คนกาแฟ

Page 1

คนกาแฟ เรื่องราวของความสุขเหนือระดับน้ำ�ทะเล

ณหทัย คชมิตร

1


2


คนกาแฟ เรื่องราวของความสุขเหนือระดับน้ำ�ทะเล

ณหทัย คชมิตร

3


4


5


6


คนกาแฟ ณหทัย คชมิตร

พิมพ์ครั้งแรก มีนำคม 2558 จ�ำนวน 80 หน้ำ ที่ปรึกษำ

อำจำรย์อริน เจียจันทร์พงษ์

คณะที่ปรึกษำ ไไ ภำพ

อำจำรย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง อำจำรย์กันยิกำ ซอว์ อำจำรย์วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง อำจำรย์ภมรศรี ไพบูลย์รวมศิลป กมลชนก ศรีสวัสดิ์ ณหทัย คชมิตร

7


8


จากใจคนดื่ม ก่อนจะได้เป็นกำแฟหนึ่งแก้วที่เรำดื่มในทุกวันนี้กำแฟต้องเดินทำง ผ่ำนเส้นทำงไกลแสนไกล แต่ละเส้นทำงที่ต้องผ่ำนล้วนส่งผลต่อรสชำติ กำแฟที่แสนจะอ่อนไหว ต้นทำงของกำแฟก็ส�ำคัญไม่แพ้กัน ก่อนจะได้เป็นเมล็ดกลม ๆ สีด�ำ ทีเ่ รำคุน้ เคย กำแฟเคยเป็นผลสีแดงสดมำก่อน แล้วใครกันนะทีเ่ ป็นคนปลูก และฟูมฟักเจ้ำเมล็ดกำแฟนี้จนกลำยเป็นเครื่องดื่มยอดนิยม หนังสือเล่มนี้จึงขอถ่ำยทอดเรื่องรำวของคนปลูกกำแฟที่มีควำมน่ำ สนใจแตกต่ำงกันไปเหมือนกับรสชำติของกำแฟแต่ละแก้ว หวังว่ำเรื่องรำวเหล่ำนี้จะช่วยท�ำให้กำรดื่มกำแฟแก้วต่อไปของคุณ อร่อยมำกยิ่งขึ้น .....ดื่มด่�ำเรื่องรำวของคนปลูกไปพร้อมกับกำแฟถ้วยโปรดของคุณ

ณหทัย คชมิตร กุมภำพันธ์ 2558

9


สารบัญ 12 ดื่มด�่ำ 16 กาแฟไม่แน่นอน : ศรีจันทร์ - อัมพร ต๊ะค�ำ 28 บ้านคัดสรร : นวล - แดง ต๊ะค�ำ 40 นอกระบบ : สุรสิทธิ์ เขียวเขื่อน

10


52 3 in 1 : ยวงค�ำ ญาติฝูง 64 กาแฟอนุรักษ์ : วัลลภ ปัสสนนท์ 79 หวาน ๆ ขมๆ

11


12


ดื่มดํ่า

13


ในปัจจุบนั เราคงปฏิเสธไม่ได้วา่ กาแฟเป็นเครือ่ งดืม่ ทีไ่ ด้รบั ความนิยม จากคนทั่ ว ทุ ก มุ ม โลก ด้ ว ยกลิ่ น หอมที่ เ ย้ า ยวนใจ รสชาติ และความ กระปรี้กระเปร่าจากคาเฟอีนที่ได้รับเมื่อดื่ม ทำ�ให้กาแฟได้กลายเป็นส่วน หนึ่งในชีวิตประจำ�วันของใครหลายคน มีตำ�นานเล่าขานต่อกันมาถึงประวัติของกาแฟว่าเกิดจากการค้นพบ โดยบังเอิญของเด็กหนุ่มเลี้ยงแพะในประเทศเอธิโอเปียที่พบว่าแพะที่เขา เลีย้ งมีชวี ติ ชีวาขึน้ อย่างเห็นได้ชดั หลังจากได้กนิ ผลของต้นไม้ชนิดหนึ่ง นัน่ คือต้นกาแฟในปัจจุบันนั่นเอง สายพันธุ์กาแฟที่นิยมเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ อาราบิกา้ และโรบัสต้า ทัง้ สองสายพันธุม์ คี ณ ุ ลักษณะแตกต่างกัน คือ กาแฟ พันธุ์อาราบิก้าเป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูง มีกลิ่นหอม ปริมาณคาเฟอีนต่ำ� นิยมผลิตเป็นกาแฟคัว่ บด ชงดืม่ ส่วนกาแฟโรบัสต้าเป็นกาแฟทีม่ คี วามเข้ม ข้น ปริมาณคาเฟอีนสูงกว่าและสามารถคงกลิ่นไว้ได้นาน จึงนิยมใช้ผลิต กาแฟผงสำ�เร็จรูป สำ�หรับในประเทศไทยว่ากันว่ากาแฟสายพันธุแ์ รกทีน่ ำ�เข้ามาปลูก คือ โรบัสต้า ถูกนำ�เข้ามาโดยชาวมุสลิมชื่อนายดีหมุน เมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็น เมล็ดกาแฟจากประเทศซาอุดิอาระเบีย โรบัสต้าจึงถูกปลูกขึ้นครั้งแรกที่ อำ�เภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ส่วนกาแฟอาราบิกา้ นัน้ นำ�เข้ามาปลูกครัง้ แรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2516 โดยเริ่มทดลองปลูกที่บ้านมูเซอห้วยตาด อำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เป็นทีแ่ รก และตัง้ แต่นนั้ มากาแฟได้กลาย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำ�คัญชนิดหนึ่งบนพื้นที่สูงของประเทศไทย เวลาสิบกว่าปีทผี่ า่ นมา กาแฟเข้ามามีบทบาทในชีวติ ของคน ไท ยมากขึ้น ราคากาแฟหนึ่งแก้วปรับตัวสูงขึ้นตามคุณภาพของกาแฟที่ จำ�หน่าย เพราะพฤติกรรมการดื่มของคอกาแฟเปลี่ยนไปจากเดิม พวกเขา 14


มีควำมรู้ควำมเข้ำใจมำกขึ้น เริ่มเปลี่ยนจำกกำรดื่มกำแฟส�ำเร็จรูปสู่กำแฟ ชงสด พวกเขำรูจ้ กั เลือกดืม่ กำแฟทีม่ คี ณ ุ ภำพอย่ำงกำแฟอำรำบิกำ้ ทีใ่ ห้กลิน่ หอมและรสชำติทดี่ ี วิธกี ำรชงทีห่ ลำกหลำยและเทคนิคทีซ่ บั ซ้อนเพิม่ มูลค่ำ ให้กำแฟแต่ละแก้ว แม้รำคำจะสูงแต่คอกำแฟทัง้ หลำยก็ยอมจ่ำยเพือ่ ให้ได้ ดื่มกำแฟดี ๆ สักแก้ว รสชำติกำแฟถูกก�ำหนดมำตั้งแต่ต้นทำง เริ่มต้นจำกคนปลูกไปสู่กำร คั่วและชงเป็นเมนูต่ำง ๆ เช่น คำปูชิโน ลำเต้ มอคค่ำ ที่เรำคุ้นเคย แต่ท้ำยที่สุดแล้วรำกแท้ของกำแฟก็ยังคงอยู่ที่เมล็ดเล็ก ๆ ที่เรำเรียก ว่ำ “กำแฟ” ที่มีต้นทำงส�ำคัญคือ “คนปลูกกำแฟ”

15


16


กาแฟไม่แน่นอน

17


รถกระบะของโครงการหลวงตีนตกนำ�ฉันขึ้นสู่พื้นที่สูงเหนือศูนย์ พัฒนาของโครงการขึน้ ไปราว 5 กิโลเมตร เส้นทางคดเคีย้ วและขรุขระทำ�ให้ ร่างของผู้โดยสารโยกไปมาตลอดการเดินทาง สองข้างทางเป็นต้นไม้น้อย ใหญ่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ อากาศเย็นโอบล้อมพวก เราไว้ บรรยากาศรอบกายให้เพลิดเพลินไปกับการเดินทาง รู้ตัวอีกทีก็ตอน ทีร่ ถโคลงเคลงเหมือนตกร่องอะไรบางอย่าง ซึง่ พบว่าเป็นแอ่งน้ำ�ธรรมชาติ ขนาดย่อมที่ตัดผ่ากลางถนนอันเป็นสัญญาณว่าเราเดินทางมาถึงไร่กาแฟ แล้ว เส้นทางเข้าสูต่ วั ไร่กาแฟยากลำ�บาก รถยังเข้าไม่ถงึ รถกระบะถูกจอด ทิ้งไว้ที่ปากทางเข้า ต้องอาศัยสองเท้าเพื่อเดินต่อเข้าไป ภายใต้รองเท้า สัมผัสได้ถึงหินก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้างที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ แอ่งน้ำ�ไหลตัด ผ่านทางเดินอย่างสวยงามตามธรรมชาติ …..ในทีส่ ดุ ก็ได้พบกับไร่กาแฟ แม้จะเคยเห็นภาพของไร่กาแฟผ่านตา ตามสื่อต่าง ๆ มาบ้าง แต่นั่นเทียบไม่ได้กับของจริงที่อยู่ตรงหน้า ฉันกล่าวสวัสดีชายหญิงคูห่ นึง่ ทีก่ ำ�ลังเก็บเมล็ดกาแฟอยู่ โดยพีว่ นุ่ หนึง่ ในเจ้าหน้าที่ของโครงการหลวงแนะนำ�ให้ฉันได้รู้จัก พี่ทั้งสองเป็นสามีภรรยากัน พี่อัมพร ต๊ะคำ� วัย 45 ปีผู้เป็นภรรยานั้น เป็นคนเชียงใหม่โดยกำ�เนิด มีอาชีพดัง้ เดิมคือการทำ�ไร่เมีย่ ง ส่วนพีศ่ รีจนั ทร์ ต๊ะคำ� วัย 45 ปีผเู้ ป็นสามี เมือ่ แต่งงานกับพีอ่ มั พรแล้วก็ตดั สินใจย้ายถิน่ ฐาน จากจังหวัดลำ�ปางมาอยู่กับพี่อัมพรที่จังหวัดเชียงใหม่ จุดเริ่มต้นของไร่ กาแฟจึงเกิดขึ้นที่นี่ มือหนึง่ ประคองกระสอบปุย๋ ใบเก่าไว้แนบตัวใช้อกี มือค่อยๆ ปลิดเมล็ด กาแฟสีแดงสุกอย่างพิถีพิถันใส่ลงกระสอบ 18


“ต้องเด็ดเบา ๆ ไม่ใช่รดู ออกมาหมด” พีอ่ มั พรบอก พร้อมอธิบายเพิม่ ว่าการเก็บเมล็ดกาแฟนั้นต้องใจเย็น ๆ ไม่รีบร้อน ต้องค่อยๆ ปลิดเมล็ด กาแฟออกจากก้านช่อทีละเมล็ดอย่างเบามือ เพื่อไม่ให้ไปกระทบกับเมล็ด อื่นที่ยังไม่สุกดี พีอ่ มั พรเล่าให้ฟงั อีกว่า พีท่ งั้ สองเคยจ้างคนงานมาเก็บเมล็ดกาแฟใน ไร่ แต่คนงานเหล่านั้นขาดความตั้งใจ พวกเขาหวังเพียงเก็บเมล็ดกาแฟให้ ได้ปริมาณเยอะมากกว่าจะใส่ใจในเรือ่ งความพิถพี ถิ นั ตอนเก็บ การเก็บด้วย ความเร็วและแรงนั้นจะทำ�ให้ขั้วของก้านช่อกุด ดอกของกาแฟไม่สามารถ งอกเงยออกมาได้ในปีถัดไป ทำ�ให้ผลผลิตลดลง พี่อัมพรและพี่ศรีจันทร์จึง ตัดสินใจเลิกจ้างคนงานและหันมาเก็บกาแฟด้วยตัวเอง “ไร่ของเราเอง ไม่ต้องเข้างาน 8 โมง เลิก 5 โมงเย็นเหมือนเวลาจ้าง เขาหรอก บางวันเข้าไร่ตงั้ แต่ 7 โมงเช้า กว่าจะเสร็จก็ 2 ทุม่ แล้ว” พีศ่ รีจนั ทร์ เล่าให้ฟังถึงภารกิจเก็บเมล็ดกาแฟที่เป็นกิจวัตรประจำ�วันของเขาเมื่อ ฤดูกาลเก็บกาแฟเวียนมาถึง เป็นแบบนีท้ กุ วันตัง้ แต่ยา่ งเข้าเดือนพฤศจิกายน พีท่ งั้ สองต้องวางมือ จากกิจกรรมและภาระทุกอย่างเพื่อทุ่มเทเวลาให้กับกาแฟ เมื่อนาฬิกาบอกเวลาตีห้า เป็นเวลาที่ภรรยาอย่างพี่อัมพรเริ่มปฏิบัติ หน้าที่แม่บ้าน เธอตื่นแต่เช้าเพื่อเตรียมทำ�กับข้าวให้สามีและลูกชาย ห่อ ข้าวสำ�หรับพีศ่ รีจนั ทร์และพีอ่ มั พรในมือ้ เทีย่ งถูกจัดเตรียมไว้เพือ่ เป็นเสบียง ยามบ่ายหลังเหน็ดเหนื่อยจากการทำ�งาน เมนูง่าย ๆ ฝีมือพี่อัมพรที่มัดใจ พีศ่ รีจนั ทร์หนีไม่พน้ เมนูไข่ทงั้ หลาย ฤดูหนาวแบบนีเ้ ป็นช่วงเดียวกันทีย่ อด มะระริมรั้วบ้านเริ่มแตกยอดทำ�ให้เมนูยอดมะระผัดน้ำ�มันหอยกลายเป็น อีกหนึ่งเมนูรสเลิศคลายหิวบนไร่กาแฟ หลังจากเริ่มต้นวันใหม่ด้วยอาหารฝีมือพี่อัมพร ทั้งสองก็พากันขับ

19


มอเตอร์ไซค์คันเก่าขึ้นไปยังไร่กาแฟ แม้มอเตอร์ไซค์จะเก่าแต่พี่ศรีจันทร์ บอกว่า “แรงดี ขับขึ้นเขาได้ รถรุ่นใหม่นี่ขับไม่ได้เลยนะ” เขาพูดถึงยาน พาหนะคู่ใจ การเก็บเมล็ดกาแฟดำ�เนินไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 7 โมงเช้า อากาศหนาว เย็นยามเช้าไม่ใช่อุปสรรค สิ่งสำ�คัญคือต้นกาแฟที่อยู่เบื้องหน้า หากไม่รีบ เก็บเมล็ดที่สุกให้ทันเวลาจะทำ�ให้เมล็ดเหล่านั้นร่วงหล่น ในหนึง่ ก้านช่อจะประกอบไปด้วยเมล็ดกาแฟประมาณ 20 – 30 เมล็ด แต่ละวันเมล็ดกาแฟจะค่อย ๆ สุกไปเรื่อย ๆ ไม่สุกพร้อมเพรียงกันทั้งหมด หน้าที่ของพี่ทั้งสองคือการเก็บด้วยการใช้มือปลิดเมล็ดกาแฟออกจากก้าน ทีละเมล็ด เวลานานกว่า 13 ชั่วโมงที่พี่ทั้งสองอยู่ในไร่กาแฟเพื่อให้แน่ใจได้ว่า เมล็ดกาแฟที่สุกถูกนำ�เก็บเรียบร้อยแล้ว หลงเหลือไว้เพียงเมล็ดที่เป็นสี เหลืองและสีเขียวที่รอเวลาให้สุกดีเพื่อเก็บในวันต่อไป เพราะรสหวานของ กาแฟนั้นมาจากแร่ธาตุและสารอาหารที่กาแฟได้รับ ยิ่งกาแฟสุกช้าเท่าใด นั่นหมายถึงกาแฟจะมีเวลาในการสะสมสารอาหารที่ได้รับเพื่อนำ�ไปหล่อ เลี้ยงเมล็ดจนเกิดรสหวานขึ้น อากาศเย็นเป็นปัจจัยสำ�คัญเพราะจะทำ�ให้ เมล็ดกาแฟสุกช้าและมีเวลาสะสมสารอาหารได้ยาวนานขึ้น แดดยามบ่ายสาดส่องลงมา อากาศอบอุ่นขึ้น พี่ศรีจันทร์ยกกระสอบ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นตาข่ายบรรจุเมล็ดกาแฟกะลาทีผ่ า่ นการแช่น้ำ�ล้างเมือกออก เรียบร้อยแล้วขึน้ มายังไร่ เดินสูงขึน้ ไปเหนือบริเวณทีเ่ ราอยูจ่ ะมีลกั ษณะเป็น พื้นที่ลานกว้างขนาดย่อม พี่ศรีจันทร์ไม่รอช้า เริ่มแผ่กาแฟกะลาในถุงและ กระจายออกเพื่อให้แสงแดดทำ�หน้าที่ไล่ความชื้นออกจากกะลาด้วยความ ร้อนจากธรรมชาติ “ไปไหนแล้วก็พกกระสอบตาข่ายไปด้วย คอยหาแดดแรง ๆ จะได้ตาก 20


