BICYCLE MAGAZINE
VOLUME 14 ISSUE 333 AUGUST 2015
หนังที่เกี่ยวกับจักรยาน ที่คนรัก จักรยานต้องหาดู ไลฟ์สไตล์คนเมืองกับการเลือก จักรยานในชีวิตประจ�ำวัน ความไม่เท่าเทียมเรื่องเพศบนอาน จักรยาน
2
สวัสดี
ในยุคทีโ่ ลกหมุนเร็ว และ เวลาได้กลายเป็นตัวแปรส�ำคัญในการด�ำเนินชีวติ ของผูค้ น หนึง่ ในอุปสรรคในกรุงเทพ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการสัญจรที่ติดขัด และหากพูดถึงยานพาหนะที่ฮิต ๆ ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นพาหนะสองล้ออย่างจักรยานอย่างแน่นอน 2-3 ปี มานี้ จักรยานมันบูมมาก ยุคนั้นจะเป็นยุคของฟิกซ์เกียร์ จักรยานเป็นเหมือนแฟชั่น เป็นไลฟ์สไตล์ แต่ ก็ จ ะมี นั ก ปั ่ น อี ก แนวที่ เ ป็ น สายกรี น ที่ เ ขาเชื่ อ ว่ า จักรยานเป็นพาหนะของคนรักโลก แต่ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตามแต่ ผมว่า มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีโดยเฉพาะสังคมของคนเมืองกรุงที่ต้องเผชิญเรื่องของการสัญจร หากได้จักรยานเป็นพาหนะน่าจะ ช่วยลดเรื่องพวกนี้ได้พอสมควร ด้วยเหตุนี้เองน�ำมาซึ่งความสนใจของสื่อ และคนในสังคมไทยเป็นอย่างมาก เช่นกันมัน ท�ำให้ผมก็รู้สึกว่าเราอยากท�ำเรื่องนี้ BICYKER คือนิตยสารจักรยานส�ำหรับคนรักจักรยาน สิ่งที่เราต้องการน�ำเสนอคือ การให้ความรู้และ การสร้ า งแรงบั น ดาลใจให้ ค นในสั ง คมหั น กลั บ มามองจั ก รยานอี ก ครั้ ง และให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ จั ก รยานอี ก ครั้ ง จุดเริ่มต้นของ BICYKER เกิดขึ้นมาจากความชื่นชอบ และ หลงไหลในจักรยาน พาหนะสองล้อไม่เพียงแต่เป็น พาหนะทุน่ แรงธรรมดา ๆ เท่านัน้ มันยังเป็นศิลปะภายในตัวมันเองอีกด้วย สิง่ เหล่านีจ้ งึ ท�ำให้ผมต้องมนต์เสน่หพ์ าหนะ สองล้อนี้ การปัน่ จักรยานของคนเราเปรียบเสมือนจังหวะชีวติ มีทงั้ ขึน้ และ ลง เช่นเดียวกับจังหวะในการปัน่ ทีต่ า่ งกันไป บ้างก็ช้า บ้างก็เร็ว ตามจังหวะ
ใครที่ชอบและรักในจักรยานเราน่าจะคุยกันถูกคอ พบกันใหม่ฉบับหน้ารับรองเด็ดกว่าเดิม แล้วพบกันใหม่ .
มุคลิศร์ สมานุรัตน์ บรรณาธิการ ardek_only@hotmail.com
3
สารบัญ INSPARITION
ภาพยนต์ที่คนรักจักรยานตองหามาชม
RIDE RIGHT
ปจจัยในการเลือกซื้อจักรยาน
WAY OF LIFE
ไลฟสไตลคนเมืองกับการเลือกใช้จักรยานในชีวิตประจําวัน
THE SUBJECT
ความไมเทาเทียมเรื่องเพศบนอานจักรยาน
HUMAN RIDE BIKE TO WORK
4
YOU NEVER FORGET THE MOST IMPORTANT THING IN LIFE LIKE HOW TO RIDE A BIKE .
WORLDWIDE CYLING
INSPARITION.
ภาพยนต์ที่คนรักจักรยาน ตองหามาชม ถ้าพูดถึงภาพยนต์ที่เกี่ยวกับจักรยานเชื่อได้เลยว่าน้อยคนมาก ๆ ที่จะนึกออก เพราะ มักจะมีน้อยถึงน้อยมากๆ ภาพยนต์ที่เราน�ำมาบอกเล่านั้น ! ต่างมีรสชาติที่แตกต่างกันทั้งสิ้น มีทั้งแนวดราม่า แนวบู๊ และแนวตลก แต่รับรองได้เลยว่าภาพยนต์ที่เราน�ำเสนอเป็นมากกว่า ภาพยนต์เพราะมันยังได้สร้างแรงบันดาลใจ และแรงขับเคลื่อนให้กับหลาย ๆ คน และผมก็เป็น หนึ่งในนั้นด้วย . . .
5
6
TO THE FORCE (2015)
ภาพยนตร์จีนที่เกี่ยวกับการแข่งกีฬา ดูจะมีน้อย มากจนแทบนับเรื่องได้ ที่โด่งดังมากๆก็อย่างเช่น นักเตะเสี้ยว ลิ้มยี่ แต่ก็ไม่ได้ถูกน�ำเสนอในแบบที่เป็นหนังกีฬาแท้ๆ แต่เป็น ลูกผสมของแอ๊คชั่น-แฟนตาซี หรือถ้าเป็นกีฬาที่เกี่ยวกับการ ต่อสู้ เช่น A Fighter 's Blue หัวใจข้า...หัวใจนาง หัวใจหลอม เพชร ยังดูจะน�ำมาท�ำเป็นหนังได้ง่ายกว่า To The Fore ปั่น ท้าโลก จึงนับว่าเป็นหนังจีนที่มีการเดินเรื่องและบทหลักอยู่ที่ การแข่งขันจักรยานทางไกล โดยมีบทรองที่รักสามเส้า และ การกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน
นอกจากชัยชนะที่มีต่อคนอื่นแล้ว การเอาชนะตัวเองให้ได้ นั่นคือชัยชนะที่แท้จริง
หนังเล่าถึง การแข่งขันจักรยานของทีมเรเดียน ที่มี ฉิวหมิง จองจีวอน และ ชิวเถียน เป็นเพื่อนร่วมทืมกัน โดยทั้ง 3 คน ต่างก็ก�ำลังท�ำให้ทีมนั้นก้าวขึ้นสู่จุดที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่แล้วทีมก็ ประสบปัญหาใหญ่ เมื่อผู้จัดการทีม ไม่สามารถหาเงินมาผ่อน จ่ายธนาคาร ท�ำให้เขาต้องยุบทีมลง ทัง้ 3 จึงถูกซือ้ ตัวไปอยูก่ บั ทีมอืน่ ๆโดยกระจายกันไป และต่างก็ได้ไปพบเจอประสบการณ์ ในแต่ละที่ที่ท้ัง 3 เลือกเดินไป แล้ววันหนึ่ง เพื่อนรัก 3 คน จะต้องกลับมาห�้ำหั่นกันบนเส้นทางการแข่งขันที่หฤโหด จาก มิตรภาพ จะกลายเป็น ศัตรู หรือมิตรภาพจะยิ่งแนบแน่นขึ้น แนะน�ำให้ไปชมกัน ดังเต้ แลม ผู้ก�ำกับของเรื่องถ่ายทอดหนังออกมา ด้วยการใช้โลเกชั่นที่สวยงาม ผนวกกับการถ่ายภาพด้วยสีที่ จัดจ้าน และมุมมองของภาพที่หลากหลาย ทั้งๆที่การแข่งขัน กีฬา ไม่น่าจะท�ำให้เกิดจินตนาการในการเป็นฉากแอ๊คชั่นได้ แต่ไม่น่าเชื่อว่า เมื่อถึงฉากการแข่งขันที่แน่นอนว่ากีฬาที่ใช้ ความเร็วสามารถสร้างความเร้าใจได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ยิ่ง สอดแทรกบทหนังให้เข้าไปอยู่ในการแข่งขัน เปรียบเสมือน ก�ำลังต่อสู้กันบนจักรยาน โดยมีอาวุธคือการประลองความคิด ทักษะ อารมณ์ ท�ำให้เข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงที่เป็นนักปั่น ในฉากนั้นๆได้อย่างลึกซึ้ง หนังยังมีองค์ประกอบอืน่ ๆทีช่ ว่ ยเสริมให้โดดเด่น เช่น ดนตรีของเรื่องที่ประกอบทั้งฉากแอ๊คชั่นก็ดี ฉากโรแมนติค หวานๆก็ดี ต่างเป็นสกอร์และเพลงทีช่ ว่ ยขับเน้นฉากนัน้ ๆและ รวมไปถึงภาพรวมของหนังให้โดดเด่นมากขึ้น
7
BMX Bandits (ปี 1983) เรือ่ งนีถ้ อื เป็นหนังจักรยานทีม่ คี วามคลาสิคมากเรือ่ งหนึง่ เป็นหนังจักรยานสุดคลาสสิค ในยุค 80 ที่ใช้ BMX กันทั่วบ้านทั่วเมือง หนังของออสเตเรีย ที่น�ำแสดงโดย มีนิโคล คิดแมนในวัยเพียง 15 ปี ก่อนไปดังทีฮ่ อลิวดู เนือ้ หาก็เป็นการหลบหนีการตามล่าของ อาชญากรด้วย BMX สองนักขี่จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ระดับโปรและเพื่อนของพวกเขา (คิดแมน) เพราะไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มโจรปล้นธนาคารหลังจากการค้นพบวิทยุสื่อสาร จึงท�ำให้ต้องหลบหนีจากการจับกุม แฟนจักรยาน และ แฟน BMX ต้องไม่พลาดหา มานั่งชมและดื่มด�่ำ กับความคลาสิค มนต์เสน่ห์ของเจ้าจักรยาน BMX แน่นอน . . .
