Tsunami

Page 1

หลัยืงนสึหยันดามิ สู่ชีวิตใหม่ A f t e r T h e Ts u n a m i L i f e R i s i n g A n e w

โครงการฟื้นฟูชุมชนผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง โดย กองทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย



มูลนิธิเด็ก เยียวยาจิตใจเด็กๆ ชาวมอแกลน และช่วยเหลือคนไทยที่ตกหล่น จากทะเบียนราษฎร


จิตใจของเด็ก ๆ ชาวมอแกลนที่กระทบกระเทือน บอบช้ำจากคลื่นยักษ์สึนามิ

เด็ก ๆ

ความหวัง บ้านทุ่งหว้า

และ ที่


ได้รับการฟื้นฟูและเยียวยาที่โรงเรียนทางเลือกของมูลนิธิเด็ก


และได้รับการสนับสนุนงบปร ะมาณจากกองทุนไทยพาณิชย์ เพื่อผู้ประสบภัยและได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจากกอง ทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย ไทยพาณิชย์


เรื่อง ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์ ภาพ ฝ่ายภาพนิตยสารสารคดี

ศูนย์

ดูแลเด็กเล็กบ้านทุง่ หว้าเป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ยกพื้น หน้าบันไดทางขึ้นมีรองเท้าแตะคู่เล็กๆ ถอดวางไว้เกลื่อนอยู่เสมอ บนเรือนมีเสียงเด็กๆ อยู่ตลอดไม่เคย ขาด ที่นี่มูลนิธิเด็กดำเนินกิจกรรมโรงเรียนทางเลือกเพื่อฟื้นฟู สภาพจิตใจของเด็กและชาวบ้านทุ่งหว้ามาตั้งแต่หลังเหตุการณ์ สึ น ามิ โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากกองทุ น ไทยพาณิ ช ย์ เ พื่ อ ผู้ประสบภัย ต่อไปนี้คือบางเรื่องราวของการทำงานของมูลนิธิ เด็ ก ที่ บ้ า นทุ่ ง หว้ า และกิ จ กรรมอื่ น ๆ ที่ ต ำบลคึ ก คั ก อำเภอ ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

เด็กเล ต้องไม่กลัวเล

ริมหาดทรายหลังศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ช่วงปลายฤดูมรสุม สายลมพัดเอื่อย คลื่นลูกเล็ก ๆ พลิ้วเป็นระลอกเล็ก ๆ เด็ก ๆ กลุ่มหนึ่งกำลังเล่นน้ำทะเล เด็กคนหนึ่งกอดเอว “พี่หนึ่ง” ครู พี่เลี้ยงแจ บางคนกุมหอยในกระเป๋าเสื้อที่เพิ่งขุดมาได้เมื่อกี้ อีกหลายคนมุดน้ำดำคลื่น เหมือนไม่เจอน้ำทะเลมานาน เสียงหัวร่อร่าลอยมาตามลม ถ้าบอกว่าเมื่อสองปีก่อน เด็ก เหล่านี้แค่เห็นทะเลก็กลัวจนร้องไห้ขาสั่น คงไม่มีใครเชื่อ ยิ่ ง รู้ ว่ า เด็ ก เหล่ า นี้ ซึ่ ง ครั้ ง หนึ่ ง เคยกลั ว ทะเลคื อ เด็ ก ชาวเล ชาติ พั น ธุ์ ที่ เ รี ย กว่ า “มอแกลน” ก็ยิ่งยากที่จะเชื่อ นี่คือส่วนหนึ่งของเด็ก ๆ มอแกลนในชุมชนบ้านทุ่งหว้า ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อก่อน (คือก่อนวันที่ ๒๖ ธันวาคม ปี ๒๕๔๗ วันที่เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ) บ้านทุ่งหว้าเดิมตั้งอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าที่ตั้งในปัจจุบัน (ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔) ชาวมอแกลนเหล่านี้เป็น “ชาวเลขึ้นบก” ทิ้งวิถีชีวิตเร่ร่อนในทะเลอันดามัน มาตั้งรกรากบน ฝั่งได้นานแล้ว บางคนเป็นชาวประมงชายฝั่ง บางคนรับจ้างทั่วไป หลายคนพูดภาษาไทย กลางชัดกว่าคนใต้ทั่วไปด้วยซ้ำ ศรี กล้าทะเล หญิงมอแกลนร่างท้วม เปิดแผงขายของชำ เล็ก ๆ ที่หน้าหมู่บ้านทุ่งหว้า บอกว่า “เราอยู่กันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย พอมีสึนามิ ก็ย้ายมา ที่ตรงนี้ ตอนที่สึนามิมา ตอนนั้นฉันมีลูกเล็ก พอน้ำมา วิ่งหนีกันขึ้นไปอยู่ควน (เนิน) อยู่ กันสามวันถึงจะกล้าลงมา มันกลัว” หลังเหตุการณ์สึนามิ ผู้ประสบภัยจำนวนมากในพื้นที่ตำบลคึกคักต้องหนีน้ำขึ้นไป อยู่บนที่เนิน เพราะยังตื่นตระหนกและสับสน ไม่รู้ว่าคลื่นยักษ์จะกลับมาอีกไหม ชาวบ้าน ๒๙


