รูปวาดอาหารของชัยวุฒิ เทียมปาน / Mooh's article for the reality of simple lifestyle exhibition

Page 1

รู ปวาดอาหารของชัยวุฒิ เทียมปาน โดย ภฤศภัค ช่อสกุล เมื่อนานมาแล้ วครัง้ เรี ยนประวัติศาสตร์ ศิลป์ จําได้ ว่าอาจารย์ได้ เล่าเรื่ องราวเกี่ยวกับการแข่งขัน ของจิตรกรเอกคูห่ นึง่ เป็ นครัง้ แรก ไม่ทราบว่าเป็ นเรื่ องจริ งหรื อเรื่ องแต่งแต่ประการใด ว่ากันว่าเป็ นเรื่ องเล่า จากนิ ทานอีสป1สมัยกรี กโรมัน (ผู้เขียนสมมุตฐิ านว่าได้ รับการปรับแต่งเรื่ อยมาในสมัยศริ สต์ศตวรรษที่ 1517 หรื อในยุคสมัยที่งานจิตรกรรมภาพเหมือนเป็ นที่นิยมอย่างกว้ างขวาง เนื่องจากในสมัยกรี ก-โรมัน หรื อ ยุคคลาสสิกนัน้ นิยมงานประติมากรรม งานจิตรกรรมมีเพียงตกแต่งบนเครื่ องใช้ และจิตรกรรมฝาผนัง) เรื่ องเล่ามีอยูว่ า่ “...ในงานการแข่งขันประกวดภาพวาดเพื่อเฟ้นหาผู้ที่วาดรูปได้ เก่งและเหมือนที่สดุ ในยุคนัน้ ได้ มี จิตรกรเอกสองคนที่ถือได้ ว่ามีฝีมือไล่เลี่ยเบียดสูสีกนั มาลงเข้ าประกวด นามว่า ‘จิออตโต’ และ ‘ฟรานซิส’ เมื่อวันการตัดสินผลงานมาถึงศิลปิ นทังสองได้ ้ นําภาพมาวางเพื่อทําการประชันฝี มือกัน จิออตโตนําภาพ ออกมาให้ ชมก่อน เป็ นภาพองุ่นสีมว่ งอมแดงเปล่งปลัง่ แวววาวต้ องแสงแดด และเหมือนจริ งเป็ นอย่างมาก จนมี น กตัว หนึ่ ง หลงบิ น ลงมาจิ ก ที่ ผ ลองุ่น ในภาพ ด้ ว ยคิ ด ว่ า เป็ นพวงองุ่น จริ ง ฝูง ชนต่า งก็ ฮื อ ฮาใน ความสามารถของจิออตโต ว่าวาดเหมือนแม้ กระทัง่ นกยังนึกว่าเป็ นผลไม้ จริง จิออตโตคิดกระหยิ่งยิ ้มย่อง ในความเก่งของตนและท้ าทายให้ อีกฝ่ ายนําภาพออกมาให้ ได้ ประชันกันเสียที ฝ่ ายฟรานซิส นันบอกว่ ้ า ภาพของตนคลุมผ้ าอยู่ จิออตโตก็กล่าวให้ เปิ ดผ้ าม่านที่บงั ภาพอยู่ออก เสียสิ กรรมการและผู้ชมจะได้ ประจักษ์ ตดั สินกันด้ วยสายตาไปเลย ว่าใครกันแน่ที่สดุ ยอดกว่ากัน ฟราน ซิส กล่าวนิ่งๆว่า ภาพของข้ านันเปิ ้ ดอยูน่ านแล้ ว ฝูงชนต่างทึ่งกับภาพตรงหน้ า ภาพผ้ าม่านที่ทกุ คนคิดว่า ั ้ ใช่ผ้า แท้ จริ งแล้ วมันคือภาพวาดบนผืนผ้ าใบเรี ยบๆจากฝี มือของจิตรกรเอง ด้ วย คลุมกรอบผ้ าใบอยู่นนมิ เหตุนี ้จิออตโตจึงยอมรับความพ่ายแพ้ แต่โดยดีว่าฝ่ ายตรงข้ ามมีฝีมือเหนือกว่ามาก เพราะจิตรกรคนแรก นัน้ หลอกได้ เ พี ยงแค่น ก สัตว์ ปีกสองขาให้ ห ลงเข้ า ใจผิ ด แต่ท ว่า จิ ตรกรอี ก คนกลับ วาดภาพหลอกได้ 1

อีสป (Aesop – ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริ สตกาล) นักเล่านิทานชาวกรี ก เชื่อว่าเป็ นบุคคลที่มีหน้ าตาอัปลักษณ์ แต่เดิมเคย เป็ นทาสมาก่อน แต่สามารถเป็ นไทได้ เพราะความสามารถในการพูดของตัวเอง เป็ นบุคคลที่ไหวพริ บปฏิภาณดีเยี่ยม และเก่งกาจการพูดเจรจา ในตํานานกรี กโบราณ เชื่อกันว่าอีสปเล่านิทานที่รวบรวมมาจากหลายแหล่ง หรื อที่เรี ยกกัน ว่า “นิทานอีสป” เป็ นนิทานสอนคนทัว่ ไปในด้ านศีลธรรมโดยใช้ สตั ว์ตา่ งๆ เป็ นตัวละคร ซึง่ ได้ รับความนิยมนํามาเล่าต่อ กันอย่างแพร่หลาย และต่อมา Jean de La Fontaine กวีชาวฝรั่งเศสได้ นํามาเรี ยบเรี ยงใหม่เป็ นร้ อยกรองที่ค่อนข้ างเกิน จริงแต่มีชีวิตชีวาเมื่อปี ค.ศ. 1668 1


