CLMV Pulse ชีพจรอาเซียน-พฤติกรรมผู้บริโภคประเทศเวียดนาม

Page 1

CAMBODIA

CLMV Pulse เวียดนาม

VIETNAM

MYANMAR

LAOS

ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศเวียดนาม

สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น



CLMV PULSE: ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศเวียดนาม

เวี ย ดนาม

ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น


หัวหน้าทีมวิจัย Ms. Mu Mu Thient, Yangon, Myanmar Dr. Phouphet KYOPHILAVONG, Laos National University, Vientiane, Laos Dr. Nguyen Luu Bao Doan, Hoa Sen University, Ho Chi Minh City, Vietnam Vin Spoann, Royal University of Phnom Penh, Phnom Penh, Cambodia Assoc. Prof. Dr. Kullapapruk Piewthongngam, Khon Kaen University, Thailand ข้อจำ�กัดความรับผิดชอบ: ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขอสงวนสิทธิทั้งปวง รวมทั้งสิทธิในการแก้ไข ทำ�ซ้ำ� ดัดแปลง ตลอด จนนำ�ไปใช้อ้างอิงหรือเผยแพร่รายงานนี้ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดและด้วยวิธีการใด ๆ โดยไม่ได้ รับอนุญาตเป็นหนังสือ บทความและความเห็นใด ๆ เป็นบทความและความเห็นของนักวิจัย และเป็นไปตามผลของการสำ�รวจ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม ไม่ต้องรับผิดชอบและไม่รับประกันไม่ ว่าในกรณีใด ๆ ในผลจากการนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปใช้

ผู้สนับสนุนทุนการวิจัย : รายงานฉบับนี้ ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการดำ�เนินการศึกษาวิจัย นอกจากนี้ยัง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในหัวข้อที่ เกี่ยวข้องกับอาหารและการตกแต่งบ้าน ราคา : 450 บาท สงวนลิขสิทธิ์ - ห้ามเผยแพร่หรือนำ�ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก่อนได้รับอนุญาต ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทร.: +66(0) 43 202 567, email: ecber.kku@gmail.com โทรสาร: +66(0) 43 202 567 www.ecberkku.com/asean www.facebook.com/ecberkku


การศึกษา

ชีวิตการทำ�งาน

10 12 14 32 38 44

การแพทย์และ การกินและ การดื่ม การดูแลรักษา สุขภาพ

การจับจ่ายใช้สอย

บ้านและ ที่อยู่อาศัย


ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

6

Khon Kaen University


CLMV PULSE: ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศเวียดนาม

เวียดนาม CLMV PULSE: Vietnam

7


“ บทนำ� VIETNAM Hanoi

LAOS Vientiane

THAILAND

Bangkok

Siem Reap Battambang

CAMBODI A Kampong Cham

Phnom Penh

เวียดนามเป็นประเทศที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์สวยงาม ตั้งอยู่ในพื้นที่ ชายฝั่งทะเลจีนใต้ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศจีน ลาวและกัมพูชา เวียดนามมีการผสมผสานด้านวัฒนธรรม จากหลายชนชาติ โดยได้ตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนนานกว่าพันปี ดังนั้น สิ่งก่อสร้าง อาหาร การกิน จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของจีนมาก และยังมีความ หลากหลายของผู้คนของชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทางภาคเหนือของ เวียดนาม และเมื่อสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง เวียดนามก็ได้รับ อิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสด้วย ได้แก่ ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทัน สมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ดัง นั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของเวียดนามจึงมีการผสมผสานกันเป็นอย่าง มาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร เป็นต้น

โดยนครโฮจิมินห์ (HO CHI MINH) ในประเทศเวียดนาม ถือเป็นเมืองที่ มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากเมืองฮานอย (HANOI) ซึ่งเป็นเมือง หลวงของประเทศ เมืองโฮจิมินห์ ถือเป็นเมืองท่าเศรษฐกิจที่สำ�คัญของประเทศเวียดนามที่ เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ผ่านมา โฮจิมินห์ รู้จักกันในชื่อเดิมว่า ไซ่ง่อน (SAIGON) เป็นเมืองที่มีผู้คนไปอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำ�ให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ในระดับหนา แน่น พื้นที่ที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยหนึ่งที่กำ�หนดความเชื่อของชาวเวียดนาม ชาวเวียดนามมีความเชื่อที่หลากหลาย แตกต่างตามเขตพื้นที่ อย่างไรก็ตามโดยส่วนใหญ่แล้วนับถือศาสนาพุทธ ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีพื้นฐาน มาจากการเกษตรและประชากรโดยส่วนใหญ่ก็ยังคงอาศัยอยู่ในเขตชนบท แม้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจในประเทศ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการดำ�เนินนโยบายเปิดประเทศและมีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรม การค้าปลีกและด้านการเงินเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยปกติแล้ว ลักษณะนิสัยของชาวเวียดนาม จะเป็นคนประหยัดมัธยัสถ์ และมีความระมัดระวังด้านการใช้จ่าย แต่ในปัจจุบัน ชาวเวียดนามสมัยใหม่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งวัยรุ่น มักจะใช้จ่ายเงินไปกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบแฟชั่นนิยม และใช้เวลาไปกับกิจกรรมในการพักผ่อน หย่อนใจมากขึ้น แม้จะเผชิญสภาวะเศรษฐกิจซบเซาในช่วงปีที่ผ่านมาก็ตาม

วิธีการวิจัย

ในรายงานการศึกษาชิ้นนี้ เราทำ�การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนาม โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำ�นวน 400 ชุด จากการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการจัดสนทนากลุ่ม (FOCUS GROUP DISCUSSION) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น นักการตลาด นักโฆษณา อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา และผู้ประกอบการ ซึ่งในส่วนของการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้กำ�หนดโครงสร้างของ กลุ่มตัวอย่างตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประเทศเวียดนาม เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่น่าเชื่อถือและเป็น ตัวแทนของคนจำ�นวนมากได้ โดยในประเทศเวียดนามนั้นได้เก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างในเมืองโฮจิมินห์ และเบื้อง ต้นของการศึกษาเราพบว่า ชาวเวียดนามมีรายได้ค่อนข้างต่ำ� โดยกว่าร้อยละ 35 มีรายได้ไม่เกิน 4,999 บาท และ อีกร้อยละ 35 มีรายได้อยู่ระหว่าง 5,000 - 14,999 บาท มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 7 ที่มีรายได้สูงกว่า 25,000 บาท อัตรา แลกเปลี่ยนของเวียดนาม คือ ดอง (VIETNAMESE DONG) และมีค่าค่อนข้างต่ำ�เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินดอลลาร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษายังสะท้อนให้เห็นว่าชาว เวียดนามพยายามยกระดับการศึกษาของตนให้สูงขึ้น เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและเพื่อให้มีโอกาสในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ชาว เวียดนามทำ�งานอย่างขยันขันแข็ง และมีจำ�นวนไม่น้อยที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะใน เขตเมือง 8

Khon Kaen University


ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง เพศ

อายุ

การศึกษา

8

อาชีพ

ระดับรายได้ส่วนบุคคล

* ”HOI AN FAIRY TALE ATMOSPHERE (HOI AN, VIETNAM)” BY JEAN-MARIE HULLOT

CLMV PULSE: Vietnam

9


การศึกษา ผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามโดยส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับในระดับปริญญาตรี คิด เป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 41 รองลงมาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 25 และระดับมัธยมต้น ร้อย ละ 16 ตามลำ�ดับ

/

และนอกจากนี้ผลการสำ�รวจยังสะท้อนให้เห็นว่า ชาวเวียดนามในนครโฮจิมินห์ซิตี้ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 82 สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันของรัฐในประเทศ รองลงมาประมาณร้อยละ 13 สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันเอกชน ในประเทศ อีกร้อยละ 3 สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันศึกษานานาชาติภายในประเทศ และมีประมาณร้อยละ 2 ที่ สำ�เร็จการศึกษาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีรายได้สูง

10

Khon Kaen University


VIETNAM

EDUCATION

*“FIRST DAY OF SCHOOL” BY LUCAS JANS

ปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ 1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (PRE-SCHOOL EDUCATION) ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำ�หรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำ�หรับเด็กอายุ 3-5 ปี 2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3) โดยแบ่งเป็น • ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5 • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6-9 • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10-12 3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (ASSOCIATE DEGREE) และระดับปริญญา 5. การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาสำ�หรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ การศึกษาสามัญ 12 ปี (GENERAL EDUCATION) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้ มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำ�ชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ ซึ่งในอดีตการศึกษา สามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการ ศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (BASIC EDUCATION) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (UPPER SECONDARY SCHOOL) ปี 2535-2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดย เด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6 เมื่อเวียดนามได้ใช้ระบบการศึกษาเป็น 12 ปีแล้ว จำ�นวนนักเรียน ในทุกระดับชั้นยังมีน้อย ดังนั้นปี 2534 สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงได้ออกกฎหมายการกระจายการศึกษาระดับ ประถมศึกษา (LAW OF UNIVERSAL PRIMARY EDUCATION) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ว่าด้วยเรื่องของการ ศึกษาของเวียดนาม CLMV PULSE: Vietnam

11


ชีวิตการทำ�งาน

ชาวเวียดนามมีลักษณะการทำ�งานคล้ายชาวจีน คือ ขยัน ทำ�งานหนักและจริงจังกับการทำ�งานมาก คน รุ่นใหม่หรือผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ล้วนต้องการที่จะมีโอกาสเข้าไปทำ�งานในบริษัทข้ามชาติ ทั้งที่มาเปิดกิจการใน เวียดนามหรือแม้แต่ออกไปทำ�งานในต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะค่าตอบแทนที่สูงกว่าและถือเป็นความภาคภูมิใจส่วน บุคคล ชาวเวียดนามโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำ�งาน มักจะหารายได้พิเศษจากงานนอกเวลาเพื่อนำ�มาเป็นค่า ใช้จ่ายในการพัฒนาตนเอง โดยนิยมจะไปสมัครเรียนภาษาเพิ่มเติมหรือทักษะอื่นๆ นอกจากที่เรียนในโรงเรียนหรือ มหาวิทยาลัย สำ�หรับสถานะของสตรีในสังคมเวียดนามนั้น ปัจจุบันถือว่ามีความเท่าเทียมกับเพศชาย โดยได้รับการ ยอมรับให้ได้รับตำ�แหน่งที่ดีตามความสามารถ อาชีพของชาวเวียดนามส่วนใหญ่นั้น จากผลการสำ�รวจอาชีพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญเกือบ่ร้อยละ 40 ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รองลงมา กว่าร้อยละ 20 เป็นเจ้าของธุรกิจขนาด เล็กด้วยตัวเอง และร้อยละ 12 ประกอบอาชีพอิสระ (FREELANCE)

-

,

กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามโดยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีฐานะดีหรือไม่ มักจะเดินทางไปทำ�งานโดยใช้รถ จักรยานยนต์ ทั้งนี้เป็นเพราะความสะดวก ประหยัดและเคยชิน วิธีการเดินทางโดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลุ่ม ตัวอย่างชาวเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 รองลงมาร้อยละ 6 นิยมเดินไปทำ�งาน มีเพียงร้อยละ 2 ที่เดิน ทางด้วยรถยนต์ และด้วยขนส่งสาธารณะ ส่วนการใช้บริการรถรับส่งพนักงานของบริษัทและรถแท็กซี่ยังมีไม่แพร่ หลายนัก จึงมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยหรือประมาณร้อยละ 0.5 และ 0.25 ตามลำ�ดับ สำ�หรับชั่วโมงการทำ�งาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามทำ�งานกันสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 8 ชั่วโมง โดยประมาณร้อยละ 17 ของกลุ่มตัวอย่าง มี งานอื่นนอกเหนือจากงานหลักของตนเองร่วมด้วย สำ�หรับแรงงานชาวเวียดนามนั้นถือว่ายังมีทักษะทางด้านแรงงานอยู่ในระดับต่ำ� แต่อย่างไรก็ตามถือว่า สวัสดิการแรงงานในเวียดนามนั้นอยู่ในระดับดี โดยนายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าประกันสังคมแก่ลูกจ้างร้อยละ 15 ของ ค่าจ้าง และยังมีค่าประกันสุขภาพอีกร้อยละ 2 อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าแรงงานชาวเวียดนามยังคงนิยมดินทางไป หางานที่ต่างประเทศ เช่น ลาว ไทย โดยเฉพาะบริเวณชายแดนที่มีคนเชื้อสายเวียดนามอาศัยอยู่ก่อนหน้านี้ อย่างไร ก็ตามในปัจจุบันซึ่งมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศมากขึ้น อัตราความต้องการแรงงานใน ประเทศเพิ่มมากขึ้น และสวัสดิการแรงงานที่ดีอยู่แล้ว ทำ�ให้กลุ่มแรงงานรุ่นใหม่มักจะทำ�งานอยู่ในประเทศ ไม่เดิน ทางออกไปหางานทำ�ที่ต่างประเทศมากเท่าใดนัก 12

Khon Kaen University


VIETNAM WORK LIFE

*“POTTERY” BY GREG WALTERS

วิธีเดินทางมาทำ�งาน ของชาวเวียดนาม

CLMV PULSE: Vietnam

13


การกิน - ดื่ม

ห้องครัวและการเก็บอาหาร

ครัวของชาวเวียดนามส่วนใหญ่เป็นครัวแบบ ดั้งเดิม อยู่ภายในบ้าน มีประมาณร้อยละ 10 ที่เป็นครัว ฝรั่ง และประมาณร้อยละ 5 มีเพียงแพนทรีหรือส่วน เตรียมอาหาร โดยแทบทุกบ้านมีเตาแก๊ส/เตาไฟฟ้าใช้ เช่นเดียวกับตู้เย็นที่มีกันเกือบร้อยละ 90 ส่วนเครื่องใช้ ในครัวที่มีน้อยที่สุด คือ เครื่องกรองน้ำ�ดื่ม โดยเฉพาะใน เขตเมืองที่จะเห็นได้ชัดเจนถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งรูปแบบของครัวที่มีความทันสมัยมากขึ้น มีสิ่งอำ�นวย ความสะดวกที่หลากหลายมากขึ้น และเริ่มที่จะปรับ เปลี่ยนให้มีความทันสมัย จากอิทธิพลของกระแสใหม่ ๆ ที่เข้ามา และกำ�ลังซื้อที่เพิ่มมากขึ้นของสมาชิกในบ้าน