๓๐


เจ้าหน้าที่มูลนิธิใช้ศิลปะบำบัด ให้เด็กระบาย ความรู้สึกออกมา เป็นวิธีหนึ่งในการเยียวยาจิตใจ เด็กให้หายกลัวทะเล ภาพวาดสวย ๆ ข้างล่าง เป็น ผลงานเด็กหลังฟื้นฟูจิตใจแล้ว ครูคนหนึ่งบอกว่า “ตอนแรกๆ ภาพวาดของเด็ก มีแต่ภาพของ การสูญเสีย ตอนหลังก็ลดน้อยลงจนหมดไป”

ทุ่ ง หว้ า ก็ เ ช่ น กั น ที่ พั ก ชั่ ว คราวบนเนิ น เป็ น หมู่บ้านเต๊นท์ รัชนี ธงไชย ประธานมูลนิธิ เด็กกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิและอาสาสมัครเดิน ทางมาหลังจากรู้ข่าวเหตุการณ์สึนามิ “ตอน นั้ น เหมื อ นหลายหน่ ว ยงานแบ่ ง หน้ า ที่ กั น ดูแล มูลนิธิชุมชนไทยดูแลเรื่องที่อยู่อาศัย แซน (SAN Save Andaman Network หรือ เครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ เพื่ อ ฟื้ น ฟู ช ายฝั่ ง อันดามัน) ดูแลเรื่องเครื่องมือทำมาหากิน ของชาวประมง ยังขาดก็แต่เรื่องเด็ก มูลนิธิ เด็กเองทำงานเรื่องเด็กมานาน จึงลงมาช่วย เรื่องนี้” รัชนี ธงไชยหรือที่เขาเรียกกันทั้งบ้าน ทุ่งหว้าว่า แม่แอ๊ว เล่าถึงคราวที่มูลนิธิเด็ก มาช่วยฟื้นฟูจิตใจเด็กหลังเหตุการณ์สึนามิ ในพื้นที่หลายจังหวัดที่ประสบเหตุ ความสนใจในวั ฒ นธรรมชาวเล ดึ ง ดู ด มู ล นิ ธิ เ ด็ ก มาที่ บ้ า นทุ่ ง หว้ า ซึ่ ง เป็ น ชุมชนชาวมอแกลน การดูแลจิตใจของเด็กๆ บ้านทุ่งหว้าเริ่มตั้งแต่ที่ทุกคนหนีความตาย ขึ้นไปพัก ในหมู่ บ้ า นเต๊ น ท์ บ นควน ที่ อ ยู่ ชั่ ว คราวของชาวมอแกลน ๒๓๐ คน แม่แอ๊ว เล่าถึงช่วงนั้นว่า “ตอนนั้นเด็กหลายคนสูญ เสียพ่อ สูญเสียแม่ พ่อบางคนเคยแต่ทำมา หากิน ไม่เคยดูแลลูก สภาพจิตใจตอนนั้นมี แต่ความหดหู่ สับสนกับชีวิต จิตใจสลาย ไม่

กล้าออกไปไหน ที่อยู่เป็นเต๊นท์ทึบๆ กลางวันจะร้อนมาก แต่เขาก็จะนั่งเหงื่อตกอยู่แค่ หน้ า เต็ น ท์ ไม่ ย อมออกไปไหน เป็ น หน้ า ที่ ของเราที่ จ ะต้ อ งทำความเข้าใจเรื่องภาวะ จิตใจ เรานอนบนควนในเต๊นท์เหมือนเขา นี่ แ หละ ดึ ก ๆ จะมี เ ด็ ก มายื น ร้ อ งไห้ อ ยู่ ที่ หัวเตียง เราต้องลุกขึ้นมาคุยกับเขา ปลอบ กันอยู่ทั้งคืน” ผู้ ที่ ป ระสบเหตุ ก ารณ์ สึ น ามิ จ ะมี ความกลัวฝังใจ ไม่ว่าจะคุ้นหรือไม่คุ้นเคย กั บ ทะเลก็ มั ก หนี ค วามกลั ว นี้ ไ ม่ พ้ น ชาว มอแกลนก็ เ ช่ น กั น ทุ ก ครั้ ง ที่ มี ข่ า วแผ่ น ดิ น ไหว มีคลื่นอาฟเตอร์ช๊อก หรือมีข่าวลือ ชาว บ้ า นทุ่ ง หว้ า จะลนลานหนี ขึ้ น ควน “พอมี แผ่นดินไหวออกข่าวทางโทรทัศน์ ไม่ต้องรอ ให้มีสัญญาณเตือนภัยหรอก ญาติ ๆ เขาจะ โทร. มาบอกเอง เท่ า นั้ น แหละ ผู้ ใ หญ่ ห นี

