สวัสดีคะ่ เพือ่ นบ้านไทยออยล์ทกุ ท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยเรา ชุมชนของเรา และเทศบาลนครแหลมฉบังต่างร่วมกันจัดงานท�ำบุญเพื่อสืบสานประเพณีอันเป็น เอกลักษณ์ที่ดีงามของท้องถิ่นกันถ้วนทุกชุมชน หวังว่าทุกท่านคงจะชุ่มฉ�่ำทั้งกาย และใจนะคะ ฉบับหน้าจะน�ำภาพบรรยากาศมาฝากค่ะ ฉบับนีม้ ภี าพและเรือ่ งราวการไปศึกษาดูงานเพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรูเ้ รือ่ งการจัดการ สุขภาวะโดยชุมชนที่เทศบาลเมืองปากพูน จ.นครศรีธรรมราช ของคณะกรรมการ ชุมชนทั้ ง 7 ชุมชน หน่วยงานราชการของเทศบาลนครแหลมฉบังและพนักงาน เครือไทยออยล์กว่า 90 ชีวิต เป็นการเดินทางไกลที่นับว่าคุ้มค่ามาก แต่จะคุ้มค่า อย่างไรต้องลองพลิกอ่านกันดูนะคะ เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เยาวชนคนเก่ง 18 คนจากโรงเรียนวัดมโนรม ได้มโี อกาสไปแสดงความสามารถกระโดดเชือกลีลาในรายการเกมพันหน้า ทางสถานี โทรทัศน์สกี องทัพบก ช่อง 7 นับเป็นสิง่ ทีแ่ สดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และตัง้ ใจจริง ของน้อง ๆ และอาจารย์ผฝู้ กึ กีฬากระโดดเชือกนีเ้ ป็นกิจกรรมเพือ่ สุขภาพและส่งเสริม การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ที่อยากให้ผู้ปกครองให้การสนับสนุนค่ะ โดยในปีนี้ เครือไทยออยล์จะจัดให้มีการประกวดกระโดดเชือกลีลาประกอบเพลง หรือ Thaioil Music Ropeskipping Contest ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม น้อง ๆ ต้องขยันซ้อม ให้มาก ๆ นะคะ จุลสารชุมชนของเรามีอายุครบ 2 ปีแล้ว ฉบับนี้จึงขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน ร่วมท�ำแบบสอบส�ำรวจความพึงพอใจทีแ่ นบมาในเล่ม เพือ่ เราจะได้นำ� ความเห็นและ ข้อเสนอแนะของทุกท่านไปพัฒนาปรับปรุงให้จุลสารชุมชนของเรา ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ในฐานะสื่อที่สร้างสรรค์คุณค่าให้กับชุมชนบ้านเราอย่างแท้จริงค่ะ ขอให้ทกุ ท่านมีสขุ ภาพดีและพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ บรรณาธิการ จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) จัดทำ�โดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์ขององค์กร สำ�นักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยค่ี อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2299 0000, 0 2797 2999 โทรสาร 0 2797 2974 โรงกลัน่ : เลขที่ 42/1 หมูท่ ี่ 1 ถนนสุขมุ วิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุง่ สุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0 3840 8500, 0 3835 9000 โทรสาร 0 3835 1554, 0 3835 1444 แผนกบริหารงานชุมชน 0 3835 5028-31
สารบัญ ตามรอยพ่อ
1
ก้าวทันโลก
3
รอบรั้วไทยออยล์
4
เรื่องจากปก
8
สกู๊ปพิเศษ
12
ของดีบ้านเรา
14
บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ 16 กระบอกเสียงชุมชน
18
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม
20
CSR โฟกัส
22
ปลอดภัยใกล้ตัว
24
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน
26
เคล็ดลับสุขภาพ
28
ลับสมองลองเล่นเกม
29
โดย กระดาษกรอง
ท�ำไมต้อง “แก้มลิง”
พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ มี พ ระราชกระแส เมือ่ วันที ่ 4 ธนั วาคม 2538 วา่ “...ลิงโดยทัว่ ไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือกเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วน�ำไปเก็บไว้ที่แก้ม ก่อน ลิงจะท�ำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ น�ำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง” และ นั่นคือที่มาของโครงการตามพระราชด�ำริ “แก้มลิง”
โครงการแก้มลิง คือ โครงการบริหารจัดการน�ำ้ โดยให้มสี ถานทีเ่ ก็บกักน�ำ้ ตามจุด ต่างๆ เพือ่ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นบึงพักน�ำ้ ในหน้าน�ำ ้ โดยรองรับน�ำ้ ฝนไว้ชวั่ คราวก่อนทีจ่ ะระบาย ลงทางระบายน�ำ้ สาธารณะ ฉะนัน้ เมือ่ ฝนตก น�ำ้ ฝนจึงไม่ไหลลงสูท่ างระบายน�ำ้ ในทันที แต่จะถูกขังไว้ในพื้นที่พักน�้ำรอเวลาให้คลองต่าง ๆ ซึ่งเป็นทางระบายน�้ำหลักพร่องน�้ำ พอจะรับน�ำ้ ได้ จึงค่อย ๆ ระบายน�ำ้ ลงเป็นการช่วยลดปัญหาน�ำ้ ท่วมขังได้ในระดับหนึง่ นอกจากวัตถุประสงค์เพื่อการระบายน�้ำแล้ว แนวพระราชด�ำริ “แก้มลิง” ยังได้ ผสานแนวคิดในการอนุรักษ์น�้ำและสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย คือ เมื่อน�้ำที่เก็บกักไว้ถูกส่ง เข้าไปในคลองต่าง ๆ จะไปบ�ำบัด เจือจางน�ำ้ เน่าเสียในคลองเหล่านัน้ ให้เบาบางลง แล้ว ในที่สุดจึงผลักน�้ำเน่าเสียที่เจือจางแล้วลงสู่ทะเล
ประเภทของแก้มลิง 1. แก้มลิงขนาดใหญ่ คือ สระน�้ำหรือบึงขนาดใหญ่ที่ รวบรวมน�้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้น ๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะ เวลาหนึ่งก่อนจะระบายลงสู่ล�ำน�้ำ การจัดสร้างพื้นที่ชะลอน�้ำหรือ พื้นที่เก็บกักน�้ำจะมีหลายประเภท อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน�้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ อืน่ ประกอบด้วย เช่น เพือ่ การชลประทาน เพือ่ การประมง เป็นต้น 2. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน�้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ได้มีการก่อสร้างในระดับลุ่มน�้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
1
3. แก้มลิงขนาดเล็ก คือ แก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็น พื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่ง ต่อเข้ากับระบบระบายน�้ำหรือคลอง แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า “แก้มลิงเอกชน“ ส่วน ที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า “แก้มลิง สาธารณะ”
การจัดหาและการออกแบบแก้มลิง หลักส�ำคัญคือต้องให้มกี ารชะลอน�ำ้ หรือเก็บกักน�ำ ้ เพือ่ ลด หรือชะลออัตราการไหลของน�้ำผิวดินที่เกิดจากการไหลที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้พื้นที่ระบายน�้ำก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ระบบระบายน�้ำ สาธารณะ ในการพิจารณาออกแบบพื้นที่ชะลอน�้ำหรือพื้นที่ เก็บกักน�ำ ้ จะต้องทราบปริมาตรน�ำ้ ผิวดินทีจ่ ะเก็บกักและอัตราการไหล ผิวดินที่มากที่สุด ที่จะยอมให้ปล่อยออกได้ในช่วงเวลาฝนตก ปริมาตรที่เก็บกักควรจะเป็นปริมาตรน�้ำที่เพิ่มขึ้น เมื่อพื้นที่ ระบายน�้ำได้รับการพัฒนาแล้ว ดังนั้น ส�ำคัญที่สุดคือต้องจัดหาพื้นที่เก็บกักให้พอเพียง เพือ่ ทีจ่ ะได้ควบคุมอัตราการไหลออกจากพืน้ ทีช่ ะลอน�ำ้ เหนือพืน้ ที่ เก็บกักน�้ำ ไม่ให้เกินอัตราการไหลออกที่มากที่สุด เพื่อจะไม่ก่อ ให้เกิดปัญหาการท่วมขังในระบบระบายน�ำ้ สาธารณะหรือพืน้ ทีต่ ำ�่
2
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
คลอง,บึง,บอ และหนองตาง ๆ จากพื้นที่ตอนบน
คลองสุนัขหอน คลองเชื่อมและ บอเก็บน้ำตางๆ
คลอง,บึง,บอ และหนองตาง ๆ จากพื้นที่ตอนบน
แมน้ำทาจีน
แก้มลิงจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 3 ประการ 1. สถานที่ที่จะท�ำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักน�ำน�้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน�้ำ 2. เส้ น ทางน�้ ำ ไหลที่ ส ะดวกต่ อ การระบายน�้ ำ เข้ า สู ่ แ หล่ ง ที่ ท� ำ หน้ า ที่ บ ่ อ พั ก น�้ ำ 3. การระบายน�้ำออกจากบ่อพักน�้ำอย่างต่อเนื่อง โครงการแก้มลิงนับเป็นโครงการหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้ชาวไทยทัง้ หลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภยั ที่ น�ำความเดือดร้อนแสนล�ำเค็ญมาสูช่ วี ติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ยังมีพระราชด�ำริเพิม่ เติม ว่า “...ได้ดำ� เนินการในแนวทางทีถ่ กู ต้องแล้ว ขอให้รบี เร่งหาวิธปี รับปรุงและเพิม่ ประสิทธิภาพ ต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่...” ได้แต่หวังว่า ภาครัฐบาลและเอกชนจะเร่งน�ำแนวพระราชด�ำริ “แก้มลิง” ไปด�ำเนินการ ให้เกิดผลโดยเร็วก่อนที่จะเกิดวิกฤตมหาอุทกภัยอีกรอบอย่างที่ไม่ควรเกิดมาแล้ว
คลองมหาชัย-สนามชัย คลองเชื่อมและ บอเก็บน้ำตางๆ
ปกร. และ สถานีสูบน้ำ
ปกร. และ สถานีสูบน้ำ
อาวไทย โครงสราง โครงการแกมลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย และโครงการแกมลิงแมน้ำทาจีนตอนลาง
เขื่อน ปตร. สถานีสูบน้ำ ทิศทางน้ำไหล
ก้ า วทั นโลก โดย ติมา
พัดลมไร้ใบ ใครที่เห็นหน้าตาเจ้าเครื่องนี้ครั้งแรกต้องเกิดความสงสัยแน่นอนว่า วงแหวน
กลม ๆ ทีต่ รงกลางโปร่งโล่งนีจ้ ะเป็นเครือ่ งอะไรกันแน่ ยิง่ พอรูว้ า่ นีค่ อื พัดลม ยิง่ สงสัย หนักเข้าไปอีกว่าใช่พัดลมแน่หรือในเมื่อไม่มีใบพัดสักใบ พัดลมไร้ใบคืออนาคตใหม่ของพัดลมที่หลายบ้านต้องถามหาแน่นอน เพราะ ให้ความเย็นได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล ลดความเสี่ยงว่าลูกหลานตัวเล็ก ๆ ที่ก�ำลัง ซุกซนจะเอานิ้วเข้าไปแหย่ ท�ำให้บาดเจ็บเหมือนพัดลมรุ่นเก่า พัดลมไร้ใบนี้ท�ำงาน ด้วยเทคโนโลยีแอร์มัลติพลายเออร์ (Air Multiplier) ที่ใช้หลักการดูดอากาศรอบข้าง มารวมไว้ในจุดเดียว เมื่อมารวมกันแล้วจะเกิดแรงดันลมจากในแกนวงแหวน ท�ำให้ มีกระแสลมออกมาให้เราเย็นสบายอย่างต่อเนือ่ ง แถมหมดปัญหาเรือ่ งฝุน่ เกาะใบพัด ที่ต้องถอดมาเช็ดล้างอยู่บ่อย ๆ ที่ส�ำคัญเทคโนโลยีนี้ยังช่วยประหยัดไฟได้ถึง 98%
ข้าวไม่ต้องหุง
หลังจากมีข่าวว่าประเทศอินเดียผลิต ข้าวไม่ตอ้ งหุงได้สำ� เร็จ ดร.ลือชัย อารยะรังสฤษฎ์ ผูอ้ ำ� นวยการและทีมนักวิชาการ ศูนย์วจิ ยั ข้าว เชียงใหม่ กรมการข้าวของไทย ช่วยกันคิดค้น ว่าจะท�ำอย่างไรให้ประเทศไทยมีขา้ วไม่ตอ้ งหุง ขึ้นมาบ้าง สกุล มูลค�ำ นักวิชาการเกษตร ช�ำนาญการพิเศษของศูนย์ฯ เล่าว่า จุดประกาย มาจากภูมิปัญญาของพรานเดินป่าที่เตรียม ข้าวเปลือกมาแช่น�้ำ นึ่งแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ต�ำเป็นข้าวสารพกติดตัวไว้เวลาเดินป่า เมื่อ ต้องการท�ำให้สุก แค่น�ำมาใส่กระบอกไม้เติม น�้ำเผาไฟสักครู่ ก็จะได้ข้าวสุกพร้อมกิน การผลิ ต “ข้ า วไม่ ต ้ อ งหุ ง ” นี้ ใ ช้ ข้าวเปลือกจาก 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข 39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และ ขาหนี่ น�ำมาแปรรูปเป็นข้าวนึ่งด้วยกระบวนการ
ท�ำให้สกุ ด้วยไอน�ำ ้ ลดความชืน้ และน�ำไปสีให้ เป็นข้าวสาร เมือ่ ต้องการรับประทาน เพียงน�ำ มาท�ำให้คนื ตัวเป็นข้าวสุกด้วยการแช่นำ�้ เดือด หรือน�้ำร้อนจัด ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ก็น�ำ ไปรับประทานได้ทันทีเหมือนกับข้าวที่ผ่าน การหุงสุกตามปกติ หากไม่มีน�้ำร้อนสามารถ แช่ในน�้ำอุณหภูมิห้องหรือประมาณ 30oC ได้ แต่ต้องแช่ทิ้งไว้นาน 45 นาทีจึงรับประทาน ได้โดยใช้ขา้ ว 1 ส่วนต่อน�ำ ้ 1 ส่วน หรือมากกว่า เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 1.5 ส่วน ข้าวไม่ตอ้ งหุง นีจ้ ะมีลกั ษณะค่อนข้างร่วน หากไม่ชอบจะน�ำ มาหุงให้สุกตามวิธีปกติก็ได้ สนใจติดต่อ : ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ส�ำนักวิจัยและ พัฒนาข้าว กรมการข้าว เลขที่ 156 หมู่ 3 ต.มะขาม หลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120 โทรศัพท์ 0 5331 1334-5
เมื่อหนังสือไม่ใช้กระดาษ
