sanctuary of Wat seeboonyuen Muang Ngeun Laos

Page 1

วิหารวัดศรีบุญยืน

วิหาร

เมืองเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

วัดศรีบุญยืน

ณรงค์ศักดิ์ ทองทาณี

ณรงค์ศักดิ์ ทองทาณี



ภาพจาก : facebook/LueLuang MuangNguen

ชาวไทลื้อในเมืองเงิน ชาวไทลื้ อ เป็ น ชาติ พั น ธุ์ ที่ พู ด ภาษาตระกู ล ไทมี ถิ่ น ฐานอยู่ ใ นเขต สิบสองพันนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวจีนเรียก ชาวไทลื้อว่า “หลี่” หรือ “สุยไปอี่” และเรียกเมืองเชียงรุ่ง เมืองหลวงของไทลื้อว่า “เชอหลี่” ชาว ไทลื้อนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ�และที่ราบระหว่างหุบเขา โดยมี “แม่น้ำ�ของ” หรือแม่น้ำ�โขงเป็นแม่น้ำ�สายสำ�คัญ รวมถึงแม่น้ำ�สายย่อยที่ไหล

1


ผ่านเมืองต่างๆ การที่มีแม่น้ำ�โขงไหลผ่านทำ�ให้รัฐสิบสองพันนาแบ่งออกเป็น สองฝั่ง คืออยู่ทางฝั่งตะวันตกหกพันนาและอยู่ทางตะวันออกอีกหกพันนา มี ความเป็นไปได้ว่าชาวไทลื้อจะเป็นกลุ่มไทกลุ่มแรกที่กำ�เนิดขึ้นในจีนตอนใต้ และได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานตามแหล่งต่างๆ

บรรพบุรุษของชาวเมืองเงินมีต้นกำ�เนิดมาจากหลายแห่ง อาทิ เมือง ยอง เมืองหลวงน้ำ�ทา เป็นต้น โดยที่มีประวัติศาสตร์ดังนี้ เนื่องจากเมืองหลวง น้ำ�ทาเกิดน้ำ�ท่วมบ่อยมาก และสมัยนั้น ผู้ปกครองเมืองได้ไปทอดพระเนตร ความเดือดร้อนของประชาชนแต่เกิดเรือล่ม ทำ�ให้เจ้าผูค้ รองเมืองเสียชีวติ เมือง หลวงน้ำ�ทาจึงขาดเจ้าปกครอง และได้ไปเชิญเจ้าหม่อมหลวงจากเชียงรุ่งมา ปกครอง จากนั้นเจ้าหม่อมน้อย ผู้เป็นหลานได้ ยกทับไปตีเมืองหลวงน้�ำ ทาทำ�ให้เจ้าหม่อมหลวง อพยพลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองน่าน

2


จากนั้น 3 ปี เจ้าหม่อมหลวงจึ ง ขอเจ้ า ชี วิ ต น่ า นไปก่ อ ตั้ ง เมื อ งชื่ อ ว่ า เมื อ งเงิ น หรื อ เมืองกุฏสาวดี เมื่อได้รับอนุญาต แล้วเจ้าหม่อมหลวงก็ได้นำ� เสมา อำ�มาตย์ ขุนนาง ไพร่ฟา้ ราษฎรไป ตั้งถิ่นฐานในเมืองเงินในปัจจุบัน เจ้าหม่อมหลวงได้ปกครองเมือง เงิ น หรื อ เมื อ งกุ ส าวดี ด้ ว ยหลั ก พุ ท ธศาสนา ถื อ สั จ ธรรมและ คุณธรรมเป็นพืน้ ฐานในการอบรม สั่ ง สอนไพร่ ฟ้ า ราษฎรชาวเมื อ ง ทำ�ให้บ้านเมืองมีความสงบสุข นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการทำ�พิธีกรรรม ต่างๆ ในแต่ละเดือนของชาวไทลื้อที่เรียกว่า “ฮีตคองสิบสองเดือน คองสิบสี่ ฮีตยี่ครองเจียง”

