DG09-March-9

Page 1

๐๙

District Conference 2009-10 อบอุ่น อบอวล มวลมิตร ใน DC.


คณะอนุกรรมการจัดทำ� สารผู้ว่าการภาค ที่ปรึกษา อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูรณ์ (เชียงใหม่) PP.Dr.Boriboon Phornphibul Mobile : 08-9556-4641 บรรณาธิการ

อน.วาณิช โยธาวุธ (แม่สาย)

PP. Vanit Yothavut Mobile : 08-1530-4457 E-mail : vanit@loxinfo.co.th ผู้ช่วยบรรณาธิการ อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Naruchol Arpornrat Mobile: 08-1603-8865 E-mail:naruchol.arpornrat@gmail.com ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผชภ. เอกวุฒิ กาวิละ (หางดง) AG.Ekavuth Kawila Mobile: 08-1881-3300 E-mail: ekavuth@gmail.com กองบรรณาธิการ ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง (เชียงใหม่เหนือ) DGE.Chamnan Chanruang Mobile : 08-1595-7999 E-mail : chamnanxyz@hotmail.com อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Dr.Busabong Jamroendararasame Moblie 08-1883-7144 E-mail : busabong@daraweb.net อน.จินดา จรรญาศักดิ์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP. Chinda Chanyasak Mobile : 08-1883-7103 E-mail : chinda@vorrawut.com อน. จันทนี เทียนวิจิตร (ล้านนาเชียงใหม่) PP. Chuntanee Tienvichit Mobile : 08-1783-9977 E-mail : chuntanee@hotmail.com อน.สุรินทร์ ชัยวีระไทย (นเรศวร) PP.Surin Chaiveerathai Mobile: 08-9858-8009 E-mail : prachamati_s@hotmail.com อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ (แม่สาย) PP.Apichai Keelawut Mobile: 08-1681-7988 E-mail: akeelawat@yahoo.com อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ (เชียงใหม่เหนือ) PP.Suparie Chatkunyarat Mobile: 08-1881-4828 E-mail : csuparie@yahoo.com รทร.สุนิพิฐ คงเมือง (ล้านนาเชียงใหม่) Rtn.Sunipit Kongmuang Mobile: 08-1796-8447 E-mail : sunipit@gmail.com

March 2010 World Rotaract Month เดือนแห่งโรตาแรคท์โลก


“การประชุมใหญ่ภาค 3360 โรตารีสากล”

2 1

*** อ่านเบื้องหลังการก่อตั้งสโมสรฯน้องใหม่ล่าสุด ของภาค ๓๓๖๐ โรตารีสากล สโมสรโรตารี ชาลวัน จ.พิจิตร ได้ที่ คอลัมน์ “ใจถึงใจ” มีนาคม ๒๕๕๓


RI.President’s Letter สารประธานโรตารีสากล จอห์น เคนนี่-มีค.10 มิตรโรแทเรียนที่รักทั้งหลาย (แปลโดย – Translation by PP Pichet Ruchirat, RC Ratchaburi – March 2, 2010) pichet3330@gmail.com)

RI.President John Kenny Year 2009-10

My fellow Rotarians, Preparations for our convention in Montréal, Québec, Canada, 20-23 June, are well underway, and we are fast approaching the 31 March deadline for lower registration fees. I can think of many reasons to attend a Rotary International Convention – interesting speakers, exciting entertainment, and a chance to visit a fascinating city, to name a few. Yet as compelling as these incentives may be, they are not why I have attended almost every convention since my first one in 1984. The main reason I look forward to this annual event is the opportunity it affords to reunite with my Rotary friends and meet so many new ones.

การเตรียมการจัดประชุมใหญ่ทเี่ มืองมอง ทรีออล ควีเบค แคนาดา ระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายนนี้ กำ�ลังดำ�เนินไปด้วยดีและใกล้จะถึงวัน ที่ 31 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการลดราคาสำ�หรับ ค่าลงทะเบียนพิเศษ ผมจึงมองหาเหตุผลต่างๆ ใน การไปร่วมประชุมใหญ่โรตารีสากล ซึ่งมีผู้บรรยาย ที่น่าสนใจ การแสดงภาคบันเทิงที่ตื่นตาตื่นใจ และ โอกาสในการไปเยีย่ มเมืองใหญ่ทีน ่ า่ สนใจนี้ ซึง่ เป็น เพี ย งส่ ว นน้ อ ยที่ มิ ใ ช่ เ พี ย งดู ว่ า เป็ น สิ่ ง เชิ ญ ชวน เท่านั้น สำ�หรับเหตุผลที่ผมไปร่วมประชุมใหญ่ เกือบทุกครั้ง ตั้งแต่ครั้งแรกของผมในปี 1984 เหตุผลหลักที่ผมเฝ้ารอการประชุมประจำ�ปีนี้ คือ โอกาสที่จะได้กลับไปพบกับมิตรเก่าชาวโรแทเรียน ของผม และยังได้เพื่อนใหม่ๆ อีกมากมาย In many ways, our convention is Rotary at its best: Rotarians coming together to enjoy congenial fellowship while discussing the more serious business of service. We will, no doubt, be inspired by our speakers, including Greg Mortenson, author of the best-selling book Three Cups of Tea; Jo Luck, CEO of Heifer International; and country music singer Dolly Parton, who will be talking about her other great interests, children’s literacy and the Imagination Library. And we will learn about many facets of Rotary and our Rotary Foundation in the various workshops planned. In between these events, we can build new Rotary friendships over coffee in the House of Friendship or dinner at one of Montréal’s celebrated restaurants.

ในระหว่างการประชุมเหล่านี้ ท่านสามารถสร้าง มิตรสัมพันธ์ใหม่ใน โรตารี ระหว่างพักดื่มกาแฟ ในศาลามิตรภาพ House of Friendship หรือใน ระหว่างการรับประทานค่ำ�ในภัตตาคารที่มีชื่อเสียง แห่งใดแห่งหนึ่งในเมืองมองทรีออล

It has been said many times that you cannot truly appreciate the internationality of Rotary until you attend a convention. In Montréal this June, we expect to welcome Rotarians from more than 100 countries. We may be speaking dozens of different languages, but I know that all of us will be eager to communicate as best we can – with words, smiles, and laughter – effectively bridging any cultural or linguistic differences.

มีคำ�กล่าวไว้บ่อยครั้งว่า ท่านจะมิได้ ชื่นชมในความเป็นสากลของโรตารี อย่างแท้จริง ได้จนกว่าท่านจะได้ไปเข้าประชุมใหญ่สักครั้งหนึ่ง ดังนั้นเดือนมิถุนายนที่เมืองมองทรีออล นี้เราจึง คาดหวั ง ว่ า จะได้ ต้ อ นรั บ มิ ต รโรแทเรี ย นจาก ประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ประเทศ เราอาจพูด ภาษาต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่ผมทราบดีว่า เราทุก คนปรารถนาที่จะสื่อสารกันให้ดีที่สุด ด้วยคำ�พูด ด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ซึ่งสามารถเชื่อม ภาษาและวั ฒ นธรรมเข้ า ด้ ว ยกั น ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ The convention is a time to celebrate the achievements of the past year, but it is also a time to plan for the future. In Rotary, we do not look at all that we have accomplished and say, “That’s enough.” No, we use our successes as a springboard to do more. I encourage you to join June and me in Montréal and to use this opportunity to identify new service partners, get innovative project ideas, and renew your enthusiasm for Rotary. Much work remains to be done – both in this Rotary year and the next. The Future of Rotary Is in Your Hands, and a Rotary convention is the ideal place to come together and formulate your plans.

การประชุมใหญ่โรตารีสากล คือเวลาที่ เราเฉลิมฉลองความสำ�เร็จของปีที่ผ่านมา และยัง เป็นเวลาสำ�หรับวางแผนเพือ่ อนาคต สำ�หรับโรตารี เราจะไม่เพียงแต่มองดูสิ่งที่เราได้กระทำ�สำ�เร็จแล้ว และพูดว่า “เราทำ�แค่นี้พอแล้ว” มิใช่เช่นนั้น แต่ เราจะใช้ ค วามสำ� เร็ จ ของเราเป็น กระดานสปริ ง กระโดดให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น ผมขอเชิญชวนทุกท่าน ไปร่วมประชุมกับผมและคุณจูน ทีเ่ มืองมองทรีออล และใช้โอกาสนี้เพื่อทำ�ความรู้จักหุ้นส่วนใหม่ๆ ใน การให้บริการบำ�เพ็ญประโยชน์ เพื่อให้ได้แนวคิด ในการทำ�โครงการที่สร้างสรรนวัตกรรมใหม่ และ เพื่อสานต่อความมุ่งมั่นในโรตารีของท่าน เรายังมี งานทีต่ อ้ งกระทำ�อีกมาก ทัง้ ในปีโรตารีนีแ้ ละปีหน้า อนาคตของโรตารีอยู่ในมือท่านแล้ว การประชุม ใหญ่โรตารีสากลนี้ คือ สถานที่ดีที่สุดที่เราจะมา พบกันและกำ�หนดรูปแบบแผนงานร่วมกัน John Kenny – จอห์น เคนนี่ ประธานโรตารีสากล

การประชุมใหญ่ของเรา คือสิ่งที่ดีที่สุด ของโรตารีในหลายๆ ด้าน กล่าวคือ การที่มิตร โรแทเรียนเดินทางมาพบกันเพื่อจรรโลงมิตรภาพ ในสิ่งที่ถูกใจร่วมกัน พร้อมกับได้เจรจาติดต่องาน บำ�เพ็ญประโยชน์ด้วยกันอย่างจริงจัง เราจะได้รับ ฟังสิ่งที่สร้างแรงจูงใจจากผู้บรรยายพิเศษ เช่น เก รก มอร์เตนสัน ผู้เขียนหนังสือขายดีที่สุด Three Cups of Tea โจ ลัค ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทไฮ เฟอร์อินเตอร์แนชชั่นแนล และ ดอลลี่ พาร์ตัน นักร้องเพลงคันทรีชื่อดัง จะมาบรรยายสิ่งที่เธอ กำ�ลังให้ความสนใจนอกเหนือไปจากการร้องเพลง ของเธอ คือ การเรียนรู้หนังสือของเด็กและห้อง สมุดในฝันของเธอ เราสามารถที่จะเลือกเรียนรู้อีก President, Rotary International หลายๆ เรื่องของ โรตารีสากลและมูลนิธิโรตารี ใน (Translation by PP Pichet Ruchirat, RC Ratchaburi ห้องประชุมปฏิบัติการต่างๆ ที่ได้จัดเตรียมไว้ และ – March 2, 2010)

มีนาคม ๒๕๕๓

3 2


District Governor’s Letter

2 3

มวลมิตรโรแทเรียนโรตารีแอนน์ และท่านสุภาพ บุรุษโรตารี ที่รักทุกท่าน มีนาคม คือ เดือนแห่งการเรียนรู้หนังสือ ( Literacy month) ซึ่งเป็นนโยบายหลัก 1 ใน 3 ด้านของท่าน ประธานโรตารีสากล การส่งเสริมให้คนไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดได้ มีโอกาสเรียนรู้และสามารถอ่านเขียนหนังสือได้ จะเป็น แนวทางเบื้ อ งต้ น ที่ ทุ ก ๆคนจะสามารถพั ฒ นาตั ว เราได้ สามารถช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองให้ อ ยู่ ร อดโดยไม่ เ ป็ น ภาระกั บ ครอบครัวหรือสังคม คณะ GSE จากภาค 5730 Texas USA. ได้มา เยี่ยมเยือนเราตั้งแต่วันที่ 2 – 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ ไปเยี่ยมเยียนแทบทุกจังหวัดในภาคของเรา และพกพาความ ประทับใจในมิตรภาพและการดูแลของสมาชิกโรแทเรียนใน แต่ละที่ไปอย่างจุใจ ไม่มีอะไรจะมาเทียบได้ ดิฉันต้องกราบ ขอบคุณมวลมิตรโรแทเรียนทุกๆท่านที่กรุณา Take Care พวกเขาเป็ น อย่ า งดี เ ลิ ศ นั้ น หมายถึ ง การสร้ า งสะพาน สัมพันธไมตรีเชื่อมภาค 3360 และภาค 5730 ไว้แล้ว ในวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาภาคเราได้มี โอกาสต้อนรับคณะนักเรียน Peace & Conflict Study อีก โปรแกรมหนึ่ ง ที่ โรตารี ส ากลสนั บ สนุ น ให้ ม าเรี ย นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวม 33 ท่าน จาก 11 ประเทศ พวกเขานั้นมาทำ�วิจัยและเยี่ยมเยียนสถานที่ต่างๆในภาค เหนือ 1 อาทิตย์ เราได้ร่วมรับรองเขาที่ “เบญจรงค์ขันโตก” ได้พดู คุยแลกเปลีย่ นความรูก้ น ั และอบอวลด้วยมิตรภาพของ ทั้งสองฝ่ายที่แนบแน่นเช่นกัน และเหมื อ นๆกั น เช่ น ทุ ก ปี ใ นวั น เสาร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 เราได้มีการมอบทุนการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น (Iechi) จำ�นวน 58 ทุน ทุนละ 2,000 บาท แก่นักเรียนที่ ขาดแคลนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำ�พูนที่โรงแรมดิเอม เพรส เชียงใหม่ และในวันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 สโมสรโรตารีสารภี ร่วมกับสโมสรโรตารีสันป่าตอง, จอมทอง และคู่มิตรสโมสร Westport USA. มอบคอมพิวเตอร์,หนังสื อ,โต๊ะ,เก้าอี้ และพัดลมให้โรงเรียน 11 โรงเรียนในจังหวัด เชียงใหม่ เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน และเนื่องในวันเกิดของโรตารีสากล วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 สโมสรโรตารีเชียงใหม่ได้จัดงานประกวด ภาพวาดในหัวข้อ “สันติภาพโลก” “World Peace” แบ่งการ แข่งขันเป็นนักเรียน 2 ระดับอายุ ใช้เทคนิคสีเทียนและสีน้ำ� รวมส่งผลงานกว่า 80 ภาพ เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนได้ เข้าใจและยึดมั่นในสันติภาพในโลกของเรา ในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 สโมสรเชียงใหม่ เหนือร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ และ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จัดประกวดสะกดคำ�ศัพท์ภาษา อังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำ�นวน 51 โรงเรียนในเขตเทศบาลฯ มอบรางวัลเป็นทุนการศึกษา นับ ว่าเดือนนีภ้ าคของเราได้มกี จิ กรรมสนับสนุนการเรียนรูอ้ ย่าง มากมายและในหลายรูปแบบ การประชุมใหญ่ประจำ�ปี ( District Conference ) ของภาคได้จัดขึ้นแล้วในวันที่ 13-14 มีนาคม ที่ผ่านมา นับ เป็นงานประชุมที่ประกาศศักยภาพ ของภาค 3360 โรตารี สากลของเรา ผลงานมากมายที่มวลมิตรโรแทเรียนทุกจุดใน ภาคร่วมสร้างสรรค์แก่สังคมและชุมชน เป็นที่น่าชมเชยยิ่ง สุนทรพจน์พิเศษจากท่านผู้แทนประธานโรตารีสากล PDG. Kou- Wen Hsu ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เราได้ตระหนักใน อุดมการณ์ Service above Self รวมถึงบรรยากาศมิตรภาพ ใน House of Friendship ที่เป็นจุดดึงให้พวกเราได้มา สังสรรค์กัน ในนามของภาค 3360 โรตารีสากล ดิฉันขอก ราบขอบคุณท่านประธานจัดงาน อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ไว้ เป็นอย่างสูง รวมทั้งคณะกรรมการจาก 16 สโมสรในจังหวัด เชียงใหม่ทีไ่ ด้ทมุ เทแรงใจ แรงกายในการจัดงาน โดยสามารถ ชักชวนให้มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน และเป็ น ที่ น่ า เศร้ าใจที่ เ ดื อ นนี้ เ ราได้ สู ญ เสี ย

บุคคลที่มีคุณูปการของภาคไปถึง 2 ท่าน คือท่าน อผภ. นพ.เล็ ก นานา (ผวภ.ปี 2524-2525)จากสโมสรโรตารี สวรรคโลก และอน.ดร.อำ�นวย กาวีวงศ์ จากสโมสรโรตารี เชียงใหม่ตะวันตก ขอให้ท่านทั้ง 2 ไปสู่ที่สุขสงบ ผลงานและ กิจกรรมดีๆของท่านทั้ง 2 จะอยู่ในความทรงจำ�ของพวกเรา ตลอดไป อนาคตโรตารีอยู่ในมือท่าน (แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ) ผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2552-2553

March is a Literacy month. One out of three main policies of the current Rotary International President is to promote a person of every age to be able to read and write. It is such the foremost plan that should improve one’s life and enable one to survive with his or her own support. The Group Study Exchange from District 5730 Texas, US, had officially visited our district from February 2nd- 28th, 2010. Everybody in the group seemed to very well appreciate our hospitality and accommodation. On the behalf of the district, I am very thankful that everybody excellently welcomed and took care of them, which will ultimately foster the relationship between ours and their district. On February 10th, 2010, we had opportunity to welcome Peace & Conflict Study, a group of 33 students, from 11 countries, supported by Rotary International to enroll at Chulalongkorn University. They went to do a research as well as a travel at several places in Thailand’s Northern district for a week. Our district welcomed the group at Benjarong Kantok for a social as well as a cultural exchange. On February 20, 2010, we provided 58 ThaiJapanese scholarship supports (Iechi), each of which was worth ฿2,000, to the students who were in needs and lacked of opportunities in Chiang Mai and Lumpoon at De Empress Hotel, Chiang Mai. On February 21, 2010, the Rotary Club of Sarapee, the Rotary Club of San Patong, as well as the Rotary Club of Westport donated desktop computers, books, tables, chairs, and electric fans to eleven schools in the Chiang Mai area to use in the schools’ library project. On February 23rd, 2010, the Rotary Club of Chiang Mai organized a drawing contest under the theme “World Peace” to celebrate the birth of the Rotary International Organization. The contestants were separated into two age’s group, drawing a picture under the theme with crayon and water color. 80 pictures had been sent in. The objective of the event was to promote the world peace concept among the youths. On February 26th, 2010, the Rotary Club of Chiang Mai North, together with Chiang Mai Municipal, Payap University, and the Watt Pa Pang Municipal School organized an English pronunciation contest of 51 Grade four students from schools within the municipal area. The reward was an education scholarship. We can say that we have organized various educational activities in the month. The District Conference was organized in the passing 13th and 14th of March 2010. The success of the conference has brought great reputation to our district 3360. Various projects and events that 3360 Rotarians implemented so far have brought significant wellness to our society, communities, as well as nearby communities. The special speech by PDG.Kou-Wen Hsu, the representative of the Rotary International President, did inspire us to delegate our priority to “Service above Self.” House of Friendship was the social event bringing us altogether after implementing all the greatness. In the name of district 3360 Rotary International, I would appreciate the Past President Naruchon Arpornrat as well as the district committee from sixteen Rotary clubs in Chiang Mai that had put forth a significant effort in organizing such conference. There were more than four hundred participants in the conference. Lastly, the sadness is dwelling in this month as we have lost two persons who contributed significantly to the district; including the Past District Governor Dr. Lek Nana, the 1981 – 1982 District Governor, from the Rotary Club of Savarnkalok and the Past President Dr.Umnuay Kakiwongse from the Rotary Club of Chiang Mai West. We hope that the memory of them and their contributions will be forever in our mind. The Future of Rotary Is In Your Hands

ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓

มีนาคม ๒๕๕๓


CONTENT

สารผู้ว่าการภาค ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ฉบับที่ ๙ เดือนมีนาค

สารบรรณ

2. สารประธานโรตารีสากล 3. สารผู้ว่าการภาคฯ 5. บอกอ บอกกล่าว 6-7 ใจถึงใจ 8 ปฎิทินภาค 9. สารเลขาฯภาค 10-11 สถิติการเข้าประชุม 12-13 DGN’s Corner 14-15 คุยกันที่ขอบเวที

มีนาคม ๒๕๕๓

YIPPIE YIPPIE YEH ! YE (Youth Exc เยาวชนแลกเปลี่ยน หลากหลายสัญช ทางมาร่วมประชุมใหญ่ ประจำ�ปีของภ 16 สารสนธิ 17-19 เสียงนกเสียงกา 20-23 Behind the Scene 24-25 At a Glance 26-29 บ้านเลขที่3360R.I. 30-33 1 ใน 100 34-35 Youth Corner 36-37 เอกพาแอ่ว 38 Z00m inside 3360

5 4


Editor’s Note

“ผลพวงแห่งการเสียสละ”

คม ๒๕๕๓

change Inbound) ชาติ ทั่วทั้งภาค 3360 เดิน ภาค อย่างพร้อมเพรียงกัน 39 เล่าขานตำ�นาน 40-43 รวมภาพกิจกรรม 44 มุม สบาย สบาย 45 DG.Activities ปกหลัง แทนคำ�นับพัน

4 5

นับแต่ครั้งโบราณกาลมาแล้ว เมื่อผู้คนยังอยู่ในโลก ของการกสิกรรม วัฒนธรรมแห่งการเฉลิมฉลอง หลังฤดูการ เก็บเกี่ยวมีอยู่ในแทบทุกสังคม ตั้งแต่พิธีกรรมบวงสรวง การเต้นระบำ�รำ�ฟ้อน เสียง เพลง เครื่องแต่งกาย ฯลฯ เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากวัฒนธรรม แห่งการเฉลิมฉลอง โรตารี เป็นองค์กรหนึ่งที่อยู่ในวัฏจักร ของการเฉลิม ฉลองเช่นเดียวกัน ทุกๆ ปี พวกเราเหล่ามวลมิตร จะมาร่วม แสดงความยินดีให้แก่ เพื่อนๆ พี่ น้อง หลังจากรดน้ำ�พรวนดิน ด้วยการเสียสละ ทั้งแรงกาย แรงใจ รวมไปถึงปัจจัยต่างๆ ในทุกรูปแบบตลอดทั้งปี ผลพวง แห่งการเสียสละนี้ก็ได้ผลิดอกออกผล เป็นความสำ�เร็จที่มี การนำ�เสนอผลงานในงานประชุมใหญ่ของภาค 3360 ของเรา นี่เอง บรรยากาศแห่ ง การเฉลิ ม ฉลอง ที่ อ บอวลไปด้ ว ย มิตรภาพจากผู้คนทั่วสารทิศ ที่ต่างก็มารวมกันเพื่อชื่นชม และมามีส่วนร่วมในความสำ�เร็จ ของเราเองและของผู้อื่น ความสนุกสนาน ความเบิกบาน มีอยู่ถ้วนทั่ว ตลอด เวลาสองวัน ผลงานต่างๆ ถูกนำ�เสนอทั้งบนเวที และบอร์ด ต่างๆ โดยรอบสถานที่จัดงาน พวกเราเหล่าโรแทเรี่ยน ต่างเป็นแรงบันดาลใจให้กัน และกัน เพียงแค่รอยยิ้ม การทักทาย เม่ือได้มีโอกาสเจอะเจอ เสียงปรบมือเพื่อเป็นเกียรติ ทำ�ให้ความอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อย หายเป็นปลิดทิ้ง พวกเราต้องการเพียงแค่นี้ใช่หรือไม่ ? พวกเราเหล่าโรแทเรี่ยน ต้องการมากกว่านี้ ไม่ว่าจะ คาดหวังในสิ่งที่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ เช่น การกำ�จัดโปลิโอให้ หมดไปจากโลกใบนี้ หรือ ให้ทุกคนได้มีโอกาสที่จะได้มีปัจจัย สี่ และอื่นๆ อีกมากมายเหลือคณานับ และวันนั้นจะมาถึงรึเปล่า ? กำ�ลังใจจากผู้คนที่อยู่รายรอบตัว เป็นสิ่งสำ�คัญที่ช่วย ให้เราทุกคนมีแรงบันดาลใจที่จะเป็นผู้เสียสละ และบริการผู้ อื่นอย่างต่อเนื่อง และตลอดไป บอกอ ผู้มีนัดล่วงหน้าเพื่อร่วมการเฉลิมฉลองในปี ต่อๆไป

อน.วาณิช โยธาวุธ สโมสรโรตารีแม่สาย

มีนาคม ๒๕๕๓


ใจถึงใจ

อน.เสริมพงษ์ วงศ์สมานจิต สร.ศรีสองแคว

สายฝันที่ฉันสาว (เบื้องหลังการก่อตั้งสโมสรใหม่ “ชาลวัน”) เบื้องหลังที่แสนสั้นแต่ตามฝันที่ยาวไกล ในการประชุม District Assembly ประจำ�ปีของ ภาค 3360 โรตารีสากล เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2552 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ผมได้รับหนังสือทำ�เนียบ ภาค 1 เล่ม ก็เป็นปกติของคนที่ชอบอ่านหนังสือ จึงอ่านไปเรื่อย ๆ แต่มาสะดุดใจตรงหน้าที่ 31 ซึ่ง เป็นแผนที่จังหวัดต่างๆ ที่มีสโมสรโรตารีตั้งอยู่ ใน บรรดาจั ง หวั ด ที่ ถู ก กั้ น ขอบเขตให้ เ ป็ น ของภาค 3360 นั้น ทำ�ไมจังหวัดพิจิตร ไม่มีรายชื่อสโมสร โรตารี ผมคิดว่าการพิมพ์นา่ จะตกหล่น แต่เมือ่ ถาม หลายท่ า นได้ รั บ คำ � ตอบตรงกั น ว่ า เคยมี แ ต่ Terminate ไปแล้ว ผมเก็บเรื่องนี้มาคิดและถามตัว เองว่าเราน่าจะช่วยทำ�ให้มสี โมสรใหม่เกิดขึน ้ ได้ไหม คำ�ตอบก็คือไม่ได้ แต่ถ้าผมพร้อมทั้งมวลมิตรใน สโมสรโรตารีศรีสองแควทั้งหมดทุกคนร่วมมือกัน น่ า จะทำ�ได้ เพราะสมาชิ ก ของสโมสรเป็ น ผู้ ที่ มี คุณภาพเกือบทุกคน เราเป็นสโมสรเล็กๆมาก จน ผู้ว่าการภาค หลายๆท่าน อาจมองไม่เห็นถ้าท่าน ไม่นำ�แว่นขยายมาเจาะจงจ้องมองดู เพราะเรามี สมาชิกต่ำ�กว่า 20 คนมาประมาณ 7 ปีแล้ว คน ของเราจึงอยู่อย่างสงบสุขมีกิจกรรม เล็กๆน้อยๆ ก็ทำ�ไปตามหน้าที่ มิตรสโมสรที่ดีที่สุดที่เราระลึกไว้ เสมอคือ สโมสรโรตารีวงั จันทน์ ทีช่ ว่ ยแบ่งกิจกรรม ให้เราทำ�ทุกปี ก็พอได้รับอานิสงส์ในตรงนั้นเสมอ มา จากความคิ ด ที่ เ ชื่ อ ว่ า เราทุ ก คนใน สโมสรศรีสองแควจะช่วยกันทำ�ได้ ผมขับรถขึ้นมา หาท่าน นยก.ชรินทร์ อรรถอรเอก ที่เชียงใหม่ ผู้ ที่ผมชื่นชมยกย่องว่าท่านคือต้นตำ�หรับแห่งโรตารี และเมื่อเอ่ยถึงท่านผมก็จะบอกกับใครต่อใครว่า ท่านผู้นี้คือ Encyclopedia แห่งโรตารี ผมได้รับคำ� แนะนำ�มากมายในขั้นตอนของการดำ�เนินการก่อ ตั้งสโมสรใหม่ดังตั้งใจ เพราะท่านมีประสบการณ์ เรื่องก่อตั้งนี้มามากว่า 10 สโมสร นอกจากนี้ยังได้ จัดหาหนังสือและ เอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการ ดำ�เนินการให้ผมมาจนครบถ้วน วิธีการต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นการเข้าไปพบบุคคลทีเ่ ราคิดว่าควรจะต้อง พบ ต้องทำ�อย่างไร จนเปลี่ยนผมจากความหวั่น ไหวกังวลว่าจะทำ�ไม่ได้ให้เป็นความเชื่อมั่นอย่าง อหังการว่า “เราทำ�ได้” ผมเก็บความเชื่อมั่นที่เต็ม ล้นปรี่มาบอกกล่าวเหล่าเพื่อนในสโมสรโรตารีศรี สองแคว เพื่อจะทำ�ฝันของเราให้เป็นจริง วันที่ 18 สิงหาคม 2553 ท่าน ผวภ. แวว ดาว ลิ้มเล็งเลิศ ท่านเจาะจงเลือกเยี่ยมสโมสรโรตา รีศรีสองแคว ก่อนใครในจังหวัดพิษณุโลก ท่านคง มีแว่นขยายส่องมองลงมา จึงมองเห็นเราสโมสร เล็กๆ ทำ�ให้พวกเราดีใจมาก ในแผนยุทธศาสตร์ ของสโมสรทีเ่ รานำ�เสนอท่านวันนัน ้ มีขอ้ หนึง่ ทีเ่ รา ระบุว่า “สโมสรโรตารีศรีสองแควจะเป็นแกนนำ�ใน การก่อตั้งสโมสรโรตารีในจังหวัดพิจิตรให้สำ�เร็จ” ในวั น นั้ น เรานำ � เสนอแผนการ (ที่ ไ ม่ เ คยมี ประสบการณ์) และขอรับอาสาท่านเพื่อจะดำ�เนิน การให้จังหวัดพิจิตรมีสโมสรโรตารีใหม่ให้ได้ ท่าน