แม้ กระทัง่ คน ซึง่ มีสมองที่ใหญ่กว่าสัตว์ทงหลายให้ ั้ เชื่ออย่างสนิทใจว่ามีผืนผ้ าม่านบังผลงานอยู่ ฟรานซิส จิตรกรคนที่สองจึงได้ รับชัยชนะไป และได้ รับการยกย่องว่าเป็ นจิตรกรที่วาดภาพได้ เก่งที่สดุ จากฝี มือการ วาดภาพได้ เหมือนยิ่งกว่าเหมือน... ” ั ้ มากมายกว่าที่คิด นิทานเรื่ องนี ้สอนให้ ร้ ูวา่ อย่าเชื่อทันทีในสิง่ ที่เห็น ความสามารถของมนุษย์นนมี จงอย่าเชื่อในสายตาตนเองถ้ าเพียงแค่มองฉาบฉวย แต่มิได้ ใช้ วิจารณญาณพิจารณาสิ่งที่เห็นให้ แน่ชัด เสียก่อน ต้ องมองให้ ลึกลงไปในเจตนา ด้ วยสติสมั ปชัญญะของผู้ชมเอง ถึงจะเข้ าใจและรู้ ในสิ่งที่เขา ต้ องการจะสื่อ และฝี มือของมนุษย์ที่สามารถหลอกแม้ กระทัง่ มนุษย์ด้วยกันได้ นนยิ ั ้ ่งน่ากลัวกว่า ระดับ ฝี มือที่วาดเหมือน สวยงาม แต่ผ้ ดู สู ามารถแยกแยะออกได้ ว่าชิ ้นไหนเป็ นการสร้ างสรรค์ศิลปะหรื อชิ ้นไหน เป็ นของจริ ง และในปั จจุบนั จะมีศิลปิ นสักกี่คนที่รังสรรค์ผลงานออกมาได้ อย่างฟรานซิสบ้ าง หรื อจะมี ภาพสักกี่ ภาพที่เมื่อมองดูแล้ วเกิดข้ อคําถามขึ ้นในใจ สงสัยข้ องใจในเทคนิควิธีการ และอะไรที่แฝงอยู่ เบื อ้ งหลัง ภาพจานอาหารบนโต๊ ะ ใบนี ้ หากแต่เ ราอาจจะรู้ สึก เกิ ด ข้ อ สงสัย เช่ น นี ไ้ ด้ เมื่ อ ชมผลงาน ศิ ลปกรรม2 ในนิทรรศการ “The Reality of Simple Lifestyle” ของ ชัยวุฒิ เทียมปาน

“ปลาเค็มทอด” (Fried Salted Fish), 81x87.5 cm., oil on canvas, 2544 อย่างเช่นภาพสีนํา้ มันบนผ้ าใบชื่อ “ปลาเค็มทอด” (Fried เซนติเมตร ผลงานเมื่อปี 2544

Salted

Fish) ขนาด 81x87.5

ภาพปลาเค็มทอด 2 ชิ ้น มีสีหลืองสุกกรอบดูน่ากิน ประสาทสัมผัส

2

ศิลปกรรม (สิน-ละ-ปะ-กัม) (ภาษาอังกฤษ "work of art" หรื อ "art") ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ ความหมายว่า สิ่ งทีเ่ ป็ นศิ ลปะ สิ่ งที ส่ ร้างสรรค์ขึ้นเป็ นศิ ลปะ หรื อเป็ นสิ่ งที ม่ นุษย์ สร้างขึ้น ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่เองตาม ธรรมชาติ และเป็ นสิ่ งทีม่ นุษย์สร้างขึ้นให้มีความสวยงาม เพื่อความงามหรื อสุนทรี ยภาพ 2


จินตนาการไปว่าได้ รับกลิ่นหอมโฉยมา จัดบนจานกระเบื ้องมันวาวสีขาวเนียน จานถูกวางบนโต๊ ะไม้ สี เข้ ม ยิ่งขับให้ ตวั จานอาหารเด่นปะทะกับสายตาผู้ชม เมื่อดูแล้ วอาจเกิดความคิดที่ว่าภาพจิตรกรรมชิ ้นนี ้ นันคื ้ องานจิตรกรรมจริ งหรื อ หรื อแค่งานภาพถ่ายแล้ วปรับแต่งด้ วยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ ให้ ดคู ล้ าย ภาพวาดสีนํ ้ามันแล้ วปริ๊ นท์อิงค์เจ็ตลงผ้ าใบ หรื อ ปริ๊ นท์ภาพลงผ้ าใบบางๆก่อน แล้ วจึงค่อยระบายสีตาม ให้ เหมือนกับต้ นแบบ เพราะเหตุใดเมื่อดูผลงานของศิลปิ นผู้นีแ้ ล้ วถึงเกิดความฉงนสงสัยและสับสนได้ ผู้ชมส่วนใหญ่เกิดความรู้สกึ และเกิดคําถามขึ ้นในใจเมื่อดูภาพเหล่า‘อาหาร’ บนโต๊ ะต่างๆของชัยวุฒิ “อ่ะ อันนี ้เพ้ นท์หรอ นึกว่าภาพของจริ ง!” “เห็นแล้ วรู้สกึ หิว อยากกลับบ้ านไปกินข้ าวเลย” มักจะได้ ยินเสียงลํ่า ลืออื ้ออึงเล่านี ้เป็ นปกติ ชัยวุฒิ เทียมปาน ศิลปิ นจากเมืองเพชรบุรี เกิดและเติบโตในชีวิตความเป็ นอยู่อย่างเรี ยบง่าย แบบชนบท

ละแวกชุมชนเป็ นวิถีชีวิตสังคมเกษตรกรรรม สัมผัสกับสิ่งแวดล้ อมที่มีความสงบ ร่ มรื่ น