๓๑


พ่อแม่ชาวมอแกลนห้ามลูกไม่ให้มาทะเล ครูคนหนึ่งเล่าว่า-เราต้องคุยกับพ่อแม่ว่า เด็กมอแกลน ยังไงก็ต้องอยู่กับทะเล ต้องอ้อนวอนกัน เขาจึงยอม ขึ้นควนก่อน คนแก่และเด็ก ๆ ร้องไห้ กลัว เราต้องพาขึ้นเขาไปอยู่ในที่ปลอดภัย ทั้งที่เรารู้ว่าไม่มี สึนามิ แต่เขาไม่ยอมอยู่ข้างล่าง” อุทัย ช้างงา หรือพี่อ๊อด เจ้าหน้าที่มูลนิธิเด็ก เล่า จากประสบการณ์ เ กื อ บ ๓๐ ปี กั บ การทำงานฟื้ น ฟู จิ ต ใจเด็ ก ที่ โ รงเรี ย นหมู่ บ้ า นเด็ ก จังหวัดกาญจนบุรี มูลนิธิเด็กมีความรู้ความชำนาญในการฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กและผู้ปกครอง บ้านทุ่งหว้าซึ่งสับสน ตระหนกจากการสูญเสีย พี่อ๊อด เป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของมูลนิธิ ใช้ ศิลปะช่วยในการเยียวยาจิตใจเด็ก ๆ กิจกรรมศิลปะที่บ้านทุ่งหว้าเป็นแนวศิลปะอิสระ เช่น ให้ เด็กวาดภาพอย่างทีอ่ ยากวาด ไม่มแี บบแผนตายตัว เพือ่ ระบายความรูส้ กึ ออกมาเป็นศิลปะบำบัด “ตอนแรก ๆ ภาพวาดของเด็กมีภาพคนตายในทะเล ภาพของการสูญเสีย ตอนหลังก็ลดน้อยลง จนหมดไป ” พี่อ๊อดเล่า นอกจากภาพวาดยังมีเพลงเด็กคึกคัก เด็กเล เนื้อเพลงพูดถึงเรื่องราวที่จะสอนให้เด็กๆ รู้จักอยู่กับทะเล “ฟังแล้วเด็กเขาก็ร้องไห้ แล้วต่อมา เขาก็ร้องเพลงนั้นได้” พี่อ๊อดเล่าต่อ ช่วงเวลาหลายเดือนตั้งแต่ครึ่งปี ๒๕๔๘ ถึงต้นปี ๒๕๔๙ เป็นช่วงเวลาที่แม่แอ๊ว พี่อ๊อด เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครคนอื่นๆทุ่มเทให้แก่การฟื้นฟูจิตใจเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเยียวยา ความรู้สึกกลัวทะเลฝังใจ โดยใช้ศิลปะบำบัด ให้ความอบอุ่นในฐานะครูและกัลยาณมิตรของ เด็ก ค่อยๆ ตะล่อมให้เด็กๆ ออกมาเล่นเกมที่ชายหาด กิจกรรมนี้พ่อแม่ชาวมอแกลนรู้เข้าก็ตก อกตกใจ ห้ามไม่ให้ลูกมาทะเล (ทั้งด้วยความเป็นห่วงและความกลัว เนื่องจากผู้ใหญ่กลัวทะเล ฝังใจมากกว่าเด็ก) พี่อ๊อดบอกว่า “เราต้องพูดคุยกับพ่อแม่ ว่าเด็กๆ มอแกลน ยังไงก็ต้องอยู่กับ ทะเล อ้อนวอนกัน เขาจึงยอมให้ลูกมา” กิจกรรมที่ชายหาดดำเนินไปอย่างหลากหลาย มีทั้งเล่นเกม เล่นละครสวมบทบาท เพื่อหัดจับความรู้สึกของตัวเด็กเอง มาจนถึงเล่นบอล วิ่งตัดน้ำเล่น จนถึงขั้นดำน้ำแข่งกัน ทำกิจกรรมแบบนี้เกือบทุกวันในช่วงนั้น ความกลัวทะเลของเด็กๆ ชาวเลจึงค่อยๆ คลาย ตอนนี้ กิจกรรมริมหาดเป็นกิจกรรมยอดนิยม บางวันหลังทำการบ้าน เด็กๆ จะให้ครูพาไปเล่นน้ำที่

กิจกรรมริมหาดเป็นอีกวิธีที่ครูใช้กล่อมให้เด็ก หายกลัวทะเล (ขวา) โรงเรียนทางเลือกบ้านทุ่งหว้า คือหัวใจของชุมชนใหม่ชาวมอแกลน ซึ่งใช้เป็นที่พักพิงหลังเหตุการณ์สึนามิ

๓๒


หาดหลังหมู่บ้าน ช่วงหลังจึงเปลี่ยนจากทะเล เป็นน้ำตกหรือภูเขาแถวนั้นบ้าง ถือว่ามูลนิธิเด็ก ลดความกลัวและความกังวลผ่านกิจกรรมท้องน้ำและท้องทะเลอย่างได้ผล ศรี หาญทะเล ผู้ปกครองคนหนึ่งของเด็กบ้านทุ่งหว้า ยิ้มเห็นฟันขาว บอกว่า “ก่อนมีสึนามิลูกฉันไม่กลัวหรอก นะ พอมีสึนามิมันเลิกลงเลไปเลย ตอนนี้มันทำใจได้ ไม่กลัวแล้ว”