14

Khon Kaen University

โดยชาวเวียดนามกว่าร้อยละ 90 ประกอบ อาหารรับประทานที่บ้านทุกวัน โดยมักทำ�อาหารท้อง ถิ่นรับประทาน เช่น อาหารเวียดนามหรืออาหารจีน ชาว เวียดนามจะให้ความสำ�คัญกับการรับประทานอาหารที่ บ้านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมื้อกลางวันและมื้อเย็นที่ ไม่มีความเร่งรีบเท่ากับมื้อเช้า ซึ่งถือว่าการรับประทาน อาหารที่บ้านร่วมกันนั้นจะทำ�ให้สมาชิกในบ้านได้รับ สารอาหารครบถ้วน มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังเป็นการ พบปะพูดคุยระหว่างกันอีกด้วย การเก็บอาหารของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม พบว่า อาหารแห้งและข้าว รวมทั้งเครื่องปรุงอาหารเช่น ซอส น้ำ�ปลา น้ำ�ตาล เป็นอาหารที่กลุ่มตัวอย่างต้องมี ไว้ประจำ�บ้านอยู่ตลอดเวลา ส่วนเนื้อสัตว์และผักผลไม้ กลุ่มตัวอย่างจะซื้อมาเพื่อบริโภคในระยะสั้นจึงจะกักตุน อาหารสดไว้บริโภคน้อย ส่วนอาหารประเภทแช่แข็ง หรืออาหารพร้อมรับประทานไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะ อาหารที่ ส ดใหม่ ยั ง หาซื้ อ ได้ ใ นราคาถู ก จึ ง ได้ รั บ ความ นิยมมากกว่า สำ�หรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 43 ซื้อทุกวัน/เกือบทุกวัน อีกร้อย ละ 42 ซื้อทุกๆ สัปดาห์ สำ�หรับอาหารประเภทผักสด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นิยมซื้อเกือบทุกวัน โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามนิยมไปซื้อเนื้อสัตว์ ผัก-ผลไม้ จากตลาดสดเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะราคาถูก อาหารแห้ง และเครื่องปรุงต่างๆ จะซื้อเดือนละ 1-2 ครั้ง จากซูเปอร์ มาร์เก็ตและร้านขายของชำ� ส่วนอาหารแช่แข็ง และ อาหารสำ�เร็จรูปพร้อมรับประทาน พบว่ากว่าครึ่งของ กลุ่มตัวอย่างไม่เคยซื้อมารับประทานเลย ส่วนกลุ่มที่ซื้อ ส่วนใหญ่จะซื้อเดือนละ 1-2 ครั้งจากซูเปอร์มาร์เก็ต / ไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นหลัก อย่ า งไรก็ ต ามแม้ ว่ า คนเวี ย ดนามจะชอบ อาหารสดเป็นหลัก แต่คนจำ�นวนมากก็เปลี่ยนทัศนคติ ในเรื่องอาหารสำ�เร็จรูปพร้อมรับประทาน และอาหาร ปรุงสุก โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ซึ่งได้รับอิทธิพล จากไลฟ์สไตล์แบบตะวันตก มีเวลาน้อยลงในการซื้อ กับข้าวและทำ�อาหาร โดยคนในเมืองใหญ่จะซื้ออาหาร สำ�เร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง และอาหารแห้ง มากขึ้น มีคนที่นิยมซีเรียลเป็นอาหารเช้าเพื่อประหยัด เวลา ส่วนมื้อหลักกับครอบครัวอาจจะใช้ผักกระป๋อง


"PYRAMID CREME BRULEE - CLOSE-UP - GREEN TANGERINE VND169K SET LUNCH" BY ALPHA

หรืออาหารพร้อมปรุงแบบแช่เย็น อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง เพื่อให้ประกอบอาหารได้เร็วขึ้น ซึ่งจะ ทำ�ให้มีเวลามากขึ้น และไปทำ�งานทัน จึงคาดว่าแนว โน้มในอนาคตจะแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก ไม่ทำ�ให้เสียเวลามากนัก สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาว เวียดนามในขณะนี้ เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงพฤติกรรมการ ซื้ออาหารในแต่ละครั้ง พบว่า กว่าร้อยละ 59 จะซื้อ มาเพื่อบริโภคระยะสั้น หรือซื้อเป็นห่อขนาดเล็กไม่ เกิน 12 ชิ้น รองลงมาร้อยละ 38 ซื้อเพื่อการบริโภค เป็นครั้งคราว 1-2 ชิ้น โดยมีเพียงร้อยละ 3 ที่ซื้อคราว ละมากๆ เช่นซื้อยกโหล ยกหีบ ในการเลือกซื้ออาหารของกลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนามนั้น พบว่าปัจจัยที่มีความสำ�คัญในการตัดสิน ใจซื้อมาก 5 อันดับแรกได้แก่ 1) อาหารนั้นต้องปลอด สารพิษ, เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 2) มีฉลากที่ให้ ข้อมูลชัดเจน 3) มีตรายี่ห้อเป็นที่รู้จัก 4) ราคาเหมาะ สม 5) วางจำ�หน่ายในสถานที่ที่เชื่อถือได้ เช่น ห้างค้า ปลีกสมัยใหม่ต่างๆ ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น เครื่องหมาย รับรองคุณภาพต่างๆ ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ และการลดราคา เป็นปัจจัยที่มีความสำ�คัญในระดับ ปานกลาง

CLMV PULSE: Vietnam

15


สำ�หรับพฤติกรรมการเก็บอาหารของชาวเวียดนามนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างจะซื้ออาหารประเภท อาหารแห้ง ข้าวสาร และเครื่องปรุงต่างๆ เก็บตุนไว้ ซึ่งสามารถเก็บ ไว้ได้เป็นเวลานาน และมีความถี่ในการซื้อเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนอาหารประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์นั้น จะซื้อทุก วัน ไม่หรือไม่ก็ซื้อสัปดาห์ละครั้ง ให้เพียงพอสำ�หรับการ บริโภค โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจะซื้อผักสดทุกวัน หรือ เกือบทุกวัน คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดร้อยละ 66 ส่วนผล ไม้ จะมีความถี่ในการซื้อทุกวันประมาณร้อยละ 50 เนื้อ สัตว์จะซื้อทุกวันและซื้อสัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 44 และ 42 ตามลำ�ดับ สำ�หรับสถานที่ ในการซื้อสินค้าอาหาร พบว่าโดยทั่วไปแล้วนิยมซื้อสินค้า ต่างๆ ที่ตลาดสด แต่หากมองเฉพาะสินค้าจะพบว่า กลุ่ม ตัวอย่างนิยมซื้ออาหารประเภทเนื้อ ผักสดและผลไม้ที่ ตลาดสด ส่วนเครื่องปรุงรสและอาหารแห้ง กลุ่มตัวอย่าง จะนิยมซื้อที่ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือไม่ก็ห้างไฮเปอร์ มาเก็ต เดือนละครั้ง เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ใน ขณะที่ข้าวสาร กลุ่มตัวอย่างมักจะซื้อ ประมาณเดือนละ 1– 2 ครั้ง จากร้านขายของชำ� คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 60 แต่อย่างไรก็ตาม อาหารแบบพร้อมรับประทาน (READY-TO-EAT) และอาหารแช่แข็งยังคงไม่เป็นที่รู้จัก และไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามเท่าใดนัก โดยมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง ไม่เคยหรือ ไม่ค่อยจะซื้อสินค้าเหล่านี้เลย ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ ซื้อสินค้าเหล่านี้เป็นประจำ�ทุกวัน-ทุกสัปดาห์ มีสัดส่วน ไม่ถึงร้อยละ 15 และมักจะหาซื้อสินค้าเหล่านี้จาก ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่

16

Khon Kaen University


ส่ ว นปริ ม าณหรื อ จำ � นวนในการซื้ อ สิ น ค้ า ใน แต่ละครั้งของชาวเวียดนาม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะซื้อ เผื่อไว้เล็กน้อย (ซื้อสินค้าครั้งละประมาณ 3-5 ชิ้น) โดย เฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีรายได้ปานกลาง–ต่ำ� คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 – 60 ส่วนผู้ที่มีราย ได้น้อยหรือผู้ที่ไม่มีรายได้ กว่าร้อยละ 60 มักจะซื้อของ เฉพาะที่จำ�เป็นต้องใช้ (ซื้อเพียง 1-2 ชิ้น เพื่อการใช้เป็น ครั้งๆ) โดยจากการลงสำ�รวจพื้นที่ พบว่า แม้ชาว เวียดนามส่วนใหญ่จะยังคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าตามร้าน ขายของชำ�อยู่ก็ตาม แต่บางส่วนได้เริ่มปรับตัวต่อการเข้า มาของร้านค้าปลีกมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความ เป็น MODERN TRADE มากขึ้น ทั้งพฤติกรรมการเลือก สินค้า การเปรียบเทียบราคาสินค้า เนื่องจากในร้านค้า ปลีกนั้นมีสินค้าที่หลากหลายมากกว่าร้านขายของชำ� โดยในปั จ จุ บั น นี้ เวี ย ดนามมี ซุ ป เปอร์ ม าร์ เ ก็ ต และธุรกิจขายปลีกขนาดใหญ่ (HYPERMARKETS) อยู่ จำ�นวนมาก ทั้งของผู้ประกอบการท้องถิ่นเอง และ ผู้ประกอบการจากต่างชาติ ซึ่งห้างสรรพสินค้าและ ซุ ป เปอร์ ม าร์ เ ก็ ต ในเวี ย ดนามนั้ น มี สิ น ค้ า ให้ เ ลื อ กหลาก หลาย โดยเฉพาะสินค้านำ�เข้าจากต่างประเทศ

"A STAPLE OF VIETNAM CUISINE: SPRING ROLLS" BY AURIMAS

เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อ/ตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม พบว่า ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญมากที่สุด คือ สินค้าที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นสินค้าออร์แกนิค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญรองลงมา คือ สินค้าที่มีฉลากระบุข้อมูลครบถ้วน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 สินค้าที่มีแบรนด์/ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ตามลำ�ดับ ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามไม่ค่อยให้ความสำ�คัญมากนักหรือไม่ได้นำ�มาพิจารณาในการ ตัดสินใจซื้อสินค้าเท่าใดนัก ได้แก่ สินค้านำ�เข้าจากต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.51 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เนื่องจากสินค้าอุปโภคบริโภคในเวียดนามโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นสินค้านำ�เข้าจากต่างประเทศ รองลงมาคือการ โฆษณาของสินค้าตามที่ต่าง ๆ เช่น ป้ายบิลบอร์ด โทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 และสินค้าที่มีสีสันสวยงาม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.93 ตามลำ�ดับ

CLMV PULSE: Vietnam

17


ส่วนในเรื่องของรสชาติอาหารที่ชื่นชอบของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามนั้น พบว่า 1 ใน 4 จะชื่นชอบอาหาร รสเผ็ด โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เลือกระดับความเผ็ดในระดับ 10 นั้นคิดเป็นร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 23 – 39 ปี จะชื่นชอบอาหารรสเผ็ดในสัดส่วนที่สูงที่สุด ในขณะที่ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่าง ชอบอาหารที่มีรสชาติหวานและเค็มในระดับกลางๆ (ชื่นชอบในระดับ 5 ใน 10) และรสเปรี้ยวนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะให้คะแนนอยู่ในระดับ 5 เช่นเดียวกัน แต่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 28 ส่วนรสชม กลุ่มตัวอย่าง ชาวเวียดนามเกือบครึ่งหนึ่ง ลงคะแนนว่าไม่ใช่รสชาติที่ตนชื่นชอบ (ร้อยละ 43 ตอบว่าชื่นชอบในระดับ 1 หมายถึง ไม่ชื่นชอบเลย) โดยอาหารเวียดนามเป็นอาหารที่กินผักสดหลากหลายชนิดในแทบทุกเมนู และมีน้ำ�จิ้มที่หลากหลาย เครื่องปรุงรสส่วนใหญ่เป็นแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าจีน เช่น เครื่องปรุงรสเปรี้ยวใช้มะขาม มะนาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์ของอาหารที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น ภาคเหนือมี อิทธิพลของอาหารจีนปรากฏชัดกว่าภูมิภาคอื่น มีแกงจืดแบบจีน และการผัดแบบจีนแพร่หลายมากกว่าภาคอื่นๆ ภาคกลาง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เว้ มีอิทธิพลของอาหารในวังปรากฏชัดเจนมาก และมีรสเผ็ดมากกว่าอาหารภาคอื่น และภาคใต้ มีอิทธิพลของอาหารอินเดียและอาหารกัมพูชาปรากฏมากกว่า ใช้ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่หลากหลาย กว่า เป็นต้น ส่วนอาหารประเภทสัตว์ต่างๆ ที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามไม่ชอบหรือไม่นิยมรับประทานมากที่สุด คือ หอย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 24 รองลงมาคือ เนื้อเป็ด ปลา และกุ้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 13 และ 10 ตามลำ�ดับ เนื่องจากชาวเวียดนามจะชื่นชอบการรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่และเนื้อวัว มากกว่า นอกจากนี้ในการรับประทานอาหารแทบทุกมื้อของชาวเวียดนามยังมักจะประกอบไปด้วยผักและผลไม้ด้วย

