จ�ลสารไทยออยล เพ�อ่ ชุมชน ป ท่ี 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ 2555
ÊÇÑÊ´Õ »‚ãËÁ‹ 2555
Çѹà´ç¡ à¤Ã×Íä·ÂÍÍÂÅ ¨Ø´»ÃСÒ¤ÇÒÁ½˜¹...
ÁØ‹§ÁÑè¹Êً͹Ҥµ
สุรงค์ บูลกุล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน)
สวัสดีครับทุกท่านในชุมชนของเรา ผมหวังว่าเพือ่ นบ้านไทยออยล์ทกุ ท่าน คงจะเริม่ ต้นศักราชใหม่ดว้ ยความสุขสดชืน่ จากเทศกาล ปีใหม่ วันเด็ก และตรุษจีนที่เพิ่งผ่านพ้นไป และเติมพลังให้ชีวิตพร้อมรับสิ่งดี ๆ ที่ก�ำลังก้าวเข้ามาใน ปี 2555 นี้อย่างเต็มที่นะครับ ในปีทผี่ า่ นมา ไทยออยล์ยงั คงให้ความส�ำคัญต่อการดูแลสุขภาวะของชุมชนรอบโรงกลัน่ อย่าง ต่อเนือ่ ง นอกเหนือจากการให้บริการด้านทันตกรรมเด็กนักเรียน เครือไทยออยล์ยงั ได้เปิดศูนย์ปฏิบตั กิ าร เวชศาสตร์ชมุ ชน เพือ่ เดินหน้างานด้านการดูแลสุขภาพเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม โดยร่วมกับเทศบาล นครแหลมฉบัง อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น (อสม.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ส�ำรวจข้อมูลสุขภาวะของแต่ละครอบครัวในชุมชน เพื่อ น�ำข้อมูลทีไ่ ด้มาร่วมกันคิดวิเคราะห์ปญั หา จัดท�ำแผนทีส่ ขุ ภาพชุมชน คัดกรองความเสีย่ ง เพือ่ น�ำไปสู่ การวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกฝ่ายด้วยโครงการส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ ทีส่ อดคล้องกับแต่ละกลุม่ การจัดอบรมกระโดดเชือกให้กลุ่มเยาวชนในชุมชน คืออีกหนึ่งกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยเครือฯ ได้รว่ มกับมูลนิธหิ วั ใจในพระบรมราชูปถัมภ์และโรงเรียนน�ำร่องทัง้ 5 แห่ง ได้แก่ รร.วัดใหม่ เนินพยอม รร.วัดแหลมฉบัง รร.เทศบาลแหลมฉบัง 2 รร.วัดมโนรม และ รร.บ้านชากยายจีน เยาวชนในชุมชนบ้านเราให้ความสนใจเข้าร่วมฝึกกระโดดเชือกเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งทางโรงเรียน และผู้ปกครองก็ให้การสนับสนุนเต็มที่ เพราะนอกจากลูกหลานของเราจะมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อีกทางหนึ่ง นอกจากนั้น เครือฯ ยังได้สนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาทั้งในรูปแบบ “กองทุน การศึกษาไทยออยล์” ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง รวม 22 ทุน “ทุนการศึกษาส�ำหรับนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา” เพื่อศึกษาในระดับปริญญาตรีส�ำหรับ ผูพ้ ร้อมรับราชการ ณ โรงพยาบาลอ่าวอุดมหลังจากส�ำเร็จการศึกษาจ�ำนวน 9 ทุน และโครงการอืน่ ๆ เช่น โครงการค่ายเยาวชนวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาห้องสมุดมีชวี ติ ภายในศูนย์สขุ ภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน โครงการต่าง ๆ ในชุมชนของเราตลอดปี 2554 ทีผ่ า่ นมา ทัง้ งานด้านเวชศาสตร์ชมุ ชน การส่งเสริม การศึกษา โครงการสวดมนต์ช�ำระใจและนั่งสมาธิ การถวายเทียนพรรษา งานทอดกฐินสามัคคี วัดมโนรม การรณรงค์รกั ษาความสะอาดในชุมชน การประชาคมโครงการท่าเทียบเรือ ฯลฯ คงไม่อาจ ประสบผลส�ำเร็จได้ หากไม่ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากเพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกชุมชน รวมทั้ง เทศบาลนครแหลมฉบัง โรงพยาบาลอ่าวอุดม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา วัด และโรงเรียนต่าง ๆ ในชุมชน ผมต้องขอขอบพระคุณทุกท่านจากใจจริงมา ณ ที่นี้ด้วย ในนามพนักงานเครือไทยออยล์ทุกคน ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความส�ำเร็จ มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง พบแต่ความสุขความเจริญตลอดไปครับ
สารบัญ เรื่องจากปก
1
ตามรอยพ่อ
4
รอบรั้วไทยออยล์
6
สกู๊ปพิเศษ
9
เคล็ดลับสุขภาพ
12
บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ
13
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม
16
CSR โฟกัส
18
ปลอดภัยใกล้ตัว
20
ของดีบ้านเรา
22
กระบอกเสียงชุมชน
24
ก้าวทันโลก
26
ลับสมองลองเล่นเกม
27
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน
28
จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) จัดทำ�โดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์ขององค์กร สำ�นักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยค่ี อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2299 0000, 0 2797 2999 โทรสาร 0 2797 2974 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุ่งสุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0 3840 8500, 0 3835 9000 โทรสาร 0 3835 1554, 0 3835 1444 แผนกบริหารงานชุมชน 0 3835 5028-31
เรื่องจากปก
โดย กองบรรณาธิการ
วันเด็กเครือไทยออยล์ จุดประกายความฝัน...มุ่งมั่นสู่อนาคต
เมื่อเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมเวียนมาอีกครั้ง ก็ถึงเวลาที่เด็กทุกคนจะ ต้องท่องจ�ำค�ำขวัญวันเด็กจากนายกรัฐมนตรีให้ขนึ้ ใจ เอ๊ย! ไม่ใช่ ก็ถงึ เวลา แห่งความสุขของเด็ก ๆ อีกครั้งต่างหาก วันเด็กเป็นวันที่หลาย ๆ องค์กร หลายหน่วยงานจัดงาน เพือ่ มอบความสุขให้กบั เด็ก ๆ เด็กทุกคนจึงตัง้ หน้า ตั้งตารอคอยวันนี้กันนักหนา
วันเด็กแห่งชาติปีนี้ตรงกับวันที่ 14 มกราคม 2555 เครือไทยออยล์และทีซีพี ร่ ว มกั บ ชุม ชนรอบโรงกลั่ นจั ดงานวั นเด็ ก เครื อ ไทยออยล์ ป ระจ� ำ ปี 2555 ขึ้น ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เริ่มงานแต่เช้าด้วยการ เปิดให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็กเป็นพิเศษ โดยทีมทันตแพทย์และผู้ช่วยจาก รพ.อ่าวอุดม มีเด็ก ๆ มาใช้บริการจ�ำนวน 63 คน ตั้งแต่อายุ 1-15 ปี ช่วงบ่ายพอแดดร่มลมตกเวลา 16.00 น. จึงเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน โดยมี น้อง ๆ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทีม่ าฝึกงานวิชาปฏิบตั กิ าร ชุมชนคอยช่วยอ�ำนวยความสะดวก ปีนี้มีเด็กมาลงทะเบียนร่วมงานหนาตา ถึง 1,490 คน หากนับผู้ปกครองด้วยน่าจะถึง 2,000 คน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ เมื่อมองไปตรงบริเวณใดของศูนย์สุขภาพฯ ก็ดูคึกคัก และคลาคล�่ำไปด้วยผู้คนที่ ยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทายกัน โดยมีตุ๊กตาสัญลักษณ์ (Mascot) น้องแรด 1 คู่ และ สัตว์ต่าง ๆ อีกมากมายช่วยสร้างสีสันให้กับงานได้เป็นอย่างดี
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
1
เรื่องจากปก เด็ ก ทุ ก คนที่ ล งทะเบียนแล้วสามารถ น�ำบัตรไปจับฉลากเพื่อรับของที่ระลึก แถมยัง มีสิทธิ์ลุ้นรางวัลใหญ่จากการจับฉลากบนเวที อีกด้วย หลังจากลงทะเบียนแล้ว กองทัพเด็ก กระจายกันไปตามล่ารางวัลจากซุ้มเกมต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณลานอเนกประสงค์หรือใต้ถุน อาคารนั่นเอง ถึงแม้คนจะเยอะมาก แต่ขอ ชืน่ ชมเด็กๆ ของเราในเรือ่ งความมีระเบียบวินยั การรู้จักต่อแถวกันลงทะเบียน รับอาหาร หรือ รอเล่นเกมตามซุ้มต่าง ๆ ไม่มีแซงคิวหรือ ทะเลาะกัน ส่วนขยะนั้นถึงจะยังมีให้เห็นบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก และเชื่อว่าปีหน้าคงดีขึ้นอย่าง แน่นอน
หากใครหิวสามารถเติมก�ำลังได้ที่ซุ้ม อาหารด้านหลังหอพระ ที่เครือไทยออยล์และ ทีซพี พี ร้อมด้วยชุมชนต่าง ๆ จัดกันมาเต็มที่ ทั้ ง คาวหวาน อาทิ เครื อ ไทยออยล์ แ ละ ที ซี พี (ข้ า วมั น ไก่ ผั ด มั ก กะโรนี ข้ า วผั ด ) ชุมชนบ้านเขาน�ำ้ ซับ (น่องไก่ทอด-ข้าวเหนียว) ชุมชนตลาดอ่าวอุดม (ข้าว แกงเขียวหวาน พะโล้) ชุมชนวัดมโนรม (มันฝรั่งทอด นักเก็ตไก่) ชุมชนบ้านอ่าวอุดม (ข้าวคลุกกะปิ ขนมขีห้ นู หรื อ ขนมทราย) ชุ ม ชนบ้ า นแหลมฉบั ง (กระเพาะปลา) ชุมชนบ้านทุ่ง (ผัดหมี่แดง) ชุมชนนี้เราขอมอบรางวัลการแต่งกายดีเด่น ให้ค่ะ เพราะคุณป้า คุณน้า คุณพี่ ร่วมใจกัน ใส่ชุดนักเรียนมาเข้ากับงานวันเด็กจริง ๆ
2
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
พอถึงช่วงเย็นความส�ำคัญของงานย้ายไปอยู่ที่ลานออกก�ำลังกายกลางแจ้ง ด้านหน้าศูนย์ ที่จัดเตรียมเวทีขนาดใหญ่ไว้และเวทีจัดวางรางวัลใหญ่ส�ำหรับ จับฉลาก เริ่มเปิดงานโดยประธานกรรมการชุมชนรอบโรงกลั่นทั้ง 7 ชุมชน และ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการจัดงานประจ�ำปีที่ว่า จุดประกายความฝัน... มุ่งมั่นสู่อนาคต จึงได้จัดให้มีการแสดงความสามารถด้านต่าง ๆ เพื่อสร้าง แรงบันดาลใจให้กบั เยาวชนทีม่ าร่วมงาน อาทิ การแสดงความสามารถทางด้านศิลปะ จากโรงเรียนติกาหลังนาฏศิลป์ไทย การสาธิตกระโดดเชือกจากทีมนักเรียน ที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการที่ ศู น ย์ สุ ข ภาพฯ จั ด ขึ้ น การสาธิ ต เดาะลู ก ฟุ ต บอลจาก เยาวชนทีมฟุตบอลศรีราชาเอฟซี นอกจากนั้น ยังมีการเล่านิทานสอดแทรก ข้ อ คิ ด ให้ แ ก่ น ้ อ ง ๆ โดยนั ก ศึ ก ษาพยาบาล และการแสดงวงดนตรี ลู ก ทุ ่ ง จากโรงเรียนทุง่ ศุขลาพิทยา (กรุงไทยอนุเคราะห์) สลับกับการจับฉลากรางวัลให้เด็ก ที่มาร่วมงาน โดยได้รับเกียรติจากผู้ใหญ่ใจดีหลาย ๆ ท่าน เช่น ประธานกรรมการ ชุมชนรอบโรงกลั่นมามอบรางวัลให้ผู้โชคดี
เรื่องจากปก งานจบลงด้วยความชื่นมื่นของเด็ก ๆ ที่มา ร่วมงานโดยเฉพาะเด็กที่ได้รับรางวัลใหญ่หรือรางวัล ถูกใจ แต่ความสุขจากสิ่งเหล่านั้นคงอยู่แค่ชั่วคราว หากแต่เราซึง่ เป็นผูใ้ หญ่ทกุ คนให้ความรัก ความเข้าใจ แก่พวกเขาทุกวันไม่ใช่เฉพาะวันเด็ก น่าจะสร้าง ความสุ ขแบบยั่ ง ยื น ให้ พวกเขา เพื่ อ ให้ เขาพร้ อ ม จะเติ บ โตเป็ น ผู ้ ใ หญ่ ที่ ดีข องสั ง คม และรู ้ จั ก การ แบ่งปันความรักให้กับคนอื่น ๆ ต่อไปนะคะ
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรือ่ งวันเด็ก
• งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทยตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (ยึดตามองค์กรสหประชาชาติที่ก�ำหนดให้เป็นวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม) จนกระทั่งวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้เปลี่ยนการ จัดงานวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ ของประเทศ • พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มอบค�ำขวัญวันเด็ก แห่งชาติครั้งแรก ค�ำขวัญนั้นคือ “จงบ�ำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและ ส่วนรวม” • ค�ำขวัญวันเด็กประจ�ำปี พ.ศ. 2555 จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ “สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
3
โดย กระดาษกรอง
เยื อ นเนิ น ทราย ทีโ่ ครงการพัฒนาส่วนพระองค์ชมุ พร เมื่ อ เร็ ว ๆ นี้ มี โ อกาสได้ ผ ่ า นไปเยี่ ย มชม โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่ ง อยู ่ ไ ม่ ไ กลจากตั ว อ� ำ เภอบางสะพานน้ อ ย จ.ประจวบคีรีขันธ์มากนัก ประมาณหลัก กม. ที่ 425 จะมี ป ้ า ยบอกทางให้ เ ลี้ ย วซ้ า ยเข้ า ไป ประมาณ 16 กม. จุดสังเกต คือ ขับตามป้าย อ่าวบางเบิดไปเรือ่ ย ๆ (ทางเดียวกับก�ำเนิดพลอย รี ส อร์ ท ของนั ก แสดงหนุ ่ ม นั่ น เอง) จนเจอ สามแยกใหญ่มีป้ายเลี้ยวขวาไปโครงการพัฒนา ส่วนพระองค์
จากการส�ำรวจพบว่ามีพชื จ�ำพวกมอส ไลเคน 4 ชนิด เฟิรน์ มากกว่า 20 ชนิด กล้วยไม้ 10 ชนิด เถาวัลย์ ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้นกว่า 160 ชนิด ปัจจุบันที่นี่ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติที่ส�ำคัญส�ำหรับเยาวชนใน ภาคใต้เลยทีเดียว เส้นทางการเดินศึกษาธรรมชาติมีให้เลือกแบบ รอบสั้นประมาณ 2 กิโลเมตร และแบบรอบยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้เรื่องธรรมชาติแล้ว เจ้าหน้าที่ประจ�ำโครงการ ยังให้ความรู้ทางด้านสมุนไพร รวมถึงการสกัดสารส�ำคัญจากสมุนไพร ในท้องถิ่นที่มีสรรพคุณทางยาอีกด้วย และมีอาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากสมุนไพร เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้เข้าชมได้น�ำความรู้ไปต่อยอด เช่น การท�ำน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เนื่องจากในเขตชุมพรมีการปลูกมะพร้าว จ�ำนวนมาก หรือการสกัดน�้ำมันเขียวจากต้นเสม็ดขาว ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ ประจ�ำถิ่นของภาคใต้ และมีสรรพคุณทางยา ผสมในยาดมหลายชนิด เป็นต้น
ความพิเศษของที่นี่ที่อยากให้แวะไปเยี่ยมชม คือ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์จงั หวัดชุมพร เป็นพืน้ ที่ ติ ดชายทะเลอ่ า วบางเบิ ด สภาพดิ น เป็ น ดิ น ทราย ชายทะเลที่ถูกคลื่นพัดถมกันมาเป็นเวลานานจนกลาย เป็ น เนิ น ทราย (Sand Dune) กระจายอยู ่ ทั่ ว ไป พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้จึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน เนื่ อ งจากได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากไอเค็ ม กระแสลม อินทรียวัตถุที่แตกต่างกันมาก จึงมีความหลากหลาย ทางชีวภาพมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมี พระราชด�ำริให้อนุรักษ์สภาพแวดล้อมเดิมของพื้นที่ คือ สภาพสันทราย และสภาพป่าธรรมชาติไว้ เพื่อเป็น เส้นทางศึกษาธรรมชาติแก่นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไปศึกษาเรียนรู้ โดยทางกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นผู้ดูแลและก�ำหนดเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติ
4
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
แปลงสาธิตเกษตร ผสมผสาน
นอกจากนัน้ ภายในโครงการฯ ยังมีแปลงสาธิตเกษตรผสมผสานศึกษา หาพืชที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกในดินที่มีสภาพอากาศดินร่วนปนทราย เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ ละมุด สับปะรด น้อยหน่า มะพร้าว อันจะเป็น องค์ความรู้ที่ส�ำคัญที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมสามารถน�ำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ ที่น่าสนใจคือ ใครจะเชื่อว่าที่แห่งนี้สามารถปลูกดอกหน้าวัวหลากสีสัน ได้ดว้ ยค่ะ เจ้าหน้าทีเ่ ล่าว่าเนือ่ งจากพืน้ ทีใ่ นโครงการฯ เป็นดินทราย ประกอบกับไอเค็มสูง การเพาะปลูกพืชทั่วไปท�ำได้ยาก จึงต้องพยายามหาพืชที่โตได้ในสภาพอากาศ ร้อนชื้น เลยทดลองปลูกดอกหน้าวัวที่โตได้ดีในสภาพอากาศเช่นนี้ และที่ส�ำคัญ ดอกหน้าวัวไม่ต้องใช้ดิน เพราะต้นมีรากอากาศและต้องการการค�้ำยันเท่านั้น ทางโครงการฯ จึงได้ทดลองปลูก ปรากฏว่าได้ผลดี ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ได้ผสมพันธุ์ เพื่อหาสายพันธุ์ใหม่ให้สีสันสวยงามด้วย เจ้าหน้าที่บอกว่าจะตัดดอกอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 300-400 ดอก ส่งให้โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ ที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งให้ลูกค้าต่อไป เจ้าหน้าที่เล่าให้เราฟังด้วยความภาคภูมิใจ ว่าที่นี่จะมีเด็กนักเรียนมา ทั ศ นศึ ก ษาเป็ น ประจ� ำ บางครั้ ง มาเป็ น 200-300 คน ที่ พั ก ไม่ พ อก็ ต ้ อ ง กางเต็นท์นอน แต่เด็กจะสนุก เพราะได้เดินป่าศึกษาธรรมชาติ และได้ทดลอง แปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในท้องถิ่น
ใครว่างผ่านไปแถวชุมพร
สนใจอยากแวะไปเยี่ยมชมโครงการฯ สามารถโทรศัพท์ ติดต่อได้ที่ คุณชัยรัตน์ รัตนด�ำรงภิญโญ หัวหน้าโครงการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร โทร. 08 1958 7842 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
5
รอบรั้วไทยออยล์
โดย หน่วยกลั่นข่าว
เครือไทยออยล์จดั ทัศนศึกษาร่วมกับเครือข่าย อสม.