มีนาคม ๒๕๕๓

ผู้ว่าการภาคฯจึงมอบหมายให้เราทำ�งานตามที่ขอ เวลาผ่านไป 2 เดือน จนก้าวเข้าสู่เดือน ตุลาคม 2552 เราได้เตรียมแผนการในการทำ�งาน ไว้แล้วอย่างเชื่อมั่น ผมและเพื่อนร่วมสโมสรฯได้ ระดมความคิดที่จะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่จะนำ�มา เป็นแกนนำ�ให้ได้ก่อน แต่เมื่อลงมือทำ�ไปก็เหมือน ทะลายภูเขาที่มีแร่เพื่อหาอัญมณี เราทำ�ด้วยใจที่ มุ่งมั่น เรารู้ว่าพวกเราไม่ได้เก่งกว่าใคร แต่เรา มั่นใจว่าเราอดทนกว่าใคร เราทำ�งานนี้ที่ไม่ได้ค่า จ้างรางวัลอะไรแต่ทำ�เสมือนหนึ่งว่าเป็นงานที่ได้ รับค่าจ้างยังชีพที่จะเลี้ยงตนเองและครอบครัวไป ได้ตลอดทั้งชีวิต เราทำ�อย่างทุ่มเทและมุ่งมั่น ผม และ นย.มนัส จุติพรประสิทธิ์ ได้ขับรถจากจังหวัด พิษณุโลกไปสู่จังหวัดพิจิตร สัปดาห์ละ 2 วัน เป็น อย่างน้อย เพื่อพบปะบุคคลต่าง ๆ หลายๆท่าน ที่ เรารูจ้ กั แต่อยากจะบอกทุกท่านว่า กว่าทีเ่ ราจะพูด ให้คนเห็นด้วยกับเราสัก 1 คน เราต้องคุยกับคนที่ ปฏิเสธเราแล้ว 9 คน เพื่อนในสโมสรฯทุกคนล้วน ให้ค�ำ แนะนำ�ให้ความคิดชีช้ อ่ งทาง และแนะนำ�กลุม่ บุ ค คลให้ โดยเฉพาะโรแทเรี ย นของเราที่ เ ป็ น อาจารย์สอนอยู่ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ทั้ง 3 ท่าน ได้ค้นรายชื่อผู้ปกครองของ นักเรียนที่อยู่ในจังหวัดพิจิตรมาส่งให้เป็นจำ�นวน มาก ทั้งได้ช่วยติดต่อประสานงานช่วยให้ผมและ ท่าน นย.มนัส ทำ�งานได้ประสบความสำ�เร็จมาก ขึ้น การเฟ้นหาสมาชิกเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่การเฟ้นหาผู้ที่จะมาเป็นนายกก่อตั้งสโมสรใหม่ ที่ไม่เคยเป็นโรตารีมาก่อนยิ่งยากมากว่าเป็นร้อย เท่า เราได้รับคำ�แนะนำ�จาก ท่าน ผอ. วิศาล รอด กำ�เหนิด ผู้อำ�นวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านปาก ทาง ให้ไปพบท่านบัณฑูรย์ ตั้งประดิษฐ์ ท่านมี ตำ � แหน่ ง ทางสั ง คมในจ.พิ จิ ต ร มากมาย เป็ น ประธานคณะกรรมการโรงเรี ย นเทศบาล เป็ น ประธานลูกเสือชาวบ้าน เป็นนายกสมาคมผูค้ า้ ทอง และเพชร เป็นรองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง และโดยธุรกิจส่วนตัวท่านเป็นเจ้าของห้างทองตั้ง เซียมเฮง หนึ่งในจังหวัด เราเริ่มเห็นแสงดาวที่ พราวพรายในคืนที่มืดมิด อาจเป็นเพราะเรามีผู้ ว่าการภาคที่มีชื่อ แววดาว เราจึงได้รับบารมีหนุน ให้ได้พบแสงสว่างนั้น ผมและ นย.มนัส ไปรอพบท่านที่ สำ�นักงานเทศบาลเมืองพิจิตร ท่านก็ได้ออกตัวว่า เกรงจะไม่มีเวลาทำ�ให้ แต่เมื่อเราบอกย้ำ�ว่า ท่าน เป็นเสมือนแสงสว่าง เพียงเมื่อคนลืมตาก็ได้เห็น บารมีของท่านแล้ว ขอความกรุณาท่านได้โปรดมา ร่วมมือกันช่วยให้องค์กร บำ�เพ็ญประโยชน์ ที่มีชื่อ เสียงอันดับหนึ่งของโลกนามว่า โรตารี ได้มีโอกาส ได้ทำ�ประโยชน์ให้ชุมชน ในจังหวัดพิจิตร ตั้งแต่นี้ เป็นต้นไป ที่สุดท่านก็รับปากที่จะช่วยดำ�เนินการ ให้สำ�เร็จ วันนั้นผมและ นย.มนัส คุยกันอย่างมี ความสุขมาก ดูเหมือนว่าเราโชคดีได้พบอัญมณีที่

6 7


7 6

เรามุ่งหวังแล้ว เป็นอัญมณีที่อยู่ในตระกูลเพชรอีกด้วย ท่านว่าที่ นายกก่อตัง้ ทีเ่ ราคาดหวัง ท่านขอหนังสือทีจ่ ะได้ศกึ ษาหน้าทีข่ อง ผู้นำ�ที่ท่านต้องปฏิบัติ ทำ�ให้เรายิ่งมั่นใจมากขึ้น ขณะนั้นเรามี สมาชิกที่รับปากเราแล้ว 10 คน แต่เราเชื่อมั่นว่า เราทำ�ได้ ้ท่าน ชรินทร์ อรรถอรเอก ได้รับทราบและเรามั่นใจว่า วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ตามที่เรามุ่งหวังจะมีสโมสรใหม่เกิดขึ้นแน่นอน ผม ขอหนังสือคู่มือนายกจาก อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ เลขานุการ ภาค และก็ได้รับความกรุณาจากท่านผู้ว่าการภาคฯ ส่งมาให้ 3 ชุด ซึ่งผมก็ได้นำ�ไปมอบให้กับท่าน “ว่าที่นายกก่อตั้ง” ตาม ประสงค์ที่ท่านอยากได้ การนัดประชุมครั้งแรก ตื่นเต้นยิ่งกว่านัดพบสาวเมื่อ รักแรกเริม่ วัยรุน ่ อีกนะครับ เพราะแต่ละคนทีเ่ ราเชิญชวนไว้ ล้วน ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างสถานะ และต่างไม่รู้จักกัน ความกังวลใจ ว่าเขาจะมาได้ไหม ถ้าไม่มาหรือมาน้อยจะทำ�อย่างไร ที่ปรึกษา ยามที่กังวลนี้ก็คือ ท่านชรินทร์ อรรถอรเอก เท่านั้น ท่านบอก จนเราสิ้นกังวลว่า แม้มาเพียงคนเดียวก็เป็นสัญญาณว่าเราจะ ต้องสำ�เร็จ ฟังแล้วไม่ท้อใจเลยนะครับ ผมเข้าไปปรึกษากับท่าน ว่าที่นายกก่อตั้งฯ และกำ�หนดประชุมนัดแรกวันที่ 6 กพ. 2553 ขอใช้ห้องประชุมชั่วคราวของโรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง ถึง วันประชุมมีผู้ที่เราเชื้อเชิญมาประชุมเพียง 6 ท่าน ก็ใจฝ่อไป พอควรเพราะกลัวท่านว่าทีน ่ ยก. จะปฏิเสธและไม่รบั เป็นแกนนำ� ให้ แต่ว่าที่นยก.บัณฑูรย์ ตั้งประดิษฐ์ พูดให้เรามีกำ�ลังใจอย่าง มาก ท่านบอกว่า “เป็นการเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่แล้ว พระพุทธเจ้า ประกาศพระพุทธศาสนาทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรก ก็มีบุคคล 6 ท่าน คือ พระองค์ท่านกับปัญจวัคคีย์ทั้งห้า พระพุทธศาสนา แผ่ไปทั่วโลกมีคนนับถือเป็นร้อย ๆ ล้านคนในวันนี้จากเริ่มจุด ต้นที่ 6 ท่านนั้น เราก็เริ่มเช่นนั้น จึงน่าจะเป็นนิมิตรหมายที่จะ ยิ่งใหญ่ได้” ผมไม่อาจบอกได้ว่า “ใครMotivate ใคร” การประชุมครั้งที่ 2 ผมได้เชิญท่านชรินทร์ อรรถอร เอก มาเป็นองค์ปาฐกให้กับสมาชิกด้วย โดยกำ�หนดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 การประชุมในครั้งนี้เตรียมการมาเต็มที่ครับ เพราะคาดหวังว่าจะมีคนมาประมาณ 30 คนขึ้นไป แต่ก็ได้มา เพียงครึ่งเดียว ด้วยสารพัดเหตุผลของคนที่ไม่ได้มา แต่ที่น่า ประทับใจก็คือ ว่าที่นยก.บัณทูรย์ ตั้งประดิษฐ์ มาตรงเวลาทุก ครั้งที่นัดหมาย ท่านบอกเราว่าวันนี้ท่านมีงานสังคมทั้งงานบวช การแต่งงานศพงานที่ถูกเชิญมาทั้งหมด 12 งาน แต่ท่านสละมา ร่วมประชุมกับเรา 2 ชั่วโมงเต็ม สิ่งที่ท่านบอกแล้วเราต้องอึ้งก็ คือ พรุ่งนี้เช้าท่านจะบวชลูกชายของท่านที่วัดท่าหลวง จะบวช แบบเงียบ ๆ ไม่ออกการ์ดเชิญใคร แต่วน ั นีท้ า่ นยังไม่ได้จดั เตรียม ผ้าไตรให้ลูกเลย เพราะมีภารกิจที่ท่านต้องไปมากมาย ท่านชริน ทร์ได้ย้ำ�กับผมว่า “อย่างไรต้องให้คนนี้เป็นนายกก่อตั้งให้ได้ ผม ยังไม่เคยพบคนที่ท�ำ งานให้สังคมขนาดนี้เลย” การประชุมวันนั้น ก็ผ่านไปด้วยดี ได้สมาชิกจากผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กนักเรียนโรง เรียนจุฬาภรณฯ เพิ่มมาอีก 5 คน รวมแล้วได้ 24 คน เกินกว่า ที่ ตั้ งไว้ แต่ ก็ ดี ม ากเพราะในความจริ ง ก่ อ นที่ จ ะถึ ง วั น ฉลอง สารตราตั้งที่ได้รับจาก RI ผมกับ นย.มนัส ตั้งใจว่าจะพยายาม ให้ได้ถึง 35 คนเพราะยังเชื่อมั่นในโรแทเรียนทั้ง 3 คนของเราที่ เป็นอาจารย์สอนอยู่โรงเรียนจะช่วยเราได้มาก เพราะรายชื่อผู้ ปกครองเด็กนักเรียนที่เรายังไม่มีโอกาสได้ไปพบเพื่อเชื้อเชิญยัง มีอีกมาก ท่านชรินทร์ บอกว่าถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของรายชื่อที่มี อยูก่ ก็ อ่ ตัง้ สโมสรใหม่ในสมัยหน้าได้อกี หนึง่ สโมสรอย่างสบาย นัน ่ คือเรามั่นใจว่า กว่าจะถึงวันฉลองสารตราตั้งเราคงทำ�ได้ 35 คน ดังตั้งใจ การก่อตั้งสโมสรโรตารีชาลวัน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เป็นวันทีพ ่ วกเราโรแทเรียนทุกคนระลึกถึงวันนีว้ า่ เป็นวันแรกก่อ ตั้งโรตารีเมื่อปี 2448 ผ่านกาลเวลามาได้ 105 ปี เราได้ตั้งใจมา แต่ต้นว่าจะพยายามก่อตั้งสโมสรนี้ให้ได้ในวันนี้ ว่าที่ นยก.บัณ

ทูรย์ ตั้งประดิษฐ์ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เทศบาลจัดห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองพิจิตรให้ใช้เป็นสถานที่ก่อตั้งสโมสร และมีเรื่องดี ๆ ในวันดี ๆ เกิดขึ้นอีก ท่านเล่าให้ฟังว่าได้เข้าไปขออนุญาตนายก เทศมนตรีเทศบาลเมืองพิจิตรเพื่อขอใช้ห้องประชุมนี้เป็นที่ก่อตั้ง สโมสรโรตารี ท่านนายกฯได้กล่าวแสดงความยินดีด้วย เนื่องจาก เพื่อนบ้านของท่านที่เชียงใหม่อยู่ในโรตารี ได้เคยขอให้ท่านช่วย ก่อตั้งสโมสรโรตารีในพิจิตร แต่ท่านยังไม่ทราบจะดำ�เนินการ อย่างไร ท่านจึงยินดีที่ ว่าที่นยก.บัณทูรย์ ตั้งประดิษฐ์ ซึ่งเป็น รองนายกเทศมนตรีเป็นผู้ก่อตั้งสโมสรได้ และยินดีอนุญาตให้ใช้ ห้องประชุมของสภาเทศบาล ก็ต้องถือว่าฤกษ์ดี สิ่งดีๆ ก็เสริม ส่ง การก่อตัง้ สโมสรได้เริม่ ขึน ้ ตามขบวนการทีไ่ ด้ก�ำ หนดไว้ อย่าง เป็นขัน ้ ตอน ทุกเรือ่ งราวทีป่ ฏิบตั ผิ มได้เรียนรูม้ าจากท่านต้นแบบ แห่งโรตารีของเรา ท่านชรินทร์ อรรถอรเอก ผมในฐานะ ผู้แทน พิเศษผู้ว่าการภาค เป็นพิธีกรและดำ�เนินรายการด้วยตนเอง ท่านนายกมนัส จุติพรประสิทธิ์ สโมสรโรตารีศรีสองแคว สโมสร พี่เลี้ยงเคาะฆ้อง กล่าวเปิดประชุม ร้องเพลงชาติไทย ตาม แนวทางของโรตารี ท่าน ผชภ.สุพจน์ จินันทุยา สโมสรโรตารี พิษณุโลก เป็นผู้กล่าวถึงวันสำ�คัญของโรตารีวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และเชิญแขกผู้มีเกียรติดื่มเพื่อโรตารีสากล ขั้นตอนสำ�คัญผมได้ ประกาศต่อที่ประชุมแห่งนี้ว่า “ในนามของโรตารีสากล ขอ ประกาศอย่างเป็นทางการว่า สโมสรโรตารีชาลวัน ได้ก่อตั้งเป็น สโมสรชั่วคราวถูกต้อง ตามข้อบังคับของโรตารีสากลทุกประการ ผมจึงขอประกาศต่อที่ประชุมอันทรงเกียรติแห่งนี้” ซึ่งเวลาที่ กล่าวจบเป็นการเสร็จพิธีเมื่อเวลา 14.49 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 นั่นคือสโมสรโรตารีแห่งใหม่ของจังหวัดพิจิตร ได้เกิดขึ้นแล้ว ณ.เวลานั้น พวกเราเชื่อมั่นว่า สโมสรสรโรตารี ชาลวัน จะเติบโตต่อไปตราบเท่าอายุขัยของโรตารีสากล สโมสรโรตารีชาลวัน ได้กอ่ ตัง้ สำ�เร็จแล้ว แต่หน้าทีข่ อง สโมสรโรตารีศรีสองแคว ในฐานะสโมสรพี่เลี้ยงยังไม่จบ พวกเรา จะไปดูแลสโมสรใหม่นี้ ตลอดเวลาในทุกกิจกรรม จนกว่าจะมี ความมัน ่ คงดำ�รงอยูไ่ ด้ นัน ่ ก็คงหมดหน้าทีท่ ีพ ่ วกเรารับอาสาท่าน ผู้ว่าการภาคฯ และแม้ว่าท่านผู้ว่าการภาค แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ จะหมดวาระตามหน้าที่ แต่วาระหน้าที่ของสโมสรโรตารีศรีสอง แควคือ สโมสรโรตารีชาลวันต้องตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง.

ผลการแข่งขันโรตารีกรีฑาอนุบาล แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 17 มกราคม 2553 1. วิ่ง 30 เมตร ชาย อายุ 6 ปี - ด.ช.สยมภู เหลืองกระโทก ลำ�ดับที่ 3 เหรียญทองแดง 2. วิ่ง 40 เมตร ชาย อายุ 6 ปี - ด.ช.เดชา วิจิตร ลำ�ดับที่ 2 เหรียญเงิน 3. ขี่จักรยาน 30 เมตร ชาย อายุ 6 ปี - ด.ช.คเชนทร์ ชมสา ลำ�ดับที่ 3 เหรียญทองแดง 4. ยืนกระโดดไกล ชาย อายุ 6 ปี - ด.ช.วีระยุทธ กมลรัตน์ ลำ�ดับที่ 4 เหรียญทองแดง 5. ขว้างไกล ชาย อายุ 6 ปี - ด.ช.รวิสุต อินทร์ศวร ลำ�ดับที่ 5 เหรียญทองแดง ครูผู้ควบคุมและผู้ฝึกซ้อม 1. นางวาสนา สีหะอำ�ไพ 2. นางสุขุมาล ภู่ห้อย นักเรียนจากโรงเรียนบ้านเนินสะอาด จ.พิษณุโลก โดยการประสานงานจาก ผชภ.รุ่งรานี แสงศิริ และสโมสรโรตารี ในจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับการสนับสนุนของท่านผู้ว่าการภาค แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552 - 2553

มีนาคม ๒๕๕๓


ปฏิทินภาค

เบื้องหลังการทำ�งาน ในโครงการประกวดภาพวาด วันสันติภาพ

รทร. สันติ เหล่าพาณิชย์กุล สโมสรโรตารีเชียงใหม่

เบื้องหลังการจัดกิจกรรมนี้ ผมขอเขียนเพื่อ เน้นไปที่ประโยชน์ต่อมวลมิตรโรทาเรียนที่สนใจจัดทำ� กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ได้เข้าใจว่าโอกาสในการจัดทำ� กิจกรรมนั้นเกิดขึ้นได้เสมอๆ ผมใช้คำ�ว่า’กิจกรรม’ เพราะมันดูเริ่มต้นง่าย กว่า ‘โครงการ’ ท่านเห็นด้วยไหมครับ? เมื่อมันดูง่าย มันก็ จะง่ายขึ้นครับ กิจกรรมประกวดภาพวาดวันแห่งความเข้าใจ อันดีระหว่างกันและสันติภาพโลกนี้ ในช่วงเริ่มต้น รทร. กัปตันจอห์น แบลร์ ผู้ริเริ่มกิจกรรม ท่านได้ร่างแผน งานมาให้เสร็จสรรพ ท่านแบ่งระดับการตัดสิน กำ�หนด ระยะเวลาขึ้นมา แล้วนำ�ส่งถึงท่านนายกสโมสร รศ.โรม จิรานุกรม เมื่อหลายท่านได้ยินได้เห็นเข้าก็เริ่มให้ความ เห็น อน.พัลลภ ลาศุขะ ก็ได้เสนอว่าควรรวมเป็นหนึ่ง ในการประชาสัมพันธ์วันโรตารีสากล 23 กุมภาพันธ์ด้วย เลย จากนั้นเราจึงเห็นควรจัดตั้งคณะกรรมการจัดงาน ขึ้น กิจกรรมที่ดีเริ่มจากการได้ฟังเสียงจากสมาชิก คณะกรรมการแบ่ ง เป็ น 2 ชุ ด คื อ คณะ กรรมการทำ�งาน และคณะกรรมการตัดสินภาพวาด คณะกรรมการทำ�งานก็เชิญโรทาเรียนรอบตัวประมาณ 8 ท่าน รับผิดชอบตามความถนัด โดยมี รทร.กัปตัน จอห์น แบลร์ เป็นประธานโครงการ และผมเป็นรอง ประธาน หรือผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการทั่วไปหรือ GM นี้ คือศัพท์ที่เรามักเรียกกันเองอย่างไม่เป็นทางการ บาง ครั้ ง การทำ � งานของ GM ถึ ง ลู ก ถึ ง คนกว่ า ประธาน โครงการ ซึ่งในโรตารีเรานั้นประธานมักเป็นผู้อาวุโสก็ดี ผู้ริเริ่มโครงการบ้างก็ดี แต่บางทีประธานโครงการอาจมี ข้อจำ�กัดมากกว่า GM GM จะทำ�ตัวเป็นศูนย์กลางของ การทำ�งาน GM จะขยัน ทุ่มเท ลงรายละเอียดเพื่อผลัก ดันให้กจิ กรรมนัน ้ สำ�เร็จให้จงได้ ในโครงการทีใ่ หญ่หน่อย เราอาจเรียก GM ว่า ประธานคณะกรรมการอำ�นวยการ ครับ ส่วนประธานโครงการจะทำ�หน้าที่อำ�นวยความ สะดวก หรือภาษานักบริหารชอบใช้คำ�ภาษาอังกฤษว่า facilitator เพื่ อ กำ � กั บ นโยบายและสนั บ สนุ น คณะ กรรมการ โครงการเล็กโครงการใหญ่ สโมสรเล็ก สโมสร ใหญ่ ลองใช้แนวทางนี้ดู ผมว่าการทำ�งานจะไหลลื่นขึ้น กว่าเดิมทีเดียว เราเริ่ ม จากสมาชิ ก ที่ อ าสารทำ � หน้ า ที่ ไ ป ประชาสัมพันธ์ตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้เข้าร่วมส่งผล งาน เราได้ประชาสัมพันธ์ไปล่วงหน้ากว่า 2 เดือน ปรากฏว่าเมื่อเหลือ 3 วันสุดท้ายที่จะปิดรับผลงาน มี ผลงานส่งมาเพียง 8 ชิน ้ GM เองก็ตอ้ งตัดสินใจแก้ปญ ั หา เฉพาะหน้า โดยการไปติดต่อ รร.สอนศิลปะเด็กเพื่อขอ ความร่ ว มมื อให้ ส่ ง ผลงานอย่ า งเร่ ง ด่ ว น จะเห็ น ว่ า ประธานโครงการเองก็อาจจะไม่สะดวกเท่า GM ที่จะทำ� แบบนี้ ในวันสุดท้ายของการปิดรับสมัคร ปรากฏว่าเรา ได้ภาพมาทั้งสิ้น 80 ภาพ จากเกือบ 20 โรงเรียน จึง นับได้ว่ารทร.จุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ผู้รับผิดชอบหน้าที่นี้ ทำ�งานได้ประสบความสำ�เร็จอย่างสูง และคณะกรรมการ ท่าน อื่นๆก็ได้ลุ้น เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ในวันตัดสิน เราได้รบั เกียรติจากผศ.เธียรชาย อักษรดิษฐ์ จากคณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านศิลปะเข้าเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ตัดสิน ส่วนท่านผู้อาวุโส ได้แก่ อผภ.ดร.ศุภวัตร ภูวกุล และอน.สมหวั ง คงประยู ร ก็ ไ ด้ ใ ห้ เ กี ย รติ ร่ ว มเป็ น กรรมการตัดสินเช่นกัน เราให้คณะกรรมการตัดสินได้

มีนาคม ๒๕๕๓

ตัดสินภาพล่วงหน้า โดยใช้วันเวลาก่อนที่เราจะประชุม ประจำ�สัปดาห์เพื่อความสะดวกและประหยัดงบประมาณ จากนั้นจึงได้เชิญคณะนักเรียน ผู้ปกครอง และครู เข้าร่วมการประกาศผลการตัดสิน ในวันที่ 23 กุ ม ภาพั น ธ์ ซึ่ ง เป็ น วั นโรตารี ส ากล และร่ ว มเปิ ด นิทรรศการภาพวาดสันติภาพโลกต่อหน้าสื่อมวลชนทั้ง หลาย ในการประชุมเตรียมตัวเพื่อจัดงานนั้นทรัพยากร ต่างๆจากมวลมิตรโรตารีได้ถูกเสนอเพื่อให้เลือกสรร อย่างมากมาย อาทิเช่น รทร.จารุวัตร เตชะวุฒิ รับปาก ว่าจะไปเชิญท่านนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ มาเป็นประธานในพิธี เพราะท่านทั้งสองเป็นเพื่อนกัน สมัยเรียน, ไนท์บาซาร์ พาวิลเลี่ยน ซึ่งเป็นสถานที่จัด นิทรรศการ ทางผู้จัดการศูนย์ฯก็ได้สนับสนุนให้โรตารี ใช้พื้นที่ฟรี เพราะมองเห็นว่ากิจกรรมของโรตารีเป็น ประโยชน์ต่อสังคม อันจะเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของศูนย์ฯ ด้วย, เงินรางวัลต่างๆนั้น อน.สุรศักดิ์ พฤกษิกานนท์ ประธานมูลนิธิภาค ขอควักเงินเป็นการส่วนตัวสมทบ เข้าไปให้อีก, ส่วนบอร์ดนิทรรศการและอุปกรณ์การ แสดงต่างๆ ก็ได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจรับจัดงาน แสดงของสมาชิก รทร.วิวัฒน์ กิตติพรพานิช และรทร. วิสิษฐ์ นักระนาด สิ่งเหล่านี้เป็นต้นจะเห็นว่าน้ำ�ใจเกิด ขึ้นมาอย่างไม่ขาดสาย ที่ขาดไม่ได้คือภาพกิจกรรม บำ�เพ็ญประโยชน์ที่สโมสรฯได้ทำ�มาตลอด 50 ปีอีก ที่ได้ นำ�มาแสดงเพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการเข้าใจว่าโรตารีคือ อะไร ภาพเหล่านั้นเกิดจากการจัดเก็บของที่ได้เคยใช้ แล้วให้ดีและนำ�กลับมาใช้ใหม่ อ่านมาถึงตรงนี้ โรทาเรียนหลายท่านคงคิด ว่าแม้จะประหยัดกันสุดๆ แต่คงมีคา่ ใช้จา่ ยเป็นหลักหมืน ่ บาทแน่ เพราะต้องรวมถึงรางวัลเงินสดสำ�หรับผู้ชนะ การประกวดทั้งสิ้นกว่า 12 รางวัล ใบประกาศนียบัตร ค่าของที่ระลึก ค่าของว่าง ค่าห้องประชุม ค่าตกแต่ง นิทรรศการและงานเปิดตัว ค่าสื่อมวลชน นับไปนับมา ผมขอเรียนว่าสโมสรฯได้ใช้ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไม่ถึง 5,000 บาท อันเป็นค่าใช้จ่ายที่ท่านประธานโครงการและGM มองว่าไม่เกินกำ�ลังที่จะสโมสรจะสนับสนุนได้ ถามว่า ทำ�ได้อย่างไร ผมกลับต้องถามว่าทรัพยากรที่สำ�คัญที่สุด ของท่านคืออะไร คำ�ตอบของผมคือจิตอาสาของสมาชิก ไม่ใช่กระเป๋าเงินของสมาชิก กำ�ลังสนับสนุนของสมาชิก ในสโมสรฯ สามารถทำ�ได้เท่าไหร่และอย่างไร ทำ�ได้เท่า ไหร่ก็เท่านั้นแหล่ะครับ คงต้องไม่เกินตัว เกินตัวแล้วไม่ สนุก คงต้องมองความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกเป็นหลัก ภาษาบ้านๆคือทำ�ให้มน ั สนุก เมือ่ สนุกก็ดงึ ดูด เมือ่ ดึงดูด ก็จะมีแหล่งทรัพยากรมาให้เลือกสรร ผมเชื่อว่าโรตารี ของเรา ชุมชนของเรา เรื่องแบบนี้มีอยู่เสมอๆ มันมีมา เองจริงๆ โรตารีมีมา 105 ปีก็ยังมีวิถีทางแบบนี้ เหมือน เดิม สโมสรโรตารีเชียงใหม่ได้ลองทำ�ดูแล้ว เริ่ม จากง่ายๆก่อน แนวทางไหนก็ได้ครับตามความสนใจของ สโมสร ตามแผนงานที่ โ รตารี ส ากลได้ ป ระกาศไว้ ว่ า ต้ อ งการให้ มู ล นิ ธิ โ รตารี ไ ด้ รั บ รางวั ลโนเบล สาขา สันติภาพ ภายในปี 2020 หากสโมสรใดสนใจในกิจกรรม นี้ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในภารกิจดังกล่าว จะมาเริ่มนับ หนึ่งไปพร้อมๆกันก็ได้นะครับ แลกเปลี่ยนความคิดกับ ผมได้ที่ โทร 081 611 8779 email santi@rotary3360.org facebook www.facebook.com/rotary3360