พึง่ พาอาศัยธรรมชาติและภูมิปัญญาไทยท้ องถิ่น บ้ านก็อยูบ่ ้ านไม้ มีความใกล้ ชิดสนิทสนมกับเครื อญาติ เป็ นสังคมที่อบอุ่น มีนํ ้าใจ มูลค่าเงินตราต่างๆ ดูจะเป็ นสิ่งที่มีความจําเป็ นน้ อยกว่าความเอื ้อเฟื อ้ เผื่อแผ่ กัน งานบุญงานกุศลก็จะช่วยกันลงแรง อาหารในแต่ละมื ้อผู้เป็ นแม่จะเก็บเกี่ยวเอาพืชผักสวนครัวที่ปลูก ในบริ เวณบ้ านนํามาประกอบอาหาร อาหารก็เป็ นอาหารไทยที่รับประทานแบบง่ายๆสามารถพบเห็นได้ ทัว่ ไป โดยแบ่งประเภทหลากหลายตามมื ้ออาหาร อาทิเช่น มื ้อเช้ า ส่วนใหญ่จะเป็ นอาหารที่ทานง่าย ไม่หนักท้ อง เช่น นํ ้าชา กาแฟ นํ ้าเต้ าหู้ปาท่องโก๋ หรื อ โจ๊ ก ส่วนมื ้อกลางวัน จะรับประทานนอกบ้ านหรื อทํากันตอนสายๆ นิยมเป็ นก๋วยเตี๋ยว หรื ออาหารตาม สัง่ และสุดท้ ายที่มื ้อเย็นจะเน้ นเป็ นมื ้อสําคัญ เหตุเพราะสมาชิกในบ้ านจะกลับมาทานข้ าวที่บ้าน มีเวลา ั ้ ม ผัด แกง ทอด เช่น นํ ้าพริ กกับผักต้ ม ปลาทูทอด ปลาเค็มทอด ปลาสารพัดที่ ทําอาหารกันเต็มที่ทงต้ จะนํามาทอดได้ แกงจืด ไข่เจียว ไข่เค็ม เป็ นต้ น ในมื ้อของขนมและของว่างหลังมื ้ออาหาร มีมากมาย ้ น หรื อขนมหวานที่จดั ขึ ้นตามช่วงเวลาเทศกาล หลากหลาย มีขายกันอยู่ทวั่ ไปสามารถหาได้ ตลอดทังวั หรื องานประเพณี ซึง่ เป็ นรูปแบบของอาหารเฉพาะถิ่น ล้ วนให้ สีสนั และบรรยากาศของงานเทศกาลนันๆ ้ ศิลปิ นชื่นชอบและมีความสุขกับการดําเนินชีวิต ด้ วยความเป็ นอยู่อย่างสุขสงบแบบไทยชนบท ชาวบ้ านอยู่กนั ได้ ด้วยอารยธรรมของความชอบและเชื่อมัน่ ในความดีงาม ที่แต่ละคนสามารถรับรู้ ได้ ด้วย การปฏิบตั ิต่อกัน เป็ นวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี มีความเข้ าใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม รอบๆตัว จนเกิดความพอดีเหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็ นอยู่แบบเรี ยบง่ายและสมถะ ซึง่ บรรยายกาศ เหล่านี ้นับวันจะเลือนหายไปจากเดิม ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างท่ามกลางกระแสของวัฒนธรรมสมัยใหม่ ที่ 3


กําลังจะเปลี่ยนไปตามความเจริญก้ าวหน้ าทางวิทยาการและเทคโนโลยี เช่น การทํามาหากินของผู้คนใน ปั จจุบนั แตกต่างไปจากเดิม ทุกคนต่างเข้ าไปทํางานในเมือง ไม่มีเวลาทํากับข้ าวกินเอง พึง่ พาอาหารหรื อ กับข้ าวสําเร็ จรูปแทน ดังนันด้ ้ วยเหตุนี ้ศิลปิ นเองก็เป็ นคนหนึ่งที่ต้องเดินทางไกลข้ ามจังหวัดเพื่อการศึกษา และการทํางาน เมื่อยามที่ศิลปิ นคิดถึงบ้ าน คิดถึงครอบครัว จึงต้ องการสะท้ อนมุมมองที่ตนเองชื่นชม และประทับใจจากสิง่ ใกล้ ตวั ภายในบ้ าน เพื่อระลึกและยํ ้าเตือนคนไทยทุกคนถึงวิถีชีวิตความเป็ นอยู่อย่าง ไทย ด้ วยแรงกระตุ้นที่ถูกผลักดันจากแก่นสารัตถะของชีวิตสามัญที่อยู่ในเบื ้องลึกของจิตใจ ผ่านการ แสดงออกในรู ป แบบ "จิ ต รกรรมสั จ นิ ย มแบบภาพถ่ า ย" หรื อ ที่ ร้ ู จัก กัน ในนาม "โฟโต้ เ รี ย ลลิ ส ม์ " (Photo-Realism) งานจิ ต รกรรมในแนวทางนี ไ้ ม่ค่อ ยปรากฏในวงการศิล ปะไทยเท่ า ใดนัก จะพบก็ เ ห็ น จะมี แ ค่ “เหมือนจริ ง” หรื อ Realism ไม่วา่ จะวาดเหมือนจากรูปถ่ายเป็ นต้ นแบบ หรื อจัดหุ่นจริ งเป็ นต้ นแบบก็ตาม โดยศิลปิ นส่วนมากอาจมีข้อมูลจากรู ปถ่ายก็จริ ง แต่ล้วนใส่องค์ประกอบใหม่ มุมมองใหม่ เทคนิค ที แปรง สีสนั ใหม่ๆ ตามจินตนาการที่ตนพึงพอใจ ซึ่งเมื่อเทียบกับต้ นฉบับห่างจากในรู ปถ่ายอยู่มิใช่น้อย "จิ ตรกรรมสัจนิ ยมแบบภาพถ่ าย" หรื อ "โฟโต้เรี ยลลิ สม์ " (Photo-Realism)3 จึงเป็ นแนวทางงานที่ เน้ น ความเหมือนจริ งมากๆ เป็ นภาพเขียนที่พยายามจะเขียนให้ เหมือนจริ งแบบ ‘ภาพถ่าย’ เหมือนจริ งแบบภาพเขียนหรื อภาพจิตรกรรม