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 เครือไทยออยล์และทีซีพีได้น�ำกลุ่ม เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้านไปทัศนศึกษาดูงาน ต่างพื้นที่ โดยช่วงเช้าเดินทางไป จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเรียนรู้การด�ำเนินงาน ในรูปแบบสหกรณ์จากชาวสวนมะม่วง อ.บางคล้า และชมการผลิตน�ำ้ พริก แวะสักการะพระพิฆเนศองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดสมานรัตนาราม และ ดูงานการบริหารจัดการตลาดบ้านใหม่ 100 ปี ส่วนช่วงบ่ายคณะฯ เดินทาง ไปดูงานการท�ำผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาด ครีมล้างหน้า ครีมบ�ำรุงผิวโดยใช้น�้ำ EM และ ดูการผลิตเครื่องจักสานเลื่องชื่อของ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี อีกไม่นานเครือข่าย อสม. บ้านเรา คงจะมีโครงการดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสุขภาวะในชุมชนของเรา
สาธิตกระโดดเชือก
ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนจัดอบรมการ กระโดดเชือก การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และการสอบเลือ่ นระดับชัน้ ของ ทีมนักกีฬากระโดดเชือก ในการเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันชิงแชมป์ กระโดดเชือก เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน ครัง้ ที่ 1 ซึง่ เป็นการอบรมต่อเนือ่ งจาก เดือนตุลาคมอีก 3 วันเต็ม คือวันที่ 5, 12 และ 19 พฤศจิกายน 2554 ตั้งแต่ เวลา 08.00-16.00 น. โดยมีคณะครูจากโรงเรียนเครือข่าย 5 โรงเรียน ซึง่ ได้แก่ รร.วัดใหม่เนินพยอม รร.วัดแหลมฉบัง รร.เทศบาลแหลมฉบัง 2 รร.วัดมโนรม และ รร.บ้านชากยายจีนเป็นผู้ฝึกสอน
การท�ำประชาคมและโครงการเขาพุรว่ มใจปลอดภัยจากโรคเรือ้ รัง
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 นิสิตพยาบาล ม.บูรพา กลุ่มที่ 1 ได้จัด ประชาคม เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่ได้จากการลงพื้นที่ส�ำรวจข้อมูลชุมชนเขาพุขึ้น โดยมีชาวชุมชนเขาพุเข้าร่วมประชาคมครั้งนี้ทั้งหมด 33 คน ผลการท�ำประชาคม ครั้งนี้พบว่า คนในชุมชนส่วนมากมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง จึงได้ร่วมกันคิดและ วางแผนแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดกิจกรรมโครงการ “ชุมชนเขาพุร่วมใจ ปลอดภัยจากโรคเรื้อรัง” ตามแนวทางเวชศาสตร์ชุมชน ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 ณ ศูนย์สุขภาพฯ ในงานมีฐานกิจกรรมถาม-ตอบ เพื่อให้ความรู้ด้านปัญหา สุขภาพ การเจาะเลือดตรวจหาเบาหวาน การตรวจมะเร็งเต้านม การวัดความดัน ชั่งน�้ำหนักวัดส่วนสูง ค�ำนวณหา ดัชนีมวลกาย พร้อมทั้งการแนะน�ำการออกก�ำลังกายที่เหมาะสมให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 41 คน
6
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
การท�ำประชาคมและโครงการเขาหินร่วมใจพิชติ ภัยโรคเรือ้ รัง
ในวันเดียวกันนิสติ พยาบาล ม.บูรพา กลุม่ ที่ 2 ได้จดั ประชาคมเพือ่ วิเคราะห์ปญั หา ที่ได้จากการลงพื้นที่ส�ำรวจข้อมูลชุมชนเขาหินขึ้น ณ บ้านรองประธานกรรมการชุมชน ซึ่งมีชาวชุมชนเขาหินเข้าร่วมการประชาคมครั้งนี้ 37 คน ผลจากการท�ำประชาคม ครั้งนี้พบว่า คนในชุมชนส่วนมากมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเรื้อรังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้ร่วมกันวางแผนจัดท�ำโครงการตามแนวทาง เวชศาสตร์เชิงรุก “เขาหินร่วมใจพิชิตภัยโรคเรื้อรัง” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 ณ บ้านรองประธานกรรมการชุมชน ในงานมีฐานถาม-ตอบให้ความรูด้ า้ นปัญหาสุขภาพ การเจาะเลือดตรวจหาเบาหวาน การวัดความดัน ชั่งน�้ำหนักวัดส่วนสูง ค�ำนวณหา ดัชนีมวลกายที่เหมาะสม พร้อมทั้งการแนะน�ำการออกก�ำลังกายที่เหมาะสม โดยมี ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 64 คน
คณะโรตารีเ่ ยีย่ มชมศูนย์สขุ ภาพฯ
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 ศูนย์สุขภาพฯ ได้มีโอกาสให้การต้อนรับคณะนักศึกษา โครงการแลกเปลี่ยนและคณะโรตารี่แหลมฉบังที่มาเยี่ยมชมการด�ำเนินงานของศูนย์สุขภาพฯ โดยคุณนภสกร สิทธิประเสริฐ เป็นผู้ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งได้น�ำคณะเยี่ยมชม ไปนมัสการ พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี ณ หอพระ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับศูนย์สุขภาพฯ
ไทยออยล์ออกร้านการกุศล
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา พนักงานเครือไทยออยล์และ พันธมิตร อาทิ รพ.สมิติเวช ศรีราชา รพ.พญาไท ศรีราชา ร่วมกันออกร้าน กิจกรรมการกุศลในงาน “Thaioil Group Charity Day” ณ สนามฟุตบอล สมาคมสโมสรไทยออยล์ เพื่อหารายได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยกลุ่มพนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ ในงานมีซุ้มจ�ำหน่าย สินค้า อาหาร เครื่องดื่ม และเกมการละเล่นต่าง ๆ โดยมีพนักงาน ครอบครัว และชุมชนโดยรอบเข้าร่วมงานเป็นจ�ำนวนมาก สรุปยอดเงินที่ได้รับบริจาค จากกิจกรรมทั้งหมด 1,680,470 บาท กิจกรรมดังกล่าวเป็นการเน้นย�้ำค่านิยม POSITIVE ของเครือไทยออยล์โดยเฉพาะในเรือ่ งความรับผิดชอบต่อสังคม และ สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจของพนักงานทุกคน
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
7
การประชุมกลุม่ ประมง
กลุ่มประมงจากชุมชนบ้านอ่าวอุดมจ�ำนวน 32 คน ได้จัดประชุมเพื่อหารือการจัดตั้ง กลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวอุดม เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00-14.30 น. โดยทางศูนย์สุขภาพฯ ได้อ�ำนวยความสะดวก ด้านการจัดสถานที่ พร้อมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม ในโอกาส เดียวกันนี้ คุณเกรียงไกร นาคะพงศ์ ผูจ้ ดั การแผนกบริหารงาน ชุมชน ได้เข้าร่วมการประชุม เพือ่ รับฟังปัญหาและข้อคิดเห็นใน การประชุมครั้งนี้ด้วย
ประชาคมตลาดอ่าว ซอย 5 และ ซอย 7
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 นิสิตพยาบาล ม.บูรพา ได้จัดประชาคม ชุมชนตลาดอ่าวอุดม ซ.5 และ ซ.7 โดยมีชาวชุมชนตลาดอ่าวเข้าร่วมการ ประชาคมทั้งหมดรวม 75 คน ซึ่งผลจากการท�ำประชาคมในครั้งนี้ ชุมชน ตลาดอ่าว ซ.5 สรุปว่าปัญหาที่อยากให้มีการแก้ไข คือ ปัญหาเรื่องครัวเรือน ถูกรบกวนจากแมลงและสัตว์ทเี่ ป็นพาหะน�ำโรค ส่วนชุมชนตลาดอ่าว ซ.7 เห็น ร่วมกันเรื่องที่ชุมชนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคความดัน โลหิตสูงและเบาหวานเป็นปัญหาส�ำคัญ ซึ่งต่อมานิสิตพยาบาล ม.บูรพา จึง ได้จัดอบรมกลุ่ม อสม.ชุมชนตลาดอ่าวอุดม เพื่อให้ความรู้เรื่องยุง อันตราย จากโรคไข้เลือดออก และวิธีป้องกัน พร้อมกันนี้ยังได้สอนการท�ำสเปรย์ไล่ยุง จากสมุนไพร และได้เชิญกลุม่ เยาวชนจิตอาสาบ้านอ่าวอุดมมาแนะน�ำวิธกี าร ท�ำน�้ำหมักจุลินทรีย์ให้กับกลุ่ม อสม.ชุมชนตลาดอ่าวด้วย
โครงการตลาดอ่าวเข้มแข็งปลอดภัย
โครงการตลาดอ่าวเข้มแข็งปลอดภัยห่างไกลโรคเรื้อรัง เป็นโครงการระยะที่ 2 ต่อเนื่องหลังจากการท�ำประชาคมของกลุ่มนิสิตพยาบาล ม.บูรพา ในโครงการมีการจัด กิจกรรมมากมายหลายฐาน เช่น ฐานถาม-ตอบให้ความรู้ด้านปัญหาสุขภาพ การเจาะเลือดตรวจหาเบาหวาน การวัดความดัน ชั่งน�้ำหนักวัดส่วนสูง ค�ำนวณหาดัชนีมวลกายที่เหมาะสม พร้อมทั้งการแนะน�ำการออกก�ำลังกาย โดยใช้ยางยืดให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 49 คน ณ ศูนย์สขุ ภาพฯ โดยนิสติ พยาบาลอีกกลุม่ ได้รว่ มกับกลุม่ อสม.ชุมชนตลาดอ่าว ซ.5 เดินรณรงค์ป้องกันและก�ำจัดยุงลาย พร้อมทั้งแจกทรายอะเบทให้กับ ชาวชุมชน ซ.5 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา
8
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
การแข่งขันชิงแชมป์กระโดดเชือก เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน
สกู๊ปพิเศษ เมื่อทราบข่าวว่าศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ได้ต่อยอดโครงการส่งเสริมสุขภาพ โดย หมูน้อย
ของเยาวชน ด้วยการจัดการแข่งขันชิงแชมป์กระโดดเชือก เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ อาคาร ยิมเนเซียม โรงเรียนบ้านชากยายจีน ในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2554 บ.ก.จึงส่งหมูน้อยไปชมความสามารถ ของน้อง ๆ เยาวชนบ้านเราทันที
หมูน้อยไปถึงหน้างานทันช่วงเปิดงานพอดี มีผู้ใหญ่ใจดีจากหลายภาคส่วนที่ร่วม สนับสนุนและเป็นก�ำลังใจให้โครงการนีเ้ กิดขึน้ โดยมีคณุ วีระพงศ์ เดชบุญ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน ร่วมด้วยนายกเทศบาลนครแหลมฉบัง ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนน�ำร่องทีส่ ง่ นักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน ทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ รร.วัดใหม่เนินพยอม รร.วัดแหลมฉบัง รร.เทศบาลแหลมฉบัง 2 รร.วัดมโนรม และ รร.บ้านชากยายจีน ผู้แทนเครือไทยออยล์ พร้อมด้วยคณะวิทยากรจาก มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่น�ำโดย อ.กีรติ สาประเสริฐ อนุกรรมการ โครงการกระโดดเชือกของมูลนิธิฯ มาช่วยท�ำหน้าที่กรรมการตัดสินให้ตลอดการแข่งขัน
คุณนภสกร สิทธิประเสริฐ ผู้ควบคุม งานบริหารชุมชน ผู้แทนเครือไทยออยล์ใน ฐานะหน่วยงานทีจ่ ดั โครงการ ได้เล่าให้ฟงั ถึง วัตถุประสงค์ในการจัดแข่งขันครั้งนี้ว่า “เพื่อ ส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้เยาวชน
ทีเ่ ริม่ เล่นกีฬากระโดดเชือก ได้มสี นามแข่งขัน เพื่อพัฒนาฝีมือ อันจะส่งผลให้มีสมรรถภาพ ทางกายและหั ว ใจแข็ ง แรงขึ้ น พั ฒ นา ภูมิต้านทาน และที่ส�ำคัญคือลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจได้อย่างเป็นรูปธรรม”
ด.ช.เอกราช ตรีอินทอง (แจ็ค)
โรงเรียนวัดมโนรม อายุ 12 ปี ชั้น ม.1 ผมมาฝึกกับทางไทยออยล์ได้หลาย เดือนแล้วครับ ตั้งแต่ที่ไทยออยล์จัด ผมถาม พ่อแม่ว่าให้เล่นกระโดดเชือกได้หรือเปล่า พ่อแม่ก็สนับสนุนนะครับ ตอนแรกมาเองเลย แล้วต่อมาเพือ่ นๆ ก็ตามมา เล่นไม่เสียการเรียน เพราะครูเขาให้ซ้อมหลังเลิกเรียน พอมาเล่น ก็เห็นว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่ก่อนไม่สบาย บ่อย ตอนนีไ้ ม่คอ่ ยเป็นอะไรแล้วครับ ปกติผม ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์มาก ตอนนีเ้ ล่นน้อย ลงแล้ว ผมว่ากระโดดเชือกดีกว่า ผมอยากฝาก บอกเพื่อน ๆ ที่ชอบเล่นเกมว่าให้ลองหันมา กระโดดเชือกบ้าง หรือเล่นกีฬาอย่างอื่นก็ได้ เพื่อสุขภาพร่างกายจะได้แข็งแรงขึ้น วันนี้ ผมลงแข่งเดี่ยวลีลา คู่ลีลา และดับเบิ้ล ดัตช์ รีเลย์ (Double Dutch Relay) อยากได้รางวัล สักหรียญหนึ่งก็ยังดีครับ
