DG-09-October-4

Page 1

๐๔

วายอีมา แลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน


คณะอนุกรรมการจัดทำ� สารผู้ว่าการภาค ที่ปรึกษา อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูรณ์ (เชียงใหม่) PP.Dr.Boriboon Phornphibul Mobile : 08-9556-4641 บรรณาธิการ

อน.วาณิช โยธาวุธ (แม่สาย)

PP. Vanit Yothavut Mobile : 08-1530-4457 E-mail : vanit@loxinfo.co.th ผู้ช่วยบรรณาธิการ อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Naruchol Arpornrat Mobile: 08-1603-8865 E-mail:naruchol.arpornrat@gmail.com ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผชภ. เอกวุฒิ กาวิละ (หางดง) AG.Ekavuth Kawila Mobile: 08-1881-3300 E-mail: ekavuth@gmail.com กองบรรณาธิการ ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง (เชียงใหม่เหนือ) DGE.Chamnan Chanruang Mobile : 08-1595-7999 E-mail : chamnanxyz@hotmail.com อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Dr.Busabong Jamroendararasame Moblie 08-1883-7144 E-mail : busabong@daraweb.net อน.จินดา จรรญาศักดิ์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP. Chinda Chanyasak Mobile : 08-1883-7103 E-mail : chinda@vorrawut.com อน. จันทนี เทียนวิจิตร (ล้านนาเชียงใหม่) PP. Chuntanee Tienvichit Mobile : 08-1783-9977 E-mail : chuntanee@hotmail.com อน.สุรินทร์ ชัยวีระไทย (นเรศวร) PP.Surin Chaiveerathai Mobile: 08-9858-8009 E-mail : prachamati_s@hotmail.com อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ (แม่สาย) PP.Apichai Keelawut Mobile: 08-1681-7988 E-mail: akeelawat@yahoo.com อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ (เชียงใหม่เหนือ) PP.Suparie Chatkunyarat Mobile: 08-1881-4828 E-mail : csuparie@yahoo.com รทร.สุนิพิฐ คงเมือง (ล้านนาเชียงใหม่) Rtn.Sunipit Kongmuang Mobile: 08-1796-8447 E-mail : sunipit@gmail.com

October 2009 Vocational Service Month เดือนแห่งการบริการด้านอาชีพ

THE CHIANGRAI YOUTH & HILL TRIBES’ VIOLIN P

www.insiithaihouse.com www.waehlr.com

* อ่านรายละเอียด โครงการ ไวโอลิน ของเยาวชนชาวเขา จ.เชีย ได้ที่คอลัมน์ “หนึ่งในร้อย” หน้าที่ 30


PROJECT

ยงราย

2 1

ตุลาคม ๒๕๕๒


RI.President’s Letter

สารประธานโรตารีสากล จอห์น เคนนี – ตุลาคม09

ในโลกปัจจุบัน มีองค์กรบำ�เพ็ญประโยชน์อยู่มากมาย แต่ไม่มีองค์กรใดที่เก่าแก่ และประสบผลสำ�เร็จเท่ากับโรตารี ซึ่งมีเหตุผลมากมายและหนึ่งในเหตุผลเหล่านั้นคือ บริการด้านอาชีพ ในปีนี้ ผมปรารถนาให้ท่านมุง่ สนใจเป็นพิเศษในบริการด้านอาชีพ หนึง่ ในบริการสี่แนวทางของโรตารีซึ่งมักถูกหลงลืมบ่อยๆ มาตรฐานจริยธรรมระดับสูงในธุรกิจและชีวิตส่วนตัว ยังคงมีความสำ�คัญใน ปัจจุบันเช่นเดียวกับในปี 1905 ปัญหาต่างๆ มากมายที่โลกเราต้องเผชิญอยู่ในทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากความล้มเหลวในการยึดถือตามมาตรฐานจริยธรรมการดำ�เนินธุรกิจ นั่นเอง บริการด้านอาชีพ ในโรตารีนั้นหมายถึงการที่เรามุ่งมั่นตั้งใจดำ�เนินธุรกิจแบบ ซื่อตรง มีจริยธรรมที่ไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น เราทุกคนต้องใช้ทักษะด้านอาชีพและการได้ ประโยชน์ สำ�หรับช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นข้อคิดธรรมดาๆ แต่นี่ก็คือ เอกลักษณ์ของโรตารี องค์กรบำ�เพ็ญประโยชน์จำ�นวนมากเปิดรับใครก็ได้ที่อยากจะเป็นสมาชิก แต่ใน โรตารี มิใช่เช่นนั้น โรแทเรียนจะพยายามแสวงหาสมาชิกที่มีคุณสมบัติ -ประพฤติชอบ มีความสามารถและตั้งใจจริงที่จะอุทิศตนแก่สโมสร RI.President John Kenny Year 2009-10

ผมมีความเชื่อมานานแล้วว่า แก่นแท้ของโรตารี คือการมุ่งมั่นในจริยธรรมความ ประพฤติของเรา ซึ่งยึดถือว่าสิ่งที่ถูกต้องย่อมเหนือกว่าสิ่งที่ถูกใจ ด้วยการ บริการเหนือ ตนเอง ที่ทำ�ให้โรตารีมีความแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ นี่คือสิ่งที่เราพึงต้องจดจำ�เสมอว่า ไม่ว่าจะกระทำ�สิ่งใด เราคือใบหน้าสาธารณะของโรตารี เราแต่ละคนล้วนเป็นผู้ยึดมั่นใน มาตรฐานองค์กรของเรา สิ่งใดที่สมาชิกคนหนึ่งคนใดกระทำ�ลงไป ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ล้วน มีผลกระทบถึงพวกเราทุกคน ในฐานะเป็นองค์กรที่ประสบความสำ�เร็จมากมาย ด้วยการที่โลกให้ความไว้ใจใน โรตารีและบรรดาโรแทเรียน ความไว้วางใจนั้นเป็นส่วนสำ�คัญของความสำ�เร็จในการขจัด โปลิโอ ข้อเท็จจริงที่ทำ�ให้องค์กรของเราเป็นที่รู้จักในทุกชุมชน และเป็นที่ทราบกันทั่วๆ ไปว่า โรแทเรียนเป็นบุคคลที่มีจิตใจดี มีไมตรีจิตต่อกัน หากเราปรารถนาจะเห็นองค์กรของเราเจริญรุ่งเรืองต่อไป เราต้องใช้บริการด้าน อาชีพนี้นำ�หน้าเรา ให้เป็นศูนย์กลางความคิดและการกระทำ�ของเรา เราต้องแสวงหาบุรุษ และสตรีผู้มีคุณสมบัติ ทักษะ และมุ่งมั่น เราต้องปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าอาจไม่ สะดวกใจ และเราต้องใช้บริการเหนือตนเองเสมอๆ ตลอดไป

ตุลาคม ๒๕๕๒

(อน.พิเชษฐ์ รุจิรัตน์ สโมสรโรตารีราชบุรี ภาค 3330 เป็นผู้แปล)

3 2


District Governor’s Letter

2 3

มวลมิตรโรแทเรียนโรตารีแอนน์ และ ท่านสุภาพบุรุษโรตารี ที่รักทุกท่าน สวัสดีค่ะ มวลมิตรโรแทเรียนที่รักทุก ท่าน ผ่านไปแล้ว 3 เดือนของการบริหารภาค 3360 ของดิฉน ั ช่างรวดเร็วและมีความรูส้ กึ เหมือนกับว่า เพิ่งผ่านไปสักเดือนเดียวเท่านั้นเอง เนื่องจากตัว ดิฉันเองก็มุ่งอยู่กับภารกิจของการเยี่ยมสโมสรใน ภาคอย่างเป็นทางการอยู่ทุกๆวัน จะกลับมาอยู่ใน เมืองก็แค่วน ั สุดสัปดาห์เท่านัน ้ และถ้าวันพฤหัสบดี ไหนอยู่ในเมืองก็จะร่วมประชุมประจำ�สัปดาห์ของ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงามทุกครั้ง เดือนตุลาคมตามปฏิทน ิ โรตารี คือ เดือน แห่งการบริการด้านอาชีพ(Vocational Service) ซึ่ง โรตารีแนะนำ�ให้ดำ�เนินการในลักษณะการยกย่อง ฟื้นฟูและช่วยเหลือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ ประกอบอาชีพของคนในชุมชนหรือแม้แต่สมาชิก ของสโมสรเอง ในวันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคมที่ผ่าน มา ดิฉันได้สบทบทุนช่วยค่ากรมธรรม์ประกันภัย ของรถม้าในจังหวัดลำ�ปางจำ�นวน 10 คัน ร่วมกับ สโมสรโรตารีดอยพระบาทอีก 10 คัน รวมเป็น 20 คัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์อาชีพเก่าแก่ ของนครลำ�ปางให้เป็นเอกลักษณ์ในการท่องเที่ยว และคงไว้ซึ่งสัญลักษณ์เก่าแก่อันทรงคุณค่าของ จังหวัดลำ�ปางสืบไป เมื่อวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ทาง ภาคของเราก็ได้จัดการสอบคัดเลือกนักเรียนแลก เปลี่ยนภาค(YE) ไปแล้ว ที่ห้องประชุมใหญ่ของ บริษัทสหพานิช จำ�กัด มีนักเรียนเข้าสอบเกือบ 60 คน และผลสอบก็คงจะได้แจ้งตามมาในไม่ช้า และในวั น ที่ 22–24 ตุ ล าคมนี้ ทาง ภาค3360 จะได้มีการอบรมผู้นำ�เยาวชน RYLA ที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสโมสร โรตารีในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ มี เยาวชนแจ้งความจำ�นงและลงทะเบียนเข้าร่วม ประมาณ 300 คน โปรแกรมคราวนี้น่าสนใจทีเดียว จากการที่ทางภาคได้ นิมนต์พระมหาวุฒิชัย( ว. วชิรเมธี ) มาบรรยายธรรมะแบบสบายๆ เข้าใจได้ ง่าย ให้เยาวชนและผู้สนใจฟังในวันรับลงทะเบียน เข้าอบรม คือ วันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2552 ใน เวลาประมาณ 15.00 น. ถึง 17.00 น. และในวัน พฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2552 จะมีกิจกรรมสร้าง ฝายในช่วงเช้าและพาเยาวชนเข้าพักผ่อนหย่อนใจ กับลูกหมีแพนด้า “หลินปิง” ในบรรยากาศอันแสน ร่มรื่นของสวนสัตว์เชียงใหม่ในช่วงบ่าย นับว่า โปรแกรมครั้งนี้จะเป็นที่กล่าวขวัญกันไปอีกนานที เดียว ในเดือนนี้ นอกจากทุกสโมสรจะได้คัด เลือก GSE เพื่อส่งไปแลกเปลี่ยนภาค 5730 รัฐ เทกซัส สหรัฐอเมริกาในปีหน้าแล้ว ท่านยังจะมี โอกาสเสนอชื่อผู้ว่าการภาครับเลือกสำ�หรับปีบริ หาร 2555-2556 (2012–2013) ซึ่งจะทำ�หน้าที่ต่อจาก ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรืองอีกด้วย ทางภาคฯจะมี หนังสือถึงท่านนายกของทุกสโมสรในเร็วๆนี้ ราย ละเอียดของกติกาและคุณสมบัติ รวมทั้งความ เหมาะสมของผู้ที่จะถูกเสนอชื่อจะแนบไปด้วยกัน ขอให้ทุกสโมสรช่วยกันพิจารณาสมาชิกที่มีความ เหมาะสมที่จะเป็นผู้ว่าการภาคของเรา เพื่อความ เข้มแข็งและเป็นที่หนึ่งของภาค 3360 โรตารีสากล

ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี แววดาว ลิ้มเล็ง เลิศ ผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2552-2553

Dear Rotarians, Rotary Anns, and Gentlemen Three Months have passed, but I feel that it has been only a month. This is because I bring the most of my attempt in visiting Rotary clubs in our district weekly, and I will be in Chiang Mai only two or three days a week. In fact, most of those days in Chiang Mai are of my weekend, yet part of that I always attend a weekly meeting of Rotary Club of Chiang Mai Thin Thai Ngam on Thursday. October, according to the Rotary calendar, is a month of Vocational service. Appreciating, and helping people in a community around us as well as our club members to excel and have satisfaction in their careers is the objective Rotary International recommends. On October 8th, I contributed my own fund to help reducing the insurance cost of ten horse trolleys in Lampang for the operators. This was done together with insurance support for ten horse trolleys contributed from Rotary Club of Doi Prabath. In totality, twenty horse trolleys insurance was supported in order to promote the traditional tourist service career and to preserve the locally invaluable identity of Lampang. On October 3rd, our district arranged the entrance examination for Youth Exchange program at the conference room of Sahapanich Chiang Mai, co.ltd. About sixty interested students took this exam. The exam result will be announced soon. Upon the coming October 22nd – 24th, our 3360 district will organize a seminar for Rotary Youth Leadership Assembly at the Chiang Mai Maejo University. All Rotary Clubs in Chiang Mai will be a host. About 300 youths have notified their request to participate in the seminar. This seminar will be probably promising. Our district has asked Phra Mahavutthichai to lecture on Dhamma within a daily life context easy for everybody to understand in a relaxed stance between three to five p.m. on October 20th, 2009. On October 22nd, in the morning, the youths and our staffs will altogether build the dams, and in the afternoon, we will bring the youths to see “Lin Ping,” the little panda, and to hang around in the green atmosphere of Chiang Mai zoo. This program will be recognized for a long time. In this month, in addition to the rights of any Rotary Clubs to select Group Study Exchange participants representing our 3360 district to be in exchange with the GSE group from Rotary district 5730, Texas, an opportunity to put forth the name of a Rotarian whom they think will be appropriate for year 2011 district governor is available. The selected person will resume the position of District governor elected, Chamnan Chanruang next year. The district will, in a mean time, send a letter to the all Rotary Club presidents. The rules’ detail as well as the qualified standard of those deserved to be put forth will be attached in the letter. Hopefully, all clubs will consider the right person to be our coming District Governor Nominee to bring the unraveled strength to our 3360 district.

ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓

ตุลาคม ๒๕๕๒


CONTENT

สารผู้ว่าการภาค ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ฉบับที่ ๓ เดือนตุลาค

สารบรรณ

2. สารประธานโรตารีสากล 3. สารผู้ว่าการภาคฯ 5. บอกอ บอกกล่าว 6-7 ใจถึงใจ 8 ปฎิทินภาค 9. สารเลขาฯภาค 10-11 สถิติการเข้าประชุม 12-13 DGN’s Corner 14-15 คุยกันที่ขอบเวที

ตุลาคม ๒๕๕๒

“สมาธิ เข็มทิศสู่ปัญญา และการแก้กรรม” โดยคุณพีระวัฒน์ อ โดยคณะกรรมการโครงการ “โรตารีสร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจ รพ.ลำ�ป ณ หอประชุมบุญชู ตรีทอ *อ่านรายละเอียดเพิ่มเ

16 สารสนธิ 17-19 เสียงนกเสียงกา 20-23 Behind the Scene 24-25 At a Glance 26-29 บ้านเลขที่3360R.I. 30-33 1 ใน 100 34-35 Youth Corner 36-37 เอกพาแอ่ว 38 Z00m inside 3360

5 4


Editor’s Note

คม ๒๕๕๒

อริยทรัพย์กมล “Super Richy” จัด ปาง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” อง รร.บุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำ�ปาง

เติม ได้ในคอลัมน์ “ใจถึงใจ” หน้า 7

39 เล่าขานตำ�นาน 40-43 รวมภาพกิจกรรม 44 มุม สบาย สบาย 45 DG.Activities ปกหลัง แทนคำ�นับพัน

“แก้วตาดวงใจ” ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ที่เครือข่ายโยงใยถึงกัน ไปทั่ว โลก อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การศึกษาหาความรู้ การท่อง เที่ยว ผู้คนทั้งหลาย ต่างสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันและกัน ได้อย่างไม่มีข้อจำ�กัด ทั้งเสียง ภาพและความเคลื่อนไหวที่ เสมือนจริง แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราทุกคนต้องการมาก กว่านั้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงความรู้เบื้อง ต้นสำ�หรับพวกเรา แต่การลงพื้นที่สัมผัสความจริง ให้อารมณ์ และความรู้สึกที่แตกต่าง มากกว่าการดูผ่านจออย่างแน่แท้ เครือข่ายสายใยแห่งมิตรภาพของโรตารี ได้เชือ่ มผูค้ น และเหล่าโรแทเรี่ยนจากทุกมุมโลก ได้ใกล้ชิดกันเพิ่มมากขึ้น อน.วาณิช โยธาวุธ สโมสรโรตารีแม่สาย อย่างไม่เคยมีมาก่อน ผ่านเครือข่ายสารสนเทศนี้ ทุกคนสามารถติดต่อส่งความรักความปราถนาดี ถึง กันและกันได้ตลอด ทุกเวลาและนาที เหมือนกับผูค้ นอีกหลาย พันล้านคนในโลกใบนี้ แต่เมื่อเยาวชนแลกเปลี่ยนของโรตารี จากทุกมุมโลก ได้เดินทางไปมาหาสู่กัน มิตรภาพ ความรัก ความเข้าใจ ที่ แต่ละคนได้รับ ย่อมลึกซึ้งแตกต่างจากสิ่งที่เราได้เห็นแค่ภาพ และได้ยินแต่เสียง แก้วตาดวงใจของแต่ละครอบครัว ถูกส่งผ่านเครือข่าย แห่งมิตรภาพของโรตารีไปทั่วโลก และไว้วางใจว่าแต่ละฝ่าย จะดูแลกันและกัน ด้วยความรักและความใจใส่อย่างแท้จริง สารฯ ฉบับนี้ ได้อุทิศให้กับเรื่องราว เบื้องหน้า เบื้อง หลัง และผู้ที่เกี่ยวข้อง กับโครงการเยาวชนแลกเปลี่ยน หรือ เรียกกันสั้นๆว่า วายอี YE ลองสัมผัสถึง มิตรภาพ ความรัก ความเข้าใจ ที่ผู้คน ในโลกนี้ได้มอบให้กันและกัน ผ่านแก้วตาดวงใจของเขาเหล่า นั้น ถึงแม้จะเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งในโรตารี แต่เราสามารถ สัมผัส รู้สึก รู้ซึ้ง ถึงความรัก ความ ปราถนาดี ที่มีให้กันและกัน ผ่านบทความข้อเขียนที่ร้อยเรียง อย่างงดงาม อยู่ในสารฯเล่มนี้

4 5

บอกอ ผู้มีความหวังในความเข้าใจของกันและกัน

ตุลาคม ๒๕๕๒


ใจถึงใจ

ปาฐกถาธรรม โดย ว.วชิระเมธี

10 ตุลาคม 2552 ดิ ฉั น ตั้ งใจเขี ย นจดหมายนี้ ม าเพื่ อ ขอบคุ ณ สโมสรโรตารีเ่ ชียงรายทีไ่ ด้จัดปาฐกถาธรรม โดยพระมหา วุฒชิ ยั วชิรเมธี หรือทีเ่ รารูจ้ กั กันในนามของท่านว่าท่าน ว.วชิรเมธี ในวันที่ 20 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา ดิฉัน รู้สึกประทับใจมากกับการบรรยายธรรมในครั้งนี้ หัวข้อ การบรรยายคือ “งานก็เป็นผล คนก็เป็นสุข” โดยท่าน ได้อธิบายถึงหลักธรรมแห่งความสำ�เร็จในชีวติ อยูด่ ว้ ยกัน หลายข้อ การบรรยายครั้งนี้ทำ�ให้รู้สึกว่าธรรมมะเป็น เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดและเข้าใจไม่ยาก ทั้งยังสามารถนำ� ไปปฏิบตั ใิ นชีวติ ประจำ�วันได้จริง โดยเน้นให้เรามีสติยอ้ น กลับมาดูจิตใจของตัวเอง เนื่องจากภาระหน้าที่ความรับ ผิดชอบประจำ�ของเรา ทำ�ให้ยุ่งจนไม่มีเวลารักษาใจเรา เอง หลายๆอย่างเราหลงลืมไปอย่างน่าเสียดาย ดิฉันขอ ยกตัวอย่างธรรมที่ท่านบรรยายในวันนั้นที่ดิฉันรู้สึกว่า เป็นประโยชน์กับตัวดิฉันมาก ดังนี้นะคะ ข้อแรกที่ท่านว.วชิรเมธี กล่าวถึงก็คือการที่ เราทำ�งานที่เรารัก ซึ่งถ้าเราได้ทำ�งานที่เรารักแล้วเราจะ สามารถทำ�ได้ดีเพราะเรามีความรัก ความชอบใจ เราจึง ใส่ใจเรียนรู้และตั้งใจในการปฏิบัติของเรา ดังนี้นเราต้อง ย้อนกลับมาพิจารณาว่าเรามีความสามารถ ความถนัด หรือชอบทางด้านไหนเป็นพิเศษ เราก็น่าจะเลือกทำ�ใน สิ่งนั้นโดยต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ และขยันหมั่นเพียร ฝึกฝนทักษะนั้นๆ ข้อที่สองที่ท่านพูดถึงคือการรู้จักประมาณตน ในการทำ�งาน และในการใช้ชีวิต โดยท่านได้ยกตัวอย่าง ขงเบ้ง ยอดกุนซือจากวรรณคดีสามก๊กซึง่ เป็นผูท้ ีม่ คี วาม ฉลาดปราดเปรื่องเลิศล้ำ� ต้องมาสิ้นชีวิตในสนามรบใน ขณะที่ท่านมีอายุเพียง 51 ปี เหตุเพราะท่านทำ�งานหนัก จนเกินไป ท่านรู้จักวางกลยุทธ์ต่างๆมากมายเป็นที่น่า เกรงขามของข้าศึกศัตรู แต่ท่านต้องมาชีวิตสั้นก่อนวัย อันควร เพราะท่านไม่รู้จักการประมาณตนในการทำ�งาน ในขณะเดียวกันท่านก็ได้พูดถึงความสำ�คัญในการแบ่ง เวลาให้ครอบครัว เพราะหากมัวแต่มุ่งหาความสุขทาง วัตถุด้วยเชื่อว่าการทำ�งานหนักจะทำ�ให้ครอบครัวสบาย แต่ลืมไปว่าความสุขทางใจก็เป็นสิ่งสำ�คัญเพราะสิ่งที่เรา โหยหา บางทีก็ใช้เงินซื้อไม่ได้ เช่นการใช้เวลาร่วมกัน ในครอบครัว หลักธรรมสุดท้ายที่อยากจะกล่าวถึงคือการที่ เราควรจะ “เลิกเห็นแก่ตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด” เพราะ ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ บ่อนทำ�ลายทุกอย่างรอบตัว เรา เนือ่ งจากเราไม่รูจ้ กั พอ ไม่รูจ้ กั แบ่งปันและคิดเอาแต่ ได้ โดยไม่สนใจว่าความเห็นแก่ตัวของเราจะก่อ ความ เสียหายให้กับใครยังไงบ้าง ตั้งแต่คนรอบตัวไปจนถึง ประเทศชาติบ้านเมือง

ตุลาคม ๒๕๕๒

ธรรมที่ บ รรยายในวั น นั้ น ทำ � ให้ ดิ ฉั น รู้ สึ ก “อิ่มใจ” และรู้สึกชื่นชมความสามารถใน การบรรยาย ธรรม ของท่าน ว.วชิรเมธี ซึ่งเป็นคนเชียงราย ทั้งยัง ได้เห็น คนเชียงรายที่เข้ามาฟังตั้งแต่เด็กเล็กๆ คนหนุ่ม ไปจนถึงพ่ออุ้ยแม่อุ้ยรวมหลายร้อยคน พากันมานั่งฟัง ที่หอประชุม อบจ. ดิฉันหวังว่าหากผู้ที่ได้เข้าฟังการ บรรยายได้ นำ � ธรรมมะ มาปรั บใช้ ใ นชี วิ ต พวกเราคง สามารถ พัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมและประเทศชาติไป สู่ความเจริญได้ทั้งด้านวัตถุและ จิตใจอย่างสมดุล และ สง่างาม พุทธมนต์

สถาปนาสโมสรอินเตอร์แรคท์ แม่จัน

สวัสดีครับ..คณะกองบรรณาธิการสารผูว้ า่ การ ภาค 3360 ผม...นายกตระสัก ศรีธิพรรณ์ สโมสรโรตารี แม่สาย คนปัจจุบันและเป็นคนเดียว (ไม่มีใครย่อมเป็น นายกร่วมด้วย) ฮ่า..ฮ่า ทักทายกันด้วยภาษา องุน ่ เปรีย้ ว นิดๆ ผมมีเรือ่ งต้องป่าวประกาศ ถึงความสุดยอด (สุโค้ย) ในเรื่องราวของเด็กๆ นักเรียนในการอุปถัมภ์ของสโมสร โรตารีแม่สาย นั้นคือ สโมสรอินเตอร์แรคท์โรงเรียน แม่ ส ายประสิ ท ธิ์ ศ าสตร์ หลั ง จากที่ ผ ลั ด เปลี่ ย นที ม ผู้ บริหารจาก ปีบริหาร 51-52 เป็นปีบริหาร 52-53 ก็ได้ น้องใหม่เด็กมัธยมปีที่ 5 ขึ้นมาเป็นนายกชื่อว่า นาย พลวัตร ชัยชนะ พร้อมทีมงานบริหารยุคใหม่ หญิง 9 ชาย 1 (เชื่อแล้วว่าผู้หญิงเป็นใหญ่ ทั้ง ผวภ.โรตารีภาค 3360 และที่ บ้ า นผม..แอนน์ ก็ ใ หญ่ ที่ ซู้ ด )เมื่ อได้ รั บ ตำ�แหน่ง แม้จะยังไม่มีงานสถาปนารับมอบตำ�แหน่ง อย่างเป็นทางโรตารีอินเตอร์แรคท์(ไม่ใช่ทางการ) นายก น้องใหม่พร้อมทีมงานและคณะอินเตอร์แรคท์ เริ่มลุย งานตามแผนงานที่ตระเตรียมไว้ โดยผลงานที่โดนใจทุก วัย ทุกผู้ทุกคนแบบสุดๆ นั้นคือ “โครงการรู้ทันไข้หวัด 2009” ริเริ่มโครงการโดยการเขียนแผนดำ�เนินการเขียน รายละเอียดต่างๆ และนำ�ทีมมานำ�เสนอในที่ประชุม ประจำ � สั ป ดาห์ ข องโรตารี แ ม่ ส าย ให้ สโมสรโรตารี ผู้ อุปถัมภ์พิจารณาอนุมัติเงินงบประมาณในการสนับสนุน ทั้งอดีตนายก ทั้งนายก และมวลมิตรโรแทเรี่ยน แม่สาย ...อึ้ง.นิ่ง..ยิ้ม. ”เยี่ยม” คำ�ที่หลุดปากทุกคน “อนุมัติโดยไม่มีเงื่อนผูก” คำ�พูดนายกสโมสร โรตารีแม่สาย ฮ่า ..ฮ่า สร้างบรรยายกาศ ขำ� ขำ� ใน การนำ�เสนอแผนงาน และผลงานดำ�เนินโครงการของ น้องๆ สโมสรอินเตอร์แรคท์โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ ศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ใน ปัจจุบัน มีการนำ�เสนอแบบมืออาชีพ มีข้อมูลที่ถูกต้อง และมี วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น รู ป ธรรมชั ด เจน ทำ �ให้ ผ ล สัมฤทธิ์ที่ได้เป็นที่น่าภูมิใจยิ่ง อีกเรื่องที่ต้องบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง ก็เดือน