ไม่ใช่เขียนให้

หรื ออาจจะพูดได้ ว่า “หัวเรื่ อง” ที่ศิลปิ นพวกนี ้เขียนคือ

“ภาพถ่าย”4 กล่าวคือถ้ าจิตรกรกลุ่มโฟโต้ เรี ยลลิสม์ เขียนภาพอาหาร พวกเขาจะมี “หัวเรื่ อง” เป็ น “ภาพถ่ายอาหาร” ภาพที่ผ้ ชู มจะได้ เห็นคือ “ภาพเขียนภาพถ่ายอาหาร” ซึง่ ต่างจากงานเขียนภาพเหมือน ทัว่ ไป ในยุคของศิลปะสมัยใหม่ ปี ค.ศ.1970 บรรดาศิลปิ นที่ชอบแสวงหาหรื อเปลี่ยนแปลงแนวคิด เริ่ ม เบื่อกับแนวคิดเดิมๆ ศิลปิ นเหล่านันจึ ้ งหันกลับมามองดูโลกที่ล้อมรอบตนเองอยู่ในขณะนันในแง่ ้ ที่เป็ นจริ ง มากขึ ้น เหมือนจริ งทังในด้ ้ านของรู ปแบบและเนื ้อหา เป็ นการหวนกลับมาของศิลปิ นในแนวเหมือนจริ ง แม้ ว่าการเขียนลอกภาพถ่าย ดูจะห่างไกลจากรูปแบบการเขียนภาพที่มีลกั ษณะเฉพาะตัว แต่จิตรกร โฟ โต้ เรี ยลลิสม์ ต่างก็มี “ประเด็น” เฉพาะตนที่ไม่ซํ ้ากัน และให้ ความสนใจในเชิงของภาพถ่ายที่มีความ คมชัดมากๆ แม้ ว่าจะดูแบนและทุกอย่างดูคมชัดเท่ากันไปหมด แบนมากกว่าภาพเขียนเหมือนจริ งที่ 3

นิยมมากในอเมริ กาในช่วงต้ นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ต้ นคริ สต์ทศวรรษ 1960 – ปลาย 1970)

4

สุธี คุณาวิชยานนท์, Modern and Contemporary Art ศัพท์ ลัทธิ และความเคลื่อนไหวทางศิลปะร่วมสมัย (เอกสาร สําเนา) 4


สามารถเขียนเน้ นระยะใกล้ ไกลได้ อย่างมีมิติลวงตา ซึ่งผิดกับชัยวุฒิ เทียมปาน ถึงแม้ ว่าเขาจะมีแนว ทางการสร้ างผลงานโดยใช้ การเก็บบันทึกข้ อมูลต่างๆจากภาพถ่าย รวบรวมมาเป็ นภาพต้ นแบบ หันมา มองวิถีสงั คมในลักษณะของข้ อมูลที่เป็ นกลาง ไม่แสดงอารมณ์ และความรู้ สึก นําเสนอเน้ นการเข้ าถึง สภาพความเป็ นจริ งที่เป็ นอยู่ในปั จจุบนั สอดคล้ องกับวิธีการของศิลปิ นในกลุ่มโฟโตเรี ยลลิสม์แล้ วก็ตาม แต่กลับทําให้ ชยั วุฒิร้ ู สึกถึงภาพที่ออกมาของความแข็งกระด้ าง ซึง่ ขัดกับลักษณะนิสยั ส่วนตัวของศิลปิ น ถึงแม้ จะเป็ นคนขยันขันแข็ง ตรงไปตรงมา แต่ก็มีความรู้สกึ โอนอ่อน นุ่มนวลในที ศิลปิ นจึงปรับเปลี่ยนเนื ้อหาให้ เหมาะสม โดยนําเสนอให้ เห็นถึงคุณค่าและความสวยงามของวีถี ชีวิตในสังคมไทย ให้ ความสําคัญตังแต่ ้ ขนตอนการถ่ ั้ ายภาพ จัดองค์ประกอบเรื่ องราวเนื ้อหาตลอดจน ทัศนธาตุต่างๆเปรี ยบเสมือนเป็ นแบบร่าง (Sketch) ไปในตัว ฝึ กฝนให้ เกิดความชํานาญในการถ่ายภาพ ให้ มี เทคนิ คที่ สูง ขึน้ ปรั บจุด โฟกัสใกล้ ไกลในระยะที่ ต้องการจะเน้ น อย่างเช่นภาพ “ผั ก - นํ้ า พริ ก ” (Vegetables & Chili Paste)

“ผัก- นํ้าพริ ก”(Vegetables & Chili Paste),140x180 cm., oil on canvas, 2555 โดยจะเน้ นในจุดหลักของภาพ นัน่ คือเน้ นที่อาหารให้ คมชัด หรื อทิ ้งพื ้นที่ว่าง (Space) เป็ นการ บังคับสายตาผู้ชมให้ มองไปยังจุดที่ต้องการ แล้ วจึงตัดโฟกัสในส่วนที่รองลงมา หรื อบางทีองค์ประกอบ รองศิลปิ นจะใช้ วิธีตดั ตกกรอบภาพ (Frame) ไปเพื่อไม่ให้ เป็ นจุดสนใจ และศิลปิ นจะเบลอ หรื อลดความ คมชัดให้ ดูมวั ๆให้ เหมือนมองจากเลนส์กล้ องในส่วนสุดท้ ายอย่างเช่นที่พื ้นหลัง (Background) ดังนัน้ ผลงานที่ปรากฏออกมาของชัยวุฒิจึงต่างออกไปจากภาพโฟโต้ เรี ยลลิสม์ทวั่ ไป ศิลปิ นเขียนภาพในแนวนี ้ มิได้ เขียนให้ มีลกั ษณะเช่นเดียวกันกับภาพถ่ายเท่านัน้ แต่เขาได้ พยายามสอดแทรกความเป็ นศิลปะลงใน งานตามแนวถนัดของตน จึงมีความเป็ นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว ดังจะเห็นได้ จากการให้ ความสําคัญกับ บรรยากาศ ความคมชัดของภาพ เกิดระยะและความลึก องค์ประกอบ อารมณ์ ความรู้ สึก และความ สวยงามกลมกลืมอย่างมีเอกภาพให้ เกิดขึ ้นในงานจิตรกรรม 5


