1
สารบัญ 5 สัมผัสวิถีชีวิตบ้านโคกเมือง 6 บ้านโคกเมือง คนสร้างป่า 7 ฟาร์มทะเลบ้านโคกเมือง 8 กลุ่มประมงบ้านโคกเมือง 10 บ้านตู้เย็น 11 วิธีคน วิถีผึ้ง 12 ถนนกินได้ 14 ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรหมู่บ้าน
โคกเมือง
ชุมชนหลายๆแห่ง มักจะมีสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ที่สะท้อนวิถีชีวิตของ คนในชุมชนนั้นๆ ทั้งในด้านสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งเหล่า นี้เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับชุมชน และเป็นจุดเริ่มต้นของ การดำ�เนินกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชม นอกจากนั้นกิจกรรมต่างๆยังเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำ�ให้ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ชุมชนบ้านโคกเมือง ซึง่ เป็นชุมชนทางประวัตศิ าสตร์ทยี่ าวนานอีกแห่งหนึง่ และ ยังเปี่ยมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรทาง ป่าชายเลน ที่อาจถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำ�คัญของชุมชน อันเกิดจากองค์ความรู้และ ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนทีร่ ว่ มกันสร้างผืนป่าชายเลน เพือ่ ฟืน้ ฟูทรัพยากรทาง ทะเล ชุมชนบ้านโคกเมืองยังมีประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบสานมาอย่างยาวนาน นั้นก็ คือ กลองยาว ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มในชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมในลักษณะ ของการรวมกลุ่มรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มสวัสดิการชุมชน ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรหมู่บ้าน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าชุมชนบ้านโคกเมืองเป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจทั้งในด้านสังคม ประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ อันมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดพลัง ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาและสร้างศักยภาพที่ดี ภายในชุมชน ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวต่างๆของชุมชนบ้านโคกเมืองจึงเป็นประโยชน์ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาชุมชนอื่นๆได้ต่อไป
นักศึกษาชุมชนศึกษา ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ร่ายรำ� กรำ�เพลง บรรเลง กลองยาว
17 อาหารร้อยอย่าง
18 อร่อยต้องออเดอร์
19 กัปตันชุมชนศึกษา
20 โครงการไม้ไผ่หรรษา
23 ศึกคาวหวาน ปฏิบัติการชวนชิม
24 เมืองสิงโตทะเล
2
3
มนุษย์อาหารกล่องโฟม มนุษย์ `อาหารกล่องโฟม` คนกินเสี่ยงมะเร็ง 6 เท่า
คุณรู้หรือไม่ ผู้ที่ทานอาหารตามสั่งที่บรรจุกล่องโฟม มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า “กล่องโฟม” ภาชนะบรรจุอาหารที่นิยมใช้ตามท้องตลาดทั่วไป มักมีสีขาวๆ น้ำ�หนักเบา และ ราคาถูก แต่คุณเชื่อไหมว่า สิ่งเหล่านี้ ทำ�มาจากของเสียเหลือทิ้งสีดำ�ๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำ�มัน ปิโตรเลียม ที่ผ่านกระบวนการผลิตให้ดูน่ากินน่าใช้ แต่บรรจุภัณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วยสารสไตรีน (Styrene) ซึ่งผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวในปริมาณที่ต่อเนื่อง จะทำ�ให้สมองมึนงง และเสื่อมง่าย หงุดหงิด ง่าย ในผู้หญิง จะมีผลทำ�ให้ประจำ�เดือนมาไม่ปกติ มะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชาย จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก และทั้งชายหญิง จะเสี่ยงต่อมะเร็งตับอีกด้วย บรรจุภัณฑ์จากโฟมที่มีรูปทรงน่าสนใจ ราคาไม่แพง นอกจากนี้ สารสไตรีน ยังมีผลต่อทารกในครรภ์ สำ�หรับแม่ที่รับประทานอาหารบรรจุ ในกล่องโฟม ลูกมีโอกาสสมองเสื่อมเป็นเอ๋อ เสี่ยงพิการ ซึ่งถ้ารับประทานอาหารกล่องโฟมทุก วัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติ ถึง 6 เท่าเลยทีเดียว ส่วนปัจจัยที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟม ความร้อนจัด หรือเย็นจัด จะ เป็นปัจจัยทีเ่ ร่งให้สารสไตรีน สะสมในอาหารได้โดยง่าย และยิง่ ถ้าอาหารชนิดนัน้ มีสว่ นผสมวของ น้ำ�มัน น้ำ�ส้มสายชู แล้ว จะยิ่งทำ�ให้อาหารดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติอีกด้วย ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษชานอ้อย ทั้งนี้ เมื่อเรามองเห็นถึงอันตรายจากการบริโภคอาหารจากกล่องโฟมแล้ว เชื่อว่า หลาย คนอาจตระหนักถึงพิษภัยทีก่ ล่าวมาแล้วข้างต้น แต่หากจำ�เป็นต้องรับประทานอาหารกล่อง ลอง เลือกร้านที่ใช้กล่องเยื่อกระดาษชานอ้อย ซึ่งมีความปลอดภัยสูง หรือจะยอมเสียเวลาสั่งใส่จาน แล้วรับประทานไปเลยปลอดภัยกว่าเยอะ Credit : www.thaihealth.or.th
‘สมาร์ทโฟน’ภัยร้ายทำ�ลายสุขภาพ การคิดค้นหลอดไฟและไฟฟ้าได้เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตของมนุษยชาติไปอย่างมากมาย และการต้องเจอกับแสงไฟในเวลากลางคืน ก็เพิม่ มากขึน้ โดยเฉพาะจากการใช้สมาร์ทโฟน ซึง่ ก็มคี วามกังวลว่าการต้องเจอไฟจ้าๆ ในเวลากลางคืนจะส่งผลต่อร่างกายหรือไม่ งานวิจัยหลากหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นถึงภัยร้ายที่มากับสมาร์ทโฟน ภัยแรกเลยก็คือการมองแสงไฟในที่มืดส่งผลให้ร่างกายลดการผลิต สารเมลาโทนิน ที่ช่วยให้นอนหลับเป็นเวลา ดังนั้นนาฬิกาชีวภาพก็จะถูกปั่นป่วนไปด้วย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นในชิคาโกก็พบว่าการเล่นคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนในตอนกลางคืนยังเสี่ยงจะทำ�ให้อ้วน ขึ้นด้วย เพราะแสงไฟสีฟ้าจะไปกระตุ้นความหิวนั่นเอง งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยจีนยังระบุอีกว่า การจ้องแสงจากแหล่งกำ�เนิดเล็กๆ เป็นเวลานาน เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของผู้หญิงใน การเป็นมะเร็งเต้านม วารสารกายภาพและพฤติกรรมรายงานว่าการทดลองกับสัตว์ท�ำ ให้คน้ พบว่าการได้รบั แสงไฟในเวลากลางคืนส่งผลให้ลกู หนูมพี ฤติกรรม กังวลและตื่นตระหนกมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากฮอร์โมนความเครียดถูกกระตุ้น Credit : www.thaihealth.or.th
4
5
สัมผัสวิถชี วี ติ บ้านโคกเมือง
“ ความน่าสนใจของป่าชายเลนโคกเมือง คือการทีเ่ กิดจากการสร้างป่าของคนในชุมชนเอง “
ชุมชนบ้านโคกเมืองเป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจทั้งในด้านสังคม ประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ อันมีทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดพลัง ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนใน การพัฒนาและสร้างศักยภาพทีด่ ภี ายในชุมชน ดังนัน้ การศึกษาเรือ่ งราว ต่างๆของชุมชนบ้านโคกเมืองจึงเป็นประโยชน์และเป็นแบบอย่างทีด่ ใี น การพัฒนาชุมชนอื่นๆได้ต่อไป
6
7
“ ความน่าสนใจของป่าชายเลน โคกเมือง คือการที่เกิดจากการ สร้างป่าของคนในชุมชนเอง “