เทคโนโลยีเรื่องการผลิตจอคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปไม่หยุด จนกระทั่งสามารถผลิตจอที่ บางเฉียบกว่ากระดาษ โค้งงอ ยืดหยุ่นได้ วันนี้เทคโนโลยีดังกล่าวก�ำลังเข้ามาพลิกโฉมวงการ อ่าน จากหนังสือหนาหนัก เล่มใหญ่ กลายเป็นเพียงแผ่นบาง ๆ ทีบ่ รรจุอกั ษรได้มากกว่าหลาย ล้านเท่า ล่าสุด บริษัท แอลจี ดิสเพลย์ น�ำเทคโนโลยีนี้มาผลิตเป็นเครื่องอ่านหนังสือดิจิตอล รุ่น “สคิฟฟ์ รีดเดอร์” (Skiff Reader) แสดงภาพด้วยค่าความละเอียด 1,200×1,600 พิกเซล สามารถพับเก็บได้เหมือนสิง่ พิมพ์กระดาษทัว่ ไป ในงานแสดงหนังสือทีเ่ มืองไลฟ์ซกิ เยอรมนีซงึ่ เป็นงานชุมนุมผู้ผลิตสิ่งพิมพ์และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ กว่า 2,100 บริษัท จาก 38 ประเทศ มีการจัดแสดงหนังสือพิมพ์แนวใหม่ที่ไม่ใช้กระดาษ แต่เป็นแผ่นติดตั้งหน้าจอที่ใช้อ่านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ได้ทั้งเล่ม ข้อมูลอ้างอิงจาก http://tech.mthai.com
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
3
รอบรั้วไทยออยล์
ไทยออยล์คว้ารางวัลโรงกลัน่ ชัน้ น�ำแห่งภูมภิ าค 2 รางวัลซ้อน
โดย หน่วยกลั่นข่าว
คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) รับรางวัล Best Oil and Gas Refining Company Asia 2011 และรางวัล Best Oil and Gas Clean Energy Company Asia 2011 จากมิสเตอร์ไฮเวล โจนส์ บรรณาธิการ World Finance ณ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในฐานะเป็นองค์กรที่ประกอบธุรกิจการกลั่นน�้ำมัน ปิโตรเลียมชั้นน�ำของภูมิภาคที่มีความแข็งแกร่งและอนาคตสดใส อีกทั้งยังเป็นผู้น�ำด้าน นวัตกรรมการผลิตพลังงานสะอาดของเอเชีย โดยสามารถผลิตน�ำ้ มันมาตรฐาน EURO IV ได้ครบทุกผลิตภัณฑ์เป็นรายแรกของภูมิภาค
ลูกเสือ-เนตรนารี รร.วัดใหม่เนินพยอม เดินทางไกล โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม ได้จัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีเดินทางไกลและ กิจกรรมนันทนาการในวันที่ 26 มกราคม 2555 เวลา 09.30-14.30 น. โดยมีลูกเสือเนตรนารี และครูผกู้ ำ� กับรวมจ�ำนวน 200 คน ร่วมในกิจกรรมเดินทางไกลมาทีศ่ นู ย์สขุ ภาพ และการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชนซึง่ ได้อนุญาตให้ใช้สถานทีจ่ ดั กิจกรรมนันทนาการ และฐานกิจกรรมความรูต้ า่ ง ๆ พร้อมทัง้ เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลอ่าวอุดม มาบรรยาย ให้ความรู้แก่คณะลูกเสือ-เนตรนารีเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วย
วันนักประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13.00-15.00 น. เครือไทยออยล์ได้ จัดกิจกรรมวันนักประดิษฐ์ โดยเชิญอาจารย์จากโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 มาเป็ น วิ ท ยากรให้ ค วามรู ้ แ ละสอนวิ ธี ก ารประดิ ษ ฐ์ แ ก่ เ ยาวชนในชุ ม ชน ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน โดยในครั้งนี้ได้ แบ่งกิจกรรมเป็นการประดิษฐ์เครือ่ งบินร่อนส�ำหรับเด็กชายและการท�ำดอกไม้ ประดิษฐ์ส�ำหรับเด็กหญิง มีเยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 81 คน
4
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
ไทยออยล์มอบทุนการศึกษา คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) ได้มอบทุนการศึกษาประจ�ำปี 2554 จ�ำนวน 116 ทุน ให้แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 หรือชั้นปีที่ 4 จากสถาบันการศึกษา ชั้นน�ำของประเทศ ณ ห้อง Banquet ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารซี ชั้น 5 โดยมีคณะผู้บริหาร พนักงานเครือไทยออยล์ ตลอดจนคณาจารย์ร่วม เป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ไทยออยล์รบั รางวัล Thailand Energy Awards เมือ่ เร็ว ๆ นี้ คุณยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัล Thailand Energy Awards 2011 ให้แก่คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) และคุณสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการ อ�ำนวยการ ด้านบริหารองค์กร จ�ำนวนทั้งสิ้น 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลดีเด่น ด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงานควบคุม และด้านพลังงานทดแทนประเภท โครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) จาก โครงการโรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ ห้วยปูลงิ ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบรัฐบาล ซึง่ สะท้อนถึง ความมุง่ มัน่ ของเครือไทยออยล์ในการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
โยคะเพือ่ สุขภาพ
เครือไทยออยล์รว่ มกับเจ้าหน้าทีโ่ รงพยาบาลอ่าวอุดม จัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพด้วยการอบรมการฝึกโยคะเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับชุมชน ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ ทุกวันพุธ ตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลา 17.00-18.00 น. รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 86 คน
คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการและพัฒนาชุมชน และสังคมศึกษาดูงาน
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 เวลา 9.00-17.00 น. ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการและพัฒนาชุมชนและสังคม เขตประกอบการอุตสาหกรรม บมจ. ไออาร์พซี ี จ.ระยอง ทีม่ าศึกษาดูงานด้านการบริหาร งานชุมชนของเครือไทยออยล์ โดยคุณยุทธนา ภาสุรปัญญา ผู้จัดการฝ่ายผลิต บมจ. ไทยออยล์ เป็นผู้แทนมอบของที่ระลึกให้กับทางคณะเยี่ยมชม ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
5
ชุมชนโรงกลั่น
สบายสบายชายทะเล โดย นกทะเล
เย็นวันที ่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 บริเวณชายทะเลหลังอาคาร อเนกประสงค์ถูกเนรมิตให้เป็นลานกิจกรรมส�ำหรับพี่น้อง คณะกรรมการ ชุมชน 7 ชุมชน หน่วยงานราชการของเทศบาล นครแหลมฉบัง และชาวไทยออยล์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พบปะ สังสรรค์ หลังจากทีเ่ หน็ดเหนือ่ ยร่วมกันในการจรรโลงผลงาน หลากหลายให้กบั พืน้ ที่ เพือ่ ท�ำให้เกิดการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน และ สร้างความเข้มแข็งให้กบั ชุมชนตามหลักการท�ำงาน 3 ประสาน โดยมีแขกผูม้ เี กียรติจากโรงพยาบาลอ่าวอุดม อ�ำเภอศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซึง่ เป็นผูร้ ว่ มแรง แข็งขันในการน�ำองค์ความรู้ด้านที่ตัวเองเกี่ยวข้องเข้ามาช่วย พัฒนางาน และผู้อ�ำนวยการจากโรงเรียนในพื้นที่ 4 โรงเรียน ก่ อ นเพลาโพล้เพล้เพื่อ นพ้อ งน้อ งพี่ชาวไทยออยล์ ทยอยมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เจ้าหน้าที่เข้าประจ�ำจุด เพื่อปฏิบัติงาน ร้านอาหารจากชุมชนหลากหลายตั้งซุ้มด้วย ความคึกคัก แล้วพี่น้องกรรมการชุมชนของเราก็เริ่มเดินทาง มาถึงในเวลาใกล้เคียงกัน เสียงเพลงจากแซกโซโฟนบรรเลง ด้วยเมโลดี้เบา ๆ ประดุจฟองคลื่นลอยล่องเหนือผิวน�้ำทะเล เข้าสู่ฝั่งเพื่อเป็นการต้อนรับ ทีมงานแผนกบริหารงานชุมชน คอยบริการผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และเชื้อเชิญถ่ายภาพ เป็นที่ระลึกตรงมุมซึ่งตกแต่งสไตล์ชายหาด เสียงทักทาย ด้วยความสนิทสนมดังจากมุมต่าง ๆ ไปทั่ว เพราะงานนี้ ตั้งใจจัดให้เป็นงานแบบกันเอง และทุกท่านที่มาร่วมงาน ต่างรู้จักมักคุ้นกันมานานปี
6
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
“มางานไทยออยล์แล้วสบายใจ เพราะท�ำอะไรได้ดงั ใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผิดพลาดหรือรบกวนผู้ใหญ่ เนื่องจาก เรารู้จักคบหาแบบสนิทใจมานานทุกระดับ” คณะกรรมการ ชุมชนท่านหนึง่ ให้ความเห็น ความสนิทชิดเชือ้ เป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำ� ให้การท�ำงานแบบมีสว่ นร่วมระหว่างไทยออยล์กบั ชุมชน มีความราบรื่น เกิดการถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยกันออกความ คิดเห็นและช่วยกันท�ำงาน จนท�ำให้งานทุกงานประสบความ ส�ำเร็จด้วยดี เมื่อแสงตะวันสุดท้ายหายลับจากขอบฟ้า แสงสีจาก หลอดไฟในงานพลันสว่างขึ้นแทน ดูกลมกลืนกับแสงสว่าง จากแสงไฟของท่าเทียบเรือที่ทอดยาวไปกลางน�้ำ ม้วนคลื่น ในทะเลพอเห็นได้จากแสงไฟ แต่เสียงเข้ากระทบฝัง่ ดังชัดเจน ราวกับเสียงเพลงจากธรรมชาติที่ช่วยขับกล่อมผู้มาร่วมงาน ทีส่ ดุ เสียงจากแซกโซโฟนก็เงียบสนิท เป็นสัญญาณว่าผูม้ าร่วมงาน มาถึงครบแล้ว รายการบนเวทีจงึ เริม่ ขึน้ แบบคึกคักสะใจคนชม สิตตา มารัตนชัย หรือสาวน้อยซินเอ๋อกับทีมงานแผนก TNEB ก�ำลังนัดหมายครัง้ สุดท้ายทีโ่ ต๊ะอาหารด้านหลังซีกซ้ายมือ ของเวที วันนีเ้ ธอเตรียมอูคเู ลเล่มาแสดงบนเวทีพร้อมทีมงาน เพือ่ เป็นการแสดงออกถึงหัวใจที่รักดนตรีและรัก (ษ์) สิ่งแวดล้อม ตามหน้าที่การงานที่รบั ผิดชอบอยู่ ดูเหมือนจะมีความตืน่ เต้น เล็กน้อย แต่เมือ่ ถูกเรียกขึ้นแสดง ความเป็นสาวใส ๆ จริงใจ พร้อมด้วยฝีมอื ระดับน้องๆ มืออาชีพ ท�ำให้ได้รบั เสียงปรบมือ เกรียวกราว จากนั้นคุณสุรงค์ บูลกุล CEO ของเราได้รับเชิญ
ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยกับพี่น้องคณะกรรมการชุมชน ท่าน ได้ย�้ำว่า การดูแลชุมชนของไทยออยล์และบริษัทในเครือนั้น ท่านมิได้ถอื เป็นหน้าทีอ่ ย่างเดียว แต่ทา่ นถือว่าเป็นความผูกพัน ที่มีต่อกันระหว่างพี่น้องชุมชนกับไทยออยล์ ในงานนี้ท่าน CEO ได้มอบเหรียญพระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี ให้กับคณะกรรมการชุมชนและที่ปรึกษาทุกท่านเป็นของที่ ระลึกอันเป็นมงคลแห่งปีคนละ 1 เหรียญ พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี คือพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน ณ หอพระ ในศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ซึ่ง ปัจจุบันถูกเรียกขานติดปากว่า “หลวงพ่อไทยออยล์” หลั ง จากมี ก ารจั บ ฉลากมอบโชคให้ กั บ พี่ น ้ อ ง คณะกรรมการชุมชนและผูม้ าร่วมงานและรายการแสดงทีเ่ ตรียม ไว้หมดแล้ว การแสดงบนเวทีถกู ปรับเปลีย่ นเป็นรายการร�ำวง ซึง่ พีน่ อ้ งคณะกรรมการชุมชนช่วยกันร้องช่วยกันร�ำแบบสบายๆ ไม่มใี ครได้ยนิ เสียงคลืน่ จากท้องทะเลอีก เนือ่ งจากเสียงร�ำวง ของพี่น้องคณะกรรมการชุมชนกลบเสียงอื่น ๆ ทั้งหมด แต่ ทุกคนก็ดมื่ ด�ำ่ กับบรรยากาศธรรมชาติ บรรยากาศงาน ดืม่ ด�ำ่ กับมิตรภาพและไมตรีจิตระหว่างกันต่อกันตลอดเวลาแห่ง การร่วมงาน ทีส่ ดุ แห่งงานมาถึงเมือ่ คุณเกรียงไกร นาคะพงศ์ ผูจ้ ดั การแผนกบริหารงานชุมชน ขึน้ บนเวทีกล่าวขอบคุณพีน่ อ้ ง คณะกรรมการชุมชน หน่วยงานราชการ และผูร้ ว่ มงานทุกท่าน
ที่ไ ด้ร่วมกันผนึกพลังสร้า งสรรค์ผลงานครั้งแล้วครั้งเล่า ในปีที่ผ่านมา จากนั้นเป็นผู้น�ำร้องเพลงค�ำสัญญา ขณะที่ผู้ที่ อยู่ในงานมาจับกลุ่มเป็นวงประสานมือกันขับขานเพลงเสียง กระหึม่ เป็นสัญญาใจว่าไทยออยล์-ชุมชน-เทศบาลจะร่วมกัน สร้างสรรค์ความเจริญ ความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ และปีหน้า จะมาฉลองชัยร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ไฟบางดวงในงานเริ่มถูกดับลง แต่ไฟที่ท่าเทียบเรือยัง ส่องสว่างในยามค�่ำคืน ขณะที่คลื่นในทะเลยังขับกล่อมเพลง กระทบกระซิบฝัง่ หนักบ้าง เบาบ้าง เร็วบ้าง ช้าบ้าง เป็นเสียง แห่งชีวติ ทีไ่ ม่มวี นั ดับและไม่เคยขาดตอน เช่นเดียวกับโรงกลัน่ ที่ยังผลิตอย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดพัก พี่น้องที่มาร่วมงาน แบบสบาย ๆ ในคืนนี้ทยอยกลับไปพร้อมด้วยรอยยิ้มที่ปาก และแววตา เหมือนกับจะบอกว่า ตราบใดที่ทะเลไม่เคยขาด คลื่น โรงกลั่นไม่เคยขาดแสงไฟ ตราบนั้นหัวใจของคนใน ชุมชนและไทยออยล์มีความผูกพันแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
7
เรื่องจากปก
โดย กองบรรณาธิการ
ชุมชนรอบโรงกลั่นไทยออยล์ ศึกษาดูงานสุขภาวะชุมชนที่ปากพูน
เช้ามืดของวันที่ 14 มีนาคม หากใครผ่านไปแถวศูนย์สขุ ภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน คงจะเห็นผู้คนคึกคัก ถามไถ่ได้ความว่าก�ำลังจะไปปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ไม่บ่อยครั้งที่ชุมชนบ้านเราจะไปทัศนศึกษาไกลขนาดนี้ จึงชัก สงสัยเสียแล้วว่าปากพูนมีจุดดี จุดเด่นตรงไหนหนอ ใคร ๆ ถึง ต้องไปดูงานที่ปากพูน
ด้วยการบรรยายของคุณธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ อดีตนายก อบต. ปากพูน จากมุขตลกที่สร้างเสียงหัวเราะตลอดการบรรยายกว่า สองชั่วโมง กลับแฝงไว้ด้วยสาระที่ผู้เข้าฟังสามารถน�ำไปต่อยอด เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ คุณธนาวุฒิสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด โครงการต่าง ๆ ที่มุ่ง สร้างสุขภาวะชุมชนของคนปากพูนทัง้ 4 ด้านคือ สุขภาวะทางกาย (ร่ายกายสมบูรณ์แข็งแรง เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมที่ดี) สุขภาวะทางจิต (จิตใจเป็นสุข ไม่เครียด มีเมตตากรุณา สติ สมาธิ) สุขภาวะทางสังคม (การอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ชุมชนสังคม) และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (ความสุขอันประเสริฐ จากการมีจติ ใจสูง เข้าถึงความจริงทั้งหมด) ภายใต้วิสัยทัศน์ของ ปากพูนที่ว่า พลเมืองมีความรู้ อยู่อย่างไม่ยากจน สุขภาพคน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการสุขภาวะโดยชุมชน แข็งแรง เช้าวันใหม่ทกุ คนดูสดชืน่ เพราะได้พกั ผ่อนเต็มที่ ลงทะเบียน การวางนโยบายเพื่ อ มุ ่ ง สู ่ ก ารสร้ า งสุ ข ภาวะในชุ ม ชนมี รับเอกสารก่อนเข้าฟังการบรรยายที่เริ่มด้วยการกล่าวต้อนรับใน การน�ำระบบฐานข้อมูลสุขภาวะครอบครัวและชุมชน (Family and ฐานะเจ้าบ้าน โดยปลัดเทศบาลเมืองปากพูน คุณชาญชัย อรุณ ต่อ Community Assessment Program : FAP) มาใช้เป็นเครือ่ งมือใน การพัฒนาโครงการต่าง ๆ ทีด่ แู ลคนในชุมชนตัง้ แต่อยูใ่ นครรภ์มารดา จนตลอดชีวิต โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน จนในที่สุดได้มีการจัดท�ำเป็นชุดความรู้ที่เรียกว่า “การสร้างสุข ภาวะชุมชนที่ต�ำบลปากพูน” ซึ่งประกอบด้วยระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบข้อมูลเพื่อการสร้างสุขภาวะโดยชุมชน ระบบการบริการ สาธารณสุขขัน้ พืน้ ฐาน ระบบอาสาพัฒนาต�ำบลปากพูน ระบบการ จัดการศึกษาเพือ่ ชีวติ และสังคม ระบบสวัสดิการเพือ่ สุขภาวะชุมชน ระบบการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสุขภาวะชุมชน ระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน เป็นต้น ช่วงบ่ายเป็นการดูงานตามฐานเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านและฐานเรียนรู้ชุมชนคนรักษ์สุขภาพ ที่ 8 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555 บนรถบัสขนาด 40 ทีน่ งั่ 2 คัน ประกอบไปด้วยคณะกรรมการ ชุมชนทัง้ 7 ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น (อสม.) ของ แต่ละชุมชน ผูแ้ ทนโรงพยาบาลอ่าวอุดม และเทศบาลนครแหลมฉบัง พร้อมด้วยพนักงานเครือไทยออยล์ ระหว่างอยูบ่ นรถเป็นช่วงเวลาดี ที่ทุกคนได้ท�ำความรู้จักกัน บางคนเคยคุ้นหน้าตา แต่แทบไม่ได้ พูดคุยกัน คณะมาถึงเทศบาลเมืองปากพูนราวหกโมงเย็น เข้าฟังค�ำชีแ้ จง ของผู้จัดการโครงการก่อนจะแยกย้ายเข้าบ้านพักแบบโฮมสเตย์ ที่กระจายอยู่ในต�ำบล มื้อเย็นเป็นอาหารตามบ้านแต่ละหลัง เป็น มื้อแรกที่เปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละหลังได้พูดคุยท�ำความรู้จัก เจ้าบ้าน ก่อนจะพักผ่อนเพื่อเตรียมลุยต่อไปในวันรุ่งขึ้น
เรื่องจากปก
ผลิตผงผักปรุงรสแทนผงชูรส เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่เกิด จากการบริโภคผงชูรสมากเกินไป ในฐานเรียนรูน้ ยี้ งั สอนการท�ำน�ำ้ ข้าวกล้องงอก ยาหม่องสมุนไพร และยังให้คณะได้บริหารเอวด้วย การสีข้าวด้วยเครื่องสีข้าวภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วงเย็นเป็นฐานเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะได้ ล่องเรือชมป่าชายเลนและปลูกป่า วิทยากรเล่าให้ฟังถึงแนวทาง การดูแลป่าชายเลนของทีน่ วี่ า่ หากต้องการตัดต้นไม้ไปใช้งาน 1 ต้น ต้องปลูกทดแทนให้ 10 ต้น และห้ามตัดไปใช้ในเชิงธุรกิจอย่าง เผาถ่านขาย ตลอดระยะเวลาครึ่งชั่วโมงที่นั่งเรือไปยังจุดที่จะ ปลูกป่า จึงเพลิดเพลินกับป่าสองข้างทีร่ ม่ รืน่ มีนกนานาพันธุ์ และ สัตว์น�้ำต่าง ๆ เรือหลายล�ำมีกุ้งกระโดดเข้าเรือด้วย แสดงให้เห็น ถึงความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพของบริเวณนี้ ได้เป็นอย่างดี
วันที่สองของการเรียนรู้ เช้าวันต่อมาเป็นการแลกเปลีย่ นดูงานด้านการบริการสาธารณสุข ขั้นพื้นฐาน การท�ำวารีบ�ำบัด และการขูดพิษพิชิตโรคด้วยกวาซา และงานด้านอาสาสมัครดูแลคนพิการและจิตเวช ต่อจากนั้น เป็นการเยีย่ มชมศูนย์พฒั นาเด็กเล็กและโรงเรียนวัยใสหัวใจซุกซน น่าเสียดายที่เป็นช่วงปิดเทอมจึงไม่ได้เห็นเด็ก ๆ ที่ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ท่อง ก.ไก่-ฮ.นกฮูก แบบมโนราห์ให้ได้ฟังกัน ช่วงบ่ายทีมงานปากพูนจัดกิจกรรมสร้างสุขภาวะทางจิตใจ ด้วย การพาไปนมัสการพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ถึงวัดพระมหาธาตุ
วรมหาวิหารตอนประมาณบ่ายโมงครึ่ง แม้อากาศภายนอกจะ ร้อนมาก แต่ในใจของทุกคนกลับเปี่ยมด้วยความปิติ เพราะได้มี โอกาสแห่ผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุร่วมกัน หลังไหว้พระธาตุเสร็จ ได้ไปแวะซือ้ เครือ่ งเงินทีข่ นึ้ ชือ่ ของเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนกลับ ไปเรียนรู้ที่ปากพูนกันต่อ ฐานเรียนรู้ ฟาร์มโคนมสาธิต และอาชาบ�ำบัดอยู่บริเวณ ใกล้เคียงกัน วิทยากรประจ�ำฐานฟาร์มโคนมสาธิตเล่าให้ฟงั ถึงการ จัดการในฟาร์มทีท่ กุ สิง่ ทุกอย่างแปรเปลีย่ นเป็นประโยชน์กบั ชุมชน ได้หมด เช่น น�ำ้ นมวัวทีร่ ดี ทุกวัน จะส่งไปให้เด็กทีศ่ นู ย์พฒั นาเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ มูลวัวน�ำไปหมักท�ำก๊าซชีวภาพ เป็นต้น ส่วนฐานอาชาบ�ำบัดน่าจะเป็นอีกฐานหนึ่งที่คณะชื่นชอบมาก เพราะได้ทดลองเป็นคาวบอยกันโดยถ้วนหน้า ค�่ำคืนนั้นทางปากพูนจัดเตรียมกิจกรรมรอบกองไฟที่ไม่ได้ จุดไฟจริงเพราะความอบอ้าวของอากาศ บรรยากาศเป็นกันเอง ครืน้ เครงดี วิทยากรน�ำโดยผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนวิสทุ ธิยาราม ร่วม กับคุณธนาวุฒิ ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงเศษ ก่อนจะแยกย้าย กลับบ้านพักผ่อน และเดินทางกลับในวันรุ่งขึ้น ระยะเวลาสี่วันสามคืนที่ปากพูนคงท�ำให้ชุมชนของเราได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนปากพูน และน�ำประสบการณ์ ในครัง้ นีก้ ลับไปค้นหาต้นทุนทางสังคมตามบริบทของชุมชนแหลมฉบัง เพื่อพัฒนาศักยภาพและออกแบบการจัดการสุขภาวะของชุมชน โดยคนในชุมชนของเราเองต่อไป
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
9
เรื่องจากปก
หลากหลายทัศนะที่เก็บเกี่ยวได้
ที่ปากพูน
คุณวีนัส สาระจรัส
พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ รพ.อ่าวอุดม เคยได้ฟังท่านอดีตนายก อบต. บรรยายมาก่อน ท�ำให้เห็น ภาพในระดับหนึ่ง แต่ไม่เท่าการมาสัมผัสด้วยตนเอง พี่มองว่า ท่านเป็นผู้เสียสละและมีวิสัยทัศน์ ทุกสิ่งที่นี่มันเชื่อมโยงทุกอย่าง รวมกับความมีจติ อาสาของชุมชน ตรงนีเ้ ป็นสิง่ ทีย่ งิ่ ใหญ่ เพราะถึง แม้ผู้น�ำจะคิด แต่ถ้าชุมชนไม่ร่วมมือด้วยคงไม่ส�ำเร็จขนาดนี้ ทีนี้ พอดูเขาแล้วต้องย้อนมาดูตวั เรา คงต้องเริม่ จากตัวเองก่อน เราจะ ไม่เปรียบเทียบว่าของเราไม่เหมือนของเขา เพราะสิง่ ทีม่ เี หมือนกัน คือความตัง้ ใจทีจ่ ะท�ำเพือ่ ชุมชนของเรา ในมุมมองของเราในฐานะ ทีเ่ ป็นเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข เรายินดีรว่ มมือกับชุมชนเต็มที่ เราอาจ มีวิชาชีพหรือความถนัดที่ต่างกัน เหมือนอย่างที่นี่ เราจะเห็นว่า เขามีหลายภาคส่วนทีเ่ ติมเต็มซึง่ กันและกันได้ และเรายังมีไทยออยล์ ซึง่ คอยสนับสนุนหลาย ๆ เรือ่ ง ถือว่าเรามีจดุ แข็ง ถ้าเราใช้จดุ แข็ง มาสร้างประโยชน์รว่ มกัน เราอาจเป็นแบบอย่างอีกแบบในประเทศไทย ที่ในอนาคตอาจจะมีคนไปดูงานเราก็ได้นะคะ
คุณอัมพา ถ้วยงาม
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านชากยายจีน ได้มาเรียนรู้หลายอย่างที่ปากพูน สิ่งที่ประทับใจและเป็น ความรูค้ อื ได้เห็นถึงระบบการบริหารจัดการ เขาท�ำโดยมีแบบแผน วิเคราะห์ความเสีย่ งก่อนลงมือท�ำ เป็นการวิเคราะห์ทใี่ ช้ระบบวิจยั การคิดอย่างเป็นระบบก่อนลงมือท�ำจะลดความเสีย่ งลงไปได้เยอะ อีกประการหนึง่ คือการมีสว่ นร่วมของชุมชน ผูน้ ำ� มีการบริหารการ มีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี จุดแรกคือต้องจูงใจ สร้างให้คนมีความ ตระหนักและเสียสละ ถ้าคนที่นี่ไม่เสียสละเขาท�ำอย่างนี้ไม่ได้ อีก จุดหนึง่ คือเขาเน้นการกระจายไปทัว่ ทุกหมูบ่ า้ น ทุกชุมชน ไม่ใช่การ สร้างความเจริญความยิง่ ใหญ่แค่กระจุกเดียว นอกจากนัน้ ก็มเี รือ่ ง ของการบูรณาการ การกล้าคิดกล้าท�ำนอกกรอบ และการจัดการ การเปลี่ยนแปลง พอมาดูงานเหมือนเป็นการกระตุ้นเราว่าให้ใช้ ระบบข้อมูลที่มีให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งงานด้านอื่น ๆ เช่น งาน ด้านสิ่งแวดล้อม น่าจะน�ำไปประยุกต์ใช้ได้
10 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
นสพ.สุรพล ขลึมประเสริฐ
หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมป้องกันควบคุมโรค ส�ำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครแหลมฉบัง ที่ปากพูนมีความสงบ ร่มเย็น และชาวบ้านมีความสุขที่ได้ อยู่ในพื้นที่ ทั้งนี้ ต้องขอชื่นชมท่านอดีตนายก อบต. ที่มีแนวคิด การพัฒนาชุมชน โดยท�ำให้คนอยูใ่ นชุมชนได้อย่างมีความสุข การ ทีจ่ ะพัฒนาชุมชนได้ คนในชุมชนต้องมีความรู้ แล้วได้เห็นตัวอย่าง การปฏิบตั ิ สามารถสร้างรายได้สร้างอาชีพให้ตนเองอยูใ่ นชุมชนได้ นีเ่ ป็นหัวใจของการพัฒนาชุมชน ถ้าได้รบั ความรูอ้ ย่างเดียว แต่ไม่ เห็นตัวอย่างในการปฏิบตั ิ อาจจะไม่สามารถคิดต่อได้ ทีน่ เี่ ขาให้ทงั้ ความรู้ ตัวอย่างในการปฏิบตั จิ ริง แนวทางสร้างรายได้ สร้างอาชีพ ท�ำให้ประชาชนเต็มใจให้ความร่วมมือพัฒนาชุมชน ซึง่ เป็นการพัฒนา อย่างยั่งยืน โดยคนในชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ ลงไปสร้างทุกอย่างให้ ส�ำหรับตรงงานทีผ่ มรับผิดชอบ คงดูแนวคิด ไปปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของนครแหลมฉบัง ตัวอย่างใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เขาใช้ตะไคร้หอมแขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อ ป้องกันยุง แทนการใช้สารเคมี เป็นแนวทางการใช้สมุนไพรเพื่อ ป้องกันโรคได้ หรือการใช้ผงนัวแทนผงชูรสในครัวเรือน เราอาจ จะไม่ได้เอาผงนัวไปท�ำกินที่เทศบาลนครแหลมฉบัง แต่นั่นคือ แนวคิดว่าถ้าจะเลิกใช้ผงชูรส เลิกใช้น�้ำปลา ซึ่งเป็นสาเหตุ หนึ่งของโรคเรื้อรัง เราจะท�ำอย่างไรให้เหมาะกับพื้นที่เราครับ
คุณวีรพงศ์ ศรีเจริญวงศ์วาน
อสม.ชุมชนบ้านชากยายจีน ที่มาปากพูนครั้งนี้ ท�ำให้ได้เรียนรู้อะไรที่ของเราไม่เคยมี อย่างการท�ำผงนัว ตอนแรกนึกว่าจะเป็นพืชผักอะไรที่หายาก แต่ ความจริงแล้วไม่ใช่เลย มันเป็นพืชผักทีแ่ ถวบ้านเราก็มี อย่างต�ำลึง ผักขม ผักหวาน ข้าวเหนียวก็หาได้ทวั่ ไป ตอนทีเ่ ขาน�ำมาผสมทอด ไข่ให้เราลองทาน ผมว่ามันมีรสชาติ ผงชูรสรสชาติมนั จัดมากเกินไป และไม่ดกี บั ร่างกาย ผงนัวเป็นพืชผักธรรมชาติ หาได้งา่ ย วิธที ำ� ง่าย ผมประทับใจป่าชายเลนที่สุด แนวทางของเขาที่ไม่ให้ชาวบ้าน เข้ามารุกป่า คนที่จะตัดต้นไม้ 1 ต้น ต้องปลูกทดแทน 10 ต้น ตัด 10 ต้น ต้องปลูก 100 ต้นทดแทน เพื่อได้ผลประโยชน์ใน วันข้างหน้า การท�ำอาชาบ�ำบัดผมก็ว่าดี ผมได้ทดลองขึ้นด้วย เวลาม้ามันเดิน รูส้ กึ ว่ามันดีจริง ๆ แต่เราคงต้องเลือกดูวา่ จะน�ำอะไร ไปประยุกต์ใช้ที่บ้านเรา
เรื่องจากปก คุณดวงรัตน์ เงินประยูรยศ
