"The Reality of Simple Lifestyle" cataloque - Chaiwoot Thiampan

Page 1

THE REALITY

OF SIMPLE

LIFESTYLE

BY CHAIWOOT THIAMPAN

June 13 - July 21, 2013

Subhashok The Arts Centre


ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้เห็นงานจิตรกรรมของพี่ชัยวุฒิ เทียมปาน คือ เวลาทีย่ อ้ นกลับไป 10 กว่าปีกอ่ น เมือ่ ครัง้ ข้าพเจ้าใกล้จะจบการศึกษาทีค่ ณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วันนั้นเป็นวันตรวจงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่ปริญญาโท และปริญญาตรี และพี่ชัยวุฒิคือหนึ่งในนักศึกษาปริญญาโทเวลานั้น วินาทีแรกที่ ได้เห็นงานเพียงชิ้นเดียวซึ่งเป็นรูปถ้วยชากับปาท่องโก๋วางอยู่บนโต๊ะ ความรู้สึกแรก ที่ผุดขึ้นมาในสมอง คือ ทึ่งในความเหมือนจริง จนต้องตั้งคำ�ถามกันกับเพื่อนๆ ว่านี่งานเพนท์หรือนี่ ทุกคนในบริเวณนั้นหยุดกิจกรรมต่างๆที่ทำ�อยู่เพื่อเดินไปดู ใกล้ๆว่านี่งานเพนท์หรืองานพิมพ์กันแน่ แล้วคำ�ตอบก็สะท้อนออกมาจากร่องรอยที แปรงสีน้ำ�มัน การเกลี่ยสีอย่างแนบเนียนที่เห็นได้ชัดเมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ จากความทึ่ง ค่อยๆแปรเปลี่ยนเป็นความอบอุ่นใจอย่างประหลาด เกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับเรื่อง ราวในภาพ เพราะมันไม่ใช่แค่การเพนท์ให้เหมือนเท่านั้น แต่ที่มากกว่าความเหมือน จริง คืองานของพี่ชัยวุฒิชิ้นนั้น แสดงบรรยากาศที่ทำ�ให้เราคิดถึงบ้าน คิดถึง ครอบครัว ผ่านภาพเขียนของเขา ภาพนั้นสะท้อนความคุ้นชินอะไรบางอย่างที่เรา เองก็เหมือนจะลืมมันไปแล้วให้กลับขึ้นมาอีกครั้ง ในตอนนั้นยืนดูอยู่นานมากจนถึง เวลาตรวจงาน ยิ่งดูยิ่งคิดถึงบ้าน อยากกลับบ้าน ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบันที่ข้าพเจ้าได้เข้ามาทำ�งานเบื้องหลังการแสดง งานนิทรรศการศิลปะทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยวหลายต่อหลายครั้ง ใจของข้าพเจ้า ยังคงคิดถึงผลงานของพี่ชัยวุฒิ เทียมปาน เสมอ และเมื่อได้มีโอกาสเข้ามาเป็น หนึ่งในทีมบริหารหอศิลป์ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ เมื่อมีการคัดเลือกศิลปินใน การแสดงเดี่ยวภายใต้การสนับสนุนของหอศิลป์ ข้าพเจ้าไม่รีรอในการตามหาตัวพี่ ชัยวุฒิ แต่คำ�ตอบที่ได้สร้างความแปลกใจเป็นอย่างมากคือพี่ชัยวุฒิ ไม่ได้แสดงงาน ที่ใดๆและห่างหายไปจากวงการร่วม 10 ปี เพราะที่ผ่านมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านที่จังหวัด เพชรบุรี ดูแลครอบครัวและคุณแม่ที่ป่วยหนัก ข้าพเจ้าจึงได้ใช้ความพยายาม ติดตามและประสานงานเชิญพี่ชัยวุฒิมาร่วมงานกัน โดยใช้เวลาเตรียมงาน เตรียม 2

ข้อมูลร่วมปี จนในที่สุดก็มีนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในชีวิตของเขาครั้งนี้ได้สำ�เร็จ ชัยวุฒิ เทียมปาน ได้สร้างผลงานจากเรื่องราวใกล้ตัว ภายในวิถีชีวิตครอบครัว ของเขาเองและต่อสู้กับการท้าทายความสามารถทางด้านศิลปะของตนเองผ่านงาน จิตรกรรมในรูปแบบที่เรียกได้ว่า “สุดยอดแห่งความเหมือนจริง” ภาพเขียนของเขามี บรรยากาศของเรื่องราวภายในบ้านของครอบครัวที่ผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคย เป็นการ บันทึกกาลเวลาประสบการณ์ใกล้ตัวที่เราเองยังคงคิดถึง เป็นประวัติศาสตร์ของ หัวใจที่เมื่อได้เห็นมันอีกครั้งความรู้สึกไม่ว่าดีหรือร้ายจะเอ่อขึ้นมาในใจตามแต่ ประสบการณ์ของแต่ละคน จนสามารถแทรกแซงเข้าไปสะกิดความทรงจำ�ครั้งเก่า ของผู้คนที่มีวิถีชีวิตรีบเร่งติดจรวดในยุคปัจจุบัน สำ�หรับตัวข้าพเจ้าเองงานของ เขาไม่ได้เสียดสี ประชดชัน สะท้อนสังคมหรือสร้างนิยามใดๆอย่างดุดัน แต่มันเป็น พลังเงียบที่ก่อตัวขึ้นจากความเรียบง่ายที่ศิลปินได้นำ�เสนอ มันเป็นความสะเทือนใจ จุดประกายความคิดถึงวิถีชีวิตครั้งยังอยู่ในอ้อมอกของครอบครัว มวลความรู้สึก ทั้งปวงเหล่านี้ทำ�ให้เมื่อมองภาพเหมือนจริงตรงหน้ากลับหลุดพ้นจากสภาพความ เหมือนอย่างที่สุดแต่เรื่องราวในภาพเหล่านั้นได้ย้อนเข้าไปสู่หัวใจของตนเอง และห้วง ความทรงจำ�ของแต่ละคน ท้ายที่สุดข้าพเจ้ามีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้คนที่ได้ร่วมชื่นชมงาน ของ ศิลปินฝีมือเยี่ยมผู้นี้ ชัยวุฒิ เทียมปาน จากนิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกใน ชีวิตของเขา THE REALITY OF SIMPLE LIFESTYLE จะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่ “ มากกว่าความเหมือนจริง “ ดังที่ข้าพเจ้าได้รับรู้เช่นกัน ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สุภิตา เจริญวัฒนมงคล (พดด้วง ) ไดเร็คเตอร์ หอศิลป์ศุภโค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ ภัณฑารักษ์

The first time when I saw Chaiwoot’s painting was 10 years ago, when I was about to graduate from Silpakorn University. It was the day of the concerted assessment between senior in master’s degree and bachelor’s degree and Chaiwoot was one of master’s degree student in that time. First moment that I saw just one of his painting, a cup of tea and deep-fried dough stick on the table, the first feeling that arose in my brain was amazed in the realistic and had to have a question with friends that “Is this painting?”. Everyone in that area stopped their activities and walk to see that is Painting or Offset printing. Then the answer was reflected from the brushstroke of oil color. The color blended seamlessly that can obvious see when come close to the painting. From the amaze turn out to be a peace of mind. I felt familiar with the story in the painting because it’s not just realistic painting but the more than realistic of Chaiwoot’s painting expressed the atmosphere that made me homesick. His painting reflected the peculiarities that we almost forget to feel it again. At that time, I stand in very long time to see his painting. The more I see, the more I’m homesick and want to back home. From that day until now, I have been working as a team of art exhibition production, both group and solo. My mind still always misses Chaiwoot Thiampan’s painting. When I have an opportunity to be one of the administrator of Subhashok the Arts Cantre, I can not wait to look for Chaiwoot. I was surprised because Chaiwoot never have an exhibition and absence from art society for 10 years. In past, he lived at home in Petchaburi, take care of his seri-