“ENTRONS SUR LE MARCHÉ DE POISSON” BY LOUIS.FOECY.FR

18

Khon Kaen University


VIETNAM BY GUIDO DA ROZZE

พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน

จากชีวิตของคนเวียดนามในปัจจุบันต้องใช้เวลาส่วนใหญ่กับการทำ�งาน การรับประทานอาหารนอกบ้าน จึงเป็นทางเลือกของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะมื้อเช้า อย่างไรก็ตามพบว่าแนวโน้มการรับประทานอาหารมื้อเย็นได้เพิ่ม มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นมื้อสำ�คัญที่จะมีเวลาพูดคุยและพบปะเพื่อนฝูง หรือแม้แต่เจรจาธุรกิจ มื้อเย็นจึงได้รับ ความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ให้ค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านของคนเวียดนามเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สำ�หรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารมื้อต่างๆ ของชาวเวียดนามนั้น ผลสำ�รวจพบว่า สำ�หรับมื้อเช้า ด้วยวิถีชีวิตเมืองที่เร่งรีบ และการจราจรที่ค่อนข้างติดขัด ทำ�ให้กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามกว่าร้อยละ 52 ทานมื้อเช้า นอกบ้าน อีกร้อยละ 16 ซื้ออาหารห่อเพื่อรับประทาน และมีประมาณร้อยละ 30 ที่ทานมื้อเช้าที่บ้าน โดยอาหาร ที่ทานในมื้อเช้า ส่วนใหญ่คือข้าวต้ม อาหารง่ายๆ ทั่วไป ชา/กาแฟ และขนมปังกับแซนด์วิช แต่ในมื้อกลางวันกลับ พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 58 ที่รับประทานอาหารกลางวันที่บ้าน ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์พูดคุยกับ ชาวเวียดนาม ที่ระบุว่าในช่วงกลางวันจะแวะกลับมาที่บ้านเพื่อมาทานอาหาร แล้วจึงกลับไปทำ�งานต่อในช่วงบ่าย และมีประมาณร้อยละ 29 ที่รับประทานมื้อกลางวันนอกบ้าน สำ�หรับมื้อเย็น เกือบร้อยละ 90 รับประทานมื้อเย็นที่ บ้าน มีประมาณร้อยละ 7 ที่รับประทานมื้อเย็นนอกบ้านเป็นประจำ� เมื่อสอบถามถึงความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน ร้อยละ 39 ของกลุ่มตัวอย่าง รับประทาน อาหารนอกบ้านทุกวัน/เกือบทุกวัน รองลงมาประมาณร้อยละ 37 ทานอาหารนอกบ้าน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ อีกร้อย ละ 25 ทานอาหารนอกบ้าน 1-2 ครั้งต่อเดือนหรือนานกว่านั้น โดยกว่าร้อยละ 80 นิยมรับประทานอาหารในศูนย์ อาหารหรือแผงขายอาหาร ประมาณร้อยละ 14 จะรับประทานตามร้านอาหารทั่วไป อีกร้อยละ 5 รับประทานตาม ร้านอาหารในศูนย์การค้า โดยมักไปรับประทานกับเพื่อนและครอบครัวเป็นส่วนใหญ่

CLMV PULSE: Vietnam

19


สำ � หรั บ ประเภทอาหารที่ช าวเวียดนามนิยมออกไป รับประทานนอกบ้าน นอกจากอาหารเวียดนามที่ รับประทานเป็นปกติแล้ว อาหารทะเล/ซีฟู้ด ก็เป็น อาหารที่ได้รับความนิยม โดยเกือบร้อยละ 30 ของ กลุ่มตัวอย่าง ทานอาหารซีฟู้ดนอกบ้านสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง อีกร้อยละ 31 ทานเดือนละ 1-2 ครั้ง อาหาร ประเภทฟาส์ตฟู้ด ก็เป็นที่นิยม โดยมีกว่าร้อยละ 18 ที่ ทานสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ส่วนอาหารประเภทปิ้งย่าง/ บาร์บีคิว และประเภทสุกี้/ฮ็อตพ็อต ก็เป็นที่นิยมเช่น กัน โดยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 26 ไปทานเดือน ละ 1-2 ครั้ง ส่วนอาหารนานาชาติ เช่น อาหารไทย อาหารจีน และอาหารตะวันตก (อิตาเลียน/ฝรั่งเศส) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับประทานน้อยกว่าเดือนละ ครั้ง โดยนิยมรับประทานตามศูนย์อาหาร แผงขาย อาหาร และร้านอาหารทั่วไปเป็นหลัก สำ�หรับการเลือกร้านอาหาร กลุ่มตัวอย่าง จะพิจารณาเลือกร้านอาหาร จากปัจจัยด้านราคา และ ด้านความสะอาด/สุขอนามัย เป็นปัจจัยที่สำ�คัญที่สุด รองลงมาคือรสชาติและการบริการ ส่วนการหาข้อมูล เกี่ยวกับร้านอาหาร มากกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่าง เลือกร้านอาหารตามคำ�แนะนำ�ของเพื่อน หรือคน รู้จัก, รองลงมาจึงดูจากสื่ออินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 23) และผ่านหน้าร้าน (ร้อยละ 16) ส่วนการสั่งอาหารมา รับประทาน (DELIVERY SERVICE) มีเพียงร้อยละ 4 ที่สั่งอาหารมารับประทานที่บ้านเป็นประจำ� และร้อย ละ 34 สั่งมารับประทานที่บ้านเป็นครั้งคราว เช่นเดียว กับการสั่งมารับประทานในที่ทำ�งาน มีเพียงร้อยละ 3 ที่สั่งมาเป็นประจำ� และร้อยละ 25 ที่สั่งอาหารมารับ ประทานที่ทำ�งานเป็นครั้งคราว จากการสำ � รวจพบว่ า กลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาว เวียดนามส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 90 มักจะทำ�อาหารรับ ประทานอาหารเองที่บ้านเป็นประจำ�ทุกวันหรือแทบ ทุกวัน โดยเฉพาะมื้อเที่ยงและมื้อเย็น โดยมื้อเย็นนั้น กลุ่มตัวอย่างจะทำ�อาหารรับประทานเองที่บ้านคิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วน มื้อเที่ยงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด สำ�หรับอาหารมื้อเช้านั้นกลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนามส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 52 จะรับประทานนอก บ้าน มีเพียงร้อยละ 29 ที่ทำ�อาหารเช้ารับประทานเอง ที่บ้าน ร้อยละ 1 ที่ห่อจากที่บ้านไปรับประทานที่อื่น และมีเพียงร้อยละ 2 ของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม ที่ไม่รับประทานอาหารเช้า ส่วนอาหารมื้อกลางวัน นอกจากกลุ่มตัวอย่าง จะนิยมกลับมาทำ�อาหารรับ 20

Khon Kaen University

“FANTASTIC FOOD IN THE VIETNAM WOODS (悅木) RESTAURANT IN HONG KONG” BY MICHAL OSMENDA


ประทานเองที่บ้านแล้ว ยังนิยมออกไปรับประทานนอกบ้านประมาณร้อยละ 30 มีเพียงร้อยละ 10 ที่ห่อจากบ้านไป รับประทานและเพียงร้อยละ 3 ที่ซื้อกลับมาทานที่บ้าน สำ�หรับการรับประทานอาหารมื้อเย็น กลุ่มตัวอย่างเกือบทุก คนนิยมประกอบอาหารเองเพื่อรับประทานร่วมกันในครอบครัว มีเพียงร้อยละ 1 ที่ซื้อกลับมาทานที่บ้าน ร้อยละ 7 ทานอาหารเย็นนอกบ้านและมีเพียงร้อยละ 1 ที่ไม่ทานอาหารมื้อเย็น

ส่วนอาหารเช้าที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 23 นิยมรับประทาน คือ อาหารประเภท ข้าวต้ม/โจ๊ก/ซุป รองลงมานิยมรับประทานอาหารจานเดียว และรับประทานชากาแฟ เป็นอาหารเช้า ประมาณร้อย ละ 21 และ 16 ตามลำ�ดับ

/

สำ�หรับความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน พบว่า กว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามรับ ประทานอาหารนอกบ้านไม่ต่ำ�กว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยร้อยละ 39 นิยมออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านทุกวัน รองลงมากว่าร้อยละ 37 รับประทานอาหารนอกบ้านประมาณสัปดาห์ละครั้ง และร้อยละ 13 ออกไปทานนอกบ้าน เดือนละครั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านเลย มีเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น โดยกลุ่มตัวอย่างที่รับประทานอาหารนอกบ้านมากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี ส่วนสถานที่หรือร้านอาหารที่กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 80 นิยมไป คือ ศูนย์อาหาร/แผงลอยอาหาร/ตลาด รองลง มาร้อยละ 14 นิยมไปภัตตาคารหรือร้านอาหารทั่วไป มีเพียงร้อยละ 5 ที่ไปรับประทานอาหารที่ห้างสรรพสินค้าและ เพียงร้อยละ 0.5 ที่ไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารในโรงแรม ส่วนบุคคลที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 37 ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านด้วยมากที่สุด คือ เพื่อน รองลงมาร้อยละ 33 นิยมไปกับคนในครอบครัวหรือญาติ CLMV PULSE: Vietnam

21


ไปรับประทานกับแฟน ประมาณร้อยละ 13 และไปรับ ประทานเพียงคนเดียวประมาณร้อยละ 18 โดยอาหาร ที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามกว่าร้อยละ 91 นิยมออกไป รับประทานนอกบ้านเป็นประจำ� คือ อาหารท้องถิ่นของ ชาวเวียดนามเอง รองลงมาคือ อาหารจีนและอาหาร ไทย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะนิยมไปรับประทานนอกบ้านไม่ ต่ำ�กว่าเดือนละครั้ง คิดเป็นกว่าร้อยละ 20 ส่วนอาหาร ของชาติอื่นๆ ที่เริ่มจะได้รับความนิยม ได้แก่ อาหาร เกาหลี อาหารญี่ปุ่นและอาหารยุโรป โดยส่วนใหญ่ร้อย ละ 10 นิยมรับประทานประมาณเดือนละครั้ง อย่างไร ก็ตามกว่าร้อยละ 70 ไม่เคยรับประทานอาหารเหล่านี้ เลย

/

/

"IMG_4636" BY JIMMY YAO

22

Khon Kaen University

ชาวเวียดนามกว่าร้อยละ 40 ไม่เคยหรือ ไม่ค่อยจะได้รับประทานอาหารจำ�พวกอาหาร FAST FOOD หรืออาหารจานด่วนเลย มีเพียงประมาณร้อยละ 5 ที่รับประทานอาหารจานด่วนทุกวัน และร้อยละ 20 รับประทานประมาณสัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง เท่านั้น ส่วนอาหารทะเล กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามร้อย ละ 60 ทานไม่ต่ำ�กว่าเดือนละครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 30 รับประทานทุกเดือน และมีผู้ไม่เคยรับประทานอาหาร ทะเลเลยประมาณร้อยละ 20 สำ�หรับอาหารประเภทชาบู สุกี้ยากี้ และ บาร์บีคิวนั้น กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามประมาณร้อยละ 30 รับประทานเดือนละครั้ง อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่าง ชาวเวียดนามอีกกลุ่มหนึ่ง กว่าร้อยละ 35 กลับไม่เคย หรือไม่ค่อยได้รับประทานอาหารประเภทนี้เลย ส่วนผู้ที่ นิยมทานอาหารประเภทนี้มากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างที่ มีอายุระหว่าง 30 – 39 ปี และอายุระหว่าง 18 – 22 ปี มีความถี่ในการรับประทานประมาณเดือนละครั้ง- 2 ครั้ง โดยจะออกไปรับประทานตามฟู้ดคอร์ส แผงอาหาร หรือตลาด นอกจานี้ จากการวิจัยเชิงปริมาณ พบ ว่า ประชากรชาวเวียดนามมีแนวโน้มที่จะออกไปรับ ประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่น ใหม่ที่จะชื่นชอบความแปลกใหม่ จะเป็นกลุ่มที่มีทัศนคติ เปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ เปิดรับอาหารต่างประเทศ และ ชอบรับประทานอาหารตามสมัยนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะ อาหารปิ้งย่าง หมูกระทะ อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี และอาหารฟาสต์ฟู๊ด เป็นต้น โดยเห็นได้จากจำ�นวนร้าน อาหารบรรยากาศที่คล้ายคลึงกันนี้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งร้านอาหารในท้องถิ่นเอง และร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ด ร้านอาหารต่างประเทศอีกด้วย โดยคนเวียดนามส่วนใหญ่จะชอบรับประทาน อาหารตามแผงลอยและตามข้างถนนเพราะราคาถูก และอร่อย อาหารพื้นเมืองเวียดนามและอาหารท้องถิ่น จากภาคต่างๆมีขายอยู่ทั่วไปตามข้างถนนทั้งในเมือง ใหญ่และในชนบท โดยการขยายตัวของร้านอาหารใน เวียดนามถือได้ว่าอยู่ในอัตราที่สูง ยกตัวอย่างเช่น ร้าน เฝ๋อ 24 ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของเวียดนาม แต่ใน ปัจจุบันได้เปิดสาขาจำ�นวนมากกระจายอยู่ทั่วเมือง ให้ บริการคล้ายกับอาหารฟาสต์ฟู๊ดจากตะวันตก นอกจาก นี้ร้านอาหารปิ้งย่างในเวียดนามก็ได้รับความนิยมมาก เช่นกัน ซึ่งรูปแบบจะคล้ายคลึงกับหมูกระทะในเมือง ไทย โดยจะมีชื่อเรียกว่า “GRILL VILLAGES”


จากการสอบถามปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการตัดสินใจเลือกร้านอาหารที่สำ�คัญที่สุด 3 อันดับแรกนั้น อันดับหนึ่งที่กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 60 ให้ความสำ�คัญมากที่สุด คือ รสชาติของอาหาร รองลงมา คือ เรื่องราคาและ คุณภาพการบริการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 และร้อยละ 9 ตามลำ�ดับ และการให้บริการของพนักงานในร้าน คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 44 และช่องทางที่ทำ�ให้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จัก และเลือกร้านอาหาร อันดับ 1 ร้อยละ 54 มา จากการแนะนำ�ของเพื่อน กลุ่มเพื่อน หรือคนรู้จัก อันดับ 2 ร้อยละ 23 รู้จักจากอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย และ อันดับ 3 รู้จักจากการโฆษณาหน้าร้านหรือการผ่านหน้าร้าน

