1934
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477
มีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง” (มธก.)
“
สัญลักษณ์ประจำ�มหาวิทยาลัย ธรรมจักร เป็นตราประจำ�มหาวิทยาลัย เพลงประจำ�มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง (ทำ�นองมอญดูดาว) เป็นเพลงประจำ�มหาวิทยาลัยเพลงแรก สีเหลืองแดงเป็นสีประจำ�มหาวิทยาลัย เพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ (ยูงทอง) เป็นเพลงประจำ�มหาวิทยาลัยที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบันหางนกยูงฝรั่ง เป็นต้นไม้ประจำ� มหาวิทยาลัย
ม ห า วิ ท ย า ลั ย ย่ อ ม อุ ป ม า ประดุ จ บ่ อ น้ำ � บำ � บั ด คอวาม กระหายของราษฎรผู้ ส มั ค ร แสวงหาความรู้ อั น เป็ น สิ ท ธิ และโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการ ศึกษารัฐบาลและสภาผู้แทน ราษฎรเห็นความจำ�เป็นในข้อ นี้ จึ ง ได้ ต ราพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ม ห า วิ ท ย า ลั ย ขึ้ น
“
all about thammasat
all about journalism
1954
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497
เป็นคณะวิชาในแขนงวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หรือที่เรียกทั่วไปว่า “นิเทศศาสตร์” แห่งแรกและแห่ง เดียวของประเทศที่ไม่ได้มีชื่อว่า “คณะนิเทศศาสตร์”
สัญลักษณ์ นกพิราบ
สาขาวิชาที่เปิดสอน กลุ่มสาขาวิชาบริหารการสื่อสาร (Communication Management) กลุ่มสาขาวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ (Newspaper and Print Media) กลุ่มสาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์ (Radio and Television Broadcasting) กลุ่มสาขาวิชาประชาสัมพันธ์ (Public Relations) กลุ่มสาขาวิชาโฆษณา (Advertising) กลุ่มสาขาวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย (Cinematography)
เพลงประจำ�มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำ�นองเพลงมอญดูดาว สำ�นักไหนหมายชูประเทศชาติ * ด้วยอำ�นาจปกครองให้ผ่องเฟื่องเอย เอ๋ยเราเป็นไทยเรารักไทยบูชาไทย ไม่ยอมให้ใครผู้ใดมาล้างเสรีไทย สำ�นักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง * ก่อรุ่งเรืองสมบูรณ์เขตประเทศไทยเอย เอ๋ยธรรมศาสตร์ธรรมศาสตร์การเมือง ไทยจะเฟื่องไทยจะรุ่งเรืองก็เพราะการเมืองดี เหลืองของเราคือธรรมประจำ�จิต * แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้เอย เอ๋ยเหลืองกับแดงเหลืองกับแดงเหลืองกับแดง ทุกทุกแห่งทุกทุกแห่ง แต่ล้วนเหลืองกับแดง ชื่อว่าธรรมแล้วเราเทิดให้สมไทย * ทุกอย่างไปงานหรือเล่นต้องเป็นธรรมเอย เอ๋ยใครรักชาติใครรักธรรมเหมือนกับเรา จงมาเข้าและโปรดเอาใจช่วยเหลืองกับแดง
SONG &LYRI Victor Boom victor victor boom hoo re hoo re ha ha victor victor boom hoo la hoo la he he qu’est qui ? Thammasat Je vaux dit “TU.” la.
IC
เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง
แหล่งศึกษาร่มเย็นเด่นริมสายชล เราทุกคนรักดุจหัวใจ ปลูกยูงทองไว้เคียงโดมมุ่งประโลมโน้มใจรัก ธรรมจักรนบบูชาเทิดไว้ เหลืองแดงแสงธรรมศาสตร์วิไล ปกแผ่ไปในทุกทาง สัญลักษณ์ดีเด่นเห็นกระจ่าง อย่าจืดจางรักร่วมทางกันไป *ทรงธรรมปานดังตราชูเด่น ทรงเป็นดวงธรรมนำ�ทางให้ พิทักษ์รักษาเชิดชูไว้ อบอุ่นใจไปทุกกาล พระธรรมสถิตย์ร่วมจิตสมาน ปฏิญาณรักสามัคคี รักยูงทองงามเด่นเหนือนที ส่งศักดิ์ศรีไว้ให้ยิ่งยืนนาน
B
o
o
m
J
C J...J
J - J - J C...C C - C - C J..C J C - J C
พร้อม : Jounalist... เอ้า! ลุย พร้อม : From J From J From J JC
JC JC JC We are We are We are We are JC Journalist....
สวย หล่อด้วย