พนักงานเครือไทยออยล์ การร่วมเดินทางมาศึกษาดูงานที่เทศบาลเมืองปากพูนใน ครัง้ นี้ ได้รบั แนวความคิดการบริหารงานแบบบูรณาการทีส่ อดคล้อง กับวิถีการด�ำเนินชีวิตของชุมชนปากพูนโดยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง ท� ำ ให้ ค นภายในชุ ม ชนได้ แ สดงศั ก ยภาพของตนเองออกมา อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม สามารถด�ำรงชีพอยู่ภายในชุมชนได้ อย่างมีความสุข สมบูรณ์ อีกทัง้ ยังเป็นต้นแบบให้ชมุ ชนอืน่ ๆ ได้มา ศึกษาดูงานอีกด้วย ถือว่าเป็นตัวชีว้ ดั ของการบริหารงานชุมชนทีม่ ี คุณประโยชน์อย่างแท้จริง และหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า กิจกรรมในครัง้ นี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชนรอบ เครือไทยออยล์ ได้เพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต รับแนวคิดในการ พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน ตลอดจนน�ำไปประยุกต์ใช้กับการบริหาร งานชุมชนของตนเองจริง ๆ ค่ะ
กรรมการชุมชนตลาดอ่าวอุดม รูส้ กึ ดีมาก ๆ ทีไ่ ด้มาร่วมกิจกรรมครัง้ นี้ เขามีแนวความคิดดี ๆ เรียกว่าชั้นหนึ่ง คือ คิดเอง ท�ำเอง ส่วนกลางส่งมาบางเรื่อง เรา สามารถที่จะท�ำให้สัมฤทธิ์ผลโดยชุมชน ตามความต้องการของ ชุมชนเอง ผมเกิดที่นครศรีธรรมราช ดีใจและภูมิใจที่ได้มาเยี่ยม บ้านเกิดอีกครัง้ รูส้ กึ ว่าเปลีย่ นแปลงไปในทางทีด่ ขี นึ้ มาก เมือ่ ก่อน นักเลงเกเรเยอะและเป็นดงเป็นป่า เดี๋ยวนี้ดีขึ้นเยอะ ในส่วนของ ชุมชนของเรา ผมคิดว่าก็ตอ้ งไปปรึกษากันอีกทีวา่ เราจะท�ำอย่างไร จากประสบการณ์ทไี่ ด้เรียนรูจ้ ากทีป่ ากพูน เราจะเอาอะไรไปปรับใช้ กับชุมชนของเราได้บ้าง คงไม่สามารถน�ำไปปรับใช้ได้ทุกอย่าง เพราะเราเป็นชุมชนเมือง แต่ดูเป็นแนวคิดมากกว่า
คุณสยาม อดิศรสิรธีร์กุล
คุณทองใบ เล็กนามณรงค์
พนักงานเครือไทยออยล์ รูส้ กึ ประทับใจชุมชนปากพูนตัง้ แต่เจ้าหน้าที่ อบต. ทีใ่ ห้การ ต้อนรับดีเป็นกันเอง เจ้าของบ้านก็ดูแลเราเหมือนญาติรู้สึกอบอุ่น ประทับใจ เขามีการจัดการค่อนข้างดี ท�ำให้เราเห็นว่าชุมชนของเขา เข้มแข็งจริง ๆ เขาไม่ตอ้ งรองบประมาณจากส่วนกลาง แต่เริม่ ต้น ทีบ่ า้ นเขาก่อนแล้วถึงขยายตัวออกไป การไปดูงานแต่ละจุด รูส้ กึ ว่า ชุมชนเขามีการจัดการแบบบูรณาการเกีย่ วเนือ่ งกันหมด ท�ำจุดหนึง่ จะส่งผลประโยชน์ไปอีกจุดหนึง่ คิดว่าถ้าชุมชนของเราทีแ่ หลมฉบัง น�ำมาประยุกต์เชื่อว่าจะเข้มแข็งขึ้น ขอแค่คนในชุมชนของเรา ยืนหยัดด้วยตัวเองได้ คือคิดก่อนว่าฉันก็ท�ำได้ โดยไม่ต้องพึ่ง งบประมาณจากทีไ่ หนเลย พึง่ ความตัง้ ใจของตัวเองหรือความกล้า คนที่อาสาสมัครก็ต้องอาสาสมัครจริง ๆ ทุ่มเทเต็มที่จริง ๆ เมื่อ เราเต็มที่แล้วเดี๋ยวทุกอย่างจะเข้ามาเอง เหมือนที่ปากพูนนี่แหละ เขาเต็มที่กับมันจริง ๆ เขาจึงมาได้ถึงขั้นนี้
คุณอมร แสงจันทร์
ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่โจ้บ้านดิน จ.เชียงใหม่ ขอขอบคุณบริษัท ไทยออยล์ที่ให้โอกาสพวกพี่มาดูงานที่นี่ คิดว่างานที่ได้ดูครั้งนี้มีประโยชน์กับชุมชนเรามากมายที่เราจะไป ปรับใช้ในชุมชนของเรา คิดว่าพวกเราจะพัฒนาหมู่บ้านแม่โจ้ให้ เป็นหมู่บ้านต้นแบบของโซนภาคเหนือ สิ่งที่ประทับใจในการมา ดูงานครั้งนี้ เรื่องแรกคือได้ฟังแนวความคิดของอดีตท่านนายก ท�ำให้เราคิดต่อยอดได้อีกหลายเรื่อง น�ำไปปรับใช้ได้หลายเรื่องที่ แม่โจ้ อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ค้างคาใจพี่มานานมาก คือ เมื่อ สิบกว่าปีทแี่ ล้ว พีม่ เี พือ่ นอยูแ่ ถวนีแ้ ล้วพีเ่ คยมาใกล้ ๆ พระธาตุ แล้ว เห็นเขาห่มผ้าพระธาตุ พีค่ ดิ ว่าท�ำอย่างไรถึงจะได้หม่ ผ้าแบบเขาบ้าง คิดอยู่ตลอดเวลาที่มาภาคใต้ อยากท�ำสักครั้ง พอมาครั้งนี้ ได้ท�ำตามความฝันเลยประทับใจมาก
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
11
สกู๊ปพิเศษ
โดย กองบรรณาธิการ
โครงการบัญฑิตรักถิ่น สร้างคน...สร้างชุมชนเข้มแข็ง
คงไม่มีบัณฑิตจบใหม่คนไหนต้องการจากครอบครัวไปหางานท�ำต่างถิ่น หากมั่นใจว่าถิ่นฐานบ้านเกิดของตนมีงานดี รองรับอยู่ การสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานในชุมชนโดยคนในชุมชนเอง จึงเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นได้ อย่างยั่งยืน และช่วยแก้ปัญหาการกระจุกตัวของความเจริญ โครงการบัณฑิตรักถิน่ เป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลอ่าวอุดม อ�ำเภอศรีราชา และบริษทั ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) เพื่อจัดหาทุนและคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภูมิล�ำเนาอยู่ในพื้นที่ อ�ำเภอศรีราชาหรืออ�ำเภอใกล้เคียง เพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้กลับมาพัฒนาท้องถิ่นและ ดูแลประชาชนในชุมชนของตนต่อไป เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ได้จัดพิธีมอบทุนการศึกษาใน โครงการบันฑิตรักถิน่ ณ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน ครัง้ ที่ 2 ขึน้ โดยมี คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นพ.สุกจิ พึง่ เกศสุนทร ผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลอ่าวอุดม อ�ำเภอศรีราชา คณะผูบ้ ริหาร เครือไทยออยล์ คณะผูบ้ ริหารโรงพยาบาลอ่าวอุดม อ�ำเภอศรีราชา คณาจารย์ นิสติ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมประธาน คณะกรรมการชุมชนตลาดอ่าวอุดม ร่วมเป็นเกียรติในพิธี คุณสมพร กนกสิริรัตน์ หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลอ่าวอุดม เล่าให้ฟังถึงที่มาของ โครงการบัณฑิตรักถิ่นว่า คุณสมพร กนกสิริรัตน์ หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลอ่าวอุดม
12 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
“ทางโรงพยาบาลอ่าวอุดมของเราขาดอัตราก�ำลังคนเยอะ เคยได้รับการสนับสนุน ทุนการศึกษาจาก สปสช. ให้ 7 คน แต่แค่ปีเดียว ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการโอนย้าย ลาออก บางคนออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน ท�ำให้เราขาดอัตราก�ำลังคน ต่อมา บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) โดยคุณสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการบริหาร ได้ให้การสนับสนุนโครงการ บัณฑิตรักถิ่น จ�ำนวน 5 ทุน ในเบื้องต้น โรงพยาบาลหาคนเรียนได้ 3 คน โดยส่งเรียน ปีละ 30,000 บาท 4 ปี เท่ากับคนละ 120,000 บาท นอกจากนั้น ยังมีอีกโครงการหนึ่งที่ ไทยออยล์จะสนับสนุนคือการให้ทุนย้อนหลัง เด็กที่จบการศึกษาพยาบาลในปีนี้จะให้ทุน ๆ ละ 120,000 บาท จ�ำนวน 4 ทุน ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างด�ำเนินการหาคน มีตกลงกันแล้วและจะท�ำ
สัญญาให้เร็ววันนี้ โดยเขาสามารถเริ่มท�ำงานได้วันที่ 1 เม.ย. 2555 นี้เลย เด็กที่คัดมาเราก็เลือกเด็กใน ชุมชนเพื่อไม่ให้มีการโอนย้าย โครงการบัณฑิตรักถิน่ นีเ้ ป็นการร่วมมือกันทีจ่ ะดูแลชุมชน ดูแลการท�ำงาน และพัฒนาคุณภาพ ของโรงพยาบาล เรามีความรู้สึกว่า ไทยออยล์ดูแลทั่วถึงทั้งชุมชนและดูแลมาถึงโรงพยาบาลด้วย คือดู รายละเอียดของชุมชนครอบคลุมครบวงจร รูส้ กึ ขอบคุณมาก ถ้าเป็นไปได้กอ็ ยากให้ไทยออยล์สนับสนุน อย่างต่อเนื่อง จะได้รองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลเพื่อให้ดูแลคนในชุมชนนี้ได้ตลอดไป” นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาทั้ง 3 คนที่ได้รับทุนจาก เครือไทยออยล์นี้ ล้วนเป็นเยาวชนที่เกิด เรียน และเติบโตอยู่ในท้องถิ่นชลบุรี ในช่วงที่เรียนมัธยมปลาย ได้มีโอกาสไปฝึกงานที่ รพ.อ่าวอุดม ซึ่งทางโรงพยาบาลจะเป็นฝ่ายคัดเลือกเด็กที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพือ่ รับทุนโครงการบัณฑิตรักถิน่ จากไทยออยล์ เพือ่ เข้าศึกษาวิชาการพยาบาลในมหาวิทยาลัยบูรพาต่อไป น.ส.สุภชั ชา ถนอมสวย “หนูดใี จทีไ่ ด้รบั ทุนในวันนีค้ ะ่ ขอบคุณบริษทั ไทยออยล์ ทีใ่ ห้ทนุ การศึกษา หนูจะตัง้ ใจเรียนให้จบภายใน 4 ปี และจะพยายามสอบสภาการพยาบาล ให้ผา่ น คือปกติพอเราเรียนจบต้องสอบสภาการพยาบาลให้ผา่ นก่อน เพือ่ ให้ได้ใบประกอบวิชาชีพ พยาบาล พอเรียนจบหนูจะมาท�ำงานที่ รพ.อ่าวอุดม หากได้เป็นพยาบาลสมดั่งความตั้งใจ หนูจะดูแลพ่อแม่พี่น้องทุกคนเท่าเทียมกัน นะคะ จะเป็นพยาบาลที่น่ารักของทุกคนค่ะ”
น.ส. ภาวิณี วันทอง “ตอนแรกหนูไม่มีโอกาสได้เรียนพยาบาล แต่พอ รพ.อ่าวอุดมติดต่อมาว่ามีทุนจากไทยออยล์ให้เรียนพยาบาล หนูก็เลยได้เรียนคณะที่อยาก เรียนค่ะ และพอเรียนจบยังได้ท�ำงานในโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านดี ไม่ต้องไปสมัครงาน ที่อื่น ๆ บ้านหนูอยู่แถวสี่มุมเมือง มัธยมเรียนที่โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยานี่เอง หนูจะพยายามตั้งใจเรียนให้จบ และจะเป็นพยาบาลที่ดี มีความอ่อนหวาน จะพยายามยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลานะคะ” นอกจากนัน้ เครือไทยออยล์ยงั ได้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างอาคารอุบตั เิ หตุและฉุกเฉินให้กบั โรงพยาบาลอ่าวอุดม ในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโอกาสครบรอบการด�ำเนินงาน 50 ปีเครือไทยออยล์ และได้มอบทุนสนับสนุนโครงการกองทุนเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุกเพื่อชุมชน ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เพื่อตอกย�้ำถึงการเล็งเห็น ความส�ำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนรอบโรงกลั่น ดั่งที่คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า “ความผูกพันของไทยออยล์กับชุมชนไม่ใช่เป็นหน้าที่ แต่เป็นความรู้สึกแบบญาติมิตร ชุมชนได้ให้โอกาสไทยออยล์จึงด�ำเนิน ธุรกิจได้ เราอยู่ได้เพราะเรามีชุมชนที่เข้มแข็ง ชุมชนที่สนับสนุนกิจกรรมของบริษัทฯ ชุมชนซึ่งมีความรู้สึกว่าเราอยู่ด้วยกันได้ เรามี ความเอื้ออาทรกัน การด�ำเนินการที่ประสบความส�ำเร็จ เราก็ต้องคิดอยู่เสมอว่าบุญคุณที่ชุมชนได้ให้เรามา 50 ปี ตอบแทนอย่างไร คงไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ เพียงแต่วา่ โครงการเหล่านีจ้ ะเป็นโครงการทีแ่ สดงให้เห็นเจตนาทีเ่ ราจะอยูร่ ว่ มกัน และพัฒนา ชุมชนไปด้วยกันตลอดไป” ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
13
ของดีบ ้านเรา
โดย คนศรี
้ว ว ! า
ของดีแหลมฉบัง
ใครไปใครมาแวะแถวแหลมฉบังต้องเห็นร้านขายอาหารทะเลแห้งอยู่สอง ข้างทาง ทีเ่ รียงรายมากมายอยูห่ น้าร้านส่วนใหญ่กค็ อื ปลาหมึก ของดีบา้ นเราฉบับนี้ จึงขอแนะน�ำของอร่อยใกล้ตัว แต่มีเรื่องมากมายที่เราอาจจะยังไม่รู้
หมึกสด หมึกแห้ง มาแล้วจ้า !
คุณรูไ้ หมว่า ปลาหมึกไม่ใช่ปลา แต่เป็นสัตว์นำ�้ จ�ำพวกเดียวกับหอย! แถมเป็น สัตว์กนิ เนือ้ เสียด้วย ถ้าดูทางสรีระวิทยา เขาจัดให้เป็นสัตว์กลุม่ เดียวกับหอย แต่ใน ส่วนของพฤติกรรมจะคล้ายกับสัตว์จ�ำพวกปลา เพราะว่องไวและเคลื่อนที่ได้เร็ว ทางวิชาการถือว่าปลาหมึกเป็นสุดยอดของวิวัฒนาการในกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีกระดูก สันหลัง เพราะว่าสติปัญญาของปลาหมึกมีการพัฒนาเทียบเท่าได้กับสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม เมื่อเทียบแล้วมีความฉลาดเท่ากับสุนัขเลยทีเดียว หลายคนคงจะนึกถึง เจ้าพอลหมึกยักษ์ที่โด่งดังจากการทายผลฟุตบอลโลกกันได้ ฟังอย่างนีแ้ ล้วเกือบจะไม่กล้ากินเสียแล้วค่ะ แต่อย่าเพิง่ ตกใจไป ปลาหมึกทีว่ า่ ฉลาด ๆ นัน้ ไม่ใช่ชนิดที่เราเอามากินกันค่ะ ประเทศไทยขณะนี้ส�ำรวจพบสายพันธุ์ปลาหมึกประมาณ 80 ชนิด แต่ชนิดที่คนนิยมกินกันมีแค่ 4 ชนิด ได้แก่ หมึกกระดอง (Rainbow Cuttlefish) ลําตัวเป็นถุงรูป ไข่ ครีบลักษณะเป็นแผ่นกล้ามเนื้อคลุมลําตัวเกือบทั้งหมด กระดองรูปคล้ายใบหอกที่เรียกกันว่า ลิ้นทะเล พบได้ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ชนิดที่ 2 คือ หมึกหอมหรือหมึกตะเภา (Soft Cuttlefish) ลําตัวรูปทรงกระบอก ครีบ ข้างลําตัวทั้ง 2 ด้านกว้างและแบนยาวเกือบตลอดลําตัว ดูเผิน ๆ คล้ายหมึกกระดอง ต่างกัน ที่กระดองหมึกหอมจะเป็นแผ่นใส เห็นเส้นกลางกระดองได้ชัดเจน หนวดรอบปากมี 10 เส้น ลําตัวดูใสมีสีนํ้าตาลเข้มอมแดงประเป็นจุดอยู่ทั่วไป ไข่หมึกมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ อีกชนิดคือ หมึกกล้วย (Splendid Squid) รูปร่างยาวเรียว ลําตัวกลม ครีบเป็นสามเหลี่ยมอยู่ด้านท้าย ลําตัวมีกระดองใสเหมือนแผ่นพลาสติก พบทั่วไปในอ่าวไทย ชนิดสุดท้าย คือ หมึกยักษ์หรือหมึกสาย (Dollfus’ Octopus) ลําตัวกลมคล้าย ลูกโป่ง ไม่มีครีบ ไม่มีกระดอง มีหนวด 8 เส้น หน้าตาเหมือนในหนัง เพียงแต่ชนิดนี้ ตัวเล็กกว่ามาก ๆ ประมาณ 6-12 เซนติเมตร ชอบซ่อนตัวอยู่ตามพื้นที่เป็นโคลนหรือ โคลนปนทราย พบมากบริเวณชายทะเลทัว่ ไป บางชนิดมีตอ่ มพิษทีเ่ ป็นอันตรายถึงชีวติ ได้