/ /

/

"FISH AND DILL FOR 2 - CLOSE-UP - CHA CA LA VONG VND120000 EACH" BY ALPHA

เมื่อกล่าวถึงการใช้บริการส่งอาหาร (DELIVERY) กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมากกว่าครึ่ง ไม่เคยใช้บริการ ส่งอาหารถึงที่บ้านหรือที่ทำ�งานเลย โดยกว่าร้อยละ 73 ไม่เคยใช้บริการส่งอาหารถึงที่ทำ�งานและร้อยละ 62 ไม่เคย ใช้บริการส่งอาหารถึงที่บ้าน ส่วนผู้ที่เคยใช้บริการส่งอาหารแบบ DELIVERY เป็นประจำ� มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยหรือ ต่ำ�กว่าร้อยละ 5 โดยมีเพียงร้อยละ 2 ที่ใช้บริการส่งอาหารถึงที่ทำ�งานและร้อยละ 4 ที่ใช้บริการส่งอาหารถึงที่บ้าน เป็นประจำ� และนอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมากกว่า 1 ใน 4 ก็ยังมีการสั่งอาหารมาที่ทำ�งานเป็น บางครั้ง และมากกว่า 1 ใน 3 ยังเคยใช้บริการส่งอาหารถึงที่บ้านอีกด้วย CLMV PULSE: Vietnam

23


25 34 24.50 %

73 62 73.00 %

แนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

สำ�หรับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ/ปลอดสารพิษ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 54 ระบุว่าตน รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทุกวัน อีกร้อยละ 21 แทบไม่ได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเลย และมีประมาณ ร้อยละ 13 ที่รับประทานทุกสัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้สูง มีแนวโน้มรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพบ่อยกว่า กลุ่มอื่นๆ ซึ่งกลุ่มที่ไม่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะไม่เห็นว่ามีความจำ�เป็น และ อาหารเพื่อสุขภาพมักมีราคาแพง แม้ผู้บริโภคชาวเวียดนามจะเริ่มเลือกรับประทานอาหารโดยคำ�นึงถึงสุขภาพ แต่ผลวิจัยก็พบว่า อาหาร ประเภทของหวาน อาหารทอด อาหารปิ้งย่าง อาหารหมักดอง ยังเป็นอาหารที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามจำ�นวนไม่ น้อยบริโภคเป็นประจำ� กว่าร้อยละ 83 ของกลุ่มตัวอย่างรับประทานของหวานเป็นประจำ� ร้อยละ 47 รับประทาน อาหารปิ้งย่างเป็นประจำ� ร้อยละ 39 รับประทานอาหารหมักดองเป็นประจำ� และร้อยละ 37 รับประทานของทอด เป็นประจำ� ส่วนอาหารประเภทฟาสท์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ใส่ผงชูรส กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะพยายาม หลีกเลี่ยง สำ�หรับเหตุผลในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่รับประทานเพื่อให้ดูแข็งแรงมีสุขภาพดี และ เพื่อป้องกันตนเองจากการเจ็บป่วย ร้อยละ 57 สำ�หรับอาหารเพื่อสุขภาพที่เลือกซื้อมารับประทาน 3 อันดับแรก (TOP 3 BOX) ได้แก่ อาหารและผักปลอดสารพิษ ข้าวออแกนิก/ปลอดสารพิษ และวิตามินหรือผลิตภัณฑ์เสริม อาหารต่างๆ และเมื่อถามถึงความยินดีที่จะจ่ายเพื่อซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 38 ยินดีที่จะ จ่ายเพิ่มประมาณ 5% จากราคาอาหารปกติ อีกร้อยละ 28 ยินดีจะจ่ายเพิ่มประมาณ 10% และอีกร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ยินดีจะจ่ายเท่ากับราคาอาหารปกติ

พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อ สุขภาพของชาวเวียดนาม ไม่มีรายได้ ต่ำ�กว่า 4,999 5,000-9,999 10,000-14,999 15,000-24,999 25,000-34,999 35,000-44,999 มากกว่า 50,000 ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน 24

Khon Kaen University

นานกว่าเดือน ไม่เคย

พฤติ ก รรมการรั บ ประทานอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพ/ อาหารปลอดสารพิษ ของชาวเวียดนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ/อาหารปลอด สารพิษทุกวันหรือเกือบทุกวัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อย ละ 54 รองลงมาร้อยละ 14 รับประทานสัปดาห์ละครั้งหรือ 2 ครั้ง และประมาณร้อยละ 20 ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้รับ ประทานอาหารเหล่านี้เลย โดยพบว่าเพศหญิงจะมีความถี่ ในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่าเพศชาย และ กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 30 – 39 ปี จะรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพบ่อยที่สุด คือ รับประทานทุกวันหรือเกือบทุกวัน ซึ่งจากการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สำ�หรับชาวเวียดนามแล้ว จะเห็นว่าอาหารเวียดนามหรืออาหารท้องถิ่นของตน เป็น อาหารเพื่อสุขภาพ หรือดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว เนื่องจากมีผัก หลากหลายชนิดเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นต้น


นอกจากนี้หากแบ่งพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพตามระดับรายได้ของกลุ่มตัวอย่างแล้ว พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับรายได้สูงจะมีความถี่ในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสูงที่สุด คือ รับประทานเป็น ประจำ�ทุกวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับรายได้ระดับปานกลาง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 65 และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ปานกลาง – ต่ำ� คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 เมื่อสอบถามเหตุผลของกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ไม่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ กว่าร้อยละ 43 ให้เหตุผลว่าไม่มี ความจำ�เป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่ต่างก็มี ความเชื่อว่าอาหารประจำ�ชาติของตนนั้นล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว รองลงมาคือ เห็นว่าราคาของ อาหารเพื่อสุขภาพมีราคาแพงกว่าอาหารทั่วไป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 และร้อยละ 16 เห็นว่าการเสาะหาอาหาร เพื่อสุขภาพมารับประทานนั้นยุ่งยากเกินไป/ไม่สะดวก ส่วนอาหารประเภทที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงและ ไม่รับประทานเลย คือ อาหารที่ใส่ผงชูรส อาหารแปรรูป/อาหารหมักดองต่างๆ และอาหารฟาสต์ฟู้ด คิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 26 ร้อยละ 22 และร้อยละ 20 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตามลำ�ดับ ส่วนอาหารที่กลุ่มตัวอย่างทาน ได้แต่พยายามหลีกเลี่ยง คือ อาหารประเภทที่มีไขมันสูง อาหารที่ปรุงสุกโดยใช้วิธีการทอดและอาหารฟาสต์ฟู้ด ซึ่ง มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ร้อยละ 56 และร้อยละ 52 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำ�ดับ และสำ�หรับอาหาร ที่กลุ่มตัวอย่างมักจะทานเป็นปกติหรือไม่ได้หลีกเลี่ยงเป็นพิเศษ ก็คือ อาหารประเภทขนมหวานของหวาน อาหารปิ้ง ย่างและอาหารหมักดอง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 83 ร้อยละ 46 และร้อยละ 40 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำ�ดับ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ เราจะพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่พยายามหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงมากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในวัย 50 ปีขึ้นไป ในทางตรงกันข้ามกลุ่มตัวอย่างที่หลีกเลี่ยงน้อยที่สุด คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 23-29 ปี โดยกว่า 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างในช่วงวัยนี้ สามารถรับประทานอาหารไขมันสูงได้ตามปกติ

"IMG_4642" BY JIMMY YAO

CLMV PULSE: Vietnam

25


ส่วนอาหารประเภทของทอดต่างๆ ก็เช่น เดี ย วกั น กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ มี อ ายุ ค่ อ นข้ า งมากมั ก จะ พยายามหลีกเลี่ยงและกลุ่มที่มีอายุไม่เกิน 29 ปีมักจะ สามารถทานได้ตามปกติ อาหารปิ้งย่างกลุ่มตัวอย่าง ที่หลีกเลี่ยงมากที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 50-60 ปี อาหารที่ใส่ผงชูรส ผู้ที่หลีกเลี่ยงมากที่สุด คือ กลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่น (อายุ 18-22 ปี)และกลุ่มตัวอย่าง ที่อายุมากกว่า 60 ปี ส่วนผู้ที่ทานได้ตามปกติ คือ กลุ่ม ตัวอย่างที่มีอายุ 40-49 ปี 30-39 ปีและ 23-29 ปี ตาม ลำ�ดับ อาหารแปรรูปกลุ่มตัวอย่างที่หลีกเลี่ยงมากที่สุด คือ ผู้ที่มีอายุ 23-29 ปี ผู้ที่หลีกเลี่ยงน้อยที่สุด คือ กลุ่ม ตัวอย่างผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่กว่าครึ่งหนึ่ง ของกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปพยายามหลีกเลี่ยงหรือ ไม่ทานเลย ส่วนอาหารประเภทฟาสต์ฟู๊ดนั้น พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างอายุระหว่าง 18 – 22 ปี พยายามหลีกเลี่ยง น้อยที่สุดหรือทานได้เป็นปกติมากที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ ระหว่าง 60 ปีขึ้นไปหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับประทานเลย อายุ 40-49 ปี และ 50-50 ปี หลีกเลี่ยงไม่รับประทาน ร้อยละ 83 และ 79 ตามลำ�ดับ อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่สำ�หรับขนมหวานหรือของหวานแล้ว กลับเป็น อาหารบั่นทอนสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามหลีก เลี่ยงน้อยที่สุดหรือกล่าวได้ว่ามีการรับประทานได้เป็น ปกติ คิดเป็นสัดส่วนได้มากกว่าร้อยละ 80 โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุไม่เกิน 22 ปี รับประทาน อาหารหวานของหวานได้กว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้อาจเป็น เพราะรสชาติหวานนำ�เป็นรสชาติที่ชาวเวียดนามทุกรุ่น ทุกวัยคุ้นเคยในอาหารจานหลักของชาวเวียดนาม

MEAL AT VIETNAM BY TAIYO FUJII

26

Khon Kaen University


จากข้อมูลข้างต้น เราจะพบว่ากลุ่มตัวอย่างชาว เวี ย ดนามส่ ว นใหญ่ มั ก จะใส่ ใจกั บ การรั บ ประทานอาหาร เพื่อสุขภาพและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่บ่ันทอน สุขภาพกันเป็นอย่างดี โดยวัตถุประสงค์สำ�คัญในการรับ ประทานอาหารเพื่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม ส่วนใหญ่ หรือกว่าร้อยละ 60 คือ เพื่อป้องกันและดูแล ตนเองจากการเจ็บป่วย และในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างเพศ หญิงจะให้ความสำ�คัญกับการับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ มากกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศชาย คิดเป็นสัดส่วน 55 ต่อ 45 และจากภาพจะพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างเพศชายที่ไม่รับ ประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิง คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65 ต่อ 35 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากว่า กลุ่มตัวอย่างชายชาวเวียดนามยังใส่ใจในสุขภาพน้อยกว่าผู้ หญิง โดยเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพมากที่สุด คือ เพื่อให้มีรูปร่างที่ดี รองลงมาเพราะ ด้วยเหตุผลว่า อาหารเพื่อสุขภาพมีรสชาติดีและอยาก ทดลองอาหารเพื่อสุขภาพ ตามลำ�ดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศ ชายรับประทานอาหารสุขภาพเพราะด้วยเหตุผลว่ากำ�ลัง เป็นที่นิยมมากที่สุด รองลงมา คือ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง โดยอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพที่ ก ลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาว เวียดนามรับประทาน ส่วนใหญ่ คืออาหารออร์แกนิค และ ผักต่างๆ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31 รองลงมาคือ ข้าวออร์แกนิค และอาหารเสริมหรือวิตามิน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 27 และร้อยละ 10 ตามลำ�ดับ ส่วนการดื่มเครื่องดื่ม สมุนไพรเพื่อสุขภาพในกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม ถือว่ายัง มีในสัดส่วนที่น้อย คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 7 ส่วนระดับ ราคาที่ยอมจ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ นั้น ส่วนใหญ่จะยินดีที่จะจ่ายเพิ่มจากราคาอาหารทั่วไป 5% คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 ยินดีจะจ่ายเพิ่มจากราคาอาหาร ทั่วไปร้อยละ 10 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28 และไม่ยินดีที่จะ จ่ายเพิ่มจากราคาอาหารทั่ว ๆ ไป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ตามลำ�ดับ

CLMV PULSE: Vietnam

27


พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สำ�หรับเวียดนามนั้นตามกฏหมายแล้ว ห้ามคนเวียดนามที่อายุต่ำ�กว่า 18 ปี ดื่มสุราและเครื่องดื่มมึนเมา แต่ก็พบว่ามีเบียร์และไวน์วางขายอยู่ทั่วไป และยังไม่เคร่งครัดในการตรวจอายุของผู้ซื้อเท่าใดนัก คนเวียดนามจะ ชอบดื่มหลังเลิกงานตามผับ ร้านอาหาร หรือแม้แต่ตามร้านข้างถนน มีร้านอยู่เป็นจำ�นวนมากที่มีโต๊ะตัวเดียวและ เก้าอี้ตัวเล็ก ๆ อยู่ข้างถนน ซึ่งก็สามารถขายเบียร์และไวน์ให้ลูกค้าได้แล้ว และเมื่อคนนิยมรับประทานอาหารนอก บ้านมากขึ้นการดื่มก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทำ�ให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีผู้มาลงทุนมากขึ้นและคาด ว่าจะเป็นธุรกิจที่สามารถทำ�กำ�ไรได้ดี คนเวียดนามจะใช้การดื่มเป็นการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเพื่อน ๆ การสังสรรค์ และเพื่อธุรกิจ ส่วน คนในชนบทจะดื่มเหล้าขาวที่ผลิตกันเอง เนื่องจากมีราคาถูก ส่วนคนในเมืองใหญ่จะเลือกดื่มเบียร์ที่มีระดับมากขึ้น ตามฐานะของตน เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พบว่า ประมาณร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนาม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยดื่มเป็นประจำ�ร้อยละ 14 และดื่มเป็นครั้งคราวร้อยละ 55 โดยเพศชายดื่ม มากกว่าเพศหญิง เกือบ 2 เท่า ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยดื่มเป็น ประจำ�เพียงร้อยละ 3 นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างรายได้สูง มีแนวโน้มบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ� สูงกว่ากลุ่มอื่น เมื่อถามเหตุผลที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะไม่ชอบรสชาติ และไม่ดี ต่อสุขภาพ

