Our community 20

Page 1

จุลสารไทยออยล์เพื่อชุมชน ปีที่ 4 ฉบับที่ 20 ประจำ�เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2556

เครือไทยออยล์

๕๓ ก้าวสู่ปีที่



คำ�อวยพรเนื่องในโอกาส ครบรอบ 52 ปี เครือไทยออยล์ จากผู้นำ�ชุมชนทั้ง 7 ชุมชน อาจารย์เสถียร เอกจรัสภิวัฒน์ ประธานชุมชนตลาดอ่าวอุดม

อาจารย์ ไพบูลย์ กัญญาคำ�

“ขอให้ ท างไทยออยล์ อ ยู่ คู่ กั บ สังคม สร้างสังคม ช่วยเหลือชุมชน โดยรอบโรงกลั่นตลอดไป เนื่องใน วั น เ กิ ด ปี นี้ ข อ ใ ห้ ท า ง บ ริ ษั ท พนั ก งาน และครอบครั ว จงมี ความสุขเจริญๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป”

ประธานชุมชนบ้านเขานํ้าซับ “ขอให้พระภูมิเจ้าที่ศรีสวัสดิ์ ปกป้องภัยพิบัติทุกแห่งหน ให้ไทยออยล์เป็นสุขทุกๆ คน ชื่นกมล โสมนัส สวัสดี”

“ในโอกาสครบรอบ 52 ปีไทยออยล์ ขออวยพรให้ไทยออยล์ มีความเจริญรุ่งเรือง มีผลกำ�ไรมากมาย เพื่อที่จะได้ มาดูแล ชุมชนบ้านอ่าวอุดมและชุมชนโดยรอบต่อไป ที่ ผ่ า น ม า ไ ท ย อ อ ย ล์ ดู แ ล แ ล ะ สนั บ สนุ น ชุ ม ชนบ้านอ่าวอุดมเป็น อย่างดีมากๆ ขอบคุณค่ะ”

คุณวิศิษฐ์ พุทธตรัส ประธานชุมชนบ้านทุ่ง

“ขอให้ไทยออยล์เจริญก้าวหน้า กิจการของบริษัทเจริญรุ่งเรือง พ ร้ อ ม ทั้ ง ดู แ ล สิ่ ง แว ด ล้ อ ม เหมือนอย่างสโลแกน เราอยูไ่ ด้ ชุ ม ชนอยู่ไ ด้ สองเท้ า ก้ า วไป ด้ ว ยกั น ขอให้ ไ ทยออยล์ มี ความมัน่ คง ดูแลชุมชนตลอดไป”

คุณสุนันท์ เสียงดัง

ประธานชุมชนบ้านอ่าวอุดม

คุณอัมพร คชรัตน์

ประธานชุมชนบ้านแหลมฉบัง “ขอให้บริษัทไทยออยล์ และพนักงาน ที่ ทำ � งานกั บ ไทยออยล์ เจริ ญ รุ่ ง เรื อ ง ยิ่ ง ๆ ขึ้ น ไปเรื่ อ ยๆ ไทยออยล์ ไ ด้ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ด้ ว ยดี ต ลอดมา ไม่ว่าจะเป็น วัด โรงเรียน และชุมชน หลายๆ ชุมชน ในโอกาสครบรอบ 52 ปีไทยออยล์ ผมขออำ�นาจ คุณพระศรีรตั นตรัยจงอวยพรให้ไทยออยล์เจริญรุง่ เรืองทุกๆ ด้าน”

“ขอให้ ไ ทยออยล์ แ ละชุ ม ชน อยูค่ กู่ นั ตลอดกาลและตลอดไป อย่างมีความสุข”

คุณสุวรรณ์ทอง คำ�ภูมี

ประธานชุมชนบ้านชากยายจีน

“ขอให้ไทยออยล์ประสบความสำ�เร็จในการดูแลชาวบ้าน ประสบ ความสำ � เร็ จ ในด้ า นการค้ า ขายภายในเครื อ ข่ า ย และให้ การสนับสนุนทุนการศึกษากับเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพราะเด็กๆ มีความยากจน ขอให้ไทยออยล์จงรุง่ เรืองๆ ตลอดไป”

คุณสมศักดิ์ ถนอมรอด ประธานชุมชนวัดมโนรม


รอยยิ้มที่เปิดกว้างของพี่น้องพนักงานเครือไทยออยล์ในเช้าวันที่ 1 สิงหาคม 2556 อิ่มเอมใจ พอๆ กับรอยยิ้มของน้องๆ นักเรียน นักศึกษาที่ก้าวสู่เวทีรับมอบทุนการศึกษา เนื่องในโอกาส ครบรอบการดำ�เนินงานปีที่ 52 ของเครือไทยออยล์ ได้จัด พิธีมอบทุนการศึกษา และกองทุน การศึกษาเครือไทยออยล์ ประจำ�ปี 2556 ขึน้ เพือ่ เพิม่ โอกาสทางการศึกษาให้กบั เยาวชนทีศ่ กึ ษาอยู่ ในเขตพืน้ ที่ อ.ศรีราชา และเทศบาลนครแหลมฉบัง พร้อมทัง้ สร้างทรัพยากรบุคคลอันเป็นกำ�ลังสำ�คัญ ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิน่ ให้มคี วามสุขกาย สุขใจตลอดไป นีค่ อื ปณิธานและความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจของ องค์กรอย่างแท้จริง ชุมชนของเรา จุลสารไทยออยล์เพือ่ ชุมชนฉบับ “เครือไทยออยล์กา้ วสูป่ ที ี่ 53” กองบรรณาธิการ และทีมงานต่างตั้งใจและทุ่มเทให้จุลสารฉบับนี้ออกมาดีที่สุด เพื่อให้พี่น้องชุมชนฯ ได้รับข่าวสาร ความรู้ สาระประโยชน์รอบด้าน โดยเฉพาะสถานการณ์ความเคลือ่ นไหวรอบรัว้ โรงกลัน่ รวมทัง้ กิจกรรม ด้านต่างๆ ของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตและ เติมเต็มให้ “หัวใจ” ของเราทุกคนยิ้มได้ต่อไป เรื่องราวดีๆ ที่มีอยู่ภายในฉบับนี้ เริ่มต้นจาก เรื่องจากปก ที่นำ�ประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างเครือไทยออยล์กับชุมชนที่เติบโตเคียงคู่กันมาตลอด 52 ปี และเอาประสบการณ์หลากหลาย รูปแบบจากผู้เฒ่าผู้แก่ นำ�มาเก็บเล็กผสมน้อยเพื่อสร้างความผูกพันทาง “ใจ” ร่วมกัน ซึ่งบทเรียนนี้ ทำ�ให้พวกเราเองได้รวู้ า่ ตลอด 52 ปีทผ่ี า่ นมา ชุมชน-โรงกลัน่ มีความผูกพันร่วมกันอย่างไร นอกจากนี้ เราได้นำ�คำ�อำ�นวยพรและความปรารถนาดีจากผู้นำ�ทั้ง 7 ชุมชนรอบโรงกลั่นมาฝากกันอีกด้วย พร้อมทัง้ เติมความสุขให้เต็มอีกครัง้ ผ่านคอลัมน์ สกูป๊ พิเศษ เล่าถึงความสำ�คัญของ “ศูนย์สขุ ภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน” ขณะที่ CSR Focus ได้ถ่ายทอดเรื่องราว เครือไทยออยล์ นำ�ชุมชนรอบโรงกลั่นทัศนศึกษาดูงาน ในโครงการ “พัฒนาสัมพันธ์ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน” ประจำ�ปี 2556 เพื่อมุ่งหวังให้ชาวชุมชนของเราได้รับความรู้ที่เกิดจากการทัศนศึกษาไปประยุกต์ใช้กับ ชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป จากการปรับโฉมใหม่ของจุลสารชุมชนของเรานี้ ทำ�ให้ได้รับกระแสตอบรับจากพี่น้องชาวชุมชน ของเราว่า คอลัมน์การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ AEC น่าจะเริ่มต้นจากการเรียนรู้ คำ�ทักทาย “สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ” กันก่อน ฉบับนี้จึงจัดเต็มตามคำ�เรียกร้อง พร้อมเปิดช่องทางการร่วมสนุกกับ คอลัมน์ ลับสมองลองเล่นเกม ให้แก่ทุกท่านเพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง คือ สามารถส่งคำ�ตอบมาที่แผนก บริหารงานชุมชน โดยนำ�ใส่กล่องเล่นเกมที่หน้าศูนย์สุขภาพฯ ได้ด้วยตนเอง ท้ายนี้ ทีมงานจุลสารชุมชนของเราขอขอบพระคุณในคำ�อำ�นวยพรจากทุกๆ ท่าน สำ�หรับความสุข และความปรารถนาดีทม่ี ใี ห้แก่ระหว่างชุมชนและเครือไทยออยล์ แล้ว “พบกันใหม่” ในฉบับหน้านะคะ

บรรณาธิการ

สารบัญ 3 เรื่องจากปก 5 สกู๊ปพิเศษ 6 ตามรอยพ่อ 8 รอบรั้วไทยออยล์ 11 บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ 12 เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ AEC 14 เรียนภาษาอังกฤษกับครูแนน 15 ก้าวทันโลก 16 เคล็ดลับสุขภาพ 18 ปลอดภัยใกล้ตัว 19 CSR โฟกัส 22 ปราชญ์ชุมชน 24 ของดีบ้านเรา 26 รักษ์สิ่งแวดล้อม 28 เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน 30 ธรรมะ 31 ลับสมองลองเล่นเกม

จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) จัดทำ�โดย : แผนกบริหารงานชุมชน และ แผนกกิจการเพื่อสังคมและภาพลักษณ์องค์กร สำ�นักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2299 000, 0 2797 2999 โทรสาร 0 2797 2974 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุ่งสุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0 3840 8500, 0 3835 9000 โทรสาร 0 3835 1554, 0 3835 1444 ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน : เลขที่ 163/84 หมู่ที่ 7 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุ่งสุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0 3835 5028-31

2 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


จากอดีตสู่ปัจจุบัน

เรื่องจากปก

โดย กองบรรณาธิการ

ครบรอบ 52 ปี เครือไทยออยล์ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2556 ปีนี้ มีการจัดมอบทุนการศึกษาให้ กับนักเรียนในละแวกโรงกลั่น และโรงเรียนในอำ�เภอศรีราชา จำ�นวน 195 ทุน เป็นเงินรวม ทั้ ง สิ้ น 1,718,000 บาท ณ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรู้ เครื อ ไทยออยล์ เ พื่ อ ชุ ม ชน สถานที่อันเป็นศูนย์กลางแห่ง การทำ�ความดีของคนในชุมชน ถ้าถามว่าอะไรทีเ่ ป็นจิตวิญญาณของไทยออยล์ ผมตอบได้อย่างหนึง่ คือ “ความรักต่อเพือ่ นมนุษย์ กับความรับผิดชอบต่อสังคม” โดยเฉพาะชุมชน รอบพื้นที่โรงกลั่นเพราะเราเห็นสิ่งนี้มาตลอด “อาคารไทยออยล์ ของโรงเรียนวัดมโนรมเป็น อาคารเรียนทีแ่ ข็งแรงมาก ตอนสร้างขึ้นใหม่ตั้งแต่ โรงกลั่นดำ�เนินกิจการไม่นาน ตอนนั้นมีชื่อว่า อาคารโรงกลั่นน้ำ�มันไทย” ครูเรียม ชัยมะโน (เกษียณราชการ) เล่าให้ฟังตั้งแต่เมื่อกว่า 20 ปี ทีแ่ ล้ว พร้อมกับพาไปชมอาคารดังกล่าวซึง่ สร้างให้ โรงเรียนเมื่อเริ่มตั้งโรงกลั่นน้ำ�มันมาไม่นาน

“ตอนที่ ก่ อ สร้ า งโรงเรี ย นทุ่ ง ศุ ข ลาพิ ท ยา (กรุงไทยอนุเคราะห์) เสร็จใหม่ๆ เมือ่ ปี 2521 แม้จะมี ท่อเมนประปาผ่านหน้าโรงเรียน แต่กไ็ ม่มนี �้ำ ประปา ใช้เพราะหมดงบประมาณดำ�เนินการต้องอาศัยน้�ำ บ่อจากวัด แล้ววันหนึ่งผู้จัดการไทยออยล์เข้ามา เยี่ ย มบอกว่ า จะดำ�เนินการให้ จากนั้นสองวันก็มี พนักงานไทยออยล์เข้าไปเดินท่อน้ำ �ประปาจาก

ภาพกิจกรรมทอดกฐินสามัคคี บริเวณติดริมถนนไปจนถึงถังเก็บน้ำ� แล้วเดินท่อเชื่อมประสานกับ อาคารโรงเรียนกับบริเวณอืน่ จนแล้วเสร็จ เมือ่ การประปาฯ เอามิเตอร์ มาติดตัง้ ให้แล้วโรงเรียนก็มนี �้ำ ใช้ตงั้ แต่นนั้ มา” อาจารย์ระวี วิโนทพรรษ์ (เกษียณราชการ) อาจารย์ใหญ่ในยุคก่อตั้งโรงเรียนฯเล่าให้พวกเราฟังเมื่อหลายปีก่อน ย้อนไปเมื่อปี 2530 เคยได้พบ “พี่จาง อินทร์เจริญ” กำ�ลังดูข้าวในแปลงนาซีกอ่าว อุดมแปลงนาผืนสุดท้ายในพื้นที่ที่หลงเหลืออยู่ พี่จาง เล่าว่า เวลาไปจ่ายตลาดตอนเช้า มักจะพบครอบครัวคนโรงกลั่นที่อยู่หมู่บ้านข้างโรงกลั่นไปจ่ายตลาดและมีโอกาสทักทาย กันเสมอ คนที่พี่จางจำ�ได้แม่น คือ ดร.เอนก สิงหโกวินท์ (ถึงแก่กรรม) อดีตรองกรรมการ อำ � นวยการด้ า นโรงกลั่ น เพราะท่ า นมั ก จะไปจ่ า ยตลาดเอง พี่ จ างชั ก นำ � ให้ เรารู้ จั ก พีไ่ ล พิกลุ พีว่ มิ ล มงคล ซึง่ ตอนนัน้ เป็นผูใ้ หญ่บา้ น พีๆ ่ เล่าให้ฟงั ว่า ชาวบ้านกับพนักงาน ไทยออยล์ที่พักในหมู่บ้านข้างโรงกลั่นมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี วันเสาร์อาทิตย์ เด็กหนุม่ ในหมูบ่ า้ นจะเข้าไปในแถบบ้านพักพนักงานและมักจะได้รบั ประทานกาแฟ ขนมปัง เป็นประจำ� แล้วพนักงานไทยออยล์กม็ าใช้บริการร้านอาหารในชุมชน (ทัง้ พีจ่ าง อินทร์เจริญ พี่วิมล มงคล พี่ไล พิกุลถึงแก่กรรมแล้ว) ต่อมายังมีโอกาสได้รจู้ กั พีป่ ระเสริฐ สร้อยสกุล กำ�นันตำ�บลทุง่ สุขลาสมัยนัน้ ได้รจู้ กั กับ คุณครู นิรัตน์ มีมุก (ครูน้อย) ซึ่งบ้านอยู่บริเวณ ตลาดอ่าวอุดม คุณครูนิรัตน์ มีมุก เป็นครู สอนดนตรีไทย ลูกหลานชาวไทยออยล์ได้เรียน ดนตรีไทยกับท่านหลายรุน่ จนท่านอายุมากขึน้ จึงมิได้ไปสอนที่สโมสรไทยออยล์อีก

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 3


ตัง้ แต่ปี 2531 เป็นต้นมา ไทยออยล์ มอบทุ น การศึ ก ษาให้ เ ป็ น ระบบ มากขึ้นโดยบางส่วนจะให้โรงเรียน คัดเลือกโดยตรงและบางส่วนจะให้ ผูน้ �ำ ชุมชนเป็นผูค้ ดั เลือกทัง้ ชัน้ ประถม และมัธยม บุคคลท่านต่างๆ ทีก่ ล่าวมา เป็ น กรรมการหมู่ บ้ า น จึ ง เ ป็ น ผู้ ร่ ว ม คั ด เ ลื อ ก ผูส้ มควรได้รบั ทุนการศึกษา เช่ น เดี ย วกั บ ซี ก บ้ า นทุ่ ง พีป่ ระวัติ สนิทขำ� ในฐานะ ผูใ้ หญ่บา้ นจะร่วมดำ�เนินการ การจั ด ทอดกฐิ น สามั ค คี เฉพาะที่ วั ด ในชุ ม ชนอั น ได้ แ ก่ วั ด ใหม่ เ นิ น พยอมและวั ด มโนรมก็ เริ่มจากปี 2531 เช่นกัน ก่อนหน้านั้นก็มีการมอบทุนการศึกษา และ ทอดกฐินสามัคคีทุกปีแต่มิได้กำ�หนดเป็นนโยบายแน่นอนมาก่อน ปี 2534 มี ก ารประกาศใช้ พระราชบั ญ ญั ติ เ ทศบาลตำ � บล แหลมฉบัง อาคารศูนย์ฝึกอบรม ไทยออยล์ เ ป็ น สถานที่ ป ระชุ ม สภาเทศบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ชุดแรกเพื่อหาตัวนายกเทศมนตรี เ ท ศ ม น ต รี ป ร ะ ธ า น ส ภ า แ ล ะ รองประธานสภา โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ชลบุรีมาเป็นประธานดำ�เนินการ เพื่อให้เริ่มการ บริหารเทศบาลตาม พ.ร.บ.ได้ และจะได้ด�ำ เนินการ เลือกตั้งต่อไปในเวลาตามกำ�หนด คุณบุญเลิศ น้อมศิลป์ เป็นนายกเทศมนตรีท่านแรก ต่อมามีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนต่างๆ และยุบเลิกตำ�แหน่งกำ�นันผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลทั้งหมด นีเ่ ป็นปฐมบทของการทำ�งานชุมชนยุคใหม่ ยุคทีค่ นไทยออยล์เข้า ผสานเป็ น เนื้ อ เดี ย วกั บ ชุ ม ชนแบบเรี ย นรู้ แ ละพั ฒ นาไปด้ ว ยกั น มีกจิ กรรมร่วมระหว่างไทยออยล์กบั ชุมชนหลายด้าน บางเรือ่ งเกิดจาก กิจกรรมของชุมชนแล้วไทยออยล์เข้าไปร่วม บางด้านเป็นกิจกรรมที่ เกิดขึน้ จากการคิดขึน้ มาใหม่แล้วร่วมกันทำ� ได้แก่ กิจกรรมด้านรักษา สิ่งแวดล้อม กิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมสนับสนุนการศึกษา กิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กิจกรรมด้านประเพณีและวัฒนธรรม