9 8


District’s Secretary

สวัสดีค่ะ มิตรแทเรียนที่รักทุกท่าน การประชุมใหญ่ประจำ�ปีภาค 3360 โรตารีสากล ก็ประสบผลสำ�เร็จเป็น อย่างดี มีมิตรโรแทเรียนจากจากสโมสรต่างๆทั่วทั้งภาคเข้าร่วมประชุม เพื่อ รับฟังความรู้ และการแชร์ประสบการณ์ต่างๆจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิของ ภาค และรับฟังสุนทรพจน์จากท่าน PDG. KOU-WEN HSU ผู้แทนโรตารีสากล จากประเทศใต้หวัน นอกจากนี้ภาค 3360 โรตารีสากล ยังได้รับเกียรติจากท่าน ผู้ว่าการภาคทั้ง 3 ภาค คือ ท่าน ผวภ.เธียรไชย นิยม ภาค 3330 ผวภ.ศิริ เอี่ยมจำ�รูญลาภ และโรตารีแอนน์ จากภาค 3340 และ ผวภ.ชัยรัตน์ ประเสริฐ ล้ำ� ภาค 3350 ได้เข้าร่วมประชุมใหญ่กับเรา ในนามของภาค 3360 ขอกราบ ขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ มิตรโรแทเรียนคะ ท่านคงได้รับฟังการบรรยายสรุป รายรับ รายจ่าย ของภาค 3360 ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา จากประธานการเงินภาคแล้ว สรุป อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ ได้ว่า ยังมีอีก 2 สโมสรที่ยังไม่ได้ชำ�ระเงินค่าบำ�รุงภาค ดิฉันขอความกรุณาให้ สโมสรโรตารีช้างเผือก ท่านชำ�ระเงินค่าบำ�รุงภาคด้วยนะคะ ดิฉันต้องขอขอบคุณหลายสโมสรที่ได้ดำ�เนินการส่งเงินค่าบำ�รุงโรตารี สากลในรอบครึ่งปีหลังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านส่งสำ�เนามาให้ทางภาค ด้วยนะคะ สำ�หรับสโมสรโรตารีที่ได้ส่งเงินไปแล้ว และมีการรับสมาชิกเพิ่มขึ้น หลังจากที่ท่านได้ส่งเงินไปแล้ว เพื่อให้เป็นการเพิ่มสมาชิกภาพในปีของท่าน นายกสโมสรฯสามารถเข้าไปแก้ไข เพิ่มเติมสมาชิกใหม่ทางอินเตอร์เน็ทได้นะ คะ ส่วนสโมสรโรตารีที่ยังไม่ได้ส่งเงินค่าบำ�รุงโรตารีสากล ท่านสามสารถ เพิ่มชื่อและรายละเอียดของสมาชิกใหม่ได้ โดยใช้แบบฟอร์มสมาชิกใหม่ ( New Member Form )ที่แนบอยู่ด้านหลังแบบฟอร์ม SAR ถ้าท่านมีข้อสงสัยประการ ใด กรุณาสอบถามมาได้นะคะ ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 081-884-5679 หรือ ที่ siriluck24@hotmail.com หรือที่ ตู้ ป.ณ. 209 ไปรษณีย์สันป่าข่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

8 9

อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ เลขานุการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2552-2553

มีนาคม ๒๕๕๓


สถิติการเข้าประชุม ท่านนายกสโมสรโรตารีที่รักทุกท่าน เนื่องจากภาค 3360 โรตารีสากลของเราได้มีการประชุมใหญ่ประจำ�ปีครั้ง ที่ 18 ( District Coference ) เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา หลาย ท่านคงจะยุ่ง จึงลืมส่งคะแนนการประชุม ทำ�ให้สารผู้ว่าการภาคฉบับนี้มีคะแนน เฉลี่ยมากกว่าที่ผ่านมา แต่ก็มีสโมสรที่คงครองความเป็นหนึ่งในการส่งคะแนน การประชุมก่อนและคะแนนการประชุมมากอยู่เช่นเดิม ดังนี้ สโมสรโรตารีที่ส่งคะแนนมาเร็วเป็นอันดับที่ 1 คือ สโมสรโรตารีวังจันทน์ ได้รับวันที่ 25-2-2553 สโมสรโรตารีที่ส่งคะแนนมาเร็วเป็นอันดับที่ 2 คือ สโมสร รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนกุมภาพันธ์ ของสโมสรโรตารีภาค 3360 โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน % อันดับ หมายเหตุ 1 16274 Kamphaengphet กำ�แพงเพชร 16 78.43 *ค่าเฉลี่ย 2 25135 Chomtong Chiangmai จอมทอง 10 70 *ค่าเฉลี่ย 3 23182 Chamadhevi จามะเทวี 10 56 *ค่าเฉลี่ย 4 23201 Changpuak Chiang Mai ช้างเผือกเชียงใหม่ 21 72.60 5 16262 Chiang Mai เชียงใหม่ 57 62.06 6 60808 Chiangmai Doi Suthep ดอยสุเทพ 3 61 *ค่าเฉลี่ย 7 16264 Chiangmai West เชียงใหม่ตะวันตก 29 65.22 *ค่าเฉลี่ย 8 26048 Chiangmai East เชียงใหม่ตะวันออก 20 81 *ค่าเฉลี่ย 9 29283 Chiang Mai Thin Thai Ngam เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม 32 77.41 *ค่าเฉลี่ย 10 51245 Chiangmai South เชียงใหม่ใต้ 13 77.08 11 16263 Chiang Mai North เชียงใหม่เหนือ 29 83.93 7 12 50481 Chiangmai Phuping เชียงใหม่ภูพิงค์ 15 60 *ค่าเฉลี่ย 13 53170 Chiang-Mai Airport เชียงใหม่แอร์พอร์ต 12 75.22 *ค่าเฉลี่ย 14 16261 Chiangkam เชียงคำ� 22 94.56 3 เร็วที่2 26-2-53 15 16265 Chiang Rai เชียงราย 29 86.21 5 เร็วที่3 27-2-53 16 52387 Chiang Rai North เชียงรายเหนือ 21 77.38 17 28751 Chiang Saen เชียงแสน 13 81.25 10 เร็วที่3 27-2-53 18 57289 Doiprabaht ดอยพระบาท 19 59.09 19 16312 Tak ตาก 10 68.18 *ค่าเฉลี่ย 20 70997 Thoen Downtown เถินดาวน์ทาวน์ 18 60 *ค่าเฉลี่ย 21 50326 Thawangpha ท่าวังผา 10 80 *ค่าเฉลี่ย 22 23050 Nan น่าน 43 71.95 23 57910 Nakron Nan นครน่าน 10 57.50 24 64215 Nakorn Thoeng นครเทิง 17 50 25 65762 Nakron Hariphunchai นครหริภุญชัย 10 60 26 27553 Naresuan นเรศวร 33 67.41 *ค่าเฉลี่ย 27 22008 Pua ปัว 21 100 1 28 21495 Fang ฝาง 18 72 *ค่าเฉลี่ย 29 16291 Payao พะเยา 10 62.50 เร็วที่3 27-2-53 30 16292 Phan พาน 27 66.66 เร็วที่3 27-2-53

มีนาคม ๒๕๕๓

11 10


โรตารีเชียงคำ� ได้รับคะแนนวันที่ 26-2-2553 สโมสรโรตารีที่ส่งคะแนนมาเร็วเป็นอันดับที่ 3 คื อ สโมสรโรตารี เ ชี ย งราย สโมสรโรตารี เชียงแสน สโมสรโรตารีพาน สโมสรโรตารี พะเยา และสโมสรโรตารีสวรรคโลก ได้รับ คะแนนวันที่ 27-2-2553 ส่ ว นสโมสรโรตารี ที่ มี ค ะแนนการ ประชุมมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ สโมสรโรตารี

ศิลาอาสน์และสโมสรโรตารีปัว มีคะแนนการ ประชุมมากที่สุดคือ 100 % และคะแนนการ ประชุมเป็นอันดับ 2 ได้แก่ สโมสรอุตรดิตถ์ มี คะแนนการประชุม 96.30 ส่วนอันดับ 3 คือ สโมสรโรตารีเชีย งคำ � มีค ะแนนการประชุม 94.56 ดิฉันหวังว่าอีก 4 เดือนที่เหลือคงจะมีการ แข่งขันกันมากกว่านี้นะคะ ขอบคุณค่ะ

รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนกุมภาพันธ์ ของสโมสรโรตารี Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน 31 23541 Phrae แพร่ 23 32 24741 Phichai พิชัย 15 33 16297 Phisanulok พิษณุโลก 56 34 27084 Muang Chod เมืองฉอด 17 35 65185 Muang Thoen เมืองเถิน 23 36 16280 Maechan แม่จัน 32 37 29389 Maewang Lampang แม่วัง 23 38 24956 Mae Sod แม่สอด 22 39 16283 Mae Sariang แม่สะเรียง 14 40 16282 Maesai แม่สาย 27 41 16281 Mae Hongson แม่ฮ่องสอน 13 42 52390 Mae Fha Louang แม่ฟ้าหลวง 9 43 24886 Lab Lae ลับแล 10 44 50294 Lanna ล้านนา 25 45 16277 Lampang ลำ�ปาง 29 46 16278 Lampoon ลำ�พูน 12 47 50650 Wangchan วังจันทน์ 25 48 51392 Wiangkosai เวียงโกศัย 21 49 31711 Wiangsa เวียงสา 12 50 52394 Sri Song Kwai ศรีสองแคว 17 51 25165 Sila-Asana ศิลาอาสน์ 28 52 16307 Sawankaloke สวรรคโลก 26 53 25680 Sawankhalok North สวรรคโลกเหนือ 22 54 22010 Song สอง 14 55 27741 Sanpatong สันป่าตอง 14 56 30612 Sarapee สารภี 12 57 24965 Sukhothai สุโขทัย 23 58 30057 Hang Dong หางดง 10 59 16317 Uttaradit อุตรดิตถ์ 26 60 74261 Vientiane เวียงจันทน์ 10

10 11

ภาค 3360 % 73.91 70 87.95 74.79 76 64.52 64.52 72.72 64.77 86.11 74.40 83 66 62.40 74.20 55.33 51.52 76.42 77.08 82.33 100 58.65 82 76.78 64.28 75.25 75.25 60 96.30 68

โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 อันดับ หมายเหตุ *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย 4 *ค่าเฉลี่ย เร็วที่2 1-2-53 6

7 1 9

2

*ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย เร็วที่1 25-2-53

เร็วที่3 27-2-53

*ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย *ค่าเฉลี่ย

มีนาคม ๒๕๕๓


DGN’s Corner สมาชิกสามัญ สมาชิกกิตติมศักดิ์ และ สมาชิกสามัญอาวุโส

ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

มวลมิตรโรแทเรียนหลายท่านยัง สงสัยในประเภทของสมาชิกภาพว่า ตกลง แล้วปัจจุบน ั นีส้ มาชิกภาพมีกีป่ ระเภทกันแน่ เพราะได้ยินคำ�ว่าสมาชิกสามัญบ้าง สมาชิก กิตติมศักดิ์บ้าง สมาชิกสามัญอาวุโสบ้าง ผม จึงขอนำ�ข้อมูลทีถ่ กู ต้องเกีย่ วกับประเภทของ สมาชิกภาพ มาเสนอ ดังนี้ อันที่จริงแล้วสมาชิกภาพมีเพียง ๒ ประเภทเท่านั้น คือ สมาชิกสามัญ(Active Member) และ สมาชิกกิตติมศักดิ์(Honorary Member) สมาชิกสามัญ(Active Member) คือ ผูท้ ีไ่ ด้รบั เลือกเข้าเป็นสมาชิกภายใต้ประเภท อาชีพทางธุรกิจหรือวิชาชีพอย่างหนึ่ง โดย ต้องทำ�ตามข้อกำ�หนด หน้าทีร่ บั ผิดชอบและ มีสิทธิของการเป็นสมาชิกตามที่ระบุเอาไว้ ในธรรมนูญและข้อบังคับของโรตารีสากล สมาชิ ก สามั ญ อาจมี ตำ � แหน่ งใน สโมสรและทำ �งานให้โรตารีสากลในระดับ ภาคและระดับนานาชาติ โดยจะต้องทำ�ตาม ข้อกำ�หนดของการเข้าประชุม ชำ�ระค่าบำ�รุง และ นำ�สมาชิกใหม่เข้ามาสู่โรตารีด้วย สมาชิ ก กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ (Honorary Member) เป็นสมาชิกที่ถือว่าเป็นเกียรติยศ สู ง สุ ด ที่ สโมสรโรตารี ม อบให้ แ ก่ บุ ค คลใด บุคคลหนึ่งในกรณีพิเศษจริงๆ สมาชิกภาพ ลักษณะนี้ถือเป็นการยกย่องบุคคลที่มีผล งานดีเด่นด้านการอุทิศตนให้แก่โรตารีและ สังคม จะไม่มีการมอบกันอย่างพร่ำ�เพรื่อ โดยคณะกรรมการบริหารของสโมสรจะเป็น ผู้กำ�หนดวาระ การเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ (เดิมสมาชิกกิตติมศักดิ์จะมีวาระเพียง ๑ ปี เท่านั้น และต้องมีการต่อสมาชิกภาพใน แต่ ล ะปี ด้ ว ย) (Con. Of RC Article7 section6(a)-The term of such (Honorary) membership shall be determined by the board) สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่มีตำ�แหน่งใน การบริหารสโมสร และได้รับการยกเว้น ให้ ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำ�หนดในเรื่องการเข้า ประชุม(ไม่มีการนับคะแนนการประชุม) ไม่ ถือเป็นประเภทอาชีพ และไม่ต้องเสียค่า สมาชิก แต่มีสิทธิเข้าร่วมในทุกๆการประชุม สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสรหนึ่งไม่มีสิทธิ

มีนาคม ๒๕๕๓

หรือสิทธิพิเศษใดๆในสโมสรอื่น นอกจาก การไปเยี่ยมสโมสรอื่นได้โดยไม่ต้อ งไปใน ฐานะแขกของโรแทเรียน บุคคลอาจเป็น สมาชิ ก กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ ใ นสโมสรมากกว่ า หนึ่ง แห่งได้ สโมสรควรกำ�หนดไว้ในข้อบังคับว่า ผู้ ที่ มี สิ ท ธิ์ เ สนอบุ ค คลเป้ า หมายต้ อ งเป็ น สมาชิกสามัญที่สถานะ (ของความเป็นโรแท เรี ย น) ดี ใ นสโมสร ไม่ ส มควรที่ จ ะมอบ ตำ�แหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้แก่ศิษย์เก่า ของ มู ล นิ ธิ โ รตารี โ ดยอาศั ย เพี ย งสถานะ ความเป็ น ศิ ษ ย์ เ ก่ า หรื อ เพราะการเป็ น สมาชิ ก สามั ญ มายาวนานของโรแทเรี ย น เท่านั้น แต่ควรเป็นการมอบให้เพื่อเป็นการ ยกย่องบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการอุทิศ ตนให้แก่โรตารีและสังคมจริงๆ ผู้นำ�ของรัฐที่เด่นๆ นักสำ�รวจ นัก เขียน นักดนตรี นักบินอวกาศ และบุคคล ที่มีบทบาทต่อสาธารณะหลายท่าน เคยเป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสรโรตารีมาแล้ว อาทิ กษัตริย์กุสตาฟแห่งสวีเดน, พระเจ้า ยอร์จที่ ๖ แห่งอังกฤษ, กษัตริย์โบดวงแห่ง เบลเยียม, กษัตริฮัสซานที่ ๓ แห่งโมนาโค, เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล และนางมากาเร็ต แทตช์เชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ, อัลเบิร์ต ชไวเซอร์ นักต่อสู้เพื่อมนุษยชน, ชาร์ล ลินด์เบิร์ก นักประพันธ์เพลง,ฌอง ซิเบเลียส นักสำ�รวจ,ทอมัส เอดิสัน,วอล์ท ดิสนีย์, บ็อบ โฮป,และประธานาธิบดีของ สหรัฐอเมริกาอีกหลายท่าน ส่วนสมาชิกสามัญอาวุโส (Senior Active Member) นั้นเคยมีในอดีตแต่ได้ถูก ยกเลิกไปแล้วในการประชุมสภานิติบัญญัติ เมื่อปี ๒๐๐๑ ซึ่งสมาชิกสามัญอาวุโสนี้ เป็น สมาชิกภาพสำ�หรับสมาชิกผู้ซึ่งทำ�งานรับใช้ สโมสรมาเป็นเวลานาน ถือเป็นการให้เกียรติ แก่สมาชิกผู้นั้น ในอดีตโรแทเรียนจะได้เป็นสมาชิก สามัญอาวุโสโดยอัตโนมัติ เมื่อเป็นสมาชิก ของสโมสรโรตารีแห่งใดแห่งหนึ่งหรือหลาย แห่งเป็นเวลา ๑๕ ปี นอกจากนั้นโรแทเรียน จะมีสถานภาพเป็นสมาชิกสามัญอาวุโสได้ใน กรณีที่สมาชิกผู้นั้นเป็นโรแทเรียน ๑๐ ปีขึ้น ไปเมื่ออายุครบ ๖๐ ปี หรือเป็นสมาชิกมา

12 13


แล้ว ๕ ปีขึ้นไปเมื่ออายุครบ ๖๕ ปี รวมถึงโรแทเรียน ที่เป็น ผู้ว่าการภาคก็ได้รับสิทธิการเป็นสมาชิกสามัญ อาวุโสด้วย สิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสามัญอาวุโส ก็คือ โรแทเรียนผู้นั้น ไม่จำ�เป็นต้องมีที่พำ�นักอาศัยหรือ ที่ ทำ � งานอยู่ ใ นเขตพื้ น ที่ ข องสโมสรของเขา ถ้ า หาก สมาชิกสามัญอาวุโสผู้ใดย้ายไปยังอีกเมือง เขาอาจได้รับ เชิญเข้าเป็นสมาชิกโดยที่ไม่ว่าประเภทอาชีพนั้นยังว่าง อยู่หรือไม่ก็ตาม และเมื่อโรแทเรียนคนใดเป็นสมาชิก สามัญอาวุโสแล้วประเภทอาชีพของเขาหรือเธอจะว่าง ลงเพื่อเปิดโอกาสให้รับสมาชิกใหม่เข้ามาได้ มวลมิตรโรแทเรียนหลายท่านมักจะเข้าใจคลาด เคลื่อนว่าเป็นสิ่งเดียวกันระหว่างการเป็นสมาชิกสามัญ อาวุโส(ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว)กับการขาดประชุมที่ได้รับ การยกเว้นตามธรรมนูญมาตรฐานของสโมสรโรตารีที่ กำ�หนดว่าหากสมาชิกผู้นั้นมีอายุตนเองรวมกับอายุการ เป็นสมาชิกในหนึ่งหรือหลายสโมสรรวมกันได้ ๘๕ ปีขึ้น ไปและสมาชิ ก ผู้ นั้ นได้ แ จ้ ง เป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรต่ อ เลขานุการสโมสรว่าต้องการได้รับการยกเว้นการเข้า ประชุมและคณะกรรมการบริหารได้อนุมัติ และไม่ให้นำ� มารวมในจำ�นวนสมาชิกทีใ่ ช้ค�ำ นวณคะแนน เข้าประชุม ของสโมสร ไม่ว่าจะเป็นการขาดประชุมหรือเข้าประชุม (the aggregate of the member’s years of age and years of membership in one or more club is 85 years or more and the member has notified the club secretary in writing of the member’s desire to be excused from attendance and the board has approved. Any member whose absences are excused under this provisions shall not be included in the membership figure used to compute this club’s attendance nor shall such absences or attendances be used for that purpose.)

13 12

กอปรกับปัจจุบน ั นีไ้ ม่มคี วามจำ�เป็นทีจ่ ะต้องรอ ให้สมาชิกบางประเภทอาชีพ ไปเป็นสมาชิกสามัญอาวุโส เพื่อทำ�ให้ประเภทอาชีพนั้นว่างลงเช่นในอดีตที่แต่ละ ประเภทอาชีพมีได้เพียงหนึ่งคนเท่านั้น เพราะตามธร รมนู ญ ฯกำ � หนดให้ จำ � นวนสมาชิ ก สามั ญในประเภท เดียวกันในสโมสรแต่ละแห่งมีได้ถึง ๕ คน และสโมสรใด ที่มีจำ�นวนเกิน ๕๐ คนขึ้นไปก็เพิ่มได้อีกร้อยละสิบ (club shall not elect a person to active membership from classification if the club already has five or more members from that classification,unless the club has more than 50 members,in which case,the club may elect a person to active membership in a classification so long as it will not result in the classification making up more than 10 percent of the club’s active membership) กล่าวโดยสรุปก็คือปัจจุบันนี้ไม่มีสมาชิกสามัญ อาวุโส(Senior Active Member)แล้ว มีเพียงสมาชิก สามั ญ (Active Member) กั บ สมาชิ ก กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ (Honorary Member) เท่านั้น หากสมาชิกจะใช้สิทธิ์งด เว้นการนับคะแนนการประชุมต้องใช้สิทธิ์ของการที่อายุ ของตนเองรวมกับอายุของการเป็นโรตารีรวมกันได้เกิน ๘๕ ปีขึ้นไปเท่านั้นครับ และต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์ อักษรว่าจะใช้สิทธิ์นี้ มิใช่หายไปเฉยๆโดยอ้างว่าตนเอง คุณสมบัติครบตามที่ว่านะครับ ในโลกของโรตารี เ รามี ค วามเคลื่ อ นไหว เปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะปรับปรุงให้มีความก้าวหน้าอยู่ ตลอดเวลา เราจึงต้องติดตามความเคลื่อนไหวหรือ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ ถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจจะเป็นคนที่ล้าสมัย หรือตกยุคไป หรืออาจจะนำ�สโมสรไปในแนวทางที่มิได้ เป็นไปตามอุดมการณ์ของโรตารีที่มุ่งหวังไว้

มีนาคม ๒๕๕๓


คุยกันที่ขอบเวที พอล พี แฮริส

อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูลย์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่

ถ้า พอล แฮริส มีชีวิตอยู่จนถึงปี 2010 นี้ ท่าก็จะมีอายุ 142 ปี พอล ถึงแก่ กรรม เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1947 ด้วยวัย 79 ปี วันนั้น โรตารีมีอายุได้ 42 ปี โลกมี โรแทเรียนทั้งสิ้น 279,881 นายใน 5,828 สโมสรฯ. เมื่อนั่งทบทวน ถึงชีวิตของ พอล พี.แฮริส อย่างรวบรัด ก็จะเห็นชีวติ ของท่าน เป็นชีวิตที่ตื่นเต้นน่าดูตั้งแต่เกิดจนตาย เมือ่ มีอายุได้ 3 ปี พ่อของพอล ต้อง ประสพมรสุมทางการค้า จนต้องส่งลูกชาย คนนี้ไปอยู่กับบิดา ซึ่งเป็นปู่ของพอล ที่ เมื อ งวอลลิ ง ฟอร์ ต มณรั ฐ เวอร์ ม อนต์ สหรัฐอเมริกา พอใช้ชีวิตไปตามเรื่อง อย่าง เด็กที่ซุกซน แต่ก็ต้องอยู่ในระเบียบวินัยอัน เคร่งครัด ตามแบบของชาว นิวอิงแลนด์ ครั้นถึงวัยศึกษาเล่าเรียน คุณปู่ได้ ส่งพอลเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียน วอลลิง ฟอร์ต จนจบชั้นมัธยมศึกษา ต่อจากนั้นได้ เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ แต่ ถูกไล่ออก ด้วยข้อหาว่าไปกลั่นแกล้งเพื่อน นักเรียนสตรี ซึ่งพอลบอกว่าไม่เป็นความ จริง ต่อมาปู่ได้เสียชีวิตลง ไม่มีใครส่งเสียให้ พอลเรียนต่อ พอลจึงไปสมัครเข้าทำ�งานกับ บริษัท ค้าหินอ่อนแห่งหนึ่ง แล้วย้ายไป ทำ�งานกับสำ�นักงานทางกฎหมายที่มนรัฐ ไอโอวา ทำ�ให้พอลได้มีความรู้ทางกฎหมาย ติดตัว และเป็นแรงจูงใจให้เข้าศึกษาวิชา นิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยไอโอวา จนสำ�เร็จ เมื่ อ ปี 1891 ในวั น สำ � เร็ จ การศึ ก ษา มหาวิทยาลัยได้เชิญทนายมีชื่อ ผู้เป็นศิษย์ เก่าของมหาวิทยาลัย มาให้ปัจฉิมพากย์ ท่านผู้พากย์ได้เน้นถึงคุณค่าการใฝ่หาความ รู้เพิ่มเติมด้วย การออกไปหาประสบการณ์ ในที่ต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งสร้างแรงบันดาล ใจให้แก่พอลเป็นอันมาก พอลได้ใช้ชวี ติ หลัง การศึกษามหาวิทยาลัย ตามใจชอบ ไปเป็น ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์, รักจ้างเก็บผลไม้ใน สวน ,เป็นครูทีว่ ทิ ยาลัยธุรกิจ ,เป็นนักแสดง

มีนาคม ๒๕๕๓

,เป็นคนงานในคอกปสุสัตว์ ,เป็นเสมียนโร แรมกะกลางคืน และเป็นพนักงานเดินตลาด ขายผลิตภัณฑ์หินอ่อน และหินแกรนิต ไป ตาม มณรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา เบื่อแล้ว ก็ไปรับจ้างเลี้ยงวัว ให้กับบริษัทค้าวัวข้าม ชาติ นำ�วัวไปขายที่ประเทศอังกฤษ พอลเดินทางไปประเทศอังกฤษ อีก เป็นครั้งที่สอง ไปคราวนี้พอลได้ตระเวนไป ตามเมืองต่างๆ ที่ได้อ่านตามหนังสือจน กระทั่งถึงเวลส์ ครั้นกลับสหรัฐอเมริกาแล้ว เขาก็ขับรถไฟฟ้าไปยังชิคาโก เพื่อชมการ แสดงสินค้า ทีน ่ ัน ่ พอลทึง่ กับบรรยากาศของ ผูค้ นทีม่ ลี กั ษณะอาจหาญ ทระนง และมีชวี ติ อันเข็มข้น กลายเป็นแรงจูงใจให้พอลหวน กลับไปใช้ชีวิตที่นั้นในกาลต่อมา จากประสบการณ์ที่พอล ดั้นด้นไป ในที่ต่างๆถึง 5 ปี พร้อมกับได้สัมผัสกับงาน ต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำ�ให้พอล ได้ตัดสินใจไปปักหลักยึดอาชีพทนายความ และทีป่ รึกษาทางกฎหมายทีน ่ ครชิคาโก เมือ่ ปี 1896 ขณะนั้นเขามีอายุได้ 28 ปี งานของ พอลได้ประสบความสำ�เร็จด้วยดีในนครอัน จอแจแห่งนั้น ถึงปี 1900 พอลได้กลับไปเยีย่ มบ้าน ที่เวอร์มอนต์ เขาเกิดมีสติ ฉุกคิดได้ว่า “ที่ ชิคาโก เขาไม่มีญาติและคนใกล้ชิด เหมือน ทีบ่ า้ นในเวอร์มอนต์เลย” เมือ่ กลับถึงชิคาโก แล้ว พลอก็เริ่มคิดถึงการก่อตั้งสโมสรโรตารี และได้ก่อตั่งสโมสรโรตารีแห่งแรก ขึ้นเมื่อ ปี 1905 โดยมีเพื่อนต่างอาชีพอีก 3 คนร่วม การก่อตั้งครั้งนี้ ผมไม่จำ�เป็นต้องกล่าวถึงสถานที่ ก่อตั้ง และนามของเพื่อนอีก 3 คนที่ช่วย พอลก่อตั้งสโมสรโรตารี นัมเบอร์ วัน หรือ สโมสรโรตารีชิคาโกไว้ในที่นี้ เพราะได้เคย กล่าวซ้ำ�ๆมาหลายครั้งแล้ว แต่ อยากจะให้ มิตรโรแทเรียนได้เห็นภาพของสโมสรโรตารี ในสมัยแรกๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของ โรตารี ในกาลต่อมาโดยสังเขปดังนี้

14 15


15 14

ในตอนแรกตั้ง สโมสรโรตารีไม่ได้เป็นสโมสรฯบริการ อย่างทุกวันนี้ เป็นเพียงที่ๆทำ�ให้สมาชิกมีเพื่อนสนิทประดุจ ญาติ ที่คอยช่วยเหลือและส่งเสริมกันและกันเท่านั้น และใน ตอนแรกตั้ง ก็ใช้ออฟฟิตของเพื่อนสมาชิกที่มีกันอยู่ไม่กี่คน เป็นสถานที่ประชุม พอลสังเกตเห็นว่า “สมาชิกที่มาประชุมด้วยกันเป็น ประจำ�ทุกสัปดาห์ จะจับกลุ่มกันความความสนิทสนม นั่ง สรวลเสเฮฮากันไปตามเรือ่ ง มีขา่ วอะไรก็น�ำ มาเล่าสูก่ น ั ฟัง ฟัง แล้วก็วิเคราะห์ วิจารณ์กันไปตามความคิดเห็นของตน ความ มีชีวิตชีวาจึงเห็นได้อย่างชัดเจนในสโมสรโรตารี” พอลยังเห็น อีกว่า นอกจากความสนิทสนมกันอย่างสึกซึ้งแล้ว ยังมีการ กวดขันกันในเรื่องของความภูมิฐานก่อนเข้าห้องประชุมด้วย “บางครั้งสมาชิก ก็นัดกันนำ�ครอบครัวออกไปปิคนิก ระหว่าง พักผ่อนก็มีการปรึกษาหารือเรื่องกิจการงานค้าไปด้วย ทุก อย่างเป็นไปด้วยมิตรไมตรี และให้ประโยชน์แก่กันและกัน” นับแต่การประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1905 แล้วก็มีผู้มาเยี่ยมเยียนอยู่เป็นประจำ� นักธุรกิจจาก มณ รัฐอื่นเมื่อเดินทางมาชิคาโก ก็มักจะถูกเพื่อนพามาประชุมที่ สโมสรโรตารีด้วย เมื่อได้เห็นและสัมผัสกับการประชุมที่เต็มไป ด้วยมิตรไมตรี ของสโมสรฯ แห่งนี้แล้วก็พากันเห็นดีเห็นงาม อยากให้เมืองของตนมีสโมสรเช่นนี้บ้าง ถึงปี 1908 ก็มีการก่อ ตั้งสโมสรโรตารีแห่งที่ 2 ขึ้นในนครซานฟรานซิสโก และอีก 2 ปีต่อมา ก็มีสโมสรโรตารีเกิดขึ้นในสหรัฐถึง 16 สโมสรฯ คนที่ดีใจกับความงอกงามของโรตารี คงมิใช่ พอล พี.แฮรริส แต่เพียงผู้เดียง แต่รวมไปถึงเพื่อนอีก 3 คนที่ได้ ร่วมกันก่อตั้งโรตารีขึ้นมาด้วย ในปี 1910-11 มีการประชุมโรตารีคอนเวนชั้นเป็นครั้ง แรก การประชุมครั้งนั้น ที่ประชุมได้เขียนวัตถุประสงค์ของ โรตารีขึ้นไว้ สโมสรโรตารีนอกสหรัฐอเมริกา สโมสรแรกก่อตั้งขึ้น ที่เมืองวินนิเพค ประเทศแคนาดา แต่ได้เข้าเป็นสมาชิกของ โรตารีในปี 1911-12 ค.ศ. 1911-12 คติพจน์ของโรตารีได้เกิดขึ้น และ วารสารทางการของโรตารีคือ “ ดิ เนชั่นแนล โรแทเรียน” ออกสู่สายตาของสมาชิก ค.ศ. 1916-17 อาร์ช คลัมป์ ได้เสนอต่อที่ประชุมโรตา รีคอนเวนชั่น ขอให้โรตารีรับเงินของผู้มีจิตศรัทธา บริจาคไว้ เป็นทุน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นมูลนิธิโรตารี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สโมสรโรตารีหลายแห่ง หมดสภาพลง และในปี 1939-40 โรตารีได้บริจาคเงินจำ�นวน 50,000 เหรียญสหรัฐผ่านสภากาชาดเพื่อช่วยเหลือผู้ประสพ ภัยสงคราม และช่วยเหลือครอบครัวของเพื่อนโรแทเรียนด้วย และในปี ค.ศ. 1947 วันที่ 27 มกราคม พอล พ.แฮริสได้ถึงแก่ กรรมลง ขณะที่มีโรแทเรียนทั่วโลกรวมด้วยกันทั้งสิ้น 279,881 ภายใน 5,828 สโมสรฯดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