กาแฟให้แห้ง” พีศ่ รีจนั ทร์อธิบาย เนือ่ งจากตัวบ้านตัง้ อยูใ่ นมุมอับแสงแดด ทำ�ให้แดดส่องไม่ถงึ การตากกาแฟเป็นไปได้ยาก การนำ�กาแฟกะลามาตาก ที่ นี่ จึ ง ช่ ว ยได้ แม้จะลำ�บากแต่เขาก็ต้องทำ�ตามเงื่ อ นไขควบคุ ม ระดั บ ความชื้นที่ทางโครงการหลวงกำ�หนดไว้ ทั้งยังไม่ทำ�ให้กาแฟขึ้นราซึ่งไม่ สามารถขายได้ “ลองเก็บดูไหม” เสียงพี่อัมพรเอ่ยชวนให้ฉันลองเก็บเมล็ดกาแฟ พี่ อัมพรเริม่ ต้นสอนฉันด้วยการแสดงให้ดวู ่าต้องเก็บอย่างไร “นี่ ค่อย ๆ ปลิด แบบนีน้ ะ” นิว้ โป้งและนิว้ ชีข้ องพีอ่ มั พรจับเมล็ดกาแฟไว้แล้วปลิดออกด้วย การดึงมือมือลงอย่างแผ่วเบาทว่าเด็ดขาด เมือ่ ถึงคราวของฉันบ้าง มันไม่งา่ ยอย่างทีค่ ดิ ฉันปลิดออกด้วย ท่าทาง เก้ ๆ กัง ๆ เพราะเป็นกังวลว่าต้นกาแฟของพี่ทั้งสองจะบอบช้ำ�จากวิธีการ ของฉัน ฉันจึงต้องขอหยุดไว้เพียง 2 เมล็ดเท่านั้นพอ พีอ่ มั พรนัง่ พักลงบริเวณเนินเล็กในไร่ ฉันก้าวเดินอย่างยากลำ�บากเพือ่ ไปยังจุดที่พี่อัมพรนั่งอยู่ เธอหัวเราะในท่าทางของฉัน ฉันนั่งลงข้าง ๆ เธอ ซักถามฉันว่ามาจากทีไ่ หน เป็นมาอย่างไรถึงมาทีน่ ี่ เราพูดคุยกันต่อถึงเรือ่ ง กาแฟ “เมื่อก่อนนี้ปลูกเมี่ยง ปลูกที่นี่แหละ พื้นที่ตรงนี้ก็ประมาณ 5 ไร่” พี่ อัมพรเริม่ เล่าถึงพืน้ ทีท่ ำ�การเกษตรจำ�นวน 5 ไร่แห่งนีท้ แี่ ต่เดิมเป็นของเธอ ทัง้ หมด รายได้หลักก็มาจากเมีย่ ง เมือ่ เวลาผ่านไป เมีย่ งได้รบั ความนิยมลด น้อยลงทำ�ให้ชอ่ งทางการรับซือ้ มีนอ้ ย โอกาสทีจ่ ะขายเป็นไปได้ยาก แต่เมือ่ พี่ศรีจันทร์ทราบข่าวว่าทางโครงการหลวงจะเข้ามา สนับสนุนการปลูกพืช เสริม เขาก็ไม่รอช้า ไปเข้าร่วมอบรมทันที การอบรมครัง้ นัน้ ทางโครงการมีพชื หลายชนิดให้เลือก หนึง่ ในนัน้ คือ กาแฟ พีศ่ รีจนั ทร์ตดั สินใจแน่วแน่ทจี่ ะเลือกกาแฟมาปลูกเพราะมีความเชือ่

21


มัน่ ว่าพืน้ ทีข่ องตนนัน้ มีความเหมาะสมทัง้ ความสูงและสภาพอากาศทีห่ นาว เย็นซึ่งเป็นสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่กาแฟจะเจริญเติบโตได้ดี การปลูกครั้งแรกไม่ประสบความสำ�เร็จอย่างที่คิด กาแฟกว่าร้อยต้น ต้องล้มตายไป น้ำ�พักน้ำ�แรงที่ทุ่มเทในการขุดหลุมทีละหลุมเพื่อลงกล้า กาแฟแต่ละต้นต้องหายไปเพราะความไม่รู้ ไม่รวู้ า่ ต้นกาแฟทีป่ ลูกถูกต้นไม้ เจ้าถิ่นที่มีอยู่เดิมแย่งสารอาหารไป ทำ�ให้กาแฟน้องเล็กปลูกใหม่ขาดสาร อาหารจนไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้ การปลูกครัง้ นัน้ ทำ�ให้พศี่ รีจนั ทร์รสู้ กึ น้อยใจในโชคชะตาเพราะเขาได้ ไปเห็นว่ากาแฟของนายทุนนัน้ เจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตเยอะ พีศ่ รีจนั ทร์ จึงลองทำ�ตามดูบ้าง เขาใส่ปุ๋ยเคมีให้ต้นตามอย่างนายทุน โดยมีความเชื่อ ผิด ๆ ทีว่ า่ ยิง่ ใส่เยอะยิง่ โตเร็ว แต่ผลกลับไม่เป็นอย่างทีห่ วังไว้ ต้นกาแฟเริม่ โทรม ใบกลายเป็นสีเหลืองและไม่ให้ผลผลิต เนือ่ งจากได้รบั สารอาหารมาก เกินไป ทั้งปุ๋ยที่ใช้ก็เป็นปุ๋ยเคมี “ตอนนัน้ นึกอยากจะร้องไห้ ทำ�ไมเราปลูกไม่ขนึ้ ” พีศ่ รีจนั ทร์เล่าย้อน ถึงความล้มเหลวในครั้งนั้น แต่ในที่สุดหลังจากลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง ประกอบกับความตัง้ ใจและใฝ่รู้ เขาเลือกทีจ่ ะสอบถามไปทางโครงการหลวง เพื่อขอคำ�แนะนำ�และแนวทางการแก้ไข ในวั น นี้ พี่ ศ รี จั น ทร์ ก ลายเป็ น เกษตรกรคนหนึ่ ง ที่ มี ค วามรู้ ค วาม เชี่ยวชาญ เขารู้จักต้นกาแฟของตัวเองเป็นอย่างดี ปริมาณน้ำ�และปุ๋ยที่พอ เหมาะส่งผลให้กาแฟเจริญเติบโตงอกงาม ระยะห่างระหว่างต้นกาแฟทีพ่ อดี จะช่วยให้กาแฟแต่ละต้นมีพนื้ ทีข่ องตัวเองในการดูดซึมสารอาหาร คอยตัด แต่งกิ่งไม่ให้ต้นกาแฟต้องทำ�งานหนักจากการพยายามนำ�สารอาหารไป หล่อเลี้ยงในส่วนที่ไม่จำ�เป็น เขาเลือกใช้ปุ๋ยชีวภาพที่แม้จะช่วยให้กาแฟได้ ผลผลิตไม่มากเท่าปุ๋ยเคมีแต่สำ�หรับระยะยาวแล้วกาแฟจะมีอายุยืนนาน 22


กว่า

พี่ทั้งสองไม่ใจร้อน หมั่นคอยสังเกตต้นกาแฟของตัวเอง หากมีต้นใด เริ่มออกอาการเสื่อมโทรมจากการให้ผลผลิตเยอะในปีก่อนก็ต้องคอยตัด แต่งกิง่ จึงไม่ใช่เรือ่ งน่าแปลกใจทีท่ างโครงการหลวงจัดให้กาแฟจากไร่ของ พี่ศรีจันทร์และพี่อัมพรเป็นกาแฟคุณภาพดี เวลาล่วงเลยไปจนท้องฟ้าเริม่ เปลีย่ นเป็นสีน้ำ�เงินเข้ม ไม่มนี าฬิกาเพือ่ บอกเวลาสำ�หรับที่นี่ มีเพียงความสว่างของแสงจากฟากฟ้าที่ค่อย ๆ เลือน หายไปพร้อมกับดวงอาทิตย์ที่ให้เราคาดคะเนว่าขณะนี้คงเป็นเวลา 6 โมง เย็นแล้ว เป็นเวลาทีพ่ อี่ มั พรและพีศ่ รีจนั ทร์เริม่ เตรียมตัวเลิกงานเพราะการ เก็บกาแฟท่ามกลางความมืดเช่นนี้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าใดนัก “มืดแล้ว มองไม่คอ่ ยเห็นหรอก ใช้ไฟฉายติดเอาไว้ทหี่ วั ส่องเอา อาศัย ความเคยชิน” พี่ศรีจันทร์บอกถึงวิธีการง่าย ๆ ของชาวไร่กาแฟ พีท่ งั้ สองเริม่ เก็บข้าวของ รวบรวมเมล็ดกาแฟทีไ่ ด้ทงั้ หมดและมัดปาก กระสอบให้แน่นป้องกันไม่ให้หล่นออกจากกระสอบได้ หน้าที่ยกตกเป็น ของฝ่ายชายอย่างพี่ศรีจนั ทร์ กาแฟกระสอบหนึง่ มีน้ำ�หนัก 30 กิโลกรัมถูก พี่ศรีจันทร์กึ่งลากกึ่งยกไปยังมอเตอร์ไซค์ที่จอดรออยู่ด้านบน ณ ปากทาง เข้า “ฤดูกาแฟนีต่ อ้ งนอนดึก ปกติสองทุม่ ก็นอนแล้ว แต่ถา้ ทำ�กาแฟนีก่ ว่า จะเสร็จก็สหี่ า้ ทุม่ ” พีศ่ รีจนั ทร์เล่าให้ฟงั ถึงชีวติ ทีต่ า่ งออกไปจากปกติในช่วง การเก็ บ กาแฟ หากวั น ใดเก็ บ กาแฟได้ ม ากก็ ต้ อ งลำ�บากหน่ อ ย หาก มอเตอร์ไซค์รองรับกระสอบกาแฟเต็มพืน้ ทีแ่ ล้ว พีอ่ มั พรก็ตอ้ งเสียสละเดิน จากไร่กาแฟเพื่อกลับบ้าน แม้รา่ งกายจะเหนือ่ ยล้าจากการเก็บเมล็ดกาแฟมาแล้วทัง้ วัน แต่พที่ งั้ สองยังไม่สามารถเข้านอนพักผ่อนได้ เพราะต้องทำ�การจัดระเบียบเมล็ด

23


กาแฟทั้งหลาย ทั้งที่เก็บมาแช่แล้วก็ต้องเตรียมกรองน้ำ�ออกเพื่อให้พร้อม ตากในเช้าวันถัดไป จึงจะสามารถเข้านอนได้อย่างสบายใจ “เราใจแข็ง ไม่เหมือนคนอืน่ ทีเ่ ขาใจอ่อน เจอปัญหานิดเดียวก็ทอ้ แล้ว” พี่ศรีจันทร์เล่าถึงสถานการณ์กาแฟสมัยนั้นว่าราคาไม่มีความแน่นอน ขึ้น ๆ ลง ๆ จนชาวบ้านที่ปลูกกาแฟหลายคนหวั่นใจและเริ่มท้อจนละเลยไม่ เอาใจใส่ต้นกาแฟเพราะคิดว่าจะขายไม่ได้ แต่สำ�หรับพี่ศรีจันทร์และพี่ อัมพรนัน้ ต่างออกไป เขาใจแข็งตัดสินใจฝากชีวติ ไว้กบั ต้นกาแฟทีไ่ ม่เคยรูจ้ กั มาก่อน ต้องฝ่าฟันทั้งคำ�พูดต่าง ๆ นานาที่ชวนให้ท้อใจ ทั้งคำ�สบประมาท ว่าการปลูกกาแฟนัน้ ไม่มนั่ คง หรือสถานการณ์ยากลำ�บากทีเ่ ห็นเพือ่ นบ้าน ต่างพากันเลิกปลูกกาแฟและพูดเชิงลบเพื่อให้เลิกปลูกตามกัน “เราตัดสินใจแล้ว เราใจแข็งไง” พี่ศรีจันทร์ยำ�้ ถึงความตั้งใจในการ ปลูกกาแฟอีกครั้ง และความเชื่อมั่นในวันนั้นเองที่ทำ�ให้เขามีวันนี้ได้ แม้วัตถุดิบบางอย่างสามารถหาได้ในครัวเรือนแต่ก็มีวัตถุดิบอีกมาก ที่ต้องเสียเงินซื้อ ค่าน้ำ�มันรถมอเตอร์ไซค์ที่ต้องเติมสองวันครั้ง ครั้งละ 80 บาทก็ถอื เป็นต้นทุนในการปลูกกาแฟแต่พศี่ รีจนั ทร์มองว่าเป็นเรือ่ งธรรมดา ที่ต้องลงทุนเพราะไม่มีอะไรที่ได้มาโดยไม่ต้องลงทุน แม้พี่ศรีจันทร์และพี่อัมพรจะยึดเอารายได้จากกาแฟเป็นหลัก แต่ถึง อย่างนั้นก็ยังไม่พอเลี้ยงปากท้องทั้ง 3 ชีวิต “เดี๋ยวนี้เงินมันไม่มีค่า เงิน 1,000 บาทก็เหมือนเงินแค่ 100 บาท” พี่ศรีจันทร์เปรียบเทียบให้ฟังเมื่อฉันถามถึงรายจ่าย เขาบอกว่าทุกอย่าง เป็นการลงทุนทั้งหมด ไม่ว่าจะทำ�อะไรก็ต้องใช้เงิน อย่างรถมอเตอร์ไซค์ที่ ใช้ก็ต้องเติมน้ำ�มัน ขวดละ 40 บาท ขวดหนึ่งบรรจุเพียง 1 ลิตร ขับไปกลับ บ้านกับไร่กาแฟเพียง 2 วันก็หมด ต้องเสียเงินเติมน้ำ�มันอีกแล้ว เขาหารายได้เสริมจากช่องทางอื่น ทั้งการเก็บน้ำ�ผึ้งและรังผึ้งขาย ใบ 24


25 พี่ศรีจันทร์และพี่อัมพร ต๊ะค�ำ ก�ำลังเก็บเมล็ดกาแฟ


เมีย่ งทีป่ ลูกก็ยงั เก็บขายอยู่ เมือ่ ไม่ใช่ฤดูการของกาแฟพีศ่ รีจนั ทร์จะหาราย ได้จากการรับจ้างทัว่ ไป ไม่วา่ จะเป็นงานก่อสร้าง งานใช้แรงงานต่าง ๆ เช่น ผ่าไม้ทำ�ฟืนพี่ศรีจันทร์ไม่เกี่ยง เพราะอยากจะเก็บเงินเพื่ออนาคต “ตอนนีเ้ ราก็ยงั หนุม่ มีแรงทำ�งานไหวก็อยากจะทำ�อยู่ ไม่อยากอยูเ่ ฉย ๆ อนาคตมันก็ไม่แน่นอน” พี่ศรีจันทร์เอ่ยถึงอนาคตอีกครั้ง เขามองว่าทุก อย่างเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ต้องรู้จักเตรียมพร้อมตลอด หากวันใดเจ็บไข้ ทำ�งานไม่ไหวเราก็ยังมีเงินเก็บ แต่เขาไม่มรี ายได้มากพอทีจ่ ะส่งเงินให้กบั ประกันสังคมทำ�ให้ทกุ วันนี้ เขาใช้บตั ร 30 บาทรักษาทุกโรคในการรักษาพยาบาล เพราะอาชีพทำ�ไร่ทำ� สวนแบบนี้ต้องก้ม ๆ เงย ๆ มีปวดหลังปวดตัวเป็นธรรมดา เมื่ออากาศ หนาวเย็นขึ้นมา ไข้หวัดก็ถามหา พีศ่ รีจนั ทร์ยอมรับว่าจะให้รอคอยรายได้จากกาแฟอย่างเดียวนัน้ เป็น ไปไม่ได้ ปีหนึ่งเก็บผลผลิตขาย ได้รายได้เฉลี่ยปีละ 70,000 - 80,000 บาท ใช้พริบตาเดียวก็หมดเสียแล้ว บางปีได้ผลผลิตมากประกอบกับราคารับซือ้ สูงก็โชคดีไป อย่างปีนที้ ไี่ ด้ผลผลิตเกือบ 1,000 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ทำ�ให้ปนี กี้ าแฟทำ�เงินได้เป็นกอบเป็นกำ� แต่ปหี น้าก็ตอ้ งเผือ่ ใจไว้กบั ผลผลิต ทีล่ ดลงเกือบครึง่ ของปีนเี้ พราะต้นกาแฟเหนือ่ ยล้าจากการให้ผลผลิตคราว ละมาก ๆ จึงต้องการพักต้นเพื่อปรับสภาพอีก 1 ปีจึงจะกลับมาให้ผลผลิต ได้ดีในปีถัดไป พีศ่ รีจนั ทร์วางแผนจะปลูกกาแฟเพิม่ ขึน้ ทุกปี แต่ไม่อยากคาดหวังมาก นัก เนือ่ งจากทราบข่าวจากทัง้ สือ่ โทรทัศน์และการพูดคุยกับเจ้าหน้าทีข่ อง โครงการว่ากาแฟนัน้ มีคแู่ ข่งเยอะ ยิง่ เมือ่ เข้าสูป่ ระชาคมอาเซียนเต็มรูปแบบ การซือ้ ขายเป็นไปได้งา่ ยขึน้ เพราะไม่ตอ้ งเสียภาษี ซึง่ กาแฟของเขานัน้ อาจ 26


ขำยได้ในรำคำที่ถูกกว่ำ จึงถือเป็นคู่แข่งที่น่ำกลัว “กำแฟคนเริ่มปลูกเยอะ คู่แข่งเรำก็เยอะ มันไม่แน่นอน เรำต้องท�ำ อะไรที่ใครเขำไม่ท�ำกัน” พี่ศรีจันทร์เริ่มคิดถึงแผนกำรในอนำคตเกี่ยวกับ ช่องทำงรำยได้อนื่ นอกเหนือไปจำกกำแฟ เช่น กำรขุดบ่อปลำ เลีย้ งกบ หรือ ผลผลิตใดก็ตำมที่มีตลำดรองรับเพื่อให้มีรำยได้มำกขึ้นกว่ำเดิมทุกปี พีท่ งั้ สองจะท�ำไร่กำแฟนีต้ อ่ ไปในขณะทีค่ อยมองน้องเจ ลูกชำยวัย 17 ปีอยู่ห่ำง ๆ เพรำะไม่ต้องกำรไปบังคับกะเกณฑ์ถึงสิ่งที่ลูกต้องท�ำ พี่อัมพร ไม่หวังให้ลกู ชำยต้องสำนต่อ แต่หำกเขำเรียนต่อไม่ไหวก็ยงั สำมำรถหันหลัง กลับมำหำไร่กำแฟที่พ่อแม่สร้ำงไว้ให้ได้เสมอ แม้ในอนำคตจะเป็นเรือ่ งไม่แน่นอนอย่ำงทีพ่ ศี่ รีจนั ทร์วำ่ ไว้ แต่เขำก็มี ควำมตั้งใจมุ่งมั่นและมองกำรณ์ไกล คิดหวังในเรื่องกำรพัฒนำต่อยอด ไม่ หยุดอยู่กับที่ ซึ่งฉันเชื่อว่ำพี่ศรีจันทร์และพี่อัมพรสำมำรถท�ำได้อย่ำงที่หวัง เฉกเช่นกำแฟที่เขำได้สร้ำงร่วมกันมำ