กิจกรรมเปิดบ้านเยี่ยมชมโรงกลั่น และ ในที่สุดเกิดการสร้าง “ศูนย์สุขภาพและ การเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน” ซึ่ ง เปิ ด บริ ก ารด้ า นทั น ตกรรมนั ก เรี ย น ด้ า นการส่ ง เสริ ม ดู แ ลสุ ข ภาพทุ ก วั ย ใน 7 ชุมชน กิจกรรมต่างๆ ทำ�ให้ไทยออยล์ กับชุมชนมีความสนิทแน่นแฟ้นตลอดมา

โดยมีเทศบาลนครแหลมฉบัง (อดีตเทศบาลตำ�บล) ช่วยประสานและ มีสว่ นร่วมในกิจกรรมต่างๆ เสมอต้นเสมอปลาย ในทีส่ ดุ จึงเกิดโมเดล การทำ�งานแบบ 3 ประสาน ได้แก่เครือไทยออยล์ เครือข่าย 7 ชุมชน และเทศบาลฯ ขึ้นในปัจจุบัน “ไทยออยล์ ล้ อ มรั้ ว ด้ ว ยคน” เป็ น วาทกรรมโด่ ง ดั ง ในรอบ สองทศวรรษจากปากของ อดีตนายกเทศมนตรีบญ ุ เลิศ น้อมศิลป์ ปัจจุบนั ดำ�รงตำ�แหน่งประธานทีป่ รึกษานายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง ท่ า นได้ ก ล่ า วบ่ อ ยครั้ ง กั บ คณะที่ เข้ า มาเยี่ ย มชมพื้ น ที่ เ ทศบาลว่ า “ไทยออยล์มิได้ล้อมรั้วด้วยอิฐ ปูน แต่ล้อมรั้วด้วยคน เพราะมี กิจกรรมร่วมกับพีน่ อ้ งชุมชนสม่�ำ เสมอ ทำ�ให้ชมุ ชนรักและผูกพัน กับไทยออยล์เสมอต้นเสมอปลาย”

ครบรอบ 52 ปีเครือไทยออยล์ วันนี้มีการมอบทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนในชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ศรีราชา คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารฯ ให้เกียรติมาเป็นประธาน ท่ า นกล่ า วแสดงความมุ่ง มั่น สำ � หรั บ เครื อ ไทยออยล์ ท่ีจ ะเติ บ โต ต่อไปพร้อมกับพีน่ อ้ งชุมชนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมดังทีป่ ฏิบตั ิ กันสืบมา 52 ปีผา่ นไป นครแหลมฉบังมีความเปลีย่ นแปลงไม่สนิ้ สุด เพราะ ความเปลี่ ย นแปลงย่ อ มเป็ น นิ รั น ดร์ แต่ สิ่ ง ที่ ไ ม่ เ คยเปลี่ ย นคื อ จิตวิญญาณความเป็นไทยออยล์ทรี่ กั เพือ่ นมนุษย์ รับผิดชอบต่อสังคม และพร้อมก้าวไปร่วมกันกับชุมชนที่ยังดำ�รงผ่านทุกกาลสมัย.

4 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


สกู๊ปพิเศษ

ศูนย์สุขภาพฯ พัฒนา สร้างสรรค์ เชื่อมสัมพันธ์ สานสุข สู่ชุมชน ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ทีก่ อ่ ตัง้ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน ภายใต้พันธกิจหลัก 3 ประการ คือ สร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน และพัฒนาชุมชนน่าอยู่ โดยแผนกบริหารงาน ชุมชน เครือไทยออยล์ มีวสิ ยั ทัศน์ “ชุมชน -โรงกลัน่ พัฒนาสัมพันธ์ มุง่ มัน่ สู่ความยั่งยืน” การสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนผ่านทาง โครงการเวชศาสตร์ชุมชน ถือเป็นภารกิจ หลักในการดูแลสุขภาพด้วยหลักเวชศาสตร์ ชุมชนและเวชศาสตร์ปอ้ งกัน ทัง้ ปรับเปลีย่ น พฤติกรรม ลดความเสี่ยง และเสริมสร้างสุขภาพที่ดีกับประชาชนทุกเพศทุกวัยใน 7 ชุมชนรอบโรงกลั่น เสริมทัพด้วยโครงการออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะเคลื่อนที่ เพื่อให้การบริการด้านสุขภาพครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลัก 3 ประสาน ร่วมมือกับเทศบาลนครแหลมฉบัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง คณะกรรมการ ชุมชน อสม. และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ศู น ย์ สุ ข ภาพฯ ยั ง ได้ จั ด ทำ � แฟ้ ม ข้ อ มู ล ครอบครัว แฟ้มรายบุคคล และคัดกรองความ เสีย่ งจากโรคเรือ้ รังทีไ่ ม่ตดิ ต่อ อาทิ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทัง้ คัดกรอง โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่ สำ�คัญเหล่านี้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สามารถนำ�ไปวางแผนเพื่อพัฒนาสุขภาพของชุมชนในระยะยาวได้ต่อไป ภายในศูนย์สขุ ภาพฯ มีศนู ย์ทนั ตกรรม เพือ่ ให้บริการตรวจรักษาฟันเบือ้ งต้น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟั น ให้ กั บ เด็ ก นั ก เรี ย นจากโรงเรี ย นรอบ โรงกลั่น นับแต่เปิดดำ�เนินการ มีนักเรียนมารับ บริการแล้วกว่า 10,000 คน นอกจากนัน้ ยังได้ จัดโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพโรงเรียนรอบ โรงกลัน่ เพือ่ รณรงค์ดแู ลสุขภาพฟันเชิงรุกทีเ่ น้น การดูแลป้องกัน ทำ�ให้จำ�นวนเด็กนักเรียนที่มี ฟันผุลดน้อยลง เมื่อเทียบเกณฑ์กับกระทรวง สาธารณสุข

นอกจากนั้น ศูนย์สุขภาพฯ ยังมีห้องสมุดมีชีวิต ที่ เป็นแหล่งประเทืองและเพิ่มพูนปัญญาให้กับเยาวชน และชุมชน ซึง่ ช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรูเ้ ป็นอย่างดี

ด้วยภารกิจต่างๆ เหล่านี้ จะเห็นได้วา่ ศูนย์สขุ ภาพฯ แห่ ง นี้ ได้ มี ส่ ว นดู แ ลชุ ม ชนตั้ ง แต่ เ ด็ ก วั ย รุ่ น ผู้ ใ หญ่ ตลอดจนผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้มาซึ่งสุขภาพที่ดี พร้อมกับ ความตั้งใจของเครือไทยออยล์ที่มุ่งหวังให้ชุมชนรอบ โรงกลัน่ มีสขุ ภาวะทีส่ มดุลทัง้ สีด่ า้ น คือ กาย จิตใจ สังคม และปัญญา เพื่อให้ชุมชนและโรงกลั่นไทยออยล์เติบโต เคียงคู่กันอย่างยั่งยืน สืบไป

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 5


ตามรอยพ่อ โดย ลูกคนเล็ก

คำ�สอนของแม่

“แม่” ไม่ได้เป็นเพียงคนที่ให้กำ�เนิดลูกเท่านั้น แต่ “แม่” ยัง เป็นผู้สร้างด้วย ลูกจะเติบโตขึ้นมาเป็นอย่างไร พ่อแม่คือ ต้นแบบของลูก เหมือนดังเช่นทีพ ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพ ิ ลอดุลยเดช ทีท่ รงมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า” เป็นองค์ต้นแบบในทุกด้าน ภายหลังจากทีส่ มเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์ “สมเด็จย่า” ต้องรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระธิดาและพระโอรส ทัง้ สามพระองค์ตามลำ�พัง แม้วา่ จะทรงงานหนัก แต่กท็ รงทุม่ เทพระวรกายและ ตั้งพระทัยอบรมเลี้ยงดูลูกด้วยพระองค์เองอย่างเข้มแข็งและอดทน เปี่ยมล้น ด้วยความรัก ความอบอุ่น และทรงใช้เหตุผลในการอบรม พร้อมทรงปลูกฝัง ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม โดยเริ่มจากทรงสอนให้ลูกๆ สวดมนต์ก่อนนอน ทุกวัน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ทีจ่ ะสืบทอดพระเจตนารมณ์ของสมเด็จพระบรมราชชนก ทรงมีความมุง่ มัน่ ใน พระราชหฤทัยว่า การที่จะทำ�ความดีให้แผ่นดินได้จริง จะต้องอบรมเลี้ยงดู พระโอรสและพระธิดาให้เป็นคนดี “....ลูกของหม่อมฉัน หม่อมฉันรักอย่างดวงใจ และหม่อมฉันมีความตัง้ ใจ อยู่เสมอที่จะนำ�ให้ลูกไปในทางที่ถูกที่ดี สำ�หรับจะได้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ญาติ บ้านเมือง ตัวของหม่อมฉันเองทำ�ประโยชน์อะไรให้บา้ นเมืองไม่ได้มาก แต่ถ้าได้ช่วยลูกๆ ให้ได้รับความอบรม เล่าเรียนในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ บ้านเมืองได้แล้ว หม่อมฉันก็จะรู้สึกอิ่มใจเหมือนกัน” (สมเด็จย่าทรงเขียนจดหมายถึงพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ จากหนังสือ เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์) สิ่ ง ที่ ส มเด็ จ ย่ า ทรงปลู ก ฝั ง ลู ก ๆ มาโดยตลอดคื อ “ความประหยั ด ” ครัง้ หนึง่ เมือ่ ในหลวงทรงพระเยาว์ ทรงอยากได้จกั รยาน เหมื อ นเพื่ อ นๆ บ้ า ง สมเด็ จ ย่ า ทรงบอกว่ า ถ้ า ลู ก อยากได้ จั ก รยานก็ ใ ห้ เ ก็ บ สตางค์ ค่าขนมหยอดกระปุกไว้ซื้อเอง ไม่ทรง ตามพระทัยลูก ไม่ได้ซอื้ ของเล่นให้บอ่ ย ด้วยเหตุนี้ทำ�ให้ในหลวงทรงคิดค้น ประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง แ ล ะ เ ป็ น ที่ ม า ข อ ง “ ก ษั ต ริ ย์ นักประดิษฐ์”

6 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


นอกจากนีย้ งั ทรงเป็นพระมหากษัตริยท์ ไี่ ด้ชอื่ ว่าประหยัดมัธยัสถ์ทสี่ ดุ ของใช้ ส่วนพระองค์ทุกอย่าง พระองค์จะทรงใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด เช่น หลอดยาสีฟันที่ ทรงบีบจนแบนเป็นกระดาษ รองเท้าขาดพระองค์จะให้ช่างนำ�ไปซ่อม ทรงเบิก ดินสอปีละ 12 แท่ง ทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องการใช้ชีวิตแบบพอเพียงให้ ประชาชนคนไทยทุกคน อีกหนึง่ คำ�สอนของสมเด็จย่าทีย่ งั ประโยชน์ให้กบั คนไทย คือ ทรงสอนให้พระโอรสและพระธิดามีความเมตตากรุณา และเสียสละเพือ่ ผูอ้ น่ื สมเด็จย่าจะมีกระป๋องอยูใ่ บหนึง่ ชื่อ “กระป๋องคนจน” สำ�หรับให้ลูกๆ หยอด เพื่อ นำ�เงินไปทำ�บุญ หรือช่วยเหลือผูอ้ นื่ ในหลวงทรง เล่าถึงพระมารดาตอนหนึ่งว่า “แม่ทรงเป็นครูที่ ดีเลิศ ท่านค่อยๆ สอนให้ซึมซาบถึงการทำ�บุญ อย่างเช่นเราคนใดคนหนึง่ ได้อะไรมา เช่น เงิน เรา ก็จะต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์ใส่ในกล่องสำ�หรับคนจน ถ้าเราทำ�ผิด เราก็จะโดนปรับ ไม่ได้จ่ายค่าปรับให้แม่ แต่ต้องไปใส่กล่องทำ�บุญสำ�หรับให้คนจน” เมือ่ ในหลวงทรงขึน้ ครองราชย์ ทรงนำ�เอาคำ�สอนของพระมารดามาใช้ปฏิบตั ิ ในการปกครองประเทศ ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เสด็จออกไปเยีย่ มเยียน ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจน ทรงริเริ่มโครงการใน พระราชดำ�รินับพันโครงการ เพื่อช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ให้มีชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ตามคำ�แม่สอนว่า...ขอให้ถือ ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นที่หนึ่ง และประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง วันที่สมเด็จย่าสวรรคต ในหลวงทรงเข้าไปคุกเข่ากราบลงที่หน้าอกแม่ “ขอหอมหัวใจแม่...เป็นครั้งสุดท้าย” ทรงซบพระพักตร์นิ่งนานแล้วค่อยๆ เงยพระพักตร์ขน้ึ น้�ำ พระเนตรไหลนอง ต่อไปนี้ จะไม่มแี ม่ให้หอมอีกแล้ว เอามือ กุมมือแม่ไว้ มือนิ่มๆ ที่ไกวเปลนี้แหละที่ปั้นลูกจนได้เป็นกษัตริย์ เป็นที่รักของ คนทัง้ บ้านทัง้ เมือง ชีวติ ลูกแม่ปนั้ ในหลวงทรงหวีผมให้สมเด็จย่าเป็นครัง้ สุดท้าย แต่งตัวให้แม่ ให้สวยทีส่ ดุ ...ทรงเป็นสุดยอดของลูกกตัญญูหาทีเ่ ปรียบไม่ได้อกี แล้ว และด้วยคำ�สอนของแม่นเี่ องทีถ่ กู ถ่ายทอด ออกมาเป็นพระจริยวัตรที่งดงามของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำ�ให้ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทีเ่ ป็นทีร่ กั ของคนไทยทัง้ ประเทศ ที่มา : 1. เจ้านายเล็กๆ – ยุวกษัตริย์ ผู้แต่ง / ผู้แปล : สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา 2. หนังสือชื่อ “กลางใจราษฎร์” : หกทศวรรษแห่งการทรงงาน ผู้แต่ง / ผู้แปล : GROSSMAN และคณะ

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 7


รอบรั้วไทยออยล์ โดย หน่วยกลั่นข่าว

ถวายเทียนพรรษา 9 วัด โครงการสร้างบ่อเก็บกักนํ้าให้ โรงเรียนวัดแหลมฉบัง เมือ่ วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 เครือไทยออยล์ โดย แผนกบริหารงานชุมชนจัดการบรรยายให้ความรู้ เรือ่ ง ประโยชน์การสร้างบ่อเก็บกักน้ำ� แก่คณะครูและนักเรียน โรงเรียนวัดแหลมฉบัง ในโครงการ CSR - DIW ซึง่ เป็น โครงการส่ ง เสริ ม สถานประกอบการรวมพลั ง สร้ า ง ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน โดยการ ก่ อ สร้ า งนี้ เ ป็ น ความร่ ว มมื อ กั น ระหว่ า งบริ ษั ท ไทยออยล์จำ�กัด (มหาชน) กับบริษัทคู่ค้า ได้แก่ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ�ภาคตะวันออก จำ�กัด (มหาชน) และบริ ษั ท แอร์ ลิ ค วิ ด (ประเทศไทย) เพื่อสร้างบ่อเก็บน้ำ�ขนาด 13 ลูกบาศก์เมตร โครงการ นีจ้ ะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้ เป็นการเอื้อประโยชน์ ด้ า นชี ว อนามั ย และสาธารณสุ ข ให้ กั บ นั ก เรี ย นกว่ า 500 คน

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2556 เครือไทยออยล์ ( TOP / TPX / TLB ) TCP และ GPSC ร่วมกับเครือข่าย 7 ชุมชนรอบโรงกลัน่ จัดกิจกรรมฉลอง เทียนพรรษา โดยมีกิจกรรมสวดมนต์เย็น และรำ�วงพื้นบ้านฉลองเทียน พรรษา ของชมรมอนุรกั ษ์รำ�วงพืน้ บ้านแหลมฉบัง ณ ศูนย์สขุ ภาพและการ เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ส่วนช่วงเช้าวันที่ 21 กรกฎาคม 2556 มีกิจกรรมถวายเทียน 9 วัด เริ่มด้วยพิธีเปลี่ยนผ้าครองพรรษาพระพุทธ รัต นมงคลสกลประชานาถมุนี หรือ หลวงพ่อไทยออยล์ ณ หอพระ ศูนย์สุขภาพฯ และออกเดินทางไปถวายเทียนพรรษา 9 วัด โดยได้ รับเกียรติจากคุณสุกมุ ล คุณปลืม้ อดีตรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม และสมาชิกสภาผูแ้ ทนเขต 6 ชลบุรี คุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรี แหลมฉบัง คณะผูบ้ ริหารเทศบาลฯ และชุมชนร่วมกิจกรรมกว่า 700 คน

ส่งเสริมทันตสุขภาพโรงเรียน รอบโรงกลั่นไทยออยล์ ประจำ�ปี 2556 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 เครือไทยออยล์ โดยแผนกบริหารงานชุมชน จัดโครงการ “ส่งเสริมทันตสุขภาพโรงเรียนรอบโรงกลั่นไทยออยล์” ประจำ�ปี 2556 โดยได้รับเกียรติจาก นายกเทศบาลนครแหลมฉบัง คณะผูบ้ ริหารโรงพยาบาลแหลมฉบัง ผู้อำ�นวยการโรงเรียน คณะครู และนักเรียน ทัง้ 7 โรงเรียน ประธานและคณะกรรมการชุมชน 7 ชุมชนรอบโรงกลัน่ ในโอกาสนี้ เครือไทยออยล์ได้มอบโล ่ และทุนสนับสนุนการประกวดส ่ง เสริมทันตสุข ภาพเชิง รุก โดยมี ผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน

8 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


พิธีมอบทุนการศึกษาเครือไทยออยล์ ประจำ�ปี 2556 วันที่ 1 สิงหาคม 2556 เครือไทยออยล์จัดพิธีมอบทุนการศึกษา และ กองทุนการศึกษา เครือไทยออยล์ ประจำ�ปี 2556 เนื่องในโอกาสครบรอบ การดำ�เนินงานปีที่ 52 ของบริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) โดยปีนี้เครือฯ จัดสรรทุนการศึกษา จำ�นวน 195 ทุน และกองทุน จำ�นวน 11 ทุน ให้แก่ เยาวชนที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในเขต อ.ศรีราชา และเทศบาลนคร แหลมฉบัง พร้อมทั้งจัดสรรกองทุนสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่อยู่รอบ โรงกลัน่ เพือ่ สร้างทรัพยากรบุคคลอันเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาชุมชนและ ท้องถิน่ โดยคุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธี

ออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะเคลื่อนที่ชุมชนบ้านทุ่ง เมือ่ วันที่ 25 กรกฎาคม 2556 เครือไทยออยล์ ( TOP / TPX / TLB ) TCP และ GPSC ร่วมกับเทศบาลนครแหลมฉบัง และคณะกรรมการชุมชนบ้านทุง่ จัดกิจกรรมออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะเคลือ่ นที่ เพือ่ ให้บริการด้านสุขภาพ กับชาวชุมชน โดยได้รบั การสนับสนุนและความร่วมมือจากเจ้าหน้าทีส่ �ำ นักการ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหน่วยงานเอกชนต่างๆ มาร่วมให้บริการ แก่ประชาชนในพืน้ ทีช่ มุ ชนบ้านทุง่

ถวายราชสดุดี และรณรงค์ รักษาสิ่งแวดล้อม น้อมเกล้าฯ ถวายแม่ เมือ่ วันอาทิตย์ท่ี 11 สิงหาคม 2556 เครือไทยออยล์ (TOP / TLB / TPX) TCP และ GPSC โดยแผนกบริหาร งานชุ ม ชน จั ด กิ จ กรรมถวายราชสดุ ดี เ นื่ อ งในวั น เฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ซึ่ งได้ รั บเกี ยรติ จากคุ ณ สั น ติ ศิริตันหยง รองนายก เทศมนตรีนครแหลมฉบัง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี กล่าวนำ�ประชาชนทุกหมูเ่ หล่าจุดเทียนชัยถวายพระพร ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงสดุดีมหาราชา ดังกึกก้องทั่วบริเวณงาน โดยในช่วงเย็นวันเดียวกันได้ จัดกิจกรรมรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม น้อมเกล้าถวาย ราชินี ด้วยการปล่อยพันธุ์ปูม้า จำ�นวน 9,999,999 ตัว ปลูกต้นไม้ตลอดแนวชายหาด และทำ�ความสะอาดแนว ชายฝั่ ง ณ บริ เวณชายทะเลบ้ า นอ่ า วอุ ด ม โดยมี ผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 9


คณะผู้บริหารมิตซุยเยี่ยมชมศูนย์สุขภาพฯ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) และคณะผู้บริหารเครือไทยออยล์ นำ� Mr.Seiichi Tanaka ; Representative Director Executive Vice President และ คณะผู้บริหาร บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำ�กัด เยี่ยมชมการบริหารงานศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน โดยมีแผนกบริหารงานชุมชนให้การต้อนรับ ในการนี้คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล และ Mr.Seiichi Tanaka ได้ให้เกียรติปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้เป็นที่ระลึก บริเวณหน้าหอพระพุทธรัตนมงคลสกลประชานาถมุนี

ผู้บริหารจากสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาร์เยี่ยมชมศูนย์สุขภาพฯ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 คุณอภินันท์ สุ ภั ต รบุ ต ร รองกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ ด้ า น การกลั่ น และปิ โ ตรเคมี แ ละคณะผู้ บ ริ ห าร เครื อ ไทยออยล์ นำ � Mr.U Thein Myint (Refinery Superintend Chemical Engineer) จาก Myanmar Petrochemical Enterprise เยี่ยมชมการบริหารงานศูนย์สุขภาพและการ เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน โดยมีแผนก บริหารงานชุมชนให้การต้อนรับ

บอกข่าว ชาวชุมชนค่าาา พิธีส่งมอบถ้วยพระราชทาน กีฬากระโดดเชือก เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เครือไทยออยล์ โดยแผนกบริหารงานชุมชนเข้าร่วมพิธีส่งมอบถ้วย พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กีฬากระโดดเชือก ประเภททรหดหญิง ให้กบั โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 เนือ่ งจากเป็นการครองถ้วยร่วมระหว่างโรงเรียนราชินบี นกับโรงเรียน เทศบาลแหลมฉบัง 2 จากการแข่งขันเมือ่ วันที่ 18 ธันวาคม 2555 เครือไทยออยล์ได้สนับสนุนกีฬากระโดดเชือก ในการฝึกอบรมและการแข่งขันกีฬากระโดดเชือกให้ 7 โรงเรียนรอบโรงกลั่นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวัง ให้เยาวชนมีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลยาเสพติด

10 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


บอกเล่าเก้าสิบกับศูนย์สุขภาพ โดย กองบรรณาธิการ

พิธีถวายผ้าครองประจำ�พรรษา

พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี

หลังจากที่เครือไทยออยล์และพี่น้องชุมชนร่วมกัน อัญเชิญ พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี ประดิษฐาน ณ หอพระ ภายในศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมานั้น พี่น้องชุมชนเริ่มทยอยกัน เข้ามากราบไหว้บูชาเป็นประจำ� รวมทั้งแขกเหรื่อสำ�คัญที่มาเยี่ยมเยียนในโอกาสต่างๆ กระทั่งในปี 2554 มีการจัดพิธีสวดมนต์และปฏิบัติธรรม ตอนเย็น ณ หอพระทุกวันขึน้ 14 คํา่ ของทุกเดือน มีพนี่ อ้ งในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำ�นวนมากทุกครัง้ นอกจากนีย้ งั มีการจัดบรรยายธรรม ตามโอกาสอันควรอีกด้วย ด้วยความที่มีผู้ศรัทธานับถือพระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี หรือที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อ ไทยออยล์” เป็นจำ�นวนมาก จึงมีผเู้ สนอให้จดั พิธถี วายผ้าครองประจำ�พรรษาขึน้ สำ�หรับปีนี้ตรงกับเช้าวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลาประมาณ 08.00 น. พี่น้องชุมชนนัดรวมตัว กันที่ หอพระ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ เพือ่ ชุมชน เพือ่ ร่วมพิธถี วายผ้าครองดังกล่าว ซึง่ ดำ�เนิน การเป็นปีที่ 3 โดยทุกปีจะมีพิธีในวันอาทิตย์ใกล้กับวัน เข้ า พรรษาตลอดมา นั บ วั น ผู้ มี จิ ต ศรั ท ธา ร่ ว มประกอบพิ ธี จ ะ มากขึ้ น ตลอด จาก ประมาณ 250 คน ใน ปี 2554 เป็น 400 คน ในปี 2555 และ 550 คน ในปี 2556

จากด้านหลังขององค์พระมาด้านหน้า พี่น้องชุมชนทุกท่านจะช่วยกันจับด้าย สายสิญจน์ไว้ ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมในพิธีจำ�นวนมาก ขณะที่ด้ายสายสิญจน์ถูกส่งต่อไปยังแถวหลัง ผู้ที่อยู่ด้านหน้าจะสงบนิ่งด้วยความ เคารพต่อองค์พระพุทธฯ

ท่ามกลางดินฟ้าอากาศที่เป็นใจ ไม่มีละอองฝนมากล้ำ�กรายทั้งที่สองวันก่อน หน้านี้มีฝนโปรยปรายเป็นระยะจนผู้จัดพิธีนึกหวั่นใจ เมื่อพิธีกรเห็นว่าผู้ร่วมพิธี ทุกท่านพร้อมแล้ว จึงประกาศให้รว่ มกันสำ�รวมจิตเป็นสมาธิ 1 นาที ทุกคนยืนนิง่ สงบ เป็นภาพที่งดงามอย่างยิ่ง เมื่อครบ 1 นาทีแล้ว พิธีกรเริ่มประกาศให้จังหวะผู้ร่วม พิ ธี ช่ ว ยกั น สาวด้ า ยสายสิ ญ จน์ พ ร้ อ มๆ กั น ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เมื่อผ้าครองประจำ� พรรษาเคลือ่ นมาห่มองค์พระในระดับงามเหมาะสม ก็มกี ารจัดแต่งผ้าครองห่มองค์พระให้เรียบร้อย อีกครัง้ เป็นอันเสร็จพิธี ท่ามกลางความปลืม้ ปีติ พิ ธี เ ริ่ ม ต้ น โดย ของพุทธศาสนิกชนผูป้ ระกอบมงคลให้กบั ชีวติ พระครูอาทรพัฒนา ตั้งแต่เช้าทุกท่าน ภิรมย์ พระอาจารย์ “สาธุ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระไตรรัตน์ เจ้าคณะตำ�บลทุง่ สุขลา และเจ้ า อาวาสวั ด อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งสูงสุด ม โ น ร ม เ ป็ น อ ง ค์ ไม่มีที่พึ่งใดจะดียง่ิ กว่า สาธุ ข้าพเจ้าขอกราบ ประธาน พี่น้องชุมชน สักการะหลวงพ่อไทยออยล์ เพื่อเป็นมงคล สำ�หรับการสวดมนต์เย็นและ ร่ ว มกั น อาราธนาศี ล รั บ ศี ล และถวายเที ย นพรรษา แห่งชีพข้าพเจ้าในเบือ้ งต้นและขอรำ�ลึก ปฏิ บั ติ ธ รรมในช่ ว งเข้ า พรรษา แด่พระอาจารย์ซง่ึ พระอาจารย์มอบต่อให้ไว้ประจำ�หอพระ คุ ณ พระพุ ท ธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นไป จะเริม่ ต้นในเดือนกันยายน ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เพื่อเป็นมงคลแห่งชีพข้าพเจ้านับกาลนาน” 2556 โปรดติดตามกำ�หนดการ จากนั้นพิธีถวายผ้าครองประจำ�พรรษาก็เริ่มขึ้น โดย เสียงคุณป้าท่านหนึ่งพึมพำ�ขณะกราบพระ อีกครั้งเร็วๆ นี้ พี่น้องชุมชนร่วมกันเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ก่อนออกไปประกอบกิจกรรมอื่นในวันนั้น ด้วยจิตใจมุง่ มัน่ พร้อมใจร่วมพิธี ชายผ้าครองฯ ด้านหนึง่ ถูกผูกเข้ากับไม้มงคลและสายสิญจน์ขนาดยาวพาดผ่าน ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 11


เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ AEC โดย กองบรรณาธิการ

ซินจ่าว มิงกะลาบา สะบายดี สวัสดี ซาลามัด ดาตัง

ฉบับที่แล้วผมได้บอกเล่า เรือ่ งราวของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนกันไปแล้วนะครับว่ามี ความสำ�คัญและมีผลโดยตรงต่อชีวิตของเรามากมายขนาดไหน ฉบั บ นี้ ม าว่ า กั น ด้ ว ยเรื่อ งง่ า ยๆ แต่ สำ� คั ญ ไม่ แ พ้ กัน นั่น ก็ คือ เรือ่ ง “ภาษา” ครับ แน่นอนว่า ภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาหลักทีใ่ ช้ในการติดต่อ สื่อสารระหว่างกัน ซึ่งทุกวันนี้ชาติอาเซียนเพื่อนบ้าน ค่อนข้าง ก้ า วหน้ า กว่ า เรานะครั บ จากดั ช นี ก ารใช้ ภ าษาอั ง กฤษอย่ า ง คล่องแคล่วใน 54 ประเทศทีไ่ ม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ เพือ่ นบ้านเรา อย่างสิงคโปร์และมาเลเซียสามารถใช้ภาษาอังกฤษ ได้คล่องแคล่วสูง อินโดนีเซียและเวียดนามก็ยังมีอันดับสูงกว่า ไทยเราซึง่ อยูใ่ นอันดับที่ 53 เป็นอันดับรองสุดท้ายจากลิเบีย และ เป็นเพียงประเทศเดียวในภูมภิ าคนีท้ ถี่ กู จัดว่า การใช้ภาษาอังกฤษ ในระดับคล่องแคล่วนัน้ อยูใ่ นระดับต่�ำ มาก... (ได้ยนิ แบบนีก้ อ็ ย่า เพิ่งท้อกันไปนะครับ เริ่มต้นเรียนรู้กันใหม่ตอนนี้ก็ยังไม่สาย) สิง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื ระบบการเรียนการสอนของเขานีแ่ หละครับ ผมขอยกตัวอย่างประเทศทีไ่ ด้ไปสัมผัสมาโดยตรง อย่างประเทศ สิงคโปร์ ที่นั่นจะสอนด้วยการเน้นการฟัง-การพูด ซึ่งต่างจาก บ้านเราทีเ่ ป็นรูปแบบ อ่าน-เขียนในชัน้ ประถมศึกษา ยิง่ ไปกว่านัน้ นักเรียนสิงคโปร์ต้องเรียนกันอย่างน้อย 4 ภาษาครับ โดยเฉพาะ อังกฤษ จีน บาฮาซา และภาษาทมิฬ เรียกว่า พูดสื่อสารกันจริง ตั้งแต่เด็กๆ ในห้องเรียนเลย ไม่ใช่ฝึกอ่านออกเสียงตามคุณครู ประจำ�ชั้นแบบบ้านเรา งานนี้พูดไม่เป็นให้มันรู้ไป!

12 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556

ในจำ�นวนประชากรกว่า 600 ล้านคนของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มีภาษาที่ ใช้ในการติดต่อสื่อสารกว่า 10 ภาษา! วันนี้คุณรู้ ภาษาอะไรบ้าง? แต่ถา้ พูดถึงภาษาท้องถิน่ ซึง่ สะท้อนอัตลักษณ์และตัวตน ของแต่ละชนชาติในอาเซียน แต่ละประเทศก็มีเอกลักษณ์ที่ แตกต่างกันไป เริ่มใกล้ๆ บ้านเราก่อนแล้วกันครับ อย่าง ประเทศ สปป.ลาว ใครจะไปท่องเที่ยวที่ลาว ต้อง บอกว่าภาษาไม่แตกต่างจากบ้านเรามาก รากศัพท์ใกล้เคียงกัน สื่อสารกันพอรู้เรื่อง เจอหน้ากันก็ทัก “สะบายดี” จะขอบคุณ ก็ให้พูด “ขอบใจ” มีคำ�ศัพท์น่ารักๆ ที่ทำ�ให้เราอมยิ้มเมื่อ รับฟัง แต่พอเข้าใจได้ เช่น

“รถแสนซำ�บาย” (รถทัวร์)

“น้ำ�ก้อน”

“โฮงหมอ” (โรงพยาบาล)

(น้ำ�แข็ง)

“ผ้ายันต์กันโลหิต” (ผ้าอนามัย)

“น้ำ�หมากไม้” (น้ำ�ผลไม้)

“ผ้าอนามัย” (ผ้าเย็น)

เพราะฉะนัน้ คุณผูห้ ญิง ถ้าจำ�เป็นต้องซือ้ ผ้าอนามัยทีน่ นั่ หาก เรียกตามความเคยชินคงจะได้ผ้าเย็นมาแทนนะครับ!!


มาต่อกันทีภ่ าษาทีม่ กี ารใช้มากทีส่ ดุ เกินกว่าครึง่ ของประชากรในอาเซียนทีม่ กี ว่า 600 ล้านคนกันบ้างดีกว่า นัน่ ก็คอื “ภาษา บาฮาซา” ครับ ประเทศที่ใช้ประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และบางพื้นที่ของสิงคโปร์ ในการใช้ทั่วไป สามารถ สื่ อ สารเข้ า ใจกั น ได้ แต่ ก็ อ าจมี คำ � บางคำ � ที่ แ ตกต่ า งกั น บ้ า ง แต่ ไ ม่ ม ากนั ก โดยชื่ อ ที่ เรี ย กภาษาก็ จ ะต่ า งกั น ด้ ว ยเหตุ ผ ล ทางการเมือง หากเป็นชาวอินโดฯ ก็จะเรียกว่า ภาษาบาฮาซา-อินโดนีเซีย ชาวมาเลย์ ก็จะเรียกภาษาตัวเองว่า บาฮาซา-มลายู เป็นต้น

ผมขอยกตัวอย่างคำ�ศัพท์บาฮาซาง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำ�วันมาอธิบายนะครับ คำ�ทักทาย อย่าง “สวัสดี” จะไม่แตกต่างกันนัก มาเลเซียและบรูไนใช้เหมือนกัน คือ

“ซาลามัด ดาตัง” (สวัสดี)

“เตริมา กะชิ” (ขอบคุณ)

ประเทศมาเลเซีย

ประเทศบรูไน

ส่วนอินโดนีเซียอาจมีแยกย่อยตามช่วงเวลามากขึ้น เช่น

“เทริมา กาสิ” “เซลามัท ซิแอง”

(ขอบคุณ)

“เซลามัท ซอร์” (สวัสดีตอนเย็น)

(สวัสดีตอนเที่ยง)

“เซลามัท มายัม”

“เซลามัท ปากิ”

(สวัสดีตอนค่ำ�)

(สวัสดีตอนเช้า)

ประเทศอินโดนีเซีย

ส่วนคำ� “ขอบคุณ” มาเลเซีย และบรูไน ยังคงเหมือนกันคือ “เตริมา กะชิ” ขณะที่อินโดนีเซีย ยังมีการออกเสียงที่ แตกต่าง แต่ก็คล้ายกันคือ “เทริมา กาสิ”

นี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของภาษาอาเซียน ยังมีภาษาอื่นๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ และยังไม่ได้กล่าวถึง ทั้งภาษาตากาล็อก ของฟิลิปปินส์ ภาษากัมพูชา ภาษาเวียดนาม ภาษาเมียนมาร์ หรือแม้แต่ภาษาจีน ที่บางชาติใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วย ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่าเราคงจะรู้แค่ภาษาไทยอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ผมเองเขียนบทความนี้เสร็จ ก็ว่าจะไปเรียนภาษาบาฮาซาเพิ่มเติมล่ะครับ เผื่อจะได้ใช้ตอนไปท่องเที่ยว หรือทำ�ธุรกิจในแดนมลายู รับ AEC กับเขาบ้าง!