นอกเหนือจากนันการเขี ้ ยนศิลปิ นมีวิธีการการวาดเค้ าโครงภาพ การลงสี (Paint) หรื อการผสมสี ให้ เหมือนเป็ นเทคนิคเฉพาะตัว ที่ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ วนับไม่ถ้วน สัง่ สมเป็ นประสบการณ์วาด ภาพจิตรกรรมโฟโต้ เรี ยลลิสม์เป็ น 10 ปี ไม่เคยรู้ สกึ เบื่อหน่าย และยังคงทําต่อไปจนถึงทุกวันนี ้ และ ปรั บเปลี่ยนเทคนิ คในการเชี ยนภาพให้ เหมือนดังต้ นแบบจนเกิ ดเป็ นความชํ านาญ เริ่ มที่ จะเข้ าใจถึง ลักษณะของความแตกต่างระหว่างพื ้นผิวต่างๆ โดยภาพของชัยวุฒิดคู ล้ ายมีลกั ษณะพิเศษ คือ คล้ ายมี การฉาบเคลือบชันสี ้ บางๆ หรื อฟิ วเตอร์ (Filter) สีทึมๆอยู่บนผิวหน้ าของชิ ้นงาน ทําให้ เกิดเป็ นบรรยากาศ ของภาพจากการที่ศลิ ปิ นรองพื ้นด้ วยสีดําหรื อสีเข้ มไว้ ก่อนหนึง่ ชัน้ แล้ วจึงขึ ้นโครงภาพ ซึ่ ง โครงร่ า งของภาพนี ศ้ ิ ล ปิ นใช้ วิ ธี ที่ เ ก่ า แก่ โ บราณมากๆ ถ้ านับ กับ โลกในยุ ค ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย วิวฒ ั นาการณ์อนั ลํ ้าสมัย ถ้ าเป็ นศิลปิ นคนอื่นเราคงเดาทางได้ ว่าอาจจะใช้ เครื่ องฉายสไลด์ หรื อโปรเจ็ค เตอร์ ตอ่ กับคอมพิวเตอร์ ฉายรู ปถ่ายขึ ้นบนเฟรมเลย หรื อใหม่กว่านันอาจจะอิ ้ ้งเจ็ตลงบนผ้ าใบสีบางๆแล้ ว เพ้ นท์ตามก็เป็ นได้ แต่เปล่าเลยทุกอย่างที่กล่าวมาศิลปิ นให้ ความเห็นว่าภาพที่ออกมาจะรู้สกึ แข็งทื่อ ไม่ดู เป็ นธรรมชาติ เพราะเวลาวาดจะเกิดการเกร็ งให้ เป็ นไปตามแบบ ศิลปิ นใช้ วิธีการร่ างสดด้ วยการตีสเกล เป็ นช่องๆตามวิธีคนรุ่ น เก่า โบราณหน่อยแต่แน่นอน ตีสเกลในรู ปถ่ ายและบนพืน้ ผ้ าใบให้ มีสัดส่ว น ้ งและแนวทะแยง ้ แล้ วแต่เราจะซอยให้ ละเอียดแค่ไหนก็ได้ ตามแต่ต้องการ ถ้ า เดียวกันทังแนวนอนแนวตั ตรงส่วนพื ้นหลังก็ตีช่องห่างๆได้ ส่วนตรงจุดสําคัญต้ องเก็บรายละเอียดมากๆ ซอยช่องเพิ่มได้ อีก แล้ วจึง ลงสีจากรอบนอกที่ไม่มีรายละเอียดมาก ไล่เข้ าหาด้ านในเรื่ อยๆ และค่อยๆเน้ นเก็บตรงส่วนของจุดเด่นที่ ละเล็กละน้ อย ไปตามช่องแต่ละช่อง ซึง่ ศิลปิ นกล่าวว่าที่ไม่เบื่อหรื อเหนื่อยนัน้ อาจเป็ นเพราะรู้สกึ สนุกไปกับมัน รู้สกึ ว่าเป็ นความท้ า ทายใหม่ๆ ที่ได้ ลองทําได้ ลองวาดในสิ่งที่ตนอยากจะทํา ได้ พยายามจนถึงที่สดุ แล้ วว่าตนเองนัน้ ทําได้ การสร้ างผลงานในแต่ละแบบก็เปรี ยบเสมือนบททดสอบความรู้ ความสามารถที่ได้ รํ่าเรี ยนในเชิงศิลปะ ยืนยันในจุดยืนที่ต้องการนําเสนอเนื ้อหาสาระ ช่องแต่ละช่องที่ลงสีลงไปนันเปรี ้ ยบเสมือนงานนามธรรม ชิ ้นเล็กๆ เป็ นจุดสีที่จุดป้ายไปป้ายมา เกลี่ยร่ องรอยทีแปรงให้ เนียนเหลือเพียงพื ้นที่ของสีสนั ช่องเล็กๆ เล่านันเปรี ้ ยบเสมือนดัง่ ‘จิ๊ กซอ’ ชิ ้นเล็กๆ ที่รอให้ ศิลปิ นมาเริ่ มต่อติดมัน จากขอบนึง สูอ่ ีกขอบนึง ใกล้ เข้ ามาๆ จนในที่สุดช่องสีนามธรรมนัน้ ก็ประกอบกันเป็ นเส้ น เป็ นรู ปร่ าง เค้ าโครงของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มี ความหมายในเชิงของรูปธรรม จากช่องสีที่ดไู ม่ร้ ูเรื่ อง เป็ นสิ่งที่ไม่มีความหมาย แต่กลับกลายเป็ นภาพ ขนาดใหญ่เด่นชัดออกมา ภาพที่ทกุ คนดูร้ ูเรื่ องและเข้ าใจในทันทีวา่ คือสิง่ ใด เกิดเป็ นเรื่ องราว เนื ้อหา และ