14 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
คุณรู้ไหมว่า แหลมฉบังของเรามีปลาหมึกสด ๆ แทบทุกวัน แล้วจึงแปรสภาพเป็น หมึกแห้งชัน้ ดีมาให้คณุ เอร็ดอร่อยกัน แต่ตอนนีอ้ าชีพเก่าแก่อย่างท�ำหมึกแห้งเริม่ ล�ำบากขึน้ ทุกที เพราะไม่มีแรงงาน การท�ำปลาหมึกแห้งไม่ใช่เรื่องง่าย ปลาหมึกที่ได้มาต้องน�ำมาล้างน�้ำทะเล ออกถึง 3 รอบ แล้วน�ำมาเรียงตากทีละตัวให้แห้ง เดี๋ยวนี้เจ้าของเรือไดหมึกต้องมาช่วยกันตาก เอง กว่าจะตากเสร็จสัก 100 ตัว ใช้เวลาเกือบชั่วโมงทีเดียว แล้วรู้ไหมคะว่า เราควรเลือกซื้อปลาหมึกแห้งอย่างไร ค�ำถามนี้ต้องให้คนแหลมฉบัง ตอบให้คะ่ ไปถามไถ่ได้ความว่าก่อนอืน่ ต้องดูให้ออกว่าหมึกนัน้ จับมาแบบไหน ถ้าเป็นหมึกจาก เรือได หนังจะครบ ไม่มรี อยถลอก หมึกเรือไดนีค้ อ่ นข้างจะสดใหม่กว่า เพราะไม่ตอ้ งออกเรือไกล เหมือนหมึกเรือลากซึ่งมักจะหนังถลอก
ถ้าดูหนังไม่ออกให้ดูที่ราคา หมึกบ้านหรือหมึกที่คนแหลมจับเอง ตากเอง ราคาจะสูงกว่าหมึก ตลาดทั่วไปประมาณ 10-20 บาท เพราะใหม่กว่า สดกว่า ส่วนวิธีเลือกให้ดูตัวที่ใส ๆ สีอ่อนแสดงว่า หมึกนั้นสดใหม่ เพิ่งตากแห้งมา แต่ต้องดูด้วยว่าชอบกินแบบไหน ถ้าชอบกินแบบที่ทอดกรอบให้เลือก หมึกแบบที่แห้งมาก ๆ คือแบบที่แกะเป็นตัว ๆ แล้วมากองรวมกัน แต่ถ้าชอบแบบเนื้อนุ่ม เคี้ยวหนึบ ให้เลือกแบบที่เป็นมัด ๆ เอาตัวใส ๆ ถ้าขึ้นเป็นนวลขาวนั้นไม่ใช่รานะคะ แต่เป็นนวลหมึก ถ้าตากไว้ สักพักมักจะขึ้นนวลค่ะ ส่วนหมึกที่เราเห็นตัวโต ๆ นี้คือหมึกกล้วย บางทีเรียกว่าหมึกศอก เพราะแค่ตัวก็ยาวเกือบศอก พอดี ตอนสด ๆ นั้นใหญ่มาก ถ้าวัดแบบรวมหนวดด้วยก็ยาวเกือบเมตรครึ่ง แต่พอแห้งหดเหลือแค่ เมตรเดียว พวกหมึกนี้ถ้าอบเตาจะเบากว่าแบบตากแห้ง เวลาทอดจะกรอบมากเป็นพิเศษ แนะวิธีเลือกซื้อของดีไปแล้ว ถ้าจะให้อร่อยจริงต้องปิดท้ายด้วยเคล็ดลับวิธีทอดหมึกให้อร่อย คือ ใช้น�้ำมันเยอะ ๆ แล้วไฟแรง ๆ เทหมึกลงไปคน ๆ พอให้ทั่วครู่เดียวแล้วเอาขึ้นเป็นใช้ได้ รับรอง รสชาติดีแน่นอน แต่ถ้าเป็นหมึกไข่ใช้น�้ำมันเยอะเช่นเดียวกัน ดูว่าหมึกลอยในน�้ำมันได้ แต่ใช้ไฟอ่อน ทอดพอเหลืองให้เอาขึ้น ปลาหมึกจะสุกต่อด้วยความร้อนเองบนจานอีกนิด จะอร่อยพอดีกินค่ะ...แต่ อย่ากินเพลินจนลืมออกก�ำลังกายนะคะ เป็นห่วงค่ะ
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
15
บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ โดย ตั๊กแตน
พิธีปิดหลักสูตรมาตรฐานกระโดดเชือก ไทยออยล์ รุ่นที่ 1และมอบเสื้อสามารถ ให้แก่ผู้ที่ผ่านการทดสอบถึงระดับ 5
หลังจากที่เครือไทยออยล์ได้จัดการแข่งขันกระโดดเชือก Thaioil Rope Skipping Championship ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 เพื่อให้เกิด การตื่นตัวและคัดเลือกเยาวชนไปร่วมแข่งขันกระโดดเชือกชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ช่วงปลาย ปี 2554 แต่เนื่องจากภัยพิบัติน�้ำท่วม ท�ำให้ต้องเลื่อนการแข่งขันมาถึงต้นปี 2555 ซึง่ ต่อมาได้ยกเลิกการแข่งขันไปในทีส่ ดุ แต่เด็ก ๆ ไม่ตอ้ งเสียใจครับ การแข่งขัน ที่ทุกคนเฝ้ารอจะจัดอีกครั้งปลายปีนี้นะครับ น่าชื่นใจที่เยาวชนของเรายังคงให้ความสนใจการกระโดดเชือก กระตือรือร้นในการ ฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง บางโรงเรียนจัดให้กีฬากระโดดเชือกเป็นหลักสูตรในวิชาพละ โดยที่ ไทยออยล์และคณะครูพละจากโรงเรียนน�ำร่องทั้ง 5 โรงเรียน ได้แก่ รร.วัดใหม่เนินพยอม รร.วัดแหลมฉบัง รร.เทศบาลแหลมฉบัง 2 รร.วัดมโนรม และ รร.บ้านชากยายจีน ยังคง จัดกิจกรรมกระโดดเชือกอย่างต่อเนื่อง การฝึกอบรมหลักสูตรมาตรฐานกระโดดเชือกไทยออยล์ระหว่างพฤศจิกายน 2554กุมภาพันธ์ 2555 มีนักเรียนเข้าร่วมประมาณ 150 คน ในโอกาสนี้ยังได้จัดให้มีกิจกรรม อีก 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การตรวจวัดสมรรถภาพร่างกายนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม กระโดดเชือก ก่อนเริ่มเล่นและหลังเล่นกีฬากระโดดเชือกเป็นระยะทุกเดือนเป็นเวลา 3 เดือน (ตุลาคม-ธันวาคม 2554) ได้รับความร่วมมือจากทีมงานสนับสนุนเครือข่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลอ่าวอุดม ช่วยตรวจวัดสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งผลการตรวจสมรรถภาพร่างกาย พบว่าเด็กส่วนใหญ่มสี มรรถภาพร่างกายในด้าน ต่าง ๆ ดีขนึ้ เช่น ความอดทน ความอ่อนตัวของ กล้ามเนื้อ ความสูงเพิ่มขึ้น
16 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
กิจกรรมที่ 2 การสอบเทียบระดับความสามารถตามมาตรฐานกระโดดเชือก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ เยาวชนฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองไปถึงระดับที่สูงขึ้น เครือไทยออยล์ได้ออกแบบร่วม กับคณะครูพละ 5 โรงเรียนด้วยค�ำแนะน�ำของมูลนิธิหัวใจฯ ผลการทดสอบมีเด็กที่ผ่านการทดสอบถึงระดับ 5 จ�ำนวน 83 คน และเด็กที่เข้าร่วมเพิ่มเติมภายหลัง สอบได้ในระดับ 3-4 จ�ำนวน 24 คน ซึ่งสามารถเข้าร่วมการ ฝึกอบรมและสอบเทียบระดับมาตรฐานที่จะจัดให้มีขึ้นอีกในช่วงปีการศึกษาหน้า วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2555 ได้จัดพิธีปิดโครงการ อบรมหลักสูตรมาตรฐานกระโดดเชือกไทยออยล์ มอบเสือ้ สามารถพร้อมแถบสีและวุฒิบัตร แสดงระดับมาตรฐาน ที่เด็ก ๆ สามารถผ่านการทดสอบถึงระดับ 5 และมอบ เสื้อรักษ์ชุมชนให้แก่เด็กที่ยังไม่ได้ถึงระดับ 5 ในพิธปี ดิ โครงการในวันนัน้ มีผใู้ หญ่ใจดีมาร่วมเป็น เกียรติและมอบเสื้อสามารถ วุฒิบัตร ได้แก่ พลเอก นายแพทย์ประวิชช์ ตันประเสริฐ กรรมการบริหารมูลนิธิ หัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธาน โครงการกระโดดเชือก และคุณยุทธนา ภาสุรปัญญา ผูจ้ ดั การฝ่ายผลิต โรงกลัน่ ไทยออยล์ ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนเทศบาล แหลมฉบัง ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลอ่าวอุดม และผู้น�ำชุมชน 7 ชุมชน คณะครูโรงเรียนน�ำร่องจัดแสดงกระโดดเชือกลีลาประกอบเพลงเพื่อเป็นตัวอย่างแก่เด็ก ๆ เนื่องจาก ศูนย์สุขภาพฯ จะจัดให้มีการประกวดกระโดดเชือกลีลาประกอบเพลง หรือ Thaioil Music Rope Skipping Contest ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม ซึ่งเด็ก ๆ สามารถรวบรวมกลุ่มเป็นทีม ๆ ละ 10-15 คน เลือกเพลง และฝึกซ้อมเพือ่ เข้าประกวด ติดตามรายละเอียดทีจ่ ะประชาสัมพันธ์ให้นอ้ ง ๆ ได้รบั ทราบในช่วงเปิดเทอมต่อไป
ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
17
กระบอกเสีย งชุมชน โดย ดอกลำ�โพง
มงคล สุวรรณกล่อม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดมโนรม
ชุมชนเราต้องรู้ให้เท่าทัน อย่าให้บางเรือ่ งมาแทรกแซง จนแตกเป็นเสี่ยง ๆ กระบอกเสียงชุมชนฉบับนี้เต็มไปด้วยความห่วงใยจาก อาจารย์มงคล สุวรรณกล่อม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดมโนรม แม้อาจารย์มงคลจะไม่ใช่คนแหลมฉบังโดยก�ำเนิด แต่กว่าครึ่ง ชีวิตนับตั้งแต่รับราชการครูมาเมื่ออายุ 21 ปี อยู่ในพื้นที่มาตลอด จนถึงวันนี้ จากที่เคยประจ�ำอยู่ที่อยู่โรงเรียนวัดแหลมฉบังมา 18 ปี ปัจจุบันย้ายมาเป็นผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดมโนรมได้กว่า 2 ปีแล้ว ท�ำให้อาจารย์มงคลเห็นความเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ความเปลีย่ นแปลงเป็นสิง่ ทีห่ ยุดไม่ได้ สิง่ ทีเ่ สียไปเพือ่ แลกกับ กับชุมชนของเรามาตลอด ความเจริญนั้น นอกจากฐานชีวิตของคนในชุมชนที่เปลี่ยนจาก การพึง่ น�ำ้ แรงตนเองในภาคเกษตรมาเป็นการพึง่ ระบบเงินเดือนใน ภาคอุตสาหกรรมแล้ว สิ่งที่อาจารย์มงคลอยากสะท้อนภาพด้วย ความห่วงใย คือ ฐานจิตใจ “พื้นฐานเดิมของคนที่นี่เป็นคนมีน�้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ ปัจจุบันกลายเป็นมือใครยาวสาวได้สาวเอาจนน่าเป็นห่วง สังคม ที่เปลี่ยนไปท�ำให้คนต่างคนต่างอยู่เห็นแก่ได้มากขึ้น บทบาทของ โรงเรียน ผมต้องพยายามท�ำให้เด็กเห็นสิง่ ดีงามทีม่ อี ยูเ่ ดิม ต้องพา พวกเขาลงไปสัมผัส ไปลงชุมชน และเมื่อผมลงไปก็ต้องตกใจว่า เดี๋ยวนี้ครอบครัวกว่าครึ่งหนึ่งมีสภาพที่เรียกว่าบ้านแตก สามี ภรรยาไม่ได้อยู่ด้วยกัน บ้างหย่าร้าง บ้างต้องไปท�ำงานไกลบ้าน “โรงเรียนวัดมโนรมหรือโรงเรียนวัดแหลมฉบังนี้จัดว่าเป็น ในสังคมทีม่ อื ใครยาวสาวได้สาวเอาและพ่อแม่ไม่มเี วลาดูแลเด็ก ๆ โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนเมืองที่เจริญ เพราะภาคอุตสาหกรรม ย่อมมีปัญหาแน่นอน” ชุมชนเริม่ เปลีย่ นไปตัง้ แต่ป ี 2535 ทีเ่ กิดนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ถ้าย้อนหลังไปกว่านั้น ชุมชนของเราแทบทั้งหมดท�ำมาหากินอยู่ ปัญหาทีอ่ าจารย์มงคลเป็นห่วงทีส่ ดุ คือเด็กเล่นเกม ปัจจุบนั ในภาคเกษตร แต่พอความเจริญเข้ามา ชีวิตทุกคนเริ่มเปลี่ยนไป ในชุมชนมีรา้ นเกมจ�ำนวนมากทัง้ ของคนในพืน้ ทีแ่ ละคนนอกพืน้ ที่ โดยเฉพาะคนทีท่ ำ� ประมงและเกษตรกรรมในพืน้ ทีน่ คิ มอุตสาหกรรม และมีเรื่องผลประโยชน์คือรายได้ ท�ำให้ความพยายามที่จะแก้ หลายครอบครัวปรับตัวไม่ได้ ชาวบ้านจ�ำนวนไม่น้อยขายที่ทิ้งไป ปัญหาจากต้นทางเป็นเรื่องยาก อยู่ที่อื่น คนนอกพื้นที่อพยพเข้ามาอยู่แทน ผ่านมาแค่ 20 กว่าปี “บางร้านไม่มีจรรยาบรรณ ให้เด็กเปลี่ยนชุดนักเรียนก่อน คนในต�ำบลทุง่ สุขลาหรือรอบโรงกลัน่ นีเ้ ปลีย่ นไปมากจนเกิดสภาพ แล้วนัง่ เล่นได้ บางร้านยอมให้เด็กติดหนี้ สะสมยอดหนีไ้ ปเรือ่ ย ๆ สังคมเมืองอย่างทุกวันนี้” จนมีโอกาสที่อาจจะล่อลวงเด็กไปท�ำสิ่งอื่นต่อไปอีก โรงเรียนได้
18 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
... ผมคิดว่าต้องท�ำกิจกรรมที่มีโอกาสได้ร่วมกันบ่อย ๆ อยากให้ทุกคนในชุมชนมารวมกันให้ ได้ พยายามไปคุยกับร้าน ซึง่ ยากมาก พยายามประสานงานกับพ่อแม่ ถ้าเรื่องยังไม่ถึงที่สุด บางคนกลับมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา บาง คนบอกว่าไม่มีเวลา ผมเข้าใจว่าถ้าผู้ปกครองท�ำงานในโรงงาน อุตสาหกรรม เขาจะขาดงานหรือลางานบ่อย ๆ ไม่ได้ เดี๋ยวโดน ไล่ออก ส่วนพ่อแม่อีกไม่น้อยที่มีความคิดว่า ลูกมาโรงเรียนแล้ว ต้องปลอดภัย 100% แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเวลาที่เด็กอยู่ที่ โรงเรียนแค่ 6-7 ชั่วโมงเท่านั้น ที่เหลือเด็กอยู่บ้าน ถ้าพ่อแม่ให้ แต่เงิน ไม่ได้ดูแล ลูกแต่งตัวมาโรงเรียนแต่ไม่ถึงโรงเรียนก็ไม่รู้ ตอนนี้โรงเรียน ประธานชุมชน และอีกหลาย ๆ หน่วยงาน พยายามช่วยกันอยู่ แต่สู้ความพลิกแพลงของร้านเหล่านี้ไม่ไหว เจ้าหน้าที่ต�ำรวจก็พยายามช่วย แต่ต�ำรวจเองก็งานเยอะ ผมจึง อยากบอก อยากขอร้องว่า พ่อแม่นี่ส�ำคัญมากต้องคอยดูแล ลูก ของเรากลับตรงเวลาไหม เงินให้ไป ไปใช้ท�ำอะไรบ้าง ถ้าพ่อแม่ ดูแลลูกอย่างทั่วถึงปัญหาตรงนี้จะลดน้อยลง เรือ่ งยาเสพติดก็ไม่นอ้ ยไปกว่าเกม คนในชุมชนก็รดู้ ี แต่ไม่มี ใครกล้าแตะเพราะอันตราย ผมถึงอยากบอก อยากขอให้ทุกคน ในชุมชนหันกลับมารักใคร่กลมเกลียว อย่าแตกสามัคคีกันเลย ถ้ายิ่งแตก ปัญหายิ่งแก้ไม่ได้ แล้วลูกหลานของเรา ชุมชนของเรา จะเป็นอย่างไร