ฟาร์มทะเลบ้านโคกเมือง คนโคกเมือง คนสร้างป่า สร้างป่า สร้างธรรมชาติกลับคืนสู่ชุมชนบ้านโคกเมือง
สาเหตุที่ทำ�ให้ชุมชนหันกลับมาสร้างผืนป่าเป็นของตนเองนั้น เนือ่ งมาจากชุมชนโคกเมืองเป็นชุมชนทีม่ พี นื้ ทีฝ่ งั่ ตะวันออกกับ ทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านโคกเมืองส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ ประมง เมื่อถึงช่วงฤดูมรสุมคลื่นลมแรงเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลและสร้างความเสียหายต่อชุมชนอีกทัง้ จำ�นวนประชากรก็ ขยายตัวขึน้ เรือ่ ยๆ ทำ�ให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรกันอยูบ่ า้ ง มี การจับสัตว์น�้ำ ในทะเลชายฝัง่ มากขึน้ ส่งผลให้จ�ำ นวนสัตว์น�้ำ ลด ลงเรื่อยๆ สาเหตุเหล่านี้กลายเป็นแรงผลักดันให้ชาวโคกเมือง รวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นายธานินทร์ แก้วรัตน์ หนึ่งในคณะกรรมการของชุมชน โคกเมืองได้เสนอวิธกี ารแก้ปญ ั หาโดยการนำ�เอาพันธุไ์ ม้ปา่ ชาย เลนมาปลูก ซึง่ นายธานินทร์เองได้น�ำ เอาแนวความคิดนีม้ าจาก คุณตาลั่น ศรีประสม ซึ่งเป็นผู้สูงอายุของชุมชน คุณตาลั่นเป็น ผู้ริเริ่มนำ�เอาต้นลำ�พูมาปลูกที่หมู่บ้าน ซึ่งปลูกบริเวณบ้านของ ตัวเอง ติดกับฝั่งที่ติดทะเลสาบสงขลา คุณตาลั่นเล็งเห็นว่า ปลาเริม่ หาได้ยากขึน้ จะหาปลาก็ตอ้ งออกเรือไปไกล ถ้าปลูกต้น ลำ�พูไว้ใกล้ๆ บ้านถึงอย่างไรก็ตอ้ งมีสตั ว์น�้ำ มาอาศัยอยู่ ในช่วง แรกของการเสนอความคิดเรือ่ งการปลูกป่าชายเลนในทีป่ ระชุม หมูบ่ า้ นก็มที งั้ กลุม่ ทีเ่ ห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กลุม่ ทีไ่ ม่เห็นด้วย ไม่เชื่อว่าจะปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในชุมชนได้เนื่องจากชุมชน โคกเมืองมีลกั ษณะเป็นดินทราย ในปี 2545 เป็นก้าวแรกทีช่ าว โคกเมืองรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ในปี 2546 ชาวโคกเมืองยังคงมุง่ มัน่ และดำ�เนินการสร้างป่าชาย เลนใหม่ เริ่มวางแผน เป็นรูปแบบมากขึ้น ชาวโคกเมืองได้เข้า รับการฝึกอบรมในเรื่องของป่าชายเลน และเดินทางไปศึกษา ดูงานยังพื้นที่ต่างๆ นำ�กลับมาปรับใช้ให้เข้ากับชุมชน ครั้งนี้ ชาวโคกเมืองเลือกเอาพันธุ์ไม้ที่สามารถปลูกขึ้นในดินทรายได้ ดี เริ่มจากปลูกต้นลำ�พูเป็นลำ�ดับแรก เมื่อประสบความสำ�เร็จ จึงนำ�พันธุไ์ ม้อนื่ ๆ เข้ามาปลูกอีกหลายชนิดพันธุ์ สภาพดินก็เริม่ เปลีย่ นแปลงเป็นดินโคลน ในระยะแรกของการสร้างผืนป่าของ ชุมชนนัน้ เริม่ จากการปลูกกันคนละไม้คนละมือของชาวบ้าน มี การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนในวันสำ�คัญต่างๆ เพือ่ ให้ทกุ คน ได้เข้ามามีส่วนร่วม ต่อมาภายหลังเริ่มมีหน่วยงาน องค์กรทั้ง ภาครัฐและเอกชนที่ให้ความสำ�คัญกับป่าชายเลนเข้ามามีส่วน ร่วมมากขึ้นพื้นที่ป่าชายเลนของชุมชนจึงก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง ปัจจุบันป่าชายเลนชุมชนบ้านโคกเมืองมีพื้นที่ประมาน 116 ไร่ และได้รับรางวัลจากองค์กร หน่วยงานต่างๆ อาทิ เช่น รางวัล ลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 13 รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรป่าชายเลนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รางวัลกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนดีเด่นระดับภาค กิจกรรมสร้างป่า สร้างธรรมชาติกลับคืนสู่ชุมชนบ้านโคก เมืองร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์สร้างจิตสำ�นึก รับรู้ถึงการรวม ตัวรวมใจรวมเป็นหนึ่งเดียวของชาวบ้านจึงก่อให้เกิดพลังที่จะ พัฒนาผืนป่าในบ้านของตน ให้กลายเป็นป่าชายเลนที่มีความ ยั่งยืน อุดมไปด้วยสัตว์น้ำ�นานาพันธุ์ พันธุ์ไม้นานาชนิด
เป็นผลต่อยอดมาจากการสร้างป่าชายเลนของชุมชน เพือ่ รักษา ความอุดมสมบูรณ์ของป่า ซึ่งเมื่อเทียบกับอดีตแล้วพบว่า วิถี ชีวิตของชาวประมงในปัจจุบันมีส่วนทำ�ให้ปริมาณสัตว์น้ำ�ลด ลง ผู้ประกอบอาชีพประมงจึงต้องประกอบอาชีพอื่นแทน เช่น พนักงานโรงงาน แรงงานก่อสร้าง แต่หลังจากที่ชุมชนได้สร้าง พื้นที่ป่าชายเลน บริเวณดังกล่าวก็อุดมสมบูณ์ขึ้น สัตว์นำ้�เข้า มาอยู่อาศัยจำ�นวนมาก ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนนี้ ทำ�ให้แกนนำ�ชุมชนคิดกันต่อถึงการดูแลรักษาที่ยั่งยืนอันเป็น ประโยชน์โดยตรงต่อวิถีชีวิต จึงเกิดแนวความคิดการทำ�เขต อนุรักษ์สัตว์น้ำ�ขึ้น ซึ่งอาศัยขอบเขตพื้นที่ที่แน่นอนและงดการ ทำ�ประมงในบริเวณดังกล่าว เขตอนุรักษ์นี้ช่วยให้สัตว์น้ำ�ได้ กระจายจำ�นวนออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงและเพิ่มจำ�นวนขึ้น รูปแบบเขตอนุรักษ์ของที่นี่ไม่ได้อาศัยกลไกรัฐเป็นหลัก ชุมชน ต้อการอนุรักษ์ด้วยกำ�ลังของตนเองจึงได้นeแนวคิดเรื่องฟาร์ม ทะเลมาปรับใช้ เพือ่ ให้ชมุ ชนบริหารจัดการและออกกฎระเบียบ เองได้ สอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งจุดประสงค์หลักของการ ทำ�ฟาร์มทะเลคือ การอนุรกั ษ์ทรัพยากรชุมชน ส่วนจุดประสงค์ รอง คือ รักษาอาชีพประมง ซึ่งเป็นที่มาของรายได้อีกทางหนึ่ง หลังจากเริ่มทำ�ฟาร์มทะเลมาได้ 3 ปี ชุมชนจึงนำ� โครงการขึน้ เสนอต่อสภาเทศบาลตำ�บลบางเหรียง ชุมชนได้รว่ ม มือกับหลายภาคส่วน เพือ่ ปลูกป่าชายเลนและซ่อมแซมแนวกัน้ ของฟาร์มทะเล
“ทรั พ ยากรในทะเลมี อ ยู่ อย่างจำ�กัดและผลประโยชน์ ส่วนนี้ก็ตกอยู่กับชุมชนเอง หากไม่ช่วยกันดูแลอาจส่ง ผลต่อการยังชีพในอนาคต ได้” ธานินทร์ แก้วรัตน์ แกนนำ�ฟาร์มทะเล
เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่คาดหวังและความต้องการเพิ่มเติม คุณธานินทร์กล่าวว่า “ปัจจุบันคณะกรรมการมีจำ�นวน 10 คน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการช่วยกันบริหาร จัดการฟาร์มทะเล จึงคิดจะเพิ่มจำ�นวนคนอีก 5 คน และสิ่งที่จะทำ�เพิ่มเติมอีกหนึ่งอย่างคือ การติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้แสงสว่างตามมุม รั้วฟาร์มทะเล ซึ่งจะช่วยประหยัดไฟฟ้าและง่ายต่อการสอดส่องดูแล เฝ้าระวังการลักลอบเข้ามาจับสัตว์น้ำ� และส่วนสุดท้ายคือ การทำ�เรือใบแล่นในทะเล ชุมชน ซึง่ ทำ�ให้เกิดเป็นแหล่งท่องเทีย่ ว เรือใบจะไม่มเี สียงรบกวนเหมือนเรือหางยาว เหมาะกับการแล่นออกไปศึกษาระบบนิเวศน์หรือเยีย่ มชมทัศนียภาพ ของฟาร์มทะเล”
8
กลุม่ ประมง บ้านโคกเมือง
9
จิตสำ�นึก และ ความรัก
วิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านของคนชุมชนโคกเมืองนั้น ได้ รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความพอ เพียงและหากมองผิวเผิน วิถชี วี ติ ทีน่ อี่ าจเหมือนกับทีอ่ นื่ ๆ แต่ เมือ่ ได้สมั ผัสลึกซึง้ พบว่าสิง่ หนึง่ ทีท่ �ำ ให้ทนี่ แี่ ตกต่างจากทีอ่ นื่ ๆ คือ “จิตสำ�นึก”และ “ความรัก” ทีม่ ตี อ่ ทรัพยากรชุมชนจนทำ�ให้ เกิดแห่งอนุรกั ษ์สตั ว์น�้ำ ขึน้ เพือ่ ให้ลกู หลานในรุน่ ต่อไปสามารถ ประกอบอาชีพประมงได้ จากการบอกเล่าของลุงสมนึก ชาวประมงบ้านโคก เมืองทำ�ให้ได้สัมผัสถึงวิถีประมงมากขึ้น ลุงเล่าให้ฟังว่า “ใน สมัยก่อนคนในชุมชนยังมีไม่มาก ประกอบอาชีพประมงอยู่ ประมาณ 10 ครัวเรือน สัตว์น้ำ�มีอยู่มาก แต่ก็จับมาเพื่อ บริโภคภายในครัวเรือนเท่านั้น วิธีการจับในสมัยก่อนจึงไม่ รบกวนธรรมชาติ การใช้อุปกรณ์จับปลายุคนั้นไม่ว่าจะเป็น อวน ไซ กัด แห หรือการพยากรณ์ดินฟ้าอากาศน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง ที่ ทำ�ให้รวู้ า่ ควรออกไปจับปลาช่วงไหนและด้วยวิธกี ารใด ถือเป็น ภูมิปัญญาจากการสั่งสมประสบการณ์อันเป็นมรกดกตกทอด เวลาผ่านไปเกิดปัญหาน้ำ�ทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ลมพัดซัดเอา บ้านเรือนที่ปลูกสร้างริมฝั่งได้รับความเสียหาย ชาวโคกเมือง ได้ร่วมกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ความพยายามแก้ไข ปัญหาของจึงเกิดขึ้นหลายแนวทาง จนได้ข้อสรุปว่า ต้องร่วม มือกันปลูกป่าชายเลนขึ้นในชุมชนเพื่อลดการกัดเซาะชายฝั่ง ในช่วงระยะเวลา 4-5ปี แรกนั้นยังไม่สามรถปลูกได้ เนื่องจาก สภาพดินทีเ่ ป็นดินทราย แต่กแ็ ก้ไขด้วยการนำ�ต้นลำ�พูมาปลูก เพือ่ ปรับสภาพดิน และในทีส่ ดุ ก็สามารถสร้างป่าชายเลนได้ซงึ่ บรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้พอสมควร” เมื่อคนในชุมชนเล็งเห็นโอกาสในการสร้างรายได้จากการ ทำ�ประมงจึงหันมาทำ�เพื่อการค้าขายมากขึ้น ชาวประมงจาก พื้นที่อื่นก็เข้ามาจับปลาในพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนกันมากขึ้น เพราะมีสัตว์น้ำ�อุดมสมบูรณ์ จนในที่สุดสัตว์น้ำ�ก็มีปริมาณ
อย่างไรก็ตามหากชาวโคกเมืองมองว่าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ต่ อ ไป ทรั พ ยากรสั ต ว์ น้ำ � ที่ มี อ ยู่ ต้ อ งหมดไปอย่ า งแน่ น อน และลูกหลานรุ่นต่อไปจะไม่สามารถประกอบอาชีพประมง ได้ จากนั้นจึงร่วมกันวางแนวเขตฟาร์มทะเลบริเวณรัศมีรอบ ชายฝั่ง ซึ่งให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ทั้งหมดนี้แสดงให้ เห็นว่าชาวบ้านโคกเมืองนั้นไม่ได้ตักตวงเอาผลประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติเพียงฝ่ายอย่างเดียว แต่ยังคำ�นึงถึงส่วน รวมและคนรุ่นหลัง เพราะถึงอย่างไรทรัพยากรชุมชนล้วนก็มี ความเกีย่ วข้องสัมพันธ์กบั ความเป็นอยูค่ นในชุมชนและส่งผล ต่อกันอย่างแยกไม่ออก นอกจากนี้ชุมชนบ้านโคกเมืองยังได้ก่อตั้งกลุ่มประมงขึ้นมา โดยกลุ่มประมงให้ความสำ�คัญกับการแบ่งงานเป็นสัดส่วนบน พืน้ ฐานการช่วยเหลือกัน กลุม่ ประมงมีและใช้งบประมาณของ ตนเองเพื่อทำ�กิจกรรมต่างๆ การพึ่งพาตนเองนั้น ได้สะท้อนให้เห็นความเข็มแข็งของ กลุ่มและความโอบเอื้ออารีการแบ่งปันและ เกื้อกุลกันดุจ ครอบครัว ทำ�ให้สามารถระดมทุนในรูปของกองทุนสัจจะได้ อย่างมีประสิทธิภาพ สัจจะกลายเป็นเครดิตที่ดีที่สมาชิกต้อง รักษาและเมื่อแต่ละคนเดือดร้อนก็สามารถกู้ยืมเงินออกมา ใช้ได้ ปัจจุบันชาวโคกเมืองที่ยังประกอบอาชีพประมงนั้นมี ประมาณ20ครัวเรือน ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพประมง เพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ เพื่อเพิ่มราย ได้ให้แก่ครอบครัว เช่น กรีดยาง ทำ�ไร่ ทำ�สวน หรือรับจ้างทัว่ ไป จะเห็นได้ว่า จิตสำ�นึกรักทรัพยากรชุมชนของชาวประมง โคกเมือง นั้นทำ�ให้วิถีชาวประมงที่นี่แตกต่างจากที่อื่นๆ ชาว ประมงไม่ได้ประกอบอาชีพแล้วตักตวงเอาผลประโยชน์จาก ทรัพยากรเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ยังดูแลรักษาเพื่อให้ความ อุดมสมบูรณ์ยังคงมรอยู่ตราบชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งนอกจาก เป็นการรักษาทรัพยากรชุมชนแล้ว ยังถือว่าเป็นการสืบทอด วิถีชีวิตประมง รักษาอาชีพนี้ไว้ให้รุ่นต่อไป
10
น้ำ�ส้มควันไม้ เป็นผลจากการเผาถ่านด้วยเตาที่สร้างขึ้นเองโดย นำ�กิ่งไม้ยางพาราหรืออื่นๆในบริเวณบ้านเท่านั้นมาเผา ในขณะที่ เผาควันจะลอยไปตามท่อ เกิดการควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ�ใน ที่สุด เตาเผาถ่านในบ้านตู้เย็นเป็นผลมาจากการไปดูงานและจาก สื่อ แล้วร่วมกันถอดบทเรียนซึ่งประโยชน์ของเตาเผาถ่านนอกจาก จะทำ�ให้ได้ชิ้นถ่านเพื่อใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังทำ�ให้เกิดน้ำ�ส้มควัน ไม้ที่สามารถนำ�ไปฉีดไล่แมลงในสวนผัก แก้อาการปวดฟัน ขจัด รังแค ดับกลิ่นในห้องครัว
บ้านตู้เย็น
น้ำ�หมักชีวภาพ นำ�เอาเปลือกและเนื้อผลไม้ต่างๆมาผสมกับ น้ำ � ตาลและน้ำ � สะอาดแล้ ว ปิ ด ฝาทิ้ ง ไว้ ไม่ ใ ห้ โ ดนแดดและฝน ประมาณ 15 วัน – 3 เดือน ซึ่งนำ�ไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ�และในที่ที่ ส่งกลิน่ เหม็นโดยเฉพาะคอกปศุสตั ว์ นอกจากหมักด้วยเปลือกและ เนื้อผลไม้แล้ว ยังมีน้ำ�หมักจากเศษอาหารด้วย โดยการนำ�เศษผัก และเศษอาหารที่เหลือมาผสมกับน้ำ�ตาลและน้ำ�ปิดฝาทิ้งไว้ ไม่ให้ โดนแดดและฝนประมาณ 15 วัน – 3 เดือน
11
ก๊ า ซมู ล สั ต ว์ เกิ ด ขึ้ น จากการที่ ป ศุ สั ต ว์ อำ � เภอร่ ว มมื อ กั บ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยเข้ามาสนับสนุน ติดตั้ง และชี้แนะการทำ� จนทำ�ให้ปัจจุบันบ้านตู้เย็นสามารถใช้พลังงาน ทดแทนพวกนีเ้ ต็มประสิทธิภาพ ลดการใช้กา๊ ซหุงต้มถังลงไปได้มาก ซึ่งภายหลังการติดตั้งทำ�ให้บ้านตู้เย็นใช้ก๊าซหุงต้มถังเพียง 1 ถัง/ปี เท่านั้น และมีแนวโน้มเลิกใช้ก๊าซหุงต้มถังในอนาคต
“บ้านตู้เย็น” เป็นชื่อเปรียบเปรยของบ้านหลังหนึ่งในชุมชนบ้านโคกเมือง ตำ�บลบางเหรียง อำ�เภอควน เนียง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบการทำ�เกษตรแบบพอเพียงบริเวณรอบๆบ้านของตนเอง โดย มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักสำ�คัญในการปฏิบัติและพัฒนา
นายวิจิตร อินทะโร อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 ได้เล่าว่า “บ้านตู้เย็น” เป็นชื่อเปรียบเปรยบริเวณบ้านของตนว่าเป็นเสมือนตู้เย็นที่เก็บตุนวัตถุดิบต่างๆเพื่อการประกอบ อาหารไว้อย่างครบครัน เนื่องจากรอบๆบ้านตู้เย็นจะปลูกผักนานาชนิด เลี้ยงสัตว์ และยังมีการทำ�ปุย๋ ชีวภาพและน้ำ�ส้มควันไม้ใช้เป็นพลังงานทดแทนขึ้นมาเองภายในครอบครัว ด้วย หากเป็นตู้เย็นก็คงเป็นตู้เย็นที่แทบไม่ต้องใช้ไฟฟ้าและสามารถหาผักผลไม้ เนื้อสัตว์สดมาประกอบอาหารได้ตลอดเวลา บ้านตู้เย็นหลังหนึ่งๆจึงสามารถดำ�เนินชีวิตแบบไม่ ต้องพึ่งวัตถุดิบและเชื้อเพลิงจากภายนอกมากนัก ผลงานบ้านตู้เย็นที่เกิดขึ้นนี้ริเริ่มจากการที่คุณลุงวิจิตรในสมัยที่ยังเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ไปดูงาน 3 หมู่บ้านเด่นๆจากนั้นจึง เกิดความคิดที่ว่า จะทำ�อย่างไรให้ที่อื่นอยากมาศึกษาดูงานที่หมู่บ้านของเราบ้าง ภายหลังการดูงานแต่ละครั้ง ลุงวิจิตรและชาวโคกเมืองจะร่วมกันถอดบทเรียนเพื่อนำ�จุดเด่นมา ดัดแปลงและพัฒนาให้เหมาะสมกับหมู่บ้าน โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิดสำ�คัญในการประยุกต์ บ้านตู้เย็นนั้นทำ�ให้ครัวเรือนหนึ่งๆ มีผักสดปลอดจากสารเคมีไว้บริโภคตลอดเวลา ผลผลิตที่ได้นอกจากเหลือแบ่งปันเพื่อนบ้าน ยังสามารถนำ�ไปขายเป็นรายได้เสริมได้อีก ทางหนึ่ง บ้านลุงวิจิตรคือต้นแบบของบ้านตู้เย็น ในอนาคตจะนำ�ยางรถยนต์เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นที่นอนและถังขยะทั้งเพื่อเอาไว้ใช้ภายในครัวเรือนและจำ�หน่ายเพื่อเป็นราย ได้เสริมไว้ซื้อสิ่งที่ปลูกเองไม่ได้อย่างเช่นข้าวสาร เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มเติมไว้บริโภคในครัวเรือน ทุกวันนี้ลุงวิจิตรได้แบ่งปันความรู้และวิธีการสร้างบ้านตู้เย็นให้เพื่อนบ้าน เพื่อจะให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีชีวิตพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง
เรือนเพาะชำ� เป็นสถานที่เก็บพันธุ์พืชผักและผลไม้ ได้แก่ มะม่วง มะนาว ส้มมะดัน พริก ต้นจิก พะยูง เป็นต้น โดยพันธุ์ไม้เหล่านี้ ตั้งไว้เพื่อรอดัดแปลงสายพันธุ์และรอลงดินต่อไปในช่วงฤดูกาลที่ เหมาะสม
สัตว์ที่เลี้ยง ปลาดุกพันธุ์รัสเซีย และวัว ปลาดุก 1 บ่อ กว้าง 16 ตารางเมตร เลี้ยงได้จำ�นวนประมาณ 400 ตัว จะให้ทั้งอาหาร สำ�เร็จรูปและปลาตัวเล็กๆ เมื่อโตเต็มที่จะนำ�มาทำ�อาหารรับ ประทานกันในครอบครัว หากมีเหลือก็จะขายด้วย ผลพลอยได้อีก อย่างหนึง่ ของการเลีย้ งปลาดุกคือน้�ำ จากบ่อนัน้ เอาไว้รดผักได้ และ เป็นส่วนผสมชั้นดีสำ�หรับปุ๋ยหมักแห้ง สำ�หรับการเลี้ยงวัว จะแตก ต่างจากท้องทีอ่ นื่ ๆตรงทีม่ ลู วัวทีน่ จี่ ะเป็นวัตถุดบิ สำ�หรับการทำ�ก๊าซ ชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนใช้ในครัวเรือน
สวนผัก เริ่มจากการปลูกผักสวนครัวที่ดูแลง่ายไปจนถึงพวกผลไม้ เช่น มะนาว มะกรูด ส้มจี๊ด ตะไคร้ ขมิ้น คะน้า กวางตุ้ง โหระพา สาระแหน่ ต้นหอม ผักชี พริกไทย พริก มะละกอ มะพร้าว มะเขือ และถัว่ ฝักยาว ซึง่ จะปลูกไว้รอบๆบ้าน รอบๆรัว้ ส่วนปุย๋ นัน้ ได้จาก การหมักเศษอาหารเหลือภายในครัวเรือน พืชผักสวนครัวเหล่านี้ ปลูกไว้เพื่อกินกันในครอบครัวเป็นหลัก ส่วนที่เหลื่อก็จะนำ�ไปแบ่ง ปันให้กับเพื่อนบ้านและนำ�ไปขายเป็นรายได้เสริม
วิถีคน วิถีผึ้ง
เจียร ยางทอง : เรียนรู้ ชีวิตผึ้งด้วยภูมิปัญญา ลุงเจียร ยางทอง ผู้เลี้ยงผึ้งวงจรชีวิตของผึ้งโพรง หรือ ผึ้งยวน บอกกับเราว่าผึ้งเป็นผึ้งที่ชอบอพยพย้ายถิ่นฐานไปตามฤดูกาล และตามพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกับการอพยพมา สร้างรังในพื้นที่ตำ�บลบางเหรียง ผึ้งยวนจะบินกันมาเป็นฝูงและ หาพื้นที่ท่ีเหมาะสมต่อการสร้างรัง(ผึ้ง) เช่น ใต้หลังคาบ้าน และ บริเวณบ้านที่มืดมิดชิด เริ่มแรกลุงเจียรเห็นว่าผึ้งชอบมาสร้างรัง ภายในบ้านจึงเป็นห่วงความปลอดภัยของคนในครอบครัว จึงหา วิธกี ารเพือ่ กำ�จัดผึง้ ด้วยการรมควัน หรือการตีรงั ผึง้ ซึง่ ได้ท�ำ เช่นนี้ หลายครัง้ แต่ไม่เป็นผล ผึง้ ยังคงทำ�รังและอาศัยอยูท่ เี่ ดิม หลังจาก นัน้ ได้สงั เกตเห็นว่าเมือ่ ถึงฤดูกาลทีผ่ งึ้ ต้องแยกรังก็จะทำ�รังเพิม่ เป็น 2-3 รัง จำ�นวนประชากรผึง้ ก็มจี �ำ นวนเพิม่ มากขึน้ เมือ่ สังเกตได้วา่ ผึง้ จะอพยพมาสร้างรังทีบ่ า้ นในฤดูไหนและจากไปฤดูไหน รวมทัง้ มีลักษณะนิสัยอย่างไร เช่น ไม่ชอบมด และ ตัวต่อ ต่อมาก็ศึกษา วิธีการเลี้ยงผึ้งให้ลึกซึ้ง โดยการรู้จักสร้างรังผึ้ง วิธกี ารสร้างรังให้ผงึ้ อาศัยนัน้ ลุงเจียรได้หาเศษไม้เหลือใช้น�ำ มา ประยุกต์สร้างเป็นรังผึ้ง มีวิธีการ คือ ใช้ไม้ประกอบกันเป็นกล่อง ภายในกล่องจะกลวงเพื่อเป็นพื้นที่ของรังผึ้ง เจาะรูด้านหน้าตัด ด้านหนึ่ง 1-2 รู เพื่อเป็นทางออกของผึ้ง ส่วนด้านหลังปิดด้วย แผ่นไม้ตดิ บานพับเพือ่ ไว้เปิดดูหรือเก็บน้�ำ ผึง้ และตัวอ่อนได้สะดวก วิธกี ารล่อผึง้ ให้มาทำ�รังภายในรังทีจ่ ดั ไว้คอื นำ�รังทีท่ �ำ ไว้วางไว้ใกล้ บริเวณทีผ่ งึ้ ทำ�รัง นำ�ขีผ้ งึ้ มาป้ายไว้ภายใน เมือ่ มีผงึ้ มาอาศัยก็คอย ดูแลไล่ศตั รูของผึง้ ซึง่ ลุงเจียรบอกว่าผึง้ กลัวมดแดง เพราะมดแดง ชอบน้�ำ ผึง้ ดังนัน้ จึงนำ�ผ้าชุบน้�ำ มันเครือ่ งพันรอบโคนเสาทีม่ รี งั ผึง้ อยู่ เพื่อไม่ให้มดแดงไต่ขึ้นมามากินน้ำ�หวานจากรังผึ้งได
ลักษณะการเลี้ยงผึ้งของลุงเจียรจะเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือ ปล่อยให้ธรรมชาติได้ดแู ลกันเองและจะคอยเก็บน้�ำ หวานตาม ฤดูกาลซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี หรือที่เรียกว่า “ น้ำ�ผึ้งเดือนห้า ” สามารถเก็บได้หลังจากที่ผึ้งแยกตัว ซึ่งในหนึ่งปี จะเก็บได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น และการดู แ ลสวนของลุ ง เจี ย รจะไม่ มี ก ารใช้ ส ารเคมี จะใช้ ปุ๋ ย อินทรีย์ เนื่องจากหากใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้สารเคมีในการทำ�สวน ผึ้งจะไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำ�ไมลุงเจียรจึงให้ ธรรมชาติได้ดแู ลกันเอง หลังจากได้เลีย้ งผึง้ สวนของลุงเจียรมีความ อุดมสมบูรณ์มากขึ้นผลผลิตเพิ่มจำ�นวนพร้อมทั้งมีรสชาติหวาน ตามธรรมชาติเหรียงมีการเลีย้ งผึง้ กว่า 50 ครัวเรือน ทัง้ เพราะเลีย้ ง ง่ายและไม่จำ�เป็นต้องลงทุนมาก ไม่ต้องคอยให้อาหาร เพราะผึ้ง สามารถหากินเองได้ การทำ�รังผึ้งก็ใช้วัสดุเหลือใช้ซึ่งแทบไม่ต้อง ลงทุนอะไรมากมาย ผลที่ ไ ด้ น อกจากความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องพื ช สวนแล้ ว ยั ง สร้างรายได้จากน้ำ�ผึ้งได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีราคาค่อนข้าง สูงประมาณขวดละ 500-600 บาทต่อภายในหนึ่งปีจะผลิตได้ ประมาณ 5-8 ขวด แต่กว่าจะได้นำ้�ผึ้งมาสักขวด ก็ยังยากพอ สมควรต้องใช้อุปกรณ์ เช่น ถุงมือ หมวกกันน๊อค สวมชุดที่ปกปิด ตัวมิดชิด และต้องมีวิธีการหลอกล่อให้ผึ้งทิ้งรัง โดยลุงเจียรจะ หลอกล่อด้วยการนำ�ขี้ผึ้งไปป้ายไว้ที่รังอื่นอีกรังที่วางไว้ในบริเวณ ใกล้เคียง หลังจากนั้นผึ้งจะบินไปอยู่อีกรัง ก็จะสามารถเก็บน้ำ� หวานออกจากรังเก่าได้ ส่วนน้ำ�ผึ้งที่ได้มานั้นก็จะบรรจุใส่ขวด ขายตามท้องตลาด ถือเป็นน้ำ�ผึ้งที่มีความหวานตามธรรมชาติไร้
12
13
ถนนกินได้
ในช่วงเริม่ แรกของโครงการจะเลือกปลูกต้นสะตอและมะขามก่อนเพราะต้นสะตอเป็นต้นไม้ขนึ้ ชือ่ ในปักษ์ ใต้ ลูกสะตอสามารถนำ�มาแปรรูปเป็นอาหารได้หลายชนิด ส่วนต้นมะขามนัน้ เป็นพืชทีส่ ามารถใช้ประโยชน์ ได้ทกุ ส่วนและในอนาคตโครงการดังกล่าวจะถูกต่อยอดไปสู่ “โครงการชมดอกสะตอบาน”ซึง่ จะช่วยดึงดูด นักท่องเทีย่ วเข้ามา ขณะเดียวกัน ลูกสะตอทีเ่ ก็บได้กจ็ ะถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชมุ ชน จัดจำ�หน่ายให้นกั ท่องเที่ยว ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกทางหนึ่ง ไม้ต่างๆผลไม้ที่เก็บเกี่ยวได้จะถูกจัดสรรปันส่วน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ออกจำ�หน่ายสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อไป
นอกจากถนนจะเป็นเส้นทางหนึ่งในการเดินทางแล้วนั้น ถนนเส้นหนึ่ง จะกลายเป็นแหล่งสร้างความสัมพันธ์ สร้างรายได้ หรือสร้างชื่อเสียงให้ ชุมชนได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถนนโคกเมือง-คลองคล้า ในพื้นที่บ้านโคกเมือง ที่เป็น จุดเริม่ ต้นเล็กๆของการสร้างคุณค่าให้กบั ถนนทีห่ ลายคน เคยมองข้ามไป ณ ที่นี้ผู้ใหญ่บ้านอุดม ฮิ้นเส้ง ร่วมมือกับ ชาวโคกเมือง ริเริ่มโครงการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ เสริม รายได้ และสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน โดยใช้ชื่อโครงการ ว่า “ถนนกินได้” โครงการถนนกินได้ เริ่มดำ�เนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 โดยการปลูกต้นสะตอและต้นมะขามไว้สองข้างทาง เพื่อสร้างความร่มรื่นและเป็นแหล่งอาหารท้องถิ่น วัตถุประสงค์หลักของโครงการคือสร้างความรัก ความ สามั ค คี ความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ภ ายในชุ ม ชน รวมถึ ง สร้ า ง จิตสำ�นึกรักบ้านเกิดให้กับเยาวชน ตลอดจนส่งเสริมให้ ชาวโคกเมืองลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