6 7


กันยายน ที่ผ่านมาเป็นเดือนของชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งตามปฏิทิน การทำ�งานของโรตารีต้องมีงานสถาปนาสโมสรอินเตอร์แรคท์ และโรตาแรคท์ ซึ่งสโมสรโรตารีแม่สายและสโมสรโรตารีแม่จัน เป็นสโมสรอุปถัมภ์ของ สโมสรอินเตอร์แรคท์ทั้งสามโรงเรียน ได้แก่ รร.แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์,รร.แม่จันวิทยาคม และ รร.ศึกษาสงเคราะห์แม่จัน ร่วมกันจัดงานสถาปนารับมอบ ตำ�แหน่ง โดยรร.ศึกษาสงเคราะห์แม่จันรับเป็นเจ้าภาพ ซึ่งการ จัดงานทั้งหลายทั่งปวงเด็กน้องๆ ชาวอินเตอร์แรคท์ รับบทเป็น พ่องานแม่งานจัดงานเองทั้งหมด สโมสรป๋าป๋า (อุปถัมภ์) จ่าย ตัง นั่งยิ้ม ในงานพอ ผลงาน.. ถูกใจประทับใจ.. เมื่อก่อนเรา เป็นนักเรียนนักศึกษายังทำ�ไม่ได้ขนาดนีเ้ ลย มินา่ ล่ะ สัจจะธรรม ที่เป็นจริงแท้ที่แน่นอนที่บอกว่า “คนรุ่นใหม่ย่อมเก่งกว่าคนรุ่น เก่า” นะ..นะ..ไม่อย่างนั้นโลกคงไม่เจริญแบบนี้เหรอนะ //รับ ชมกิจกรรมอินเตอร์แรคท์ แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์และกิจกรรม ของสโมสรโรตารีแม่สายได้ ที่ www.rotarymaesai.com เว็บที่ สวยสุดในสายตาผม เพราะผมทำ�เอง.....// สุดท้าย...จากอรรถพจน์ท่านประธานโรตารีสากล จอน เคนนี่ ที่ว่า “อนาคตโรตารีอยู่ในมือท่าน” และเดือน กันยายนที่ผ่านนี้ จากกิจกรรมต่างๆของอินเตอร์แรคท์ ทำ�ให้ ผมได้เห็นประจักษ์ชัดยิ่งอีกประการแล้วว่า “อนาคตโรตารีอยู่ ในมือเด็ก” รักและเคารพ ฝากด้วยไมตรีจิต

ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ จ.ลำ�ปาง

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2552 เวลา 13.00 น. ที่ผ่าน มา ดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ สมาธิ เข็มทิศสู่ปัญญา และการแก้กรรม “ โดยคุณพีระวัฒน์ อริยทรัพย์กมล ‘ Super Richy ‘ หนุ่มผู้มีพลังจิตพิเศษ จัดโดย คณะกรรมการโครงการ “โรตารีสร้างศูนย์ผา่ ตัดหัวใจ รพ.ลำ�ปาง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” ณ หอประชุมบุญชู ตรีทอง รร.บุญ วาทย์วิทยาลัย จ.ลำ�ปาง มีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 1 พันคน ซึ่ง เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ นับว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสำ�เร็จเป็น อย่างดียิ่ง ทั้งนี้ก็ได้รับความร่วมมือ และช่วยเหลือจากหลาย ฝ่าย ซึ่งได้แก่ รพ.ลำ�ปาง กาชาดจังหวัดลำ�ปาง สโมสรโรตารี ใน จ.ลำ�ปาง ภาค 3360 โรตารีสากล ซึ่งมี อน.พญ.วรรณจันทร์ พิมพ์พิไล สโมสรฯเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม ประธานโครงการซึ่ง ท่านทัง้ ริเริม่ ก่อตัง้ โครงการ ประสานงานรวบรวมพลพรรค พลัง จากส่วนต่าง ๆ ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดประชาชน ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการเป็นจำ�นวนมาก เพื่อระดม ทุน จำ�นวนเกือบ 100 ล้านบาท ช่วยเหลือชีวิตผู้คนในการจัด ซื้ออุปกรณ์เพื่อเป็นศูนย์ผ่าตัดหัวใจของโรงพยาบาลที่ครบครัน พร้อมรองรับผู้ป่วยในภาคเหนือทั้งหมดในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยความมุ่งมั่น ความตั้งใจอันแน่วแน่ และความ เสียสละที่ยิ่งใหญ่ในการทุ่มเททั้งกำ�ลังกาย กำ�ลังใจ และกำ�ลัง ทรัพย์ของทุกท่านที่เข้ามามีส่วนขับเคลื่อน ผลักดันให้โครงการ เดินไปสู่เป้าหมายที่จะไม่ไกลเกินเอื้อม ทำ�ให้โครงการนี้ได้เป็น ทีร่ ูจ้ กั ของผูค้ นอย่างแพร่หลายด้วยความรวดเร็ว ทัง้ ๆทีก่ จิ กรรม

7 6

ในวันนี้เป็นกิจกรรมแรกของโครงการ ก็ได้มีผู้มีจิตศรัทธาหลั่ง ไหลกันมามากมายเกินคาด จนแน่นหอประชุม ทำ�เอา อผภ. อนุวัตร ภูวเศรษฐ ไม่มีที่นั่งท่านก็เลยต้องเดินเสิร์ฟน้ำ�เย็นๆ ให้กบั ผูม้ าร่วมงาน ทำ�ให้ผูท้ ีพ ่ บเห็นชืน ่ ชมและชืน ่ ใจกับน้�ำ เย็นๆ ไปตามๆกันค่ะ บรรยากาศของงานตัง้ แต่บริเวณโดยรอบของโรงเรียน เต็มไปด้วยรถยนต์ที่จอดเรียงรายแน่นขนัด ตลอดจนสองฟาก ของถนนนอกโรงเรียนที่เต็มและคลาคล่ำ�ไปด้วยรถราและผู้คน ที่ต่างมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการเข้ามามีส่วนร่วมและเป็น หนึ่งในกิจกรรมนี้....ดิฉันต้องขับรถวน 2 รอบ กว่าจะได้ที่จอด ไกลมากต้องเดินเท้าเกือบครึ่งกิโลฯ เกือบเหนื่อยแต่ยังไม่ทัน เหนื่อยก็ต้องหายเป็นปลิดทิ้งทีเดียวเพราะพบกับการต้อนรับ ของเจ้าภาพที่มีทั้ง 5 สโมสรฯ น้องๆ นักเรียน นักศึกษา เรียง แถวบริการทัง้ น้�ำ ดืม่ น้�ำ หวาน น้�ำ ชา กาแฟ ขนมนมเนย อาหาร คาวหวาน ข้าวเหนียว หมูปิ้ง ไส้อั่ว น้ำ�พริก ทั้งอิ่มทั้งอร่อย นอกจากนีย้ งั ได้รบั แจกเอกสาร หนังสือธรรมะอีก หอบกลับบ้าน กันไม่หวาดไม่ไหวทีเดียว งานนี้ฟรีหมดเลยค่ะ แหม....แต่จะไม่ ยอมจ่ายอะไรก็ดูกระไร เหลือบไปเห็นกล่องรับบริจาคเงินตาม จิตศรัทธาก็ค่อยสบายใจหน่อย มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินใส่ซอง สีชมพูที่ทางเจ้าภาพแจกพร้อมเขียนชื่อ ที่อยู่ จำ�นวนเงินที่ บริจาค หย่อนลงในกล่อง ทราบทีหลังว่าได้รับเงินบริจาคจาก กล่องรับตั้งแสนสองหมื่นบาท ดีใจจังเลยค่ะ ทั้งได้บุญ อิ่มท้อง เบากาย สบายใจ ได้ฟังเรื่องดีๆ จากหนุ่ม Super Richy อีก หลายคนคงจะนอนไม่หลับ เพราะมันอิ่มอกอิ่มใจ อิ่มบุญ กัน ถ้วนหน้า......สาธุ..... อิ่มท้องแล้วเข้ามาในห้องประชุมที่ตระการตา ผู้คน มากมาย ดิฉันต้องเดินตัวลีบเข้าไปจนถึงด้านหน้าห้องประชุม เพื่อบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึก ก็ได้พบกับผู้ใหญ่ในวงการโรตารี หลายท่าน นับตั้งแต่ผู้ว่าการภาคหญิงคนเดียวของภาค ผวภ. แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ท่านสปิริตสูงมาก ทราบมาว่าท่านทั้ง เหนื่อยทั้งเพลียกับงานที่มีมาตลอดติดๆ กัน 2 เดือนเต็มๆ ไม่ ได้พักเลย ท่านก็มาเป็นกำ�ลังใจให้กับผู้ร่วมงาน ขอขอบคุณที่ ท่านได้ให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้เป็นอย่างยิ่งค่ะ..ในส่วนของ ทาง รพ.ลำ�ปาง ท่าน นพ.ทรงวุฒิ ทรัพย์ทวีสิน ผู้อำ�นวยการ ก็ได้ให้เกียรติมาเพื่อกล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานความเป็น มาของโครงการ โดยมี นย.อธิษฐาน วงศ์ใหญ่ รอง ผอ.รพ. ลำ�ปาง และนายกสโมสรโรตารีลำ�ปาง เป็นหัวเรือใหญ่และเป็น ผู้ดำ�เนินรายการในพิธีวันนี้ ท่านเป็นผู้เข้มแข็งจริงจังมากๆ คน หนึ่ง แถมยังอิ่มบุญอีกค่ะ...ผชภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ สร.ดอย พระบาท เป็นผู้ช่วยฯหนุ่มที่เข้มมากๆ คนหนึ่ง ท่านทำ�งานเก่ง คล่องแคล่วว่องไวราวกับจรวด มาพร้อมกับกาแฟสดอร่อย ของ ขวัญเซรามิคอีกมากมาย .ป้าติ๋ว นยก.สุภาพร เสมอเชื้อ มา พร้อมกับเพื่อนสมาชิก เสบียงอาหาร ท่านเป็นพลาธิการของ โครงการ อิ่มอุดมสมบูรณ์อยู่ที่ท่านค่ะ...ต้องเอาใจท่านมากๆ ไม่งั้นเราอาจจะอด..ก็เป็นได้.... กำ�ลังเพลินกับการถ่ายรูป ก็ได้เวลาเปิดพิธีและแสดง ปาถกฐาธรรม บรรยายโดย คุณพีระพัฒน์ หรือ Super Richy ท่านมีสาวกหรือภาษาวัยรุน ่ ก็แฟนคลับมากมายจริง ๆ ค่ะ เรียก ได้ว่าฟังท่านแล้วคลั่งไคล้ เคลิบเคลิ้ม จนต้องปาวารนาตนเป็น ลูกศิษย์กันเป็นทิวแถว ท่านบรรยายได้น่าสนใจไม่ง่วง เพราะ ต้องตอบคำ�ถามทุกๆ 10 นาที ตื่นตาตื่นใจตลอด 4 ชั่วโมง ปิดงาน 18.30 น. งานนี้ทุกอย่างคะแนน 100 ให้ 200 เลยค่ะ..อาจจะกล่าวถึงผู้ร่วมงานไม่ครบเพราะมากมาย เฉพาะ มิตรโรแทเรียนเกือบร้อยคน แขกผู้มีเกียรติ น้อง ๆ เยาวชน และผู้สนใจอีกเกินพัน ดิฉันบรรยายไม่หมด ต้องขอขอบคุณ แทนเจ้าภาพด้วยหัวใจแห่งโรตารี.....พบกันใหม่เมือ่ ท่านต้องการ ค่ะ นิตยา ภู่ยงยุทธ นายกสโมสรฯฯล้านนาเชียงใหม่

ตุลาคม ๒๕๕๒


ปฏิทินภาค

ประกวดการจัดทำ�สารสโมสร ปี 2552-2553 เป็ด นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม

ขอเชิญ สโมสรโรตารี ในภาค 3360 ส่ง สารสโมสรประจำ�สัปดาห์ ประจำ� 2 สัปดาห์ ประจำ�รายเดือน ส่งเข้าประกวดชิงรางวัลที่ 1-3 และรางวัลชมเชยจากผูว้ ่าการภาค แววดาว ลิม้ เล็ ง เลิ ศ โดยส่ ง สารสโมสรของท่ า นมายั ง ประธานคณะกรรมตัดสิน อน.จินดา จรรยาศักดิ์ หรือ ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง นับแต่บัดนี้ เป็นต้นไปเพือ่ ทำ�การคัดเลือกและประกาศผลใน งาน District Assembly ปี 2553 โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณา 2 เกณฑ์ใหญ่ ๆ คือ 1) ด้านความถี่ในการจัดทำ� เช่น สารสโมสรที่ ออกเป็นรายสัปดาห์ก็จะได้คะแนนมากกว่าที่ ออกเป็นรายเดือน 2) เนื้ อ หาสาระเช่ น ความรู้ เ กี่ ย วกั บโรตารี รายงานการประชุม การบรรยายพิเศษ การ สนเทศโรตารี ความเคลือ่ นไหวของสมาชิก ฯลฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการประกวดการจัด ทำ�สารสโมสร จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกสโมสร จัดทำ�สารสโมสรและส่งเข้าประกวดกันมากๆ เพื่อการพัฒนาสารสโมสรของภาคเราให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ

First Educational Trip; Northern Trip

นับตั้งแต่เยาวชนแลกเปลี่ยน จาก 9 ประเทศจำ�นวน 39 คน ได้เดินทางเข้ามาแลก เปลี่ยนวัฒนธรรม ในภาค 3360 โดยเริ่มเดิน ทางออกไป และเข้ า มาในช่ ว งปลายเดื อ น กรกฎาคม-สิงหาคม และต้นเดือนกันยายน การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ก็ได้จัดขึ้นเป็นครั้ง แรกระหว่างวันที่ 7-12 ตุลาคม 2552 โดยมี หัวหน้าทัวร์คนเก่งของเรา นำ�ทีม อน.ศุภรี ฉัตร กันยารัตน์ ส.เชียงใหม่เหนือ มีผู้ช่วยสโมสร เดียวกัน รทร.วันเพ็ญ ศรีเอี่ยมสะอาด และ หลานชาย คุณสุรธันว์ วีระประพันธ์ นอกจาก นี้ยังมี กรรมการ YE อีก 2 ท่าน รทร.จินตนา รักดี สโมสรอุตรดิตถ์ อน.ว่าที่ร้อยตรีไกรสร พิมพ์ประสานต์ สโมสรวังจันทน์ ร่วมเดินทาง เป็นที่ปรึกษา เป็นทั้งคุณครู เป็นทั้งผู้ปกครอง เป็นทั้งยาม คอยดูแลเยาวชนอย่างดีเยี่ยม การเดินทางเริ่มต้นที่ลำ�ปาง มุ่งหน้า สู่ อ.เชียงแสน ชมหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยม ทองคำ� ซื้อของฝากที่แม่สาย DINNER อาหาร ยูนนานที่ดอยแม่สะลองวิลล่า ยามรุ่งอรุณของ วันใหม่ สัมผัสธรรมชาติชิมชาหอมกรุ่น ในไร่ ชาบนดอยแม่ ส ะลอง และเดิ น ทางต่ อไปยั ง หอพักนักเรียนชาวเขาที่หมู่บ้านแสนสุข ซึ่ง เป็นชนเผ่าชาวอาข่า ร่วมทำ�กิจกรรมบำ�เพ็ญ ประโยชน์ ร่วมกับสโมสรโรตารีเชียงใหม่เหนือ และชุมชนเผ่าอาข่า โดยช่วยกันสร้างรัว้ กัน ้ คอก

ตุลาคม ๒๕๕๒

ในด้านการแสดง ของทั้งสองฝ่าย มี ก ารแสดงผสมผสานร่ ว มกั น ซึ่ ง เป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง ชนชาติ ที่ แ ตกต่ า ง นอกจากนี้ ไ ด้ มี ก ารมอบ อุปกรณ์กีฬา ขนม และบริจาคเงินสมทบทุน ให้ กับหอพักนักเรียนชาวเขาด้วย หลังจากนั้นเดิน ทางต่อไปยังอำ�เภอปาย ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยความสวยงามของธรรมชาติขุนเขาด้วย ระยะทางที่แสนจะยาวไกลคดเคี้ยว มากกว่าพัน โค้ง จนหลายคนเคยขยาดมาแล้วเพื่อคลาย ความเหนื่อยล้าของการเดินทาง ทัวร์ของเรา พาลูกทัวร์ไปอาบน้ำ�แร่ เดินเที่ยวถนนคนเดิน ของตลาดกลางคืนหรือที่เรียกว่า ไนท์พลาซ่า ให้ได้กระจายรายได้สู่ชุมชน กว่าจะได้หลับได้ นอนก็ครึ่งค่อนคืน คณะกรรมการของเราต้อง ผลัดกันเดินยาม เนื่องจากโรงแรมปายฮอท สปริงแอนด์สปารีสอร์ท ที่พักนั้นกว้างมากๆๆ ในตอนเช้าของอีกวัน มุ่งหน้าสู่แม่ฮ่องสอน พอกโคนให้แร่ธาตุแก่ใบหน้า เที่ยวดอยกองมู วัดจองคำ� เทีย่ วตลาดเช้าของอำ�เภอแม่ฮอ่ งสอน สัมผัสวิถชี วี ติ ของชาวเขาและได้ท�ำ บุญ ตักบาตร ในตอนเช้า แล้วจึงเดินทางต่อไปยังหมู่บ้าน ชาวกระเหรี่ยงคอยาว ชาวกระเหรี่ยงหูยาน ตลอดจนได้ร่วมกิจกรรมเล่นกีฬากับชาวเขา และได้มอบอุปกรณ์กีฬา และขนมให้กับชาวเขา ด้วย หลัง จากนั้นจึง เดินทางกลับมาจัง หวัด เชียงใหม่ DINNER อาหารพืน ้ เมือง ชมการแสดง และวัฒนธรรมชาวเขาและชาวพื้นเมืองที่คุ้ม ขันโตก เยาวชนนานาชาติต่างมีความสุขร่วม รำ�วงกับนักแสดงชาวเขาในคุ้มขันโตก สังเกต ว่าเด็กๆ ยังสนุกสนานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยกับ การเดินทาง และในค่�ำ คืนนีเ้ ราได้อวยพรวันเกิด ให้กับเยาวชนที่เกิดในเดือนตุลาคมด้วย ท่านรทร.จินตนา รักดี ได้สรุปว่า ประโยชน์ที่เยาวชนแลกเปลี่ยนได้รับจากการ เดินทางท่องเที่ยวในครั้งนี้ นอกจากจะได้มีการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เยาวชนแลกเปลี่ยนยังได้เรียนรู้ เรื่องของการ ปรับตัวเช่น การตรงต่อเวลา การอยู่ร่วมกับผู้ อื่นในสังคม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การ เรียนรู้ในสภาพของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ และยิ่ง ไปกว่านั้นได้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุย ระหว่าง กรรมการ YE และเยาวชน ให้ได้รับข้อมูลมาก ยิง่ ซึง่ คุณสมบัตขิ องกรรมการทีจ่ ะดูแล YE ควร เป็นคนสามารถ ยอมรับในความแตกต่างของ วัฒนธรรม ของแต่ละชนชาติที่หลากหลายได้ ควรเป็นคนที่มีความรอมชอม ยอมรับความคิด เห็นของนักเรียน แต่ก็ต้องมีความเฉียบขาด สิ่ง ไหนยอมได้ก็ยอม ถ้าไม่ได้ก็ต้องไม่ได้ มิฉะนั้น จะไม่สามารถดูแลให้เยาวชนแลกเปลี่ยนอยู่ใน กฎกติกาได้เลย

9 8


District’s Secretary มิตรโรแทเรียนที่รักทุกท่าน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการบริการ ด้านอาชีพ มิตรโรแทเรียนทุกท่าน คือผู้นำ�ทางด้านอาชีพต่างๆ ที่ประสบผลสำ�เร็จใน สาขาอาชีพของตนเองในแต่ละท้องถิ่น ที่ได้มารวมตัวกัน ทำ�กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ เพือ่ ชุมชนของตนเองและใกล้เคียง มิตรโรแทเรียนทุกท่านมีความสามารถที่จะถ่ายทอด ความรู้ความสามารถของท่านให้กับชุมชนได้ โดยสโมสรสามารถจัดหาวิทยากรที่เป็น สมาชิกในสโมสรของตนเอง หรือ สมาชิกต่างสโมสร หรือ จัดหาวิทยากรที่เป็นบุคคล ภายนอกที่มีความรู้ในสาขาวิชาชีพนั้นๆ มาร่วมทำ�กิจกรรมการบริการด้านอาชีพได้ มากมาย สโมสรโรตารีที่มีขนาดเล็ก สามารถจัดกิจกรรมนี้รวมกันหลายสโมสรได้ ซึ่ง โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์คือหัวใจหลักอันหนึ่งของเราอยู่แล้ว การทีเ่ ราเชิญวิทยากรจากภายนอกเข้ามาก็ดี และการจัดกิจกรรมการ บริการอาชีพก็ดี เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ ชุมชนได้รับรู้ และเข้าใจในการทำ�งานช่วย เหลือชุมชน ของสโมสรโรตารี จะทำ�ให้เราสามารถเชิญชวนบุคคลในท้องที่ชุมชนที่เรา จัดกิจกรรมเข้ามาร่วมอุดมการณ์กับเราได้ หรือแม้แต่วิทยากรที่เราเชิญมาร่วมทำ� กิจกรรมด้วย การจัดกิจกรรมนี้นอกจากจะเป็นการทำ�โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์แล้ว ยังเป็นการหาสมาชิกใหม่ให้กับสโมสรได้ด้วย และเป็นการเพิ่มสมาชิกให้กับภาค 3360 ของเราให้เข้มแข็งขึ้นได้อีกด้วย ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ เลขาภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2552-2553 สโมสรโรตารีช้างเผือก Dear Fellow Rotarians, As we are all aware, October has been appointed as the month of Occupational Services, where we would like to invite all Rotarians who have been regarded by their local communities as highly successful in their professions, to assemble and join one another in charitable events for their respective and neighboring communities. Each and every Fellow Rotarian is capable of sharing their experiences and knowledge in their fields of expertise to the community. We would like to encourage each club, whereby smaller clubs may wish to team up with other clubs, and select a “lecturer”, either from within their club or from a different club, or a non-Rotarian who is considered to be knowledgeable in their selected career, to partake in various Occupational Services events. Community service is one of the core values of Rotary. By inviting non-Rotarians to partake in our activities and by coordinating the Occupational Services events, not only are we supporting our society, but we are also allowing our communities to become more aware of Rotary and our objective in helping the public. Members of the community who partake in our events, not to mention our honorary “lecturers”, will be warmly welcomed to share our ideals. With a common goal and a kind heart, these members of the community may wish to join us in our future endeavors, further strengthening our District 3360 and all prospective events and operations that are to follow. Siriluck Chaiyawong District secretary 3360 Rotary International 2009-2010

8 9

ตุลาคม ๒๕๕๒


สถิติการเข้าประชุม

เรียน ท่านายกสโมสร และท่านเลขานุการสโมสร ภาค 3360 จัดให้มีรางวัลสำ�หรับการส่งคะแนนการประชุม โดยจัดรางวัลเป็นดังนี้ 1. รางวัลสำ�หรับสโมสรที่ส่งคะแนนเร็วที่สุด 3 สโมสรแรกตลอดปี โดยนับจากไปรษณีย์บัตร ที่ส่งมาถึงฝ่ายรวบรวมคะแนน วันเวลาที่ได้รับปลายทาง 2. รางวัลสำ�หรับสโมสรที่มีคะแนนการประชุมสูงสุด 3 ลำ�ดับ โดยคิดค่าเฉลี่ยตลอดปี ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การส่งคะแนนการประชุมในเดือนต่อๆไปคงจะรวดเร็วยิ่งขึ้นนะคะ หมายเหตุ . สโมสรที่จะได้รับรางวัลนั้นจะต้องเป็นสโมสรที่จัดส่งคะแนนตามกติกาเท่านั้น คือ ส่งถึงผู้รวบรวมก่อนวันที่ 7 ของทุกเดือนและส่งทางไปรษณีย์บัตรเท่านั้น

รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนสิงหาคม ของสโมสรโรตารีภาค 3360 Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน 1 16274 Kamphaengphet กำ�แพงเพชร 16 2 25135 Chomtong Chiangmai จอมทอง 13 3 23182 Chamadhevi จามะเทวี 14 4 23201 Changpuak Chiang Mai ช้างเผือก 21 5 16262 Chiang Mai เชียงใหม่ 57 6 60808 Chiangmai Doi Suthep ดอยสุเทพ 3 7 16264 Chiangmai West เชียงใหม่ตะวันตก 28 8 26048 Chiangmai East เชียงใหม่ตะวันออก 10 9 29283 Chiang Mai Thin Thai Ngam เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม 32 10 51245 Chiangmai South เชียงใหม่ใต้ 10 11 16263 Chiang Mai North เชียงใหม่เหนือ 31 12 50481 Chiangmai Phuping เชียงใหม่ภูพิงค์ 13 13 53170 Chiang-Mai Airport เชียงใหม่แอร์พอร์ต 12 14 16261 Chiangkam เชียงคำ� 22 15 16265 Chiang Rai เชียงราย 31 16 52387 Chiang Rai North เชียงรายเหนือ 21 17 28751 Chiang Saen เชียงแสน 16 18 57289 Doiprabaht ดอยพระบาท 22 19 16312 Tak ตาก 10 20 70997 Thoen Downtown เถินดาวน์ทาวน์ 16 21 50326 Thawangpha ท่าวังผา 10 22 23050 Nan น่าน 46 23 57910 Nakron Nan นครน่าน 10 24 64215 Nakorn Thoeng นครเทิง 17 25 65762 Nakron Hariphunchai นครหริภุญชัย 10 26 27553 Naresuan นเรศวร 35 27 22008 Pua ปัว 24 28 21495 Fang ฝาง 20 29 16291 Payao พะเยา 13 30 16292 Phan พาน 29

ตุลาคม ๒๕๕๒

โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 % อันดับ หมายเหตุ 75.78 72 57.01 50 58.62 80 76.67 87.14 71.87 60 77 91.81 95.96 85.71 87.25 53.64

9

6 2 10 8

66 77.50 68 77 61.76 74 93.75

5

47.70 65.19

11 10


รางวัลสำ�หรับสโมสรที่ส่งคะแนนเร็วที่สุด 3 สโมสรแรกตลอดปี รางวัลสำ�หรับสโมสรที่มีคะแนนการประชุมสูงสุด 3 ลำ�ดับ โดยคิด ค่าเฉลี่ยตลอดปี โดยนับจากไปรษณีย์บัตร ที่ส่งมาถึงฝ่ายรวบรวมคะแนน วันเวลาที่ได้รับปลายทาง รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนสิงหาคม ของสโมสรโรตารี ภาค 3360 โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน % อันดับ หมายเหตุ 31 23541 Phrae แพร่ 23 70.43 32 24741 Phichai พิชัย 17 71.25 33 16297 Phisanulok พิษณุโลก 47 87.76 34 27084 Muang Chod เมืองฉอด 17 57.65 35 65185 Muang Thoen เมืองเถิน 17 76 36 16280 Maechan แม่จัน 31 94.19 4 37 29389 Maewang Lampang แม่วัง 15 38 24956 Mae Sod แม่สอด 22 77.27 39 16283 Mae Sariang แม่สะเรียง 12 45.83 40 16282 Maesai แม่สาย 27 72.22 41 16281 Mae Hongson แม่ฮ่องสอน 13 81.53 42 52390 Mae Fha Louang แม่ฟ้าหลวง 10 43 24886 Lab Lae ลับแล 10 44 50294 Lanna ล้านนา 25 60 45 16277 Lampang ลำ�ปาง 30 46 16278 Lampoon ลำ�พูน 10 76 47 50650 Wangchan วังจันทน์ 26 58 48 51392 Wiangkosai เวียงโกศัย 25 67 49 31711 Wiangsa เวียงสา 12 78.33 50 52394 Sri Song Kwai ศรีสองแคว 16 70.67 51 25165 Sila-Asana ศิลาอาสน์ 28 100 1 52 16307 Sawankaloke สวรรคโลก 25 56.20 53 25680 Sawankhalok North สวรรคโลกเหนือ 25 71.20 54 22010 Song สอง 11 90.62 7 55 27741 Sanpatong สันป่าตอง 14 80 56 30612 Sarapee สารภี 13 68 57 24965 Sukhothai สุโขทัย 23 73.25 58 30057 Hang Dong หางดง 13 72 59 16317 Uttaradit อุตรดิตถ์ 27 94.23 3 60 74261 Vientiane เวียงจันทน์ 10