27


28


บ้านคัดสรร

29


เราเดินทางต่อไป จากจังหวัดเชียงใหม่ข้ามเนินเขาและเส้นแบ่ง เขตแดนระหว่างจังหวัดเพื่อมุ่งสู่อำ�เภอแจ้ซ้อน จังหวัดลำ�ปาง อันเป็นจุด หมายใหม่ และในที่สุดรถกระบะของโครงการหลวงนำ�เรามาถึงบ้านของ หนึ่งในสมาชิกโครงการหลวง หญิงชราร่างผอมคนหนึ่งกำ�ลังก้ม ๆ เงย ๆ อยู่เหนือกะละมังที่บรรจุ เมล็ดกาแฟเชอรี่สีแดงไว้เต็ม สองเท้าก้าวเดินอย่างแข็งขันเพื่อยกภาชนะ บรรจุเมล็ดกาแฟไปยังเครื่องสีเพื่อผ่านขั้นตอนการสีเปลือกกาแฟออก “ครืดดด…ครืด” เครื่องจักรส่งเสียงดังเพื่อแสดงให้รู้ว่ามันกำ�ลัง ทำ�งานอย่างหนักไม่ตา่ งไปจากหญิงชราผูท้ กี่ ำ�ลังใช้งานมันอย่างหนักหน่วง เพราะเครื่องจักรกำ�ลังคนอย่างเธอก็ทำ�งานหนักไม่แพ้กัน เธอรีบเร่งนำ� กาแฟไปใส่ป้อนลงเครื่องให้ทันการทำ�งานของเครื่องจักรกลเครื่องใหญ่ที่ สูงกว่าขนาดตัวของเธอ “โอ้ยยย…เป็นไงมาไงกันลูก” หญิงชราคนดังกล่าวเอ่ยทักทายเรา จาก การแนะนำ�ของพีว่ นุ่ หนึง่ ในเจ้าหน้าทีข่ องโครงการหลวงทำ�ให้ทราบว่าเธอ คือป้าแดง ต๊ะคำ� วัย 65 ปี อีกหนึ่งเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ชายชราอีกคนหนึ่งที่ก้าวลงจากรถกระบะคันใหญ่ของเขาส่งยิ้ม ทักทายพวกเรา เขาคือลุงนวล ต๊ะคำ� วัย 65 ปี สามีของป้าแดง ขณะที่ป้าแดงกำ�ลังง่วนอยู่กับการสีเปลือกกาแฟนั้น ลุงนวลก็ทำ� หน้าที่เป็นเจ้าบ้านที่ดีด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่น ตั้งแต่รอยยิ้มไปจนถึง บทสนทนาอย่างเป็นกันเอง ระเบียงหน้าบ้านกลายเป็นสถานที่ที่เรานั่งคุย กัน เรื่องเล่าของลุงนวลเริ่มต้นขึ้นหลังการพูดคุยเรื่องทั่วไปสิ้นสุดลง “เมือ่ ก่อนชาวบ้านทีน่ ปี่ ลูกเมีย่ งกันเป็นหลัก ลุงเห็นมาตัง้ แต่เกิด” ลุง นวลบอกว่าเห็นเมี่ยงมาตั้งแต่เกิดแล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนเริ่มต้นปลูก พ่อแม่ของลุงนวลก็ยึดรายได้จากการเก็บเมี่ยงเป็นหลัก แต่เมื่อเมี่ยงได้รับ 30


ความนิยมลดลงทำ�ให้ชาวบ้านต้องหันไปทำ�เกษตรกรรมอื่นนั่นคือการทำ� ไร่หมุนเวียน “ต้องตัดไม้ทำ�ลายป่าเพือ่ ให้มนั มีพนื้ ทีป่ ลูก ลุงว่ามันไม่ด”ี ลุงนวลเล่า ว่าในตอนนั้น ชาวบ้านต้องเข้าป่าและตัดไม้ทำ�ลายป่าเพื่อให้มีพื้นที่ในการ ปลูกพริก ปลูกข้าวโพด ซึง่ การทำ�ไร่หมุนเวียนนีส้ ง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม ในระยะยาว ชาวบ้านต้องประสบกับปัญหาความแห้งแล้งและไฟป่าที่เกิด ขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ลุงนวลว่าไม่ใช่เรื่องดี จนเมื่อครั้งที่โครงการหลวงมีโอกาสเดินทางเข้ามาที่อำ�เภอ แจ้ ซ้อนแห่งนี้ ทำ�ให้ได้พบเห็นปัญหาที่ชาวบ้านกำ�ลังประสบ ทั้งเรื่อง ราย ได้ไม่เพียงพอและปัญหาความแห้งแล้งจากการตัดไม้ทำ�ลายป่า การแก้ไข ปัญหาตัง้ แต่ตน้ ทางอย่างการนำ�พืชชนิดอืน่ มาให้ชาวบ้านปลูกจึงกลายเป็น ทางออก ลุงนวลได้มีโอกาสทดลองปลูกพลับ เห็ดหอม อโวคาโด เสาวรส และ กาแฟที่เป็นพืชส่งเสริม จนในที่สุดลุงนวลก็พบว่าการปลูกกาแฟนั้นดีที่สุด เนื่องจากเป็นพืชที่ให้ผลผลิตดีและขายได้ราคา ทั้งยังไม่ต้องตัดไม้ทำ�ลาย ป่า ลุงนวลจึงตัดสินใจเลือกปลูกกาแฟตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พื้นที่ 40 ไร่ที่ลุงนวลเป็นเจ้าของนั้น ปลูกกาแฟไปแล้วกว่า 12 ไร่ ประมาณจำ�นวนได้ราว 6,000 ต้น ด้วยความที่พื้นที่ไร่กาแฟที่มีนั้นกว้าง ใหญ่ ลำ�พังเพียงเรี่ยวแรงของลุงนวลกับป้าแดงสองคนไม่สามารถจะเก็บ ทัง้ หมดได้ไหว ต้องอาศัยแรงงานจากการจ้างชาวบ้านใกล้เคียงทีม่ เี วลาว่าง จากไร่กาแฟของตนเพื่อมาเก็บกาแฟให้ไร่ของลุงนวล แม้จะจ้างคนเก็บกาแฟแต่ลงุ นวลเองก็ยงั ไม่ทงิ้ ยังคงเก็บกาแฟเองอยู่ ทุกวัน เพียงแต่ปริมาณทีเ่ ก็บได้นนั้ ลดลงจากเดิมมาก ลดลงไปตามกาลเวลา และอายุทเี่ พิม่ มากขึน้ ทุกวัน แต่เพราะการเข้าไร่กาแฟและได้เห็นการเติบโต

31


ของต้นกาแฟในไร่ตวั เองถือเป็นความสุขอย่างหนึง่ ลุงนวลก็ยนื ยันทีจ่ ะเก็บ กาแฟของตัวเองในทุกวัน “จ้างเขามาเก็บมันก็เป็นเงินทั้งนั้นนะ เสียเงินทุกอย่าง แต่เราเก็บไม่ ไหวก็ตอ้ งจ้าง พอคำ�นวณแล้วมันก็ยงั ได้กำ�ไรอยู”่ ลุงนวลเล่าให้ฟงั ถึงค่าใช้ จ่ายจำ�เป็นต่าง ๆ อย่างค่าจ้างเก็บเมล็ดกาแฟทีต่ อ้ งจ่ายให้คนงานกิโลกรัม ละ 5 บาท จากราคาที่จะขายให้กับโครงการหลวงอยู่ที่ 15 บาท ก็ต้องหัก ลบต้นทุนตรงส่วนนีไ้ ป แม้จะทำ�ให้ได้กำ�ไรน้อยลง แต่ลงุ นวลมองว่าเป็นสิง่ จำ�เป็น ระหว่างทีเ่ รากำ�ลังคุยกันนัน้ เสียงเครือ่ งยนต์รถมอเตอร์ไซค์ดงั ขึน้ รถ แล่นเข้ามายังพื้นที่บริเวณบ้าน เคียงคู่มากับหมาตัวใหญ่สายพันธุ์ไทยสี น้ำ�ตาลอ่อนที่วิ่งตามมาราวกับว่ามันคุ้นเคยที่นี่เป็นอย่างดี “นี่เขาก็เพิ่งไปเก็บกาแฟมา” ลุงนวลอธิบายภาพที่อยู่เบื้องหน้า ชาย ชรารูปร่างเล็ก ตัวผอมโกรกก้าวลงจากรถมอเตอร์ไซค์พร้อมเมล็ดกาแฟเชอ รี่สีแดงหนึ่งกระสอบใหญ่ เขาไม่รอช้า ยกเทเมล็ดกาแฟในกระสอบลง กะละมังใบใหญ่สีน้ำ�เงิน ก่อนยกกะละมังใบนั้นขึ้นเพื่อเทสิ่งที่บรรจุลงใส่ เครื่องสีเปลือกโดยมีป้าแดงคอยช่วยอยู่ไม่ห่าง ป้าแดงทำ�กาแฟอย่างแข็งขัน แม้จะร่างเล็กแต่กไ็ ม่ได้เป็นอุปสรรคของ การทำ�งาน และเธอช่วยลุงนวลอธิบายวิธีการทำ�กาแฟให้เราฟังอย่าง อารมณ์ดี “สีเปลือกออกก่อนแล้วค่อยเอาไปล้างแล้วก็แช่ไว้ 2 คืน แช่เสร็จก็เอา ไปตากแบบตรงนู้น” ป้าแดงบอก พวกเรามองตามมือที่ชี้ไปแล้วร้องออก มาด้วยความสนใจ ป้าแดงหัวเราะไปกับท่าทีของเรา เธอไม่ชี้เปล่ายังเดิน นำ�ไปดูกาแฟกะลาที่ถูกแผ่กระจายอยู่บนแผ่นไม้ขนาดยาวเพื่อรอรับ แสงแดด แต่ปริมาณกาแฟจากไร่นั้นมีมากเกินกว่าแผ่นไม้เหล่านั้นจะรับ 32


ป้าแดงก�ำลังแยกเมล็ดกาแฟสีเขียวออกและเลือกเอา 33 แต่เมล็ดกาแฟสีแดงสุกเพื่อใส่ลงเครื่องกะเทาะเปลือก


ไหว เราจึงได้เห็นภาพกาแฟกะลาตากอยู่กับพื้นอีกเป็นจำ�นวนมาก ทำ�ให้ พื้นที่บริเวณรอบบ้านถูกโอบล้อมไปด้วยกาแฟกะลา “กินน้ำ�ผึ้งเป็นไหม เคยกินน้ำ�ผึ้งของที่นี่หรือเปล่า” ลุงนวลเอ่ยถาม ขึ้นเมื่อเราคุยกันไปได้สักพัก ฉันรีบตอบอย่างไวว่าน้ำ�ผึ้งเป็นของโปรดอีก หนึ่งอย่าง แต่สำ�หรับน้ำ�ผึ้งของที่นี่นั้นยังไม่เคยได้ลอง ลุงนวลเดินหายเข้าไปในบ้านและออกมาพร้อมน้ำ�ผึง้ ขวดใหญ่ เขาเท ใส่ถ้วยใบเล็กและชวนให้ฉันลองกินดู ขณะที่ตักน้ำ�ผึ้งเข้าปาก ลุงนวลก็ อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า น้ำ�ผึ้งที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น ด้วยรสชาติที่แตกต่างมี ความขม ๆ หวาน ๆ ที่ลงตัว เพราะผึ้งนั้นดูดน้ำ�หวานจากดอกกาแฟทำ�ให้ ได้น้ำ�ผึ้งที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ “ช่วงทีไ่ ม่ได้ทำ�กาแฟ ลุงเก็บน้ำ�ผึง้ ขายด้วยนะ” ลุงนวลบอกต่ออีกว่า แม้รายได้หลักจะมาจากกาแฟ แต่ก็ยังไม่ทิ้งรายได้เสริมจากส่วนอื่น แต่ลุง นวลบอกว่าถ้าทำ�กาแฟอย่างเดียวก็อยู่ได้ แต่การขายผลผลิตอื่น เช่น อ โวคาโด พลับ หรือน้ำ�ผึ้งก็ถือเป็นรายได้เสริมไป “ขายได้กเ็ อามาเป็นค่าเหล้าค่าเบียร์ อะไรก็วา่ ไป” ลุงนวลพูดติดตลก เรียกเสียงหัวเราะจากพวกเราได้ดี ปัจจุบนั ลุงนวลได้รบั เลือกให้ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นประธานกลุม่ สหกรณ์ ของโครงการหลวงและกลุ่มผู้ปลูกกาแฟ ขององค์กรสวัสดิการสังคม ซึง่ ลุง นวลมองว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ ดี ที่ มี ก ารรวมกลุ่ ม กั น ของชาวบ้ า นที่ ป ลู ก กาแฟ เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มอำ�นาจการต่อรองในเรื่องราคาการจัดซื้อปัจจัย ในการผลิตกาแฟต่าง ๆ ให้ได้ในราคาที่ยุติธรรมจากการซื้อในปริมาณมาก และช่วยให้ทางองค์กรต่าง ๆ ทั้งเอกชนและหน่วยงานรัฐเองสามารถเข้า มาช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ เช่น การจัดอบรมการปลูกกาแฟและการกู้ยืม เงิน 34


การได้เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกโครงการหลวง ทำ�ให้ลุงนวลตัดสินใจ ส่งผลผลิตที่ได้ทั้งหมดให้กับทางโครงการหลวง แม้จะไม่มีข้อตกลงที่เป็น ลายลักษณ์อักษรชัดเจน แต่สำ�หรับลุงนวลแล้วถือเป็นสัญญาใจและไม่คิด ขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลาง เพราะเขาความที่สำ�นึกในบุญคุณของ โครงการหลวงที่ช่วยเหลือมาจนทุกวันนี้ “มีบางคนเขาไม่ส่งให้กับโครงการหลวงตามที่แจ้งไว้ ก็ต้องตัดออก จากการเป็นสมาชิก” ลุงนวลพูดถึงกรณีของชาวบ้านทีเ่ ป็นสมาชิกโครงการ บางกลุ่มไม่ส่งผลผลิตตามที่แจ้งโครงการหลวงไว้ก่อนหน้านี้เพราะหวังจะ ได้เงินเร็วกว่า แต่เมือ่ ไม่ทำ�ตามทีต่ กลงกัน ทางโครงการหลวงจึงต้องตัดออก จากการเป็นสมาชิกเพราะทำ�ไม่ได้ทำ�ตามเงื่อนไขที่ตกลง โดยลุงนวลบอก ว่า การที่ชาวบ้านเลือกขายให้กับพ่อค้านั้นไม่ผิด แต่อย่างน้อยก็ควรส่งให้ ทางโครงการบ้าง เพราะหากพวกเขายังเป็นสมาชิกสหกรณ์โครงการหลวง อยู่ กฎกติกาที่ต้องปฏิบัติเมื่ออยู่ร่วมกันจึงจำ�เป็น บทสนทนาดำ�เนินมาถึงอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำ�กาแฟ นั่นคือขั้น ตอนการคัดเมล็ด ลุงนวลอธิบายคร่าว ๆ ถึงการคัดเมล็ดก่อนส่งขาย “เคยเห็นไหม งัน้ เดีย๋ วไปดูกนั ” ลุงนวลคงสังเกตเห็นท่าทางของฉันที่ แสดงออกถึงความสนอกสนใจในขั้นตอนนี้ ลุงนวลจึงลุกขึ้นจากที่นั่งขอบ ระเบียงบ้านและเดินไปยังประตูทางเข้าตัวบ้าน โดยมีฉันเดินตามเข้าไป ภายในตัวบ้าน นอกจากเครื่องเรือนตกแต่งใช้สอยแล้ว พื้นที่อีกกว่า ครึ่งหนึ่งของบ้านเต็มไปด้วยกระสอบบรรจุกาแฟทั้งที่คัดแล้วและกำ�ลังต่อ คิวรอให้ลุงนวลคัดอยู่อีกมาก เบือ้ งหน้าทีเ่ ห็นคือกองเมล็ดกาแฟกะลากองใหญ่ มันถูกตัง้ อยูใ่ นส่วน ทีค่ วรจะเป็นห้องนัง่ เล่นของบ้าน ขณะทีฉ่ นั กำ�ลังหมุนซ้ายหมุนขวาเพือ่ มอง ไปรอบ ๆ บ้านั้น ลุงนวลก็นั่งกับพื้นด้วยท่าทางสบาย ๆ ขาข้างหนึ่งพับ