เด็กเลคือเด็กไทย ต้องไปโรงเรียน

การศึกษาของเด็กๆเป็นอีกภารกิจของมูลนิธิเด็กที่บ้านทุ่งหว้า วิถีชีวิตดั้งเดิมทำให้คนมอแกลน ไม่สนใจการศึกษาในระบบ แม่แอ๊วเล่าว่า “รุ่นพ่อแม่เขาเรียนแค่ชั้นป.หนึ่ง เขามองว่าออกจาก โรงเรียนไปทำมาหากินดีกว่า ส่วนรุ่นพี่ ๆ...” แม่แอ๊วหันไปทางหนุ่มมอแกลนสวมกางเกงขาสั้น ถอดเสื้อเนื้อตัวดำเดินมาตามถนนซีเมนต์ในหมู่บ้าน ...คนนี้จบแค่ชั้น ป. สาม เด็กมอแกลนไม่ ชอบไปเรียนหนังสือ” คนมอแกลนที่บ้านทุ่งหว้าทิ้งวิถีชีวิตอย่างชาวทะเลมานานแล้ว ทุกวันนี้เป็น “มอแกลน ขึ้นบก” หากินตามระบบเงิน ถ้าไม่ทำประมงชายฝั่ง พวกเขาก็รับจ้าง ทั้งงานในสวนยางพารา งานทำสวนหรือกรรมกรทั่วไปตามรีสอร์ต สมัยที่การท่องเที่ยวในตำบลคึกคักเคยคึกคักสมชื่อ หลายคนมีรายได้ดีจากการรับจ้างพายเรือพานักท่องเที่ยวตระเวนตามชายฝั่งและเกาะแก่ง


กระบวนการฝึกสติแทรกอยู่ในหลายกิจกรรม ทั้งก่อนกินข้าว ขุดดินแปลงผัก ซึ่งช่วยปรับจิตใจเด็กมีความอดทน รักเรียน และพร้อมสำหรับการศึกษาในระบบ

๓๔

หลังวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ รีสอร์ตมากมายถูกขยี้เป็นซากเศษปูนเพราะคลื่นยักษ์ ภาพ โศกนาฎกรรมจากสึนามิยังไม่เลือนหายจากทะเลอันดามัน เมื่อการท่องเที่ยวซบเซา หนทาง ทำมาหากินมีจำกัด การศึกษาจึงเป็นทางออกสำคัญของชาวมอแกลน (ซึ่งมีบัตรประชาชนสม ภาคภูมิของพลเมืองไทย) ทว่าพวกเขากลับมีสภาพคล้ายชนกลุ่มน้อย คนทั่วไปยังตั้งแง่รังเกียจ บางครั้งถูกคนภายนอกเอาเปรียบทั้งในเรื่องธุรกิจและด้านกฎหมาย แม้ที่ทางที่จะใช้จอดเรือ ประมงก็หายากขึ้นทุกวันในพื้นที่ซึ่งที่ชายทะเลมีค่าราวกับทองคำ คำถามหนึ่งที่แม่แอ๊วถาม คนในชุมชนอยู่เสมอคือ “ต่อไป ถ้าออกเลไม่ได้แล้ว เราจะทำอะไรกิน” แม้โรงเรียนทางเลือกจะเป็นแนวคิดหลักของมูลนิธิเด็ก แต่มูลนิธิก็ไม่เคยให้เอาโรงเรียน ทางเลือกมาทดแทนโรงเรียนในระบบของรัฐ แต่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาจิตใจต่างๆ ในโรงเรียนทางเลือก (อยู่ในรูปแบบของศูนย์ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน แต่มีเด็กโตๆ ไปสุมหัวกันอยู่ ไม่น้อย) เป็นเครื่องมือตะล่อมกล่อมเกลาให้เด็กชอบการศึกษา และอยากเรียนหนังสือ เพราะ จุดประสงค์หนึ่งของโรงเรียนทางเลือกที่นี่คือ ต้องให้เด็กมอแกลน (ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่สนใจ เรื่องการศึกษาเล่าเรียนของลูกเลย) อยากไปเรียนโรงเรียนของรัฐ ขณะเดียวกัน หลักการของโรงเรียนทางเลือกคือเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ค้นหาความ สามารถของตนให้พบ และพัฒนาให้สูงสุด และที่นี่ ทุกอย่างคือการเรียนรู้ “...ข้าวจานข้างหน้า กว่าจะมาเป็นข้าวสวย ต้องใช้น้ำ ใช้ปุ๋ยจากดิน ใช้เหงื่อชาวนาไป มากเท่าไร เด็กในโลกนี้อีกจำนวนมากยังไม่มีข้าวกิน อย่ากินทิ้งขว้างนะ...” คือเนื้อเพลงทำนอง เนิบๆ จากปากเด็กๆ สิบกว่าคนที่นั่งล้อมวงอย่างสงบต่อหน้าจานข้าว และกับอย่างแกงส้ม (ไม่ เผ็ด) ผัดเห็ด (จากโรงเพาะใกล้ศูนย์ฯ) ก่อนร้องเพลงเตือนสติ เด็กๆ จะนั่งหลับตา นึกใครคน ที่เขารัก ขอให้คนนั้นมีความสุข ทำแบบนี้สักสามนาที ร้องเพลง แล้วจึงกินข้าว กินอิ่มแล้ว


มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย ล้วนคือชาวเล คำว่า “ชาวเล” มาจากภาษาปักษ์ใต้ ย่นย่อมาจาก “ชาวทะเล” คำนี้มีสองความหมาย ความหมาย หนึ่ ง คื อ คนที่ ห ากิ น กั บ ทะเล อี ก ความหมายคื อ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาออสโตรเนเซียน อาศัย อยู่ตามชายฝั่ง หรือเดินทางเร่ร่อนตามเกาะแก่ง ของทะเลอันดามันทางตอนใต้ของประเทศไทย มี สามกลุ่มคือ กลุ่มมอแกน กลุ่มมอแกลนและกลุ่ม อูรักลาโว้ย กลุ่ ม อู รั ก ลาโว้ ย เป็ น ชนกลุ่ ม ใหญ่ มี ถิ่ น ฐานบนเกาะสิ เ หร่ และหาดราไวย์ บ้ า นสะปํ า จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต จนถึ ง ตอนใต้ ข องเกาะพี พี ด อน เกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ เกาะอาดัง เกาะ หลี แ ป๊ ะ เกาะราวี จั ง หวั ด สตู ล บางส่ ว นอยู่ บ น เกาะลิบง จังหวัดตรัง กลุ่มมอแกนหรือสิงทะเล มีถิ่นฐานอยู่ที่ เกาะพระทองและหมู่เกาะสุรินทร์ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ยังพบมอแกนที่เกาะสินไห่และเกาะ เหลา จั ง หวั ด ระนอง ในหมู่ บ้ า นของพวกอู รั ก ลาโว้ยที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต และเกาะพีพี

จังหวัดกระบี่ กลุ่มมอแกลนหรือสิงบก มีถิ่นฐานอยู่ที่ เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา รวม ทั้งชายฝั่งทะเลจังหวัดพังงาตั้งแต่บ้านทุ่งน้ำดำ อำเภอตะกั่วป่า บ้านลำปี อำเภอท้ายเหมือง และ ที่จังหวัดภูเก็ตในบริเวณแหลมหลา ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง ชาวเลทั้ ง สามกลุ่ ม แตกต่ า งกั น หลาย ด้าน ภาษาก็แตกต่างกัน กลุ่มอูรักลาโว้ยมีภาษา แตกต่างจากกลุ่มอื่นมาก ส่วนกลุ่มมอแกนและ มอแกลนนั้นภาษาคล้ายกัน สื่อสารกันได้ ปัจจุบันชาวอูรักลาโว้ยและมอแกลนตั้ง ถิ่นฐานอย่างถาวร หันมาทำประมงชายฝั่ง รับจ้าง ทำสวนและอาชีพอื่นๆ ซึมซับวัฒนธรรมไทย แล้ว เรียกขานตัวเองว่า “ไทยใหม่” เรียบเรียงจาก “ความรู้และมายาคติเกี่ยวกับกลุ่มชาติ พันธุ์ชาวเลมอแกน” โดย นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


๓๖


รอยแผลในใจเด็กกลายเป็นเพียงความหลัง การฟื้นฟูจิตใจ และความอดทน ของครูผู้เป็นกัลยาณมิตรของเด็กๆ ช่วยนําชีวิตปกติสุขให้กลับคืนมา


