CSR Thaioil ชุมชนของเรา

Page 1


สุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

สวัสดีครับ เพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่าน ตลอดระยะเวลา 49 ปีที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ ตระหนักดีว่าชุมชนและสิ่งแวดล้อมต้อง ดีก่อน ธุรกิจจึงจะดำเนินอยู่ได้ เพราะเราคือ ชุมชนเดียวกัน เปรียบเสมือนดั่งสมาชิกในครอบครัว ที่ต่างเกื้อกูล แบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไม่มีใครสามารถอยู่ได้เพียงลำพัง ไทยออยล์เริ่ม ต้นวางหลักปักฐานบนผืนดินแห่งนี้ ตั้งแต่ที่ดินบริเวณนี้ยังเป็นที่รกร้าง ความเป็นชุมชนยังไม่หนา แน่นอย่างทุกวันนี้ คนไทยออยล์กับชาวบ้านในชุมชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากและพัฒนา ความสัมพันธ์อันดีนั้นมาโดยตลอด ผ่านร้อน ผ่านหนาวร่วมกัน จนบัดนี้ เราต่างเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่แข็งแรงและพร้อมที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคงพร้อมๆ กัน ผมจึงอยากขอบคุณด้วยใจจริงต่อพี่น้องในชุมชนทุกท่าน แทนใจคนไทยออยล์ทุกคน สำหรับ ความรัก ความเมตตา รวมทั้งความร่วมมือร่วมใจในทุกๆ เรื่องตลอดมา ซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนของเราต่อไป ในโอกาสก้าวสู่การดำเนินงานครบรอบ 50 ปีของเครือไทยออยล์ ผมมีความยินดีที่จะแนะนำ จุลสารชุมชนของเราฉบับปฐมฤกษ์ที่ท่านกำลังถืออยู่ในมือขณะนี้ เครือไทยออยล์ตั้งใจทำขึ้นเพื่อ ให้เป็นสื่อกลางระหว่างพี่น้องในชุมชนกับเครือไทยออยล์เพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง โดยนำเสนอ เรื่องราวในชุมชน บทความต่างๆ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของเรา จุลสาร ชุมชนของเรา ฉบับแรกนี้ ได้พดู ถึงโครงการ “เราคิดร่วมกัน เราทำร่วมกัน” เวทีสำคัญ ที่ทำให้เกิดการทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วม กันระหว่างคณะกรรมการชุมชน หน่วยงานราชการในพื้นที่และเครือไทยออยล์ ส่วนรายละเอียด โครงการ “เราคิดร่วมกัน เราทำร่วมกัน” จะเป็นอย่างไร สำคัญกับชุมชนของเราอย่างไร พี่น้องจะ มีส่วนร่วมได้อย่างไร คำตอบอยู่ในเล่มนี้แล้ว สำหรับฉบับหน้าพบกับการเปิดตัว “ศูนย์สุขภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน” อีกหนึ่งของความตั้งใจในการดูแลสุขภาพและการเรียนรู้ ร่วมกันในชุมชนของเรา ที่พร้อมเปิดให้บริการพี่น้องในชุมชนเร็วๆ นี้ ผมหวังว่าจุลสาร ชุมชนของเรา นี้ จะช่วยสร้างความเพลิดเพลินและมอบสาระที่เป็น ประโยชน์สำหรับพี่น้องในชุมชน เครือไทยออยล์ยินดีน้อมรับคำแนะนำจากพี่น้องในชุมชนทุกท่าน สุดท้าย ผมขอฝากจุลสารเล่มนี้ไว้กับเพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกครอบครัวด้วยครับ จุลสารชุมชนของเรา

เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จัดทำโดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร สำนักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยคี่ อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร 0-2299-0024 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3840-8500, 0-3835-9000 โทรสาร 0-3835-1554, 0-3835-1444 แผนกบริหารงานชุมชน 08-1835-2524, 08-9092-5089

สารบัญ เรื่องจากปก

1

ตามรอยพ่อ

4

รอบรั้วไทยออยล์

6

ข่าวศูนย์สุขภาพ

8

กระบอกเสียงชุมชน

10

ปลอดภัยใกล้ตัว

12

ก้าวทันโลก

13

พี่เก่าเล่าเรื่อง

14

ปราชญ์ชุมชน

16

ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

18

ของดีบ้านเรา

20

เคล็ดลับสุขภาพ

21

จิตอาสา

22

เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

24

ลับสมองลองเล่นเกม

25


เรื่องจากปก

โดย กองบรรณาธิการ

“เราคิ ดร่วมกัน เราทำร่วมกัน” สานสัมพันธ์หัวใจเพื่อชุมชน

การจะสร้าง “บ้าน” ที่น่าอยู่และปลอดภัยขึ้นสักหลัง สำคัญตั้งแต่การวางฐาน ยกเสา เทคาน ด้วยสัดส่วนที่พอเหมาะเพื่อรองรับน้ำหนักซึ่งกันและกันได้อย่างพอดี บ้านจึงเกิดความสมดุลที่ลงตัว ชุมชนและสังคมของเราก็เปรียบเหมือนกับบ้านหลังใหญ่ สมาชิกในชุมชนจากหลายภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ ต่างก็ทำหน้าที่เหมือนกับอิฐแต่ละก้อน ที่เชื่อมประสานและยึดโยงกันไว้เพื่อทำให้ผนังของบ้านแข็งแรง พร้อมทำหน้าที่คุ้มภัยให้ผู้อยู่อาศัย ในบ้านได้อบอุ่นและปลอดภัย ไม่ว่าสภาพอากาศภายนอกจะเป็นเช่นไร “ไทยออยล์” เป็นสมาชิกหนึ่งในชุมชน ทำหน้าที่รับใช้สังคมในบทบาท ของสถานประกอบการธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันที่อยู่คู่กับชุมชนมาตลอดระยะเวลา ยาวนาน ด้วยความเชือ่ มัน่ อันแรงกล้าทีว่ า่ “สังคมจะน่าอยู่ ถ้าเราช่วยกัน” จุดเริ่มต้นโครงการ “เราคิดร่วมกัน เราทำร่วมกัน” จากประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ไทยออยล์ เริ่มเดินหน้าทำงานร่วมกับ 7 ชุมชน 9 พื้นที่โดยรอบโรงกลั่นน้ำมันมาโดยตลอด นับตั้งแต่วันแรกของการเป็นสมาชิกในชุมชนรอบอ่าวอุดมแห่งนี้ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า สถานประกอบการสามารถอยู่ร่วมกับ ชุมชนได้ ในช่วง 3 ปีทผี่ า่ นมา ไทยออยล์ได้ขยายขอบเขตการทำงานเพือ่ ชุมชน โดยริเริม่ โครงการ “เราคิดร่วมกัน เราทำร่วมกัน” โครงการความร่วมมือระหว่าง 3 กลไกหลักในชุมชน คือ ไทยออยล์ ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ อันได้แก่ เทศบาลแหลมฉบัง ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีภารกิจในการกำกับดูแลทุกข์สุขของชุมชนโดยตรง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้บ่มเพาะทุนทางปัญญาให้กับชุมชนท้องถิ่น และโรงพยาบาลอ่าวอุดม ซึ่งเป็น หน่วยงานที่ตอบสนองบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในชุมชน เพื่อร่วมกัน ทำหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบต่อสังคม ก่อร่างเป็น “เวทีความคิด” เมื่อตัวแทนจากแต่ละส่วนในสังคมเห็นเป้าหมายร่วมกัน ทำให้เกิดเป็น “เวทีความคิด” ที่เปิดโอกาสให้มีการพูดคุย พบปะแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา เพื่อ หาทางออกร่วมกัน โดยมีการประชุมทุกๆ 3 เดือน เน้นการสื่อสารประเด็นใน แต่ละช่วง คือ 1. ข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เครือไทยออยล์ต้องการแจ้งให้ชุมชน ทราบ 2. รายงานผลการดำเนินกิจกรรมทีท่ ำไปแล้ว ประเมินผลได้อย่างไร ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในทีป่ ระชุม 3. กิจกรรมที ่ ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


เรื่องจากปก

“สังคมจะน่าอยู่ ถ้าเราช่วยกัน” อยากทำร่วมกันในอีก 3 เดือนข้างหน้า และช่วงที่ 4 เสวนาภาษาชุมชน ซึ่งเป็นช่วงเวลาดีๆ ที่เปิดเวทีให้แต่ละส่วนในชุมชน ได้บอกเล่าเรื่องราวที่ต้องการสื่อสารให้เพื่อนสมาชิกในชุมชนได้ทราบ ใครมีปัญหาความเดือดร้อนเรื่องใด สามารถใช้เวทีนี้ เป็นช่องทางสื่อสารได้โดยตรงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทำให้เกิดการสื่อสารร่วมกันทั้ง 2 ทาง ทุกฝ่ายได้เรียนรู้และหา ทางออกร่วมกัน เสวนาภาษาชุมชน เกิดผลเป็นรูปธรรม ช่วงเสวนาภาษาชุมชนยังเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ร่วมกันเสนอว่า อยากพัฒนาอะไรอีกบ้างเพื่อชุมชน นอกเหนือไปจาก งานโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างถนน ซึ่งผลแห่งความพยายามร่วมกันคิดจากเวทีนี้ ทำให้ผลิดอกออกผลเกิดเป็น โครงการย่อยได้อีกหลายโครงการ ตัวอย่างเช่น โครงการผลิตไบโอดีเซลชุมชน เพื่อลดมลพิษจากน้ำมันพืชใช้แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการมองเห็น ต้นทุนที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่แล้ว เช่น ไทยออยล์มีโรงกลั่น มีห้อง Lab ที่ ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีองค์ความรู้ และ เครื่องจักรอุปกรณ์ ชุมชนมีความสามารถในการจัดหาน้ำมันพืชที่ใช้แล้วจาก ครัวเรือน เพียงแค่แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่แต่ละส่วนมี สิ่งดีๆ ก็เกิด ขึ้นได้ในชุมชน

โครงการความรู้คู่คุณธรรม สร้างผู้นำเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกับชุมชนรอบโรงกลั่น คัดเลือกเยาวชนที่ มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ได้ มี โ อกาสศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ใ นมหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ วิ ท ยาเขตศรี ร าชา ซึ่ ง เป็ น สถาบั น การศึ ก ษาในท้ อ งถิ่ น โดยไทยออยล์ สนับสนุนทุนการศึกษา และยังเปิดโอกาสให้เข้าร่วมเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ เพือ่ ซึมซับวิถกี ารทำงานระหว่างไทยออยล์และชุมชนอีกด้วย เป็นการปลูกฝัง นิสัยสำนึกรักบ้านเกิด พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนต่อไป

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


เรื่องจากปก นอกจากนี้ สิ่งที่ไทยออยล์ให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมใน การทำงาน และสามารถสื่อสารกับชุมชนแต่ละพื้นที่รอบโรงกลั่นได้อย่างทั่วถึงก็คือ การจัดให้มี “ผู้ประสานงานชุมชน” ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนชุมชนทุกๆ วันอังคาร เพื่อ สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในชุมชน พร้อมทั้งแนะนำช่องทางต่างๆ ที่ สามารถใช้บริการได้ เช่น การเสนอปัญหาผ่านตัวแทนชุมชน หรือหากมีการจัด กิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ร่วมกับเทศบาลและโรงพยาบาลอ่าวอุดม ก็จะเชิญ ชวนให้ไปใช้บริการ ซึ่งเป็นความห่วงใยที่ไทยออยล์และเทศบาลมีต่อชุมชน เชื่อมั่น...ร่วมคิด ร่วมทำ นำไปสู่การปฏิบัต ิ ผลจากการพูดคุยในเวทีร่วมคิด ร่วมทำ ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นแนวทางที่ทุกส่วน ในสังคมสามารถมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น จังหวัด ในฐานะผู้อำนวยการแผนรับมืออุบัติภัยด้านต่างๆ ได้จัดให้มีการซ้อมแผนฯ ร่วมกัน ระหว่างจังหวัด ชุมชน และภาคอุตสาหกรรม โดยใช้พื้นที่ชุมชนบ้านแหลมฉบัง ทำให้ คนในชุมชนได้เรียนรู้ว่าเมื่อประสบเหตุต้องทำอย่างไร ภาคอุตสาหกรรมเองก็ได้ใช้โอกาส นี้ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน และวิธีการรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิด นับเป็นความ พยายามในการแก้ไขปัญหาบนช่องทางต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกัน เติมวิตามินบำรุง หนุนเสริมด้วยกิจกรรม กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการชุมชน เป็นอีกหนึ่งภารกิจเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับชุมชน มีทั้งการเชิญ วิทยากรมาถ่ายทอดความรู้ในประเด็นต่างๆ เช่น ศิลปะการพูดกับชุมชน หัวใจสำคัญของการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งยังเปิด โอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมทัศนศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่อื่นๆ แถมท้ายเป็นกำไรชีวิต สามารถนำมาปรับใช้กับชุมชนของตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมโรงกลั่น ได้เห็นถึง ศักยภาพและมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยของโรงกลัน่ พร้อมร่วมกันทำของทีร่ ะลึกด้วยฝีมอื ตัวเอง เช่น ทำเทียนหอม ร้อยยางยืดเพื่อสุขภาพ ฯลฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ทำดีเพื่อชุมชน ไทยออยล์ พ ร้ อ มให้ ค วามร่ ว มมื อ ในการทำสิ่ ง ที่ เ ป็ น ประโยชน์ต่อชุมชน เพราะไทยออยล์เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและ สังคม หากพ่ อ แม่ พี่ น้องในชุมชน ต้องการสื่อสารเรื่องอะไร สามารถบอกเล่าส่งผ่านมาได้ทางผู้แทนชุมชนของท่าน เพื่อนำ เข้าสู่เวที “เราคิดร่วมกัน เราทำร่วมกัน” พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับ ทุกคนในชุมชนของเรา

