลต่าง ๆ อาทิ คุณธรรมจริยธรรมดีเด่น นักเรียนพระราชทานฯ เด็กดีเด่น มีโอกาสได้พบกับนายกรัฐมนตรี และยังได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 11 ประจ�ำปี 2552 ประเภท กลุ่มเยาวชน ทุกวันนีพ้ สี่ อนน้อง...น้องสอนเพือ่ น ได้ขยายกลายเป็นเครือข่าย เยาวชนคลองใหญ่มีสมาชิกเกือบร้อยคน นี่คือกลุ่มเด็กน้อยผู้ก่อการดี ที่ผู้ใหญ่ในชุมชนต้องยอมรับ เพราะผลงานของเด็ก ๆ ท�ำให้ชุมชน มีปา่ ชายเลนทีส่ มบูรณ์มากขึน้ สัตว์นำ�้ เพิม่ ขึน้ ผูใ้ หญ่หลายคนเริม่ เห็น ความส�ำคัญของสิง่ ทีเ่ ด็ก ๆ ท�ำจึงเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน ชุมชนจึงเกิด ความสามัคคี ที่ส�ำคัญสิ่งที่เด็ก ๆ ท�ำไม่ได้เป็นเพียงไฟไหม้ฟาง แต่มี สานต่ออย่างยั่งยืนด้วยหลักการ “พี่สอนน้อง” ความยั่งยืน เพราะปัจจุบัน อบต.คลองใหญ่ และเทศบาลคลองใหญ่ เด็กรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่จบจากโรงเรียนไป พวกเขาก�ำลังเติบโตต่อ เข้ามาสนับสนุนงบประมาณ เพือ่ ด�ำเนินกิจกรรมด้านการอนุรกั ษ์อย่าง เพื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตส�ำนึกอนุรักษ์ แม้ว่าทุก ๆ ปีจะมีเด็กจบ ต่อเนื่องอีกด้วย นับเป็นตัวอย่างดี ๆ ที่น่ามาเยี่ยมเยือนเพื่อเรียนรู้ การศึกษา แต่กจิ กรรมเหล่านีไ้ ม่เคยหายไปจากโรงเรียนคลองใหญ่วทิ ยา ร่วมกัน เพราะหลักการ “พีส่ อนน้อง” ทีค่ รูบวั ภาปลูกฝังมาตัง้ แต่เริม่ แรก ท�ำให้ เด็ก ๆ เกิดความรักและผูกพัน รู้จักสอนและส่งต่อความรู้กันเอง จน กระทั่งเกิดโครงการพี่สอนน้องขึ้นมาอย่างจริงจัง โดยให้นักเรียน ในชุมนุมฯ น�ำเอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ๆ ตามโรงเรียนประถม ขอขอบคุณ ชัน้ ป.5 - ป.6 เพราะอนาคตเด็กส่วนใหญ่จะเข้ามาศึกษาต่อทีโ่ รงเรียน เครือข่ายเยาวชนคลองใหญ่ โรงเรียนคลองใหญ่วิทยาคม คลองใหญ่วิทยาคม หมู่ 7 ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 23110 นับเป็นกุศโลบายในการปลูกฝังจิตส�ำนึกเรื่องการอนุรักษ์ที่ได้ ติดต่อข้อมูล ดูงานได้ที่ครูบัวภา กลางวางแก้ว ผลดีเยี่ยม นอกจากนี้ทางชุมนุมฯ ยังมีวิธี “รับน้อง” ที่ตอกย�้ำความ โทร. 08 1575 7380 รักและหวงแหนป่าชายเลน โดยให้น้อง ๆ เข้าใหม่ชั้น ม.1 และ ม.4 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

27


ชุ ม ชนที่ฉันรัก

ประเดิมคอลัมน์ ชุมชนที่ฉันรัก ฉบับแรกด้วยเรียงความของน้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ทีบ่ อกเล่าความประทับใจ ในชุมชนของเราผ่านตัวอักษรมาให้ ได้อ่านกัน มาลองดูกันนะคะว่าเด็ก ๆ เขา ประทับใจอะไรกันบ้าง

โดย กองบรรณาธิการ

ด.ญ.สุ ภ าภรณ์ อ�ำไพทอง ป.6/1

ด.ญ.รั ต นา เจริ ญแพทย์ ป.6/2

28 ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554


ลับสมองลองเล่นเกม โดย กองบรรณาธิการ

เนือ่ งจากวิกฤตพลังงานน�ำ้ มัน หลายประเทศจึงหันมาให้ความสนใจ และพัฒนาพลังงานทางเลือก อย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นก็คือ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่า พลังงานหมุนเวียน คือพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป และเป็นพลังงานสะอาดที่ ไม่สร้างมลพิษต่อ สิ่งแวดล้อม ดูจากรูปด้านล่างแล้วใครทราบค�ำตอบ ให้ท�ำเครื่องหมายวงกลมรอบรูปที่ถือว่าเป็น “พลังงานหมุนเวียน”... แล้วรีบส่งค�ำตอบเข้ามารอรับของรางวัลกันนะคะ...

ถ่ายเอกสารและส่งคำ�ตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2554 ชือ่ ................................................. นามสกุล .....................................................................ทีอ่ ยู...่ ............................................ .............................................................................................................................................................................................. ...............................................................................................................................................................................................

เฉลยเกมฉบับที่แล้ว

“ขับรถประหยัดพลังงาน”

รถควันด�ำ

คันเดียว คนเดียว

ทางเดียวกัน ไปด้วยกัน

ดับเครื่อง

หลงทางตลอด

แผนที่น�ำทาง

จอดติดเครื่องนาน ๆ

ตรวจเช็กสภาพ

ขอแสดงความยินดีกับผู้ตอบค�ำถามได้ถูกต้อง และโชคดีจากการจับฉลากรายชื่อ ดังนี้ 1. ด.ญ.นงรัก สนัยยัง 2. ด.ญ.นิรฌา สุขส�ำราญ 3. ด.ญ.ปนัดดา ทองฉวี 4. คุณประพันธ์ จริยานุเคราะห์ 5. คุณพิชัย ทองบัณฑิต 6. ด.ญ.พิมพ์มาดา หิรัญโชติเสถียร 7. คุณพิศมัย พันธุ์พิช 8. คุณศรีอักษร กะตะศิลา 9. คุณสิริธร โตสะอาด 10. คุณอุบล ว่องไว ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554

29



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.