รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงินไตรมาสที่3ปี56

Page 1

เอกสารแนบ

รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สานักนโยบายระบบการคุม้ ครองผลประโยชน์ทางการเงิน ประจําไตรมาสที่ 3 ปี 2556

บทสรุปผู้บริหาร ปัจจุบันแนวโน้มการเติบโตของภาคธุรกิจประกันชีวิตและภาคธุรกิจประกันวินาศภัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิจารณาได้จาก อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย 15 ปีย้อนหลัง และในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 สามารถเก็บเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงได้ 315,425 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยของธุรกิจประกันชีวิต 214,752 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยของธุรกิจประกันวินาศภัย 100,673 ล้านบาท ทั้งนี้ ธุรกิจประกันชีวิตส่วนใหญ่เป็นเบี้ยประกันประเภทสามัญ คิดเป็นร้อยละ 83 ของเบี้ยประกันชีวิตทั้งหมด ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยส่วนใหญ่เป็นเบี้ยประกันรถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 59 ของเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งหมด ผลการดําเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (28 มี .ค. 55 – 9 ก.ย. 56) มียอดจําหน่ายกรมธรรม์ ประกันภัยพิบัติทั้งสิ้น 1,405,632 ฉบับ โดยกรมธรรม์ประเภทบ้านและที่อยู่อาศัยมีจาํ นวนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 94 รองลงมาคือ กรมธรรม์ประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คิดเป็นร้อยละ 5 และอันดับสุดท้ายคือ กรมธรรม์อุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 1 โดยมีเบี้ยประกันภัยพิบัติทั้งหมด 804 ล้านบาท ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ทั้งหมด 47,403 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 549 ล้านบาท การดําเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2555 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 45,723 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 872,440.5 ไร่ เก็บเบี้ยประกันได้ 112,492,618.16 บาท โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 87.9 รองลงมาคือ ภาคเหนือคิดเป็นร้อยละ 9.7 ทั้งนี้ มีเกษตรกรจํานวน 26,494 ราย ขอรับค่าสินไหมทดแทน คิดเป็นพื้นที่ 509,461.25 ไร่ หรือร้อยละ 58 ของพื้นที่เอาประกันภัยทั้งหมด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเกษตรกรขอรับค่าสินไหมทดแทนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 98 ของเกษตรกรที่ขอรับค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด ในส่วนของนโยบายการคุม้ ครองเงินฝาก ความมั่นคงของเงินฝากขึ้นอยู่กับความมั่นคงของสถาบันการเงิน โดยสามารถ พิจารณาได้จากตัวชี้วดั ความมั่นคงของสถาบันการเงิน กล่าวคือ ผลการดําเนินงานในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 สถาบันการเงินมีกําไรสุทธิ 58,117 ล้านบาท ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลีย่ (ROA) เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1.52 แม้วา่ สถาบันการเงินมีสภาพคล่องตึงตัวขึ้น แต่คุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดี สังเกตได้จากอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ไปอยู่ที่ 2.2 นอกจากนี้ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 15.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งเอาไว้ (ร้อยละ 8.5) โดยรวมถือว่าสถาบันการเงินในปัจจุบันมีความมั่นคงสูง สําหรับนโยบายดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญามีความคืบหน้าดังนี้คอื ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ปี 2556 คณะกรรมการการประกอบกิจการดูแลกิจการดูแลผลประโยชน์ (คณะกรรมการฯ) ได้ดําเนินการแก้ไขอุปสรรคในการประกอบกิจการ ดูแลผลประโยชน์สําหรับธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์หลายประการที่สําคัญ ได้แก่ 1. การสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญาสําหรับการซื้อขายห้องชุด โดยแบ่งออกเป็นสองกรณี คือ 1.1 กรณีห้องชุดที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว และมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) 1.2 กรณีห้องชุดที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จและยังไม่มีการออกหนังสือกรรมสิทธ์ห้องชุด 2. การแก้ไขหลักเกณฑ์การมีส่วนได้ เสียของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญากับคู่สัญญา เช่น หลักเกณฑ์เดิมกําหนดว่าห้าม สถาบันการเงินที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ทําหน้าที่ให้สินเชื่อโครงการ 3. การปรับปรุงค่าตอบแทนและค่าบริการในการปฏิบัติหน้าที่ ดูแลผลประโยชน์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนําร่างประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง ค่าตอบแทนและค่าบริการในการปฏิบัติหน้าที่ดูแล ผลประโยชน์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... เสนอประธานกรรมการฯ เพื่อพิจารณาลงนาม


รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

-2-

สํานักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

ไตรมาส 3 ปี 2556

นโยบายการประกันภัย 1. สถานการณ์ด้านการประกันภัย 600,000

20.1

500,000

14.8

14.7

400,000

12.8

300,000 200,000 100,000 -

22.9

เบี้ยประกันภัยรับตรง

19.3

12.6 9.0

7.0

8.3

100,816 106,254

12.4 110,041

14.2 124,936

10.1

179,459

25.0 18.2

139,835

15.0 100,673

84,454 95,287 390,474 71,160 79,289 323,758 62,627 258,533 296,106 54,998 221,598 214,752 201,942 48,701 50,674 45,869 133,355 151,313 166,830 173,708 56,339 62,546 75,646 94,367 115,518

1.3

2541

2542

2543

2544

2545

2546

2547

ประกันชีวิต

2548

2549

ประกันวินาศภัย

2550

2551

2552

2553

อัตราการขยายตัวร้อยละ

2554

20.0

2555

10.0 5.0

2556 (ม.ค. -มิ.ย.)

ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (30 มิ.ย. 56)

สถานการณ์ด้านการประกันภัยในปัจจุบันมีแนวโน้มการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น พิจารณาได้จากอัตราการเติบโต ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย 15 ปีย้อนหลัง และไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 เบี้ยประกันภัย รับโดยตรงสะสมมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เทียบจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว หรือคิดเป็นมูลค่า 315,425 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของธุรกิจประกันชีวิต 214,752 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 68 และเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง ของธุรกิจประกันวินาศภัย 100,673 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32 ส่วนแบ่งตลาดของเบี้ยประกันภัยธุรกิจประกัน ชีวิต (มกราคม - มิถุนายน 2556) 2%

14%

สามัญ

กลุ่ม

1%

อุตสาหกรรม

83% อุบัติเหตุส่วนบุคล

ส่วนแบ่งตลาดของเบี้ยประกันชีวิตไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีจํานวน 214,752 ล้านบาท แยกตามประเภทธุรกิจได้ดังนี้ เบี้ยประกันภัยประเภทสามัญมียอดสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งจํานวน 1.78 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83 ของเบี้ยประกันภัยของ ธุรกิจประกันชีวติ ทั้งหมด รองลงมา คือ เบีย้ ประกันภัยประเภทกลุม่ 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14 และสําหรับ เบี้ยประกัน ประเภทอุตสาหกรรมและอุบัติเหตุส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 2 และร้อยละ 1 ตามลําดับ

ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (30 มิ.ย. 56)

ส่วนแบ่งตลาดของเบี้ยประกันภัยธุรกิจประกัน วินาศภัย (มกราคม - มิถุนายน 2556) 6% 3%

32%

ภัยรถ

59%

ภัยเบ็ดเตล็ด

อัคคีภัย

ภัยทางทะเลและขนส่ง

ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (30 มิ.ย. 56)

ส่วนแบ่งตลาดของเบี้ยประกันวินาศภัย ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีจํานวน 100,673 ล้านบาท แยกตามประเภทธุรกิจ ได้ดังนี้ เบี้ยประกันวินาศภัยประเภทรถยนต์ มียอดสูงสุด เป็นอันดับหนึ่งจํานวน 5.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59 ของเบีย้ ประกันวินาศภัยทั้งหมด รองลงมา คือ เบีย้ ประกันวินาศภัย ประเภทเบ็ดเตล็ด 3.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32 และ สําหรับเบี้ยประกันอัคคีภัยและเบีย้ ประกันภัยทางทะเลและ ขนส่งคิดเป็นร้อยละ 6 และร้อยละ 3 ตามลําดับ


รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

-3-

สํานักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

ไตรมาส 3 ปี 2556

2. ผลการดาเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ รายงานความคืบหน้าการดาเนินงานกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (28 มี.ค. 55 – 9 ก.ย. 56) ส่วนแบ่งประกันภัยพิบัติ 100% 90% 80% 70% 60% 50% 40% 30% 20% 10% 0%

รวม 1,405,632 ฉบับ 4,106 63,105

รวม 47,403 ล้านบาท

รวม 549 ล้านบาท

9,530 222

7,246

106

1,338,421 30,627

221

จานวนกรมธรรม์ บ้านอยู่อาศัย

ทุนประกันภัยต่อ(ล้านบาท) เบี้ยประกันภัยต่อ(ล้านบาท) ธุรกิจขนาดกลางและย่อม

อุตสาหกรรม

ยอดจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติทั้งสิ้น 1,405,632 ฉบับ แยกตามประเภทได้ดังนี้ ประเภท บ้านและที่อยู่อาศัยมีจํานวนกรมธรรม์สูงสุด 1,338,421 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94 ของจํานวนกรมธรรม์ทั้งหมด รองลงมาคือ ประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จํานวน 63,105 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 5 อันดับสุดท้ายคือ กรมธรรม์อุตสาหกรรมจํานวน 4,106 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 1 ของจํานวนกรมธรรม์ทั้งหมด โดยเป็นทุนประกันภัยพิบัติทั้งหมด 87,694 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยพิบัติทั้งหมด 804 ล้านบาท ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ 47,403 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 549 ล้านบาท

ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

3. ผลการดาเนินงานของโครงการประกันภัยข้าว ปีการผลิต 2555 ภาค ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ รวม

อนุมัติใบรับรองและชําระค่าเบี้ยแล้ว ขอรับค่าสินไหมทดแทน จํานวน (ราย) จํานวน (ไร่) เบี้ยประกันภัย (บาท) พื้นที่ (ไร่) ราย 3,417 84,247.00 10,862,219.49 6,514.00 219 41,409 766,623.00 98,849,218.29 494,583.75 25,920 270 8,198.50 1,057,038.02 146.25 3 247 6,327.00 815,759.44 5,479.00 214 287 5,721.25 737,687.96 2,282.00 105 93 1,323.75 170,694.96 456.00 33 45,723 872,440.50 112,492,618.16 509,461.25 26,494

หมายเหตุ ค่าบริหารจัดการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 5,701,703 บาท ที่มา: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ข้อมูล ณ วันที่ 12 กันยายน 2556

ผลการดําเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2555 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 45,723 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 872,440.5 ไร่ เบีย้ ประกันทั้งหมด 112,492,618.16 บาท คิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับสุทธิหลังหักค่าบริหารจัดการให้ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรแล้ว 106,790,915.16 บาท โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นทีเ่ ข้าร่วมโครงการมากที่สุด 766,623 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87.9 รองลงมาคือ ภาคเหนือมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 84,247 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.7 ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ รวมคิดเป็นร้อยละ 2.4 สําหรับการขอรับค่าสินไหมทดแทน (ข้อมูล ณ วันที่ 12 ก.ย. 56) มีเกษตรกรขอรับค่าสินไหมทดแทน 26,494 ราย เป็นพื้นที่ 509,461.25 ไร่ หรือร้อยละ 58 ของพื้นที่เอาประกันทั้งหมด โดยพื้นที่ขอรับค่าสินไหมทดแทนสูงสุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 98 ของพื้นที่ที่ขอรับค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด


รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

-4-

สํานักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

ไตรมาส 3 ปี 2556

นโยบายคุ้มครองเงินฝาก สถานการณ์ด้านการคุ้มครองเงินฝาก ความมั่นคงของเงินฝากขึ้นอยู่กับความมั่นคงของสถาบันการเงิน โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแล สถาบันการเงินให้มคี วามมั่นคง ซึง่ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความมั่นคงของสถาบันการเงิน ดังนี้

1. ฐานะและผลการดาเนินงาน: อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (Return On Asset: ROA) ความสามารถในการทากาไร