35


เข้าหาตัว อีกข้างยืดออกไปจนสุด ฉันเดาว่านี่คงเป็นท่าประจำ�ของลุงนวล ในวันที่อยู่บ้าน เมือ่ เปลีย่ นจากอิรยิ าบถยืนเป็นนัง่ แล้ว มือของลุงนวลเริม่ ทำ�งานทันที สายตาเฉียบคมทีม่ องลอดผ่านแว่นสายตาจ้องเมล็ดกาแฟเขม็งเพือ่ หาเมล็ด เสียจากการที่มอดเจาะเมล็ดจนเป็นรูเพื่อกินเนื้อกาแฟด้านในหรือจาก ปัจจัยอื่น ๆ เช่น เมล็ดที่ถลอกจากเครื่องสีเปลือก เมล็ดฝ่อไม่เติบโต สองมือหยิบเมล็ดกาแฟที่ใช้งานไม่ได้ออกอย่างชำ�นาญ ลุงนวลคัด เมล็ดกาแฟอย่างตัง้ ใจพลางอธิบายลักษณะของเมล็ดกาแฟทีไ่ ด้คณ ุ ภาพกับ เมล็ดกาแฟทีเ่ สียหรือไม่ได้รบั คุณภาพว่าจะมีลกั ษณะเป็นสีเหลืองซีดจนถึง น้ำ�ตาลเข้ม รูปร่างของเมล็ดไม่สมบูรณ์ มีรอยผุจากการถูกมอดเจาะและ รอยถลอกจากเครื่องสี “เป็นพันกิโล ฯ ก็ยงั ต้องคัด เหนือ่ ยนะ เบือ่ ด้วย” ลุงนวลกล่าว เพราะ การส่งกาแฟให้ทางโครงการหลวงนั้นมีการกำ�หนดเกณฑ์ชัดเจนในเรื่อง คุณภาพของเมล็ดกาแฟ ทั้งขนาด สี ความชื้น และปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ ราคารับซื้อ แม้ลุงนวลจะบ่นว่าเหนื่อยและเบื่อกับการคัดเมล็ดเหล่านี้ แต่ เขาก็ยังคงก้มหน้าก้มตาทำ�ต่อไป จากกาแฟกะลาทีต่ ากแดดจำ�นวนหนึง่ กระสอบเมือ่ คัดเมล็ดออกแล้ว จะเหลือประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกาแฟที่ไม่ผ่านเข้ารอบหายไป เท่าใด น้ำ�หนักจากการขายเมล็ดกาแฟก็หายไปเท่านั้น ถึงแม้จะต้องเสีย เวลานั่งคัดแต่ลุงนวลก็เต็มใจเพื่อให้กาแฟที่ได้เป็นกาแฟคุณภาพดีสมกับ ราคาทีไ่ ด้รบั และเมือ่ ความตัง้ ใจเกิดผลก็ยอ่ มทำ�ให้ลกู ค้าพึงพอใจ ถึงวันนัน้ กาแฟของลุงนวลคงเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ รอยเหีย่ วบ่นทีป่ รากฏบนมือฟ้องว่าเจ้าของมือคูน่ ที้ ำ�งานมาอย่างหนัก กว่าจะได้กาแฟแต่ละเมล็ดไม่ใช่เรือ่ งง่าย และผลจากการทำ�งานหนัก รางวัล 36


บน : ลุงนวลก�ำลังคัดเมล็ดกาแฟที่เสียออกด้วยมือ 37 ล่าง : บ่อซีเมนต์ใช้ในการแช่หมักกาแฟเพื่อล้างเมือก


ตอบแทนที่ได้รับจึงคุ้มค่า ภาพของหญิงสาวสองคนเมือ่ ครัง้ เรียนจบรับปริญญาถูกใส่กรอบและ ติดไว้บนฝาผนังด้านหนึง่ ของบ้าน กลายเป็นของตกแต่งบ้านได้ทไี่ ด้มาด้วย ความภาคภูมิใจ ลูกสาวคนโตทำ�งานให้กับบ้านพักของโครงการหลวงและ ลูกสาวคนเล็กรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ศาลกรมเกียรติ ณอำ�เภอ แม่หลอด “ไม่ได้รวยนะ แต่กภ็ มู ใิ จทีส่ ง่ ลูกเรียนจนจบ” ลุงนวลมักจะตอบอย่าง ถ่อมตัวเสมอเมื่อพูดถึงเรื่องรายได้ แต่สายตาสดใสที่ฉายแววแห่งความสุข นั้นไม่สามารถปกปิดไว้ได้ เพราะฉันสัมผัสได้ถึงปลื้มปริ่มใจใจอาชีพที่เขา เลือกทำ� “เป็นเงินเป็นทองดีนะ” ลุงนวลจำ�กัดความของกาแฟไว้สั้น ๆ และ ตัง้ ใจจะปลูกกาแฟไปเรือ่ ย ๆ จนกว่าเรีย่ วแรงจะไม่มี ตอนนีก้ แ็ ก่ตวั ลงมาก ไม่รวู้ า่ จะทำ�ต่อไปได้อกี เท่าไร ลูกหลานทีอ่ ยากจะสานต่อลุงนวลก็ยนิ ดี แต่ ตอนนี้ขอทำ�ไปก่อน เพราะไม่มีอะไรดีเท่ากาแฟแล้ว เป็นระยะเวลากว่า 8 ปีที่ลุงนวลเริ่มหันมาดูแลต้นกาแฟอย่างเอาใจ ใส่ในทุกขัน้ ตอน ลุงนวลบอกว่าการปลูกกาแฟนัน้ ไม่ได้ยากแต่กไ็ ม่งา่ ย ต้อง อาศัยการเอาใจใส่ในทุกขั้นตอน แรกเริ่มลุงนวลและป้าแดงทำ�เองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการขุดหลุมปลูก การใส่ปุ๋ย เพราะลุงนวลเชื่อว่าไม่มีใครรู้ต้น กาแฟได้ดีเท่าคนปลูก จากต้นกล้ากาแฟในวันนั้นเติบโตเป็นต้นกาแฟใหญ่ที่ให้ผลผลิตดีมี คุณภาพและกลายเป็นรายได้หลักของครอบครัว ทำ�ให้ทุกวันนี้ ครอบ ครัวต๊ะคำ�มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปีถัดไปที่กำ�ลังจะเดินทางมาถึง ลุงนวลและป้าแดงมีความตั้งใจที่จะ ปลูกกาแฟเพิ่มขึ้นให้เติบโตต่อไป สวนทางกับเรี่ยวแรงของทั้งสองที่โรยรา 38


อย่ำงที่ไม่รู้ว่ำจะดูแลต้นกำแฟเหล่ำนี้ได้อีกนำนเท่ำไร

39


40


นอกระบบ

41


สถานทีท่ ฉี่ นั เดินทางมาถึงเป็นร้านกาแฟไม่มชี อื่ มีเพียงหลักกิโลเมตร จำ�ลองขนาดใหญ่กว่าของจริงที่ระบุว่าสถานที่นี้คือหมู่บ้านปางไฮตั้งอยู่ เหมือนเป็นจุดถ่ายรูปที่พบเห็นได้ตามสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป ร้านตกแต่ง อย่างง่าย ๆ ด้วยชุดโต๊ะเก้าไม้ชวนให้เข้าไปนัง่ จิบกาแฟ มอคค่าเย็นคือเมนู ที่ฉันเลือก ชายเจ้าของร้านเริ่มชงกาแฟให้ฉัน “มาจากไหนครับ” เขาถามขึน้ ขณะทีฉ่ นั นัง่ ลงบนเก้าอีท้ อี่ ยูต่ ดิ กับบาร์ หรือบริเวณทีข่ ากำ�ลังชงเครือ่ งดืม่ เราพูดคุยกันจนฉันได้ทราบว่าเขานัน้ เป็น หนุม่ กรุงเทพ ฯ แต่มาแต่งงานกับสาวปางไฮ จึงได้มาเป็นเขยเชียงใหม่และ มาเปิดร้านกาแฟอยู่ที่นี่ เมื่อถามถึงกาแฟที่ใช้ เขาบอกว่าเป็นกาแฟที่ปลูกเองในพื้นที่ของ ภรรยา และด้วยความร่วมมือของเขากับพี่เขยทำ�ให้ร้านกาแฟแห่งนี้ถือ กำ�เนิดขึน้ เขาต้องการให้กาแฟทีป่ ลูกมีชอ่ งทางการจัดจำ�หน่ายมากขึน้ และ เป็นทีร่ จู้ กั ในวงกว้าง เพราะทุกวันนีเ้ ริม่ มีนกั ท่องเทีย่ วเข้ามามากขึน้ จึงหวัง อยากให้ที่นี่เป็นอีกร้านที่นักท่องเที่ยวแวะดื่มกาแฟที่พวกเขาปลูกเอง คุยไปจิบกาแฟไปได้สกั พักใหญ่ พีเ่ ขยทีช่ ายเจ้าของร้านเล่าให้ฟงั ก็มา ถึง เขาเป็นชายร่างเล็กแต่ดูท่าทางคล่องแคล่ว ทุกคนกล่าวสวัสดีเมื่อเขา เดินมายังตัวร้าน โดยทุกคนเรียกเขาว่า “พ่อหลวง” สุรสิทธิ์ เขียวเขื่อน อายุ 43 ปีหรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “พ่อ หลวง” เดินมายังโต๊ะที่ฉันนั่งอยู่ตามเสียงเรียกของน้องเขย ทำ�ให้เราได้มี โอกาสพูดคุยกัน “เมื่อก่อนที่นี่ไม่ได้ชื่อตำ�บลเทพเสด็จนะ ชื่อป่าเมี่ยง แต่เมื่อสมเด็จ พระเทพ ฯ ท่านเสด็จมาเมื่อปี 2524 เขาก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นตำ�บลเทพ เสด็จ” ความเป็นมาของชือ่ ตำ�บลเทพเสด็จและเรือ่ งราวในอดีตถูกบอกเล่า ผ่านตัวพ่อหลวง 42


พ่อหลวงเล่าว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่นีเป็นคนพื้นราบที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่มาก่อน แต่พวกเขาได้อพยพย้ายถิน่ ฐานขึน้ มาอาศัยอยูบ่ น เขา และเก็บเมี่ยงที่มีอยู่ตามธรรมชาติขาย และมีการปลูกฝิ่นร่วมด้วย เนือ่ งจากชาวบ้านในสมัยนัน้ ไม่มอี าชีพอืน่ จึงเลือกปลูกฝิน่ เพราะจะมีพอ่ ค้า เข้ามารับซื้อถึงที่ เมือ่ ปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงเริม่ ตระหนักถึงปัญหา การปลูกฝิ่นของชาวบ้าน จึงทรงริเริ่มให้มีการปลูกกาแฟ โดยมีหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี ซึ่งปัจจุบันท่านดำ�รงตำ�แหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นผู้นำ�เจ้าหน้าที่ของโครงการหลวงเข้ามาช่วยเหลือ โดยเริ่มทดลองปลูก บนพื้นที่ของพ่อตาของพ่อหลวงแห่งนี้เอง “ตรงนั้น ตรงข้ามร้านเลย” พ่อหลวงชี้ชวนให้ดูฝั่งตรงข้ามกับร้าน กาแฟ อันเป็นสถานที่เดิมของแปลงสาธิตการปลูกกาแฟ ซึงตอนนี้มีตีน กาแฟขึ้นอยู่เต็ม และในวันนี้มันถูกปลูกอยู่ทั่วทุกพื้นที่ที่เป็นพื้นดินของ ครอบครัวพ่อหลวง การปลูกกาแฟแพร่กระจายอกไปในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้ เคียง กาแฟให้ผลผลิตได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำ�ทะเล 950 เมตร และมี อากาศหนาวเย็นเช่นนี้ หมูบ่ า้ นอืน่ ๆ ในตำ�บลเทพเสด็จเริม่ ปลูกกาแฟตาม กัน การเก็บเมี่ยงจึงกลายเป็นอาชีพรอง ชาวบ้านหันมาใส่ใจกาแฟกันมาก ขึ้น “พืน้ ทีข่ องพ่อหลวงกับภรรยาก็ประมาณ 4 ไร่ แล้วก็มขี องแม่ยายกับ น้องสะใภ้ด้วย” ไร่กาแฟของพ่อหลวงเองก็เช่นกัน เขาใช้พื้นที่ทั้งหมดนอก เหนือไปจากบริเวณบ้านและร้านกาแฟเพื่อปลูกกาแฟ พ่อหลวงเดินนำ�ฉัน ไปยังไร่กาแฟสูงขึน้ ไปทีอ่ ยูฝ่ งั่ ตรงข้าม ฝัง่ เดียวกับแปลงสาธิตนัน่ เอง หนทาง ลาดชันสูงขึน้ ทำ�ให้สองขาเหนือ่ ยล้ากว่าปกติ แต่เราก็มาถึงก่อนทีจ่ ะทันได้

43


อ่อนแรง ต้นกาแฟทรงพุ่มเตี้ยถูกปลูกไว้เป็นแถวเป็นแนวอย่างมีระเบียบ ต่าง จากไร่กาแฟของพี่ศรีจันทร์ ต้นกาแฟมีระยะห่างกันมากพอสมควร “ผู้ใหญ่ตัดทิ้งหมด กล้าได้กล้าเสีย ตอนนี้ผลผลิตก็ดีขึ้น มันแตกหน่อ ใหม่” พ่อหลวงอธิบายเพิ่มเติมจากภาพเบื้องหน้า เขาจะคอยตัดแต่งกิ่ง ต้นไม้อยูเ่ สมอ เทคนิคทีย่ งั ไม่มใี ครทำ�นักคือการตัดกิง่ ทิง้ เหลือไว้เพียงสาม มุมเพือ่ เวลากิง่ ก้านแตกสาขาออกมาจะได้ไม่เกาะเกีย่ วกัน ทัง้ ยังช่วยให้เก็บ เมล็ดได้สะดวก และเลือกที่จะโค่นต้นเมี่ยงทิ้งเพื่อไม่ให้แย่งสารอาหารใน ดินของกาแฟ เหลือต้นไม้ขนาดใหญ่ ลำ�ต้นหนาราว 3 คนโอบไว้เพือ่ ให้เป็น ร่มเงาป้องกันต้นกาแฟจากแสงแดดที่อาจแรงเกินไป เมื่อเดินต่อขึ้นไปอีก ไม้ท่อนหนึ่งถูกปักไว้เพื่อแสดงการแบ่งเขตแดน ของที่ดิน และทำ�ให้ฉันได้รู้ว่าสิ้นสุดเขตแดนของไร่กาแฟพ่อหลวงแล้ว ถัดมาจากไร่ของพ่อหลวงคือส่วนของแม่ยายพ่อหลวง มองด้วยสายตา แล้วมีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างกันอยูม่ ากพอสมควร ต้นกาแฟของไร่นคี้ อ่ นข้างสูง จากการที่ไม่ได้ตัดแต่ง พื้นที่รกชันไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ตามลักษณะของ ไร่กาแฟที่ฉันได้ไปพบเห็นมา “สวัสดีค่ะ” ฉันเอ่ยทักแม่ยายของพ่อหลวงที่กำ�ลังเตรียมอุปกรณ์ใน การเก็บกาแฟไว้รอบตัว ตั้งแต่ตะกร้าสานที่ถูกผูกไว้ที่เอวเพื่อรองรับเมล็ด กาแฟระหว่างทีเ่ ก็บ หมวกปีกกว้างกันแดดถูกสวมไว้เหนือผืนผ้าทีใ่ ช้ครอบ ศีรษะไว้โดยเว้นช่องว่างรูปวงรีเพื่อให้เครื่องหน้ารับอากาศ แม่ยายยิม้ รับการทักทายของฉัน และเริม่ ลงมือทำ�งาน เธอค่อย ๆ เก็บ กาแฟอย่างช้า ๆ ทว่าคล่องแคล่ว ด้วยความชำ�นาญและคุ้นเคยดีกับกาแฟ เมื่อเก็บเมล็ดกาแฟสุกจนหมดต้นหนึ่ง สองเท้าเคลื่อนย้ายเปลี่ยนตำ�แหน่ง ไปยังเป้าหมายใหม่ เป็นแบบเรือ่ ยไปตลอดทัง้ วัน จนกว่าจะถึงเวลาพักเทีย่ ง 44


แม่ยายของพ่อหลวงขณะก�ำลังเก็บเมล็ดกาแฟ 45


ใบตองขนาดใหญ่ที่ได้จากต้นกล้วยในไร่กาแฟถูกปูลงบนพื้นเพื่อใช้ แทนเสือ่ ในการนัง่ กินข้าวเทีย่ งร่วมกัน หญิงชราทัง้ ห้าคนในวัยไล่เลีย่ กันนัง่ ล้อมวงเตรียมกินอาหารกลางวันร่วมกัน น้ำ�พริกถือเป็นเมนูโปรดของชาวไร่ กาแฟที่นี่ ท่าทางการกินเอร็ดอร่อยตอกย้ำ�คำ�ตอบเมื่อฉันถามถึงรสชาติ เสียงหัวเราะดังขึ้นเป็นระยะ นี่คงเป็นความสุขที่หาได้ง่ายจากการได้ทำ�ใน สิ่งที่รักและถนัด หลังจากอิม่ ท้องกันแล้ว งานก็ยงั คงดำ�เนินต่อไป ไร่กาแฟในป่าลึกเช่น นี้มีแมลงค่อนข้างมาก ต้องอาศัยการจุดไฟด้วยฟืนไม้ที่หักจากต้นไม้ในไร่ เพื่อให้เกิดควันไล่ยุงและแมลงที่จะมาก่อกวนขณะเก็บกาแฟ เพราะมัน อาจกัดและทำ�ให้คันจนเกิดผดผื่นได้ นอกจากเสื้อผ้ามิดชิดแล้วก็ยังต้อง อาศัยควันไม้ไล่แมลง “แม่ เล่าให้นอ้ งเขาฟังหน่อย” พ่อหลวงช่วยกระตุน้ แม่ยายทีน่ งิ่ เงียบ กับการเก็บกาแฟอย่างขะมักเขม้นให้ช่วยเล่าถึงการเก็บกาแฟของเอใน แต่ละวันให้ฉันฟัง “เก็บกาแฟมาเกือบ 20 ปีแล้ว ทำ�แบบนีท้ กุ วันจนชิน คงไม่ไปทำ�อย่าง อื่น” แม่ยายเริ่มเล่าขณะเก็บกาแฟไปด้วย เธอเป็นเกษตรกรตั้งแต่อายุยัง น้อย โตมาในกับไร่สวน และตั้งแต่ที่เธอเปิดใจรับกาแฟเข้ามาปลูกนั้นก็ไม่ เคยผิดหวัง เพราะกาแฟทำ�ให้เธอมีรายได้มากขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว “ดีใจและก็ภมู ใิ จ” เธอรำ�ลึกถึงความรูส้ กึ ในวันนัน้ วันแรกทีก่ าแฟถูก นำ�มาปลูกบนพืน้ ทีข่ องเธอ และเธอมองว่าการสละพืน้ ทีส่ ว่ นหนึง่ ในครัง้ นัน้ ทำ�ให้เกิดประโยชน์ทงั้ ต่อครอบครัวเธอเองและชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง ทำ�ให้พวกเขาได้รู้จักกับกาแฟจนวันนี้ การพูดคุยจบลง ความสนใจของฉันถูกดึงมาที่พ่อหลวงอีกครั้ง “แม่ ๆ เขาแก่กันแล้ว เราต้องมาช่วยเขายกกระสอบกาแฟออกไป” 46