เมื่ อ มี ก ารจั ด ระเบี ย บการปกครอง เมืองได้ 4 ปีแล้ว เจ้าหม่อมหลวงก็ปรึกษา หารือกับเสนาอำ�มาตย์เพื่อสร้างวัดวาอาราม จึงได้นิมนต์ครูบาคาแสน ที่เป็นเจ้าอาวาส ของวัดบ้านนางัว มาเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง วัดใหม่ เมื่อได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้วอีก 2 ปี ต่อมาก็จัดพิธีเฉลิมฉลอง และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ ว่า วัดรวม หรือวัดหลวง 3


จากนั้นได้นิมนต์ครูบาคำ�แสนมาเป็นเจ้าอาวาส หลังจากครูบาคำ�แสน มรณภาพแล้ว ไพร่ฟา้ ราษฎรได้กอ่ สร้างพระธาตุเพือ่ บรรจุอฐั ขิ องครูบาคำ�แสนไว้ โดยตัง้ ชือ่ ว่าพระธาตุศรีบญ ุ ยืน ตัง้ แต่นนั้ มา วัดแห่งนีจ้ งึ ถูกเรียกว่า วัดศรีบญ ุ ยืน จนถึงปัจจุบัน

วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่หากจะดูจากหลักฐานที่มีการบันทึกไว้ จะมีอายุ ราว 200 กว่าปี เป็นวัดทีถ่ กู สร้างขึน้ ในชุมชนเป็นชาวไทลือ้ ทีอ่ พยพมาจากแขวง หลวงน้�ำ ทา รวมไปถึงทีต่ า่ งๆ รูปแบบลักษณะของวิหารทีว่ ดั คล้ายกับวิหารของ ทางล้านนาและล้านช้างมาก คือมีหลังคาที่ลาดต่ำ� มีผังพื้นที่แท่นแก้วจะติดอยู่ กับผนังด้านหลัง ซึ่งต่างจากวิหารไทลื้อที่แท่นแก้วจะอยู่ก่อนห้องสุดท้ายของ วิหาร แต่ทว่ามีการตกแต่งด้วยศิลปกรรมแบบไทลื้อเช่น เครื่องสูง เป็นต้น เกิด การผสมผสานกันมากในพืน้ ทีแ่ ห่งนี้ แต่อย่างไรก็ตามการนับถือศาสนาพุทธส่ง ผลให้คนมีความเชื่อร่วมกัน ก่อกำ�เนิดการสร้างรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มี ความผสมผสานภายใต้ความเชื่อเดียวกัน และบริเวณผนังด้านขวามือหลังพระ ประธานภายในวิหารยังมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรภาษาลาว มีความว่า ดังนี้ 4


“วัดสีบุนยืนนี้ดี ยู่แล้วสะบายดีหมั้นยืน วิหานหลังนี้ ได้บูละนะคืนใหม่ ด 1 ปี 1992 พะพุดทะรูบ ได้สร้างขึ้น ปี 1944 ได้บูละนะคืนใหม่ ที่ 21 ด. 4 คศ. 1998 ด. 6 ร. 1 ค่ำ� วันพุด พส. 2541 ปะติรูปคืนใหม่ สำ�เล็ด ด. 7 เพ็ง”

วิหารของวัดศรีบุญยืนนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2535 โดย ได้มกี ารเปลีย่ นโครงสร้างของวิหารใหม่ทงั้ หมด และพระพุทธรูปในวิหารได้สร้าง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2487 และได้ทำ�การบูรณะอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยพระบัว จากวัดบ้านถ้ำ� เมืองเชียงฮ่อน 5


ตัววิหารมีลักษณะผสมผสานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมร่วม