% ต่อสินทรัพย์เฉลี่ย

4 3 2 1

2.62 2.11 1.36

2.58 2.09

2.53 2.05

2.64 2.3

2.63

1.48

2.52 1.52

Q3/55 Q4/55 Q1/56 กาไรจากการดาเนินงาน

Q2/56 ROA

1.34

1.23

0 Q2/55 NIM

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2556

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ธนาคารพาณิชย์มผี ลการ ดําเนินงานที่ดีขึ้น โดยมีกําไรสุทธิ 58,117 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่แล้ว 5,983 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.48 กําไรที่เพิ่มขึ้นมาจากทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ จากค่าธรรมเนียม ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return On Asset: ROA) อยู่ที่รอ้ ยละ 1.52 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.48 และอัตราส่วนรายได้ ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวจากไตรมาสที่แล้วอยู่ทรี่ ้อยละ 2.63

2. ฐานะเงินกองทุน และสภาพคล่อง: BIS RATIO และอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและตั๋วแลกเงิน % 20

เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง 15.05

15.85

16.31

15.61

15.52

Q1/56

Q2/56

15

เกณฑ์ขั้นต่า = 8.5 %

10 5 Q2/55

Q3/55

Q4/55

ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ระบบธนาคารพาณิชย์ ยังมีเงินกองทุนแข็งแกร่ง สังเกตได้จากอัตราเงินกองทุนต่อ สินทรัพย์เสี่ยง (BIS RATIO) อยู่ที่ 15.52 แม้ว่าจะลดลง จากไตรมาสที่แล้วเล็ กน้อย แต่ ยัง สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่กําหนดไว้คือร้อยละ 8.5

เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2556

สินเชื่อต่อเงินฝากและตั๋วแลกเงิน

% 100 95

92.35

91.40

93.08

93.35

Q4/55

Q1/56

95.33

90 85 80 Q2/55 Q3/55 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2556

Q2/56

การให้สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่ขยายตัวต่อเนื่องทําให้สภาพคล่องโดยรวมตึงตัวขึ้น โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและตั๋วแลกเงิน ใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 อยู่ที่ 95.33 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสทีแ่ ล้ว ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 93.35


รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

-5-

สํานักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

ไตรมาส 3 ปี 2556

3. คุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน: อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross NPL ratio) ล้านบาท 400,000 350,000 300,000 250,000 200,000 150,000 100,000 50,000 0

คุณภาพสินเชื่อ

2.52

2.44

2.25

Q2/55 Q3/55 Q4/55 ธพ.ไทย ธพ.ตปท.

% Gross NPL 6 5 4 3 2.2 2.17 2 1 0 Q1/56 Q2/56 %grossNPL

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2556

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 คุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ใน เกณฑ์ดี สังเกตได้จากค่าสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อโดยรวมอยู่ที่ ร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.17 เนื่องจากปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวใน อัตราส่วนที่น้อยกว่าอัตราส่วนการขยายตัวของปริมาณ NPL โดยปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีจํานวน 11,994,682 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 11,797,682 ล้านบาท ขณะที่ NPL ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีจํานวน 263,883 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 256,003 ล้านบาท

4. อันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้จัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนี้ รายชื่อธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย

Moody's Baa2/ CD CCD+ D-

วันที่ประกาศ 26 เม.ย. 56 31 ม.ค. 56 5 มิ.ย. 56 5 ก.ย. 56 3 ก.ค. 56 17 พ.ค. 53

ความแข็งแกร่งทางการเงิน S&P วันที่ประกาศ bbb 21 ธ.ค. 54 bb+ 31 ธ.ค. 54 C+ 23 ม.ค. 56 n/a n/a bb+ 7 ก.พ. 54 bb 21 ธ.ค. 54