ถนนกินได้เส้นนี้ มีระยะทางราวๆ 2 กิโลเมตร ใช้งบ ประมาณเพียง 450 บาท เพื่อเป็นทุนในการซื้อเมล็ด พันธุ์ลูกเหรียงมาเพาะเป็นต้น แล้วใช้ภูมิปัญญาในการ ติดตาต้นสะตอเบา โดยใช้ลำ�ต้นและรากของต้นเหรียง เป็นลำ�ต้นหลัก ทั้งนี้เป็นเพราะรากและลำ�ต้นของต้นเหรี ยงสามารถดูดซึมสารอาหารและยืนต้นได้ดีกว่าต้นสะตอ ทั่วไป การปลูกต้นไม้ทุกๆขั้นตอนทั้งการเพาะต้น รดน้ำ� ใส่ปยุ๋ และดูแลรักษา อาศัยชาวโคกเมืองทัง้ เด็กและผูใ้ หญ่ เป็นกำ�ลังหลัก การมาส่วนร่วมทำ�ให้ทุกคนหวงแหนและ ร่วมรักษาต้นไม้สองข้างทางเพราะทุกต้นก็คือสมบัติ ของชุมชน โครงการถนนกินได้ยังช่วยปลูกจิตสำ�นึกรัก ชุมชนให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนผ่านนัยยะการทำ�งาน ทำ�ให้พวกเขากลายเป็นกลุ่มบุคคลหลักในการพัฒนา ชุมชนและสืบต่อโครงการให้ยงั่ ยืนต่อไปะสืบต่อโครงการ ให้ยั่งยืนต่อไป
จะเห็นได้ว่าบ้านโคกเมืองเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนให้เกิด ประโยชน์สูงสุดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความร่วมมือของทุกคน ประกอบกับการมีผู้นำ�ชุมชนที่ เข้มแข็ง และมุง่ มัน่ พัฒนาชุมชนให้มศี กั ยภาพ เป็นชุมชนเข้มแข็งทีพ่ งึ่ พาตนเองได้ ถนนสายธรรมดาทีเ่ ป็น เพียงเส้นทางสัญจรไปมาจึงกลายเป็นถนนทีม่ ชี วี ติ ชีวา มีกลิน่ อายของความรัก ความสามัคคี โครงการถนน กินได้บ้านโคกเมือง อาจกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้กับหลายๆ ชุมชนในอนาคต
“โครงการถนนกินได้นี้เป็นโครงการที่ดี ใน อนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าต้นไม้เหล่านี้จะ ออกลูกออกผลมาสร้างรายได้เข้าหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้กับ ชุมชนได้ในระยะยาว” เด็กหญิงพัชรพร พวงแก้ว (เยาวชนทีม่ สี ว่ นร่วมในโครงการถนนกินได้)
14
15
ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ�หมู่บ้าน “ที่พึ่งของราษฎร องค์กรของประชาชน” ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ�หมู่บ้าน ต.บางเหรียง อ.ควน เนียง จ.สงขลา เกิดจากความต้องการของผู้ใหญ่บ้าน นาย อุดม ฮิ่นเซ่ง และชาวบ้านในชุมชนโคกเมือง ด้วยวิสัยทัศน์ ของผู้ใหญ่บ้านที่มีความเอาใจใส่ลูกบ้าน อยากช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนให้กบั ชาวบ้าน มีทพี่ งึ่ ให้กบั ชาวบ้าน จึงอยาก ให้ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ�หมู่บ้าน เข้ามามีบทบาทใน ชุมชนมากขึ้น ด้วยการระดมความร่วมมือของประชาชนและ ผู้แทนประชาชนในการดำ�เนินงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎร หมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ�หมู่บ้าน มีหน้าที่ดำ�เนินการด้านสงเคราะห์และฟื้นฟู การพัฒนา คุม้ ครองและป้องกัน การยกระดับคุณภาพชีวติ และรวบรวม สถิตขิ อ้ มูลของราษฎรในหมูบ่ า้ น คอยรายงานเหตุสาธารณภัย และปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นให้แก่ชาวบ้าน ระดม ความร่วมมือของประชาชนและผูแ้ ทนประชาชนในการดำ�เนิน งานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ�หมู่บ้าน
สำ�รวจและจัดทำ�ข้อมูล เพื่อให้เป็นแหล่งสถิติข้อมูลพื้นฐาน ด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมในระดมหมูบ่ า้ นและเผยแพร่ ความรูค้ วามเข้าใจด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม จัดบริการ อื่นๆที่คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ�หมู่บ้าน เรื่องเล่าจากประธานศูนย์ “คุณสมใจเมื่อก่อนแกจะไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจา เพราะมองว่า ตัวเ องเป็นผู้พิการ ทำ�ให้จิตใจของเขาอ่อนแอและพิการตาม ไปด้วย เพราะเขาก็รู้สึกอาย หุงข้าวก็ไม่สุก เพราะต้องอาศัย ไฟฟ้าข้างบ้าน หุงๆอยู่ ข้างบ้านถอดปลั๊กเพราะมันก็เปลือง ไฟบ้านเขา เขาจะเอาที่ไหนจ่าย ก็นั้นแหละเป็นไปได้ สมใจก็ ต้องการที่จะมีไฟฟ้าใช้ในบ้าน แต่บ้านสมใจก็ไม่มีบ้านเลขที่ และในการทีจ่ ะมีบา้ นเลขทีบ่ า้ นของสมใจก็ตอ้ งมีสว้ มมีหอ้ งน้�ำ ก่อน ผมจึงนำ�เรือ่ งของสมใจเข้าทีป่ ระชุมว่า “สมใจ เราต้องการ ที่จะช่วยเหลือเขามั้ย” เพื่อที่จะระดมเงินทุน และแรงงานคน เข้ามาช่วยกันว่า “ใครต้องการบริจาคเงินทำ�ส้วมให้สมใจบ้าง” บางคนเป็นช่างก็บริจาคเป็นแรงบาง
“หมู่บ้านให้เขามา มากแล้ ว มี อ ะไรที่ เขาช่ ว ยหมู่ บ้ า น ได้บ้างเขาก็อยาก ทำ�”
คนไม่ได้เป็นช่างก็ช่วยกันบริจาคเป็นเงิน ผมให้ 200 บ้าง 100 บ้าง ก็เริ่มร่วมบริจาคได้วันนั้นประมาณเกือบ 2,000 บาท ผมถามทำ�ได้ไหม ช่างบอกว่าทำ�ได้แล้ว หลังจากนัน้ ถ้าหากว่าเงินไม่พอก็เอาเงินจากศูนย์สงเคราะห์เนีย่ ะแหละเข้ามาใช้ก็ เสร็จ พอได้สว้ มปุบ๊ ก็ขอบ้านเลขที่ ขอหม้อไฟ เอาเงินศูนย์ 100 กว่าบาทติดต่อไฟฟ้าให้มาติดมิเตอร์ให้แล้วก็มาเดินประปา ให้ แล้วก็ยกเว้นค่าน้ำ�ให้เขาใช้ฟรี ส่วนค่าไฟก็ใช้ไม่ถึง 50 หน่วยก็ไม่ต้องจ่าย แล้วเราก็ส่งเสริมอาชีพให้คือ 1.ก็ให้เขาทำ� น้ำ�ยาล้างจาน แล้วให้เราช่วยกันซื้อ เห็นมั้ยเขาเริ่มอยู่ได้ในสังคม 2.ถ้าเรามีงาน มีกิจกรรม มีอาหาร ก้พยายามแบ่งให้เขา เอาให้เขา ช่วยเขา เขาเริ่มอยู่ได้ อยู่จนเขาเริ่มเห็นว่า หมู่บ้าน หมู่บ้านเนี่ยะ ช่วยเหลือเขามามาก เขาเริ่มเปิดใจ และอยาก ที่จะช่วยเหลือชุมชนบ้าง เขาก็ถามผมว่า เขาต้องทำ�ยังไง ในการดำ�เนินการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ�หมู่บ้าน ให้เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้ประสบสาธารณภัย ผู้ประสบปัญหาด้านแรงงานและผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนอื่นๆด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค เงิน และให้คำ�ปรึกษาแนะนำ� หรือด้านอื่นๆตามความเหมาะสม พิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุเพื่อรับเบี้ยยังชีพ สอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง ปัญหาความประพฤติของเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน การเดินทางไปทำ�งานในต่างถิ่นของสตรี และเยาวชนสตรี รวมทัง้ การเคลือ่ นย้ายแรงงานของชาวบ้าน ร่วมกับหน่วยงานและส่วนราชการทีเ่ กีย่ วข้องอบรมให้ความ รู้แก่ประชาชน เพื่อป้องกันการหลอกลวงไปทำ�งาน การล่อลวงหญิงและการใช้แรงงานหญิงและเด็ก จัดฝึกอาชีพ จัด อบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดหางานให้แก่ชาวบ้านวัยทำ�งานในหมู่บ้าน คนพิการ ตลอดจนอบรมสร้างจิตสำ�นึกแก่ชาว บ้านในการช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ซึง่ กิจกรรมที่ ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรหมูบ่ า้ นได้มอบให้แก่ชมุ ชนออกมาในรูปแบบของ เช่น การจัดหาเตียง ไม้ค้ำ� รถเข็น ให้กับผู้ป่วย ผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ต้องมีเงินประคองชีวิต 200-300 บาท/เดือน เดินระบบไฟฟ้า/ประปาให้กบั ผูข้ าดแคลน ระดมเงินสร้างบ้านให้ผยู้ ากไร้ ส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้านให้กา้ วไกล แก้ปญ ั หา ยาเสพติดในชุมชน ปัญหาลักทรัพย์หรือทำ�ลายทรัพย์สินของผู้อื่น ปัญหาหนี้สินนอกระบบ และปัญหาต่างๆอื่นๆที่ ชาวบ้านมาร้องทุกข์ เป็นต้น ผมบอกให้มาเข้าประชุมเนี่ยะ ทุกวันที่12 เขาก็จะมาไม่ขาด วันที่ 10 เขาก็มาช่วยปัดกวาดดูแลสถานที่ เพื่อนๆก็ชม “เฮ้ย….