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


ตามรอยพ่อ

โดย ลูกคนเล็ก

ชั่ง หัว มัน เมื่ อ ต้ น เดื อ นมี น าคม ขณะที่ อุ ณ หภู มิ ใ นเมื อ งหลวงกำลั ง ระอุ ฉั น ถื อ โอกาสชั ก ชวนมิ ต รสหาย หลบร้อนไปพักผ่อนที่ชายทะเลหัวหิน ขากลับพวกเราแวะซื้อของที่ร้าน Golden Place ระหว่างรอ จ่ายเงิน ฉันสะดุดตากับภาพกังหันลมและแปลงผักที่แขวนโชว์บนผนังร้าน ตอนแรกนึกว่าภาพถ่ายจากต่างประเทศ ถามไถ่เจ้าหน้าที่จนได้ ความว่าภาพที่เห็นทั้งหมดเป็นภาพในโครงการ “ชั่งหัวมัน” ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่อำเภอท่ายาง จังหวัด เพชรบุรีนี่เอง พวกเราเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะแวะไปเยี่ยมชมให้เห็นเป็นบุญตาสักครั้ง

ขับ รถตามเส้ น ทางที่การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยแนะนำ ระยะทางกว่า 20 กิโลเมตรจากถนนเพชรเกษม โดยมี ป้ายบอกทางเป็นระยะๆ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วโครงการของพระองค์ท่าน ล้วนแต่อยู่ในถิ่นที่ห่างไกลความเจริญทั้ง นั้น เพื่อจะได้ช่วยเหลือประชาชนที่ยาก ลำบากจริงๆ จุดสังเกตที่ทำให้รู้ว่าใกล้ถึง โครงการแล้วคือกังหันลมที่เรียงรายหมุน ติ้วอยู่ 20 ตัว พื้นที่บริเวณโครงการนี้ถือ เป็ น จุ ด ที่ ติ ด ตั้ ง กั ง หั น ลมมากที่ สุ ด ใน ประเทศ เนื่องจากมีช่องเขาที่ลมพัดผ่าน ลมแรงไม่แพ้ที่ริมทะเล หรือบนหน้าผา สู ง ๆ เลย กระแสไฟฟ้ า ที่ ผ ลิ ต ได้ นั้ น นอกจากจะใช้ ใ นโครงการแล้ ว ยั ง ขาย ให้การไฟฟ้าได้อีกต่อหนึ่ง

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

ผ่านจุดแลกบัตรเข้ามาอีกนิดเดียว เป็ น แปลงทดลองปลู ก ต้ น ไม้ พั น ธุ์ ไ ม้ หลากหลายชนิ ด เขื่ อ นดิ น ขนาดใหญ่ อาคารนิ ท รรศการ อาคารเก็ บ พื ช ผล สำนักงานโครงการ และบ้านไม้หลังหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ท้ายแปลงปลูกผัก ตัวบ้านสร้าง แบบเรียบง่าย ไม่ต่างจากบ้านชาวบ้าน ธรรมดาทัว่ ไป ทราบภายหลังว่าบ้านหลังนี้ สร้างเตรียมไว้เป็นเรือนรับรองที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวฯ เจ้าของไร่ นั่นเอง พื้นที่โครงการค่อนข้างกว้าง หาก กลั ว ว่ า จะเดิ น ชมได้ ไ ม่ ทั่ ว ให้ ข อยื ม รถ จั ก รยานสี ช มพู ที่ จ อดอยู่ ด้ า นหน้ า สำนักงานโครงการขี่เที่ยวชมโครงการได้ หรือถ้ากลัวแดดก็มีร่มให้ยืมใช้ด้วยเช่นกัน ป้ายนิทรรศการช่วยให้เข้าใจความ เป็นมาและชื่อโครงการ “ชั่งหัวมัน” ว่า

ตอนที่พระองค์ประทับที่พระราชวังไกล กั ง วล ทรงมี พ ระราชประสงค์ ใ ห้ น ำ มั น เทศที่ ช าวบ้ า นนำมาถวายวางไว้ บ น ตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์ทรงเสด็จ พระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พอพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวัง ไกลกังวลอีกครั้ง จึงพบว่ามันเทศที่วางไว้ บนตาชั่งนั้นมีใบงอกออกมา จึงทรงรับสั่ง ให้นำหัวมันต้นนั้นไปแยกกระถางปลูกไว้ ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัส ให้หาพื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ เมื่ อ ต้ น ปี 2552 พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ ซื้ อ ที่ ดิ น จากราษฎร ณ บ้ า น หนองคอกไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอ


“…คนที่ไปดูได้เห็นว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนที่อยู่ในท้องที่นั้นก็เข้าใจว่า ต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ ในระยะนี้ เราต้องร่วมมือกันทำ เพราะถ้าไม่มีการร่วมมือกันก็ ไม่ก้าวหน้า ไม่มี ความก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้วมีความก้าวหน้านี้เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกัน เสียสละ เพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไรก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็น ว่ากิจการที่ทำมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทำแล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่ง มันทั้งหมดรวมกันทำ และมี ความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่าประเทศชาติ จะก้าวหน้า ประเทศไทยจะมีความสำเร็จ...” พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่โครงการชั่งหัวมัน

ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 250 ไร่ ทีจ่ ากเดิมเป็นป่ายูคาลิปตัสรกร้าง แห้งแล้ง ขาดแคลนแหล่ ง น้ ำ นำมาพั ฒ นาเป็ น ศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจนานาชนิด อาทิ พืชผักสวนครัว สับปะรดปัตตาเวีย มะละกอ มะพร้ า ว ชมพู่ กล้ ว ย มั น เทศญี่ ปุ่ น มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ ฯลฯ และพระราชทานชื่ อ โครงการว่ า “ชั่งหัวมัน” ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาค ส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้การปรับปรุงพืน้ ทีโ่ ครงการ ชัง่ หัวมัน ตามพระราชดำริระยะที่ 1 ที่เริ่มดำเนิน การในเดือนกรกฎาคม เสร็จก่อนกำหนด ที่วางไว้ และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ฯ เสด็ จ พระราชดำเนิ น เป็ น การส่ ว นพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี และท่ า นผู้ ห ญิ ง ทัศนาวลัย ศรสงคราม ทอดพระเนตร แปลงเพาะปลูกพืชผักผลไม้และกิจกรรม ต่างๆ ของโครงการ พร้อมทรงเปิดป้าย ชื่อโครงการ และเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม

2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็ น การส่ ว นพระองค์ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความเอาพระราชหฤทัยใส่ต่อโครงการนี้ อย่างจริงจัง ในบริเวณโครงการมีแปลงปลูกพืช หลายชนิ ด ใช้ วิ ธี ก ารทำเกษตรแบบ อินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี และติดตั้งระบบ น้ำหยด โดยที่หน่วยงานราชการและชาว บ้านในละแวกใกล้เคียงได้มีโอกาสเข้ามา เรี ย นรู้ แบ่ ง ปั น ประสบการณ์ แ ละแลก เปลี่ยนแนวความคิดร่วมกัน รวมทั้งนำ ความรู้ ไ ปใช้ ใ นพื้ น ที่ ข องตน ชาวบ้ า น หลายคนอาสามาช่วยดูแลไร่ของในหลวง ด้วยความเต็มใจ และร่วมแรงร่วมใจใน งานต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้ไร่ของพ่อเจริญ งอกงาม เช่ น การขุ ด ลอกอ่ า งเก็ บ น้ ำ หนองเสือที่ไม่ได้รับการดูแลมาหลายปีให้

เก็บน้ำได้มากขึ้น จาก 230,000 ลูกบาศก์ เมตร เป็ น 280,000 ลู ก บาศก์ เ มตร เป็นต้น จากผืนดินรกร้างที่แห้งแล้ง แทบจะ ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ นอกจากรอวัน ขายทิ้ง กลับเต็มไปด้วยพืชเศรษฐกิจและ พืชท้องถิ่นเขียวชอุ่มสุดสายตา นั่นเพราะ พระราชดำริ แ ละน้ ำ พระราชหฤทั ย ของ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ฯ ที่ ท รง ดู แ ลห่ ว งใยราษฎรของพระองค์ ม าโดย ตลอด ช่วยพลิกฟื้นผืนดินแห่งนี้ให้กลับ มามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จะมีพระมหากษัตริย์ พระองค์ใดหนอที่ทรงทุ่มเททุกอย่างเพื่อ ประชาชนของพระองค์ได้ขนาดนี้ ฉั น ไม่ นึ ก แปลกใจเลยที่ เ ห็ น ป้ า ย ถวายพระพรที่ชาวอำเภอท่ายาง ร่วมกัน จัดทำเพื่อแสดงความสำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณ พร้อมขึ้นข้อความที่ตรงกับ ความรู้สึกในใจของฉันเช่นกัน... ขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


รอบรั้วไทยออยล์

โดย กองบรรณาธิการ

เครือไทยออยล์ร่วมจัดงานวันเด็ก 2553

เครือไทยออยล์ได้จัดงานวันเด็ก ประจำปี 2553 ณ บริเวณศูนย์สุขภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา โดยมี คุณณรงค์ฤทธิ์ ถาวรวิศิษฐพร ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ-ด้านโรงกลั่น และ คุณบุญเลิศ น้อมศิลป์ นายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง เป็นประธานในพิธี โดยในปีนี้ เครือไทยออยล์ และ TCP ได้ร่วมกับหน่วยงานทางราชการ จัด นิทรรศการเพือ่ ให้ความรูด้ า้ นสุขภาพ การอนุรกั ษ์พลังงาน และความรูเ้ กีย่ วกับ โรงกลั่นแก่เยาวชนรอบโรงกลั่น รวมทั้งส่งเสริมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ของกลุ่มเยาวชน โดยมีเยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 800 คน

เครื อ ไทยออยล์ จั บ มื อ เทศบาลตำบลแหลมฉบั ง ออกหน่ ว ย สาธารณสุข ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ

เมื่อช่วงเย็นวันที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ จัดกิจกรรมออก หน่ ว ยสาธารณสุ ข เคลื่ อ นที่ ร่ ว มกั บ เทศบาลตำบลแหลมฉบั ง ณ บริ เ วณ ที่ทำการชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการจากเครือ ไทยออยล์และโรงพยาบาลอ่าวอุดม มีการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ชุมชน รวมทั้งให้บริการตัดผมฟรี ในงานนี้นอกจากชาวชุมชนบ้านเขาน้ำซับจะได้รับ ความรู้และการบริการที่ดีจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว ยังได้รับความสนุกสนาน จากกิจกรรมอีกด้วย

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


ชุ ม ชนบ้ า นทุ่ ง และชุ ม ชนวั ด มโนรมเยี่ ย มชม เครือไทยออยล์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา คณะชุมชน บ้านทุ่งและชุมชนวัดมโนรมเข้าเยี่ยมชมกิจการ รับฟัง บรรยายสรุปภาพรวมธุรกิจเครือไทยออยล์ และได้ร่วม กิจกรรมอนุรักษ์พลังงานเพื่อลดโลกร้อน โดยคุณนรินทร์ สนประเสริฐ วิศวกรไฟฟ้า กลุ่มสนับสนุนด้านเทคนิค แผนกวิ ศ วกรรมไฟฟ้ า บริ ษั ท ไทยออยล์ จำกั ด (มหาชน) เป็นผู้บรรยายสรุปและจัดหาอุปกรณ์สาธิตให้ คณะที่ เ ข้ า เยี่ ย มชม ทั้ ง นี้ ได้ รั บ ความสนใจจากคณะ ชุมชนเป็นอย่างดี