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 13


ยนภาษาอังกฤษกับครูแนน ABC เรี โดย ครูแนน

I’m fine. สบายดีอยู่ร่ำ�ไป ช่วงนี้อากาศแปรปรวน เดี๋ยวฝนเดี๋ยวร้อน เศรษฐกิจก็ ลุ่มๆ ดอนๆ แต่ถ้าแนนถามว่า “Hello. How are you doing?” (ฮัลโล, ฮาว วา ยู ดู-อิง?) สวัสดี สบายดีกันไหมคะคุณผู้อ่านที่เคารพรัก เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังคงตอบกลับมาว่า “I’m fine. Thank you, and you?” (ไอม ไฟน. แธง-ควิว, แอนด ยู?) ฉันสบายดี ขอบคุณ แล้วคุณล่ะ หากคุณผู้อ่านอยากเก่งภาษาต้องสนุกกับการเรียนรู้ลองดูประโยคใหม่ เริ่มต้น ง่ายๆ วันนี้กับการบอกดีกรีของความสุขสบายดี ที่ไม่ได้มีแค่ I’m fine. แต่มี มากมายให้ลองใช้ดูนะคะ

สุขสบายดีพอประมาณ ส่วนใหญ่คนที่ตอบตามมารยาท มักจะเลือก ตอบแบบนี้

I’m ok. (ไอม โอเค) ก็โอเคนะ I’m alright. (ไอม ออล-ไรท) ก็ปกติดีไม่มีอะไร I’m doing good. (ไอม ดู-อิง กู๊ด) ก็ดีเลย เป็นสำ�นวนหนึ่งที่ฝรั่งใช้บ่อย แต่คนไทยไม่คอ่ ยคุน้ แถมแปลตรงตัว อย่างน่าเอ็นดูวา่ กำ�ลังทำ�คุณงามความดีอยู่ คิดดูว่าจะคุยกันรู้เรื่องไหม

สุขสบายดีมากถึงมากที่สุด

I’m very well. (ไอม เว*-รี่ เวล) ฉันรู้สึกดีมากๆ เลย * เสียง v ไม่มใี นภาษาไทย มันเกิดจากฟันบนงับริมฝีปากล่างเบาๆ ก่อนออกเสียง ดังนั้นเสียงจะก้ำ�กึ่ง ระหว่าง ว + ฝ มากๆ ค่ะ I’m pretty good. (ไอม พริตตี้ กู๊ด) pretty น่ารัก good ดี แต่ไม่ได้แปลว่าฉัน ทัง้ สวยและดีนะคะ pretty (adv.) ในทีน่ แี้ ปลว่า ค่อนข้างจะ เหมือน quite (ไควท) ดังนั้นประโยคนี้จะพูดว่า I’m quite good. (อัม ไควท กู๊ด) ฉันค่อนข้างสบาย ดีเลยล่ะ ก็ได้เช่นกัน I’m doing great. (ไอม ดู-อิง เกรท) คล้ายกับ I’m doing good. เลย แต่ Great แปลว่า ยอดเยี่ยม เลยให้ความรู้สึกสุขสุดๆ กว่าค่ะ Couldn’t be better. (คูด-ดึ่น บี เบทเทอร์) อย่าแปลตรงตัวว่า ฉันดีกว่านีไ้ ม่ได้

14 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556

แล้วล่ะ นะคะ สำ�นวนนี้หมายความว่า มันดีสุดๆ จนไม่รู้จะให้ดีไปกว่านี้ได้ยังไง คือ ดีมาก นั่นเอง “แค่งั้นๆ เฉยๆ” ไม่ถึงกับดี แต่ก็ไม่ได้แย่ คำ�พูด ประมาณนี้เราคงเก็บไว้บอกเล่าได้แค่กับเพื่อน ซึ่ง ฝรั่งก็เหมือนคนไทย ถ้าไม่ใช่คนใส่ใจกันจริงๆ อย่า ไปใช้กับเค้านะคะ So-so. (โซ-โซ) งั้นๆ ตรงตัว สำ � นวนนี้ ฝ รั่ ง ใช้ บ่ อ ย ส่ ว นคนไทยก็ สั บ สนบ่ อ ย เช่นกัน คือ Not that bad. (นอต แดท แบด) แปลว่า ก็ไม่ได้แย่นะ ซึ่งก็คือ ดีแต่ไม่มาก กลับกัน Not that good ก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น ก็คือ ไม่ดี นั่นเอง แค่ไทยเป็น ไทยยังงงเลยใช่ไหมคะ So far so good. (โซ ฟาร โซ กู๊ด) เท่าที่เป็นอยู่ จนถึงตอนนี้ก็ดีนะ (แต่ต่อไปก็ไม่แน่) ใช้ตอบเวลา ที่ไม่เจอกันนานๆ แล้วเค้าถามมาว่า How have you been? (ฮาว แฮฟ ยู บีน) ทีผ่ า่ นมาจนถึงตอนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ความสุขสบายดีของคนเราไม่เท่ากัน ไม่ใช่อยู่ที่ วาสนาบารมี แต่อยู่ที่ความพอดีพอใจในตัวเอง วันนีห้ วังว่าดีกรีความสุขสนุกอันเกิดจากความพอใจ กับการใช้ภาษาของคุณผูอ้ า่ นคงจะพุง่ ปรีด๊ และสนุก กับการสะสมความรู้ภาษาอังกฤษกันต่อไปนะคะ ครูแนน อริสรา ธนาปกิจ Enconcept E-Academy: English to the MAX by Kru P’Nan! www.facebook.com/krupnan, www.twitter.com/ krupnan


ก้าวทันโลก

ก้าวทันโลก 2013

โดย ติมา

สวัสดีหน้าฝนค่ะ ความไม่สนุกของหน้าฝน นอกจากรถติดแล้ว คือ เวลานํ้าฝนตกลงบนขยะ นํ้าขยะผสม กับนํ้าฝน สร้างกลิ่นและสีที่ทำ�ลายบรรยากาศดีๆ ของฤดูฝน ไปไม่น้อย จะว่าไปปัญหาขยะเป็นปัญหาที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตาม ความเจริญของเมือง ยิ่งเจริญ ขยะยิ่งเยอะ วิธีหนึ่งที่หลายฝ่าย ช่วยกันแก้ปัญหาคือ การนำ�มารีไซเคิล ก้าวทันโลกฉบับนี้จึง นำ�นวัตกรรมน่าทึ่งของการรีไซเคิลของใช้ใกล้ตัวมาฝากกัน 2 อย่าง อย่างแรกเป็นของคู่กับหน้าฝน ...ร่ม นั่นไงคะ

ร่มกิงโกะ (Ginkgo) รี ไซเคิลได้ 100 % ไม่น่าเชื่อค่ะว่า แต่ละปีเรามีขยะ ทีม่ าจากร่มถึงหนึง่ พันล้านคัน ไม่วา่ จะเป็ น ร่ ม ที่ สู ญ หาย ชำ � รุ ด หรื อ ใช้งานไม่ได้แล้ว ร่มทีใ่ ช้กนั อยูท่ วั่ ไป เฉลี่ยคันหนึ่งยาว 75 เซนติเมตร ถ้าเอามาเรียงต่อกัน ร่มขยะนีจ้ ะยาว รอบโลกถึง 18 รอบทีเดียว หรือหาก จะเฉลี่ยเฉพาะนํ้าหนักโลหะร่มคันหนึ่งสัก 240 กรัม รวมเป็นขยะโลหะปีหนึ่งถึง 240,000 ตัน โลหะปริมาณเท่านีเ้ อาไปสร้างหอไอเฟลได้มากกว่า 25 หอ หรือ จะเอาไปคลุม (ถม) เมืองนิวยอร์กได้ทง้ั เมือง (ประมาณ 700 ตารางกิโลเมตร) ส่ ว นพลาสติ ก กั น ฝนเป็ น ขยะโพลี เ อสเตอร์ ซึ่ ง กว่ า จะย่ อ ยสลาย กินเวลาเกินกว่า 100 ปี ร่มแบบเดิมๆ ที่ใช้กันอยู่ทำ�จากวัสดุหลากชนิด สารพัดแบบ ส่วนใหญ่ไม่ทนทาน สู้ลมแรงๆ ไม่ค่อยได้ ถ้าหักก็ซ่อมแซมยาก ทัง้ ยังต้องแยกร่มชำ�รุดไว้เป็นวัสดุทรี่ ไี ซเคิลใช้ใหม่ไม่ได้ ร่มจึงนับเป็น ขยะที่มีค่าใช้จ่ายในการกำ�จัดแพง ประเทศอิตาลีจึงคิดนวัตกรรมร่มที่มีชื่อว่า ร่มกิงโกะ (Ginkgo) ทำ�จากวัสดุพลาสติกที่รีไซเคิลได้ทั้งคัน เป็นพลาสติกที่เรียกว่า โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) ซึ่งมีคุณสมบัติ เบา แข็งแรง โค้งงอ ยืดหยุ่นได้และสามารถสู้แรงลมได้โดยไม่ชำ�รุดหักพัง คุณสมบัตินี้ ใช้แก้จดุ บกพร่องต่างๆ ของร่มแบบเดิม ร่มชนิดนีผ้ ลิตได้ทงั้ แบบร่ม ทีใ่ ช้กนั อยูท่ วั่ ไป หรือจะออกแบบรูปทรงใหม่ ทำ�เป็นสีสนั ต่างๆ ก็ได้ กระบวนการผลิตใช้ชนิ้ ส่วนเพียง 20 ชิน้ และใช้ตวั ยึดแทนสกรูเดือย ทำ�ให้มผี ลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมต่�ำ มาก และสามารถนำ�กลับมารีไซเคิล ใช้ใหม่ได้เต็ม 100 % ร่ม Ginkgo ทีใ่ ช้แล้ว 120 คัน นำ�กลับมาผลิตเป็นร่มใหม่ ได้ 20 คัน ถือว่าเป็นวัสดุมมี ลู ค่าเพิม่ และง่ายต่อการ ผลิตใหม่ นอกจากจะเป็นร่มทีเ่ ป็นมิตรกับคนถือ คือช่วยกันฝน สู้แรงลมแล้ว ยังเป็นร่มที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน่าทึ่งด้วย ข้อมูลจาก http://ginkgoumbrella.com

เปลี่ยนขยะกระดาษ เป็นกระดาษชำ�ระ ในสำ�นักงานแต่ละวันมีกระดาษใช้แล้วเป็นขยะมากมาย บางทีงานแย่ๆ อาจทำ�ให้ถกู เปรียบเปรยว่ากระดาษทีพ่ มิ พ์งาน เหล่านี้น่าจะไปทำ�กระดาษเช็ดก้นให้รู้แล้วรู้รอด ความคิด ประชดประชันนี้ กลายเป็นความจริงแล้วทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ บริษทั โอเรียนทัล คิดค้นเครื่องรีไซเคิลกระดาษสำ �นักงานให้เป็น กระดาษชำ�ระ เรียกชือ่ ว่า “ไวท์ โกท (White Goat)” แปลตามตัวว่า แพะสีขาว ซึง่ ตามข้อมูลไม่ได้บอกว่าเกีย่ วข้องอะไรกับแพะค่ะ แต่ทแี่ น่ๆ คือแพะตัวนีน้ ายแน่มาก เพียงเอาเศษกระดาษทีผ่ า่ น เครือ่ งทำ�ลายเอกสารหรือเศษกระดาษใช้แล้วมาใส่ลงในเครือ่ งนี้ เศษกระดาษที่ผ่านเข้าเครื่องไปจะถูกแช่นํ้า ผ่านกระบวนการ คัดแยกสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกไปจนได้เป็นเยื่อกระดาษ แล้วก็จะถูกรีดให้แบน อบให้แห้งแล้วม้วนลงบนแกน ทำ�เป็น กระดาษชำ�ระไว้ใช้ได้ภายใน 30 นาที แล้วส่งออกมาทางช่อง บริ เวณด้ า นล่ า งของตั ว เครื่ อ งทั้ ง หมดเป็ น ระบบอั ต โนมั ติ ขยะกระดาษขนาด A4 จำ�นวน 40 แผ่น จะได้กระดาษชำ�ระ 1 ม้วน

เครื่องรีไซเคิล “White Goat” ที่ว่า มีความสูง 1.8 เมตร หนัก 600 กก. เจ้าหน้าทีข่ องบริษทั โอเรียนทัลบอกว่า ค่าใช้จา่ ย ในการรีไซเคิลกระดาษสำ�นักงานให้กลายเป็นกระดาษชำ�ระ ประมาณม้วนละ 10 เยน (ประมาณ 3.7 บาท) และจะช่วยลด การตัดต้นไม้ได้มากถึง 60 ต้นต่อปี สนนราคาเครื่องนี้อยู่ที่ $100,000 หรือประมาณ 3.3 ล้านบาท แพงไม่แพงไม่รู้ แต่หลายคนว่าคุ้มค่ะ เพราะช่วยประหยัดค่าซื้อกระดาษชำ�ระ ใช้ในสำ�นักงานได้ไปอีกหลายสิบปีด้วย สนใจดูการทำ�งานของเครื่องได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=i51zo3 LA70U&feature=player_embedded

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 15


เคล็ดลับสุขภาพ โดย ปักเป้า

ฝนมาแล้ว

ต้องระวัง

“ไข้เลือดออก” กระทรวงสาธารณสุ ข สั่ ง ทุ ก จั ง หวั ด เฝ้ า ระวั ง ไข้ เ ลื อ ดออก หลังพบยอดผู้ป่วยไข้เลือดออก เพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ณ วั น ที่ 30 ก.ค. 56 มีผปู้ ว่ ยโรคไข้เลือดออก สะสมรวม 87,533 ราย มากกว่า ปี 2555 ถึง 3 เท่า โดยกว่าร้อยละ 50 เป็นเด็กนักเรียน

ไข้เลือดออก

เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย เมื่อยุงตัวเมียบิน ไปกัดผูป้ ว่ ยทีเ่ ป็นไข้เลือดออกในช่วงทีม่ ไี ข้สงู เชือ้ ไวรัส เดงกีจากผู้ป่วยจะเพิ่มจำ�นวนในตัวยุงโดยอยู่ได้นาน 8-10 วัน และเมื่อยุงนั้นกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คนได้ ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำ�ขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตูก้ บั ข้าว แต่ไม่ ชอบวางไข่ในท่อน้�ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือทีม่ นี �ำ้ ไหล

คุณอารีย์ ตรีรัตนเวช ผู้อำ�นวยการสำ�นักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ขณะนี้จำ�นวนผู้ป่วยในเขต แหลมฉบังถือว่าไม่สงู มาก เพราะเทศบาลได้ประสานงานกับภาคประชาชน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ�หมู่บ้าน (อสม.) ลงพื้นที่แบบปูพรมเพื่อรณรงค์ ให้ความรู้ แจกทรายอะเบทให้ไปโรยในแหล่งน้�ำ พ่นหมอกควัน และมีทมี เคลือ่ นที่ เร็วคอยติดตามหากได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออก หรือสงสัยว่าจะเป็น ก็จะลงพื้นที่ตรวจและพ่นหมอกควันทำ�ลายยุงตัวแก่ทันที สาเหตุการระบาดในเขตแหลมฉบังนั้น คุณอารีย์ กล่าวว่า เพราะในพื้นที่มี ลานตู้คอนเทนเนอร์ และยางรถยนต์วางไว้กลางแจ้งจำ�นวนมาก พอฝนตกน้ำ� ก็จะขังอยู่ในยางรถยนต์ และลานตู้คอนเทนเนอร์ อีกทั้งบางชุมชนที่ประกอบ อาชีพทำ�น้ำ�ปลาพอเลิกทำ�ก็จะคว่ำ�ตุ่มไว้ เมื่อฝนตกน้ำ�จึงท่วมขังบริเวณก้นตุ่ม และบางบ้านสภาพแวดล้อมรอบบ้านมีน�้ำ ขัง เหล่านีเ้ ป็นแหล่งเพาะพันธุย์ งุ ลาย ได้เป็นอย่างดี

16 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


อยากให้พี่น้องชาวแหลมฉบังถือเป็นหน้าที่ที่ต้อง ช่วยกันทำ�ลายแหล่งเพาะพันธุล์ กู น�้ำ ยุงลาย ถ้าทุกบ้าน ช่วยกันจะแก้ปญ ั หาทีต่ น้ เหตุได้ ทางเทศบาลฯ มีทราย อะเบทแจกให้ทวั่ ถึงครบทุกบ้าน ใครต้องการให้แจ้งมา ทั้งนี้ ไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็ก แต่ใน พื้นที่แหลมฉบังตอนนี้จะพบในเด็กนักเรียนมากกว่า ซึ่งทางเทศบาลฯ เองได้เข้าไปดูแลครอบคลุมทั่วทุก พื้นที่ อย่างเช่นในโรงเรียนจะมี อสม. น้อยที่ควบคุม ทำ�ลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

จุดเลือดสีแดง

คุณอารีย์อธิบายถึงลักษณะอาการของไข้เลือดออกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลันประมาณ 2-7 วัน เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมี อาการปวดท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงออก ตามลำ�ตัว แขนขา หรือเลือดกำ�เดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ถ่ายอุจจาระเป็นสีด�ำ เนือ่ งจากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจช็อก โดยในรายทีช่ อ็ กจะสังเกตได้จากเมือ่ ไข้ลดแต่ ผู้ ป่ ว ยกลั บ มี อ าการแย่ ล ง ซึ ม มื อ เท้ า เย็ น เหงื่ อ ออก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น ควรเฝ้าระวังสังเกต อาการของผูป้ ว่ ยในระยะดังกล่าวอย่างใกล้ชดิ หากพบอาการ เหล่านี้ ควรรีบนำ�ผูป้ ว่ ยไปพบแพทย์ไม่ควรซือ้ ยารับประทานเอง สุ ด ท้ า ย ผู้ อำ � นวยการสำ � นั ก การสาธารณสุ ข และ สิ่งแวดล้อม เทศบาลนครแหลมฉบัง ฝากถึงพี่น้องชาว แหลมฉบังให้ดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำ�ลังกาย ทานอาหาร แต่พอเหมาะ อันเป็นการแก้ปัญหาโรคอ้วน โรคความดัน โลหิตสูง เบาหวาน ทีต่ น้ เหตุ ตอนนีเ้ ครือไทยออยล์ได้ให้การ สนับสนุนกิจกรรมออกกำ�ลังกาย เช่น แอโรบิก โยคะ ฯลฯ ทีศ่ นู ย์สขุ ภาพฯ นอกจากนี้ เทศบาลและเครือไทยออยล์ยงั ได้ ร่วมกันให้บริการออกหน่วยสาธารณสุขเคลือ่ นที่ เดือนละ 1 ครัง้ เวียนกันไปใน 7 ชุมชนรอบรั้วไทยออยล์ จึงอยากเชิญชวน สมาชิกชุมชนมาใช้บริการเพื่อจะได้เป็นการคัดกรองผู้ป่วย ในเบือ้ งต้น เพราะบางครัง้ จะเจอผูป้ ว่ ยเรือ้ รังทีไ่ ม่ทราบว่าตัว เองป่วยเป็นโรคอะไร จะได้รักษาได้ทันเวลา และดูแลให้ทุก คนมีสุขภาพดีต่อไป