10 11

ตุลาคม ๒๕๕๒


DGN’s Corner

สภานิติบัญญัติโรตารี (Council on Legislation)

ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

จำ�เดิมตั้งแรกเริ่ม ของการก่อตั้ง โรตารีนัน ้ การเปลีย่ นแปลงกฎข้อบังคับหรือ ธรรมนูญใดๆจะได้รบั การเสนอและพิจารณา ในการประชุมใหญ่ประจำ�ปี (convention) แต่เนื่องจากมีผู้เข้าประชุมใหญ่ฯ มากขึ้น เรื่อยๆ การพิจารณาจึงทำ�ได้ยาก ดังนั้นจึง มีการก่อตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นในปี1934 เพื่อ ทำ�หน้าที่เป็นกลุ่มที่ปรึกษา ที่จะถกแถลง และวิเคราะห์ขอ้ เสนอต่างๆ ก่อน ทีจ่ ะมีการ ลงคะแนนกันในที่ประชุมใหญ่ฯ จนในที่สุดในการประชุมใหญ่ฯ ที่ แอตแลนตาเมื่ อ ปี 1970 ได้ มี ม ติ ใ ห้ ส ภา นิติบัญญัติ ทำ�หน้าที่เป็นองค์กรนิติบัญญัติ หรือ รัฐสภาขององค์กรโรตารีอย่างแท้จริง สภานิติบัญญัตินี้ จะประกอบไปด้วยผู้แทน จากภาคต่างๆ ภาคละ 1 คนและสมาชิกโดย ตำ�แหน่งอีกหลายท่าน โดยจะมีวาระการ ประชุมกันทุกๆ 3 ปีต่อครั้งในเดือนเมษายน พฤษภาคม หรือมิถุนายน (แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นเดือนเมษายน) โดยคณะกรรมการ บริหารโรตารีสากลจะเป็นผูก้ ำ�หนดวันทีข่ อง การประชุมและสถานที่จัดประชุมจะอยู่ไม่ ไกลจากสำ�นักงานใหญ่ของโรตารีสากล เว้น แต่ คณะกรรมการบริ ห ารโรตารี ส ากล จำ�นวนสองในสามจะมีมติให้จดั ประชุมทีอ่ ืน ่ โดยเหตุผล ทางการเงินหรือเหตุผลอื่นที่ สมควร ซึ่งการประชุมสภาฯในครั้งต่อไปใน ปี 2010 จะมีขึ้นในวันที่ 25-30 เมษายน ที่ ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

ตุลาคม ๒๕๕๒

สภานิติบัญญัติของโรตารีจะมีหน้า ที่ในการพิจารณา และวินิจฉัยบทบัญญัติ ต่างๆ ที่มีการขอเสนอแก้ไข (enactments) รวมทั้งมติต่างๆ (resolutions) ที่เป็นข้อ เสนอแนะต่อกรรมการบริหารโรตารีสากล เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย และ โปรแกรมตลอดจน กระบวนการดำ�เนินงาน ต่างๆ ของโรตารี ภาคแต่ละภาคจะมีโรแทเรียนทีเ่ คย เป็นเจ้าหน้าที่โรตารีสากล ครบหนึ่งวาระ เป็นผู้แทนเพื่อเข้าประชุมจำ�นวน 1 คน (หรือ เป็นผูว้ า่ การภาคปัจจุบน ั หรือผูว้ า่ การ ภาคในกรณีพิเศษ) และจะต้องเป็นสมาชิก ของสโมสรโรตารีในภาค ที่ตนเป็นผู้แทน ด้วย โดยผู้แทนที่จะได้รับการเลือกตั้งนั้น จะต้องดำ�เนินการเลือกตั้งก่อนจะถึงปีที่มี การประชุมสภาฯ 2 ปี ซึ่งอาจจะเลือกตั้ง ด้ ว ยการออกเสี ย ในที่ ป ระชุ ม ใหญ่ ภ าค (District Conference) หรือโดยการออกเสียง ไปรษณีย์ ในบางสถานการณ์ทีได้รับอนุมัติ หรือโดยวิธีการเสนอชื่อโดยคณะกรรมการฯ และ ให้มีการเลือกตั้งผู้แทนสำ�รองไว้ เพื่อ ทำ � หน้ า ที่ ใ นกรณี ที่ ผู้ แ ทนไม่ ส ามารถเข้ า ประชุมได้ คณะกรรมการบริหารโรตารีสากล กำ�หนดให้แต่ละภาคสรรหา โรแทเรียนที่มี คุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่มีอยู่เป็นผู้แทน โดยเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในนโยบาย วิธีการ และโปรแกรมปัจจุบันของโรตารี มิใช่เพราะ

13 12


12 13

ความเป็นผู้ที่รู้จักกันกว้างขวางในภาค และ ไม่ควรถือว่าเป็นการตอบแทน สำ�หรับการ ที่ได้เคยทำ�หน้าที่ผู้ว่าการภาค (not simply as a perquisite of having served as governor (RCP 59.040.2)) การเสนอญัตติอาจกระทำ �ได้โดย สโมสร (ด้วยการเสนอไปยังผูว้ า่ การภาคเพือ่ เสนอต่ อ การประชุ ม ใหญ่ ภ าค) โดยการ ประชุมใหญ่ภาค โดยคณะกรรมการบริหาร ของโรตารีสากล หรือ สภาฯเอง สามารถส่ง ข้อเสนอต่างๆได้ นอกจากนั้นสโมสรโรตารี ต่ า งๆจะมี บ ทบาทในการทบทวนการ พิ จ ารณาของสภาฯ ก่ อ นที่ จ ะพิ จ ารณา ตัดสินรอบสุดท้าย หากว่ามีการออกเสียง คัดค้านการพิจารณาของสภาฯถึง 10 % จากสโมสรต่างๆ โดยข้อบัญญัตินั้นๆจะถือ เป็ นโมฆะและจะถู ก เสนอไปยั ง สโมสรทุ ก สโมสร เพื่อลงคะแนนรอบสุดท้ายอีกครั้ง หนึ่ง สำ�หรับการประชุมสภาฯในครั้งต่อ ไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 25-30 เมษายน ในปี หน้าคือ 2010 หรือ พ.ศ.2553 ที่ชิคาโก สหรัฐอเมริกานั้น มีข้อเสนอแก้ไขที่ผมได้ รั บ มามากมายถึ ง 300 กว่ า หน้ า ซึ่ ง มี ประเด็นที่น่าสนใจมากอย่างมากมาย ไม่ว่า จะเป็ น การเสนอแก้ ร ายละเอี ย ด วิ ธี ก าร สรรหาผู้ ว่ า การภาค หรื อ อายุ ก ารดำ � รง ตำ � แหน่ ง ของผู้ ว่ า การภาคจากเดิ ม ที่ มี กำ�หนดเพียง 1 ปีโรตารีก็มีการเสนอแก้ไข ให้เป็น 2 ปี เพื่อที่จะทำ�งานอย่างต่อเนื่อง และได้เสียสละ และมีเวลาให้แก่โรตารีอย่าง แท้จริง และเพือ่ แก้ขอ้ ครหาทีว่ า่ ตรวจเยีย่ ม สโมสรหกเดือนแรกแล้ว ก็นับถอยหลังใน ช่วงหกเดือนหลัง ครั้นจะทำ�ล่วงหน้าก่อน ก็กลัวจะเป็นการล้ำ�หน้าหรือออฟไซต์ ผู้ ว่าการภาคปัจจุบัน หากไม่ทำ�ล่วงหน้าพอ ถึงเวลาก็จะมีเวลาเพียงน้อยนิด และหาก การแก้ไขประเด็นนี้ทำ �สำ�เร็จ การเป็นผู้ ว่าการภาคก็คงเป็นได้ยากขึ้น และต้องเป็น ผู้ที่มีฝีมือและผลงานเป็นที่ประจักษ์จริงๆ นอกจากนั้นก็มีการเสนอให้มีการ เลือกนายกสโมสรรับเลือก ก็มีการเสนอให้ เลือกล่วงหน้าไว้ 3 ปีเช่นเดียวกับการเลือก ผู้ว่าการภาคโนมินี เพื่อที่จะที่จะได้ทำ�งาน ควบคู่กันไปนั่นเอง และประเด็นที่เราถก

เถียง และมีการทดลองมาบ้างบางสโมสรใน รอบ 2 ปีที่ผ่านมาก็คือ ความถี่ของการ ประชุม ก็มีการเสนอให้แก้ไขจากเดิมที่ต้อง ประชุมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก็มี การเสนอแก้ไขเป็นอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง(แต่สโมสรใดจะประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ต่อไปก็ยิ่งดี) ส่วนการประชุมทดแทนหรือ Make Up นั้น จากเดิมที่สามารถประชุมทดแทน ได้ใน 14 วันก่อนหน้าหรือภายหลังนั้น ก็มี การเสนอแก้ ไ ขให้ เ ป็ น สามารถประชุ ม ทดแทนได้ 30 วันก่อนหน้าหรือภายหลัง และแน่นอนว่ามีการเสนอขึน ้ ค่าบำ�รุงโรตารี สากล(อีกแล้ว) แต่ก็ขึ้นไม่มากนัก รู้สึกว่า จะเสนอขึ้นในเวลา 3 ปีเป็นระยะๆละ 1 ปีๆ ละประมาณ 1 เหรียญสหรัฐกว่าๆ ต่อคนต่อ ปี รวมถึงการกำ�หนดหลักเกณฑ์ของการ ประชุมโรตารีทางอินเตอร์เน็ต ให้รัดกุมและ ชัดเจนขึ้น ไม่ให้ซ้ำ�ซ้อนกันในแต่ละภาค ฯลฯ ผมเชื่ อ ว่ า การประชุ ม สภานิ ติ บัญญัติ ที่จะมีขึ้นในปี 2010 หรือ พ.ศ.2553 ที่ ชิคาโก จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลาย อย่ า ง เพราะองค์ ก รโรตารี จ ะต้ อ งมี ก าร เคลื่อนไหวไปข้างหน้า องค์กรใดที่หยุดนิ่ง อยู่กับที่ ก็เปรียบเสมือนองค์กรที่ตายแล้ว กฎระเบียบของโรตารีก็เช่นเดียวกัน ต้องมี ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และ ยุคสมัย หากเรายังมัวยึดติดกับกฎระเบียบ เก่าๆ ที่แก้ไขไปมากแล้วหรือเราไม่ติดตาม ความเคลือ่ นไหว ของความเปลีย่ นแปลงเรา ก็จะเป็นคนทีต่ กยุค ไม่สามารถนำ�พาองค์กร โรตารี ข องเราให้ ขั บ เคลื่ อ นไป อย่ า งมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นระดับสโมสร หรือ ระดับภาคก็ตาม จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ ว่ า สภานิ ติ บั ญ ญั ติ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ กระบวนการประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ สมาชิกมีส่วนร่วมในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง กฎระเบียบ ตลอดจนแนวนโยบายต่างๆ ของโรตารีสากลที่มีผลกระทบต่อโรแทเรียน ทั้งมวล จึงควรที่เราจะให้ความสำ�คัญและให้ ความสนใจ ต่อสภานิติบัญญัติโรตารีสากล ดังเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง

ตุลาคม ๒๕๕๒


คุยกันที่ขอบเวที

อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูลย์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่

“คาเรน (ต่อ)”

เดือนนี้ขอเขียนถึงคาเรนต่อจากฉบับที่แล้วอีกสักหนึ่งฉบับ ในตอนสุดท้ายของเรื่อง คาเรนได้รับแจ้งจาก รทร.ประสิทธิ์ว่า “ชาวบ้านที่ เด่นชัยกำ�ลังรอพบเธออยู่” เมื่อคาเรนถามถึงเหตุผล คุณพ่อประสิทธิ์ก็บอกว่า “เพราะ คุณเป็นฝรั่งนะซี” ทำ�ให้จิตใจของคาเรนถูกฝังด้วยคำ�ว่า “ฝรั่ง” เรื่อยมา ตลอดเวลาที่เดินทางขึ้นเหนือ เธอต้องฟังคุณพ่อประสิทธิ์พูดไม่หยุดมาตลอด ทาง สักครู่ใหญ่ๆ ฝนก็เทลงมาอย่างหนัก ทั้ง รทร.ประสิทธิ์ และ รทร.ประเสริฐ สังเกต เห็นคาเรนตกใจกลัวฝนฟ้าเมืองไทยเป็นอย่างมาก อากัปกริยาที่เธอแสดงทำ�ให้ทั้ง 2 หัวเราะ ชอบใจ พร้อมกับหันมาถามคาเรนว่า “หนูกลัวมากรึ” “ใช่แล้ว ดิฉันกลัวมาก กลัวฟ้าที่กำ�ลังคะนองแลบแปรบปราบอยู่นอกรถ” “อย่ากลัว และอย่ามองออกไป “ คุณพ่อประสิทธิ์ปลอบ เขาชี้ไปที่ต้นไม้ที่ เรียงกันอยู่เป็นแถวในท้องทุ่งข้างทาง ที่น้ำ�กำ�ลังนองเจิ่ง มือของเขาเคาะกระจกรถดัง ก๊อกๆ คาเรนเห็นภาพนั้นจากข้างในรถแล้วเหมือนสัตว์อะไรสักชนิด ที่กำ�ลังเลื้อยอยู่ ในหนองน้ำ� คุณพ่อประสิทธิ์ บอกว่ามันคือ พญานาค Dragon , They are dragon เขาบอกเสร็จแล้วก็หันไปทางคุณพ่อ ประเสริฐ เพื่อบอกว่าเขาพูดอะไร แล้วก็หัวเราะ กันอย่างครึกครื้น ต่อจากนั้นโจ๊กเรื่องใหม่ก็ผุดออกมาเรื่อยๆ คาเรน รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง นั่งสัปหงกอยู่ครู่ใหญ่ แล้วฟุบหน้า ลงกับเบาะท้ายที่เธอนั่งอยู่คนเดียว หูก็ยังได้ยินคุณพ่อประสิทธิ์พูดไปเรื่อยๆ “ถ้าหนู เดินไปตามถนน ชาวบ้านจะเรียกหนูว่า “ฝรั่ง” เนื่องจากเขายังไม่รู้จักชื่อของหนู “

ตุลาคม ๒๕๕๒

14 15


หนูจะเป็นฝรั่งคนเดียวในตลาดเด่นชัยและทุกคนจะพา กันให้ความสนใจ เมืองไทยมีผลไม้ชนิดหนึ่งเรียกกันว่า ฝรั่ง เวลาที่เขาเห็นหนูแทะฝรั่ง เขาจะพากันชี้มาที่หนู แล้วร้องบอกกับผู้อื่นว่า “ดูนั่นซิ ฝรั่งกำ�ลังกินฝรั่ง” ชื่ อ ของคุ ณ พ่ อ ประสิ ท ธิ์ กั บ ชื่ อ ของคุ ณ พ่ อ ประเสริฐ ฟังแล้วคล้ายกันมาก เวลาที่เขาพูดกันอย่าง สนุกๆ เขาจะเอามือตบเข่าไปด้วย เป็นการแสดงความ ครื้นเครงของคนที่นี่ ขณะที่เธอกำ�ลังจะหลับลึกก็ได้ยิน คุณพ่อประสิทธิ์ถามขึ้นอีก “ คาเรน เดี๋ยวนี้เวลาที่ แคนาดาเท่าใดแล้ว “ คาเรนไม่ได้สนใจกับคำ�ถาม เธอ ทิ้งตัวนอนราบลงไปบนเบาะ ทำ�ให้คำ�ถามภาษาอังกฤษ ที่คุณพ่อประสิทธิ์ใช้กับเธอค่อยๆหายไป ตอนหลังนี้คุณ พ่อประสิทธิ์ กับคุณพ่อประเสริฐคุยกันด้วยภาษาไทย ตลอด ภาษาไทยมีเสียงคล้ายนกร้อง ขึ้นๆ ลงๆ สูงแล้ว ก็ต่ำ� ภาษาฝรั่งเศสที่ว่าไพเราะแล้วยังสู้ภาษาไทยไม่ได้ คาเรนคิด รถฝ่าลมฝนที่หนักอย่างไม่เคยเห็นมาอีกพัก หนึ่ง คุณพ่อก็จอดรถลงที่ปั๊มขายน้ำ�มัน บอกให้เด็กปั๊ม เติมน้ำ�มันรถให้เต็ม คุณพ่อประสิทธิ์ปลุกเธออย่างเร่งรัด ให้ตื่น “Karen , Karen to bathroom now, We are in Pitsanulok,” ไปไป พร้อมกับเปิดประตูรถ และยัดกระดาษ ทิชชูทั้งก้อนใส่มือเธอ เขาดันคาเรน ไปทางลูกศร ห้องน้ำ�หญิง คาเรนยังไม่คุ้นเคยกับสภาพความเป็นไป ที่นี่ เดินตาปรือไปตามคำ�บอกอย่างงงๆ เด็กปั๊มพากัน มองตามเธอไป เพราะไม่ค่อยได้เห็นเด็กฝรั่ง เมือ่ เข้าไปในห้องน้ำ�ทีม่ ดื มองไม่คอ่ ยเห็นอะไร ก็รู้สึกว่ามันแฉะๆ มีกลิ่นปัสสาวะฉุนกึก เท้าลื่นไป กระแทกขอบส้วมแบบนั่งยองๆ ใจหายคิดว่าส้วมงาบ ข้อเท้าของเธอไปแล้ว นี่หรือเมืองไทยเมืองยิ้ม เวนิส ตะวันออกแห่งเอเชียตามที่บริษัททัวร์โฆษณา ยุงอะไร ไม่รู้พากันบินมากัดที่ต้นคอและกกขาของเธอ มันมีเชื้อ มาลาเรีย หรือไข้เลือดออกหรือเปล่า เนื้อตัวของเธอ ทำ�ไมจึงสั่นอย่างนี้ เธอขยะแขยงและกลัวไข้มาลาเรีย ตอนทีค่ าเรนเดินจากห้องน้�ำ มาขึน ้ รถ เธอเห็น แสงอะไรไม่รู้วาวอยู่ในกรงข้างทาง คาเรนเดินไปที่แส งกลมๆ นั้นอย่างระมัดระวัง ใกล้เข้าไป ใกล้เข้าไป พร้อมกับยื่นมือออกไปด้วย “ อย่า อย่า” เสียงคุณพ่อประสิทธ์ตะโกนลั่น แต่สายเกินไปแล้ว มือของคาเรนพุ่งไปจับ ลูกกรงเหล็กที่ขังชะนีอยู่ 6-7 ตัว มันร้องเตรียมสู้ดังลั่น พร้อมกับกระโจนเข้าหา คาเรนตกใจร้องเสียงหลง เด็ก ปั๊มพากันวิ่งมาช่วย เอากิ่งไม้เล็กๆหวดเข้าไปที่กรง เป็นการดุให้สัตว์เหล่านั้นหยุดทำ� คุณพ่อประสิทธิ์วิ่ง

15 14

เข้าไปกระชากแขนให้ฉันพ้นจากอันตราย “ฉันขอโทษ ทุกๆคน” คาเรนบันทึกไว้อย่างนั้น คุณพ่อที่พาเธอมาตกใจพอๆกัน จับแขนฉัน เขย่าเบาๆ พร้อมกับพูดว่า “หนูตอ้ งระวังให้มากกับสัตว์ ที่ไม่คุ้นเคยกัน” “อีกอย่างก็คืองู” เขาสอน แต่ชั่วแว่ บนั้น เขาก็กลับหัวเราะและพูดกันเป็นภาษาไทย ทำ�ให้ คุณพ่อประเสริฐหัวเราะไปอีกคน เมื่อทุกคนกลับเข้ารถแล้ว คุณพ่อประสิทธิ์ก็ ขับออกจากปั๊ม เด็กบริการโบกมือให้ คาเรนหันกลับไป ดูแสงนีออนที่สว่างไสวของปั๊มอีกครั้งหนึ่ง ใจของเธอ ยังสั่นกับเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไป เธอต้องจดจำ�กับความ ดุร้ายของชะนีไปอีกนานแสนนาน จากพิษณุโลกคุณพ่อประสิทธิ์ขับมาถึงเด่นชัย อย่างปลอดภัย ตลาดเด่นชัยยามค่ำ�ปิดเงียบ ไม่มีอะไรให้เห็น มากกว่าสุนัขที่เดินเพ่นพ่าน ที่สุดรถมาจอดที่ปลาย ถนนหน้าตึกห้องสุดท้าย พ่อประสิทธิ์บอกว่าเป็นร้าน เหล้าของพ่อประเสริฐ ที่จัดไว้ให้คาเรนอยู่ พ่อประเสริฐออกจากรถไปยืนอยู่บนม้าหน้า ร้าน เอื้อมมือขึ้นไปกดกริ่งเรียกคนที่อยู่ข้างใน คาเรน ได้ยน ิ เสียงสุนขั ทีเ่ ลีย้ งไว้เห่าโฮ่งๆ พร้อมกับมีเสียงคล้อง สายโซ่ เสียงเห่าหยุดลงเมื่อสุนัขเห็นเจ้าของกลายเป็น เสียงที่หางของมันกระดิกไปตีประตูเหล็กที่อยู่ข้างในอีก ชั้นหนึ่ง เธอได้ยินเสียงคนแก่ในห้องดุสุนัขด้วยเสียง จากลำ�คอแล้วก็จาม มีเสียงไขประตูเหล็กแล้วดันให้มัน เปิดเลื่อนไปตามรางที่ติดอยู่ กับพื้นซีเมนต์ มีแสง ไฟฉายพุ่ ง มาที่ ร ถ คนเปิ ด ประตู เ ป็ น คนแก่ หั ว ล้ า น ผิวหนังดำ�แดงเหี่ยวย่น ไม่มีฟัน เขานุ่งกางเกงม่อฮ่อม ไม่สวมเสื้อ พ่อประเสริฐบอกว่าท่านเป็นพ่อของเขาเอง ตาไม่ค่อยเห็นอะไรแล้ว ก่อนที่คาเรน จะก้าวเข้าไปใน บ้าน อากงก็เดินกระย่องกระแย่งสวนออกมายืนที่ริม ฟุตบาท ไอเอาเสมหะออกแล้วบ้วนทิง้ ลงไปในท่อระบาย น้ำ� คุณพ่อประเสริฐนำ�คาเรน ขึ้นไปบนชั้นที่สอง ซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าของบ้าน ผ่านชั้นลอยที่มีขวดน้ำ� เต็มไปหมด นอกจากนั้นยังมีน้ำ�อะไรดำ�ๆอีก 2 หม้อ เข้าใจเอาเองว่าเป็นหม้อบรรจุน้ำ�ซอส หรือไม่ก็เป็นสี น้ำ�มัน ที่ชั้นลอยนี้มีตู้เย็น ที่คุณพ่อประเสริฐขอให้คุณ พ่อประสิทธิ์บอกคาเรนว่า ถ้าอยากกินอะไรก็กินได้ คุณ พ่อนำ�คาเรนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งที่จัดไว้ให้คาเรนอยู่ เสร็จ แล้วทัง้ สองก็จากเธอไป พร้อมกับย้�ำ ว่าชีวติ ของคาเรนที่ เด่นชัยอยู่ที่นี่ รุ่งเช้าคาเรนเห็นเด็กและชาวบ้านมายืนอยู่ที่ หน้าร้านและบอกกันว่า “ฝรั่งมาแล้ว”

ตุลาคม ๒๕๕๒


ศูนย์โรตารีประเทศไทย

สารจากศูนยฯ ์ เรียน เพื่อนสมาชิกที่รักทุกท่าน

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 บิลล์ เกทส์ ประธาน มูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกทส์ ได้บริจาคเงินให้โรตารีจำนวน 100 ลา้ นดอลลา่ ร์ เพื่อสนับสนุนการขจัดโปลิโอใหห้ มดไปจากโลก ในครั้ง นั้นโรตารีได้ประกาศที่จะหาเงินบริจาคเพื่อสมทบกับเงินของมูลนิธิ เกทสอ์ ีก 100 ลา้ นดอลลา่ ร์ กำหนดระยะเวลาการรวบรวมเงิน บริจาคของโรตารีภายใน 1 ปี และเมื่ อ ต้ น ปี ที่ ผ่ า นมาในการประชุ ม อบรมผู้ว่าการภาครับเลือก (International Assembly) บิลล์ เกทส์ ก็ไดป้ ระกาศในการ กล่าวสุนทรพจน์ของเขา ว่าจะบริจาคเงินอีก 255 ล้านดอลล่าร์เพื่อการขจัดโปลิโอ โดยใน ครั้งนี้ โรตารีจะหาเงินเพื่อสมทบกับเงิน บริจาคของมูลนิธิเกทส์ในครั้งนี้อีก 100 ล้าน ดอลล่าร์โดยจะต้องหาเงินให้ได้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2555 รวมเงินบริจาคของมูลนิธิ เกทส์และโรตารีเพื่อการขจัดโปลิโอ (ทั้งสอง ครั้ง) เป็นเงิน 555 ลา้ นดอลลา่ ร์ หรือกวา่ 20,000 ลา้ นบาท

ROTARY CENTRE IN THAILAND

เดือนตุลาคม 2552

เพื่อให้ความฝันในการขจัดโปลิโอให้หมดไปจากโลกเป็นจริงขึ้นมา ได้ ผมใครข่ อเชิญชวนเพื่อนสมาชิกรว่ มกันบริจาคเงินใหแ้ กม่ ูลนิธิ โรตารีโดยระบุวัตถุประสงค์การบริจาคเพื่อโปลิโอพลัส ในโอกาสนี้ ผมมีข่าวจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า การบริจาคเงินเพื่อโปลิโอ พลัสทุกๆ 1,000 ดอลลา่ ร์ นอกจากจะไดร้ ับเข็ม PHF (พรอ้ มใบ ประกาศ PHF ในกรณีที่บริจาคครั้งแรก) แล้ว ยังจะได้รับเหรียญ ที่ระลึก 100 ปีโรตารีอีกหนึ่งชุด ซึ่งประกอบดว้ ยเหรียญเงิน 1 เหรียญ และเหรียญทองแดง 8 เหรียญ บรรจุในกล่องหนังประทับตราโรตารี และการ บริจาคเพื่อโปลิโอพลัสทุกๆ 100 ดอลลา่ ร์ จะได้รับเหรียญทองแดงที่ระลึก 100 ปีโรตารี หนึ่งเหรียญ ผูท้ ี่สนใจสามารถสอบถามราย ละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ ผู้ ว่ า การภาคของท่ า น เหรี ย ญที่ ร ะลึ ก นี้ จ ะให้ ไ ปจนกว่ า เหรี ย ญจะ หมดนะครับ นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน โรตารีสากล ในเดือนตุลาคม 2552 จะลดลง เหลือ 34 บาทตอ่ หนึ่งดอลลา่ รด์ ว้ ยครับ

จากวันนี้ เหลือเวลาอีกไมถ่ ึง 3 ปีก็จะถึงกำหนดที่โรตารีไดใ้ ห้ คำมั่นสัญญา แต่เงินบริจาคยังคงห่างไกลจากเป้าหมายทีไ่ ด้วางไว้

ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี (อผภ.รัฐประทีป กีรติอุไร) ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ปี 2552-53

ผู้แทนดูแลการเงินโรตารีสากลฯ (ก.ย. 52)

ตัวเลขโรตารีไทย

ภาค 3330 3340 3350 3360 รวม (บรรยายภาพ) เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์โรตารีฯ ได้มีการ ประชุมของคณะกรรมการจัดประชุม 2010 Bangkok Rotary Institute Zones 6B, 7A & 10B ฝ่ายประเทศเจ้าภาพ ที่จะมีขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ในปี 2010

ตุลาคม ๒๕๕๒

สมาชิก 2,015 1,290 2,438 1,183 6,926

สโมสร 77 60 90 60 287

อัตราแลกเปลี่ยนโรตารีสากล เดือนตุลาคม 2552 34 บาท ตอ่ หนึ่งดอลลา่ ร์

ศูนย์โรตารีในประเทศไทย 75/82-83 ชั้น 32 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ซอยวัฒนา ถ.อโศก ถ อโศก เขตวัฒนา กรงเทพฯ กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0 2661 6720-1 โทรสาร 0 2661 6719 email: rotaryth@ksc.th.com; www.rotarythailand.org

17 16


เสียงนก เสียงกา

“YE inbound..outbound..rebound..” สวัสดีครับ มวลมิตรโรแทเรียนทุก ท่าน สารผู้ว่าการภาคฉบับนี้ จะอบอวลไปด้วย หนุ่มหล่อสาวสวย จากหลากหลายวัฒนธรรม หลาย ๆ ท่านอาจได้สัมผัสความน่ารัก น่าหยิก ของเขาเหล่านั้น เพราะสาวสวย หนุ่มหล่อบาง คน ยังยึดมั่นในวัฒนธรรมที่ติดมาแต่กำ�เนิด อาจทำ�ให้กรรมการของเรา หงุดหงิดบ้าง แต่ อย่างไรก็ตาม สารฉบับนี้เราได้เปิดโอกาสให้ หลาย ๆ ท่านได้เล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่าน คอลัมภ์ เสียงนก เสียงกา อาจทำ�ให้ทุกท่านรู้ ความเคลื่อนไหว ของเยาวชนแลกเปลี่ยน ใน ทุก ๆ แง่มุม ทั้ง Host ในประเทศ ต่างประเทศ YE Inbound Out Bound จน YE-Rebound ตลอดจนกรรมการ YE ทีเ่ ราได้สมั ภาษณ์มาฝาก ทุกท่าน ตามเรามาได้เลยครับ…..