ously sick mother. So I have ride to track and coordinate Chaiwoot to collaborate for the exhibition. It takes a preparation for a year but finally it becomes a successful of his first solo exhibition in his life. Chaiwoot Thiampan created his work of art from the story nearby him, within his own family life and battle in his own art challenging through the painting style that could be called “Super Realist”. His painting have the atmosphere of the story of family that is the most of people’s accustom. This is a recording of time. The experience that we still miss, the history of mind. Whenever I see this painting again, no matter how good or bad will up on the mind are depend on the individual experience that reminds the memories of old times. People that have the rush lifestyle in today’s life. For me, in my opinion, his work does not harshly satirical, irony, reflect society or create any definition but it’s a silent power that formed from the simplicity that the artist expressed. It’s an emotional impact that trigger off the life time in bosom of the family. All the mass of these feeling make sense when look at the realistic painting in front that’s released from the super realistic. The story in the painting back into heart and fragmented of each own memories. Eventually, I really hope people who have come and appreciated the work of the proficient artist, Chaiwoot Thiampan, from his first solo exhibition : The Reality of Simple Lifestyle, will get the experience of the feeling that “More than Realistic” as I get to know as well. 3


Realism : Imitated or Created? Emeritus Professor Ittipol Tangchalok

ความเหมือนจริง : ลอกเลียนหรือสร้างสรรค์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธพล ตั้งโฉลก

เมื่ อ เราผู้ ดู ยื น เผชิ ญ หน้ า กั บ จิ ต รกรรมแนวเหมื อ นจริ ง ของชั ย วุ ฒิ เทียมปาน เราอาจจะเกิดความสงสัยว่านี่คือผลงานภาพถ่ายอิงค์เจ็ต(inkjet) หรือ จิตรกรรม และเมื่อรู้ว่านี่คือจิตรกรรมก็อาจจะมีคำ�ถามต่อเนื่องว่า “ทำ�ไมชัยวุฒิ และศิลปินในแนวเดียวกันนี้จึงต้องวาดด้วยมือ ในเมื่อเขาใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือ อิงค์เจ็ตในการสร้างสรรค์ก็ได้ เพราะในยุคปัจจุบันเทคนิคเหล่านี้ก็เป็นที่ยอมรับ กันแล้วและคำ�ถามสำ�คัญก็คือ “การเลียนแบบจำ�ลองธรรมชาติมาแบบเหมือนจริง อย่างสุดขั้วเช่นนี้ เป็นการ “สร้างสรรค์” หรือไม่” คำ�ถามสุดท้ายนี้คงจะเป็นคำ�ถาม ค้างคาอยู่ในใจของผู้ดูทั้งในกลุ่มที่ชื่นชมผลงานในแนวนี้ และกลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าเป็น ผลงานการสร้างสรรค์อยู่แล้ว อันที่จริงประเด็นของความ “เหมือนจริง” นั้นมีหลายลักษณะและ หลายระดับ เริ่มตั้งแต่ความเหมือนแบบสุดขั้ว “Super-Realism” หรือ “HyperRealism” ไปจนถึงผลงานที่ศิลปินดัดแปลงเช่น การเปลี่ยนสีเปลี่ยนน้ำ�หนักแสง เงา ไปจนถึงการเปลี่ยนรูปทรงองค์ประกอบต่างๆ การเปลี่ยนแปลงไปจากการ จำ�ลองเลียนแบบเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงการเปลี่ยนไปอย่างมากนั้น ผู้ดูไม่อาจจะรู้ได้ ชัดเจนนอกจากได้เห็นภาพถ่ายของสรรพสิ่งที่เป็นต้นแบบมาดูเปรียบเทียบซึ่งเราก็ จะประจักษ์แจ้งขึ้นมาว่า ความเหมือนนั้นมิใช่เป้าหมายของศิลปิน แต่เป็นเพียงรูป แบบเป็นสื่อเป็นเครื่องมือ หรือเป็นภาษาที่ศิลปินเลือกสรรค์มาใช้ เพราะว่า “ภาษา” นี้มันเหมาะสม หรือมันรับใช้แนวคิดหรือเป้าหมายของเขาได้ดีที่สุด คำ�ถามที่ต้อง ตามมาอย่างหลีกไม่ทันก็คือ ‘แล้วเป้าหมายของศิลปินคืออะไร หรือคุณค่าความ เป็นศิลปะคืออะไร’ จิตรกรรมของชัยวุฒิ เทียมปาน คงจะเป็นคำ�ตอบที่ดีต่อคำ�ถามนี้ ศิลปะแนวเหมือนจริงหลุดพ้นจากปัญหาของผู้ดู ประการแรกคือ “ดูไม่รู้เรื่อง” เมื่อ ดูรู้เรื่องแล้วอย่างเช่นจิตรกรรมของชัยวุฒิ ปลาทู 2 ตัว ไข่ทอดมะเขือยาว กาแฟ ปาท่องโก๋ กล้วยทอด เรื่องราวของอาหารไทยๆที่เรียบง่ายธรรมดาสามัญอย่าง ที่สุดนี้ “เรื่องราว” ที่ผู้ดูมองเห็นนี้มีคุณค่าอย่างไร เรื่องที่มิใช่พุทธประวัติหรือ 4

พุทธปรัชญา แต่เป็นเพียงเรื่องอาหารของชาวบ้านที่ยากจน ไม่มีความสำ�คัญ อะไร ทำ�ไมชัยวุฒิถึงมิได้เลือกสรร “อาหาร” ของชัยวุฒิเป็นหูฉลามโต๊ะจีนราคา แพง เนื้อหาสาระในผลงานของเขาคืออะไร คงมิใช่ราคาของอาหารโต๊ะจีนที่แพงกว่า น้ำ�พริกปลาทู เช่นเดียวกับเรื่องราวของพุทธปรัชญาก็มิได้ทำ�ให้คุณค่าของผลงาน ศิลปะสูงกว่าผลงานในแนวอื่น เพราะว่ามีเหตุปัจจัยหลายๆประการการสร้างสรรค์ มิได้มีสูตรสำ�เร็จถ้ากล่าวว่ามี “สูตร” ก็ต้องเป็น “สูตร” ปัจเจกที่ศิลปินค้นพบ ศิลปินโดยทั่วไปมีความอ่อนไหวต่อสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น ถ้ายังเชื่อว่า “ความงาม” หรือ “สุนทรียภาพ” ยังเป็นคุณค่าที่สำ�คัญที่สุดของศิลปะอยู่ การ“เห็น”ของศิลปิน จะมิใช่การเห็นด้วย “ตา” อย่างคนธรรมดาทั่วไป แต่เป็นการเห็นอย่างประจักษ์แจ้ง ขึ้นมาในจิตใจ ทั้งความงามและความจริง รวมไปถึงความหมายและความดี ความงามคือสุนทรียภาพในงานศิลปะโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย ความดีและความจริง จิตรกรรมหุ่นนิ่งของชัยวุฒิ เช่น ขนมเทียน ขนมเข่ง ปลา เค็มทอด ไข่เค็ม ปลาทูทอด ข้าวสวยในจาน ล้วนแต่เป็นความจริงที่กระตุ้นประสาท สัมผัส เช่น กลิ่นและรสชาติที่เราเคยมีประสบการณ์การแล้ว กล่าวได้เลยว่าอาหาร ที่ชัยวุฒิเลือกสรรมาเป็นอาหารไทยแท้ๆที่ยังคงมีอยู่ประจำ�บ้าน เป็นวิถีชีวิต เป็น วัฒนธรรม ที่เข้มแข็งท่ามกลางกระแสอาหารนานาชาติที่ได้รับความนิยมมากขึ้นๆ เรื่ อ งราวของอาหารไทยที่ ส ามั ญ และเรี ย บง่ า ยที่ สุ ด ในผลงาน จิตรกรรมของชัยวุฒิที่สะท้อนออกโดยตรงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยอันเป็น เนื้อหาสาระที่สำ�คัญแล้วคุณค่าที่สำ�คัญที่สุดประการหนึ่งที่แฝงตัวอยู่เบื้องหลังรูป แบบที่เหมือนจริงแบบภาพถ่ายก็คือความงามหรือสุนทรียภาพเฉพาะตัวที่เกิดจาก เทคนิคการลงพื้นผืนผ้าใบด้วยสีดำ� ตรงกันข้ามกับ ธรรมเนียมปฎิบัติที่ลงพื้น ด้วยสีขาว ความงามเฉพาะตัวที่กลายเป็น “อัตลักษณ์” เป็นต้นแบบและเป็นแบบ อย่างของการสร้างสรรค์ คือ มีแนวคิดที่ดีมีความหมายเฉพาะ มีเทคนิคเฉพาะตัว ที่ผสานกับทักษะฝีมือ ดั้งนั้นความสัมฤทธิ์ผลในศิลปะก็เกิดขึ้น