TPX ลงนามสัญญา เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต BZ และ PX

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX) โดยคุณสุพล ทับทิมจรูญ กรรมการอำนวยการ และ Mr. Gary T. Schmidt President of ExxonMobil Catalyst Technologies LLC and Vice President of ExxonMobil Chemical Technology Licensing LLC (EMCTL : ดูแลลิขสิทธิ์ด้านเทคโนโลยีการผลิตสารอะโรเมติกส์ของบริษัทในเครือ ExxonMobil ทั้งหมด) ได้ร่วมกันลงนามสัญญาจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ สัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์ (Technology License Agreement) และสัญญาเช่าสารเร่ง ปฏิกิริยา (EM-2300 Catalyst Lease Agreement) เพื่อดำเนินโครงการ PxMaxsm โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ TPX โดยปรับเปลี่ยนสารโทลูอีนให้เป็นสารเบนซีนและ สารพาราไซลีน ซึ่งมีราคาและอุปสงค์สูงกว่า ในการลงนามครั้งนี้ ดร.วิโรจน์ มาวิจักขณ์ ประธานกรรมการ TPX พร้อมด้วยคุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร คุณสมเกียรติ หัตถโกศล ผู้อำนวยการใหญ่ และฝ่ายจัดการเครือไทยออยล์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ บริษัท ชั้น 17 สำนักงานกรุงเทพฯ

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


ข่าวศูนย์สุขภาพ

โดย กองบรรณาธิการ

ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน

เพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

ผู้ใช้ถนนอ่าวอุดมเป็นประจำ คงจะ คุน้ เคยกับอาคารสีสนั สดใสรูปทรงทันสมัย ที่ ตั้ ง อยู่ บ ริ เ วณสี่ แ ยกถนนอ่ า วอุ ด ม ซอย 7 ใกล้กับบริษทั ไทยลูบ้ เบส จำกัด (มหาชน) กันเป็นอย่างดี หลายคนอาจ นึ ก สงสั ย ว่ า อาคารนี้ ส ร้ า งขึ้ น มาเพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ ด วั น นี้ ข อรั บ อาสาพา ทุกท่านไปไขข้อข้องใจกันค่ะ เพราะสุขภาพคือต้นทุนที่สำคัญของชีวิต การดูแลสุขภาพของชุมชนรอบโรงกลั่นถือ เป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ในพื้นที่ด้านหนึ่ง ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ ผ่านมา เครือไทยออยล์ได้ร่วมกับเทศบาลตำบลแหลมฉบัง โรงพยาบาลอ่าวอุดมและ คณะกรรมการชุมชนละแวกโรงกลั่นออกหน่วยสาธารณสุขและทันตกรรมเคลื่อนที่ เพื่อให้ บริการแก่ชาวบ้านในชุมชนเป็นประจำ เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 เครือไทยออยล์ได้ต่อยอดการดูแลสุขภาพของชุมชนด้วย การสร้าง “ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน” ขึ้น เพื่อตอบสนองการ ดูแลสุขภาพของชุมชนในระยะยาว และเป็นศูนย์รวมความร่วมมือและแหล่งเสริมสร้าง องค์ความรู้ของชุมชนในอนาคต โดยศูนย์ฯ ดังกล่าวจะมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพในเชิง ป้องกัน และครอบคลุมถึงการให้บริการห้องสมุดและจัดอบรมฝึกงานอาชีพให้ชุมชน รวม ทั้งยังมีลานอเนกประสงค์เพื่อการสันทนาการของครอบครัวในชุมชนด้วย ภายในศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ประกอบไปด้วย ส่วนให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้ ศูนย์สุขภาพ : บริการด้านทันตกรรมและงานบริการสุขภาพเชิงรุก โครงการความร่วมมือในการดูแลสุขภาพของชุมชน ระหว่างเครือ ไทยออยล์กบั โรงพยาบาลอ่าวอุดม ศูนย์สขุ ภาพฯ เปิดให้บริการด้านทันตกรรม โดยเน้นในกลุ่มเด็กนักเรียน เป็นการบูรณาการด้านการรักษา การส่งเสริม และการป้องกันเข้าด้วยกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของฟันและช่องปากอย่าง ถูกวิธีตั้งแต่เยาว์วัย อันเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งให้เด็กๆ มีพลานามัย ที่แข็งแรง สมบูรณ์ เพราะการมีสุขภาพฟันดียังช่วยป้องกันโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นศูนย์สุขภาพฯ ยังครอบคลุมถึงงานบริการสุขภาพ เชิงรุก ซึ่งประกอบด้วย เวชศาสตร์ชุมชน Home Health Care เป็นต้น

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


ห้องสมุดประชาชน : ขุมทรัพย์ทางปัญญา แหล่งรวมหนังสือสาระบันเทิงหลากหลาย สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแหล่งข้อมูล ที่ทันสมัยเพื่อให้พี่น้องในชุมชนมาใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้ได้ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการตั้งทีมเยาวชนในชุมชนร่วมค้นคว้าข้อมูล ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมคิดกิจกรรมที่ส่งเสริมการ พัฒนาห้องสมุดตลอดจนกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้ที่ยั่งยืนของชุมชน

ลานอเนกประสงค์ : เพิ่มพูนองค์ความรู ้ ลานใต้ถุนเป็นโถงกว้างเพดานสูงให้ความรู้สึกเหมือนบ้านไทยสมัย ก่ อ น ที่ ใ ช้ ล านใต้ ถุ น บ้ า นทำกิ จ กรรมต่ า งๆ ของบรรดาสมาชิ ก ใน ครอบครัว ลานอเนกประสงค์นี้ใช้ประกอบกิจกรรมหลากหลาย อาทิ การ อบรมฝึกทักษะอาชีพ การจัดกิจกรรมสันทนาการ การสอนพิเศษ การจัด ประชุมชุมชน เป็นต้น ลานกลางแจ้ง : สร้างเสริมพลานามัย พืน้ ทีว่ า่ งด้านหน้าอาคารเป็นลานออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับชุมชน โดยจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสันทนาการในด้าน ต่างๆ เช่น แอโรบิกเพื่อสุขภาพ สถานีออกกำลังกาย และสนามเด็กเล่น เป็นต้น

หอพระ : ศูนย์รวมแห่งจิตใจ สุขภาพกายที่ดีนั้นเกิดจากจิตใจที่แข็งแรง นอกจากการดูแลสุขภาพกายแล้ว ในบริเวณ ใกล้เคียงกับศูนย์สุขภาพฯ ยังมีหอพระที่ประดิษฐานพระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนีซึ่ง จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบการดำเนินงาน 48 ปี ของบริษัทฯ เพื่อความเป็นสิริมงคลและ ความเจริญทางด้านจิตใจของพนักงานและคนในชุมชน ด้วยการนำวิถีพุทธประสานเข้ากับวิถี ชุมชนมุ่งสู่การเป็นชุมชนเรียนรู้ประสานการปฏิบัติและใช้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา อาทิ จัดบรรยายธรรม ปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิ การสนทนาธรรม เป็นต้น ศูนย์แจ้งเหตุ : มั่นใจในความปลอดภัย ในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ยังมีศูนย์แจ้ง เหตุที่มีระบบรับการแจ้งเหตุ และการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ทั้งนี้สามารถแจ้งเหตุ ฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ในวันพุธที่ 16 มิถุนายนนี้ ศู น ยสุ ข ภาพฯ พร้ อ มเปิ ด งานบริ ก ารด้ า นทั น ตกรรม กลุ่ ม เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1-6 ในเขตตำบลทุ่งสุขลา โดยในระยะแรกจะเปิดให้บริการ 3 วัน ต่อสัปดาห์ ทุกวันพุธ พฤหัสบดี และวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


กระบอกเสียงชุมชน โดย กองบรรณาธิการ

กระบอกเสี ย งชุ ม ชนพื้ น ที่ แ สดง ความคิดเห็นของคนในชุมชน ฉบับแรกนี้ คุ ณ พนม วั ฒ นวิ เ ชี ย ร ประธานชุ ม ชน บ้านแหลมฉบัง ได้ถ่ายทอดเรื่องราวใน อดีตของชุมชนแห่งนี้ที่บางเรื่องหลายคน อาจไม่เคยทราบมาก่อน และคุณพนม ยังฝากข้อคิดดีๆ ไว้ ให้คนรุ่นต่อไปช่วย สานต่อภารกิจ เพื่อพัฒนาชุมชนของ เรากันต่อไป คุณพนม วัฒนวิเชียร ประธานชุมชนบ้านแหลมฉบัง

10 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


ข้อคิดจากคุณพนม วัฒนวิเชียร ประธานชุมชนบ้านแหลมฉบัง ชุมชนของเราเป็นชุมชนเก่าแก่ เป็นที่สร้างเนื้อสร้างตัว ของคนรุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นทวด โดยอาชีพหลักคือทำการประมง ด้วยเรือเล็กและค้าขายโดยนำวัตถุดิบจากทะเลมาแปรรูปเป็น อาหารตากแห้ง พื้นที่ชุมชนแหลมฉบังมีสิ่งที่ทรงคุณค่าหลาย ประการ ทั้งด้านชีวิตความเป็นอยู่และด้านความคิดความเชื่อ กล่าวโดยสภาพทั่วไป ชุมชนอยู่ริมทะเลที่แต่ก่อนเรียกว่าแหลม กำบังคือเป็นพื้นที่ซึ่งชาวทะเลที่ออกเรือหาปลาหลบลมมรสุมเข้า มาพัก ต่อมาก็เรียกขานผิดแผกไปจากแหลมกำบังจึงกลายเป็น แหลมกระบังแล้วเป็นแหลมฉบังในที่สุด นอกจากนี้มีพื้นที่ป่า ชายเลนที่ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งอนุรักษ์เพื่อความ สมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลในอนาคต ในด้านประวัติศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเคยเสด็จมาประทับ ณ บ้านแหลมฉบังเป็นครั้งคราว และในอุโบสถของวัดแหลมฉบังยังมีภาพจิตรกรรมที่มีค่าทาง ศิลปะที่น่าหวงแหน พื้นที่ของชุมชนแหลมฉบังจึงมีความสำคัญ ยิ่งไม่แพ้สถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งอื่นของชลบุรี ในด้านเศรษฐกิจ พื้นที่ของเรามีร้านอาหารหลายร้านที่เจ้า หน้าที่ พนักงานบริษัทต่างๆ เข้ามาใช้บริการและมีร้านจำหน่าย อาหารทะเลแห้งและขนมต่างๆ เป็นจำนวนมากในราคามิตรภาพ

เพราะเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเองในชุมชน อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ ชุมชนของเราเป็นชุมชนที่มีความสามัคคี เข้มแข็ง สามารถ รวมพลังคนในชุมชนสร้างผลงานต่างๆ ได้ตลอด เช่น การเท พื้นปูนสร้างลานแอโรบิกสำหรับออกกำลังกาย โครงการสร้าง เขื่อนกั้นคลื่นขนาดเล็กให้กับชาวประมง เป็นต้น ผมขอฝากสิ่งดีๆ เรื่องดีๆ ของชุมชนเรา ให้ทุกคนช่วย กันดูแลรักษาในฐานะที่เราทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ผมอยาก เห็นความเจริญ ความเข้มแข็งของชุมชนของเราและอยากเห็น เยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามาสืบสานภารกิจของชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่ ข าดสาย สั ง คมจะดี ไ ด้ ก็ ต้ อ งตั ว บุ ค คลแต่ ล ะบุ ค คลดี แต่ละบุคคลจะดีได้ก็เพราะสิ่งแวดล้อมของชุมชนสร้างเสริมให้ บุคคลมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพพื้นที่และคุณภาพ ชีวิต ผมได้ มุ ม มองและแง่ คิ ด มากมายจากการเข้ า มาเป็ น ประธานชุมชน เมื่อก่อนรู้แต่เรื่องการทำประมง รู้แต่เพียงว่า ปลาประเภทไหนราคาเท่าไร พอเข้ามาทำงานแล้วต้องเรียนรู้ การเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้การพัฒนา และเข้าใจคนใน ชุมชน เข้าใจเพื่อนบ้านและเข้าใจเพื่อนต่างชุมชน เมื่อได้เรียน รู้มากขึ้นก็ทำให้เกิดความคิดดีๆ นำมาสร้างเสริมการทำงาน ร่วมกันเพื่อการพัฒนาชุมชนของเรา ความสุขของคณะกรรมการ ชุมชนบ้านแหลมฉบังในวันนี้ อยู่ที่การเห็นคนในชุมชนของเรา อยู่ดี กินดี มีงานทำ รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ ส่วนรวม สำหรับเครือไทยออยล์นั้น ชาวบ้านแหลมฉบังมีความ ผู ก พั น รั ก ใคร่ เ พราะเครื อ ไทยออยล์ เ ข้ า ใจชุ ม ชน สนั บ สนุ น กิจกรรมชุมชนและอยู่ร่วมกับชุมชนแบบคนในชุมชนเดียวกัน ผมเชือ่ มัน่ ว่าชุมชนรักเครือไทยออยล์ ผมอยากเห็นเครือไทยออยล์ เจริญรุง่ เรืองเป็นองค์กรทีม่ อี ายุยนื ยาวเพือ่ ร่วมกันสร้างประโยชน์สขุ ให้กับพี่น้องในชุมชนของเรา

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

11


ปลอดภัยใกล้ตัว

โดย เซฟตี้แมน

ไฟฟ้าลัดวงจร

อีกแล้ว!