ที่มา : สำ�นักโรคติดต่อนำ�โดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 17


ปลอดภัยใกล้ตัว โดย เซฟตี้เกิร์ล

การเตรียมยาฉีดพ่นฆ่ายุงเองแบบง่ายๆ สามารถทำ�ได้ดังนี้

มากำ�จัด

“ลูกน้ำ�-ยุงลาย” กันเถอะ

การฉีดพ่นกำ�จัดยุงลาย

ในช่วงฤดูฝน สิ่งที่ทุกบ้านต้องระมัดระวังโดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็กและ ผู้สูงอายุ คือ ยุงลาย พาหะนำ�เชื้อโรคไข้เลือดออกเพราะยังไม่มียารักษาหรือ วัคซีนป้องกัน วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ป้องกันการแพร่ของยุง ซึ่งการควบคุม ที่ให้ผลยั่งยืนที่สุดคือ การควบคุม “ลูกน้ำ�” เพื่อตัดวงจรการเติบโตเป็นยุง ด้วยวิธีง่ายๆ ได้แก่ • ตรวจดูรอบๆ บริเวณบ้าน ว่ามีแหล่งน้ำ�ขังหรือไม่ เช่น แท็งก์ บ่อ กะละมัง ขวดน้�ำ กระป๋อง ยางเก่าหรือภาชนะทีอ่ าจ เก็บขังน้ำ� ให้คว่ำ�ภาชนะเหล่านั้นเสีย เพื่อมิให้มีน้ำ�ขังจน กลายเป็นแหล่งวางไข่ของยุงลาย หากเป็นภาชนะใส่น�ำ้ เพือ่ การ อุปโภคบริโภค เช่น โอ่งน้�ำ ฝนทีร่ องไว้ใช้ ควรหาฝาปิดให้มดิ ชิด และหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำ�หรือไม่ • เปลีย่ นน้�ำ ในแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะหรือตูก้ บั ข้าวทุกสัปดาห์ หรืออาจจะใส่ ทรายอะเบทผสมน้ำ�ในแจกัน ส่วนถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ� • ในอ่างบัวควรเอาปลาหางนกยูงหรือปลากัดไปเลี้ยงไว้ เพื่อตัดวงจรชีวิต ของยุงลาย • นอนในห้องทีม่ มี งุ้ ลวด หรือกางมุง้ โดยเฉพาะเด็กอ่อนทีต่ อ้ งนอนกลางวัน

นอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาชาวบ้านมากมายในการกำ�จัดยุงโดย ไม่ต้องพึ่งสารเคมีที่น่าจะนำ�ไปลองทำ�ดู เช่น • การใช้สมุนไพรมีกลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้ หรือส้ม ฉีดไล่ยุง • บากผิว “มะกรูด” ใส่ลงในภาชนะขังน้ำ� 1 ลูกต่อพื้นที่ น้ำ� 40 ตารางนิ้ว ป้องกันได้ 2 วัน • “ปูนแดง หรือปูนกินกับหมาก” ปั้นให้ได้ขนาด เท่าลูกปิงปอง ตากแห้ง 3 วัน 1 ก้อนต่อโอ่งมังกร 1 ใบ หากเป็นโอ่งใบใหญ่อาจใช้ 4-5 ก้อน มีฤทธิ์ 3 เดือน ทัง้ นี้ หากผสมกับน้�ำ ขิงด้วย จะทำ�ให้ลกู น้�ำ ตายในเวลา 5 ชัว่ โมง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้คดิ ค้นวิธกี �ำ จัด ยุงซึ่งได้ผลดี ด้วยสารซักล้างทีเ่ ราใช้ประจำ�ในครัวเรือน มาทดแทนการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างดีดีที เพราะผลิตภัณฑ์ ชำ�ระล้าง เช่น น้ำ�ยาล้างจาน แชมพู สบู่เหลว ผงซักฟอก มีคุณสมบัติในการ จับเปียก หากฉีดพ่นสารละลายนี้ไปถูกตัวยุงแล้ว ยุงจะถูกจับเปียกและตาย ทันที หรือบางตัวที่พยายามจะบินหนี สารละลายที่เปียกทั้งตัวอยู่โดยเฉพาะที่ รูหายใจตามส่วนท้อง จะถูกดูดเข้าไปสูร่ ะบบหายใจ ทำ�ให้ยงุ ขาดอากาศหายใจ และตายในที่สุด

18 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556

เจือจางน้ำ�ยาล้างจานกับน้ำ�เปล่าในอัตราส่วนผสม น้ำ�ยาล้างจาน 1 ช้อนชาผสมกับน้ำ� 1 ลิตร ใส่ใน กระบอกฉีดน้ำ� แล้วฉีดพ่นต่อเนือ่ งไปทีก่ ลุม่ ยุง (direct spray) ที่เกาะพักตามมุมผนังในห้องน้ำ�หรือภาชนะที่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย หรือเจือจาง 1 ส่วน ต่อน้�ำ 4 ส่วน เพือ่ ฉีดพ่นกำ�จัดยุงทีม่ าเกาะพักบริเวณ ซอกมุมของบ้านหรือตามกองผ้า ผ้าห้อยแขวน หรือ บริ เวณที่ เ ก็ บ หมอนมุ้ ง ใกล้ ที่ น อนหรื อ ห้ อ งนั่ ง เล่ น จะเห็นว่า ยุงจะร่วงลงมาตายทันที

การกำ�จัดตัวโม่ง และลูกน้�ำ ยุงลาย โรยผงซักฟอกลงในแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ใน ภาชนะเพาะพันธุข์ นาดเล็ก ในอัตราส่วน ผงซักฟอก 1 ช้ อ นโต๊ ะ ต่ อ ปริ ม าณความจุ ข องน้ำ � ในแหล่ ง เพาะพันธุ์ปริมาณ 2 ลิตร จะเห็นว่าผงซักฟอกจะ แพร่กระจายปกคลุมทั่วผิวน้ำ� เมื่อลูกน้ำ�และตัวโม่ง ของยุงลายขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ� จะดูดซับเอาสาร เข้าสู่ระบบหายใจทำ�ให้ระคายเคืองต่อระบบ และ ค่อยๆ ตายในที่สุด

การโฉบจับยุงลาย (swoop plate) บีบน้ำ�ยาล้างจานเล็กน้อยพอให้ทั่วพื้นจานพลาสติก ขนาดพอเหมาะสำ�หรับมือจับโฉบ แล้วใช้โบกจาน พลาสติกไปมาโฉบจับยุงทีบ่ นิ มารบกวนใกล้ๆ ตัว ซึง่ เป็นเทคนิคเดียวกับการใช้ไม้แบดช็อตยุง แต่วิธีนี้ยุง จะถูกจับตายอยู่บนจาน จะเห็นว่าการกำ�จัดยุงลาย บริเวณรอบๆ บ้านนั้นไม่มี อะไรยุ่ ง ยากและมี วิ ธี ก าร หลายอย่างให้เลือกใช้ตาม ความสะดวกของแต่ละบ้าน และหากทำ�อย่างสม่ำ�เสมอจะ ช่วยลดความชุกชุมของยุงลายภายใน บริเวณบ้านและชุมชนลง อันเป็นการลดความเสี่ยงจาก การถูกยุงลายกัด และแพร่กระจายเชือ้ โรคไข้เลือดออกได้ อย่างยั่งยืนต่อไป ลองช่วยกันดูนะคะ เพื่อความปลอดภัยของเราและ บุคคลอันเป็นที่รักของเรา ที่มา : สำ�นักงานสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภาพประกอบ : internet, http://www.plengpakjai.net, www.thabma.go.th


CSR Focus

โดย นุช ณ บางเลน

เครือไทยออยล์

น�ำชุมชนรอบโรงกลั่น

ทัศนศึกษาดูงานในโครงการ

“พัฒนาสัมพันธ์ มุง่ มัน่ สูค่ วามยัง่ ยืน” ประจ�ำปี 2556

ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติส�ำหรับเครือไทยออยล์ทุกๆ ปี ส�ำหรับ โครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพชุ ม ชนรอบโรงกลั่ น ที่ เ ครื อ ฯ ให้ ความส�ำคัญและใส่ใจดูแลชุมชนโดยรอบเสมอมา โดยในแต่ละปีจะน�ำ พี่น้องชุมชนรอบโรงกลั่นไปทัศนศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ เพื่อ น�ำความรู้กลับมาพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และปีนี้ก็สุดแสนประทับใจไม่แพ้ปีไหนๆ เลยทีเดียว กับมิตรภาพ แห่งความสุข ความผูกพัน และความอิม่ เอมใจ ระหว่างเครือไทยออยล์ กับชุมชนรอบโรงกลั่น ในการทัศนศึกษาดูงาน ประจ�ำปี 2556 ระหว่างวันที่ 5 -7 กรกฎาคม ทีผ่ า่ นมา โดยเครือไทยออยล์ ร่วมกับ บริษทั ไทยโตไกคาร์บอนโปรดักท์ จ�ำกัด (TCP) และ บริษทั โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จ�ำกัด (GPSC) เป็นพันธมิตรหลักในการท�ำงาน ชุมชนในพื้นที่ร่วมกัน

ในครั้งนี้ทางแผนกบริหารงานชุมชน พ่องานหลักได้คิด รูปแบบการดำ�เนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางการ พัฒนาตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กร ภายใต้แนวคิด “พัฒนาสัมพันธ์ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน” เน้น 4 เรื่องหลัก คือ วัฒนธรรม สังคม-สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชุมชน และ สุขภาวะชุมชน นำ�คณะกรรมการชุมชน จำ�นวน 7 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตลาดอ่าวอุดม ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ชุมชน บ้านแหลมฉบัง ชุมชนบ้านเขาน้ำ�ซับ ชุมชนบ้านทุ่ง ชุมชน บ้านชากยายจีน ชุมชนวัดมโนรม ผูแ้ ทนโรงพยาบาลแหลมฉบัง เทศบาลนครแหลมฉบั ง อาสาสมั ค รสาธารณสุ ข ประจำ � หมูบ่ า้ น (อสม.) ของแต่ละชุมชน และพนักงานเครือไทยออยล์ รวมกว่า 150 คน เดินทางไปทัศนศึกษาดูงานและแลกเปลีย่ น เรียนรู้ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง ทันทีที่รถบัสเคลื่อนขบวนออกจากศูนย์สุขภาพและการ เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 5 กรกฎาคม มุ่งสู่จุดหมายแรก คือ จังหวัดพิษณุโลก ทีมงาน เครือไทยออยล์นำ�โดยแผนกบริหารงานชุมชน ได้กล่าว ทักทายสวัสดีแนะนำ�ทีมงานของรถบัสแต่ละคัน พร้อมชีแ้ จง รายละเอียดและวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการครั้งนี้กับ คณะผู้ร่วมเดินทาง พร้อมกับแลกเปลี่ยนมุมมองการทำ�งาน ร่วมกันพอสังเขป เพื่อให้ทุกคนได้มีเวลาพักผ่อน ออมแรงไว้ สำ�หรับกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้ง 3 วัน 3 คืน เช้าวันที่ 6 กรกฎาคม คณะฯ เดินทางถึงวัดพระศรีรัตน มหาธาตุ เพื่อกราบนมัสการขอพร พระพุทธชินราชหรือ หลวงพ่อใหญ่ พระคู่บ้านคู่เมือง จังหวัดพิษณุโลก ก่อน เดินทางไปศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มรดกโลกอันเก่าแก่ล�้ำ ค่าของไทย ณ อุทยานประวัตศิ าสตร์ สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำ�แพงเพชร

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 19


วันทีส่ อง คณะฯ เดินทางไปศึกษาดูงานด้านสิง่ แวดล้อม ที่ โรงไฟฟ้าพลังน้�ำ เขือ่ นเจ้าพระยา เฉลิมพระเกียรติ 60 ปี บรมราชาภิเษก จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือ ด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย กับกรมชลประทาน ในการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรน้ำ�ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มความ มั่ น คงระบบไฟฟ้ า ของจั ง หวั ด ชั ย นาท และศั ก ยภาพ ในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมถึงการท่องเที่ยว ซึ่งพี่น้องในชุมชนให้ความสนใจในกระบวนการผลิตเป็น อย่างมาก โดยแนวทางการพัฒนาดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทาง การทำ� CSR ของเครือไทยออยล์ ทีมงานจึงมีโอกาสได้ บอกเล่ า เรื่ อ งราวความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมของเครื อ ฯ ในระดั บ ประเทศหลายๆ โครงการให้ พี่ น้ อ งชุ ม ชนได้ รับทราบ ระหว่างที่คณะฯ จะเดินทางไปเรียนรู้วิถีชีวิต อาณาจักรสัตว์ปกี ที่ สวนนก จังหวัดชัยนาท และนมัสการ หลวงปูศ่ ขุ วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระพุทธบาทจำ�ลอง วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี ก่อนเดินทางกลับที่พัก จังหวัดนครสวรรค์ เย็นวันเดียวกันทีมงานฯ ได้เนรมิตบริเวณชั้นดาดฟ้า ของที่พักกลางเมืองสี่แคว จัดกิจกรรมสัมพันธ์ ภายใต้ แนวคิด “พัฒนาสัมพันธ์ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน” มี กิจกรรมสันทนาการ เวทีรำ�วง พร้อมทั้งมีการแสดงของ ตัวแทนชมรมอนุรักษ์รำ�วงพื้นบ้านแหลมฉบัง ให้พี่น้อง ทุกชุมชนได้สนุกสนานครื้นเครงกับการรำ�วง ถือเป็นการ สร้ า งสุ ข ภาวะทางจิ ต ใจที่ ดี ร่ ว มกั น เช้ า วั น รุ่ ง ขึ้ น ทุ ก คน

20 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556

พร้อมเพรียงกันบนรถ เพือ่ เดินทางไปถวายผ้าป่าสามัคคีรว่ มกัน ณ วัดคีรวี งศ์ พร้อมนมัสการพระจุฬามณีเจดีย์และสมเด็จพระพุทธชินศรีบนยอดเขา ดาวดึงส์ จากนั้นเดินทางต่อไปยัง วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี และไปเรียนรู้วิถี เศรษฐกิจชุมชนของตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นที่หมายสุดท้าย ก่อนเดินทางกลับศรีราชา ตลอดระยะเวลา 3 วัน 3 คืน ในการทัศนศึกษาดูงานครั้งนี้ สร้างรอยยิ้ม ความผูกพัน และความประทับใจให้กับทุกฝ่ายไม่น้อย ทั้งยังเสริมสร้าง องค์ความรูใ้ นด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ตามพันธกิจของการทำ�งานชุมชนตลอด 52 ปีของเครือไทยออยล์ เราถือว่าชุมชนเป็นเสมือนญาติมิตรที่เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือซึง่ กันและกันมาโดยตลอด ตราบจนวันนี้ เครือฯ ยังคงมุง่ มัน่ เอาใจใส่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ ของชุมชนให้เกิดการพึง่ พาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง ควบคูไ่ ปกับการดำ�เนินธุรกิจ ภายใต้แนวคิด “ชุมชนอยูไ่ ด้ เครือไทยออยล์อยูไ่ ด้”


นานาทัศนะจากใจชุมชนสู่เครือไทยออยล์

อาจารย์เสถียร เอกจรัสภิวฒ ั น์

ประธานชุมชนตลาดอ่าวอุดม

คุณสันติ ศิริตันหยง

รองนายกเทศบาลนครแหลมฉบัง “ได้รบั เกียรติเชิญมาทุกๆ ปีครับ เรียก ได้ ว่ า เป็ น ความผู ก พั น กั น มานาน ระหว่างไทยออยล์กับชุมชน ถือเป็น บริษทั ทีใ่ ห้ความสำ�คัญกับชุมชนมาช้านาน เป็นต้นแบบของ CSR ผมมองว่าบริษัทฯ ทำ�มานานก่อนที่จะมีโครงการฯ นี้เสียอีก ไทยออยล์อยูค่ กู่ บั ชุมชนมานานกว่า 50 ปี เห็นความสำ�คัญของชุมชน มากกว่าที่จะเห็นแต่ผลกำ�ไร อยากให้ทำ�สิ่งดีๆร่วมกับชุมชน ต่อเนือ่ งอย่างนีไ้ ปตลอด เพราะเป็นสิง่ ทีโ่ ดนใจชุมชน รวมทัง้ ศูนย์ สุขภาพฯ ซึ่งเป็นสถานที่อำ�นวยความสะดวกให้กับชุมชนรอบๆ สามารถที่จะต่อยอดไปสู่สิ่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ดี สังคมก็ดี รวมทั้งกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ ถือเป็นจุดนำ�ร่องและ ตัวอย่างที่ดีให้กับหลายๆ บริษัทฯ ครับ”

คุณชะลอม บุตรน้ำ�เพชร

อสม.ชุมชนบ้านแหลมฉบัง

“รู้สึกสนุกมาก และทุกสิ่งทุกอย่างที่ ไทยออยล์มอบให้กบั ชุมชนดีมากๆ ซึง่ ชุมชนกับเครือไทยออยล์สานสัมพันธ์ กันได้ดมี าก ติดต่อประชาสัมพันธ์บอก กันตลอดเวลา ไทยออยล์ไม่เคยทอดทิ้งชุมชนแหลมฉบัง สมดัง สโลแกน “พัฒนาสัมพันธ์ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน” ขอให้เสมอต้น เสมอปลายเป็ น อย่ า งนี้ ต ลอดไป ชาวชุ ม ชนแหลมฉบั ง ยิ น ดี ต้อนรับ คนเราถ้าเข้าใจซึ่งกันและกัน แบ่งปันความรู้สึก อะไรที่ เราแบ่งเบาภาระกันได้มันก็เป็นสิ่งที่ดี”

“ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ทางหนึ่งของเครือไทยออยล์ ที่เห็น ความสำ�คัญของชุมชน ขององค์กร ท้องถิ่น และหน่วยงาน องค์กรต่างๆ มาร่วมศึกษาดูงานทำ�ให้ มีความรูส้ ามารถนำ�ไปต่อยอดได้ อย่างเช่นในปีนแ้ี ละหลายๆ ปี ที่ผ่านมา ถือว่าทางบริษัทฯ มีวิสัยทัศน์ มีวิจารณญาณในการ ดำ�เนินงานด้านการประชาสัมพันธ์รอบๆ เครือไทยออยล์ได้ เป็นอย่างดี เป็นแนวคิดที่ถูกต้องในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีกฎหมาย สิ่งแวดล้อมต่างๆ เข้ามาผูกพันอยู่ โดยเครือไทยออยล์ไ ด้ ดำ�เนินงานด้านการประชาสัมพันธ์มาเป็นเวลานานหลายสิบปี จึงนับว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง โครงการ “พัฒนาสัมพันธ์ มุ่งมั่น สู่ความยั่งยืน” ถือเป็นความคิดรวบยอดที่สรุปมาว่าดี การมา ดูง านในครั้งนี้คิดว่าทุกภาคส่วนคงจะนำ �ความรู้ไปต่อยอด ใช้ในโอกาสต่อไป”

คุณสุวรรณ์ทอง คำ�ภูมี

ประธานชุมชนบ้านชากยายจีน “มี ค วามยิ น ดี ที่ ไ ด้ ม าดู ง านร่ ว มกั บ บริษัทฯ ไทยออยล์ รู้สึกว่าจะเป็น อะไรที่ กิ น ใจกั บ พ่ อ แม่ พี่ น้ อ งชาว แหลมฉบังเป็นอย่างมาก ไม่วา่ จะเป็น ทางด้านของความร่วมมือ หรือกิจกรรม ทั้งการส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการศึกษา ผมเคยประชุมกับหลายๆหน่วยงาน บริษัท ใหญ่ๆ ที่ทำ�งานด้าน CSR ผมบอกให้เค้ามาดูงานที่ไทยออยล์ ว่าทำ�อย่างไรถึงได้ใจพ่อ แม่ พี่น้อง ต้องขอขอบคุณไทยออยล์ มากทีด่ แู ลทุกข์สขุ ของพ่อแม่พนี่ อ้ งชาวแหลมฉบังด้วยดีตลอดมา หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดีๆอย่างนี้คงจะส่งเสริมต่อไป”

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 21


ปราชญ์ชุมชน โดย ฉมาร์

ป้าลิบ

เจ้าตำ�รับกะปิคุณภาพ

กะปิดีต้องถึงแดด ถึงหอม คนดี ก็ต้องถึงใจคนอื่น

ป้ า ลิ บ (อารมณ์ ยิ้ ม ถนอม) ผู้ ห ญิ ง ร่ า งเล็ ก ที่ มี ร อยยิ้ ม อยู่ ตลอดเวลา เมื่ อ แกเดิ น มารั บ เราหน้ า บ้ า น ก่ อ นพาเดิ น ตรงไป หลังบ้านดูอาณาจักรส่วนตัว พืน้ ทีใ่ ช้ท�ำ กะปิ น้�ำ ปลา ของอร่อยทีไ่ ม่เพียง คนแหลมฉบังเท่านั้นที่รู้ “คนระยองยังมาซื้อกะปิแหลมฉบังที่นี่ และ บอกว่า สูตรนี้รักษาไว้นะป้า” ป้าลิบเล่าเสียงกลั้วยิ้มด้วยความภูมิใจ ยิ่งทำ�ให้เราอยากรู้ว่าสูตรกะปิที่ว่านั้น มีเคล็ดลับเด็ดอยู่ตรงไหน ทำ�ไมหน้าบ้านที่เปิดเป็นอู่ซ่อมรถของลูกชาย มีเพียงมุมเล็กๆ วาง กะปิฝีมือป้าลิบไว้ไม่กี่กระปุก บางทีก็ไม่มีวาง (เพราะทำ�เสร็จก็มีคน มาเหมาไปหมดก็ม)ี แต่ท�ำ ไมถึงขายดีนกั ทำ�ไมคนถึงร่�ำ ลือกันนักหนา ป้าลิบไม่รอช้าคว้าอุปกรณ์ คือ สากอันโต กับครกไม้ที่หนักมาก (ผู้ช่วยกิตติมศักดิ์ต้องออกสื่อจนได้) มาแสดงให้ดูว่าวิธีทำ�กะปินั้น เป็นอย่างไร กะปิทำ�จากตัวเคย หรือ ตัวกะปิ เป็นสัตว์ทะเลชนิ ดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกุ้งแต่ตัวเล ็กว่า และไม่มีกรีแหลม ที่บริเวณ หัวเหมือนกุ้ง ตัวสีขาวใส มีตาสีดำ� บางชนิดมีหางสี แดง

“กะปินี่เป็นของกินในครัวเรือน ทุกบ้านที่ติดทะเลส่วนใหญ่ ต้องทำ�เป็น เพียงแต่จะทำ�ไหม บางทีซื้อเขาง่ายกว่า ป้าทำ�เป็น ตั้งแต่เด็ก แต่มาทำ�ขายเมื่ออายุ 30 กว่า สมัยก่อนทำ�เองตั้งแต่ ไปเข็นเคยที่ริมหาด เคยนี่มันจะมากับน้ำ� หน้าฝนยิ่งเยอะ ตั้งแต่ ก่อนสงกรานต์ เดือนมีนาคมก็มีเรื่อยไปจนก่อนหนาว ประมาณ กรกฎาคมถึงหมด เวลาเคยเข้า เราก็เอาสวิงปากกว้าง 3-4 ศอก ตรงก้นลักษณะเป็นถุงเดินรุนไป เดินเข็นไป ถุงอวน ตามหลังไปเรื่อยๆ จนกว่าเคยจะเต็ม เวลาเคย มาทีจะมาเป็นฝูงใหญ่ เดินเข็นกลับไปกลับมาไม่ กี่เที่ยวก็ได้มาก หนักจนแทบเข็นไม่ไหว ต้องมี คนมาช่วย บางทีถือสวิงคนละข้างช่วยกันเข็น จากนั้นก็มาล้างเอาทรายออก ล้างที่ทะเลนั่นแหละ ถ้าเป็นเคยน้ำ�ลึก ไม่ต้องล้างเพราะเขาใช้อวนล้อมจะไม่มี ทรายปน แต่เคยชายหาดตัวใสและใหญ่ เนือ้ เหมือนส้มโอ สีแดง เรียกว่าเคยส้มโอ ตัวโต ตาใหญ่ เนือ้ จะมัน เคยทาง สวนสนระยอง หรืออ่างศิลาก็ใช้ได้ แต่เคยบางปะกงไม่ดี เป็นขี้เลน ทางมหาชัยจะเป็นเคยตัวเล็กสีม่วง” เสียงเล่าอย่างมีความสุขเมื่อนึกถึงความหลังของ ป้าลิบ แต่คนฟังใจร้อนอยากรู้สูตรทำ�กะปิ จึงรีบถาม เมื่อเห็นป้าเอากะปิที่ดูเหมือนเป็นกะปิที่พร้อมกินแล้ว แต่ป้ากลับเอามาใส่ครกตำ�อีก

22 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


ป้าลิบเล่าต่อว่า กะปินี่วิธีทำ�ไม่ยาก คือ แค่เอาเคยมาเคล้า กับเกลือในสัดส่วนทีพ่ อเหมาะให้ทวั่ หมักไว้ 1 คืน รุง่ เช้าตากแดด บ่ า ยเอามาตำ � ให้ พ อแหลกแล้ ว นำ � ไปตากแดด จากนั้ น นำ � ไป หมักต่อ สลับกับตากแดด สักพักก็ได้กะปิ ฟังดูง่าย แต่ทำ�ไมกะปิเจ้านั้นอร่อย เจ้านี้ไม่อร่อย ทั้งที่ทำ� จากวั ต ถุ ดิบ เดี ย วกั น คื อ เคย บางครั้ง เป็ น เคยอ่ า วเดี ย วกั น ด้วยซ้�ำ แต่กะปิยังต่างกันได้ ฟังป้าลิบเฉลยจึงถึงบางอ้อ “อยู่ที่ ความใส่ใจ ความประณีตในการทำ� ต้องใช้เกลือดีๆ ขาวๆ สะอาด เวลาตำ�บางเจ้าเขาไม่ได้ตำ�เอาเครื่องบดเลย ถ้าตำ�มันจะแหลก กำ�ลังดี ไม่เละ แล้วก็ปน้ั เป็นก้อนไปตากใหม่จนกว่าจะแห้ง 3-4 วัน ต้องปั้นเป็นก้อน เพราะเวลาโดนแดด ข้างในจะระอุ อบอยู่ข้าง ในเหมือนหมักไปในตัว ถ้าแดดถึงจะหอมมาก แล้วก็เอามาตำ� มาปั้นตากอีก ทำ�อย่างนี้เกือบครึ่งเดือน กะปิน่ถี ้าตากนานยิ่งดี ยิง่ หอมและเก็บได้นาน สูตรอย่างนีเ้ หมือนกันหมด ต่างกันทีว่ ธิ กี าร ใครจะใส่ใจกว่ากัน ป้าว่า ทำ�ทุกอย่างเราต้องใส่ใจถึงจะดี บางที ป้าเห็นเขาตากกันริมถนน ฝุ่นทั้งนั้น ไม่สะอาด คนซื้อไปกินก็ไม่ ดีใช่ไหม บางรายเขาทำ�ขายได้ไม่นานต้องเลิก ของดีใครกินก็ชม ของไม่ดี เขาก็ไม่มาซื้ออีก ป้าทำ�ขายไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก แต่ เวลาฝนตกเหนื่อยเกือบตาย ยกเข้ามาเก็บไม่ทัน” ป้าลิบหัวเราะ ดังตบท้าย

นอกจากกะปิ แ ล้ ว ถ้ า มี ป ลาเก๋ ย หรื อ ปลากะตัก ป้าลิบจะหมักน้ำ�ปลาด้วย “ประมาณ สิ ง หา กั น ยา ตุ ล า ช่ ว งนี้ แ หละ ปลาเก๋ ย เข้ า ป้าก็เอามาทำ�น้ำ�ปลา ปลา 3 ชาม ต่อเกลือ 1 ชาม เคล้าให้เข้ากัน หมักไว้เอาเกลือปิดให้ เ ต็ ม ห น้ า แ ล ะ ห มั่ น เ ปิ ด ใ ห้ ไ ด้ แ ด ด ด้ ว ย หมักในโอ่งสัก 7 เดือน ใช้ตะกร้อไม้เอาผ้าหุม้ ใส่ลงไปตรงกลาง น้�ำ ปลาจะกรองเข้ามาอยูใ่ น ตะกร้อ แล้วตักใส่ขวด ใช้กินได้ ขายน้ำ�ปลาดิบ ที่ยังไม่ต้มแบบนี้กลิ่นจะหอมแรงกว่า” ที่แน่กว่านั้น คือ กะปิป้าลิบขายราคากระปุกละ 60 บาท ไม่ขาย แพงกว่านี้ ทั้งที่มีคนมาทัก ทำ�ไมยังขายราคานี้อยู่ได้ ป้าลิบตอบ แบบไม่ยหี่ ระว่า “ก็พอใจ” ก่อนจะขยายความให้ฟงั ว่า “ป้าคิดว่าทำ�ไม ของดีตอ้ งขายแพง ขายราคาเท่านีเ้ ราก็อยูไ่ ด้ ไม่เดือดร้อน ขายราคานี้ คนที่เขามี (เงิน) น้อยกว่าเรา เขาจะได้กินของดี ไม่ต้องกินของไม่ดี บางคนขายตัดราคาก็ไปไม่รอด เพราะของไม่มีคุณภาพ” นอกจากเป็นตัวจริงเสียงจริงของการทำ�กะปิแล้ว ป้าลิบยังเป็น คนขยันของชุมชน หากมีกิจกรรมอะไรที่ขอให้ไปร่วม ไม่เคยขาด รอยยิม้ และเสียงหัวเราะของผูห้ ญิงร่างเล็กคนนีเ้ ลย หรือหากมีอะไร ที่ชุมชนต้องการความช่วยเหลือ ความร่วมมือ ป้าลิบไม่ปฏิเสธ ล่าสุดเด็กๆ มาขอทำ�สารคดีการทำ�กะปิ น้ำ�ปลา ป้าลิบ ยินดีสอนให้ไม่มีหวง “ป้าว่าเด็กๆ ควรได้รไู้ ว้ และน่าจะหัดทำ�บ้าง เผือ่ เรียน ไปได้ไม่ไกล ความรู้เรื่องการทำ�กะปิ น้ำ�ปลาเป็นอาชีพได้ ไม่ล�ำ บาก” ป้าลิบทิง้ ท้ายก่อนจะสำ�ทับอีกครัง้ ว่า “ทำ�อะไร ก็ได้ต้องใส่ใจ คิดถึงใจคนอื่น”

เพราะมีใจอยู่ในงานที่ทำ� ความสุขจึงมีได้ทุกขณะที่ทำ�งาน เราจึงเห็นรอยยิ้มสว่าง สดใสของป้าลิบเสมอ เหมือนกับได้กลิ่นกะปิหอมแดดลอยมาแต่ไกลทุกครั้งที่มาพบ ปราชญ์ชุมชนแห่งแหลมฉบังร่างเล็กคนนี้

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 23


ของดีบ้านเรา โดย คนศรี

ชลบุรี ต้นกำ�เนิดข้าวพันธุ์ดีที่สุดในโลก เมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น�้ำแหล่งเพาะปลูกข้าวของโลก จากอดีตข้าวปิ่นแก้ว ที่ได้รางวัลระดับโลก จนถึงข้าวหอมมะลิ ข้าวที่คนทั้งโลกยกย่องว่าอร่อยที่สุด ทุกคนคงรู้กันดีว่า ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่ได้รับการกล่าวขวัญและยกย่องว่า อร่อยที่สุดในโลก และทุกวันนี้เราส่งออกข้าวปีละ หลายล้านตัน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ และข้าวหอมมะลิยังโด่งดังจนบริษัทชั้นน�ำ ในต่างประเทศตั้งชื่อข้าวว่า จัสมาติ ไรซ์ ให้คล้ายคลึงกับจัสมิน ไรซ์หรือข้าวหอมมะลิ แต่มีใครรู้บ้างไหมคะว่าต้นก�ำเนิด ข้าวหอมมะลิอยู่ที่เมืองชลบ้านเรานี่เอง

ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวไทยพันธุพ์ น้ื เมืองชนิดหนึง่ มีสีขาวเหมือนดอกมะลิ และมีกลิ่นหอมเหมือน ใบเตย (ไม่ใช่กลิน่ หอมเหมือนดอกมะลิทเี่ ข้าใจกัน) เดิมชื่อพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ต่อมาจึงเรียกเพี้ยน เป็นข้าวหอมมะลิ พบครัง้ แรกในท้องทีแ่ หลมประดู่ อำ � เภอพนั ส นิ ค ม จั ง หวั ด ชลบุ รี โดยนายจรู ญ ตัณฑาวุฒ ได้นำ�มาปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่ง พ.ศ. 2493 กรมการข้าว กระทรวง เกษตรฯ ดำ�เนินการรวบรวมพันธุ์ข้าวของประเทศ พนักงานข้าวอำ�เภอบางคล้ารวบรวมรวงข้าวจาก อำ�เภอบางคล้า จำ�นวน 199 รวง มาเพาะเป็น ต้นข้าวเรียงเป็นแถวได้ 199 แถว ปรากฏว่าต้นข้าว แถวที่ 105 ดีที่สุด มีเมล็ดข้าวยาวเรียว ขาวใส มี กลิ่นหอม จึงเอาแถวที่ 105 มาเป็นแม่พันธุ์และ กลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ปลูกกันทั่วประเทศใน เวลานี้ เรียกว่า ข้าวหอมมะลิ 105

ประเทศไทยเป็นแหล่งพันธุกรรมข้าวอันอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ชาวนา ไทยสมัยก่อน คือ นักวิจัยการเกษตรรุ่นแรก เพราะเป็น ผู้คัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์จากพันธุ์ข้าวป่าให้เหมาะสม กั บ การปลู ก ในแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น จนกลายเป็ น พั น ธุ์ ข้ า ว พื้นบ้านมากมาย ดร.สงกรานต์ จิตรากร ผู้เชี่ยวชาญ พันธุ์ข้าวแห่งสถาบันวิจัยข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบายถึงพัฒนาการข้าวไทย ในอดีตว่า “เดิมยังไม่มกี ารรวบรวมพันธุอ์ ย่างเป็นทางการ จนกระทัง่ รัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านัน้ เราส่งข้าวไปขายยุโรปผ่านบริษัทของอินเดียแล้วมีข่าวว่า ข้าวไทยขายสู้ข้าวอินเดีย ไม่ได้เพราะข้าวไทยส่วนมากแตกหัก แต่ข้าวที่อินเดียเมล็ดยาวสวยกว่า ช่วงเวลานั้น รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป พระองค์ทรงตั้งข้อสังเกตว่าชาวนาไทยอาจปลูกข้าว หลายพันธุม์ ากเกินไป ไม่มกี ารคัดแยกเมล็ดพันธุ์พระองค์ท่านทรงมองการณ์ไกล จึงทรงมี พระราชดำ�ริให้เกษตรกรนำ�พันธุข์ า้ วพืน้ เมืองมาประกวดกันเป็นครัง้ แรก เมือ่ ปี พ.ศ. 2450 ทีอ่ �ำ เภอธัญบุรี พันธุข์ า้ วทีส่ ง่ ประกวดนัน้ ทางการได้น�ำ มาปลูกเพือ่ คัดเลือกพันธุท์ มี่ คี ณ ุ ภาพ เมล็ดดี จนได้เป็นข้าวพันธุ์ดีแนะนำ�ให้เกษตรกรปลูก พันธุ์ข้าวชุดแรกที่รัฐบาลแนะนำ� ในปี พ.ศ. 2479 คือข้าวพวงเงิน ตามประวัติได้มาจาก ขุนพิบาล ตลิ่งชัน ธนบุรี ข้าว ทองระย้าดำ� ได้มาจากนายปิ๋ว บางน้ำ�เปรี้ยว ฉะเชิงเทรา ข้าวน้ำ�ดอกไม้ ได้มาจาก