When we, the viewer, see the realistic painting of Chaiwoot Thiampan, we might be wondering that this is a photograph, inkjet or painting. And when we know that this is painting, we probably have a question that “Why Chaiwoot and artists in this genre have to paint by hand while they can use photographic or inkjet technique because at this moment, all these technique are accepted.” and the important question is “The imitation of the nature to be extremely realistic like this is “creativity” or “not”? The last question would be inconclusive question of the viewer who’s appreciated in this kind of art and the viewer who did not accept that this is creative work of art. Indeed, “Realism” has many aspect and levels. From the “Super-Realism” or “Hyper-Realism” to the work of art that the artist adapted it, such as changing the color and volume to change the form and composition. Transition from simulation to extremely change, viewers may not know clearly. Unless, we bring the photo of the model object to compare with. We will be convinced that to be realistic is not the goal of the artist but just a system as a tool or language that artist choose to present because “Language” is appropriate or serve the concept or goal of his best. The question that must be followed with no avoid is ‘So what is the goal of the artist or what is the value of art?’ Chaiwoot Thiampan’s painting would be a good answer to this question. Realistic released from the problem of the viewer. First of all is “Confusion”, when understanding such as Chaiwoot’s painting has two mackerel, omelet with eggplants, coffee and deep-fried dough stick and deep-fried banana. The story of simple Thai food like this, the “Story” that the viewer see how it valuable. This is not non-Bhuddhist or Buddhist philosophy but just the story of simple food from a poor villager. Why Chaiwoot not choose the expensive Chinese “Food” like a shark’s

fin soup? What is the content in his work, not the price of Chinese food that much more than fried mackerel with shrimp paste sauce. This is the same as Buddhist philosophy that is not exceed the value of the work if compare to others. That because of there are many factor that creativity does not have the fixed formula. If it’s a “Formular”, it would be a “Formular” which is individually discovered by the artist. Normally, artists are sensitive to what is happening if still believe that “Beauty” or “Aesthetics” are the most important of the value of art. In the “Perspective” of artists is not just seeing by eyes like viewers but have to clearly see in their mind, beauty and truth include meaningful and goodness. Beauty is the aesthetic in art. Generally, consists of good and truth. Chaiwoot’s Still Life painting such as stuffed dough pyramid dessert and basketshaped Chinese pudding, fried salted fish, salted eggs, fried mackerel and steamed rice in a dish, are all truth to stimulate the sensation. Such as taste and smell that we’ve already experienced. I can say that the food that Chaiwoot choosed to paint are traditional Thai food that still have in every Thai family. Lifestyle and culture that still strong among the trend of international cuisine that has been more and more popular. The story of Thai food that is the most common and simple in Chaiwoot’s painting, reflected the lifestyle and Thai culture. That is the importance substantive. One of the most important value that camouflage behind the photo-realistic is the unique beauty or aesthetics by the technique. He painted the background with black that is in contrast to the observance that paint the background with white. His own unique beauty becomes an “Identity” as a master and exemplar of creativity, good concept with specific meaning and specific techniques combine with skill. Consequently, achievement in art happens. 5


การเดินทางของ Still life มาสู่

ศิลปินปลาทู

“ปลาทู” ขนาด 80x80 ซม. ปี 2543 สีน้ำ�มันบนผ้าใบ

6

บางคนดำ�เนินชีวิตได้ตามที่วาดฝันไว้แต่วัยเด็ก แต่สำ�หรับผมนั้นไม่ ได้คิดเอาไว้แต่แรกเลยว่าจะมาเป็นศิลปิน เป็นจิตรกรวาดภาพ ในวัยเด็กด้วยความ คิดแบบเด็กๆ ผมกลับมองว่าศิลปินแทบจะไม่มีหน้าที่อะไรในสังคม เป็นหมอก็ช่วย รักษาคนไข้ เป็นครูก็ให้ความรู้เด็กๆ หรือเป็นทหารก็ช่วยป้องกันประเทศ ฯลฯ แต่ ผมรู้แค่ว่า...ศิลปะนั้นให้ความสุขใจแก่ผม ผมได้ก้าวเข้ามาสู่อาณาจักรของศิลปะแบบไม่ได้คาดฝัน “Still Life” หรือ หุ่นนิ่ง คือโจทย์แรกที่ผมต้องเจอ การเรียน study จากหุ่นจริง นอกจาก จะช่วยให้ได้ศึกษารายละเอียดจากของจริงแล้ว ยังช่วยให้เราได้เข้าถึง “ความรู้สึก” โดยอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า “เราจะเขียนผลไม้ ก็ต้องให้มันดูสด และน่ากิน เขียน ขวดแก้วก็ต้องให้ดูใส หรือเขียนดอกไม้ก็ต้องให้ดูนุ่มนวล การเขียนภาพนอกจาก ความเหมือนแล้ว ต้องให้ดูแล้วรู้สึกด้วย”และนอกจากนี้การศึกษาผลงานจากศิลปิน ระดับ Master ก็ช่วยให้เราค้นพบ Style หรือรูปแบบของ Painting ที่เราชอบ ผมได้พัฒนาภาพหุ่นนิ่งมาจนถึงช่วงศึกษาปริญญาโทโดยเขียนหุ่นนิ่งจากวัตถุ สิ่งของใกล้ๆตัว นำ�มาจินตนาการเป็นเรื่องราวความรู้สึกของตนเองที่มีต่อบ้าน ครอบครัว และวิถีชีวิต ความพลัดพราก ลูกหลานจากบ้านเกิดเข้ามาทำ�งานใน เมืองใหญ่ มันทำ�ให้ภาพบรรยากาศของบ้าน ที่มีความสุขอยู่กันพร้อมหน้า กลับ กลายเป็นบรรยากาศของความเงียบเหงา ช่วงเวลาของการทำ�งาน มาถึงจุดหนึ่งซึ่งเราไม่ได้รู้สึกอะไรในเรื่องราว แบบเดิมอีกต่อไป มีแค่การเปลี่ยนองค์ประกอบไปมา จินตนาการนั้นเป็นเรื่องที่ดีใน ทางศิลปะ แต่สำ�หรับผมแล้วมันดูเคว้งคว้าง ล่องลอย ปรุงแต่งไปเรื่อยๆและผมก็ เริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายกับแนวคิดแบบเดิมๆ การเดินทางของ “Still Life” จึงมาถึงจุดที่ ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและแนวความคิดของตนเอง ผมได้ทดลองเขียน ‘หุ่นนิ่ง’ ที่ไม่ค่อยมีใครนิยมเขียนกัน คือ “ปลาทู ทอด” โดยเอาเฟรมเก่ามารองพื้นทับด้วยสีเข้มๆ แล้วตั้งหุ่น เขียนปลาทูทอดให้มี ขนาดใหญ่กว่าของจริง เพราะต้องการเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด แต่ก็พบว่ามัน เป็นไปได้ยาก ถ้าเราเขียนจากของจริงแล้วต้องการเน้นไปที่รายละเอียดของวัตถุ ทั้ง สีสันไม่แน่นอนตายตัว ทุกอย่างในหุ่นเปลี่ยนแปรสภาพไปเร็วกว่าที่เราจะเขียนเสร็จ และมุมในการมองที่ไม่แน่นอน จึงต้องเปลี่ยนวิธีการโดยนำ�ภาพถ่ายเข้ามาใช้จริงๆ ถ่ายรูปแล้วก็นำ�มาเป็นแบบวาด ลดทอนจินตนาการในเรื่องราวลงไป หันมาเน้น ที่คุณค่าของการใช้ทักษะที่เชี่ยวชาญในทาง Painting อีกทั้งยังได้ค้นคว้าจากผล งานและแนวความคิดของศิลปิน Photorealist อย่างจริงจัง ดังนั้น ‘ภาพปลาทู’ จึงถือได้ว่า เป็นงานชิ้นครูของผม โดยท่านอาจารย์ผู้สอน มักจะเรียกผมติดปาก กันในชั้นเรียนว่า “ศิลปินปลาทู”