The Kid with a Bike (2011) เรือ่ งราวของ Cyril หนูนอ้ ยนิสยั ดือ้ รัน้ วัย 11 ขวบ โดนพ่อทิง้ ให้อยูส่ ถานสงเคราะห์เด็ก แต่แล้วจู่ๆ พ่อที่เปรียบเสมือนทุกสิ่งทุกอย่างของเขาก็ย้ายบ้านหายหัวหนีไปซะดื้อๆ เล่นเอาเขาแทบอยู่ไม่ติดและออกตามหาพ่ออย่างไม่หยุดหย่อน โดยมีเพียงจักรยาน คู่ชีพของเขาที่พ่อเคยซื้อให้เป็นสมบัติติดตัวอันล�้ำค่าซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวแทน ความรักของพ่อที่มีต่อเขา และต่อมาสวรรค์ก็ชักพาให้เขาได้พบกับ Samantha สาว ใหญ่ช่างท�ำผมน�้ำใจงามที่รู้สึกถูกชะตาเด็กชายตัวน้อยคนนี้ทันทีที่ได้เจอ และตกลง รับอุปการะให้เขามาพักอยู่ด้วยในทุกช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมกับรับปากจะช่วยตามหา พ่อของ Cyril อีกแรง ซึ่งนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของมิตรภาพอันแสนประทับใจของทั้งคู่ ที่ท่านจะต้องจดจ�ำไปอีกนานโขเลยทีเดียวเชียว
Premium Rush ปั่นทะลุนรก (2012) Premium Rush พรีเมี่ยม รัช เป็นเรื่องราวของ Wilee (Joseph Gordon-Levitt) พนักงานส่งเอกสารของบริษัทแห่งหนึ่งในมหานครนิวยอร์ก ที่มีจักรยานคู่ใจคอยท�ำ หน้าที่เป็นพาหนะในการส่งของแต่ล ะชิ้น ซึ่งทุกอย่างก็ด�ำเนินไปอย่ า งปกติ สุข จนกระทั่งวันหนึ่ง...ชีวิตเขาก็เปลี่ยนไป เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ความเป็นและ ความตาย หลังจากเขาไปรับของชิ้นหนึ่งมาเพื่อส่งต่อให้ผู้รับภายในเวลา 90 นาที แต่จู่ ๆ ก็มีชายคนหนึ่งที่อ้างว่าเป็นต�ำรวจ (รับบทโดย Michael Shannon) มาขอรับ เจ้าพัสดุปริศนาดังกล่าว แต่ Wilee ปฏิเสธ และตัดสินใจซิ่งจักรยานหนีการไล่ล่าจาก ชายคนนั้น เพื่อไปส่งพัสดุให้ทันเวลา
8
ใครที่ก�ำลังคิดว่าจักรยาน เป็นแค่พาหนะไว้ปั่นออกก�ำลังกาย เฉยๆ ล่ ะ ก็ ค งคิ ด ผิ ด แล้ ว เพราะ ภาพยนตร์เรือ่ งนีถ้ อื ว่าเป็นเรือ่ งแรกๆ เลยก็ว่าได้ที่เปลี่ยนความคิดคนดูที่มี ต่อจักรยาน 'Quicksilver' เป็นเรื่อง ราวชีวิตของโบรกเกอร์หนุ่มที่ชีวิต พลิกผลันมาเป็นพนักงานส่งเอกสาร ในนิวยอร์ก โดยมีจักรยานฟิกเกียร์ เป็นพาหนะคูก่ ายในการส่งของแต่ละ วั น ด้ ว ยการหลอมรวมเจ้ า สองล้ อ กับการออกสเตปขั้นเทพ นอกจาก นี้ยังท�ำให้รู้ว่าที่มาของวั ฒ นธรรม จั ก รยาน 'FIXgear' ว่ า มาได้ ยั ง ไง เรียกได้ว่าเป็นภาพยนตร์ท่ีสิงห์นัก ปั่นจักรยานฟิกเกียร์ห้ามพลาดเลย ที เ ดี ย ว ในภาพยนตร์ เ รื่ อ ง Quick Silver ก็มีฉากที่เอา ฟิกเกียร์มาปั่น โชว์ ป ระกอบเพลงอยู ่ ด ้ ว ย แต่ โ ดย หลักๆแล้ว ฟิกเกียร์ คือจักรยานที่ใช้ ส�ำหรับส่งเอกสาร (Messenger Bike)
เพราะมีความคล่องตัวสูง และราคา ประหยัดกว่ารถอื่นๆ เยอะมาก และ ด้วยการใช้งานหลักๆ อ ยู ่ ใ น เ มื อ ง ไม่ได้มีเส้นทางที่สูงชัน หรือขึ้นเขา แต่อย่างใด ฟิกเกียร์จึงไม่จ�ำเป็นที่จะ ติดตั้งระบบเกียร์เข้ากับตัวรถนั่นเอง แต่หลายๆ คนก็คงมีค�ำถามคาใจว่า แล้วท�ำไมไม่ติดเบรคให้กับฟิกเกียร์ ซะหน่อยล่ะ ค�ำตอบก็ง่ายนิดเดียว ครับ ก็เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายนั่นเอง เพราะในต่างประเทศ ค่าแรงในการ ซ่ อ มแซมจั ก รยานแพงไม่ ใ ช่ เ ล่ น ซึง่ ถ้าท�ำงานเป็น messenger แต่ตอ้ ง มาเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้ง ระบบเกียร์และเบรค นั่นก็ดูไม่ค่อย สมเหตุผลซักเท่าไหร่ เน้นเอาว่าหัด ขี่หัดปั่นให้คล่องๆ แล้วก็ใส่อุปกรณ์ รักษาความปลอดภัยอื่นๆ เช่นหมวก กันกระแทก และติดไฟหน้า ไฟท้าย รถให้เห็นชัดเจน นั่นเองครับ
The Bicycle Thief
Quick Silver (1986)
The Bicycle Thief เป็นภาพยนตร์ ขาวด� ำ ในสไตล์ นี โ อเรี ย ลลิ ส ต์ ที่ ด� ำ เนิ น เรื่ อ งแบบสารคดี มี โดดเด่ น ในการก� ำ กั บ ภาพ และดนตรี ป ระกอบ ซึ่ ง ดนตรี ประกอบในเรื่องได้กลายมาเป็น ดนตรีประกอบในภาพยนตร์หรือ สารคดี ห ลายเรื่ อ งในภายหลั ง จนถึงปัจจุบัน ได้รับยกย่องว่าเป็น หนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอด กาลของโลกเรื่องหนึ่ง และเป็น แรงบันดาลใจให้กับฉากห ล าย ฉากในภาพยนตร์ชั้นหลังกรุงโรม ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1949 เศรษฐกิจก�ำลังตกต�่ำอย่างหนัก ผู้คนตกงานเป็นทิวแถว อันโตนิโอ (ลุมแบร์โต แมกจิโอรานี) พ่อลูก 2 เพิ่งได้งานท�ำใหม่ เป็นงานติด โปสเตอร์ ต ามก� ำ แพง ซึ่ ง งานนี้ จ�ำเป็นต้องมีจักรยานเท่านั้น
หากไม่ มี ก็ คื อ ตกงานได้ เ ลย อั น โตนิ โ อ และ บรู โ น่ (เอนโซ สตาอิโอลา) ลูกชายคนโต ได้ออก ท�ำงานด้วยความมีความหวังที่จะ ลืมตาอ้าปากได้ แต่ทว่าเพียงเริ่ม งานวั น แรก จั ก รยานของอั น โต นิโอก็ถูกขโมยไปทันที อันโตนิโอ ตามไป แต่ไม่อาจตามหัวขโมยได้ ทัน เขาออกตามหาและขอความ ช่ ว ยเหลื อ จากเพื่ อ น ๆ หลาย คน แต่ก็ไม่มีร่องรอย กลับกันอัน โตนิโอและบรูโนกลับถูกสังคม ท�ำร้าย ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ใช่คนพิการ ไม่เคยท�ำความดีงามให้ปรากฏ หรือสังคมไม่เคยติดหนี้เขา เขา เป็นเพียงคนธรรมดา ๆ ที่ไม่เคย เรียกร้องความเห็นใจจากสังคม เพราะรู้ตัวดีว่าไม่อาจท�ำเช่นนั้น ได้หรือท�ำไปแล้วก็ไม่ได้ผล แต่ เมือ่ เขาประสบชะตากรรรม สังคม กลับไม่แยแสเขา
RIDE RIGHT. 9
ปัจจัยในการเลือกซือ้ จักรยาน