ปี ๒๕๔๘ มีเด็กทุ่งหว้าไปโรงเรียนในระบบ ๑๖ คน ต่อมาปี ๒๕๕๐ มีเด็กไปโรงเรียนเพิ่มขึ้นเป็น ๕๙ คน ล้างจาน เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย เป็นการฝึกสติเด็กๆ กระบวนการฝึกสติ พัฒนาจิตใจเช่นนี้มีแทรกอยู่ในกิจกรรมมากมายของศูนย์ฯ อาหาร ที่ทำเลี้ยงมื้อกลางวันส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากแปลงผักรอบๆ ศูนย์ ซึ่งเด็กๆ มีส่วนช่วยดูแล หลังเลิกเรียนเด็กๆ จะมาดูผลงาน ทำงาน ถอนหญ้า ตักน้ำรด เล่นสาดน้ำกันเอง จากนั้นครูจึง คุยกับเด็กๆ ว่าเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรในแปลงผัก พรุ่งนี้ต้องทำอะไรเพิ่ม แปลงไหนผักงาม แปลงไหนผักไม่โต จะทำอย่างไรจึงจะโตจะงามเหมือนกันทุกแปลง พี่อ๊อดตั้งข้อสังเกตถึงการ เปลี่ยนแปลงของจิตใจเด็กๆ ว่า “เมื่อก่อนเด็กรู้จักแต่ฟาดต้นไม้เล่น ตอนนี้รักต้นไม้ เห็นคุณค่า ของต้นไม้” นอกจากจะนำกิจกรรมศิลปะมาใช้ในการบำบัดความบอบช้ำด้านความรู้สึกจากเหตุ การณ์สึนามิแล้ว ศิลปะยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็ก อย่างอุปกรณ์มองเตสซอรีที่มีให้เล่น เป็นบล๊อกเรขาคณิตไว้ต่อเป็นสิ่งต่างๆ อย่าง บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ และใช้ จินตนาการควบคู่กับการเรียนรู้เรื่องขนาด เปรียบเทียบรูปร่างและความยาว นอกจากนั้นยัง มีจิ๊กซอว์รูปเรขาคณิต ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเด็ก พัฒนาสายตาและเรียนเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างขนาดและรูปร่าง กิจกรรมอย่างการร้อยลูกปัด เปิดโอกาสให้เด็กออกแบบสิ่งประดิษฐ์ เอง เรียนรู้ถ้าจะทำอะไรต้องทำอย่างมีสติ ต้องตั้งใจ จึงจะได้สร้อยสวยมาชื่นชม วัตถุดิบที่ใช้ในกิจกรรมการศึกษาที่บ้านทุ่งหว้ามาจากสิ่งใกล้ตัว อาทิ เรื่องราวจาก วัฒนธรรมชาวเลซึ่งคนมอแกลนรุ่นนี้หลงลืม ก็มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งรวบรวมไว้ ไม่งั้นคงสูญหาย เมื่อจับปลามาได้หลายชนิด เอามาชั่งกิโลฯ เปิดโอกาสใช้ปลามาตั้งเป็นโจทย์เลขบวกลบ คูณหารมีโจทย์ตัวเป็นๆอยู่ในถัง ซึ่งจะกลายเป็นอาหารมื้อต่อไป กิจกรรมโรงเรียนทางเลือก พร้อมด้วยครูซึ่งทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรของเด็ก ๆ มีส่วน ช่วยพัฒนาสร้างเสริมความคิดและอารมณ์เด็ก ๆ ให้พร้อมจะไปโรงเรียน ก่อนหน้านี้เด็ก ๆ ไม่ยอมไปโรงเรียน บางคนไปเรียนแล้วก็เลิก “เราเคยถามเขานะว่า ทำไมจึงไม่ไปโรงเรียน เด็ก ตอบว่า เขาทำใจไม่ได้ ไปโรงเรียนแล้วมันเศร้าเพราะเพื่อนสนิทของเขาตายเพราะ สึนามิ” แม่แอ๊วเล่า หลังผ่านกิจกรรมฟื้นฟูความรู้สึกแล้ว เด็ก ๆ บ้านทุ่งหว้าจึงมีใจพร้อมจะไป โรงเรียน เด็ก ๆ เรียนเลข ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามอแกลน และทำการบ้าน ร่วมกันทุกเย็นวันจันทร์ถึงศุกร์ แม่แอ๊วอธิบายว่า “เรื่องทำการบ้านมีประโยชน์กับ เด็กนะ เราสอนการบ้านเด็ก ช่วยให้เด็กเรียนทันเพื่อน ๆ เพราะการบ้านยิ่งไม่ทำ มันยิ่งทบทวี ยิ่งทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน” นอกจากช่วยเหลือเด็กๆ แล้ว มูลนิธิเด็กยังมีส่วนช่วยพ่อแม่ของเด็กๆ ทั้งเรื่องการฟื้นฟูสภาพจิต หลังเหตุการณ์สึนามิ พ่อหลายคนหันมาดื่มเหล้า บางรายดื่มหนักจนถึงขั้นลงไม้ลงมือกับแม่ ทำให้เด็กๆ ขวัญเสีย มูลนิธิเด็กจึงจัดค่ายครอบครัว ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากครอบครัวและผู้ปกครอง ค่ายครอบครัวบ้านทุ่งหว้าจัดมาสองปีแล้ว กิจกรรมในค่ายช่วยให้เด็กและพ่อแม่สนิท สนม ไว้ใจ และเปิดใจกัน “เราจัดประชุมกับพ่อแม่ คุยกับเขาเรื่องการเรียนของลูก ปีละครั้งเรา ๓๘


จะใช้กิจกรรมค่ายเป็นตัวเชื่อมเด็กๆกับพ่อแม่ ในค่ายทุกคนจะเปิดใจกัน พ่อบอกลูกว่าที่ไม่ให้ ไปทะเลเพราะว่าเป็นห่วง ลูกบอกพ่อว่า หยุดกินเหล้าได้ไหม กิจกรรมในค่ายช่วยให้คนเราเห็น ความรัก ธรรมดาแล้วเราชอบเก็บเงียบ ๆ ไม่รู้หรอกว่าอยู่บ้านเดียวกันรักกัน จนกว่าจะได้พูด ออกมา” ผ่ า นไปสองปี นั บ แต่ มู ล นิ ธิ เ ด็ ก ดำเนิ น การ เด็ ก บ้ า นทุ่ ง หว้ า ไปโรงเรี ย นกั น มากขึ้ น ปี ๒๕๔๘ มีเด็กไปโรงเรียน ๑๖ คน ต่อมาปี ๒๕๕๐ มีเด็กไปโรงเรียนเพิ่มขึ้นเป็น ๕๙ คน