ปัจจุบันบางหมู่บ้าน จัดกิจกรรมอย่างงานสงกรานต์ขึ้น ก็จะมีคน อีกกลุ่มหนึ่งไม่เข้าร่วม เป็นอย่างนี้กันไป น่าเป็นห่วงมาก ผมจึง เห็นว่าต้องช่วยกันท�ำความเข้าใจ รู้เท่าทันสิ่งที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น ผมคิดว่าต้องท�ำกิจกรรมที่มีโอกาสได้ร่วมกันบ่อย ๆ อยาก ให้ทุกคนในชุมชนมารวมกันให้ได้ คนกลางที่มีบทบาทอยู่เสมอ อย่างไทยออยล์นี้ ผมต้องขอบคุณมาก กว่า 20 ปีเท่าทีผ่ มสัมผัสมา พิสูจน์ว่า ไทยออยล์เป็นภาคเอกชนที่มีความจริงใจในการท�ำงาน กับชุมชน ท�ำต่อเนือ่ ง สม�ำ่ เสมอ คิดงานใหม่ ๆ ลงมาสูช่ มุ ชนและ โรงเรียนตลอด แต่ก่อนท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้มาช่วยกัน ท�ำเรื่องส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนซึ่งยิ่งดีมากขึ้นไปอีก อยากให้ บริษัทภาคเอกชนอื่น ๆ ท�ำแบบนี้บ้าง ถ้าโรงงานต่าง ๆ ในนิคม อุตสาหกรรมทั่วประเทศท�ำอย่างไทยออยล์ ภาคอุตสาหกรรมจะ ไม่มีปัญหากับภาคชุมชนเลย” นี่คือเสียงของอาจารย์ท่านหนึ่งที่อยู่กับเด็ก อยู่กับชุมชน มานาน และมองเห็นปัญหาใหญ่ทสี่ ง่ ผลถึงอนาคตของเด็ก กระบอกเสียง ชุมชนฉบับนีจ้ งึ เต็มไปด้วยน�ำ้ เสียงแห่งความห่วงใย ทีอ่ ยากร้องขอ ดัง ๆ ให้ทกุ คนได้ยนิ และเชือ่ มัน่ ในพลังของความสามัคคี ถ้าทุกคน รวมกันได้ ทุกอย่างจะแก้ไขได้ไม่วา่ ปัญหานัน้ จะยากแค่ไหนก็ตาม
ต้องยอมรับว่าชุมชนเราก�ำลังจะแตก เพราะรู้ไม่ เท่าทัน เดี๋ยวนี้เราไม่มีผู้ใหญ่บ้านที่ท�ำหน้าที่พ่อบ้าน ด้วยหัวใจอย่างเมื่อก่อน แต่การบริหารจัดการท้องถิ่น แบบที่แบ่งเป็นชุมชนอย่างที่เทศบาลนครแหลมฉบังท�ำ อยู่นี้ ผมว่าดีแล้ว เพียงแต่การเมืองที่เป็นรูปแบบมาก ขึ้น ถ้าเรารู้ไม่ทันก็จะมีผลเสีย ตอนนี้เลือกตั้งทีก็มัก มีเรื่องผิดใจ ขัดแย้ง จนกลายเป็นความแตกแยก ต้องยอมรับว่าชุมชนเราไม่เท่าทันพอทีจ่ ะเห็นว่าความ สามัคคีก�ำลังจะหายไปแล้วนะ ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
19
ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม ศรีนวลซีฟู๊ด คุณค่าที่มากกว่าความอร่อย
โดย หงวน ชวน ชิม
ในแดนดินถิน่ ริมเลอย่างนีไ้ ม่ยากเลยทีจ่ ะหาร้านอาหารทะเลทีร่ บั ประกัน ความสด ยากขึน้ อีกหน่อยก็ตรงหาร้านทีอ่ ร่อยและราคาคุม้ ค่า แต่หายากจริง ๆ ที่จะพบร้านที่มีคุณค่ามากกว่าความอร่อย และแล้วเราก็พบกับศรีนวลซีฟู๊ด ร้านอาหารทะเลเก่าแก่ขึ้นชื่อของหาดบ้านอ�ำเภอ เจ้าของร้านคือ คุณศรีนวล มากมี ลูกทะเลขนานแท้ เกิดและโตทีบ่ า้ นอ�ำเภอ กินนอนกับเรือมาตัง้ แต่จบ ป.7 เป็นไต้กง๋ จับปลาอยูใ่ นทะเลมาเกือบ 17 ปีเต็ม เกือบเต็มจริง ๆ เพราะเดือนหนึง่ อยู่ฝั่งไม่กี่วัน ก่อนจะพลิกชีวิตหันมาท�ำร้านอาหาร เพราะหลังจากพายุเกย์ แรงงานหายากขึ้น ปัญหาเยอะ “ผมเป็นคนแรกในบ้านอ�ำเภอที่เปิด ร้านอาหาร สมัยนั้นใช้ชื่อว่า ทะเลซีฟู๊ด ถือเป็นร้านแรกในละแวกนี้ ตอนเปิดใหม่ มีแต่คนปรามาสว่าจะขายได้หรือ จะมีใคร มากิน เพราะเมื่อ 20 กว่าปีก่อนไม่ค่อยมี ใครท�ำร้านอาหาร ที่นี่เป็นเพียงหมู่บ้าน ชาวประมงเล็ก ๆ แต่เปิดวันแรกแทบไม่มี โต๊ะนัง่ เปิดได้หนึ่งเดือนเริ่มมีคนกรุงเทพฯ ทยอยมากิน แขกเยอะมากจนเห็นแขกเข้า ร้านแล้วอยากจะไล่วา่ พอได้แล้ว มันเหนือ่ ย เพราะผมท�ำครัวเอง”
20 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
ปลาหมึ ก ผั ด ไข่ เ ค็ ม สู ต รเฉพาะของ คุณศรีนวลที่ ไ ม่ ใ ช้ น�้ ำ มั น เลยในการผั ด แต่ ล ะจานรสชาติ เ ข้ ม ข้ น เพราะใช้ ทั้ ง ปลาหมึกสด ๆ ทีห่ วานกรอบ ผัดคลุกเคล้า กับไข่แดงเค็มชั้นดีนับ 10 ฟอง ที่ท�ำเอง ตั้งแต่เลี้ยงเป็ด เก็บไข่ ดองไข่จนได้ที่ กินแล้วรู้สึกได้ถึงความหอมมัน นุ่มลิ้น นวลปากจนไม่อยากอิ่ม นอกจากนี้ ยังมี เมนูที่ท�ำจากของทะเลสด ๆ อีกมาก ทั้ง ปลาเก๋าแดง (กุดสลาด) นึ่งซีอิ๊ว ปลาหมึก ถึ ง วั น นี้ ร ้ า นศรี น วลซี ฟู ๊ ด อายุ แดดเดียว ปลากระพงทอดราดน�้ำปลา เกือบ 20 ปีได้ มีถึง 140 โต๊ะ เมนูเด็ดมี (น�้ำปลาแท้หมักเอง) กั้งแก้วผัดพริกเกลือ มากมายที่โดดเด่นมากใครมาต้องสั่ง คือ อย่างหลังนี้อร่อยจนหยุดไม่ได้ ใครไม่เคย กินขอท้าให้ลองค่ะ กั้งตั๊กแตนตัวโตเนื้อ หนาผัดแบบไม่มีน�้ำมัน ให้ได้รสหวานของ กั้ง เคล้าเข้ากับเกลือและความเผ็ดหอม ของพริกไทยและพริกขี้หนูสด เมนูเด็ดยัง ไม่หมด มาครัง้ เดียวไม่พอค่ะต้องมาอีก มาชิม ต้มย�ำแห้ง ปลากุเลาพล่า ซึ่งเจ้าของร้าน ออกเรือหาเอง เมนูนี้แล้วแต่โชคค่ะ นานที “ร้านสไตล์ที่เอาปู ปลาเป็น ๆ มา ให้เลือกยังไม่มีใครท�ำมาก่อน ผมเปิดได้ แค่ปีเดียวก็ท�ำแทบไม่ไหว มีแค่ 30-40 โต๊ะ แต่คนยังมายืนคอย ช่วงแรกนี้ท�ำเป็น ลักษณะกงสีกับครอบครัวได้ประมาณ 3 ปี จึงแยกออกมาท�ำเองตรงที่ปัจจุบันนี้ แล้ว ถึงใช้ชื่อว่า ศรีนวลซีฟู๊ด แต่ก่อนเป็นที่เช่า พอเจ้าของบอกขายผมซื้อไว้แล้วปรับปรุง พัฒนามาเรื่อย ๆ”
ถึงจะมีให้กิน เรื่องราคาก็ไม่แพง ทุกจาน สมเหตุ ส มความอร่ อ ย นอกจากนี้ ยั ง มี คุณค่าทีป่ ระเมินราคาไม่ได้อกี ด้วยวิสยั ทัศน์ วิธีคิด วิธีบริหารจัดการของคุณศรีนวล ที่ไม่เคยหยุดเรียนรู้ เพราะความอร่อย เพียงอย่างเดียวไม่อาจท�ำให้ร้านใหญ่อยู่ ได้อย่างมั่นคง “ทุกวันนี้ที่ร้านอาหารอยู่ได้ เพราะ ผมพยายามลดต้นทุนทุกอย่าง ยิ่งช่วงหลัง เศรษฐกิ จ ไม่ ค ่ อ ยดี นั ก เรายิ่ ง ต้ อ งรู ้ จั ก ดูแลตัวเอง อย่างพนักงานที่ร้านมีทั้งหมด เกือบ 80 ชีวิต ต้องกินต้องใช้ ผมจึงเลี้ยง เป็ด ปลูกผัก จับปลาเอง อย่างน้อยก็ทุ่น ค่าอาหาร อีกอย่างร้านอาหารไม่ได้มีช่วง คนแน่นตลอด บางทีกลางวันไม่ค่อยมีคน แต่เราต้องมีพนักงานไว้เพื่อส�ำรองเวลา แขกเยอะ เพราะฉะนั้นเวลาที่ว่างผมจึงให้ พวกเขาช่วยปลูกผัก เลี้ยงเป็ด ดูแลต้นไม้ หรือไม่ผมก็พาไปออกทะเลไปจับปลากัน เป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลนัน่ เอง ทีน่ ี่ นอกจากจะเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ยังท�ำไข่เค็ม เอง กะปิ น�ำ้ ปลาก็ทำ� เอง น�ำ้ ปลานีผ้ มออก เรือไปได้ปลากุแลน�ำมาหมักไว้เกือบ 2 ปีได้ รสชาติดีทีเดียว” เพราะท�ำเอง ปลูกเอง จึงได้วัตถุดิบ ชั้ น ดี ม าเสิ ร ์ ฟ ขึ้ น โต๊ ะ สองปี ห ลั ง ตั้ ง แต่ คุณศรีนวลเริ่มปลูกผักบุ้งเอง ใครมาก็ต้อง สั่งผักบุ้งไฟแดง เพราะจะได้ผักบุ้งใหม่ ๆ เพิง่ ถอนจากแปลง ต้นอ่อนหวานกรอบ สด เช่นเดียวกับของทะเล ไม่มีสารพิษ เพราะ คุณศรีนวลสัง่ ลูกน้องเก็บเศษผัก เปลือกกุง้ ปู มาท�ำน�้ำหมักชีวภาพ เป็นปุ๋ยชั้นดีไว้ใช้
ด้วย พริก มะนาวก็ไม่ตอ้ งซือ้ ไม่ตอ้ งกังวล มาถึงครัวก็แค่ลา้ ง หัน่ แล้วลงกะทะ ไฟแดง ฟู่ทีสองทีก็ได้จานอร่อยแล้ว หากโชคดี จะได้ชิมฝีมือคุณศรีนวลเชฟกะทะเหล็ก ตัวจริงลงตะหลิวเองเช่นเดียวกับครั้งนี้
ประมาณ 800 กว่าหลอด ผมเป็นคนชอบ ศึกษา เริ่มดูเรื่องพลังงานลม เพราะเราอยู่ ใกล้ทะเล มีลมเยอะ ผมติดกังหันลม 6 ตัว ได้ไฟเหลือเฟือส�ำหรับหลอดไฟทั้งร้าน ลด ค่าไฟไปไม่ต�่ำกว่าสามหมื่นบาทต่อเดือน ที่ยังใช้ไฟหลวงแค่เครื่องที่เป็นมอเตอร์ คุณค่าที่มากกว่าความอร่อยจึงอยู่ เท่านั้น ตรงที่มีแนวคิดพึ่งตนเอง รู้จักหมุนเวียน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพราะเป็นธุรกิจ การใช้กังหันลมนั้นต้องดูแล ผมพอ ร้านอาหารจึงสร้างแหล่งอาหารของตนเอง รู้เรื่องช่างเลยดูแลเองทุกอย่าง ถ้าไม่ดูแล เป็นฐานหนุน แค่นี้ยังไม่พอ ยังมีฐานคิด ดี ๆ พายุแรง ๆ ปีกหักตกไปกลางถนนก็ เรื่องการประหยัดและการอนุรักษ์อีกด้วย มี หรือถ้าไฟมากเกินตัวควบคุมมันจะร้อน คุ ณ ศรี น วลศึ ก ษาเรื่ อ งพลั ง งานทดแทน เกิดเสียหายได้ ผมค่อย ๆ ลงทุน เดือนละ และยินดีลงทุนติดตั้งกังหันลมเพื่อสร้าง ตัว ตัวละประมาณ 200,000 บาท ค่อย ๆ พลังงานไฟฟ้าใช้เอง ท�ำไป ติดแล้วต้องดูแลนะ ลูกค้ามากิน เขาชอบมาถาม เราก็อธิบายไป ให้เบอร์ “เริ่มจากคิดแค่ว่าต้องพยายามลด ไปติดต่อ ผมเลยเหมือนพรีเซนเตอร์ช่วย ต้นทุน เห็นว่าเสียค่าไฟทีบางเดือนเกือบ เผยแพร่ด้วย” แสน ผมมีห้องเย็นขนาดใหญ่จุของทะเล ได้เป็นตัน ตู้นี้ตู้เดียวกินไฟเป็นหมื่น ผม ร้านศรีนวลจึงมีเรื่องราว มีคุณค่า มาคิดดูเวลาจะหยิบปลา 5 กิโล แต่ไป ที่มากกว่าความอร่อย ที่ต้องช่วยกันบอก เปิดครั้งหนึ่งเสียไฟ เสียพลังงานไม่คุ้มกัน ต่อ นอกจากมาอิ่มอร่อยแล้วยังได้รับรู้ว่า ผมเลยเปลี่ยนเป็นตู้เล็ก ส่วนหลอดไฟผม การรักษ์โลกของเรานั้นท�ำได้ และยิ่งท�ำก็ เริ่มจากเปลี่ยนมาใช้หลอดตะเกียบทั้งร้าน ยิ่งได้ค่ะ
เส้นทางถนนสุขมุ วิท หลักกิโลเมตรที่ 159 ห่างจากชลบุรปี ระมาณ 66 กิโลเมตร จุดสังเกตให้กลับรถด้านหน้าของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ขับย้อนขึน้ มาโดยชิดขอบถนน ด้านซ้ายมือไว้ถึงทางเข้าหาดบ้านอ�ำเภอ ตรงไปสังเกตกังหันลมและศาลเจ้า ร้านอยู่ ด้านหลังติดริมทะเล เปิดบริการทุกวันตั้งแต่ 10.00-22.00 น. จองโต๊ะล่วงหน้า โทรศัพท์ 0 3823 7783, 0 3870 9373
ขอบคุณ ภาพถ่ า ยชายหาดบ้ า นอำ � เภอยามเย็ น ของคุ ณ ศุ ภ กิ จ จากhttp://www.thaidphoto.com/forums/show thread.php?t=30062 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
21
โดย น นุช ณ บางเลน
พนักงานจิตอาสา
เครือไทยออยล์
ร่วมสร้างบล็อกดินและสร้างแนวกันไฟป่าอนุรักษ์ป่าต้นน�้ำ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ ยี งิ่ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ บ้านแม่โจ้ เมือ่ พนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ลง พืน้ ทีน่ �ำร่อง ร่วมสร้างแนวกันไฟป่าร่วมกับชุมชนบ้านแม่โจ้ เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน�้ำบริเวณอ่างเก็บน�้ำห้วย แม่เลิม ที่จะน�ำไปผลิตกระแสไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ำบ้านแม่โจ้ ณ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26-29 มกราคมที่ผ่านมา ถึงแม้คณะผู้เริ่มบุกเบิกจะเป็นเพียงพนักงานกลุ่มเล็ก ๆ แต่ ความสุขและความอบอุ่นใจที่ทุกคนได้รับจากการท�ำประโยชน์เพื่อสังคมครั้งนี้ไม่ได้เล็กเลย ออกเดินทางด้วยใจมุง่ มัน่
เวลาประมาณ 06.00 น. พนักงานจิตอาสา เกื อ บ 20 ชี วิ ต พร้ อ มกั น บนรถตู ้ มุ ่ ง สู ่ จ.เชียงใหม่ ด้วยหัวใจที่เกินร้อย ภายใต้ ภารกิจส�ำคัญ คือ การสร้างแนวกันไฟป่า และเตรียมบล็อกดินส�ำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้า พลังน�้ำบ้านแม่โจ้ ระหว่างเดินทางนอกจาก พนักงานจะได้มีโอกาสทักทายท�ำความรู้จัก กันแล้ว ยังได้ทราบถึงความเป็นมาและความ คืบหน้าของโครงการ CSR ต่าง ๆ จากทีมงาน อีกด้วย จึงท�ำให้การเดินทางกว่า 10 ชัว่ โมงใน ครั้งนี้ดูไม่ไกลอย่างที่หลายคนคิด หลังจากเดินทางมาตลอดทั้งวัน จน พระอาทิตย์ลบั ขอบฟ้าไปพักใหญ่ เสียงพลขับ แจ้งกับคณะว่าเดินทางมาถึงชุมชนบ้านแม่โจ้แล้ว พร้อมการต้อนรับอย่างอบอุน่ ของผูน้ ำ� หญิงคนเก่ง หัวใจแกร่ง คุณทองใบ เล็กรามณรงค์ ประธาน วิสาหกิจชุมชนแม่โจ้บ้านดิน เจ้าบ้านผู้น่ารัก ที่จัดเตรียมบ้านดินโฮมสเตย์ไว้ให้พักแรม ตลอด 3 คืน 4 วัน
22 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
ร่วมท�ำแนวกันไฟป่า
หลั ง จากพั ก ผ่ อ นออมแรงกั น มาทั้ ง คืน เช้าตรู่วันรุ่งขึ้นทุกคนพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุมบ้านดินด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส เริ่มต้นภาคทฤษฎีด้วยการแนะน�ำตัวทั้งผู้น�ำ ชุมชนบ้านแม่โจ้ พนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม พันธมิตรที่ส�ำคัญ ส่วนภาคปฏิบัติของทุกคน ในวันนีค้ อื การลงพืน้ ทีท่ ำ� แนวกันไฟป่า ปรับปรุง กุฏิวัด และส�ำรวจต้นน�้ำ ซึ่งอยู่ภายในเขต อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ห่างจากบ้านแม่โจ้ ไปอีกประมาณ 6 กม. ทันทีที่เดินทางถึงอุทยานฯ ทุกคนต่าง ไม่รรี อ คว้าอุปกรณ์คกู่ ายทัง้ ถุงมือ ไม้กวาด และ ผ้าปิดจมูกตะลุยท�ำแนวกันไฟป่าทันที บางส่วน แบ่งหน้าที่ไปซ่อมแซมกุฏิวัด ฉาบผนังดิน ภายในกุฏิ เทปูนลานทางเดินจงกลม และท�ำ โรงเรือนส�ำหรับเก็บฟืน กิจกรรมที่ร่วมท�ำกันในวันนี้ ถือได้ว่า มีประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ เรียนรูภ้ มู ปิ ญั ญาแบบท้องถิน่ จากคนในชุมชน