มีนาคม ๒๕๕๓


ศูนย์โรตารีประเทศไทย FG เดือนมีนาคม 2553 ED สวัสดีครับ...เพื่อนสมาชิกที่รักทุกทาน เดือนมีนาคมโรตารีสากลกําหนดใหเปนเดื อนแหงการรูห นังสือ... โดย ตระหนักถึงความสําคัญของการใหเยาวชนไดมีความรูและสามารถอานเขียนได ซึ่ง จะทําใหเยาวชนเหลานั้นไมกลายเปนเหยื่อของการชักจูงที่ไรคุณธรรม ความยากจน และเปนอุปสรรคสําคัญในการพัฒนาทางดานเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและตนเอง ในสวนกิจกรรมโรตารีก็จะมีการจัดประชุมใหญประจําปของภาค (District Conference) เปนประจําในชวงนี้ทุกป โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสงเสริมโปรแกรมของ โรตารีและสรางมิตรภาพระหวางมวลมิตรโรแทเรียนตางสโมสรในบรรยากาศที่ไม เปนทางการ นอกจากนี้ ยังจะไดรวมกันตอนรับผูแทนประธานโรตารีสากลที่จะมา เยี่ยมเยือนภาคของทาน พรอมรับฟงสุนทรพจนที่จะใหแรงบันดาลใจแกโรแทเรียนที่ รว มประชุ ม อี ก ดว ย ผมและเจาหน าที่ศู น ย โรตารี ฯ จะไปรว มในการประชุ ม ใหญ ประจําปของทุกภาค เพื่อจัดแสดงและจําหนายเอกสารจากโรตารีสากลดวย นอกจากการประชุ ม ใหญ ป ระจํ า ป ข องภาคแล ว ในเดื อ นนี้ ยั ง มี ก ารจั ด สัมมนาอบรมนายกรับเลือกของภาค 3350 (President-Elect Training Seminar หรือ PETS) ในวันที่ 13-14 มีนาคม ที่โรงแรมรามาการเดน กรุงเทพฯ และในวันที่ 2728 มีนาคมเปนการจั ดสัมมนาอบรมนายกรั บเลือกรวมภาค (Multidistrict PETS) ของภาค 3330, 3340 และ 3360 โดยจะจัดขึ้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี การสัมมนา อบรมนายกรับเลือกนี้เปนขอบังคับของโรตารีสากล ที่กําหนดใหนายกรับเลือกทุก สโมสรเขารวมการสัมมนาเพื่ออบรมความเปนผูนําและใหแรงจูงใจในการปฏิบัติ หนาที่ในตําแหนงผูนําของสโมสรในปโรตารีที่จะถึง ผมและเจาหนาที่ศูนยโรตารีฯ ก็ จะไปรวมในการสัมมนานี้ดวยเชนกัน ในเดือนที่ผานมา ศูนยโรตารีฯ ไดจัดพิมพชุดคูมือเจาหนาที่สโมสร และ แผนพับการประกาศเกียรติคุณประธานโรตารีสากล ป 2553-54 ภาษาไทยเสร็จ สมบูรณ และไดแจกจายไปยังภาคตางๆ แลว คาดวาคงจะถึงมือผูนําสโมสรของป หนาในเร็วๆ นี้ครับ ดวยไมตรีจิตแหงโรตารี

ประธานผูฝ กอบรมภาค (District Trainer) ภาค 3330, 3340 และ 3360 พรอมดวยผูวาการภาครับเลือก ขณะ หารือในรายละเอียดการจัดสัมมนาอบรมนายกรับ เลือกรวมภาค (Multidistrict PETS) ที่จะมีขึ้นระหวาง วันที่ 27-28 มีนาคม 2553 ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี โดย ภาค 3340 โรตารีสากลจะเปนเจาภาพการจัดสัมมนา ในปนี้

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธที่ผานมา RI President nominee Kalyan Banerjee (ป 2011-12) พรอมดวย Mr.Edwin H. Futa (เลขาธิการโรตารีสากล), PRID.O.P. Vaish (ประธานจัดการประชุม) ได เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อรวมประชุมรับฟงความ คืบหนาการเตรียมการจัดประชุมใหญโรตารีสากล ป 2555 ที่กรุงเทพฯ (2012 RI Convention, Bangkok) ณ ศูนยโรตารีฯ

อผภ.รัฐประทีป กีรติอุไร ประธานคณะกรรมการบริหารศูนยโรตารีฯ

ตัวเลขโรตารีไทย

ภาค โรแทเรียน สโมสร 3330 2,072 76 3340 1,286 60 3350 2,431 90 3360 1,221 60 รวม 7,010 286 ขอมูล: ผูแทนดูแลการเงินฯ (มี.ค. 53)

อัตราแลกเปลี่ยนโรตารีสากล เดือนมีนาคม 2553

33 บาท

ตอ 1 เหรียญสหรัฐ

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธที่ผานมา คณะกรรมการกลุม ศึกษาแลกเปลี่ยน (GSE) ภาค 3330 ไดนําคณะ GSE จากภาค 7570 ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเดินทางมา เพื่อเรียนรูทางดานอาชีพในประเทศไทย มาเยี่ยมชม ศูนยโรตารีฯ

ศูนยโรตารีในประเทศไทย 75/82‐83 ชั้น 32 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร 2 ซอยวัฒนา ถนนอโศก เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 มีนาคม โทร. 0 2661 6720‐1 โทรสาร 0 2661 6719 e‐mail: rotaryth@ksc.th.com; www.rotarythailand.org

๒๕๕๓

17 16


เสียงนก เสียงกา

District Conference 2009-10

ตั้งแต่รับหน้าที่ประจำ�คอลัมภ์นี้ เสียงนกเสียงกาฉบับนี้เป็นฉบับที่กดดันมากกกกก ด้วยข้อจำ�กัดของเวลาที่สั้นมาก เพราะต้องล้อกับหัวข้อในการเขียนคือหัวข้อ “การเข้าร่วม ประชุม District Conference ภาค 3360” ซึ่งต้องรอให้เสร็จสิ้นการประชุมก่อนจึงจะสามารถให้ ท่านโรแทเรียน ได้แสดงความคิดเห็นในการเข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับการจัดงานการประชุมว่า เป็นอย่างไรบ้าง และถ้าสารผู้ว่าการภาคฉบับนี้คลอดล่าช้าไป หวังว่าทุกท่านคงไม่ว่ากันนะครับ รทร.ประยูร ศิรนิ ภาพันธ์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่เหนือ

16 17

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ ประธานจัดการประชุมใหญ่ประจำ�ปี 2552-2553 ขอขอบคุณ ผวภ. แววดาว ลิ้ม เล็ ง เลิ ศ ที่ ไ ด้ ไ ว้ ว างใจให้ รั บ หน้าที่ประธานจัดการประชุม ใหญ่ประจำ�ปี ซึ่งถือเป็นการ ประชุมครั้งสำ�คัญที่สุดในรอบ ปีบริหาร 2552-2553 เราเริ่ม ประชุมเตรียมงานตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2552 จนถึง เดือน มีนาคม 2553 ใช้เวลาในการเตรียมงาน 4 เดือน ประชุมรวม 5 ครั้ง โดยมี ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ร่วมประชุมทุกครั้ง เราได้แบ่งงานและความรับผิด ชอบให้แต่ละฝ่าย โดยสิ่งที่เร่งด่วนที่สุด คือการ ประชาสัมพันธ์งานอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มทำ�ป้ายผ้า โปรโมทงาน แจกโบชัวร์ ในงานประชุมระหว่างเมือง งานอบรมผู้นำ�ภาค งานประชุมและงานเลี้ยงต่าง ๆ ในระดับสโมสร เพื่อให้ข้อมูลกระจายอย่างขว้าง ขวางถึงตัวสมาชิก ออกจดหมายรณรงค์ เชิญร่วม งานประชุมใหญ่ และลงทะเบียนล่วงหน้า ถึงนายก ทุกสโมสรไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง พร้อมทั้งรณรงค์การ ลงทะเบียนล่วงหน้า ทางอินเตอร์เน็ต โดยอีเมล์ถึง ตัวสมาชิก พร้อมข้อมูลแนบอีก 3 ครั้ง ตลอดจน ประชาสัมพันธ์ทางสารผู้ว่าการภาค ทางเวปไซด์ ภาค 3360 และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ลงสกุ๊บข่าว ทางหนังสือพิมพ์ จึงทำ�ให้มีผู้ลงทะเบียนล่วงหน้า ถึง 372 คนและมีผู้ร่วมประชุมทั้งสิ้น 404 คน งาน ในครั้งนี้ได้รับคำ�ชมหนาหู ว่าจัดได้ยิ่งใหญ่ สมเป็น งาน DISTRICT CONFERENCE ซึ่งปีนี้ผู้ว่าการภาค เป็นสาวสวย และประธานจัดงาน ก็เป็นสาวอารมณ์ ดี ตลอดจนเลขานุการจัดงานเป็นศิษย์เก่าแดน

อาทิ ต ย์ อุ ทั ย มี ไ อเดี ย แปลกใหม่ และที ม คณะ กรรมการ ก็เป็นคนรุ่นใหม่ จึงมีแนวคิดที่ตรงกัน ว่า รูปแบบการจัดงาน เน้นความสดใส แปลกใหม่ แหวกแนว และจะต้องเลิศหรูอลังการ อาหารอร่อย บรรยากาศเป็นกันเอง เน้นการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ พิธีเปิด จะเห็นว่า มีทั้งโรแทเรียน และเยาวชนแลก เปลี่ยน ทำ�หน้าที่เชิญธง และเชิญป้ายสโมสร ตลอด จนมีสว่ นร่วมในด้านการแสดง เพือ่ ร่วมต้อนรับมิตร โรแทเรียนผู้มาเยือน อย่างอบอุ่น และเปี่ยมไปด้วย มิตรภาพทีด่ เี ยีย่ ม งานจะไม่ประสบความสำ�เร็จหาก ขาดความใส่ใจในทุกรายละเอียด ในฐานะประธาน จัดงาน จึงทำ�งานหนักเป็นหลายเท่า ขอขอบคุณ คณะกรรมการจัดงาน มิตรโรแทเรียนทุกท่าน ที่ได้ ร่วมมือร่วมใจทำ�ให้งานครั้งนี้สมบูรณ์แบบ เกือบ 100% ด้วยความขอบคุณจากใจ…….สวัสดีค่ะ

อน.ประยูร & อน.สุวรรณี ศิรินภา พันธ์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ เหนือ

อน.วีระพันธ์ ตันติพงศ์ สโมสรโรตารี ช้างเผือกเชียงใหม่ การจั ด ประชุ ม ใหญ่ ป ระจำ � ปี 2552–2553 ภาค 3360 โรตารี สากล เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2553 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ สมัยท่านผู้ว่าการภาค แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ โดยมี อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ จากสโมสรถิ่นไทย งาม เป็นประธานจัดงานครั้งนี้ นับได้ว่ายิ่งใหญ่มี เนื้อหาสาระโดยเฉพาะโครงการโรตารีสร้างศูนย์ ผ่าตัดหัวใจถวายในหลวงที่ตั้งเป้าหาทุนถึง 94 ล้าน บาท ภายในเวลา 5 ปี แต่ไม่ถึงขวบปีเรามียอดเงิน บริจาคแล้วเกือบ 30 ล้านบาท สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ และน่าจดจำ�คือ ท่านผู้แทนประธานโรตารีสากล

มีนาคม ๒๕๕๓


เสียงนก เสียงกา

PDG. Kou Wen HSU ได้เห็นความสำ�คัญของ โครงการนี้จึงได้ร่วมบริจาค 1,000 เหรียญสหรัฐ ผู้นำ�สูงสุดของภาคเรา ท่านผู้ว่าการภาค แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และร่วม บริจาคถึง 300,000 บาท อน.พญ.วรรณจันทร์ พิมพ์ พิ ไ ล ประธานโครงการและคณะกรรมการศู น ย์ ผ่าตัดหัวใจ ฯ โรงพยาบาลศูนย์ลำ�ปาง ปราบปลื้ม ใจไปตาม ๆ กัน งานนี้ ยิ่ งใหญ่ แ ละสมบู ร ณ์ แ บบก็ จ ริ ง แต่ ก็ มี สิ่ ง ท้าทายผู้ว่าการภาคท่านต่อไปว่าทำ�อย่างไรถึงจะ จูงใจผู้เข้าร่วมประชุมให้หนาแน่นได้วาระหลัง ๆ ของงานได้ ผมขอให้กำ�ลังใจผู้ทำ�งานของเราทุกคน Ms.Mackenzie Barnett Canada Host Club: Rotary Club of Chiang Mai North The DC of 2010 has just finished, and boy it was exciting!! The Empress hotel is more like a palace , than a hotel, and it made the whole weekend seem very magical. YEs from all across district 3360 were reunited, which is always so much fun. This time we also got to meet the outbounds for 2010-11. There are 4 of them going to Canada, and I had lots of fun teasing them about “Thai winter”. I can’t wait to get an email form them. The first time they see snow! I am looking forward to our tirp to the south in May when we can all be together again!! Mikela. (เมขลา) ประชุมใหญ่ภาค 3360 เพิ่งจะเสร็จสิ้นลง หืม..ตื่น ตาตืน ่ ใจมาก ดิเอมเพรส เหมือนวังมากกว่าโรงแรม ทำ�ให้ตลอดสุดสัปดาห์เหมือนฝัน พวกเรา YE ทั่ว ภาค 3360 ได้มาเจอกันอีกครั้ง สนุกสุดๆ เหมือน เคย และยังได้มีโอกาสพบ YE ที่จะเดินทางไปต่าง ประเทศสำ�หรับปีต่อไปด้วย มีอยู่ 4 คนที่จะไป แคนาดา เลยได้ล้อเล่นเกี่ยวกับ หน้าหนาวเมือง ไทย และอยากจะรู้จังว่า ครั้งแรกที่เห็นหิมะของ เขาจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ก็ตั้งตารอที่จะไปเที่ยว ภาคใต้ในเดือน พค. ที่จะถึงนี้และจะได้พบกับ เพื่อนๆ อีกครั้ง เมขลา

การประชุมใหญ่ฯ ยอดเยี่ยมจริงๆ มีโอกาสพบ เพื่อนๆ YE ทุกคนอีกครั้ง และรวมไปถึงคน YE ที่ จะเดินทางออกนอกประเทศด้วย รู้สึกตื่นเต้นที่จะ ได้พบปะพูดคุยกับ YE ไทยที่จะไปบราซิล และยินดี จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ สนุกสนานจริงๆ กับการ ฝึกรำ�วง เพลงวันลอยกระทง จนอยากจะเอาไปโชว์ ให้เพื่อนๆและครอบครัวที่บราซิลเดี๋ยวนี้เลยจริงๆ Darun sireelert สโมสรโรตารีเชียงใหม่ใต้ 13 -14 มี.ค. 53 ที่ผ่านไปนั้น ผมประทับใจกับการจัดงาน DC ของภาคฯ3360 ของเราครับ ผม เห็นความทุมเทและเอาจริงกับ การจั ด งานคณะกรรมการทุ ก ท่าน อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ ประธาน คณะกรรมการจัดงาน พยายามเก็ บ ทุ ก รายละเอี ย ด ของงานได้ดีจริงๆ ทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกันเต็มที่ มิตรต่างสโมสรจากจังหวัดต่างๆก็น่ารักและมากัน อย่างล้นหลาม สี่ร้อยกว่าท่าน นับว่าประสบความ สำ�หรับครับสาระก็ได้ บันเทิงก็มี อย่างนี้ต้องปรบ มือให้กับมวลมิตรโรแทเรียนที่มาร่วมงานทุกท่าน และคณะกรรมการจัดงานทุกคนด้วยความจริงใจ ครับ เฮ!!!

รทร.รัศมี พิทักษ์มโนกุล สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม การประชุม District Conference ภาค 3360 ในวั น ที่ 13-14 มีนาคม 2553 ที่ศูนย์ประชุม นานาชาติ โรงแรมดิเอมเพรส สำ � เร็ จ ลงอย่ า งเรี ย บร้ อ ยและ งดงาม สิ่งที่เราได้รับทราบก็คือ ผลสำ�เร็จของการดำ�เนินงาน ที่ บรรลุ ต ามเป้ า หมายของภาค 3360 ในทุกหัวข้อ และ มุมมิตรภาพ (House of Friendship) ที่สร้างความประทับใจให้กับทุกท่านที่ ได้เข้าร่วมในบรรยากาศอันอบอุน ่ อิม่ เอม และ โอบ อ้อม ความสนุกสนาน ในค่ำ�คืนมิตรภาพสังสรรค์ ที่คงไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะได้เห็นผู้ว่าการภาคใน ลุคที่น่าตื่นตะลึงได้ถึงเพียงนี้ และจบลงในวันปิด การประชุม ด้วยพัดลม รถจักรยาน โทรศัพท์มือ ถือ ตามด้วยรางวัลใหญ่ รถจักรยานยนต์ ก็ขอแสดง Amanda Luiza Schommer Brazil ความยินดีกบั ทุกท่านทีไ่ ด้รบั รางวัลกันแบบไม่รูเ้ นือ้ Host Club: Rortary รู้ตัว และสุดท้ายโรแทเรียนทุกท่านที่อยู่ร่วมการ Club of Chiang Mai ประชุมถึงพิธีปิดไม่มีใครกลับบ้านมือเปล่า คุณ The DC was really nice, we สุภาพบุรุษได้รับเนคไท คุณสุภาพสตรีได้รับผ้าพัน could meet all the inbounds คอ ทีเ่ ป็นสัญลักษณ์ของ THE FUTURE OF ROTARY again. We could meet the IS IN YOUR HANDS นี่คือน้ำ�ใจอัน ยิ่งใหญ่มหาศาล future Exchange—outbounds. มีอยู่เป็นปกติในตัวของ ผู้หญิงเก่งและแกร่งคนนี้ I was really excited to meet ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ who is going to Brazil and talk about it. I love to help in what I can. นยล. ปราการ คูอาริยะกุล We also had so much fun learning the Loy สโมสรโรตารีน่าน Krathong song and dance. I cannot wait to ยิ่งใหญ่ที่สุดสมกับเป็นงาน District Conference show that to my family and friends in Brazil. 2009–2010 D.3360 R.I ที่จ.เชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพ

มีนาคม ๒๕๕๓

18 19


ขอแสดงความยิ น ดี กั บ ความสำ � เร็ จ ของ โครงการ ในสโมสรต่างๆ โดยเฉพาะโครงการ บำ�เพ็ญประโยชน์ของภาค “โครงการโรตารี สร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลลำ�ปาง เฉลิ ม พระเกี ย รติ 84 พรรษา” ซึ่ ง เป็ น โครงการระยะยาว 5 ปี เริ่ม 1 กรกฎาคม 2552 สิ้นสุดโครงการ 30 มิถุนายน 2557 พวก เราโรเทเรี ย น ควรจะได้ ช่ ว ยกั น ให้ ก าร สนับสนุนโครงการถึงจุดมุ่งหมาย ตามเจตนารมณ์ของโรตารี รทร.สมพร พรวิเศษศิริกุล สโมรสรโรตารีเชียงใหม่เหนือ งาน District conference ระหว่างวันที่13-14 มีนาคม 2553 ทีผ่ า่ นมา ถือว่าเป็นงานประชุม ที่สำ�คัญของโรแทเรียนทุกๆคน เป็นเวทีที่ แต่ละสโมสรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น สรุปผลงานเด่นๆในรอบปีการทำ�งาน ใน ความคิดของตนเอง ในฐานะโรแทเรียนน้อง ใหม่ คิดว่าเป็นงานที่สมาชิกทุกคนไม่ควร พลาด เพราะเป็ น งานที่ เ ป็ น การกระตุ้ น สมาชิกให้เป็นผู้มีหัวใจของผู้ให้อย่างแท้จริง

ต้องชื่นชมท่านอน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล ที่จัดบุ๊ทร้านค้าได้ ตามเป้าที่วางไว้ทั้งจากแดนไกลและคนใกล้ๆตัว อย่างกรรมการ หลายๆท่าน ที่ร่วมสมทบเพื่อเพิ่มเป้าตามกำ�หนดหมาย ส่วน การเตรียมและลำ�ดับงานพิธีการ พิธีกร ก็เป็นอย่างลื่นไหลได้ดี แบบลำ�น้�ำ ไหลจากลำ�ห้วย พิธกี รช่วงงานเลีย้ งยกให้เป็นลำ�น้�ำ โขง ที่ไหลแรงลื่นไหลเช่นเดียวกับปลาไหลใส่สะเก็ต 555 และป้ายจัด งานอลังการงานสร้างสวยงามและตรึงตากับป้ายทะเบียน RI 3360 แบบรถยนต์ประมูลชอบตรงแนวคิดนี่แหละ แต่ความสนุกมาอยู่ งานเลี้ยงที่ค่ายการแสดงสองค่าย ระหว่าง 7 สี (ท่านแววดาว) กับช่อง 3 (สร.เชียงใหม่) ต่างปกปิดการแสดงกันชนิดใครอย่าได้ สอดแนมมาเด็ดขาดออกมาดีทัง้ สองค่าย สนุกมากๆ แต่ตอ้ งเชียร์ ค่ายช่อง 7 สี ของ ผู้ว่าการภาคแววดาว ที่โชว์ขาขาวขาวหลัง จากปกปิดมาเกือบ 50 ปี ฮิฮิ และเราเองก็ร่วมขบวนแสดงโชว์ ความหล่อที่เหลืออยู่บ้างด้วย เลยขอให้คะแนนค่ายนี้มากว่าอีก ค่ายหนึ่ง แต่ความสนุกยังไม่หมดเมื่อตอนปิดการประชุมใหญ่วัน สุดท้ายที่รถมอเตอร์ไซร์ฮอนด้าสีชมพูคันสวยตกเป็นของ ค่าย เมืองแพร่ที่แห่แหนกันมาร่วมงานมากมายและสมทบทุนเพื่อ สร้างความสนุก โชคดีจงั นะครับปีหน้าหากมีก็เอาใหม่นะครับ แต่ ที่สนุกกว่านี้มันต้องค่ายป้อมสุโขทัยที่คว้ารางวัลไปอีกคันแบบ ชนิ ด คนดู ยั ง หั ว เราะสนั่ น จนกรามค้ า งชนิ ด ต้ อ งรี บ นำ� ส่ งโรง พยาบาล555 ใครอยากรู้ต้องไปถาม ท่าน อน.วีระชัย โฆษิตา นนท์ เองนะครับ ท้ายๆ นี้ ก็ขอคารวะขอบคุณทุกท่านจากใจ จริงเพราะงานนี้ทุกท่านมาด้วยใจไม่มีใครจ้าง จริงไหมครับท่าน ผู้ชม

ผชภ.ธานินทร์ ศิริรัตโนทัย สโมสรโรตารีแม่จัน การประชุม DISTRICT CONFERENCE 20092010 ที่ ผ่ า นมาผมสั ง เกตว่ า ท่ า น นฤชล นางสาวญาณิศา นฤนาทวงศ์สกุล อาภรณ์รัตน์ ประธานจัดงานยิ้มหน้าบาน YE-Rebound สโมสรโรตารีเชียงใหม่ใต้ เป็นกระด้ง เพราะมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า ค ว า ม รู้ สึ ก ที่ ไ ด้ ไ ป ร่ ว ม ง า น D i s t r i c t 400 คน ตามคาด การประชุมวันอาทิตย์นั้น Conference D3360 2010 ในการเข้าร่วมงาน มีบรรยากาศการประชุมคล้ายที่ประชุมของ ครั้งนี้ ได้เห็นลุงป้าน้าอา ทุกๆ คน ทำ�งาน รัฐสภาเลย น่าเสียดายแทนสำ�หรับโรแทเรียน กันอย่างขยันขันแข็ง คงจะเหนื่อยมากแต่ผล ที่พลาดโอกาสสำ�คัญๆนี้ไป ส่วนเรื่องอาหาร งานทีไ่ ด้ออกมาเรียบร้อยดี โดยเฉพาะพิธเี ปิด ครั้งนี้จัดได้อร่อยมาก ผู้เข้าร่วมประชุมต่างชื่นชมกันมากครับ หนูได้มีโอกาสถือป้ายของสโมสรที่มาร่วม งาน หนูรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในพิธีเปิด อน.ขวัญพงษ์ คมสัน งานครั้งนี้ และนอกจากนี้ในงานมีร้านต่างๆ สโมสรโรตารีแม่วัง มากมายมาจำ�หน่ายสินค้าหลายชนิด โดย กระผม อน.ขวัญพงษ์ คมสัน ได้เข้าร่วมงานประชุมใหญ่ประจำ� เฉพาะในส่วนของ House of Friendship มีขนมให้ผู้ที่มาร่วม ปี District Conference เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา งานได้ รับประทาน พักผ่อน และพบปะพูดคุยสร้างมิตรภาพ รูปแบบการจัดงานโดยรวม ดีมาก การรับลงทะเบียนล่วงหน้า มี ระหว่างเพื่อนต่างสโมสรอีกด้วย ในช่วงของพิธีงานเลี้ยงอาหาร การติดต่อประสานงานเป็นอย่างดีเยี่ยม สถานที่ วันและเวลาใน เย็น การแสดงของลุงๆป้าๆสนุกมาก เวลากระชับพอดี หลังจาก การจัดประชุมเหมาะสมและดีมาก ซึง่ สะดวกแก่การเดินทาง โซน อาหารมื้ อ เย็ น หนู ไ ด้ มี โ อกาสทำ � หน้ า เป็ น พี่ เ ลี้ ย งของน้ อ งๆ House of Friendship ดีมาก ๆ และขอชื่นชมประธานจัดงานใน Outbound รุ่นต่อไปที่กำ�ลังจะเดินทาง ได้แบ่งปันประสบการณ์ ครั้งนี้ คือ คุณนฤชล ให้การต้อนรับมวลโรแทเรียนเป็นอย่างดี ดีๆ และแนะนำ�น้องๆในฐานะของพี่ Rebound เพือ่ เป็นประโยชน์ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ให้น้องๆ ในการปรับตัวใช้ชีวิตในต่างแดนได้อย่างไม่มีปัญหา

19 18

ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ สโมสรโรตารีหางดง นับจากวันที่เปิดการประชุมใหญ่ ของ ภาค 3360 ได้เสร็จสิ้นความเหนื่อยล้าต่างๆของ หลายๆ ท่านก็คงค่อยๆ คลายๆลง ยกเว้น ประธาน อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ ที่ยังเคล็ด ขัดยอกอยู่ยังไม่หาย หากนับย้อนหลัง การ จัดเตรียมงานประชุม ครั้งที่ 1..2..3..4..5 และ ประชุมย่อยอีกหลายๆรอบ ที่สุดแล้วก็โล่งใจ ที่งานออกมาได้ดีมากๆจากคำ�ชมของหลายๆ ท่าน และจากต่างภาคที่สนิทสนมคุยให้ฟัง ที่เข้าร่วมประชุมด้วย กันมาในวันนั้น ต้องขอบคุณสำ�หรับทุกท่านที่อุตส่าห์ลงทะเบียน ล่วงหน้ามายังภาคทำ�ให้การเตรียมงานเป็นไปได้งา่ ยขึน ้ และทีส่ ดุ