จักรยาน....ไม่เหมือนรถยนต์รถยนต์โตโย.. เครือ่ งก็มาจาก โตโย คุณภาพโตโยรถยนต์โรลสรอยซ์ เครื่องโรลสรอยซ์ คุณภาพ โรลสรอยซ์ จักรยาน...(โดยทั่วไป) ไม่ได้เป็นอย่างนี้ ตัวเฟรมเป็น ยี่ห้อรถจริงตัวอะไหล่ก็จะเป็นอีกยี่ห้อหนึ่งตั้งแต่ระบบขับเคลื่อน ไปจนเบาะ แฮนด์ กระดิ่ง ไฟ ฯลฯอยู่ที่ผู้ใช้งานจะเลือกซื้อมา ติดตั้งที่ Shimano เป็นผู้ครองพื้นที่ 80% ของตลาดชิ้นอะไหล่ ส�ำคัญๆ ผู้ใช้จักรยานจะใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ เลือกเอามาแต่เฟรมแล้ว มาเลือกใช้อะไหล่ใดก็ได้ตามใจตนเองที่ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้มีทั่วไป ในบรรยากาศใช้รถยนต์เครื่อง มีบ้างที่จักรยานใช้ยี่ห้อห่วยๆ(เฟรม) แต่ชดุ ขับเคลือ่ น และอะไหล่ตา่ งๆ ชัน้ เทพและท�ำนองกลับกัน เฟรม เทวดา พอก้มดูอะไหล่แล้ว "งง" ก็มีอยู่ที่เจ้าของมีรสนิยมและจริต เลือกจักรยานแบบไหน ไม่มีผิด ไม่มีถูก การเลือกซื้อ...จึงใช้เกณฑ์ประเมินที่ยี่ห้อที่เห็นไม่ได้แบบ รถยนต์แต่ต้องเริ่มที่ศึกษาความรู้เกี่ยวกับชุดอะไหล่ก่อนอย่าง ไม่เครียด...ค่อยดูไปจากการเข้าบอร์ดแต่ละครัง้ เดีย๋ วจ�ำแนกได้เองที่ เจอบ่อย....คือค�ำถามจากเพื่อนนอกวงการที่ปรารถนาจักรยานบ้าง ถามเราว่าคันนี้ดีไหม คันโน้นเป็นอย่างไร เช่นรถพับที่ยี่ห้อเหมือน
กับรถยนต์ไม่ได้แปลว่าคุณภาพสูงตามอิมเมจสินค้ารถยนต์ไปด้วย ชื่อนี้เป็นรถยนต์หน่ะดี แต่พอมาเป็นจักรยาน ห่วยโคตรเลย เป็น ไปได้เพราะผู้ผลิตจักรยานโนเนม ไปจ่ายเงินซื้อยี่ห้อเขามา แล้ว เอามาแปะติดบนรถตัวเองคนซือ้ จักรยานพับ ต้องจ�ำแนกให้ออกว่า จักรยานพับไม่ได้เลือกที่ยี่ห้อ(มีข้อยกเว้นบ้าง)แต่เลือกที่ผลิตภัณฑ์ นั้น ผู้ผลิตเขาเลือกมาเจาะกลุ่มลูกค้าแบบใดประกอบกับจริตขี่ปั่น ของเราเอง มันคลุกเคล้าเข้ากับรถตัวใดต่างหาก
IT's About You Way You Use You Bike
10
เคล็ดลับการเลือกซื้อจักรยาน
ก่อนจะซื้อจักรยานแต่ละคัน คุณจ�ำเป็นต้องตั้งโจทย์ ก่อนเลยว่าจะซื้อจักรยานคันนี้ไปเพื่ออะไร โดยอาจจะซื้อเพื่อขี่ ออกก�ำลังกาย เพือ่ ใช้ขเี่ ดินทางไปท�ำงานในระยะทางไม่ไกล หรือ ใช้ขี่ออกทริปต่างจังหวัดกับเพื่อน ๆ นักปั่น การค�ำนึงถึงการใช้ งานจะท�ำให้เลือกชนิดของจักรยานได้ง่ายขึ้น หลังจากที่เลือกได้แล้วว่าจะซื้อจักรยานคันนี้ด้วยจุด ประสงค์อะไร ตอนนี้ก็มาเริ่มตั้งงบประมาณกันเลยดีกว่า โดย จักรยานจะมีราคาตัง้ แต่หลักพันไปจนถึงหลักแสน ซึง่ ก็ขนึ้ อยูก่ บั ประเภทและคุณภาพของจักรยานที่คุณเลือกครับ คุณจ�ำเป็นต้องรู้จักประเภทของจักรยานไว้ด้วย เพื่อ เลือกซื้อให้ถูกประเภทการใช้งานของคุณ รวมทั้งคุณภาพและ ราคาที่เหมาะสม เช่น ถ้าคุณจะซื้อจักรยานไว้ขี่ออกก�ำลังกายใน หมูบ่ า้ น คุณก็ไม่จำ� เป็นต้องเลือกใช้จกั รยานเฟรมคาร์บอนคันละ เป็นแสน ๆ ก็ได้ แต่ถา้ จะเริม่ ออกทริปกับกลุม่ นักปัน่ ทีช่ อบลุยทาง วิบาก เสือภูเขาแทบจะเป็นตัวเลือกหนึง่ เดียวของคุณ หรือถ้าหาก จะขี่ไปท�ำงานบนเส้นทางที่คุ้นเคย จักรยานเสือหมอบหรือจักร ยานไฮบริดคุณภาพไว้ใจได้ถือเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย หากคุณซือ้ จักรยานเพือ่ ใช้งานในชีวติ ประจ�ำวัน ข้อนีถ้ อื เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เพราะจักรยานแต่ละแบบจะ ใช้งานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันออกไป เช่น หากคุณ ต้องใช้เส้นทางที่เป็นลูกรัง จักรยานเสือภูเขาก็น่าจะตอบโจทย์ ได้เป็นอย่างดี หรือหากทีท่ ำ� งานของคุณอยูบ่ นแนวรถไฟฟ้าใต้ดนิ จักรยานแบบพับได้เป็นตัวเลือกที่ใช่ที่สุดแน่นอน ดังนั้นอย่าลืม ค�ำนึงถึงข้อนี้ไว้ด้วย จักรยานต่างจากพาหนะชนิดอืน่ ๆ ทีต่ อ้ งค�ำนึงถึงขนาด เพื่อให้ปั่นได้สบายไม่ท�ำร้ายร่างกายจนเกินไป โดยทั่วไปแล้ว หน่วยขนาดของจักรยานจะแบ่งเป็น 2 หน่วยได้แก่ เซนติเมตร
ใช้ในจักรยานเสือหมอบ และ นิ้ว ใช้ในจักรยานเสือภูเขา ซึ่งหลัก ๆ ที่ต้องดูก็คือขนาดของท่อตั้งที่รองรับเบาะนั่งของจักรยานอยู่ โดยขนาดของท่อตั้งควรใกล้เคียงกับความยาวขา (วัดจากเป้าถึง ส้นเท้าเป็นหน่วยนิ้วหรือเซนติเมตร) ที่ส�ำคัญควรลองขึ้นไปนั่งดู เพื่อเช็กให้ความสูงพอดีที่สุดเท่าที่จะท�ำได้นั่นเองครับ แน่นอนว่าความชอบก็เป็นเรือ่ งทีม่ องข้ามไปไม่ได้ในการ เลือกซือ้ ของบางอย่างรวมทัง้ จักรยานด้วย ถ้าหากคุณเป็นคนชอบ จักรยานเสือภูเขา จะให้ไปเลือกซือ้ เสือหมอบก็อาจจะรูส้ กึ ขัดใจไม่ น้อย รวมทัง้ สไตล์การปัน่ เองก็สำ� คัญ เช่นหากคุณชอบปัน่ ท�ำความ เร็ว เสือภูเขาก็อาจท�ำได้ไม่ดเี ท่าเสือหมอบ เป็นต้น ซึง่ ในเรือ่ งของ ความชอบนัน้ อาจตัดสินได้งา่ ย ส่วนสไตล์การปัน่ อาจต้องใช้เวลา เรียนรู้กับมันไปสักระยะเพื่อหาสไตล์ที่เหมาะสมกับตัวเอง ร้านจักรยานทีด่ จี ะช่วยแนะน�ำให้คณ ุ ได้พบกับจักรยาน คูใ่ จตามความต้องการได้งา่ ยขึน้ แถมยังช่วยดูแลจักรยานของคุณ ให้อีกต่างหาก ดังนั้น เลือกร้านค้าที่ดีมีมาตรฐาน คุณจะได้รู้สึก อุ่นใจทุกครั้งเมื่อต้องการค�ำปรึกษา ค�ำแนะน�ำ และวิธีดูแลรักษา จักรยานของตัวเองยังไงล่ะครับ การตั้งงบประมาณของคุณควรจะรวมเอาบรรดา อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จ�ำเป็นไว้ด้วย เช่น หมวกกันน็อก ไฟส่องสว่าง ทั้งหน้าและหลัง กระดิ่ง กระจกมองหลัง ถุงมือ ชุดปะยาง และ อื่น ๆ เพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อนั่นเอง ทั้งหมดนี้ คือเคล็ดลับการเลือกซื้อจักรยานเบื้องต้นที่ ควรทราบ อาจไม่จ�ำเป็นต้องรู้อย่างละเอียดทั้งหมดก็ได้ แต่หาก รูห้ ลักการเรือ่ งทีเ่ หมาะสม คุณก็จะได้จกั รยานทีถ่ กู ใจและอยูค่ กู่ บั คุณไปอีกนาน...