INTER VIEW ทำ�ไมพี่ถึงเลือกเรียนเอกนี้? เรารู้อยู่แล้วว่าสิ่งพิมพ์ที่นี่ขลังมาก พอเราเข้ามาในคณะนี้ เราก็เล็งไว้ละ แล้วเราก็ชอบอ่านหนังสือ จริงๆแล้วเราชอบ กลิ่นกระดาษด้วย พอได้เข้ามาเรียนแล้วก็ชอบถือว่าเป็น เอกที่ท้าทาย ช่วงแรกๆก็สับสนเหมือนกันกับวิทโทฯและ โฆษฯ เราก็อยากทำ�นะ แต่พอต้องเลือกจริงๆก็คิดว่าเลือก อะไรที่เราคิดว่าจะอยู่กับมันได้นานที่สุดดีกว่า กว่าจะเลือก ได้ก็ประมาณปีสองปลายๆแต่ก็มั่นใจแล้ว
TARN BEAR การเรียนในเอกเป็นยังไงบ้างให้ ทำ�อะไรบ้าง? เอกนี้ค่อนข้างจะเน้นงานเขียนมาก ตัวเรียนมันก็จะเกี่ยวกับการเขียน ข่าว เขียนข่าวขั้นสูง ทำ�สารคดี ทำ� บรรณาธิการ ไรงี้ บรรยากาศใน การเรียนเอกนี้ก็อาจจะไม่ได้เฮฮา เหมือนเอกอื่น แต่ด้วยความที่เอก ไม่ได้ใหญ่มีประมาณ30คน เวลา เรียนหรือทำ�งานอะไรก็จะได้ไปด้วย กันหมดเลยทุกอย่าง ทำ�นิตยาสาร ทำ�หนังสือพิมพ์ก็จะได้ทำ�ด้วยกัน หมดเลย อบอุ่นดี ยกเว้นทำ�สารคดี หรือข่าวต่างๆที่จะเป็นงานเดี่ยว เรา ได้ทำ�ข่าวทุกประเภท ไปเฝ้าสถานี ตำ�รวจเพื่อหาข่าวไปหลายวันจนกว่า จะได้ข่าว ได้ไปลงชุมชนอยู่กับชาว บ้านเอามาเขียนข่าวหรือทำ�เวบไซต์ ข้อมูลชุมชนแล้วแต่วิชา งานก็จะมี ให้ส่งอาทิตย์ต่ออาทิตย์
(54)
ถ้าไม่รู้ตัวว่าชอบอะไรจริงๆแต่เลือกเข้ามาในเอกนี้จะเรียนไหวไหม? ต้องลอง ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเราชอบมั้ย ยกเว้นไม่ชอบงานเขียนมากๆ เข้ามาแล้วก็อาจจะลำ�บากใจเวลาทำ�งานส่ง พี่เองก็ไม่ได้เขียนเก่งไรมากแต่ก็ยัง รู้สึกสนุกดี ถึงไม่ได้คะแนนดีมากโดนติดลบด้วยซ้ำ�เพราะงานเขียนมันมีที่ให้ติ เยอะ อาจารย์ก็เข้มงวดแบบเป็นตำ�นานเลย
0 1 บรรยากาศในเอกเป็นอย่างไรบ้าง? เรามีห้องเอกซึ่งส่วนใหญ่ก็จะได้ใช้กันตอนปีสาม กลางวัน ไม่รู้จะทำ�อะไรก็มาอยู่ห้องเอก ได้เจอหน้ากันทุกวัน เป็นเอก ที่เข้าห้องบ่อยเพราะห้องอยู่ชั้นล่างตึกมีเดีย
Newspaper & Print Media
จบไปแล้วทำ�อะไร? พวกรุ่นพี่ที่จบไปแล้วก็จะมีทำ�งานทั้งตรงสาย ส่วนใหญ่เป็นนิตยาสารแต่ก็มีคละๆ เป็นนักข่าว ตามโต๊ะข่าวต่างๆทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทยหรือ ต่างประเทศอย่างบางกอกโพสต์ ทำ�เป็นคอลัม นิสต์ ออกแบบกราฟฟิคหนังสือพิมพ์ แต่เอกนี้ ไม่ได้เน้นนะถ้าอยากเก่งด้านนี้จริงๆต้องศึกษา เพิ่มเอาเอง บางคนก็อาจจะบอกว่าทำ�งานด้าน นี้ได้เงินน้อยแต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถเราด้วย แบบไปรับงานนอก พี่ก็ยังดูๆอยู่อยากทำ�นิตยา สารเหมือนกันแต่งานบนสื่อดิจิตอลหรือนักข่าว ก็มีให้เลือกเหมือนกัน ยังดูๆอยู่
INTER VIEW
PANG AMBASSY (54)
หลายคนคงติดภาพนัก ประชาสัมพันธ์ คือคนที่นั่ง รับโทรศัพท์ โทรศัพท์อยู่ หน้าเคาท์เตอร์ แต่จริงๆ แล้ว การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หรือ ที่เรียกติดปากกันว่า PR นั้น คือการสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน ผ่านสื่อและกิจกรรม เพื่อ เป้าหมายสูงสุดคือภาพ ลักษณ์ที่ดี
นักประชาสัมพันธ์ทำ�หน้าที่ เป็นกระบอกเสียงให้กับองค์กร มีหน้าที่ในการสร้างและรักษา ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร อีกทั้ง ต้องแก้ไขภาพลักษณ์ด้านลบ เมื่อ องค์กรเผชิญกับวิกฤต ทำ�หน้าที่ ควบคู่ไปกับผู้บริหารองค์กร ความ สนุกของเอกนี้อยู่ตรงที่เราได้ใช้ ความคิด แชร์ไอเดีย คิดกลยุทธ์ ใหม่ๆ ในการวางแผนการทำ�งาน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข่าว จัดอีเว้ นท์ต่างๆ จัดแถลงข่าว รวมไปถึง การเลือกสื่อ
เรียกได้ว่า ยิ่งโลก กว้างเท่าไหร่ นักพี อาร์ก็ยิ่งต้องตาม ให้ทัน เพื่อให้เราได้ ค้นพบสิ่งใหม่ๆและ พัฒนาตัวเองอยู่ ตลอดเวลา นอกจาก นั้นแล้ว เรายังได้ พบปะผู้คนและสร้าง Connection เพื่อ ประโยชน์ต่อไปใน อนาคตอีกด้วย
P U B L I C
R E L A T I O N S