ใช้ได้นะ” เขาตอบว่า “นิดเดียวเอง ทำ�ไปเหอะ” เวลาคนถามถึงเหตุผลเขาก็ตอบว่า “หมู่บ้านให้เขามามากแล้วมี อะไรที่เขาช่วยหมู่บ้านได้บ้างเขาก็อยากทำ�” เขาก็ถามว่าเขามาเข้าเวรยามหมู่บ้านได้มั้ย ผมก็ตอบได้ ก็ได้ให้ชุด อส.เขา ไป เขาก็มาเข้าเวรยาม มาช่วยเหลือหมู่บ้าน ช่วยถากหญ้า ช่วยพัฒนา เขาทำ�มือเดียวหมด และเวลาไปดูงานด้านนอกก็ จะพาเขาไปด้วย ให้เขาเห็นชุมชนอื่นๆ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการใช้ชีวิตของเขา จนเขาสามารถพึ่งตนเองได้ แสดงว่า ถึง ร่างกายของเขาจะพิการ แต่จิตใจของเขาเข้มแข็ง”
16
ร่ายรำ� กรำ�เพลง บรรเลง กลองยาว
“ ได้รับความสามัคคี มีความสบายใจที่ได้ มาทำ�กิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และก็เรื่อง เงิน ถ้าเราเดือดร้อน เราก็สามารถมากู้ เงินที่กลุ่มได้ ” ละหม่อม พรหมเสน
17
ในปัจจุบัน สื่อที่ให้ความบันเทิงนั้นมีอยู่อย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถที่จะรับชมรับฟังกันอย่างจุใจ ตามความชอบและรสนิยมส่วนบุคคล ทั้งสื่อในรูปแบบ สมัยใหม่ ภาพยนตร์ ดนตรี ละคร ต่าง ๆ อีกทั้งสื่อให้ความบันเทิงอย่างการแสดงท้องถิ่นในแต่ละภาคของประเทศไทย มหรสพการแสดงมากมายที่มี ความน่าสนใจ และการแสดงกลองยาวก็เป็นอีกหนึ่งการแสดงที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยการแสดงกลองยาวนั้นเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในทุกภาคของ ประเทศไทยเหมือนดั่งเป็นสัญลักษณ์ของความสนุกสนานรื่นเริงของคนในชุมชน การแสดงกลองยาว หรือ การเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่ามาทำ�สงครามกับไทย ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้ เห็นก็จำ�มาเล่นกันบ้าง อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเถิดเทิงกลองยาวนี้ เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง กล่าว คือ มีพม่าพวกหนึ่งนำ�เข้ามาในรัชกาลนั้น ยังมีบทร้องกราวรำ�ยกทัพพม่า ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี ตอน เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน สังเกตดูก็เป็นตำ�นานอยู่บ้างแล้ว เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง สืบมาจนตราบทุกวันนี้ ปัจจุบันจะมีกระแสวัฒนธรรมการแสดงจากตะวันตก หรือ แม้แต่สื่อบันเทิงด้านอื่นมากมาย แต่การแสดงที่แสดงออกถึงความเป็น ท้องถิ่นก็ยังมีในหลาย ชุมชน และหนึ่งในนั้นคือ ชุมชนบ้านโคกเมือง ตำ�บลบางเหรียง อำ�เภอควนเนียง จังหวัดสงขลา กลองยาวบ้านโคกเมืองได้รบั ความนิยมในละแวกพืน้ ทีอ่ �ำ เภอควนเนียง ซึง่ ใช้สร้างความรืน่ เริงในงานหรือเทศกาลต่างๆ มาร่วม 10ปี ใครจะทราบว่าแท้จริง แล้ว การแสดงกลองยาวของชาวโคกเมืองนั้นมีความหมายมากกว่าการแสดงหรือการละเล่นแต่หมายถึงจุดเริ่มต้นความเข้มแข็งของชุมชน การรวมกลุ่ม กลองยาว
บ้านโคกเมืองถือเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนเข้มแข็งโดย กลุ่มกลองยาว เป็นกิจกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เพราะผู้ใหญ่อุดม ฮิ่นเซ่ง และคณะ กรรมการหมู่บ้านต้องการหากิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีภายในหมู่บ้าน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาหมู่บ้านในอนาคต กลุ่มกลองยาวจึงเริ่มต้นนับแต่ นั้นมา โดยแรกเริ่มมีสมาชิกทั้งสิ้น 31 คน จากการประชาสัมพันธ์ และบอกต่อให้กับคนในชุมชน โดยเปิดรับผู้ที่สนใจทุกคนเข้ามาร่วมกลุ่ม ซึ่งระยะแรกมี การจ้างครูมาสอน แต่มาภายหลังได้หันมาสืบทอดกันเอง กลุ่มกลองยาวยุคปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทุกช่วงวัยและมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มอย่าง เป็นระบบจำ�นวน 15 คน โดยมีนาย วิจิตร อินทะโร เป็นประธานกลุ่ม
กลุ่มกลองยางบ้านโคกเมือง มีการทำ�การแสดงมากมายหลายโอกาส เช่น วันสงกรานต์ งานบวช งานทอดกฐิน เป็นต้น โดยจะมีความเชื่อที่ จะงดการเล่นในงานขึน้ บ้านใหม่ อย่างไรก็ตามหากเป็นงานของสมาชิก ในกลุม่ ก็จะช่วยกันโดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ย โดยเฉพาะงานบวชทีจ่ ะมีสมาชิก ในกลุ่มและลูกหลานไปร่วมด้วย ซึ่งเจ้าภาพอาจแสดงน้ำ�ใจเป็นค่าเดิน ทางบ้างเล็กน้อยตามความเหมาะสม สำ�หรับการฝึกซ้อมนั้น หากมี กำ�หนดวันงานที่แน่นอน กลุ่มกลองยาวจะนัดฝึกซ้อมก่อนวันแสดง ล่วงหน้าหนึง่ วันเพือ่ เตรียมความพร้อม นอกจากนีย้ งั นัดกันมาฝึกซ้อม ที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในช่วงที่ไม่สามารถประกอบอาชีพหลักได้ เช่น ในช่วงหน้าฝนที่กรีดยางไม่ได้ หรือในช่วงที่ออกทะเลไม่ได้ เป็นต้น ในด้านรายได้จากการแสดงแต่ละครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของชุดการ แสดง โดยชุดเล็กซึ่งจะมีเฉพาะกลองอย่างเดียว ถ้าทำ�การแสดงใน ตำ�บลคิดเป็นครัง้ ละ 2,000 บาท แต่ถา้ เป็นชุดใหญ่ ประกอบด้วย กลอง ยาว นางรำ� นักร้อง และมีเครือ่ งดนตรีประกอบ ก็จะมีราคาเพิม่ ขึน้ และ หากออกนอกพื้นที่อาจคิดราคาได้ถึงครั้งละ 7,000 บาท สำ�หรับการ จัดสรรรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มนั้น จะมีการจัดตั้งกองทุนและเปิด โอกาสให้สมาชิกกู้ยืมไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพได้
ทั้งนี้มีดอกเบี้ยร้อยละบาท เพื่อบริหารจัดการกลุ่มให้เติบโตขึ้น โดยใน การกูย้ มื แต่ละครัง้ นัน้ ต้องบันทึกลงในสมุดเพือ่ เป็นหลักฐาน ในทุกวันที่ 20 ของเดือน สำ�หรับการชำ�ระคืนนั้น จะขึ้นอยู่กับจำ�นวนเงิน เช่น มี การยืม 3,000 บาท จะต้องผ่อนชำ�ระให้หมดภายในสิบเดือน คิดเป็น เดือนละ 300 บาท รวมดอกเบี้ยอีกเดือนละ 10 บาท เป็นต้น การบริหารจัดการดังกล่าวถือเป็นจุดเด่นของกลุ่มกลองยางบ้านโคก เมือง ไม่แพ้จุดเด่นด้านเพลงและท่ารำ� รวมถึงเครื่องดนตรีที่ชี้เฉพาะ เครื่องดนตรีไทยเท่านั้น จนทำ�ให้กลุ่มกลองยาวบ้านโคกเมืองได้รับ รางวัลรองชนะเลิศระดับอำ�เภอในปี พ.ศ. 2552 กลุ่มกลองยาวบ้าน โคกเมืองมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนือ่ ง จากการถ่ายทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ โดย เฉพาะในกลุม่ เด็กและเยาวชน ทีเ่ ริม่ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมฝึกซ้อม ซึง่ ในอนาคตอาจมีการเพิ่มรูปแบบใหม่ๆ เพื่อความน่าสนใจ เช่น การต่อ ตัว หรือเล่นมายากลประกอบสมาชิกทุกคนต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกัน ว่าการเข้าร่วมกลุม่ กลองยาวนัน้ ให้อะไรมากกว่าทีพ่ วกเขาคิด อย่างแรก นั้นเป็นเรื่องของความสนุกสนาน ความบันเทิง แต่นอกเหนือจากนั้น แล้ว ยังมีกองทุนดอกเบี้ยต่ำ�ให้สมาชิกที่เดือดร้อนอีกด้วย