11
ถึงแม้คณ ุ ภาพไล่เลีย่ กันในรถจักรยาน หรือชุดอะไหล่ แต่ ราคาอาจแตกต่างกันมากน้อยยังเป็นเรื่องที่เอาแน่ไม่ได้ ทั้งๆที่น่าจะราคาไล่ๆกัน เพราะเหตุแห่ง "ความนิยม" ก็มีส่วนไม่น้อยกลไกแห่งทุนนิยมตั้งกติกาว่า ดีมานด์ มาก ราคาก็แพง คนเห่อใช้กัน ราคาก็เริ่มไม่สมเหตุ สมผลหรือกล่าวว่า ราคาก็สมเหตุสมผลอยู่ แต่เป็นการ สมเหตุสมผลในโครงสร้างทุนนิยมนัน่ เองนีจ้ งึ เป็นการปิด ช่องทางในบางโอกาส และขณะเดียวกันก็เปิดช่องทาง ด้วยเหมือนกันเปิดช่องทางให้คนที่ไม่สนกระแส สามา รถดีลธุรกิจกับสินค้าทีต่ กกระแส ในราคาเป็นทีน่ า่ พอใจ ใครจะไปรู้ว่า คนมันจะนิยมอะไร มันก็นิยมกัน ผู้ผลิต ก�ำหนดได้ส่วนนึง ส่วนใหญ่ๆมันไปตามธรรมชาติ คน ซื้อของตามกระแส บางคนถูกประนามว่าซื้อของไม่คิด ไปซื้อท�ำไมของในกระแส แพงโดยที่เราไม่ได้รับอะไรนี้ มองแบบคนนอกกระแส ส่วนพวกเขากลับมองว่าการ ถือครองของพิมพ์นิยม เป็นของมีราคา ไม่ได้โอ้อวด แต่ยามใช้งานเบื่อแล้วปล่อย(ขาย)ต่อ ย่อมได้ราคาดี กว่าด้วย เปรียบเสมือนรถปิ๊กอัพ แม้จะเป็นเครื่อง ไดเร็กอินเจ็กชัน่ เหมือนกัน แต่อซิ ซู ุ ย่อมได้ราคามากกว่า มาสด้านั้นเองและเขาเลือกที่จะครอบครองของที่ปล่อย แล้วได้ราคา ที่สรุปทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว พบว่า......เขาจ่ายไปไม่มากเท่าไหร่เลยแลกกับสิ่งที่มีทั้ง ประโยชน์ และ คุณค่าภายในตัวของมัน ปัจจัยในการ เลือกซื้อจักรยาน ถ้าคุณแค่ต้องการจักรยานไว้ใช้ปั่นไป แค่ซอื้ กับข้าว หรือไปธุระแถวบ้านรวมถึงใช้เพือ่ จอดแล้ว จรในระยะทางรัศมี 5 กิโลเมตร คุณอาจไม่ต้องมีปัจจัย อะไรมากในการตัดสินใจ หาจักรยานแม่บ้านหน้าตา ถูกใจราคาสบายกระเป๋าแบบหายแล้วไม่สะเทือนใจมาก ก็พอแล้ว แต่ถา้ ความต้องการในการใช้จกั รยานของคุณมี ปัจจัย และตัวแปรมากขึน้ เราคงต้องมาพิจารณาเหตุผล ประกอบเพิม่ ขึน้ ด้วยเหตุผลทีว่ า่ จักรยานแต่ละประเภท ชนิด ล้วนถูกออกแบบมาเพือ่ ตอบสนองการใช้งานทีแ่ ตก ต่างกันออกไป และราคาของจักรยานเหล่านี้ก็มีความ หลากหลายแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นปัจจัยในการ เลือกซื้อจักรยานกลุ่มนี้จึงมีปัจจัยดังนี้ งบประมาณ เหตุผลที่เราต้องการซื้อจักรยาน จักรยานแบบไหนคือ แบบทีเ่ ราชอบแค่คณ ุ ตอบค�ำถาม 3 ข้อนีใ้ ห้ตวั เองได้แล้ว คุณก็ใกล้เคียงทีจ่ ะเป็นเจ้าของจักรยานคันแรกในแบบที่ ถูกใจคุณได้แล้ว .
12
THINK +
แคมเปญชวนคิด ‘เพราะถนนมีไว้ใช้ร่วมกัน…ไม่ใช่ของคนคนเดียว’
ระหว่างผู้ใช้รถยนต์กับผู้ใช้รถจักรยาน และ ‘ไม่ลืม’ ว่าท้องถนน ไม่ใช่แค่ของเราแต่เพียงผู้เดียว เช่น การให้สัญญาณมือของผู้ใช้ จักรยาน การหลีกทางให้จักรยานไปก่อนของผู้ใช้รถยนต์ เป็นต้น
ถนนและทางเท้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ พื้นที่นี้ได้ เมื่อเอาตัวเองไปอยู่บนพื้นที่สาธารณะนั้นแล้วก็ต้อง เคารพกติกามารยาทซึ่งกันละกัน อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นไม่ เว้นแต่ละนาที ก็เพราะเราไม่เคารพซึ่งกันและกันนี่แหละ Road Safety หรือความปลอดภัยบนท้องถนน เป็นแคมเปญ ที่กรมสิ่งแวดล้อมของประเทศไอร์แลนด์เหนือ หรือ DOE (Department of the Environment) เฝ้ารณรงค์มาอย่างต่อ เนื่อง เพื่อเตือนสติผู้ใช้รถใช้ถนนมาแล้วอย่างมากมาย ทั้งการเตือน ผู้ใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ การเมาไม่ขับ การขับรถโดยประมาท ซึ่งส่วนใหญ่ DOE จะชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์อันน่ากลัวของการเกิด อุบัติเหตุ แต่แคมเปญ Respect Everyone’s Journey สองเรื่อง นี้ DOE เลือกใช้วิธีการทางจิตวิทยา ชี้น�ำให้ผู้คนเปลี่ยนทัศนคติ ต่อการใช้รถใช้ถนน โดยเตือนสติว่าถนนไม่ใช่ของคนเราคนเดียว เมื่อใช้รถใช้ถนน ควรเคารพและให้เกียรติกันและกัน Don’t Forget: DOE เล็งเห็นถึงปัญหาร่วมกันระหว่างผู้ใช้รถยนต์ กับผู้ใช้จักรยาน ผู้ใช้รถยนต์มักมองว่าคนปั่นจักรยานเป็นสิ่ง กีดขวางทางจราจร คนใช้จักรยานก็มองว่าคนใช้รถไม่ให้เกียรตินัก ปั่น DOE จึงอยากจะสร้างทัศนคติที่ดีต่อกันและกัน และตระหนัก เกี่ยวกับกฏกติกามารยาทการใช้ถนนร่วมกัน
Just Because: เกิดจากการวิจัยพบว่า 1 ใน 5 ของอุบัติเหตุเกิด กับผู้ใช้ถนนและทางเท้า แต่นั่นไม่ใช่ความผิดของผู้ใช้รถเพียงฝ่าย เดียว หากเป็นปัญหาที่แชร์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย คนเดินถนนอาจ ประมาท ไม่ข้ามถนนตรงทางข้าม หรือฝ่าฝืนสัญญาณไฟคนข้าม ในขณะที่ผู้ใช้รถก็อาจขับรถด้วยความเร็วเกินก�ำหนด การเมาแล้ว ขับ เรียกว่าประมาททั้งสองฝ่าย DOE จึงต้องการเปลี่ยนทัศนคติ ทั้งสองฝ่าย ให้เคารพซึ่งกันและกัน และตระหนักวว่าปัญหานี้ เกิดขึ้นทุกวันและอาจเกิดขึ้นกับตนเองได้ โดยชี้ให้เห็นว่า “แค่ เพราะ…ไม่ได้หมายความว่าจะ…” อาทิ “เพราะฉันเป็นคนขับ ไม่ ได้หมายความว่าฉันต้องมองเห็นคุณนะ” หรือ “เพราะคุณรีบ ไม่ ได้หมายความว่าจะรีบข้ามถนนโดยไม่ระวังได้” พูดง่ายๆ ว่า เมื่อใช้รถใช้ถนน ‘อย่าลืม…อย่าคิดไปเอง’ เพราะ ไม่ใช่เราคนเดียวที่ใช้ถนน กฎหมายไม่ได้ระบุว่ารถยนต์เท่านั้นถึง จะแล่นอยู่บนถนนได้ การใช้จักรยานก็ไม่ได้หมายถึงการปั่นได้ อย่างมีอิสระ การใช้ทางเท้าหรือข้ามถนนก็ไม่ได้หมายความว่าจะ ปลอดภัย… ใช้รถใช้ถนนเมื่อไหร่ เคารพกฎกติกาซึ่งกันและกัน เป็นการป้องกันอุบัติเหตุได้ดีที่สุด และยังได้มิตรภาพบนท้องถนน เป็นโบนัสตอบแทนอีกด้วย
DOE (Department of the Environment)
main course
WAY OF LIFE.