0 2 ในส่วนของบรรยากาศใน เอกก็จะเป็นกันเองมากๆ เอก เราเป็นเอกเล็กๆที่อยู่แล้วรู้สึก อบอุ่น ทุกคนส่วนใหญ่ในเอก ก็สนิทกันหมดทุกคน เวลาลง เรียนแต่ละวิชาก็จะเรียนคล้ายๆ ทั้งเอก ถ้าไม่รู้ตัวว่าชอบอะไร จริงๆ แล้วเลือกเข้ามาเอกพี อาร์ ส่วนตัวพี่คิดว่าไม่น่ามี ปัญหาอะไร เพราะการเรียน แต่ละวิชาในเอก จะเน้นให้เรา ได้แสดงความเป็นตัวเองออก มา ทั้งในด้านของความคิดและ ทักษะต่างๆทั้งหมดที่มีในตัวเรา การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดย เฉพาะการตัดสินใจที่ต้องถึง ความสัมพันธ์อันดีในระยะยาว เป็นหลัก
INTER VIEW
RADIO & TELEVISON BROAD CASTING
EARTH ALERT
(54)
การเรียนในเอกเป็นยังไงบ้าง ให้ทำ�อะไรบ้าง? อาจารย์จะสอนตั้งแต่รากฐานของมัน อย่างถ้าเป็นโทรทัศน์ก็จะเรียนรู้ไปตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ของโทรทัศน์ ไปจนถึงการผลิต การเป็นเบื้องหน้า เรียกได้ว่าค่อน ข้างครอบคลุม เราสนใจตรงไหนที่เจาะลึกเป็นพิเศษก็มีเปิดเป็นรายวิชา เพราะ ฉะนั้นเราก็สามารถเรียนทุกอย่างที่เราอยากรู้ได้
ทำ�ไมพี่ถึงเลือกเรียนเอกนี้? เพราะว่าเราคิดทบทวนดูแล้วว่าเราชอบ ทุกๆอย่างที่เป็นคณะนี้แหละ แต่ว่าเรา ก็มาคิดว่าเอกไหนที่เราชอบ ใช่กับเรา มากที่สุด ก็ทบทวนทีละเอกว่าแต่ละเอก เป็นไงบ้าง ถ้าอย่างฟิลม์ โอเคเราชอบอยู่ หน้ากล้อง แต่เราไม่ได้อินกับมันขนาด นั้น ที่จะไปคลุกคลีกับมันเราก็ตัดไป เอก สิ่งพิมพ์ก็เขียนไม่ได้ขนาดนั้น พีอาร์ก็เอ้ะ ไม่ใช่ บริหารสื่อก็ยังคงไม่ใช่มั้ง โฆษณา ก็ยังคงไม่ใช่ แต่โอเคตรงนี้แหละ ที่เราได้ ทั้งอยู่หน้ากล้อง ทั้งอยู่หลังกล้อง ในขณะ ที่เรามีความสุขกับมันไปพร้อมๆกัน
0 3
ถ้าไม่รู้ตัวว่าชอบอะไรจริงๆแต่เลือกเข้า มาในเอกนี้จะเรียนไหวไหม? ถ้าพูดถึงเรื่องไหวไหม มันไหวอยู่แล้ว เพราะ ว่าวิทโทมันก็ดูเป็นเอกที่เรียนง่ายที่สุดใน ความรู้สึกเราเรารู้สึกว่ามันเรียนง่ายที่สุด เพราะถ้าคนมีเซ้นต์มันก็พอจะจับๆได้ แต่ถ้า ยังไม่รู้จริงๆว่าชอบอะไร ก็ใช้เวลามากกว่าใน มหาลัย ใช้เวลาส่วนตัวของเราคิดค้น ลองไป ออกกอง ลองออกไปทำ�หลายๆอย่างแล้ว ยังไงเราก็จะรู้เอง
สังคมบรรยากาศในเอกเป็นอย่างไรบ้าง? บรรยากาศสนุกสนาน เพราะพอมันแยกเป็น เอกแล้วทุกๆคนจะรู้จักกันหมด แล้วพอรู้จักกัน หมดเราก็จะได้ทำ�งานด้วยกัน แล้วเราก็จะยิ่ง สนิทกันแล้วมันก็ยิ่งทำ�ให้การใช้ชีวิตในเอก สนุกมากขึ้น นอกจากในรายวิชาแล้วที่จะเกิด ขึ้นคือซิตคอมโดยเอกวิทยุโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่คนในเอกมีความต้องการที่จะทำ�ขึ้น มาเองเพื่อเก็บไว้เป็นพอร์ท เป็นความทรงจำ�ดีๆร่วมกันสนุกๆ
จบไปแล้วทำ�อะไร? บางคนก็ทำ�งานตรงสายทำ�งานในด้านวิทยุโทรทัศน์ บางคนก็ไปทำ�โฆษณาไปทำ�อย่างอื่น แต่มันก็ชิลอยู่แล้ว เราไม่ซีเรียสกับการที่เราเรียนเอกนี้ต้องมาทำ�งานด้านนี้ ถ้าเรามีความชอบหรือโชคชะตามันเปลี่ยนไปมันก็ต้องทำ�ตาม โชคชะตา จบไปถ้ามีโอกาสได้ทำ�งานเบื้องหน้าเราก็ทำ�ไปก่อน เพราะมันคือสิ่งที่เราชอบแล้วมันก็ได้เงินดี แต่ถ้าวันไหนเรารู้สึกอิ่มตัว หรือว่าเราไม่มีงานแล้ว เราก็ไปทำ�เบื้องหลังในสิ่งที่เราเรียนมา ไม่ว่าจะเป็นการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ หรือไม่ก็ทำ� production house เพราะว่าเราก็เก็บสะสมประสบการณ์แล้วก็ผู้คนไว้เยอะทีเดียว
INTER VIEW
04
TEERA JIVORAS (54
ทำ�ไมพี่ถึงเลือกเอกฟิล์มคะ เลือกมาก่อนแล้วหรือปล่าว? ใช่ พี่เลือกมาตั้งแต่ขึ้นม.5 เริ่มดูหนังมาตั้งแต่ ขึ้นม.1 แล้วก็เริ่มทำ�หนังสั้นเรื่องแต่ตอนขึ้นม. 5 คือแบบทำ�เองหมดเลยนะ เขียนบทกำ�กับ ทุกอย่าง พอเข้ามหาลัยก็เลยตั้งใจเข้าคณะนี้ ชัวร์อยู่แล้ว ก็เลยเลือกเอกนี้
ถ้าเรายังไม่แน่ใจ แล้วเขามาเรียนฟิล์ม เราจะไหวไหม? คือมันก็ต้องลองทำ�นะ อย่างพี่นี่ตอน แรกที่เข้ามา คือตั้งใจเข้ามากำ�กับอย่างเดียวเลย ให้ คนอื่นทำ�อย่างอื่นไป แต่พอเข้ามาปุ๊ป เราก็ต้องลอง เป็นตำ�แหน่งอื่นอ่ะ เป็นโปรดิวเซอร์ เป็นคนเขียนบท เป็นผู้ช่วยผู้กำ�กับ ซึ่งพอทำ�ไปทำ�มา พี่ก็รู้ว่าตัวเอง ทำ�งานกำ�กับห่วยมาก เราชอบงานสายการจัดการ พวกโปรดิวเซอร์ ผู้ช่วยผู้กำ�กับมากกว่า