การแข่งขันในวันนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ประเภทมาตรฐาน และพื้นบ้าน ซึ่งในแต่ละประเภทหลักนั้น ยังแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ อีกหลายประเภท รวมทั้งแบ่งตามเพศและช่วงอายุ โดยในครั้งนี้มีโรงเรียนร่วมส่งนักเรียน กว่า 200 คน รวมกับผู้ปกครองที่มาร่วมให้ก�ำลังใจบุตรหลาน ท�ำให้อาคารยิมเนเซียมหลังใหญ่ดูเล็กไปถนัดตา ระหว่าง รอการแข่งขัน หมูนอ้ ยเดินส�ำรวจรอบสนาม เลยถือโอกาสพูดคุยกับน้องนักกีฬาจากโรงเรียนต่าง ๆ ทีร่ อแข่งขัน รวมทัง้ อาจารย์ และผู้ปกครองบางท่านครับ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
9
ด.ญ.ดารณี จอนพรม (แพรว)
โรงเรียนบ้านชากยายจีน อายุ 12 ปี ชั้น ป.6 รู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ เมื่อก่อนหนูกระโดดเชือกไม่เก่งเท่านี้ แค่พอเป็น พอเข้าชมรมท�ำให้ กระโดดเชือกเก่งขึ้น ปกติชอบเล่นกีฬาอยู่แล้ว พอครูถามว่าใครสนใจกระโดดเชือก หนูก็เลยมาลงชื่อ เล่นแล้วสนุกและยังได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้เจอเพื่อนใหม่จากโรงเรียนอื่น ๆ ด้วย หนูคิดว่า จะเล่นไปเรื่อย ๆ และอยากเชิญชวนเด็กไทยทุกคนที่ติดเกมให้หันมาลองกระโดดเชือกบ้าง เพราะมันดี ต่อสุขภาพ หนูเองก็แข็งแรงขึ้น
ด.ญ.สุวะนันต์ ทองน้อย (แนน)
โรงเรียนวัดแหลมฉบัง อายุ 9 ปี ชั้น ป.3 หนูฝึกกระโดดเชือกมาได้ 3 อาทิตย์แล้วค่ะ วันนี้มาแข่งประเภทเดี่ยวลีลา คู่ลีลา และดับเบิล ดัตช์ รีเลย์ แข่งวันนี้มีความมั่นใจ แต่จะได้รางวัลหรือไม่ก็ไม่เป็นไรค่ะ หนูสนใจอยากมาเล่นเอง ตอนแรกแม่ไม่อยากให้กระโดด ที่แม่ห้ามเพราะแม่ไม่สะดวกมารับ-ส่ง แต่หนูก็อยากกระโดด หนูได้เข้าไปฝึกที่ไทยออยล์ คุณครูพาไป เพื่อน ๆ ไปกันเยอะ หนูว่าเป็นกีฬาที่ดี เพราะเราสามารถ เล่นได้ตอนอยู่บ้าน ถึงจะไม่มีเพื่อนเล่นด้วยก็กระโดดคนเดียวได้ และได้ออกก�ำลังกายด้วยค่ะ
ด.ช.เกียรติชัย พิสัยเลิศ (เวฟ) และ ด.ช.มนัส แสนสระดี (มด)
โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม อายุ 12 ปี และ 11 ปี ชั้น ป.5 ตอนแรกที่สนใจสมัครมาเล่น เพราะคุณครูบอกว่า ถ้ายังไม่ได้เล่นกีฬาหรือกิจกรรมอะไร ก็ให้ไป ฝึกกระโดดเชือก และเห็นเพือ่ น ๆ มากระโดดกันหลายคน ก็เลยอยากมาเล่นบ้าง เราสองคนอยูค่ นละห้อง ต่างคนต่างมาเจอกันเอง พอได้มาเล่นจริง ๆ ก็ชอบ สนุกดี แต่ก่อนก็ไม่รู้ว่ากีฬากระโดดเชือกจะมีหลาย ประเภทแบบนี้ ท�ำให้สนุกยิง่ ขึน้ พวกผมยังไม่เคยไปแข่งทีไ่ หนเลย นีเ่ ป็นการแข่งครัง้ แรก วันนีม้ คี วามหวัง เต็มร้อย ผมว่าพอมากระโดดเชือกแล้วท�ำให้เรามีสขุ ภาพแข็งแรงครับ พ่อแม่สนับสนุนให้มาเล่น ไม่ได้วา่ อะไร วันนี้มาส่งแต่ไม่ได้อยู่ดูแข่งด้วย เพราะต้องไปท�ำงาน
ด.ช.วงศกร อ่วมภักดี (น้องเต๋า)
โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 อายุ 10 ปี ชั้น ป.4 ที่ผมสนใจเล่นกระโดดเชือก เพราะพ่อเป็นโรคหัวใจ ผมเลยสนใจกีฬานี้ เพราะอยากมีหัวใจแข็งแรง เวลาได้ลองเล่นแล้วก็ชอบ สมัครใจมาเล่นเองไม่มีใครบังคับ เพื่อน ๆ มาด้วยกันหลายคน วันนี้ก็ไม่ได้หวัง เหรียญรางวัลอะไร คิดว่าได้ประสบการณ์มากกว่า
คุณวารี อ่วมภักดี ผู้ปกครอง ดช.วงศกร อ่วมภักดี
ชุมชนบ้านอ่าวอุดม พี่คิดว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจ พ่อของน้องเต๋าเป็นโรคหัวใจ น้องเลย สนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ เขายังได้ไปสอนคนในครอบครัวด้วย สอนน้อง สอนน้าให้กระโดดเชือก ตอนแรกครู จากกรุงเทพฯ มาสอนที่ศูนย์สุขภาพฯ น้องเต๋าเขาเป็นเยาวชนของชุมชนบ้านอ่าวอุดม เลยได้เข้าร่วมฝึก ด้วย ต่อมาครูจากกรุงเทพฯ ได้ไปสอนที่โรงเรียนเทศบาล 2 น้องเต๋าเลยได้เก็บประสบการณ์เพิ่มเติมและ ร่วมกิจกรรมเรื่อยมา อยากฝากถึงผู้ปกครองบางคนที่สงสัยว่า กีฬากระโดดเชือกแค่เชือกเส้นเดียวจะมีอะไรนักหนา พี่อยากเชิญชวนให้ลองมาดู จะได้ สนับสนุนให้ลกู หลานมาฝึก เป็นกีฬาทีส่ นุก มีสสี นั มีลลี า เมือ่ ดูแล้วเราจะสนุกกับเขา และยังปรับหัวใจให้มกี ารสูบฉีดดีขนึ้ แข็งแรงขึน้ เป็นกีฬา ที่มีประโยชน์มาก และขอให้ไทยออยล์สนับสนุนไปเรื่อย ๆ เด็ก ๆ จะได้มีกิจกรรมท�ำ ไม่ติดเกม พี่สนับสนุนเต็มที่ แต่เราต้องสอนให้ลูกเรา แบ่งเวลาให้ดี ท�ำกิจกรรมนี้ดีกว่า ห่างไกลเกม
10 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
คุณชนากานต์ บ�ำรุงวัด
ผู้ปกครอง ด.ช.ชัยธวัช บ�ำรุงวัด (น้องโบ้ต) โรงเรียนวัดมโนรม อายุ 9 ปี ชั้น ป.3 แม่ ส นั บ สนุ น ให้ ลู ก ร่ ว มกิ จ กรรมเต็ ม ที่ น้ อ งมาเล่ า ว่ า โรงเรี ย นมี กิ จ กรรมกระโดดเชื อ ก ก็เลยบอกว่าให้ไปลงเล่นเลย เพราะอยู่บ้านว่าง ๆ ไม่ได้ท�ำอะไร ปกติน้องเล่นเกมบ้าง แต่ไม่ถึงกับติด แม่คิดว่าเป็นโครงการที่ดี อยากให้มีโครงการอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เด็กจะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ คือขอให้อยู่ในสายตาคุณครูหรืออยู่ในโรงเรียนจะสนับสนุนเต็มที่ เพราะแม่ห่วงเรื่องยาเสพติดมาก ๆ ทุกวันนี้มีเยอะมาก หากเขาไปเจอสังคมภายนอก คุณแม่ท่านอื่น ๆ เขาก็ชอบโครงการนี้นะ เวลามาดูลูกๆ ฝึกกระโดดเชือกที่โรงเรียน
ว่าที่ร้อยตรีสิทธิพันธ์ สว่างสังวาลย์ (ครูแบงค์)
ครูอัตราจ้างโรงเรียนวัดมโนรม ผมมาช่วยโครงการกระโดดเชือกของไทยออยล์เป็นรุ่นที่ 2 เพราะจัดรุ่นแรกมาก่อนหน้านี้แล้ว รุ่นที่ 2 เริ่มตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ค. ได้ไปแข่งที่กรุงเทพฯ ด้วย พวกเราเป็นนักกีฬาม้ามืดคือ ด� ำ ทั้ ง ที ม ได้ เ หรี ย ญมา 4 รายการ ผมรู ้ สึ ก ดี ใ จครั บ ที่ ไ ทยออยล์ เ ห็ น คุ ณ ค่ า และความส� ำ คั ญ ของเยาวชน มาจัดโครงการซึ่งเป็นการออกก�ำลังกายอีกทางหนึ่ง นักเรียนบางคนอยู่บ้านไม่ได้ ท�ำอะไร เอาแต่เล่นเกม ควรเอาเวลาตรงนีม้ าฝึกทักษะตนเอง ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ กีฬากระโดดเชือก เป็นการฝึกทักษะหลายประเภทเลย ไม่ว่าจะเป็นกรีฑา ฟุตบอล วอลเลย์บอล มวย ใช้ได้หมด ผมเห็น ด้วยอย่างยิ่ง และทางโรงเรียนยินดีให้ความช่วยเหลือทุกอย่าง การเปลีย่ นแปลงในทางทีด่ ขี นึ้ ทีเ่ ห็นได้ชดั เจน คือ เด็กเล่นเกมน้อยลงครับ คือไม่ไปเล่นเกม จากเดิม หลังเลิกเรียนเวลา 15.30-17.00 น. เด็กจะไปอยูท่ รี่ า้ นเกม ซึง่ เป็นภาพทีเ่ ราเห็นจนชินตา ตัง้ แต่ไทยออยล์เริม่ โครงการนีม้ า จ�ำนวนเด็กทีเ่ ล่นเกม ลดลงมาก สัปดาห์หนึ่งอาจจะไปเล่นแค่ชั่วโมงเดียว น้อยลงมากเลย เลิกเรียนเขาจะมาฝึกกระโดดเชือกแทน ผมจะซ้อมตั้งแต่ 16.00-17.30 น. ทุกวัน เด็ก ๆ เขาจะมาฝึกกับเรา ผู้ปกครองก็ให้การสนับสนุนทุกอย่าง เพราะไม่อยากให้ลูกเล่นเกมอยู่แล้ว ด้านสุขภาพของเด็ก ๆ ก็ดีขึ้น เราได้รับการทดสอบจาก รพ.อ่าวอุดม มีทีมคุณหมอมาทดสอบสุขภาพ ท�ำมา 2 ครั้งแล้ว ก�ำลังจะมี ครัง้ ที ่ 3 เร็ว ๆ นี้ สถิตขิ องเด็กดีขนึ้ และคิดว่าน่าจะดีขนึ้ เรือ่ ย ๆ ระบบการท�ำงานของหัวใจดีขนึ้ ระบบชีพจรดีขนึ้ ความดันดีขนึ้ คือเด็กแข็งแรงขึน้ มีตัวเลขสถิติชี้บ่งชัด พิมพ์ออกมาเลยว่าสุขภาพของแต่ละคนเป็นอย่างไร เรามีเด็กเปรียบเทียบกับเด็กกลุ่มเสี่ยงคือเด็กที่ยังเล่นเกมอยู่ น�ำมาทดสอบสมรรถภาพร่วมกัน ผลที่ได้ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
บรรยากาศการแข่งขันเต็มไปด้วยความ สนุกสนาน จนหมูน้อยอยากจะลงไปร่วม กระโดดด้วย และอยากให้หนังสือนี้เป็นภาพ เคลื่อนไหวเหลือเกิน คุณผู้อ่านจะเพลิดเพลิน ไปกับลีลากระโดดเชือกของน้อง ๆ ด้วยกัน
สรุปผลการแข่งขัน โรงเรียนที่มีคะแนนรวมสูงสุด ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศประเภทพื้นบ้าน คือ โรงเรียน บ้านชากยายจีน ส่วนถ้วยรางวัลประเภทมาตรฐานนั้น ตกเป็นของโรงเรียนวัดมโนรม เด็ก ๆ มากความสามารถ ของเราทุกคนมีสิทธิได้รับการคัดเลือกไปเป็นตัวแทน แข่งขันระดับประเทศ ชิงถ้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี น้อง ๆ เยาวชนบ้านเราทีส่ นใจร่วมฝึก กีฬากระโดดเชือกกับเครือไทยออยล์ โปรดติดตาม รายละเอียดได้จากจุลสารชุมชนของเรานะครับ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
11
เคล็ดลับสุขภาพ
โดย กาบกล้วย
อาหาร อร่อยกว่ายา
สังเกตไหมคะว่า คนโบราณมักอายุยืนและไม่ค่อย เจ็บป่วย หากป่วยก็จะไม่กินยา แต่จะใช้วิธีการกินอาหารที่ช่วย เสริมภูมิต้านทานโรค ซึ่งต่างจาก ยุคปัจจุบันที่เจ็บป่วยนิดหน่อย ก็ต้องวิ่งหาหมอ เสียเงินค่ายามากมาย
• ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสดสักวันละ 10 กลีบ กับ หอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว อาจใช้วิธีเลือกกินอาหารประเภทยำ� ที่ใส่กระเทียมและหอมหัวใหญ่แทนก็ได้ • ปวดหัว ให้กนิ ผักคะน้าหรือปวยเล้ง เพือ่ เพิม่ ธาตุแมกนีเซียม ให้กับร่างกายวันละ 5 ขีด และกินปลาทูอีกวันละ 2 ตัว (น้ำ�มันปลา ลดการอักเสบได้) หรือจะชงโกโก้ดื่มสักหน่อยก็ช่วยได้ • เป็นหวัด ไอ จามบ่อย ให้หมั่นแปรงลิ้น และกินกระเทียม หอม พริก ให้มากเข้าไว้ • ภูมิแพ้ กินฝรั่งวันละ 5 ชิ้น (มีวิตามินซีเยอะมาก) และเมล็ด ฟักทองวันละ 1 กำ�มือ (ให้ธาตุสังกะสี) • แพ้ ฝุ่ น ละออง ไรฝุ่ น ให้ กิ น โยเกิ ร์ ต รสธรรมชาติ ผ สม นมเปรี้ยวและน้ำ�ผึ้ง บีบมะนาวอีกหน่อย จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ร่างกายให้แข็งแรง • โรคหืดหอบ ไอเรื้อรัง กินต้มยำ�ไก่ใส่หัวหอมใหญ่ หอมแดง ต้นหอมมาก ๆ และเอาหอมซุกไว้ใต้หมอน จะช่วยให้หายใจได้ สะดวกขึ้น • ไขข้ออักเสบ ให้ กิ น ปลาเนื้ อ มั น กิ น วั น ละ 2 ขี ด เช่ น ปลาทู ปลาสวาย ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า หรือแม้แต่ ปลากระป๋อง • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ให้กนิ น้ำ�กระเจีย๊ บไม่หวานจัด วันละ 3 มื้อ หรือน้ำ�แครนเบอร์รี่ของฝรั่งในปริมาณเท่ากัน (เปรี้ยว จัดมาก) • ท้องอืด แก๊สมาก ให้กินกล้วยหักมุกปิ้งหรือน้ำ�ขิง จะช่วย ขับลมให้รู้สึกสบายขึ้น • ท้องผูก ชงน้ำ�ผึ้งดื่มวันละ 3 ช้อนโต๊ะ และให้กินน้ำ�มะขาม ต้มติดเนื้อ เช้า เย็น เท่านี้ก็จะช่วยให้ระบบขับถ่ายของคุณสบายขึ้น • โรคกระเพาะอาหาร กิ น กล้ ว ยหั ก มุ ก ปิ้ ง หรื อ กิ น ผั ก กะหล่ำ�ปลีให้มาก • เวียนหัว คลื่นไส้ ให้กินอาหารที่ปรุงจากขิง เช่น ปลาผัดขิง ไก่ผัดขิง น้ำ�ขิง ชาขิง หรือเต้าฮวย • วัยทอง วูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ให้กินปลาทูน่าให้มาก และกินเต้าหู้เหลืองวันละ 1 แผ่น ถ้ากินเต้าหู้แล้วเบื่อ ให้สลับกับ ถั่วลิสงวันละ 1 กำ�มือก็ได้
12 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