เรื่องและภาพ > ard3k
ไลฟ์สไตล์คนเมืองกับ การเลือกจักรยานในชีวิตประจ�ำวัน ถ้าพูดถึงการขี่จักรยานในเมืองไทยบ้านเราช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ ต้องบอกเลยว่ามีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเยอะมาก ตั้งแต่มี กระแสการขี่จักรยานในเมืองหลวง ทั้งรถพับที่สามารถขนขึ้นรถใต้ดินและรถไฟฟ้าได้ หลายๆคนคงหาเหตุผลว่า ท�ำไม เป็นเทรนด์? หรือ กระแสสังคมรึเปล่าทีป่ ริมาณจักรยานบนถนนในกรุงเทพ เพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ จนน่าตกใจส�ำหรับผมมองว่ามันเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ ขี องการพัฒนา ชีวิตคนเมือง เพราะการที่คนเราหันมาใช้จักรยานในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน หรือเป็นงานอดิเรกมากขึ้น ท�ำให้ลดปัญหาหลายๆอย่างลง ไปได้ (มลพิษ รถติด สุขภาพส่วนตัว การท�ำงานของปอดและหัวใจ) จนไปถึงนิตยสารขวัญใจคนรุ่นใหม่อย่าง “a day” เริ่มจัดงาน Bike Fest กันไปแล้วสองปีกม็ คี นให้ความสนใจอย่างมาก เกิดนิตยสารหัวย่อยของเขาทีม่ รี ปู เล่มสวยๆชือ่ ว่า “Human Ride” ขึน้ มา …ถ้ามองว่า ทั้งหมดที่ไล่มานี้เป็นนิมิตหมายที่ดีส�ำหรับเหล่านักปั่นทั้งหลายล่ะก็ ล่าสุดเรามีอีกข่าวใหญ่ที่ตอนนี้ประเทศไทยเพิ่งมี Shop ร้านจักรยาน ของแบรนด์ Tokyo Bike ร้านแรก ตัง้ อยูใ่ นซอยอารียเ์ ป็นเหมือนบ้านหลังน้อยๆให้คนรักจักรยานได้มาพักและพูดคุยกัน ได้ยนิ ข่าวดีสำ� หรับ นักปั่นขนาดนี้เราจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไปพูดคุยกับพวกเขา …
13
14
TOKYO - BIKE
Character ของจักรยาน Tokyo Bike คืออะไร? คอนเซปต์ของจักรยาน Tokyo Bike คือเน้นเรื่องความเป็น Urban Bike หรือ City Bike ครับ คือเป็นจักรยานที่เหมาะใช้ ขี่ในเมือง แล้วสิ่งที่ชัดเจนที่ทางญี่ปุ่นเขาเน้นเลยก็คือ จักรยาน ของแบรนด์นเี้ ป็นจักรยานทีเ่ น้นขีช่ า้ มีสโลกแกนทีใ่ ช้วา่ “Tokyo Slow” คือไปแบบช้าๆแต่ได้รับรู้และซึมซับสิ่งรอบตัวที่ผ่านไป ให้ได้มากๆครับ (โห! ขนาดจักรยานยังมีความเป็น Zen แฝงอยู่ด้วย)
ท�ำไมถึงเลือกเปิดร้าน Tokyo Bike ในซอย อารีย์? ก็มาจากเรื่องการทดลองขี่เลยครับ เรามองว่าอารีย์ มีความเป็นเมืองและมีความเป็นชุมชมเล็กๆรวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีซอยให้ลองขี่ส�ำรวจเส้นทางได้… ถ้าย้อนไปตอนแรไกเราดู มาหลายที่เลยครับ อย่างตอนเราขี่จักรยานเราเป็นคนชอบย่าน เมืองเก่าก็คิดเอาไว้ว่าอยากเปิดแถวนั้น หรือถ้าเป็นสไตล์ใกล้ๆ กันกับทีน่ กี่ ด็ แู ถวย่านทองหล่อเอาไว้ แต่สดุ ท้ายอารียต์ อบโจทย์ เราที่สุดเพราะ… เราชอบย่านนี้ตรงที่มันมีความครีเอทีฟเฉพาะ ตัวของตัวเองดีครับ ลองขีไ่ ด้เลยจริงๆ ไอเดียของเราก็คอื เราคิด ว่าการซือ้ จักรยานมันดูอย่างเดียวไม่พอ ต้องลองด้วยถึงจะรู้ เรา อยากให้คนซื้อได้ของที่ถูกใจที่สุด คือซื้อไปแล้วไม่ผิดหวังครับ
ร้าน Tokyo Bike นี้ต่างจากร้านขายจักรยาน ร้านอื่นอย่างไร? ถ้าอย่างแรกเลยก็คอื ร้านเราจะมีขายแต่จกั รยานของ Tokyo Bike โดยเฉพาะเลยครับ แล้วด้วยความที่ตัวจักรยานมันมีคอนเซปต์ เป็นแบบคนเมืองอยู่แล้ว เราเลยอยากท�ำร้านที่ออกมาในลักษณะขาย จักรยานครึง่ นึงและตอบโจทย์การใช้ชวี ติ แบบคนเมืองไปด้วยอีกครึง่ นึง ครับ เราจะไม่มองจักรยานในแง่เอาไว้ขใี่ ช้สอยออกก�ำลังกายอย่างเดียว เราคิดว่ามันคือตัวแทน Lifestyle ของคนเมือง เพราะฉะนัน้ ก็จะมีพวก Product ทีใ่ ช้สอยในชีวติ ประจ�ำวันต่างๆวางขายอยูด่ ว้ ย… อ้อ! แล้วอีก สิง่ นึงทีเ่ รามีเป็นเอกลักษณ์อกี เลยก็คอื เรามีการทดลองขี่ “Test Ride” ให้ลูกค้าสามารถเลือกรุ่นและสีที่ชอบคันไหนก็ได้ออกไป
ท�ำไมถึงเลือกทีจ่ ะเปิดร้าน Tokyo Bike ในซอยอารีย?์ ก็มาจากเรื่องการทดลองขี่เลยครับ เรามองว่าอารีย์มีความ เป็นเมืองและมีความเป็นชุมชมเล็กๆรวมเข้าไว้ดว้ ยกัน คือมีซอยให้ลอง ขีส่ ำ� รวจเส้นทางได้… ถ้าย้อนไปตอนแรกเราดูมาหลายทีเ่ ลยครับ อย่าง ตอนเราขี่จักรยานเราเป็นคนชอบย่านเมืองเก่าก็คิดเอาไว้ว่าอยากเปิด แถวนัน้ หรือถ้าเป็นสไตล์ใกล้ๆกันกับทีน่ กี่ ด็ แู ถวย่านทองหล่อเอาไว้ แต่ สุดท้ายอารียต์ อบโจทย์เราทีส่ ดุ เพราะ… เราชอบย่านนีต้ รงทีม่ นั มีความ
15
สาเหตุที่เลือกน�ำเข้า Tokyo Bike มาขาย? สาเหตุหลักเลยที่เราอยากเปิดร้านขายจักรยานคือ เราอยากให้ เมืองไทยมีคนขี่จักรยานกันเยอะๆ เพราะเราเป็นคนนึงที่เปลี่ยนมา ขี่จักรยานแทนการใช้รถแบบจริงจัง แล้ว Tokyo Bike มันมีความขี่ ง่ายขี่สบาย เหมาะส�ำหรับคนเมืองบวกกับว่าเราชอบดีไซน์เขาด้วย อยู่แล้ว เราไม่อยากให้การขี่จักรยานเป็นแค่แฟชั่นที่มาแล้วจากไป แต่เราอยากให้คนที่ใช้มีความคิดแบบมองจักรยานเป็นอีกตัวเลือก ที่ดีของการเดินทาง แค่นั้นก็มีความสุขแล้วครับ (ยิ้ม)
Movement ต่อไปของ Tokyo Bike ในเมืองไทยคิด ไว้ว่าจะเป็นอย่างไร? ก็อยากให้มันโตขึ้นนะครับ แต่อยากให้โตแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป เพราะถ้าถามเราเรื่องการขาย เราก็อยากขายของอยู่แล้วล่ะ (ยิ้ม) เราอยากขายจักรยานที่มีดีไซน์สวยๆและคนขี่ก็ขี่สบายด้วย แต่จะ ไม่มองมันในแง่ธุรกิจหนักๆ ด้านผลตอบรับลูกค้าตอนนี้ก็มีทั้งคนที่ เพิ่งเริ่ม มีความคิดที่อยากขี่จักรยานในเมือง หรือรวมไปถึงคนที่ปั่น เป็นงานอดิเรกจริงจังเลยก็มีครับ คงเป็นเพราะเราเป็นร้านแรกของ Tokyo Bike ในไทยด้วย คนส่วนใหญ่รู้จักแบรนด์นี้ดีอยู่แล้ว ก็เลย เหมือนรอก่อนหน้านี้กันมาอยู่แล้วครับ
มีอะไรอยากฝากถึงคนที่คิดอยากเริ่มปั่นจักรยาน ในเมืองกรุงเทพบ้าง?