"HANOI, VIETNAM - HÀ NỘI" BY DAVID BERKOWITZ

28

Khon Kaen University


พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มประเภทต่างๆ

สำ�หรับชาวเวียดนาม เครื่องดื่มประเภทนม ชา และกาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่กลุ่มตัวอย่างใหญ่ดื่มเป็น ประจำ�ทุกวันและดื่มมากกว่าวันละครั้ง ส่วนเครื่องดื่มที่ ดื่มประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ได้แก่ ชาบรรจุขวด นม ถั่วเหลือง น้ำ�อัดลม น้ำ�หวานต่างๆ น้ำ�ผักและน้ำ�ผลไม้ เป็นต้น “IMG_0365” BY JIT BAG

โดยเครื่องดื่มประเภทนม กาแฟสำ�เร็จรูป ชา น้ำ�อัดลม น้ำ�หวาน และเครื่องดื่มบำ�รุงกำ�ลัง กลุ่มตัวอย่าง มักจะซื้อหาจากร้านขายของชำ� ส่วนกาแฟสด ได้รับความนิยมในการซื้อตามร้านกาแฟหรือคอฟฟี่ช็อป กว่าร้อยละ 44 รองลงมากลุ่มตัวอย่างซื้อจากร้านขายของชำ� ซุปเปอร์มาเก็ตและทำ�เองที่บ้าน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 16 และ 13 ตามลำ�ดับ นอกจากบางส่วนยังนิยมไปซื้อเครื่องดื่มจำ�พวกน้ำ�ผัก ผลไม้และเครื่องดื่มบำ�รุงกำ�ลังที่ร้านกาแฟ ด้วย ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด เช่น ไวน์/แชมเปญ บรั่นดี/วิสกี้ วอดก้า และเบียร์ต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะไม่ได้ดื่มบ่อยนัก โดยกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้อยู่เป็นประจำ� คือ กลุ่มที่มีรายได้สูงเป็นหลัก และมัก จะหาซื้อ-ดื่มได้จากร้านอาหาร ภัตตาคาร บาร์หรือ NIGHT CLUB ส่วนเครื่องดื่มประเภท FUNCTIONAL DRINK, HEALTHY AND BEAUTY DRINK และเครื่องดื่มสมุนไพรต่าง ๆ นั้น ขณะนี้ยังไม่เป็นที่นิยมของชาวเวียดนามมากนัก โดยมีสัดส่วนผู้ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ดื่มเลยประมาณ 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ มีรายได้สูงที่นิยมดื่ม โดยจะหาซื้อตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือศูนย์การค้าต่าง ๆ CLMV PULSE: Vietnam

29


พฤติกรรมการดื่มชา-กาแฟ และขนมหวาน

กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่จะชอบดื่มชาและกาแฟมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 19 เท่าๆ กัน แต่มีผู้ดื่มกาแฟวันละครั้งมากกว่าชา คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ต่อ 14 อย่างไรก็ตามยัง มีกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามกว่า 1 ใน 5 ที่ไม่ดื่มชา คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 และไม่ดื่มกาแฟประมาณร้อยละ 21 เมื่อพิจารณาจากกลุ่มอายุของผู้บริโภค เราพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความถี่ในการดื่มกาแฟบ่อยที่สุด มีอายุระหว่าง 40-49 ปี รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 50-60 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มอายุที่ใกล้เคียงกันกับกลุ่มตัวอย่างที่ชอบ ดื่มชา โดยสามารถกลุ่มตัวอย่างนิยมดื่มกาแฟที่ COFFEE SHOP มากที่สุดประมาณร้อยละ 33 ส่วนชานิยมซื้อจาก ร้านขายของชำ� และซุปเปอรมาร์เก็ต คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 และร้อยละ 25 ตามลำ�ดับ การดื่มชาถือเป็นธรรมเนียมของเวียดนามและคนเอเชียโดยทั่วไป เป็นที่รู้กันว่าชามีประโยชน์ทางยา จึง เป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำ�วันของชาวเวียดนาม นอกจากการดื่มชาที่บ้านแล้ว ปัจจุบันมีร้านชาที่ตกแต่งสวยงาม เพิ่มขึ้นมากในเมืองใหญ่โดยการรับอิทธิพลตะวันตก คนเวียดนามโดยเฉพาะผู้ชายจะดื่มกาแฟทุกวัน ขณะที่อากาศ ในเวียดนามค่อนข้างร้อน คนจึงชอบออกไปดื่มกาแฟที่ร้านเพื่อความสดชื่น เวียดนามเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟ จึง เป็นเครื่องดื่มที่ราคาไม่แพงและได้รับความนิยมมาก สำ�หรับอาหารประเภทขนม ของหวาน เบเกอรี่ และไอศครีม พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนามประมาณร้อยละ 10 จะรับประทานไม่ต่ำ�กว่าวันละครั้ง ร้อยละ 26 สัปดาห์ละไม่ต่ำ�กว่า 1 ครั้งและร้อยละ 23 จะรับประทานนานๆ ครั้ง ประมาณ 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ค่อยหรือไม่เคยรับประทานเลย มีประมาณร้อยละ 60 โดยในที่นี้เราพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการรับประทานขนมหวาน ของหวานและเบเกอรี่ มากกว่าไอศกรีม โดยสถานที่ในการซื้อขนมหวานชนิดต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป เช่น ขนมขบเคี้ยวกลุ่มตัวอย่าง มักจะซื้อจากร้านชากาแฟมากที่สุด ส่วนของหวาน ไอศกรีม เค้ก หรือเบเกอรี่ มักจะซื้อจากร้านเบเกอรี่ และร้าน ซุปเปอร์มาเก็ตต่างๆ

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร

ค่าใช้จ่ายส่วนตัวสำ�หรับอาหารของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 1,000-4,000 บาท ต่อเดือน (ไม่เกิน 45 บาทต่อมื้อโดยประมาณ) และค่าใช้จ่ายครัวเรือนสำ�หรับอาหาร ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 6,0008,000 บาทต่อเดือน (ไม่เกิน 90 บาทต่อมื้อโดยประมาณ) และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามบางส่วน ประมาณร้อยละ 15 ปลูกผักและผลไม้รับประทานเองที่บ้านอีกด้วย 30

Khon Kaen University


การแพทย์ และการดูแลรักษาสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ กลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนามเกือบร้อยละ 80 จะซื้อยาจากร้านขายยามา บริโภคเอง มีเพียงประมาณร้อยละ 7 ที่มักจะไปพบ แพทย์ที่คลินิกและโรงพยาบาล และบางส่วนก็นิยม ปล่อยให้อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ นั้นหายไปเอง

แต่ เ มื่ อ เกิ ด อาการเจ็ บ ป่ ว ยในระดั บ มากพอ สมควรและจำ�เป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ กลุ่ม ตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญร้อยละ 70 เลือกเข้า รักษาในโรงพยาบาลของรัฐ อีกประมาณร้อยละ 20 เลือกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน โดยมี ประมาณร้อยละ 5 เลือกไปพบแพทย์ที่คลินิก

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาทำ�ให้สามารถ ทราบได้ว่าชาวเวียดนามโดยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยได้รับ สวัสดิการในด้านสุขภาพจากการทำ�งานมากนัก โดย ส่วนใหญ่เมื่อต้องชำ�ระค่ารักษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง ชาวเวียดนามหรือไม่ก็คู่สมรสต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ด้วยตนเอง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 55% นอกจากนี้ อีกว่าร้อยละ 30 ใช้สิทธิ์ประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ มี เพียงประมาณร้อยละ 3 เท่านั้นที่ใช้สวัสดิการของรัฐ หรือเอกชน จากหน่วยงานที่ตนทำ�งานอยู่

CLMV PULSE: Vietnam

31


VIETNAM

HEALTH &MEDICINE

FRANCO VIET HOSPITAL BY LAWRENCE SINCLAIR

กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมากกว่า 1 ใน 3 เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำ�ปี และอีกประมาณ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่าง ไม่เคยรับการตรวจสุขภาพเลย ส่วนผู้ที่เข้ารับ การตรวจสุขภาพเป็นประจำ�ส่วนใหญ่จะตรวจทุกๆ 6 เดือน - 1 ปี โดยเฉพาะกลุ่มที่มีราย ได้ปานกลาง-สูง มีแนวโน้มเข้ารับการตรวจสุขภาพมากกว่ากลุ่มรายได้ต่ำ�อย่างไรก็ตามใน เวียดนามยังเผชิญกับการที่ประชากรที่มีรายได้สูงมักจะเดินทางไปรับการรักษา หรือการ ตรวจสุขภาพที่ต่างประเทศอยู่ แม้ว่าการให้บริการทางสุขภาพของเวียดนามจะพยายาม ปรับปรุงและพัฒนาอย่างมากก็ตาม แต่เนื่องจากการให้บริการที่ต่ำ�กว่ามาตรฐาน ความ แออัดที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล รวมทั้งแพทย์และพยาบาลที่ทำ�งานอย่างหนัก ส่งผลให้ คนไข้ชาวเวียดนามไม่มีความสุขกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับทั้งการตรวจรักษา หรือเอาใจใส่ ที่ดีมากนัก นอกจากนี้เนื่องจากคนเวียดนามมีรายได้ดีขึ้น ทำ�ให้หันมาดูแลเรื่องการรักษา สุขภาพมากขึ้น ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกว่าที่เป็นมา ซึ่งปกติแล้ว คนเวียดนามมักจะไม่ไปหาหมอ ยกเว้นในกรณีที่เจ็บป่วยมากๆ คนเวียดนามจะไปซื้อยา ตามร้านขายยาโดยไม่มีใบสั่งยา แต่จะให้คนขายเป็นคนวินิจฉัยโรคและสั่งยาแทน สำ�หรับการดูแลสุขภาพแบบอื่นๆ พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง จะรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามิน และนอกจากนี้ 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนามมักจะดูแลสุขภาพโดยการออกกำ�ลังกาย อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง มักจะออกกำ�ลังกายน้อยกว่าผู้ชาย โดยมีประมาณ 1 ใน 3 ที่ออกกำ�ลังกายเป็นประจำ� ทุกวัน กิจกรรมการเดิน/วิ่ง เป็นกิจกรรมหลักที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามนิยมทำ� โดย เฉพาะกลุ่มตัวอย่างเพศชาย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไปออกกำ�ลังกายตามสวนสาธารณะ โดยมี ประมาณร้อยละ 16 ที่ไปออกกำ�ลังกายในฟิตเนส ส่วนกิจกรรมการออกกำ�ลังกายที่กลุ่ม ตัวอย่างเพศหญิงนิยมทำ�ได้แก่ โยคะ ปั่นจักรยานและเต้นแอโรบิก 32

Khon Kaen University


เนื่องจากกำ�ลังซื้อที่เพิ่มขึ้น มาตรฐานชีวิตที่ สูงขึ้น และอิทธิพลจากสื่อต่าง ๆ ทำ�ให้ผู้คนหันมาให้ ความสนใจเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกมากขึ้น ห่วงใยเรื่อง ความงามและสุขภาพมากขึ้น ทำ�ให้คนเวียดนามจ่ายเงิน เพื่อซื้อเครื่องสำ�อาง เครื่องบำ�รุงผิว และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น แชมพู ครีมอาบน้ำ� ยาสีฟัน ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ ในประเทศและนำ�เข้า โดยส่วนใหญ่เป็นของบริษัทต่าง ชาติ มีสินค้าจากแบรนด์ดังๆจากทั่วโลก แต่ก็พบว่าคน เวียดนามจะให้ความนิยมเครื่องสำ�อางเกาหลีและญี่ปุ่น มากกว่า โดยคนเมื อ งส่ ว นใหญ่ มั ก จะเลื อ กซื้ อ เครื่ อ ง สำ�อางตามยี่ห้อที่ชอบ คนที่ฐานะดีมักจะซื้อเครื่อง สำ�อางในห้างสรรพสินค้าต่างชาติ ที่ไม่เพียงแต่ขาย สินค้าแต่ยังมีพนักงานให้คำ�แนะนำ� สำ�หรับผู้ที่มีรายได้ ไม่สูงนักนิยมซื้อตามร้านทั่วๆไปที่จะมีทั้งของมีแบรนด์ ของในประเทศ ของจากจีน และแม้แต่ของเลียนแบบ ส่วนเครื่องใช้อื่น ๆ จะหาซื้อตามร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตามตลาด กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 62 ไม่ค่อยได้ดูแลผิวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม ตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท และกลุ่มตัวอย่างเพศชาย ซึ่งร้อยละ 90 ไม่ได้ ดูแลผิวเป็นพิเศษเลย ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 38 มีวิธีการดูแลตัวเองแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม ตัวอย่างวัย 18-22 ปี โดยประมาณมากกว่า 1 ใน 3 ที่ทาครีมหรือโลชั่นเป็นประจำ� ซึ่งในจำ�นวนนั้น กว่าร้อยละ 60 เป็นกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง และกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงประมาณร้อยละ 20 จะแต่งหน้า ส่วนวิทยาการเสริมความงาม สมัยใหม่ เช่น โบท็อกซ์ การพบแพทย์ผิวหนัง รับประทานอาหารเสริม ยังมีการเข้าถึงในระดับน้อย มีผู้ที่ดูแลตัวเอง ด้วยวิธีนี้เพียงร้อยละ 0.03 ร้อยละ 2 และร้อยละ 10.5 สำ�หรับในด้านทัศนคติเกี่ยวกับความสำ�คัญของความสวยความงาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงชาว เวียดนามให้ความสำ�คัญกับการมีผิวสวยมากที่สุด รองลงมาคือ การและดูอ่อนเยาว์คงความสาวอยู่เสมอ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 30-39 ปีและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักกันดี

CLMV PULSE: Vietnam

33


ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับความสำ�คัญของความสวย ความงามของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เพศชายชาวเวียดนามให้ความสำ�คัญกับการทำ�ศัลยกรรม เสริมความงามมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ มียี่ห้อเป็นที่รู้จักกันดีและการใช้บริการคลินิกเสริมความ งาม กลุ่ ม ตั ว อย่ า งเพศชายโดยส่ ว นใหญ่ มั ก เข้ า ใช้ บริการร้านตัดผมทุกเดือน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง เข้าร้านตัดผมหรือร้านเสริม สวยทุก 3 เดือน คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดหรือประมาณ ร้อยละ 40 รองลงมา นิยมเข้าทุกเดือน คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 30