ตอนเด็ก ๆ เคยสงสัยว่า ทำ�ไมผู้สูงวัยชอบกินข้าวกับแตงโม ทำ�ไมต้องกินข้าวแช่ตอนหน้าร้อน ทำ�ไมท้องผูกแล้วต้องให้กิน มะขาม ทำ�ไมท้องอืดต้องให้กินน้ำ�ขิง จึงหาข้อมูลเลยพบ อาหาร ที่เรากินเข้าไปส่วนหนึ่งทำ�หน้าที่เป็นยาได้ เพียงแต่เราต้องรู้จัก เลือกกินให้เหมาะกับอาการหรือโรคที่เราเป็น • หงุดหงิดง่าย ให้กินอาหารร่าเริง คือ ข้าวเหนียวดำ� ข้าวโพด กลอย กล้วยหอม และปลาทูน่า • กระดูกพรุน ให้กินงาดำ�วันละ 4 ช้อนโต๊ะ เพื่อเพิ่มแคลเซียม ให้กับร่างกาย มะม่วงจิ้มกะปิ และสับปะรด ซึ่งมีธาตุสมานกระดูก (แมงกานีส) อยู่มาก • ความจำ�ไม่ดี ให้ กิ น ปลาทู วั น ละ 2 ขี ด หอยแครงและ หอยนางรมซึ่งมีธาตุสังกะสี ช่วยบำ�รุงสมองได้ • มะเร็งเต้านม ให้กินบรอกโคลีหรือคะน้าวันละ 2 ขีด • มะเร็งปอด-ทางเดินหายใจ กินผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น เสาวรส ฝรัง่ ส้ม มะนาว มะขามป้อม มะละกอ มะม่วง เพราะวิตามินซี ช่วยสมานหลอดเลือดในปอดได้ดี • ท้องเสีย ลำ�ไส้แปรปรวน กินแอปเปิลเขียววันละ 1-2 ผล หรือ น้ำ�แอปเปิลเขียวปั่นทั้งกาก จะเป็นการล้างพิษในตัวด้วย • เจ็ บ หน้ า อก โรคหั ว ใจ หลอดเลื อ ดตี บ กิ น ปลาทะเล น้ำ�มันมะกอกเอ็กซ์ตร้า เวอร์จิน อโวคาโด เพราะอาหารเหล่า นี้ มีไขมันดีไปช่วยขับตะกรันน้ำ�มันเก่าออก ถ้าชอบดืม่ ชาให้หาชาเขียวสด มาชงดื่มเองวันละถ้วย • ความดันโลหิตสูง ต้องงดบุหรี่และอาหารเค็ม และลองหา ข้าวโอ๊ตไม่ขดั สีมากิน และผักขึน้ ฉ่ายสด หรือปัน่ ก็ได้ จะช่วยคุมความดัน ให้ดีขึ้น • เบาหวานถามหา ให้เลีย่ งแป้งกับน้ำ�ตาล และกินผักเขียวจัด อย่างคะน้า บรอกโคลี ผักโขมให้มาก ถ้าอยากหวานให้กินส้มโอและ ฝรั่ง เพราะมีน้ำ�ตาลอยู่น้อยมาก
เห็นไหมคะว่านอกจาก รสชาติอร่อยแล้ว อาหาร หลายอย่างยังมีคุณสมบัติ เป็นยา แค่เลือกกินอาหาร ให้ถูกกับโรคเท่านั้น จะช่วยให้ คุณประหยัดค่าหมอและค่ายา ไปได้เยอะทีเดียวค่ะ
ข้อมูล : http://www.thaihealth.or.th/healthcontent ภาพ : www.hilunch.com, www.vcharkarn.com, www.cookinglks.ob.tc/food
บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ โดย ตั๊กแตน
สำ�รวจข้อมูลสุขภาวะชุมชน ของนิสิตพยาบาลกับงานเวชศาสตร์ชุมชน
ข้อมูลสุขภาวะของชุมชน คือ หัวใจหลักของงานเวชศาสตร์ชุมชน เพราะท�ำให้เรา วิเคราะห์ จัดล�ำดับความส�ำคัญของปัญหา และน�ำไปสู่แนวทางการป้องกันได้อย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ
เชือ่ ว่าพีน่ อ้ งในชุมชนของเราไม่วา่ จะเป็นชาวบ้านอ่าวอุดม ตลาดอ่าวอุดม บ้านแหลมฉบัง เขาหิน เขาพุ บ้านทุ่ง คงจะเคยมีโอกาสได้ต้อนรับกลุ่มนิสิตพยาบาล ที่ลงพื้นที่ส�ำรวจ ข้อมูลด้านสุขภาวะในแต่ละชุมชนตามโครงการเวชศาสตร์ชุมชน ซึ่งปี 2554 นี้นับเป็น ปีที่ 2 ที่ทางศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ได้ด�ำเนินการ ร่วมกับเทศบาล นครแหลมฉบัง โรงพยาบาลอ่าวอุดม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ชลบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์และนิสิตพยาบาลจาก ม.บูรพา ซึ่ง เป็นรุ่นสุดท้ายของปีการศึกษานี้ที่ได้มาฝึกงานในพื้นที่ชุมชนของเรา ท�ำให้ได้ความรู้ และเข้าใจกระบวนการท�ำงานด้านเวชศาสตร์ชุมชนมากขึ้น เลยถือโอกาสนี้มาแบ่งปัน ให้ทุกท่านครับ
วิ ช าปฏิ บั ติ ก ารพยาบาลชุ ม ชน 3 เป็นวิชาบังคับในโครงการหลักสูตรของการ พยาบาลระดับปริญญาตรี โดยสภาพยาบาล ก�ำหนดว่าทุกสถาบันต้องมีวชิ านี้ แต่อาจจะ เรียกรายชื่อวิชาต่างกัน มีวัตถุประสงค์ ให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติการพยาบาล ดูแล บุคคล ครอบครัว และชุมชนในชุมชนจริง เพื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ระดั บ บุ ค คล ครอบครั ว และชุ ม ชนเพื่ อ สร้ า งความ เข้ ม แข็ ง ให้ กั บ ชุ ม ชน นิ สิ ต จะต้ อ งรู ้ จั ก ท�ำงานเป็นทีม ใช้กระบวนการพยาบาล ตัง้ แต่เก็บรวบรวมข้อมูล ทีเ่ รียกว่าประเมิน หรือส�ำรวจชุมชน แล้วจึงมาวิเคราะห์ขอ้ มูล วินิจฉัยปัญหา และน�ำเสนอข้อมูลสู่ชุมชน
ผศ.ดร.สมสมัย รัตนกรีฑากุล อาจารย์พยาบาล กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
หรือการท�ำประชาคม เพือ่ ให้เขาดูวา่ ชุมชน มีปญั หาอะไรบ้าง เขาคิดอย่างไรกับปัญหา ของเขา เขาคิ ด ว่ า ปั ญ หาไหนเร่ ง ด่ ว น เขาอยากด�ำเนินการแก้ปัญหาเรื่องอะไร จากนั้นก็จัดโครงการและสรุปประเมินผล เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ เก็ บ ข้ อ มู ล เราจะเข้ า ชุ ม ชนได้ ต ้ อ งมี แกนน�ำชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ประจ�ำหมู่บ้าน (อสม.) น�ำเข้าพื้นที่ เนือ่ งจากกิจกรรมวิชานีต้ อ้ งปฏิบตั กิ าร ในชุมชน ดังนั้น การหาแหล่งฝึกจึงเป็น สิ่งส�ำคัญ พยาบาลต้องมีแหล่งฝึกไม่ว่า จะเป็นหอผู้ป่วย โรงเรียน โรงงาน หรือ ชุมชน ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
13
การเลือกชุมชนต้องเหมาะสม ชุมชน ต้องให้ความร่วมมือดีพอสมควร มีความ ปลอดภัย มีที่พักในชุมชน ส่วนใหญ่เราจะ ให้พักค้างในชุมชน คณะต้องวางแผนและ ประสานงานหาทีฝ่ กึ โดยมีกระบวนการ คือ เริม่ จากการส�ำรวจหาแหล่งฝึก และน�ำเสนอ เข้าที่ประชุมกลุ่มวิชาการพยาบาล ที่มี รศ.ดร.สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ เป็นหัวหน้า กลุ่ม พอที่ประชุมมีมติให้ด�ำเนินการจึง ท�ำจดหมายขออนุเคราะห์แหล่งฝึกที่ต้อง ผ่านความเห็นชอบจาก ผศ.ดร.รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งท่านสนับสนุนและ อนุญาตให้เรามาฝึกได้ บังเอิญเรามาฝึกที่ รพ.อ่าวอุดม ซึ่ง ผศ.ดร.ยุวดี ลีลัคนาวีระ ที่อยู่ในภาควิชา เดียวกันเดิมเป็นเจ้าหน้าทีอ่ ยู ่ ชวนให้มาดู ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ เพือ่ ชุมชน อาจารย์ยวุ ดีบอกว่า รพ.อ่าวอุดม เขาท� ำ สั ญ ญาร่ ว มกั บ ไทยออยล์ เ พื่ อ จะ พัฒนาคุณภาพชีวติ พัฒนาเป็นเวชศาสตร์ ชุ ม ชนของต� ำ บลในพื้ น ที่ ร อบโรงกลั่ น ทางเราเองก็อยากได้พื้นที่ส�ำหรับฝึกงาน นิสิต พื้นที่ที่เป็นแหล่งฝึกระยะยาวยิ่งดี จะได้เห็นพัฒนาการเป็นชุมชนต้นแบบ การเรียนรู้ส�ำหรับนักเรียน นอกจากนั้น เรายังมีกิจกรรมที่ต้องดูแลสุขภาพคนใน ครอบครัว คือ เยี่ยมบ้านผู้ป่วย ถ้าตอน ส� ำ รวจแล้ ว พบว่ า มี ผู ้ ป ่ ว ยที่ บ ้ า น เช่ น คนตั้งครรภ์ หลังคลอด ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เราก็ต้องให้การพยาบาล ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การจะเลือกลงฝึก ที่ใดก็ตาม เรามีเงื่อนไขว่า ชุมชนต้อง
14 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
ปลอดภัยส�ำหรับนิสติ และอยากได้ทพี่ กั ค้างในชุมชนเพือ่ ให้เด็กฝึกงานได้สะดวก ถ้าไม่ได้ พักค้างในชุมชนก็ตอ้ งมีรถรับส่งให้เขา จะเป็นรถอะไรก็ได้ ทางไทยออยล์กต็ กลง จากนัน้ จึงพากันนั่งรถส�ำรวจพื้นที่ เราขอให้ก�ำหนดพื้นที่ส�ำรวจเป็นโซนให้เหมาะกับก�ำลัง ของนิสิต 1 รุ่น 1 กลุ่ม 8 คน รับผิดชอบชุมชน 100-200 หลังคาเรือนท�ำไปเรื่อย จนครบพื้นที่ เราเริ่มฝึกรุ่นแรกเดือนตุลาคม 2553 แต่เราจะติดต่อเพื่อมาฝึกเองโดยตรงกับ ไทยออยล์ไม่ได้ ต้องไปผ่านทางโรงพยาบาลหรือสถานบริการของรัฐ ปกติเราประสานงาน กับทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนของ รพ.อ่าวอุดม คณะต้องท�ำ หนังสือผ่านโรงพยาบาลว่าฝึกในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาล ท�ำประสานงานร่วมมาทีไ่ ทยออยล์วา่ ขอพืน้ ทีใ่ นเขตรอบ ๆ ไทยออยล์ทจี่ ะพัฒนาชุมชนร่วมกัน เป็นที่ฝึก ข้อดีของการฝึกงานที่นี่ คือนิสิตได้แหล่งฝึกได้เกิดการเรียนรู้เป็นชุมชนที่ดี มีความปลอดภัย ส่วนไทยออยล์เราก็เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีที่น่าสนับสนุน แต่สิ่งส�ำคัญ ที่สุดที่เห็นร่วมกัน คือ ประโยชน์อยู่ที่ประชาชน เป็นสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ หมด คือไม่มีใครเสียหายอะไร เลยฝึกกันมาตลอด ไทยออยล์ขอให้นิสิตเราช่วยท�ำการบันทึกข้อมูลสุขภาพชุมชน ที่เราเรียกว่า โปรแกรม FAP เก็บข้อมูลไว้ทชี่ มุ ชน เป็นประโยชน์ตอ่ ชุมชนในการน�ำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาต่อยอดต่อไป ข้อมูลนี้ไม่เสียเปล่า ดึงฐานข้อมูลมาใช้เมื่อไรก็ได้ เก็บเป็น ฐานข้อมูลส�ำหรับท�ำโครงการต่อยอดได้เลย เราก็ยินดีช่วยท�ำให้ จากการฝึกที่ผ่านมา ประทับใจกับความร่วมมือของชุมชน ถ้าไม่มีความร่วมมือ ของชุ ม ชน นิ สิ ต ก็ ไ ม่ ส ามารถฝึ ก ได้ ชุ ม ชนที่ ฝ ึ ก รอบนี้ ทั้ ง หมดมี แ กนน� ำ เข้ ม แข็ ง ชาวบ้ า นน่ า รั ก และให้ ค วามร่ ว มมื อ ดี กิ จ กรรมใดที่ ท� ำ ให้ นิ สิ ต เกิ ด การเรี ย นรู ้ เ พื่ อ เป็นพยาบาลที่ดี ชาวบ้านยินดีและให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง ดิฉันจึงอยากจะขอบคุณ พ่อแม่พี่น้องชาวชุมชนทุกชุมชนที่นิสิตพยาบาลได้ฝึกงานจากใจจริง ท่านเป็นเหมือน ครูคนหนึ่งในการอบรมสั่งสอน ทั้งเรื่องความเป็นอยู่ นิสัย วัฒนธรรมประเพณี รวมถึง องค์ความรู้ในชุมชนที่มี สะท้อนออกมาให้เด็กเราได้เรียนรู้ ผสมผสานกับกระบวนการ พยาบาลที่เขาเรียน ท�ำให้นิสิตเกิดความรู้และประสบการณ์โดยตรงในการดูแลสุขภาพ ของบุคคล ครอบครัว และชุมชน เมื่อเขาจบไปแล้วก็หวังว่าส่วนหนึ่งจะกลับมาดูแล สุขภาพในระดับปฐมภูมิ หรือระดับต�ำบล จะได้ดูแลใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น และถึงแม้ ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ชุมชน จะไปอยู่ รพ.ชุมชน รพ.จังหวัด หรือ รพ.เอกชนก็ตาม เมือ่ คนไข้เดินเข้ามาหาเขา เขาจะได้คดิ ว่า... วันหนึง่ เขาเคยไปฝึกงานในชุมชน และได้รบั ความรู้ ได้รบั ความประทับใจได้รบั ประสบการณ์ทดี่ ี เขาจะได้ดแู ลคนไข้ให้ดี ๆ จากใจจริง การดูแลที่มาจากใจ ท�ำให้เมื่อคนไข้กลับไปอยู่ในชุมชน เขาจะได้ดูแลตัวเองต่อ ไม่เป็น ปัญหากับคนในครอบครัวและชุมชน ส�ำหรับไทยออยล์เองต้องขอบคุณที่มีโครงการดี ๆ ที่คืนสู่สังคมนะคะ ไทยออยล์ ต้องใช้งบประมาณจ�ำนวนมากทีเดียวในการอนุเคราะห์ดา้ นต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการปรับปรุง หอพักที่ รพ.อ่าวอุดมให้นิสิตได้พัก และจัดรถรับส่งให้นิสิตได้เดินทางมาฝึกงานในพื้นที่ อย่างสะดวกและปลอดภัย รวมถึงวัสดุอปุ กรณ์ในการฝึกงานและอุปกรณ์อนื่ ๆ ทีจ่ ะท�ำให้ ชุมชน ขอบคุณเจ้าหน้าทีไ่ ทยออยล์ทกุ ท่านทีใ่ ห้ความร่วมมือรวมถึงได้ตวั ศูนย์สขุ ภาพฯ นี้ ทีเ่ ป็นสถานทีใ่ ห้เด็กเราได้นงั่ ท�ำงาน มีหอ้ งสมุด มีอนิ เทอร์เน็ตให้คน้ คว้า ขอบคุณมากค่ะ
พวกเรามาฝึกงานวิชาปฏิบตั กิ ารชุมชน 3 คือ ต้องไปเก็บข้อมูลตามหมูบ่ า้ นภายในชุมชน มาน�ำเสนออาจารย์ โดยครัง้ นีท้ างมหาวิทยาลัยร่วมมือกับไทยออยล์ รุน่ เรามา 16 คน แบ่ง เป็น 2 กลุม่ กลุม่ ละ 8 คน อาจารย์ 2 ท่าน แต่ละกลุม่ ต้องส�ำรวจข้อมูลในแต่ละโซน โดยสุม่ บ้าน ให้ได้ 100 หลังคาเรือนขึ้นไป ประโยชน์ที่ได้จากฝึกงานครั้งนี้คือประสบการณ์ หากเรา เรียนจบแล้ว ถ้าเราเป็นพยาบาลชุมชน เราจะได้รู้ว่าหน้าที่ของพยาบาลชุมชนเป็นอย่างไร นอกจากนี้ เรายังได้จัดท�ำแผนที่สุขภาพให้ไทยออยล์ เพื่อให้ไทยออยล์น�ำฐานข้อมูล ของหมู่บ้านไปใช้ประโยชน์ต่อไป เวลาไปพูดคุยกับชาวบ้าน ดิฉนั จะแนะน�ำเรือ่ งการเลือกกินอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ การดูแล ที่อยู่อาศัยให้สะอาด จะได้มีสุขภาวะที่ดี อยากให้ชาวบ้านรักษาสุขภาพ ยิ่งถ้าคนที่ท�ำงาน เป็นกะยิ่งต้องดูแลสุขภาพให้ดี