กันกับวิหารของทางล้านนาและล้านช้างและวิหารไทลื้อ ผั งพื้ น มี ลั ก ษณะเป็ น รู ป สี่ เ หลี่ ย มผื น ผ้ า ตามแกนความ ยาวของตัวอาคารหันทางทิศตะวัน ออก – ตะวันตก บริเวณที่ตั้งของ แท่ น แก้ ว อยู่ ติ ด กั บ ผนั ง ด้ า นหลั ง สุดซึ่งมีความเหมือนในวิหารแบบ ล้านนาและสิมของหลวงพระบาง และจะแตกต่ า งกั บ ในวิ ห ารของ ไทลื้อแท่นแก้วจะสามารถเดินโดย รอบได้ แ ละนอกจากนี้ ผั ง พื้ น ของ วิหารนีม้ รี ปู แบบมุขด้านหน้าปรากฏ อยู่ซึ่งจะมีอยู่ในวิหารแบบล้านนาและสิมของล้านช้าง แต่จะไม่เป็นที่นิยมใน วิหารของไทลื้อ พื้นอาคารจะยกขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร สร้างทาง ขึ้นรอบวิหารไว้หลายที่ตามแบบนิยมของชาวไทลื้อ ไม่สร้างหน้าต่างตามแบบ ของวิหารไทลือ้ ซึง่ ต่างจากของวิหารล้านนาและล้านช้างทีจ่ ะนิยมสร้างหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศ

6


หลั ง คา ที่มุงด้วยกระเบื้อง ไม้ มี ค วามโค้ ง และอ่ อ นช้ อ ยลาดต่ำ � ลงมาคล้ า ยกั บ หลั ง คาของวิ ห ารวั ด เชียงทองในหลวงพระบาง มีลกั ษณะเป็น ปีกนกสองข้างเท่ากัน ซ้อนชั้นกันขึ้นไป ตับหลังคาขั้นสุดท้ายลาดต่ำ�ลงมาทำ�ให้ ตัวอาคารดูมีความเตี้ยแจ้มาก ต่างกับ หลังคาของวิหารไทลื้อคือจะมีลักษณะ หลังคา 2 ชั้น ชั้นบนจะเป็นหลังคาทรง จัว่ หรือบางครัง้ เป็นทรงปัน้ หยาขนาดเล็ก ยาวตลอดแนว ความยาวของอาคาร ส่วนชั้นล่างจะทำ�เป็นหลังคาปีกนกแบบ คลุมรอบตัวอาคารทัง้ สีด่ า้ น โครงสร้างรับน้�ำ หนักหลังคาของวิหารวัดศรีบญ ุ ยืนนี้ เป็นโครงสร้างแบบม้าต่างไหม หลังคาชัน้ นอกสุดคลุมบริเวณบันไดทางเข้าวิหาร ด้านเหนือและใต้ลักษณะแบบวิหารไทลื้อ

7


ภายในวิหารมีรปู แบบการตกแต่งศิลปกรรมทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ ที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดเอาไว้ให้กับคนรุ่นหลัง ตัววิหารของวัดศรีบุญยืนนี้มี การประดับตกแต่งด้วยศิลปกรรมที่งดงาม เกิดจากฝีมือของช่างในท้องถิ่นได้ เรียนรู้ จดจำ�ศึกษา คิดค้น นำ�ไปสู่การออกแบบตามความเชื่อและความศรัทธา และได้ทำ�การรังสรรค์ขึ้นมาเป็นศิลปกรรมตกแต่งตัววิหารของวัดศรีบุญยืน นำ� ไปสู่ความงามตามคติความเชื่อของชาวชุมชน