หลักการของโรงเรียนทางเลือกคือเปิดโอกาส ให้เด็กได้ค้นหาความสามารถของตนให้พบ และพัฒนาให้สูงสุด ที่นี่ ทุกอย่างคือการเรียนรู้

ไม่ใช่เด็กเล เราก็ดูแล

ก่อนวันสุดท้ายของเทศกาลกินเจหนึ่งวัน หน้าบ้านหลังหนึ่งปักเสาไม้ไผ่ปลายห้อยประทัดพวง ยาวรอจุดเพื่อแจ้งฤกษ์งามยามดี เด็กกลุ่มหนึ่งสวมเสื้อสีแดงสด กำลังรุมล้อมกลองใบโตสองใบ บางคนมีฉาบ เด็กอีกกลุ่มกำลังเชิดสิงโต เด็กรูปร่างจ้ำม้ำสองคนสวมหน้ากากแป๊ะยิ้มทำด้วย กระดาษ ทำไม้ทำมือ โบกพัดอย่างสมบทบาท รอบบริเวณนั้นกระหึ่มด้วยเสียงกลองและฉาบ ซึ่งเด็กๆ กำลังรัวอย่างตั้งอกตั้งใจ จบการเชิดสิงโตจากของคณะเด็กๆ ประทัดบนเสาไม้รัวเสียงเปรี้ยงปร้างเป็นชุดใหญ่ ดัง ลั่นจนหูดับ บ่งบอกโอกาสอันเป็นมงคล เด็กๆ ผละจากกลอง ถอดหัวแป๊ะยิ้ม วางฉาบเป็นที่เป็น ทาง หลายคนหน้าตายิ้มแย้ม พอพักหายเหนื่อย พวกเขาจะขึ้นท้ายรถกระบะ ตระเวนไปทั่ว ตำบลคึกคักตั้งแต่เช้าจนช่วงบ่ายๆ ช่วงเทศกาลกินเจเช่นี้ พวกเขาจะตระเวนเชิดสิงโตตาม สถานที่ต่างๆ เจ้าของสถานที่และชาวบ้านจะบริจาคเงินให้คณะสิงโตตามธรรมเนียม เงินบริจาค (หักค่าขนมคนละสิบยี่สิบบาทแล้ว) จะนำมารวมกันแล้วจัดเป็นเงินทำบุญ ถวายโรงเจ วันหนึ่งๆ คณะเชิดสิงโตหาเงินได้นับพัน เด็กๆ อายุแปดเก้าขวบ หาเงินได้วันละเป็นพัน เป็นเรื่องน่าภูมิใจไม่ใช่เล่น แถมเด็กๆ ยังใจปั้มยกเงินที่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของชุมชนอีก เมื่อถามว่าไม่เสียดายหรือ เงินตั้งเยอะ เวฟ อายุเจ็บขวบ ตอบสั้นๆ ว่า “ไม่เสียดาย เชิดสิงโตสนุกดี เพื่อนเยอะด้วย” ๓๙


กิจกรรมอย่างคณะเชิดสิงโตมีเป้าหมายให้เด็กๆ เห็นคุณค่าของตนเอง รู้จักช่วยเหลือกัน และเข้าใจความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคม


ในกลุ่มเด็กเชิดสิงโตซึ่งดูสนุกสนาน มีชีวิตชีวาเหล่านี้ บางคนสูญเสียพ่อแม่จาก เหตุการณ์สึนามิ พ่อแม่บางคนตายเพราะ โรคเอดส์ อุบัติเหตุ พ่อแม่บางคนหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาเอาใจใส่ เด็ก ผู้ปกครองบางรายเป็นปู่ย่าตายายแก่ๆ ซึ่ ง ตามเด็ ก ไม่ ทั น ไม่ รู้ ว่ า จะกวดขั น เด็ ก อย่ า งไร ตอนเช้ า ปล่ อ ยไปเล่ น นอกบ้ า น ตอนเย็นขอให้กลับมาบ้านก็พอแล้ว ทำให้ เด็ ก ๆ มี ค วามเสี่ ย งสู ง ที่ จ ะออกนอกลู่ น อก ทาง กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาเด็ ก เพื่ อ ฟื้ น ฟู จิ ต ใจเป็ น กิ จ กรรมของมู ล นิ ธิ เ ด็ ก ร่วมกับชุมชน ทั้งพระสงฆ์ กลุ่ม อสม. และ ชาวบ้ า น (กิ จ กรรมนี้ ไ ม่ ใ ช่ เ ฉพาะเด็ ก ชาว มอแกลน แต่พุ่งเป้าหมายที่เด็กๆทั่วไปใน พื้นที่) ช่วยจัดกิจกรรมเด็ก ใช้กิจกรรมเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวใจเด็ก ตัดโอกาสที่เด็กจะ เสียคน กิจกรรมต่างๆ มีเป้าหมายให้เด็กๆ เห็ น คุ ณ ค่ า ของตนเอง รู้ จั ก ช่ ว ยเหลื อ กั น เกิดความสามัคคีและเข้าใจความสำคัญของ การอยู่ร่วมกันในสังคม คณะเชิดสิงโตคณะ นี้ คื อ ส่ ว นหนึ่ ง ของกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม และ พัฒนาเด็กเพื่อฟื้นฟูจิตใจ นอกจากกิ จ กรรมวั ฒ นธรรมอย่ า ง เชิดสิงโตแล้ว มูลนิธิร่วมกับท่านเจ้าอาวาส วัดคมณียเขต วัดสำคัญในตำบลคึกคัก จัด โครงการมัคนายกน้อยทุกวันอาทิตย์ในช่วง เข้าพรรษา ปรากฏว่ามีชาวบ้านพาลูกหลาน มาเข้าโครงการเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของโครงการ นี้ จ นถึ ง กั บ ชวนกั น ตั้ ง เป็ น คณะทำงานทำ กิจกรรมด้านเด็ก ตั้งชื่อว่า “กลุ่มดวงตะวัน” มีกองทุนเพื่อสานกิจกรรมเด็กและเยาวชน ของตำบลคึกคักนี้ต่อไป