24 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


นายมา ลาดกระบัง พระนคร และพันธุ์ข้าวปิ่นแก้ว ซึ่ง ได้ตัวอย่างมาจากนายจวน ศรีราชา ชลบุรี มีความยาว หลังจากสีแล้ว 8.4 มิลลิเมตร ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้วมีชื่อเสียง โด่งดังเพราะไปชนะเลิศการประกวดพันธุ์ข้าวของโลกที่ ประเทศแคนาดา” ทั้งข้าวปิ่นแก้วและข้าวหอมมะลิ คือประวัติศาสตร์ที่ ลูกหลานเมืองชลน่าภูมิใจยิ่ง และเมื่อเทศบาลแหลมฉบัง จัด “โครงการสาธิตชวนเด็กไทยปลูกข้าว ปลูกใจฯ สืบสาน อาชีพชาวนาให้ยง่ั ยืน” นอกจากจะทำ�ให้ลกู หลานเมืองชล ได้สัมผัสกับดิน น้ำ� ต้นข้าว รับรู้ความยากลำ�บากในการ ปลูกข้าว เข้าใจวิถีชีวิตและตระหนักถึงคุณค่าของชาวนา แล้ว งานนี้ยังได้พบชาวนาตัวจริงเสียงจริงจากหลายบ้าน ที่ทุกวันนี้ยังใช้ผืนดินอันอุดมของชลบุรีสร้างอาหารเลี้ยง ผู้คนอีกด้วย เรื่องเล่าจากปากคำ�ของพวกเขา ทำ�ให้เราได้ ข้อมูลพันธุ์ข้าวพื้นบ้านดีๆ อีกหลายพันธุ์ที่กำ�ลังรอการ พัฒนาต่อ เช่น ข้าวก้นจุด ที่กินอร่อย เมล็ดเล็ก หุงแล้ว

ไม่แข็ง ข้าวแดงเสมอ เป็นข้าวเปลือกแดง เครือไทยออยล์ หนา มีสแี ดงเสมอกัน ร่วมสนับสนุนโครงการสาธิตฯ ทัง้ เมล็ด เนือ้ ข้าวหุงสุก แล้วไม่นิ่ม ไม่แข็งไป ปานกลาง กินง่าย ข้าวเหลืองต้นสด ทีไ่ ด้ชอ่ื นี้ เพราะแม้จะได้เวลาเกีย่ วแล้วต้นก็ ยังเขียวสดอยู่ ซึง่ เป็นข้าวนาหนอง คื อ ปลู ก ได้ ดี ใ นที่ ลุ่ ม น้ำ � ท่ ว มถึ ง แต่ปัจจุบันพื้นที่ที่เป็นนาหนอง (สังเกตจากชื่อ) เช่น หนองยายเล้า หนองบัว หนองจอก เหลือเพียงชื่อเสียมากแล้ว ข้าวพันธุ์พื้นบ้านนี้ก็อาจหายไปในที่สุด แต่อย่างน้อยบันทึกอักษรในหน้ากระดาษนี้ของคนศรีคงทำ�ให้ช่อื พันธุ์ข้าวเหล่านี้ ยังอยู่ในความทรงจำ� เป็นของดีของบ้านเราที่ทุกคนควรได้รับรู้ ขอบคุณข้อมูลจาก: ชาวนาจากบ้านหนองพังพวง บ้านทุ่งกราด บ้านหนองคล้า อำ�เภอศรีราชา กรมวิชาการเกษตร. 2541. ข้าว...วัฒนธรรมแห่งชีวิต. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 102-104.

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 25


รักษ์สิ่งแวดล้อม โดย หงวน ชวน ทำ�

รักษ์ (สิ่งแวดล้อม) ในบ้าน ด้วย นํ้าหมัก จาก เศษอาหาร

Reduce Reuse Recycle

สวัสดีค่ะ ฉบับนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม ชวนทุกท่านเปลี่ยนบรรยากาศอีกแล้ว จากชวนชิม และชวนชม มาชวนท�ำกันค่ะ ขอชวนพ่อแม่พี่น้องชาวศรีราชามารักษ์ สิ่งแวดล้อมในบ้านของตัวเอง ด้วยของง่ายๆ ที่ท�ำได้ ใช้เองในครัวเรือน แบบไม่ต้องเสียตังค์ แถมยังช่วยโลกได้หลายต่อ ต่อแรกคือ ช่วยลดปริมาณขยะ เพราะเราจะชวน ทุกท่านมาท�ำขยะให้กลายเป็น ของมีค่ากันค่ะ

แต่ละวันทุกบ้านต้องทิ้งขยะบ้านละถุงสองถุงเป็นอย่างน้อย ขยะ ส่วนหนึ่งหลายคนอาจรู้อยู่แล้วว่าสามารถนำ�มาแปรเปลี่ยนเป็นเงินได้ เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ กระป๋อง ฯลฯ นำ�มาขายให้ คนรับซื้อของเก่า เอาไปเข้าโรงงานรีไซเคิลได้ แต่ขยะอีกส่วนหนึ่ง คือ เศษอาหาร ทีห่ ลายคนนึกไม่ออกว่าจะกลายเป็นของมีประโยชน์ขนึ้ มา ได้อย่างไร ง่ายมากค่ะ เศษอาหารเหล่านี้ โดยเฉพาะเศษผักที่เหลือ จากการทำ�ครัว เปลือกผลไม้ หรือแม้แต่เศษอาหารที่กินไม่หมด เรา สามารถนำ�มาหมักให้กลายเป็นน้ำ�หมักชีวภาพ ซึง่ มีประโยชน์มากมาย เช่น ใช้ราดลงโถส้วม ทำ�ให้ส้วมไม่เต็มเร็ว เทลงท่อน้ำ�ทิ้งทำ�ให้ น้ำ�ทิ้งจากบ้านของเราสะอาดขึ้น เมื่อ ไหลลงสู่ลำ�คลอง นำ�มาผสมน้ำ�ใช้ถูพื้น บ้ า นช่ ว ยฆ่ า เชื้ อ โรค หรื อ ผสมน้ำ � รด ต้ น ไม้ จ ะทำ � ให้ ไ ม้ ด อกไม้ ผ ลงอกงาม แข็งแรงค่ะ

อุปกรณ์ มีแค่ 2 อย่างคือ ภาชนะใส่ กับพาย หรือไม้อะไรก็ได้ที่ สามารถนำ�มาใช้คนเศษอาหารในถัง เลือกภาชนะพลาสติก อย่าใช้ที่ เป็นโลหะเพราะน้�ำ หมักมีฤทธิเ์ ป็นกรดอ่อนๆ นานไปอาจถูกกัดทะลุได้ และเลือกสีทึบ เข้ม มีฝาปิดมิดชิด เพื่อกันแดดและสิ่งแปลกปลอมค่ะ ถ้าไม่มฝี าปิดให้น�ำ ถุงพลาสติกใบใหญ่มาครอบแล้วเอาเชือกมัดปากถัง ก็ได้ แล้วอย่าลืมล้างภาชนะให้สะอาดก่อนนะคะ วัตถุดิบ ทีต่ อ้ งเตรียม คือ เศษอาหารทีเ่ ราจะทิง้ และกากน้�ำ ตาล ซึง่ ราคาถูกที่สุด แต่ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้น้ำ�ตาลอะไรก็ได้ที่มี ไม่ว่าจะเป็น น้ำ�ตาลทรายแดง น้ำ�ตาลทราย น้ำ�ตาลอ้อย หรือน้ำ�ตาลมะพร้าว เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หลักการคือ น้ำ�ตาลจะเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ เติบโตขึ้นมาช่วยย่อยเศษอาหารนั่นเอง อย่างสุดท้ายคือ น้ำ�สะอาด ถ้าเป็นน้ำ�ก๊อกให้ทิ้งไว้ในภาชนะก่อนสัก 2-3 วัน

26 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556


วิธีการทำ�นํ้าหมักชีวภาพจากขยะ มีหลายสูตร หลักการทำ�ง่ายๆ เหมือนกันแต่เปลี่ยนเพียงต้นทางคือ วัตถุดิบที่จะนำ�มาหมัก สรรพคุณที่ได้จะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งเราอาจ แยกถั ง ทำ � ได้ ต ามวั ต ถุ ดิ บ โดยทั่ ว ไปแต่ ล ะบ้ า นเรื อ นที่ มี ข ยะเศษอาหาร ไม่มากนักไม่จำ�เป็นต้องแยกค่ะ ยกเว้นแต่ต้องการประโยชน์เฉพาะอย่าง ซึ่งแถมท้ายข้อมูลมาให้ทุกท่านตัดสินใจสร้างสูตรน้ำ�หมักของตัวเองด้วยค่ะ

วิธีการทำ� ก็แสนง่าย แค่น�ำ เศษอาหารคลุกๆๆ กับน้ำ�ตาลที่เตรียมไว้แล้วเทลงถัง เติมน้ำ�แค่ พอท่วมเศษอาหาร ใช้ไม้พายคนๆๆ สักพัก แล้วปิดฝาถัง เอาไปตั้งไว้ในที่ร่มอย่าให้โดน แดด ทุกวันที่เรามีเศษอาหารเพิ่ม เราทิ้ง ลงถังนี้ได้เลย ถ้าให้ดีควรผสมน้ำ�ตาล กั บ เศษอาหารทุ ก ครั้ ง แต่ ถ้ า มี เ ศษ อาหารนิดหน่อยก็ไม่ต้องเติมน้ำ�ตาล เปรียบเทียบง่ายๆ คือ เราจะให้จลุ นิ ทรีย์ ทำ�งานก็ต้องเติมอาหารให้มันด้วย ส่วน น้ำ�เปล่าให้สังเกตดูว่าจำ�เป็นต้องเติมหรือยัง แล้วก็คนๆๆ ให้เข้ากัน ปิดฝาไว้ตามเดิม ถ้า บ้านไหนเศษอาหารเยอะอาจแบ่ ง บางส่ ว น ไปใส่ ถั ง ใหม่ ส่ ว นถั ง เดิ ม นั้ น หมั ก ทิ้ ง ไว้ สั ก 2-3 เดื อ นก็ ใ ช้ ไ ด้ โดยตั ก เอาแต่ น้ำ � ไปใช้ ส่วนกากเอาไปทำ�ปุ๋ยหมัก หรือใช้รองก้นหลุม สำ�หรับปลูกผักปลูกต้นไม้ได้ดี การสังเกต ว่าน้�ำ หมักใช้ได้คอื ระยะสองอาทิตย์ แรกจะเกิ ด ฟองอากาศขึ้ น มาจำ � นวนมาก มีฝ้าสีขาวขึ้นที่ผิวด้านบนน้ำ�หมัก และมีกลิ่น หอมคล้ายไวน์ ถือว่าการหมักนั้นได้ผลดี แต่ถ้า มีราสีดำ�ขึ้นและมีกลิ่นเหม็นเน่าแสดงว่าเกิด การปนเปื้ อ นจากจุ ลิ น ทรี ย์ ตั ว ร้ า ยไม่ ค วรนำ � ไปใช้งาน ถ้านำ�ไปเททิ้งที่ใด ที่นั่นก็จะมีกลิ่น เหม็นเน่ามากๆ และเหม็นอยู่นาน แต่ถ้าเททิ้ง บนลานปูนให้ถูกแสงแดดจัดๆ ส่องตลอดวัน ก็จะหายเหม็นเร็วขึ้น

1. น้ำ�หมักจากผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด มะนาว มะเฟือง สับปะรด

ส้มป่อย น้ำ�หมักที่ได้จะมีฤทธิ์เป็นกรด (ค่า pH ประมาณ 3 -3.5) กรดนี้มี คุ ณ สมบั ติ ช่ ว ยสลายไขมั น หรื อ ขจั ด คราบสกปรกต่ า งๆ ได้ ดี และยั ง มี ก ลิ่ น หอมของผลไม้ ห รื อ กลิ่ น น้ำ � มั น หอมระเหย ที่อยู่ในเปลือกของผลไม้ รวมถึงสรรพคุณอื่นๆ ตามชนิด ของผลไม้ที่นำ�มาหมัก ถ้านำ�ไปผสมเพื่อทำ�สบู่ น้ำ�ยา สระผม น้ำ�ยาล้างจาน หรือใช้ล้างผักผลไม้ ควรเลือกใช้ วัตถุดิบคุณภาพดี (ไม่เน่าเสีย ไม่สกปรก) และต้องหมักไว้ อย่างน้อย 3 เดือน ให้กระบวนการหมักสมบูรณ์ แต่ถ้า ใช้ถูบ้าน ซักผ้า เช็ดกระจกหรือทำ�ความสะอาดห้องน้ำ� โถส้ ว ม เลื อ กใช้ วั ต ถุ ดิ บ ทิ้ ง แล้ ว เช่ น เนื้ อ มะกรู ด ที่ นำ � ผิ ว ไปทำ � พริกแกงแล้ว ผลไม้ทส่ี กุ งอมหรือถูกแมลงเจาะทำ�ลายแล้วร่วงเกลือ่ นอยูใ่ ต้ตน้ เปลือกส้มหรือเปลือกมะนาวที่คั้นน้ำ�ไปใช้แล้ว

2.. น้ำ�หมักจากผลไม้รสฝาด เช่น มังคุด ทับทิม ลูกหว้า เปลือกมังคุด

เปลือกทับทิม น้ำ�หมักที่ได้จะมีฤทธิ์เป็นกรดและมีความฝาด ซึ่งมีสรรพคุณ ในการสมานแผลและยั บ ยั้ ง หรื อ กำ � จั ด เชื้ อ จุ ลิ น ทรี ย์ จำ � พวกเชื้ อ ราและเชื้ อ แบคทีเรียบางชนิดได้ จึงสามารถนำ�ไปผสม น้ำ�อาบหรือผสมสบู่ล้างหน้าอาบน้ำ� จะ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของสิวหรือแผล พุพองตามผิวหนัง และช่วยลดกลิ่นตัวได้ นอกจากนี้ยังใช้แช่เมล็ดพันธุ์พืชก่อนปลูก ช่วยป้องกันเมล็ดพันธุห์ รือต้นกล้าเน่า หรือฉีดพ่นให้ตน้ พืช ฉีดพ่นในแปลงปลูก เป็นประจำ� หรือผสมไปกับน้ำ�ที่ไขเข้าในนาจะช่วยป้องกันโรคที่มีสาเหตุจาก เชื้อราบางชนิดได้

3.

น้ำ � หมั ก ผลไม้ ร วม การหมั ก

ผลไม้ ที่ มี ร สหวานมั น หรื อ ผลไม้ ที่ มี เ นื้ อ สี เ หลื อ ง-ส้ ม -แดง ใช้ ทั้ ง เปลื อ กและเมล็ ด เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทองแก่จัด มะม่วงสุก ขนุนสุก ทุเรียนสุก ฯลฯ หรือใช้ ผลไม้หลายๆ ชนิดหมักรวมกัน น้ำ�หมักที่ได้ จะมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนบำ�รุงดอกและผล จะช่วยบำ�รุงให้พืชออกดอก ออกผลดี ผลไม้รสชาติอร่อย

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 27


เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน โดย คำ�ศรี

พุทธฉือจี้

ขยะสร้างคน

คนสร้าง โลก

ทุกวัน อาสาสมัครฉือจี้ กว่า 60,000 คน ทั่วเกาะไต้หวันจะคัดแยกขยะ อย่างประณีต เพื่อน�ำรายได้จากการขายขยะมาเป็นทุนหล่อเลี้ยง กิจการสถานีโทรทัศน์ต้าอ้าย สถานีโทรทัศน์แห่งความรักที่มุ่ง ถ่ายทอดขยายความดีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ครบรอบ 52 ปี เครือไทยออยล์ทั้งที ต้องมีเรื่องพิเศษๆ มามอบให้เป็นของขวัญแก่ผอู้ า่ น ฉบับนีเ้ ยีย่ มเยือนเพือ่ นบ้าน จึงพากันไปไกลถึงต่างประเทศ ไปรู้จักกับองค์กรการกุศล ที่ มี ชื่ อ เสี ย งโด่งดังระดับนานาชาติคือ “มูลนิธิพุทธฉือจี้” (Tzu Chi Foundation) ประเทศไต้หวัน คนไทยไม่น้อยรู้จักชื่อองค์กรนี้ เพราะหลายหน่วยงานได้ เดิ น ทางไปศึ ก ษาดู ง าน จนได้ แรงบั น ดาลใจกลั บ มาสร้ า ง กิจกรรมดีๆ ในหน่วยงานของตนก็มาก จนปัจจุบันมีการ ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทยแล้ว ส่วนคนทั่วไปอาจ เคยได้ ยิ น จากข่ า ว เพราะเมื่ อ เกิ ด เหตุ พิ บั ติ ภั ย ขึ้ น ไม่ ว่ า แผ่ น ดิ น ไหวในเฮติ ชิ ลี มณฑลเสฉวนประเทศจี น ญี่ ปุ่ น รวมถึงสึนามิที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในเอเชีย จะมีอาสาสมัครจาก ฉือจี้เข้าไปช่วยเหลือเป็นคณะแรกๆ และมักกลับออกมา เป็นคณะสุดท้าย จนได้รับการยกย่องว่ามีระบบการทำ�งาน บรรเทาภัยสากลทีเ่ ข้มแข็งมาก นัน่ อาจเป็นเพราะอาสาสมัคร ทุกคนยึดหลักเมตตาธรรมอันเสมือนความรักที่ไร้ขอบเขต ไม่รีรอเพื่อช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก และทำ�ด้วยความปีติ แต่ก่อนที่จะออกไปช่วยเหลือต่างประเทศนั้น ในไต้หวัน มูลนิธิฯ นี้ทำ�งานช่วยเหลือคนยากจนในประเทศมาตลอด กว่า 40 ปีเต็ม มีการก่อตัง้ โรงพยาบาลทันสมัยขนาดหลายพัน เตียงขึ้นทั่วประเทศ ตั้งมหาวิทยาลัยมีคณะแพทยศาสตร์ที่ สอนให้เมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ปฏิบัติต่อคนรวยและคนจน อย่างเท่าเทียม และยังได้ชื่อว่าเป็นคณะแพทย์ที่มีเทคโนโลยี ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย

28 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556

รายได้จากขยะสร้าง “ต้าอ้าย” สถานีโทรทัศน์แห่งความรัก ต้าอ้าย แปลว่า ความรัก นีค่ อื ชือ่ สถานีโทรทัศน์ทเี่ ผยแพร่ภาพ 24 ชัว่ โมง โดยไม่มีโฆษณาและเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งของ ชาวไต้หวัน สถานีโทรทัศน์ต้าอ้ายเป็นหนึ่งในภารกิจ 8 ประการของมูลนิธิ พุทธฉือจี้ท่ตี ้องการถ่ายทอดจิตมหาเมตตา เพื่อก่อให้เกิดวัฏจักรแห่งความดี ดังนั้น ทุกรายการที่ แพร่ภาพ ไม่ว่าจะเป็น ข่าว สารคดี ละคร จะมี เป้าหมายเดียวกันคือ นำ�เสนอความดี ความงาม และความจริง ทีใ่ ห้ผชู้ มทุกคน ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ พร้ อ มผลิ บ านเมล็ ด พั น ธุ์ แ ห่ ง ความรัก ความเมตตาทีม่ อี ยูใ่ นตัว ออกมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ซึง่ กันและกัน แรกเริ่มสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ ออกอากาศเพียงวันละ 1 ชัว่ โมง


“What Kind of Love is Everlasting? Just think about Giving.” ความรักแบบไหนที่ยั่งยืน? “การให้” นั่นเอง ธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน

แสตมป์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน จัดพิมพ์ โดยสำ�นักงานแสตมป์แห่งสหประชาชาติ เมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2554

...วาทะธรรม ของท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน

เท่านั้น แต่ด้วยเงินทุนที่เติบโตขึ้นจากการทำ �งานของอาสาสมัคร ฉือจีท้ ว่ั เกาะไต้หวัน ซึง่ ปัจจุบนั มีมากกว่า 60,000 คน ทุกวันคนเหล่านี้ จะใช้เวลาว่างทีม่ มี าช่วยกันคัดแยกขยะในศูนย์รบั บริจาคและสาธิตการ แยกขยะของฉือจี้ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไต้หวันกว่า 5,000 แห่ง รายได้ จากการขายขยะเหล่านี้เดือนละ 20-50 ล้านบาท นำ�มาใช้เลี้ยงกิจการ สถานีโทรทัศน์ตา้ อ้าย และยังเหลือไปใช้ในกิจการการกุศลอืน่ ๆ อีกด้วย

งานจาก “ขยะ” สร้างคน อาสาสมัครที่จะเข้ามาช่วยกันคัดแยกขยะต้องได้รับการอบรม นอกจากความรู้เรื่องขยะประเภทต่างๆ ที่ต้องคัดแยกให้ถูกวิธีแล้ว เป้าหมายสำ�คัญที่อาสาสมัครทุกคนเข้าใจร่วมกันคือ ทุกคนมาช่วยกัน แปลงขยะให้ เ ป็ น เงิ น ทอง และแปลงเงิ น ทองให้ เ ป็ น ความรั ก ต่ อ เพื่อนมนุษย์ ซึ่งความรักจะกลายเป็นน้ำ�อันใสสะอาด ฉ่ำ�เย็น ไปชโลม ดับร้อนของเพื่อนร่วมโลก ผ่านกิจกรรมการกุศลต่างๆ ของมูลนิธิฯ

ชาวฉื อ จี้ อ าศั ย งานแยกขยะฝึ ก พั ฒ นาจิ ต ใจให้ เ ป็ น คนอดทน อ่ อ นน้ อ ม ไม่ รั ง เกี ย จการใช้ แรงงานและมี จิ ต สำ � นึ ก ในการอนุ รั ก ษ์ สิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองหรือสุรุ่ยสุร่าย ทุกคนจะ คั ด แยกขยะอย่ า งประณี ต น็ อ ตตั ว เล็ ก ตั ว น้ อ ยจากเครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า แยกชิ้นส่วน พลาสติก โลหะ ออกจากกันอย่างชัดเจน หรือแม้แต่ กระดาษ 1 แผ่น ยังมีการตัดแยกส่วนที่เป็นสีขาวกับส่วนที่เปื้อน หมึกพิมพ์ออกจากกัน เพราะทุกคนรูว้ า่ ยิง่ คัดแยกอย่างละเอียด พิถพี ถิ นั จิตใจตนยิง่ ถูกขัดเกลาให้ละเอียดประณีตขึน้ คนทีไ่ ปดูงานทีโ่ รงแยกขยะ ของชาวฉือจี้มักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุกคนที่นั่นทำ�งานกันอย่าง ยิ้มแย้มมีความสุข

รายได้ของมูลนิธิฯ มาจากการบริจาคและกิจกรรมต่างๆ เช่น การรีไซเคิลขยะ ขายของมือสอง ของที่ระลึก เงินทั้งหมดบริหาร จัดการโดยมูลนิธิฯ ด้วยความโปร่งใสมากจนเป็นที่เชื่อถือ เพราะ ในส่วนของวัดท่านธรรมาจารย์จะไม่ยงุ่ เกีย่ วกับเงินบริจาคเลย ท่าน ธรรมาจารย์และลูกศิษย์ถือคติ วันไหนไม่ทำ�งาน วันนั้นไม่กิน มา ตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ วัด อาหารการกินได้จากการปลูกเอง ทำ�เลีย้ งกันเอง ในวัด รวมถึงเลี้ยงผู้มาเยือนด้วย เพราะถือว่าการทำ�งานทั้งหมดนี้ เป็นการปฏิบัติธรรม กว่า 40 ปี นับตั้งแต่มีการก่อตั้งมูลนิธิฯ ขึ้น งานต่างๆ ที่เกิดขึ้น จาก “การให้ ” ของชาวฉื อ จี้ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า การใช้ ค วามรั ก ความเมตตานำ�ทาง สามารถดึงศักยภาพความดีงามในจิตใจของผูค้ น มารวมกันได้อย่างไม่สิ้นสุด นับเป็นหนึ่งในองค์กรพุทธศาสนาที่ ใช้ ก ารลงมื อ ทำ � นำ �ความรั ก อั น ยิ่ง ใหญ่ ไ ปมอบให้ แ ก่ ผู้ทุก ข์ ย าก ในทัว่ ทุกมุมโลกอย่างเท่าเทียมกัน สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ www.tzuchithailand.org มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย โทรศัพท์ 02 642 1888

ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 29


ธรรมะ

โดย กองบรรณาธิการ

แม่ผู้เป็น

“ดวงใจแห่งธรรม” ในบรรดาทรัพย์สมบัตทิ งั้ หลายทีม่ นุษย์พงึ มีและหามาได้โดยสุจริต นัน้ “คำ�สอนของแม่” ดูจะเป็นสมบัตอิ นั มีคา่ และสุดวิเศษกว่าสมบัติ ใดๆ เพราะด้วยคำ�สอนของแม่นี้ทำ�ให้มนุษย์ผู้หนึ่งเป็นมนุษย์ ได้ อย่างสมบูรณ์ ดังเทศนาธรรมตอนหนึง่ ของพุทธทาสภิกขุทแี่ สดงไว้ เมือ่ วันแม่คราวหนึง่ ณ ลานหินโค้ง วัดธารนํา้ ไหล สวนโมกขพลาราม อำ�เภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเทิดทูนพระคุณมารดาที่ ได้ อบรมบ่มนิสัยจนกระทั่งมี “พุทธทาสภิกขุ” ดังเช่นทุกวันนี้

แม่สอนว่า... แม่สอนให้ประหยัด “แม่มักจะพูดเสมอว่า ถ้าไม่รู้จักฟืนก็เป็นทาสฟืน ไม่รู้จักน้ำ�ก็เป็นทาสน้ำ� คือต้องหามามากเกินไป รวมกระทั่งว่า ถ้าไม่รู้จัก ใช้เงิน ก็ตอ้ งเป็นทาสเงิน ต้องหาเงินมา ต้องหาเงินมากเกินความจำ�เป็น ไม่รจู้ กั อะไรก็เป็นทาสของสิ่งนั้น”

ก็ยังสอนให้ปลูก แล้วยังสอนคาถากันขโมยให้ด้วยว่า ถ้า นกกินเป็นบุญ คนกินเป็นทาน ถ้านกกินให้ถือว่าเรา เอาบุญ ถ้าคนมันขโมยเอาไปก็ถอื ว่าให้ทาน เมือ่ คิดได้เช่นนี้ มันจะไม่ถูกขโมยตลอดชีวิต...”

แม่ให้ละเอียดรอบคอบ “นิสัยรอบคอบนี้ ละเอียดลออนี้ อาตมาได้มา จากแม่จนเหลือจะกล่าว ขอยกตัวอย่าง แม่กำ�ชับว่าพาน้องไปโรงเรียน หรือ เป็นเพือ่ นน้องไปโรงเรียน ให้เดินเฉียงด้านซ้ายทางด้านหลัง ...ถ้าเดินตามหลัง น้องก็ไม่เห็นข้างหน้าน้อง จะเดินขนาบข้างซ้ายก็ช่วยไม่ถนัด ถ้าเดินเฉียง มาทางขวามืออย่างนี้มันไกลมือขวา มือซ้ายช่วยไม่ถนัด ถ้าเดินตรงด้านที่แม่ บอก มือขวามันช่วยถนัด”

แม่หา้ มเล่นการพนัน ชนไก่ กัดปลา “แม่อบรมนิสยั ห้ามเล่นการพนัน แม้แต่หมากรุกก็ไม่ได้ ห้ามดนตรี เรา ชอบ ต้องแอบเล่น เรื่องชนไก่ กัดปลานั้นไม่ต้องพูดถึง เรื่องเหล้า เรื่องบุหรี่ เราเกลียดเอง แม่ไม่ต้องห้าม...”

แม่ ส อนให้ อ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตน “แม่ ส อนว่ า การยอมแพ้นั้นไม่ใช่เรื่อ ง เสียเกียรติ เพราะให้เรื่องมันระงับไป โดยไม่ให้เสียหายอะไร เนื่องจากการ ยอมแพ้มันเป็นการปลอดภัย และใครๆ ก็รักคนที่ยอมแพ้ ไม่ให้เกิดเรื่อง” แม่สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ “แม่สอนว่าให้ลูกแมวได้กินข้าวก่อน แล้วคน จึงกิน สัตว์เดรัจฉานเป็นเพือ่ นของเรา คนขอทานเป็นเพือ่ นของเรา คนไร้ญาติ ขาดมิตรมาตายอยูต่ ามท่าน้�ำ เราต้องเอือ้ เฟือ้ ถ้าเรากินเองมันก็ถา่ ยออกหมด ถ้าเราให้เพื่อนกิน มันอยู่ในหัวใจของเขายาวนาน” แม่ ส อนคาถากั น ขโมย “แม่ ป ลู ก ฝั ง ให้ รั ก การทำ � งาน ใช้ เวลาว่ า ง ให้เป็นประโยชน์ ปลูกพริก มะเขือ ตะไคร้ มะลิ ราตรี สับปะรด กล้วย

30 ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556

แม่สอนให้กตัญญูรคู้ ณ ุ “แม่อบรมนิสยั กตัญญูรคู้ ณ ุ ตัง้ แต่เด็กๆ ช่วยทำ�งานให้แม่บา้ ง เพียงแต่ชว่ ยตำ�น้�ำ พริก แกงให้ก็ยังดี เหยียบขาให้แม่หายเมื่อย เอาใจใส่เมื่อแม่ เจ็บไข้ นี่ปฏิบัติกันมาจนเป็นนิสัย” คำ�สอนของแม่จึงเป็นสมบัติติดตัว เป็นต้นทุนแห่ง ชีวิต เป็นสิ่งมีค่าสูงส่ง ดังความตอนหนึ่งที่พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า “ถ้าอาตมาได้ทำ�อะไรดีที่สุด เป็นประโยชน์ แก่ ท่ า นทั้ ง หลายบ้ า งแล้ ว ก็ ข อให้ นึ ก ว่ า ถ่ า ยทอด มาจากแม่ ขอให้ขอบคุณไปถึงแม่ ที่ได้ช่วยสร้างมา ให้เป็นคนสุขุมรอบคอบทำ�อะไรให้ถึงจุดที่ดีที่สุด”


ลับสมองลองเล่นเกม โดย กองบรรณาธิการ

“สวัสดีอาเซียน” Say Hello Asean

คำ�ว่า “สวัสดี” เป็นมารยาทอย่างหนึง่ ในการกล่าวทักทายและเข้าสังคม แม้จะอยู่ กันคนละพรมแดน พูดกันคนละภาษา ก็ ไม่เป็นปัญหา และดูไม่ขัดเขิน ยิ่งกลับได้รับ ความอบอุ่นต่อกันเสียด้วยสิ ลับสมองลองเล่นเกมฉบับนี้ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมา กล่าวคำ�ว่า “สวัสดี” ในแบบมิตรภาพไร้พรมแดนตามแบบฉบับ AEC กันดีกว่าครับ

คำ�ทักทายของประเทศ ในกลุ่มอาเซียน

ไทย

มาเลเซีย

สาธารณรัฐ

อินโดนีเซีย

เนการา

บรูไนดารุสซาลาม

สาธารณรัฐ

สาธารณรัฐ

เฉลย ไทย

A .................

J เวียดนาม ................. ลาว

C ................. E .................

H ฟิลิปปินส์ ................. บรูไน เขมร

*D = อินโดนีเซีย

พม่า

• แผนกกิจการเพื่อสังคมและภาพลักษณ์ องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

หมดเขตภายในวันที่ 30 กันยายน 2556 ผู้โชคดีที่ตอบคำ�ถามได้ถูกต้อง จำ�นวน 10 ท่าน รับรางวัลของเราไปเลยค่ะ

สาธารณรัฐ

แห่งสหภาพเมียนมาร์

เกม “ยุวทูตสัมพันธ์ประจำ�ประเทศรับ AEC”

F มาเลเซีย ................. กัมพูชา

ประชาชนลาว

เติมหมายเลขคำ�ทักทายของประเทศสมาชิก อาเซียนจากกรอบด้านขวามือ ลงในกรอบคำ�พูด ของน้องยุวทูตสัมพันธ์ AEC ประจำ�ประเทศนั้นๆ ตอบให้ถูก เติมให้ชัวร์ แล้วส่งคำ�ตอบชิงรางวัล ได้ที่ • แผนกบริ ห ารงานชุ ม ชน ศู น ย์ สุ ข ภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน (สำ�หรับสำ�นักงานศรีราชา และชุมชนรอบโรงกลั่น)

ชื่อ............................................................. นามสกุล..................................................... ที่อยู่........................................................... .................................................................. ..................................................................

กัมพูชา

สิงคโปร์

สาธารณรัฐประชาธิป ไตย

ซาลามัด ดาตัง ซินจ่าว สะบายดี สวัสดี มิงกาลาบา เซลามัท ปากิ ซัวซะเด็ย กูมูสต้า หนี ห่าว

ราชอาณาจักร

สาธารณรัฐ

ฟิลิปปินส์

สังคมนิยมเวียดนาม

1 2 3 4 5 6 7 8 9

กติกา

B ................. C ................. G .................

I สิงคโปร์ .................

หมายเหตุ : สำ�หรับท่านทีต่ อบ ข้อ C หรือ D ในช่องว่างของประเทศเขมร หรือแก้ไขจากประเทศเขมรเป็นอินโดนีเซีย ทางจุลสารชุมชนของเราถือว่า คำ�ตอบของท่านถูกต้อง และต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

รายชือ่ ผูต้ อบคำ�ถามถูกต้อง เกม “ยุวทูตสัมพันธ์ประจำ�ประเทศรับ AEC” จากฉบับที่ 19 6. คุณไพรัตน์ มั่นพรม 1. คุณกิติยา ตั้งตระกูลทรัพย์ 7. คุณวิโรจน์ ชัยดุษฎีบัณฑิต 2. ด.ญ. นภสกร วัฒนพฤกษ์ 8. คุณสิรวิชญ์ บุญไทย 3. คุณนฤมล วงศ์กัลยา 4. คุณประภาศรี หาญชาญเลิศ 9. ด.ญ. สุภัสสร ก่อกระโทก 10. คุณอรรถวุฒิ เหรียญทอง 5. ด.ช. ปิยวัฒน์ ก่อกระโทก ชุมชนของเรา | กรกฎาคม - สิงหาคม 2556 31


เรารักชุมชน

เราเดินเคียงข้างกันจากวันก่อน มิตรภาพอาบหวังยั่งยืนนาน เคยพูดคุยพบปะกลางตลาด งานกฐินที่วัดร่วมจัดแจง

เอื้ออาทรต่อกันฉันเพื่อนบ้าน ดอกรักบานกลางใจไม่เปลี่ยนแปลง ชมทะเลพิลาสยามฟ้าแจ้ง วิถีแห่งชุมชนท้นศรัทธา

จากอ่าวหนองกระสือที่ลือลั่น เปลี่ยนเป็นบ้านอ่าวอุดมสมราคา อีกด้านหนึ่งโรงกลั่นนํ้ามันไทย ยั่งยืนอยู่คู่ฟ้าท้าตะวัน

คนเห็นดวงไฟกันจนถ้วนหน้า งามคุณค่างามชีวิตนิจนิรันดร์ ค่อยเติบใหญ่ยิ่งยงธำ�รงมั่น แล้วพลิกผันเปลี่ยนชื่อใหม่ “เครือไทยออยล์”

ชื่ออาจเปลี่ยนเวียนไปไม่ยั้งหยุด หลากชุมชนผนึกรวมร่วมเรียงร้อย งานกฐินงานสงกรานต์งานปีใหม่ ปล่อยสัตว์นํ้านำ�ความรู้สู่บ้านเรา

มิตรภาพไม่สะดุดหรือถดถอย เดินบนรอยทางมิตรสนิทเนา รำ�วงย้อนยุคสมัยไม่เงียบเหงา หลอมรวมเข้าด้วยกันมั่นส่วนรวม

รักถิ่นเกิดเปิดใจร่วมใฝ่หา รวมเป็นหนึ่งเลิศลํ้าไม่กำ�กวม เราเดินเคียงข้างกันอย่างวันนี้ รักชุมชนเปี่ยมหัวใจไม่บางเบา

เรื่องก้าวหน้าแปลกใหม่ ไม่หละหลวม หลอมจิตร่วมก้าวไกลไม่ซบเซา ทั้งยังมีรักให้กันเหมือนวันเก่า หวังชุมชนจักรักเราเครือไทยออยล์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.