8


1. แท่นแก้ว แท่นแก้ว หรือ ฐานชุกชี เป็นการสร้าง ด้วยการก่ออิฐถือปูน แบ่งเป็นสองช่วง ตามระยะเวลาในการสร้าง คือ อันเดิม สร้างพร้อมกับการสร้างวิหาร และอัน ใหม่สร้างขึ้นต่อเติมครั้งภายหลังครั้งเมื่อ มีการบูรณะวิหารเป็นการก่ออิฐถือปูน ธรรมดาไม่มีการประดับตกแต่งแต่อย่าง ใด ส่วนอันเดิมประดับตกแต่งด้วยเทคนิค ปู น ปั้ น ลวดลายพฤกษาและสั ต ว์ ต่ า ง ประดับกระจก สีพื้นของแท่นแก้วจะมี สีแดง และลวดลายปูนปั้นจะมีสีเหลือง ขนาดของแท่นแก้วที่วัดศรีบุญยืนแห่งนี้ มีความกว้างรวมทั้งหมด 3.5 เมตร ยาว 2.5 เมตรและสูงจากพื้น 1.85 เมตร แท่นแก้ว ตั้งอยู่ในห้องสุดท้าย ของวิหาร ลักษณะเป็นรูปสีเหลี่ยมผืน ผ้า ประดับด้วยงานปูนปั้นลายดอกไม้ นานาพันธุ์ ที่จะประดับอยู่ในแต่ละช่วง แถวของแท่นแก้ว ลักษณะเด่นที่ปรากฏ อยู่ที่แท่นแก้ววิหารวัดศรีบุญยืนนี้คือ จะ มีการใช้แผ่นกระจกอย่างมากมาย ซึ่ง ถือว่าเป็นวัสดุที่มีความทันสมัยในสมัย หนึง่ ทัง้ แผ่นเล็กและใหญ่คละกันไป การ ประดับกระจกและมีกรอบปูนปั้นติดไว้ นิยมกันมากในแท่นแก้วแบบไทลื้อ 9


10


2. รูปปั้ นสิงห์ ปูนปั้นรูปสิงห์ อยู่บริเวณบันไดทางขึ้นวิหาร สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหาร ในครั้งแรก มีจำ�นวน 2 ตัว ลักษณะอวบอ้วน รูปปูนปั้นสิงห์อยู่ตรงบริเวณทาง เข้าวิหารด้านหน้าทางทิศตะวันออก ลักษณะเป็นประติมากรรมรูปสิงห์สีขาว และทาสีด้วยสีน้ำ�มันสีสันที่สดใสรูปปั้นสิงห์บ่งบอกถึงศิลปกรรมตกแต่งวิหาร ของชาวไทลื้อและล้านนาเป็นอย่างดี แต่หากเป็นรูปแบบของสิมแบบล้านช้าง จะนิยมใช้นาคแทนหรือทำ�ซุ้มประตูปูนปั้นในหารตกแต่งบริเวณหน้าประตูทาง เข้าวิหารด้านหน้า 11


3. พระพุ ทธรูปประธาน ตั้งอยู่บนแท่นแก้วในห้องสุดท้ายของวิหาร ลักษณะประทับนั่งปางมารวิชัย เป็นงานฝีมือแบบช่างพื้นบ้านชาวไทลื้อเทคนิคปูนปั้น มีพระพักตร์คล้ายเด็ก ความสูงโดยประมาณจากแท่นแก้ว 3.5 เมตร

พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นโดยช่างฝีมือแบบศิลปะพื้นบ้าน มี ลักษณะประทับนั่งปางมารวิชัย ลักษณะเช่นเดียวกันกับพระประธานในวิหาร รูปแบบต่างๆ แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างไทลื้อนั่นก็คือนิยมปั้นหน้าพระ พักตร์ของพระประธานให้มีความอ่อนเยาว์ คล้ายกับใบหน้าของสามเณรในวัด 12


13


4.จิตรกรรมบนบานประตู ตำ�แหน่งที่ตั้งของบานประตูมีอยู่ที่ทางเข้าหลักทางทิศตะวันออก และทางด้าน ซ้ายและขวาของตัววิหาร สร้างโดยการทำ�กรอบประตูและนำ�ไม้แผ่นเรียบไป ติด ตกแต่งด้วยภาพเขียนสีน�้ำ มันด้วยลวดลายเครือพฤกษาและลวดลายเทวดา พนมมือ