ทีร่ า้ น Tokyo Bike นอกจากจะเป็นร้านขายจักรยาน แล้วยังมีอะไรอีกบ้าง? ด้วยไอเดียที่เราอยากให้เป็นร้านที่มี Lifestyle มากขึ้นเรื่อยๆล่ะ ครับ เราก็มกี จิ กรรมทีค่ ดิ เอาไว้มากมายเลยอย่างเช่นตรงสนามหญ้า หน้าร้าน เราคิดว่าอยากจะเปิดเป็นตลาดนัดขายของออร์แกนิคชวน เพื่อนๆที่สนใจมากัน หรือชั้นสองที่ตอนนี้ก�ำลังท�ำอยู่เราจะเปิดเป็น Workshop ให้ใครก็ได้ทสี่ นใจอยากมาใช้สเปซตรงนีร้ ว่ มกัน เราอยาก สร้างอะไรขึน้ มาในชุมชนเล็กๆนี้ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็เป็นการใช้เวลาว่าง ที่มีประโยชน์ได้ด้วยครับ
ที่ง่ายที่สุดคือต้องลองออกมาขี่ครับ ซึ่งจริงๆทางร้าน Tokyo Bike เองเราใส่ใจกลุ่มคนที่ก�ำลังเริ่มอยากปั่นจักรยานในเมืองมากๆเลย ครับ เรามีแผนที่จะจัดทริปปั่นในเมืองเล็กๆให้คนที่เพิ่งเริ่มได้มา ร่วมปัน่ เหมือนกัน เพราะส�ำหรับพวกเขาคงยังไม่เห็นภาพว่ารถเยอะ ขนาดนี้ จะปั่นยังไง เส้นทางไหนที่เหมาะบ้าง แต่ถ้าจะพูดถึงระบบ การจัดการในภาพกว้างนี่คงต้องมองแบบค่อยเป็นค่อยไปจริงๆครับ เพราะสิ่งที่เป็นสังคมแบบนี้มันคงต้องช่วยๆกันปรับ เราเองท�ำคน เดียวคงไม่ได้… ทีผ่ า่ นๆมานีก่ รุงเทพเราก็เริม่ มีการเคลือ่ นไหวในทาง ทีด่ เี กิดขึน้ มากมายเลยครับ อย่างล่าสุดห้างฟอร์จนู เดีย๋ วนีเ้ ขาท�ำโซน จอดจักรยานมีที่ล็อค มีการดูแลความปลอดภัยอย่างดีไม่ต่างจาก มอเตอร์ไซค์เลย แถมมีห้องอาบน�้ำเตรียมไว้ให้ด้วยครับ… คือก่อน อื่นต้องเข้าใจว่าของแบบนี้รีบร้อนคงไม่ได้ แต่ในใจเราก็อยากเห็น ภาพกรุงเทพเมืองแห่งจักรยานแบบนั้นซักวันเหมือนกัน …คงจะดี ไม่น้อยเลยครับ (ยิ้ม)
16
จักรยานมันอิสระมากๆ เราสามารถท�ำอะไรก็ได้ ไปไหนก็ได้ที่ๆ เราอยากไปและขาเราพาไปถึง (URBAN) TOKYO BIKE THAILAND
HUMAN RIDE
BIKE TO WORK
อยาก Bike To Work ต้ อ งเตรี ย มตั ว อย่ า งไร เลือกจักรยานใช้งานให้เหมาะสมกับเส้นทาง ระยะทาง และลักษณะ การใช้งาน อาทิเช่น เดินทางระยะไม่เกิน 10 กิโลเมตร อาคารไม่มีที่ จอดปลอดภัย และต้องใช้เส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง อาจเลือกใช้ จักรยานพับ หรือจักรยานประเภท Mini Velo ซึ่งมีความคล่องตัว ในการเดินทางสูงด้วยขนาดล้อทีเ่ ล็ก สามารถลัดเลาะไปตามช่องว่าง ระหว่างที่รถติดได้อย่างดี เมื่อถึงจุดหมายสามารถพับและไปเก็บไว้ ในส�ำนักงานได้ หรือ หากบ้านอยู่ไกลเกินกว่า 10 กิโล อาจพิจารณา เป็นจักรยานเสือภูเขา หรือไฮบริด หรือจักรยานประเภทซิตี้ไบค์ทั้ง หลาย ที่จะช่วยให้การเดินทางรวดเร็วมากขึ้น แต่หากเจอกับถนนที่ มีการจราจรคับคัง่ ก็อาจจะไม่สะดวกนัก และทัง้ นีต้ อ้ งค�ำนึงถึงสถาน ที่จอดที่ปลอดภัยด้วย ศึกษาและท�ำความรู้จักรวมถึงพิจารณาเส้นทางที่จะใช้ในการเดิน ทางไปและกลับให้เหมาะสม หากไกลเกินไปอาจใช้จักรยานร่วมกับ พาหนะอืน่ เช่น เอาลงเรือข้ามฟากแทนทีจ่ ะปัน่ ขึน้ สะพานข้ามแม่นำ �้ หรือพับขึ้นรถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้า แทนที่จะต้องปั่นยาวตลอดเส้นทาง การใช้เส้นทางรองในช่วงเวลากลางวันก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะ สม เพราะรถจะวิ่งช้ากว่าถนนหลัก อีกทั้งฝุ่นควันมลพิษ รวมถึงร่ม ไม้ระหว่างทางมีมากกว่า และยังช่วยเลีย่ งจากการติดไฟแดงตามแยก ต่างๆ ได้ด้วย นอกจากนี้หากจ�ำเป็นต้องปั่นจักรยานกลับบ้านยาม
วิกาลควรเลือกใช้ถนนสายหลักที่มีคนและยานพาหนะพลุกพล่าน จะปลอดภัยกว่า การเลือกถนนสายรองรถน้อยแต่วา่ เปลีย่ วเพราอาจ ตกเป็นเหยือ่ ของอาชญากรรมได้ควรเลือกเสือ้ ผ้าในการปัน่ ไปท�ำงาน ให้เหมาะสม หากระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรควรสวมเสื้อผ้าที่ สามารถระบายอากาศได้ดี และมีชดุ ส�ำหรับไว้เปลีย่ นทีท่ ำ� งาน ไม่ควร สวมรองเท้าคลีทขณะปั่นไปท�ำงาน เพราะนอกจากจะเพิ่มสัมภาระ ให้ตัวเองโดยไม่จ�ำเป็นแล้ว การปั่นจักรยานในเมืองด้วยรองเท้า แบบคลีทยังท�ำให้เราอาจพบกับอุบัติเหตุแบบไม่ขาดฝันได้มากขึ้น และอาจท�ำให้อุบัติเหตุเล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นได้ ควรเลือก สวมรองเท้าที่ใส่สบายและหุ้มเท้าได้ทั้งหมด เพราะหากเกิดเหตุไม่ คาดฝันก็ยังสามารถป้องกันบาดแผลที่เท้าได้ รวมไปถึงอุปกรณ์ป้อง กันอื่นๆ เช่นหมวกกันน๊อค และถุงมือ ถือเป็นสิ่งส�ำคัญที่ควรสวมใส่ เสมอเมือ่ ใช้จกั รยานเดินทางในเมืองควรติดไฟหน้า หลังทีม่ องเห็นได้ ชัดเจน หลายคนใช้ไฟผิดประเภทในการเดินทาง เห็นแก่ราคาถูกแต่ ไม่คำ� นึงถึงความปลอดภัยต่อชีวติ ไฟซิลโิ คลนดวงละไม่ถงึ 100 บาท อาจถูกและใช้สะดวกจริง แต่เมื่ออยู่บนถนนที่มีแสงไฟมากมายจาก รถใหญ่ จากถนนก็มคี า่ เท่ากับแสงหิง่ ห้อย หรือยิง่ เวลาทีถ่ า่ นอ่อนลง แม้แต่ปน่ั อยูใ่ นถนนมืดๆ ทีแ่ สงสลัวก็แทบจะมองไม่เห็น หากจ�ำเป็น ต้องเลือกซื้อไฟหน้าท้าย ควรค�ำนึงถึงความสว่าง ที่จะสามารถเตือน ให้คนอื่นเห็นได้ในระยะไกล และไฟหน้าควรส่องให้เห็นเส้นทางได้
17
18
ชัดเจน เพราะถนนกรุงเทพฯ นั้นมีความอันตรายสูงมากๆ ทั้งฝาท่อ ทีอ่ อกแบบโดยไม่คำ� นึงถึงผูใ้ ช้จกั รยาน และผิวถนนทีเ่ สือ่ มโทรมขาด การเอาใจใส่เนือ่ งจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อน คุณอาจจ�ำเป็นต้องใส่ใจ ต่อผิวพรรณบ้าง ทัง้ การใช้ผา้ ปิดหน้า ทีม่ ชี อ่ งระบายจมูกให้หายใจได้ คล่อง ปลอกแขนที่มีคุณสมบัติกัน UV รวมไปถึงการเลือกใช้ครีมกัน รังสี UV เพือ่ ปกป้องผิวพรรณของคุณขณะทีต่ อ้ งออกมาเจอแดดด้วย ส�ำหรับคนทีไ่ ม่มหี อ้ งอาบน�ำ้ ทีท่ ำ� งาน ควรเลือกวิธนี ำ� เสือ้ ผ้ามาเปลีย่ น สามารถใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน�้ำหมาดๆ เพื่อเช็ดตัวและตามด้วยโรลออ น หรือสเปรย์ดับกลิ่นกายได้ หากที่ท�ำงานไม่มีที่ตากผ้า หรือการใช้ ผ้าเช็ดตัวดูจะยุง่ ยากไป ทิชชูเ่ ปียกก็เป็นอีกเครือ่ งมือท�ำความสะอาด ร่างกายอีกวิธหี นึง่ ทีส่ ามารถใช้ได้ โดยใช้เช็ดตามจุดพับต่างๆ เช่นใต้ วงแขน หรือล�ำตัว จากนั้นจึงค่อยใช้สเปรย์ดับกลิ่นกาย เพียงเท่านี้ ก็ทำ� ให้สดชืน่ เหมือนเพิง่ อาบน�ำ้ มาจากบ้านได้เช่นกัน แต่กอ่ นจะเข้า สู่กระบวนการท�ำความสะอาดร่างกาย ควรรอให้เหงื่อแห้งเสียก่อน หรือร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ออกตัวตลอดเวลา