คนที่ไม่ได้ดูหนังเยอะๆ เลือกเรียนเอกนี้ได้ไหม? พี่คิดว่าคนที่เลือกดูหนังนี่ก็ต้องเป็นที่ ชอบดูหนังด้วยนะส่วนนึง เพราะเวลาเราจะทำ�หนัง จบไปนี่ทำ�อะไรได้บ้างคะ เราต้องศึกษามาก่อนว่า คนที่เขาเคยทำ�ๆมา เขามี มันกว้างมากอ่ะ คือเรา วิธีการทำ�กันยังไง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าวันข้างหน้าเรา จะไปเปิด house production เอง จะทำ�หนังเป็นแนวไหน เราต้องศึกษา ก็ได้ ไปทำ�งานสายโฆษณาก็ได้ สิ่ง ความเป็นมาเป็นไปก่อนอ่ะ พิมพ์ก็ได้ วิทโทก็ได้ คือมันเกี่ยวกัน ได้ ทำ � หนั ง เยอะไหมคะ? หมดอ่ะ วนๆกัน ขึ้ น อ ยู่ กั บ ว่ า เ ร า ล ง เ รี ย น วิ ช า อ ะ ไ ร บ้ า ง ซึ่ ง ก็ จ ะ มี การเรียนเป็นยังไง เขาให้ทำ�ไรบ้างคะ? วิ ช า ที่ จ ะ ต้ อ ง ทำ � ห นั ง ที่ ที่เรียนจะไม่ได้เรียนตั้งแต่ต้นจนจบเลย ต้ อ ง เ รี ย น อ ยู่ ห ล า ย ตั ว กระบวนการทำ�หนังนะ ที่เน้นหลักๆก็จะมีเขียนบท ส่วนใหญ่เราต้องทำ�งานเป็ น กำ�กับ ถ่ายทำ� แล้วก็จะมีวิชาเสริมคือเอาคนนอกที่ กลุม่ ทำ�หนังเป็นกลุม่ ก็ตอ้ ง เก่งๆที่ทำ�งานในอุสาหกรรมหนังเข้ามาสอนเป็นเฉพาะ มาดู ท่ี เ พื่ อ นแต่ ล ะคนใคร แค่บางวิชา พวกการทำ�ภาพ ทำ�สีภาพ เป็นส่วนของ ถนัดอะไร ซึง่ ก็ขน้ึ อยูก่ บั การ post production มีสอนแยกไป มีวิชาภาพถ่ายด้วย บริ ห ารการจั ด การของกลุ่ม นะแต่จะมีน้อยกว่าที่อื่นหน่อย ส่วนใหญ่จะเป็นตัว ภาพยนตร์
ACHOT SETKUL 54)
บรรยากาศในการเรียนเป็นยังไงบ้างคะ? มีทั้งด้านที่ดีและด้านที่แย่นะ คือด้านที่ดีก็คือทุก คนก็จะมารวมตัวกันเพื่อทำ�หนัง ซึ่งมันใช้คนเยอะ ส่วนด้าน ที่แย่เนี่ยก็คือ เวลาเราทำ�งานกับคนเยอะๆ มันก็จะมีปัญหา กัน ทะเลาะกันเป็นประจำ� เพราะความคิดอาจจะไม่เหมือน กัน ส่วนอาจารย์ก็มีทั้งแบบ ชิวๆ เฮฮาสนุกสนาน แบบเครียดๆ ก็มี ซึ่งบรรยากาศในห้องเรียนก็จะเหมือนว่าเราคุยกันได้ทุก คน คือเราสามารถวิจารณ์คนอื่นได้ แล้วอาจารย์ก็จะอยู่กับเรา ตั้งแต่ต้นจนจบเทอม เราสามารถเข้าไปถามเข้าไปปรึกษาเขา ได้ตลอด เพราะงานเรามันมีหลายกระบวนการมาก มันเหมือน เป็นครอบครัวอ่ะ ซึ่งทุกคนในเอกก็จะมีความผูกพันกันมาก
CINEMATROGRAPHY
INTER VIEW
PREAWPLEARN PLEARN (54) ที่พี่เลือกเอกโฆษฯเพราะอยากเรียนตั้งแต่แรกเลยไหมคะ? คือตั้งแต่แรกจริงๆเราอยากเรียนสถาปัตย์ แต่ทีนี้ไม่ติด มาติดที่นี่ ก็เลยอยากเรียนโฆษณาเพราะว่าเราอยากเป็น Creative มากกว่า แล้วก็อยากทำ�โฆษณาด้วย ซึ่งตอนแรก เราก็ลังเลอยู่เหมือนกันว่าจะเรียนสิ่งพิมพ์ดีไหม เพราะเราชอบ อ่านหนังสือ แต่พอไปเรียนดู มันจะเป็นงานเขียนซะเยอะ ก็ไม่ อยากเรียน เราก็เลยตัดสินใจได้ว่าเป็นเอกโฆษณา
การเรี ย นการสอนในเอก เป็นยังไงให้ทำ�อะไรบ้าง? พอเข้ามาเรียนในเอกเราจะรูว้ า่ เอกเราจะแบ่งออกเป็นสาม ส่ ว นใหญ่ ๆ คื อ Creative, Planner แล้วก็ AE(Account Executive)ตอนแรกเรา เข้ า ใจว่ า เรี ย นโฆษณาก็ คื อ เป็นแบบCreative ออกแบบ โฆษณาที วี อ ะไรแบบนั้ น จริงๆแล้วมันไม่ใช่ มันมีสาม อย่าง ก็คือถ้าเรียน Planner ก็ จ ะเป็ น พวกนั ก วางแผน โฆษณา ว่าเราจะใช้สื่อแบบ ไหน ปล่อยช่วงเวลาไหน งบ ประมาณเท่าไหร่ แล้วปล่อย อันถัดไปยังไง เพื่อให้คนไม่รู้ สึกเบื่อและติดตามโฆษณา ถ้ า เ ป็ น A E ก็ คื อ เ ป็ น ตั ว กลางที่ ติ ด ต่ อ ประสาน งานระหว่ า งบริษัทโฆษณา กับลูกค้าที่ จ ะมาจ้ า งไปทำ � โฆษณา สำ�หรับCreativeก็ จะเป็ น คนคิ ด สร้ า งสรรค์ งานโฆษณาต่ า งๆออกมา ซึ่ ง บอกเลยว่ า คณะเราไม่ เน้น Creative นะ จะเน้น Planner กับ AE มากกว่า
ตอนเรียนได้ ทำ�โฆษณาบ้างไหมคะ? ไม่มที �ำ จริงนะแต่เป็นคิดมากกว่าแบบ คิดอยูใ่ นกระดาษคิด Print Ad คิด Spot โฆษณาทางวิทย ุ คิด Storyboard โฆษณา ทางทีวี แบบนี้มากกว่า ซึ่งพอเราคิด งานมา อาจารย์ก็จะให้เอามาวิจารณ์ กันในห้อง เชิญรุ่นพี่ที่ทำ�งานใน วงการโฆษณามาช่วยวิจารณ์งานเรา ว่าดีไม่ดียังไง ส่วนเรื่องของการถ่าย ทำ�เราจะส่งต่อให้พวก House Production ทำ�มากกว่า ส่วนใหญ่เรา จะเป็นคนคิดอย่างเดียว ซึ่งก็อาจจะ มีการออกกองลงไปคุมงานบ้างนิด หน่อย ซึ่งก็มีวิชาเรียนบางตัวของเอก ที่เรียนเป็น Producer ของกองถ่ายก็ มี คือเป็นคนจัดการทุกอย่างในกอง ถ่ายโฆษณา