6


รู ปทรงในการแสดงออก เพื่อสะท้ อนให้ เห็นถึงชีวิตประจําวัน และสภาวะแวดล้ อมต่าง ๆ หรื อกิจกรรมที่ กําลังดําเนินอยูใ่ นขณะนัน้ ดัง่ แนวทางการสร้ างสรรค์ของโฟโต้เรี ยลลิ สม์ (Photo-Realism) ตังแต่ ้ แรก นัน่ คือ ความงามจาก สิ่งธรรมดาสามัญที่อยู่ใกล้ ตัว ซึ่งยังคงคุณค่ าและมีเรื่ องราวบอกเล่ าในตัวของมันเอง สามารถ สื่อถึง และสั มผัสรั บรู้ เรื่ องราวที่นําเสนอได้ ทันที โดยไม่ต้องการที่จะเสริ มเติม แต่ง ตัดทอนหรื อ เปรี ยบเทียบว่าสิง่ ใดดีกว่ากัน งานที่แสดงออกซึง่ ความกระจ่างชัดและตรงไปตรงมา ศิลปิ นขียนภาพให้ มี ความชัดเจนและมี ความคมเหนือภาพถ่าย ถ่ายทอดสิ่งซึง่ อยู่ในภาพถ่ายมาเป็ นงานจิตรกรรมที่ให้ คณ ุ ค่า ทางจิ ตใจ นอกจาก ความเสมือนจริ งแล้ วยังช่วยให้ เกิ ดผลกระทบต่อผู้ชมอีกด้ วย สนับสนุนด้ วยวลี ที่ว่า "To Intensify The Normal" 5 ของ Paul Cadden ศิลปิ นแนวอภิ เสมื อนจริ ง หรื อ Hyper-Realism ที่ถ่ายทอดกิจกรรมธรรมดาในสังคม ทว่าสร้ างผลกระทบอย่างโดดเด่นทางอารมณ์และความสวยงาม ที่ เน้ นมุมมองจากภายในของภาพมากกว่าที่จะเน้ นแต่รายละเอียดภายนอกของภาพแต่เพียงอย่างเดียว ถึงแม้ ศิลปิ นโฟโต้ เรี ยลลิสม์จะถูกดูถกู จากหลายฝ่ าย ถึงการกล่าวหาว่าเป็ นผู้ที่ไร้ ความสามารถ และไม่มีหวั ในการสร้ างสรรค์ เป็ นการลอกเลียนแบบหรื อเป็ นนักก็อปปี ท้ ี่เก่งอย่างเดียวแต่ไม่มีความคิด ทังๆที ้ ่การเขียนภาพจากภาพถ่ายของศิลปิ นได้ มีมานานแล้ วตังแต่ ้ ศต.ที่ 19 ซึง่ หากดูเพียงผิวเผินจะรู้สกึ ว่าเป็ นงานที่ปราศจากความหมาย เป็ นเพียงการลอกรู ปถ่ายจานอาหารธรรมดา แต่หากดูอย่างพินิจ พิจารณาก็จะพบว่าเป็ นงานที่ แปลความหมายได้ ยาก เราเพียงแค่วาดให้ ถึงที่สุดของมัน สิ่งต่างๆ ที่ ปรากฏอยู่ในงานล้ วนจะบ่งบอกความหมายในตัวของมันเอง ซึง่ สอดคล้ องกับทฤษฎีของนักปรัชญาชาว ฝรั่งเศส วิคเตอร์ คูซัง (Victor Cousin) (ปี ค.ศ. 1818) ที่กล่าวคําว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (“Art for Art’s Sake” หรื อ “L’Art pour L’Art” ) กล่าวคือศิลปะไม่ควรหรื อไม่ต้องรับใช้ จดุ ประสงค์ทางศีลธรรมหรื อทาง สังคม และ “ศิลปะควรอยูด่ ้ วยตัวเองและปรากฎเป็ นการรับรู้สมั ผัสทางศิลปะด้ วยตาและหู โดยปราศจาก การเอาไปปะปนด้ วยอารมณ์ ที่แปลกปลอม อย่างเช่น การทําเพื่ออะไรต่ออะไร อุทิศให้ ความสงสาร เวทนา ความรัก ความรักชาติ และอื่นๆในทํานองนัน” ้ โดย เจมส์ วิสต์ เลอร์ (James Whistler) และยิ่ง เน้ นยํ ้าเข้ าไปอีกเมื่อนักปรัชญาเยอรมันจากคริ สต์ศตวรรษที่ 18 อย่าง อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ริเริ่มความคิดที่วา่ “ศิลปะนัน้ ควรถูกตัดสินด้ วยมาตรฐานของตัวมันเอง”

5

Matichon online , http://www.matichon.co.th/news_detail.php?, เข้ าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 7


ต่อด้ วย ชาร์ ลส โบเดอแลร์ (Charles Baudelaire 1821 – 1867)6 กวีและนักวิจารณ์ชาว ฝรั่งเศส ได้ นําแนวคิดเรื่ อง “ศิลปะเพื่อศิลปะ” มาให้ ความเห็นว่าควรให้ ความสําคัญแก่ศิลปะบริ สทุ ธิ์ โดยเน้ นที่เป้าหมายของศิลปะคือ ศิ ลปะหรื อความงาม ศิลปะต้ องไม่ม่งุ สอนศีลธรรมจรรยาและต้ องแยก ออกจากเรื่ องประโยชน์ใช้ สอย แนวคิดในการวิจารณ์ความงามของเขาเป็ นรากฐานสําคัญที่สนับสนุนงาน ศิลปะสมัยใหม่ โดยเห็น ว่าโลกนี ไ้ ม่มีคุณค่าความงามตายตัว หากแต่แตกต่างกันไปตามบุคคลและ วัฒนธรรม และศิลปิ นจะต้ องมีความเป็ นปั จเจกจึงจะสร้ างสรรค์ความงามขึ ้นมาได้ โดยจะต้ องหลีกหนี จากแนวคิดของการทําให้ ศิลปะกลายเป็ นสินค้ า (Commodification)