ความถี่ของการใช้บริการร้านตัดผม

กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามโดยส่วนใหญ่ยังไม่ ค่อยมีคุ้นเคยกับร้านสปาเท่าใดนัก โดยมีสัดส่วนกลุ่ม ตัวอย่างที่ไม่เคยเข้าร้านสปาเลยกว่าร้อยละ 70 อย่างไร ก็ตามกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ที่เข้าไปใช้บริการจากร้าน สปาก็ มั ก จะเข้ า ไปใช้ บ ริ ก ารประมาณเดื อ นละครั้ ง หรื อ นานๆ ครั้ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 และ10 ตามลำ�ดับ

ความถี่ของการใช้บริการร้านสปา

ส่ ว นในเรื่ อ งการใช้ บ ริ ก ารคลิ นิ ก เสริ ม ความ งาม กลุ่มตัวอย่างเพศชายกว่าร้อยละ 90 ไม่เคยเข้าไปใช้ บริการ สำ�หรับผู้ที่เคยเข้าไปใช้บริการ มีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 5 โดยเข้าไปใช้บริการทุกเดือน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง เพศหญิง มีผู้เคยเข้าไปใช้บริการเสริมความความประมาณ ร้อยละ 50 โดยส่วนใหญ่จะเข้าใช้บริการนานถึง 6 เดือน ต่อครั้ง รองลงมาอีกส่วนหนึ่งนิยมเข้าใช้บริการคลินิกเสริม ความงามทุกเดือน 34

Khon Kaen University

DOCTOR AND NURSES BY RESURGE INTERNATIONAL


พฤติกรรมการสูบบุหรี่

สำ�หรับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามพบว่า มีผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 20 ของ กลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 80 ของผู้ที่สูบบุหรี่จะสูบเป็นประจำ�ทุกวัน อีกร้อยละ 20 จะสูบเป็นครั้งคราว ในจำ�นวนนี้เป็นกลุ่มที่อายุ 18-22 ปีประมาณร้อยละ 16 และเป็นเพศหญิงเพียง ร้อยละ 5 โดยกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกเห็นด้วยที่จะให้มีการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่เกือบทั้งหมดรู้สึกว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสร้างความเดือดร้อนรำ�คาญ

สำ�หรับสถานที่ในการซื้อบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 ซื้อบุหรี่จากร้านขายของชำ� มีเพียง ร้อยละ 5 ที่จะซื้อจากร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด

/

CLMV PULSE: Vietnam

35


การจับจ่ายใช้สอย

ชาวเวียดนามโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างใส่ใจ การแต่งตัวให้ดูดี และมักจะติดตามกระแสนิยมอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ได้ฟุ่มเฟือย หรือใช้เงินจำ�นวนมากไปกับแฟชั่น กลุ่ม ตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่จับจ่ายซื้อสินค้าแฟชั่นจาก ร้านขายเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ทั่วๆไป เป็นหลัก คิดเป็น สัดส่วนประมาณร้อยละ 50 รองลงมาจึงไปซื้อตามตลาดนัด และศูนย์การค้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 และร้อยละ 15 ตามลำ�ดับ ส่วนการจับจ่ายทางออนไลน์ยังอยู่ในวงแคบ คิด เป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 5 โดยความถี่ในการซื้อนั้น ส่วน ใหญ่จะซื้อสินค้าแฟชั่นทุกๆ 3-6 เดือนหรือนานกว่า ขึ้นอยู่ กับประเภท เช่นเสื้อผ้าจะซื้อบ่อยกว่ารองเท้า หรือกระเป๋า โดยแหล่ ง ข้ อ มู ล ในการอั พ เดทแฟชั่ น ที่ สำ � คั ญ ของชาว เวียดนาม ได้แก่ อินเตอร์เน็ต เพื่อน และโทรทัศน์ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 34 ร้อยละ 21 และร้อยละ 18 ตามลำ�ดับ

GONE SHOPPING. #SAIGON #VIETNAM #NAMAFIA BY ASTRANGELYISOLATEDPLACE

เหตุ ผ ลส่ ว นใหญ่ที่ก ลุ่ม ตัว อย่าง ชาวเวียดนามซื้อสินค้าแฟชั่น พบว่า โดย ส่วนใหญ่ซื้อบนพื้นฐานความจำ�เป็นที่จะ ต้องใช้ หรืออาจซื้อเพื่อทดแทนสิ่งเดิมที่ แตกหักเสียหาย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54 รองลงมาคือซื้อเพื่อสะท้อนความเป็นตัว ตน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 19 และเพราะ สินค้ามีราคาเป็นที่น่าพึงพอใจ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 8 ส่วนการซื้อสินค้าตาม โปรโมชั่นมีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 4 และการซื้อสินค้าตามคุณภาพหรือความ เป็นแบรนด์ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 36

Khon Kaen University

/


VIETNAM

SHOPPING

LANTERN SHOP IN HỘI AN BY HARALD HOYER

ส่วนในแง่การครอบครองสินค้าแฟชั่น หรูหรา และมีราคาแพง (มูลค่าเกิน 3 หมื่นบาท) พบว่ากว่าร้อย ละ 90 ไม่นิยมสินค้าประเภทนี้ และมีประมาณร้อยละ 10 ที่มีสินค้าเหล่านี้เพียง 1-2 ชิ้น โดยเหตุผลสำ�คัญใน การซื้อ คือ เพราะชอบการออกแบบและคุณภาพเป็น หลัก มีเพียงร้อยละ 1.3 ที่ซื้อเพื่อการลงทุนและเพียง ร้อยละ 1 ที่ซื้อเพื่อสะท้อนหรือแสดงสถานะทางสังคม ของตนเอง สำ�หรับการซื้อสินค้าแฟชั่นของชาวเวียดนาม นั้นมีแหล่งให้ซื้อสินค้าในเขตเมืองอยู่เป็นจำ�นวนมาก ทั้ง ร้านค้าที่เป็นสินค้าแบรนด์เนมโดยเฉพาะ หรือห้างสรรพ สินค้าที่ขายสินค้าโดยทั่วไป DGJ_0887 - LADIES LOVE TO SHOP IN ALL COUNTRIES. BY DENNIS JARVIS

ห้างHOMEIDEALในนครเวียงจันทน์

CLMV PULSE: Vietnam

37


การจับจ่ายซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม พบว่าชาวเวียดนาม มีพฤติกรรมการจับจ่ายแตกต่าง กันไปตามแต่ละประเภทของสินค้า โดยสินค้าอุปโภคเช่น กระดาษชำ�ระ ผงซักฟอก จะซื้อเดือนละ 1-2 ครั้งจาก ซูเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ส่วนสินค้าประเภทสบู่ แชมพู ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ซื้อเดือนละ 1-2 ครั้งจากซูเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านขาย ของชำ� โดยเฉพาะผู้มีรายได้มากมักจะซื้อจากซูเปอร์มาเก็ตกว่าร้อยละ 90 ส่วนสินค้าประเภทเครื่องสำ�อางต่างๆ ส่วนใหญ่ซื้อทุกๆ 3-6 เดือนจากซูเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต ศูนย์การค้า และร้านขายของเฉพาะด้าน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มตัวอย่างวัยทำ�งานที่มีอายุระหว่าง 23- 29 ปี หนังสือและนิตยสาร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35 มักจะซื้อจากร้านขายของชำ�ในท้องถิ่น และอีกส่วนหนึ่ง ประมาณร้อยละ 33 ซื้อจากร้านขายหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่มีอายุอยู่ในวัยอายุไม่เกิน 30 ปี มักจะซื้อ หนังสือหรือนิตยสารทุกวันหรือเกือบทุกวัน และกว่าร้อยละ 80 ซื้อหนังสือไม่ต่ำ�กว่าเดือนละครั้ง ส่วนการซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ยังจำ�กัดอยู่ในวงแคบๆ มีบ้างที่ซื้อโดยดูสินค้าผ่านเฟซบุ๊ค แล้วไปรับสินค้าและชำ�ระเงินที่บ้านหรือร้านของผู้ขาย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น

ทัศนคติเกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้า

สำ�หรับทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามนั้น สิ่งที่ให้ความสำ�คัญมากที่สุด คือ การได้ใช้สินค้าที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 รองลงมาคือ เมื่อเลือกซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง จะเลือก ซื้อสินค้าที่ดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และในการซื้อสินค้าโดยทั่วไปแล้ว จะซื้อสินค้าที่ดีที่สุดเสมอ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.13 ตามลำ�ดับ ซึ่งหากกล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าชาวเวียดนามจะคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้าและเลือก ซื้อเฉพาะสิ่งที่คุ้มค่าเป็นหลัก โดยจะพยายามเลือกสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดในร้าน และจะเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี ที่สุดเสมอ และมักเลือกซื้อสินค้าอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสำ�คัญมากนักในการเลือกซื้อสินค้า 3 อันดับแรก ได้แก่ ไม่ค่อยคิดมากเมื่อจะซื้อสินค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.59 ปรับเปลี่ยนตามแฟชั่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.57 และมักจะซื้อของโดยไม่ได้ตั้งใจอยู่บ่อยครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40 สำ�หรับคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ตและอุปกรณ์สื่อสารมักจะซื้อจากร้านอุปกรณ์เฉพาะทางกว่า ร้อยละ 60 รองลงมามักจะซื้อจากศูนย์การค้า เช่นเดียวกับชิ้นส่วนยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ ซึ่งสินค้าต่างๆ เหล่านี้กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมีความถี่ในการซื้อประมาณ 6 เดือนหรือมากกว่านั้นต่อ 1 ครั้ง จากการสัมภาษณ์พบว่าชาวเวียดนามจะใช้รถจักรยานยนต์และโทรศัพท์มือถือในการแสดงสถานะของ ตนเอง โดยสำ�หรับจักรยานยนต์ เฉพาะในนครโฮจิมินห์ที่มีประชากรประมาณ 9 ล้านคน มีจำ�นวนรถจักรยานยนต์ อยู่กว่า 4 ล้านคัน ส่วนโทรศัพท์มือถือนั้น เป็นสินค้าเทคโนโลยี ที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก ร้านจำ�หน่ายโทรศัพท์มือ ถือ มีให้เห็นได้ทุกแห่งในเวียดนาม 38

Khon Kaen University


CLMV PULSE: Vietnam

39


บ้านและที่อยู่อาศัย ลักษณะของที่อยู่อาศัย

ภาพรวมด้านลักษณะที่อยู่อาศัยของ กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม ส่วนใหญ่กว่าร้อย ละ 33 เป็นบ้านเดี่ยว (DETACHED HOUSE/ VILLA) อาศัยอยู่ในบ้านหลังปัจจุบันมาแล้ว เฉลี่ยกว่า 15 ปี กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามอยู่ บ้านเฉลี่ยสัปดาห์ละไม่ต่ำ�กว่า 5 วัน และอยู่ กันเป็นครอบครัวใหญ่ มีสมาชิกตั้งแต่ 3-5 คน ขึ้นไป โดยสมาชิกภายในบ้านส่วนใหญ่จะมีอายุ ระหว่าง 30-60 ปี รองลงมา คือ ที่อยู่อาศัย แบบทาวน์เฮาส์/บ้านแฝด และอพาร์ทเมนต์/ แมนชั่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 และร้อยละ 16 ตามลำ�ดับ

/

/

/

นอกจากนี้บ้านที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม ส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ เป็นบ้านที่สร้างขึ้นเองกว่าร้อยละ 53 รองลงมาอาศัยอยู่ในบ้านเช่า และบ้านมือสอง คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 20 และร้อยละ 13 ตามลำ�ดับ ส่วน บ้านที่ได้รับการจัดสรรหรือบ้านพักสวัสดิการยังคงมี สัดส่วนค่อนข้างน้อย สำ � หรั บ ภายในบ้ า นของกลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาว เวียดนาม ส่วนใหญ่จะมีห้องนอนไม่ต่ำ�กว่า 3 ห้อง และ มีห้องน้ำ�ประมาณ 1 – 2 ห้อง วัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้าน ส่วนใหญ่จะสร้างจากอิฐและปูนซีเมนต์เป็นหลัก คิดเป็น สัดส่วนกว่าร้อยละ 80 รองลงมาจะเป็นบ้านแบบกึ่งไม้ กึ่งปูนและบ้านไม้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 และร้อยละ 4 ตามลำ�ดับ ร้อยละ 80 นิยมตกแต่งบ้าน ด้วยผ้าม่าน ส่วนการตกแต่งผนังบ้านส่วนใหญ่ยังคง นิยมเพียงการทาสี มีการใช้วอลเปเปอร์เพียงร้อยละ 17 ส่วนพื้นของบ้าน ร้อยละ 80 เป็นพื้นกระเบื้อง รองลงมา คือ พื้นซีเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 11 ส่วนพื้นไม้นั้น มีอยู่ ร้อยละ 9 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40

Khon Kaen University


VIETNAM

HOME CARE AND DECORATIONS

NOTRE DAME CATHEDRAL, HO CHI MINH CITY, VIETNAM BY YEOWATZUP

HOI AN BY DAVID MCKELVEY

HOI AN BY DAVID MCKELVEY

CLMV PULSE: Vietnam

41


พฤติกรรมการอยู่อาศัย

จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ห้องที่กลุ่มตัวอย่างใช้งานมากที่สุดในบ้าน คือ ห้องนั่งเล่น คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 50 รองลงมา คือ ห้องนอน คิดเป็นร้อยละ 40 และห้องครัวหรือห้องรับประทานอาหาร ร้อยละ 8 ตามลำ�ดับ สำ�หรับห้องที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญกับการตกแต่งมากที่สุดคือห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก คิดเป็น ร้อยละ 67 รองลงมาคือห้องนอน ร้อยละ 28 ซึ่งสอดคล้องกับห้องที่กลุ่มตัวอย่างต้องการโชว์แก่ผู้ที่มาเยี่ยมมาก ที่สุดคือ ห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก สูงถึงร้อยละ 82 รองลงมา คือ สวนหรือสนามหญ้า ส่วนห้องครัวกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำ�คัญในการตกแต่งเพียง ร้อยละ 2 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างต้องการจะใช้ห้องครัวแสดงความเป็นหน้าเป็นตา ของบ้านมากที่สุดเป็นอันดับ 3 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