สมัยนั้นการเขียนเหมือนภาพถ่ายเป็นเรื่องที่ไม่น่าทำ� ถูกหยันว่าไม่มี ความคิดสร้างสรรค์ ดีแต่ลอกรูป ซึ่งผมเองก็ได้รับผลตอบรับมาแบบนี้เช่นกัน แต่ ก็ยังคงเชื่อมั่นในสิ่งที่เรานำ�เสนอว่า “คุณค่าจะสะท้อนตัวมันเอง ถ้าเราพยายาม ทำ�ให้ถึงที่สุดของมัน”ด้วยมุมมองจากวัตถุสิ่งของที่เป็นจริงตามธรรมชาติของมัน ร่องรอยต่างๆที่ปรากฏอยู่ในภาชนะที่ใส่อาหาร บนพื้นโต๊ะ หรือแสงสะท้อนบนโลหะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ได้บอกถึงเรื่องราว ระยะเวลา และบริบทต่างๆ ในวิถีชีวิตของผู้คน ในสังคมได้มากมาย ซึ่งการใช้มุมมองแบบภาพถ่าย ระยะชัดลึก อันเป็นผลมาจาก คุณสมบัติของเลนส์กล้อง สามารถที่จะดึงเอาสาระและความงาม สามารถเน้นใน จุดที่เราต้องการ และลดทอนความชัดเจนในส่วนที่เป็นฉากหลังจากมุมมองที่เรา ต้องการนำ�เสนอส่วนเทคนิควิธีการนั้นได้ใช้สเกลที่กำ�หนดขึ้นง่ายๆ แทนการเขียน จากโปรเจคเตอร์ที่นิยมกันในปัจจุบัน เพราะต้องการให้เป็นงานที่เกิดจากแฮนด์เมด ทั้งชิ้น ถึงแม้จะใช้ภาพถ่ายเป็นต้นแบบ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาผมแบ่งเวลาให้กับการทำ�งานเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของกิจกรรมชมรมต่างๆ เข้าป่าถ่ายรูป ศึกษา ธรรมชาติ แ ละจั ด แสดงผลงานตามงานนิ ท รรศการที่ เ กี่ ยวกั บ งานการอนุ รั ก ษ์ ธรรมชาติ เช่น งานดูนก เพราะปัจจัยหลายๆอย่างที่ยังไม่ลงตัว ภาระต่างๆ กับ การเป็นศิลปินในต่างจังหวัด มันประสบความสำ�เร็จได้ยาก มีข้อจำ�กัด มีช่องว่าง มากมายระหว่างศิลปินกับผู้ชมงาน และต่อมาผมได้กลับมาสร้างสรรค์ผลงานใน แนวคิดนี้อีกครั้งหนึ่ง ด้วยความอนุเคราะห์ของ S.A.C. Subhashok The Arts Centre โดยเป็นการรวบรวมเอาผลงานทั้งหมดจากภาพแรกที่ได้เริ่มต้นในแนวทาง นี้ มาจนถึงปัจจุบัน ร่วมกว่า 30 ภาพ ผมไม่ได้วาดฝันไว้ว่า ‘ผลงานของผมมันจะพาผมไปถึงจุดไหน แต่ก็ได้ ทำ�ลงไปเพราะศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ได้ตั้งใจทำ� และมีการพัฒนามาเป็นลำ�ดับ’ ผม รู้สึกภูมิใจเมื่อครั้งที่มีนักศึกษาคนหนึ่งที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน เข้ามาดูงานและบอก กับผมแบบจริงใจว่า “งานของพี่ ทำ�ให้ผมคิดถึงบ้าน” การที่งานศิลปะนั้นสะท้อน สังคม เรื่องราว และคุณค่าในสิ่งต่างๆ มันทำ�ให้ผมย้อนกลับไปตอบคำ�ถามตอน สมัยเด็กได้ว่า ศิลปิน... มีหน้าที่อย่างไรในสังคม ชัยวุฒิ เทียมปาน 14 เมษายน 2556

7


The Journey of Still Life to Mackerel Artist Some people live their life as they could dream since childhood. But for me, I didn’t expect that I will be an artist, painter. In childhood with the idea of a child, I thought that it’s rarely to see an artist’s duty in society. The doctor help patients. A teacher educate children. Or a military defenses, etc. But I know just art is delightful to me. I have entered into the realm of art unexpectedly. “Still Life” was the first proposition I faced. I was study by the real object, not only have to study details of it, but also bring us to have access to “Sensation”. The lecturer taught me that “If we paint the fruit, we have to give an eatable fresh look. If we paint the glass bottle, it must be clear. Or if we paint the flower, we have to make it look smooth. Painting, not only just look real, but also need to feel when view it.” In Addition, study on the work of Master Artist, bring me to discover a Style or format of Painting that I like. I have developed my still life painting to the Master degree study by painted still life, object nearby myself. Imagination of my own feelings of the story about home, family and lifestyle. The separation

8

of children from their hometown come to work in the cities. It makes the atmosphere of the home, happy living together, turn to be the atmosphere of loneliness. Period of working time reached the pointed that I did not feel anything in the original story anymore. It have just the only change the composition. An imagination is good in art but for me it manipulates aimlessly drifting indefinitely. I started to bored with the same old ideas. The journey of “Still Life” reached to modify the style and concept of my own. I had experimented “Still life” that the object is not so popular for painting, “Fried Mackerel”, by painted dark color on the used frame then setting and paint the mackerel to be larger than the real thing because I wanted to focus on details of the painting colors are absolute but the object changed faster than I can complete the painting and the uncertainty perspective. I must change the way by attenuation fantasy story down, focus on value of the skills that specializes in painting as well as seriously research on the work and ideas of Photo-

realist Artist, seriously. So the painting of “Mackerel” can be considered as a piece of my teacher and my lecturer often called me in the class that “Mackerel Artist”. In that time, Photo Realist painting was unlikely to do. It was abusing that it doesn’t has any creativity, just copy the photo. I was given feed back on this as well but I still believe in what I have presented that “The value will reflect itself, if we try to do the best of it.” With a view of the true nature of the object. The stain that appeared in the kitchen ware, on the table or a reflection on the metal,

etc. All of these object have been told the stories, time and contexts of lives of many people in society. The use of photography, perspective and depth of field, as a result of the camera lens that able to pull out the substance and beauty to emphasize the point that we need and reduce the cleanly of the background that I wanted to present. The technique has been use to set up a simple grid instead of using projector that so popular now. I want it to be a work of handmade piece although use photo as a manuscript. In the period of time ago, I take my time to work for the conservation of nature and environment in the form of various club activities. Do photography in the wild, study the nature and have exhibition in the show casing the work activity such as a bird watching, nature conservation, because many factor that have an unbalanced load. To be the artist in the country side is difficult to be successful. It have many gap between artist and viewer. And I was back in crediting this concept again with the help of S.A.C. Subhashok The Arts Centre by the collection of my work of art started in this approach to date, including approximately 30 paintings. I never expected that ‘My work of art will reach in which point. I do it because of faith. Believe in the way that intend to do and have a development. “I’m proud when one of the the student who have not know each other before. He came to see the painting and told me that “Your painting made me homesick.” The story and value in the various things bring me back to answer the question when I was in childhood that.What is the duty of the artist in society. Chaiwoot Thiampan 9