เพลิงไหม้ศาลากลางปราจีนบุรี คาดไฟฟ้าลัดวงจร

เกิดเหตุเพลิงไหม้ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี ที่บริเวณชั้นล่าง ห้อง สนง.สถิติ พบคอมพ์ เอกสาร โต๊ะ เก้าอี้ถูกไฟไหม้จำนวนมาก เบื้องต้นคาดไฟฟ้าลัดวงจร

ล้านบาท ปทุมธานีไฟฟ้าลัดวงจรไหม้บ้าน อบต. เสียหายกว่ าเพลิ ้ ไปข้างบน ้ ล่างขึน งได้ลกุ ลามจากชัน

เกิดเหตุเพลิงไหม้บา้ น อบต.หนา้ ไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ้งและสายไฟมีอายุ ชั้นสอง ส่วนสาเหตุคาดว่าน่าจะเป็นไฟฟ้าลัดวงจร เนื่องจากเกิดไฟช็อตบ่อยครั หลายสิบปีแล้วทำให้เกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้

เวลาเกิดไฟไหม้ อาคาร บ้านเรือนต่างๆ ข้อสันนิษฐาน เบือ้ งต้นมักจะเริม่ จาก “ไฟฟ้าลัดวงจร” และรอผลการพิสจู น์ตอ่ ไป ชาวบ้านอย่างเราๆ คงพบข่าวทำนองนี้บ่อยๆ แต่โชคร้ายที่ ไม่ค่อยมี ก ารรายงานข่ า วต่อมาว่าผลการพิสูจน์เป็นอย่างไร ทำให้สภากาแฟนิยมสรุปเหตุไฟไหม้วา่ “สงสัยไฟช็อต” ทุกรายไป หากท่านแสลงใจกับคำว่า “ไฟช็อต” หรือไม่อยากเป็น เหยือ่ ของ “ไฟฟ้าลัดวงจร” ทัง้ ทีต่ งั้ ใจและไม่ตงั้ ใจ ผมขอแนะนำ วิธีดูแลความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเบื้องต้นดังนี้ ครับ • การทีฟ่ วิ ส์ (Fuse) ขาด หรือคัทเอ้าท์ (Circuit Breaker) ที่บ้านเราตั ด บ่ อ ยๆ นั้ น แสดงว่ามีสิ่งผิดปกติในระบบไฟฟ้ า แน่นอน นอกจากการซื้อฟิวส์ที่มีขนาดเท่าเดิมมาเปลี่ยนหรือ โยกคัทเอ้าท์ขึ้นเฉยๆ แล้ว เราต้องพยายามหาสาเหตุของการมี กระแสไฟเกินให้พบ สาเหตุเหล่านี้มีตั้งแต่ หนูกัดสายไฟ (ช่าง บางคนบอกว่า นอกจากกัดแล้วมันยังฉี่รดด้วย) ปลั๊กไฟฟ้ามี ความชื้น สายไฟเก่าหรือหมดสภาพ ฯลฯ • เวลาใช้อปุ กรณ์ทใี่ ห้ความร้อนหรือกินไฟมาก เช่น เครื่องต้มกาแฟ เตาปิ้งหรืออุ่น อาหาร กระทะไฟฟ้า ฯลฯ ให้ เสียบปลั๊กกับเต้าจ่ายไฟฟ้า 1 เครือ่ งต่อปลัก๊ เท่านัน้ »ÅÍ´ÀÑÂ

12 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

»ÅÍ´ÀÑÂ

• เลือกซือ้ เครือ่ งไฟฟ้าทีไ่ ด้เครือ่ งหมายรับรอง เช่น มอก. และ/หรือ เครือ่ งหมายปลอดภัย “S”, “CE” • หากพบสายไฟขาด หรือ ฉนวนปริแตกให้เปลีย่ นทันที • ติดตั้งหลักดิน และสายดินไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับน้ำ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำ น้ำเย็น เครือ่ งทำน้ำร้อน ไมโครเวฟ เป็นต้น • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (Ground Fault Circuit Breaker, Earth Leak Circuit Breaker-ELCB) หรือทีน่ ยิ มเรียกว่า Safety Cut (ซือ้ ยีห่ อ้ อืน่ ๆ ก็ได้ครับ เดีย๋ วยีห่ อ้ นีร้ วยอยูค่ นเดียว) และหมั่นทดสอบการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดือนละครั้ง ปัจจุบันเครื่องทำน้ำอุ่นมักมีปุ่มทดสอบ ELCB อยู่ข้างๆ ท่อน้ำ เข้า-ออก แต่สว่ นใหญ่ผใู้ ช้งานไม่คอ่ ยได้ทดสอบกัน • การเดินสายไฟ ติดตั้งปลั๊กไฟ หรือการตัดต่อระบบ ไฟฟ้าในบ้าน ต้องทำโดยช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ เช่น ช่างจาก กฟภ. หรือ ช่างทีผ่ า่ นการอบรมจากกรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน อย่าลืมนะครับ หมัน่ ดูแลเครือ่ งใช้ไฟฟ้าภายในบ้านตามข้อ แนะนำง่ายๆ ข้างต้น เพือ่ ความปลอดภัยของตัวท่านเองและคน ทีท่ า่ นรักนะครับ พบกับผมได้ใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ


ก้าวทันโลก โดย สงวนศรี

จักรยานไฟฟ้า “E-BIKE”

ยานยนต์ ไ ฟฟ้ า ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งใหม่ หลายสิ บ ปี ม าแล้ ว ในหลายประเทศใช้ รถรางไฟฟ้ า รถบั ส ไฟฟ้ า หรื อ แม้ แ ต่ รถยนต์ ไ ฟฟ้ า แต่ ยั ง ไม่ เ ป็ น ที่ นิ ย มแพร่ หลาย เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ จนกระทั่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความต้องการพลังงานสะอาดมีมาก ขึ้ น จึ ง มี ก ารวิ จั ย และพั ฒ นายานยนต์ ไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง จริงจัง ในปัจจุบันมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หลายรูปแบบ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถบัส ไฟฟ้ า รถยนต์ ไ ฮบริ ด รถกอล์ ฟ ไฟฟ้ า มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า สกูตเตอร์ไฟฟ้า และ รถจั ก รยานไฟฟ้ า ในบรรดายานยนต์ เหล่านี้ รถจักรยานไฟฟ้าดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ ใกล้ตัวเรามากที่สุด จั ก รยานไฟฟ้ า “E-Bike” หรื อ Electric Bicycle เป็นยานยนต์ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ไม่มีไอเสีย เงียบ น้ำหนัก เบา ความเร็ ว ไม่ สู ง ปลอดภั ย และ ประหยัด ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ด้วยการ เสียบปลั๊กเข้ากับเต้าไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน โดยประมาณ 20 กิโลเมตรใช้ไฟฟ้าเพียง 1 บาท และสามารถเลือกใช้เป็นจักรยาน ธรรมดาได้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนเร็วขึ้นคือ มลพิษจากการ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของยานยนต์ต่างๆ ซึ่งมาตรการหนึ่งที่น่าจะทำได้ใน อนาคตก็คือ การนำพลังงานสะอาดมาหมุนมอเตอร์ ไฟฟ้า แทนการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิล คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้วิจัย เทคโนโลยีสำหรับผู้สนใจเพื่อนำไปผลิต และคิดค้นจักรยานไฟฟ้าสัญชาติไทยขึ้น เชิงพาณิชย์ด้วย จักรยานไฟฟ้าของไทย ได้สำเร็จ นวัตกรรมใหม่นี้มีประสิทธิภาพ เราเองจะช่วยลดการนำเข้ามอเตอร์ไซค์ เหนื อ กว่ า จั ก รยานไฟฟ้ า ทั่ ว ไปในท้ อ ง ไฟฟ้าขนาดเล็ก การนำเข้าเชื้อเพลิง และ ตลาด โดยการเพิ่มเทคโนโลยีดึงพลังงาน การนำเข้ า ชิ้ น ส่ ว นจากต่ า งประเทศได้ คืน (Regenerative Energy Technology) และยั ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ จ ะช่ ว ยรั ก ษาโลก ที่จะช่วยดึงพลังงานส่วนหนึ่งกลับเข้าสู่ ของเราให้มีชีวิตยืนยาวต่อไป แบตเตอรี่ในขณะเบรก (Regenerative Braking) ซึ่งเทคนิคนี้ช่วยลดการสึกหรอ Tips ของผ้าเบรกได้อีกด้วย การใช้จักรยานไฟฟ้าจุดสำคัญที่สุด จั ก รยานไฟฟ้ า ของเนคเทคยั ง คื อ การดู แ ลรั ก ษา ควรใช้ ผ้ า ชุ บ น้ ำ ถู สามารถปรับเป็นจักรยานออกกำลังกาย ทำความสะอาด ไม่ ค วรฉี ด น้ ำ เข้ า ที่ ตั ว (Exercise Bike) ได้ โดยพลังงานจากการ มอเตอร์ แ ละหน่ ว ยควบคุ ม ไฟฟ้ า ที่ อ ยู่ ปั่นจะถูกเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่ “E-Bike” ระหว่างใต้เบาะนั่งและล้อหลังตรงบริเวณ เป็ น อี ก ทางเลื อ กหนึ่ ง สำหรั บ ผู้ ห่ ว งใย กลางตัวรถ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม แบตเตอรี่ เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ มี ส่ ว น ในยุ ค ที่ ทุ ก คนต้ อ งคิ ด ถึ ง การ สำคัญอย่างมากสำหรับรถจักรยานไฟฟ้า ประหยัดพลังงาน และสภาพเศรษฐกิจ จึ ง ต้ อ งศึ ก ษาการใช้ ง านและดู แ ลรั ก ษา จั ก รยานไฟฟ้ า เริ่ ม ได้ รั บ ความนิ ย มเพิ่ ม อย่างถูกต้อง เพื่อให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตคาดว่าจะมีจุด อย่างคุ้มค่าที่สุด บริ ก ารแบตเตอรี่ (Battery Service Station) ซึง่ ผูข้ บั ขีส่ ามารถนำชุดแบตเตอรี่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ พ ลั ง งานใกล้ ห มด มาแลกเปลี่ ย นกั บ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แบตเตอรี่ที่มีประจุเต็มได้เลย โดยใช้เวลา ศูแห่นงย์ชาติ ไม่เกิน 1 นาทีเท่านั้น โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2347-2350 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ พร้อมที่จะถ่ายทอด ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

13


พี่เก่าเล่าเรื่อง

โดย กระวานไพร

ขอขอบคุณรูปภาพจากคุณ santi1309

“งูเหลือมตัวนั้น” กับ “ความฝันของเรา”

ในบ่ายของวันทีอ่ ากาศเป็นใจ พีๆ่ ศิษย์เก่า ไทยออยล์ นัดรวมพลพร้อมอาสาผลัดกันเล่า เรื่องราวจากประสบการณ์หลากรสชาติของ ชีวิตการทำงานในครอบครัวไทยออยล์ ที่แม้ จะผ่านวันเวลามายาวนาน แต่ยงั คงแจ่มชัดใน ความทรงจำราวกับว่าเพิง่ เกิดขึน้ เมือ่ วาน