น.ส.จันทร์จรัส ประจงสีละวัฒน์
วิชาที่เรามาฝึกปฏิบัตินี้ให้ฝึกการท�ำส�ำรวจประชากร ส�ำรวจปัญหาสุขภาพของชุมชนนั้น ว่ามีปัญหาสุขภาพอะไรไหม จากนั้นจึงจัดท�ำประชาคมเพื่อแก้ไขร่วมกับชาวบ้าน ถ้าเป็นกิจกรรม หรือโครงการที่พวกเราคิด ก็เหมือนมาสั่งให้ชาวบ้านท�ำ แต่ในเนื้อหารายวิชานี้ความส�ำคัญคือ ต้องให้ชาวบ้านเป็นคนแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง เพราะเขาอยู่ในหมู่บ้าน เขาจะรู้ว่าปัญหา ของหมูบ่ า้ นมีอะไร พวกเราแค่มาแนะแนวทาง แต่ให้ชาวบ้านเป็นคนคิดมากกว่า ขอเล่าประสบการณ์ ตอนลงส�ำรวจข้อมูลชุมชนบ้านทุง่ พบว่าชาวบ้านเกือบทุกหลังให้ความร่วมมือดีมาก พี่ อสม.ของชุมชน ซึ่งคุ้นเคยพื้นที่อยู่แล้วน�ำทางพาพวกเราเข้าไปในบ้านแต่ละหลัง ถึงแม้จะเป็นวันธรรมดา แต่ส่วนใหญ่จะมีคนอยู่ที่บ้าน พวกเราสามารถน�ำวิชาทีเ่ ราเรียนมาประยุกต์ใช้ตอนสัมภาษณ์ชาวบ้านได้เยอะ อาจารย์บอกว่า ต้ อ งมาฝึ ก ตอนช่ ว งปี 4 เท่ า นั้ น เพราะจะเป็ น การประยุ ก ต์ ทุ ก รายวิ ช าทั้ ง หมดที่ เ รี ย นมา ตั้งแต่ปี 1 พอเรียนจบยังได้น�ำไปใช้ในงานต่อ ดิฉันคิดว่าโครงการส�ำรวจสุขภาพชุมชนที่ ไทยออยล์ จั ด ขึ้ น นี้ ก็ เ พื่ อ ผลประโยชน์ ข องประชาชนละแวกนี้ คื อ เขาจะได้ ต รวจสุ ข ภาพ ตัวเอง ได้รับรู้ปัญหาเกี่ยวกับชุมชน ซึ่งถ้าไทยออยล์ไม่จัดชาวบ้านก็ไม่ได้รับในส่วนนี้
น.ส.หทัยกาญจน์ เทพบุรี
น.ส.วรรณพิศุทธิ์ มาชัยภูมิ
ปัญหาทีเ่ จอส่วนใหญ่ของชุมชนบ้านทุง่ หมู่ 2 ทีพ่ วกเราส�ำรวจ คือ ชุมชนไม่คอ่ ยออกก�ำลังกาย และเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สิน เราไม่ได้ส�ำรวจเฉพาะเรื่องสุขภาพ แต่ดูเป็นแบบองค์รวม คือ ดูทั้งด้านสังคมกายภาพ สุขภาพ ด้านที่อยู่อาศัย พฤติกรรมสุขภาพ จะถามให้ครอบคลุมไป ท�ำให้ รู้ว่ามีปัญหาอื่นใดบ้างนอกจากเรื่องสุขภาพ ชาวบ้านให้ความร่วมมือดี แรก ๆ จะถามว่าเอาไปท�ำ อะไร เราต้องอธิบายให้ฟัง การเป็นพยาบาลนั้นปกติชาวบ้านจะต้องเข้ามาหาเราที่โรงพยาบาล เราจะมองแค่ตัวเขาว่า เขามีปญั หาอะไรมาบ้าง เราจะไม่รหู้ รอกว่าพืน้ หลังเขาเป็นอย่างไร จะรูแ้ ค่วา่ วันนีเ้ ขาปวดหัวมา แต่เวลา ลงชุมชนเราเป็นฝ่ายเข้าไปหาชาวบ้าน เราจะรู้ทุกอย่างรอบตัวเขาเลยว่าเขาปวดหัวจากอะไร บางคนเป็นโรคภูมแิ พ้ เพราะคุณอยูใ่ นบริเวณทีท่ มี่ ฝี นุ่ ละอองเยอะ การทีเ่ ราถามชาวบ้านทีโ่ รงพยาบาล เราจะไม่ได้ขอ้ มูลตรงนี้ เพราะชาวบ้านเขาก็ไม่เข้าใจว่าเราต้องการข้อมูลไปท�ำไม แต่ถา้ เราไปบ้านเขา เราจะได้สังเกตสิ่งแวดล้อม แล้วเราจะได้ช่วยเขา เข้าใจเขา และแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น ดิฉันชอบวิชานี้เพราะเหมือนเราได้ไปเยี่ยมบ้าน พี่ ป้า น้า อา เหมือนเราเป็นลูกหลานเข้าไปหา กับไทยออยล์เองดิฉนั รูส้ กึ ประทับใจ เพราะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทงั้ ด้านเครือ่ งมืออุปกรณ์ ทีต่ อ้ งใช้ รถตู้ ไทยออยล์ชว่ ยเหลือเต็มทีเ่ พือ่ งานชุมชน คือจะห่วงใยสุขภาพของชาวบ้าน มีโครงการต่างๆ มากมาย เช่น ดูแลรักษาฟันกลุ่มเด็ก และจัดโครงการหลาย ๆ อย่างเพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน
ชุมชนไหนยังไม่ได้รับการส�ำรวจ ไม่ต้องน้อยใจนะครับ รับรองไม่มีตกหล่น และถึงแม้ว่าชุมชนของท่านจะได้รับการส�ำรวจ ร่วมท�ำประชาคม จัดล�ำดับความส�ำคัญของปัญหา รวมทั้งจัดโครงการเพื่อแก้ ไขปัญหานั้น ๆ แล้ว แต่เครือไทยออยล์โดยศูนย์สุขภาพฯ ยังมีโครงการเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุกส�ำหรับทุกคนในชุมชนของเราอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามรายละเอียดนะครับ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
15
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม
ของร้าน คุณโอ๋รบั ประกันว่ารักษาสูตรเคล็ดลับให้อร่อย เหมือนเดิมทุกอย่าง อย่างเช่น หนังปลาทอดกรอบ คู่ขา คู่เคียงที่ขาดไม่ได้กับก๋วยเตี๋ยวปลา คุณโอ๋ยังคง รักษาคุณภาพ ใช้หนังปลาอินทรียแ์ ท้ทรี่ า้ นทอดเองด้วย เทคนิคเฉพาะตัว คือ ใช้ไฟแรงมาก ๆ ทอดแล้วพอได้ที่ ต้องหรีไ่ ฟเพือ่ ให้กรอบมาก กรอบนานและไม่อมน�ำ้ มัน น�้ำจิ้มหวาน ทีส่ ำ� คัญเขาไม่โรยหรือคลุกผงชูรสมาให้ระคายคอ เป็น หนังปลาชุบแป้งทอด รสชาติดั้งเดิม เคี้ยวแล้วได้ทั้ง ความกรุบกรอบของแป้ง กลิ่นและรสหอมของปลา ปลาลวกจิ้ม อีกหนึ่งเมนูยอดนิยมที่มักสั่งมาคู่ กันกับหนังปลาทอดนัน้ ก็สด อร่อยไม่เสียชือ่ ปกติจะใช้ น�้ำจิ้มเต้าเจี้ยว เนื้อปลาอินทรีย์สด เนื้อจะหวานและค่อนข้างนุ่ม แต่ มีดีมากกว่าปลาสด วันไหนไม่ได้อนิ ทรียส์ ด ก็จะเปลีย่ นเป็นปลาโชกุนทีเ่ นือ้ ถึงอยู่ ในซอย แต่อย่าถอย ต้องแวะเข้ามาชิม แน่นแข็งกว่า แต่หวานอร่อยไม่แพ้กนั ทีเด็ดอยูท่ นี่ ำ�้ จิม้ สามอย่างที่มีให้เลือก ทั้งน�้ำจิ้มหวาน น�้ำจิ้มเต้าเจี้ยว เพราะร้านนี้มีดีมากกว่าปลาสด และน�้ำจิ้มพริกสด สองอย่างหลังนี้ คุณโอ๋เล่าว่าท�ำเอง น�้ำจิ้มพริกสด ร้านนีข้ นึ้ ชือ่ เรือ่ งก๋วยเตีย๋ วปลา ของดีไม่ใช่แค่ ต้องใช้เต้าเจี้ยวดี ๆ พริกขี้หนูต้องขี้หนูสวน เม็ดเล็ก ทีป่ ลาสด แต่ยงั มีนำ�้ ซุปหวานน�ำ้ ต้มกระดูกแท้ ไม่ใส่ เผ็ดหอม ถึงอร่อยได้ใจคนกิน ผงชูรส แถมด้วยเมนูกว๋ ยเตีย๋ วทะเล จะมีปลาหมึกสด หัน่ เป็นแว่นชิน้ โต เนือ้ หนา กุง้ ตัวย่อม ๆ หวานกรอบ คุณโอ๋ วัชรินทร์ ชมน้อย ก�ำลังกิน รับประกันความสดไม่ให้เสียชื่อชุมชนริม ทะเลเลยทีเดียว เดิมร้านนีพ้ สี่ าว คือ คุณติก๊ นิม่ นวล แดงโพธิช์ า เปิดขายมากว่า 20 ปี ตั้งแต่ร้านยังอยู่ข้างในบริเวณ บ้านไม้เป็นเพิงไม้เล็ก ๆ มุงสังกะสี จนกระทั่ง พั ฒ นามาเป็ น ตึ ก แถวสองห้ อ งอย่ า งทุ ก วั น นี้ เมื่อ 3 ปีก่อนคุณติ๊กส่งต่อให้ลูกพี่ลูกน้อง คือ คุ ณ โอ๋ วั ช ริ น ทร์ ชมน้ อ ย ซึ่ ง เคยขายอาหาร ตามสั่ ง อยู ่ ใ น รพ.อ่ า วอุ ดม มาด� ำ เนิ น การต่ อ แต่ คุ ณ ติ๊ ก ยั ง ดู แ ลคุ ณ ภาพ สู ต รก๋ ว ยเตี๋ ย วปลา ข้าวซี่โครงหมูอบและราดหน้าหมูสับ เมนูดั้งเดิม
ก๋วยเตี๋ยวปลา
ซอย 4
16 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
อีกหนึ่งเมนูเด็ดที่พิเศษกว่าที่ไหน คือ ราดหน้าหมูสับ และ ข้าวซี่โครงหมูอบ เป็นสูตรเฉพาะที่หากินที่อื่นไม่ได้ ถ้าได้ลอง ชิ ม จะติ ด ใจ เพราะกว่ า จะได้ จ านนี้ ต ้ อ งพิ ถี พิ ถั น ขนาดไหน ลองฟังคุณโอ๋ดูค่ะ เริ่มจากซี่โครงหมูต้องสั่งซื้อเฉพาะเจ้าประจ�ำ จึงจะได้ซโี่ ครงหมูออ่ นจริง กระดูกไม่มแี กนแข็งสีนำ�้ ตาลน�ำมาหมัก ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วเอามาทอดพักไว้หันมาปรุงน�้ำซอส ใช้ซอส มะเขือเทศอย่างดีมาปรุงรส ใส่หอมใหญ่ทอด แล้วใส่ลงในหมูหมัก ทีท่ อดแล้ว เคีย่ วนานถึง 2 ชัว่ โมง แต่ยงั ไม่เสร็จค่ะ ต้องใส่กะหล�ำ่ ปลี ลงไปเคี่ยวต่อจนกว่าผักจะนุ่ม น�้ำหวานของผัก หอมใหญ่ และ หมูจะเข้ากัน เป็นเมนูทรี่ สชาติกลมกล่อมอร่อยจนลืมอิม่ ไปเลยค่ะ นอกจากจะคงรักษาไว้ทุกเมนู ทุกเคล็ดลับความอร่อย แล้ว คุณโอ๋ยังไม่หยุดพัฒนาเพื่อให้ความสุขกับลูกค้า จึงเพิ่ม มุมอาหารตามสั่งขึ้นมาด้วย “ร้านนี้อยู่ ในซอย คนที่มากินส่วนใหญ่จึงมักเป็น ลูกค้าประจ�ำทั้งนั้น เราก็อยากดูแลเขา อย่างน�้ำดื่ม น�้ำแข็งฟรีนี้มีมาตลอด ไม่เคยเปลี่ยนและจะไม่เปลี่ยนด้วย ที่เราเพิ่มอาหารตามสั่ง ขนมหวาน กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ เพื่อให้เขามีทางเลือกมากขึ้น” เมนู เ ด็ ดประจ� ำ ในส่ ว นอาหารตามสั่ ง ของคุ ณ โอ๋ นั้ น ขอแนะน�ำ พะแนงปลาปัน้ และแกงเขียวหวานปลาปัน้ ทัง้ สองจาน ใช้เนื้อปลาที่ตีจนเหนียวคล้ายทอดมันแบบไม่ใส่พริก มาปรุง ตามกรรมวิ ธี แ กง แล้ ว แต่ จ ะใช้ พ ริ ก แกงแดงหรื อ เขี ย ว ซึ่ ง คุณโอ๋สรรหาจากเจ้าประจ�ำที่ท�ำพริกแกงแบบถึงเครื่อง เมื่อรวม กับฝีมือแม่ครัวจึงเด็ดได้ใจ รสชาติหวาน เค็ม เผ็ด มันก�ำลังกิน เสิร์ฟมาแบบน�้ำขลุกขลิก คลุกข้าวสวยร้อน ๆ ตักเข้าปาก แต่ละค�ำหอมเครื่องแกง หอมใบมะกรูด เคี้ยวได้รสมะเขือเปราะ นุ่มหวานและปลานุ่มหนึบ เป็นจานที่ไม่อยากให้ใครพลาดเลย ส่วนที่อยากเชิญชวนให้ไปอุดหนุนกัน ไม่ใช่เพียงแค่ความ อร่อย แต่ประทับใจความสะอาดสะอ้านและเป็นระเบียบมาก ลอง แอบแวะไปดูทเี่ ก็บขยะ เห็นว่าทางร้านคัดแยกไว้เป็นอย่างดี มีถงุ ใส่ แบ่งประเภทขวดพลาสติกทัว่ ไป ขวดน�ำ้ ดืม่ ขวดแก้ว ส่วนขยะเปียก ก็แยกทิง้ ให้เป็นสัดส่วน ไม่วา่ จะเป็นบริเวณทีว่ างขยะหรือทีล่ า้ งจาน ชามล้วนแต่สะอาดจนอวดได้ ร้านดี ๆ ทีอ่ าหารอร่อย มีหวั ใจรักลูกค้า และยังรักโลกอย่าง นี้ด้วยแล้ว ท�ำให้ยิ่งมั่นใจว่าถึงอย่างไรร้านนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งร้าน ที่อยู่ในดวงใจตลอดไป
แกงเขียวหวาน ปลาปั้น
ร้านก๋วยเตี๋ยวปลา ซอย 4 จากถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 124 เลี้ยวเข้าถนนอ่าวอุดม มองทางขวามือจะเห็นป้ายชื่อถนนอ่าวอุดมซอย 4 เข้าซอยมา ประมาณ 30 เมตร ร้านอยู่ขวามือ เปิดวันจันทร์ถึงเสาร์ตั้งแต่ 07.00 - 14.30 น. สอบถามโทร. 0 3835 1892, 08 7940 9025 มีบริการรับจองโต๊ะล่วงหน้า รับทำ�อาหารกล่อง และจัดเลี้ยงนอกสถานที่ ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
17
ชาวเขา มาเยี่ยมชาวเล เมื่อ
โดย พี่ไอซ์