พ่อหลวงเล่าให้ฟัง พร้อมเดินพาฉันไปยังกระสอบใส่เมล็ดกาแฟเชอรี่ที่ได้ จากฝีมือการเก็บของแม่ยายและเพื่อน ๆ พ่อหลวงมัดปากถุงแล้วยกขึ้น พาดบ่าอย่างคล่องแคล่ว “หนักมากไหมคะ” ฉันเอ่ยถามอย่างซื่อ ๆ พ่อหลวงจึงให้ฉันลองยก ดูแทนคำ�ตอบ และพบว่ามันหนักมากจริง ๆ ถ้าเพียงลำ�พังผู้หญิงคนเดียว คงยกไม่ไหว ได้แรงผูช้ ายมาช่วยแบบนีท้ ำ�ให้คนเก็บกาแฟอยากเก็บมากขึน้ พ่อหลวงเล่าว่าการปลูกกาแฟกลายเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน ผลผลิตที่ได้ในช่วงแรกนั้น ทางโครงการหลวงเป็นผู้รับซื้อ แต่เมื่อเวลาผ่าน ไป กาแฟของทีน่ เี่ ริม่ เป็นทีร่ จู้ กั ประกอบกับธุรกิจร้านกาแฟเฟือ่ งฟู จำ�นวน ร้านกาแฟมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำ�ให้มีเจ้าของร้านกาแฟหลายแห่งเข้า มาเสาะหากาแฟคุณภาพดีจากทางภาคเหนือของประเทศไทย รวมถึงกาแฟ จากที่นี่เองก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน “พอมีคนมารับซื้อเยอะขึ้น ชาวบ้านก็เริ่มไม่ส่งให้โครงการหลวง ผม เองก็ไม่ได้สง่ ” พ่อหลวงเล่าให้ฟงั เพิม่ เติม เมือ่ ชาวบ้านเริม่ ส่งเมล็ดกาแฟให้ กับทางโครงการหลวงลดลงเพราะเลือกที่จะส่งให้กับพ่อค้าคนกลางแทน ด้วยเหตุผลของราคาทีพ่ อ่ ค้าจ่ายในราคาทีส่ งู กว่าและมารับซือ้ เองถึงที่ ชาว บ้านไม่ต้องเดินทางไปส่งทำ�ให้สะดวกต่อพวกเขามากกว่า “โครงการหลวงเขามีข้อกำ�หนดเยอะ ชาวบ้านเขาก็ทำ�ไม่ไหว” พ่อ หลวงยอมรับว่าการทำ�ตามข้อกำ�หนดของทางโครงการหลวงนั้นเป็นเรื่อง ยาก ข้อกำ�หนดในเรือ่ งของขนาดเมล็ดกาแฟต้องได้ตามทีก่ ำ�หนดเพือ่ ให้ได้ เป็นกาแฟเกรดเอจึงได้ราคาสูง การแช่เมล็ดกาแฟต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง เนื่องจากอาจทำ�ให้กาแฟบูดและมีรสเปรี้ยวได้ รวมไปถึงการตากกาแฟที่ ต้องแห้งสนิทด้วยระดับความชื้นไม่เกิน 7.1 ตามที่กำ�หนด ซึ่งมีแนวโน้มว่า ระดับความชื้นนี้ต้องต่ำ�ลงอีก ซึ่งต้องใช้เวลาในการตากนานขึ้น ในขณะที่

47


น้ำ�หนักของเมล็ดกาแฟน้อยลง ส่งผลต่อน้ำ�หนักในการขาย และถ้าหากมี ปริมาณผลผลิตที่ไม่มากพอแล้ว ชาวบ้านต้องนำ�กาแฟไปส่งให้โครงการ หลวงด้วยตัวเอง “พ่อค้าคนกลางเขามาถึง ลองสุม่ หยิบขึน้ มาหนึง่ เมล็ดแล้วแกะกะลา ออก ลองกัดดู ดมกลิ่น ถ้าใช้ได้แล้วเขาก็รับซื้อเลย ไม่เรื่องมาก” พ่อหลวง ย้ำ�อีกครัง้ ถึงสาเหตุทชี่ าวบ้านส่งกาแฟให้โครงการหลวงลดลงและหันมาส่ง ให้พอ่ ค้าคนกลางแทน และหากพ่อค้ารูว้ า่ ทางโครงการให้ราคารับซือ้ เท่าใด เขาจะพยายามให้ราคาที่สูงกว่า ชาวบ้านที่ต้องการเงินทันทีจึงขายให้โดย ไม่คิดมาก ต่างจากโครงการหลวงที่ต้องรอ 2-3 เดือน แต่เมื่อไม่ได้ส่งกาแฟให้กับทางโครงการหลวง ทำ�ให้พวกเขาไม่ได้รับ ความช่วยอย่างเต็มที่ ชาวบ้านบางคนต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากราคารับ ซื้อที่ไม่ยุติธรรมนัก แต่เมื่อไม่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองในเรื่องราคา ทำ�ให้พวกเขาต้องก้มหน้ายอมรับเพราะหากเก็บเมล็ดกาแฟไว้นานก็จะส่ง ผลต่อรสชาติของกาแฟ การขายออกให้ได้มากที่สุดจึงเป็นทางออกเดียวที่ เหลืออยู่ “ชาวบ้านบางกลุม่ ขายได้ในราคาทีส่ งู กว่าทัง้ ทีอ่ ยูต่ ำ�บลเดียวกัน ชาว บ้านตรงนีเ้ ขาก็นอ้ ยใจ” เนือ่ งจากพืน้ ทีท่ อี่ ยูส่ งู ขึน้ ไปมีความสูง 1,300 เมตร ทำ�ให้ได้กาแฟคุณภาพดีกว่า ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวง ทางโครงการให้ราคารับซื้อสูง ชาวบ้านในพื้นที่ต่ำ�กว่าจึงรู้สึกเสียเปรียบ พ่ อ หลวงเห็ น ด้ ว ยกั บ แนวคิ ด การปลู ก กาแฟปลอดสารเคมี ข อง โครงการหลวง แต่การปลูกด้วยวิธีนี้มีข้อจำ�กัดหลายอย่าง เพราะชาวบ้าน ต้องไม่ใช้สารเคมีเพือ่ กำ�จัดมอด ทัง้ ทีม่ อดเจาะกาแฟเป็นปัญหาใหญ่ในทุก วันนี้ การกำ�จัดด้วยวิธีธรรมชาติอย่างการล่อให้มอดบินตกลงในเครื่องมือ ดักจับนั้นไม่เพียงพอ จึงทำ�ให้ต้องสูญเสียปริมาณผลผลิตเป็นจำ�นวนมาก 48


บน : พ่อหลวงแบกกระสอบเมล็ดกาแฟที่เก็บได้ ล่าง : แม่ยายของพ่อหลวงและชาวบ้านนั่ง49 พักรับ ประทานอาหารกลางวันในไร่กาแฟ


และหากใช้สารเคมีกำ�จัด ทางโครงการหลวงก็สามารถตรวจจับได้ในทันที และจะไม่รับซื้อกาแฟเหล่านั้น แต่ถงึ จะเป็นอย่างนัน้ พ่อหลวงเองก็ยอมรับว่าชาวบ้านปางไฮอาจยัง ขาดความรู้เรื่องการปลูกกาแฟที่ดีทำ�ให้ไม่มีความตั้งใจมากพอที่จะผลิต กาแฟคุณภาพดีขาย เขาจึงมีความตั้งใจอยากตั้งกลุ่มของผู้ปลูกกาแฟขึ้น เอง โดยเป็นการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่ไม่ได้เข้าร่วมกับ ทางโครงการหลวง เพือ่ ช่วยในเรือ่ งการต่อรองราคารับซือ้ และรวบรวมเงิน เพือ่ ใช้ซอื้ เครือ่ งจักรต่าง ๆ ทัง้ เครือ่ งสีเปลือกและเครือ่ งคัว่ เพือ่ นำ�มาใช้รว่ ม กันในกลุ่ม “อนาคตต้องมีแน่นอน” พ่อหลวงกล่าวด้วยความมุ่งมั่นในความ พยายามที่ จ ะตั้ ง กลุ่ ม เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ชาวบ้ า นที่ ไ ม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ นสหกรณ์ ข อง โครงการหลวงแล้ว พ่อหลวงได้เข้าร่วมประชุมกับผู้ใหญ่บ้านจากหมู่บ้าน อืน่ ๆ ในตำ�บลเทพเสด็จและอำ�เภอดอยสะเก็ด แต่ยงั ไม่ได้รบั ความร่วมมือ ที่ดีนัก เนื่องจากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอเลือกที่จะสนใจ แต่กาแฟของตัวเอง ไม่มีความตั้งใจจะช่วยชาวบ้านคนอื่น “เขาอยากทำ�ของเขาให้ดีที่สุดก่อน” คือเหตุผลที่เกษตรกรเก่ง ๆ ยัง ไม่ตดั สินใจเข้าร่วม ถึงอุปสรรคจะมีมากแต่กไ็ ม่ได้ทำ�ให้พอ่ หลวงลดละ ด้วย ความเป็นคนมีความพยายามและตั้งใจจริง กลุ่มนี้คงจะเกิดขึ้นในเร็ววัน เหมือนกับร้านกาแฟที่เขาร่วมสร้างขึ้นมา ในอนาคต พ่อหลวงคาดหวังอยากให้ไร่กาแฟแห่งนีเ้ ป็นมากกว่าแหล่ง ผลิตกาแฟ เขาอยากให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ ทำ� อย่างการขับรถ ATV ซึ่งเป็นรถที่ใช้เครื่องของรถมอเตอร์ไซค์แต่ ออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก และมีสี่ล้อสำ�หรับใช้ในทางวิบาก เพื่อสำ�หรับ ขับรถเที่ยวชมบนไร่กาแฟ 50


ครอบครัวของพ่อหลวงเลือกทีจ่ ะปลูกกำแฟควบคูไ่ ปกับกำรท่องเทีย่ ว ทีต่ อนนีก้ ำ� ลังได้รบั ควำมนิยม นักท่องเทีย่ วเดินทำงขึน้ สูพ่ นื้ ทีส่ งู กันมำกขึน้ ถึงเวลำทีเ่ กษตรกรอย่ำงพวกเขำต้องปรับเปลีย่ นเพือ่ รองรับนักท่องเทีย่ วที่ จะช่วยสร้ำงรำยได้เพิ่มขึ้นจำกกำแฟ แต่กำแฟก็ยังคงเป็นกำแฟ เป็นจุดเริ่มต้นที่ยังอยู่กับพวกเขำตั้งแต่วัน แรก ท�ำให้เขำมีช่องทำงเพื่อต่อยอดให้กำแฟกลำยเป็นธุรกิจ เป็นรำยได้ หลักที่แท้จริง

51


52


3 in 1

53


แสงแดดสาดส่องแข่งกับความเย็นของอากาศทางภาคเหนือในเดือน ธันวาคมทำ�ให้วันนี้ไม่หนาวเย็นนักอย่างที่ควรจะเป็น ภาพแม่เฒ่าที่กำ�ลังง่วนทำ�อะไรสักอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นตรงหน้าเมื่อ ฉั น เดิ น ขึ้ น มาถึ ง ตอนบนของหมู่ บ้ า นปางไฮ ตำ�บลเทพเสด็ จ อำ�เภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เสียงน้ำ�สาดลงกระทบพื้นเบา ๆ ด้วยแรงของหญิงชรา ลำ�ตัวก้มโค้ง ลงสุดเพื่อใช้มือกวักไกว่ลูกกลม ๆ สีแดงในกะละมังอย่างแข็งขัน มือหนึ่ง ประคองกะละมังไว้ให้มั่น สลับด้วยการใช้สายยางฉีดน้ำ�เพื่อรองรับน้ำ�ให้ เต็มกะละมังอีกครั้ง...นี่คงเป็นขั้นตอนของการล้างเมล็ดกาแฟที่เรา ๆ คน ดื่มกาแฟไม่เคยได้เห็น ฉันยกมือขึ้นไหว้พร้อมกล่าวสวัสดี หญิงชราวางมือจากงานตรงหน้า แล้วเดินมาหาฉัน เชิญชวนให้นงั่ ลงบนเก้าอีห้ นิ อ่อนทีต่ งั้ อยูห่ น้าบ้านถัดจาก พื้นที่ทำ�งานไปราวสิบก้าวเดิน “สวัสดีลูก เข้ามาเลย ๆ” ยวงคำ� ญาติฝูง วัย 65 ปี หรือที่ชาวบ้าน เรียกกันว่า “ป้าคำ�” เจ้าของพื้นที่ 6 ไร่ ด้านหลังตัวบ้านเขียวชอุ่มไปด้วย ต้นไม้น้อยใหญ่ หนึ่งในนั้นคือต้นกาแฟ เอ่ยทักทาย เราเริ่มต้นบทสนทนาด้วยเรื่องของลมฟ้าอากาศ ป้าคำ�เล่าว่า ที่นี่ฝน ไม่ตกมาเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนกว่าแล้ว ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องดีนักสำ�หรับ เกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดอื่น แต่เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาต่อกาแฟที่ป้าคำ�ปลูก “เมล็ดกาแฟบอบบางเกินกว่าจะต้านแรงลมและการเทสาดลงมาของ ฟ้าฝน หากฝนมาผิดเวลา เมล็ดกาแฟคงได้รว่ งหล่นก่อนจะทันได้เก็บ” หญิง ชราผู้ปลูกกาแฟมาแล้ว 13 ปี บอก เจ้าบ้านยังขยายความต่อว่า ต่อให้แดดจะร้อนแรงเพียงใด คนปลูก กาแฟก็ไม่มีบ่นเพราะต่างรู้ดีว่าแสงแดดเหล่านี้มีความจำ�เป็นต่อการตาก 54


กาแฟให้แห้งเพื่อไม่ให้กาแฟมีความชื้นสูงจนก่อให้เกิดเชื้อราเพราะอับชื้น ป้ายวงคำ�มาอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่สมัยที่พ่อแม่ของป้าตัดสินใจ ย้ายถิ่นฐานขึ้นมาอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงแห่งนี้ ครอบครัวของเธอมีอาชีพ ดั้งเดิมคือการปลูกเมี่ยงและเก็บใบเมี่ยงขาย ซึ่งป้าคำ�ก็ได้สานต่อวิถีชีวิต ของชาวไร่เมี่ยงมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อ 15 ปีที่แล้ว หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ซึ่งปัจจุบันท่าน ดำ�รงตำ�แหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวงเดินทางมายังหมู่บ้านปางไฮ และเข้าพักที่บ้านของป้าคำ�หลังนี้ “พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ดี อากาศก็เย็นสบาย เราน่าจะลองเอากาแฟมา ปลูกดูนะ” การมาเยือนครั้งนั้นทำ�ให้ผู้มาเยือนสังเกตเห็นว่า พื้นที่แห่งนี้มีความ เหมาะสมที่จะปลูกกาแฟ ด้วยความเหมาะสมด้านพื้นที่ที่มีความสูงกว่า 950 – 1,000 เมตร และสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น ท่านจึงริเริ่มให้มีการ ทดลองปลูกกาแฟขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีเจ้าหน้าที่จากทางโครงการหลวง เข้ามาช่วยส่งเสริม พืน้ ทีแ่ รกทีใ่ ช้ในการทดลองปลูกกาแฟ คือ พืน้ ทีข่ องแม่ยายของ “สุร สิทธิ์ เขียวเขื่อน” ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านปางไฮคนปัจจุบัน หรือที่ชาวบ้าน เรียกกันติดปากว่า “พ่อหลวง” การทดลองปลูกครั้งแรกใช้ต้นกล้ากาแฟเพียง 20 ต้น ด้วยการลงทุน ของโครงการหลวงและสายพันธุก์ าแฟแรกทีป่ ลูกนัน้ ได้รบั มาจากกระทรวง เกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ปลูกไปได้ไม่นานต้นกาแฟที่ปลูกก็ ประสบกับปัญหาโรคราสนิม ส่งผลให้ใบกาแฟมีลกั ษณะเปลีย่ นจากสีเขียว เป็นสีน้ำ�ตาล ใบของกาแฟร่วงหล่น ในครั้งแรกนั้น เจ้าหน้าที่ของทาง โครงการหลวงเองยังไม่มคี วามรูค้ วามเข้าใจในเรือ่ งการปลูกกาแฟทีด่ จี งึ ไม่ สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