PHOTOREALIST โดย ชัยวุฒิ เทียมปาน Pop art และ Photorealist เป็นกระแสทางศิลปะที่มีการขยาย ตั ว และได้ รั บ ความสนใจอย่ า งล้ น หลามของวงการศิ ล ปะช่ ว งศตวรรษที่ 2 0 (ปลายค.ศ.ที่ 1960 – ต้นค.ศ.ที่ 1970) ซึง่ ก่อนหน้านีน้ บั เป็นระยะเวลานานหลาย ทศวรรษทีศ่ ลิ ปะแบบนามธรรมได้เข้ามามีบทบาทสำ�คัญในวงการของศิลปะของโลก แต่ปรากฏการณ์ของศิลปะร่วมสมัยในช่วงทศวรรษของปีค.ศ. 1970 ทีบ่ รรดาศิลปิน หัวก้าวหน้าที่แสวงหาแนวคิดและหนทางใหม่ๆเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการสร้างสรรค์ ศิลปะที่มุ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะของอารมณ์และความรู้สึกส่วนตนของศิลปิน ตลอด จนการแสดงออกในรูปแบบของนามธรรมซึ่งยากแก่การเข้าถึงศิลปะแนว Pop art นั้นมีอิทธิพลอย่างยิ่ง ต่อศิลปิน Photorealist โดยมีแนวความคิดที่สวนกระแส ว่า “การสร้างสรรค์ศิลปะนั้น ไม่จำ�เป็นจะต้องเป็นเรื่องของการแสดงออกถึงสภาวะ ทางจิตใจ หรือความรู้สึกภายใน สามารถแสดงเนื้อหาเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา ทางด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่เป็นปกติปัจจุบันของผู้คนในสังคม”จึงเป็นกระแสหนึ่ง ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างมากต่อวงการศิลปะในช่วงศตวรรษที่ 20 อันเป็นยุคสมัยที่ มีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ แนวทางของจิตรกรรมแบบ Photorealist ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้า ไม่มีเทคโนโลยีการถ่ายภาพ วิวัฒนาการทางการถ่ายภาพนั้นเริ่มมีมาในราวๆ 2500 ปีมาแล้ว ทั้งจีนและกรีกต่างมีบันทึกถึงห้องมืดที่มีรูรับภาพเข้ามาได้ และ นั่นเองเป็นความรู้ที่ศิลปินวาดภาพในสมัย ค.ศ. 1500 ใช้ความรู้นี้สร้างเครื่อง มือที่เรียกว่า ‘กล้องออพสคูร่า (Camera Obscura)’ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการ วาดหรือร่างภาพ ศิลปินที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นอย่าง Leonardo da Vinci, Michelangelo และคนที่สำ�คัญโดดเด่นก็คือ Jan Vermeer จากนั้นจึงมีคิดค้นการ บันทึกภาพ เกิดเป็นภาพถ่ายขึ้นในปี ค.ศ.1826 ภาพถ่ายนั้นก่อให้เกิดความแตกตื่น แก่เหล่าจิตรกรยิ่งนัก ด้วยเหตุที่มัน “เหมือน” กว่าภาพวาด จนกระทั่งจิตรกรชั้น นำ�ของฝรั่งเศสในศตวรรษ 19 Paul Delaroche ถึงกับกล่าวว่า “จากวันนี้ไป 10

จิตรกรรมได้ตายแล้ว” เทคโนโลยีทางการถ่ายภาพนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่ ผ่านมาในแขนงจิตรกรรมอย่างแนบแน่น อิทธิพลทางภาพถ่ายที่มีผลต่องาน จิตรกรรมมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ในทางสุนทรียศาสตร์ และในทางกรรมวิธี ดังตัวอย่างเช่น รูปแบบงานจิตรกรรมของ Edouard Manet มีวิธีการสร้างองค์ ประกอบของภาพ โดยการอาศัย Perspective และ Depth of field (ความชัด ลึก) การใช้ภาพมุมกว้างจากการถ่ายภาพด้วยเลนส์และการตัดต่อภาพ หรือในงาน จิตรกรรมของ Edgar Degas หลายภาพมีการจัดองค์ประกอบภาพที่ได้อาศัยวิธี การของการบันทึกภาพแบบฉับไว (Snap-Shot) ดังนั้นการหวนกลับมาของศิลปินแนวเหมือนจริง (Realism) ในยุค ศตวรรษที่ 20 จึงมาจากวิวัฒนาการทางการถ่ายภาพที่เจริญก้าวหน้าควบคู่ไป กับความเคลื่อนไหวทางวงการศิลปะในอเมริกา ซึ่งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทางยุโรปเลย แม้แต่น้อย การเขียนภาพแนวเหมือนจริงของศิลปินอเมริกันได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางในสมัยนั้น ในขณะที่ศิลปะแนวนามธรรมและศิลปะลักษณะใหม่ได้เข้ามามี บทบาทอยู่ในวงการศิลปะอเมริกันเช่นกัน Photorealism, Sharp Focus, Hyperrealism หรือ Superrealism เป็นศิลปะในรูปแบบที่เหมือนจริงอีกแนวหนึ่ง ซึ่งศิลปินได้รับความบันดาลใจจาก ภาพถ่าย ศิลปินใช้กล้องถ่ายภาและภาพถ่ายเป็นปัจจัยสำ�คัญในการแสดงความคิด และข้อมูลต่างๆด้วยการแสดงออกในงานจิตรกรรม ศิลปินเหล่านัน้ ไม่เพียงแต่จะมีความ สามารถสูงในการใช้เทคนิคให้งานจิตรกรรมของเขามีลักษณะเหมือนภาพถ่าย เท่านั้นเขายังสามารถแสดงให้เห็นถึงสายตาอันแหลมคมของมนุษย์ ตลอดจน การใช้ฝมี อื ซึง่ มีความละเอียดลออและมีความคมชัดเหนือกว่ากล้องถ่ายภาพอีกด้วย ศิลปินกลุ่ม Photorealist นั้นแม้จะเขียนภาพในแนวเหมือนจริงซึ่งดูราวกับว่าต้อง

ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่แน่นอนตายตัวก็ตาม แต่แท้ที่จริงแล้วศิลปินสร้างสรรค์ผล งานอย่ า งอิ ส ระโดยไม่คำ�นึงว่าครั้งหนึ่งศิลปินเขียนภาพจากภาพถ่ายได้รับการ ประณามว่าเป็นผู้ที่ไร้ความสามารถและไม่มีหัวในการสร้างสรรค์ดีแต่ลอกเลียนแบบ จากภาพถ่ายซึ่งปราศจากชีวิต Photorealist จึงถูกมองว่าเป็นการลดคุณค่าของ งานจิตรกรรม เพราะใช้ภาพถ่ายเป็นปัจจัยหลักของการสร้างงาน ถ้าเปรียบเทียบ กันในเรื่องของคุณค่าทางศิลปะ Pop art จะให้ความสำ�คัญลงไปในเนื้อหา มากกว่า วิธีการ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย แต่ Photorealist พยายามที่จะกลับมาให้ ความสำ�คัญในคุณค่าของ ‘Painting’ ศิลปิน Photorealist มิได้ตั้งกฎเกณฑ์หรือประกาศถ้อยแถลง เฉพาะกลุ่มเป็นทางการ เนื่องจากว่าศิลปะในแนวนี้เป็นศิลปะที่มีรูปแบบและมีความ หมายเป็นที่เข้าใจได้ง่าย งานไม่จำ�เป็นต้องอาศัยการพิสูจน์เพื่อหาคำ�ตอบ หรือต้อง แปลความหมายอันลึกซึ้งอย่างศิลปะประเภท Conceptual art หรือในศิลปะแนว อื่นๆ การที่ศิลปะในแนวของ Photorealist แสดงความหมายในตัวเองได้อย่างแจ่ม ชัดในลักษณะ ‘ภาพถ่าย’ หรือ ‘เหนือภาพถ่าย’ อย่างตรงไปตรงมานั้น หากจะพูด ในด้านของคุณค่าแล้วศิลปะในแนวนี้มิได้ด้อยหรือมีความสำ�คัญน้อยกว่าศิลปะใน รูปแบบอื่นๆ แต่ประการใด วิธีการของ Photorealist คือ การมองโลกที่อยู่รอบตัวเราผ่านเลนซ์ ของกล้องอีกทีหนึ่ง การมองด้วยตาเปล่านั้นเราอาจมองข้ามสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏ อยู่ตรงหน้าไปได้ คล้ายเส้นผมบังภูเขาและเราไม่สามารถจะมองเห็นส่วนละเอียด ของทุกสิ่งทุกอย่างได้มากเท่ากับการบันทึกด้วยกล้องถ่ายภาพ ถึงแม้ว่าการมอง ดูภาพถ่ายจะไม่มีชีวิตจิตใจเท่ากับการมองของจริงด้วยตาก็ตาม แต่ความงามของ ภาพถ่ายก็มลี กั ษณะเฉพาะและดึงดูดความสนใจของผูช้ มได้มากเช่นกัน ศิลปินบาง ท่านจำ�เป็นต้องทราบล่วงหน้าว่า ภาพทีเ่ สร็จสมบูรณ์แล้วจะปรากฏออกมาในลักษณะ

ใด ดังนัน้ เขาจึงต้องตัดสินใจให้แน่นอนลงไปเลยทีเดียวว่าจะแสดงความคิด หรือใช้รปู แบบ การจัดวาง ตลอดจนการใช้เทคนิคอย่างไรเสียก่อนที่จะลงมือเขียนภาพจริงๆโดยปกติ ศิลปินทั่วๆไปมักจะลงมือSketch (แบบร่าง) ด้วยการวาดเส้นหรือใช้สีน้ำ�เป็นภาพ ร่างก่อนเพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์ แต่ศิลปิน Photorealist ใช้ภาพถ่าย แทนการวาดเส้นโดยตรง การใช้ภาพถ่ายเป็นภาพร่างช่วยทำ�ให้มีเวลาในการศึกษา ภาพเหล่านั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน อีกทั้งสีสัน แสงและเงาในภาพก็แน่นอนตายตัวจึง สามารถจะใช้สมาธิในการเขียนภาพได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลว่าสิ่งเหล่านั้นจะ เปลี่ยนแปลงในขณะที่เขียนจากของจริง อาจสรุปได้ว่า ศิลปิน Photorealist มีแนวความคิดที่ไม่แสดงออก ซึ่งความรู้สึกและอารมณ์ส่วนตัวจะมีก็เพียงแต่การเสนอความคิดอย่างตรงไปตรง มา ความหมายภายในงานอาจจะไม่มีอะไรที่ลึกซึ้ง แต่สิ่งต่างๆที่ศิลปินนำ�มาเขียน นั้น ล้วนมี ‘เนื้อหาและสาระ’ ที่บ่งบอกความหมายในตัวของมันเองอย่างชัดเจน ตามความเป็นจริง ศิลปินเหล่านั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็น ชีวิตที่ต้องผูกพันเกี่ยวข้องอยู่กับเทคโนโลยี อันเป็นผลิตผลจากสมองและฝีมือของ มนุษย์ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบวัตถุนิยม ซึ่งเราไม่อาจจะหลีก เลี่ยงได้ในสังคมปัจจุบัน ศิลปินในกลุ่ม Photorealist ที่สำ�คัญ มีดังนี้ Robert Bechtle / Ralph Goings / Ben Schonzeit / Charles Bell / Richard Estes / Howard Kanovitz / Tom Blackwell / John Kacere / Chuck Close / Ken Keeley / Robert Cottingham / Ron Kleemann / Don Eddy / Malcolm Morley / David Parrish / Audrey Flack / John Salt

11


วิธีการร่างภาพของศิลปิน ก่อนพัฒนามาเป็น ‘กล้องออพสคูร่า (Camera Obscura)’

12

รูปแบบงานจิตรกรรมของ Edouard Manet “al bar delle folies-bergere” ,1881-1882

13


Photo Realist By Chaiwoot Thiampan

“Telephone Booths” (1968), Oil on canvas. ผลงานแนว Photorealist โดยศิลปินอเมริกัน Richard Estes

14

Pop Art and Photorealist are the art movement with the expression and has been in a great demand of art society during the 20th century, in the late of 1960s and early of 1970s. The earlier in the period of decades that Abstract Art was the important part of world art society. The phenomenon of Contemporary Art in 1970s, the artist who was seeking progressive idea and new ways began to tired to creating art that aimed at showing the state of their own emotions and feeling of the artist. The expression in the form of an Abstract which is difficult to access. Pop Art has an influence on Photorealist artist so much by the concept which is opposed to that “The creation of art don’t need to be the story of expression of mental state or feeling inside but can present the story straightforward to culture and simple lifestyle of the people in society.” This is one of a very strong art movement in the 20th century, the era of the Industrial Revolution and Modern technology. The process of Photorealist painting can’t exist without the photograph. The evolution of photography began around 2,500 years ago. In both China and Greece have a dark room with a hole of image room. That is the knowledge of the artist that use in AD 1500. They use this knowledge to create a tool called ‘Camera Obscura’ as a tool to assist in drawing. In those day, the famous artist like Leonado da Vincci, Michelangelo and the important out standing, Jan Vermeer. Then the invention of photograph in 1826, photograph cause the stampede to the painter because more “similar” than painting. The French banner artist said that “From this day, painting is dead”.

Technology of photograph that involved with painting history. Influence of photo that effected to painting are two types in the aesthetics and in the process. For example, Eduoard Manet’s painting style have the way to create the composition of the painting by Perspective and Depth of field, using a wide lens and edit. Or the painting of Edgar Degas, many painting have the way to create composition by Snap-Shot. So the return of the Realism artist in the 20th century are from evolution of photographic that moving with American art movement that is not less that Europe art movement. American’s Realistic painting has been widely popular in those day while Abstract Art and Modern Art also took a part of American art. Photorealism, Sharp Focus, Hyperrealism or Super Realism is an art in one of Realism way that artist have been inspired by photography. Artist use camera and photo as the most important part to provided ideas and information with the expression in painting. These artists not only have high skill of technique to make their painting to look like a photo, but also present the sharp eyes of human. As well as the skills that higher resolution than camera. Photorealist artist, even though they do painting in realistic which seemed to be depend on the exact form. But indeed the artist have freedom of creation, regardless if the artist paint from photograph that have been condemned that is incompetent, just 15


“Die Malkunst” Jan Vermeer, 1665

copy from photos without life and not so creative. That was view as reducing the value of art. Pop Art focus on content more than method by using various method but Photorealist try to come back to the importance of the value of the “Painting”. Photorealist artist did not set rules or formal declaration statement because this type of art have style and meaning that easy to understand. The work of art don’t have to prove to find the answer or have to interpret the deep meaning like Conceptual Art or other kind of art. Photorealist express the straightforward meaning of themselves clearly in ‘Photorealist’ or ‘Super Realist’. The value part, this kind of art not inferior or less important than others. ‘Photorealist is the way of looking at the world around us through the camera’s lens.’ Seeing by eyes may have overlooked on something and unable to see the details as much as camera. Although the photo doesn’t look alive like seeing by eyes but the photo

16

have a unique beauty to attacts the viewer’s attention. Some artists need to know in advance that the complete photo will be in which style so they decide to use the concept or setting also technique before painting. Normally, artist will do sketch by drawing or water color to find the way of creation but Photorealist artist show the certain light and shadow. So they created a painting without any worry about the changing of object by time like paint from the Still Life. We may conclude that Photorealist artist have the concept that not to express their own feeling but just express the straightforward idea within not deeply meaning but all the object that the artist choose to paint have ‘Content’ of their own. Artist reflect life in another style which commitments with technology. Also be a symbol of Materialism Cultural that we can’t avoid in today’s society.