กำ�ลังจะเปลี่ยน Host Family และกังวลใจว่า เขาจะชอบเราหรือเปล่า เราจะชอบเขามั๊ย แต่ คิดว่าเขาน่าจะเป็นครอบครัวที่ดี ทัศนียภาพที่ นี่สวยมาก ชอบอาหารไทยบางอย่างเผ็ด แต่ โดยรวมชอบประเทศไทยทุกอย่าง YE-Inbound 2009-2010 Ms. Ashley Raylene Dorn เธอมาจากประเทศแคนาดา Host Club สโมสรเชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม คุณแม่มีอาชีพ เป็ น ช่ า งทำ � ผมและทำ � ธุ ร กิ จ คาราโอเกะ คุ ณ พ่ อ ทำ � งาน เกี่ยวกับ ICT รู้สึกประทับใจ และชอบเมืองไทยมากๆ วิว สวย วัฒนธรรมดี เป็นเมืองมหัศจรรย์ เหมือน เมืองในเทพนิยาย ภาษาไทยรู้สึกยากมาก ไม่ คุ้นเคย แต่ทุกคนพยายามช่วยฝึกพูดภาษาไทย โดยเธอคิดว่าถ้าตั้งใจฝึก ต้องพูดและเข้าใจได้ แน่ๆ แต่เดี๋ยวนี้เธอยังไม่ค่อยตั้งใจที่จะพยายาม เรียนเท่าไหร่ ทุกคนในบ้านของ Host Family, Host Club โรงเรียนและเพื่อนๆที่นี่ปฎิบัติ เหมือนเราเป็นคนในครอบครัวเดียวกันกับเขา Amazing มาก ใจดีให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ช่วยเหลือทุกอย่าง มาเรียนโรงเรียนไทยครั้ง แรกยากมาก แต่ปัจจุบันเข้าใจได้มากและง่าย ขึ้นเพราะเพื่อนช่วย เพื่อนของเธอดีมาก ช่วย เหลือทุกอย่าง พวกเขาตลกและสอนให้เข้าใจ อะไรหลายๆ อย่าง

กรรมการ YE ว่าที่ ร้อยตรี อน ไกรสร พิมพ์ ประสานต์ สโมสรวังจันทน์ เป็ น ครั้ ง แรกที่ ไ ด้ รั บ หน้ า ที่ เป็นกรรมเยาวชนแลกเปลีย่ น ถือว่าเป็นเกียรติทีไ่ ด้รบั ความ ไว้วางใจ แต่ก็มีความหนักใจ ที่ต้องดูแลเยาวชนที่มาจาก นานาประเทศ ต่างชาติต่าง ภาษา ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม โดยสิ้ น เชิ ง จากการร่ ว มเดิ น ทางเพื่ อ ดู แ ล เยาวชน ในการทัศนศึกษาภาคเหนือระหว่าง วันที่ 7-12 ตุลาคม 2552 ทำ�ให้มีความรู้สึกว่า เยาวชนบางกลุ่ม ยังไม่เข้าใจในการเป็นทูต วัฒนธรรม เพราะเขาจะเอาแต่ใจของเขาเอง ไม่ สนใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศไทย YE-Inbound 2009-2010 Ms.Monica เหมือนเป็นการมาท่องเที่ยว ไม่สนใจกติกาที่ Cooper โครงการกำ�หนดไว้ ถึงจะหนักใจเพียงใด ก็ มาจากเมื อ ง Northfield พยายามทำ�หน้าที่ให้ดีที่สุด Minnesota สหรั ฐ อเมริ ก า อายุ 18 ปี Host Club สโมสร YE-Inbound 2009-2010 Ms. Alexa เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม พ่อเป็น Hernanadez Avila ผู้อำ�นวยการด้าน IT ส่วนแม่ มาจากประเทศเม็กซิโก Host ทำ � งานเป็ นโปรแกรมเมอร์ Club สโมสรเชียงใหม่ตะวัน ออกแบบเว็ปไซด์ หนูชอบประเทศไทย Host ตก พ่ อ มี อ าชี พ ขายอะไหล่ Family ที่นี่เป็นชาวโรแทเรียนให้การต้อนรับ รถยนต์ แม่เรียนหนังสือต่อ เป็นอย่างดี เหมือนเราเป็นลูกของเขาคนหนึ่ง และเพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย หนูมาเรียนทีโ่ รงเรียนยุพราช วันแรกทีม่ าเรียน เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมา ยากมาก แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้น สนุกดี ไม่มีเวลาที่จะ ประเทศไทย รู้สึกประทับใจ เหงา ทีน ่ ีม่ มี หาวิทยาลัยใหญ่ๆ ทีส่ ำ�คัญไม่กีแ่ ห่ง และชอบประเทศไทยมากเพราะทีน ่ ีม่ วี ฒ ั นธรรม เวลาสอบเข้าต้องติวเข้ามหาวิทยาลัย อยู่เมือง มากมาย คนไทยใจดีน่ารัก มีความเป็นมิตรยิ้ม นอกไม่มีแบบนี้ เพราะมีหลายโรงเรียน ไม่ต้อง ตลอดเวลา ที่นี่อากาศดี ภาษาไทยเรียนยาก ติวข้อสอบ สังเกตเห็นว่าเยาวชนไทยใช้มือถือ มากยังไม่คอ่ ยเข้าใจ เพราะภาษาสเปน และไทย ตลอดเวลา อยู่อเมริกาพูดแบบนี้ในร้านอาหาร, ต่างกัน แต่คิดว่ายังไหวโรงเรียนที่นี่ดีมาก ฉัน ห้องสมุด,โรงเรียนไม่ได้ เพราะถือว่าไม่สุภาพ ชอบมาก ชอบเพื่อนมาก เพื่อนเป็นคนดี หนู ที่เมืองนอกใช้ข้อความ SMS มากกว่า มีหลาย

16 17

Dream Team of D.3360 R.I.

ตุลาคม ๒๕๕๒


เสียงนก เสียงกา

ๆ ประเทศมีในหลวง แต่ที่นี่พิเศษทุกคนรัก ในหลวงมาก แม้ในโรงหนังยังต้องหยุดยืนตรง ศาสนาที่นี่น่าสนใจ เพราะทุกมุมมีวัดเห็นแต่ พระพุทธเจ้า หนูคิดว่าศาสนาพุทธดีมาก สอน ให้คนไทยใจดีไม่เห็นแก่ตวั คงเป็นเพราะศาสนา พุทธสอนให้คนดี หนูรกั ประเทศไทย หนูไปดอย สุเทพ ไปเชียงราย ปาย กรุงเทพฯ ได้เห็นอะไร มากมาย หนูไม่เคยเห็นผัก ผลไม้มากมายอย่าง นี้ การเดินทางมาที่นี่ หนูได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัว เองมากขึ้น เพราะคนไทยสอนให้รู้อะไรหลาย อย่าง ก่อนจะมาหนูคดิ ว่าจะอยูไ่ ด้อย่างไรเพราะ หนูพูด เขียน อ่านภาษาไทยไม่ได้ แต่เมื่อมา แล้วและได้มาอยู่ หนูคิดว่าอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่ ต้องรู้ภาษาไทยหรืออื่นๆ ก็อยู่ได้ เพราะมีอะไร ทีส่ ามารถสือ่ สารเข้าใจได้ ประทับใจกับการแลก เปลี่ยนครั้งนี้มากๆ ค่ะ

ประเทศญี่ปุ่น สโมสรโรตารี ล้านนาเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ได้มี โอกาสมาคลุ ก คลี กั บ สโมสร โรตารี ทั้ งโรตารี ที่ เ มื อ งไทย และ ประเทศญี่ปุ่น ทำ�ให้ตัว เองรู้สึกภูมิใจมาก ที่ได้มีส่วน ร่วมในการพัฒนาสังคม และ แบ่งปันสิ่งเล็กๆน้อยๆ ให้กับผู้อื่นจุดนี้ช่วย ทำ�ให้ตระหนักได้ว่า ในเมื่อเรามีศักยภาพที่มาก พอ เราก็ควรจะช่วยผลักดันสังคมให้พัฒนาไป ด้วยไม่ใช่พัฒนาเพียงแค่ตัวเราเอง จนลืมมอง คนรอบข้างไป.. ถ้าให้พูดตามตรงนะ สังคมทุก วั น นี้ ป ลู ก ฝั งให้ ทุ ก คนเป็ น คนเก่ ง มี แ ต่ ก าร แข่งขัน ทำ�ให้แต่ละคนก็เน้นแต่ตัวเองเป็นหลัก (individualism) จนลืมไปว่ารากเหง้าของสังคม ที่แท้จริงแล้วควรจะเป็นแบบ collectivism ที่ YE-Rebound (Outbound 2008- คนในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน โรตารี 02009) Peerus Saimok ทำ �ให้เรายัง รู้ว่า ยัง มีค นที่พร้อ มจะช่วยเหลือ (Nam-Ping) สังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไป อยู่ประเทศเยอรมันนี Connor Neil Austin Malone (ตะวัน) ก่อนเดินทาง โชคดีได้พบ YE inbound 2008-2009 ครอบครัวอุปถัมถ์แรก ได้เดิน ประเทศแคนาดา สโมสรโรตา ทางมารับลูกที่ สุโขทัย น้ำ�ปิง รีเชียงใหม่ โรตารีให้โอกาส ได้ เ ตรี ย มทุ ก อย่ า งที่ จำ � เป็ น ของชี วิ ต กั บ ผม หนึ่ ง ปี ใ น และเตรียมเรียนมวยไทย ส่วนภาษาเยอรมันไม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ได้เข้าคอร์สเรียน แต่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ ได้เปิดโลกทัศน์ของผมออกสู่ ดี ถึงแม้คนเยอรมันจะใช้ภาษาอังกฤษได้ดเี พียง โลกกว้างการได้ใช้ชีวิตอยู่ใน ใด แต่เขาจะใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก ทางที่ เชียงใหม่ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดของ ดีแล้วภายใน 3 เดือนแรก ที่เราไปอยู่ควรจะพูด ผม ครอบครัวอุปถัมภ์ทัง้ สีค่ รอบครัวของผม ได้ ให้ได้ ถ้าพูดภาษาเขาได้เขาก็จะยอมรับเรา และ รับผมเข้าสู่ครอบครัวของเขา และปฏิบัติต่อผม คิ ด เหมื อ นว่ า เราเป็ น คนเยอรมั น คนหนึ่ ง เปรียบเสมือนเป็นลูกชายคนหนึ่ง พวกเขาจะ ครอบครั ว ที่ ไ ปอยู่ ด้ ว ยมี 4 ครอบครั ว ทุ ก อยู่ในใจของผมตลอดไป ผมเริ่มคิดถึงเชียงใหม่ ครอบครัวใจดีมาก ดูแลเด็กแลกเปลี่ยนดีมากๆ ตั้งแต่วันที่ผมจากมา คิดถึงตลาด คิดถึงนาข้าว ปกติคนเยอรมันจะไม่ร่าเริง ยิ้มแย้ม สักเท่าไร คิดถึงถนนคนเดิน คิดถึงไนท์บาซาร์ คิดถึง ขรึมๆเงียบๆนิ่งๆแบบผู้ดีมากกว่า เราต้องเป็น อากาศร้อน คิดถึงอาหารไทย และคิดถึงทุกๆ ฝ่ายทีจ่ ะต้องปรับตัวเข้าหาเขาก่อน และมีบคุ คล อย่าง ไม่มวี ันไหนทีผ่ มไม่คิดถึงประเทศไทยเลย ที่เปิดเผยก็จะทำ�ให้เราเป็นที่รัก และได้เพื่อน โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ของโรตารีได้ มากมาย เนื่องจากเมืองที่ไปอยู่เป็นเมืองเล็กๆ สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและยั่งยืนแผ่ มีเด็กแลกเปลี่ยนแค่ 2 คน สโมสรโรตารีดูแลดี ขยายไปทั่วทั้งโลก ผมไม่สามารถที่จะขอบคุณ มากๆ จัดให้เข้าร่วมงานของโรตารี จัดไปเที่ยว โรตารีสำ�หรับทุกสิ่งทุกอย่างได้เพียงพอที่โรตารี ที่ต่างๆ ที่เยอรมันจะมีองค์กรที่ดูแลเรื่องการ ได้ให้ผมเลย ท่องเที่ยวให้กับเด็ก YE คือ Rotex ได้ไปเที่ยว ทั่วเยอรมันและทั่วยุโรป ในระยะเวลา 1 ปีที่ ปาณัท สุภาสัย (แตง) YE outbound ผ่านมา ถือว่าเร็วมากเพราะสิ่งที่น้ำ�ปิงได้รับมี 2006-2007 มากมาย มันเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งใหญ่ สหรัฐอเมริกา สโมสรโรตารี มากที่สุดในชีวิต เป็นความทรงจำ�ที่ไม่มีวัน ลืม แม่สะเรียง ผมรู้สึกขอบคุณ เลยครับ ขอบพระคุณภาค 3360 และ Host Club และยิ น ดี ม ากที่ โ รตารี ช่ ว ย สโมสรโรตารีล้านนาเชียงใหม่ ที่ให้โอกาสครับ สนับสนุนผมจนทำ�ให้ผมได้ เปิดโลกกว้างและได้ ประสบ จันทิพา เทียนวิจิตร (แป้น)YE outbound การณ์ใหม่ๆ มากมายในต่าง 2004-2005 ประเทศ ได้พบเห็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่

ตุลาคม ๒๕๕๒

18 19


ว่าจะเป็นคนชาติไหน ผมจึงมีความภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้มี ส่วนร่วมในกิจกรรมของโรตารีที่ได้ทั้งมิตรภาพที่งดงามและช่วย เหลือผู้อื่น สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณโรตารีจากใจอีกครั้งครับ อุรณา นิสูง (ใบบัว) YE outbound 2006-2007 ประเทศเยอรมนี สโมสรโรตารีเชียงใหม่ ภูมใิ จมากค่ะทีไ่ ด้เป็นนักเรียนแลกเปลีย่ นของ โรตารี ได้มีโอกาสรู้จักผู้คน ได้เรียนรู้ภาษาที่ สาม และร่วมทำ�กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชนต่างๆมากมาย สำ�หรับใบบัวแล้วโรตารี เป็นองค์กรผู้ให้ และเอื้อไมตรีต่อกันเสมอมา โรตารี ถื อ ว่ า เป็ น องค์ ก รระหว่ า งประเทศที่ ประสบความสำ�เร็จที่สุดเลยค่ะ ก็อยากจะฝาก บอกน้องๆนักเรียนแลกเปลี่ยนรุ่นต่อๆไปว่า ไม่ว่าน้องจะไป ประเทศอะไร น้องสามารถได้รับสิ่งดีๆ กลับมาได้ อยู่ที่ตัวน้อง เอง ว่าจะปรับตัวให้เข้ากับประเทศนั้นได้หรือไม่ ที่สำ�คัญขอให้ น้องๆพึงระลึกไว้วา่ เราเป็นตัวแทนของประเทศไทย ตัวแทนของ สโมสรโรตารี ทำ�ในสิ่งที่ดีและถูกต้องที่สุด กลับมาก็มาช่วยกัน แนะนำ�น้องๆ ร่วมสานต่อโครงการด้วยกันนะคะ :)

19 18

ประมวลความรู้สึกและ ความคิดเห็นของ ตัวแทนเยาวชนแลกเปลี่ยนจาก 9 ประเทศ ได้แก่ ประเทศ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก โคลัมเบีย บราซิล ไต้หวัน เยอรมัน แคนาดา รัสเซีย เบลเยี่ยม: ข้ อ คิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บโครงการเยาวชนแลก เปลี่ยน: พวกเขาเห็นว่าโครงการเยาวชนแลกเปลี่ยน ของ โรตารีนั้นถือว่าเป็นโครงการที่ดีมากๆ และเป็น โอกาสที่ผู้คนจากหลากหลายประเทศ ได้มารวมตัวกัน แลกเปลีย่ นซึง่ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ชีวติ ความเป็น อยู่ พวกเราได้ศึกษาถึงความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ ทำ�ให้เกิดความเข้าใจที่ดีระหว่างประชากรของแต่ละ ประเทศได้ และสิ่งเหล่านี้ ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจ กันและนำ�แต่สิ่งที่ดีๆ ในอนาคตเราคิดว่ามันยอดเยี่ยม มาก ประสบการณ์ในการเป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ในภาค 3360 : ประเทศไทยถื อ ว่ า เป็ น ประเทศที่ มหัศจรรย์ ผู้คนค่อนข้างจะดีมากๆ น่ารักมากๆ พวก เขามักจะสอนให้พวกเราทำ�สิ่งนั้นสิ่งนี้ ตามวิถีชีวิตของ ความเป็นไทย ทำ�ให้พวกเราได้เรียนรู้ถึงความแตกต่าง ของวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี แต่ในบ้างครั้ง อาจจะเป็น ด้วย ความแตกต่างทางขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่ง เราคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ในสายตาคนไทยอาจจะดูว่า มัน บ้าๆบ๊องๆ แต่อย่างไรก็ตามพวกเราก็รกั ประเทศไทย และรักภาค 3360 ด้วย ปัญหาหลักที่อยู่ในเมืองไทย: สิ่งแรกที่พวก เราเจอะเจอคือความแตกต่าง ของชีวิตความเป็นอยู่ ยก ตัวอย่างเช่น เราสามารถกอด สามารถจูบกับเพื่อนของ เราได้ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมของพวกเรา แต่ที่เมือง ไทยถือว่าไม่ดี บางครั้งเราก็ไม่รู้จะทำ�เรื่องใดๆ ทำ�ให้ เกิดความรู้สึกเบื่อ แต่บางคนอาจจะบอกว่าไม่มีปัญหา เกิดขึ้นสำ�หรับเขา ในโรงเรียนหรือระหว่างการท่อง เที่ยว บางทีเราก็ไม่ชอบเรื่องของความเข้มงวด และอีก เรื่องหนึ่ง คือปัญหาของการสื่อสารกับเพื่อนที่โรงเรียน บางครั้งเราก็ไม่เข้าใจว่าเขาจะสื่ออะไรกับเรา สิ่งหนึ่งที่ เราอยากจะได้ก็คือ เราอยากได้ที่ปรึกษาดีๆเพื่อแก้ ปัญหาให้กับพวกเรา เพื่อลดความเข้าใจผิดในหลาก หลายประเด็น เราโชคดีบ้างที่มีที่ปรึกษาที่เป็นเด็กไทย ที่กลับมาจากการแลกเปลี่ยน แต่แน่นอนที่สุดที่เรา อยากให้ความเห็นก็คือ เราอยากจะเรียนรู้ภาษาไทยให้ มากขึ้น มีครูดีๆ สอน เพื่อที่ว่าเราจะได้สื่อสารกับคน รอบข้างได้อย่างภาคภูมิใจ ความเห็ น ด้ า นการทั ศ นศึ ก ษาภาคเหนื อ ระหว่างวันที่ 7-12 ตุลาคม 52 : อุ้ยมันช่างเป็นสิ่ง สนุกสนานอย่างยิ่ง เราได้เรียนรู้หลากหลายสถานที่ และหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง เราได้เพื่อน เราได้สนิท กับเพื่อนใหม่ๆ มันช่างเป็นสิ่งทิ่วิเศษเหลือเกิน บางคน ชืน ่ ชอบเรือ่ งการเดินทางไกลๆ แต่บางคนไม่ชอบแต่เมือ่ เรามีโอกาสสัมผัสสิ่งใหม่ๆ กับสิ่งแปลกใหม่ อาทิเช่น การได้นั่งบนหลังช้าง การนั่งแพบนสายน้ำ�ที่คดเคี้ยว มันคงจะเป็นสิ่งที่พวกเราได้จดจำ�ไปตลอดชีวิต เราเริ่ม ที่จะชอบเมืองไทยซะแล้ว นี้เป็นความรู้สึกส่วนหนึ่ง ของตัวแทนทัง้ 9 ประเทศทีเ่ ข้ามาแลกเปลีย่ นวัฒนธรรม ในภาค 3360 ของเรา

ตุลาคม ๒๕๕๒


Behind the scene

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม

สวัสดีค่ะมวลมิตรโรแทเรียนทุกท่าน สารผู้ว่าการภาคฉบับที่ 3 ได้อวดโฉมเป็นที่ เรียบร้อย อาจถึงมือทุกท่านล่าช้าเล็กน้อย ต้อง ขออภัย ๆๆ มีเสียงสะท้อนกลับมาเล็กน้อย เกี่ยวกับการอ่านของผู้สูงวัยว่าอ่านค่อนข้าง ลำ�บากนิดหน่อย บอ.กอ.รับทราบยินดีแก้ไข ขอบคุณที่ช่วยกันอ่านและแจ้งให้ทราบ สารผู้ ว่าการภาคฉบับนี้ยินดีนำ�เสนอข้อมูล เกี่ยวกับ เยาวชนแลกเปลี่ยนในหลายๆ แง่มุมที่หลาย ท่ า นอาจอยากทราบความเคลื่ อ นไหวของ เยาวชน ซึ่งเป็นบุตรหลานในภาคของเราและ เยาวชนแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ ว่าเขามี ประสบการณ์อะไร ที่อยากบอกเรา เราจึงได้ ทำ�การสัมภาษณ์เรื่องราวที่น่าสนใจ รวมถึง ครอบครัวอุปถัมภ์ ผ่านคอลัมน์ข้างหลังภาพ ติดตามเรามาได้เลยค่ะ: ว่าที่ YE Outbound 2010-11 นางสาว ปวมน ตันประเสริฐ ชื่อเล่นน้อง กระเบื้อง สาวน้อยที่สอบผ่านการคัดเลือกใน โครงการเยาวชนแลกเปลี่ยน เป็นอันดับ 1 ใน ภาค 3360 เธอได้กล่าวว่า เหตุผลสำ�คัญที่สุด ที่เธออยากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนก็คือการ

ตุลาคม ๒๕๕๒

YE

เป็นทูตแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมให้กับโรตารี เพราะมีความรู้สึกผูกพันกับองค์กรนี้มาตั้งแต่ เด็กๆ เพราะคุณแม่พาไปร่วมกิจกรรมบ่อยๆ อีกทัง้ มองว่า ในตอนนีป้ ระเทศไทยแม้วา่ จะโด่ง ดังในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ วัฒนธรรม แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่เขายัง ไม่รูจ้ กั เมืองไทยและคนไทยดีพอ ด้วยเหตุนีเ้ ธอ คิดว่า การได้เป็นทูตทางวัฒนธรรมเป็นโอกาส ที่ดี ที่เธอจะมีส่วนได้เผยแพร่สิ่งดีๆ ของเมือง ไทยโดยเฉพาะภาค 3360 ซึ่งจะทำ�ให้เธอได้รับ ประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากห้องเรียน ไหนๆ ในส่วนของเรือ่ งภาษาหรือการท่องเทีย่ ว ในประเทศที่ไปคิดว่ามันเป็นผลพลอยได้ที่คุ้ม ค่ามากกว่า เพราะนักเรียนแลกเปลี่ยนทุกคน ต้องได้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สาม กลับมา อย่างแน่นอนเพราะต้องใช้ในชีวิตประจำ�วันอยู่ แล้ว แต่การได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนแลก เปลี่ยนมันคือความภูมิใจของเธอ ที่ได้รับจาก องค์กรระดับโลกอย่างโรตารี มันคือสิ่งที่หาซื้อ ไม่ได้ ดังนั้นการที่จะไปแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ เธอบอกว่าจะใช้ทกุ วินาทีกอ่ ให้เกิดประโยชน์แก่ ตนเองและส่วนรวมและจะเก็บเกี่ยว ประสบ

20 21


E Youth Exchange D.3360 R.I. การณ์ ให้ได้มากที่สุด นี่แหละค่ะสาวน้อยคนเก่งของเรา บุตรสาวของ รทร.กวิตา ตันประเสริฐ แห่ง ส.เชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม YE outbound ปี 2009-10 นายจิรเวช สีรี เลิศ ชื่อเล่นไก่อู หรือ Kevin เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยนไปอยู่ ที่เมืองEdmonton ประเทศแคนาดา เพิง่ เดินทางออกไปเมื่อ เดือน สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง น้อง Kevin เป็นเด็ก ที่โชคดีมากๆ ได้อยู่กับครอบครัวที่เป็นโรแทเรียน และเป็น ที่ ป รึ ก ษาเยาวชนแลกเปลี่ ย นด้ ว ย ชื่ อ คุ ณ Pamela Mcculloch ทั้งครอบครัวรักและให้ความช่วยเหลือและดูแล เป็นอย่างดี ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมแข่งขันฟุตบอล วิ่ง การกุศล ชมงานแสดงคอนเสิรต์ และงานประเพณีทีส่ ำ�คัญๆ ต่างๆ ของเมืองนั้น ได้ร่วมประชุมกับ Host Club สโมสร โรตารี Edmonton Northeast ได้มโี อกาสแนะนำ�ประเทศไทย แนะนำ�ภาค 3360 และแสดงผลงานกิจกรรมต่างๆ ของ สโมสร ส่วนภาษาอังกฤษ ของเขาพัฒนาไปอย่างมาก เพราะได้ฝึกฝนทุกวัน Kevin มีความสุขสนุกสนานมากๆ ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เขาไม่เคยพบมาก่อน เขา ประทับใจ และคิดว่านี้เป็นโอกาสที่วิเศษสุดๆ ในชีวิตของ เขาและที่สำ�คัญน้องได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเรียนแลก เปลี่ยนที่ดีมาก มีความสามารถมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม สร้างความสุขและเสียงหัวเราะให้กับทุกๆ คน แหม.. คุณ