๔๑


New Life in Tung Wa With generous support from the SCB Relief Fund, the Foundation for Children is bringing back hope and laughter to the surviving children of Tungwa village, two three after the tsunami tragedy.

A

t the end of the monsoon season

make-shift shelter on the high land where

the children of Tungwa.

the beachfront behind the day

they took refuge. “Many were young

care centre looks calm; small

children who had lost one or both parents.

the SCB Relief Fund, the foundation has

ripples are lapping onto the sandy beach of

The men whose wives were swept away by

also opened an alternative school to

the tiny fishing village of Tungwa, Phang-

the tidal waves found themselves suddenly

supplement formal education. The sea

nga Province. It is hard to believe that three

unable to care for their grieving family.

gypsy children tend to drop out of school

years ago, when the tsunami struck the

Many children couldn’t sleep at night, some

after a few years; they are prime targets for

southern coast of Thailand, this was a scene

broke down uncontrollably, asking for their

playground bullying, because of their dis-

of total devastation.

mums and dads,” said Ratchanee Thong-

tinctive lifestyle, languages and cultures.

chai, lovingly called Mae Aeo (Mother Aeo)

They lag behind their classmates in “hard”

sea. Anxious parents didn't want to allow

by villagers, old and young.

subjects like maths and science. The alter-

their children, who grew up in the water, to

As president of the Foundation for

native school offers evening tuition to

go near the water’s edge. It is perhaps even

Children, Ratchanee and her colleagues

help the kids with their homework. Fun and

more difficult to believe that this fishing

recognized the terrible impact the tragic

practical subjects like meditation, vegeta-

community, now so fearful of the ocean, is

destruction had wrecked on the children. It

ble gardening and Moklen language classes

part of the nomadic Moklen tribe, one of

was clear that these innocent survivors

are also on offer.

the three “sea gypsies” who have roamed

were traumatized and vulnerable.

the waters straddling the Andaman Sea for

Pi Oad, who has years of experience

pounded many of the social problems they

centuries.

running art therapy classes at the Children’s

faced prior to the disaster. The economic

“We point out to the adults that these

Village School in Kanchanaburi, has set up

grind and the mental distress have led

kids - Moklen by birth - have been brought

drawing and music programmes to help

many adult males to turn to alcohol and

up to live with the sea. They were reluctant

the children heal and resume normal lives.

violence. Reports of domestic violence are

at first to even let the kids join our activities

“At first, they drew pictures of death and

on the rise post-tsunami. Aware of the need

at the beachfront,” said Pi Oad or Utai

losses. Some depicted an army of corpses

for intervention, the Foundation for

Chang-nga, one of the Foundation for

floating in the sea. But now, those night-

Children organises “Family Camps” to

Children activists, who arrived here in the

marish images are no more”.

provide a platform where children can

immediate aftermath of the tsunami.

share with their parents candid views of the

At the time, up to 230 Moklens from the

on the beachfront have slowly but gra-

family situations.

village found themselves sharing a tiny

dually brought joy and laughter back to

Villagers lived in fear of the fury of the

๔๒

Songs, games, arts and group exercises

Backed by the generous support of

For adults, the tsunami has com-

“The activity gives the whole family


time and space; it is a safe and loving environment for them to open up. I’ve seen a dad explain to his kid gently why he didn’t want the son to go to the sea while the son was seen respectfully asking his dad to stop drinking,” said Mae Aeo.

The Foundation for Children has undertaken a vast array of

activities like these in Tungwa and the surrounding Tambon Keukkuk in the hope that “normality” will be returned once again to the communities. All the signs are promising; the number of Tungwa kids who are at school increased to 59 in 2007, up from 16 two years ago. In Tambon Keukkuk, the children, with the support of local monks and village volunteers, have set up a “Duang Tawan Group” to promote children’s activities, for example a lion dance troupe. They have managed to establish a revolving fund to ensure the activities continue long into the future.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.