ควรสังเกตเลนที่อยู่รอบด้านว่าไมมีรถฝ่าไฟแดง ออกมาแล้ว ก่อนที่จะเคลื่อนตัวออกไป เมื่อออกตัวข้ามแยกไปแล้ว ควรเข้าเลนซ้ายให้เร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดขวางรถคันอื่นๆ ที่ ตามมา ถนนเลนซ้ายส่วนใหญ่ในเมืองจะเต็มไปด้วยท่อ ดังนั้นจึงไม่ ควรปั่นจักรยานชิดเลนซ้ายจนเกินไป เพราะนอกจากจะสร้างความ ล�ำบากในการปั่นให้ตัวคุณเองแล้ว บางกรณีเกิดเราต้องหลบหลุม หรือสิ่งใดๆ ที่จะสร้างความล�ำบากในการปั่นจักรยานของเรา ออก มาทางขวา อาจก่อให้เกิดอันตรายจากรถที่ตามมาได้ ดังนั้น หาก จ�ำเป็นต้องปั่นจักรยานบนถนนใหญ่ ควรห่างจากฟุตบาทอย่างน้อย 1 เมตร และไม่ควรปัน่ ลดเลีย้ วไปมา เพราะจะท�ำให้ผใู้ ช้ถนนคนอืน่ ๆ คาดเดาเราไม่ได้ หากจ�ำเป็นจะต้องเลีย้ วซ้ายขวา หรือเปลีย่ นเลนควร ให้สัญญาณมือให้รถคันอื่นเห็นได้ชัดเจน หากระยะทางปั่นไกลกว่า 10 กิโลเมตร ควรพกกระติกน�้ำไว้ดื่ม ระหว่างทางเพื่อท�ำให้ร่างกายไม่ต้องสูญเสียน�้ำเกินความจ�ำเป็น ไม่ควรแบกสัมภาระหนักเกินไป เพราะหากท�ำบ่อยๆ อาจท�ำให้ เกิดการบาดเจ็บได้ และสัมภาระที่หนักเกินไปจะท�ำให้เราควบคุม ข้อควรระวังในการ Bike To Work จักรยานได้ไม่ดี ไม่ควรใส่หูฟังขณะปั่นจักรยาน เพราะจะท�ำให้เราไม่ได้ยินเสียงรอบ สุดท้ายควรค�ำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทางเป็นอันดับแรกและ ข้าง ซึ่งอาจท�ำให้เกิดอันตรายได้ ไม่ใช้ถนนด้วยความประมาท ที่ส�ำคัญสิ่งที่ต้องพกติดตัวไว้เสมอคือ ไม่ควรปัน่ จักรยานย้อนศร หากมีความจ�ำเป็นต้องสวนเลน ควรเลือก น�้ำใจและรอยยิ้ม แล้วคุณจะพบว่ามิตรภาพบนท้องถนนนั้นคือหนึ่ง ใช้ทางเท้าแทนโดยพิจารณาจากสถานการณ์หากมีคนเดินพลุกพล่าน แรงดึงดูดที่ท�ำให้คุณอยากปั่นจักรยานไปท�ำงานทุกๆ วัน ควรจูงผ่านไป แต่ถ้าหากเป็นไบค์เลนบนทางเท้าก็สามารถปั่นสวน เลนได้ตามปกติ ทั้งนี้ควรเคารพผู้เดินบนทางเท้าด้วย ขณะติดไฟแดงควรอยู่ด้านหน้าสุดเสมอ และเตรียมพร้อมที่จะ
THE SUBJECT
ความไม่เท่าเทียม เรื่องเพศ บนอายจักรยาน
เย็นดีเล็งเห็นแล้วว่า ด้วยวัย 12 ขวบ เธอสามารถ ออกแบบการด�ำเนินชีวิตโดยเบียดเบียนโลกให้น้อยที่สุดได้ อย่างไร แต่ฝันต้องสลายเหมือนฟองสบู่แตกกลางอากาศเมื่อพ่อไม่ อนุมัติ “ในความเห็นของพ่อ สิ่งที่หนูต้องเรียนรู้ในวัยนี้และ ควรเอาตัวออกห่างที่สุด หนึ่งคือเคเอฟซีซึ่งหนูโปรดปราน สองคือถนนกรุงเทพฯ อย่างแรกมันจะท�ำให้หนูเป็นโรคอ้วน ส่วนอย่างหลังพ่อไม่เห็นด้วยหากหนูจะขี่จักรยานไปโรงเรียน หรือขี่ไปเรียนเปียโนและบัลเล่ต์” เย็นดีค�ำนวณในใจพบว่า การไม่ทานเคเอฟซี ผู้ที่ ได้รับความเดือดร้อนย่อมเป็นเธอเพียงผู้เดียว แต่หากเธอใช้ จักรยาน โลกทั้งใบจะได้รับประโยชน์ “เพื่อนหนูที่ชื่ออดิศร เขายังขี่จักรยานมาเรียนเลยค่ะ คุณพ่อขา” เย็นดีใช้ความเร็วเท่าการเดินทางของแสงในการ กุเรื่องเพื่อนที่ชื่ออดิศรขึ้นมา “แต่หนูเป็นผู้หญิงนะเย็นดี อนุสรณ์เป็นผู้ชาย” “อดิศรค่ะ ไม่ใช่อนุสรณ์” “นั่นแหละ” พ่อพูดพลางพลิกหนังสือพิมพ์ ก้มมอง
หน้ากระดาษ “หนูรู้มั้ย ผู้ใช้จักรยานในอเมริกาส่วนใหญ่เป็น ผู้ชายอายุ 25-64” พ่อเล่าอีกว่า ผู้หญิงอเมริกันใช้จักรยานเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ของจ�ำนวนผู้ใช้ทั้งหมด ขณะที่ในเยอรมนี ผู้หญิง ใช้จักรยานเป็นจ�ำนวนครึ่งหนึ่งของจ�ำนวนผู้ใช้จักรยาน ทั้งหมด ที่เนเธอร์แลนด์ สัดส่วนการใช้จักรยานของผู้หญิงมี มากกว่าผู้ชาย “ท�ำไมคะคุณพ่อ ท�ำไมผู้หญิงอเมริกันจึงใช้จักรยาน น้อยกว่าผู้หญิงเยอรมันหรือฮอลแลนด์” “ถ้าลูกบอกพ่อได้ พ่อจะซื้อจักรยานให้ แต่มีข้อแม้ว่า ไว้ส�ำหรับออกก�ำลังกายในหมู่บ้านเท่านั้นนะ” เย็นดีตาวาวดั่งแสงอาทิตย์สาดกระทบเฟรมจักร ยานชุปโครเมียมสะท้อนในดวงตา ความต้องการอยากได้ จักรยานน�ำทางเธอไปพบกับ เอลลี่ บลู (Elly Blue) เอลลี่ บลู เป็นนักเขียน เป็นนักกิจกรรมชาวพอร์ทแลนด์ และเป็นผู้หญิงที่ใช้จักรยานในชีวิตประจ�ำวัน บลูเขียน บทความเกี่ยวกับการใช้จักรยาน โดยจะพิมพ์รวมเล่มในชื่อ Bikenomics ในปี 2013 เธอบอกว่าเหตุผลส�ำคัญ 2
19
20
ประการที่ท�ำให้ผู้หญิงอเมริกันขี่จักรยานกันน้อย หนึ่ง…ความกลัว และสอง…แฟชั่น บลู บอกโดยอิงผลการศึกษาชิ้นหนึ่งว่า ผู้หญิงมีแนว โน้มที่จะเลือกขี่จักรยานบนถนนย่านที่พักอันเงียบสงบ ขณะที่ผู้ชายบ่ยั่นความชุลมุนของเส้นทางหลักที่การจราจร หนาแน่น การศึกษานี้สรุปว่า หากเมืองไหนสามารถหว่าน ล้อมให้ผู้หญิงขี่จักรยานได้ นั่นคือเมืองที่มีโครงสร้างพื้น ฐานส�ำหรับทางจักรยานที่ปลอดภัยต่อความรู้ขณะเดียวกัน ผู้หญิงมักกังวลกับการขี่จักรยานไปท�ำงาน เพราะแสงแดด และสายลมระหว่างขี่จักรยานจะท�ำลายความเป็นมืออาชีพ ของผู้หญิงเมื่อไปถึงที่ท�ำงาน นั่นคือการหลอมละลายของ เครื่องส�ำอางบนใบหน้า และทรงผมที่เซ็ตไว้ตอนเช้า นอกจากนี้ บลูยังบอกว่า การจ้างงานที่กีดกันเรื่องเพศยัง เป็นอุปสรรคต่อการใช้จักรยานของผู้หญิง ผู้หญิงมีแนวโน้ม ยากจนกว่าผู้ชาย “เรายังไม่ได้รับค่าแรงที่เท่ากัน ในการ ท�ำงานลักษณะเดียวกัน ผู้ชายได้ค่าตอบแทน 1 ดอลล่าร์ ผู้ หญิงจะได้เพียง 77 เซนต์เท่านั้น ยังไม่รวมอคติด้านการจ้าง งานที่มีต่อสตรีมีครรภ์ และมีบทบาทเป็นมารดา” บลู บอก ในอนาคตหากเย็นดีมีโอกาสได้เป็นแม่ แต่ละวันเธอ ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงในการท�ำงานบ้าน ไหนจะ ต้องใช้เวลาดูแลลูก ทั้งที่ผู้หญิงยังต้องท�ำงานเช่นเดียวกับ ผู้ชาย ผู้หญิงจึงมีหน้าที่รับผิดชอบมากกว่าผู้ชาย บลูพยายามโยงเหตุเหล่านี้เข้าสู่ผลของการไม่สามารถ มีเวลาในการใช้จักรยานบนถนนที่มีข้อจ�ำกัด เพราะหัวใจ ของระบบขนส่งมวลชนอยู่ที่รถยนต์ ไม่ใช่จักรยาน เย็นดีบอกพ่อว่า หากรถยนต์เป็นผู้ชาย จักรยานก็เป็น เหมือนผู้หญิง เมื่อฟังจนจบ พ่อพูดกับเย็นดีว่า “พ่อรู้แล้วว่าหนูอยาก ได้จักรยานจริงๆ” “แต่บลูท�ำหนูหดหู่ในการเป็นผู้หญิง” พ่อคว้าเย็นดีมากอด “ไม่ใช่บลูเป็นคนท�ำหรอกลูก แต่ใครน่ะหรือ พ่อก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน อาจเป็นคนแบบ พ่อนี่ก็ได้” เย็นดีอยากให้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของ ประเทศไทยรู้จักและพูดคุยกับบลู เพราะหลายเดือนก่อน ตอนที่รัฐบาลออกนโยบายลดภาษีส�ำหรับผู้ซื้อรถยนต์คัน แรก เย็นดีรู้ด้วยหลักเหตุผลง่ายๆ ว่ารถยนต์ย่อมจะเพิ่ม มากขึ้น แน่นอนว่ามันสวนทางกับแนวโน้มการใช้พลังงาน