“Relish”, 1994, Oil on linen, 44 x 64.5 inches Collection of Rick & Monica Segal Hollywood, FL

เอกสารอ้างอิง - สมพร รอดบุญ. 2556. จิตรกรรมโฟโต้เรียลลิสม์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.finearts.cmu.ac.th. เข้าถึงวันที่ 2 เมษายน 2556 - ผศ.จิรพัฒน์ พิตรปรีชา,โลกศิลปะ ศตวรรษที่ 20,เมืองโบราณ สนพ., 2545 Harry Schwalb. ARTnews Review – RalphGoings.2013 [homepage on the Internet] [cited 2013 Apr 5].Available from : http://ralphlgoings.com/?page_id=411 Ralph Goings.Painting.2013[homepage on the Internet] [cited 2013 Apr 5].Available from : http://ralphlgoings.com/ From Wikipedia, the free encyclopedia.Photorealism.2013[homepage on the Internet] [cited 2013 Apr 8].Available from : http://en.wikipedia.org/wiki/Photorealism

17


ผมยังคงเชื่อมั่นในสิ่งที่เรานำ�เสนอว่า

“คุณค่าจะสะท้อนตัวมันเอง ถ้าเราพยายามทำ�ให้ถึงที่สุดของมัน “ ชัยวุฒิ เทียมปาน


การ“เห็น”ของศิลปิน จะมิใช่การเห็นด้วย “ตา” อย่างคนธรรมดาทั่วไป แต่เป็นการเห็นอย่างประจักษ์แจ้งขึ้นมาในจิตใจ ทั้งความงามและความจริง รวมไปถึงความหมายและความดี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อิทธิพล ตั้งโฉลก

ขนมเทียน ขนมเข่ง spirit offering 108 x 138.2 cm. oil on canvas 2544 20

21


เปลือกไข่ Eggshell 71 x 85 cm. oil on canvas 2555

22

ปลาทอด 2 fried fish no. 2 85 x 105 cm. oil on canvas 2555

23


ชะอมทอด vegetable omelet 83 x 123 cm. oil on canvas 2543

24

ปลาทอด 2 fried fishe no. 2 90.1 x 135 cm. oil on canvas 2544

25


ปลาเค็มทอด fried salted fish 81 x 87.3 cm. oil on canvas 2544 26

ไข่เค็ม salted eggs 93.3 x 100 cm. oil on canvas 2544 27


กล้วยทอด fried bananas 90.3 x 111.8 cm. oil on canvas 2543

28

ถ้วยน้ำ�ชา 1 a cup of tea no.1 87 x 100 cm. oil on canvas 2544

29


ถ้วยน้ำ�ชา 2 a cup of tea no.2 90 x 90 cm. oil on canvas 2555 30

กาน้ำ�ร้อน boiling kettle 100 x 115 cm. oil on canvas 2544 31


กาแฟ ปาท่องโก๋ Thai churros and coffee 110 x 130.24 cm. oil on canvas 2543 32

มุมน้ำ�ชา tea conner 94.5 x 112.5 cm. oil on canvas 2543 33


เครื่องปรุง 2 seasoning set no.2 104 x 120 cm. oil on canvas 2544 34

เครื่องปรุง 1 seasoning set no.1 85.5 x 94.5 cm. oil on canvas 2544 35


เครื่องปรุง 4 seasoning set 4 105 x 120 cm. oil on canvas 2555 36

เครื่องปรุง 3 seasoning set 3 98 x 108.5 cm. oil on canvas 2545 37


ปูทะเล tied crab 90 x 108 cm. oil on canvas 2556

38

ขันน้ำ� 1 bowl no.1 80 x 100 cm. oil on canvas 2552

39


ผัก- น้ำ�พริก vegetables & chili paste 140 x 180 cm. oil on canvas 2555

40

ขันน้ำ� 2 bowl 2 102 x 120 cm. oil on canvas 2556

41


ข้าวสวยในจาน Cooked rice 96 x 112 cm. oil on canvas 2556

42

ปลาทูทอด fried mackerel 85 x 102 cm. oil on canvas 2556

43


กลีบหอมกระเทียม 2 peels no.2 120 x 120 cm. oil on canvas 2556 44

กลีบหอมกระเทียม 1 peels no.1 120 x 120 cm. oil on canvas 2556 45


ปลาทอด 1 fried fish no,1 90.1 x 135 cm. oil on canvas 2544 ปลาทู (two fishes) 80 x 80 cm. oil on canvas 2543 46

47


Ralph Goings

“Cream Pie” , 1979, Oil on canvas, 26 x 36 inches Collection of Ann & Donovan Moore Brooklyn, NY

“Donut”, 1995, Oil on canvas, 30 x 43.5 inches Collection of Ann & Donovan Moore Brooklyn, NY

48

ในบทความนี้อยากจะหยิบยกเอาตัวอย่างของศิลปินคนสำ�คัญใน กลุ่ม Photorealist ที่เป็นแรงบันดาลใจสำ�คัญในการสร้างสรรค์ผลงานของ ผมในชุดนี้นั่นคือศิลปินนาม “Ralph Goings” ผู้ซึ่งมีความสำ�คัญของความ เคลื่อนไหวทางศิลปะในช่วงท้าย ค.ศ. 1960 จนถึงต้นค.ศ.970 เขาเกิดในปีค.ศ. 1928 ที่เมือง Corning รัฐ California ศึกษาศิลปะที่ California College of Arts and Crafts ใน Oakland, California เขาเติบโตมาในเมืองเล็กๆ มี ความสนใจศิลปะตั้งแต่วัยเด็กและอยากที่จะเป็นศิลปิน Ralph Goings เริ่มต้นสร้างงานที่สวนกระแสกับยุคสมัยเมื่อ Abstract Expressionism ยังเป็นที่นิยมในสมัยนั้น ซึ่งดูจะเป็นเรื่องที่แย่มากและ ขัดแย้งกับแนวความคิดเดิมที่ร่ำ�เรียนมาจากสถาบัน แต่นั่นก็เป็นแรงขับเคลื่อน และสนับสนุนในความคิดเขาอย่างหนึ่ง Ralph Goings เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ในการ วาดภาพเหมือนจริงที่มีรายละเอียดสูง ผลงานของเขามีทั้งภาพที่เป็นรถ บรรทุก ภาพของร้านขายอาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast food) หรือแม้แต่ร้านแบบ รถเข็นริมถนน แต่ที่โดดเด่นก็คือภาพของขวดภาชนะต่างๆบนโต๊ะ ใน ร้านกาแฟ ในสไตล์อเมริกัน (American dinner style) มีเรื่องราวที่เรียบง่าย หรือภาพ ที่ถูกโคลสอัพ (Close- up) ลงไปที่รายละเอียดเพียงบางส่วน แต่สามารถรู้ ได้ว่าสิ่งที่วาดนั้นคืออะไร ศิลปินพิถีพิถันในการจับลักษณะรายละเอียดของสีและ แสงที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกันหรือใบหน้า ของผู้คนที่ปรากฏในภาพ ผลงานของเขามีทั้งที่เป็นสีน้ำ�มันและสีน้ำ� ซึ่งดูแล้ว แทบจะไม่แตกต่างกัน ศิลปินมีเทคนิคของการระบายสีที่พิเศษไร้ร่องรอยของฝี แปรง (Stroke) พู่กัน ซึ่งในบางครั้งเขาต้องใช้ เวลา 8 -10 ชั่วโมงในการเก็บ รายละเอียดของพื้นที่เพียง 4 ตารางนิ้ว เขากล่าวไว้ว่า “งาน Painting ของฉันเป็นงานที่เกี่ยวกับแสง และ มุมมองต่อสิ่งต่างๆรอบข้างที่เป็นไปตามธรรมชาติของมัน รูปทรง สี และพื้นที่ ว่าง คือจินตนาการของความเป็นจริงส่วนการค้นหาและการจัดวางรูปแบบเป็น งานของศิลปินผู้ทำ�งานในแนวเหมือนจริง” 49