advertising
ถ้าไม่เรารู้ว่าชอบอะไรแล้วมาเรียนเอก นี้จะไหวไหมคะ? เราว่าถ้าไม่รู้จริงๆนะ ให้ลองคุยกับรุ่นพี่ดู ว่าพี่เขาเรียนอะไรยังไง หรือไม่ก็ถ้าพี่เขามี งานอะไร เราก็ลองตามไปช่วยดู ไปลองทำ� ดู แค่นี้ก็รู้แล้วว่าชอบไม่ชอบ มันก็ไม่ได้ ตายตัว เพราะอย่างเราเรียนเอกโฆษณา แต่ก็ไปเลือกเรียนโทฟิล์ม เพราะเราสนใจ การถ่ายรูป อยากรู้ว่าถ่ายรูปเป็นยังไง คือเราเลือกที่จะเรียนอย่างอื่นได้ด้วย ซึ่งจริงๆแล้วเราว่าเอกก็ไม่ได้เป็นตัวตัดสิน ว่าเราจะไปทำ�งานไร สุดท้ายมันก็ปนๆกัน อยู่ดี แต่แค่เราก็ต้องเลือกเอกที่เราจะมี ความสุขกับมันมากที่สุดเพราะว่าเราจะ ต้องอยู่กับมันไปจนจบปีสี่ ซึ่งถามว่าเรียน ไหวไหม เรียนไหวอยู่แล้ว อย่าง Creative ก็สนุกดี แต่ Planner ก็จะเครียดๆ
05 ถ้าไม่มีความคิดสร้างสรรค์มากก็ยัง เรียนเอกนี้ได้ใช่ไหมค่ะ? ใช่ ก็ไปสาย Planner วางแผน อะไรอย่างงี้ก็ได้ แต่จริงๆความคิด สร้างสรรค์ก็จำ�เป็นสำ�หรับคณะนี้นะ แล้วทำ�ไมพี่ถึงเลือกสาย Creativeค่ะ? ก็ตั้งแต่แรกไง พูดแล้วก็เสียใจ อยาก เรียนสถาปัตย์ แต่ไม่ติด ก็เลยคิดว่า สายนี้จะเป็นอะไรที่เรายังได้ฝึก ยังได้ ทำ�อะไรที่ชอบอยู่อ่ะ ถึงแม้มันจะนิด เดียวก็เหอะ
เอกนี้นี่เกี่ยวข้องกับเอกอื่นยัง ไงบ้าง? อย่างโฆษณากับฟิล์มก็ จะเกี่ยวข้องกันในเรื่องของ Production แล้วก็การถ่ายภาพ โฆษณาเพราะว่าโฆษณาแต่ละ ชิ้นก็จะต้องมีการจัดวางองค์ ประกอบต่างๆ การใช้สี การใช้ แสง ให้ตรงกับ Concept ที่ลูกค้า ให้มา และเพื่อให้มันสื่อสารออก มาได้ตรงประเด็นที่สุด บรรยากาศในเอกเป็นยังไงบ้างคะ? อาจารย์ ค่ อ นข้ า งเก่ ง นะ แต่ บ างที มี พู ด แล้ ว ก็ เ ข้ า ใจยากก็ มี เพราะว่าอาจารย์แต่ละคนนี่ เคยไป ดูประวัติเขามา ก็เป็นคนที่ทำ�งานอยู่ ใน Agency โฆษณาดังๆหลายที่อยู่ บรรยากาศการเรียนก็อย่างพวกวิชา Creative ก็จะมีการวิจารณ์งานในห้อง กัน ให้คะแนนกัน แล้วก็จะมีขอรางวัล ให้ท้ายๆเทอม พวก Planner ก็จะเป็น พวกงานกลุ่ม แต่ทั้งเอกมันก็จะไม่ค่อย เหมือนกันเท่าไหร่นะ เพราะคนมันก็ จะแยกกันไปแต่ละสาย แล้วก็มีบาง วิชาที่ต้องไปฝึกกับ Agency โฆษณา จริงๆ คือไปขายงานให้ลูกค้าจริงๆก็มี จบไปแล้วทำ�อะไรได้บ้าง? ก็ได้หมดอ่ะ Creative Planner AE ถ่ายภาพ คือมันก็ปนๆกันนะกับเอก อื่นๆ เหมือนกับพอเราไปทำ�งานจริงๆ เราก็สามารถปรับตัวเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้ตลอด
0 6
INTER VIEW
การเรียนในเอกเป็นยังไงบ้าง ให้ทำ�อะไรบ้าง? การเรียนเอกเราส่วนมากจะเรียนคล้ายๆ มานั่งถกกัน หลังจากเรียนทฤษฎี แนวความคิดไปแล้ว อาจารย์จะให้หัวข้อมาศึกษาแล้วก็ไปคุยกันว่า ใครมีความเห็นยังไงแล้วอาจารย์คิดว่ายังไง ไม่ค่อยมีผิดถูก แต่อาจารย์ท่านมีประสบการณ์ มาก่อนก็จะบอกเราได้ว่าที่เราคิดมันจะทำ�ออก มาสำ�เร็จมั้ยอะไรแบบนี้ คนชอบเข้าใจว่าเอกเรา นั่งเรียนทฤษฎีหนังสือเล่นหนาเป็นปึกๆ อันนั้นก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเล็กๆ จริงๆเอกเราเรียนแล้วได้คิด ได้วางแผนในแบบตัวเองเยอะนะ แค่อิงแนวคิดบ้างไม่ให้มันลอยแค่นั้นเอง
POYPOY
(54)
ทำ�ไมถึงเลือกเอกนี้? เพราะเราสนใจด้านการสื่อสาร ที่เป็นตัวเนื้อหามากกว่าช่องทาง เราว่างานขั้น pre production มันน่า สนใจกว่าการผลิตสื่อออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน มันเจ๋งที่เราจะรู้ว่าถ้าเราต้องการผลลัพธ์ จากผู้รับสารแบบนี้เราต้องสื่อสารออกไปยังไง