14 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 48 ปีที่แล้ว เรื่องราวของ การกลั่นน้ำมันยังเป็นความรู้ที่ใหม่มากๆ ในช่วงนั้น เมืองไทย ยังไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อน อีกทั้งยังไม่มีสถานศึกษาที่สอน เรื่องนี้ โลกของการเรียนรู้เรื่องการกลั่นน้ำมัน จึงต้องพึ่งพิง องค์กรพี่เลี้ยงจากบริษัทเชลล์ ไทยออยล์ ใ นช่ ว งเวลานั้ น เริ่ ม ต้ น สร้ า งกำลั ง คน และ วางแผนการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน ภายหลังการขออนุญาตจาก รัฐบาลในการจัดตัง้ โดยเริม่ เปิดรับสมัครพนักงานระดับปฏิบตั กิ าร ส่วนใหญ่เป็นชายหนุ่มวัยประมาณยี่สิบต้นๆ จบการศึกษาขั้นต่ำ ม.6, ม.8, ปวช., อาชีวะ ราว 130 คน เข้าร่วมฝึกอบรมอย่าง เข้มข้น เป็นระยะเวลานานถึง 6 เดือน ที่สำนักงานช่องนนทรี กรุงเทพฯ ในช่วงแรกเป็นการเรียนรู้เนื้อหาพื้นฐานเหมือนกัน ต่อมาก็แยกย้ายกันเรียนเฉพาะด้านตามความถนัด เช่น เคมี งานกลุ่มช่าง ฯลฯ ครูผู้สอนมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ชีวิต การเรียนในแต่ละวันล้วนอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ เข้มข้นทั้ง ภาคทฤษฎี แ ละภาคปฏิ บั ติ ไม่ ต่ า งจากสภาพบรรยากาศใน ชั้นเรียน ความเป็นพี่เป็นน้องของคนไทยออยล์ ค่อยๆ บ่มเพาะและก่อตัวขึ้นในรั้วโรงเรียนแห่งช่องนนทรี เพราะทุกคน ต่างก็ต้องรับผิดชอบงานของตัวเองอย่างเคร่งครัด พร้อมๆ กับ ทำงานร่วมกันในแบบ “ทีม” ให้เกิดผล แถมยังใช้ชีวิตส่วนใหญ่ คลุกคลีอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน จนกระทั่งราวเดือนมกราคม พ.ศ. 2507 พนักงานไทยออยล์รุ่นบุกเบิกชุดแรกประมาณครึ่ง


ขอขอบคุณรูปภาพจากคุณ santi1309

หนึ่งเริ่มทยอยเดินทางมุ่งหน้าสู่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่ง เป็นที่ตั้งของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ โรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกใน พื้นที่ภาคตะวันออกของไทย จากชีวิตการทำงานในเมืองกรุง มุ่งสู่การทำงาน เต็มรูปแบบในพื้นที่โรงกลั่นน้ำมัน แม้ในช่วงแรกจะเต็มไปด้วย ความยากลำบาก แต่ในชีวิตลูกผู้ชายแล้ว มันคือความท้าทาย และความตื่นเต้นยิ่งนัก เล่ า ให้ ฟั ง มาถึ ง ตรงนี้ พี่ ๆ ศิ ษ ย์ เ ก่ า หลายคนถึ ง กั บ ออกปากว่า ชีวิตช่วงแรกนั้นลำบากมากๆ บ้านก็ต้องเช่ากันอยู่ หลังหนึ่ง 4-5 คน อยู่ด้วยกัน ก็ช่วยกันจ่ายค่าเช่าบ้าน กินข้าวก็ ต้องหิ้วปิ่นโตไปกินด้วยกันในที่ทำงาน ทั้งมื้อเช้าและมื้อกลางวัน การเดิ น ทางเข้ า และกลั บ ออกมาจากพื้ น ที่ โ รงกลั่ น แต่ ล ะที ก็ ลำบากมาก หนทางเต็มไปด้วยป่าหญ้า รถราก็ไม่มี ต้องเหมา รถชวนกันออกมา แต่แม้ว่าจะต้องฝ่าฟันความยากลำบากของ การใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ประกอบกับการ เรี ย นรู้ ชี วิ ต การทำงานในแบบฉบั บ ตะวั น ตกซึ่ ง เข้ ม งวดและ เคร่งครัดจริงจัง พี่ๆ ทุกคนก็ยังจดจำภาพบรรยากาศความสุข ของชีวิตการทำงานในครอบครัวไทยออยล์ในยุคเริ่มแรกได้อย่าง มิรู้ลืม แต่เดิมนั้นพื้นที่รอบโรงกลั่นฯ เต็มไปด้วยป่าหญ้าและท้อง ทุ่งนากว้างไกล อีกด้านหนึ่งขนาบข้างด้วยเทือกเขาภูไบ ยังไม่มี

ชุมชนรวมตัวกันหนาแน่นเช่นปัจจุบัน ตื่นเช้าไปทำงานครั้งใด เป็นต้องได้แวะพักทักทายเพื่อนเก่าอย่างเก้ง กวาง หรือฝูงลิง เป็นประจำ หนำซ้ำขี่จักรยานออกไปตรวจท่อ เห็นงูเหลือมตัว ใหญ่นอนขดอยู่ใต้เตาหม้อต้มความร้อน พร้อมรอรับไออุ่นจาก เตาด้วยความสบายใจโดยไม่เกรงต่อสายตาผู้ใด แรกๆ ก็ต้อง ยอมรั บ ว่ า กลั ว กั น อยู่ บ้ า ง แต่ น านวั น เข้ า ก็ เ ปลี่ ย นเป็ น ความ คุ้นเคยเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน วันเวลาของชีวิตการทำงานในรั้วไทยออยล์ยัง คงเดินหน้าต่อไป พร้อมๆ กับต้นทุนความรู้ในงานที่ค่อยๆ สั่งสมและบ่มเพาะไว้ในตัวคนทำงาน จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรม การทำงานในบรรยากาศแบบพี่น้อง ซึ่งช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และกัน ทั้งในวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตใน “มหาวิทยาลัย” แห่งนี้ เพื่อเป็นเสบียงสำหรับการเริ่มต้นออกเดินทางไปค้นหา ความฝันอันยิ่งใหญ่ร่วมกัน และนี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น...โปรดติดตาม “พี่เก่า เล่าเรื่อง” ตอนต่อไป ขอขอบคุณทุกเรื่องราวดีๆ จากพี่ๆ ศิษย์เก่า ผู้ทำหน้าที่คน ต้นเรื่อง ได้แก่ มล.จรัสพันธุ์ ชุมสาย, คุณจรูญ เกิดสวัสดิ์, คุณฤทธิพร ริกลุ สุรกาน, คุณสมทบ เนตราคม, คุณสุนทร เศวตศิลป์, คุณสุนทร เกษรางกูล และคุณโสภณ ตรีรัตน์

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

15


ปราชญ์ชุมชน

โดย กองบรรณาธิการ

ครูน้อย ผู้สืบสาน ครูนิรัตน์ มีมุข ครู น้ อ ยหรื อ ครู นิ รั ต น์ มี มุ ข ครู ดนตรี ไ ทยที่ ใ ช้ เ ครื่ อ งดนตรี ไ ทยได้ ทุ ก ประเภท รวมทั้งเครื่องดนตรีสากลอย่าง ไวโอลิน ปัจจุบันแม้จะมีอายุกว่า 70 ปี แล้ว แต่ยังเปิดสอนดนตรีไทยให้กับผู้มี ใจรัก ณ บ้านพักข้างศาลเจ้าแม่เซียะบอเนียะ บริเวณตลาดอ่าวอุดม นอกจากนั้นยังใช้ เวลาว่างสอนดนตรีไทยให้กับโรงเรียน ต่างๆ ในจังหวัดชลบุรี ทำไมครูน้อยจึงสนใจดนตรีไทยคะ ดนตรีประเภทต่างๆ เป็นวิชาการชัน้ สูง โดยเฉพาะดนตรีไทยเป็นของสูง ถ้าเปรียบ กับเทพก็คือเป็นเทพที่ชำนาญด้านดนตรีที่ เรี ย กว่ า คนธรรพ์ หรื อ จะเรี ย กอี ก อย่ า ง ว่าการแสดงดนตรีไทยเป็นของสูงสำหรับ ในวัง ในพิธีการที่เป็นทางการ ซึ่งจะมีเพลง บรรเลงต่างๆ มากมายหลายเพลงใช้ในวาระ ที่แตกต่างกัน แต่ในขณะเดียวกันชาวบ้านที่ มีใจรักดนตรีก็สามารถที่จะเรียนรู้หัดเล่นได้ ตามใจรักของแต่ละคน

16 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

ดนตรี ไทย

หัดเล่นยากไหมคะ สมัยโบราณใครจะเรียนดนตรีต้อง ไปพักอาศัยอยู่บ้านครู ช่วยทำนา ทำไร่ ตักน้ำ ผ่าฟืน ทำงานบ้าน พอมีเวลาว่าง ก็ ม าหั ด ต่ อ เพลงกั น จนกว่ า จะเล่ น เป็ น แล้วยังต้องใช้เวลาอีกนานมากกว่าจะเป็น มืออาชีพถึงขั้นเป็นครูดนตรีไทยได้ ผม พอมีทักษะทางด้านนี้อยู่บ้าง พอไปอยู่กับ วงดนตรีไหนก็เรียนแบบครูพักลักจำไป ตามเรื่อง จนเล่นได้หลายชนิด อยู่ที่ชุมชนตลาดอ่าวอุดมมานานรึยังคะ ผมเกิดที่ปากน้ำโพมีโอกาสได้เข้า ทำงานกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้า มาสำรวจพื้ น ที่ เ พื่ อ สร้ า งท่ า เรื อ ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2512-2513 แล้วติดใจพื้นที่ตรงนี้ เลยตั้งรกรากอยู่ที่นี่ สมัยนั้นไม่ได้เรียกว่า อ่าวอุดม เรียกกันว่าหนองกระสือ เพราะ

มีหนองน้ำและมีลูกไฟขึ้นมาจากหนองน้ำ กลางคืนเห็นแสงสว่างวาบๆ เป็นวงแถว หนองน้ำใกล้ทะเล เข้าใจว่าเป็นก๊าซบาง อย่างที่ปุดออกมาจากใต้พื้นดิน ต่อมา เปลีย่ นเป็นอ่าวอุดมเพือ่ ความเป็นสิรมิ งคล ของพื้นที่ เดิมมีอยู่กันไม่กี่ร้อยครัวเรือน แล้วก็ขยายตัวเติบใหญ่กลายเป็นหมู่ 1 ที่ชายทะเลเรียกกันว่าบ้านอ่าวอุดม และ หมู่ 7 ที่ ป ากทางสุ ขุ ม วิ ท เรี ย กว่ า ตลาด อ่าวอุดม ครูน้อยเริ่มสอนดนตรีตั้งแต่เมื่อไหร่คะ ผมคลุกคลีอยู่กับวงดนตรีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2492 และเริ่ ม มาสอนดนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2500 ที่คณะวัชระบรรเลง ดนตรี ไ ทยเป็ น ศาสตร์ แ ละศิ ล ปะสำคั ญ


แขนงหนึ่ ง ที่ ไ ด้ สื บ ทอดต่ อ ๆ กั น มาแต่ โบราณ การถ่ายทอดที่ถือปฏิบัติกันมานั้น ผู้เรียนฝึกฝนจากครูโดยตรงและอาศัยการ จดจำสืบต่อกันมา การศึกษาสมัยก่อนไม่ ค่อยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คน ที่จะเรียนดนตรีไทย ผู้สอนมักจะเป็นฝ่าย เลือกเอง การเป็นนักดนตรีต้องมีความ อดทน สมัยก่อนกว่าจะได้เรียนรู้เพลงสัก วรรคสักตอน ต้องมาคอยช่วยเหลือดูแล ครู จนงานของครูเรียบร้อย จึงจะได้ขอ เข้าไปต่อเพลงอีกสักวรรคหนึ่ง นักดนตรี สมัยโบราณบางคนต้องมาช่วยครูทำไร่ ไถนาจนเป็นที่รักเอ็นดู ครูจึงจะสอนเพลง ให้ ส่วนการประพันธ์เพลง การบรรเลง และการขั บ ร้ อ งต่ า งได้ ถู ก หล่ อ หลอม กลมกลืนกันอย่างไพเราะเป็นเอกลักษณ์ ของดนตรี ไ ทยและเพลงไทยที่ เ ป็ น วัฒนธรรมอันงดงามคู่ชาติไทย ความสุขที่แท้จริงในช่วงชีวิตที่ผ่านมาคือ อะไรคะ ความสุ ข นั้ น เกิ ด จากความสำเร็ จ ของผลงาน เช่น การสอนให้คนเป็นนัก ดนตรีที่สามารถเข้าใจและถ่ายทอดต่อไป ยังผู้อื่นได้ ผู้มีจิตวิญญาณในความเป็นครู จึงมักจะให้ ให้ และให้สิ่งที่ดีงามเพื่อเป็น ทุ น เสบี ย งชี วิ ต ให้ ศิ ษ ย์ ข องตนเสมอมา น่ า เสี ย ดายที่ ต ามชนบทแทบจะไม่ เ ห็ น ความสำคัญของครูผู้สอนด้านนี้ ทั้งๆ ที่ เป็นสิ่งที่เราคนไทยทุกคนควรจะช่วยกัน อนุ รั ก ษ์ และส่ ง เสริ ม ให้ มี ใ นสั ง คมไทย เพราะดนตรี ไ ทยมี ค วามเกี่ ยวพันกับ วิถี ชีวิตประจำวันของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ ไม่ ว่ า จะเป็ น การเกิ ด การบวช การ แต่งงาน งานศพ ฯลฯ ล้วนแต่มีดนตรี ไทยเข้าไปประกอบทั้งสิ้น เราสามารถ เปรียบเทียบได้ชัดเจน ระหว่างโรงเรียนใน ชนบทกับโรงเรียนในเมือง คือในเมืองนั้น จะมีการเรียนการสอนด้านดนตรีทตี่ อ่ เนือ่ ง และประสบความสำเร็จมากกว่าในชนบท ทั้ ง นี้ อ าจจะเป็ น เพราะในชนบทนั้ น