55


สุดท้ายต้องปล่อยให้ต้นกาแฟทั้งหมดล้มตายลง ทางโครงการหลวงยังไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ศูนย์วิจัย ของโครงการ ณ อำ�เภอแม่หลอดเริ่มต้นทำ�การวิจัยเพื่อพัฒนาหาสายพันธุ์ กาแฟอาราบิก้าที่มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคราสนิม ผลจากการวิจัย พบว่า จำ�นวนของสายพันธุ์กาแฟอาราบิก้านั้นมี มากมายหลายพันธุเ์ พราะมันสามารถผสมภายในสายพันธุไ์ ด้เองโดยไม่เกิด ผลเสียใด ๆ เมื่อทดลองซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่าโดยนำ�กาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์ต่าง ๆ มาท ดลองปลูก ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งจนค้นพบสายพันธ์ที่เหมาะสมที่สุด กับพื้นที่และสภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ คือ กาแฟอาราบิก้าสาย พันธุ์ “คาติมอร์” สายพันธุ์นี้เป็นมาจากคำ�ว่า คาทูร่า (Catturra) และไฮบริโด เดอ ติมอร์ (Hibrido de Timor) ที่เรียกตามการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างคา ทูร่าผลแดงเป็นต้นแม่พันธุ์และไฮบริโด เดอ ติมอร์เป็นต้นพ่อพันธุ์ ผลการผสมระหว่างลูกผสมข้ามชนิดนี้ทำ�ให้ลูกผสมที่ได้มีความแข็ง แรงและสามารถการต้านทานต่อโรคราสนิมได้ต้นกาแฟมีลักษณะทรงเตี้ย ใบมีขนาดใหญ่ และให้ผลผลิตสูง การพัฒนาสายพันธุ์ในวันนั้นทำ�ให้กาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์คาติมอร์ กลายเป็นสายพันธุ์กาแฟที่นิยมปลูกกันทั่วทุกพื้นที่ทางภาคเหนือของ ประเทศไทย ป้ายวงคำ�เป็นหนึง่ ในคนกลุม่ แรกทีไ่ ด้เข้าร่วมอบรมการปลูกกาแฟกับ ทางโครงการหลวง และได้เข้าชมการทำ�แปลงปลูกกาแฟสาธิตตั้งแต่ครั้ง แรก จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ป้าคำ�มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปลูกและ ผลิตกาแฟอาราบิก้าอยู่มากพอสมควร 56


ป้ายวงค�ำก�ำลังตรวจสอบเมล็ดกาแฟหลังจากล้างเมือกแล้ 57ว


เธอยอมจ่ายเงิน 7 บาทเพื่อให้ได้มาซึ่งสายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าชั้นดี หนึ่งต้นที่ทางโครงการหลวงนำ�มาให้เกษตรกรซื้อเพื่อปลูก ในยุคสมัยนั้น ถือว่าแพงมากสำ�หรับราคาต้นกล้าของกาแฟหนึง่ ต้น เพราะถ้าเปรียบเทียบ กับการปลูกเมี่ยงแล้ว ชาวบ้านไม่ต้องลงทุนอะไรเลย “ตอนทีอ่ บรมและดูแปลงสาธิตแล้วก็เชือ่ มัน่ ว่าพืน้ ทีเ่ ราจะปลูกได้ ป้า มั่นใจว่ามันจะขายได้” คำ�พูดของป้าคำ�สะท้อนความเชื่อมั่นในสายพันธุ์ที่ ได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาโดยโครงการหลวงมาแล้ว อย่างไม่ลังเลใจ ป้าคำ�ไม่ใช่คนปลูกกาแฟที่เพียงแค่ปลูกแล้วเก็บผลผลิตส่งขาย แต่ ควบหลายตำ�แหน่งตั้งแต่ปลูก คั่ว ชง เรียกได้ว่าครบวงจร อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนย่อมต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อการผลิต และคงไม่ใช่ความบังเอิญทีป่ า้ คำ�สามารถมีทกุ สิง่ ได้อย่างทีห่ วัง แต่เกิดจาก ความฝันและความตั้งใจของคุณป้าที่ฝันอยากมีเครื่องคั่วกาแฟเป็นของตัว เอง “เดิมฉันคั่วกาแฟด้วยกระทะขนาดใหญ่ เป็นวิธีการคั่วแบบโบราณ อาศัยแรงคนในการคั่วทำ�ให้ต้องระวังเรื่องความร้อนที่ใช้ มันยากนะ” เธอ บอก ฉันเคยอ่านเรือ่ งวิธกี ารคัว่ การแฟในหนังสือก็พอทราบมาบ้างว่า การ คั่วด้วยกระทะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษในเรื่องของระดับความร้อนที่ ใช้ เพราะคุมไฟยาก ต้องใช้แรงคัว่ ตลอดเวลาเพือ่ ไม่ให้เมล็ดกาแฟไหม้หรือ สุกไม่ทั่วถึง ผลจากการคัว่ กาแฟแบบนีเ้ อง ทำ�ให้แขนของคุณป้าเกิดรอยไหม้จาก ความร้อนของกระทะและมีลักษณะบิดงอผิดรูปไปจากเดิม ก่อนหน้าทีป่ า้ คำ�ต้องอาศัยอยูต่ วั คนเดียว เธอมีสามีเป็นเพือ่ นคูค่ ดิ มา โดยตลอด พวกเขาทั้งสองแต่งงานกันและหลังจากที่สามีของป้าคำ�ย้าย 58


จากจังหวัดพะเยามาตั้งถิ่นฐานเพื่อใช้ชีวิตคู่กับป้าคำ�ที่นี่ พวกเขาช่วยกัน ทำ�ไร่กาแฟด้วยกันมานานกว่าสิบปี จนกระทั่งถึงวันที่ผู้เป็นสามีจากป้าคำ� ไป ซึง่ เป็นเวลานานกว่า 3 ปีแล้ว ด้วยความทีค่ ณ ุ ลุงอายุมากกว่าป้าคำ�เกือบ 20 ปีประกอบกับปัญหาด้านสุขภาพทำ�ให้คุณลุงไม่สามารถเข้าไร่เพื่อช่วย ป้าคำ�เก็บเมล็ดกาแฟได้ แต่คุณลุงจะคอยป้าคำ�อยู่ที่บ้านและช่วยป้าคำ�คั่ว กาแฟ ทัง้ สองทำ�สิง่ เหล่านีจ้ นกลายเป็นกิจวัตรประจำ�วัน และในทีส่ ดุ ความ ตั้งใจนี้ก็มีผู้รับรู้ ต่อมาเจ้าหน้าที่ของโครงการหลวงที่เข้ามาให้ความรู้แก่ชาวบ้านใน เรือ่ งการปลูกกาแฟเดินทางมาทีห่ มูบ่ า้ นปางไฮและได้รบั ทราบถึงความตัง้ ใจ ของคุณลุงกับคุณป้าทั้งสองในการปลูกและคั่วกาแฟ จึงต้องการให้ความ ช่วยเหลือและสนับสนุน โดยให้คำ�แนะนำ�เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องคั่ว กาแฟและช่วยเสาะหาเครื่องคั่วกาแฟที่ดีในราคาที่เหมาะสม ระหว่างนัน้ ป้าคำ�ไม่ได้นงั่ รอความหวังอยูเ่ ฉย ๆ แต่เดินทางไปยังร้าน ขายเครื่องคั่วหลายแห่งทั้งตามคำ�แนะนำ�และที่สอบถามมาเอง “ราคาถูกที่สุดตอนนั้นคือ 70,000 บาท โอ้โห...แพงมาก ขนาดเขา ลดให้แล้วเรายังมีเงินไม่พอซื้อเลย” เธอรำ�ลึกถึงความหลัง แม้เครื่องดังกล่าวจะเป็นเครื่องที่ผลิตโดยอดีตวิศวกรของโครงการ หลวงซึ่งลดแล้วจากราคาเต็มคือ 100,000 บาท แต่ก็ยังเป็นเงินก้อนใหญ่ ที่สู้ไม่ไหวอยู่ดี จึงต้องตัดใจกลับบ้านมือเปล่า “ตอนนั้นก็เสียใจมาก คิดน้อยใจว่าทำ�ไมเราถึงไม่มีเงิน” จนในวันหนึ่งเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มี งานจัดแสดงสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตโดยอาจารย์และนักศึกษา เครื่อง คัว่ กาแฟเป็นหนึง่ ในสินค้าเหล่านัน้ ด้วยความทีเ่ ป็นสินค้าทดลองผลิตทำ�ให้ ราคาของเครื่องไม่สูงนัก โดยอยู่ที่ 30,000 บาท

59


“มันยังแพงสำ�หรับฉันอยู่ดี” แม้จะเป็นราคาทีถ่ กู ทีส่ ดุ สำ�หรับเครือ่ งคัว่ ก็ยงั คงแพงสำ�หรับชาวบ้าน อย่างคุณป้า ป้าคำ�ตัดสินใจขอยืมเงินจากนายอำ�เภอของตำ�บลเทพเสด็จใน ตอนนั้น โดยพยายามอธิบายถึงสิ่งที่ป้าคำ�กำ�ลังพยายามทำ�อยู่ แต่คำ�ตอบ ที่ได้รับก็ต้องทำ�ให้ป้าคำ�ผิดหวัง นอกจากจะปฏิเสธการให้ยืมเงินแล้วยัง ดูถกู ความตัง้ ใจของป้าว่า ทำ�ไปเพือ่ อะไร ปลูกกาแฟแล้วใครจะกิน คัว่ กาแฟ แล้วจะขายให้ใคร หญิงชรายอมรับว่า รูส้ กึ ท้อแท้กบั ถ้อยคำ�ต่าง ๆ ทีไ่ ด้รบั รู้ ทัง้ จากนาย อำ�เภอเองและชาวบ้านคนอืน่ ทีต่ า่ งมองว่าสิง่ ทีป่ า้ คำ�ทำ�นัน้ ไร้ประโยชน์ แต่ ความรูส้ กึ ท้อแท้เกิดขึน้ เพียงไม่นาน ป้าคำ�กลับมาต่อสูบ้ นเส้นทางกาแฟอีก ครัง้ และในครัง้ นีไ้ ด้รบั ความช่วยเหลือจากสมาคมแม่บา้ นทีอ่ นุญาตให้คณ ุ ป้ากู้เงินเป็นจำ�นวน 50,000 บาท และในที่สุดป้าคำ�ก็ได้เครื่องคั่วกาแฟมาไว้ในครอบครอง เครื่องคั่วกาแฟนี้ถือเป็นเครื่องคั่วแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ตัวเครื่อง ผลิตจากสแตนเลสอย่างหนา แข็งแรงและทนทานต่อความร้อนได้สูง “มานีม่ า” ป้าเดินจูงมือฉันผ่านประตูหน้าบ้านไปออกหลังบ้านอันเป็น ทีต่ งั้ ของเครือ่ งคัว่ กาแฟ และหญิงชราผูน้ กี้ เ็ ข้าไปโอบตัวเครือ่ งไว้ดว้ ยความ ภาคภูมิใจ ป้าบอกว่า มันแข็งแรงมาก ในปัจจุบนั สแตนเลสอย่างหนาแบบนีค้ งจะ ไม่ได้มาในราคา 30,000 บาทแล้ว ทั้งยังทนความร้อนได้เป็นอย่างดี และ ตั้งแต่ใช้งานมายังไม่เคยต้องควักกระเป๋าเพื่อจ่ายค่าซ่อมเลยแม้แต่ครั้ง เดียว...หญิงชรามองไปยังตัวเครื่องฉายแววคล้ายผู้เป็นแม่ที่กำ�ลังมอง ลูกชายด้วยความภูมิใจราวกับเขาไม่เคยทำ�ให้เธอผิดหวัง บริเวณหลังบ้านไม่ได้มเี พียงเครือ่ งคัว่ กาแฟเท่านัน้ แต่ยงั เป็นทีต่ งั้ ของ 60


บน : เมล็ดกาแฟที่ผ่านการกะเทาะเปลือกและล้างเมือกเรียบร้อยแล้ว 61 ล่าง : กาแฟนมสดร้อนที่ป้ายวงค�ำชงเองกับมือ


กะละมังบรรจุเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วมาเรียบร้อยแล้วอยู่ด้วย ป้าคำ�ยกกะละมังที่ใช้ครอบอยู่ด้านบนต่างฝาขึ้นเผยให้เห็นเมล็ด กาแฟสีนำ�้ ตาลเข้มเกือบดำ�อยูด่ า้ นใน สีทเี่ ข้มนีเ้ กิดจากระดับการคัว่ เข้มตาม ความต้องการของลูกค้าประจำ� ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะแก่การนำ�ไปชงเป็น เครือ่ งดืม่ เย็นหรือปัน่ เนือ่ งจากจะได้รสเข้มของกาแฟมากกว่าการคัว่ ระดับ อ่อนที่นำ�ไปใช้ชงเครื่องดื่มร้อน เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมดื่มกาแฟเย็น หากใช้กาแฟคั่วอ่อนจะทำ�ให้กาแฟมีรสชาติจืดชืดไม่หอมอร่อย กระบวนการผลิตกาแฟทั้งหมดหลังจากเก็บเกี่ยวเกิดขึ้นภายในบ้าน หลังนี้ที่ป้าคำ�อาศัยอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บ้านหลังขนาดใหญ่เท่าหนึ่งคูหาของอาคารพาณิชย์ในเมืองกรุง เป็น ลักษณะบ้านสองชั้น ทุกพื้นที่ของตัวบ้านถูกจับจองด้วยข้าวของเครื่องใช้ ทัง้ ส่วนตัวและไม่สว่ นตัว ชุดเครือ่ งเรือนทำ�ด้วยไม้ทดี่ เู หมือนจะเป็นพระเอก ของบ้านถูกจับแยกไว้ที่มุมต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและความพอใจของ เจ้าของบ้าน ตัวหนึ่งมีหน้าที่รองรับตะกร้าที่ภายในบรรจุหมอนข้างใบจิ๋ว ขนาดเท่าฝามือเอาไว้ “เจ้าสิ่งนี้คือหมอนใบชา มีสรรพคุณช่วยดูดซับกลิ่นและให้กลิ่นหอม สดชืน่ จากใบเมีย่ งตากแห้งทีเ่ ป็นพืชดัง้ เดิมในพืน้ ที”่ เธอยกขึน้ มาให้ดู และ บอกว่า เป็นกิจกรรมเสริมยามว่างจากการเก็บกาแฟอีกหนึ่งอย่างของชาว บ้านทีม่ รี ายการสัง่ ทำ�เข้ามาอยูบ่ อ่ ยครัง้ เช่น ของชำ�ร่วยทีธ่ นาคารจะนำ�ไป แจกลูกค้า โดยการออกแบบให้เป็นรูปทรงของหมอนข้างก็เป็นความคิด ของป้าคำ�ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่มีอยู่เดิม ป้ายวงคำ�ไม่มลี กู อาศัยอยูก่ บั คุณลุงเพียงสองคนมาตลอดตัง้ แต่ตดั สิน ใจแต่งงานกัน ทำ�ไร่กาแฟด้วยกันสองคน และตั้งแต่คุณลุงจากไป คุณป้าก็ ต้องทำ�ทุกอย่างเพียงคนเดียว ทั้งดูแลการปลูกไปจนถึงการขาย 62


“กำรท�ำทุกอย่ำงทุกขัน้ ตอนด้วยตัวเองมันเหนือ่ ยก็จริงแต่ถำ้ ใจเรำรัก เรำก็จะมีควำมสุขที่ได้ท�ำ” ทุกขั้นตอน ทั้งออกแรงยกกระสอบกำแฟ ทั้งคั่ว ทั้งบรรจุถุง คุณป้ำ ท�ำเองคนเดียวทั้งหมด เธอบอกว่ำ เหนื่อยมำกแต่วันไหนไม่ได้ท�ำก็จะรู้สึก แปลกๆ ว่ำงงำนเกินไป สู้ว่ำเหนื่อยแต่มีอะไรให้ท�ำจะดีกว่ำ ส่วนอนำคต ของไร่กำแฟแห่งนีจ้ ะเป็นอย่ำงไรป้ำค�ำเองก็ยงั ให้คำ� ตอบไม่ได้ รูเ้ พียงว่ำตน จะท�ำกำแฟแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เรำเดินออกมำนัง่ คุยกันต่อทีม่ ำ้ หินตัวเดิม แหงนมองก�ำแพงบ้ำนก็จะ พบกับสัญลักษณ์กำรรับรองสินค้ำเกษตรและอำหำรจำกกรมวิชำกำร เกษตร เพื่อแสดงถึงแหล่งปลูกกำแฟที่ได้คุณภำพและปลอดภัย นอกจำกนัน้ ยังมีภำพของป้ำค�ำเมือ่ 13 ปีกอ่ นขณะเข้ำรับเกียรติบตั ร ในฐำนะที่เป็นผู้มีควำมสำมำรถด้ำนกำรปลูกกำแฟและได้ผลผลิตดีมี คุณภำพจนเป็นตัวอย่ำงให้แก่ชำวบ้ำนคนอื่น ๆ เหล่ำนี้เป็นสิ่งที่ท�ำให้คุณ ป้ำภูมิใจและรู้สึกว่ำคิดไม่ผิดเลยจริง ๆ ที่เลือกปลูกกำแฟในวันนั้น