ของโลก เย็นดีบอกกับพ่อว่า “ไม่ว่าพ่อจะเลือกรัฐบาลนี้เข้า มาหรือไม่ แต่หนูก็หวังว่าพ่อจะไม่เห็นดีเห็นงามกับนโยบาย นี้นะคะ” “อืม…การที่พ่อเป็นพ่อของลูกสาวนักสิ่งแวดล้อมนี่ ก็ล�ำบากเหมือนกันนะ…เอาอย่างนี้ ทุกเช้าตอนส่งหนูไป โรงเรียน พ่อสัญญาว่าจะไปรับอดิศรเพื่อนหนูติดรถไป โรงเรียนด้วย เขาจะได้ไม่ต้องเสี่ยงอันตรายบนท้องถนน คาร์พูลพอไหวมั้ยแม่นักสิ่งแวดล้อม” เย็นดีพยายามใช้ความคิดอย่างยิ่งในการบอกพ่อว่า บ้านอดิศรอยู่แถวไหน Portland model • จ�ำนวนบริษัทในภาคอุตสาหกรรมจักรยานเพิ่มขึ้นจาก 95 แห่งในปี 2006 เป็น 143 แห่งในปี 2008 ในช่วง 2 ปีนี้ ภาคอุตสาหกรรมจักรยานเติบโตถึง 50 เปอร์เซ็นต์ • เศรษฐกิจที่เกี่ยวกับจักรยานในพอร์ตแลนด์ท�ำให้เกิด การจ้างงาน 850-1150 ต�ำแหน่ง • ผู้ผลิตจักรยานแฮนด์เมดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อย ละ 17 หรืออัตราการเติบโต 340 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็น ภาคธุรกิจที่เติบโตเร็ว และก�ำลังได้รับความสนใจจากกลุ่ม สื่อเป็นอย่างมาก • ในพอร์ตแลนด์มีกิจกรรมจักรยาน ทั้งแข่งขัน ทัวร์ รวม กันกว่า 4,000 รายการต่อปี หรือ ทุกๆ 27 นาทีจะต้องมี รายการปั่นจักรยานเกิดขึ้น 1 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า นับตั้งแต่ปี 2006 ที่มีกิจกรรมการปั่นจักรยาน 2100 รายการต่อปี • New Seasons Market ตลาดท้องถิ่นในเมืองพอร์ท แลนด์มีพื้นที่ส�ำหรับจอดรถยนต์น้อยกว่าพื้นที่ส�ำหรับจอด จักรยาน
เรื่อง : วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ ภาพประกอบ : k-9
21
TALKING HEAD ภาพประกอบ > Watana Kreetong
จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ คอลัมน์ TALKING HEAD ครั้งนี้นะครับ ทางทีมงาน BICYKER มา สัมภาษณ์นักปั่นคนหนึ่งที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดกิจกรรม อย่าง Bangkok Bicycle Show 2012 & Bangkok Vintage Bicycle Show และเรียกได้ว่า เป็นสมาชิก รุ่นแรกในเว็บไซต์ thaimtb วันนี้มานั่งพูดคุยกับพี่หน่อง จตุ ร งค์ หิ รั ญ กาญจน์ อาจารย์พิเศษทางด้านการถ่ายภาพ ผู้ชื่นชอบการปั่นท่องเที่ยวและ จักรยานวินเทจ บอกได้คำ� เดียวว่า สนุกมาก ประสบการณ์ของพีห่ น่อ งทีน่ ำ� มาเล่าสูก่ นั ฟังเรียกได้วา่ โหดมันฮาและมีสาระ เรือ่ งราวจะเป็น อย่างไรนัน้ ขอเชิญติดตามได้ใน “เล่าปัน่ ” โดยพีห่ น่องกันได้เลยครับ จุดเริ่มต้นมันมาจากหลายๆ อย่างนะ อย่างแรกเลย คือ เหตุการณ์ชนแล้วหนี พีเ่ จอมากับตัวเอง คือ พีป่ น่ั จักรยานขึน้ สะพาน ตอนกลางคืน โอเค พีอ่ าจจะประมาทเองทีค่ ดิ ว่าตอนกลางคืนมันไม่มี รถ แต่จริงๆ แล้ว ยิ่งดึก รถยิ่งวิ่งเร็ว แล้วพี่ก็เจอไปแบบเต็มๆ พี่โดน รถชน พี่วูบไปเลย เลือดกองเต็มถนน จักรยานเละทั้งคัน พี่เบลอไป หลายเดือน แต่ไม่มใี ครตามหาคนขับรถได้ สอง พีเ่ ป็นคนทีช่ อบความ ถูกต้อง ความยุตธิ รรมในสังคม และกับเหตุการณ์ชนแล้วหนีเนีย่ มัน เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา และไม่มีใครสนใจ ภาครัฐก็ไม่ค่อยให้ความ สนใจ จนกลายเป็นเรื่องปกติของสังคม พี่เคยได้ยินคนขับรถบางคน คุยกันว่า เฮ้ย ถ้าคุณขับรถชนคนอื่นแล้วหยุดรถ ลงมารับผิดชอบนะ คุณโง่แล้ว และ สาม ตอนที่พี่ประสบอุบัติเหตุเนี่ย มีคนช่วยเหลือพี่ เยอะมาก ทั้งโอนเงินเข้ามาช่วยเหลือ บางคนถึงกับประมูลจักรยาน เพือ่ น�ำเงินมาช่วยเหลือพี่ มีรนุ่ น้องศิลปากรท�ำเสือ้ ยืดออกมาขายเพือ่ นพเงินมาช่วยเหลือพี่ พี่ก็เลยรู้สึกว่า “เฮ้ย พี่อยากตอบแทนอะไรให้ กับคนทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือพี่ อยากตอบแทนสังคม” พีก่ เ็ ลยเริม่ ต้นด้วย การท�ำสติ๊กเกอร์ “ชนไม่หนี” ขึ้นมา ซึ่งได้น้องหมึกมาช่วยออกแบบ ให้ พีก่ อ็ ยากรณรงค์คล้ายๆ กับพวกเมาไม่ขบั อะไรแบบนัน้ จริงๆ พีก่ ็ อยากท�ำอะไรให้มนั ยิง่ ใหญ่กว่านีน้ ะ อยากจะขอสปอนเซอร์มาจัดท�ำ นู่นท�ำนี้ แต่พี่ก็ไม่รู้จะท�ำยังไง เพราะพี่ไม่ใช่คนดัง ไม่ใช่คนมีอิทธิพล ตอนนี้พี่ก็ท�ำได้แค่แจกสติ๊กเกอร์ตาม facebook ตามเว๊บ thaimtb ใครสนใจก็สง่ ชือ่ ทีอ่ ยูม่ า พีจ่ ะจัดส่งไปให้เลยทางไปรษณีย์ และตอน นีก้ ม็ แี ฟนเพจ “รณรงค์ชนไม่หนี” ขึน้ มาแล้ว ก็มนี อ้ งคนหนึง่ เขาช่วย ท�ำขึ้นมาให้ แล้วก็มีหลายๆคนที่ช่วยแจกสติ๊กเกอร์ ตอนนี้พวกเราก็ ท�ำกันได้ประมาณนี้
ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องความประมาท ความประมาทของเรา เองเราป้องกันได้นะ อย่างพี่เองพี่จะเป็นคนที่ระมัดระวังมาก คนที่ ปั่นจักรยานกับพี่ด้วยกันจะรู้ว่า พี่เป็นคนไม่ประมาท จะเปลี่ยนเลน ทีก็มองซ้ายมองขวาตลอด แต่ความประมาทจากผู้อื่น พี่ว่า เราจะ ระวังยังไงเราก็ป้องกันไม่ได้ นอกจากต้องอบรม บ่มนิสัย ให้มีความ คิดว่าจะต้องไม่ประมาท ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ต้องยืนอยู่บนความถูก ต้อง ยุติธรรม ถ้าเราท�ำผิด เราต้องช่วยเหลือหรือรับผิดชอบผู้เสีย หาย และถ้ามองในเรือ่ งของการขับรถชนคนอืน่ เนีย่ สมมุตวิ า่ คุณขับ รถชนพี่ แล้วไม่ลงมาดู ขับหนีไปเลย ถ้าพี่ตายขึ้นมา ลูกสาวพี่จะท�ำ ยังไง พีว่ า่ ถ้าเราขับรถชนคนอืน่ แล้วเราลงมาดู พาไปส่งโรงพยาบาล เรายังพอช่วยเขาได้ และยังมีพรบ.มาช่วยจ่ายเงินคุม้ ครอง ช่วยเหลือ ทั้งคนขับและคนถูกชน ขอแค่ให้เราลงมารับผิดชอบ เท่านั้นเอง ถ้าจะให้รณรงค์กันในเรื่องนี้ พี่ว่าเราต้องอบรมจริยธรรมกับคนไทย ให้มากขึ้น เพราะพี่มองว่า ในปัจจุบัน คนไทยไม่ค่อยมีความรับผิด ชอบ และเห็นแก่ตัวมากกว่าในอดีต พี่ไม่ได้เป็นคนนิยมฝรั่งนะ พี่ ภูมิใจในความเป็นไทย รักความเป็นไทย พี่เป็นคนไทยคนหนึ่ง แต่ พี่มั่นใจว่า ฝรั่งเขามีความรับผิดชอบสูงกว่าคนไทย จริยธรรม ความ ถูกต้องสูงกว่าคนไทย พีไ่ ม่รวู้ า่ เขาอบรมกันยังไงนะ แต่พอี่ ยูต่ า่ งประ เทศเนีย่ แค่ยนื อยูข่ า้ งถนน เขาก็หยุดรถให้พขี่ า้ มแล้ว แต่ถา้ เป็นเมือง ไทยนะ ไม่มีทาง แค่พี่จะเลี้ยวเข้าซอยบ้านพี่ ยังไม่มีใครหยุดรถให้พี่ เลี้ยวเลย พี่ว่า ถ้าเราอบรมจริยธรรมให้มากขึ้น ปลูกฝังกันตั้งแต่วัย เด็ก ทุกอย่างมันน่าจะดีขึ้น
JUST DO IT .