บุคลากรทางดนตรีมีน้อยและมีการย้าย อยู่ เ สมอ จึ ง ขาดความต่ อ เนื่ อ งในการ พัฒนาการสอนในด้านนี้ ส่วนในเมืองโดย เฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้วยแล้วจะมี บุคลากรด้านนี้มีมากมาย ช่วงชีวิตที่ผ่านมาได้ให้แง่คิดและ สอนให้รู้จักการให้และการรับ รู้จักความ แตกต่างคือ รู้เขา รู้เรา เกิดความอดออม อดทน อดกลั้น และนำคำนั้นมาดำเนิน ชีวิตตามพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว

การสอนให้ ค นเป็ น นั ก ดนตรี ที่ สามารถเข้าใจและถ่ายทอดต่อไปยัง ผู้ อื่ น ได้ ผู้ มี จิ ต วิ ญ ญาณในความ เป็นครู จึงมักจะให้ ให้ และให้สิ่งที่ดี งามเพื่อเป็นทุนเสบียงชีวิตให้ศิษย์ ของตนเสมอมา รู้จักไทยออยล์ได้อย่างไรคะ ผมเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของไทยออยล์ เพราะรูจ้ กั กับชาวไทยออยล์หลายคน บาง ครั้งเคย ไปผจญภั ย ในป่ า แถวชายแดน ไทยกัมพูชาด้วยกัน ผมพอมีความรู้เรื่อง ยาสมุนไพร และมีความรู้เรื่องพระเครื่อง พอเอาตัวรอดได้ เวลาถูกซักถามเลยเข้าวง กับพนักงานไทยออยล์กลุ่มที่ชอบเดินป่า ชอบสะสมพระเครื่องและกลุ่มที่สนใจใคร่ รู้เรื่องสมุนไพร ทางสโมสรไทยออยล์ชกั จูง ผมไปสอนดนตรีไทยให้ครอบครัวและบุตร ธิ ด าพนั ก งานเป็ น เวลาประมาณ 20 ปี รู้สึกว่าเวลาผ่านไปรวดเร็วมากจริงๆ

นอกจากสอนดนตรี ไ ทยแล้ ว ครู น้ อ ยทำ กิจกรรมอะไรอีกบ้างคะ ผมเคยเป็นกรรมการชุมชนตลาด อ่าวอุดมชุดแรก ประมาณปี พ.ศ. 2535 ก็ช่วยกันทำงานช่วยกันผลักดันกิจกรรม ชุมชนแล้วก็มีผู้สืบทอดต่อเนื่องมาจนถึง ปั จ จุ บั น ผมชื่ น ชมคนในชุ ม ชนที่ อ ยู่ กั น ด้ ว ยความเอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่ และชื่ น ชม โรงงานอุตสาหกรรมอย่างไทยออยล์ที่มา ก่ อ ร่ า งสร้ า งตั ว บนผื น แผ่ น ดิ น อ่ า วอุ ด ม จนเติ บ ใหญ่ แ ล้ ว ไม่ ลื ม พระคุ ณ แผ่ น ดิ น ยั ง ช่ ว ยกิ จ กรรมชุ ม ชนแทบจะทุ ก เรื่ อ ง ตลอดมา จนเป็นแบบอย่างของโรงงาน อุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ อยากฝากอะไรถึงผู้อ่านบ้างคะ หลักสูตรการสอนดนตรีไทย เป็นสิ่ง ที่กระทรวงศึกษาธิการไม่ควรจะละเลย และควรกำหนดให้ มี ใ นการสอนของ โรงเรียนแต่ละโรงเรียน โดยเน้นให้เด็ก สามารถปฏิ บั ติ ไ ด้ จ ริ ง และควรมี ก าร บรรจุบุคลากรด้านนี้ให้มีมากกว่าที่เป็น อยู่ เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้การเรียน การสอนด้ า นอื่ น ๆ การเรี ย นการสอน ดนตรีไทย สามารถจะเอื้อประโยชน์ไปสู่ การเรียนการสอนวิชาอื่นได้ เพราะเด็ก นักเรียนที่มีความสามารถในการเล่นดนตรี จะต้องมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติ ปัญญาด้านการจำ มีความกระตือรือร้น ที่จะแสวงหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งจะเป็น นิสัยของนักดนตรีไทยทุกคน จึงเห็นได้ ว่าการเรียนดนตรีไทยมีประโยชน์ทั้งด้าน การพัฒนาตนเอง และการพัฒนาสังคม รวมไปถึงการช่วยอนุรักษ์ดนตรีไทยให้เด็ก ไทยรุ่นใหม่ได้รู้จักและตระหนักถึงความ สำคัญ ไม่ให้หลงใหลเฉพาะดนตรีของ ชาติตะวันตกอย่างเดียว ถ้าเราคนไทยใน ปัจจุบันไม่ช่วยกันรักษาอนุรักษ์ดนตรีไทย แล้ ว ในอนาคตเด็ ก ไทยคงจะไม่ รู้ จั ก ศิลปะการแสดงสาขานี้เป็นแน่ ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

17


ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม

โดย แม่ช้างนางลอย

ร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ ขายก๋วยเตี๋ยวหมูและเย็นตาโฟ ในบริเวณบ้านพักพนักงาน ไทยออยล์ เริ่มขายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ด้วยราคาก๋วยเตี๋ยวเพียงชามละ 2 บาท จนปัจจุบัน ผู้ขายวัย 74 ปี ราคาก๋วยเตี๋ยวเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบเป็นชามละ 30 บาท เรียกได้ว่าเป็นร้านที่เติบโตมาพร้อมๆ คนไทยออยล์เลยทีเดียว คนที่คุ้นเคยกับร้านก๋วยเตี๋ยวคุณป้า สนุ่น ฤกษ์จารี หรือป้าหนุ่น ย่อมรู้ดีว่า หากอยากกิ น ของอร่ อ ยต้ อ งใจเย็ น ๆ เพราะความพิ ถี พิ ถั น และเอาใจใส่ ใ น การปรุงก๋วยเตี๋ยวของป้าหนุ่นที่ค่อยๆ หั่น ผั ก บุ้ ง หั่ น เครื่ อ งเคราต่ า งๆ ลงชาม ก๋วยเตี๋ยวตรงหน้าอย่างตั้งใจ เครื่องที่ใส่ ในก๋วยเตีย๋ วแต่ละชาม ไม่วา่ จะเป็น ตับหมู เนื้อหมูหรือฮื่อก้วย จึงไม่แห้งหรือกระด้าง เหมือนร้านก๋วยเตี๋ยวทั่วไป เส้ น ใหญ่ เ ย็ น ตาโฟน้ ำ ขลุ ก ขลิ ก รสชาติกำลังดีแบบไม่ต้องปรุง หมดไป ภายในเวลาอันรวดเร็ว หากอยากสั่งเพิ่ม ก็ตะโกนสั่งได้เลย เอ้ย! ไม่ใช่ หากทำเช่น นั้นอาจถูกป้าหนุ่นดุเอาได้ วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องถือชามก๋วยเตี๋ยวใบเดิมนั้นกลับไปให้ ป้ า แกใช้ ใ ส่ ซ้ ำ เหมื อ นเวลาอยู่ บ้ า นกิ น

18 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

กับข้าวฝีมือแม่ แล้วอยากเติมอีกก็ใช้จาน หรือชามเดิมเช่นเดียวกัน ป้ า หนุ่ น บอกว่ า ที่ ใ ห้ ลู ก ค้ า ใช้ ช าม เดิมเพื่อจะได้ช่วยประหยัดน้ำ ไม่ต้องล้าง ชามหลายใบ ชามก็เป็นของเราเองไม่ได้ ปะปนกั บ คนอื่ น ป้ า เล่ า ให้ ฟั ง ว่ า แรกๆ มีลูกค้าที่ไม่เข้าใจ บ่นว่าอยู่เหมือนกัน แต่ น านๆ ไปก็ เ ข้ า ใจและเปลี่ ย นเป็ น ยอมรับได้เอง นอกจากจะมีการ Reuse หรือใช้ ชามก๋วยเตี๋ยวซ้ำแล้ว ในบริเวณร้านของ ป้ า ยั ง มี ถุ ง พลาสติ ก หู หิ้ ว (ถุ ง ก๊ อ บแก๊ บ ) ที่ใช้แล้วแต่ยังสะอาดแขวนเรียงเป็นราว นั บ ได้ ห ลายใบเพื่ อ นำกลั บ มาใช้ ซ้ ำ อี ก เช่นกัน เชื่อหรือไม่ว่าตั้งแต่เปิดร้านขาย ก๋วยเตีย๋ วมา ป้าหนุน่ แทบไม่ได้เสียสตางค์ ซื้อถุงก๊อบแก๊บเลย เป็นการใช้ทรัพยากร


อย่างคุ้มค่าจริงๆ นับว่าป้าหนุ่นเป็นผู้มีแนวคิด เรื่ อ งอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มมานานก่ อ นจะเกิ ด กระแส ตื่นตัวเรื่องโลกร้อนเสียอีก บริเวณโต๊ะวางชามที่ใช้แล้ว ป้าหนุ่นจัดถัง สำหรับใส่เศษอาหารที่ทำจากขวดน้ำพลาสติก ตัดปากขวดออก ตกเย็นจะรวบรวมเศษ อาหารไปทิ้ ง ในบริ เ วณที่ ทิ้ ง ขยะ ส่ ว น กระดูกหมูต้มน้ำซุปนัน้ ป้าหนุน่ เตรียม ไว้ ใ ห้ พ ระเอก ผู้ ย่ อ ยสลายตาม ธรรมชาติหรือเจ้าตัวเงินตัวทอง ที่แวะเวียนมาทำหน้าที่ของมันเป็น ประจำทุกวันช่วงเย็นหรือหัวค่ำ โดยทั่วไปร้านอาหารมักจะมีป้ายยืนยันความอร่อย แต่ สำหรับร้านนี้ป้ายที่ติดหน้าร้านกลับเป็นข้อความต่างๆ เงินทอนของท่านทุกบาททุกสตางค์รวบรวมได้

100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

คุณสนุ่น ฤกษ์จารี เงินสบทบทุนโครงการปันน้ำใจสร้าง โรงอาหาร จำนวนเงิน โรงเรียนโครงการหลวงแกน้อย

3,000 บาท

ป้าสนุ่นได้มอบให้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำไปเป็นทุนการศึกษาให้กับนิสิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2552

เงินทอนของท่านทุกบาททุกสตางค์ รวบรวมได้ ป้าสนุ่นได้มอบให้ รพ.อ่าวอุดม เพื่อนำไปซื้อเครื่องมือแพทย์ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2550

102,000 บาท

เงินทอนทุกบาททุกสตางค์ของท่าน รวบรวมได้ ป้าสนุ่นได้ ไปมอบให้กับ รพ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำไปซื้อเครื่องมือแพทย์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2547

50,000 บาท

เงินทอนทุกบาททุกสตางค์ของท่าน รวบรวมได้ ป้าสนุ่นได้ ไปมอบให้กับศูนย์มะเร็ง ชลบุรี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551

30,000 บาท

เงินทอนทุกบาทที่ท่านมอบให้ป้าสนุ่น ได้ ไปทำการบริจาคสบทบทุนสร้างตึก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา บริจาคไปแล้ว รวมเป็นเงิน

180,000 บาท

นอกจากการใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่ทำมาโดยตลอดแล้ว ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อของป้า หนุ่นก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ป้าหนุ่นได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญโดยเริ่มจากทีละเล็ก ละน้อยแล้วค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากเงินส่วนตัวของป้าเองและเงินที่ลูกค้าร่วมสบทบ มากบ้างน้อยบ้างตามกำลัง รวมเป็นเครือข่ายการร่วมทำความดีตอบแทนคืนสู่สังคม แม้จะไม่ใช่ร้านค้าใหญ่โต แต่ร้านก๋วยเตี๋ยวของป้าหนุ่นนั้น ถือได้ว่าเป็นหน่วย เล็กๆ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ ขอชื่นชมด้วยใจจริงต่อ ป้าสนุ่น... หญิงชราร่างเล็กผู้มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