18
19
อร่อยต้องออเดอร์
อาหารร้อยอย่าง
“อาหารร้อยอย่าง” เป็นเสมือนเครือ่ งมือทีด่ ใี นการกระชับความสัมพันธ์ทงั้ ภายในและระหว่างชุมชน ทัง้ ยังสะท้อน ให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ผ่านการประกอบอาหาร วัตถุดิบและการแบ่งปัน ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวดีๆจาก “อาหารร้อยอย่าง” ของชุมชนบ้านโคกเมือง …
พบกันอาหารคาวมากมายหลากหลายรสชาติ ตบท้ายด้วยของหวานฝีมือของชาวโคกเมืองที่อร่อยครบรส เรื่องราวของ อาหารที่หลากหลายที่เรียกว่า “อาหารร้อยอย่าง” ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านโคกเมือง อาหารร้อยอย่าง เกิดขึน้ ได้จากความร่วมมือกันบนพืน้ ฐานวิถชี วี ติ ทีห่ ลากหลาย อีกทัง้ ยังสร้างรายได้ รวมถึงเสริมสร้างการมีสว่ นร่วมภายในชุมชนด้วย “อาหารร้อยอย่าง” เป็นเครือ่ งมือหนึง่ เพือ่ สร้างความสัมพันธ์ทแี่ นบแน่น และความสามัคคีภายในชุมชนตลอดจนการกระชับมิตรกับผูม้ าเยือน นับ ย้อนหลังไปราวๆปี พ.ศ.2554 เมื่อถึงเวลาพักเที่ยงของกลุ่มออมทรัพย์ สมาชิกทุกคนจะสัง่ อาหารกล่องมารับประทานกัน อาหารทีไ่ ด้จะมีรปู แบบ เดียวกันหมด ขาดความหลากหลาย และมองดูจดื ชืด ด้วยความเบือ่ หน่าย ทำ�ให้สมาชิกบางท่านริเริ่มนำ�อาหารใส่ปิ่นโตจากบ้านมารับประทานเอง ใครจะทราบว่า การนำ�ปิ่นโตมาครั้งนั้น ทำ�ให้วัฒนธรรมอาหารเที่ยง ของกลุ่มออมทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การแบ่งปันกันถึงรสชาติอาหาร การ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนในวงรับประทานอาหารกลายเป็นผลพลอยได้ที่ดี เยี่ยมจนทำ�ให้สมาชิกต่างหันมาหิ้วปิ่นโตกันคนละสายทุกครั้งที่มารวม กลุ่มกัน ใครมีโอกาสได้ร่วมวงรับประทานอาหารร้อยอย่าง รับรองว่าจะได้ สัมผัสกับความครื้นเครงในวงรับประทานว่า “ลองชิมของฉันสิ ฉันทำ�เอง นะ ลองชิมดู” การได้พูดถึงอาหารของกันและกันนับเป็นจุดเริ่มต้นของ การแลกเปลี่ยนที่ครึกครื้น นำ�ไปสู่สัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การหิ้ว ปิน่ โตได้กลายเป็นต้นแบบขยายไปสูก่ ลุม่ กิจกรรมย่อยอืน่ ๆ ในชุมชน รวม ถึงเป็นเครื่องมือเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับผู้มาเยือนและศึกษาดูงาน เพราะการรับประทานอาหารร่วมกันนัน้ ช่วยสร้างความสนิทสนมและอาจ ช่วยผ่อนคลายความกดดันต่างๆลงได้บา้ ง ข้อสงสัยใดๆทีผ่ เู้ ข้ามาดูงานไม่ กล้าสอบถาม ก็สามาหาคำ�ตอบได้จากวงรับประทานนี้ กิจกรรม “อาหาร ร้อยอย่าง” จึงกลายเป็นกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และชุมชนจะจัดเตรียม กิจกรรมนี้ไว้ให้ผู้มาเยือนเพื่อศึกษาดูงาน
สำ�หรับหน้าตาของอาหารร้อยอย่างนัน้ จะขึน้ อยูก่ บั ความพึงพอใจ ความ ชอบและความพร้อมของแต่ละครัวเรือน ถึงแม้วา่ เมนูอาหารจะซ้�ำ กันบ้าง แต่รสชาติยอ่ มแต่ตา่ งกัน โดยส่วนใหญ่อาหารทีน่ �ำ มานัน้ จะเป็นอาหารพืน้ บ้าน เป็นเมนูจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น พืชผักสวนครัว กุ้ง หอย ปู ปลา ทีห่ าได้จากทะเล นอกเหนือจากหน้าตาอาหารทีซ่ �้ำ กัน รูปแบบปิน่ โตก็ยงั อาจซ้�ำ กันได้ จึงทำ�ให้หยิบสลับกันไปบ้าง ซึง่ ชุมชนได้รว่ มกันแก้ปญ ั หาโดย การระบุบ้านเลขที่ไว้บนปิ่นโต การรับรองผู้มาเยือนอย่างอบอุ่นแป็นกันเองและเอาใจใส่ สะท้อนจาก การเตรียมปิ่นโตเผื่อเหลือเผื่อขาดทั้งยังมีการสร้างกฎเกฎฑ์ควบคุมการ รับประทานอาหารจากเนื้อหมูและเนื้อวัวเพื่อพี่น้องมุสลิมและผู้ที่ไม่รับ ประทานเนือ้ หรือการให้เกียรติแขกได้รบั ประทานก่อนแล้วค่อยเข้ามาร่วม วงภายหลัง ทัง้ หมดล้วนทำ�ให้การทานอาหารร้อยอย่างแต่ละครัง้ ยิง่ อร่อย ขึ้นไปอีก นอกจากนี้สิ่งที่ไม่สามารถพบเห็นได้เลยในขณะรับประทาน อาหารคือการนั่งรับประทาน ซึ่งเป็นเพราะว่า อาหารจะถูกจัดวางบน โต๊ะทีเรียงตามแนวยาว ดังนั้นผู้รับประทานจำ�เป็นต้องเดินตักอาหารไป เรื่อยๆ เคลื่อนที่สลับไปมาซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศที่ครึกครื้น ชวนให้พูด คุยกัน เกิดปฏิสัมพันธ์กันแบบไม่รู้ตัว “อาหารร้อยอย่าง … ?” ก็คือ อาหารที่ชุมชนได้จัดเตรียมไว้ให้แขก ในรูปแบบปิ่นโต โดยปิ่นโต 1 สาย มาจาก 1 ครัวเรือน ในหนึ่งปิ่นโตจะ ประกอบไปด้วย ข้าว 1 ชั้น กับข้าว 2 ชั้น และขนมหวานหรือผลไม้อีก 1 ชัน้ การระดมปิน่ โตนัน้ อาศัยประกาศเสียงตามสายโดยแจ้งวันทีแ่ ขกมา เยี่ยมชุมชนและร่วมรับประทานอาหารกัน
ขนมปั้นขลิบข้าวไรซ์เบอร์รี่ ปัน้ ขลิบเพือ่ สุขภาพ ด้วยส่วนผสมจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทีม่ ปี ระโยชน์ ต่อสุขภาพ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ที่มีคุณสมบัติด้านโภชนาการ คือ ให้โปรตีนถึง สูงถึง 2 เท่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังมีดัชนี น้ำ�ตาลต่ำ� - ปานกลาง ซึ่งสามารถช่วยลดภาวะเสี่ยงการเกิดมะเร็ง โรคหัวใจ และหลอดเลือด เหมาะกับผู้ควบคุมน้ำ�ตาลในอาหาร การ ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รเี่ พือ่ ขยายให้มจี �ำ นวนมากขึน้ โดยไม่ใช้สารเคมีนนั้ เป็นระบบ การผลิตทีเ่ น้นเรือ่ งธรรมชาติและปลอดสารพิษเป็นสำ�คัญ ด้วยส่วนผสมทีล่ งตัว กลมกล่อม ไส้แน่นๆ ด้วยกุง้ ตัวโตๆ เนือ้ เน้นๆ จากการอนุรกั ษ์ปา่ ชายเลน จึงมีพนั ธุส์ ตั ว์น�้ำ อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะ กุ้ง ซึ่งมีมากในบริเวณนี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน สำ�หรับกรรมวิธีการทำ�ขนมปั้นขลิบ 1.การทำ�แป้งคือ นำ�ข้าวไรซ์เบอร์รี่มาตำ�ให้ละเอียดแล้วร่อน 2.นำ�ข้าวไรซ์เบอร์รี่มาผสมกับแป้งสาลี นำ�หัวกระทิ น้ำ�ปูนใส น้ำ�ตาล ทราย เกลือ ไข่ไก่ และแป้งมาผสมให้เข้ากัน นวดเป็นเนื้อเดียวกัน พัก ไว้ 1 ชั่วโมง 3. ไส้กุ้ง นำ�เนื้อกุ้งมาบดให้ละเอียด นำ�รากผักชี กระเทียม พริกไท ผสมกัน 4. ตั้งไฟใส่เนยลงไป รอจนเนยละลาย ใส่รากผักชี กระเทียม พริกไท ผัดให้หอม ใส่หอมซอยลงผัด ใส่เนื้อกุ้งตามไป ปรุงรสด้วยน้ำ�ตาลทราย น้ำ�ตาลปี๊บ เกลือ ซอสปรุงรส ผัดให้เหนียว ทิ้งไว้ให้เย็น นำ�มาปั้น แผ่ แป้งให้บาง ใส่ไส้กุ้งที่ลงไป ห่อแป้งให้มิดไส้กุ้งแล้วขลิบริบลูกแป้งให้สวย 5.นำ�กระทะตั้งไฟใส่น้ำ�มัน นำ�ขนมลงทอดให้สุก เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