ลูกทะเลอย่างเรารู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้ ไปแอ่วภาคเหนือ ด้วยตื่นตาตื่นใจกับภูมิประเทศที่สวยงาม แปลกตาจากที่เคยคุ้น ไม่ว่าจะเป็นป่าทึบหรือดอยสูง เช่นเดียวกับความรู้สึกของชาวเขาที่ได้มาเห็นน�้ำทะเล สีครามครั้งแรก คงจะตื่นเต้นไม่แพ้กัน วันที่ 22-25 ธันวาคม 2554 เครือไทยออยล์จดั โครงการพัฒนาผูน้ ำ� และการเรียนรูข้ องเยาวชนในพืน้ ทีโ่ ครงการ (พืน้ ทีโ่ ครงการด้าน CSR ของเครือฯ) โดยน�ำคณะครูและนักเรียนจ�ำนวน 18 คนจากโรงเรียนบ้านขุนยะ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ มาทัศนศึกษา ณ จ.ชลบุรี และร่วมงานปีใหม่ของเครือฯ โรงเรียนบ้านขุนยะคือโรงเรียนที่เครือฯ ได้ขยายสายส่งไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ำ ชุมชนห้วยปูลงิ ไปให้เพือ่ ส่งเสริมการเรียนการสอน และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลของชุมชน พร้อมน�ำพนักงานจิตอาสาไปช่วยสร้างอาคาร เรียนหลังใหม่ และติดตัง้ อุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ดังทีเ่ คยน�ำเสนอเรือ่ งราวผ่านทางจุลสารชุมชนของเรามาก่อนหน้านี้ วันพฤหัสบดีท่ี 22 ธันวาคม 2554 คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนยะเดินทางด้วยรถตู้ 2 คัน จาก อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ มาถึงสถานตากอากาศบ้านแสนสุขรีสอร์ท หาดบางแสน จ.ชลบุรี ช่วงเย็น โดยมีทีมงานจากไทยออยล์รอต้อนรับ และน�ำไปรับประทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารบริเวณแหลมแท่น ก่อน แยกย้ายไปพักผ่อนตามบ้านแต่ละหลัง ทีมงานได้ชี้แจงรายละเอียดและ ข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ ในการเข้าพักให้แก่นักเรียน และแบ่งกลุ่มนักเรียน เป็นกลุ่มย่อยเพื่อความสะดวกในการท�ำกิจกรรมและเพื่อความทั่วถึงในการดูแลนักเรียน วันศุกร์ท่ี 23 ธันวาคม 2554 น้อง ๆ นักเรียนบ้านขุนยะทุกคนตืน่ เช้ามาก หลังอาหารเช้าก็ถงึ เวลาทีท่ กุ คนรอคอย...คือการ ได้เล่นน�ำ้ ทะเล พีไ่ ทยออยล์เตรียมเกมการละเล่นต่าง ๆ ให้เล่น เพือ่ สะสมคะแนนตามกลุม่ และลงเล่น น�ำ้ ทะเลอย่างสนุกสนานกับน้อง ๆ เราเห็นน้องหลายคนแอบทดสอบความเค็มของน�ำ้ ทะเลกันใหญ่ เมือ่ เล่นน�ำ้ เหนือ่ ยจึงต้องเติมพลังมือ้ เทีย่ งอย่างเอร็ดอร่อยด้วยไก่ยา่ ง (ไก่เหลืองขึน้ ชือ่ ของ บางแสน) ส้มต�ำ ข้าวเหนียว ณ ริมชายหาดบางแสนนั่นเอง ช่วงบ่ายเราน�ำคณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนยะไปทัศนศึกษา ณ พิพธิ ภัณฑ์ สัตว์น�้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้นักเรียนได้ เรียนรูเ้ กีย่ วกับสัตว์นำ�้ ประเภทต่าง ๆ คณะฯ มีโอกาสได้ชมการสาธิตการด�ำน�ำ้ ให้อาหาร ปลาในตู้ปลาขนาดใหญ่ด้วย
จากนั้นจึงได้น�ำคณะฯ มาเยี่ยมชมบริเวณโรงกลั่น เพื่อท�ำความรู้จัก เครือไทยออยล์ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับได้แวะเยี่ยมชมการด�ำเนินงานของ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน โดยมีคุณเกรียงไกร นาคะพงศ์ ผู้จัดการแผนกบริหารงานชุมชน และคุณวัชรินทร์ พุทธพรไพสิฐ ที่ปรึกษาแผนกฯ และทีมงานให้การต้อนรับ และน�ำชมบริเวณศูนย์สุขภาพฯ คณะนักเรียนได้พักรับประทานอาหารว่างและท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์ สุขภาพฯ ตามความสนใจ เช่น กิจกรรมในห้องสมุด ออกก�ำลังกาย และเล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ ก่อนจะเดินทางไปร่วมงานเลี้ยงปีใหม่ที่สโมสรไทยออยล์ต่อไป
18 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
ในงานเลีย้ งปีใหม่ คณะฯ ได้รว่ มรับประทานอาหาร เล่นเกมตามซุม้ ต่าง ๆ และชมการแสดงของวงดนตรี ในโอกาสนี้ คณะฯ น�ำโดย ผอ.ประวิทย์ ก้อนสุรินทร์ ได้ขึ้นเวทีกล่าวขอบคุณเครือไทยออยล์ที่ได้ด�ำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตและการศึกษาของเยาวชน จากการที่นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ จากอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ได้รับรางวัล การแข่งขันทักษะวิชาการ ด้านงานศิลป หัตถกรรมนักเรียน และได้เป็นตัวแทน ภาคเหนือในการประกวดระดับประเทศ
วันเสาร์ท่ี 24 ธันวาคม 2554 คณะฯ เดินทางไปทัศนศึกษาที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดย นัง่ รถรางเทีย่ วชมรอบสวนสัตว์ ให้อาหารสัตว์ และเข้าชมการแสดง ความสามารถของสัตว์ (Animal Presentation) และการแสดง ของสัตว์ป่า (Journey to the jungle) ก่อนที่ช่วงบ่ายจะกลับไป เล่นน�้ำทะเลอีกครั้งตามค�ำขอของเด็ก ๆ ช่ ว งอาหารเย็ น วั น เดี ย วกั น นั้ น ที ม งานไทยออยล์ ฯ เตรียมกิจกรรมฉลองวันคริสต์มาสและสวัสดีปีใหม่ที่ร้านอาหาร แถวอ่ า งศิ ล า ด้ ว ยการจั ด กิ จ กรรมสั น ทนาการ แข่ ง ขั น เกม มอบของรางวัลให้แก่กลุม่ ทีม่ คี ะแนนสะสมสูงสุดในการท�ำกิจกรรม และสุดท้ายมีการจับฉลากของขวัญปีใหม่ให้แก่น้อง ๆ บ้านขุนยะ ทุกคน วันอาทิตย์ท่ี 25 ธันวาคม 2554 วันนี้เป็นวันที่คณะจากบ้านขุนยะจะเดินทางกลับ เชียงใหม่ หลังรับประทานอาหารเช้าบริเวณที่พักได้มีการ กล่าวความรู้สึกของทีมงาน และมอบของที่ระลึกให้แก่ คณะบ้านขุนยะ ในโอกาสนี้ ผอ.ประวิทย์ และตัวแทนนักเรียน กล่าวขอบคุณไทยออยล์และ ทีมงานฯ ก่อนจะขึ้นรถตู้ เดินทางกลับจังหวัดเชียงใหม่โดยสวัสดิภาพ ประโยชน์ของโครงการพัฒนาผูน้ ำ� และการเรียนรูข้ องเยาวชนในพืน้ ทีโ่ ครงการในครัง้ นี้ คือการให้โอกาส ความรู้ และ ประสบการณ์ทเี่ ป็นประโยชน์ ซึง่ น้อง ๆ บ้านขุนยะสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้และน�ำไปถ่ายทอดให้แก่เพือ่ น ๆ ในท้องถิน่ ได้ ยิ่งไปกว่านั้น รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ จากความสุขที่ได้ร่วมกิจกรรมเปิดโลกแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนของพวกเขา คือ ความทรงจ�ำที่อยู่ในใจของทั้งผู้มาเยือนและพวกเราทีมงานทุกคนตลอดไป
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
19
ปลอดภัย ใกล้ตัว
โดย เซฟตี้เกิร์ล
เลือก
“รองเท้ า ” ให้เหมาะกับคุณ
“เท้า” เป็นอวัยวะที่ส�ำคัญของร่างกาย สิ่งที่จะช่วยปกป้องเท้าของเราคือ “รองเท้า” ดังนั้น ควรสวมรองเท้า ตลอดเวลาแม้อยู่ในบ้าน เพื่อช่วยรับน�้ำหนักและป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับเท้า หากรองเท้าที่เราสวมใส่ ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าหน้าแคบเกินไปหรือรองเท้าส้นสูงอาจท�ำให้เกิดอาการปวดเท้า หรือมีความผิดปกติ กับรูปเท้าได้เนื่องจากการถูกบีบรัด
ปัญหาทีพ่ บบ่อย คือ หัวแม่เท้าเก หรือบิดเข้าสูน่ วิ้ ชีม้ ากไปจนเกิดอาการ ซ้อนทับ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการรับ น�้ำหนักที่ไม่เหมาะสมและปวดเท้า นั่นเอง หากมีอาการปวดเท้าอยู่แล้ว และยังเลือกสวมรองเท้าไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้มอี าการปวดเท้าเรือ้ รังได้ ดังนั้น จึงควรเลือกรองเท้าให้เหมาะ กับเท้าเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียภายหลัง
ช่วงบ่ายเหมาะสมที่สุดในการซื้อรองเท้า
เพราะเท้ า จะมี ข นาดใหญ่ขึ้นเมื่อ ผ่านการเดิ น มาตลอดทั้ งวัน เนื่องจาก เลือดไหลเวียนลงสู่เท้ามากขึ้น จึงเหมาะ ที่จะเลือกซื้อรองเท้า เพื่อป้องกันปัญหา รองเท้าคับ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและ ชีวิตประจ�ำวันด้วย
20 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
เลือกคู่ที่ขนาดเหมาะสม
คือส้นเท้าจะชิดส้นรองเท้าพอดี และ ส่วนหัวรองเท้าจะเหลือพื้นที่เท่ากับความ กว้างของหัวแม่โป้งมือเมื่อวัดจากนิ้วเท้า ที่ ย าวที่ สุ ด ซึ่ ง ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเป็ น นิ้ ว หัวแม่เท้าเสมอไป และส่วนที่กว้างที่สุด ของรองเท้าควรตรงและพอกับต�ำแหน่ง ที่ ก ว้ า งที่ สุ ด ของเท้ า ใส่ แ ล้ ว นิ่ ม สบาย เลือกรองเท้าไม่มีตะเข็บแข็ง รองเท้าที่ ท� ำ จากหนั ง แท้ มั ก มี ค วามยื ด หยุ ่ น และ ระบายอากาศดีกว่าหนังเทียม ลองก่อนเสมอ
เท้าของเราสองข้างไม่เท่ากัน จึงควร ลองรองเท้าทั้งสองข้างและเดินไปมาด้วย ว่าสบายเท้าหรือไม่ เผื่อที่กันคับ อุปกรณ์ เสริมในรองเท้าต่าง ๆ เช่น แผ่นรองเท้า แผ่นกันรองเท้ากัด ฯลฯ ที่จะท�ำให้รองเท้า ของคุณคับขึน้ หากต้องใช้อปุ กรณ์เหล่านัน้ ควรเลือกรองเท้าทีม่ ขี นาดใหญ่ขนึ้ เล็กน้อย
รองเท้าแบบไม่คีบดีกว่า
การใส่ ร องเท้ า คี บ ท� ำ ให้ เ กิ ด การ เสียดสีบริเวณร่องนิ้วเท้า จึงไม่เหมาะ ในบางคนที่เท้าชา ซึ่งอาจจะเกิดแผลโดย ไม่รู้ตัว แบนไปไม่ดี
ความราบของพื้นรองเท้าไม่เหมาะ กับสรีระเท้าที่จะรับน�้ำหนัก ดังนั้น หาก ใส่ ร องเท้ า แตะ ควรเลื อ กรองเท้ า ที่ มี พื้นนิ่มและเสริมบริเวณอุ้งเท้าจะดีกว่า ไม่ควรใส่ส้นสูงนานเกิน 2-3 ชม.
การใส่ส้นสูงนาน ๆ อาจมีปัญหา ปวดฝ่าเท้าส่วนหน้า ผิวฝ่าเท้าบริเวณ ดังกล่าวอาจด้านและแข็งเป็นไต เพราะ ต้องรับน�้ำหนักมาก ดังนั้น ควรใส่ส้นสูง เมื่อจ�ำเป็นเท่านั้น
รองเท้ากีฬาควรซื้อหลังเล่นกีฬาเสร็จ
เพราะเท้ า จะมี ข นาดเท่า กับ ขณะ เล่นกีฬา ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและ มีความยืดหยุ่น เพื่อรองรับแรงกระแทกได้ ดี หากกีฬาที่เล่นใช้ปลายเท้าเป็นส่วนมาก เช่น การวิ่ง ควรเลือกรองเท้าที่ออกแบบ ให้รบั แรงกระแทกส่วนหน้าโดยเฉพาะ หรือ รองเท้าเฉพาะส�ำหรับกีฬาแต่ละประเภท
คนเป็นเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปลายประสาท ท�ำงานผิดปกติ ท�ำให้เท้าชา มีนวิ้ เท้าหงิกงอ ท�ำให้ฝ่าเท้าด้านหน้ารับน�้ำหนักมากและ นิ้วเท้าเสียดสีกับหัวรองเท้า จึงควรเลือก ใส่รองเท้าพื้นนิ่มมีหัวลึกและกว้าง ห้ามใช้ รองเท้าคีบ เพราะอาจท�ำให้เกิดแผลบริเวณ ร่องนิ้วเท้าได้โดยไม่รู้ตัว
คนเท้าแบน
มั ก จะปวดบริ เ วณกลางฝ่ า เท้ า เนื่องจากเอ็นซึ่งท�ำหน้าที่ยกอุ้งเท้าถูกดึง ยึด หากคุณเป็นคนฝ่าเท้าแบนชัว่ คราว (คือ เท้าแบนเมื่อเหยียบพื้นเท่านั้น) ควรสวม รองเท้าที่เสริมอุ้งเท้า (บริเวณพื้นรองเท้า ด้านในช่วงกลางทีน่ นู ขึน้ ) เพือ่ ช่วยเส้นเอ็น พยุงอุ้งเท้า มีที่หุ้มด้านข้างและหลังเท้า เพื่ อ พยุ ง ไม่ ใ ห้ ส ้ น เท้ า บิ ด และเท้ า ล้ ม เข้าด้านใน แต่หากฝ่าเท้าแบนถาวร (เท้า ส่วนกลางกว้างกว่าปกติ ควรเลือกรองเท้า ที่ด้านข้างกว้างและพื้นนิ่มใส่สบาย) คนปวดส้นเท้า
การปวดส้นเท้าส่วนใหญ่เกิดจาก จุดยึดพังผืดบริเวณส้นเท้าอักเสบ และ มั ก ปวดมากในการเดิ น ก้ า วแรกหลั ง ตื่นนอน เพราะพังผืดถูกยืดทันทีทันใด รองเท้ า ที่ เ หมาะกั บ ปั ญ หานี้ ค วรพื้ น นิ่ ม มีส้นเล็กน้อย เพื่อถ่ายน�้ำหนักไปยังเท้า ส่วนหน้า การใส่รองเท้าทีม่ กี ารเสริมอุง้ เท้า และนวดฝ่าเท้าก่อนลุกจากเตียง รวมถึง การบริหารยืดเอ็นร้อยหวาย โดยการนั่ง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืดไปด้านหน้า และใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าเอาไว้ ขาอีก ข้างชันเข่าขึ้น และออกแรงดึงปลายผ้าทั้ง สองข้างเข้าหากันจนรู้สึกว่าน่องตึง ค้างไว้ 10 วินาที นับเป็น 1 ครั้ง ท�ำวันละ 10-15 ครัง้ จะช่วยลดการปวดเท้าและลดการเกิด อาการช�้ำได้
อย่างไรก็ตาม หากการปวดเท้ามีอาการบวมร่วมอยู่ด้วย และคล�ำดูเท้าแล้วอุ่น ๆ แสดงว่ามีอาการอักเสบ ดังนั้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อท�ำการรักษาทันที
วิธีรักษาสุขภาพเท้า
• หลังจากเท้าต้องท�ำงานมาทั้งวัน การแช่เท้าในน�้ำอุ่นหรือนวดฝ่าเท้า จะช่วยผ่อนคลายความตึงล้าของกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ในเท้าได้ แต่ห้ามใช้ใน ผูเ้ ป็นเบาหวาน ซึง่ มีผวิ เท้าแห้ง เพราะการแช่นำ�้ ท�ำให้ผวิ แห้งมากขึน้ และห้าม ใช้ในผู้ที่มีเท้าชา เพราะท�ำให้ไม่รู้ตัวว่าน�้ำนั้นร้อนเกินไป อาจท�ำให้เท้าพองได้ • ออกก�ำลังเพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าอย่างสม�่ำเสมอทุกวัน เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า ท่าบริหารท�ำได้โดย 1. กระดกข้อเท้าขึ้นและลงสลับกันช้า ๆ 2. หมุนข้อเท้าโดยหมุนเข้าและหมุนออกช้า ๆ 3. ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้น เพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ในเท้า 4. นั่งยกขาขึ้น เหยียดเข่าตึง แล้วกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้ นับ 1-6 ในใจ ถือเป็น 1 ครั้ง