สำ�หรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านนั้น กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมีโทรทัศน์และพัดลมใช้แทบทุกครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 96 และ 95 ตามลำ�ดับ รองลงมามากกว่า 2 ใน 3 มีหม้อหุงข้าว เครื่องเล่นวีซีดีและและเครื่องซักผ้า ใช้ กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมีโทรทัศน์โดยเฉลี่ย 2 เครื่องต่อครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า โทรทัศน์ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่สำ�คัญที่จำ�เป็นต้องมี เพราะนอกจากชาวเวียดนามจะชอบดูโทรทัศน์ แล้ว โทรทัศน์ยังเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงฐานะของเจ้าของบ้านได้อีกด้วย โดยกลุ่มตัวอย่าง มักจะวางโทรทัศน์ไว้ที่ ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่นเป็นหลัก และจัดตกแต่งห้องรับแขกอย่างสวยงาม

42

Khon Kaen University


พฤติกรรมการตกแต่งบ้าน และการซื้อ สินค้าตกแต่งบ้าน

“HOTEL APARTMENT” BY MICHAEL COGHLAN

การตกแต่งบ้านของชาวเวียดนาม กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 74 บอกว่าไม่ได้จ้าง สถาปนิก มัณฑนากร หรือดีไซน์เนอร์ เพื่อมาออกแบบ ตกแต่งบ้าน อย่างไรก็ตามกว่าร้อยละ 14 มีการได้มี การจ้างสถาปนิกมาออกแบบสำ�หรับการตกแต่งพื้นที่ บางส่วนภายในบ้าน ส่วนอีกร้อยละ 12 มีการจ้างให้มา ออกแบบบ้านทั้งหลัง หรือเกือบทั้งหลัง ซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นกลุ่มกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับรายได้ปานกลาง – สูง และระดับรายได้สูง นอกจากนี้ ก ลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเวี ย ดนามเกิ น กว่าครึ่ง เห็นว่าการที่มีบ้านที่สะอาด เรียบร้อย สะดวก สบาย และสวยงามนั้น เป็นเรื่องที่สำ�คัญ โดยกลุ่ม ตัวอย่างกว่าร้อยละ 57 นั้นเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำ�คัญที่สุด และร้อยละ 34 เห็นว่าเป็นเรื่องสำ�คัญ อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมักจะไม่ค่อยมีการจัด หรือ ย้ายเฟอร์นิเจอร์ โดยมีการจัดหรือเคลื่อนย้ายนานๆ ครั้ง (มากกว่า 1 ปีต่อครั้ง) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 37 และอีกกว่า ร้อยละ 25 จัดบ้านเพียงปีละ 1 ครั้ง ส่วนความถี่ในการซื้อของตกแต่งบ้านชิ้น เล็ก ๆ เช่น โคมไฟ กรอบรูป และอื่น ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะซื้อประมาณปีละครั้งหรือนานกว่านั้น คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 47 และซื้อปีละครั้ง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 25 ส่วนของชิ้นใหญ่ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียงนอน ก็ เช่นเดียวกัน ส่วนมากนานๆ ครั้ง (มากกว่า 1 ปีต่อครั้ง) จึงจะซื้อ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 และซื้อปีละครั้ง คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 19 สำ�หรับเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างไป ซื้อของตกแต่งบ้านชิ้นใหม่ กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 ตอบว่าเพื่อทดแทนเฟอร์นิเจอร์เดิมที่แตกหักเสียหาย สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้เงินและซื้อสินค้าซึ่งส่วน มากจะซื้อสินค้าตามความจำ�เป็น รองลงมาร้อยละ 14 ซื้อเพื่อตกแต่งบ้านใหม่ และร้อยละ 8 ซื้อเพราะต้องการ ความสะดวกสบายหรือต้องการการใช้สอยที่ดีขึ้น

“IMG_0577” BY NGUYEN HUNG VU

CLMV PULSE: Vietnam

43


จากการสำ � รวจแล้ ว พบว่ า ด้ ว ยฐานะความเป็ น อยู่ ที่ ดี ขึ้ น ทำ�ให้คนเวียดนามต้องการจะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น ค่านิยมที่จะ ใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ได้เปลี่ยนไป ผู้บริโภคสมัย ใหม่นิยมเลือกซื้อสินค้าที่มีการออกแบบและรูปแบบสวยงามทันสมัย โดยร้านเฟอร์นิเจอร์ในเวียดนามจะมีวางขายเป็นโซน เช่น ย่านร้าน เฟอร์นิเจอร์ไม้ ย่านร้านเฟอร์นิเจอร์จากจีน ย่านร้านเฟอร์นิเจอร์แบบ หรูหราจากยุโรป เป็นต้น ซึ่งจะมีความหลากหลายทางด้านราคา ส่วนเครื่องใช้ในบ้านจะมีวางขายตามร้านทั่วๆไปรวมถึงใน ตลาด ข้างถนนและในซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ในขณะนี้เริ่มมีสินค้าต่างชาติ เข้ามา เช่น เครื่องครัวยี่ห้อดังมาขายในเมืองใหญ่ อย่างเช่น โฮจิมินห์ ซิตี้ และฮานอย แต่ยังขายไม่ได้มากนัก เพราะราคาค่อนข้างสูง ส่วนไอเดียการตกแต่งบ้าน หรือแรงบันดาลใจในการตกแต่ง บ้านของชาวเวียดนามนั้น กลุ่มตัวอย่างได้ไอเดียมาจากอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 40 ได้ไอเดียมาจากเพื่อนร้อยละ 32 และได้ไอเดียมาจาก หนังสือหรือนิตยสารร้อยละ 27 ตามลำ�ดับ โดยสไตล์เฟอร์นิเจอร์ที่ กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนมากจะชอบการตกแต่งด้วย เฟอร์นิเจอร์ใหม่ที่ทันสมัย สะดวก พร้อมใช้งาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 55 รองลงมาคือ เฟอร์นิเจอร์แบบสั่งทำ�เป็นชิ้นๆ (TAILORMADE) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 และเฟอร์นิเจอร์เก่า/ของโบราณ (ANTIQUE) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ตามลำ�ดับ ส่วนเฟอร์นิเจอร์ แบบ BUILT-IN มีกลุ่มตัวอย่างชื่นชอบเพียง ร้อยละ 2 และส่วนสินค้า เฟอร์นิเจอร์ประกอบเองหรือ DIY กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 55 ตอบว่าอาจจะสนใจถ้าหากมีราคาที่น่าสนใจ สำ�หรับสถานที่ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่จะซื้อจากร้านขายเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้าน คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 72 รองลงมา คือ สั่งทำ�จากช่างร้านเฟอร์นิเจอร์ คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 10 และซื้อจากห้างสรรพสินค้าทั่วไป คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 7 ตามลำ�ดับ ส่วนการซื้อผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตและ การซื้อจากงานแสดงสินค้ายังมีไม่มากนัก แม้ว่าจะมีสัดส่วนผู้ให้ความ สนใจในการซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ อยู่กว่าร้อยละ 40 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

DIY

44

Khon Kaen University

/

“FURNITURE MAKING” BY KATINA ROGERS


/

สำ�หรับผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านนั้น กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามร้อย ละ 40 เป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง ส่วนอีกประมาณร้อยละ 30 มีผู้ร่วมตัดสินใจ คือ สามีและภรรยา และอีกประมาณ ร้อยละ 25 ซื้อเพราะมีลูกเป็นแรงบันดาลใจหรือเป็นแรงผลักดันให้เกิดการซื้อ กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามกว่าร้อยละ 90 มักจะชำ�ระค่าสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ด้วยเงินสดเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ที่ชำ�ระโดยใช้ บัตรเครดิต ส่วนค่าใช้จ่ายสำ�หรับการตกแต่งบ้าน และซื้อสินค้าดังกล่าวของชาวเวียดนามโดยส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อย ละ 45 จะมีสัดส่วนต่ำ�กว่าร้อยละ 5 ของรายได้ทั้งปี

อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 70 ยังคงคำ�นึงถึงเรื่อง ฮวงจุ้ยในการจัดตกแต่งบ้านอยู่บ้าง โดยสัดส่วนร้อย ละ 43 จะเชื่อในเรื่องของฮวงจุ้ย และจัดบ้านให้ถูก หลักฮวงจุ้ยอย่างมาก อีกร้อยละ 25 จะคำ�นึงถึงหลัก ฮวงจุ้ยบ้างสำ�หรับบางส่วนของบ้าน และอีกร้อยละ 32 จะไม่ได้คำ�นึงถึงหลักฮวงจุ้ยเลย /

-

/

CLMV PULSE: Vietnam

45


ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน

การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของชาวเวียดนามนั้น ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญมากที่สุด คือ ร้านขาย เฟอร์นิเจอร์มีพนักงานคอยช่วยเหลือ และให้คำ�แนะนำ�ในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 รองลงมา คือ ร้านค้ามีเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และมีบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน โดยมีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 3.74 ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยให้ความสำ�คัญมากนัก คือ การซื้อสินค้าตามดาราที่ชื่นชอบ มีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 2.27 รองลงมาคือ การใช้บัตรเครดิตในการซื้อได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.46 และการซื้อเฟอร์นิเจอร์ราคา ถูก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 ตามลำ�ดับ

46

Khon Kaen University


ส่วนปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม ปัจจัยที่มีความสำ�คัญที่สุดคือ อายุการใช้งานที่ยาวนาน และทนทาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 รองลงมาคือเรื่องคุณภาพของสินค้า มีค่าเฉลี่ย 4.54 และความสวยงามหรือการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ตามลำ�ดับ ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างจะคำ�นึงถึงน้อย ที่สุดเมื่อเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ คือ โปรแกรมผ่อนชำ�ระค่าสินค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 รองลงมาคือ สถานที่ตั้งของ ร้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 และการใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29 ตามลำ�ดับ ซึ่งเราจะ เห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามนั้นจะคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก ส่วนการผ่อนชำ�ระสินค้าจะให้ความ สำ�คัญน้อยที่สุด เนื่องจากชาวเวียดนามจะใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็นส่วนใหญ่และไม่นิยมการใช้บริการผ่อนชำ�ระ

CLMV PULSE: Vietnam

47


อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามระดับรายได้แล้ว พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำ� – ปานกลาง และกลุ่ม ตัวอย่างที่มีรายได้ปานกลาง ส่วนใหญ่จะชื่นชอบสไตล์การตกแต่งบ้านแบบ MODERN แต่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูงนั้น จะชื่นชอบสไตล์การตกแต่งบ้านแบบ MODERN EUROPEAN/CLASSIC และ ASIAN/TROPICAL ในสัดส่วนที่ใกล้ เคียงกัน

European/Classic American/Country Asian/Tropical

พฤติกรรมการจัดสวน และงานช่าง

Contemporary Modern

เวียดนามยังไม่มีห้างค้าปลีกที่ขายเฉพาะเครื่องมือและอุปกรณ์ทำ�สวน โดยข้าวของเครื่องใช้ในบ้านส่วน ใหญ่จะเป็นสินค้าจากจีน ในปัจจุบันคนเวียดนามจะใช้เครื่องใช้ในบ้านที่ผลิตภายในประเทศ เพราะราคาถูกกว่าและ มีคุณภาพดีกว่าสินค้าที่นำ�เข้าจากจีน กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 30 จะปลูกต้นไม้และทำ�สวนที่บ้าน ส่วนการทำ�งาน ช่างและงานฝีมือ มีประมาณร้อยละ 18 ของกลุ่มตัวอย่างที่ทำ� นอกจากนี้กว่าร้อยละ 66 ของกลุ่มตัวอย่างยังทำ�การ ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเล็กๆ น้อยๆ ด้วยตนเอง เช่น เปลี่ยนหลอดไฟ ซ่อมท่อน้ำ� เป็นต้น สำ�หรับการดูแล ที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่ให้ความสำ�คัญกับห้องรับแขก/ห้องนั่งเล่นมากที่สุด และส่วนใหญ่ จะตกแต่งบ้านเอง ไม่ได้ใช้บริการนักออกแบบหรือมัณฑนากร โดยเชื่อว่าการมีบ้านที่สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และดูอบอุ่น เป็นเรื่องที่สำ�คัญมากที่สุด อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยจัดบ้านใหม่บ่อยครั้ง โดยส่วน ใหญ่นานกว่า 1 ปีจึงจะจัดบ้านใหม่สักครั้ง และมีประมาณเกือบ 1 ใน 4 ที่จัดบ้านใหม่ปีละ 1-2 ครั้ง เช่นเดียวกับ ความถี่ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน จากการสำ�รวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามส่วนใหญ่จะไม่มีสวนในพื้นที่บ้าน และยังไม่มีการจัดสวน เพื่อความสวยงามเท่าใดนัก โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่มีสวนอยู่ในบ้านคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด อย่างไรก็ตามในจำ�นวนนี้กว่าร้อยละ 33 มักจะมีกิจกรรมปลูกต้นไม้/ทำ�สวนที่บ้าน ในขณะที่อีกกว่า 67% จะไม่ค่อยทำ�กิจกรรมเหล่านี้เลย นอกจากนี้ร้อยละ 17 ของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามทั้งหมดยังชอบนำ�เฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งมาจัดสวนให้สวยงามอีกด้วย ในส่วนของการทำ�งานฝีมือต่างๆ ที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 83 ไม่เคยทำ�งานฝีมือ เลย หรือหากทำ�ก็จะทำ�นาน ๆ ครั้ง มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ทำ�งานฝีมืออยู่เป็นประจำ� และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 14 ที่จะทำ�งานฝีมือบ้างในบางโอกาส ส่วนการซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านด้วยตนเองนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 จะซ่อมเองบ้างในบางโอกาส กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 35 จะไม่เคยทำ�เลย หรือหากทำ�ก็จะนาน ๆ ครั้ง และ กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 20 จะซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้ที่ชำ�รุดเสียหายเองอยู่เสมอ 48