Fitch bbb+ bbbbbb+ bbb+ bbb n/a

วันที่ประกาศ 3 มิ.ย. 56 31 มี.ค. 55 8 ก.ค. 56 30 พ.ย. 52 8 มี.ค. 56 n/a

ที่มา: เว็บไซต์ของแต่ละสถาบันการเงิน

อันดับความน่าเชื่อถือ สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้จัดอันดับความแข็งแกร่งให้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท Moody’s อยู่ระหว่าง D- ถึง Baa2 บริษัท Standard & Poor’s อยู่ระหว่าง C+ ถึง bbb และ บริษัท Fitch อยู่ระหว่าง bbb- ถึง bbb+ จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว สรุปได้ว่าสถาบันการเงินในปัจจุบันมีความมั่นคงสูง


รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

-6-

สํานักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

ไตรมาส 3 ปี 2556

นโยบายดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา สถานการณ์ด้านการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด โดยกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาสําหรับสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ กฎกระทรวงฯ ดังกล่าว อนุญาตให้สถาบันการเงินได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และบริษทั เงินทุนตามพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาได้ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลัง ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ของคู่สญ ั ญาให้แก่สถาบันการเงินแล้ว จํานวน 9 แห่ง ดังนี้ ธนาคาร 1. ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) 2. ธนาคารฮ่องกงและเซีย่ งไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จํากัด 3. ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) 4. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น 5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) 6. ธนาคารอาร์บีเอส เอ็น.วี. สาขากรุงเทพฯ 7. ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ 8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จํากัด (มหาชน) 9. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน)

วัน/เดือน/ปี ที่ออกใบอนุญาต 19 มิถุนายน 2552 19 มิถุนายน 2552 19 มิถุนายน 2552 19 มิถุนายน 2552 14 สิงหาคม 2552 14 สิงหาคม 2552 3 ธันวาคม 2552 5 มีนาคม 2553 5 มีนาคม 2553

ในระยะทีผ่ ่านมาสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตฯ ได้ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์สําหรับธุรกรรมด้านตลาดทุนเป็นหลัก เช่น ธุรกรรมเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน ซื้อขายหุ้นบริษัท และการควบรวมกิจการ ในขณะที่ยังไม่มีการ ทําธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์เพือ่ ที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเจตนารมณ์หลักของพระราชบัญญัติฯ สาเหตุสําคัญที่ทําให้ไม่มีการทําสัญญาดูแลผลประโยชน์สําหรับธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์อาจเนื่องมาจากการทีส่ ถานการณ์ ด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันค่อนข้างคล่องตัว ไม่มีปัญหาความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเหมือนเช่น ในช่วงยกร่างพระราชบัญญัติฯ ปัญหาการสูญเสียเงินดาวน์โดยไม่ได้รับการส่งมอบบ้านลดน้อยลงอย่างมีนัยสําคัญ ประกอบกับการซื้อขายบ้าน ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อบ้านสร้างเสร็จหรือสร้างใกล้เสร็จ ใช้เวลาการก่อสร้างอีกไม่เกิน 6 เดือน ผู้บริโภคไม่มีความกังวล ว่าจะไม่ได้รับการส่งมอบบ้าน สาเหตุดังกล่าวทําให้ไม่มีความต้องการทําสัญญาดูแลผลประโยชน์สําหรับการซื้อขายบ้าน ในขณะที่ปัจจุบันการซื้อขายคอนโดมิเนียมเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น และการก่อสร้างคอนโดมิเนียมจะใช้ระยะเวลานาน ประมาณ 24 – 36 เดือน ซึ่งผู้บริโภคน่าจะต้องการให้มีการคุ้มครองเงินดาวน์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตฯ ยังมีความกังวลว่า พระราชบัญญัติฯ อาจยังครอบคลุมไม่ถึงกรณีคอนโดมิเนียม และยังมีปัญหาในทางปฏิบัติบางประการ ทําให้ยังไม่สามารถทําสัญญาดูแลผลประโยชน์สําหรับธุรกรรมด้านการซื้อขายคอนโดมิเนียม ดังนั้น ในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2556 คณะกรรมการกํากับการประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ (คณะกรรมการฯ) ซึ่งมีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นเลขานุการ จึงได้ดําเนินการแก้ไขอุปสรรคในการประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์สําหรับ ธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์หลายประการ ที่สําคัญ ได้แก่ 1. การสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Agent) สําหรับการซื้อขายห้องชุด โดย แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ (1) กรณีห้องชุดที่ก่อสร้างเสร็จแล้วและมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช. 2) ประธานกรรมการฯ ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดินเพื่อขอความร่วมมือในการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่ดินทราบว่า เจ้าหน้าที่ที่ดิน มีอํานาจหน้าที่ในการรับจดแจ้งอสังหาริมทรัพย์ทั้งแนวราบและแนวสูงและบันทึกเป็นหลักฐานไว้ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ภายใต้บังคับ แห่งสัญญาดูแลผลประโยชน์ และห้ามจดทะเบียนโอนสิทธิในทรัพย์สินนั้นจนกว่าจะได้รับแจ้งเป็นหนังสือจาก Escrow Agent ตาม มาตรา 17 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติฯ


รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

-7-

สํานักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน

ไตรมาส 3 ปี 2556

(2) กรณีห้องชุดที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จและยังไม่มีการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของการออกแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความชัดเจนในกรณีดังกล่าวว่า ในการซื้อขายห้องชุดในช่วงที่ยังไม่มีหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญามีหน้าที่ดูแลรักษาเงินหรือเอกสารตามที่กําหนด ในสัญญาดูแลผลประโยชน์เท่านั้น และเมื่อภายหลังมีการออก อช. 2 และผู้ขายได้ส่งมอบ อช. 2 ให้ Escrow Agent แล้ว ให้ Escrow Agent นําไปจดแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ดินตามวิธีการที่กําหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสามโดยอนุโลม ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการนําร่างแนวทางปฏิบัติ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้คณะกรรมการฯ ออกแนวทางปฏิบัติดังกล่าวต่อไป 2. การแก้ไขหลักเกณฑ์การมีส่วนได้เสียของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญากับคู่สญ ั ญา เนื่องจากประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง หลักเกณฑ์การมีส่วนได้เสียของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญากับคูส่ ัญญา (หลักเกณฑ์ Conflict of Interest) ฉบับเดิมกําหนดว่า ห้ามสถาบันการเงินที่เป็นผูด้ ูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาทําหน้าที่ให้สินเชื่อ โครงการ (Project Finance) แก่ผู้ขาย (ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์) ซึ่งข้อห้ามนี้ทําให้ไม่มีสถาบันการเงินใดประสงค์จะเป็นผูด้ ูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญาเพราะต้องการที่จะให้สินเชื่อมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง หลักเกณฑ์การมีส่วนได้เสียของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญากับคู่สัญญา โดยยกเลิกข้อกําหนดที่ห้าม Escrow Agent ทําหน้าที่ ให้สินเชื่อแก่ผู้ขาย และกําหนดแนวทางเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อว่า ในกรณีที่ Escrow Agent เป็นผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้ขาย Escrow Agent จะต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คู่สัญญาทราบ และจะต้องป้องกันไม่ให้ความเกี่ยวข้องนั้นกระทบกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางของตน ทั้งนี้ ประธานกรรมการฯ ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการฯ แล้วเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556 ปัจจุบันมีผลใช้บังคับแล้ว 3. การปรับปรุงค่าตอบแทนและค่าบริการในการปฏิบตั ิหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ สถาบันการเงินเห็นว่า วิธีการเรียกเก็บค่าตอบแทนที่ เป็นภาระในทางปฏิบัติ จึงได้เสนอให้มีการปรับปรุงค่าตอบแทน ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบการกําหนดค่าตอบแทน ดังนี้ (1) กรณีการดูแลผลประโยชน์ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของคู่สัญญา ให้สามารถเรียกเก็บค่าตอบแทนได้ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 0.3 ต่อปีของมูลค่าสัญญาดูแลผลประโยชน์ (2) กรณีการดูแลผลประโยชน์ที่นอกจาก (1) ให้เรียกเก็บตามอัตราที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาและคู่สญ ั ญาตกลงกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนําร่างประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง ค่าตอบแทนและค่าบริการในการปฏิบัตหิ น้าที่ดูแล ผลประโยชน์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... เสนอประธานกรรมการฯ เพื่อพิจารณาลงนาม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.