รวมไปถึงความยโสของ “ศิลปะ

กระแสหลัก” (Establishment Art) ซึง่ ถูกคุณค่าเชิงพาณิชย์ฉาบเคลือบจนทัว่ รุกคืบเข้ าไปในทุกภาคส่วน ของผลผลิตทางวัฒนธรรม ทําให้ ศิลปิ นบางส่วนเลือกที่จะหันหลังให้ กับธรรมเนียมปฏิบตั ิแบบเดิม ซึ่ง กําลังถูกจํากัดให้ อยูใ่ นสังคมวัตถุนิยม ดังนันเมื ้ ่อขณะกําลังเสพงานศิลป์ของชัยวุฒิ เทียมปาน อย่างดื่มดํ่าอยู่นนั ้ จงปล่อยให้ ศิลปะ ควรจะได้ รั บ การตัด สิ น ด้ ว ยตัว มัน เอง เกิ ด เป็ น“ศิ ล ปะเพื่ อ ศิ ล ปะ” ให้ อ งค์ ป ระกอบ ทัศ นธาตุ และ ้ ทํางานของมันอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องการการพิสจู น์ หรื อการอ้ างอิงสนันสนุ สุนทรี ยภาพที่เกิดขึ ้นนันได้ นทางสุนทรี ยศาสตร์ จนเกินปกติ ดังคําของศิลปิ นเอกประจําแนวทาง Photo – Realism นาม “ริชาร์ ด เอสเทส” (Richard Estes) ที่ให้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้ างสรรค์งานศิลปะว่า “งานศิลปะนัน้ หาก ศิลปิ นผู้ทํา พูดอธิบายงานของตนได้ น้อยเท่ าไหร่ ความสําเร็ จในงานของตนย่ อมมีมากเท่ านัน้ ” หมายความว่า หากศิลปิ นอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างในงานของตนพรํ่ าเพรื่ อและเกินความจําเป็ น จนกระทัง่ กลายเป็ นการบอกเล่ารายละเอียด ทําให้ ผ้ ชู มผลงานไม่ได้ ใช้ ความรู้ สึก ความคิด หรื อจินตนาการของ ตนเองเข้ าสัมผัสแล้ ว ผลงานนันๆก็ ้ อาจเป็ นเพียงภาพประกอบคําอธิบายและคุณค่าของงานก็ลดน้ อยลง ‘ผลงานศิ ล ปะที่ มี คุ ณ ค่ า อย่ า งแท้ จ ริ ง นั้ น ตั ว ศิ ล ปิ นเองไม่ จํ า เป็ นต้ อ งบรรยายสรรพคุ ณ มาก เพราะงานย่ อมจะต้ องแสดงตัวของมันเองให้ เป็ นที่ประจักษ์ ได้ ’

แต่อย่างไรก็ตามการแปล

ความหมายในงานศิลปะนันขึ ้ ้นอยู่กบั ประสบการณ์ ทัศนคติ ความเข้ าใจ รสนิยม การศึกษา และความ ซาบซึ ้งในงานศิลปะของแต่ละบุคคล ว่าจะมีมากน้ อยหรื อแตกต่างกันไปในลักษณะใด สิ่ ง ที่ ชั ย วุ ฒิ ต้ อ งการจะสื่ อ คื อ สิ่ ง ที่ อ ยู่ ห น้ าผู้ช ม บนผื น ผ้ า ใบนัน้ ชัย วุ ฒิ ว าดภาพของวิ ถี ชีวิตประจําวันของสังคมไทย ที่มีความเรี ยบง่ายและสมถะ ซึง่ เป็ นวิถีที่เขาใช้ ชีวิตผ่านมาจริ งๆ ถ้ าศิลปิ น 6

เดวิด คอตติงตัน (David Cottington), ศิลปะสมัยใหม่ ความรู้ฉบับพกพา (Modern Art, a very short introduction),

แปลโดย จณัญญา เตรี ยมอนุรักษ์ (กรุงเทพมหานคร : Openworlds, 2554) 8


อยูใ่ นเมืองอาจจะวาดรู ปอาหารฝรั่งเพื่อสะท้ อนความเป็ นเมืองก็เป็ นได้ แต่ศิลปิ นมีความจริ งใจทังในลั ้ ทธิ การสร้ างสรรค์และการแสดงออก แสดงคุณค่าของความงามจากสิ่งธรรมดาสามัญ ตามสภาพที่เป็ นจริ ง ในเรื่ องราวของวิถีชีวิต การบริ โภค อาหารการกินบนโต๊ ะอาหาร และข้ าวของเครื่ องใช้ ที่เป็ นปั จจัยหลัก พื ้นฐานของการดํารงชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างล้ วนอยู่ในชีวิตประจําวันของเราตามความเป็ นจริ ง ซึ่งการ ได้ รับประสบการณ์ในสิง่ ที่พบเห็นและคุ้นเคยอยู่ใกล้ ตวั เป็ นสิ่งสําคัญสําหรับการค้ นหาแนวทางอันนําไปสู่ การสร้ างสรรค์ นอกจากข้ าวของเครื่ องใช้ ก็เห็นจะเป็ น ‘อาหาร’ ชนิดต่างๆนี่ละ ที่ศิลปิ นนําเสนอออกมาเยอะสัก หน่อย ซึง่ อาหารแต่ละจานมาจากฝี มือทําครัวของแม่ ผู้เป็ นแม่เป็ นคนผลิตสร้ างสรรค์อาหารจานนันๆให้ ้ ครอบครัวได้ รับประทาน และชัยวุฒิ นําประสบการณ์ นนมาผลิ ั้ ตสร้ างสรรค์เป็ นผลงานที่มาจากอาหาร จานที่ทําจากฝี มือแม่อีกที คุณแม่ปรุงอาหารให้ ศิลปิ นได้ ทาน ลิ ้มรสความอร่อยในสัมผัส ซึง่ เป็ นรสชาติ ประจําตัวของผู้ปรุง “คนทีท่ ํากับข้าวทีอ่ ร่ อยทีส่ ดุ ในโลก คือ แม่เราเอง” แน่นอนที่สดุ เชื่อว่าทุกคนคิดเช่นนี ้ ุ แม่ทําให้ กินนันมาบั ้ นทึกภาพก่อน ชัยวุฒิก็เช่นเดียวกัน จึงคํานึงถึงอาหารจานนัน้ และนําเอาอาหารที่คณ รับประทานด้ วยกล้ อง ซึ่งเป็ นการบันทึกภาพก่อนรับประทานคนละบริ บทกับในปั จจุบนั ถ่ายทอดรู ป อาหารออกมาในรู ปแบบและเจตนาที่ตา่ งกัน ไม่ต้องพึง่ แอ๊ พพลิเคชัน่ (Application) ใดๆ หรื อโพสอวดลง อินสตราแกรม (Instragram) เหมือนอย่างใคร ก็สามารถถ่ายทอดอาหารจานนันให้ ้ เหมือนจริ งอย่างที่สดุ และจริงใจที่สดุ ได้ ด้วย ‘มือ สมอง และหัวใจ’ ของชัยวุฒิเอง เสมือนได้ รับรู้ ถึงรสชาติของมันไปพร้ อมๆกัน ทังสี ้ สนั และหน้ าตาที่ดนู ่ารับประทาน รับรู้ ได้ ถึง กิจกรรมของครอบครัวที่เกิดขึ ้นในทุกๆวันเป็ นกิจวัตร เป็ นการเก็บบันทึกรู ปลักษณ์ ด้วยกล้ อง แต่บนั ทึก รสชาติของอาหารนันด้ ้ วยจิตใจและประสาทสัมผัสการรับรู้ รสชาติทงั ้ 5