In this article, I would love to put example of the important Photorealist artist who ‘s the major inspiration of the creation of my work in this series. The artist name “Ralph Goings”, who’s the important artist of the art movement in the late of 1960s to the early of 1970s. He was born in 1928 in Corning, California. He studied art at the California College of Arts and Crafts in Oakland, California. He grew up in small town and interested in art since childhood and wanted to be an artist. Ralph Goings started to created the work of art that inverse to the trend of that time. While Abstract Expressionism was popular in those day, which is would be very bad and conflict with the original idea that study from institutions. But that was the power and support the idea of him. Ralph Goings well known in the realistc painting with high definition details. His work of art have both truck and Fast Food resteaurant or even street cart shop on the street. But the outstanding piece of his painting is the painting of bottle of sauce and seasoning in the American dinner style cafe with the simple story. The painting Close-up into some details but can recognize about what he paint are. The meticulous artist capture just the details of colors and light that just a little different. The different texture of object or people’s faces that appeared in the painting. His work of art have both oil color and water color that are not so different. The artist have the special painting technique with out a trace of brushstroke. Sometimes he takes 8-10 hours for paint the details of the space that just four square inches. He said that “My painting are about light , about the way things look in their environment and especially about how things look painted. Form, color and space are at the whim of reality, their discovery and organization is the assignment of the realistic painter.”

“Relish”, 1994, Oil on linen, 44 x 64.5 inches Collection of Rick & Monica Segal Hollywood, FL

“Two Waitresses – Afternoon Break” , 1986, Oil on canvas, 44 x 62 inches. Collection Donna and Neil Weisman, New Jersey.

STEP

BY

STEP

“Ralph’s Diner”, 1982, Oil on canvas, 44.5 x 66.5 inches Collection of Stephen Alpert Waltham

50

51


ผมมีวิธีการเขียนแบบดั้งเดิมทั่วไป ไม่ได้ใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์พิเศษ มีเพียงเสกลที่กำ�หนดขึ้นง่ายๆ แทนการเขียนจากโปรเจคเตอร์ที่นิยมกันใน ปัจจุบัน เพราะต้องการให้เป็นงานที่เกิดจากมือเราเองทั้งหมด วิธีการเขียนจากพื้นเข้ม คัดออกมาหาสว่างสุด จากฉากหลัง มาตรงส่วนสำ�คัญด้านหน้า การ จัดองค์ประกอบแบบ วัตถุชิ้นเดียวที่ต้องการเน้น ที่เหลือกลืนไปกับฉากหลัง แบบเดียวกับการโฟกัสของกล้องถ่ายภาพ 52

กระบวนการสร้างงานของผม ไม่ได้เป็นการสร้างจินตนาการลงไปบนเฟรม แต่เป็นการนำ�เสนอความเป็นจริง ที่ กระชับ และชัดเจนที่สุด 53


54

55


ชื่อ นายชัยวุฒิ เทียมปาน วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ที่อยู่ 224 ถ.บริพัตร ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ 086-9922752 email c_thiampan@hotmail.com การศึกษา - โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จ.เพชรบุรี - วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี - ศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม(เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาจิตรกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงผลงาน พ.ศ. 2538

- งานแสดงจิตรกรรมทิวทัศน์ คณะจิตรกรรมฯ

พ.ศ. 2539

- นิทรรศการ ศิลปกรรม SVOA ครั้งที่ 2 - นิทรรศการจิตรกรรมต้นแบบ - จิตรกรรมบัวหลวงภูมิทัศน์

พ.ศ. 2540

- นิทรรศการจิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่ 3

พ.ศ. 2541 - นิทรรศการวิทยานิพนธ์ ประจำ�ปีการศึกษา 2540 ของนักศึกษา คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - การแสดงผลงานจิตรกรรม มองสิงห์ผ่านศิลป์ 65 ปี บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่จำ�กัด พ.ศ. 2546

- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49 - การแสดงศิลปกรรม ปตท.ครั้งที่ 18

พ.ศ. 2555 - นิทรรศการศิลปกรรม เพื่อช่วยเหลือทารกเกิดก่อนกำ�หนด โดยโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดา และทารก เพื่อครอบครัวเด็กและเยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ

56

57


เกียรติประวัติ พ.ศ. 2544

- ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษา จาก “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์”

พ.ศ. 2546

- รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49

..........ผมขอรำ�ลึกถึงพระคุณ พ่อ และ แม่ ทีหล่อหลอมให้ผมมีทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าในตอนนี้แม่จะจากผมไปแล้ว ด้วยอาการป่วย แต่ท่านก็เป็นผู้ทำ�ให้ชีวิตครอบครัวที่บ้านเกิด จังหวัดเพชรบุรีของผมนั้น เป็นแรงบันดาลใจที่สำ�คัญในการสร้างผลงานผลงานศิลปะชุดนี้ ลูกขอขอบพระคุณ......... ขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่าน ที่อบรมสั่งสอน แนะนำ� ชี้ทางให้ผมตลอดมา ขอบคุณผู้มีพระคุณหลายๆท่าน ที่สนับสนุนให้โอกาส ไม่เคยทอดทิ้งกัน ขอบคุณ พี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ทุกคน ที่คอยให้กำ�ลังใจกันเสมอ

กิจกรรม - ได้เข้าร่วมโครงการ ART CAMP ของ กองทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 -2555

และขอขอบคุณ คุณศุภโชค อังคสุวรรณศิริ และ ทีมงาน Subhashok The Arts Centre ที่ให้การสนับสนุน ชื่นชอบในผลงานของผมและร่วมเป็นแรงผลักดันให้นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในชีวิตของผม “ THE REALITY OF SIMPLE LIFESTLYE ” ครั้งนี้สำ�เร็จขึ้นมาได้

- ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับ กลุ่มคนรักป่าแก่งกระจาน,สำ�นักงานวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบุรีและ สสส.

ประสบการณ์ - เป็นอาจารย์พิเศษ สอนศิลปะระดับปริญญาตรีที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตพระนครใต้ และวิทยาเขตเพาะช่าง - เป็นวิทยากร โครงการอบรมศิลปะหลักสูตร จิตรกรรมเทคนิคสีน้ำ�และสีน้ำ�มัน จัดโดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร(เป็นเวลา 9 ปี) - เป็นศิลปินในสังกัด S.A.C. Subhashok The Arts Centre ให้โอกาสสร้างสรรค์ผลงาน และจัดแสดงเป็นเวลา 1 ปี (พ.ศ.2555 – พ.ศ.2556)

ด้วยความเคารพ ชัยวุฒิ เทียมปาน

เรียบเรียงโดย สุ​ุภิตา เจริญวัฒนมงคล ภฤศภัค ช่อสกุล ถ่ายภาพโดย อรรทวิท บุญวรรณ ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์โดย ศรุดา สวนสะอาด อำ�นวยการผลิตโดย คุณศุภโชค อังคสุวรรณศิริ ประธานบริหารหอศิลป์ S.A.C. คุณสิทธิกาจ อังคสุวรรณศิริ กรรมการบริหารหอศิลป์ S.A.C. คุณสุภิตา เจริญวัฒนมงคล ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ S.A.C. คุณสุชาดา กลิ่นชั้น ผู้จัดการหอศิลป์ S.A.C.

58

59



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.