Khon Kaen University


/

“VIETNAM 112” BY ROB WHITE

“ZZ213_4_5_TONEMAPPED” BY PETRA

“DSC01085” BY BRYAN DORROUGH

CLMV PULSE: Vietnam

49


การดูแลสัตว์เลี้ยง

สั ต ว์ เ ลี้ ย งที่ เ ป็ น ที่นิยมของกลุ่ม ตัว อย่างชาว เวียดนาม คือ สุนัขมากกว่าแมว โดยกลุ่มตัวอย่างร้อย ละ 23 มีสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง และประมาณร้อยละ 10 มี แมวเป็นสัตว์เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลี้ยงสุนัขและ แมวมากกว่า 1 ตัว และกลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละ 90 ไม่ เคยนำ�สัตว์เลี้ยงไปใช้บริการร้านอาบน้ำ�-ตัดแต่งขนสัตว์ เลี้ยงเลย ส่วนร้อยละ 10 ไปบ้างนานๆ ครั้ง ส่วนปลา มี สัดส่วนผู้เลี้ยงประมาณร้อยละ 16 สำ�หรับกลุ่มตัวอย่าง ที่ไม่เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 64 ให้เหตุผลว่าเป็น เพราะไม่ชอบสัตว์ และอีกกว่าร้อยละ 30 ให้เหตุผลว่าที่ พักไม่อนุญาตให้เลี้ยงและเป็นโรคภูมิแพ้

“TUAN CHAU” BY USODESITA

50

Khon Kaen University

/

“THIS GUY KNOWS ALL THE GOOD TAILORS” BY RORY.BE


การท่องเที่ยว

กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนาม นิยมไปท่องเที่ยวตาม สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยมากกว่าร้อยละ 70 ชอบการไปท่องเที่ยวตามทะเล หมู่เกาะและชายหาด มี ประมาณร้อยละ 13 ที่ชื่นชอบภูเขา และร้อยละ 8 ชื่น ชอบการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ในขณะที่การท่อง เที่ยวเชิงสุขภาพยังไม่เป็นที่รู้จักหรือไม่เป็นที่นิยมมาก นัก สำ�หรับความถี่ในการท่องเที่ยวในประเทศ ส่วนใหญ่ จะเดินทางท่องเที่ยวประมาณปีละครั้ง โดยร้อยละ 60 นิยมไปกับครอบครัวและอีกร้อยละ 32 ไปกับเพื่อน โดย ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 มีระยะเวลาในการท่องเที่ยว 2-4 วัน มีเพียงร้อยละ 18 ที่เดินทางท่องเที่ยวประมาณ 5-7 วัน กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามร้อยละ 60 นิยม เช่ารถยนต์เพื่อใช้เดินทาง ร้อยละ 9 เดินทางโดยใช้รถ ประจำ�ทางและร้อยละ 8 เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว สำ�หรับความถี่ในการท่องเที่ยวในต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 76 ไม่เคยเดินทาง ท่องเที่ยวต่างประเทศ ส่วนผู้ที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยว ต่างประเทศ มีเพียงร้อยละ 24 ซึ่งในจำ�นวนนี้โดยส่วน ใหญ่จะมีความถี่ในการเดินทางน้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง โดย ปลายทางที่นิยมท่องเที่ยว คือ ในโซนเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เอเชียเหนือ (ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ฮ่องกง) และ ยุโรป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ร้อยละ 19 และร้อยละ 7 ตามลำ�ดับ และโดยมากนิยมเดินทางไปกับเพื่อนและ ครอบครัวระยะเวลารวมประมาณ 5-7 วัน นิยมเดินทาง ด้วยเครื่องบิน แบบสายการบินปกติ โดยมีประมาณร้อย ละ 19 ของกลุ่มตัวอย่างที่เดินทางต่างประเทศ เลือก เดินทางท่องเที่ยวด้วยสายการบินแบบต้นทุนต่ำ�

Lowcost

“DAY 2 HANOI, VIETNAM” BY YUKO HONDA

(

) CLMV PULSE: Vietnam

51


แต่เดิมคนเวียดนามจะไม่ค่อยใช้จ่ายในการพักผ่อนและการท่องเที่ยวมากเท่าใดนัก เพราะเห็นว่าเป็นสิ่ง ฟุ่มเฟือย แต่ปัจจุบันมีจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ การเดินทางส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ใกล้ๆ ซึ่งช่วงที่คนเวียดนามไปเที่ยว กันมากคือช่วงหน้าร้อน และเมื่อโรงเรียนปิดเทอมคือช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม และช่วงปลายปีในช่วงวันหยุด ยาว ๆ เช่น คริสต์มาส ปีใหม่ เป็นต้น โดยเมื่อประชากรมีรายได้มากขึ้น ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งจะเริ่มเดินทางท่อง เที่ยวกับทัวร์ทั้งในและนอกประเทศ เพราะสามารถซื้อความสะดวกสบายได้ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมคือเมือง มรดกโลกอย่างเว้ ฮาลองเบย์ และฮอยอัน เป็นต้น ซึ่งเวียดนามมีสถานที่เที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงามอยู่หลายแห่ง ทั้งที่สำ�คัญทางประวัติศาสตร์ ตึกรามบ้านช่องและพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น สำ�หรับการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศพบว่ามีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะ เป็นการเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย สิงคโปร์ และจีน ซึ่งการไปเที่ยวต่างประเทศนั้น นักท่องเที่ยว เวียดนามมักจะไปทางเครื่องบิน แต่ถ้าเป็นการเดินทางในประเทศไปทางรถยนต์หรือรถไฟ เพราะราคาจะถูกกว่า ทางเครื่องบินมาก

SAPA, VIETNAM BY NATHAN O’NIONS

7.4

18.9

69.5

52

Khon Kaen University


ชาวเวียดนามทำ�งานมากกว่าสัปดาห์ละ 5 วัน และทำ�งานวันละไม่ต่ำ�กว่า 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามเมื่อถึง วันหยุดพักผ่อน เช่น วันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดเทศกาล กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 นิยม คือ ออกไปพักผ่อนสังสรรค์นอกบ้าน รองลงมาในสัดส่วนใกล้เคียงกัน นิยมพักผ่อนอยู่กับบ้าน และร้อยละ 20 มักทำ� กิจกรรมกับครอบครัว มีเพียงร้อยละ 3 ที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างพื้นที่ในวันหยุด ที่น่าสนใจ คือ มีกลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนามเพียงประมาณร้อยละ 2 ที่ออกไปจับจ่ายซื้อสินค้าในวันหยุดและมีกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 8 ที่ทำ�งานใน ช่วงวันหยุดพักผ่อน

“FH020001” BY SANTIAGO LLOBET

พฤติกรรมการออม และการลงทุน

กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามมากกว่าร้อยละ 90 ชำ�ระค่าสินค้าด้วยเงินสด มีประมาณร้อยละ 5 ที่ใช้บัตร เครดิตและบัตรเดบิตในการชำ�ระค่าสินค้า โดยมากกว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีบัตรเครดิตเป็นของตนเอง และประมาณร้อยละ 28 มีมากกว่า 1 ใบ สำ�หรับด้าน การออมและลงทุน ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง จะฝากเงินกับธนาคาร ประมาณร้อยละ 10 ลงทุนกับ ทองคำ� ร้อยละ 7 ออมโดยใช้ประกันชีวิต และร้อยละ 3 ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ยังพบว่ากว่าร้อย ละ 6 ที่ไม่ออมหรือลงทุนใดๆ เลย ส่วนสัดส่วนการออม และลงทุนนั้น ส่วนใหญ่จะออมสัดส่วนร้อยละ 10-20 ของรายได้ รองลงมาจะออมหรือลงทุนไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้ ส่วนด้านการใช้สินเชื่อนั้น มีประมาณร้อยละ 12 ที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนสินเชื่อประเภท อื่นมีสัดส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนิยมใช้ เงินสดเป็นหลัก

CLMV PULSE: Vietnam

53


กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามร้อยละ 27 มัก ชำ�ระบิลค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ� ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ที่สำ�นักงานของผู้ให้บริการโดยตรง มีเพียงร้อยละ 10 ชำ�ระที่ธนาคารและร้อยละ 5 ที่ชำ�ระโดยระบบหัก บัญชีธนาคาร

“VIETNAMESE MONEY” BY MARCIN WICHARY

54

Khon Kaen University

พฤติกรรมด้านการเงินและการออม

กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนสูง ถึงร้อยละ 90 จะใช้จ่ายเงินสดในการซื้อสินค้าต่างๆ ด้วยเงินสด แต่มีสัดส่วนผู้ถือบัตรเครดิตคิดเป็นร้อย ละ 53 ส่วนร้อยละ 47 นั้นไม่ถือบัตรเครดิตเลย ส่วน ลักษณะการออมของกลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามโดยส่วน ใหญ่จะฝากเงินสดกับธนาคาร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 10 ลงทุน กับทองคำ� ร้อยละ 7 ออมโดยใช้ประกันชีวิต และร้อย ละ 3 ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ที่สำ�คัญยังพบ ว่ากว่าร้อยละ 6 ที่ไม่ออมหรือลงทุนใดๆ เลย และกลุ่ม ตัวอย่างชาวเวียดนามมีการลงทุนในหุ้น เพียงร้อยละ 1 ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี

โดยในรายละเอี ย ดเรื่ อ งการออมของชาว เวียดนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่คิดเป็น สัดส่วนกว่าร้อยละ 30 ออมเงินประมาณร้อยละ 10-20 ของรายได้และกลุ่มตัวอย่างอีกส่วนหนึ่งออมน้อยกว่า ร้อยละ 10 ของรายได้ มีเพียงร้อยละ 12 ที่ออม ร้อยละ 30-50 ของรายได้และร้อยละ 3 ที่ออมมากกว่าร้อยละ 50 กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบการ เป็นหนี้และไม่นิยมใช้บริการด้านสินเชื่อ คิดเป็นสัดส่วน กว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนผู้ที่ใช้ บริการสินเชื่อ โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 12 ใช้บริการสิน เชื่อส่วนบุคคล ส่วนการใช้บริการสินเชื่อด้วยวิธีการอื่นๆ ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ไม่ว่าจะเป็น การใช้บริการสิน เชื่อโดยการซื้อสินค้าเงินผ่อน มีสัดส่วนผู้ใช้บริการเพียง ร้อยละ 8 และสินเชื่อรถยนต์ซึ่งมีสัดส่วนผู้ใช้บริการ เพียงร้อยละ 6 และมีผู้ไม่ใช้บริการเหล่านี้ถึงร้อยละ 92 และร้อยละ 94 ตามลำ�ดับ


กิจกรรมยามว่าง

ชีวิตของชาวเวียดนามสมัยใหม่ที่มีเวลาว่างน้อยทำ�ให้คนทั่วไปค่อนข้างเครียด การพักผ่อนจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ แต่สำ�หรับคนเวียดนามเมื่อเทียบกับคนชาติอื่น จะพักผ่อนและเดินทางน้อย โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ คนจำ�นวนไม่ น้อยยังคิดว่าการพักผ่อนเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย และไม่อยากเสียเงินในเรื่องดังกล่าว กิจกรรมยามว่างที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามทำ�เป็นประจำ� ได้แก่ การดูโทรทัศน์ ชมภาพยนตร์ที่บ้าน ฟัง เพลง เล่นอินเตอร์เน็ต/โซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำ�อาหาร และทำ�งานบ้าน ส่วนการออกกำ�ลังกาย บางส่วนทำ�เป็นประจำ� และแต่อีกบางส่วนกว่า ร้อยละ 50 แทบไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ออกกำ�ลังกายเลย ส่วนกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างชาว เวียดนามแทบจะไม่ค่อยได้ทำ�หรือมีสัดส่วนผู้ที่ทำ�น้อยที่สุด คือ การทำ�งานประดิษฐ์และงานศิลปะ งานฝีมือ การทำ� สวน การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์และการออกไปดูการแข่งขันกีฬา ตามลำ�ดับ

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมยามว่างหรือการพักผ่อนนอกบ้าน อื่นๆ ที่กลุ่มตัวอย่างชาวเวียดนามนิยมทำ�เป็น ประจำ� ได้แก่ กิจกรรมการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ส่วนกิจกรรมในเวลาว่างที่นิยมเป็นบางครั้งคราวใน ได้แก่ ช็อปปิ้งจับจ่าย ปาร์ตี้สังสรรค์ ออกไปท่องเที่ยว การชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์และร้องคาราโอเกะ และ ส่วนกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ทำ�ในเวลาว่างเลย ได้แก่ การไปเที่ยวกลางคืนตามไนท์คลับ และการ ออกไปเล่นกีฬา หรือออกกำ�ลังกาย

CLMV PULSE: Vietnam

55


56

Khon Kaen University


ทีมผู้วิจัย

รศ. ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผศ. ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ ดร. นิ่มนวล ผิวทองงาม ดร. สุทิน เวียนวิวัฒน์

ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยฯ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ

นายศุภกร ศิริสุนทร นางชลธิชา วีระพันธ์ อวนศรี นางสาว สุวัฒนา พิกุลณี นางสาว กนกพร ทีบัว นางสาวกมลชนก มากเจริญ นางสาว กีรติ ทวีทรัพย์ นางทฤทธิยา จันทร์หอม นางสาวสงบ เสริมนา

นักวิเคราะห์อาวุโส นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักสถิติ นักสถิติ

นางณิชานันท์ เอี่ยมเพ็ชร นางสาวศุทธีญา นพวิญญูวงศ์ นางสาวณาตยา สีหานาม นายพลวิชญ์ หนูศรีแก้ว

ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายออกแบบ

CLMV PULSE: Vietnam

57


เกี่ยวกับหนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หนังสือชุด CLMV Pulse ชีพจรอาเซียน นั้นประกอบด้วยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกที่ทันสมัย จากการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หนังสือเล่มนี้เป็น 1 ในจำ�นวน 4 เล่ม จะกล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะ ที่อยู่ในโฮจิมินห์ ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น การศึกษา ชีวิตการทำ�งาน การลงทุนและการออม การ จับจ่ายใช้สอย อาหารการกิน การดูแลสุขภาพและความงาม การช็อปปิ้ง และการใช้เวลาว่าง ไปจนถึง การดูแลที่อยู่อาศัย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจหรือผู้ที่สนใจพฤติกรรม และรูปแบบ การใช้ชีวิตของคนในประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะในโฮจิมินห์

สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 58

Khon Kaen University


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.