อน.วิชัย ศรีพธูราษฎร์ สโมสรโรตารีแม่สาย งานประชุมใหญ่ภาค 3360 ปีบริหารของ ผวภ. แววดาว ลิ่มเล็งเลิศ ปีนี้จัดได้ยิ่งใหญ่ ไม่ว่า จะเป็นสถานที่ประชุมโรงแรม ดิเอมแพรส วิทยากร อาหาร การแสดง พิธีเปิดปิดที่ตรง เวลา แสดงให้เห็นถึงการทุ่มเท การเตรียม งานและความพร้ อ มของเจ้ า ภาพ ยิ่ ง ได้ ประธานจัดงานคนเก่ง อน.นฤชล อาภรณ์ รัตน์ งานออกมาทุกอย่างลงตัว ยอดเยี่ยม ปลื้มแทนผู้ว่าการภาคและคณะกรรมจัดงานทุกท่าน ประทับใจ มากครับ

มีนาคม ๒๕๕๓


Behind the scene

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม

๑๓-๑๔ กุมภาพัน สวัสดีค่ะมวลมิตรโรแทเรียนที่เคารพ ทุกท่าน ในที่สุดการจัดการประชุมใหญ่ของ ภาค 3360 โรตารีสากล ได้สิน ้ สุดลงอย่างงดงาม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างหนาแน่น ทั้งภาค บ่ายของวันแรก ภาคค่ำ�งานเลี้ยงรับรอง และ วันสุดท้ายของการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม กว่ า 400 คนเศษ เป็ นไปตามเป้ า หมายที่ ประธานจัดงาน อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ ได้ตั้ง เป้าหมาย และคาดหวังไว้ทกุ ประการ อาจกล่าว ได้ว่า งานครั้งนี้ได้ทำ�ลายสถิติในหลายด้าน ทัง้ จำ�นวนผูร้ ว่ มประชุม ตัง้ แต่พธิ เี ปิด ภาคงานเลีย้ งรับรอง และช่วงพิธปี ดิ การประชุม ผูร้ ว่ มประชุมยังอยูร่ ว่ มลุน ้ รางวัลพิเศษเต็มห้อง ประชุม ถือว่างานครัง้ นีไ้ ด้รบั คำ�ชมอย่างหนาหู ว่าจัดได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งสถานที่สวยงาม บรรยากาศยอดเยี่ ย ม การตกแต่ ง เลิ ศ หรู มิตรภาพเบ่งบาน และที่สำ�คัญความสามัคคี ของคณะกรรมการจั ด การประชุม และการ ต้อนรับที่อบอุ่นของเจ้าภาพ ทั้ง 16 สโมสรใน จังหวัดเชียงใหม่ การจัดการประชุมใหญ่ประจำ�ปี 25522553 ได้จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรง

มีนาคม ๒๕๕๓

แรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2553 สโมสรโรตารีในจังหวัด เชียงใหม่ 16 สโมสรเป็นเจ้าภาพ โดยมี อน.นฤ ชล อาภรณ์รัตน์ จากสโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่น ไทยงาม เป็นประธานจัดงาน ผู้ร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ว่าการภาคอดีตผู้ว่าการภาค ผู้ ว่าการภาครับเลือก ผู้ช่วยผู้ว่าการภาค คณะ กรรมการภาค ผู้ปกครองเยาวชน เยาวชนแลก เปลี่ยน INBOUND OUTBOUND REBOUND มวล มิตรโรเทเรียนและคู่ครอง จาก 14 จังหวัดภาค เหนือ และแขกจาก ภาค 3330 3340 3350 รวม แล้วกว่า 400 คนเศษ บริเวณจัดงานตัง้ แต่หน้าโรงแรม ทาง เข้าโรงแรม และทางลาดเดินขึ้นโรงแรมมีธง ญีป่ ุน ่ ประชาสัมพันธ์ชือ่ งานประชุมใหญ่ประจำ� ปี นำ�ทาง และต้อนรับผู้ร่วมประชุม วางเรียง รายอย่างสวยงาม เมื่อถึงบริเวณห้องโถงใหญ่ ชั้นล่างของศูนย์ประชุม ด้านซ้าย ซุ้มดอกไม้ ขนาดใหญ่ประดับด้วยธงนานาชาติจำ�นวน 22 ผืน 2 ฝั่งซ้ายขวา ตั้งตระหง่านรอต้อนรับผู้มา เยือนได้เก็บภาพประทับใจอย่างสวยหรู โต๊ะลง ทะเบียน 2 ฝั่งซ้ายและขวา พร้อมเจ้าหน้าที่

20 21


District Conference

การประชุมใหญ่ภาค ๓๓๖๐ โรตารีสากล นธื ๒๕๕๓ โรงแรม ดิเอมเพรส เชียงใหม่

21 20

และมิตรโรแทเรียน เตรียมรับลงทะเบียนอย่างคึกคัก ดนตรี ROTARY SONG บรรเลงเพลงต้อนรับอย่างไม่ขาดสาย โรแท เรียนต่างหมุนเวียนกันร้องเพลงต้อนรับ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายต้อนรับทำ�งานแข็งขัน แจกทั้งช็อคกาแลต ของทาน เล่น และเครื่องดื่มชุ่มคอ แก่ผู้มาเยือนอย่างประทับใจ การ ลงทะเบียน ไม่วุ่นวาย สบาย ๆๆ เพราะส่วนใหญ่ ได้ลง ทะเบียนล่วงหน้ามาแล้วถึง 372 ราย ส่วนผู้ลงทะเบียนหน้า งานมีจำ�นวนหนึ่งเท่านั้น ทำ�ให้การทำ�งานเป็นไปอย่าง เรียบร้อย ทุกท่านได้รับของที่ระลึก เป็นกระเป๋าเอกสารสี น้ำ�ตาลงามสรรพ ข้างในบรรจุด้วย สตอเบอรี่ผลใหญ่ เมื่อ คลี่ออกจะเป็นถุงใส่ของ หนังสือแสดงผลงาน ปากกา สมุด ฉีก และยังมีแถมด้วยหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับใหม่สุด ๆ สด ๆ ร้อน ๆ ฉบับวันที่ 13-3-53 ข่าวหน้า 3 ประชาสัมพันธ์ งานประชุมใหญ่ อย่างโดดเด่น และหนังสือพิมพ์เฉียบ 2 หน้าเต็ม ฉบับเดือนมีนาคม เมื่อขึ้นบันไดเลื่อนขึ้นไปชั้น 2 ในขณะรอพิธีเปิด มิตรโรเทเรียน ต่างได้ชมผลงาน ที่ คณะกรรมการได้จัดบอร์ดไว้อย่างสวยงาม ด้านหน้าห้อง ประชุม นอกจากนั้น ยังมีบู๊ทจำ�หน่ายของที่ระลึกไม่น้อย กว่า 20 บู๊ทเรียงราย ให้ได้เลือกซื้อได้อย่างจุใจ ด้านในสุด มุม House of friendship คึกคัก มีทั้งความบันเทิง ทั้ง นวดผ่อนคลาย เครื่องดื่มทั้งคั้นทั้งปั่น ผลไม้สด ๆ ขนม นานาชนิด มีให้เลือกได้ลองท้อง ก่อนอาหารกลางวัน เป็น

ที่อิ่มอกอิ่มใจและอิ่มท้องไปตาม ๆ กัน ส่วนคณะกรรมการ และผู้ช่วยเหลืองาน ต่างได้รับคูปองอาหารกลางวัน ให้ได้ อิ่มอร่อยคลายหิวที่ห้องเจ้านาง ทุกท่านต่างหมุนเวียนกัน ทำ�หน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม เวทีภายในห้องประชุม โดดเด่นด้วยการอออก แบบที่แปลกแหวกแนวสีสันสวยงาม เน้นป้ายทะเบียน ขนาดใหญ่ RI 3360 เชียงใหม่ ซึ่งแทนสัญลักษณ์ของการ เดิ น ทาง ซึ่ ง เปรี ย บกั บโรตารี ที่ ไ ม่ มี ก ารหยุ ด นิ่ ง ส่ ว น ประกอบของภาพเป็นแนวคิดการท่องเที่ยวเชียงใหม่ มีทั้ง พระธาตุดอยสุเทพ หอคำ�หลวง หมีแพนด้า ช้างน้อย ร่ม บ่อสร้าง กำ�แพงเมือง และกุหลาบงามเวียงพิงค์ จึงเป็น BackDrop ที่ให้ความรู้สึกตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ร่วมประชุมไม่ น้อย พิธเี ปิดการประชุมเริม่ ขึน ้ ในเวลา 13.00 น. วงดุรยิ างค์ วงใหญ่ ของโรงเรียนดาราวิทยาลัย บรรเลงเพลงมาร์ช โรตารี IT’S A SMALL WORLD นำ�ขบวนเชิญธงชาติไทย ธงชาติไต้หวัน ธงโรตารี โดยมีเยาวชนแลกเปลี่ยนทั้ง INBOUND OUTBOUND เป็นตัวแทนเชิญป้ายสโมสรต่าง ๆ ในภาค 3360 จำ�นวน 59 สโมสร ด้านหน้าเวทีคลาคล่ำ�ไป ด้วยผูส้ ือ่ ข่าวจากไทยนิวส์ เชียงใหม่นวิ ส์ เชียงใหม่เมล์ และ ทีวีช่อง 11 พร้อมทั้งช่างภาพอีกหลายท่านร่วมเก็บภาพ พิธีกรภาคพิธีการ อน.ดร.สุรพล นธการกิจกุล อน.สุมาลี กัญจินะ ดำ�เนินรายการ ประธานจัดงาน อน.นฤชล อาภรณ์

มีนาคม ๒๕๕๓


ข้างหลังภาพ

๑๓-๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓ วันประชุมใหญ่ภาค ๓๓๖๐ โรตารีสากล District Conference 2009-10 รัตน์ กล่าวรายงาน โดย ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ กล่าว เปิดประชุม ก่อนเปิดงานอย่างเป็นทางการ ได้เชิญ รองผู้ ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนประธานโรตารีสากลและโรตารี แอนน์ ร่วมเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยการร่วมกระตุก เชือกป้ายชื่องานที่ภายในซ่อนด้วยกลีบกุหลาบงาม โดยผู้ เชิญป้ายชื่องาน เป็น YE-REBOUND สุดหล่อ 2 คน และ YE-INOBOUND จำ�นวน 8 คน โปรยกลีบกุหลาบอยู่บนเวที นายไพโรจน์ แสงภู่วงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมประชุม ในนามจังหวัดเชียงใหม่ อผภ. ดร.ศุภวัตร ภูวกุล แนะนำ�ผู้แทนประธานโรตารีสากล และ โรตารีแอนน์โลตัส ผู้แทนประธานโรตารีสากล อดีตผู้ว่าการ ภาค KOU WEN SHU จากประเทศไต้หวัน กล่าวสุนทรพจน์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ในการบำ �เพ็ญประโยชน์สู่มวล มนุษยชาติทั่วโลก ในวาระการประชุมทั้ง 2 วัน จะเป็นการ สรุปผลงานในรอบปีบริหาร2552-2553 โดยมีวิทยากรผู้ทรง คุณวุฒิ ของภาค 3360 ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ อันทรงคุณค่า แห่งการบำ�เพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน ซึ่ง โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ตลอดปีบริหาร มีมูลค่ามากกว่า 41 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 59 โครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน

มีนาคม ๒๕๕๓

ตามจุดเน้นของประธาน โรตารีสากล ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับสุขภาพและ ความหิวโหย โครงการน้ำ�สะอาด โครงการรู้หนังสือ และ โครงการเกี่ยวกับเยาวชน เยาวชนแลกเปลี่ ย น ทั้ ง INBOUND และ OUTBOUND ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากคณะกรรมการ เยาวชนแลกเปลี่ยน โดย มี อน.ดร.บุญทอง ภู่เจริญ เป็น ประธานในการจัดประชุม โดยแยกห้องประชุม อยู่ในส่วน ของอาคารโรงแรม ดิเอ็มเพรส ส่วนคณะกรรมการ กลุ่ม ศึกษาแลกเปลี่ยน ได้รับการแนะนำ�ในวันที่ 2 ของการ ประชุม โดย อน.มนตรี วงศ์เกษม ภาคงานเลี้ยงรับรอง เต็มเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศ แห่งมิตรภาพ อาหารจีนของโรงแรม ได้รับคำ�ชมว่ารสชาด เยี่ยม พิธีกรคู่ขวัญ อน.บรรจบ สุนทรสวัสดิ์ รทร.จีรนันท์ จันต๊ะนาเขตร์ ดำ�เนินรายการได้ลื่นไหล ไม่ติดขัด หลาย ท่านร่วมโชว์พลังเสียงได้รื่นหู ก่อนเข้าสู่พิธีการ อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ ไม่ยอมพลาดที่จะขอบคุณผู้ร่วมงาน ด้วยการ มอบเพลง หนึ่งกำ�ลังใจ สำ�หรับทุกท่าน ช่วงพิธีการ ท่าน ผู้แทนประธานโรตารีสากล กล่าวสุนทรพจน์ ส่วน YE-

23 22


22 23

INBOUND สาวสวย 3 คนฟ้อนเล็บอย่างสวยงาม เป็นการ ต้อนรับผู้ร่วมงาน ส่วน YE-INBOUND จากไต้หวัน ร้องเพลง สาวเชียงใหม่ โดยมี YE-OUTBOUND หนุ่มน้อยบรรเลงเพลง ด้วยกีต้าตัวโปรด เกือบไม่รอด แก้เขิน ด้วยเพลงจีนซึ่งเป็น เพลงประจำ�ชาติ 1 เพลง รอดตัวไป ส่วนการแสดงของ โรแทเรียน ไม่แพ้เยาวชนแลกเปลี่ยน เล่นเอาได้เสียงเชียร์ กรี๊ดกร๊าด ด้วยลีลา ของโรแทเรียนจากสโมสรเชียงใหม่ ที่ วาดลวดลายท่าเต้นได้เร้าใจ สมราคาคุยที่ อน.วีรวรรณ รัตน สุภา ได้บอกว่าสนุกจริงๆๆ ก่อนพบการแสดงชุดสุดท้าย พบกับการแสดงสุดเซอร์ไพซ์ จาก ผู้ว่าการภาคแววดาว ลิ้มเล็งเลิศ และคณะ ที่ร่วมโชว์ลีลาท่าเต้นประกอบเพลง ได้ น่ารักน่าชัง เรียกเสียงกรี๊ดกร้าด ไม่น้อยไปกว่าชุดก่อนหน้า สุดท้ายการแสดงของชุด หมีแพนด้า ได้ออกมาวาดลวดลาย บนเวที 3 เพลงรวด ให้ทุกท่านได้รับความบันเทิงอย่างเต็ม อิ่ม แล้วจึงร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับแขกทุกโต๊ะ ที่อยู่ใน งาน ก่อนลากลับในเวลา 21.00 น.เศษ หลายท่านเริ่มสลาย ตัว เพื่อหาโอกาส ชมความงามในยามราตรี ของเมือง เชียงใหม่ วันรุง่ ขึน ้ มิตรโรแทเรียน เริม่ ทยอยเข้าห้องประชุม เพือ่ ร่วมประชุมตามกำ�หนดการ บางส่วน ก็ยงั อุดหนุนพ่อค้า

แม่ขายหน้าห้องประชุม บ้างก็ใช้บริการของมุม House of friendship ช่วงบ่ายบรรยากาศคึกคัก ห้องประชุมเต็มไป ด้วย เยาวชนแลกเปลี่ยน และมิตรโรแทเรียน ก่อนปิด ประชุ ม ทุ ก ท่ า นร่ ว มลุ้ น ระทึ ก กั บ การชิ ง รางวั ล รถ จักรยานยนต์มูลค่า 46,700 บาท สำ�หรับผู้มีคูปองพิเศษ สนับสนุนการจัดงาน ผู้โชคดีได้รับรางวัลรถจักรยานยนต์ ได้แก่สโมสรโรตารีสอง จ.แพร่ และสโมสรโรตารีสุโขทัย ได้ รางวัลปลอบใจเป็นรถเด็กเล่น และมีผู้โชคดี อีกมากมาย ได้ รับรางวัลโทรศัพท์มือถือ จำ�นวน 20 เครื่อง พัดลม 20 เครื่อง จักรยาน 2 คัน และสุดท้าย ผู้ได้รับรางวัลมาก่อน ได้แก่ อน.พ.ต.ท.สมบูรณ์ บูรณพิณ สโมสรโรตารีลำ�ปาง ผู้ ได้รับรางวัลมามาก ได้แก่สโมสรโรตารีเชียงใหม่ และสโมสร ผู้มาไกล ได้แก่สโมสรน้องใหม่ล่าสุด คือสโมสรโรตารีชาลา วัน จากจังหวัดพิจิตร ทุกท่านเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพพร้อมความสุข ที่เต็มเปี่ยม ขอขอบคุณมิตรโรแทเรียนทุกท่าน ที่ได้ให้การ สนับสนุนการจัดการประชุมใหญ่ในครั้งนี้ให้ประสบความ สำ�เร็จอย่างสวยงาม พบกันใหม่ในปีหน้าที่จังหวัดลำ�ปาง สวัสดีค่ะ…

มีนาคม ๒๕๕๓


At a glance...

RI President Representative PDG. Kou-Wen Hsu of District 3490 RI Conference of District 3360

อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

A district conference is an occasion where Rotarians share experience, discuss Rotary programs and renew friendship. It is also an annual motivational meeting that showcases club and district activities. Our Rotary founder Paul Harris once said: “This is a changing world; we must be prepared to change with it. The story of Rotary will have to be rewritten again and again as Rotary further extends.” As we all know, Rotary International president, district governors, club presidents change every year. However, the spirit of Service Above Self and the leadership of Rotary will go forward and stay relevant for many hundred years without change. Each year we have new leaders, their thoughts and new ideas may change some Rotary programs in order to respond to the trends of the world, it is on the strength of this combination that the philosophy of Rotary remains endlessly. Rotary International President John chooses “THE FUTURE OF ROTARY IS IN YOUR HANDS” as the Rotary theme for 2009-10. He says: “in Rotary everything we are, and everything we aspire to become, lies in the hands of Rotarians in their clubs. If our clubs are congenial and our meetings well run, if our service is carefully planned and competently carried out, if our members are qualified, honest, and respected in their vocations and communities, then all of Rotary will thrive.” It is President John’s hope that by carrying out this theme we will assure Rotary’s continued success in the 21st century. The youngest generation of the Rotary family is composed of our Rotaract clubs and Interact clubs, the participants in our Rotary Youth Leadership Awards program, our Ambassadorial Scholars, and our more than 8,000 Rotary Youth Exchange students every year. As in any family, our youth are our brightest promise for the future. Therefore, I am sure we all hope that many of these young people go on to become Rotarians in good time. Rotary is a part of them even today – and they are a part of us. Rotary International, the world’s first service organization, is made up of nearly 33,600 clubs in more than 200 countries and geographical areas. Its club members form a global network of business and professional leaders who

มีนาคม ๒๕๕๓

volunteer their time and talents to serve their communities and the world. Strong fellowship among Rotarians and meaningful community and international service projects characterize Rotary worldwide. Rotary is essentially a grassroots organization, with most of its service efforts being carried out at the club level. The district and international structure is designed to support the clubs and help them provide more service in their local communities and abroad. Rotarians are members of Rotary clubs, which belong to the global association Rotary International (RI). Rotary International’s programs and service opportunities are designed to help Rotarians meet the needs in the communities and reach out to assist people in need worldwide. It include Interact, Rotaract, Rotary Community Corps, Rotary Fellowship and Rotarian Action Groups, Rotary Friendship Exchange, Rotary Volunteers, Rotary Youth Exchange, Rotary Leadership Awards, World Community Service. The Rotary Foundation grants program have been successfully funding many worthwhile humanitarian and education programs in the world. Many complimentary remarks have been received and it has been highly spoken of as the most effective tools Rotary is using in advancing its goals through funding the 6 areas of focus:  Peace conflict Prevention & Resolution  Disease Prevention & Treatment  Water & Sanitation  Maternal & Child Health  Basic Education & Literacy  Economic Community & Development One of our effective programs to promote international understanding and world peace is our youth exchange program. We successfully conduct it through Rotarians sponsoring and hosting 8000 exchange students a year, that is to sow the seeds of world peace in all places on earth. A district conference is held to further the object of Rotary through fellowship, inspirational addresses, and the discussion of matters relating to the affairs of clubs in the district and RI generally. It is also to showcase Rotary programs and successful district and club activities .

24 25


สุนทรพจน์ โดยผู้แทนโรตารีสากล อผภ. Kou Wen Hsu ภาค 3490 ในการประชุมใหญ่ ภาค 3360

25 24

ท่านผู้ก่อตั้งฯ พอล แฮริส ครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวว่า “โลกมีการเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา เราจึงต้องเตรียมความพร้อม ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ เรื่องราวของโรตารีจะต้อง ถูกเขียนซ้ำ�แล้ว ซ้ำ�เล่า ในขณะที่โรตารีดำ�เนินต่อไป” การ ประชุมใหญ่ของภาค เป็นการประชุมทีใ่ ห้โรแทเรียนได้มกี ารแลก เปลี่ยนประสบการณ์ หารือโครงการของสโมสรโรตารี และ กระชับสัมพันธภาพ อีกทัง้ ยังเป็นการประชุมประจำ�ปีทีเ่ สริมแรง จูงใจในการทีใ่ ห้แสดงออกถึงโครงการตัวอย่างและกิจกรรมต่างๆ ของภาค อย่างที่เราทุกคนทราบ ว่าในทุกปีจะมีการเปลี่ยน ประธานโรตารีสากล ผู้ว่าการภาค นายกสโมสรโรตารีจะอย่างไร ก็ตาม ด้วยวิญญาณของผู้บริการเหนือตนเอง และภาวะผู้นำ� ของโรตารีจะต้องก้าวต่อไป และคงอยู่อีกหลายร้อยปีโดยไม่มี การเปลี่ยนแปลง ในแต่ละปี เรามีผู้นำ�รุ่นใหม่ๆ ความคิดและแนวคิด ใหม่ๆของพวกเขาอาจจะปรับเปลี่ยนรูปแบบโรตารีบางประการ ในอันที่จะตอบสนองต่อแนวโน้มของโลกในอนาคต ซึ่งการผสม ผสานนี้เองที่เป็นจุดแข็งอันทำ�ให้หลักปรัชญาของโรตารีคงอยู่ ต่อไปอย่างไม่มีวันจบ แล่ะนั่นก็คือเหตุที่ ท่านประธานโรตารีสากล จอห์น เลือกคติพจน์ปี 2552-2553 ว่า อนาคตโรตารีอยู่ในมือท่าน ท่านกล่าวอีกว่า ในโรตารีเราคือทุกๆสิ่ง และในทุกสิ่งที่เป็นแรง ปรารถนาให้กลายมาเป็นเรา(โรแทเรียน) ก็ล้วนมีอยู่ในมือของ โรแทเรียนทุกคนในสโมสรนั่นเอง และถ้าสโมสรของเราสามัคคีกันและมีประชุมประจำ� สัปดาห์ที่ราบรื่น มีการวางแผนการบริการชุมชนที่ดีและดำ�เนิน การอย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าสมาชิกของเรามีคุณสมบัติที่ดี ซือ่ สัตย์ เคารพต่อวิชาชีพ และเคารพต่อชุมชนของพวกเขาแล้ว สโมสรโรตารีทุกแห่งก็จะเจริญรุ่งเรืองอย่างแน่นอน” ท่านประธานโรตารีสากลจอห์นหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า ถ้าเราดำ�เนิน ตามคติพจน์นี้ โรตารีของเราก็จะก้าวผ่านศตวรรษที่ 21 อย่าง ประสบความสำ�เร็จ สมาชิกที่มีอายุน้อยสุดในครอบครัวของโรตารีก็คือ บรรดาโรตาแร็ค อินเตอร์แร็ค ผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมรางวัลผู้นำ� เยาวชนโรตารี(ไรล่า) และผู้ที่ได้รับทุนทูตสันถวไมตรี รวมถึง เยาวชนแลกเปลี่ยนกว่า 8,000 คนในแต่ละปี เช่นเดียวกันใน แต่ละครอบครัว เยาวชนของเราถือเป็นคำ�สัญญาทีส่ ว่างไสวทีส่ ดุ ในอนาคตข้างหน้า ดังนั้น ผมมั่นใจว่าเราทุกคนหวังที่จะเห็นเยาวชน เหล่านี้เป็นโรแทเรียนที่ดีในวันข้างหน้า โรตารีจึงเป็นส่วนหนึ่ง ของพวกเขาในวันนี้ และพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของเราเช่นกัน โรตารีสากล เป็นองค์กรแห่งการบริการแห่งแรกของโลก ซึง่ ประ กอลด้วยสโมสรเกือบ 33,600 สโมสร ในกว่า 200 ประเทศใน

ภูมิภาคต่างๆ สมาชิกแต่ละสโมสรก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระดับ โลกของนักธุรกิจ และผู้นำ�วิชาชีพ ผู้ซึ่งได้สละเวลา ความ สามารถในการบริการชุมชนและโลกมิตรภาพที่แน่นแฟ้นระ หว่างโรแทเรียน ชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือเอาใจใส่ และ โครงการบริการต่างประเทศ คือบุคลิกของโรตารีทั่วโลก โรตารี คือองค์กรรากหญ้าที่ขาดเสียมิได้ ซึ่งพลังการ บริการส่วนใหญ่มาจากการดำ�เนินการในระดับสโมสร ซึ่งเครือ ข่ายระดับภาคและโรตารีสากล กำ�หนดขึ้นให้มีบทบาทในการ สนับสนุนสโมสร เพือ่ ช่วยให้ทกุ สโมสรให้บริการแก่ชมุ ชนในท้อง ถิ่นและต่างถิ่นได้มากขึ้น โปรแกรมและแนวทางการบริการต่างๆของโรตารี สากลนั้น ได้ถูกออกแบบเพื่อช่วยโรแทเรียนให้เข้าถึงและทราบ ความต้องการของชุมชน เพื่อที่จะสนองความต้องการเพื่อช่วย เหลือชุมชนได้ตามที่ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการดำ�เนินงานของอินเต อร์แร็ค โรตาแร็ค กลุ่มความร่วมมือของชุมชนโรตารี กลุ่ม บำ�เพ็ญประโยชน์ชมุ ชนโรตารี กลุม่ แลกเปลีย่ นมิตรภาพระหว่าง โรแทเรียน อาสาสมัครโรตารี เยาวชนแลกเปลี่ยน รางวัลผู้นำ� โรตารี และการบริการชุมชนโลก โครงการทุนสนับสนุนของมูลนิธิโรตารีประสบผล สำ�เร็จในการให้ทุนแก่โครงการที่มีคุณค่าต่อมุนษยชาติและการ ศึกษาหลายโครงการทั่วโลก มีการพูดถึงที่น่ายกย่องหลายประการที่เราได้รับและ ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมากถึงว่าเครื่องมือที่ประสิทธิภาพ ที่สุดของโรตารีคือการใช้การก้าวหน้าของเป้าหมายผ่านการให้ ทุน 6 พื้นที่หลักที่มุ่งเน้น คือ o สันติภาพ การป้องกันและการแก้ไขข้อขัดแย้ง o การรักษาและการป้องกันโรค o น้ำ�และสุขอนามัย o สุขภาพของมารดาและบุตร o การรู้หนังสือและการศึกษาพื้นฐาน o การพัฒนาและสร้างชุมชนพอเพียง หนึง่ ในหลายโครงการทีม่ ปี ระสิทธิภาพต่อการส่งเสริม ความเข้าใจระหว่างกันของสากลและสันติภาพโลก คือการ โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน เราประสบผลสำ�เร็จในการดำ�เนิน การจากการสนับสนุนและการเป็นเจ้าบ้านที่ต้อนรับนักเรียนถึง 8,000 คนในแต่ ล ะปี นั้ น ก็ คื อ เมล็ ด พั น ธ์ ที่ จ ะทำ �ให้ โ ลกเกิ ด สันติภาพจากทุกๆแห่งบนโลก การประชุมใหญ่ภาคถูกจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของ โรตารีที่จะกระชับมิตรภาพ เสริมสร้างแรงบันดาลใจ และการ ถกถึงเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของสโมสรในภาค และโรตารีสากล อีกทั้งการประชุมนี้ยังเป็นเวทีแสดงโครงการ โรตารีต่างๆที่สโมสรและภาคได้ดำ�เนินการอย่างสำ�เร็จอีกด้วย

มีนาคม ๒๕๕๓


บ้านเลขที่ 3360 R.I.