14


15


เครื่องหลังคา บนชั้นหลังคาของตัววิหารของวัด ช่างในชุมชนได้ รังสรรค์งานศิลปกรรมเพื่อที่เอาไว้ตกแต่งในส่วนของหลังคาไว้ได้อย่างงดงาม และแฝงไปด้วยความเชือ่ ในท้องถิน่ ประกอบด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปแบบทีแ่ ตก ต่างกันไปในแต่ละจุดของชั้นหลังคา

16


1.ช่อฟ้า (ปราสาทเฟื้ อง) จะมีตำ�แหน่งอยู่ตรงกลางของสันหลังคาผืนที่สูงที่สุด สร้างด้วยไม้แกะสลัก ที่สันหลังคาของวัดศรีบุญยืนนี้จะมีอยู่เป็นองค์ประกอบของช่อฟ้าอยู่ด้วยกัน 3 ชิ้น ช่อฟ้า หรือปราสาทเฟื้อง จะอยู่ตรงกลางของสันชั้นหลังคาชั้นที่สูงที่สุด จะพบรูปแบบนี้โดยทั่วไปในวิหารล้านนา สิมหลวงพระบาง และวิหารของชาว ไทลื้อ ในส่วนของช่อฟ้าของวิหารวัดศรีบุญยืนนั้นประกอบด้วยการฉลุแผ่น ไม้เรียบจำ�นวนสามชิ้นแบบง่ายๆ ขนาดลดหลั่นกัน มีความหมายถึงปราสาท ไพชยนต์ที่ประทับของพระอินทร์

17


2.วันแลน ่ (เมฆตั้ง) ลวดลายบนสันหลังคา ทำ�เป็นรูปดอก แกะสลักด้วยไม่แผ่นเรียงติดต่อกันไป ตลอดแนวของสันหลังคา วันแล่น หรือเมฆไหล อยู่ในส่วนของสันหลังคาบน สุดของวิหารวัดศรีบุญยืน แกะสลักจากแผ่นไม้เป็นรูปใบไม้ม้วน คาดว่าน่าจะ เป็นความนิยมของช่างไทลื้อที่จะนำ�เมฆามาใส่บนสันหลังคาเหมือนสันหลังคา ของวิหารไทลื้อในสิบสองพันนา

18


3.โหง ่ (ช่อฟ้า) ทำ�ด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปพญานาค ตำ�แหน่งจะอยู่เหนือหน้าจั่วของหลังคา โหง่ หรือช่อฟ้าลักษณะคือมีการแกะไม้เป็นรูปพญานาค ซึ่งรูปนาคในช่อฟ้า และนี่ จ ะเป็ น ที่ นิ ย มในกลุ่ ม ของการประดั บ ตกแต่ ง วิ ห ารแบบล้ า นนาและ ล้านช้าง ซึ่งหากเป็นแบบไทลื้อจะมีลักษณะของช่อฟ้าเป็นรูปนกหัสดิลิง โหง่ ที่วัดศรีบุญยืนแห่งนี้ช่างพื้นบ้านได้แกะสลักเป็นรูปพญานาคและทาด้วยสีสันที่ สดใส

19


4.คันดก (หางหงส)์ เป็นเครื่องไม้ที่อยู่ปลายของป้านลม แกะสลักเป็นรูปพญานาค หางหงส์ ถูก สร้างสรรค์โดยการเซาะร่องลงบนแผ่นไม้กระดานที่เรียบให้เป็นรูปพญานาค ทาด้วยสีน้ำ�มัน ส่วนของป้านลมที่ติดกันกับหางหงส์มีความโค้งและอ่อนช้อย ดังเช่นป้านลมของวิหารล้านนาและสิมหลวงพระบาง