ทัง้ วิธกี ารฉาบบ้านดินและการท�ำแนวกันไฟป่า แล้ว ยังสร้างความสามัคคีและความเป็น น�้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะฯ และชุมชนให้ แน่นแฟ้นมากยิง่ ขึน้ ด้วย พอตะวันคล้อยบ่าย เจ้าบ้านได้พาคณะฯ เดินทางเข้าป่าส�ำรวจ ต้นตอน�้ำซึ่งผุดขึ้นมาจากใต้ดิน ที่มาของน�้ำ ในอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เลิม พร้อมกับเยี่ยมชม พื้ น ที่ โ ครงการที่ ไ ทยออยล์ จ ะด� ำ เนิ น การ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน�้ำในอนาคต
อาสานวดดินเตรียมบล็อกดิน เช้ า วั น ที่ ส ามหลั ง จากรั บ ประทาน อาหารเช้าแสนอร่อยเรียบร้อย ทุกคนมารวม ตัวกัน ณ ห้องประชุมเช่นเดิม ในวันนี้ทุกคน ได้เรียนรู้วิธีการท�ำบ้านดินจากเจ้าของบ้าน มืออาชีพอย่างคุณทองใบ ทีร่ บั หน้าทีเ่ ป็นผูส้ อน และให้ค�ำแนะน�ำ หลังจากที่เข้าใจขั้นตอน และวิธกี ารท�ำบ้านดินแล้ว ภารกิจการนวดดิน และท�ำบล็อกดินไว้ส�ำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้า จึงเริ่มขึ้น... ขั้นตอนการท�ำบล็อกดินไม่ได้ยุ่งยาก อะไร เพียงเตรียมส่วนผสมให้ครบทั้ง 3 อย่าง คือ ดิน แกลบ และน�ำ้ ในอัตราส่วนทีพ่ อเหมาะกัน น�ำดินทีเ่ ตรียมไว้มาคลุกเคล้ากับน�ำ ้ ใช้เท้านวด จนเข้าที่เป็นเนื้อเดียว จากนั้นเทแกลบผสม เข้าไปในอัตราส่วนพอเหมาะ นวดจนเหนียว เป็นเนื้อเดียวกันอีกรอบ แล้วจึงน�ำมาใส่ใน บล็อกพิมพ์ที่เตรียมไว้ โดยขนาดความกว้าง และยาวของแม่พมิ พ์เท่า ๆ กับอิฐบล็อกทัว่ ไป แม่พมิ พ์หนึง่ สามารถผลิตบล็อกดินได้ 5 ก้อน แม้จะเป็นภารกิจทีอ่ ยูท่ า่ มกลางแสงแดด ร้อนจัด ต้องใช้พลังงานในการนวดดินกัน นานพอสมควร แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ กันของพนักงานจิตอาสาและน�้ำจิตน�้ำใจของ ชาวชุมชนบ้านแม่โจ้ ท�ำให้ทุกคนมีแต่เสียง หัวเราะ รอยยิม้ และความสุข เต็มทีก่ บั ภารกิจ ในวันนี้อย่างไม่มีค�ำว่าเหน็ดเหนื่อย จนใน ทีส่ ดุ ก็ได้บล็อกดินส�ำเร็จรูปหลายร้อยก้อนวาง เรียงกัน ซึ่งต้องตากแดดไว้อีก 3 วันเพื่อให้ แห้งสนิทก่อนถึงจะใช้งานได้ โดยครัง้ นีท้ กุ คน ตัง้ ใจเตรียมบล็อกดินไว้ให้ได้จำ� นวนมากทีส่ ดุ เพื่อให้พนักงานจิตอาสารุ่นต่อไปน�ำไปสร้าง อาคารโรงไฟฟ้าพลังน�้ำ ค�่ำคืนสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ ชาวชุมชนบ้านแม่โจ้ได้จัดงานเลี้ยงส่งเพื่อตอบแทน ไมตรีจติ ของพีน่ อ้ งชาวเครือไทยออยล์ ด้วยการแสดงของน้อง ๆ นักเรียนจากชมรมดนตรีนาฏศิลป์ พื้นบ้าน รร.ป่าจี้วังแดงวิทยา ที่สร้างความม่วนอกม่วนใจ๋ให้ทุกคนไม่น้อย พอการแสดงจบลง ผูแ้ ทนเครือไทยออยล์ได้มอบของทีร่ ะลึกและผ้าห่มกันหนาวให้กบั น้อง ๆ นักเรียนและผูน้ ำ� ชุมชน เพื่อบรรเทาความหนาวเย็นอีกด้วย กิจกรรมจิตอาสาครัง้ นีแ้ ม้จะเป็นเวลาเพียงสัน้ ๆ แต่เหนือสิง่ อืน่ ใดทีท่ กุ คนสัมผัส ได้ด้วยใจ คือ ความรัก ความผูกพัน และความสามัคคีเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งจาก พีน่ อ้ งชาวชุมชนบ้านแม่โจ้และพนักงานจิตอาสาทุกคน ทีเ่ ป็นตัวขับเคลือ่ นให้โรงไฟฟ้า พลังน�้ำบ้านแม่โจ้ก่อเกิดขึ้นมา และจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ต่อไป ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
23
ปลอดภัย ใกล้ตัว
โดย เซฟตี้เกิร์ล
ข้อคิดก่อนเดินทางไกล
พอเข้าสู่ช่วงปิดเทอม หลายครอบครัวคงวางแผนที่จะพากันไปท่องเที่ยว ตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาว ดังนั้น จึง จ�ำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของรถก่อนเดินทาง โดยการน�ำรถเข้าศูนย์เพื่อ ตรวจเช็ค นอกจากนั้น ยังมีข้อแนะน�ำที่ฝากไว้ให้ลองปฏิบัติกันดูนะคะ
24 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
• ควรแจ้งก�ำหนดการให้ที่บ้านและปลายทางทราบเสมอเพื่อตรวจสอบ กรณีเกิดเหตุผิดปกติ เช่น ล่าช้ากว่าก�ำหนด และเมื่อถึงปลายทางแล้ว ควรแจ้งให้ทางบ้านทราบด้วย • ควรเติมน�้ำมันให้เต็มถัง และควรคาดคะเนตามเข็มวัดน�้ำมัน • ติดเครื่องมือประจ�ำรถและอะไหล่ต่าง ๆ ไว้ ให้พร้อมเสมอ รวมทั้ง ชุดปฐมพยาบาลกรณีฉุกเฉินหรือในกรณีเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย • หลีกเลี่ยงเส้นทางที่ ไม่คุ้นเคยหรือที่เปลี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากท่านต้องเดินทางเพียงล�ำพัง • อย่าหยุดรถหรือแวะรับคนข้างทางในที่เปลี่ยวโดยไม่จำ� เป็น • นักเดินทางหลายรายเคยมีประสบการณ์ที่คนร้ายแกล้งขับรถชนท้ายรถ เพื่ อ ให้ ล งมาเจรจาแล้ ว ใช้ อ าวุ ธ ปื น จี้ ปล้ น เมื่ อ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ ท�ำนองนี้ ไม่ควรหยุดรถ แต่ควรเดินทางต่อไปจนถึงป้อมต�ำรวจ • ศึกษาเส้นทางหรือสอบถามเส้นทางจากผู้รู้ ให้ละเอียด • ควรปฏิบัติตามกฎจราจรเสมอ ไม่ควรแซงตรงทางแยก บนเนินเขา บนทางโค้ง และบนสะพาน
ข้อปฏิบตั เิ มือ่ เกิดเหตุการณ์ฉกุ เฉิน
• หากถูกก้อนหิน ก้อนกรวดกระเด็น มาถูกกระจกแตก ให้ชะลอความเร็วของรถ แล้วเข้าข้างทางทันที ถ้าเป็นกระจก 2 ชั้นยัง พอจะขับต่อไปได้ หรืออาจจะทุบกระจกรถ เก่าออกให้หมดแล้วโกยเศษแก้วออกให้มาก ที่สุด เมื่อต้องการจะขับรถต่อไปอีก ให้ไข กระจกข้างขึ้นจนมิดเพื่อป้องกันอาการส่าย ของรถบนถนน • หากสุนขั วิง่ ตัดหน้า ถ้าชะลอไม่ทนั ให้ตัดสินใจชน มิฉะนั้นรถอาจเสียหลักได้ ถ้า เป็นสัตว์ใหญ่ไม่ควรบีบแตร เพราะจะท�ำให้ สัตว์เหล่านั้นตกใจและย้อนมาท�ำอันตรายได้ • หากหม้อน�ำ้ รัว่ แล้วหาอูซ่ อ่ มใกล้ ๆ ไม่ได้ ให้น�ำสบู่มาอุดรูรั่วไว้ก่อน เติมน�้ำจน เต็มแล้วขับไปให้อู่ซ่อมแซม • เมื่อยางระเบิดกะทันหัน พยายาม จับพวงมาลัยไว้ให้มั่นคง และบังคับรถเข้า ข้างทางอย่างปลอดภัย ไม่ควรใช้เบรกอย่าง กะทันหัน เพราะจะท�ำให้รถเสียหลักพลิกคว�่ำ ชะลอความเร็วโดยเปลี่ยนเป็นเกียร์ต�่ำทันที • กรณียางล้อหลังระเบิด ท้ายรถ จะส่าย ควรถือพวงมาลัยให้มั่นคงและรักษา ทิ ศ ทางให้ ต รง ก็ ส ามารถแก้ ไ ขปั ญ หาได้ พยายามย�้ำเบรกหลาย ๆ ครั้งติดกัน เพื่อให้ น�้ำหนักตกอยู่ข้างล้อที่ใช้งานได้
• กรณียางล้อหน้าระเบิด พยายาม จับพวงมาลัยให้มนั่ คง ใช้เบรกให้เบาทีส่ ดุ ถ้า แฉลบไปทางใด ต้องคืนพวงมาลัยกลับมาให้ ตรงทิศทางจนกว่าจะน�ำเข้าข้างทางเรียบร้อย • กรณีคันเร่งน�้ำมันค้าง ให้ใช้เบรก ช่วยโดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับคลัตช์ เพราะ เมื่อเหยียบคลัตช์ จะท�ำให้รอบเครื่องยนต์สูง ขึน้ ทันที อาจจะท�ำให้เกิดความเสียหายได้ จะ ใช้คลัตช์ในกรณีทเี่ ปลีย่ นเกียร์เท่านัน้ และเมือ่ ลดความเร็วลงมาอยู่ในอัตราที่ปลอดภัยแล้ว ใช้ปลายเท้าสอดเข้าไปใต้คันเร่งแล้วงัดขึ้น มา ถ้าคันเร่งไม่ขึ้น ก็พยายามน�ำรถเข้าข้าง ทางแล้วปิดสวิตช์การท�ำงานทันที • กรณีฝากระโปรงรถเปิดเมื่อเกิด อุบัติเหตุ ฝากระโปรงเปิดจนปิดกระจกบังลม หน้า การแก้ไขควรชะลอและมองดูรถคันหลัง ด้วยว่ากระชัน้ ชิดหรือไม่ อย่าหยุดรถกะทันหัน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ น�ำรถเข้าข้างทาง แล้วปิดให้เรียบร้อย • เมื่อความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ ให้ รีบลดความเร็วแล้วน�ำรถเข้าข้างทาง ตรวจดู รอยรัว่ ของหม้อน�ำ้ และข้อต่อต่าง ๆ สายพาน ถ้ามีน�้ำพอให้ใช้น�้ำราดลงหม้อน�้ำได้เลย แต่ ถ้ามีน�้ำไม่พอคอยให้เครื่องเย็นแล้วจึงเติม น�้ำลงในหม้อน�้ำ
• กรณี ร ถสตาร์ ท ไม่ ติ ด เกิ ด จาก แบตเตอรี่ไม่มีไฟ ให้พยายามลากหรือเข็น แล้วสตาร์ทกระตุกโดยให้ใช้เกียร์ 2 เหยียบ คลัตช์ เมื่อความเร็วได้ที่ปล่อยคลัตช์ แล้ว เหยียบคันเร่ง หรือให้ใช้สายแบตเตอรีพ่ ว่ งกับ รถคันอื่นแล้วสตาร์ท
อุปกรณ์ทขี่ าดไม่ได้ยามเดินทางไกล อุปกรณ์สำ� หรับการเปลีย่ นยาง แม่แรงกากบาทถอดล้อ อุปกรณ์ส่องสว่าง ประเภทไฟฉาย ควรติดรถไว้ตลอด อุปกรณ์ส�ำหรับการลากจูง อุปกรณ์ส�ำหรับการพ่วงไฟ เช่น สายพ่วงแบตเตอรี่ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ทั้งต�ำรวจทางหลวง และต�ำรวจท่องเที่ยว น�้ำเปล่าส�ำหรับเติมหม้อน�้ำ น�้ำมันเครื่อง ที่มา : www.factorlube.com
โทรศัพท์ฉกุ เฉิน เหตุด่วน-เหตุร้าย กองปราบปราม ต�ำรวจทางหลวง ศูนย์ดับเพลิงศรีอยุธยา หมออาสา จส. 100 แจ้งข่าวสาร จส. 100 ฉุกเฉิน จส. 100
191 195 1193 199 0 2711 9160-2 0 2711 9151-8 0 2711 9170
วิทยุชมุ ชนร่วมด้วยช่วยกัน FM 96 สวพ. 91 มูลนิธิปอเต็กตึ้ง มูลนิธิร่วมกตัญญู หน่วยแพทย์กชู้ พี วชิระพยาบาล ศูนย์เอราวัณ ศูนย์นเรนทร
1677 1644, 0 2562 0033-5 0 2255 3271 0 2249 4821 0 2289 0616, 0 2243 5127 1646, 0 2223 9403 ต่อ 4010 0 2590 1669 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
25
เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน
โดย คำ�ศรี
ชุมชนบ้านหลวง
ส�ำเร็จได้เพราะไม่หยุดเรียนรู้
กว่าชาวบ้านหลวงจะมีวนั นี้ได้ วันทีท่ กุ คนมีกนิ มีใช้ มีความสุข ทุกอย่างต้องฝ่าฟันอุปสรรค ส�ำคัญคือไม่ย่อท้อ ต้องเรียนรู้ และเพียรพยายามมากมาย
สองปีที่แล้วความส�ำเร็จหนึ่งที่ชาวต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ภูมิใจ คือ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรม ประจ�ำต�ำบลบ้านหลวง ซึ่งได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2552 มีคณะกรรมการทั้งหมด 27 คน เป็นตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนต�ำบล บ้านหลวง ตัวแทนจากอ�ำเภอแม่อาย กลุม่ เพาะเห็ดหอมของต�ำบลบ้านหลวง และกลุ่มคนในชุมชนบ้านป่าก๊อ ความส�ำเร็จที่น่าชื่นชมนี้มีที่มาอย่างไร ต้องติดตามเรื่องของคนตัวเล็ก ๆ ทั้งที่บ้านป่าก๊อและกลุ่มเพาะเห็ดหอมที่ไม่ย่อท้อและไม่หยุดเรียนรู้
เรื่องของข้าวที่หมู่บ้านป่าก๊อ
หมู่บ้านป่าก๊อเป็นชุมชนเล็ก ๆ หนึ่งในต�ำบลบ้านหลวง ที่พยายามเรียนรู้การท�ำ เกษตรอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความพอเพียง ภูมิปัญญาของคนบ้านนาที่มุ่งมั่น สังเกต เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัว ระบบของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม จนเข้าใจถึงวงจรชีวิตที่ เชื่อมโยงของทุกสิ่ง ไม่ว่าคน ข้าว ผัก หมู ทุกสิ่งแวดล้อมล้วนเชื่อมโยงเกื้อหนุนกันได้ ทั้งนั้น พีเ่ รวัตร์ ค�ำปวน ผูใ้ หญ่บา้ นป่าก๊อ และลุงอ้าย พรหมเสน ผูอ้ าวุโสบอกเล่าถึงสิง่ ที่ ได้เรียนรูว้ า่ “เราต่างมีความเห็นตรงกันว่า ระบบเกษตรของทีน่ มี่ คี วามเกีย่ วข้องสัมพันธ์ กันทัง้ ทางตรงและทางอ้อม โดยมีจดุ เริม่ ต้นอยูท่ ขี่ า้ วอาหารหลักของพวกเรา ทีบ่ า้ นป่าก๊อ จึงสร้างโรงสีข้าวชุมชน ท�ำให้ทุกส่วนของข้าวได้น�ำมาใช้ประโยชน์เต็มร้อย” จากแผนผังความเชื่อมโยงของทรัพยากรต่าง ๆ จะเห็นว่าชาวชุมชนป่าก๊อ สามารถเข้าใจและน�ำทรัพยากรท้องถิ่นของตนมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า เป็นวงจรของการ ท�ำเกษตรที่สร้างสรรค์และพอเพียง พี่เรวัตร์เล่าว่า “สิ่งที่ได้จากโรงสีข้าว คือ แกลบ และร�ำข้าวหรือปลายข้าว เราก็เอาไปเกื้อหนุนท�ำเกษตรในส่วนอื่นต่อได้อีก แต่ถ้าเรา ท�ำนา ขายข้าวให้โรงสีอื่น แล้วซื้อข้าวมากิน เราเสียทั้งเงินและสูญเสียสิ่งที่มีประโยชน์ และมีค่ามากไป อย่าง “แกลบ” นี้เป็นวัตถุดิบในการเพาะเห็ด การเพาะเห็ดได้น�ำไป สู่อาชีพและรายได้ของชุมชน เมื่อก้อนเห็ดหมดอายุสามารถน�ำไปท�ำเป็นปุ๋ยชีวภาพให้ กับเกษตรกร หรือจะน�ำแกลบไปท�ำเป็นปุ๋ยชีวภาพส�ำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพืช ผัก ผลไม้ และข้าวได้อีก ถือเป็นการลดต้นทุนการผลิตและลดการใช้ปุ๋ย เคมีซึ่งมีราคาแพงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกร ร�ำข้าวหรือ ปลายข้าวก็เอาไปเลีย้ งหมู ทุกอย่างจะหมุนเวียนเป็นประโยชน์ซงึ่ กันและ กันอย่างคุ้มค่าและสร้างสรรค์”
26 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