21 20

พ่อ นย.ดรัณ สีรีเลิศ สโมสรเชียงใหม่ใต้ ปลื้มสุดๆ ค่ะ YE-Outbound 2009-10 นางสาวญาณิศา นฤนาทวงศ์สกุล ได้เดินทางไปเป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ที่ เมืองแคชโซก้า รัฐโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา Host Club สโมสรเชียงใหม่ใต้ เดินทางไปเดือนมีนาคม 2552 นี้เอง เธอ ได้รับประสบการณ์จากการเดินทางในครั้งนี้อย่างมาก เล่น เอาใจหายใจคว่ำ� บินจากไทยเพื่อไปแคนาดา แต่ต้องต่อ เครื่องที่ญี่ปุ่น ปรากฏว่าเครื่องดีเลย์ ทำ�ให้เครื่องบินที่จะ ต่อไปเมือง แคชโซก้า ต้องดีเลย์ไปด้วย เมื่อไปถึงแคนาดา ไม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้เพราะหิมะตกหนัก จึง ได้เมล์ไปหา HOST ที่แคนาดาเพื่อเดินทางไปรับอีกเมือง หนึ่ง รู้สึกหวาดกลัว แต่ก็ใจชื้นเมื่อนึกถึงคำ�แนะนำ�จาก คณะกรรมการ YE เมื่อ Host Club มารับก็รู้สึกอบอุ่นและ รู้สึกปลอดภัย Host Family เป็นโรแทเรียน และเป็นทึ่ ปรึกษาเยาวชนแลกเปลีย่ น ท่าน ได้จดั ทำ�ตารางการทำ�งาน ประจำ�วัน เมื่อทำ�เสร็จแล้ว ต้องให้ Host ตรวจและเซ็นชื่อ รับทราบจึงจะได้ค่าขนม เดือนละ 75 U$ และต้องไปประชุม ที่สโมสรทุกสัปดาห์ ซึ่งประชุมในตอนเช้า และในวันหยุด ได้ไปทำ�กิจกรรม โดยไปเลี้ยงเด็ก ลูกหลานผู้ใช้แรงงานที่ ศูนย์เด็กเล็ก กว่าจะปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เพื่อน ใหม่ๆ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก็ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน Hostใจดีมากได้พาไปท่องเทีย่ ว สถานทีส่ วยงามต่างๆ หลาย

ตุลาคม ๒๕๕๒


ข้างหลังภาพ

เมือง ส่วนด้านภาษาก็ไม่เป็นปัญหา พัฒนาขึ้นอย่างมาก ประทับใจกับโครงการเยาวชนแลกเปลี่ยนที่ให้โอกาสสู่โลก กว้างในครั้งนี้อย่างยิ่ง YE Rebound (Outbound 2008-09) นางสาว ปริยภา ตันประเสริฐ ชื่อเล่นน้องเบ็บ เดินทางไป เมือง Fairbanks รัฐ Alaska สหรัฐอเมริกา นัองเบ๊บ เป็น นักเรียนโรงเรียนวิชัยวิทยา กึ่งนานาชาติ ภาษาอังกฤษค่อน ข้างดีและครอบครัวของน้องเบ็บ รับนักเรียนแลกเปลี่ยนมา แล้ว 2 ปี จึงค่อนข้างคุน ้ เคยในการสือ่ สารกับชาวต่างประเทศ ที่มาอยู่ด้วย น้องเบ็บเตรียมตัวค่อนข้างดีในทุกๆ ด้าน เช่น การแสดงวัฒนธรรมไทย การทำ�อาหาร อัลบั้มครอบครัว เตรียมข้อมูลของภาคสโมสรและประเทศไทย เตรียมธงสโมสร ของฝาก นามบัตร ทุกอย่างพร้อม และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศและเมืองที่จะไปอยู่อย่างดี ก่อนการเดินทางได้ติดต่อ ทำ�ความรู้จักกับโฮสในต่างประเทศ สร้างความคุ้นเคยก่อน น้องเบ็บ ใช้เวลาอยู่ในต่างประเทศ 10 เดือน อยู่กับโฮสที่ 1 เป็นเวลา 3 เดือน คุณพ่อทำ�งานสายการบิน ส่วนคุณแม่ เป็นครู ออกบ้านเช้ากลับบ้านดึกแทบทุกวัน เบ็บจึงนั่งรถไป กลับโรงเรียนเองทุกวัน เวลาจะไปโรงเรียนต้องลงเนินมา ประมาณ 3 นาที เพื่อมารอรถโรงเรียนที่จะมาตรงเวลาเป๊ะ 7.13 น. ตอนแรกๆ เบ๊บเคยวิ่งลุยหิมะ ไล่ตามหลังรถบัส เหนื่อยมากๆๆ แต่หลังๆ เริ่มปรับตัวได้ตรงเวลาเป๊ะ ไป โรงเรียนวันแรกท้าทายสุดๆ เจอแต่ใครก็ไม่รู้ พูดกันคนละ ภาษา หาเพื่อนยากมาก แต่พอวันที่สอง เปลี่ยนตัวเองใหม่ ไปทักเพื่อนก่อน ขอนั่งกินข้าวด้วย แล้วเราก็ได้เพื่อนเลย ทันที ส่วนเรื่องการเรียน เบ๊บ พยายามเลือกวิชาที่สามารถ เทียบโอนเกรดได้ ส่วนบ้านที่ 2 อยู่นานที่สุด 5 เดือนสนุก มากๆ เนื่องจากบ้านนี้มีลูกอายุไล่เลี่ยกัน ไปไหนไปด้วยและ ได้มีโอกาสไปเที่ยวหลายเมือง และได้ไปต่างประเทศด้วย ส่วนบ้านที่ 3 อยู่เพียง 2 เดือน บ้านนี้มีลูกชายตัวน้อย อายุ 3 ขวบแต่แรกก็เกเรเอาเรื่อง จนเบ็บปวดหัว ต้องโทรมา ปรึกษาแม่ที่เมืองไทยบ่อยๆ แต่ภายหลังก็ชนะใจน้องจนได้ เอาความใจเย็น ชนะความเกเร

ตุลาคม ๒๕๕๒

ส่วน Host Club ชื่อว่า Rotary Club of Fairbanks Sunrisers ทุกๆ คนในสโมสรใจดีมากๆ หากเบ๊บมีปญ ั หาอะไร ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ทุกคนพร้อมจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ตลอดเวลา รวมถึงพาไปเที่ยวทำ�กิจกรรมสนุกๆ ประโยชน์ ที่ได้มีมากมาย เบ๊บได้เพื่อนดีๆ เพิ่มขึ้น เจอแต่คนดีๆ ได้ รับสิ่งดีๆ และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เยอะมาก เปิดโลกใหม่ๆ ที่ ไม่เคยเห็น อีกอย่างคือภูมิใจ ในตัวเองลึกๆ ว่าเราทำ�ได้ เรา มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ� มี ความเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ โดยส่วนตัวรู้สึกว่าตัวเอง เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ขอบคุณครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ และพี่น้องที่เป็นกำ�ลังใจและสโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทย งาม และองค์ ก รโรตารี ที่ มี โ ครงการเยาวชนแลกเปลี่ ย น สำ�หรับเยาวชนที่ดีที่สุด YE rebound (outbound 2006-07) นาง สาวธวัลรัตน์ เตชะเบญจรัตน์ (ชื่อใหม่มนัสนันท์) ชื่อเล่น น้องพลอย ได้เดินทางไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่เมือง Millbrook รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา อยู่กับ Host Family 3 ครอบครัว ครอบครัวแรกเป็นโรแทเรียน ส่วนครอบครัวที่ เหลือไม่ใช่โรแทเรียน ตอนเดินทางเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย เมื่อกลับมาไม่ได้เรียนซ้ำ� ชั้นแต่ใช้วิธีเรียนพิเศษและขอสอบตามหลังเพื่อน เพื่อให้จบ ทั น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 และปั จ จุ บั น เป็ น นั ก ศึ ก ษาปี ที่ 1 ม.เกษตรศาสตร์บางเขนภาคอินเตอร์เศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียน เป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ เมื่ออยู่ต่างแดนได้รับการดูแลอย่างดีจาก Host Family ภาษาพูดในตอนแรก ไม่สามารถสื่อสารได้รู้เรื่องเลย เพราะบ้านเราเรียนเน้นไวยากรณ์ ทักษะการพูดมีน้อย ต้อง ใช้ความกล้าพูดมากๆ และไม่เก็บตัว พยายามมีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่างๆ ให้มากที่สุด ตั้งใจเรียน เล่นกีฬา และดูหนัง ฝรั่งจากวีดีโอ ดูหนังการ์ตูนทุกวัน ตลอดจนการมีมนุษย์ สัมพันธ์กับทุกคนในครอบครัว ช่วยทำ�ขนม ทำ�อาหารบ้าง เป็นครั้งคราว ช่วยให้ทักษะการพูดพัฒนาไปได้อย่างมาก ที่ โรงเรียนไม่เน้นไวยากรณ์ แต่จะให้อ่านหนังสือมากๆ และ

23 22


ตอบคำ�ถามมากๆ วิธกี ารเรียนเด็กทีน ่ ัน ่ จะแย่งกันตอบ สงสัย อะไรก็จะถามทันที ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมกับสโมสรโรตารี และร่วมประชุมใหญ่ของโรตารีที่รัฐนิวยอร์ค ลูกของ Host มีอายุไล่เลี่ยกันและชอบแข่งขันกีฬา พลอยจึงได้มีโอกาสไป ท่ อ งเที่ ย วหลายเมื อ งและแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ช่วง เทศกาลฮาโลวีน ได้ร่วมกิจกรรมกับ อินเตอร์แรคท์ โดยการ ไปเคาะประตูบ้านขอรับบริจาคอาหารกระป๋องเพื่อนำ �ไป บริจาคให้เด็กยากจนและคนชรา ประสบการณ์ที่เธอได้รับ จากการไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเพียง 1 ปี ได้ให้โอกาส เธอพัฒนาตนเองไปอย่างมากมาย เมื่อเธอไปสอบเข้าเรียน ที่ม.เกษตรศาสตร์บางเขนฯ เธอสามารถเรียนรู้ได้อย่างเร็ว สามารถเรียนทันเพื่อน ซึ่งเคยผ่านต่างประเทศมาเช่นเดียว กับเธอ และเธอยังบอกว่าการที่ได้อยู่ 3 ครอบครัวก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ข้อดีได้เรียนรู้วิถีชีวิตของแต่ละครอบครัวจะมี ความแตกต่ า งกั น ส่ ว นข้ อ เสี ย กำ � ลั ง จะสนิ ท คุ้ น เคยกั บ ครอบครัวแรก ก็ต้องย้ายไปครอบครัวสอง-สาม ขอขอบคุณ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม ขอบคุณโรตารีสากล ที่ได้ ให้โอกาสเธอสู่โลกกว้างในนามของเยาวชนแลกเปลี่ยนของ โรตารี HOST FAMILY ที่ 1 (ปี 2552-53) อน.สุภา พร เนตรงาม สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม ถึงแม้เป็น ครั้งแรกที่ได้รับนักเรียนแลกเปลี่ยน INBOUND มาดูแล ไม่มี ประสบการณ์มาก่อน แต่ก็เตรียมพร้อมในการต้อนรับเด็ก ที่มาอยู่ด้วยอย่างเต็มที่ เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นเหมือนบ้าน ไม่รู้สึกว้าเหว่ ดูแลเหมือนลูกหลาน การกินอยู่ก็พยายาม ปรับให้เด็กคุ้นเคยกับอาหารไทยบ้าง ให้ช่วยเหลือตนเอง เกี่ยวกับการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันบ้าง พาไปดูวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนไทย ขนบธรรมเนียมวิธีปฏิบัติตน เช่น การเข้าวัดทำ�บุญ ส่วนปัญหาก็มีบ้าง เนื่องจากเด็ก Inbound มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และมีความรู้สึกว่าตนเองเป็น ผู้ใหญ่ บางครัง้ ก็จะไม่รบั ฟัง หรือไม่เข้าใจเกีย่ วกับวัฒนธรรม บางอย่างของเราต้องค่อยๆปรับ อาหารไทยบางอย่างก็ไม่ ค่อยคุ้นเคย ถึงอย่างไรเด็กเขามีความพยายามที่จะปรับปรุง ตั วให้ เ ข้ า กั บ สั ง คม รู้ จั ก การช่ ว ยเหลื อ แม้ ไ ม่ ไ ด้ ร้ อ งขอก็ พยายามที่ จ ะทำ � ดั ง นั้ น จึ ง เป็ น ความประทั บใจและเป็ น ประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายที่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีการพัฒนาด้านภาษาเพิ่มขึ้น HOST FAMILY ที่ 2 (ปี 2550-51 และ 255253) รทร.กวิตา ตันประเสริฐ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทย งาม มีประสบการณ์การดูแลเยาวชนแลกเปลี่ยน INBOUND 2 ปี แม้ตอนแรกยังมีความกังวลใจในการดูแลเยาวชนแลก เปลี่ยนเพราะการดูแลเด็กคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกเรา ก็ย่อมรู้สึก กังวลใจ ว่าเราจะดูแลเด็กได้ดีแค่ไหน แต่ก็คิดตลอดเวลาว่า ในตอนนี้เขาคือลูกของเราอีกหนึ่งคนที่เราต้องให้ความรัก ความอบอุ่น เหมือนที่เราปฏิบัติต่อลูกของเราจริงๆ ดังนั้น จึงเริ่มต้นตั้งแต่อ่านประวัติของเด็กอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้ เรียนรูอ้ ปุ นิสยั สิง่ ทีช่ อบและไม่ชอบเพือ่ เป็นการทำ�ความรูจ้ กั กันล่วงหน้า

22 23

เมื่อเด็กมาถึง ครอบครัวเราจะอยู่พร้อมหน้าเพื่อ ทำ�ความรู้จักและต้อนรับ โชคดีหน่อยที่สมาชิกในครอบครัว พูดภาษาอังกฤษค่อนข้างดี ได้คุยเรื่องทั่วไปและคุยเกี่ยวกับ เรื่องของกฎกติกามารยาท ภายในบ้าน พยายามให้ความรู้ ในเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย โดย เฉพาะวัฒนธรรมการไหว้ การรับประทานอาหารร่วมกันใน ครอบครัว การแต่งกาย มารยาทการพูด และการปฏิบัติตัว ต่อบุคคลผู้สูงอายุกว่า สรรพนามการเรียกชื่อ และจะสอน ทุกครั้งตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน โดยใช้ทั้ง ภาษาอังกฤษและภาษาไทย ดิฉันกับลูกๆไปไหน ลูกYEก็ต้อง ไปด้วยกันทุกครั้ง เพื่อให้เห็นสถานที่ต่างๆ สอนเรื่องการ เดินทางเพื่อที่จะได้ช่วยตัวเองให้ได้มากที่สุด เมื่อไหร่ที่เขา ช่วยตัวเองได้เขาก็จะสนุกกับการอยู่ที่นี่ สิ่งที่ได้รับจากการ เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ก็คือ ลูกๆของดิฉันและลูก YE รู้สึก สนุกสนานและรู้จักปรับตัวกับผู้อื่นได้ง่าย ในแง่ของการใช้ ภาษาเด็กๆได้เรียนรู้การใช้ภาษาในชีวิตประจำ�วันมากกว่า ภาษาทางการตามวัยของเขา ดิฉันรู้สึกมีความสุขที่ลูกๆ ทั้ง ลูกจริงและลูกYE เค้ามีกิจกรรมร่วมกันตลอด ถึงแม้จะ เหนื่อยกับการดูแลลูกๆเพิ่มเติม แต่ระยะเวลาที่อยู่ร่วมกับ เรามันไม่นานมาก ดิฉันต้องการให้เขาได้รับการดูแลที่ดีและ สิง่ ดีๆทีส่ ดุ จากแม่คนไทยคนหนึง่ .จากใจของผูท้ ีม่ จี ติ วิญญาณ ของความเป็นแม่ และเป็นคุณครูของเด็กๆ นับถือๆๆ HOST FAMILY ที่ 3 คุณสุพัตรา สายหมอก คุณแม่ครอบครัว YE ตระกูลสายหมอก ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ หลายคนกล่าวว่า เป็นท่านหนึ่ง ที่ดูแลเด็กนักเรียนแลก เปลี่ยนได้ดีเยี่ยม ไม่น้อยไปกว่า คุณแม่โอ่ง คุณแม่ของน้อง ใบบุญ และน้องใบบัว ที่ดูแลเด็กๆ ได้ดีที่สุดคนหนึ่งก็ว่าได้ และยังมีคุณแม่แอร์ที่หลายคนกล่าวถึง แต่ด้วยพื้นที่จำ�กัด ในโอกาสหน้าคงจะมีโอกาสสัมภาษณ์ท่านที่กล่าวมานะคะ คุณสุพัตรา เรียกตนเองว่าแม่ลิน ได้กล่าวว่าได้มี โอกาสดูแลเด็กแลกเปลี่ยนครั้งแรกเมื่อปี 2007 เป็นเยาวชน มาจากประเทศแคนาดา มาอยู่ในช่วงระยะสั้นๆ และเป็นเด็ก น่ารัก มีความชื่นชมคนไทยมาก หลังจากนั้นมีโอกาสรับเด็ก เยาวชนแลกเปลี่ยนอีกเรื่อยๆ การดูแลเด็ก เหมือนกับดูแล ลูกๆ ของเราเอง ก็ให้ความรัก ความเมตตา–เอ็นดู และให้ ความสนิทสนมเป็นกันเอง ดูแลเอาใจใส่ ถามทุกข์-สุข การเลือกโรงเรียนให้เยาวชนแลกเปลีย่ นได้ไปศึกษา ก็จะเลือกโรงเรียนที่ใกล้บ้าน การเดินทางไป-กลับ สะดวก และโรงเรียนเห็นความสำ� คัญของเยาวชนแลกเปลี่ยนว่า ต้องการศึกษาความเป็นอยู่ ธรรมเนียม ประเพณีของคนไทย และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก ทำ�ให้ เด็กเรียนอย่างมีความสุข ส่ ว นประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ จากการเป็ น ครอบครั ว อุปถัมภ์ ก็คงจะเป็นเรื่องของการได้แลกเปลี่ยนเล่าสู่กันฟัง ถึงธรรมเนียม ประเพณีประเทศของเขาและประเทศของเรา ลู ก ๆของแม่ ลิ น ก็ ไ ด้ พู ด คุ ย ด้ ว ยภาษาอั ง กฤษ ทำ � ให้ มี พัฒนาการทางภาษาดีขึ้น กล้าที่จะคุยกับชาวต่างชาติ จึง เป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำ�หรับครอบครัวเรามากๆ ค่ะ

ตุลาคม ๒๕๕๒


At a glance...

อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

Banerjee

2011-12 RI president-nominee ในปีทีป่ ระเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม โรตารีสากล อาจมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างก่อนที่งานจะ มาถึง อย่างหนึ่งที่ว่าก็น่าจะเป็นใครจะเป็นประธานโรตา รีสากลในปีนั้น

Banerjee is 2011-12 RI president-nominee

Rotary International News -- 6 October 2009

Kalyan Banerjee, a member of the Rotary Club of Vapi, Gujarat, India, since 1972, is the 2011-12 president-nominee. The Nominating Committee for President of Rotary International in 2011-12 selected Banerjee in August. There were no challenging candidates prior to the 1 October deadline. Banerjee is a director of United Phosphorus Limited, the largest agrochemical manufacturer in India, and the chair of United

ตุลาคม ๒๕๕๒

24 25


Phosphorus (Bangladesh) Limited. He is a member of the Indian Institute of Chemical Engineers and the American Chemical Society, a past president of Vapi Industries Association, and former chair of the Gujarat chapter of the Confederation of Indian Industry. He earned a degree in chemical engineering from the Indian Institute of Technology, Kharagpur, in 1964. Banerjee has served Rotary as a director, Rotary Foundation trustee, committee and task force chair, International Assembly group discussion leader, president’s representative, and district governor. The chair of the Southeast Asia Regional PolioPlus Committee, Banerjee has served as a member of the International PolioPlus Committee for many years and has attended international meetings with the World Health Organization and UNICEF in that capacity. Banerjee is a Major Donor, Benefactor, and Bequest Society member, and has been awarded the Foundation’s Citation for Meritorious Service and its Distinguished Service Award. Banerjee also serves as a trustee of Rotary club-sponsored trusts that support many educational and community development programs in India, including a 250-bed hospital. He noted that Rotary’s strengths include its ability to attract leaders from different vocations around the world, as well as its role in promoting peace. “Rotary needs to become the preferred organization for today’s generation to join and participate in, to make the world better and safer and happier,” he said. Banerjee’s wife, Binota, is a social worker and Inner Wheel club member. The couple have two children and four grandchildren

ที่ผ่านมา และไม่มีผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับเลือกอื่นใดอีก หรือคัดค้านภายในระยะเวลาที่กำ�หนด โดย วันที่ 1 ตุลาคมปีนี้ถือเป็นวันสุดท้าย แบเนอร์ จี เ ป็ น ผู้ อำ � นวยการบริ ษั ท ยู ไ นเต็ ด ฟอสฟอรั ส จำ � กั ด ซึ่ ง เป็ น ผู้ ผ ลิ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ คมี การเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดียและยังเป็น ประธานบริษัทยูไนเต็ดฟอสฟอรัส(บังคลาเทศ)จำ�กัด ท่านเป็นสมาชิกของสถาบันเคมีวิศวกรรมแห่งอินเดีย และสมาคมอเมริ กั น เคมี เป็ น อดี ต นายกสมาคม อุตสาหกรรมแห่งวาปี และเคยเป็นประธานสหพันธ์ อุตสาหกรรมของประเทศอินเดียแห่งกุจรัต ท่านได้รับ ปริญญาบัตรด้านวิศวกรรมเคมีจากสถาบันเทคโนโลยี แห่งอินเดีย เมืองคารักปุระในปี 1964 แบเนอร์จีได้รับหน้าที่ในโรตารีเป็นกรรมการ บริหาร กรรมการทรัสตีของมูลนิธิโรตารี ประธานคณะ กรรมการและคณะทำ�งานต่าง ๆ และยังเป็นผู้นำ�ใน การเสวนากลุม่ เกีย่ วกับกิจการต่างประเทศในการอบรม ผู้ว่าการภาครับเลือก เป็นผู้แทนประธานโรตารีสากล และเป็นผู้ว่าการภาค ท่านเป็นประธานคณะกรรมการโปลิโอพลัส ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบเนอร์จีได้ทำ� หน้าที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการโปลิโอพลัสสากลเป็น เวลาหลายปี และได้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติกับ องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟอีกด้วย แบเนอร์จีเป็นเมเจอร์โดเนอร์ เบเนแฟกเตอร์ และบีเควสโซไซเอ็ตตี(ชมรมผู้บริจาคจากมรดก) และ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ว่าผู้ให้บริการยอดเยี่ยม จากมูลนิธิโรตารี แบเนอร์จียังเป็นทรัสตีของสโมสร ซึ่งให้การ อุ ป ถั ม ภ์ โ ครงการเกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาการศึ ก ษาและ ชุมชนหลายโครงการในอินเดีย รวมถึงโครงการโรง พยาบาลขนาดที่มีจำ�นวน 250 เตียง ท่านได้ย้ำ�ว่า ความเข้มแข็งของโรตารี หมาย รวมถึงความสามารถในการโน้มน้าวผู้นำ� จากกลุ่ม อาชีพที่แตกต่างกันทั่วโลก ควบคู่กับบทบาทในการ เสริมสร้างสันติภาพ “โรตารีจำ�เป็นที่จะต้อง (ทำ�ให้เรา) เป็นองค์กร ที่ถูกเลือกโดยคนในรุ่นปัจจุบัน ที่จะเข้ามา ร่วมงานเพื่อทำ�ให้โลกดีขึ้น ปลอดภัยขึ้นและมีความสุข แบเนอร์จี : ประธานโรตารีสากลโนมินี ปี มากขึ้น” 2011-2012 บิ โ นตาภริ ย าของท่ า นแบเนอร์ จี เ ป็ น นั ก กัลยัน แบเนอร์จี เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีวาปี สังคมสงเคราะห์และเป็นสมาชิกของสโมสรอินเนอร์วีล รัฐกุจรัต อินเดียตั้งแต่ปี 1972 คือผู้ที่ได้รับการเสนอ ทั้งสองมีทายาทด้วยกันสองคนและมีหลานอีกสี่คน ชื่อให้เป็นผู้ว่าการภาคโนมินีในปี 2011-2012 โดยคณะ กรรมการเสนอชื่อได้สรรหาชื่อท่านเมื่อเดือนสิงหาคม

25 24

ตุลาคม ๒๕๕๒


บ้านเลขที่ 3360 R.I.

อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี สโมสรโรตารี เชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม

ตุลาคม ๒๕๕๒

26 27


จอห์น เคนนี่

กล่าวไว้ในสุนทรพจน์ว่า

โรตารี ที่มีอายุเกินร้อยปีนั้นเจริญ เติบโตมาโดยอาศัย

“บ่าของคนรุ่นก่อน” สารเดือนตุลา เดือนตุลามีความหมายตั้งหลายอย่าง แวบแรกก็ คิดถึงตราชั่ง เครื่องหมายแห่งความเป็นธรรม หลายครั้ง ก็นึกถึงความวุ่นวายที่เคยเกิดขึ้นในเดือนตุลา กลับบ้าน เจอน้องมะลิ YE คนใหม่จากบราซิลทีม่ าพักทีบ่ า้ นชัว่ คราว ก็นึกถึงวันหยุด วันปิดเทอม นึกได้ไม่นานนักนึกขึ้นได้ว่า บก.วาณิช รออยู่เลยชักจะนั่งไม่ติดที่ ต้องรีบขีดๆ เขียน ให้สารเล่มใหม่ ภาษาโรตารีบอกว่าเดือนตุลาเป็นเดือนแห่งการ บริการด้านอาชีพ Vocational Service Month ที่ผ่านๆมา หลายสโมสรก็หาผู้ประกอบอาชีพต่างๆมารับรางวัล เช่น จราจรดีเด่น ตำ�รวจดีเด่น ฯลฯ ดิฉันได้มีโอกาสเดินทาง ไปญี่ปุ่นเพื่อหาโอกาสเปิดทางให้วิชาชีพใหม่ซึ่งน่าจะเป็น ที่ต้องการของคนทั่วโลก อาชีพ “ผู้ดูแลผู้สูงอายุ”

27 26

ตุลาคม ๒๕๕๒


บ้านเลขที่ 3360 R.I.