ถ้าไม่รู้ตัวว่าชอบอะไรจริงๆแต่เลือกเข้ามาในเอกนี้ จะเรียนไหวไหม? เอาจริงปีสองควรรู้ตัวได้แล้วนะว่าจะไปทางไหน ปีหนึ่งเรียนไปก็ศึกษาไปว่าเราชอบสไตล์ไหน (อย่าตัดสินเอกที่เลือกจากตัวพื้นฐานที่เรียนนะ มันเป็น ส่วนหนึ่งเอง) ถ้าเลือกเรียนแล้วก็ลองดูอะ ไม่รู้ว่าไหวไม่ ไหวของแต่ละคนประมาณไหน แต่ถ้าไม่ไหวก็ไปเขียน ใบคำ�ร้องขอเปลี่ยนเอกได้ แต่ก็คิดว่าไหวแหละเลือก แล้วแสดงว่ามีใจมา ก็สู้ๆนะ
C O M MUNICATION M A N NAGEM E N T
บรรยากาศในเอกเป็นอย่างไรบ้าง? สังคมอบอุ่นอะ อาจารย์กับเพื่อนในรุ่นรู้จักกันทุกคน รุ่นนึงเรียนแบบ ไม่เกินห้าคนมาหลายปีแล้ว ไม่ต้องคิดจะโดดเลย อาจารย์มีเบอร์ มี ตามตัวแน่ 5555
จบไปแล้วทำ�อะไร? จบไปแล้วทำ�อะไรคือกว้างมากเลย อะไรที่เกี่ยวกับการสื่อสาร น่าจะพอ ทำ�ได้หมด เพราะยังไงถ้าเข้าองค์กรไป พวกเรื่องเครื่องมือ เรื่องเทคนิคก็ต้องไป ฝึกกันใหม่อยู่ดี (แต่จะลึกซึ้งแบบอยาก เป็นช่างภาพอยากเป็นนักตัดต่อรายการ ทีวีมาเรียนเอกนี้ก็ใช่ที่นะคะ) แต่ถ้า สายตรงก็อาจจะเป็นพวกวางแผนการ สื่อสารอะไรแบบนั้นแหละ
INTER VIEW sepcial
07 ตอนที่เรียนอยู่รู้หรือยังว่าตัวเองจบไปแล้ว อยากทำ�งานอะไร รู้แล้วครับ เพราะว่า เอกสิ่งพิมพ์ให้เราลองทำ�งาน ทุกอย่าง ไม่ว่าจะทำ�นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ตอน ทำ�งานเราจะเริ่มค้นแนวทางเราเจอ เพราะว่าเรา ทำ�แล้วจะรู้เลยว่าเราชอบงานแบบนี้หรือไม่ ซึ่งพี่ ว่าเอกนี้ช่วยเราในแง่นี้ดีมาก เพราะฝึกให้เราเรียน รู้จากการทำ�งาน ซึ่งการที่เราค้นพบแนวเราก็ถือว่า เป็นโบนัส สิ่งที่กลัวที่สุดในการทำ�งานข่าวคืออะไร กลัวตกข่าวมาก การตกข่าวคือ การที่เราไม่รู้ เรื่อง หรือไม่มีข้อมูลในการรายงานข่าว แล้ว หนังสือพิมพ์ สำ�นักข่าวอื่นเค้ามีข้อมูลกัน ซึ่งก็กลายเป็นสื่อของเรานั้นตกข่าวตาม หรือ ไม่ทันเหตุการณ์ เช่น สมมติข่าวบันเทิง สื่ออื่นๆ เค้าลงข่าวแล้วว่า ดารา ก.คนนี้บอกเลิกกับ ดารา ข. คนนี้เพราะอะไรๆๆ แต่เรายังไม่รู้อะไร เลย ยิ่งถ้าเป็นแบบนั้นก็จะเจอกับแรงกดดันต่างๆ ตามมา เช่น หัวหน้าโต๊ะที่กดดันเราให้หาข้อมูลมา ให้ได้ หรือจากคู่แข่งเราที่ดันมีข้อมูลที่เราไม่มี
ทำ�ไมถึงเลือกเรียนเอกสิ่งพิมพ์ พี่เลือกเรียนเอกสิ่งพิมพ์ เพราะว่า เอกสิ่งพิมพ์เป็น ที่เล่าขานกันมารุ่นต่อรุ่นแล้วว่า “ทรหด” ต้องลุย ต้องเก่งจริง พี่เลยอยากลองของ แล้วก็พี่รู้สึกด้วย ว่า เอกสิ่งพิมพ์ให้เราเรียนรู้จากการทำ�งานจริงๆ เลย ทั้งทำ�นิตยสารเอง ทำ�หนังสือพิมพ์เอง ซึ่งพี่ว่า เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่หาไม่ได้จากที่ไหน อีกแล้วละ
BOAT journal การทำ�งานข่าวในโต๊ะข่าวเศรษฐกิจ จำ�เป็นต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้าง ต้องเป็นคนสนใจ หรือมีความตั้งใจที่จะศึกษาในด้านเศรษฐกิจ ไม่เคยรู้เรื่อง ไม่เป็นไร คนที่จบด้านเศรษฐศาสตร์มาก็ต้องมาเรียนรู้กัน ใหม่เหมือนกัน เพราะข่าวเศรษฐกิจ นอกจากคำ�ศัพท์ใหม่ๆ เยอะแยะ แล้ว ต้องเจอกับหลักการเหตุผลต่างๆ มากมาย ตัวเลขก็เยอะมากๆ จนมึนหัว ดังนั้นต่อให้เก่งแค่ไหน แต่ไม่ตามข่าวก็ยาก เพราะข่าวมันดำ�เนินไปตลอดเวลา
ตอนเป็นเด็กฝึกงานกับตอนที่ทำ�งานจริงๆต่างกันไหม ต่างกันมาก เพราะตอนเด็กฝึกงานนั้น งานที่รุ่นพี่ให้เรามาก็จะไม่ได้คาดหวังอะไรกับเรามาก อาจจะเป็นงานเล็กๆ เช่น ปรู๊ฟงาน หรือ ถอดเทป เขียนสกู๊ปบ้าง เราก็จะไม่กดดัน ต่อให้เราทำ�งานพลาด เขาก็จะไม่มาดุมาว่าอะไร เพราะเห็นเราเป็นเด็ก แต่พอเข้าสู่ช่วงทำ�งาน การทำ�งานทุกอย่างต้องเป๊ะๆ ถ้าเราพลาดไม่ใช่แค่ตัวเราที่เสีย แต่บริษัทเราด้วย อย่างทำ�งานหนังสือพิมพ์ เขียนข้อมูลผิดเล็กน้อย คนอ่านก็จะไม่มานั่งหาชื่อคนเขียนหรอก เค้าก็จะว่าหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ ดังนั้นทั้งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตอนทำ�งานจึงหนักกว่าตอนฝึกงาน พูดง่ายๆ คือ ผิดไม่ได้เลย (ที่จริงก็ผิดได้บ้าง แต่อย่าบ่อย)
(53)
list