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
21
ของดีบ ้านเรา
โดย คนศรี
ตะกร้าของ
ป้าต่อม ท�ำไมถึงขี้เกียจ แค่เจ็บมือเอง จะยอมแพ้หรือ
นัน่ คือเสียงในใจของป้าต่อม สมจิตร จั่นบ้านโขด ที่เพียรบอกกับตัวเองทุกครั้ง ยามที่เริ่มถอดใจ “เห็นสวย ๆ อย่างนีด้ เู หมือนจะว่าง่าย ก็ง่าย ยากก็ยาก ต้องอดทนและประณีต ถึงจะได้ตะกร้าหรือกระเป๋าสวย ๆ สักใบ” ป้าต่อมเจ้าของกระเป๋าสานใบสวย ทีก่ ำ� ลัง หยิ บ ผลงานชิ้ น แรกในชี วิ ต มาอวดด้ ว ย ความภูมิใจ ย้อนไปเมื่อ 2 ปีก่อน ป้าต่อมกับ เพื่อน ๆ ในชุมชนบ้านชากยายจีนและ ชุมชนอื่น ๆ ในแหลมฉบังกว่า 50 คน ไป ร่วมอบรมการท�ำอาชีพเสริมด้วยการสาน กระเป๋า จากเส้นพลาสติกกับ วิท ยากรที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ป้าต่อมเล่าว่า “ตอนนั้นถูกชวนแกมขอร้อง เพราะ ไม่มีใครว่างไป ผู้ใหญ่เขาขอมา ชุมชน บ้านชากยายจีนขอ 3 คน ป้ารัตน์ นพรัตน์ เงินทอง อสม. ของชุมชนมาชวนไป เราชอบ พวกงานฝีมืออยู่แล้วเลยไปกับเขาด้วย”
22 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
กระเป๋า สานใบแรกสี น�้ ำ ตาลอ่ อ น มีลวดลายนูนสวยงาม ป้าต่อมเล่าว่ากว่าจะ ได้นั้นทรมานมาก “เจ็บมือไปหมด ไม่เคยท�ำงานจักสาน อะไรมาก่อนเลย นี่เป็นครั้งแรก ใช้เส้น พลาสติกแบบที่เขาไว้ใช้รัดกล่อง เพียงแต่ รุ่นที่เอามาสานจะเป็นรุ่นที่เขาผลิตขึ้นมา โดยเฉพาะ จะมีสีสันให้เลือกเยอะและ ค่อนข้างนิ่ม นี่ขนาดว่านิ่มแล้วนะ ใหม่ ๆ เจ็บมือไปหมด เพราะเราต้องดึงให้มนั แน่น ไม่ให้มชี อ่ งว่างระหว่างรอยสาน ไม่อย่างนัน้ ก็ไม่สวย” นั่นเลยกลายเป็นเหตุผลให้หลาย ๆ คนที่ไปร�่ำเรียนมาด้วยกันค่อย ๆ ทยอย เลิกไป หรือไม่ได้เอาจริงที่จะท�ำให้เป็น
อาชีพเสริม ยกเว้นป้าต่อม ท�ำให้วันนี้ กระเป๋าสาน ตะกร้า กระบุงใบเล็กใบน้อย ของป้ า ต่ อ มกลายเป็ น ของดี ข องชุ ม ชน บ้านชากยายจีน “คิดจะเลิกหลายครั้ง แต่ก็มาคิดว่า ท�ำไมเราถึงขีเ้ กียจ ไม่อดทน ไม่สู้ แค่เจ็บมือ แค่นเี้ อง เลยท�ำมาเรือ่ ย ๆ ไปต่อยอดครัง้ ที่ สองกับอาจารย์ เขามาสอนท�ำอีกแบบ หนึ่ ง ครั้ ง ที่ ส ามไปเรี ย นรู ้ วิ ธี เ ดคู พ าจ (decoupage) คือการติดลวดลายลงบน กระเป๋า ทีนี้ยิ่งสนุกใหญ่เลย เราก็มานั่ง คิดออกแบบ ใบนัน้ จะท�ำอย่างนี้ ใบนีจ้ ะท�ำ อย่างนัน้ บางทีไปเดินดูกระเป๋าสวย ๆ ทีเ่ ขา ขาย หูกระเป๋าเขาเป็นอย่างไร ตัวติด กระเป๋าท�ำแบบไหนถึงจะสวย เรา ก็จ�ำเอากลับมาลองท�ำ ลงทุนซื้อ หนังมาให้น้องสาวเย็บให้ตามแบบ ที่เราอยากได้” แล้ ว ป้ า ต่ อ มก็ ท ยอยเอาอุ ป กรณ์ แต่ละชิน้ มาอวดด้วยความภาคภูมิใจ มี ทั้ ง กล่ อ งไม้ ที่ ท� ำ เป็ น แบบไว้ ขึ้ น รูปกระเป๋า หูกระเป๋าเย็บเอง อุปกรณ์ ที่ดัดแปลงขึ้นให้เหมาะ อย่าง ค้อน ไขควง ล้วนถูกน�ำมาใช้อย่างเหมาะเจาะ “ป้ามีเทคนิค ใช้ไขควง ใช้ตะปูช่วย ท�ำให้เวลาขยับเส้นทีส่ านให้ตดิ กันง่ายขึน้ และแน่นขึ้น ถ้ามีช่องว่างเป็นรูจะไม่สวย แต่เห็นมีอุปกรณ์ช่วยอย่างนี้ก็เล่นเอาเล็บ ฉีกไปหลายทีแล้ว เพราะเราต้องใช้เล็บ จิกให้มันอยู่ แต่เส้นพลาสติกมักจะลื่นเลย พลาด”
แม้จะเจ็บ แต่ไม่ได้ท�ำให้ป้าต่อม เลิกล้ม เพียงเวลาไม่ถึง 2 ปี ป้าต่อมสาน กระเป๋า ตะกร้ามาแล้วเป็นร้อย ๆ ใบ ยิง่ ท�ำ ยิ่งสนุก และยิ่งกระตุ้นต่อมความคิดให้ ป้าต่อมสร้างสรรค์งานสวย ๆ ออกมา ไม่ ห ยุ ด ทุ ก วั น นี้ จึ ง มี ค นมาสั่ ง ให้ ท� ำ มากมาย บางคนอยากได้ตะกร้าใบเล็ก ๆ ไว้ใส่ของช�ำร่วย บางคนอยากได้ตะกร้าใส่ ขวดนมเด็ก ป้าต่อมก็จัดท�ำให้ แต่ตอนนี้ ป้าต่อมก�ำลังสนุกกับการสานกระเป๋าใบโต สีขาวไว้ตกแต่งลวดลายด้วยวิธีที่เพิ่งไป ร�่ำเรียนมา “เวลาไปงานทีไ่ หน ป้าจะหิว้ กระเป๋า ไปด้วย เปลีย่ นใบนัน้ ใบนีบ้ า้ ง พอคนเห็นเขา มักถามว่าซือ้ ทีไ่ หน เราพูดได้อย่างภูมใิ จว่า ท�ำเอง แถมใครอยากได้เขาก็สงั่ ท�ำ เวลามี งานออกร้านคนมาชวนไปออกร้านขายได้ ไม่น้อย” ว่าแล้วป้าต่อมก็ค่อยขนผลิตภัณฑ์ งาม ๆ ที่ซุกซ่อนไว้เตรียมไปขายในงาน ออกร้านเร็ว ๆ นี้ออกมาโชว์ที่ละใบสองใบ สวยๆ ทัง้ นัน้ สีสนั ลานตา รูปแบบยัว่ ใจชวน ละลายทรัพย์ในกระเป๋าเป็นอย่างยิ่ง ป้า ต่อมทิ้งท้ายว่า “ที่ได้มาขนาดนี้ เพราะเรา เรียนจริง รู้จริง แล้วก็ใจรัก ทุ่มเท เอาจริง บวกกับมีหัวด้วย (ป้าต่อมหัวเราะร่วนเมื่อ ชมตัวเอง) เอานั่นเอานี่มาประยุกต์จับ ใส่เข้าด้วยกัน จึงจะได้งานดี งานสวย ไม่เหมือนใครออกมา” ของดีบ้านเราฉบับนี้ แม้จะเป็นของ เล็ก ๆ จากฝีมือคนเล็ก ๆ แต่เป็นของดีที่ น่าภูมิใจ เพราะท�ำมาจากใจจริง ๆ
ถ้าอยากได้ตะกร้าของป้า อาจต้องสั่งจองกัน ล่วงหน้า โทรสอบถามได้ที่ 0 3876 8445
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
23
กระบอกเสีย งชุมชน โดย ดอกลำ�โพง
นพรั ต น์ เงิ น ทอง อสม. คนเก่งชุมชนบ้านชากยายจีน อยากให้คนในชุมชนเรา ปลอดโรค อยูด่ มี สี ขุ
นี่ คื อ ความมุ ่ ง มั่ น ของ ป้ า รั ต น์ นพรัตน์ เงินทอง อาสาสมัครสาธารณสุข ประจ�ำหมูบ่ า้ น หรือ อสม. คนเก่งแห่งชุมชน บ้านชากยายจีน ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัล อสม. ดีเด่นระดับภาค สาขานมแม่ สายใยรักแห่ง ครอบครัว ปี 2554 และได้รับคัดเลือกเป็น ประธานชมรม อสม.เทศบาลนครแหลมฉบัง ดูแลเพื่อน อสม. อีก 23 ชุมชน ก่อนหน้านี้ ปี 2553 ก็ ได้รางวัล อสม. ดีเด่นระดับภาค สาขาคุม้ ครองผูบ้ ริโภค ปี 2552 เป็น อสม. ดีเด่นระดับจังหวัด สาขาโรคไม่ติดต่อ
“อย่ า งเรื่ อ งใหญ่ ใ นชุ ม ชนคื อ ไข้เลือดออก ซึ่งต้องใช้เวลา ถ้าจะท�ำให้ ส�ำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนีช้ มุ ชนเราก็ มีคนเป็นไข้เลือดออกน้อยมาก ปีที่ผ่านมา มีแค่ 2 รายเท่านั้น เพราะเราพยายาม ดูแลป้องกัน อย่างงานหนึ่งของ อสม. คือออกไปเตือนให้เขาเปลี่ยนถ่ายน�้ำขัง ในบ้านทุก 7 วัน ถ้าเรารู้ว่าบ้านไหนมี คนป่วยหรือใครเป็นก็โทรมาบอก เราจะรีบ ขับรถไปดู จดรายละเอียด ช่วยประสานงาน เจ้าหน้าที่เทศบาล โรงพยาบาล อสม. คนอื่น ๆ มาระดมก�ำลังกันมาช่วยเก็บ
24 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
รางวัลมากมายไม่เท่าความภูมใิ จในความส�ำเร็จในงาน
กวาดบ้าน พ่นยาฆ่าตัวแก่ลูกน�้ำ แล้วสอน วิธีเช็ดตัวให้เช็ดแรง ๆ เช็ดเข้ามาหาหัวใจ ไปดูงานที่เชียงใหม่มา เขามีการติดป้าย แจ้งเขตอันตราย เราน�ำมาปรับประยุกต์ ท�ำบ้าง ท�ำป้ายไวนิลขนาดใหญ่ซึ่งจะมี สัญลักษณ์สีแดงบอกว่าเป็นเขตอันตราย อาทิตย์ต่อมาก็ไปเยี่ยมไปพูดให้ก�ำลังใจ และเปลี่ยนป้า ยติ ด เป็ น สี เหลื อ ง แสดง ว่าคุมได้แล้ว อาทิตย์ถัดไปก็ไปเยี่ยมอีก แล้ ว เปลี่ ย นป้ า ยเป็ น สี เ ขี ย วแสดงว่ า ปลอดภัยแล้ว”
ป้ารัตน์เล่าด้วยความภูมใิ จ ก่อนเล่า ย้อนไปถึงที่มาของการเป็น อสม. เมื่อปี 2537 หลังจากที่สามีเสียชีวิตได้ 5 เดือน มีคนมาแนะน�ำให้สมัครเป็น อสม. เพราะ เห็นว่าขีโ้ รค ป่วยบ่อย ถ้าเป็น อสม. แล้วจะ ได้รบั การช่วยเหลือเรือ่ งการรักษาพยาบาล จึงเริม่ สนใจ เพราะเห็นว่านิสยั ตนเป็นคนที่ ชอบดูแลคนอืน่ ๆ อยูแ่ ล้ว ป้ารัตน์จงึ เข้ามา เป็น อสม. สมัยนั้นยังเป็นสถานีอนามัย อ่าวอุดม จนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็น รพ. อ่าวอุดมแล้ว และเมื่อเปลี่ยนจากหมู่บ้าน ต�ำบลเป็นเทศบาล ป้ารัตน์ได้เข้าไปช่วย อยูใ่ นฝ่ายสาธารณสุขด้วย เช่น ช่วยส�ำรวจ เรื่องผู้สูงอายุและเด็กเล็กในชุมชน
นอกจากความส�ำเร็จเรื่องการควบคุมไข้เลือดออกแล้ว ป้ารัตน์บอกว่ามีอีก 2 เรื่องใหญ่ที่อยากท�ำให้ได้ คือเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ป้ารัตน์มีความฝันว่าอยาก ท�ำประวัติของผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 85 ปีของทั้งเขต เพื่อจะได้รวบรวม องค์ความรู้ว่า คนเฒ่าคนแก่ของเราที่สุขภาพแข็งแรงอายุยืนนั้น เขามีวิธีการดูแล ตนเองอย่างไร เพื่อจะน�ำไปบอกต่อคนอื่นได้ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ นมแม่ “นมแม่นสี้ ำ� คัญมาก เราต้องคอยตามไปดูวา่ คนในชุมชนคนไหนก�ำลังมีนอ้ ง เขาไปฝากครรภ์หรือยัง ไปตามหมอนัดหรือเปล่า และถ้าคลอดมาแล้วก็ไปดูว่า ให้นมลูกได้ไหม หัวนมบอดไหม เด็ก ๆ ของเราจะได้แข็งแรง” ส่วนคนทีอ่ ายุมากกว่า 45 ปีขนึ้ ไป ป้ารัตน์อยากบอกเขาว่าให้เริม่ ระมัดระวัง เรื่องการกินอาหารได้แล้ว ถ้าไม่กินรสจัด เค็มจัด มัน เผ็ด หรือหวานจัด ก็จะไม่เป็นความดัน และให้เริ่มค�ำนวณปริมาณน�้ำตาลที่กิน ไม่ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา วิธีค�ำนวณก็ง่าย ๆ ข้าว 1 จาน เท่ากับน�้ำตาล 1 ช้อน กาแฟถ้วยหนึ่ง น�้ำตาลไม่น่าเกินช้อนครึ่ง ช่วยกันค�ำนวณว่ากินเกินไหม ถ้าท�ำได้คนจะเป็น เบาหวานน้อยลง
กว่า 20 ปีของการท�ำงานอาสาสมัคร สาธารณสุข หรือ อสม. นี้ ป้ารัตน์ได้ ประสบการณ์และความรู้มากมายที่อยาก บอกให้คนในชุมชนรูเ้ พือ่ ทีจ่ ะดูแลตัวเองได้ “อยากบอกทุ ก คนว่ า ก่ อ นอื่ น เรา ต้องดูแลตัวเองก่อน เพราะชุมชนเรามีถึง 1,800 ครัวเรือน ยังไม่รวมถึงประชากรแฝง แต่ อสม. มีเพียง 18 คน ไม่พอที่จะดูแล บ้านเป็นร้อยหลัง ทุกวันนี้ลงสมุดรายงาน ได้แค่ 30 ครัวเรือนเท่านั้น แต่ดูจริงต้อง 80 ถึง 100 อย่างไปดูให้เปลี่ยนน�้ำทุก 7 วัน ดูไม่ให้มีน�้ำขังในบ้าน บ้านเราไม่ใช่ ทุง่ นา ไม่คอ่ ยมีนำ�้ ท่วมขัง ถ้าเปลีย่ นน�ำ้ ทุก 7 วันได้จะไม่มยี งุ ลาย ไม่เป็นไข้เลือดออก แน่นอน”
ปกติงานประจ�ำของป้ารัตน์ คือ การรับจ้างซักรีดผ้า ซึ่งแต่ละวันงาน ก็ไม่น้อยเลย แต่ป้ารัตน์ไม่เคยหยุดหรือท้อกับงาน อสม. ยิ่งอายุมากกลับยิ่ง ท�ำมากกว่าเดิม นั่นเป็นเพราะ “ป้ารัตน์คิดว่าตอนนี้อายุ 63 แล้ว เหลือเวลาน้อยแล้วที่เราจะเดินไหว เราต้องรีบท�ำ ลูก 3 คนก็ทำ� มาหากินได้ มีครอบครัว หลานก็โตแล้ว ป้าบอกลูกว่า แม่เลี้ยงลูกมาได้เพราะท�ำมาหากินกับชุมชนนี้มาตลอด ตอนนี้ขอแม่ท�ำใช้คืน ชุมชนนะ ลูกก็เข้าใจ สนับสนุนด้วย เราก็ท�ำเต็มที่ให้ดีที่สุด” น่าภูมิ ใจแทนชาวชุมชนบ้านชากยายจีน ซึ่งมีคนเก่ง คนดี ในชุมชนอย่างป้านพรัตน์ เงินทองคนนี้
ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
25
อยากรู้ว่าคุณเจ็บมากแค่ ไหน
ก้ า วทั นโลก โดย ติมา
ข่าวดี! ส�ำหรับคนป่วยที่ต้องฟื้นฟูการเดิน