“เพื่อนสนิทต่างแดน”

10:10:2009 A day in the life of Rotary ตุลาคม ๒๕๕๒

28 29


สารเดือนตุลา

29 28

จากข้อมูลด้านโครงสร้างประชากร พบว่า ผู้คนในโลกมีอายุยืนยาวขึ้น และผู้สูงอายุมีจำ�นวน มากขึ้น ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 10 และในปี 2593 จะเพิ่มเป็นร้อย ละ 20 และเป็นร้อยละ 30 ในปี 2693 ในแต่ละ ภูมิภาคมีความแตกต่างกันเช่น ในยุโรปจะมีผู้สูง อายุมากกว่าในอัฟริกา เป็นต้น ประเทศไทยก็ไม่ต่างกับที่อื่นๆ มีผู้สูงอายุ ที่มีอยู่ร้อยละ 9.4 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2568 ผู้ สู ง อายุ เ หล่ า นี้ ก ลุ่ ม หนึ่ ง เพรี ย บพร้ อ มไปด้ ว ย ประสบการณ์และพร้อมที่จะถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลัง คนกลุ่มนี้อยู่ในโรตารีนี่แหละ จะดึงศักยภาพเหล่า นี้ ม าใช้ ไ ด้ อ ย่ า งไร จอห์ น เคนนี่ กล่ า วไว้ ใ น สุนทรพจน์ว่า โรตารีที่มีอายุเกินร้อยปีนั้นเจริญ เติบโตมาโดยอาศัย “บ่าของคนรุ่นก่อน” พูดให้เห็น ความสำ�คัญของอดีตผู้ว่าการภาคที่มีประสบการณ์ เต็มเปี่ยม จะเป็นเสาหลักในการพัฒนาโรตารีได้ เป็นอย่างดี จะเชิญชวนท่านเหล่านั้นออกมาเป็น แรงสำ�คัญได้อย่างไร นั่นเป็นคำ�ถามที่ท้าทาย ผู้ สู ง อายุ อี ก ส่ ว นหนึ่ ง มี ค วามพร้ อ ม มี สุขภาพทางกายดีแต่เริ่มว้าเหว่เนื่องจากเพื่อนฝูง หายไป ลูกหลานติดภารกิจ ต้องการผู้ดูแลโดย เฉพาะอย่างยิ่งทางใจ อาจรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ใน เมืองฝรั่งมักรวมอยู่ในศูนย์ผู้สูงอายุ ในไทยเห็นได้ จากวัยทองนิเวศน์ บ้านธรรมปกรณ์ บ้านบางแค ผู้สูงอายุล้วนช่วยตนเองได้ดี ไม่ป่วย ต้องการคน ดูแล เป็นเพื่อน ให้บริการเล็กๆน้อยๆ กลุ่มนี้เป็น ผู้สูงอายุกลุ่มใหญ่ เป็นโอกาสของตลาดใหม่ ที่นอก เหนือจากนี้เป็นผู้สูงอายุที่เริ่มป่วย ต้องใช้บริการ โรงพยาบาล โรแทเรียนจัดเป็น “คนมีเพื่อน” ไปไหน ต่อไหนก็ยังมีเพื่อนคอยช่วยเหลือเสมอ ดิฉันเดิน ทางไปญี่ปุ่นครั้งที่แล้วมีโรแทเรียนเป็น sponsor เกือบตลอดทริป ประมาณซักเดือนเมษายน อากาศ กำ�ลังหนาว ซากุระบานเต็มต้น สวยงามมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งในเมืองฮิเมจิ เพื่อนโรแทเรียนพา ผวล. นพ.วีระชัย และดิฉันไปชมประสาทฮิเมจิ มี ผูค้ นเดินทางมาชมทัง้ ประสาท และซากุระมากมาย ด้วยน้ำ�ใจของโรแทเรียน เราจึงได้ชื่นชมกับสิ่งที่ดี ที่สุดเสมอ

ไม่น่าเชื่อว่า กลับไปญี่ปุ่นอีกรอบ (โกเบ โอซากา ฮิเมจิ) คราวนี้ ทั้งๆที่ไปทำ�งาน ก็ยังมีคน พาไปเทีย่ วประสาทเดิมในฤดูกาลทีต่ า่ งออกไป สวย มากเพียงแค่เปลี่ยนจากสีชมพูของซากุระไปเป็นสี เขียวสดใสของต้นไม้ ไปออนเซน อริมา ที่นับว่า มีชื่อ เสี ย งที่ สุ ด เมือ งเดิ ม แต่ ต่ า งกั น ครั้ ง ก่ อ นใช้ บริการออนเซน ในห้องไปเวท โดยเช่าทั้งหลัง และ อาบน้ำ�ในห้อง ครั้งนี้ใช้ public onsen แต่อยู่ใน โรงแรมใหญ่ ทันสมัยและสวยงาม ที่นี่ได้ประชุม ร่วมกับสโมสรโรตารี โกเบ อะรีมา ที่มีสมาชิกส่วน ใหญ่สูงวัย สุภาพเรียบร้อยมาก มีจำ�นวนสมาชิก เพียง 18 คน สุภาพบุรุษล้วน ที่โอซากาครั้งก่อนใช้เวลาที่ universal studio แต่คราวนี้ไปวัดและไป aquarium ครั้งก่อน ได้รับการต้อนรับที่ภัตาคารชั้นเลิศในกรุงโกเบ ได้ ชมการเลี้ยงวัวโกเบและลิ้มลองเนื้อโกเบ ที่มีคน บอกว่า “ละลายเพียงอมในปาก” ครัง้ นีม้ ปี าร์ตีเ้ ลีย้ ง ส่งบน Grill room ของโรงแรม International Nikko Airport มีการสั่ง lobster ตัวโต เนื้อโกเบชั้นยอด ไวน์ชั้นดี มาให้รับประทาน ราคาทั้งอาหารและ ที่พัก ไม่ต้องถามกัน “กลัวเป็นลม” ทั้งหมดนี้เป็น ผลลัพธ์จากคำ�ว่า “มิตรภาพ” ทั้งสิ้น ถึงบางอ้อว่า เหตุใดโรตารีจึงให้ความสำ�คัญกับคำ�ว่า “มิตรภาพ” มากมายเหลือเกิน สิ่งที่พบล้วนแล้วแต่เป็นคำ�ตอบ เมื่อเพื่อนโรแทเรียนทราบว่าดิฉันเดินทางไปญี่ปุ่น ต่างก็ปลีกตัวจากงานมาให้บริการนับเป็นน้�ำ ใจของ โรแทเรียนอย่างแท้จริง การต้อนรับครั้งนี้ต้องเรียก ว่า “ชั้นหนึ่ง” เราพักโรงแรมชั้นดี ห้องเดี่ยว เตียง คู่หรือเตียงกว้าง ห้องญี่ปุ่นแท้ สามวันสามโรงแรม อาหารแต่ละมื้อบนชั้นสูงสุดของโรงแรม ไม่ได้เดิน เพราะมีรถแวนชั้นดีมารับ 2-3 คัน เรียกว่าวิ่งเป็น ขบวน เพื่อนในกลุ่มถามว่า “ต้อนรับกันอย่างนี้ เชียวหรือ???” ฝากรูปมาให้ดเู ป็นของขวัญเดือนตุลา ตัง้ ใจ จะถ่ายรูปให้ตรงกับวันที่ 10 ต.ค. และให้คำ�บรรยาย ว่า “เพื่อนสนิทต่างแดน” ทุกกิจกรรมเกิดระหว่าง วันที่ 6-11 ต.ค. 2552 เป็นกิจกรรมเชิงมิตรภาพทั้ง สิ้น

ตุลาคม ๒๕๕๒


หนึ่ง ใน ๑๐๐

อน.จันทนี เทียนวิจิตร สโมสรโรตารี ล้านนา เชียงใหม่

“ผมจะอยู่ในที่ที่มีความสุข ถ้าไม่มีความสุขผมก็จะไม่อยู่

และไปอยู่ที่ไหนผมก็จะช่วยผู้คนในที่ๆ ผมอาศัยอยู่ เมื่อเรา เกิดมาในครอบครัวที่ดี มีการศึกษา มีโอกาสเราก็ควรจะช่วย สังคม นอกจากความสุขสิ่งไหนที่เราช่วยเหลือเขาได้เราก็จะ ช่วย” เป็นช่วงหนึ่งของบทสนทนาในฉบับนี้

บทสัมภาษณ์

ตุลาคม ๒๕๕๒

เคานท์ เจอร์ร 30 31


คอลัมน์ ๑ ในร้อยฉบับนี้จะพามิตรโรแทเรียนไป พบกับ ผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมอาชีพคนหนึ่ง ที่จังหวัด เชียงราย เพือ่ ให้สอดคล้องกับเดือนแห่งการบริการด้านอาชีพ ของโรตารีสากล เรานัดพบกับคุณเจอร์รี่ หรือ ชื่อเต็มๆ ว่า เคานท์ เจอร์รัล วาน เดอ สตราเทน พอนทอส (Count Gerald van der Straten Ponthoz) ที่อุทยานสามเหลี่ยม ทองคำ� ในวันประชุมสัมมนาสมาชิกภาพของภาค 3360 เจอร์รี่ เกิดที่ประเทศเบลเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1966 เดิน ทางไปตามสถานที่ ต่ า งๆ มากมายทั่ วโลก ก่ อ นที่ จ ะมา ประเทศไทยเมือ่ 8 ปีทีแ่ ล้วและเลือกอำ�เภอแม่จน ั จ.เชียงราย เป็นเสมือนบ้านหลังทีส่ องและใช้บา้ นหลังนีใ้ นการสร้างสรรค์ โครงการต่างๆ ที่เป็นงานการกุศลเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ชาว เขาที่ด้อยโอกาส ให้มีอนาคตอันสดใส เคานท์เจอร์รัล ศึกษาทางด้านธุรกิจการเงินจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และโรงเรียนธุรกิจอินสีด และไม่มี ธุ ร กิ จใดๆ ในประเทศไทย ครอบครั ว ทางฝั่ ง บิ ด าเป็ น ครอบครัวที่มีเชื้อสายขุนนางชั้นสูงที่เก่าแก่ ได้ลงทุนในการ ทำ�ธุรกิจและเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจเครื่องดื่มชั้นนำ�ครอบคลุม ทั่วโลก เชื้อสายฝั่งมารดานั้นเป็นศิลปิน เคานท์เจอร์รัล ยัง เป็นผู้สืบเชื้อสายจากตระกูลโรแล็งค์ ผ่านทางด้านคุณย่า แมดเดอลีน โรแล็งค์ ที่มีกำ�เนิดจากเจ้าพระยาอภัยราชา สยามมานุกูลกิจ (กุสต๊าฟ โรแล็งค์-จาร์คแม็งค์) ผู้ซึ่งเป็นที่ ปรึ ก ษาราชการแผ่ น ดิ น ส่ ว นพระองค์ ใ นรั ช สมั ย พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เป็นเวลานานถึง 10 ปี นอกเหนือจากประเทศเบลเยี่ยมและประเทศไทยแล้ว เคานท์ เจอร์รลั เคยอาศัยอยูใ่ นประเทศสหรัฐอเมริกา, อินเดีย, สเปน ทำ�ให้สามารถใช้ภาษาได้ถึง 5 ภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย เราก็ได้รู้จักคุณเจอร์รี่ กันไปพอสังเขปแล้ว ต่อไป นีก้ จ็ ะเจาะลึกถึงบทบาทการส่งเสริมอาชีพและผลงานของคุณ เจอร์รี่กันบ้าง ช่วงบ่ายขณะที่ฝนกำ�ลังตกหนัก เรานั่งพูดคุยกับ เจอรี่ ภายใต้โถงโล่งของอาคารโรงแรม บรรยากาศรอบตัว เขียวชอุม่ มีละอองฝนโปรยปรายเข้ามาเป็นระยะๆ บก.วาณิช รับหน้าที่เป็นช่างภาพอีกตามเคย (หวังว่าฉบับนี้ภาพคงไม่ อันตรธานหายไปเหมือนฉบับที่แล้วนะคะ) ๑ ในร้อย : สวัสดีคะ่ คุณเจอร์รี่ ทราบว่าคุณเจอร์รี่ มีโครงการ ส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนในจังหวัดเชียงรายหลายโครงการ มีอะไรบ้างคะ เจอร์รี่ : โครงการที่เราทำ�เป็นโครงการที่ยังไม่เคยมีใครทำ� เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับดนตรี กีฬา และศิลปะ นอกจาก นี้เราก็ให้ทุนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยด้วย โครงการ ดนตรีก็คือโครงการไวโอลินและที่ไม่ใช่ไวโอลิน ก็คือโครงการ ฟุตบอล ส่วนโครงการอื่นๆ ผมจำ�ไม่ค่อยได้ ต้องไปดูใน

เว็บไซต์ (หัวเราะ) แล้วก็มีโครงการสถานีวิทยุ มันเป็นการ สร้างอาชีพนะ เดี๋ยวจะพูดรายละเอียดให้ฟัง ๑ ในร้อย : เป้าหมายของคนที่คุณเจอร์รี่ ส่งเสริมอยู่เป็น กลุ่มไหนคะ เจอร์รี่ : กลุ่มที่เราสนใจเป็นคนจน และแน่นอน 80-90 % ในกลุ่มที่เราช่วยเป็นชาวเขา เพราะชาวเขาเป็นคนที่จนที่สุด และเป็นชาวเขาในจังหวัดเชียงราย ๑ ในร้อย : ทำ�มานานหรือยังคะ เจอร์รี่ : ประมาณ 6 ปี เริ่มแรกเราสร้างบ้านอินทรีย์ก่อน ประมาณสองปี หลังจากนั้นเราถึงมาทำ�โครงการพิเศษ ๑ ในร้อย : โครงการไหนที่คิดว่าประสบความสำ�เร็จ เจอร์รี่ : โครงการเซรามิค ทำ�ไมถึงเริ่มจากโครงการนี้ ต้อง รู้ประวัตินิดหน่อย เมื่อสักประมาณ 6 ปีที่แล้วหลังจากสร้าง บ้านอินทรีย์เสร็จ เราใช้บ้านให้เป็นประโยชน์ โดยการจัด นิทรรศการภาพวาด ศิลปินจากประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็น ภาพวาดเกี่ยวกับประเทศไทย จากจินตนาการของศิลปิน ล้วนๆ โดยที่ไม่เคยมาประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มแรกที่ ทำ�ให้ผมรู้จักโรตารีด้วย เราได้ติดต่อกับสโมสรโรตารีแม่จัน เพื่อมาร่วมกันจัดนิทรรศการ ตอนนั้นผมยังไม่ใช่โรแทเรียน หลังจากนิทรรศการภาพวาด เราเริ่มมีการติดต่อกับโรงเรียน ศึกษาสงเคราะห์แม่จัน และพบกับความประหลาดใจ เพราะ ไม่เคยคิดว่าจะมีห้องศิลปะที่ดีและมีคุณค่าที่โรงเรียนแห่งนี้ อันนี้ทำ�ให้เราตัดสินใจช่วยโรงเรียนนี้ทางด้านศิลปะ โดยเชิญ ศิลปินจากประเทศฝรั่งเศส มาสอนเทคนิคพิเศษ การเคลือบ สีเซรามิค เขาไม่ได้มาสอนการปัน ้ เซรามิคแต่มาสอนเทคนิค การเคลือบสีเซรามิคให้เหมือนโลหะ เป็นเทคนิคที่ทำ�ให้ เซรามิคดูคล้ายเป็นโลหะ แต่ไม่เหมือนตรงที่จะแตกหักง่าย ๑ ในร้อย : เคยซื้อเซรามิคผลงานของเยาวชนกลุ่มนี้เมื่อ สองปีที่แล้ว สวยดีค่ะ สีดำ�ๆ ทองๆ แต่เมื่อเอากลับไปถึง บ้านก็แตกร้าวเพราะไม่ได้ระวังเท่าที่ควร อยากจะให้เน้น แพ็คเก็จจิ้งด้วย เจอร์รี่ : เคยมีคนซื้อรูปปัน ้ ตุ๊กตาไป คิดว่าเป็นโลหะก็ทำ�แตก ตอนนี้เราได้เน้นการแพ็คเก็จจิ้งและระมัดระวังการขนย้าย โดยทำ�กล่องพิเศษ ที่ คิ ด ว่ าโครงการนี้ ป ระสบความสำ � เร็ จ เพราะเราเริ่มจากนักเรียน 12 คน แต่มีแค่สองสามคนที่ ประสบความสำ�เร็จ เราจะช่วยคนที่แข็งแรง คนสุดท้ายที่ชื่อ วินัย จัดแสดงนิทรรศการ ทำ�เป็นอาชีพและประสบความ สำ�เร็จ เคยเปิดร้านที่ไนท์บาซาร์ ตอนนี้ไปจัดนิทรรศการที่ โรงแรมในภูเก็ต มีรายได้ดี เขาทำ�งานที่มีคุณค่าและมีราคา เป้าหมายของเราคือให้ความรู้และพัฒนาคน ให้ชีวิตของคน ที่แข็งแรงดีขึ้น โดยการให้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อทำ�ให้ ชีวิตของเขาดีขึ้น ๑ ในร้อย : คือช่วยใครแล้วก็ต้องให้เห็นผลด้วย ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของเขา

รัล วาน เดอ สตราเทน พอนทอส 31 30

ตุลาคม ๒๕๕๒


หนึ่ง ใน ๑๐๐

บก. วาณิช ได้เสร็จสิ้นจากการบันทึกภาพและเข้าร่วมวง สนทนา บก.วานิช : ในขณะเดียวกันคนที่เราช่วย ก็ต้องมีพรสวรรค์ ด้วย เจอร์รี่ : ใช่ต้องมี talent และเมื่อเขาช่วยเหลือตัวเองได้ เขา ก็สามารถช่วยคนในครอบครัวเขาได้อีกหลายๆ คน และเขา ก็ต้องจ้างพนักงาน จากคนหนึ่งคนก็ขยายเป็นหลายๆ คน และพนักงานก็ต้องไปช่วยเหลือครอบครัวเขา ๑ ในร้อย : โครงการต่อไปก็เป็นโครงการดนตรีใช่ไหมคะ เจอร์รี่ : ใช่เป็นโครงการไวโอลิน ผมอยากย้อนคุยเกี่ยวกับ อดีตนิดหน่อย ตอนแรกๆ มีคนบอกว่า ทำ�ไมเจอร์รี่ต้องเสีย เงินเยอะอย่างงี้ ให้ชาวเขา ทำ�ไมไม่ซื้อเครื่องดนตรีไปแจก มีคนไม่เห็นด้วยที่จะสอนไวโอลินให้ชาวเขา เขาคิดว่าคนที่มี สิทธิ์เล่นไวโอลินคือคนเมืองที่มีระดับ เราเลยตัดสินใจเชิญ นักไวโอลิน จากประเทศเบลเยี่ยมมาสอนเด็กๆ ชาวเขา เป้า หมายคือ ช่วยคนจนทำ�ให้เขามีรายได้นอกเหนือจากความรู้ จริงๆ แล้วก็มีหลายคนที่คิดว่า เซรามิค ไวโอลิน สถานีวิทยุ ไม่เหมาะกับชาวเขา ชาวเขาควรจะไปซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซึ่ง ผมไม่เห็นด้วย เราทำ�โครงการไวโอลินนี้ประสบความสำ�เร็จ มาก วงไวโอลินชาวเขา เล่นแล้วมีเสน่ห์มากเพราะแต่งชุด ชาวเขา ตามโรงแรมต่างๆ เมื่อจะเลือกให้มีดนตรีไวโอลินเขา จะเลือกวงไวโอลินชาวเขาไปแสดง ทำ�ไม พวกเขาอาจจะเล่น เก่งน้อยกว่าคนกรุงเทพหรือคนเชียงใหม่ แต่มีเสน่ห์มากกว่า เยอะ เนื่องจากเราสร้างโครงการแบบนี้ เดี๋ยวนี้เด็กๆในวงนี้ มีเงินฝากในธนาคาร สามสี่หมื่นบาท ซึ่งเป็นเงินที่เยอะ สำ�หรับเขา เวลาเด็กไปแสดง ไม่ว่าจะที่ไหนแม้แต่โรตารีก็จะ ต้องจ่ายให้เขา เพราะทุกคนต้องใช้เงินในการดำ �รงชีวิต สำ�หรับโรตารีอาจจะมีราคาพิเศษแต่ต้องจ่าย เพราะถ้าเราจะ ช่วยเขาต้องช่วยทั้งให้ความรู้และพัฒนาชีวิต ๑ ในร้อย : นอกเหนือจากในเชียงรายแล้วไปแสดงที่ไหน บ้างคะ เจอร์รี่ : ไปเล่นที่ศาลาเฉลิมกรุง กรุงเทพ และได้แสดงที่โรง พยาบาลเมื่อคราวที่ในหลวงทรงพระประชวรคราวก่อน เล่น ออกทีวีด้วย บก.วาณิช : แสดงให้เห็นว่าคนทุกคนสามารถพัฒนาตนเอง ได้ เหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหน ขอให้มีคนส่ง เสริม ขอให้มีโอกาส ทุกคนทำ�ได้ ๑ ในร้อย : ที่คุณเจอร์รี่พูดมา ดิฉันก็เคยดูดนตรีมาแล้ว เซรามิคก็เคยเป็นลูกค้ามาแล้ว มายากลก็เคยไปดูมาแล้วขอ ช่วยเล่าถึงการแสดงมายากล ให้ฟังหน่อยค่ะ เจอร์รี่ : ได้ไปขอมายากลมาจากประเทศเบลเยี่ยม มีเป้า หมายเพือ่ ให้ชวี ติ ของคนในกลุม่ ชาวเขานีด้ ขี ึน ้ ให้เขามีอาชีพ และรายได้ นีค่ อื เป้าหมายหลัก เราจัดการแสดงนีใ้ นงานกาลา ดินเนอร์ที่บ้านอินทรีย์และที่เชียงใหม่ หลังจากนั้นบางคนใน กลุ่มนี้ก็ไปเล่นในโรงแรม ซึ่งแขกที่โรงแรมหมุนเวียนตลอด ทำ�ให้แสดงได้เรื่อยๆ ต้องคิดว่านักมายากลหนึ่งคนไปเล่นจะ มีรายได้ชั่วโมงละ 500 บาท ความสำ�เร็จอยู่ที่ความรู้ ความ สามารถของเด็ก โดยในโครงการนี้ เราก็ต้องช่วยติดต่อหา

ตุลาคม ๒๕๕๒

ตลาดทีเ่ รารูจ้ กั ให้เด็ก แล้วมายากลก็เป็นโชว์ทีน ่ า่ รักมาก ราย ได้อาจจะไม่สูงแต่ก็มี ในกรณีของเซรามิคเป็นรายได้หลักแต่ มายากลเป็นรายได้เสริม บก.วาณิช : คุณเจอร์รี่จะเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และ ทำ�แล้วสามารถวัดผลได้ เจอร์รี่ : ใช่ครับ ๑ ในร้อย : จะมีโครงการอะไรอีกบ้างในอนาคต เจอร์รี่ : โครงการสถานีวิทยุเริ่มแล้ว แต่ฟุตบอลยังไม่เป็น ทางการ โครงการวิทยุน่าสนใจมาก ตอนนี้มีสตูดิโอที่สวย มากที่ บ้ า นอิ น ทรี ย์ มี ทุ ก อย่ า งที่ ค วรจะมี ถึ ง แม้ จ ะเป็ น โครงการใหม่แต่เราให้อุปกรณ์ที่ดี เครื่องมือที่ดี เราให้เต็มที่ เราจะให้เด็กมาทำ�รายการ เด็กจะไม่มีความรู้ แน่นอนเรา ต้องสอน เป็นสถานีวิทยุสำ�หรับวัยรุ่น ส่วนใหญ่เป็นเด็กๆ ที่มาจากครอบครัวที่จน แล้วเราให้โอกาสที่ดีมากแก่เขา ๑ ในร้อย : เราเป็นคนหาคลื่นให้เขาด้วย เจอร์รี่ : เรามีใบอนุญาตเรียบร้อยแล้วคลื่น FM 94 อีกสอง อาทิตย์ ก็จะออกอากาศทั่วโลกผ่านทางอินเตอร์เน็ต บก.วาณิช : จะเป็นสถานีโทรทัศน์ด้วยหรือเปล่า เจอร์รี่ : เรามีเว็บแคม บก.วาณิช : คงจะมีโอกาสเอาวงไวโอลินมาเล่นออกอากาศ ไปทั่วโลก คือมีการแสดงดนตรี มีการแสดงมายากล มีงาน ศิลปะ สิ่งเหล่านี้เป็นเนื้อหา ที่สามารถนำ�มาบรรจุในรายการ เพื่อออกอากาศประชาสัมพันธ์ไปทั่วโลก เจอร์รี่ : เรามีทุกอย่างพร้อมแต่ยังไม่ออกอากาศ ๑ ในร้อย : กว่าหนังสือจะออก(เดือนตุลาคม) เราก็ออก อากาศได้แล้วใช่ไหมคะ เจอร์รี่ : ใช่ครับ ๑ ในร้อย : เรามีรายการ ใครเป็นคนคิดรายการ เจอร์รี่ : เราคิดถึงการเพิ่มมูลค่า (Value Added) สถานีวิทยุ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสร้างอาชีพอีกหลายอย่าง เช่น ดีเจ, Journalist, Outdoor Broadcasting(ผู้ดำ�เนินรายการนอกส ถานที่), วีดีโอดีเจ จะมีการเรียนรู้อาชีพใหม่ๆ นอกจากนี้ พวกเขาจะเรีย นรู้ก ารจัด การทุก อย่า ง มีบัญชี มีต าราง รายการ มีผู้จัดการสถานี มีการตัดต่อรายการ อันนี้ก็มีการ สร้างอาชีพอีกเยอะเลย บก.วาณิช : มีทั้งการแต่งเพลง Music Composer เจอร์รี่ : อันนี้คือ value added ซึ่งจะไม่รับโฆษณา แน่นอน เราจะต้องสร้างรายได้ทีจ่ ะทำ�ให้สถานีวิทยุอยูไ่ ด้ ต้องมีเครื่อง มือที่สร้างรายได้ การหารายได้ปกติต้องมีโฆษณา แต่เราจะ ให้พวกเขาคิดกว้าง เพือ่ สามารถทีจ่ ะมีรายได้โดยไม่มโี ฆษณา คนที่เคยไปโรงเรียนธุรกิจจะคิดกว้างกว่า รู้วิธีที่จะหารายได้ โดยไม่มีโฆษณา เราหวังว่าสถานีวิทยุจะสามารถสร้างเป็น อาชีพจริงๆ ได้ ๑ ในร้อย : ที่ผ่านมาทุกโครงการใช้เงินของมูลนิธิฯ? เจอร์รี่ : ใช้เงินส่วนตัว มูลนิธิจะอยู่ข้างหลัง เงินของมูลนิธิ จะให้เด็กเรียนในระดับมหาวิทยาลัย โครงการพิเศษออกจาก กระเป๋าพิเศษ (หัวเราะ) ๑ ในร้อย : เด็กที่เรียนด้วยทุนการศึกษาเรียนที่ไหนบ้าง