ผนวกกับประสบการณ์ จึง

้ อนจริ งจากรู ปถ่ายในสไตล์โฟโต้ เรี ยลลิส ถ่ายทอดด้ วยทักษะฝี มือ ผสมผสานกันเป็ นรู ปภาพทังความเหมื และความเหมือนด้ วยอารมณ์ ความรู้ สึกจากประสบการณ์ จริ งโดยตรง เป็ นความนุ่มนวลของภาพและ บรรยากาศในจุดที่พอเหมาะพอดี ความสมบูรณ์ในตัวชิ ้นงานจึงประสบผล จนกระทัง่ บางครัง้ แทบแยกไม่ ออกด้ วยซํ ้าว่าคือรูปวาดจากฝี มือคน

9


“ปลาทูทอด No.4” (Fried mackerel No.4), 85x102 cm., oil on canvas, 2556

การสร้ างสรรค์ศลิ ปะนัน้ ไม่ควรจะมีใครมากําหนด หรื อตังกฎเกณฑ์ ้ ว่า ศิลปิ นจะต้ องทํางานศิลปะ ในรู ปแบบนัน้ รู ปแบบนี ้ จึงจะเป็ นที่ยอมรับ การทํางานศิลปะเป็ นเรื่ องของความคิด ความพึงพอใจเฉพาะ บุคคล ศิลปิ นแต่ละคนมีสิทธิที่จะเขียนภาพจากสิ่งใดก็ได้ 7 ไม่ว่าจะภาพถ่ายหรื องานจิตรกรรมล้ วนให้ อิทธิพลความบันดาลใจซึง่ กันและกัน ภาพของศิลปิ น ‘ชัยวุฒิ เทียมปาน’ ก็เป็ นอีกเครื่ องแสดงหนึ่งที่ บ่งชี ้ให้ เห็นว่า การวาดภาพเสมือนจริ งตามอย่างรู ปถ่ายนันไม่ ้ ได้ จะดูแย่อย่างที่คิดเสมอไป ถ้ ากล่าว เปรี ยบงานศิลปะของชัยวุฒินัน้ เป็ นอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง คงเปรี ยบได้ กับอาหารที่ “กินดิบ” (Raw food) เป็ นการรังสรรค์อาหารจานพิเศษด้ วยวัตถุดิบที่มีคณ ุ ภาพ ไม่ได้ เลิศหรูเล่อค่าราคาแพง แต่เปี่ ยมไป ้ อนผ่านการปรุ งแต่ง ด้ วยความอร่ อยและสิ่งที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย และเป็ นพื ้นฐานของอาหารทังหมดก่ ใดๆ เลือกที่จะรับประทานสดๆเพื่อลิ ้มรสชาติที่แท้ จริงของ ‘ความเหมือนจริง’ที่อยูต่ รงหน้ าอย่างเต็มที่ ชัยวุฒิ เทียมปาน เปรี ยบดัง่ พ่อครัวที่สรรสร้ างความดิบในแนวทาง อีกทังยั ้ งปรุ งรสเครื่ องเคียง ด้ วยเทคนิคเฉพาะที่ต้องใช้ ความสามารถจากประสบการณ์ที่บม่ เพาะมาหลายปี กว่าจะตรึงตาตรึงใจผู้ชม ได้ เช่นนี ้ งานจิตรกรรมโฟโต้ เรี ยลลิสม์ชิ ้นต่างๆจึงเป็ นงานของนักคิดและนักปฏิบตั ิรวมกัน มิใช่นกั ก็อปปี ้ คัดลอกภาพอย่างที่ใครๆกล่าวหา ดังนันหากศิ ้ ลปิ นขาดทัง้ ฝี มือที่เฉี ยบคม ความจริ งใจในการทํางาน ศิลปะ และความคิดสร้ างสรรค์เพื่อพัฒนาความน่าสนใจของภาพแล้ วนัน้ งานที่ดีคงจะเกิดขึ ้นไม่ได้ อย่าง แน่นอน

7

สมพร รอดบุญ, จิตรกรรมโฟโต้ เรี ยลลิสม์ , http://www.finearts.cmu.ac.th.,เข้ าถึงเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556 10


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.