20


5.ลายสรอยสา (แป้นน้ำ�ย้อย) ้ ทำ�ด้วยไม้ ติดอยู่ในส่วนท้ายของเชิงชายในส่วนของชั้นหลังคาที่ 2 เทคนิคการ ตัดไม้เป็นรูปคล้ายกับหยดน้ำ�เรียงติดต่อกันไปตลอดแนวของเชิงชายของชั้น หลังคาที่สอง แป้นน้ำ�ย้อย ลวดลายฉลุบนแผ่นไม้ทำ�เป็นรูปคล้ายกับหยดน้ำ� หยดลงมา เรียกลายชนิดนี้ว่าลายน้ำ�หยาด นำ�มาเรียงติดต่อกันตลอดแนวของ เชิงชายของชั้นหลังคาชั้นที่สอง

21


นอกจากนี้ยงั มีศลิ ปกรรมประดับและตกแต่งส่วนอืน่ ๆ ของวิหาร ใน ทีน่ หี้ มายถึงสิง่ ทีส่ ร้างขึน้ มานอกเหนือจากโครงสร้างของตัวอาคาร เป็นเครือ่ งที่ ใช้ประกอบศาสนพิธีหรือตามความเชื่อของชาวชุมชน

22


1. เครื่องสูง เครื่องสูงที่อยู่ในวิหารวัดศรีบุญยืน นี้ ถู ก สร้ า งขึ้ น ภายหลั ง การสร้ า ง วิหาร เพือ่ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นเครือ่ งเทียม พระเกี ย รติ ย ศของพระพุ ท ธเจ้ า ตามความเชื่ อ ของชาวไทลื้ อ ที่ ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ทรงอยู่ ใ นวรรณะ กษั ต ริ ย์ ม าก่ อ นตำ � แหน่ ง ที่ ตั้ ง ของ เครื่องสูงที่วิหารวัดศรีบุญยืนนี้ จะ อยู่ภายในบริเวณวิหาร ขนาบสอง ข้างของพระประธานโดยจะมีไม้ที่ ทำ�เป็นทีเ่ สียบมีลกั ษณะเป็นช่องอยู่ ระหว่างเสาห้องสุดท้ายของวิหารไป ตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก เครื่องสูงนี้ทั้งสองด้านจะประกอบ ด้วยเครื่องสูงจำ�นวน 7 ชั้น อัน ได้แก่ พัดค้าว แส้ ฉัตร หอก บังวัน ไม้วา และหอก เป็นการสร้าง ชิ้นงานด้วยเทคนิคการแกะสลักไม้ เครื่ อ งสู ง ที่ อ ยู่ ข นาบสองข้ า งของ พระประธานถือเป็นเอกลักษณ์ที่ สำ�คัญมากที่สามารถบ่งบอกความ เป็ น ชาติ พั น ธุ์ ไ ทลื้ อ ได้ เ ป็ น อย่ า ง ดี ที่จะนิยมตกแต่งกันมากในหมู่ของวิหารของชาวไทลื้อ ตามความเชื่อที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงมีวรรณะเป็นกษัตริย์มาก่อนจึงต้องมีเครื่องไว้เพื่อเทียมพระ เกียรติ 23


24


2. ธรรมาสน์ ลักษณะของธรรมาสน์ที่อยู่ในวิหารวัดศรีบุญยืนนี้มีลักษณะคล้ายกับธรรมาสน์ ของทางล้านนา คือมีลักษณะเป็นทรงฐานเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีทางขึ้นทาง เดียว อีกสามด้านปิด เทคนิคการประดับตกแต่งคือการฉลุกระดาษปิดคำ� ใช้ ประโยชน์ในการเป็นที่สาหรับนั่งในการเทศน์ในเทศการที่สำ�คัญเช่น การเทศน์ ในงานตานข้าวร้อยโกะ เป็นต้น เป็นธรรมาสน์ที่สร้างด้วยไม้ ลักษณะรูปทรง คล้ายกับธรรมาสน์ของทางล้านนามาก มีการซ้อนชั้นขึ้นไปของเรือนธาตุขึ้นไป ข้างบน ลักษณะฐานเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีทางขึ้นทางเดียว อีกสามด้านปิด เทคนิคการประดับตกแต่งคือการฉลุกระดาษปิดคำ�

25


26


วิหารของวัดศรีบุญยืนแห่งนี้ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตกแต่ง จะได้รับอิทธิพลมาจากแหล่งต่างๆ ส่วนของหลังคาที่ลาดต่ำ�ได้รับ รูปแบบมาจากวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง การวางผังพื้นแกนของตัว วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก-ตะวันตก เป็นรูปแบบแนวความคิดร่วมกัน ของผู้คนที่นับถือพุทธศาสนาในแถบนี้ และในส่วนของศิลปกรรมตกแต่งเป็น รูปแบบศิลปกรรมแบบไทลือ้ อย่างแท้จริง เป็นงานศิลปกรรมแบบพืน้ บ้านดัง้ เดิม แบบกลุ่มสกุลช่างไทลื้อที่สืบทอดต่อกันมา เช่น งานปูนปั้นประดับแท่นแก้ว เครื่องสูง เป็นต้น วิหารของวัดศรีบุญยืนจึงมีรูปแบบของการผสมผสานกันของ ศิลปะจากแหล่งต่างๆ สร้างสรรค์จนลงตัวและสวยงามกลายเป็นรูปแบบของ วิหารที่กลายเป็นเอกลักษณ์ลักษณะเฉพาะตัวในพื้นที่เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันวิหารที่วัดศรีบุญยืนนี้ค่อนข้างที่จะมีความทรุดโทรมเนื่องจาก ขาดทุนทรัพย์ในการบูรณะ จะเป็นเพียงการซ่อมแซมในจุดที่ผุพังเป็นจุดๆ เท่านั้น แต่เมื่อหากมีการบูรณะ ควรจะได้รับการซ่อมแซมบูรณะด้วยวิธีการที่ ถูกต้องตามหลักการอนุรกั ษ์ดว้ ย ซึง่ ถ้าหากบูรณะอย่างไม่ถกู วิธหี รือรือ้ แล้วสร้าง ใหม่ตามที่ชาวบ้านและพระสงฆ์ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่นิยมทำ�กันแล้ว ก็จะทำ�ให้ ความงามทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดศรีบุญยืนแห่งนี้สูญเสีย ไปอย่างน่าเสียดาย และไม่หลงเหลือมรดกความเป็นไทลื้ออันน่าภาคภูมิใจให้ ไว้กับคนรุ่นหลังได้ไว้ศึกษาความเป็นอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อไว้ได้เลย

27


ศิลปกรรมวัดศรีบุญยืน เมืองเงิน สปป.ลาว ณรงค์ศักดิ์ ทองทาณี ภาพและเนื้อเรื่อง © 2016 (พ.ศ. 2559) โดย ณรงค์ศักดิ์ ทองทาณี สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย ณรงค์ศักดิ์ ทองทาณี ออกแบบโดยใช้ฟอนต์ TF Chiangsaen และ BoonHome 16pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการ จัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพ การศึกษาภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

28



“วิหารวัดศรีบญ ุ ยืน มีการผสมผสานของรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมทัง้ แบบไทลือ้ ล้านนา และแบบล้านช้างทีง่ ดงามลงตัว ตาม รูปแบบที่แสดงออกผ่านการรังสรรค์ฝีมือแห่งช่างพื้นถิ่นเมืองเงินได้เป็น อย่างดี นับเป็นวัดทีค่ วรให้คณ ุ ค่าแก่การอนุรกั ษ์ให้คงอยูส่ บื ไปคูก่ บั เมือง เงินเป็นอย่างยิ่ง”

เมืองเงิน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.