33 32


เจอร์รี่ : เรียนที่ม.ราชภัฎเชียงราย ๑ ในร้อย : มีแรงบันดาลใจอะไรที่ทำ�ให้มาทำ�โครงการที่ เชียงราย เพราะเห็นว่าไปมาทั่วโลกแล้ว เจอร์รี่ : ผมอยู่ที่นี่ หนึ่งเป็นเรื่องบังเอิญ สองไม่ต้องคิดว่า ผมช่วยแค่คนเชียงราย ผมก็ช่วยที่ประเทศของผมด้วย แต่ เดี๋ยวนี้ผมอยู่ที่เชียงรายก็ช่วยคนที่อยู่รอบๆ ผม ทำ�ไมผมถึง มาช่วยที่นี่ เพราะกลุ่มที่เราตัดสินใจช่วย เป็นกลุ่มคนที่น่า สนใจคือ เป็นกลุ่มที่มีความสามารถแต่ขาดโอกาส การที่เรา ทำ�ให้คนที่มีชีวิตแบบนี้ได้พัฒนา ทำ�ให้เรามีความสุข เมื่อ เรามีความสุขเราก็ยังอยู่ ถ้าไม่มีความสุขผมก็จะไม่อยู่ และ เมื่อเราเกิดในครอบครัวที่มีระดับ มีการศึกษาสูง เราก็ควร จะช่วยสังคม นอกจากความสุขสิ่งไหนที่เราได้ช่วยเหลือเขา เราก็จะช่วย ๑ ในร้อย : เรื่องกีฬาเป็นอย่างไรบ้างคะ เจอร์รี่ : เราสร้างสโมสรฟุตบอลใหม่ ชื่อสโมสรเชียงรายฮิลล์ หรือเชียงรายภูเขา เราตัดสินใจตั้งสโมสรเพราะมีเด็กชาวเขา สองคนมาคุยกับผมว่าอยากจะมีสโมสรของเรา เนื่องจากเขา พูดแบบดีฉลาดเราก็ตัดสินใจช่วย เราไม่ได้เทียบสโมสรเชียง รายฮิลล์ กับสโมสรเชียงรายยูไนเต็ด เป้าหมายคือระดับกลาง ระดับจังหวัด แล้วสร้างความภูมิใจในกลุ่มชาวเขา ให้เข้าใจ ว่าถ้าตั้งใจทำ�จริงๆ แล้วเราให้โอกาสทุกคนทำ�ได้ โอกาสที่ให้ คือ เราลงทุน มีอุปกรณ์ มีชุดนักกีฬา มีรถยนต์ มีโค้ชมา ฝึกสอน โดยเฉพาะได้โค้ชจากเชียงรายยูไนเต็ดที่มาช่วย ผม ต้องขอบคุณที่มาช่วยสโมสรเรา แล้วเราก็จะสร้างสนาม ฟุตบอลใหม่ ตอนนีซ ้ ือ้ ทีด่ น ิ แล้ว เรามีโค้ชมาจากออสเตรเลีย ที่มีใบฟีฟ่าระดับสูงด้วย เราจะให้เขารู้สึกว่าสโมสรเชียงราย ฮิลล์เป็นสโมสรของเขา เราไม่ได้ให้เขาเล่นฟุตบอลอย่างเดียว แต่สอนให้เขาทำ�บัญชี เป็นเลขา เป็นนักประชาสัมพันธ์ มี หัวหน้า มีการจัดการ โดยไม่มีผู้ใหญ่แต่ให้เขาดูแลกันเอง เราไม่เอาคนทีม่ ปี ระสบการณ์แต่เอาคนทีต่ อ้ งการพัฒนา เพือ่ ให้เขาขึ้นไปถึงระดับกลาง ๑ ในร้อย : จะหารายได้จากไหน เจอร์รี่ : ปัญหาของฟุตบอล รายได้จะหายาก โรตารีเป็น องค์กรที่ช่วยได้ และจะมีส่วนที่ช่วยได้มากในทุกเรื่อง ถ้า โรแทเรียนสนใจที่จะไปดูฟุตบอลเชียงรายฮิลล์ และช่วย ประชาสัมพันธ์ ก็จะช่วยให้คนสนใจโครงการแบบนี้ ถ้ามี หลายคนที่ชอบและช่วยจะทำ�ให้เขาอยู่ได้ สองปีแรกอาจจะ ต้องจ่ายเอง แต่ในอนาคตเราก็จะมีธนาคารและหน่วยงาน เอกชนมาช่วยในลักษณะให้ทน ุ การศึกษา คล้ายกับเป็นสปอน เซอร์ บก.วาณิช : เราช่วยสร้างเด็กให้เป็นนักฟุตบอล เมื่อเขาเก่ง แล้วก็สามารถส่งให้สโมสรเชียงรายยูไนเต็ดได้ เจอร์รี่ : ประมาณนั้น เป้าหมายของเราก็คือเอาคนที่อยู่ศูนย์ มายกระดับขึ้น ๑ ในร้อย : ในอนาคตคุณเจอร์รี่มีโครงการอะไรอีกบ้าง เพราะแต่ละโครงการของคุณเจอร์รี่คนไทยไม่ค่อยได้คิดแบบ นี้เท่าไหร่ เจอร์รี่ : มีบางคนบอกว่ากับเจอร์รี่ อะไรมันก็ง่ายเพราะมี

32 33

เงิน ทำ�ให้ผมโกรธ เพราะผมคิดว่ามีเงินอย่างเดียวไม่ได้ต้อง มีความคิดด้วย ซึ่งก็ยังไม่พอต้องเริ่มสู้และขยันด้วย ไม่ใช่ แค่ใช้เงิน หนึ่งต้องสู้กับคนที่ไม่เชื่อกับคุณค่าของโครงการ สองต้องสู้กับเด็กเอง เด็กบางคนถ้าไม่เชื่อเขาจะไม่ขยัน ต้อง ทำ�ให้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ ต้องไปคุยกับเพื่อนๆ ให้ช่วย เมื่อ เขาเชื่อเขาก็จะช่วย ทุกอย่างก็ต้องใช้เวลา วงไวโอลินไปเล่น ที่โรงแรมอนันตราได้ก็ต้องขยันซ้อม ต้องให้กำ�ลังใจเด็กด้วย ว่าเล่นได้ วงของเรามีเสน่ห์กว่า เมื่อคนมาดูวงไวโอลินชาว เขา ทุกคนก็จะถ่ายรูป ถ้าทุกโครงการสำ�เร็จเราก็จะภูมิใจ มาก ๑ ในร้อย : คุณเจอร์รี่ได้ส่งเสริมคน ให้โอกาสคน พวกเรา ขอชืน ่ ชมในทุกโครงการทีม่ คี ณ ุ ค่าและให้ประโยชน์ตอ่ เยาวชน ไม่ว่าจะเป็นชาวเขาหรือชาวเรา บก.วาณิช : และหวังว่าคุณเจอร์รี่ จะมีความสุข ที่ได้มาอยู่ ที่นี่ เจอร์รี่ : โอ้.. ผมมีความสุขมาก (ยิ้ม) การสนทนาได้ยุติลงพร้อมกับฝนที่หยุดตก รอบๆ ตัวบรรยากาศสดชื่นและเขียวขจี สายฝนคงทำ�ให้พืชพรรณ งอกงาม ผลิดอกออกผล เช่นเดียวกับโครงการต่างๆ ของ บ้านอินทรีย์ ที่กำ�ลังรดน้ำ� พรวนดินวางรากฐานให้เด็กๆ ที่ ครั้งหนึ่งเป็นเพียงกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส ให้เจริญเติบโตอย่าง มีคณ ุ ภาพ นับจากนีไ้ ป เราทุกคนจากลากันด้วยความสุขจาก การได้พูดคุยกัน และเต็มไปด้วยความหวังกับ อนาคต ของ เด็กๆ เหล่านั้น และขอใช้โอกาสนี้พูดแทนเด็กๆ ทุกคนว่า “ขอบคุณ คุณเจอร์รี่” และท้ายที่สุด “ขอบคุณ โรตารี” สวัสดีค่ะ

ตุลาคม ๒๕๕๒


Youth Corner

YE Youth Exchange

รทร.สุนิพิฐ คงเมือง สโมสรโรตารี ล้านนา เชียงใหม่

สวัสดีครับ มวลมิตรโรแทเรียน ที่รักทุกท่าน และน้องๆ เยาวชน ทุกคน โดยเฉพาะน้องๆ YE rotaryเดือนนี้ถือ ว่าเป็นเดือนที่เยาวชนแลกเปลี่ยนทุก คน เข้าสู่อ้อมกอดของครอบครัวใหม่ และได้ปรับตัวได้ระดับหนึ่งแล้ว จะมาก น้อยเพียงใดก็อยู่ที่ทั้งครอบครัว และตัว น้องๆ เอง สารฉบับนี้ให้ความสำ�คัญกับ YE เป็นพิเศษ เพราะฉะนัน ้ เล่มนีใ้ นนาม มุ ม เยาวชน ก็ ข อพู ด ถึ ง เยาวชนแลก เปลี่ยนโรตารี ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น เยาวชนแลก เปลี่ ย นฯ ที่ พึ่ ง ประกาศผลไป สดๆ หมาดๆ ได้ไม่นานนี้ กว่าจะมาถึงจุดนี้ ไม่ง่ายเลย ใช่ว่ามีทุนพอก็จะไปได้แต่ เราต้ อ งผ่ า นการทดสอบอะไรหลายๆ อย่างเบื้องต้น เพื่อที่จะเป็นเยาวชนที่มี คุณภาพ,ความพร้อม ฉนั้นจงภูมิใจกับ โอกาสนี้ และทำ�หน้าทีข่ องนักเรียนแลก เปลี่ยนให้ดีที่สุด สำ�หรับน้องๆ YE ทั้งที่กำ�ลังจะ ไป, กลับมาแล้ว หรือทีก่ �ำ ลังอยูต่ า่ งแดน เพื่อให้ชีวิตการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน โรตารี นั้นมีคุณค่า.... พี่ก็ขอฝากสิ่งที่ เราพึงระลึกเสมอ ตลอดระยะเวลา 1 ปี นี้ จงปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางโรตารี ได้กำ�หนดไว้อย่างเคร่งครัด ใช้ทุกช่วง เวลาให้มีค่า เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ใน การเรียนรู้ในห้องเรียน, ชีวิตประจำ�วัน ให้มาก...จงมีบทบาทเป็นทูตวัฒนธรรม, ทูตสันถวไมตรีของประเทศไทย แสดง ศักยภาพของตน ให้ประจักษ์แก่ชาวโลก แ ล ะ ที่ สำ � คั ญ . . นำ � ค ว า ม รู้ แ ล ะ ประสบการณ์ กลับมาพัฒนาประเทศ ของเราให้ได้

กิน ได้หายใจ อยู่ถึงวันนี้ล้วนแล้วแต่ เกิดขึ้นมาจากผืนแผ่นดินบ้านเกิดทั้ง นั้ น ฉนั้ น เมื่ อ เรามี โ อกาสเราควรจะ ตอบแทนคุณแผ่นดิน ศึกษาเรียนรู้กลับ มาเพื่อคิดที่จะให้มากกว่าที่จะได้ อะไร จากประเทศ ก็ขอฝากไว้นะครับ… นานแล้วไม่ได้มาอัพเดทเรื่อง “IT” กันเลยฉบับนีข้ อนำ�มาเผยแพร่ สัก 3 อย่าก็แล้วกันนะครับ เชื่อว่าตรงและ ได้ ใ ช้ จ ริ ง กั บ น้ อ งๆ และผู้ ป กครอง แน่นอน เทคโนโลยี ที่ ทำ �ให้ ระยะทาง ไม่ใช่อุปสรรค์ ของการติดต่อสื่อและส่ง ความรู้สึกคิดถึงห่วงใยต่อกันอีกต่อไป…

1. Facebook (เฟสบุ๊ก) www. facebook.com คือ เว็บไซด์ Social network แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งถ้าในต่าง ประเทศความยิ่งใหญ่มันถือว่าอาจจะ ใหญ่ ก ว่ า Hi5 เสี ย อี ก ที่ ม าคร่ า วๆ เจ้าของเว็บไซด์นี้ ยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่ เลยชื่อ Mark Zuckerburg เว็บไซด์เปิด ตัว 4 กุมภาพันธ์ 2548 ปัจจุบัน จำ�นวน ผู้ใช้กำ�ลังจะแตะหลัก 250 ล้านผู้ใช้แล้ว เฟสบุ๊ก ใช้งานคล้ายกับ hi5 แต่จะลด ส่วนการตกแต่งลงเน้นการใช้งานที่มีกา รอัพรูปภาพ วีดีโอ กระดานสนทนา ข้อความและส่งข้อความทักทาย เพือ่ นๆ มี ร ะบบแชทในตั ว และยั ง มี มุ ม ผ่ อ น คลายสำ�หรับเล่นเกมส์และทำ�ควิซต่างๆ ก็คือสำ�นึกรักบ้านเกิดนั่นเอง ในเฟสบุ๊ ก ซึ่ ง ช่ ว งปลายปี 2552 นี้ เพราะ ที่ๆให้เราได้ดำ�รงชีวิต ได้ดื่ม ได้ จำ�นวนผู้ใช้เฟสบุ๊กในไทยกำ�ลังเพิ่มขึ้น

ตุลาคม ๒๕๕๒

34 35


จนจะเทียบกัน hi5 ได้แล้ว โอ้โห อะไรจะปานนั้น อังกฤษแต่ใช้งานง่ายดีกว่า Windows Messenger ข้อดีของเฟสบุ๊ก คือ เป็นเหมือนกระดานสนทนา และส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้เร็วกว่า e-mail เล็กๆ ที่ใช้ส่งความ รูปภาพถึงกัน ตอนนี้เชื่อได้เลย ว่า ทุกท่านคงสมัครกันไว้เรียบร้อย... เราจะหาโปรแกรมได้ที่ 2. Twitter (ทวิตเตอร์) www.twitter.com คุ้นๆ หูกันน่าดูใช่มั้ยครับ เจ้าทวิตเตอร์ มารู้จักมัน คร่าวๆ กันดีกว่าครับ ทวิตเตอร์ (Twitter) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog สั้นหรือที่ภาษาอังกฤษ เรี ย กกั น ว่ า Micro-Blog ซึ่ ง สามารถให้ ผู้ ใ ช้ ส่ ง ข้อความของตนเองให้เพือ่ นๆทีต่ ดิ ตาม twitter ของ เราอยูอ่ า่ นได้และเราเองก็สามารถอ่านข้อความของ เพื่อน หรือคนที่เราติดตามเค้าอยู่ได้ ซึ่ง twitter ก็ ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท social Media ด้วย เช่นกัน ในรูปแบบของ twitter นี้ที่เรียกว่าเป็น blog สั้นก็เพราะว่า twitter ให้เขียนข้อความได้ ครัง้ ละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึง่ ข้อความนีเ้ มือ่ เขียน แล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า profile ของผู้เขียน นั่นเองและจะทำ�การส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ สาเหตุสำ�คัญที่ twitter นั้นฮิตไปทั่วโลก ก็ เพราะว่ามีเครือ่ งมือทีอ่ ำ�นวยความสะดวกให้ผูเ้ ขียน สามารถอัพเดทหรือเขียนข้อความ (Tweet) จาก ที่ไหนก็ได้ ตั้งแต่หน้าเว็บไซต์ บนโปรแกรมที่ติดตั้ง ลงบนเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ หรื อ แม้ ก ระทั่ ง บน โทรศัพท์มอื ถือ จึงทำ�ให้ผูเ้ ขียน twitter นัน ้ สามารถ อัพเดทได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

35 34

3. Skype คือ Software สำ�หรับใช้งาน โทรศัพท์ผา่ นระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากบริการคุย โทรศัพท์ผา่ นทางระบบอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีบริการ ส่งไฟล์ขอ้ มูล Chat ประชุมพร้อมกัน 5 คนและอืน ่ ๆ อีกมาก แต่จุดประสงค์ที่แนะนำ�เพื่อให้ใช้ในการ ติดต่อโทรศัพท์ทางไกลแบบไม่เสียเงิน (เสียแต่ค่า ชั่วโมงอินเตอร์เน็ตหรือค่าโทรศัพท์ 3 บาทเท่านั้น) เป็นโปรแกรมของประเทศอเมริกา จึงมีแต่ภาษา

http://www.skype.com/download อุปกรณ์ที่จำ�เป็นต้องใช้ 1. ไมค์ (Microphone) 2. ลำ�โพง หรือ หูฟัง 3. เว็บแคม (Webcam) อันนี้มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ 4. Internet การใช้งานครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อน เมื่อเปิดโปรแกรม ให้เลือก Don’t have a Skype name? จะปรากฏหน้าจอให้ลงทะเบียน 1. ที่ช่อง choose Skype name พิมพ์ ชื่อผู้ใช้เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดไม่น้อยกว่า 6 ตัวอักษร แต่ไม่เกิน 32 ตัวอักษร 2. password ควรเป็นคำ�ที่เดาได้ยาก และไม่ซ้ำ�กับคนอื่น 3. e-mail address จะต้องใส่ให้ถูกต้องและจะต้องมีจริงใน ระบบอินเตอร์เน็ต 4. คลิ๊กที่กล่องสี่เหลี่ยมหน้า Yes, I have read and accept the… 5. คลิ๊กที่ Sign In 6. ป้อนชื่อเต็ม ที่อยู่ next Skype test call ครั้งแรกที่ Sign in จะมี Contact ชื่อ Skype test call เมื่ อ ดั บ เบิ ล คลิ๊ ก จะได้ ยิ น เสี ย งผู้ ห ญิ ง พู ด เป็ น ภาษา อังกฤษ เมือ่ เธอพูดจบให้เราทดลองพูดใส่ไมค์ ถ้าได้ยน ิ เสียง ตอบแสดงว่าใช้ได้แล้ว My Profile ที่ปุ่ม edit my profile ใช้สำ�หรับกรอกข้อมูลส่วนตัว และ รูปภาพ แสดงให้กับคู่สนทนา สามารถแก้ไขได้ Add contract ใช้เพิ่มชื่อเพื่อนสนทนา ป้อนชื่อ skype name หรือ e-mail address ของเพื่อนแล้วคลิก search คลิ๊กที่ Add selected contact เพื่อร้องของไปยัง contact ที่เรา Add โทรออก รับสาย วางสาย เปิดโปรแกรม Skype เลือกที่ tab ชื่อ contacts คลิ๊กที่ชื่อ คนที่จะพูดด้วย คลิ๊กที่รูปโทรศัพท์ตั้ง ถ้าหยุดพูดก็คลิ๊กที่ โทรศัพท์รูปคว่ำ�

มากับแบบ อิ่มๆ เลยนะครับฉบับนี้ เป็นแพคเกจ สำ�หรับ YE โดยเฉพาะ ฉบับหน้าเตรียมพบกับ เนื้อหาดีๆ เกี่ยวกับ “ผู้นำ�” นะครับ ฉบับนี้ ฝากน้องๆ เยาวชนด้วยนะครับ “อนาคตของชาติ ก็อยู่ในมือเยาวชน เช่นกัน”

ตุลาคม ๒๕๕๒


เอกพาแอ่ว

“งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ สโมสรโรตารีหางดง

ในฉบับนี้ “เอกพาแอ่ว” ได้รับการตอบรับที่ดี มีผู้อ่านให้กำ�ลังใจมากมาย ก็ขอ ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และครั้งนี้เนื่องจาก เรากำ�ลังจะจัดงาน RYLA ที่เชียงใหม่ พื้นที่ที่เราเลือกนั้นคือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำ�เภอสันทราย ที่มีอายุ 75 ปี จึงใคร่อยาก จะแนะนำ�มหาวิทยาลัยที่ครั้งหนึ่งได้รับการประสิทธิประสาทวิชาให้ผู้เขียนด้วย การเกษตร ถือเป็นรากฐานของเศรษฐกิจและวัฒนาธรรมของประเทศไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านเกษตรกรรมที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่ง หนึ่งของประเทศไทย ที่เป็นรากฐานของการเกษตรไทย มหาวิทยาลัยเปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 และ ได้พัฒนามาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ประจำ�ภาคเหนือ กระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นสถานศึกษา ขั้นสูงสุดทางการเกษตรของประเทศใน สมัยนั้น ซึ่งมีประวัติที่เล่าขานและเป็นตำ�นานที่ บอกกล่าวมายาวนานถึงเรื่องราวการ บุกเบิกพื้นที่ และการต่อสู้กับงานหนัก เพื่อให้ความ รู้ สติปัญญา ฝึกทักษะ อาชีพ และหล่อหลอมความทรหดอดทนของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุ ผลของงานที่ทำ� ท่ามกลางภยันตรายที่รุมล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ความกันดาร ของสภาพพื้นที่ที่เป็นป่า ขาดแคลนน้ำ�และดินเลว สภาพที่อยู่ที่กิน และห้องเรียนทีสร้าง จากใบตองตึงพื้นเป็นดิน ซึ่งหากไม่มีหัวใจของนักต่อสู้งานหนัก จิตใจที่ตั้งมั่นและอดทน แล้ว คงมิอาจฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ดังกล่าวไปได้เลย สมดังปรัชญาของลูกแม่โจ้ “งาน หนักไม่เคยฆ่าคน” ต่อมา กระทรวงธรรมการเห็นว่า หลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) ที่เปิดไปแล้วมีผู้ส�ำ เร็จการศึกษาจำ�นวนมากพอ และมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรเหล่า นีเ้ พียงจำ�นวนน้อย จึงให้ยบุ เลิกการสอนหลักสูตรดังกล่าว และเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญ เกษตรกรรมขึ้นแทน กระทรวงธรรมการได้โอนโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม ให้กับกระทรวง เกษตราธิการโดยยุบรวมแห่งอื่น ๆ ที่บางกอกน้อย โนนวัด คอหงศ์ และที่แม่โจ้ แล้วจัด ตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เพียงแห่งเดียว เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ย้ายจากแม่โจ้ไปตั้งที่บางเขน ที่แม่โจ้จึงถูกจัดตั้ง เป็นโรงเรียนเตรียม เกษตรศาสตร์ รับผู้สำ�เร็จชั้นมัธยมปลาย (ม.6 สายสามัญ) หลักสูตร 2 ปี สำ�เร็จแล้วเข้าศึกษาต่อได้ที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ตุลาคม ๒๕๕๒

36 37


37 36

พ.ศ. 2486 เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้รบั การสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ จึงเปลี่ยนไปเป็น “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์” หลักสูตร 2 ปี เพื่อเตรียมนักเรียนเข้า ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป ต่ อ มาได้ มี ก ารยกเลิ ก โรงเรี ย นเตรี ย ม อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เนื่องจาก ต้ อ งการที่ จ ะควบรวมกิ จ การกั บ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ที่บางเขนทั้งหมด ประกอบกับในปีนี้เอง สงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทวีความรุนแรงขึ้น เส้นทาง คมนาคมสำ�คัญ เช่นทางรถไฟ สะพาน ถูกทำ�ลาย ทำ�ให้ มีผู้มาสมัครเรียนเพียง 12 คนเท่านั้น อีกทั้งแม่โจ้ก็อยู่ ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร ไม่สะดวกในการติดต่อ และดำ�เนินงานเชือ่ มต่อกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ บ างเขน จึ งให้ ยุ บ เลิ กโรงเรี ย นเตรี ย มอุ ด มศึ ก ษา เกษตรศาสตร์ที่แม่โจ้เสีย แต่ พระช่วงเกษตรศิลปการ ซึง่ ขณะนัน ้ ดำ�รงตำ�แหน่ง อธิบดีกรมเกษตรเห็นว่า ควร จะคงสถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ไว้สกั แห่งหนึง่ เพราะ ถิ่นภาคเหนือเป็นแหล่งที่มีน้ำ�ดี อากาศดี อุดมด้วย การกสิกรรม เหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางความรู้ด้าน การเกษตรแก่เยาวชนและเกษตรกร โดยจัดตั้งเป็น สถานศึกษาการเกษตร กำ�หนดเวลาเรียน 3 ปี ใช้ หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาอย่างเดิม นับเป็นก้าวใหม่ ของการให้การศึกษาอาชีวเกษตรของประเทศ พ.ศ. 2492 จัดตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรม แม่โจ้ โดยโอนกิจการของสถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ ไปสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อ ให้การศึกษาระดับประโยคอาชีวชั้นสูงเกษตรกรรม โดย รั บ นั ก ศึ ก ษาจากผู้ สำ � เร็ จ ประโยคอาชี ว ชั้ น กลาง เกษตรกรรม และประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น(มัธยมปี ที่ 6) ใช้เวลาเรียน 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้น สูงเกษตรกรรม พ.ศ.2539 ได้ เ ปลี่ ย นชื่ อ อี ก ครั้ ง เป็ น มหาวิทยาลัย แม่โจ้ อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งอยู่บนถนน เชี ย งใหม่ - พร้ า ว ในพื้ น ที่ ตำ � บลหนองหาร อำ � เภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยห่างจากตัวเมืองจังหวัด เชียงใหม่ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 13674 ไร่ อยู่ ใน 3 จังหวัด คือ 1. มหาวิ ท ยาลั ย แม่ โ จ้ เชี ย งใหม่ อำ � เภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำ�เภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 3. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร อำ�เภอ

ละแม จังหวัดชุมพร สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ ดอก อินทนิล อินทนิล เป็นไม้ยน ื ต้นทีแ่ ข็งแรง อายุยาวนาน และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย แทน ความแข็งแกร่ง อดทน ของศิษย์แม่โจ้ • ช่ออินทนิล มีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด แทน ความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียว • อินทนิลเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของ ประเทศไทย แทน ศิษย์แม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุก ภาค • ต้น เปลือก และใบ ของอินทนิล ใช้เป็นยา สมุนไพรได้ แทน คุณค่าของศิษย์แม่โจ ที่ได้สร้าง ประโยชน์ให้กับสังคม วิทยาลัยแม่โจ้ มีการเรียนการสอนที่รับผิด ชอบ ปัจจุบัน 11 คณะ และปัจจุบันได้เปิดสอนหลาก หลายสาขาทั้งสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาการเกษตร และ ไม่ ใ ช่ ส าขาที่ วิ ช าการเกษตร ปี พ.ศ. 2549 มหาวิ ท ยาลั ย แม่ โ จ้ ไ ด้ เ ปิ ด สอนระดั บ ปริ ญ ญาตรี 70 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท ประมาณ 34 สาขาวิชา และ ปริญญาเอกประมาณ 10 สาขาวิชา นอกจากงานรับผิดชอบด้านการผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังมุง่ ขยายบริการวิชาการและความ ร่วมมือระดับประเทศ และนานาชาติ การทำ�นุบำ�รุง ศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แก้ไขสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย เพื่อการเจริญวัฒนา ของสังคมไทย แม่โจ้ คือ ผู้บุกเบิกวงการศึกษาและพัฒนา ด้านการเกษตร แม่โจ้คือผู้สร้างปัญญาแก่แผ่นดินไทย ทราบอย่างนี้แล้ว อยากประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน เยาวชนผู้นำ� RYLA หากมีความสนใจที่จะเรียนก็ยินดี ต้อนรับเป็นลูกอิทนิลชูช่อที่สวยงาม และการอบรมครั้ง นี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้เด็กๆ ซึบซับการเตรียมตัวเป็น บัณฑิตและเตรียมความพร้อมการเป็นทูตสันถวไมตรี โรตารีที่ดีในอนาคตอย่างมาก ขอให้ทุกคนสมหวังในสิ่ง ที่หวังครับ และสนุกกับฐานความรู้ที่ทีมงานของ RYLA จัดให้ พร้อมด้วยข้อมูลและการเที่ยวชมหมีแพนด้า หลินปิง ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ที่น่ารักเป็นของแถม ด้วย น้ำ�ใจจาก ผวภ.คนสวยแววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ขอจ่ายให้ เองอย่างนี้จะไม่ปรบมือให้เลยหรือ เอ้า ! ปรบมือดังๆ กันหน่อยแร้ว..แล้วพบกันใหม่ จากใจ...ผู้อำ�นวยการ ค่ายเยาวชน RYLA เชียงใหม่ สวัสดีครับ.