อน.ดร.บุษบง จำ�เริญ ดารารัศมี สโมสรโรตารี เชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม

สโมสรโรตารีเชียงใหม่ร่วมเฉลิมฉลองการก่อตั้งโรตารีสากล เนื่องในการครบรอบ 105 ปี แห่งการก่อตั้ง โดยจัดให้มีการประกวดภาพวาดสันติภาพ ในระดับนักเรียน ในจังหวัด เชียงใหม่

รางวัลชนะเลิศที่ 1 ระดับอายุ 8-14 ปี ด.ญ. ปณิธาน ศรีธงชัย โรงเรียนวิชัยวิทยา

มีนาคม ๒๕๕๓

26 27


Top Ten

in D.3360 RI สิบอันดับแรก ในภาค 3360 โรตารีสากล

วันนี้ว่ากันด้วยเรื่อง “สิบอันดับแรก” โดยอิงข้อมูลจาก SAR ณ วันที่ 1 มีนาคม 2553 ทำ�ไมต้องอิงจาก SAR เพราะว่าต่อไปนี้การให้ข้อมูล ต่างๆเขาจะอิงจาก SAR เสมอ ไม่อย่างนั้นต่างคนต่างว่าตัวเลขไม่ตรงกัน ไม่เพียงแค่เกิดความผิดเพีย้ นเชิงข้อมูล ใช้วางแผนไม่ได้ บ่อยครัง้ ยังทำ�ให้ สมาชิกสับสนได้อีกด้วย วันนี้ลองนำ�เอาข้อมูลที่นำ�เสนอในการประชุมประจำ�ปี (District Conference) มาคุยกันดู เผื่อว่าจะมีบางสโมสรลุ้นเพื่อใต่อันดับก็จะ เป็นการพัฒนาสโมสรและสมาชิกไปในตัว ข้อมูลต่างๆจะเปลี่ยนแปลงอยู่ เสมอ จึงต้องลงวันที่กำ�กับไว้ ต่อไปนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2553 ภาค 3360 มีจำ�นวนสมาชิก 1,197 คน จาก 59 สโมสร หาก แยกสโมสร ที่จะรวมกัน เช่น แม่สอดกับเมืองฉอด เหลือ 58 สโมสร สโมสรที่ประสงค์ จะยุบสโมสรเนื่องจากสาเหตุต่างๆเช่น สมาชิกร่อยหรอ หานายกไม่ได้ จ่ายค่าสมาชิกไม่ครบ ฯลฯ คาดว่าจะหายไป 4 สโมสร คงเหลือ 55 ใน จำ�นวนนี้ถูกแขวน 1 สโมสร เราจึงยังเหลือสโมสรที่มีสภาพสมบูรณ์ คือ สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ�เพียง 54 สโมสรเท่านั้น คงเป็นเรื่องที่สมาชิกในภาค 3360 ต้องช่วยกัน ในอีกด้านหนึ่ง หากเรานำ�เอาข้อมูลของสโมสรทั้งหมดมาจัด อันดับสิบอันดับแรก (top ten) ก็จะได้ภาพที่น่าสนใจไม่น้อย และหาก ศึกษาในรายละเอียดก็จะสามารถวางแผนฟื้นฟูได้ถูกทาง สิ บ อั น ดั บ แรกที่ มี จำ � นวนสมาชิ ก สู ง สุ ด คื อ เชี ย งใหม่ (63) พิษณุโลก (49) น่าน (43) นเรศวร (33) เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม (32) แม่จัน (32) ลำ�ปาง (29) เชียงใหม่เหนือ (29) แม่สาย (29) และเชียงใหม่ตะวันตก (29)

27 26

มีนาคม ๒๕๕๓


บ้านเลขที่ 3360 R.I.

สิบอันดับแรกในเรื่องยอดเงินบริจาครวม คือ เชียงใหม่ (134,139 U$) เชียงใหม่ถิน ่ ไทยงาม (66,371) ลำ�ปาง (36,676) พิษณุโลก (35,185) ช้างเผือกเชียงใหม่ (35,075) เชียงใหม่เหนือ (33,548) แม่สาย (25,250) พะเยา (24,833) อุตรดิตถ์ (23,020) ลำ�พูน (21300) ถัดจากลำ�พูนเป็นแม่จัน เห็นทีแม่จันจะต้องลุ้นอีกนิดนะคะ สิบอันดับแรกในเรื่องจำ�นวนสมาชิกที่เป็น PHF คือ เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม (34) พิษณุโลก (31) เชียงใหม่ (30) ลำ�ปาง (28) ช้างเผือกเชียงใหม่ (26) เชียงใหม่ เหนือ (25) เชียงราย (21) พะเยา (18) ลำ�พูน (18) แม่สาย (17) เชียงใหม่ตะวัน ออก (17) เชียงใหม่ตะวันออกนับว่าไปได้สวยทีเดียว ดูเผินๆเหมือนมีสมาชิกน้อย สิ บ อั น ดั บ แรกในด้ า นจำ � นวนโรแทเรี ย นที่ บ ริ จ าคเงิ น เพื่ อ มู ล นิ ธิ คื อ เชียงใหม่ (42) เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม (26) พิษณุโลก (18) สวรรคโลก (17) เชียงใหม่ ตะวันตก (16) อุตรดิตถ์ (16) ช้างเผือกเชียงใหม่ (16) ลำ�ปาง (15) แม่สอด (15) เชียงรายเหนือ (15) ถัดไปเป็นแม่สาย ห่างกันเส้นยาแดงผ่าแปดค่ะ ที่เล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดอันดับ มีวิธีจัดอันดับ ได้อีกตั้งหลายอย่างหลายวิธี เป็นต้นว่าในยุคที่คอมพิวเตอร์ขึ้นสมอง หรือในโลก online สโมสรของภาค 3360 ได้แจ้งไว้ใน SAR ว่ามีใครบ้างที่มี e-mail address พบว่ามีจำ�นวนรวม 412 ท่าน เอาแค่มีและแจ้ง e-mail address เท่านั้น ใช้ไม่ใช้ ไม่ว่ากัน พอมาลองจัดอันดับสิบสโมสรแรกจะพบว่ามีอีกหลายสโมสรชื่อขึ้น กระดานมาในทันที เช่น สโมสรโรตารีดอยพระบาท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูล ส่วนนี้อาจไม่ตรงข้อเท็จจริงเพราะหลายคน มีแล้วไม่แจ้ง หลายคนแจ้งแล้วไม่ใช้ (ไม่เปิด) บางคนไม่มี ไม่แจ้ง ไม่ใช้ ดังนั้น หากภาค 3360 จะลุ้นให้สมาชิกใช้ email กันเยอะๆ เราคงจะได้ภาพใหม่ของภาค 3360 และจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ต่อการใช้ member access ของโรตารีสากลและที่ส�ำ คัญเป็นจุดเริ่มต้นของการของ ทุนสมทบจากมูลนิธิโรตารี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ภาค 3360 จะรณรงค์ในปี 2553-54 ค่ะ ชมตารางเสียหน่อยนะคะ

มีนาคม ๒๕๕๓

28 29


29 28

อันดับ

ยอดบริจาค

สมาชิกPHF ชม.ถิ่นไทยงาม

สมาชิกใช้ e-mail เชียงใหม่

สมาชิกให้ บริจาค เชียงใหม่

1

เชียงใหม่

2

ชม.ถิ่นไทยงาม

พิษณุโลก

ปัว

ชม.ถิ่นไทยงาม

3

ลำ�ปาง

เชียงใหม่

ล้านนา

พิษณุโลก

4

พิษณุโลก

ลำ�ปาง

ชม.ถิ่นไทยงาม

สวรรคโลก

5

ช้างเผือก

ช้างเผือก

ชม.ตะวันตก

ชม.ตะวันตก

6

แม่สาย

เชียงรายเหนือ

ช้างเผือก

อุตรดิตถ์

7

พะเยา

เชียงราย

เชียงใหม่เหนือ

ช้างเผือก

8

อุตรดิตถ์

พะเยา

เชียงรายเหนือ

ลำ�ปาง

9

ลำ�พูน

ลำ�พูน

เชียงใหม่ใต้

แม่สอด

10

แม่จัน

แม่สาย

ดอยพระบาท

เชียงรายเหนือ มีนาคม ๒๕๕๓


หนึ่ง ใน ๑๐๐

อน.จันทนี เทียนวิจิตร สโมสรโรตารี ล้านนา เชียงใหม วันแรกของการประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี ภาค ๓๓๖๐ โรตารีสากล เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ เราชาวโรแทเรียนได้ต้อนรับคุณป๊อบ-อารี ยา สิริโสดา อดีตนางสาวไทยปี ๒๕๓๗ ที่สนใจมาร่วมประชุมด้วยและอยู่ร่วมกับพวกเรา จนถึงงานภาคกลางคืน ความสวยน่ารักและรอยยิ้มที่สดใสของเธอได้เพิ่มสีสันและบรรยากาศ การประชุมให้สดใสขึน ้ และทีน ่ า่ สนใจกว่านัน ้ คือเธอได้สนับสนุนในการให้โอกาสทางการศึกษา แก่เด็กชาวเขามานานนับสิบปี คอลัมน์ “๑ ในร้อย” จึงไม่พลาดโอกาสที่จะนัดสัมภาษณ์คุณ ป๊อบเพื่อให้สอดคล้องกับเดือนมีนาคมนี้ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเรียนรู้ (Literacy month) ของ โรตารีสากล ๑ในร้อย: ทราบว่าคุณป๊อบทำ�โครงการที่สนับสนุนด้านการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนชาวเขาที่ โรงเรียนบ้านแม่โต๋ หรือเรียกกันว่าเด็กโต๋ มีที่มาที่ไปอย่างไร ป๊อบ: เราไปเจอคณะเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่โต๋ครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๓ ตอนไปเที่ยวทะเล ที่บางแสน เป็นเด็กชาวเขาหกสิบคนที่ไม่เคยเห็นทะเลมาก่อน ไม่เคยกินปู ไม่เคยกินปลาหมึก ไปเห็นสิ่งที่เขากินและเขาพยายามจดจำ�รสชาติของอาหาร เราเห็นก็อึ้งและเขายังบอกว่าเขา เป็นคนแรกในโรงเรียนที่เห็นตะวันบนทะเล เห็นน้ำ�ทะเล เขาเอาขวดเปล่าจากถังขยะมาใส่ น้ำ�ทะเลเพื่อเอาไปฝากพ่อแม่และคนในครอบครัวเขาเพื่อจะได้รู้ว่าน้ำ�ทะเลเป็นอย่างไร นี่มัน น้ำ�บางแสนนะเขาเก็บมาเหมือนทองเลย และเขาก็ถามว่าพี่เป๊าะมาจากไหน เราก็บอกว่ามา

บทสัมภาษณ์ มีนาคม ๒๕๕๓

ป๊อบ - อารียา 30 31


จากอเมริกา เขาก็ถามอีกว่าอเมริกามันติดขอบทะเลไหม อเมริกามันไกลกา อยู่ไกลกว่ากรุงเทพกา คือโลกของเขา มันแคบเราไปมองว่าเขาลำ�บากแต่จริงๆ เขามีความสุขมา กๆ นะ เขาดีใจที่ได้ไปทะเล แล้วก็นั่งซึ้งกับบรรยากาศริม หาด นั่งจับเม็ดทราย แล้วเขาก็มีคำ�ถามที่มีความบริสุทธิ์ จิตใจของเขาบริสุทธิ์ เขาจะมีคำ�ถามที่น่าสนใจว่าทำ�ไมน้ำ� ทะเลมันเค็ม สัตว์ที่มันอยู่ในหอยน่ะหอยมาก่อนแล้วสัตว์ ไปอยู่หรือเปล่า คลื่นมาจากไหน เขาเป็นเด็กช่างคิดช่าง สนใจแต่ขาดโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้เท่านั้น ๑ในร้อย: คุณป๊อบเลยไปช่วยเหลือเขา ป๊อบ: เราไม่ได้ไปช่วยเขานะ เราไปชื่นชมเขาและอยากให้ คนอื่นได้ชื่นชมเขา สนับสนุนให้เขาได้มีโอกาสทางการ ศึกษามากกว่าที่เป็นอยู่ ๑ในร้อย: หลังจากเจอกันครั้งแรกที่บางแสน คุณป๊อบก็ไป หาเขาที่บ้านแม่โต๋ตลอดเลย ป๊อบ: ตั้งแต่เจอเด็กโต๋ที่บางแสน แล้วก็ขึ้นมาหาเขาทุกปี อาทิตย์หน้าก็จะไปหาอีก คือไปผูกพันกับครูใหญ่ ทีโ่ รงเรียน บ้านแม่โต๋ อยู่ที่อำ�เภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ครูใหญ่ที่ นั่นเขาจะเป็นคนที่นิ่ง สุขุม เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือ ที่จริงก็เคยไปโรงเรียนอื่นกับเอ็นจีโอมาแล้ว เมื่อมาพบครู ใหญ่คนนี้เขาไม่ขออะไร เราก็เลยอยากจะให้ แต่ถ้าไปจุดที่ มองเราเป็นเอทีเอ็ม บอกอยู่เรื่อยว่าน้องป๊อบตรงนี้มันเสีย นะ ตรงนี้ต้องสร้างนะ เราจะไม่สนใจมากนักแต่เราจะมอง ว่าเด็กต้องการอะไรมากกว่า เช่น ต้องการซื้ออุปกรณ์ เรา ก็ดูตามความสำ�คัญและความจำ�เป็น ถ้าจะให้ซื้อทีวีเพื่อดู หนังดูละครก็จะไม่ซื้อให้ แต่ถ้าให้ขอทรูวิชั่นในช่องการ ศึ ก ษาเราก็ จ ะขอให้ บางคนไปโรงเรี ย นไม่ ไ ด้ ดู ว่ า เด็ ก ต้องการอะไรดูแต่ว่าเขาต้องการให้อะไร บางทีไม่ตรงกับ ความต้องการของเด็ก ที่โรงเรียนบ้านแม่โต๋มีเด็กผู้หญิง มากกว่าเด็กผู้ชาย เด็กต้องการผ้าอนามัย อย่างอาหารการ กินเขาจะกินผัก ถ้าซื้อพวกแฮมเบอร์เกอร์ไปให้เขาไม่ได้ ชอบนะ เขาอยากกินก๋วยเตี๋ยวเราก็ทำ�ง่าย เขาก็มีความสุข กับการได้กินก๋วยเตี๋ยว บอกว่าก๋วยเตี๋ยวอร่อยที่สุดในโลก เป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราไม่เคยรู้ เด็กชาวเขาไม่เหมือนเด็กใน กรุงเทพ เด็กชาวเขามีชีวิตที่เรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ ซื่อ บริสุทธิ์ มีความคิด เด็กในกรุงเทพจะเที่ยวห้าง เล่นเกมส์ เด็กชาวเขาต้องตื่นเช้าเดินไปไร่นาห้าหกกิโล เขาไม่ได้เล่น เกมส์แต่ร่างกายเขาแข็งแรง เขากินข้าว กินผัก ไม่มีฟาส ฟู ด ส์ เขาดู แ ข็ ง แรงอายุ ข องเขาจะยื น กว่ า เขาอยู่ กั บ ธรรมชาติ ตอนที่เราเอาเด็กมาสิบคนมาเปิดตัวหนังเด็กโต๋ พาเขานั่งเครื่องบินเขาแทบจะร้องไห้ เขามองลงไปข้างล่าง บอกว่าหนูไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ขึ้นเครื่องบิน หนูตายแล้ว หรือ ได้ขึ้นสวรรค์แล้วหรือคะ (หัวเราะ) เขามีความบริสุทธิ์ ที่เราขาดไปตั้งนาน ที่กรุงเทพก็ให้เขาเดินแถวสยาม ให้เงิน เขาไปร้อยสองร้อย เขาบอกว่าพี่ป๊อบกระโปรงยาวแค่นี้ (ทำ� มือประมาณคืบ) ราคาตัง้ สองหมืน ่ กระโปรงของหนูยาวกว่า ตั้งเยอะราคาแค่สองร้อย ทำ�ไมคนกรุงเทพต้องซื้อของ แพงๆ ด้วย พี่บอกว่าน้องนี่มันแฟชั่น จะอธิบายยังไงว่า

แฟชั่นคืออะไร อย่างรองเท้าแบรนด์เนมคู่ละห้าหมื่นบาท กระเป๋าราคาเป็นแสน แพงเท่ากับการสร้างบ้านชาวเขาทั้ง หมู่บ้าน อธิบายยากมาก พาเขานั่งรถไปผ่านตึกสูงๆ ข้าง นอกจะมีเครื่องแอร์ เด็กก็ชี้และถามว่านั่นอะไร ก็บอกว่า เป็นเครื่องแอร์ เพราะว่าคนกรุงเทพอยู่ในตึก ต้องซื้อแอร์ มาติดเพื่อหายใจ เด็กก็บอกว่าคนกรุงเทพน่าสงสารต้องซื้อ แอร์หายใจด้วยหรือคะ คือเราชอบมองว่าคนชาวเขาน่า สงสาร แต่เคยคิดไหมว่าเขามองเราว่าน่าสงสาร คือเขาอยู่ กับธรรมชาติ ใช่เขาอยู่กับธรรมชาติ อากาศมันสดชื่น ผัก ก็ไม่มีสารเคมี น้ำ�ก็เย็นๆ ก็รินน้ำ�จากน้ำ�ตก ที่นี่ต้องซื้อน้ำ� ดื่ม ต้องซื้อแอร์หายใจ ตอนหลังป๊อบเลยพาเด็กไปทะเล บ้าง เราไปชื่นชมกับชีวิตที่บริสุทธิ์ของเขาและอยากจะแชร์ ความรู้สึกนี้ให้กับคนที่หัวใจมันแข็งไปตั้งนานแล้ว คนที่ มองว่าทะเลมันสวยตรงไหน มุ่งมั่นแต่ภารกิจของตัวเอง แต่เด็กนั่งตั้งใจสร้างบ้านทราย sand castle เขามีความ ตั้งใจสูง มีสมาธิ ส่วนเรายิ่งโตก็กังวลถึงหลายเรื่อง สมอง คิดไปเรื่อยไม่อยู่กับธรรมชาติเท่าไหร่ ป๊อบไม่ได้ไปช่วย เหลือเขา เราไปชื่นชมชีวิตเขา การที่เรามีชีวิตอยู่กับ ธรรมชาตินี่มันจริงที่สุด เรามาจากธรรมชาติ เราสองคน อาจมีชีวิตเหลืออีกสามสิบปีถ้าคิดเป็นวันก็เหลือหนึ่งหมื่น เก้าร้อยห้าสิบวัน (เอาเครื่องคิดเลขมากด) มันน้อยมาก พี่ จะทำ�อะไรล่ะ มันน้อยมากเลยนะ วันที่เหลือเราจะทำ�อะไร ดีกับชีวิต เราก็มีส่วนสนับสนุนเขา เขาต้องการแค่โอกาส เราทำ�โครงการกองทุนเด็กโต๋เมื่อห้าปีที่แล้ว การที่เราไปทำ� หนังเรื่องของเขาเราก็ผูกพันกับเขา บางทีทำ�ตาปริบๆ นั่ง ร้องไห้เพราะพอจะเรียนก็ไม่ได้เรียน แม่ให้น้องชายเรียน แทน จริงๆ เด็กอยากเรียนเราก็เลยไปช่วยให้โอกาสเขา จากภาษิตฝรั่งที่บอกว่าให้ปลาหนึ่งตัวเขากินได้หนึ่งวัน แต่ ถ้าสอนให้เขาตกปลาเขาก็จะหากินได้ตลอดไป ตอนนี้เขา กำ�ลังเรียนที่จะตกปลา ไปเรียนก็ยังต้องหาหอพัก ตอนนี้มี ทุนของญี่ปุ่นให้เงินมาหลายปี ให้เช่าบ้านให้เด็ก เพราะที่ โรงเรียนนี้มีสอนถึงชั้น ม. ๓ ๑ในร้อย: กองทุนเด็กโต๋ช่วยด้านใดบ้าง ป๊อบ: กองทุนเด็กโต๋ก็สนับสนุนการศึกษาให้เด็กหนึ่งร้อย กว่าคน หาบ้านราวสิบหลังในเชียงใหม่เพื่อเป็นที่อยู่ให้เขา มาเรียนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็จะให้ ค่าหอพัก ค่าอาหาร เอาข้าวมาจากบ้าน เด็กอยู่ด้วยกัน เพราะบ้านของเขาอยู่บนภูเขาสูง เขาก็ต้องจากบ้านมา เรียนในเมือง ที่จริงพ่อแม่ก็เป็นห่วง ก่อนกองทุนนี้เกิดขึ้น เด็กผู้ชายไปเป็นเด็กปั๊ม เด็กผู้หญิงก็ไปทำ�งานทำ�ความ สะอาดบ้าน ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ เมื่อเขามีความฝัน ของเขา เราพยายามจะหาเด็กที่ใฝ่ดี จิตใจดี และขยันเรียน หนังสือ ไม่จำ�เป็นต้องเป็นเด็กเก่ง การดูแลเด็กวัยรุ่นก็ต้อง มีกฎกติกา บางคนอยากจะมีแฟน อยากมีมือถือ มีแฟชั่น แต่งหน้า ทำ�ผม บางทีก็คิด..เด็กชาวเขาเราเป็นอย่างนี้แล้ว หรือ เราไม่สนับสนุนให้เอาเงินมาจ่ายตามแฟชั่น เงิน กองทุนจะจ่ายค่าอาหารกับหอพัก ถ้าเป็นหอพักหญิงมี กติกาห้ามเอาผู้ชายเข้ามาในหอพัก คือจะมีแฟนก็มีข้าง

า สิรโิ สดา อดีตนางสาวไทยปี ๒๕๓๗ 31 30

มีนาคม ๒๕๕๓


หนึ่ง ใน ๑๐๐

นอก เด็กจะมาเรียนชั้นมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย รุ่นพี่ ก็จะดูรุ่นน้อง ก็ต้องประชุมกันช่วยเหลือกัน แล้วก็เขียน จดหมายมาหาเรา ๑ในร้อย: สัดส่วนเด็กที่มาเรียนมีกี่คน ป๊อบ: จากปีหนึ่งมีเด็กร้อยกว่าคน มาเรียนหกสิบคน เรา จะคัดเลือกคนที่มีแวว มีความตั้งใจ เรือเรามันลำ�เล็กมาก ต้องเลือกให้ดีๆ เราช่วยแต่โรงเรียนนี้โรงเรียนเดียว มันเล็ก น้อยแต่มันก็มีความหมาย นี่มีหนังสือ (โชว์หนังสือจดหมาย รักจากภูเขา) ถ้าได้ดูหนังและอ่านหนังสือจะเข้าใจ เราแค่มี โอกาสด้านวัตถุมากกว่าเขา ๑ในร้อย: คุณป๊อบมาเกี่ยวข้องกับโรตารีอย่างไร ป๊อบ: ดวงน่ะ เดิมน่ะไม่รู้จักโรตารีเคยมีคนชวนไปประชุม โรตารี เจอแต่คนแก่และนักธุรกิจ ใส่เสื้อผ้าเหมือนกัน ใส่ เข็มเยอะแยะ ตอนนั้นเราก็ไม่เข้าใจว่าเขามาทำ�ไมเพื่ออะไร ตอนนี้ก็เข้าใจแล้วว่าคนที่อิ่มแล้วก็ให้กลับคืน มันมีพลังใน การที่มีพรรคพวกและร่วมกันทำ�ประโยชน์ให้กับคนอื่น เรา ก็เข้าใจว่านักธุรกิจที่ประสบความสำ�เร็จเขาจะต้องให้ คือเรา ใช้ชีวิตมาครึ่งชีวิตได้มามากแล้ว วันหนึ่งเราต้องปล่อยนะ ถ้าไม่ปล่อยมันอึดอัดมาก ๑ในร้อย: สิ่งที่คุณป๊อบทำ�กับสิ่งที่โรตารีทำ�จะสอดคล้องกัน ป๊อบ: ใช่ เวลาไปที่สโมสรโรตารีในกรุงเทพ ก็ไปบอกเขาว่า อยากสร้างโรงเรียนให้เด็ก คนที่ทำ�ธุรกิจด้านสีก็ไปทาสี บาง คนก็ให้เครื่องกรองน้ำ�บ้าง เครื่องปั่นไฟบ้าง บางสโมสรก็จะ สร้างหอพัก สร้างห้องน้ำ� ก็จะบอกว่าเชิญเลยค่ะ แล้วก็ติด ป้ายชื่อว่าเป็นสโมสรไหนมาทำ� บางคนก็พาพนักงานใน บริ ษั ท เขามาช่ ว ยกั น สร้ า งช่ ว ยกั น ทำ � บางคนก็ บ อกว่ า โรงเรียนนี้รวยแล้ว จริงๆ คนเอาของมาให้โรงเรียน แต่ตัว เด็กเองจน ส่วนครูก็วิเศษมากเพราะเขารับราชการและการ สอนก็ไม่ใช่ว่าไปเช้าเย็นกลับ เขาต้องไปอยู่ที่นั่น นอนค้าง คืนกับเด็ก ครูทีโ่ รงเรียนนีเ้ หมือนกับเป็นพ่อแม่ของเด็กด้วย ถ้าป๊อบมีโอกาสหาสปอนเซอร์ได้อยากจะซื้อรถกะบะให้ โรงเรียนจะได้รับส่งเด็กได้ บางทีเด็กตกรถตายเพราะโหนรถ เป็นระยะทางไกล ชีวิตของเขามันทรหดมาก ๑ในร้อย: คุณป๊อบไปให้โอกาสกับเด็ก ส่วนตัวเด็กจะไปถึง ไหนแล้วแต่เขาเองใช่ไหม ป๊อบ: ใช่เราก็จูงม้าไปดื่มน้ำ�ได้ แต่จะบังคับให้ม้ามันดื่มน้ำ� ไม่ได้นะ ๑ในร้อย: โรตารีก็มีโครงการเยาวชนแลกเปลี่ยน ให้โอกาส เด็กไปศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ป๊อบ: นี่เราชื่นชมโรตารีที่มีโครงการเยาวชนแลกเปลี่ยน เราเชียร์พี่แตน (อน. สุมาลี กันจินะ สโมสรโรตารีล้านนา เชียงใหม่) ให้ส่งลูกไปแลกเปลี่ยนที่เยอรมันมากเลยนะ เรา รับรองเลยว่าเขาจะช่วยเหลือตัวเองเป็น จะกลับมาด้วยการ เห็นคุณค่าของแม่มาก จะกลับมาขอกราบเท้าขอกอดแม่ แล้วก็เป็นจริง เป็นโอกาสมาก โดยเฉพาะเด็กที่พ่อแม่รัก มากประเคนให้ทุกอย่างเขาจะไม่เห็นคุณค่าของความรักที่ พ่อแม่มีให้ พอไปอยู่ไกลๆ หนึ่งปีเขาจะรู้ซึ้งมากเลย อยู่ อเมริกาต้องทำ�ทุกอย่างเอง มันอีกวัฒนธรรมหนึ่ง อายุสิบ หกก็ต้องทำ�งานหาเงินเอง อายุสิบแปดต้องเก็บเงินซื้อ รถยนต์เอง บางคนที่พ่อแม่ฐานะไม่ได้รวยมาก อายุสิบแปด พ่อแม่จะคิดค่าเช่าห้องเลยนะ จะเข้ามหาวิทยาลัยต้องไปกู้ เงินจากแบงค์มาเรียน ทำ�งานเสร็จก็คอ่ ยๆ ทยอยจ่าย เพือ่ น