19


ของดีบ้านเรา

โดย กองบรรณาธิการ

อะไรเอ่ ย ?? มีตารอบหัว เอาตัวไม่รอด

เคยนึกสงสัยไหมว่าชื่อสับปะรดนั้นมีที่มาอย่างไร บาง ตำราบอกว่า ด้วยความที่รสชาติของสับปะรดนั้นมีทั้งเปรี้ยว และหวานผสมกัน จึงเรียกว่า “สรรพรส” ต่อมาเพี้ยนเป็น “สับปะรด” บ้างก็ว่าเป็นการเรียกขานชื่อตามลักษณะผลของ มันที่มีตาจำนวนมากอยู่โดยรอบซึ่งคือผลย่อยๆ อันประกอบ ขึ้นเป็นผลใหญ่อีกที สับปะรดเป็นคำผสมระหว่างคำว่า “สับ” หรือ “สรรพ” ทีแ่ ปลว่า มาก กับคำว่า “ปะ” ทีแ่ ปลว่า ติด หรือ ชิด และ คำว่า “รด” หรือ “รส” รวมความแล้วหมายถึง ผลไม้หลายตา หรือผลไม้หลายรสนัน่ เอง แต่ไม่วา่ อย่างไร เจ้า ผลไม้ลกู ใหญ่สเี ขียวๆ เหลืองๆ นีก้ เ็ ป็นทีช่ นื่ ชอบของผูบ้ ริโภค โดยเฉพาะอย่างยิง่ สับปะรดศรีราชาทีไ่ ด้รบั ความนิยมอย่างสูง สับปะรดศรีราชานั้นจัดได้ว่าเป็นผลไม้ขึ้นชื่ออันดับต้น ของจังหวัดชลบุรีเลยทีเดียว นักท่องเที่ยวมักซื้อกลับไปเป็น ของฝาก ลักษณะพิเศษของสับปะรดศรีราชา คือผลใหญ่ เปลื อ กบาง เนื้ อ สี เ หลื อ ง รสหวานฉ่ ำ และมี ก ลิ่ น หอมให้ ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยได้พันธุ์มาจากประเทศอินโดนีเซียหรือ เรียกว่ าพันธุ์ ปัตตาเวียเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว และได้พัฒนา ปรับปรุงจนกลายเป็นพันธุ์พื้นเมืองอย่างในปัจจุบัน พื้นที่ใน จังหวัดที่ปลูกสับปะรดมากจะอยู่ในอำเภอศรีราชา อำเภอ บางละมุง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง อำเภอสัตหีบ อำเภอพนัสนิคม เป็นต้น ด้วยรสชาติหวานฉ่ำของสับปะรดศรีราชา จึงเป็นทีน่ ยิ ม บริโภคสด แต่หากผลผลิตมีมากหรือราคาตกต่ำ ก็จะนำไป แปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง สับปะรดกวน ไวน์สับปะรด แยมสับปะรด น้ำส้มสายชู เป็นต้น นอกจากนั้นส่วนต่างๆ ของต้นสับปะรดยังนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก อาทิ ใบสับปะรด ทีม่ เี ส้นใยยาวเหนียว สามารถนำไปทำเป็นเชือก ทอเป็นผ้าใย สั บ ปะรด หรื อ ทำเป็ น กระดาษที่ มี คุ ณ สมบั ติ บ างเบามาก ผิวนุม่ เนียน บิดงอหรือเปลีย่ นรูปร่างได้ไม่เสียหายหลายประเทศ นำไปใช้เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ธนบัตร ส่วนเปลือกและแกน สับปะรดนำไปเลีย้ งวัวได้ ช่างเป็นผลไม้สารพัดประโยชน์จริงๆ

20 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า เมื่อวันคล้ายวันสถาปนา กรมทรัพย์สินทางปัญญาครบรอบ 16 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2551 กรมทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาได้ ม อบหนั ง สื อ อนุ ญ าตให้ ใ ช้ ต รา สัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยให้กับสับปะรดศรีราชา พร้อมกับสินค้าที่ขึ้นชื่อในพื้นที่อื่นๆ อย่างข้าวหอมมะลิทุ่ง กุ ล าร้ อ งไห้ กาแฟดอยตุ ง กาแฟดอยช้ า ง มะขามหวาน เพชรบูรณ์ ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท เป็นต้น การใช้ตราสัญลักษณ์ก็เพื่อให้ผู้บริโภคแยกแยะได้ว่า สินค้าใดเป็นสินค้าของแท้จากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เพื่อสร้าง มู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ สิ น ค้ า ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะพิ เ ศษเกิ ด จากความ เชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ให้กับ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นี้เปรียบเสมือนแบรนด์ของชุมชน ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ เป็นที่ ยอมรั บ กั น ว่ า เป็ น สิ น ค้ า ที่ มี คุ ณ ภาพ มี ชื่ อ เสี ย ง หรื อ มี คุณลักษณะเฉพาะที่เชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ ซึ่งผู้ผลิตได้ ใช้ภูมิปัญญาของตนผนวกเข้ากับปัจจัยธรรมชาติที่มีอยู่นั้น ผลิตสินค้าทีม่ คี ณุ ภาพ และ/หรือมีลักษณะเฉพาะ และรักษา มาตรฐานการผลิตเหล่านี้สืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นจนมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ และอยู่ในความนิยมของผู้บริโภค เพื่อป้องกัน การมีผู้แอบอ้างนำชื่อเหล่านี้ไปใช้ ทำให้ผู้ผลิตสินค้าที่ดีเสีย ประโยชน์ และมีโอกาสที่สินค้าเหล่านี้จะสูญเสียความน่า เชื่อถือลง ความสำเร็จนี้สะท้อนให้เห็นถึงผลแห่งความตั้งใจจริง ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดศรีราชาในท้องถิ่นบ้านเรา ความ อุตสาหะของเกษตรกรรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ทุ่มเทอย่างเต็มกำลัง จนทำให้ปัจจุบันนี้ สับปะรดศรีราชาได้รับความนิยม กลาย เป็นแบรนด์ในใจของผู้บริโภค และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ของเราชาวชลบุรีเสมอมา


เคล็ดลับสุขภาพ โดย กองบรรณาธิการ

สับปะรด ผลไม้มหัศจรรย์

สั บ ปะรด ผลไม้ ข องดี ถิ่ น เรานี้ มี คุ ณ ประโยชน์ ห ลากหลายจริ ง ๆ นอกจากจะทานสด ใช้ประกอบอาหารคาวหวานได้สารพัดเมนูแล้ว สับปะรด ยังมีสรรพคุณทางยาอีกหลายประการ อาทิ 1. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง รับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้นก็จะช่วยให้ ร่างกายได้รับวิตามินซี และที่สำคัญคือวิตามินช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และ ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อและต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ การรับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้นจึงเป็นการเพิ่มแรงต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย แต่ใน ผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก 2. ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรดมีกากใยอาหารมากซึ่งมีความสำคัญกับการย่อย อาหาร และยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือดและช่วยลดความเสี่ยง ของมะเร็ง 3. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีสที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระที่จะทำลายโครงสร้าง ของเซลล์ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ สารแอนตีอ้ อกซิแดนต์ ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย 4. ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำช่วย ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม สับปะรด มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ที่ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้ายในปอด ป้องกันมะเร็งรังไข่ 5. ช่วยให้เหงือกแข็งแรง สับปะรดช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง เนื่องจาก สับปะรดมีวิตามินซีสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้ 6. ช่วยยับยั้งการอักเสบ เอนไซม์ Bromelain ในสับปะรดจะช่วยยับยั้งการอักเสบ ชาวอเมริกาใต้โบราณใช้สับปะรดเป็นยารักษาโรคผิวหนังและรักษาบาดแผล อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วา่ สับปะรดจะมีประโยชน์มาก แต่กค็ วรกินพอประมาณ เช่น วันละ หนึ่งชิ้น และกินผลไม้อื่นๆ ด้วย เพราะการกินอะไรที่มากเกินไปอาจให้ผลเสียมากกว่า ผลดีนะคะ ที่มา Lisa ฉบับเดือนมีนาคม 2553

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

21


จิตอาสา

โดย พริบพันดาว

โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน ห้วยปูลิง ยิ่งใหญ่กว่าการให้แสงสว่าง

“ทุกวันนี้ ชาวบ้านในหุบเขา โรงไฟฟ้ า พลั ง น้ ำ ชุ ม ชนห้ ว ยปู ลิ ง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นโรง มีไฟฟ้าใช้อย่างยั่งยืน” ไฟฟ้ า พลั ง น้ ำ ขนาดเล็ ก ระดั บ ชุ ม ชนที่ เ ครื อ

ไทยออยล์ร่วมดำเนินการกับมูลนิธิพลังงาน เพื่อสิ่งแวดล้อม กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน สำนั ก งานโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และกรม อุ ท ยานแห่ ง ชาติ สั ต ว์ ป่ า และพั น ธุ์ พื ช โดย การนำน้ำซึ่งเป็นพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาผลิตไฟฟ้าให้กบั ชาวบ้านในท้องถิน่ ทุรกันดาร ที่ระบบสาธารณูปโภคของรัฐเข้าไม่ถึง โรงไฟฟ้ า พลั ง น้ ำ ชุ ม ชนห้ ว ยปู ลิ ง ผลิ ต ไฟฟ้าได้จากการก่อสร้างฝายชะลอน้ำคอนกรีต และประตูรบั น้ำในห้วยปูลงิ แล้วผันน้ำบางส่วน ผ่านท่อส่งน้ำไปยังอาคารโรงไฟฟ้า เพื่อผลิต กระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันน้ำ ขนาดกำลังการผลิต 22 กิโลวัตต์ แต่ด้วย ข้อจำกัดทางงบประมาณ ทำให้ในระยะแรก โรงไฟฟ้าห้วยปูลิงจ่ายไฟฟ้าให้ชาวบ้านได้เพียง 47 หลังคาเรือน (1 หมูบ่ า้ น) เครือไทยออยล์จงึ ได้ติดตั้งและปักเสาพาดสายส่งเพื่อจ่ายไฟฟ้า ให้ชาวบ้านเพิม่ อีก 66 ครัวเรือน (2 หมูบ่ า้ น) เพื่อต่อยอดโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้เกิด ประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของแหล่งน้ำและ

22 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้า เมือ่ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมา ได้มพี ธิ ี เปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนห้วยปูลิงอย่างเป็น ทางการขึ้น โดยมี ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานมู ล นิ ธิ พ ลั ง งานเพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม คุ ณ ไกรฤทธิ์ นิ ล คู ห า อธิ บ ดี ก รมพั ฒ นา พลั ง งานทดแทนและอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) คุณสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการด้านบริหารองค์กร ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พนักงานอาสาสมัครไทยออยล์ สื่อมวลชนและ ชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมงาน โดยกลุ่มพนักงาน อาสาสมัครของบริษัทฯ ได้ร่วมกิจกรรมเปลี่ยน หลอดประหยัดไฟ T5 ให้โรงเรียนและศาลา ธรรมในหมู่บ้าน นอกจากจะมอบแสงสว่างให้แก่ชุมชนใน หมู่บ้านห่างไกลแล้ว โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ชุมชนห้วยปูลิงนี้ ยังเป็นเสมือนหนึ่งศูนย์กลาง ของกระบวนการเรี ย นรู้ ร่ ว มกั น ในชุ ม ชน ชาวบ้านต้องช่วยกันอนุรกั ษ์ปา่ ต้นน้ำ เพือ่ จะได้มี น้ำมาปั่นกระแสไฟ ต้องช่วยกันดูแลฝายกั้นน้ำ เครือ่ งกำเนิดไฟฟ้าและสายส่ง เพือ่ ให้โรงไฟฟ้า ทำงานได้เป็นปกติ


คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) “โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนห้วยปูลิงนี้เป็นการผสมผสานของหน่วยงานที่ ลงตัวอย่างยิ่ง เรามีโครงการที่เกิดจากองค์กรอิสระคือ มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นตัวขับเคลื่อนโครงการ มีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานทำให้ โครงการได้ผ่านทางเทคนิคที่สมบูรณ์ เรามีองค์กรระหว่างประเทศคือ UNDP เป็น ผู้สนับสนุนหลัก ไทยออยล์คือภาคเอกชนที่เข้ามาต่อยอดโครงการนี้ เป็นการตอบแทน อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง คือการให้ไฟฟ้ากับชุมชนซึ่งอยู่ห่างไกล เป็นคุณประโยชน์ทำให้ คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้น สามารถใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบอาชีพ เพื่อการศึกษา และเพื่อการ พักผ่อนหย่อนใจ” คุณจันทร์พา เตมู