วิศวกรชาวดัตช์ จากมหาวิทยาลัยทเวนเต้ (Twente) เมืองเอนเซเด้ (Enschede) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้คิดค้นพัฒนาต้นแบบขายนต์ที่ช่วยฟื้นฟู การเคลือ่ นไหวของคนไข้ได้ อุปกรณ์นเี้ รียกกันย่อ ๆ ว่า LOPES เคยน�ำมาทดลองกับ คนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุ ช่วยพื้นฟูการเคลื่อนไหว ทีต่ ดิ ขัดทีข่ าได้ดี เพราะเครือ่ งนีจ้ ะช่วยให้รา่ งกายและจิตใจคุน้ เคยกับจังหวะการเดิน ที่เป็นธรรมชาติ เดิมทีอุปกรณ์นี้สร้างไว้เป็นแบบเครื่องติดตั้งถาวรในคลินิก กายภาพให้คนฝึกเดิน แต่ปจั จุบนั พัฒนาต่อให้ใช้ใส่ประกบขาผูป้ ว่ ย ใช้กบั ขาข้างใด ข้างหนึ่ง หรือจะก�ำหนดให้ใช้กับขั้นตอนใดของการเดินก็ได้ เครื่องนี้จะตรวจจับ การเดินทีผ่ ดิ จังหวะ และส่งคลืน่ สัญญาณให้รา่ งกายปรับปรุงการเดินให้ถกู จังหวะ เป็นปกติตามธรรมชาติ ในปีนี้คาดว่าจะมีการผลิตในเชิงพาณิชย์ ซึ่งน่าจะช่วย คลินิกกายภาพและผู้ป่วยที่ต้องการบ�ำบัดหรือฟื้นฟูการเคลื่อนไหวได้อีกมาก
เวลาบาดเจ็บแล้วต้องไปหาหมอ คนไข้อยาก จะบอกหมอเหลือเกินว่าเจ็บ เจ็บมาก เจ็บน้อย บางที ก็บอกไม่ถูก ส่วนหมอเองก็อยากรู้ ในวงการแพทย์จึง ต้องการเครือ่ งมือหรือวิธกี ารทีจ่ ะช่วยระบุความเจ็บปวด ของคนไข้ที่ดีกว่าการถามคนไข้อย่างเดียว ในที่สุดก็มี เครื่องมือนี้จนได้ นักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด น�ำหลักการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มาใช้กับหลักการค�ำนวณทางคณิตศาสตร์ แล้วให้ คอมพิวเตอร์แปลความหมาย โดยจับคลื่นสัญญาณ แม่เหล็กจากสมองของผู้ป่วย (MRI) มาประมวลผล เพื่อบอกระดับความเจ็บปวดของคนคนนั้นได้ มีการทดสอบกับอาสาสมัคร 8 คน เมื่อท�ำให้ เกิดความเจ็บปวดด้วยการแหย่ความร้อนไปที่ต�ำแหน่ง ต่าง ๆ บริเวณปลายแขน พบว่ารูปแบบของคลื่นสมอง ที่สแกนในขณะที่เกิดและไม่เกิดความเจ็บปวดมีความ แตกต่าง ข้อมูลเหล่านี้ถูกบันทึกไว้และท�ำเป็นโมเดล แสดงลักษณะและระดับความเจ็บปวด การวิจัยทดสอบพัฒนาต่อเนื่องมาจนสามารถ ตรวจสอบค่าความเจ็บปวดที่ละเอียดและแน่นอนขึ้น
อยู่ที่ ไหน ก็หาเจอ
ข่าวความสูญเสียและผูค้ นสูญหายจากภัยพิบตั ติ า่ ง ๆ ท�ำให้นกั วิจยั กลุม่ หนึง่ พยายามศึกษาหาวิธคี น้ หาคนเพือ่ ช่วยเหลือ ลินนัส เบงสัน และเพือ่ นร่วมสถาบัน คาโรลินสกา มหาวิทยาลัยสวีเดนและโคลัมเบีย ประเทศอเมริกา ได้วจิ ยั การค�ำนวณ ต�ำแหน่งย้อนหลังของซิมโทรศัพท์มือถือ 1.9 ล้านเครื่องในเฮติช่วงก่อนและ หลั ง เกิ ดแผ่ น ดิ น ไหวในเดื อ นมกราคม 2010 แล้ ว พบว่ า การคาดการณ์ การเคลื่ อ นไหวของคนที่ มี โ ทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ใส่ ซิ ม การ์ ด นั้ น มี ค วามถู ก ต้ อ ง แม่นย�ำมาก และเมื่อน�ำมาตรวจสอบการเคลื่อนที่ของประชากรจากต�ำแหน่ง ของซิมโทรศัพท์มือถือภายใน 2-3 วันแรกที่เกิดโรคระบาดหลังแผ่นดินไหว ก็สามารถประเมินการเคลือ่ นไหวได้ภายใน 12 ชัว่ โมง งานวิจยั ชิน้ นีท้ ำ� ให้เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทีก่ ำ� ลังด�ำเนินการช่วยเหลือผูค้ นอยูน่ นั้ สามารถมัน่ ใจได้วา่ ข้อมูลต�ำแหน่งของคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือนัน้ เชือ่ ถือได้ อีกทัง้ ยังเป็นข้อมูลส�ำคัญที่ช่วยในการ วางแผนควบคุ ม การระบาดของ โรคได้ดีและทันต่อเหตุการณ์มาก ขึ้นด้วย
26 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
เนล จัตเตอร์จี นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัย นอร์ทเวสต์เทิร์น หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยบอกว่า “เราถาม คอมพิวเตอร์ว่า ความเจ็บปวดที่ก�ำลังติดตามอยู่นั้น มีลกั ษณะต่าง ๆ กันและมีลกั ษณะอย่างไรบ้าง จากนัน้ เราก็ ป ระเมิ น ด้ ว ยว่ า คอมพิ ว เตอร์ ท� ำ ได้ ดี แ ค่ ไ หน ซึ่ ง พบว่ า คอมพิ ว เตอร์ ท� ำ ได้ อ ย่ า งน่ า อั ศ จรรย์ ประสบความส�ำเร็จถึง 81%” อีกไม่นานตามสถานพยาบาลต่าง ๆ คงจะมี คอมพิวเตอร์ที่จะช่วยเป็นกระบอกเสียง บอกหมอ แทนเราได้ว่าเราเจ็บปวดแค่ไหน ข้อมูลอ้างอิง : วารสาร PloS Medicine(ANI) http://www.topnews.in/s
สู้ภัยน�้ำท่วม
ควันหลงจากเหตุการณ์น�้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลายคนต้องอพยพออกจากบ้านมาอย่างกะทันหัน โดยที่ ไม่ได้เตรียมของที่จ�ำเป็นติดตัวมาเลย วันนี้เรามาซ้อม เพื่อเตรียมพร้อมส�ำหรับภัยน�้ำท่วมด้วยกันนะคะ สมมุติว่าเราคือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องอพยพ เรามาดูกันว่าเราจะต้องจัดหา จัดเตรียมข้าวของอะไรบ้าง ตามหลักคือ เตรียมเท่าที่จ�ำเป็นเท่านั้นเพื่อความคล่องตัวค่ะ ให้ท�ำเครื่องหมาย หน้าภาพที่ควรเตรียม และ หน้าภาพ ที่ไม่จ�ำเป็น
ลับสมองลองเล่นเกม โดย กองบรรณาธิการ
ถ่ายเอกสารและส่งคำ�ตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์ขององค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2555 ชื่อ ................................................. นามสกุล .....................................................................ที่อยู่............................... ............................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................
เฉลยเกมฉบับที่ 9
เครื่องใช้ไฟฟ้า
2 4
3
6 1
5
ขอแสดงความยินดีกับผู้ตอบค�ำถามได้ถูกต้อง และโชคดีจากการจับฉลากรายชื่อ ดังนี้ 1. คุณธีระศักดิ์ ขันติธรรมกุล 2. คุณธัชพนธ์ ตวงธนาภูริวัฒน์ 3. คุณปรียกร สิทธิ 4. คุณพรชัย ขันค�ำ 5. คุณพรพิพัชร์ สะอาดพรรค 6. คุณพิศิษฐ์ ฮวบข�ำ 7. คุณมณฑา เรืองเดช 8. คุณอานนท์ สันทศนะสุวรรณ 9. คุณอุบล ว่องไว ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
27
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน โดย คำ�ศรี
กุดกะเสียนร่วมใจ
เวลาเอ่ยค�ำว่า กุดกะเสียนร่วมใจ คนบ้านกุดกะเสียนมักจะยิม้ ด้วยความภูมใิ จ เพราะผลจากความร่วมใจกันท�ำให้ชวี ติ ความเป็นอยูข่ องทุกคนดีขนึ้
บ้านกุดกะเสียน ต.เขือ่ งใน อ.เขือ่ งใน จ.อุบลราชธานี เป็นหมูบ่ า้ นธรรมดา แห่งหนึ่งในอีสาน ไม่ใหญ่ไม่เล็ก ไม่ต่างจากบ้านอื่นที่ลูกบ้านส่วนใหญ่ เป็นชาวนา ท�ำนากันปีละ 2 ครั้งบนผืนดินที่น�้ำท่วมถึง และมีปัญหาหนี้สิน ไม่ต่างจากชาวนาที่อื่น ๆ ที่ต้องไปกู้นายทุน ดอกเบี้ยสูง หลายคนเป็นหนี้ นอกระบบจมอยู่ในวังวนของทุกข์ เมื่อ 7 ปีก่อน สมาน ทวีศรี ก�ำนันต�ำบลเขื่องในและผู้น�ำชุมชนเริ่ม คิดหาทางออก สิ่งที่ทุกคนคิดในเวลานั้น คือ ท�ำให้ชุมชนมีแหล่งเงินทุน ของตัวเอง นั่นคือที่มาของการตั้งธนาคารของหมู่บ้าน ก�ำนันสมานเล่าให้ฟัง ถึงแนวคิดว่า “แนวคิดของเรา คือ ท�ำอย่างไรทีจ่ ะดึงชาวบ้านกลุม่ ทีม่ เี งินให้มาฝากเงิน กับเรา แล้วเอาเงินตรงนี้ไปปล่อยกู้ดอกเบี้ยต�่ำให้กับคนในชุมชน แรก ๆ คนเขาไม่เชื่อมั่นว่า ถ้าฝากเงินกับธนาคารชุมชนแล้ว กรรมการ จะดูแลได้ไหม เงินจะหายไปไหม ธนาคารจะล้มหรือเปล่า นีค่ อื ‘โจทย์’ ของเรา สิ่งที่เราท�ำตลอดที่ผ่านมา คือ ต้องสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความมั่นใจและเชื่อถือ จนทุกวันนี้มีคนกลับมาฝากเงินกับเราแล้ว 469 คน มากกว่า 300 หลังคาเรือน”
28 ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
แม้ดเู หมือนจะยากยิง่ แต่ดว้ ยความ มุ่งมั่นของผู้น�ำ คือ ก�ำนันสมาน ทวีศรี และทุกคน ในที่สุดบ้านกุดกะเสียนจึงมี ธนาคารชุ ม ชน เพื่ อ คนในชุ ม ชน โดย คนในชุมชน จากเริ่มต้นเป็นเพียงกลุ่ม ออมทรัพย์ ที่อาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และเรียนรูร้ ปู แบบจากธนาคารพาณิชย์ ถึง วันนี้พัฒนาจนกลายเป็นสถาบันการเงิน ชุมชนกุดกะเสียนร่วมใจ แหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต�่ำที่ทุกคนเข้าถึงได้ ด�ำเนินการ มาแล้ ว กว่ า 7 ปี มี เ งิ น ทุ น หมุ น เวี ย น ประมาณ 14 ล้านบาท ก�ำนันสมานบอก กับเราว่า “เป้าหมายของธนาคาร คือ ใน ปี 2552-2554 จะขยายให้มีเงินหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท” แต่ท้ายที่สุด
“ลดรายจ่าย เพิม่ รายได้” แบบคนกุดกะเสียน
ก็ย�้ำว่า “เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่เพื่อก�ำไร สูงสุด เพราะเราท�ำขึน้ เพือ่ ช่วยเหลือเกือ้ กูล เพื่อนพี่น้องในชุมชนเราเอง” ก�ำนันเล่าถึงช่วงเริม่ ต้นว่า “ระยะแรก มีเงินฝากเข้ามา แต่ไม่มากพอจะปล่อยกู้ ให้คนหลุดหนี้นอกระบบ เมื่อได้เงินจาก โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนจ�ำนวน 280,000 บาท รวมกับเงินกองทุนหมู่บ้าน จ�ำนวน 1 ล้านบาท และระดมเงินฝาก จน เริ่มเห็นก�ำไรหลังจากบริหารได้เพียง 4 ปี จากเดิมถ้ากู้เงินจากธนาคารพาณิชย์หรือ เงินกู้นอกระบบ ชาวบ้านจะจ่ายดอกเบี้ย ไปอย่างเสียเปล่า อย่างปีที่แล้วเราจ่าย เงิ น กู ้ ไ ป 11 ล้ า นบาท ถ้ า เขายั ง คงกู ้ นอกระบบต้ อ งเสี ย ดอกเบี้ ย ต่ อ เดื อ น
ที่ร้อยละ 3-5 นั่นหมายความว่าต้องเสีย ดอกเบี้ยถึงกว่า 4 ล้านบาทเลยทีเดียว แต่ตอนนีช้ มุ ชนประหยัดดอกเบีย้ ได้ถงึ กว่า 3 ล้านบาท และดอกเบีย้ ทีเ่ สียไปจะคืนกลับ สู่ชุมชนตามสัดส่วนการถือหุ้นของเขา” นอกจากจะช่วยปลดหนี้ ปลดทุกข์ แล้ว ก�ำไรที่ได้มายังคืนกลับกลายเป็น เงิ น ทุ น ให้ ชุ ม ชนสามารถน� ำ ไปต่ อ ยอด พัฒนาอาชีพเสริมต่างๆ หรือการรวมกลุ่ม อาชีพ เช่น กลุม่ เลีย้ งโค กลุม่ ท�ำน�ำ้ ยาล้างจาน น�ำ้ ยาสระผม กลุม่ เพาะเห็ด กลุม่ เกษตรกร ท�ำนา กลุ่มจักสาน ฯลฯ เพราะผู้น�ำชุมชน มองการณ์ไกล จึงส่งเสริมให้คนกุดกะเสียน ต้อง “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้”
วิธีการง่าย ๆ อันดับแรก คือ สนับสนุนให้คนในชุมชนปลูกผัก เพาะเห็ดกินเอง รวมถึงเลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา ซึ่งท�ำให้แต่ละครัวเรือนลดรายจ่ายลงได้วันละ 20 บาท หรือ เดือนละ 600 บาท รายจ่ายทีส่ ำ� คัญอีกส่วนหนึง่ คือ ของใช้ในครัวเรือน จึงมีการสนับสนุน ให้ผลิตน�้ำยาล้างจานไว้ใช้เอง ส่วนปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และไม่ใช้ ยาฆ่าแมลง เท่านี้ก็ลดรายจ่ายที่จ�ำเป็นลงได้แล้ว อีกกลยุทธ์หนึ่ง คือ เดินหน้าแผนสร้างชุมชนปลอดอบายมุข มีข้อตกลงร่วม ของชุมชนที่จะไม่มีสุรา บุหรี่ในงานศพ ห้ามเล่นการพนัน และในช่วงเข้าพรรษาขอให้ แต่ละครัวเรือน ลด ละ เลิก สิ่งมอมเมา และถ้ามีการทะเลาะเบาะแว้งถึงขั้นเลือดตก ยางออก ต้องมาจ่ายค่าปรับรับความผิดกัน นอกจากการส่งเสริมอาชีพให้คนกุดกะเสียนลุกขึ้นมาทอเสื่อ เพาะเห็ด เลี้ยงโค แล้ว ยังมีการจัดท�ำบัญชีรับ-จ่ายทุกครัวเรือน จนเห็นผลว่าทุกวันนี้มีรายได้เสริม ถึงประมาณปีละ 51,800 บาท ในปี 2550 บ้านกุดกะเสียนได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” เป็นหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัด รับรางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เหนือจากความภูมิใจในรางวัล คือ การที่ทุกคนได้รู้ว่าเมื่อร่วมใจกันทุกอย่าง จะส�ำเร็จ ทุกวันนี้มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความสุขอยู่เต็มชุมชน...เมื่อคนกุดกะเสียน ร่วมใจ ทุกคนจะอยู่ดี อยู่เย็นและเป็นสุข ขอบคุณข้อมูลจากก�ำนันสมาน ทวีศรี ชุมชนของเรา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555
29