มีนาคม ๒๕๕๓

หลายคนเป็นหนี้หลายล้านบาท กว่าจะใช้หนี้เสร็จก็อายุห้า สิ บ กว่ า แต่ ค รอบครั ว ไทยจะแตกต่ า งพอลู ก สอบติ ด มหาวิทยาลัย ได้คณะที่ถูกใจพ่อแม่ก็ซื้อรถให้ เรียนจบก็ซื้อ บ้านให้ แต่งงานแล้วก็ยังเลี้ยงหลานให้ ผู้ชายไทยแตกต่าง กับผู้ชายฝรั่งด้วย ผู้หญิงต้องแกะปู กุ้ง ให้กิน แม่คนไทย รักลูกมากเกินไป ทำ�ให้เด็กช่วยเหลือตัวเองไม่เป็น นี่เป็น วัฒนธรรมที่แตกต่างที่เด็กควรได้มีโอกาสเรียนรู้ ๑ในร้อย: คุณป๊อบก็ปรับตัวได้ดีกับวัฒนธรรมไทย ป๊อบ: อยู่เมืองไทยทำ�ให้เรารู้ว่าอย่าพูดคำ�ว่า “ไม่” ทันที ต้องพูดอ้อมต้องมีวิธีการพูด แต่ถ้าฝรั่งก็จะบอกว่า no thanks นั่นคือสิ่งที่เรียนรู้ มันจะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง อีก อย่างหนึ่งจะสังเกตเห็นว่าการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน ไทย เป็นแบบที่เด็กไม่กล้าที่จะคิดเองไม่กล้าที่จะถาม เด็ก ไทยสังคมไทยนี่เป็นพวงองุ่น เขาจะเรียนอะไรก็เรียนคณะ ตามเพื่อน ไปทัวร์ ช็อปปิ้งก็ไปด้วยกัน เจอกันตั้งแต่มัธยม ปลายก็จะติดกันเป็นพรวน ในอเมริกาไม่มี จะนั่งคนเดียว เที่ยวคนเดียวได้ แต่มีความกล้าหาญ ชี้ ชูมือมีความคิดของ ตัวเอง ไม่คิดตามเพื่อน ของไทยเราจะทำ�ตามๆ กัน เช่น เปิดร้านกาแฟก็จะเปิดตามกันเป็นแถว ไปถนนคนเดินก็จะ ขายของเหมือนกัน ที่อเมริกา individuality จะสูงกว่า ๑ในร้ อ ย: คุ ณ ป๊ อ บอยู่ อ เมริ ก าตั้ ง แต่ เ ด็ ก จนเรี ย นจบ มหาวิทยาลัย มาอยู่เมืองไทยได้อย่างไร ป๊อบ: ป๊อบเรียนด้านนักข่าวนักเขียน เรียนจบมีงานรอทาง โน้นอยู่แล้ว ขอมาเที่ยวเมืองไทยหกเดือนเก็บเงินมาใช้จ่าย ห้าพันเหรียญ ประมาณแสนกว่าบาท มาอยูไ่ ด้สามเดือนเงิน ก็หมด พ่อแม่ก็บอกให้กลับไป เราก็บอกอีกสามเดือนการที่ เราจะมี อิ ส ระเที่ ย วมั น สุ ด ท้ า ยแล้ ว ถ้ า ทำ� งานที่ อ เมริ ก า ทำ�งานกันเป็นปีจะได้หยุดสองอาทิตย์เท่านั้น ๑ในร้อย: ตอนนั้นอยากไปเที่ยวที่ไหน ป๊อบ: ก่อนจะไปเที่ยวป๊อบประทับใจหนังสือชื่อ A Room with a View ของ E.M. Forster มีคนเคยเอามาทำ�เป็น หนัง เป็นหนังสือร้อยกว่าปีแล้ว หนังสือเป็นเรื่องของผู้หญิง ชาวอังกฤษที่แต่งตัวชุดกระโปรงยาวๆ ไปเที่ยวอิตาลีกับ ลูกพี่ลูกน้องเขาที่เมืองฟลอเรนซ์ เขารู้สึกเหมือนไปเจอโลก ครั้งแรก อิตาลีเป็นอีกสังคมหนึ่งที่มีอารมณ์ passion ที่ รุนแรง เวลาเกิดอารมณ์จะรู้สึกรุนแรง ในเรื่องก็มีผู้ชาย อังกฤษที่เกิดไปหลงรักผู้หญิงคนนี้ที่เป็นนางเอก ตอนหลัง นางเอกกลับไปอังกฤษก็ไปเจอคู่หมั้นรวย ตำ�แหน่งและ นามสกุลใหญ่โต แต่เธอชอบผู้ชายอีกคนหนึ่งที่ไม่มีฐานะ เธอจะไปทางไหน ตามหัวใจหรือว่าสังคม คือในหนังฉากมัน สวยมากเลยล่ะ มีดอกป๊อบปี้ มีดอกไม้ทีส่ วยงาม ดูหนังเรือ่ ง นี้ประมาณยี่สิบรอบ E.M. Forster เขียนหนังสือแล้วมีคน เอามาทำ�เป็นหนังหลายเรือ่ ง เป็นหนังพีเรียด ไม่รูท้ ำ�ไมชอบ ยุคนัน ้ ทีพ ่ ดู ถึงหนังสือเล่มนีเ้ พราะความใฝ่ฝน ั หลังจากเรียน จบคือฉันจะต้องไปอิตาลีให้ได้ (ย้ำ�ชัดเจน) ฉันต้องไปเดินที่ ในหนังให้ได้ แม่บอกว่าห้ามให้ลูกไปอิตาลีคนเดียว พอมา เมืองไทยพ่อแม่ก็ให้มาอยู่กับน้าของแม่คือคุณยายเล็กซึ่ง เป็ น อาจารย์ เ สริ ม สวยที่ สี่ พ ระยา เขาก็ พ ยายามให้ เ รา ประกวด เราก็บอกว่าไม่อยากประกวด เวลามาเมืองไทย ตั้งแต่อายุ ๑๖-๑๗ ก็มีแมวมองแถวสยามให้นามบัตรเยอะ แยะและโทรไปหาแม่ทีอ่ เมริกา แม่กบ็ อกว่าฉันให้เธอไปเทีย่ ว เมืองไทยหกเดือนให้ไปเที่ยวอย่างเดียว แล้วห้ามทำ�สี่ข้อนี้

33 32


นะ ห้ามซ้อนมอเตอร์ไซค์ ห้ามขับรถคนเดียว ห้ามกิน อาหารริมถนนเพราะอาจจะทำ�ให้ท้องเสีย และสุดท้ายห้าม ประกวดนางสาวไทย แม่ไม่อยากให้เธอเป็นลูกแกะเข้าไป ในวงการ เราก็บอกค่ะได้คะ่ แต่ทกุ อย่างทีแ่ ม่หา้ มได้ทำ�หมด แล้ว (หัวเราะ) ก็แบบว่ามาเมืองไทยเราเก็บเงินมาตอนเป็น นักข่าว ทำ�งานช่วงซัมเมอร์ ช่วงปิดเทอมเราก็จะชิงทุนไป ทั่ว ของดาวน์โจนส์ ของ Away time ก็คือก็มีจะชิงทุน หลายหมื่นคนและเราก็ได้หลายทุนเพราะเรากลัวว่าพ่อแม่ อยากให้เป็นหมอและเราอยากเป็นนักข่าว ยิ่งพยายามให้มี งานทำ�จะไม่ใส้แห้ง พอมาเที่ยวเมืองไทยเดือนที่สามเงิน หมดตัวคุณยายก็ชวนไปถ่ายโฆษณา ได้ไปถ่ายโฆษณา ยาสีฟน ั ไม่ได้เป็นตัวหลักด้วยนะ ตัวหลักตอนนัน ้ คือพีแ่ หม่ม จินตหราและจอห์นนี่ แอนโฟเน่ เราได้เล่นบทเป็นแม่ตอน อายุ ๒๒ มีเด็กอายุสามขวบแสดงเป็นลูก แล้วมีประกวด ฟันสวย ได้เงินมาสามหมื่นบาท เงินสามหมื่นบาทไปเที่ยว อิตาลีไม่ได้ หลังจากนั้นคุณยายก็บอกว่ามีแมวมองมาติด ต่อถ้าป๊อบเข้าประกวดจะได้ใส่สายสะพายให้กับสปอนเซอร์ ก็เหมือนกับตัวบอร์ดที่เดินได้ ได้ค่าตัวจากการเข้ารอบ แต่ละรอบที่เข้าไป ถ้าเข้ารอบถึงเท่าไหร่ๆ เขาก็จะให้เงิน มาแล้วแต่ตกลง เราก็มาคิดว่าฉันไม่เคยใส่รองเท้าส้นสูง ไม่ เคยใส่มาสคารา ไม่เคยไว้เล็บยาว ความรู้สึกคือเราไม่ได้ แต่เขาก็บอกว่าถ้าคุณเข้าประกวดจะได้ค่าตัวสามแสนบาท เราก็...เอาก็ได้ คืออยากได้เงินไปเที่ยวอิตาลีก็ตกลง คิดแค่ นั้นเองอยากเอาเงินไปเที่ยวอิตาลีให้ได้ ๑ในร้อย: แล้วได้ไปอิตาลีไหม ป๊อบ: ได้ไปพาแม่ไปด้วย มันก็จะมีความฝันไปเรื่อยๆ ใน ช่วงของชีวิต เราถือว่าเราโชคดีมากได้ทำ�อะไรที่เราอยาก ทำ�และก็มันมีช่วงที่มันหาเงินได้เยอะ ง่ายมาก เกินความ คาดหมายของชีวติ ของเรา เราไม่รูเ้ ป็นบุญทีเ่ ราได้ท�ำ ไว้หรือ เปล่า คือเราไม่ได้พยายาม ไม่ได้เล่นละคร คือมันแค่ครั้ง เดียว จริงๆ ไม่ได้เป็นคนรักสวยรักงามเลย ป๊อบออกมาใน แนวลุยๆ แต่เรารู้ว่าเราเป็นตัวของเราเอง ซึ่งมันก็ฉีกแนว กับผู้หญิงไทยที่เราเห็น ตอนรับตำ�แหน่ง น้องชายก็แซว คือน้องชายกับเราสนิทกันมากปล้ำ �ชกต่อยกันบ่อยด้วย ความที่อายุไม่ห่างกัน เราเป็นหัวโจกของกลุ่มเด็กผู้ชายรุ่น น้อง ถีบจักรยาน เล่นมวยจีน เล่นกระโดด น้องชายเขียน อีเมล์มาหาเราว่าเธอจะหลอกคนทั้งประเทศชาติว่าเธอเป็น ผูห้ ญิงไทยเหรอ เราก็..ทำ�ไงได้ละ่ ตอนได้ต�ำ แหน่งเราก็บอก แม่ว่ามงกุฎมันหนัก แม่ก็บอกว่าตำ�แหน่งมันติดตัวตลอด ชีวิตนะลูก เราก็คิดว่าต่อไปเราทำ�อะไรบ๊องๆ ไม่ได้แล้วสิ ๑ในร้อย: ช่วงติดสัญญากับกองประกวดนางสาวไทยหนึ่งปี มีงานมากไหม ป๊อบ: ช่วงสัญญาหนึ่งปีก็มีงานตลอดเลย มีพี่เลี้ยงด้วย พี่ เขายังบอกว่างานเธอโคตรเยอะเลย เยอะเกินที่คนอื่นเขามี เยอะจนเราต้องขอหยุดเดือนละวันสองวันเดือนละครั้ง วิ่ง ไปงานเสื้อผ้าปั่นไม่ทันไม่เคยเดินห้าง ต้องให้แม่เอาเสื้อผ้า มาให้ มีครัง้ หนึง่ นอนตีสองครึง่ ตอนหกโมงเช้าขึน ้ เครือ่ งบิน ไปอีสาน เราต้องใส่กระโปรงสั้นๆ นั่งปล่อยตัวก็ไม่ได้ ต้อง นั่งเรียบร้อย ขาต้องชิดกัน ต้องเอียงและยิ้ม เราก็อะไรกัน เนี่ยต้องยิ้มแย้ม แต่เราก็ได้โอกาสเจอคนหลากหลาย แม่ค้า ในตลาดก็ ม ากอดมาบี บ จู บ เรา เขาชื่ น ชมเรา เป็ น ประสบการณ์ที่ได้เจอคนหลากหลายในประเทศนี้ ที่จริงไม่

32 33

ได้วางแผนว่าจะมาทางนี้ ๑ในร้อย: ตกลงคุณป๊อบได้เป็นนักข่าวไหม ป๊อบ: ได้เป็น การเป็นนักข่าวไม่อยากจะบอกว่าที่อเมริกา กับไทยจะแตกต่างกัน ที่อเมริกาเพียงแต่สะกดชื่อผิดโดน ตัดคะแนนแล้ว หรือว่าความจริงเขียนผิดมันโดนหักเงิน เดือน ที่เมืองไทยเขียนผิดไม่เป็นไร (หัวเราะ)มาตรฐานมัน ต่างกัน สิ่งที่ได้มาจากนักข่าว เวลาทำ�งานเราต้องกระชับ มาก หนังสือพิมพ์หรือแมกกาซีนเขาจะวางเลย์เอาท์ วาง โฆษณาก่อนแล้วนักข่าวเขียนมา ถ้าเรื่องเยอะเขาไม่ตัด โฆษณา เขาตัดเรื่อง เรื่องสำ�คัญอยู่หัวข่าว ทุกอย่างต้อง กระชับ เขียนอะไรไปต้อง simple มี subject, verb, object ต้องกระชับ ได้อะไรจากตรงนีไ้ หม คือเรามีบริษทั เล็กๆ ของ เราเอาตรงนี้มาใช้ keep it simple ตัวย่อคือ KISS เรียบ ง่ายและทุกอย่างกระชับ เราใช้จากการที่เราทำ�หนังสือ ทำ� หนัง เราเอามาทำ�เป็นกราฟฟิกดีไซน์ เราได้ใช้สิง่ ทีเ่ ราเรียน มาในการทำ�งาน ๑ในร้อย: คุณป๊อบทำ�อะไรหลายอย่างดูเป็นคนมีพลังมาก เลย ป๊อบ: เราชอบคนที่มี energy ชอบอยู่ใกล้คนที่มี energy เด็กโต๋เป็นคนที่มี energy ดีมาก ไม่มีความรู้สึกต้องใส่ หน้ากาก เราเป็นคนทีจ่ ริงใจกับคนแต่อยูใ่ นสังคมไม่รูว้ า่ ใคร จะจริงใจกับเรา อยู่ในสังคมก็ต้องมีกำ�แพง แต่ถ้ามีกำ�แพง เยอะเกินไป ระแวงเกินไป คนจะเข้ามาหาไม่ได้ แล้วหัวใจ เราจะแข็งมันจะไม่ใส ทั้งหมดที่พูดมาป๊อบอยากให้เป็นคน ที่บริสุทธิ์ ไม่อยากให้เป็นคนที่ต้องแข่งขัน อิจฉาริษยา ไม่ อยากจะไปทางนั้นกับชีวิตกับเวลาที่เหลือในโลกนี้ อยากอยู่ กับคนที่มี energy บวก อยากอยู่กับเด็กที่มีวิญญานเด็ก แล้วอยากจะมองโลกด้วยสายตาที่ใส ไม่เป็นCynic (คนอายุ มากที่มองโลกในทางลบ) เราไม่อยากเป็นอย่างนั้น อยาก เป็นคุณยายคนแก่ที่หน้ายิ้ม ถ้าเราอยากเป็นคน energy บวกก็ต้องอยู่กับคนที่มี energy บวกเหมือนกัน นั่นคือเป้า หมายในชิวิตของเรา เรามีโอกาสเดินทางหลายๆ ทาง หลายคนถามว่าทำ�ไมไม่เล่นละคร ทำ�ไมไม่เข้าวงการ เรา เคยสัมผัสแล้วเรารูส้ กึ ว่าหัวใจไม่เบิกบาน รูส้ กึ ว่ามันแข่งขัน ตลอดเวลา ไม่จริงใจ อยู่อย่างนี้มันสงบ เราได้ให้โอกาสกับ เด็กชาวเขา มันอิ่มใจ มันไม่อยากจะพูดว่าเป็นแม่ชีแม่พระ แต่มันอิ่มใจ เราไม่อยากจะร่ำ�รวย แต่เราอยากจะมีความ สดใส ตื่นทุกเช้ามาไม่มีอะไรหนักใจ ไม่มีหนี้สิน ไม่มีธุรกิจ ที่ปวดหัว เราไม่อยากมีภาระ ไม่อยากขายของ เราไม่ได้ แอนตี้คนที่ทำ�เราแค่ทำ�สิ่งที่เราชอบ และชอบสิ่งที่เราทำ� ก่อนตายเราอยากยิ้ม เราได้ใช้เวลาพูดคุยกับคุณป๊อบทีต่ อนแรกเราบอก ว่าจะคุยประมาณครึ่งชั่วโมง แต่ความที่คุณป๊อบช่างคุย ยิ้ม แย้มแจ่มใส เวลาพูดถึงเด็กโต๋ตาของเธอจะเป็นประกาย ทำ�ให้เราพูดคุยกันเพลินถึงชั่วโมงครึ่ง เมื่อเสร็จแล้วยังเดิน ชมบ้านที่ตกแต่งอย่างน่ารัก เป็นบ้านหลังที่น่ารักอีกหลัง หนึ่งที่เชียงใหม่ คุณป๊อบก็จะไปมาระหว่างกรุงเทพกับ เชียงใหม่ ต้องขอขอบคุณ อน. สุมาลี กันจินะ ที่ช่วยนัด หมายการสัมภาษณ์ เราได้เห็นความตัง้ ใจทีจ่ ะช่วยเหลือเด็ก ชาวเขาของคุณป๊อบแล้วก็ขอชื่นชมน้องป๊อบด้วยความ จริงใจ.

มีนาคม ๒๕๕๓


Youth Corner

สโมสรโรตาแรคท์ มห

นับตั้งแต่สโมสรโรตาแรคท์มหาลัยนเรศวรวิทยาเขตสาระ สนเทศพะเยาได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ 2549 โดยมีอาจารย์ เอกวุฒิ กาวิละ อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาศิลปะศาสตร์ ได้จุดประกายให้นิสิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม ได้รู้จักกับโลกทัศน์ ใหม่ ของการบริหารชุมชนเป็นสากล ในการดูแลของ สโมสรโรตารี สากล เป็นองค์กรการกุศลที่เก่แก่กว่าหนึ่งร้อยปีและ สโมสรโรตา แรคท์มีวัตถุประสงค์ในการฝึกบัณฑิตระดับอุดมศึกษาให้เป็นผู้น�ำ และการสร้างบริการแก่ชุมชน โดยมีผู้ร่วมอุดมการณ์ในการก่อตั้ง สโมสรโรตาแรคท์มหาลัยนเรศวรพะเยาในเวลานั้นเพียง 14 คน มี น ายอำ � นาจ หาลื อ เป็ น นายกก่ อ ตั้ ง ของสโมสรโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา นายสุทิตย์ อิน ต๊ะเนตร เป็นอุปนายก และ นางสาวสุไลกาญจน์ พรมแดน เป็น เลขานุการสโมสร กิจกรรมของสโมสรโรตาแรคท์มหาลัยนเรศวร มักจะออก ค่ายอาสาพัฒนาชนบท อันเป็นรากฐานแก่นแท้ของการบริการ ชุมชน เฉกเช่นเดียวกับอุดมการณ์ของสโมสรโรตาแรคท์ ทั่วโลก ดังนัน ้ จึงเป็นจุดเชือ่ มให้ นิสติ มหาลัยนเรศวรวิทยาเขตสารสนเทศ พะเยา กลุ่มหนึ่งให้มีโอกาสปรับตัวและสร้างพื้นฐานของการ บริการและความร่วมมือระหว่างประเทศได้ จึงเป็นคำ�ตอบให้เกิด “สโมสรโรตาแรคท์มหาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา” นับตั้งแต่วันที่โรตารีสากล โดยประธานโรตารีสากล คาร์ล วิลแฮม

มีนาคม ๒๕๕๓

34 35


หาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศ พะเยา

35 34

แสตมป์แฮมเมอร์ ได้มอบสารตราตั้งให้เมื่อ พ.ศ. 2549หลังจากที่มีการจัดประชุมเตรียมการก่อตั้ง หลายครั้ ง ทั้ ง ในมหาลั ย นเรศวรวิ ท ยาเขต สารสนเทศพะเยา และที่จังหวัดเชียงใหม่ โดย ความร่วมมือที่ดี จากประธานโรตาแรคท์ ภาค 3360 ผชภ.สุรศักดิ์ พฤกษิกานนท์ ปี 2549-2550 (สโมสรโรตารีเชียงใหม่) และ ประธานโรตาแรคท์ ภาค 3360 นย.พั ล ลภ ลาศุ ข ะ(สโมสรโรตารี เชียงใหม่) สมัยนั้นที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารก่อตั้ง จากสโมสรโรตารีสากลและทีมงานคณะหลากหลาย ท่านอาทิเช่น อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล(สโมสร โรตารีเชียงใหม่ใต้ )และ อน.ผดุงฉัตร ไวทยกุล (สโมสรโรตารีเชียงคำ� จ.พะเยา) แ ล ะ นั บ ไ ด้ ว่ า สโ ม ส รโ ร ต า แ ร ค ท์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวรพะเยาแห่ ง นี้ ได้ เ ป็ น ครอบครัวใหม่แห่งหนึ่งของสโมสรโรตารีสากล ที่ ได้ก�ำ เนิดอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 9 สิงหาคม 2550 โดยมีผวภ.อนุวัตร ภูวเศรษฐ์ ผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากลใน (ปีบริหาร 2550-2551) เป็นผู้ มอบสารตราตั้งอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วย สักขี พยานทั้งจากตัวแทนสโมสรโรตารี สโมสรโรตา แรคท์ในภาค องค์กรเอกชน คณาอาจารย์ และ

นิ สิ ต มหาลั ย นเรศวรพะเยา ปั จ จุ บั น มี ส มาชิ ก สโมสร ร่วมอุดมการณ์กว่า 100 คนจากนี้หลายๆ 10 ปี พวกเราคงได้เห็นเยาวชนรุ่นที่จะได้เข้ามา เป็นสมาชิกของสโมสรโรตาแรคท์มหาลัยนเรศวร พะเยา แห่งนี้เพื่อสืบสานงานบริการตามหลักการ ที่ว่า “Service Above Self” บริการผู้อื่นเหนือ ตนเอง สืบต่อไป ส่วนโครงการบริการต่างๆนั้น ตั้งแต่ทาง สโมสรโรตาแรคท์ ม หาลั ย นเรศวรพะเยา ได้ สารตราตั้งได้ท�ำ กิจกรรมกิจกรรมเพื่อสังคมเช่าทำ� โครงการการออกค่ า ยพั ฒ นาอาสา ตามพื้ น ที่ โรงเรียนในดอยสูง ร่วมกับชุมนุมอื่นๆของ มหาวิ ทยาลัยฯ และโครงการปล่อยปลาเฉลิมพระเกียรติ แด่ในหลวง ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของทุกๆ ปี พวกเราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ โรตา รีสากล และพร้อมที่จะสอนบอกต่อรุ่นน้องๆ เพื่อ ให้เข้าใจและแก้ปัญหาของชุมชนด้อยโอกาสผ่าน กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ของ สโมสรโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยนเรศวรวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ของพวกเรา

มีนาคม ๒๕๕๓


เอกพาแอ่ว

ญี่ปุ่น

(Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง) ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ สโมสรโรตารีหางดง

ในที่สุดก็ขอต้อนรับสารผู้ว่าการ ภาคฉบับหลังงานประชุมใหญ่ ภาค 3360 โรตารีสากล ของพวกเราที่ จ.เชียงใหม่ได้ สิ้นสุดลงแล้วและเราสามารถจัดได้ดีมากๆ ยิ่งใหญ่และสวยงามจริงๆ ต้องขอชื่นชม ประธานจัดงาน อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ และทุกท่านที่ช่วยเป็นแรงกายและแรงใจที่ ก่อการดีในครัง้ นี้ อย่างสมศักดิศ์ รี...แต่ขอบ อกว่าเหนือ่ ยจริงๆ ทัง้ ก่อนตัง้ ไข่และหลังปิง้ ไข่ จ นพร้ อ มสุ ก กิ น ได้ ช่ า งเปรี ย บเที ย บ จริ ง ๆ...เพราะหลากหลายความคิ ด เห็ น เหลือเกิน แต่จนกับหาคนมาช่วยทำ�งาน เลยพานมึนหัวว่าจะเอาแบบไหนดีหนอ แต่ ที่สุดแล้วก็ไม่เกินแรงใจที่หลายคนได้ทุ่มเท จนทำ�ให้ภาพออกมาอย่างสวยงาม ขอปรบ มือให้ทุกท่าน และ “เอกพาแอ่ว” ก็ได้มี โอกาสแสดงรีวิวประกอบเพลง “รักแท้ยัง ไง..ของน้ำ�ชา” ร่วมกับ ผวภ.แววดาว ลิ้ม เล็งเล็ง คนขาสวย รวยเสน่ห์ และเพื่อนๆ 3-4 ท่านจากหลากหลายสโมสรในภาค 3360 ช่วยให้หายเหนือ่ ยได้มากๆ ครับสำ�หรับงาน นี้...และแน่นอนตามคำ�เรียกร้องจากฉบับ เดิมทีแ่ ล้ว “เอกพาแอ่ว” สัญญาว่าจะนำ�เอา เรื่องราวของประเทศญี่ปุ่น มานำ�เสนอให้ พ่อแม่พี่น้องชาวโรแทเรียนก่อนจะเดินทาง ไปท่องเทีย่ วยังดินแดนแห่งพระอาทิตย์อทุ ยั และดอกซากุระบานที่สวยงามในโอกาสวัน ข้างหน้าเลยขอเติมเต็มข้อมูลให้ทุกท่านได้

มีนาคม ๒๕๕๓

เก็บใส่กระเป๋าไว้ก่อนในฉบับนี้ ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น:Nihon/Nippon นิ ฮง/นิปปง) มีชื่อทางการคือประเทศ ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกะ กุ / นิ ป ปงโกะกุ ) เป็ น ประเทศหมู่ เ กาะใน ภูมภิ าคเอเชียตะวันออก ตัง้ อยูใ่ นมหาสมุทร แปซิ ฟิ ก ทางตะวั น ตกติ ด กั บ คาบสมุ ท ร เกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับ ประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสก์ เป็นเส้น แบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชือ่ ญีป่ ุน ่ แปลว่า ถิ่นกำ�เนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำ�ให้บางครั้ง ถูกเรียกว่า “ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย” ญี่ปุ่น มีเนื้อที่กว่า 377,930 ตาราง กิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก หมู่ เกาะญี่ ปุ่ น ประกอบไปด้ ว ยเกาะน้ อ ยใหญ่ กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะ ฮอนชู ฮอกไกโด คิวชู และ ชิโกกุ ตาม ลำ�ดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่ เกาะภู เ ขา ซึ่ งในนั้ น มี จำ � นวนหนึ่ ง เป็ น ภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดใน ประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมี มากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุง โตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไป ด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองทีใ่ หญ่ทีส่ ดุ ใน โลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้าน คน

36 37


37 36

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรก ตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้น ในบันทึกของราชสำ�นักจีนตั้งแต่คริสต์ ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การ ปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับ เปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำ�ให้ญี่ปุ่นมี วัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษ ต่ อ มา ญี่ ปุ่ น ก็ รั บ เอาเทคโนโลยี ต ะวั น ตกและนำ � มา พัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าว หน้าและมี อิ ท ธิ พ ลมากที่ สุ ดในเอเชี ย ตะวั น ออก หลั ง จากแพ้ สงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง ญี่ ปุ่ น ก็ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง ทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490 ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำ�ทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดี พี สู ง เป็ น อั น ดั บ สองของโลก ญี่ ปุ่ น เป็ น สมาชิ ก ของ สหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่น ตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำ�ทาง เทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เรียบเรียงจากข้อมูลพื้นฐาน ที่ เ ก็ บ มาจากโลกไซเบอร์ ที่ พ วกเราควรหั ด ใช้ คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์บ้าง นะครับในยุคนี้ แต่ เรื่องราวญี่ปุ่นนั้นอยากเติมแต่งในด้านวิถีชีวิตและขนบ ธรรมเนียนปฏิบัติของชาวญี่ปุ่น ที่ “เอกพาแอ่ว” เคย ได้ไปใช้ชีวิตที่โน้นเรียนรู้และเห็นมุมมองที่แตกต่างจาก สังคมไทย เห็นได้ว่าในทุกๆ ด้านชาวญี่ปุ่นจะมีพื้นฐาน การดำ�เนินชีวิตที่ยอดเยี่ยมมากๆ การเคารพผู้นำ� การ เป็นผูต้ ามทีด่ ี การรักษาธรรมเนียมประเพณีเดิมแท้ตาม แนวทางชิ นโตและผสมผสานกั บ วิ ถี พุ ท ธมาอย่ า ง

ยาวนานจากการเดินทางเผยแพร่จากแผ่นดินใหญ่จีน นั้นได้หล่อหลอมชาวญี่ปุ่นเป็นสังคมที่น่ารักและเคารพ ต่อกฎระเบียบของสังคมไม่วุ่นวายเหมือนบางประเทศ หลายครั้งความน่ารักและการแสดงออกในโลกภายนอก ที่เรามักจะได้ยินเสมอๆว่า บนอัศจรรย์ที่นั่งชมกีฬา ระดับโลกในต่างประเทศจะสะอาดสะอ้านมากหลังกีฬา จบเกมส์ลงเพราะชาวญี่ปุ่นจะคอยเก็บกวาดขยะไม่ให้ เหลือสักชิ้นและนำ�ไปทิ้งในที่ๆ จัดให้ ความน่ารักแบบ นี้แหละที่พวกเราทึ่งมากๆ รวมทั้งการตรงต่อเวลาของ ขบวนรถไฟฟ้าทุกขบวนในประเทศนี้ และการพบปะกัน ตามเวลานัดหมายบ่งชี้ถึงการเป็นศิวิไลซ์ ของคนแผ่น ดินดอกไม้งามนามซากุระอย่างมาก และผมเชื่อมั่น เหลือเกินว่าหากจะคบกับชนต่างชาติได้ๆแล้ว ชาวญีป่ ุน ่ จะเป็นกลุ่มคนที่น่าคบมากที่สุดต้นๆ เลยแหละเท่าที่ เคยสัมผัสมานะครับ แล้วท่านละครับมีเพื่อนๆจาก ประเทศนี้แล้วหรือยัง ขอเน้นสักนิดว่า ที่นี่มีสโมสร โรตารี ที่พร้อมให้การช่วยเหลือแก่สโมสรโรตารีต่าง ประเทศจำ�นวนมาก สโมสรโรตารีแห่งไหนสนใจอยาก ได้คู่มิตรแจ้งมานะครับ “เอกพาแอ่ว” มีรายชื่อสโมสร โรตารีที่สามารถช่วยเหลือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ ชุมชนของท่านได้แต่อย่าลืมว่า ควรไปเยี่ยมพวกเขา บ้างหากมีโอกาสด้วยนะครับ แล้วเขาจะให้การช่วย เหลือท่านอีกจนลืมกันไปข้างหนึ่งเลยแหละ หากไป เที่ยวไม่มีล่ามก็แจ้งมานะครับจะไปเที่ยวด้วยคน..จะ ลองจัดทัวร์ไปเที่ยวกันสักวันนะจะดีนะครับ..ฉบับนี้เอา ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ เพราะดึกมากแล้วไว้พบกันฉบับ หน้าฟ้าใหม่เมื่อ แผ่นดินไทยจักสวยงาม เบ่งบานด้วย ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง..ซาโยนาระ..สวัสดีครับ

มีนาคม ๒๕๕๓


เล่าขานตำ�นาน

หลังจากที่ล้านนา ตกอยู่ในการปกครองของพม่ากว่า ๒๐๐ ปี ตั้งแต่ พศ.๒๑๐๑ ถึง ๒๓๑๗ ล้านนา ก็กลับมาหยัดยืนได้อีกครั้งหนึ่งโดยการฟื้นม่าน การ“ฟื้นม่าน” คือการต่อต้าน พม่า การฟื้นม่านแบ่งเป็นสองกรณีใหญ่ๆ กรณีแรกคือความพยายามที่ทำ�โดยโดดเดี่ยว โดยชาว ไทยล้านนา ในบางครั้งความพยายามโดยโดดเดี่ยวนี้ ก็อาจมองเป็นการแย่งชิงอำ�นาจกันเองได้ ระหว่างชาวล้านนา เช่นกรณีที่ในเมืองเชียงใหม่เทพสิงห์ได้เริ่มการขับไล่พม่า จากนั้นองค์คำ�ก็ เข้ามาแย่งชิงราชบัลลังก์ กรณีที่สองคือการขับไล่พม่าโดยขอกำ�ลังจากชาวไทยจากกรุงธนบุรี กรณี หลังนี้ เป็นเรื่องราวสืบเนื่องไปสู่การเป็นเอกราชจากพม่าในที่สุด ในเมืองลำ�พูน ท้าวมหายศ ซึ่งเป็นผู้ปกครองชาวพม่าได้เก็บภาษีอย่างหนัก จนกระทั่ง พ่อเจ้าทิพย์ช้าง แห่งลำ�ปางมาปราบปรามด้วยความดีความชอบ เจ้าพ่อทิพย์ช้างได้รับการยกย่อง ให้เป็นผู้ปกครองเมืองลำ�ปาง พ่อทิพย์ช้างนั้น ถือว่าเป็นต้นตระกูลแห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน หลาน ของท่านเรารู้จักกันดีในนามของพระเจ้ากาวิละนั่นเอง ความแตกต่างอันเด่นชัด ระหว่างราชวงศ์ เม็งราย (พศ ๑๘๓๙–๒๑๐๑) และราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (พศ ๒๓๒๕–๒๔๘๒)นั่นคือ ราชวงศ์เม็ง รายนั้น ตามตำ�นานเชื่อว่าสืบทอดมาจากลาวจงเทพบุตร ที่ส่งมาโดยพระอินทร์จากสวรรค์ ลงมา บริเวณ ยอดดอยตุง ส่วนต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนนั้นมีลักษณะเป็นสามัญชน ผู้มีความสามารถสูง ไม่ใ่ช่เทพจากเบื้องบน พระเจ้ากาวิละพร้อมทั้งพระยาจ่าบ้านได้อาศัยกำ�ลังพลของพระเจ้าตากสินมหาราช จาก กรุงธนบุรีมากอบกู้ล้านนาจากพม่าได้สำ�เร็จ พระยาจ่าบ้านได้รับอาญาสิทธิ์ ให้เป็นพระเจ้าแผ่น ดินของเชียงใหม่ นามว่าพระยาหลวงวชิรปราการ อย่างไรก็ตามการรั้งเมืองเชียงใหม่ขาดกำ�ลัง คน จึงถูกพม่าตีอีกครั้งหนึ่ง เชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้างราว ๒๐ ปี (พศ ๒๓๑๙ ถึง พศ ๒๓๓๙) พระเจ้ากาวิละ กษัตริย์องค์ที่ ๑ แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนนั้นมีบทบาทมากในการฟื้นฟู เมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละได้เริ่มนโยบาย “เก็บผักใส่ช้า เก็บข้าใส่เมือง” นั่นคือการกวาดครัว เรือน ชาวล้านนาที่แตกกระจายไปตามป่าเขา จากการปกครองโดยพม่าและสงครามให้มารวมกลุ่ม คนกันได้อีกครั้งหนึ่ง โดยมีการชุมนุมก่อนเคลื่อนทัพที่อนุสาวรีย์สิงห์สองตัว (บริเวณสี่แยกข่วง สิงห์ปัจจุบัน) พระเจ้ากาวิละได้ทรงถือสิทธิธรรมในการปกครองล้านนา โดยสร้างหอคำ� ที่บริเวณ นรินทร์ ลิ้มเล็งเลิศ กลางเมืองและอ้างถึงเครื่องราชูปโภคที่ได้รับมาจากราชวงศ์มังราย นั่นคือ มีดศรีกัญไชย

“ล้านนารำ�ลึก 700 ปี ที่ สูญหาย”(๗)

นักศึกษาปี 4 สาขาการบัญชี และการเงิน University of Virginia, Charlottesville ,Va., USA.