คุณชิติพัทธิ์ โพธิ์รักษา

คุณสุรงค์ บูลกุล

คุณจันทร์พา เตมู พ่อหลวงบ้านห้วยปูลิง “สมัยก่อนชุมชนใช้ไม้เกี๊ยะจากป่าให้แสงสว่างเวลาทำงานกลางคืน ไม้ส่วนหนึ่งก็จะเอามาจาก ไม้ที่แห้งแล้ว แต่บางคนก็เอาไม้สดๆ มา ทำให้เสียต้นไม้ ต่อมามีเซลล์แสงอาทิตย์เข้ามาก็ใช้ไม่ค่อย ได้ผลเท่าไร ถ้าเป็นฤดูฝนจะมีปัญหาติดขัดเยอะเลย ปัจจุบันมีไฟฟ้าพลังน้ำแล้ว เด็กนักเรียนได้อ่าน หนังสือ ทำการบ้านได้ ชาวบ้านเองมีอาชีพเพิม่ แม่บา้ นทอผ้าเวลากลางคืนได้เป็นอาชีพเสริม พ่อบ้าน ทำงานจักสาน และอีกอย่างคือประโยชน์ที่ได้รับข่าวสาร ได้รู้ทันเหตุการณ์ต่างๆ” คุณชิติพัทธิ์ โพธิ์รักษา ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ “แต่เดิมที่ด่านตรวจของอุทยานฯ นี้ เราใช้เครื่องปั่นไฟ แต่เครื่องเก่าแก่อายุการใช้นานมากกว่า 10 ปี พอเสียทีก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่พอมีไฟฟ้าพลังน้ำเกิดขึ้นที่นี่ อุทยานฯ เองก็ได้ประโยชน์ สามารถ จัดอบรม ประชุม ทำความเข้าใจหรือขอความร่วมมือกับชาวบ้านเรือ่ งต่างๆ ทีด่ า่ นตรงนีไ้ ด้เลย ไม่ตอ้ ง เดินทางไปถึงที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งอยู่ห่างออกไปเกือบๆ 30 กม. จากเดิมที่เราจะจัดเวลากลางคืนก็ ลำบาก เพราะกลางวันชาวบ้านทำงานในสวนในไร่ ไม่มีเวลาพบปะพูดคุยหรือทำความเข้าใจร่วมกัน”

คุณเลอเลิศ อมรสังข์ พนักงาน บมจ. ไทยออยล์ “รู้สึกดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ประทับใจที่ได้มาเห็นได้มา สัมผัสด้วยตนเองในสิ่งที่บริษัทฯ และมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกัน ทำ ถึงแม้ว่าจะเป็นมุมเล็กๆ ในประเทศไทย แต่ก็เป็นประโยชน์กับชุมชนที่ยัง ต้องการ และถ้ามีการให้ความรู้กับชาวบ้าน เขาจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ เพื่อให้มีน้ำเอามาทำไฟฟ้าให้เขา เขาเห็นว่าประโยชน์อยู่ตรงนี้ จะได้ช่วยกัน ดู แ ลรั ก ษาป่ า ต้ น น้ ำ ไปด้ ว ย ผมรู้ สึ ก ภาคภู มิ ใ จบริ ษั ท ฯ ที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น โครงการดีๆ อย่างนี้ให้กับสังคม” คุณเกรียงไกร กิตติวราวุฒิ พนักงาน บมจ. ไทยออยล์ “แม้ว่าเชียงใหม่จะเป็นจังหวัดที่มีความเจริญแล้วก็ตาม แต่ ณ ที่แห่งนี้ ไฟฟ้าเพียงแค่แสงสว่างดวงเล็กๆ ก็มีความสำคัญกับชาวบ้านมาก เมื่อชาวบ้าน มีไฟฟ้าใช้ ผมว่าโอกาสดีๆ ก็จะเข้ามาในชีวิตเขา ไม่ว่าจะเป็นระบบดาวเทียม การศึกษาทางไกล พวกเราถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยพัฒนาพวกเขา ผมเองรู้สึก ประทับใจที่ได้มาร่วมกับบริษัทฯ และอยากเชิญชวนทุกคนให้มาร่วมแบ่งปัน สิ่งที่ตัวเองมีเหลือเฟือให้ชุมชนนะครับ ผมมองว่าการรับผิดชอบต่อสังคมเป็น หน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานรัฐหรือองค์กรชั้นนำเท่านั้น”

คุณเลอเลิศ อมรสังข์

คุณเกรียงไกร กิตติวราวุฒิ

ในฐานะสมาชิกหน่วยหนึ่งของสังคม พนักงาน ในเครื อ ไทยออยล์ ทุ ก คน พร้ อ มที่ จ ะร่ ว มดำเนิ น โครงการเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและ ยั่งยืนสืบไป รู้หรือไม่? โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนห้วยปูลิงช่วย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 62.11 ตัน CO2/ปี

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

23


เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน

โดย ล้อหมุน

บ้านหนองใหญ่

หมู่บ้านต้นแบบกินอยู่อย่างพอเพียง

สวั ส ดี ค รั บ ฉบั บ นี้ ล้ อ หมุ น จะพาทุ ก ท่ า นมาเยี่ ย ม หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงแห่งหนึ่ง ชาวบ้านที่นี่นำ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งไปปรั บ ใช้ ใ นชี วิ ต ประจำวั น อย่างไร ตามล้อหมุนไปดูกันได้เลยครับ

หมู่บ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 9 ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่รวม 4,654 ไร่ จำนวนครัวเรือน 130 หลังคา เรือน ประชากรรวม 527 คน แยกเป็น เพศชาย 286 คน เพศหญิง 241 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกสับปะรด มะพร้าว ไม้ผล เลี้ยงวัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาชีพเสริมของคนในชุมชนยามว่างจาก งานประจำ ได้แก่ การแปรรูปสินค้า เช่น สับปะรดกวน กล้วยอบน้ำผึ้ง เผือกฉาบ รสชาติดีจนไม่ต้องห่วงเรื่องการตลาด เพราะมีแม่ค้ามารับซื้อถึงที่ เมื่อเข้ามาในอาณาเขตหมู่บ้าน สิ่งที่สะดุดตามากๆ คือกระบะปลูก พืชผักสวนครัวที่ทำจากยางรถยนต์ทาสีเหลืองตั้งเรียงรายสองข้างถนน สูงราว 1 เมตร คุณอารีย์ น้อยผล ผู้ใหญ่บ้านแห่งนี้เล่าให้ฟังว่า ดินใน หมู่บ้านเป็นดินเปรี้ยว ปลูกผักสวนครัวแทบไม่ได้เลย สำนักงานส่งเสริมการ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จึงแนะนำให้ชาวบ้านปลูกในกระบะแทน โดยใช้ดิน จากที่อื่น กระบะตั้งหน้าบ้านใครบ้านนั้นก็ช่วยดูแล รดน้ำ ใครอยากได้ผักอะไร ก็ไปแลกเปลี่ยนกัน ทำให้ สมาชิ ก ในหมู่ บ้ า นแทบไม่ ต้ อ งซื้ อ ผั ก กั น เลยที เ ดี ย ว ช่วยลดรายจ่ายครัวเรือนได้มาก แต่หน้าร้อนปีนมี้ ปี ญั หา ขาดแคลนน้ำอย่างหนัก ช่วงนี้ผักจึงไม่ค่อยงามเท่าไร

24 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553


บ้ า นแต่ ล ะหลั ง ในหมู่ บ้ า นหนองใหญ่ น อกจากจะปลู ก ผักสวนครัวไว้เป็นรั้วกินได้แล้ว ล้อหมุนยังสังเกตเห็นว่าแทบไม่มี หลังใด มีประตูหรือกำแพงรั้วรอบขอบชิดเหมือนบ้านในชุมชน เมืองเลย ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าในหมู่บ้านไม่มีขโมย เพราะหนุ่มๆ อาสาสมัครในหมู่บ้านรวมกลุ่มกันเข้าอบรมตั้งชุดรักษาความ ปลอดภัยภายในหมู่บ้านหรือเรียกสั้นๆ ว่า ชรบ. จัดเวรยามทั้ง กลางวั น และกลางคื น เพื่ อ คอยตรวจตราดู ค วามผิ ด ปกติ แ ละ ป้องกันปัญหายาเสพติดจากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้ บ้านหนองใหญ่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านความมั่นคงของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และรางวัลรองชนะเลิศ ระดับภาคกลาง จาก การประกวดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองแห่งชาติ (อพป.) เมื่อปี พ.ศ. 2551 ยิ่งไปกว่านั้น สำนักงาน พัฒนาชุมชนยังได้ยกให้หมู่บ้านหนองใหญ่ เป็น หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และเชิดชู เกี ย รติ ผู้ น ำเครื อ ข่ า ยพั ฒ นาชุ ม ชนดี เ ด่ น เมื่อปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา จุ ด เด่ น ของหมู่ บ้ า นเศรษฐกิ จ พอ เพียงแห่งนี้อีกประการหนึ่งคือการจัดตั้ง กลุ่ ม ออมทรั พ ย์ ที่ ด ำเนิ น การมาตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2536 สำหรับออมเงินของคนในหมู่บ้าน ในรูปของหุ้น โดยกำไรที่ได้ร้อยละ 15 จะเก็บเข้า กองกลางเพื่อใช้เป็นเงินพัฒนาหมู่บ้านต่อไป ส่วนร้อยละ 85 จะคืนเป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก ปัจจุบันหมู่บ้านหนองใหญ่มี

เงินออมสูงเกือบเจ็ดล้านบาท เพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านได้กู้ยืมใช้ หมุนเวียนในการประกอบอาชีพ น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ เคยมีประวัติหนี้สูญเลย เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่ เข้มแข็งอีกหมู่บ้านหนึ่ง ผู้ใหญ่อารีย์เล่าให้ล้อหมุนฟังว่า การบริหารงานในชุมชน เป็นลักษณะของการร่วมมือกันในทุกๆ ด้าน ทุกๆ ปีหมู่บ้านจะ จัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนชุมชนร่วมกัน เป็นการเสริมสร้าง กระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมพัฒนาชุมชน ในรูปแบบต่างๆ ชาวบ้านทุกคนมีส่วนช่วยกำหนดทิศทางของ การพัฒนาหมู่บ้าน ชาวบ้านหนองใหญ่ทุกคนภาคภูมิใจมากที่ได้ รั บ การประกาศให้ เ ป็ น แบบอย่ า งแก่ ชุ ม ชนอื่ น ที่ ก ำลั ง ค้ น หา แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และทุกคน ตั้ ง ใจจะร่ ว มกั น ดู แ ลรั ก ษาหมู่ บ้ า นไว้ ใ ห้ เ ป็ น แบบ อย่างที่ดีเช่นนี้ตลอดไป หากคุ ณ ผู้ อ่ า นมี โ อกาสผ่ า นไปแถว ปราณบุรีล่ะก็ ลองแวะเข้าไปเยี่ยมเยียนพี่น้อง ชาวบ้านหนองใหญ่กันดูนะครับ ในหมู่บ้านมี รีสอร์ททีส่ ร้างบนเนินเขาสำหรับผูน้ ยิ มธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไว้คอยต้อนรับ ซึ่ง นอกจากจะสร้ า งรายได้ ใ ห้ ห มู่ บ้ า นแล้ ว ยั ง ช่ ว ย ป้องกันการบุกรุกที่จากกลุ่มนายทุนอีกด้วย ล้อหมุน เองก็ตั้งใจว่าหน้าฝนเมื่อไร จะกลับมาเยือนชุมชนหนองใหญ่ อีกครั้ง จะวิ่งเก็บผักสดปลอดสารพิษให้เต็มตะกร้าเลยครับ

ลับสมองลองเล่นเกม

จับคู่ขยะลงถังดีกว่าให้ถูกประเภทกันดีกว่า เริ่มจากซ้ายไปขวา แกนสับปะรด ขวดน้ำ กล่องกระดาษ ช้อนหัก เปลือกกล้วย หลอดไฟ ใบไม้แห้ง ส้มเน่า แก้วแตก ถ่านไฟฉาย ถังสี ใครทราบแล้วก็ลากเส้นโยงลงถังให้ถูก ประเภทเลยค่ะ

ขยะมูลฝอย อันตราย

ขยะแห้ง

ขยะเปียก

ส่งคำตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจกรรมเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553

25



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.