ทุกวันนีช้ มุ ชนป่าก๊อได้ชอื่ ว่าเป็นหมูบ่ า้ น ขายด้วย จึงได้กำ� ไรถึงสองทาง ไม่มขี าดทุน เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นตัวอย่างจริงพร้อมให้ เพราะปีไหนผลผลิตเห็ดล้นตลาดหรือราคาถูก ทุกคนมาแลกเปลีย่ นเรียนรูไ้ ด้ มาก ๆ กลุม่ จะปรับเปลีย่ นไปท�ำก้อนเห็ดขาย านประสบการณ์มามาก กลุ่มจึงรู้ว่า เรื่องของเห็ดที่หมู่บ้านเห็ดหอม เพราะผ่ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ทศิ ทางความต้องการ การเพาะเห็ดหอมไม่ใช่เรื่องง่าย เป็น ของตลาดอยู่เสมอ พร้อมทั้งหาลูกค้าเปิด สิบ ๆ ปีทตี่ อ้ งล้มลุกคลุกคลาน “พีต่ วงพร โปธิ” ตลาดใหม่ ในปัจจุบนั นีก้ อ้ นเห็ดหูหนูถอื ว่าเป็น หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเพาะเห็ดบ้านหลวงเล่าว่า สินค้าทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุด โดยมียอดสัง่ ซือ้ ผ่านความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ลองผิด มากกว่า 10,000 ก้อนในระยะเวลาไม่ถงึ ปี ลองถูก แต่ไม่ท้อ ต้องใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ทุกอย่างสั่งสมกลายเป็นประสบการณ์ล�้ำค่า ทีส่ ำ� คัญคือการรักษาคุณภาพ ก้อนเห็ด “ผลส�ำเร็จในวันนีไ้ ม่ใช่เพียงรายได้จากผลผลิต ของกลุม่ บ้านหลวงผลิตขึน้ ชือ่ ว่าคุณภาพดีและ เท่านั้น แต่มีทั้งภูมิปัญญาในการเพาะเห็ดที่ ให้ผลผลิตดอกเห็ดเป็นจ�ำนวนมาก เพราะใช้ ส่งต่อให้กบั ทุกคนได้ ความรัก ความสามัคคี เชื้อเห็ดพันธุ์ดีและยังเอาใจใส่ เน้นย�้ำความ ซือ่ สัตย์และจริงใจต่อลูกค้า มีบริการหลังการขาย ทีท่ กุ คนได้รว่ มฝ่าฟันกันมา” เช่น ติดตามไปแก้ไขปัญหาเชือ้ ราหรือปัญหา กลุม่ เพาะเห็ดบ้านหลวงทุกวันนีป้ ระสบ ก้อนเห็ดไม่ออกดอกตามระยะเวลา ท�ำให้มผี ู้ ความส�ำเร็จ จนหลายคนเรียกบ้านหลวงว่าเป็น มาสั่งซื้อจ�ำนวนมาก กลายเป็นรายได้ส�ำคัญ หมูบ่ า้ นเห็ดหอม ปัจจุบนั ไม่ได้มเี พียงเห็ดหอม นอกจากรายได้เพิ่มแล้ว ยังได้เพิ่มความ เท่านัน้ แต่ยงั มีเห็ดหูหนู เห็ดลม และเห็ดนางฟ้า สัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างคนในชุมชนทุก แถมยังแตกยอดเพิม่ รายได้จากการท�ำก้อนเห็ด คนทุกเพศและทุกวัยด้วย เพราะแรงงานมาจาก
คนในชุมชนทัง้ หมด รวมถึงเด็ก ๆ ในชุมชน ทีต่ อ้ งการเรียนรูแ้ ละหารายได้ของตนเอง ใน วันหยุดหรือหลังเลิกเรียนจะมารับจ้างผสมแกลบ และบรรจุถงุ ดินท�ำเห็ด เด็กได้เรียนรูแ้ ละได้รบั การปลูกฝังจิตส�ำนึกงานอาชีพโดยการลงมือ ท�ำจริง ผู้ใหญ่ก็มีความสุขที่รู้ว่าลูกหลานได้ เรียนรูว้ ธิ กี ารท�ำกิน พีต่ วงพรเล่าย�้ำว่า “เพราะเราอยากให้ คนในชุมชนต�ำบลบ้านหลวงให้ความส�ำคัญกับ การท�ำงานในถิน่ ฐานบ้านเกิดของตนเอง และ ช่วยกันพัฒนาให้ดีที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อที่ งานเหล่านีจ้ ะได้กลายเป็นทัง้ อาชีพ เป็นทัง้ ชีวติ และเป็นวิถที างทีจ่ ะน�ำไปสูค่ วามสุขในบ้านเกิด และชุมชนของตนเอง”
พี่ตวงพร โปธิ
เมื่อรวมเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ
จากความสามารถของชาวบ้านหลวงทัง้ การเกษตรแบบผสมผสานบนพืน้ ฐานเศรษฐกิจ พอเพียง และการท�ำธุรกิจการเพาะเห็ดจนประสบความส�ำเร็จทัง้ ในด้านของการสร้างงาน สร้าง รายได้และสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชน จึงคิดต่อกันถึงการรวมตัวจัดการ บริหารให้เป็นระบบมากขึ้น ตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรมประจ�ำต�ำบล บ้านหลวงขึ้น ผลิตภัณฑ์ของศูนย์นอกจากผลิตผลทางการเกษตรทั้งหมดในชุมชนแล้วก็คือ องค์ความรู้ ซึง่ พวกเขามีการพูดคุย ถอดบทเรียนกันอยูเ่ สมอ สองปีกว่าของการด�ำเนินการศูนย์การเรียนรูฯ้ พวกเขาได้ถอดบทเรียนความส�ำเร็จทีส่ ำ� คัญ ว่า สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เป็นเพราะคนในชุมชนยึดมัน่ ในคุณธรรมส�ำคัญหลายประการ คือ “ขยัน” ทัง้ มุง่ มัน่ และตัง้ ใจกับงาน “ซือ่ สัตย์” ทุกคนมีความจริงใจต่อกัน จึงท�ำงานกันอย่างตรงไปตรงมา และต้องให้เกิดความยุตธิ รรมมากทีส่ ดุ “ประหยัด” หมายถึง การด�ำเนินกิจกรรมทุกอย่างทีพ่ อ ประมาณ พอดี และเป็นไปตามศักยภาพของตน “มีวนิ ยั ” เพือ่ ท�ำให้ปฏิบตั งิ านได้อย่างรวดเร็ว และเต็มความสามารถ งานจึงลุลว่ งตามเป้าหมายทุกครัง้ “สุภาพ” ให้ความเคารพและนับถือกัน แบบเครือญาติทเี่ ป็นไปตามระดับอาวุโส จึงท�ำให้การบริหารจัดการมีความสุขและมีบรรยากาศ การท�ำงานทีส่ บายใจ “สามัคคี” “มีนำ�้ ใจ” จึงท�ำให้เกิดการประสานความร่วมมือและบูรณาการ การท�ำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วนในชุมชนได้ และคุณธรรมข้อสุดท้ายที่ส�ำคัญที่สุด คือ “กตัญญู” ทุกคนรูว้ า่ งานทัง้ หมดนีก้ เ็ พือ่ ตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินเกิด นีค่ อื แผ่นดินเล็กทางตอนเหนือของประเทศ ทีเ่ ราอยากให้ทกุ คนได้มโี อกาสไปเยีย่ มเยือน ไปเรียนรูเ้ พือ่ กลับมาพัฒนาชุมชนของเรา
ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรมประจ�ำต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
27
เคล็ดลับสุขภาพ
โดย กาบกล้วย
ออยล์พูลลิ่ง…
ธรรมชาติบ�ำบัดด้วยน�้ำมัน
หลายคนอาจได้ยินค�ำว่า “ออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling)” กันมาบ้างและ อาจงงว่ามันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร วันนี้เลยขอขยายความให้ ได้รู้กันค่ะ ออยล์พลูลิ่งเป็นวิธีธรรมชาติบ�ำบัดของอินเดียที่มีมานาน แต่เพิ่งมา ฮื อ ฮาเมื่ อ Dr. F. Karach, M.D.,น� ำ เสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม ด้ า นมะเร็ ง และ เชื้ อ แบคที เ รี ย ที่ ป ระเทศรั ส เซี ย ในปี 2 534-2535 ว่ า เป็ น การบ� ำ บั ด โรค ที่ง่ายแต่ได้ผลดี และไม่มีอันตรายใด ๆ เพราะการ “อมน�้ำมัน” เป็นการรักษา ทางชีววิทยา ช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด
ดร.บรูซ ไฟฟ์ นักโภชนาการผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเขียนหนังสือ “Coconut Oil Miracle” หรือ มหัศจรรย์แห่งน�้ำมันมะพร้าวเป็นผู้หนึ่ง ที่ทดลองท�ำออยล์พูลลิ่งด้วยตนเอง และสรุปว่าเป็นการรักษาของ แพทย์ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สุด จึงได้เขียนไว้ในหนังสือว่าด้วย ชื่อ Oil Pulling Therapy หรือการบ�ำบัดโรคด้วยวิธีออยล์พูลลิ่ง ซึ่งมี ใจความบางตอนดังนี้
จะเป็นปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายก็มีโอกาสได้รับการซ่อมแซม สุขภาพดี จึงกลับมาในที่สุด
วิธกี ารท�ำออยล์พลู ลิง่ ควรท�ำขณะทีท่ อ้ งว่าง จะดืม่ น�ำ้ ก่อนหรือ ไม่ก็ได้ จากนั้นอมน�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ชนิดสกัดเย็นประมาณ 2-3 ช้อนชาไว้ในปาก ค่อย ๆ เคลื่อนน�้ำมันไปทั่วปาก ให้น�้ำมันไหลผ่าน ฟันและเหงือกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-20 นาที น�้ำมันจะเปลี่ยนเป็น ปากของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย เพราะปากมีความร้อน ขุน่ หรือมีสเี หลือง แล้วบ้วนทิง้ ไป ล้างปากด้วยน�ำ้ สะอาด ตามด้วยการ ความชื้น และอุดมไปด้วยเศษอาหาร จึงเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม ดื่มน�้ำ ท�ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย ของแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว การแปรงฟันหรือการใช้ น�้ำยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียลงได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น นำ�้ มันชนิดใดเหมาะจะใช้ท�ำออยล์พลู ลิง่ ตามต�ำราอินเดียโบราณ แนะน�ำให้ใช้น�้ำมันดอกทานตะวันหรือน�้ำมันงา เนื่องจากหาได้ง่าย ไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจ�ำนวนขึ้นเช่นเดิม ทัว่ ไป แต่ ดร.บรูซ กล่าวว่า น�ำ้ มันชนิดใดก็สามารถใช้ทำ� ออยล์พลู ลิง่ ได้ โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก ปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การ โดยส่วนตัวแล้วชอบน�้ำมันมะพร้าว เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทานอาหารไม่ถกู ต้องหรืออาหารทีม่ พี ษิ ท�ำให้ระบภูมคิ มุ้ กันอ่อนแอ ใน มากกว่าน�ำ้ มันพืชชนิดใด ๆ เพราะกรดลอริคในน�ำ้ มันมะพร้าวเมือ่ ถูกกับ ปากและล�ำไส้มแี บคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิด เอนไซม์ในน�้ำลายจะแตกตัวเป็นโมโนกลีเซอไรด์ชื่อว่า โมโนลอรินซึ่ง มีประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียซึมเข้าสูก่ ระแสเลือด แม้ชนิดทีไ่ ม่เป็นอันตราย มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคและเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ น�้ำมันมะพร้าว อาจท�ำให้ถึงแก่ความตายได้ ดังนั้นหากมีแผลในปาก หรือมีการ บริสุทธิ์สกัดเย็นที่ได้รับการผลิตอย่างมีคุณภาพจะมีความสะอาด อักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะท�ำให้แบคทีเรียซึมเข้าสู่กระแสเลือด ถูกอนามัย แถมยังมีกลิ่นและรสชาติน่าพอใจอีกด้วย ได้ง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไป โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อผลของการท�ำออยล์พูลลิ่ง จนถึงโรคหัวใจ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟันขาวขึ้น แน่นขึ้น ออยล์พูลลิ่งท�ำงานอย่างไร ออยล์พูลลิ่งไม่ได้รักษาโรค แต่ ไม่โยกคลอน เหงือกเป็นสีช มพูแลดูมีสุข ภาพ ลมหายใจสดชื่น ช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค นอกจากนี้ยังช่วยเยียวยาอาการป่วยเรื้อรังได้อีกหลายชนิด เช่น ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เซลล์เดียว ที่ปกคลุมด้วยน�้ำมันหรือเนื้อเยื่อที่ สิว ภูมแิ พ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น�ำ้ มูกมาก หืด หลอดลมอักเสบ เป็นไขมัน ดังนั้นเมื่ออมน�้ำมันในปากและเคลื่อนน�้ำมันไปทั่วช่องปาก ผิวหนังอักเสบ เรื้อนกวาง ปวดหลังปวดคอ ข้ออักเสบ ท้องผูก แบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยแยกของเหงือก หรือตามซอกฟัน แผลในกระเพาะ ล�ำไส้ ล�ำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับ จะถูกดูดออกจากที่ซ่อนและติดอยู่ในน�้ำมันที่เราอม ยิ่งนานยิ่งมาก อ่อนเพลียเรือ้ รัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกีย่ วกับประจ�ำเดือน น�ำ้ มันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ดังนัน้ จึงควรบ้วนทิง้ มากกว่าจะกลืน เป็นต้น เมื่อแบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไป จึงเป็น โอกาสดีทรี่ า่ งกายจะได้ฟน้ื ฟู การอักเสบทัง้ หลายจะหมดไป กระแสเลือด ประโยชน์มากมายขนาดนี้ ไม่ลองไม่ได้แล้วค่ะ
28 ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
ที่มา : Oil Pulling Therapy, Dr. Bruce Fife N.D
เกมทางเลือกประหยัดพลังงาน ลับสมองลองเล่นเกม
ให้เพือ่ น ๆ ช่วยกันค้นหา 5 วิธชี ว่ ยโลกประหยัดพลังงานแบบง่าย ๆ และใช้ได้จริงในชีวติ ประจ�ำวัน ทีซ่ อ่ นอยูใ่ นภาพนี้ พบค�ำตอบแล้วท�ำเครือ่ งหมายวงกลม แล้วรีบส่งค�ำตอบเข้ามารอรับของรางวัลกันนะคะ
โดย กองบรรณาธิการ
ถ่ายเอกสารและส่งคำ�ตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์ขององค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ชื่อ ................................................. นามสกุล .....................................................................ที่อยู่............................... ............................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................
สู้ภัยน�้ำท่วม
เฉลยเกมฉบับที่แล้ว
ขอแสดงความยินดีกับผู้ตอบค�ำถามได้ถูกต้อง และโชคดีจากการจับฉลากรายชื่อ ดังนี้ 1. คุณกฤตยา สรรเสริญ 2. คุณฐิติวิภา ภูอนันตานนท์ 3. คุณธีรศักดิ์ ขันติธรรมกุล 4. คุณพรชัย ขันค�ำ 5. คุณมณเฑียน สนองกุล 6. คุณมณฑา เรืองเดช 7. คุณมนัสดา ชูเทศะ 8. คุณวันวิสาข์ หมื่นเปิง 9. คุณอัครเดช ยอดนาม 10. คุณอุบล ว่องไว ชุมชนของเรา เดือนมีนาคม-เมษายน 2555
29