เคยได้ยินมาว่างานนักข่าวเป็นงานที่เครียดมาก พี่ โบ๊ทเห็นด้วยหรือเปล่า เห็นด้วยอย่างมากครับ ทุกๆ วันยังเครียดเลย (ฮ่าๆ ) คือ งานนักข่าว เจอความกดดันอยู่ 4 อย่าง 1.ตกข่าว ถ้าเราตกข่าว เก็บข้อมูลมาไม่ครบ จะทำ�ให้ หนังสือพิมพ์ไม่ทันเหตุการณ์ เราก็จะถูกหัวหน้าโต๊ะว่า มาได้ สะท้อนต่อคุณภาพการสื่อข่าวเราด้วย 2.กดดันจากคู่แข่ง สำ�นักข่าวอื่น เพราะ เวลาทำ�ข่าว ต้องอย่าลืม ไม่ใช่เราคนเดียวที่ทำ�ข่าวนั้น คนอื่นก็มี ดังนั้นถ้าคู่แข่งได้ข้อมูลที่เราไม่มี เราก็ต้องหาให้ได้ เหมือนกัน ไม่งั้นจะถูกภาษานักข่าวที่เค้าเรียกว่า “โดนตีหัว” แล้วก็จะลงเอยด้วยการโดนว่าจาก หัวหน้าโต๊ะ 3.กดดันจากหัวหน้าโต๊ะหรือแหล่งข่าว เวลาเขียนข่าว พลาด ข้อมูลไม่ครบ ตกข่าว เป็นผลเสียต่อหนังสือพิมพ์ เอง เสียภาพลักษณ์ดูไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งอย่าลืมว่า หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง ถ้าไม่น่าเชื่อถือ ไม่ทันข่าว ใครที่ไหนจะมาซื้อ 4.สุดท้ายก็ เดดไลน์ เรื่องของเวลาสำ�คัญมาก ช้านิดก็ก็ เป็นข่าวเก่าแล้ว ดังนั้นเวลาทำ�ข่าวก็ต้องรีบพิมพ์ข่าวส่ง เพื่อจะได้ทันเหตุการณ์
ในมุมมองของพี่สื่อที่ดีควรเป็นอย่างไร ลงข่าวเป็นกลางแล้วก็ช่วยเหลือเป็นกระบอกเสียง ให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือก็พอแล้วครับ เวลา ทำ�ข่าว ต้องไม่ลำ�เอียง คิดเสมอว่า หน้าที่คือการนำ� เสนอข่าวที่ถูกต้อง เพื่อสังคมจะได้รับข้อมูลที่ถูก ส่วนการช่วยเหลือคนคือการบอกให้สังคมรู้ว่า มีคน กลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ ได้โปรดสนใจพวกเขา ด้วย ถ้าอย่างหลังทำ�ได้จริงพี่ว่าก็ถือว่าทำ�หน้าที่สื่อ ได้เยี่ยมแล้วครับ
อยากฝากอะไรถึงน้องๆ Jc’57 “ถ้าน้องทำ�ได้ น้องจะเกิด น้องจะดัง แต่ถ้าทำ�ไม่ได้น้องจะหายไปกับสายน้ำ�” พี่นักข่าวรุ่นใหญ่ท่านหนึ่งที่ทำ�เนียบเคยบอกไว้กับพี่
1.
เว็บหลักของมหาลัยที่ใช้ตั้งแต่การค้นหา วิชาเรียนไปจนถึงดูผลสอบคือ www.reg.tu.ac.th
2.
ที่ธรรมศาสตร์น้องๆสามารถใส่ชุดอะไรไปเรียนก็ได้ตามใจน้องค่ะ แต่ต้องให้ถูกกาลเทศะ และวันสอบต้องใส่ชุดนักศึกษาเท่านั้นนะคะ อย่าเกรียน
3.
มธ.มีรถรับส่งภายในมหาลัยฯ หรือเรียกว่ารถNGV (คันสีเหลือง) โดยรถจะมาเป็นช่วงเวลา และที่สำ�คัญ มันฟรีค่ะ ดังนั้นจึงมีการแย่งกันขึ้นเล็ก น้อยถึงปานกลาง ขอให้น้องๆเตรียม ร่างกายของน้องให้พร้อมค่ะ
4.
หากน้องรีบจริงๆ ไม่อยากรอนาน ไม่อยากเบียดคนเยอะ แนะนำ�ให้ใช้บริการคุณลุง คนขับรถสองแถว ราคา3บาทตลอดสาย มาถี่กว่าNGVเยอะค่ะ
5.
แต่ถ้ารีบกว่านั้นแบบรีบมากๆ ให้น้องโดดขึ้นวินมอเตอร์ไซค์เลยค่ะ ราคาขึ้นอยู่กับระยะทาง ไปตกลงกับพี่วินเอาเองนะคะ ปล.คงไม่เกิน20บาท
6. 8.
อยู่ที่นี่นอกจากน้องจะได้เพื่อนใหม่ทั้งในและนอกคณะแล้ว เพื่อนอีก 2 คนที่น้องต้องเจอเขาแน่ๆคือUVAและUVBค่ะ ดังนั้นครีมกันแดด เสื้อแขนยาว ร่ม เตรียมให้พร้อมนะคะ
ที่ที่นิยมมากสำ�หรับนศ.มธ.ช่วงสอบ มิดเทอมไฟนอลคือหอสมุดป๋วยอึ๊งภากรณ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามหอพระ ซึ่งพี่มั่นใจว่าน้องต้อง สังเกตุเห็นป้ายของหอสมุดแน่ๆ เพราะฉะนั้นไม่หลงเนอะ
10.
ก่อนไปหอป๋วย อย่าลืมหยิบเสื้อกันหนาว ไปด้วยน้าา เพราะที่นี่แอร์เย็น มากถึงมากที่สุด
SU VIV LI
9.
7.
ภายในมหาวิทยาลัยจะมี คิวรถตู้อยู่ทั้งหมด3ที่ คือ รถตู้ไปอนุเสาวรีย์ (30บาท) จะอยู่บริเวณหน้าตึกคณะสถาปัตฯ ส่วนไปฟิวเจอร์ปาร์ค (15บาท) จะอยู่บริเวรหน้าตึกโดมบริหาร และ รถตู้ไปมธ.ท่าพระจันทร์ (40บาท) จะอยู่ข้างโรงอาหารกลาง ซึ่งกาลเวลาจะทำ�ให้น้องหา สถานที่เหล่านั้นเจอเองค่ะ
ถ้าอยากอ่านหนังสือชิวๆ ติวไปด้วยแล้วกินขนมไปด้วยได้ แนะนำ�ให้นั่งอ่านที่หอป๋วยชั้นล่างนะคะ และหากน้องคนไหนสามารถจอง โซฟาสีส้มได้ทัน ให้น้องๆตระหนักไว้ว่าน้องคือผู้โชคดีค่ะ เพราะมันสบาย และเต็มเร็วมาก แต่ถ้าอยากอ่านหนังสือเงียบๆสงบๆจริงๆแนะนำ�ให้เดิน ขึ้นไปเลยค่ะ ชั้น2ไม่ก็ชั้น3 เงียบและสงบกว่าข้างล่างร้อยเท่า
RVAL ST
11.