63


64


กาแฟอนุรักษ์

65


เมื่อครั้งที่ฉันมีโอกาสไปดื่มกาแฟที่ร้าน Gallery กาแฟดริปที่ตั้งอยู่ บนชั้ น 1 บริ เ วณประตู ท างเข้ า ของหอศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมแห่ ง กรุงเทพมหานคร กาแฟไทยที่ทางร้านเป็นกาแฟตัวหนึ่งที่บนกล่องบรรจุ เมล็ดกาแฟไว้และแปะกระดาษซึ่งเขียนไว้ว่า “นายวัลย์ป่าเมี่ยง” เอ -ณัฎฐ์ฐติ ิ อำ�ไพวรรณ หนึง่ ในหุน้ ส่วนของร้านอธิบายถึงความหมายของมัน ว่าเป็นการระบุถึงแหล่งที่มาของกาแฟว่าเป็นกาแฟจากไร่ใด ใครเป็นคน ปลูก การระบุชอื่ เช่นนีท้ ำ�ให้เกษตรกรผูป้ ลูกกาแฟมีความกระตือรือร้นและ อยากที่จะตั้งใจทำ�กาแฟให้ดีให้สมกับชื่อที่ปรากฏอยู่บนกล่องกาแฟที่เขา เป็นเจ้าของ นายวัลย์ ป่าเมีย่ งได้รบั การยอมรับจากเจ้าของร้านและคอกาแฟหลาย คนทีไ่ ด้ลมิ้ ลองกาแฟจากไร่ของเขา ทางร้านเลือกใช้วธิ กี ารชงแบบดริปหรือ แบบหยดน้ำ�ซึ่งคือการบดกาแฟในระดับหยาบใส่ลงในกระดาษกรอง จาก นั้นค่อย ๆ รินน้ำ�ร้อนอุณหภูมิประมาณ 90 องศาเซลเซียสแต่ไม่ถึง 100 องศาเซลเซียสที่เป็นจุดเดือดของน้ำ�ร้อน รินน้ำ�ร้อนผ่านกาน้ำ�ที่มีลักษณะ ปากกาเรียวยาวแหลมเล็กเพื่อให้น้ำ�ไม่ไหลเร็วจนเกินไป น้ำ�ร้อนจะค่อย ๆ ซึมผ่านกาแฟบดอย่างช้า ๆ ในระหว่างนีน้ ้ำ�ร้อนเองก็จะกักเก็บรสชาติและ กลิ่นของกาแฟเอาไว้ก่อนพาตัวมันผ่านชั้นกาแฟบดลงสู่แก้วที่รองรับอยู่ เบื้องล่าง ได้เป็นกาแฟดริปรสชาติดีเพราะการดริปเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยดึง รสชาติของกาแฟออกมาได้ดีที่สุด นอกจากรสชาติกาแฟจะดีแล้ว เรื่องราวของนายวัลย์ป่าเมี่ยงตามคำ� บอกเล่าของพี่เอยังน่าสนใจอีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนกรุงเทพมหานคร แต่ย้ายถิ่นฐานไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่และเริ่มปลูกกาแฟ หลังติดต่อไปทางไร่ของนายวัลย์และในทีส่ ดุ ก็ได้รบั การตอบรับให้เรา ได้เข้าสัมภาษณ์และเข้าพักค้างคืน ณ ที่พักบนไร่กาแฟ 66


นายวัลย์ป่าเมี่ยงหรือชื่อเต็มคือนายวัลลภ ปัสสานนท์ อายุ 57 ปี ขับ รถโตโยต้า แลนด์ ครูเซ่อรุน่ เก่าทีถ่ กู ยกเครือ่ งใหม่เรียบร้อยให้พร้อมต่อการ เดินทางขึ้นสู่ไร่กาแฟบนเนินเขาสูงชันมาที่จุดนัดพบ เราถูกเชิญให้ขึ้นรถ โดยมีนายวัลย์เป็นคนขับให้ นายวัลย์ค่อย ๆ ประคองรถให้สูงขึ้นไปตาม เส้นทางที่ที่มีร่องรอยรถผ่าน ความเร็วลดลงตามแรงโคลงเคลงของตัวรถ ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย ขณะที่เราไปถึง พนักงานของไร่นายวัลย์กำ�ลังขะมักเขม้นกับการสี เปลือกกาแฟอยูพ่ อดี นายวัลย์อธิบายว่าไร่กาแฟแห่งนีค้ ำ�นึงถึงสิง่ แวดล้อม เป็นหลัก อย่างเครื่องสีเปลือกกาแฟก็ใช้พลังงานน้ำ�ในการขับเคลื่อน ทั้ง ช่วยประหยัดไฟและรักษสิง่ แวดล้อมไปในตัว พนักงานทีน่ เี่ ป็นชาวกะเหรีย่ ง เสียส่วนใหญ่ อย่างลูกจ้างกลุ่มนี้ต้องผันตัวจากเกษตรชาวบ้านมาเป็น เกษตรกรรับจ้างเนือ่ งจากพืน้ ทีท่ ำ�กินทีม่ อี ยูไ่ ม่คอ่ ยมีความสมบูรณ์นกั ทำ�ให้ พืชผลทีป่ ลูกให้ผลผลิตไม่ดพี อ รายจ่ายมากกว่ารายได้ตอ้ งดิน้ รนหางานอืน่ จนในทีส่ ดุ ก็มาพบกับนายวัลย์ ทำ�ให้มกี ารงานทีม่ นั่ คงมากขึน้ มีรายได้เพียง พอที่จะส่งลูกเรียนหนังสือ ซึ่งลุงวัลย์เล่าว่าบางคนนั้นทำ�งานที่ไร่มานาน ร่วม 10 ปีทั้งทำ�กาแฟและคอยดูแลต้อนรับหากมีท่องเที่ยวมาพักผ่อน ไร่ แห่งนี้จึงเป็นการสร้างงานให้แก่พวกเขา ไม่ต้องไปทำ�ไร่หมุนเวียนหรือ รับจ้างงานอื่น ๆ เป็นรายวัน การทำ�งานของพนักงานยังไม่ถูกใจนายวัลย์ที่คอยควบคุมดูแลอย่าง ใกล้ชิด เสียงของนายวัลย์คอยแนะและบอกวิธีที่ควรจะเป็นอยู่บ่อยครั้ง แม้แต่กาแฟหนึ่งเมล็ดเขาก็ไม่ยอมปล่อยให้หลุดลอดสายตา ใช้มือหยิบไว้ ทันก่อนทีจ่ ะไหลไปกับสายน้ำ� กาแฟเชอรีท่ กุ เมล็ดของทีน่ เี่ ป็นสีแดงสดโดย ทั่วกัน เพราะนายวัลย์จะพิถีพิถันในเรื่องนี้เป็นพิเศษ กาแฟที่ดีควรเป็น กาแฟทีส่ ุกจนเป็นสีแดงถึงแดงก่ำ� ฉันได้ลองชิมกาแฟเชอรี่แบบสด ๆ ดูพบ

67


ว่ามีรสหวานเหมือนกับกำ�ลังกินผลไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะที่ดี ของเมล็ดกาแฟ หลังจากได้ดวู ธิ กี ารสีเปลือกกาแฟพร้อมคำ�อธิบายให้ความรูเ้ กีย่ วกับ กาแฟจากนายวัลย์แล้ว เราต่างแยกย้ายเข้าที่พักเพื่อเก็บของและพักผ่อน ตามอัธยาศัย ที่นี่ไร้ซึ่งสัญญาณอินเทอร์เน็ต นายวัลย์เป็นคนจัดการเรื่อง น้ำ�ไฟด้วยตัวเอง ไฟทีใ่ ช้มแี หล่งทีม่ าจากเครือ่ งปัน่ ไฟซึง่ ในวันนีเ้ ครือ่ งติดขัด ยังไม่สามารถใช้งานได้ทำ�ให้พวกเราทัง้ หมดตกอยูใ่ นความมืดกันจนถึงเวลา นัดรับประทานอาหารเย็น แสงไฟจากเชิงเทียนส่องให้เห็นใบหน้าของนาย วัลย์เพียงเสี้ยวหนึ่ง ชายร่างสูงที่ไว้หนวดเคราดกหนา แว่นสายตาสะท้อน ล้อกับแสงไฟ เสือ้ แจ็กเก็ตหนังสีดำ�ห่มร่างเขาไว้ให้ปลอดภัยจากความหนาว เย็น ขณะทีช่ อ้ นเริม่ จรดลงบนกับข้าวเป็นช่วงเวลาเดียวกับบทสนทนาทีเ่ ริม่ ต้นขึ้น “ชอบบรรยากาศ ชอบสถานที่ ชอบทีม่ นั ยังมีความสมบูรณ์อยู”่ นาย วัลย์เริม่ เล่าถึงจุดเริม่ ต้นของเรือ่ งราว มนต์เสน่หข์ องจังหวัดเชียงใหม่ดงึ ดูด ใจให้ชายหนุ่มจากกรุงเทพ ฯ อย่างเขาตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จังหวัด เชียงใหม่แห่งนี้ พื้นที่นี้เดิมทีเป็นพื้นที่ทำ�กินของชาวบ้านที่นำ�มาเสนอให้แก่เขา ด้วย เกรงว่าพื้นที่จะเป็นพื้นที่บุกรุกหรือเป็นเขตป่าสงวนทำ�ให้เขาไม่กล้าซื้อใน ครั้งแรก แต่เมื่อทำ�การตรวจสอบกับทางกรมป่าไม้แล้วพบว่าเป็นพื้นที่ทำ� กินของชาวบ้านจริง เขาจึงทำ�การซื้อขายในที่สุด ซึ่งชาเมี่ยงหรือชาอัสสัม คือพืชที่ชาวบ้านท้องถิ่นปลูกอยู่เดิม ความคิดที่ต้องการย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่คือการอยาก มาอยู่จริง ๆ ไม่ใช่การอยู่แบบผิวเผิน สิ่งที่นายวัลย์ต้องทำ�คือหางานทำ�นั่น คือการพัฒนาที่ดินให้เกิดรายได้ แต่ขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาสภาพ 68


69


ความสมบูรณ์ของป่าเอาไว้ให้ได้ ทางเลือกทีค่ ดิ ออกในตอนนัน้ คือการปลูก ชาต่อไปหรือเริม่ ต้นใหม่ดว้ ยการปลูกกาแฟ แต่ชาเริม่ เป็นผลผลิตทีไ่ ม่ได้รบั ความนิยมจากตลาด ต่างจากกาแฟทีเ่ ป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ทคี่ นไทยเริม่ รู้จักในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเริ่มมีร้านกาแฟชงสดจากต่าง ประเทศและของไทยเข้ามาตีตลาดเปิดเป็นธุรกิจร้านกาแฟ ประกอบกับ เมือ่ ได้ศกึ ษาค้นคว้าก็พบว่ากาแฟเป็นพืชทีส่ ามารถปลูกร่วมกับต้นไม้ได้โดย ไม่ต้องตัดไม้ทำ�ลายป่า กาแฟจึงกลายเป็นคำ�ตอบสุดท้าย แม้จะไม่เคยมีความรู้เรื่องการเกษตรมาก่อนแต่เพราะความรักและ ต้องการอนุรกั ษ์ปา่ ไม้เอาไว้ทำ�ให้นายวัลย์เริม่ ศึกษาเกีย่ วกับการเกษตรเพิม่ ขึ้น เขาอ่านตำ�ราที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ จนเขามีความรู้ เพียงพอและเริ่มลงมือทำ�ตามความตั้งใจ “ตอนแรกที่ทำ�กาแฟไม่ได้เป็นคนกินกาแฟ ไม่ได้ทำ�เพราะรักกาแฟ แต่ทำ�เพราะรักธรรมชาติมากกว่า” นายวัลย์บอกถึงความเป็นมาของการ ทำ�ไร่กาแฟ ด้วยความทีเ่ ขาอยากทำ�มาหากินอยูใ่ นทีต่ รงนีแ้ ละอยากอนุรกั ษ์ ผืนป่าเอาไว้ และเขาไม่ได้ตั้งใจทำ�ไร่กาแฟแบบที่เกษตรกรคนอื่นทำ� หลัง จากเริม่ ปลูกกาแฟได้ 5 ปี เขาเริม่ ศึกษาเรือ่ งกาแฟมากขึน้ จนมีความรูต้ งั้ แต่ เรื่องการปลูก ไปจนถึงการคั่วและชง ช่วงแรกทีย่ งั ไม่มรี ายได้จากการปลูกกาแฟ นายวัลย์อาศัยรายได้จาก การเปิดเป็นบ้านพักตามคำ�แนะนำ�ของเพือ่ นฝูงทีม่ โี อกาสได้ขนึ้ มาเทีย่ วพัก ผ่อน จึงทำ�ให้เขาเริม่ สร้างบ้านพักและเปิดให้นกั ท่องเทีย่ วทีส่ นใจเรือ่ งกาแฟ หรือมาพักผ่อนได้มาเข้ามาเยี่ยมเยียน จากการบอกปากต่อปาก ทำ�ให้ไร่กาแฟแห่งนีเ้ ริม่ เป็นทีร่ จู้ กั ในวงกว้าง จากเพื่อนฝูงที่สนิทสู่คอกาแฟทั่วไป และด้วยความที่เข้ามาอยู่ในวงการ กาแฟเต็มตัวแล้วทำ�ให้เขาได้รู้จักกับคนในแวดวงกาแฟอีกมากมาย กาแฟ 70


เริม่ เป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะทีเ่ ป็นกาแฟคุณภาพดี รสชาติเยีย่ ม คนทีแ่ วะมาและ ได้ดื่มกาแฟก็บอกต่อกัน คนที่สนใจจึงตามขึ้นมาที่นี่ เมื่อกาแฟของที่นี่มีชื่อเสียงก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดการจ้าง งาน พนักงานบางคนทำ�งานที่นี่มานานกว่าสิบปี พวกเขาต่างฝากอนาคต ไว้ ซึ่ ง กั น และกั น นายวั ล ย์ เ องก็ ค าดหวั ง ให้ พ นั ก งานทำ�งานอย่ า งมี ประสิทธิภาพเพือ่ ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดอย่างทีเ่ ขาสมควรจะได้รบั การที่ เรามีงานทำ�อย่างต่อเนื่องนั้นดีต่อทั้งสองฝ่าย แม้กาแฟของทีน่ จี่ ะได้รบั การยอมรับจากเจ้าของร้านกาแฟทีเ่ ลือกใช้ เมล็ดกาแฟของที่นี่ในการชงขาย แต่นายวัลย์ยังยึดมั่นในการสร้างตัวจน ของไร่กาแฟแห่งนี้ขึ้นมา โดยการเปิดร้านกาแฟขึ้นในชื่อ Nine One Coffee เพือ่ เป็นช่องทางในการกระจายสินค้าและควบคุมคุณภาพในส่วนของ ตัวเอง เพราะเขาเชื่อว่าในอนาคตนั้นไม่มีอะไรแน่นอนแต่สิ่งที่นายวัลย์ ต้องการคือการให้บริการกาแฟคุณภาพดีแก่ลูกค้าที่เข้ามาเป็นหลัก โดย การจำ�หน่ายขายส่งให้เหล่าพ่อค้าคนกลางนั้นถือเป็นเรื่องรอง “พอทำ�กาแฟนานเข้าก็เริม่ รูว้ า่ กาแฟไทยสามารถพัฒนาได้อกี เยอะ” ในช่วงแรกผลผลิตของกาแฟไม่ได้มคี ณ ุ ภาพทีด่ เี ท่าในวันนีเ้ พราะตัวเขาเอง ยังขาดความรู้ในการพัฒนา แต่การที่เขาไม่หยุดค้นคว้าทำ�ให้เขาพบว่า กาแฟนัน้ มีคณ ุ ภาพหลายระดับ และเขามีความเชือ่ มัน่ ว่ากาแฟไทยสามารถ พัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นได้ ความอยากรู้และอยากลองพิสูจน์เป็นแรงกระตุ้นให้เขาเริ่มพัฒนา กาแฟในไร่อย่างจริงจัง เขาเน้นเรื่องคุณภาพ การดูแลต้นกาแฟตั้งแต่ขั้น ตอนการปลูกไปจนถึงสิง่ แวดล้อม และเพือ่ ให้ตน้ กาแฟในไร่ของเขามีความ ยัง่ ยืน แผนการไร่กาแฟออร์แกนิคหรือเกษตรอินทรียจ์ งึ เริม่ ต้นขึน้ หลังปลูก กาแฟได้ 2 ปี

71


เขาเองตระหนักถึงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นอย่างดี เมื่อ จะทำ�ไร่กาแฟแห่งนี้จึงอยากให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เลือกใช้พลังงานน้ำ�แทนพลังงานไฟฟ้าอย่างเครื่องสีเปลือกที่กล่าวถึงใน ตอนต้น มีการนำ�เปลือกกาแฟและใบไม้มาทำ�ปุ๋ยหมักแทนการเผาทิ้ง พยายามนำ�ทุกอย่างมาหมุนเวียนใช้ภายในไร่ แม้การใช้ปยุ๋ หมักทีท่ ำ�จากมูล สัตว์และเศษพืชอาจให้ผลผลิตได้ไม่มากเท่าปุ๋ยเคมีแต่ข้อดีนั้นมีมากกว่า เพราะต้นกาแฟจะสามารถยืนต้นได้นานกว่าสามสิบปีเพราะมันจะสามารถ ดูแลตัวเองได้ ทนทานต่อโรคต่าง ๆ ทั้งยังไม่เป็นการทำ�ลายดินอีกด้วย พื้นที่ 200 กว่าไร่ที่นายวัลย์ครอบครอง ขณะนี้มีต้นกาแฟอยู่ทั่วทุก พืน้ ทีก่ ว่าร้อยละ 70 แล้ว มีตงั้ แต่ตน้ กาแฟทีป่ ลูกมาในรุน่ แรกเรือ่ ยมาจนถึง ต้นที่เพิ่งทำ�การปลูกเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ปีละประมาณ 20 ไร่โดยเฉลี่ย ดัง นั้นต้นกาแฟในไร่ของนายวัลย์จะมีอายุไม่เท่ากัน และจะค่อย ๆ ทยอยให้ ผลผลิตทีละส่วน แม้พื้นที่ปลูกจะมีมากแต่ผลผลิตกลับไม่มากเท่าที่คิด เนื่องจากนาย วัลย์พิถีพิถันมากในเรื่องการเก็บ หากไม่สุกจนได้เป็นเมล็ดสีแดงสดแล้ว นายวัลย์จะไม่นำ�เมล็ดเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อ เพราะรสชาติ ของกาแฟนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทุกอย่างบนเส้นทางการเดินทางที่กาแฟผ่าน จนกว่าจะกลายเป็นกาแฟถ้วยโปรดให้เราได้ดื่มกัน ทางไร่ได้ผลผลิตเป็นผลกาแฟเชอ์ร์รี่ปริมาณ 4,000 พันตันต่อปี ซึ่ง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบนั แต่นายวัลย์อยากควบคุม เรือ่ งคุณภาพของกาแฟอย่างใกล้ชดิ จึงไม่ตอ้ งการเร่งกาแฟด้วยสารเคมีหรือ วิธีการใดเพื่อให้ได้ผลผลิตคราวละมาก ๆ รายได้จากกาแฟในตอนนี้อยู่หลักสองล้าน ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของ ทางไร่ แต่นายวัลย์ยอมรับว่าทุกวันนี้ยังคงขาดทุน แม้รายได้จะเยอะแต่ก็ 72