After Lanna had been subordinated to the Burmese kingdom for 200 years (1558 – 1774 Ce), Lanna was again independent. The movement to fight against the Burmese appeared in two forms. First, the movement appeared as a non-collective effort among each group of Lanna clans. For instance, in Chiang Mai, Thep Singh threw away the Burmese ruler, yet Ong Kum, another Lanna clan leader, overthrew the throne of Thep Singh. Accordingly, such movement neither brought unity among Lanna people nor was very effective. The second case was a movement, with a supportive force from Thonburi kingdom from the South; this movement would eventually bring Lanna independence. In Lumpang, the problem happened when Mahayod, the Burmese ruler, imposed unreasonable tax on the inhabitants using unraveled force. Tipchang, a forest hunter, became a hero and was selected as Lumpang leader when he successfully killed Mahayod. Tipchang is at the top of “Chao Ched Thon” dynasty family tree. The grandson of Tipchang is well known among Today’s Lanna people: “Kawila.” The obvious difference between Mengrai dynasty (1296 – 1558 Ce) and Chao Ched Thon dynasty (1782 – 1939 Ce) was that the ancestor of Mengrai dynasty was said to be of a god but that the ancestor of Chao Ched Thon is of a talented commoner. Phraya Kawila, together with Phraya Jabaan, asked for the armed force from Taksin Maharaj from Thonburi kingdom from the South to bring Lanna back from the rule of Burmese kingdom. The act was successful, and Lanna was no longer subordinated by the Burmese. Phraya Jabaan was appointed as the new ruler of Chiang Mai, named Phraya Luang Vachiraphrakarn. Nevertheless, Chiang Mai’s inherent problem at the time was its small population, and so labor force. Chiang Mai was attacked again by the Burmese and remained unoccupied for another 20 years (1776 – 1796 Ce). Phraya Kawila, the first king of Chao Ched Thon dynasty, has been famous for his “renovation and resurrection” of Chiang Mai and Lanna. “Kep Puk Sai Cha, Kep Kha Sai Muang” is a phrase denoting the movement to bring back the formerly Lanna inhabitants who had fled during Burmese reign and during the civil war and to inhabit them in the unoccupied cities and towns in Lanna. The place where Phraya Kawila uses as a controlling center in implementing this effort is at the Singh’s monument, around present day’s Kuang Singh intersection. Phraya Kawila claimed the rights for Chao Ched Thon dynasty by erecting a palace at the center of Chiang Mai city and by alluding to his family’s possession: Sri Kun Chai knife, once a royal treasure of Mengrai dynasty.

มีนาคม ๒๕๕๓

39 38


Zoom Inside 3360

38 39

Zoom Inside 3360 ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ เป็นประธานในการแจกทุน WCS ไม่สามารถ ทำ�หน้าที่เปิดการสัมมนาผู้นำ�ภาค อผภ.ไพโรจน์ เอื้อประเสริฐ รับหน้าที่เฉียบพลันได้ สบาย ๆ ตามสไตล์ของผู้เชี่ยวชาญค่ะ...*** ประธานจัดการประชุม อน.สมศักดิ์ คะวีรัตน์ แม้จะติดภาระกิจสำ�คัญแต่ก็ต้องทิ้งเพื่อโรตารี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผวล.นพ.วีระชัย จำ�เริญ ดารารัศมี เป็นที่เคารพและศรัทธา สถานที่ประชุมเป็นรีสอร์ต สวยงามมาก สุดหรูและ แพง อาหารอย่างดี แถมแอนน์ ๆ ยังทำ�อาหารเสริม ขอบคุณ...ขอบคุณ...*** คณะ กรรมการภาคเข้ารับการอบรมเกือบ 100% เนื้อหาของการอบรมแน่นเอี๊ยดเต็มไปด้วย สาระและต้องเตรียมความพร้อมสำ�หรับ Future Vision Plan…***ด้วยความเป็นอาจารย์ อน.ดร.สุรพล นธการกิจกุล เป็นวิทยากรที่เยี่ยมยอดค่ะ...*** น่าแปลกงานเลี้ยงรับรอง ตอนเย็น มิตรโรแทเรียนอยู่สนุกสนานกับจนห้าทุ่ม จำ�นวนมากกว่าปกติ แปลกค่ะ ...*** นย.ดร.กอบกิจ อิสระชีววัฒน์ เชียงใหม่ตะวันตก ร้องเพลงเก่งลีลายอด วัยรุ่น..วัยรุ่น.. สนุกสนานแทบไม่น่าเชื่อเป็นอาจารย์...*** อน.มนตรี วงศ์เกษม PHF บวชลูกชายคน เดียว นายทัฬห์พงศ์ วงศ์เกษม เมือ่ วันพฤหัสบดีที่ 25 กพ.53 ทีว่ ดั อุโมงค์ ชือ่ เท่หม์ าก...*** ประชุมใหญ่ District Conference 3360 ผ่านไปด้วยความยิ่งใหญ่ สมเกียรติสมความตั้งใจ ของ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ มิตรโรแทเรียน ผู้ปกครองและ YE ทั้ง Inbound และ Outbound รวมถึง 420 ท่าน...*** อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ ประธานจัดการอบรม หาย เหนื่อยสนิท ได้รับคำ�ชม สำ�เร็จสมกับความมุ่งมั่นสำ�หรับงานนี้ เพื่อ ผวภ.แววดาว ลิ้ม เล็งเลิศ ชนิดไม่ต้องทำ�งานทำ�การกันเลยค่ะ...*** พิธีเปิด วงดุริยางค์ โรงเรียนดารา วิทยาลัย บรรเลงเพลงโรตารี ตามด้วยเชิญธงชาติไทย รทร.เมตตา นันทขว้าง งดงาม ด้วยชุดไทย รทร.ปุญชรัสมิ์ ตันติพันธุ์พิพัฒน์ ชุดจีน เชิญธงชาติไต้หวัน คน...หล่อ อน.มนตรี วงศ์เกษม PHF เชิญธงโรตารี เยาวชนแลกเปลี่ยนเชิญป้ายสโมสรทุกสโมสรใน อน.จินดา จรรญาศักดิ์ ภาค 3360 ...*** ควบคุมเวลาได้ยอดเยี่ยม ต้องยกให้ อน.ประยูร ศิรินภาพันธ์ ชูป้าย สโมสรโรตารี เชียงใหม่ ตลอดห้ามเกินเวลารักษาเวลาได้ยอดเยี่ยมค่ะ...*** มาก่อน อน.พ.ต.อ.สมบูรณ์ บูรณพิธ ถิ่นไทยงาม รับรางวัล มามาก สโมสรเชียงใหม่ สมาชิก 60 กว่าท่าน มาน้อยได้ไง มาไกลสโมสรเกิด ใหม่ ชาลวัน พิจิตร ก่อตั้งเรียบร้อยแล้วค่ะ...*** สรุปผลการประชุม อผภ.ชัยสิน มณี นันทน์ ได้ครบถ้วน แม้จะมีข้อข้องใจก็ผ่านไปด้วยดี โดย ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง สรุป ได้นิ่มนวล ด้วยมิตรภาพ...*** กรรมการสรรหาผู้ว่าการภาคปี 56-57 ประกอบด้วย ผวภ. แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ผวล.นพ.วีระชัย จำ�เริญดารารัศมี อผภ.นพนธ์ อิ่นคำ� อผภ.ดร.พร ศักดิ์ เอื้อประเสริฐ อผภ.วิวัฒน์ ศิริจางคพัฒนา อผภ.ดร.ศุภวัตร ภูวกุล อผภ.อนุวัตร ภูวกุล ซึ่งจะทำ�หน้าที่สรรหาในเดือนธันวาคม ปี 53 การทำ�งานของโรตารีมีการวางแผน ล่วงหน้าเป็นปี...*** สโมสรสองโชคดีได้รับรางวัล จักรยานยนต์ 3 หุ้นส่วน หุ้นกันคนละ 1,000 บาท เปลี่ยนเป็นเงินแบ่งกันง่ายค่ะ...*** โทรศัพท์มือถือ 20 เครื่อง พัดลม 20 เครื่อง จักรยาน 2 คัน อภินันทนาการจาก ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ไม่น่าเชื่อช่วงลุ้น รางวัล ห้องประชุมแน่นเอี๊ยดค่ะ...*** อน.อำ�นวย กาวีวงศ์ สโมสรเชียงใหม่ตะวันตก ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็ง เมือ่ เย็นวันที่ 16 มีค53 สวดอภิธรรม ณ วัดเจดียห์ ลวง ฌาปนกิจ ศพวันอาทิตย์ที่ 21 มีค.53 ณ สุสานสันกูเ่ หล็ก...*** อผภ.นพ.เล็ก นานา สโมสรสวรรคโลก สุโขทัย ถึงแก่กรรม วันที่ 17 มีค.53 สวดอภิธรรม ณ บ้านเลขที่ 41 ถ.เทศบาลดำ�ริ 3 อ.สวรรคโลก สุโขทัย อผภ.ชัยสิน แอนน์ปรารมณ์ มณีนันทน์ อผภ.อนุวัตร ภูวเศรษฐ อผภ.ดร.ศุภวัตร ภูวกุล ผวล.นพ.วีระชัย อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี เดินทางร่วม พิธีฌาปนกิจศพวันเสาร์ที่ 20 มีค.53 ณ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสุโขทัย ดวงวิญญาณ ของทั้งสองท่านจงสู่สุคติยังสัมปรายภพ...*** นายกรับเลือก ผู้ช่วยผู้ว่าการภาค วิทยากร เตรียมเข้ารับการอบรม Multi District Pets ภาค 3330,3340,3360 ณ โรงแรมพินนาเคิล แกรนด์ จอมเทียน รีสอร์ทแอนด์สปา พัทยา ชลบุรี วันที่ 26-28 มีค.53....*** พบกันใหม่ฉบับหน้า..เอื้องผึ้ง..

มีนาคม ๒๕๕๓


Activities

มีนาคม ๒๕๕๓

District Conference 2009-10 ศูนย์ประชุมน

40 41


นานาชาติ โรงแรม ดิเอมเพรส เชียงใหม่ วันที่ ๑๓-๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓

41 40

มีนาคม ๒๕๕๓


Activities

มีนาคม ๒๕๕๓

42 43


สโมสรโรตารีตะวันตกขอแจ้งให้มิตรโรแทเรียน ทราบว่า อน.ดร.อำ�นวย กาวีวงศ์ สมาชิกของ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ตะวันตก ได้เสียชีวิตลงด้วย โรคมะเร็งเมื่อเย็นวันที่ 16 มีนาคม 2553 เจ้าภาพ จะเคลื่อนศพไปบำ�เพ็ญกุศลที่วัดเจดีย์หลวง วรมหาวิหาร และมีพิธีสวดพระอภิธรรมทุกคืน ตั้งแต่วันที่ 17-20 มีนาคม ซึ่งจะมีพิธีฌาปนกิจใน วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2553 สโมสรโรตารีเชียงรายเหนือโดย นย.ทรงพล เจียรพินิจนันต์ และ ผอ.อนัญญา สมบัติศิริ แห่ง บล.คันทรีกรู๊ป จำ�กัด มอบคอมพิวเตอร์ ให้แก่ รร.ชยาภิวัฒน์วิทยา พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (วัดป่าซาง อ.พาน จ.เชียงราย) ณ บล.คันทรีกรู๊ป จำ�กัด สาขา เชียงราย เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม 2553” สโมสรโรตารีแม่สาย เป็นเจ้าภาพใน การจัดงานสภากาแฟ อ.แม่สาย โดย เชิญส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ใน อ.แม่สาย ประชุมอย่างไม่เป็นทางการ และ สังสรรค์รับประทานอาหารร่วมกัน ณ.โรงแรมไททอง อ.แม่สาย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 53 เวลา 07.00 น. สโมสรโรตารีเถินดาวน์ทาวน์ ร่วมกับ “สโมสรโรตารีบางรัก โดยนย.สุนันทา สมบุญ ธรรม องค์กรเพื่อการกุศลสิทธิชนยุคสุดท้าย และมูลนิธิเซ็นต์โยเซฟ เป็นตัวแทน มอบเครื่องกระตุกหัวใจ (Defibrillator) จำ�นวน 1 เครื่องมูลค่า 230,000 บาท ให้แก่ โรงพยาบาลแม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำ�ปาง และได้มอบรถเข็นผู้พิการจำ�นวน 60 คัน ให้แก่ผู้พิการในจังหวัดลำ�ปาง ตาก สุโขทัย แพร่ น่าน พิษณุโลก โดยผวภ.แวว ดาว ลิ้มเล็งเลิศ ผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ให้เกียรติมาเป็นประธาน “เมื่อวัน ที่ 25 ธันวาคม 2552 แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์โดย รทร.พญ.ธัญญารัตน์ สิทธิวงศ์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ได้ จัดให้มีการ ประกวดภาพวาดสันติภาพ ในระดับ นักเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ การแข่ง ขันเเบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับอายุ 8- 14 ปี ใช้เทคนิคสี เทียน และระดับอายุ 14-17 ปี ใช้ เทคนิคสีน้ำ� ผลการตัดสิน ระดับ 8 - 14 ปี รางวัลชนะเลิศที่ 1 เด็กหญิงปณิธาน ศรีธงชัย โรงเรียนวิชัยวิทยา ระดับ 14-17 ปี รางวัลชนะเลิศที่ 1 นายอนุวัฒน์ พีระเป็น โรงเรียน ส่วนบุญโญปถัมภ์ จังหวัดลำ�พูน ได้มีการแจกรางวัล โดย ท่นผวภ. แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ในวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ศูนย์การค้า พาวิลเลี่ยนไนท์บาซ่าร์ จังหวัด เชียงใหม่

43 42

มีนาคม ๒๕๕๓


มุม...สบาย...สบาย

มวลมิตรโรแทเรียน โรตารีแอนน์และสุภาพบุรุษโรตารีที่เคารพ เป็นอย่างไรบ้างครับ...สบายดีหรือเปล่า........อย่าเครียดกับความขัดแย้งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในบ้าน เรานึกเสียว่ามันเป็นช่วงหนึ่งของความเจริญของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข และท้ายที่สุดทุกคนคงอยากเห็นความสงบในบ้านเมืองเราของให้ทุกฝ่ายทำ�อะไร ให้มีสติเป็นที่ตั้งครับ ช่วงตรุษจีนมีเพื่อนมาจากกรุงเทพฯจะมาเที่ยวแม่สาย 2- 3 วัน ผมไม่ค่อยว่างจึงตั้งใจจะให้ เพื่อนยืมรถไปใช้ ผมและแอนน์จึงไปรับเพื่อนที่สนามบินและได้บอกความประสงค์ของเราที่จะ ให้รถเขาใช้ ระหว่างสนทนาอย่างสนุกสนานหลังจากไม่ได้เจอเพื่อนเก่ามาเป็นเวลานาน เพื่อน ก็เอ่ยปากถามว่า “รถคันนี้เติมน้ำ�มันอะไร ?” แอนน์ผมจึงตอบสวนขึ้นไปทันทีว่า “ปอ.ตอ.ทอ. จ๊ะ” ???...%%%... ผมขออนุญาตแอนน์แล้วครับ......ไม่ต้องเป็นห่วงผมครับ.........สวัสดี ของรางวัลฉบับนี้เป็นกระเป๋าสตางค์แบรนด์เนม 3 รางวัล ส่งคำ�ตอบมาด่วน

ยังงี้นี่เอง

แนทถามเพื่อนว่า “เธอรู้ไหมว่าทำ�ไมผู้ชาย หลายคนถึงยังต้องการแต่งงานกับผู้หญิงที่ บริสุทธิ์เท่านั้น” เพื่อนตอบว่า “ก็ผู้ชายพวก นั้นเป็นพวกที่ทนฟังคำ�วิจารณ์ไม่ได้ยังไงล่ะ” แนทถามต่อว่า “แล้วทำ�ไมพวกผู้ชายถึงไม่ค่อย สบตาผู้หญิง” เพื่อนบอกว่า “เพราะมัวแต่จ้อง หน้าอกน่ะซี”

เจ็บใจ

ขณะที่พ่อก้มลงผูกเชือกรองเท้าให้ลูกชายตัว น้อย ลูกชายเห็นตรงกลางศรีษะพ่อโล่งเลี่ยน ไม่มีผม เลยถามว่า “พ่อครับ ตรงกลางหัวพ่อ อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ โบ๋ ไม่มีผมเลย......พ่อเจ็บไหมครับ” ลูกชาย สโมสรโรตารีแม่สาย ถามเสียงใสซื่อ พ่อถอนหายใจบอกว่า “ไอ้เจ็บ กายน่ะไม่หรอก.....แต่มันเจ็บใจ” ส่งคำ�ตอบมาที่ หวังดี akeelawat@yahoo.com เรือรบสหรัฐอเมริกาได้รับคำ�สั่งให้ไปประจำ� หรือจดหมายมาที่ การในน่านน้ำ�นอกเขตประเทศศรีลังกา กัปตัน อกลัวชาวประมงแถวนั้นจะตื่นตกใจ เลยให้ 23 ถนนพหลโยธิน เรื ลูกน้องเขียนป้ายเป็นภาษาลังกาแล้วให้คนเอา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไปติดไว้ตรงจุดสูงทีเ่ รืออืน่ จะเห็นได้ชดั วันหนึง่ 57130 ขณะกำ�ลังลอยลำ�อยู่ ปรากฎว่ามีเรือประมง พยายามแล่นเข้ามาใกล้ กัปตันเลยส่งสัญญาณ ให้ถอยไปให้ห่างจากเรือรบเรือประมงยอมล่า ถอยไป แต่วน ั รุง่ ขึน ้ ก็กลับมาใหม่ คราวนีก้ ปั ตัน พยายามเตือนยังไง เรือประมงที่ว่าก็ไม่ยอม ถอย แถมยังเข้ามาจนประชิดเรือได้ กัปตันเลย ให้ลูกน้องเตรียมพร้อมและถือปืนจ้องไปทางผู้ มาเยือน ไม่นานก็มีชาวบ้านคนหนึ่งเดินออก

คํำ�ถาม Puzzle

มีนาคม ๒๕๕๓

มาให้เห็นและตะโกนเสียงดังเป็นภาษาอังกฤษ อย่างชัดเจนจนได้ยน ิ กันไปทัง้ เรือรบว่า “ผมแค่ จะมาบอกว่า......คุณติดป้ายกลับหัว”

ลืมสนิท

แทมเป็นโรคความจำ�สั้น เขามักลืมว่าตัวเอง กำ�ลังทำ�อะไรอยู่วันหนึ่งเขาขึ้นรถไฟจะไปต่าง เมือง เมื่อพนักงานตรวจตั๋วเดินมา แทมก็รีบ ตบกระเป๋าหาตั๋วรถไฟ แต่หาเท่าไรก็หาไม่เจอ พนักงานมองแทมที่นั่งหน้าซีดท่าทางตื่นตกใจ ก่อนปลอบว่า “หาตั๋วไม่เจอก็ไม่เป็นไร ผมเชื่อ ว่าคุณซื้อตั๋วมาแล้วจริงๆ” แทมส่ายหน้าบอก ว่า “ไม่ได้ ต้องหาตั๋วให้เจอ ผมอยากรู้ว่าผม กำ�ลังจะไปไหน”

สมจริง

ขณะที่กำ�ลังยืนทาสีห้องรับแขก จู่ๆเด็กหนุ่ม ก็ เ สี ย หลั ก ลื่ น ล้ ม จนกระป๋ อ งสี ห กราดตั ว เลอะเทอะไปหมด “เกิดอะไรขึ้น” พ่อวิ่งเข้ามา ถาม หนุ่มน้อยกำ�ลังจะลุกขึ้นยืน แต่ลื่น เลย เซถลาไม่เป็นท่าไปอีกครั้งหนึ่ง เสื้อผ้าหน้าผม เปรอะเปื้อนหนักกว่าเดิม พ่อมองลูกชายขำ�ๆ ก่อนบอกว่า “ทีหลังบอกเฉยๆ ไม่ต้องแสดงให้ พ่อดูก็ได้นะ”

ลืมไป

ไฟฟ้าบ้านแมรี่เกิดดับโดยไม่รู้สาเหตุแมรี่จึง โทรศัพท์ไปแจ้งที่การไฟฟ้า พนักงานบอกว่า “เดี๋ยวเราจะส่งพนักงานไปภายในยี่สิบนาที ขอ ที่อยู่ด้วยครับ” แมรี่รีบตอบว่า “ที่...ตู้ ปณ. ยี่สิบค่ะ” พนักงานบอกว่า “คุณนายครับ เรา จะไปซ่อมไฟนะครับ ไม่ได้จะส่งจดหมาย”

1. สโมสรใดที่ค้างชำ�ระเงินค่าสมาชิกกี่เดือนจึงจะถูกยุบเลิกสมาชิกภาพจาก โรตารีสากล ? 2. โครงการแรกของโครงการ 3 H เอช คืออะไร ? 3. โครงการโรตารีสร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลลำ�ปางเป็นโครงการต่อ เนื่องกี่ปี ? 4. ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ ใช้งบประมาณในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์รวมทั้ง สิ้นเท่าไร ? 5. พระธาตุประจำ�ราศีของคนเกิดปีขาลคือพระธาตุอะไร ?

45 44


DG’s Activities

(º¹ÊØ´) ÃèÇÁ¾Ô¸ÕÁͺ¹éÓ´×èÁÊÐÍÒ´Ãкº»ÃлÒâçàÃÕ¹ ¢Í§ ÊâÁÊÃâõÒÃÕàªÕ§¤Ó áÅÐ ÊâÁÊÃâõÒÃÕ Kumamoto South Japan ÀÒ¤ 2720 Çѹ¾Ø¸ ทÕè 10 ¡ØÁÀҾѹ¸ì 2553 ³ âçàÃÕ¹µÓÃǨµÃÐàǹªÒÂá´¹ àºçµµÕé ´ÙáÁ¹ Í.»§ ¨.¾ÐàÂÒ (¡ÅÒ§¢ÇÒ)¼ÇÀ.áÇÇ´ÒÇ áÅмÙéÇèÒ¡ÒÃÀÒ¤ÃèÇÁÊÁÑ ÀÒ¤ 3330,3340,3350 Áͺà§Ô¹ºÃÔ¨Ò¤ãËé¼Ùé»ÃÐʺÀÑ àεԼèÒ¹ ÃÁµ.¡ÃÐทÃǧ¡ÒõèÒ§»ÃÐàทÈ Çѹ¾Ø¸ ทÕè 24 ¡ØÁÀҾѹ¸ì 2553³ ¡ÃÐทÃǧ¡ÒõèÒ§»ÃÐàทÈ ¡Ãاàท¾ÁËÒ¹¤ÃÏ (¡ÅÒ§) Áͺ

44 45

ÃÒ§ÇÑÅ¡ÒÃá¢è§¢Ñ¹ÊС´¤ÓÈѾท์ÀÒÉาÍѧ¡ÄÉ ÃдѺ»ÃжÁ 4 ÇѹÈØ¡Ãìที่ 26 ¡ØÁÀҾѹ¸ì 2553 ³ âçàÃÕ¹àทȺÒÅ ÇÑ´»èÒá¾è§ ¨.àªÕ§ãËÁè (¡ÅÒ§«éÒÂ) ÃèÇÁµé͹ÃѺทีÁ GSE ¨Ò¡ Texas, USA ÀÒ¤ 5730 ÇѹÍѧ¤ÒÃทÕè 2 ¡ØÁÀҾѹ¸ì 2553 ³ ʹÒÁºÔ¹ ¹Ò¹ÒªÒµÔ àªÕ§ãËÁè ¨Ñ§ËÇÑ´àªÕ§ãËÁè (ÅèÒ§ÊØ´) ÁÇÅÁÔµÃâÃáทàÃÕ¹ ÀÒ¤ 3360 âõÒÃÕÊÒ¡ÅàÂÕèÂÁÊâÁÊÃâõÒÃÕÅÒÇ àÇÕ§¨Ñ¹ท¹ì ÇѹทÕè 28 ¡ØÁÀҾѹ¸ì-2 ÁÕ¹Ò¤Á 2553 ³ àÁ×ͧËÅǧ¾Ãкҧ Ê»».ÅÒÇ

มีนาคม ๒๕๕๓


แทนคำ�นับพัน

Mai Soong Kha - Kengtung KengTung

Shan State Myanmar เขมรัฐตุงคบุรี หรือ เชียงตุง

รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์

“ใหม่สูงข้า” (สวัสดี) เชียงตุง ประวั ติ เ ริ่ ม แรกของเมื อ งนั้ นไม่ ค่อยจะแน่ชดั มากเท่าไรนัก แต่มตี �ำ นานเล่า ขานกันว่า เคยเกิดน้ำ�ท่วมใหญ่ท่วมเมือง ไม่มีที่จะไปเนื่องจากเป็นแอ่ง แต่ว่ามีฤๅษี นามว่า ตุงคฤๅษี แสดงอิทธิฤทธิ์ทำ�ให้นำ� ไหลออกไปอยู่ตรงกลางเมือง ทำ�ให้เกิดเป็น

มีนาคม ๒๕๕๓

หนองน้ำ�ขนาดใหญ่ เรียกกันว่า หนองตุง อั น เป็ น ที่ ม าของชื่ อ เชี ย งตุ ง เป็ น แว่ น แคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา และ วัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้ และ มี เจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง จึงเฉลิมนามให้ ใหม่ว่า เขมรัฐตุงคบุรี แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็น เรื่องจริง หรือ เท็จ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.