อยู่ที่นี่เราจัดตารางเรียนกันเองนะคะ น้องปี1อาจยัง งงๆ แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะพี่รหัสของน้องจะเป็นคนช่วยสอนน้องจัดเอง พยายามศึกษาวิธีการจัดจากพี่ๆด้วย นะคะ เพราะในอนาคตน้องต้องจัดตารางของตัวน้องเองและช่วยน้องรหัสของน้องจัด แบบที่พี่ช่วยน้องในปีนี้นั่นเอง
12.
ส่วนเรื่องอาหารการกิน มหาลัยฯของเรามีโรงอาหารกระจายอยู่ทุกพื้นที่ แต่ที่ที่น้องจะได้ใช้บริการบ่อยที่สุด ก็คงเป็นโรงอาหารsc1และsc2 เพราะส่วนใหญ่ แล้วเราจะเรียนกันที่ตึกSC และ2โรงนี้อยู่ใกล้กับคณะเจซีของพวกเราด้วยค่า
13.
น้องคนไหนที่สนใจเล่นกีฬา มอเราก็มีที่ ให้เล่นกีฬาด้วยเหมือนกัน ได้แก่ ยิม4(ฟิตเนส,ว่ายน้ำ�) ยิม7(บาส,วอลเล่ย์บอล) หลังยิม7(เทนนิส,ฟุตบอล) อินเตอร์โซน(สนามแบต,วอลเล่ย์บอล) และเช่นเคยค่ะ อยู่ไปเรื่อยๆน้องก็จะรู้พิกัดจุดของสถานที่เหล่านั้นเอง ค่าา55555
14.
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี จะมีตลาดนัดจัดที่บริเวรอินเตอร์โซน น้องๆสามารถมาจับจ่ายซื้อของที่นี่ได้ ที่ตลาดนัดนี้มีทุกอย่าง... ยกเว้นอย่างเดียวค่ะ คือทางเดิน คนเยอะมากจริงๆ 55555
15.
น้องๆที่อยากรักษ์โลกและออกกำ�ลังกายไปในตัว สามารถไปเช่าจักรยานไปปั่นเล่นรอบมอกับเพื่อนๆได้ โดยจะมีจุดบริการให้เช่าจักรยานบริเวณเชียงราก1 หอในและบริเวรคิวรถตู้อนุเสาวรีย์ หากน้องมีความจำ�เป็นต้องออกมาทำ� ค่าบริการครั้งละ5บาท กิจกรรมยามดึกข้างนอกหอ แนะนำ�ให้พกซอล์ฟเฟล ตระ ใช้แล้วเอาไปคืนด้วยนะค้าาา ไคร้หอม หรือใครปลูกมะกรูด เก็บมะกรูดมาเลยค่าา เพราะที่นี่ยุงเยอะและดุมากๆ
16.
17.
และสุดท้าย เวลาเจอกัน ก็อย่าลืมทักทายกันบ้างน้าา เข้ามาคุย มาทำ�ความรู้จักกัน มาเม้าท์มอยอะไรได้หมด เพราะพี่ๆทุกคนอยากรู้จักน้องๆนะคะ อยากให้เราสนิทกันไวๆ เพราะยังไงเราก็เป็นครอบครัวเดียวกันแล้ว อยากให้น้องสนุกและมีความสุขที่ได้อยู่ในคณะนี้น้าา :)
ร้านอาหาร อินเดีย AIIT หากใครเบื่อๆกับร้านอาหารในมหาวิทยาลัย หรืออยากลองเปลี่ยนรสชาติอาหารไปชิมในแบบ ที่ชนชาติอื่นกินกันบ้าง เรามีอีกสถานที่ที่จะแนะนำ�ให้ไป เส้นพหลโยธิน ฝั่งAIIT (ดูได้จากแผนที่) มีร้านอาหาร ที่ขายอาหารของชนชาติตะวันออกกลางทั้งหลายแหล่ มีทั้ง นาญ แกงต่างๆ ข้าวหมกไก่แบบดั้งเดิม ฯลฯ ราคาและรสชาติอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หากใครชอบทาน อาหารอินเดียละก็รับรองไม่ผิดหวัง แต่สำ�หรับบางคนอาจ จะไม่คุ้นเคยลิ้นไปบ้าง แต่ขอรับรองว่ามันจะเป็นการลองที่ คุ้มค่า นอกจากนี้ บริเวณรอบๆของ AIIT ก็ยังเป็นสถานที่ที่ สวยงาม ร่มรื่นและพักผ่อนหย่นใจอีกด้วย
เ ชิ ญ ช ว น ชิ ม gelato 44c
gelato 44c เป็นร้านไอศกรีม homemade ตั้งอยู่หัวมุมตึกใต้ หอพัก City-park ถือเป็นร้านไอศกรีมน้องใหม่ที่เปิดมาได้เพียง หนึ่งปี แต่การันตีด้วยคุณภาพเนื่องจากใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่คัดสรรมาอย่างดี จึงทำ�ให้ gelato 44c เป็นไอศกรีมแคลอรี่ต่ำ� นอกจากรสชาติไอศกรีมที่อร่อยนุ่มลิ้นแล้ว ที่นี่ยังมีชื่อไอศกรีมที่ เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย เช่น นมอาโออิ กระทิงมึน หญ้าอ่อน ฮันนี มูล ฯลฯ และยังมีรสชาติไอศกรีมให้เลือกมากถึง 30 รสด้วยกัน ส่วนรสที่ขายดีของร้านได้แก่ ดับเบิ้ลชอค: โคตรชอคโกแลตจาก แบลเยียม นมอาโออิ:ไอศกรีมนมสดแท้ๆส่งตรงจากฮอกไกโด และยังมีรสไอศกรีมแปลกๆที่น่าลอง เช่น บานาน่าชีส เสมิฟอิน เลิฟ สาเกบ๊วย ชะนี(ทุเรียนทอด+นม) นมเด็ก นอกจากนี้ยังมีรสชาติพิเศษที่จัดทำ�ขึ้นเฉพาะช่วงเทศกาลพิเศษ เท่านั้น! ได้แก่ รสข้าวเหนียวมะม่วง รสวาเลนไทน์ และรสคริ สมาสตร์ บอกเลยว่าไม่ควรพลาด ร้านบรรยากาศดีๆ ราคาน่า รักๆ เพียง Scoop ละ 39 บ. Topping 10 บ. แบบเป็นเซตเสิร์ฟ พร้อมชุดหลอดทดลอง Chic! Chic! ที่ใครใครต่างพากันมาชักภาพ ร้านเปิดบริการทุกวัน MON – FRI : 12.00 AM – 23.00 PM SAT – SUN : 15.00 PM - 23.00 PM