73


มีเรือ่ งของต้นทุนเข้ามาเกีย่ วข้องมาก เขามีกจิ การหลักอยูส่ ามส่วน หนึง่ คือ การทำ�ไรกาแฟ สองคือร้านอาหารและร้านกาแฟทีจ่ ำ�หน่ายกาแฟในรูปของ เครื่องดื่มแก้วและกาแฟเมล็ดที่คั่วแล้วหรือแบบพร้อมคั่ว สุดท้ายคือการ เปิดเป็นรีสอร์ทบ้านพักสำ�หรับนักท่องเที่ยว รายได้สามส่วนนี้ต้องนำ�มา หมุนเวียนกันเพื่อใช้จ่ายแต่ก็ยังคงไม่เพียงพอ มีบ้างที่ต้องควักกระเป๋าตัว เอง “มันยังไม่ใช่ในรูปแบบของบริษทั มันเป็นเหมือนธุรกิจครอบครัว การ คิดการตัดสินใจยังอาศัยเราเป็นหลักอยู่” นายวัลย์เน้นย้ำ�เสมอว่าไร่กาแฟ แห่งนีไ้ ม่ใช่ธรุ กิจทีใ่ หญ่โตแต่มนั คือสิง่ ทีเ่ ขาทำ�ขึน้ เพือ่ ให้ได้อยูก่ บั สิง่ ทีเ่ ขารัก โดยทีส่ ามารถมีรายได้เพียงพอทีจ่ ะเลีย้ งปากท้องของตัวเองและทีมงานได้ ซึ่งเมื่อมันประสบความสำ�เร็จมากกว่าที่คาดไว้จึงถือว่าเป็นเรื่องดี “ผมมีความเชือ่ มัน่ ว่ากาแฟไทยสามารถพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้ เพราะ เรายังมีโอกาส นี่เป็นเพียงการเริ่มต้น ถ้าหากพัฒนามานานแล้วแต่มันสุด ทางแค่นี้สิถึงจะน่าเป็นห่วง”น้ำ�เสียงที่มุ่งมั่นแสดงให้เห็นถึงพลังของความ ตัง้ ใจทีอ่ ยากจะพัฒนากาแฟไทยให้มชี อื่ เสียงในระดับโลก เพราะเขามองว่า กาแฟเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งของไทยที่ยังสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เพราะผล ไม้ไทยนั้นได้รับความนิยมในระดับโลก เพราะผลไม้หลายชนิดถูกปลูกโดย เกษตรกรที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญและมี ค วามรู้ ใ นผลไม้ ตั ว นั้ น เป็ น อย่ า งดี ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ของพืน้ ดินในประเทศไทยทำ�ให้รสชาติเป็น ที่ยอมรับบในระดับโลก ดังนั้นกาแฟก็เช่นเดียวกัน เราพบกันอีกครั้งในเช้าวันใหม่ นายวัลย์กำ�ลังหมุนตัวไปมาอยู่ใน ภายในซุม้ ทีส่ ร้างจากไม้และหิน เมือ่ เดินเข้าทำ�ให้รทู้ นั ทีวา่ มันคือเคาน์เตอร์ บาร์สำ�หรับการชงกาแฟที่เหมือนกับว่ามันถูกตั้งอยู่ผิดที่ เพราะที่นี่อยู่บน เนินเขาสูงของดอยสะเก็ด 74


ฉันนัง่ ลงที่เก้าอี้สำ�หรับลูกค้า วายตาจ้องมองอุปกรณ์ทนี่ ่าสนใจเบือ้ ง หน้า อันประกอบไปด้วยแหล่งเชื้อเพลิงอย่างแก๊สในการทำ�น้ำ�ให้ร้อน เครือ่ งบดกาแฟมือหมุน กระบอกบรรจุน้ำ�สีเงิน เครือ่ งชัง่ ขนมดิจติ อล ดริป เปอร์ (Dripper) ลักษณะคล้ายกรวยจะตั้งอยู่บนฐานรองโดยปลายกรวยชี้ ลง ใช้ร่วมกับกระดาษกรองและภาชนะรองรับน้ำ�กาแฟกาแฟ นายวัลย์บาริสต้าจำ�เป็นในวันนีต้ งั้ ใจชงกาแฟแก้วพิเศษให้เราด้วยวิธี การดริป การดริปคือการชงกาแฟประเภทหนึง่ ทีอ่ าศัยการหยดของน้ำ�ร้อน ทีถ่ กู เทไหลผ่านชัน้ กาแฟบดหยาบอย่างช้า ๆ เพือ่ ให้น้ำ�ร้อนได้ดดู ซับรสชาติ และกลิ่นหอมของกาแฟ ก่อนจะค่อย ๆ หยดลงสู่ภาชนะรองรับด้านล่าง โยการชงนี้ไม่มีความซับซ้อนเท่าวิธีอื่นแต่ต้องอาศัยเวลาในการชงนาน 4 -5 นาทีเพื่อให้ได้กาแฟรสชาติดี นายวัลย์เทเมล็ดกาแฟลักษณะแปลกตาลงในถ้วยขนาดเล็กก่อนชั่ง บนเครื่องชั่ง ตัวเลขแสดงผล 15 กรัมโดยประมาณ จากนั้นเขาเทเมล็ด กาแฟลงเครื่องบดกาแฟมือหมุน เสียงการแตกของเมล็ดกาแฟภายในดัง ขั้นเมื่อเขาออกแรง เมื่อกาแฟพร้อมเขาจึงหันมาต้มน้ำ�ร้อนด้วยเตาแก๊ส ปิกนิก ด้วยความที่อากาศบนนี้เย็นมาก เขาจึงต้มน้ำ�ด้วยความร้อนสูงกว่า ปกติ น้ำ�เดือดออกจากทางปากกาน้ำ�เป็นสัญญาณว่าน้ำ�ร้อนพร้อมแล้ว กาแฟทีถ่ กู บดในระดับหยาบถูกบรรจุลงในดริปเปอร์ บาริสต้าของเราไม่รอ ช้าบรรจงเทน้ำ�ร้อนลงบนกาแฟบดทันที น้ำ�ค่อย ๆ ไหลออกจากกาน้ำ�อย่างเชื่องช้า น้ำ�กาแฟน้ำ�ตาลไหลลงสู่ ภาชนะรองรับเบือ้ งล่างด้วยความเร็วทีต่ ำ�่ กว่า มองไปเพลิน ๆ การชงกาแฟ ก็สำ�เร็จเสร็จสิ้น โดยนายวัลย์เรียกการชงแบบนี้ว่า “Slow Bar” แก้วกาแฟถูกส่งให้ฉัน สีใสของแก้วทำ�ให้เรามองเห็นลักษณะของ กาแฟได้อย่างชัดเจน สีน้ำ�ตาลของน้ำ�กาแฟอ่อนใสจากการคัว่ ในระดับอ่อน

75


น้ำ�หนัก (Body) ของกาแฟน้อยมากอย่างที่เราไม่คุ้นเคย ซึ่งความพิเศษอยู่ ทีเ่ มล็ดกาแฟทีน่ ายวัลย์เลือกใช้ในวันนีเ้ ป็นเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่ (Peaberry) เป็นกาแฟหายาก สามารถพบได้ร้อยละ 5 จากกาแฟที่เก็บได้ทั้งหมด พีเบอร์รี่เป็นเมล็ดกาแฟที่เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่ต้น เพราะโดย ปกติแล้วในหนึ่งเมล็ดกาแฟเชอรี่จะประกอบไปด้วยเมล็ดกาแฟสองซีกที่ เราพบเห็นทัว่ ไป ลักษณะคล้ายครึง่ วงกลม ด้านหนึง่ เรียบแบน อีกด้วยกลม นูน แต่พีเบอร์รี่นั้นเป็นเมล็ดกาแฟที่เจริญเติบโตเพียงซีกเดียวในหนึ่งผล เชอร์รี่ บางคนก็บอกว่าพีเบอร์รี่ตะได้รับสารอาหารไปเต็ม ๆ รสชาติจึง หวาน รวมไปถึงเมื่อมองในมุมของการคั่วแล้ว ลักษณะกลมกลึงของมัน ทำ�ให้สามารถกลิ้งอยู่ในเครื่องคั่วและได้รับความร้อนทั่วถึงจึงสุกทั่วกันทั้ง เมล็ด ส่งผลให้ได้รสชาติกาแฟที่ดีและราคาสูง หลังจากได้ดื่มกาแฟชงสดแล้ว ฉันพบว่ากาแฟมีรสหวานจริง ๆ รส หวานคล้ายการกินผลไม้ น้ำ�หนักเบาบางของกาแฟช่วยให้ดื่มง่าย ความ สดชืน่ มีชวี ติ ชีวา (Acidity) ทีไ่ ด้จากกาแฟมีสงู ดืม่ แล้วรูส้ กึ เสียวกระพุง้ แก้ม ชวนน้ำ�ลายสอ กลิ่นหอมอ่อน ๆ ของดอกไม้เป็นลักษณะเด่นของที่นี่ เมื่อ เปรียบเทียบกับกาแฟดำ�ตัวอื่นที่ฉันเคยได้ลองมานั้นเทียบไมได้เลยกับ กาแฟแก้วนี้ “หวาน นุ่ม ชุ่มคอ” เป็นคำ�ที่นายวัลย์เลือกใช้กับกาแฟของเขา เขา บอกว่าแม้กาแฟที่นี่จะให้กลิ่นหอมไม่มากเท่ากาแฟจากบางพื้นที่ แต่ใน เรื่องของรสชาตินั้นไม่แพ้กาแฟดังระดับโลกแน่นอน เพราะมีกระบวนการ ผลิตที่ดีตั้งแต่เริ่มแรกทำ�ให้รสชาติของกาแฟนั้นดี ร่วมกับการคั่วที่เหมาะ สมและชงด้วยวิธธี รรมชาติแบบนี้ รสชาติของกาแฟไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก จริง ๆ การได้รับรางวัลจากการประกวดรสชาติกาแฟหรือจากคำ�บอกเล่า 76


ของฉันคงไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่ำกำแฟของที่นี่เป็นกำแฟที่ดีและมี คุณภำพจนกว่ำคุณจะได้ขนึ้ มำสัมผัสกับรสชำติและบรรยำกำศด้วยตัวของ คุณเอง

77


78


หวานๆขมๆ

79


เมล็ดกาแฟสีแดงสุกถูกปลิดออกจากก้านช่อของแต่ละต้นทีละเมล็ด อย่างระมัดระวัง สองมือทำ�งานอย่างหนักท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาว เย็น เมล็ดกาแฟถูกเก็บอย่างต่อเนื่องทันทีที่สุก เพราะหากปล่อยไว้เมล็ด เหล่านั้นก็จะร่วงหล่นสู่พื้นดิน ฉันมักบอกใครต่อใครว่าชอบดื่มกาแฟ ฉันดื่มกาแฟเกือบทุกวัน ใน ตอนเช้าบ้าง กลางวันบ้าง ยิง่ กาแฟชงสดด้วยแล้ว ฉันยิง่ โปรดปราน ฉันดืม่ กาแฟโดยที่ไม่รู้จักหน้าตาของต้นกาแฟเสียด้วยซ้ำ� ฉันไม่เคยรู้เลยว่าก่อน ที่จะกลายมาเป็นกาแฟแก้วโปรดนั้นมันต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง จน กระทั่งวันนี้ที่ฉันได้เดินทางไปยังบ้านเกิดของกาแฟที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ ของประเทศไทย การพูดคุยกับชาวบ้านที่ปลูกกาแฟทำ�ให้ได้รู้ที่มาที่ไปของต้นกาแฟ มากขึ้น ชาวบ้านเล่าว่าพวกเขาตัดสินใจเลือกปลูกกาแฟโดยที่ไม่รู้จักและ คุน้ เคยกับมันมาก่อน เพียงแต่เชือ่ ว่ากาแฟจะช่วยทำ�ให้มรี ายได้เพิม่ มากขึน้ ตามคำ�บอกเล่าของโครงการหลวงผูท้ เี่ ป็นคนนำ�กาแฟเข้ามาให้ชาวบ้านได้ รู้จัก อุปสรรคมีขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นปลูก กาแฟบางส่วนต้องล้มตายไปเพราะ ชาวบ้านขาดความรู้ในการปลูก บางส่วนท้อถอยเพราะราคารับซื้อไม่ แน่นอน พวกเขาต้องแบกรับหลายความเสีย่ ง ทัง้ ต้นทุนทีต่ อ้ งมีเพิม่ ขึน้ จาก การซื้อกล้าพันธุ์มาปลูก ปุ๋ยก็ต้องใส่เพื่อบำ�รุงต้นกาแฟ แตกต่างจากการ ปลูกเมี่ยงอาชีพเดิมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดเลย พวกเขาบอกว่ากาแฟนั้นถือเป็นรายได้หลักแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะ เลีย้ งปากท้องของทุกคนในครอบครัวได้ ต้องหารายได้เสริมจากการทำ�งาน อื่น ไม่ว่าจะเป็นงานรับจ้างก่อสร้าง หรืองานฝีมือทั่วไป รวมไปถึงงานด้าน เกษตรที่พวกเขาทำ�อยู่เดิม แต่ตลอดทั้งปีก็ยังคงต้องดูแลต้นกาแฟอยู่ ทั้ง 80


ปลูกเพิ่ม ใส่ปุ๋ย พรวนดิน ตัดแต่งกิ่ง ทุกอย่ำงล้วนเป็นต้นทุน ที่พวกเขำ ต้องจ่ำย ทั้งต้นทุนที่จ่ำยเป็นเงินและต้นทุนแรงงำน ตื่นเช้ำและเข้ำนอนดึกคือชีวิตประจ�ำวันของพวกเขำเมื่อฤดูกำลเก็บ กำแฟเวียนมำถึง แม้จะเหน็ดเหนื่อยจำกกำรเก็บเมล็ดกำแฟมำทั้งวันแล้ว พวกเขำก็ยังคงต้องท�ำกำรปอกเปลือกเมล็ด ล้ำง และแช่หมักเมล็ดกำแฟ เพื่อล้ำงเมือกออก เป็นแบบนี้ทุกวันตั้งแต่เช้ำจรดเย็น พวกเขำท�ำหน้ำทีเ่ กษตรกรผูป้ ลูกกำแฟอย่ำงเต็มทีโ่ ดยทีบ่ ำงคนไม่เคย ได้ลมิ้ รสชำติกำแฟของตัวเองเลย และไม่รวู้ ำ่ รำคำกำแฟแต่ละแก้วทีถ่ กู น�ำ ไปชงขำยนัน้ มีรำคำสูง พวกเขำหวังเพียงปลูกให้ได้ผลผลิตทีม่ คี ณ ุ ภำพเพือ่ แลกกับรำคำรับซื้อที่สูง ในขณะที่กำแฟสำมำรถท�ำรำยได้เข้ำประเทศจำกกำรส่งออกในปี 2551 เป็นมูลค่ำกว่ำ 150.9 ล้ำนบำทและกำรที่คอกำแฟยอมจ่ำยเงินใน รำคำที่สูงเพื่อได้ดื่มกำแฟอำรำบิก้ำรสชำติดีสักแก้ว ก็คงเป็นขณะเดียวกัน กับที่คนปลูกยังคงท�ำงำนหนักเพื่อให้คนดื่มมีกำแฟดื่มกันตลอดทั้งปี แม้โลกจะหมุนเปลี่ยนไวเพียงใด เมนูกำแฟถูกสร้ำงสรรค์ขึ้นอย่ำง หลำกหลำย แต่สำ� หรับคนปลูกกำแฟแล้ว ทุกวันยังคงด�ำเนินต่อไปเช่นเดิม ยังอยูก่ บั ต้นกำแฟทีพ่ วกเขำรักและเอำใจใส่ แม้จะเหนือ่ ยแต่กถ็ อื เป็นอำชีพ ที่สุจริตและช่วยท�ำให้พวกเขำมีรำยได้ ชีวิตควำมเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ท้ำยที่สุด แล้วหำกหมดยุคสมัยของคนปลูกกำแฟรุน่ เก่ำ รุน่ ลูกหลำนของพวกเขำเอง ก็ยงั ไม่รบั ปำกว่ำจะสำนต่อควำมตัง้ ใจเดิมนี ้ หรือในอนำคตกำแฟอำจกลำย เป็นธุรกิจเต็มตัว ชำวบ้ำนเจ้ำของไร่กำแฟอำจกลำยมำเป็นลูกจ้ำงที่ท�ำให้ กำแฟให้กับนำยทุน

81


82


83


จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2557 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร



เรื่องราวความทุกข์และความสุข ของคนปลูกผู้อยู่เบื้องหลัง เมล็ดกาแฟ

86


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.