ตุลาคม ๒๕๕๒


เล่าขานตำ�นาน

“ ล้านนารำ�ลึก 700 ปี ที่สูญหาย”

ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ กลุ่มคนไทยยวน ตามความเชื่อของนักโบราณคดีได้อพยพโยกย้ายมา จากทางตอนใต้ของประเทศจีน มาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมที่ราบลุ่มแม่น้ำ�กกปัจจุบัน สันนิษฐานว่าผู้นำ�คน นั้นคือ เจ้าชายสิงหนวัติ ราชวงศ์ของเจ้าชายสิงหนวัติได้สืบเชื้อสายต่อมาหลายราชวงศ์ แต่ในที่สุดราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖ เมืองที่ตั้งก็ล่มลงกลายเป็นหนองน้ำ� นักโบราณคดีบางส่วนเชื่อว่า “เมืองล่ม” หมาย ถึงการล่มสลายของราชวงศ์ แต่อย่างไรก็ตามก็มีนักโบราณคดีอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า มีซากเมืองโบราณของ ราชวงศ์สิงหนวัติ จมอยู่ใต้แม่น้ำ�กกซึ่งต้องรอการพิสูจน์ต่อไป เมื่อราชวงศ์สิงหนวัติจบสิ้น อำ�นาจในแถบลุ่มน้ำ�กกได้เปลี่ยนมือไปสู่ ราชวงศ์ลวจักราช ตำ�นาน กล่าวว่าเทพบุตรลาวจง ได้รับบัญชาจากพระอินทร์ให้ไต่บันไดเงินลงมาบริเวณยอดดอยตุง (จังหวัด เชียงรายปัจจุบัน) เพื่อมาเป็นผู้นำ�ชาวลัวะ และย้ายศูนย์กลางจากเมืองเชียงลาว ที่ตั้งดอยตุงมาบริเวณ เมืองเงินยาง (อ.เชียงแสน, จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน). จุดกำ�เนิดของราชวงศ์ลวจักราชนั้นตรงกับช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ในระยะที่อาณาจักรเขมรกำ�ลังถึงความรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พศ.๑๖๕๖ ถึง ๑๖๙๓) ผู้สร้างประสาทหินนครวัด และหากเทียบกับทางตะวันตกได้ตรงกับในช่วงที่ได้ มีความขัดแย้งใน คริสตศาสนาในซีกโลกตะวันตก ระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกของโรม และคริศตจักร กรีกออร์โธดอกซ์ ในคอนสแตนติโนเปิล ราวพศ.๑๕๙๗ นับจากนี้ไปอีกประมาณ ๘๐๐ ปี ก่อนที่อินเดีย และพม่าจะเป็น อาณานิคมของอังกฤษ ราชวงศ์ลวจักราช ได้สืบเชื้อสายต่อมามีผู้นำ�ที่มีความสามารถสูง ที่เป็นที่รู้จักต่ออาณาจักรรอบข้าง คือ ขุนเจื๋อง กษัตริย์องค์ที่ ๑๙ ด้วยความสามารถในการปกครองและ การทหารของขุนเจื๋อง อาณาจักรโยนก(เงินยาง) จึงมีความเป็นปึกแผ่นสูง ผ่านมาสี่ช่วงอายุ พระเจ้าลาวเมืองและมเหสี ได้สู่ขอพระนางเทพคำ�ขยาย พระธิดาของท้าวรุ้ง แก่นชาย เจ้าผู้ครองเมืองเชียงรุ้งมาเป็นคู่ครองของพระราชบุตรลาวเม็ง ไม่นานนักพระนางเทพคำ�ขยาย ก็ให้ประสูติแก่พระเจ้าเม็งราย ในพศ.๑๗๘๒ ชื่อ “เม็งราย” คือส่วนผสมของชื่อ ลาวเม็ง, เทพคำ�ขยาย, และ รุ้งแก่นชาย ต่อมาในราว พศ.๑๘๒๓ การเข้าปราบปรามจักรวรรดิซ่ง ของกองทัพมองโกลได้กระทบ ต่อพลวัติของการก่อกำ�เนิดและปึกแผ่นของอาณาจักรล้านนาต่อมา (ติดตามตอนต่อไป)

Approximately before 1057, a clan of Thais, called “Thai Yuan,” moved their original

นรินทร์ ลิ้มเล็งเลิศ settlement from the Southern part of China to Kok river basin in the present day Chiang Rai.

นักศึกษาปี 4 สาขาการบัญชี และการเงิน University of Virginia, Charlottesville ,Va., USA.

The leader was named by the modern historians Prince Singhonwat. Singhonwat clan had power for several decades; nevertheless, it fell by 1057. Singhonwat kingdom, some historians believe, was buried somewhere under Kok river since the Kok river had changed its course and flooded the kingdom. Instead, some anthropologists theorize that a “flooded kingdom,” linguistically implies the eroding power base of Singhonwat dynasty due to a weak leader not merely a physical city destroyed by flood. After Singhonwat dynasty perished, a local clan called “Lua” came into power. Laojong was ordered by the god Indra to descend from heaven in order to be the leader of Lua clan. It is believed that Laojong descended from heaven to the upper most of Doitung in the present day Chiang Rai. During that time (1057-1157), the Far East and the West flourished and became complex. In Southeast Asia, Khmer empire rose to its peak during a throne of Suriyavarman II who built the great Angkor Wat. In Europe during 1054, the break between Roman Catholic in Rome and Orthodox in Constantinople continued widening. From 1054 onward, there would be eight more centuries before the occupation of India and Myanmar by England. Lua dynasty continued its reign for many decades, and the center of which was moved from Doitung to Jenr Yang, in the present day Chiang Saen area of Chiang Rai. One of the most powerful leaders of Lua dynasty is Khun Jeaung, the 19th ruler. His reputation made Jenr Yang kingdom well-known and respected from neighborhood kingdom. Four generations has passed, king Lao Muang of Jenr Yang asked the Princess Thep Kum Kayay, a daughter of Tao Roong Kaen Chai, the King of Chiang Rung to marry with the Prince Lao Meng, his son. Not so long, the Princess Thep Kum Kayay gave a birth to Meng Rai, the first king of Chiang mai, in 1239. The royal name “Meng Rai” is an alphabetical combination of the name Lao Meng, Thep Kum Kayay, and Tao Roong Kaen Chai. The Lanna history was ripen for its major change when the Mongol army gained a complete control of Song dynasty in China. (To be continued...)

- ข้อมูลตามกาลเวลาของล้านนา นำ�มาจากหนังสือ ประวัติศาสตร์ล้านนา โดย อาจารย์ สรัสดี อ๋องสกุล, ข้อมูล ทางโบราณคดี นำ�มาจากหนังสือ “เล่าเรื่องเมืองเหนือ” โดย อาจารย์ ไชยวรศิลป์ ส่วนข้อมูลส่วนอื่นๆ มาจากแหล่งอ้างอิง อื่นๆ สนใจติดต่อ nl8k.comm@virginia.edu ` - The chronological events are based on the “Lanna History” by professor Sarasadee Ongsakul of Chiangmai university, the anthropological evidence is from “Lao Reung Mueang Nua” by Chaivorasilpa, other information is from other books and my knowledge of Lanna history. If interested, please contact nl8k.comm@ virginia.edu

ตุลาคม ๒๕๕๒

39 38


Zoom Inside 3360

38 39

ประสบความสำ�เร็จในการสร้างฝายถวายในหลวง อน.พญ.วรรณจันทร์ พิมพ์พิไล รับ โครงการใหม่ใหญ่เบอเริ่ม “โรตารีสร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจโรงพยาบาลลำ�ปาง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” โครงการต่อเนื่อง 5 ปี จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ เป็นเงิน 94,000,000 บาท ได้รับบริจาคมาแล้วประมาณ 2,000,000 บาท พี่หมอ บอกยังขาดอีกแค่ 92 ล้านบาทเท่านั้นเอง ค่ะ...***เปิดโรงงานแห่งใหม่ใหญ่โตริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ลำ�ปาง เมื่อวันพุธที่ 9 กันยายน 52 อผภ.อนุวัตร ภูวเศรษฐ มอบซองที่ได้รับจากแขกทั้งหมดให้โครงการโรตารีสร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลลำ�ปาง คุณแม่บริจาคให้อีก 100,000 บาท นย.อธิษฐาน วงศ์ใหญ่ ชวนเชิญบริจาค ได้อีกตั้งหลายหมื่น อผภ.อนุวัตร ภูวเศรษฐ ทบให้ครบ 200,000 บาท ด้วยแรงบุญขอให้กิจการ เจริญก้าวหน้านับเงินไม่ทันนะคะ...***เป็นความภาคภูมิใจที่สโมสรเชียงใหม่เหนือ จะมีผู้ว่าการ ภาคเป็นท่านที่ 4 อน.อารมณ์ บูญธรานุรักษ์ เจ้าของภูสรวงเพลส ตลาดต้นพะยอม เอื้อเฟื้อ สถานที่ตั้งสำ�นักงานผู้ว่าการภาค โต๊ะประชุม จาก อน.ทศพร พนัสอำ�พล เตรียมตัวล่วงหน้า 2 ปี ผู้ว่านอมินีชำ�นาญ จันทร์เรือง ศึกใหญ่อยู่ข้างหน้าค่ะ...***เตรียมพร้อมเหมือนกัน ผวล. นพ.วีระชัย จำ�เริญดารารัศมี ทำ�งานเงียบ ๆ ไปหลายขุม ทุกอย่างราบรื่น ด้วยความร่วมแรง ร่วมใจจากหลายฝ่าย โปรแกรมการทำ�งานในหน้าที่ผู้ว่าการภาควางงาน วางคน ตารางเวลา เรียบร้อยค่ะ...***ขออภัย อผภ.วิวฒ ั น์ ศิรจิ างคพัฒนา ไม่สามารถเดินทางไปเยีย่ มท่านได้ อน.ดร. บุษบง จำ�เริญดารารัศมี บอกโทรไปเรียนท่านเองถ้าไม่ได้ไป ท่านเตรียมต้อนรับเต็มที่ ขอบคุณ และขอใช้สารนี้ขออภัยอีกครั้งค่ะ...***เยี่ยมสโมสรอย่างเป็นทางการของ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็ง เลิศ ความสำ�เร็จในชีวิต 50% มาจากถิ่นไทยงาม ที่ได้ให้อะไรหลายๆ อย่าง มีความสุขที่สุดกับ การได้กลับมาเยี่ยมอย่างเป็นทางการในสโมสรของตัวเอง ปลื้มสีแดงเต็มพรึบเรียงแถวให้การ ต้อนรับอย่างอบอุ่นค่ะ...***ไหน ๆ ก็เป็นสโมสรของ ผู้ว่าการภาค เงินบริจาคจะน้อยได้อย่างไร อน.จินดา จรรญาศักดิ์ อน.พญ.วรรณจันทร์ พิมพ์พิไล ประธานมูลนิธิโรตารีของถิ่นไทยงาม ขอสมาชิกร่วมบริจาค สรุป สโมสรโรตารี เชียงใหม่ PHF เหรียญละ 1,000 เหรียญ 6 เหรียญ EREY 100 เหรียญ 22 เหรียญ น้อยกว่าสโมสรพี่ใหญ่ ถิ่นไทยงาม เชียงใหม่ไปนิดหน่อย เพราะสมาชิกมากกว่าค่ะ...*** สโมสรเชียงใหม่ให้การต้อนรับ ผวภ.แวว ดาว ลิ้มเล็งเลิศ อย่างยิ่งใหญ่ อผภ.ดร.ศุภวัตร ภูวกุล นย.ดร.โรม จิรานุกรม ช่วยกันสวมสาย สะพาย “Our First Lady District Governor D.3360” พร้อมเงินบริจาคมากมาย และในปีนี้ครบ 50 ปี ของการก่อตั้งสโมสร เงินบริจาคยังมีอีกหลายเหรียญค่ะ...***ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ยก ความดีให้กับ บก.วาณิช โยธาวุธ สารผู้ว่าการภาคส่งไปที่ RI ได้รับคำ�ชมว่า The best of the world จาก 530 ภาคทั่วโลก ปรบมือดัง ๆ ให้ บก.ค่ะ...***แม้จะเพิ่งเป็นโรแทเรียนไม่นานแต่ ก็มีความเข้าใจเรื่องของโรตารี รทร.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล มีความข้องใจที่โครงการ YE โดยประธานโครงการ อน.ดร.บุญทอง ภู่เจริญ มีหนังสือแจ้งงดส่ง YE Inbound เข้าร่วม โครงการอบรมผู้นำ�เยาวชน RYLA ของภาค 3360 ข้อข้องใจของท่านทั้ง 5 ข้อ คณะกรรมการ RYLA มีความเห็นตรงกับท่านทุกประการ ตอนหนึ่งของ 5 ข้อ “ผมจึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้องลอง เปิดใจและลองทบทวน 4 Way Test ก่อนตัดสินใจใด ๆ” ...***ส่วนหนึ่งของเด็กที่เข้าอบรม RYLA นั้นส่วนใหญ่จะเตรียมตัวเพื่อเป็น YE Outbound การให้เด็กไทยและต่างชาติได้ทำ�ความ รู้จักและร่วมกิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ร่วมกันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของเยาวชนทั้ง InและOut เสียดาย...เสียดาย...***อุทิศชีวิตเพื่อชุมชน อน.ระเบียบ รังแก้ว สโมสรสารภี ทุกเดือนจะหาเจ้า ภาพเลี้ยงอาหารกลางวันให้แก่คนชราวัดป่าแคโยง ทั้งให้ความรู้สอนการออกกำ�ลังกาย ให้กำ�ลัง ใจ ทำ�ด้วยใจ ขอสรรเสริญค่ะ...***สโมสรใดในภาค 3360 ประสงค์จะส่งบุคคล อายุ 25-40 ทำ� หน้าที่ GSE แลกเปลี่ยนกับภาค 5730 รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา กรอกใบสมัครพร้อมเขียน ESSAY 1 หน้า A4 ส่งไปที่ประธานโครงการ อน.มนตรี วงศ์เกษม PHF ...***อดีตนายกสโมสรเท่านั้น ที่มีสิทธิ์ส่งใบสมัครเพื่อทำ�หน้าที่ Team Leader และต้องเป็นโรแทเรียนไม่น้อยกว่า 7 ปี ส่งใบ สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ เดินทาง 15 เมย.53 ...***มิตรโรแทเรียนประสงค์จะร่วมประชุม Mamila Institute 27-29 พย.52 ส่งใบสมัครได้ที่ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศค่ะ...*** พบกันใหม่ฉบับหน้า.......เอื้องผึ้ง........

ตุลาคม ๒๕๕๒


Activities (หน้าที่ 40) งานปฐมนิเทศ เยาวชนแลก เปลี่ยน INBOUND ณ โรงแรม กรีนเลควิวแอนด์ รีสอร์ท 4-6 ก.ย 52

(หน้าที่ 41) 1. เยี่ยมสโมสรโรตารี สวรรคโลกเหนือ 2 ก.ย 52 2. เยี่ยมสโมสรโรตารีช้าง เผือก 7 ก.ย 52 โรงแรมแม่ปิง 3. เยี่ยมสโมสรโรตารี ดอยพระบาท 8 ก.ย 52 โรงแรมพิณโฮเต็ล 4. เยี่ยมสโมสรโรตารีลำ�ปาง 9 ก.ย 52 โรงแรมทิพย์ช้าง 5. เยี่ยมสโมสรโรตารีเมือง เถิน 10 ก.ย 52 โรงแรมเมือง เถิน 6. เยี่ยมสโมสรโรตารี เถิน ดาวทาวน์ 14 ก.ย 52 7.เยี่ยมสโมสรโรตารี สวรรคโลก 15 ก.ย 52 8.เยี่ยมสโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ 16 ก.ย 52 โรงแรม อมรีรินคำ� 9.เยี่ยมสโมสรโรตารี เชียงใหม่ 17 ก.ย 52 โรงแรม เซ็นทาราดวงตะวัน

ตุลาคม ๒๕๕๒

40 41


1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

41 40

ตุลาคม ๒๕๕๒


Activities 10. เยี่ยมสโมสรโรตารีเชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม โรงแรมเชียงใหม่แก รนด์วิว 24 ก.ย 52 11. เยี่ยมสโมสรโรตารีเชียงแสน อย่างเป็นทาง (ตกหล่น) 12. เยี่ยมสโมสรโรตารีวังจันทน์ 28 ก.ย 52 13. เยี่ยมสโมสรโรตารีสุโขทัย 29 ก.ย 52 14. เยี่ยมสโมสรโรตารีพิชัย 30 ก.ย 52 15. เยี่ยมสโมสรโรตารีนครเทิง 21 ก.ย 52 16. สโมสรสุโขทัยทำ�บุญวัด บ้านนาระลึก 20 ปี 30-9-52 17. พิธีสถาปนาคณะกรรมการ บริหารโรตาแรคท์มหาวิทยาลัย แม่โจ้ ก.ย 52 18. งานระดมหาทุนเครื่องมือ แพทย์โรคหัวใจ และบรรยาย พิเศษ SUPER RICHY ลำ�ปาง 18 ก.ย 52 19. งานแสดงผลงานกิจกรรม สโมสรโรตารีสันป่าตอง 3 ก.ย 52 20. สโมสรโรตารีเชียงใหม่ใต้ ได้ จัดมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็ก นักเรียน รร.วัดหนองป่าครั่ง 21. สโมสรโรตารีศรีสองแคว มอบทุนการศึกษา และเครื่อง กีฬา 22. ภาค 3470 มาบำ�เพ็ญ ประโยชน์ที่ภาคเหนือ PDG.โจ เซบ จาง จากไต้หวันและคณะ โรแทเรียนภาค 3470 ได้เดิน ทางมามอบสิ่งของ และการออก หน่วยแพทย์ บริการประชาชน ที่ผาตั้งและสันติพัฒนา โดยโรง พยาบาลเวียงแก่น และมีการ มอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน ต่างๆอีก 15 ชุด ที่สมาคมยู นาน ที่แม่สาย PDG.โจเซฟ จางและภรรยา มอบชุดโรงงาน น้ำ�ดื่มบรรจุขวด-ถัง ชุดใหญ่ มูลค่า 350,000.- ให้กับ หมู่บ้าน ถ้ำ�งอบ ไชยปราการ อีก 1 ชุด 23. เยี่ยมสโมสรโรตารีในจังหวัด เชียงใหม่ 8 สโมสร ตะวันออก สารภี ล้านนา ภูพิงค์ ดอยสุ เทพ แอร์พอร์ท เชียงใหม่ใต้ หางดง

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

ตุลาคม ๒๕๕๒

42 43


19.

20.

21.

22.

23.

24.

43 42

ตุลาคม ๒๕๕๒


มุม...สบาย...สบาย

มวลมิตรโรแทเรียน โรตารี่แอนน์และสุภาพบุรุษโรตารี่ที่เคารพ เผลอแพลบเดียวฉบับนี้เป็นฉบับที่ 4 แล้ว มีเสียงเรียกร้องจากหลายๆ ฝ่าย ว่า คำ�ถามยากไป ขอคำ�ถามในสารผู้ว่าการภาคฉบับที่ผ่านมา จะดีกว่าและเป็นการ เช็ดด้วยว่า ได้อ่านสารผู้ว่าการภาคจริงหรือเปล่า..... หรือว่าเปิดดูแค่รูป(บอกอ... อยากทราบ) ฉบับนี้จึงต้องทำ�ตามคำ�เรียกร้องเชิญส่งคำ�ตอบมาได้ครับ เฉลยฉบับที่ 2 ข้อที่ 1.ตอบ มีลิง 1 ตัว กระต่าย 2 ตัว ข้อที่ 2.มีอยู่ 2 คำ�ตอบ 1+7 = 8 , 9 – 4 = 5 , 2 * 3 = 6 และ 4 + 5 = 9 , 8 – 7 = 1 , 2 *3 = 6 ข้อที่ 3 ตอบ 12 ก้อน ผู้ที่ได้รับรางวัลคือ 1.คุณศศิกานต์ จันทร์เงิน 2.คุณยุพา วิริยะ 3.คุณบัวคำ� หงษ์คำ� ผมส่งตุ๊กตาให้เรียบร้อยแล้วน่ะครับขอบคุณทุกท่านที่ร่วมรายการ ใครที่ยัง ไม่ได้รับรางวัล ฉบับนี้เชิญส่งคำ�ตอบมาใหม่ รางวัลเป็นรถจักรยานยนต์ 3 รางวัล ( model เหมือนเดิมครับ) ส่งคำ�ตอบมาที่ akeelawat@yahoo.comหรือจดหมายมาที่ 23 หมู่ 10 ถนนพหลโยธิน อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130........โชคดีครับ คุณนาย: โบราณเขาว่า “ฝันดีเป็นร้าย ฝัน วันเกิดปู่

อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ สโมสรโรตารีแม่สาย

ปู่ : วันนี้เป็นวันเกิดของปู่ หลาน: วันเกิดคืออะไรค่ะ ปู่: วันเกิดก็คือวันที่ปู่ลืมตาดูโลกยังไงล่ะ หลาน: ทำ�ไมเกิดวันนี้ปู่ก็ตัวโตซะขนาดนี้ แล้วล่ะค่ะ

อยากให้เวลาผ่านไปช้า ๆ

ร้ายเป็นดี” ดูท่าทางฝันของเธอจะเป็นลาง ไม่ดีเลย คนรับใช้: ขออภัยค่ะ หนูพูดผิดจริงๆแล้ว หนูฝน ั เห็นคุณนายตายไปแล้วเมือ่ หนึง่ พันปี ค่ะ

อภิชาตบุตร

พ่อ: ลูกคงเสียใจที่รู้ว่าต้องตายตอนอายุ 62 ปี แต่ลูกเพิ่งจะ 30 ปี ยังมีเวลาตั้ง 32 ปี ลูกแหง่: ผมไม่ได้เสียใจเรื่องนั้น แต่ผม เสียใจว่าทำ�ไมพ่อต้องตายตอนอายุ 80 ปี ด้วย พ่อ: เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นของธรรมดา พ่อ เพิ่งจะ 50 ปียังมีเวลาตั้ง 30 ปี ลูกแหง่: นี่แหละที่ผมเสียใจ ถ้าพ่อตายไป ฝันว่าอายุยืน คนรั บใช้ : คุ ณ นายขาเมื่ อ คื น หนู ฝั น ว่ า แล้วที่เหลืออีก 2 ปีใครจะเลี้ยงผมล่ะ คุณนายมีอายุยืนถึงหนึ่งพันปีค่ะ อ้วน: เวลาผ่านไปเร็วจัง จะทำ�ยังไงให้เวลา ผ่านไปช้าๆ นะ ผอม: มีอยู่ที่หนึ่ง รับรองว่าหากไปแล้วจะ รู้สึกเหมือนเวลาผ่านไปช้า ๆ อ้วน: ที่ไหนเหรอ ผอม: ในคุกไงล่ะ

คำ�ถาม Puzzle ตุลาคม ๒๕๕๒

1. จงเรียงลำ�ดับก่อนหลัง พิธีการกล่าวนามระหว่างตำ�แหน่ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต ? 2. “เพชร” ของภาคหมายถึงสโมสรใด ? 3. คำ�ขวัญเกี่ยวกับสมาชิกภาพ เดือนมิถุนายนนี้ มีว่า อะไร ? 4. การจัดงาน International Convention ครั้งที่ 100 ได้รับคำ�ชมเป็นคำ�สั้นๆ ว่าอะไร ?

45 44


DG’s Activities

(บนสุด) ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ คืนถิ่นและเยี่ยมสโมสรโรตารีเชียงใหม่ ถิ่นไทยงามอย่างเป็นทางการ วันพฤหัสที่ 24 กันยายน 2552 ณ โรงแรม เชียงใหม่แกรนด์วิว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (กลางขวา) ร่วมทำ�บุญอุทิศส่วน กุศลกับสโมสรโรตารีสุโขทัย ในโอกาสของการสถาปนาสโมสร ครบ 22ปี วัน พุธที่ 30 กันยายน 2552 ณ วัดบ้านนา อ.เมือง จังหวัดสุโขทัย (กลาง) ร่วมพิธีปิดการปฐมนิเทศ นักเรียนแลกเปลี่ยนของ ภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2009-10 จากต่างประเทศรวม 37 คนจาก 9ประเทศ และได้นำ�เด็กๆเข้า ชมหมีแพนด้า(หลินปิง) และเข้าชมสัตว์โลกทีห่ าดูยาก ณ สวนสัตว์เชียงใหม่

44 45

ในวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2552 (กลางซ้าย) ร่วมต้อนรับ ผวภ.Cable จากภาค 2470 ไต้หวัน นำ�ทีมโรแทเรียนจาก 8 สโมสรโรตารีในไต้หวันมา ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และแจกเครื่องใช้อุปโภคบริโภคแก่ชุมชน ในเขต จังหวัดเชียงราย วันพุธที่ 23 กันยายน 2552 ณ โรงแรมริมกกรีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย (ล่างสุด) ผวภ.แววดาว เยี่ยมสโมสรโรตารีเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ และได้รับสายสะพาย “ The First Lady District Governor Of D.3360 ” สีแดงจากสโมสรฯตุวัลนาคม พฤหัสที่ 17 กันยายน 2552 ณ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน อ.เมือง ๒๕๕๒ จ.เชียงใหม่


แทนคำ�นับพัน

Mingalar Ba Myanmar วัดมหามุนี พิธีล้างพระพักตร์ พระมหาเมียดมุนี เมืองมัณฑะเลย์

พระมหามุนีหรือพระมหาเมียดมุนี แปลว่า พระผู้ เป็นทีเ่ คารพสูงสุด ตำ�นานเล่าว่าสร้างขึน ้ ตัง้ แต่สมัยพุทธกาล โดยกษัตริย์แห่งเมืองยะไข่ องค์พระทำ�จากทองสัมฤทธิ์ สูง 12 ฟุต 7 นิ้ว เมื่อพระเจ้าปดุง ยกทัพมาตียะไข่ได้จึงอัญเชิญ ลงมาตามแม่น้ำ�อิระวดีมายังมัณฑะเลย์ได้สำ�เร็จ และด้วย ความเชื่อที่ว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีชีวิต จึงได้เกิดพิธีล้างพระ พักตร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พิธีล้างพระพักตร์พระมหามุนีที่ปฏิบัติกันมานับ ร้อยปี พิธเี ริม่ เมือ่ เวลาประมาณตีหา้ โดยเจ้าอาวาสจะทำ�การ

ตุลาคม ๒๕๕๒

ล้างโดยมีขันสีทองใบใหญ่รองน้ำ�ที่ล้างพระพักตร์ เพื่อแจก จ่ายให้ญาติโยมเป็นน้�ำ มนต์ มีผู้ช่วยล้างสี่ห้าคน สวมชุดขาว คอยส่งเครื่องล้างให้และมีการคลุมองค์พระไม่ให้เปียก หลังล้างพระพักตร์ก็มาถึงขั้นตอนแปรงพระทนต์ ใช้ก้านอะไรสีไปมา จากนั้นก็เช็ดพระพักตร์ ซึ่งใช้ผ้าของ ใหม่ทุกผืนที่ชาวบ้านนำ�มา และก็จะมีการพรมน้ำ�อบ และ ใช้พัดทองพัดจนพระพักตร์แห้ง จากนั้นก็นำ�ภัตตาหารมา ถวาย โดยอาหารก้เป็นชาวบ้านนำ�มา ปฏิบัติเหมือนกันองค์ พระมีชีวิตจริงๆ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.