แกงไตปลาแห้ง เครื่องแกงสูตรเด็ด อาหารรสชาติจัดจ้าน ถูกปากอีกเมนูหนึ่งของคนใต้ คงหนีไม่พน้ “ไตปลาแห้ง” ประธานกลุม่ แม่บา้ น ได้กล่าวว่า “ไตปลาแห้ง” นับเป็นอาหารเด็ดของชาวปักษ์ใต้ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยผลิตขึ้นจาก ปลาที่หาได้จากชุมชนบ้านโคกเมือง ในบริเวณนั้นจะเป็นป่าชายเลน ที่ เริ่มแรกคนในชุมชนได้อยู่ด้วยกันอย่างเป็นกันเอง รับประทานทำ�อาหาร ร่วมกัน จึงทำ�ให้เกิดกลุ่มแม่บ้านขึ้นประมาน 30 คน โดยมีการคิดที่จะทำ� ไตปลาแห้งขึน้ มา จนประสบความสำ�เร็จ ทางกลุม่ แม่บา้ นชุมชนโคกเมือง ได้รงั สรรค์ เมนูเดิมให้นา่ สนใจด้วยการเพิม่ สมุนไพรทีม่ ปี ระโยชน์ใส่ผลส้ม แขกลงไป “ ส้มแขก ” มีส่วนในการช่วยให้ไตปลาแห้ง เก็บไว้ได้นานถึง 7 วัน โดยที่ไม่ต้องแช่ตู้เย็น บรรจุลงกระปุกกะทัดรัดสะดวกต่อรับประทาน ทำ�ให้ไตปลาแห้งเป็นที่นิยมต่อผู้บริโภคในเวลาอันรวดเร็ว “ไตปลาแห้ง” เป็นผลิตภัณฑ์ทเี่ กิดขึน้ จากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ของ ชาวบ้านบ้านโคกเมืองคิดค้นสูตรขึน้ มาเอง มีกลิน่ หอมพิเศษและรสชาติที่ กลมกล่อมชวนรับประทาน ความโดดเด่นคือ “ไตปลาแห้ง” ที่นี่ปราศจาก สารกันบูด และไม่ใช้ผงชูรสแต่น�ำ ส้มแขกมาใช้แทนเพือ่ ยืดอายุอาหาร จึง ทำ�ให้ไตปลาแห้งของที่นี่เน้นคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และราคาถูก ได้ รับการยอมรับจากคนภายในชุมชนเป็นอย่างดี กรรมวิธีการทำ�มีดังนี้โดย 1.นำ�ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูดมาหั่น นำ�พริกขี้หนูแห้ง ขมิ้น ผิวมะกรูด กระเทียม หอมแดง พริกไทยดำ� ผสมกันในอัตราส่วนที่ต้องการ และนำ� เข้าเครื่องบด 2.ตักส่วนผสมออกมาใส่ครก ใส่กะปิ โขลกให้เข้ากัน พักไว้ แล้วนำ�ปลา ที่ย่างหรือนึ่งมาฉีกเป็นชิ้น ๆ 3.เทไตปลาลงในหม้อใส่น้ำ�พอสมควร ใส่ข่า ตะไคร้ทุบ ใบมะกรูดฉีก เสร็จแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ� 4.นำ�น้ำ�พริกเครื่องแกงมาละลายกับน้ำ� นำ�ไตปลาใส่ในกระทะตั้งไฟ ความร้อนปานกลาง พอน้�ำ เดือดใส่ปลาย่างทีฉ่ กี เป็นชิน้ ๆ นำ�ใบมะกรูด ฉีกใส่เข้าไป คนจนกว่าปลาจะเละ 5.รอจนไตปลาแห้ง โรยใบมะกรูดฝอย เมือ่ เสร็จเรียบร้อยก็ชมิ รสให้พอดี คนต่อไปจนแห้ง ยกลงทิง้ ไว้ให้เย็นบรรจุใส่ภาชนะทีเ่ ตรียมไว้เป็นอันเสร็จ
20
21
กัปตันชุมชนศึกษา
“ทุ ก ครั้ ง ที่ ผ มลงพื้ น ที่ ศึ ก ษาชุ ม ชนมั น ทำ�ให้ผมยิ่งมีความหลงใหลและรักใน ความเป็นชุมชนมากขึ้น เพราะชาวบ้าน ในชุมชนล้วนมีไมตรีจิตและมอบข้อคิด ดีๆในการใช้ชีวิตให้กับผม”
บทสัมภาษณ์ผู้นำ�ชุมชนศึกษา ที่จะพาเราเข้าใจชุมชนศึกษามากยิ่งขึ้น
อัศวเทพ ศุภเจริญกูล
เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจสหกรณ์
อดีตประธานสภาเด็กและเยาวชนสงขขลา เกรียงไกร คมขำ�
ตลอดการทำ�งานมาชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไป : ถ้าจะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของชุมชนนั้น ปัจจุบันชุมชนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเจริญทางวัตถุ เทคโนโลยี ถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ค่านิยม วัฒนธรรม ต่างๆ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคหรือกระแสของ สังคมโลกปัจจุบนั และจากการทีไ่ ด้ท�ำ งานในชุมชนใน ตำ�แหน่งเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ของสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยนคอหงส์ จำ�กัด ด้านวิถีชีวิตของคนใน ชุมชนก็ถือได้ว่าในปัจจุบันนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง ไปตามยุคตามสมัย อาทิ เดิมคนในชุมชนจะอาศัยอยู่ รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ทมี่ พี อ่ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย อาศัยอยู่ร่วมกัน และคนในชุมชนหรือหมู่บ้าน เดียวกันส่วนใหญ่ก็จะเป็นพี่น้องหรือเครือญาติกัน เมือ่ มีงานหรือกิจกรรมอะไรคนในชุมชนก็จะมารวมตัว กันและช่วยเหลือ แบ่งปันกัน แต่ในปัจจุบนั จากชุมชน ครอบครัวใหญ่ก็ได้เปลี่ยนไปเป็นชุมชนครอบครัว เดี่ยว ที่มีเพียงพ่อแม่และลูก และอยู่ห่างไกลญาติพี่ น้อง เพราะแต่ละครอบครัวต้องย้ายออกจากชุมชน เดิมไปสู่ชุมชนเมืองเพื่อการทำ�งานหาเลี้ยงชีพ
ชุมชนในความหมายของจิ๊บ : นี่คือคำ�ถามใกล้ตัวที่ทำ�ให้ผมได้ชวนคิด เพราะเราทุกคนนั้นล้วน อาศัยอยูใ่ นชุมชน แต่จะมีใครบ้างทีร่ แู้ ละเข้าใจว่าชุมชนคืออะไร อะไรคือชุมชน และเมือ่ เขามาเป็น นักศึกษาสาขาวิชาชุมชนศึกษา สิ่งแรกที่ต้องทำ�ความเข้าใจนั้นคือ นิยามและความหมายของคำ�ว่า ชุมชน โดยได้มผี ใู้ ห้นยิ ามไว้ตา่ งๆ มากมาย จึงพอสรุป ได้ดงั นี้ ชุมชน คือ กลุม่ คนทีอ่ าศัยอยูร่ วมกัน ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งคำ�ว่าบริเวณเดียวกันนี้จะหมายรวมถึง บริเวณ พื้นที่ทางกายภาพที่เป็นดินแดน เช่น ชุมชนบ้านหาดใหญ่ ชุมชนบ้านวังพาที่ผมอาศัยอยู่ และรวม ไปถึงชุมชนในจิตนาการหรือชุมชนบนโลกออนไลน์ เช่น Facebook, Line ซึ่งนี้ก็หมายถึงชุมชนที่มี กลุ่มคนมารวมตัวกันและมีปฎิสัมพันธ์ต่างๆ ร่วมกัน ทำ�ไมต้องศึกษาชุมชน : “ชุมชนศึกษา คือ การศึกษาชุมชน” ทำ�ไมต้องศึกษาชุมชน ศึกษาแล้วได้ อะไร การศึกษาชุมชนเพื่อให้เราได้มีความรู้ ความเข้าใจในชุมชน ทำ�ไมจึงต้องทำ�ความเข้าใจชุมชน เพราะชุมชนคือห้องเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่และสำ�คัญ ซึ่งในแต่ละชุมชนจะมีสิ่งต่างๆ ที่ทำ�ให้เราได้ศึกษา เรียนรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาของชาวบ้านในชุมชน ที่ได้สร้างสรรค์ ขึน้ เพือ่ บริหารจัดการทุนในชุมชนอย่างมีคณ ุ ค่า ให้คนในชุมชนสามารถดำ�รงอยูไ่ ด้อย่างสงบสุข และ ทุกครั้งที่ผมลงพื้นที่ศึกษาชุมชนมันทำ�ให้ผมยิ่งมีความหลงใหลและรักในความเป็นชุมชนมากขึ้น เพราะชาวบ้านในชุมชนล้วนมีไมตรีจิตและมอบข้อคิดดีๆ ในการใช้ชีวิตให้กับผม และชุมชนศึกษา ก็สอนให้ผมมีกระบวนการคิด ในการศึกษาสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวเรา เพื่อนำ�มาพัฒนาตัวเราให้เป็นผู้ ที่มีความรู้และสร้างคุณประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และสังคมต่อไป
22
23
“เราไม่สามารถนำ�ชุมชน หนึ่ ง ไปเปรี ย บเที ย บอี ก ชุ ม ชนหนึ่ ง ได้ เพราะ บริ บ ทในการก่ อ ตั ว ของ ชุ ม ชนมั น แตกต่ า งกั น จะมาบอกว่ า ชุ ม ชนของ ตนเองนี้ เ จริ ญ แล้ ว แต่ ชุมชนที่ไม่เหมือนชุมชน เรายั ง ไม่ เ จริ ญ นั้ น มั น ไม่ใช่” เกรียงไกร คมขำ�
หัวหน้าแก๊ง สภาเด็กและเยาวชน ชุมชนในความหมายโอ๋ : ตามมุมมองนี้เราคงหาคำ�นิยามคำ� ว่าชุมชนยากครับ เพราะหลายตำ�ราก็มองในเรื่องของชุมชน แตกต่างกันออกไป แต่ในมุมมองของนักศึกษาปี 4 ชุมชนศึก ษาอย่างผม ผมมองว่าชุมชนคือ ทุกสิง่ ทุกอย่างทีอ่ ยูร่ อบตัวเรา มันเป็นพลวัตของมัน มีการขับเคลื่อนของมันอยู่แล้ว ร่วมไป จนถึงการพัฒนาการของชุมชน การเรียนรูช้ มุ ชน ประวัตศิ าสตร์ ชุมชน ที่มาของชุมชน แสดงว่าทุกเรื่องตั้งแต่อดีต จนปัจจุบัน และนำ�ไปสู่อนาคต เราล้วนเกี่ยวกับชุมชน ดังนั้นอะไรก็ตามที่ เกีย่ วกับมนุษย์ในวันนี้ ก็ถอื ว่าเกีย่ วกับชุมชนทัง้ สิน้ ซึง่ ถ้ามองว่า วันนี้ข้อจำ�กัดในการขับเคลื่อนชุมชน ก็คงจะเป็นไปในหลายๆ มิติ คิดอยู่กับว่าคุณจะเลือกมองชุนชนในมิติไหน ถ้าคุณมอง ชุมชนในมิติมหภาค คุณก็มองว่าชุมชนนี้มันมีความยิ่งใหญ่ อลังการมาก แต่ถ้าคุณมองชุมชนในมิติจุลภาคมันก็เป็นส่วน เล็กๆมากเช่นกัน
ชุมชนทีเ่ ปลีย่ นแปลง : พอจะสังเกตได้วา่ จริงๆ แล้วชุมชนเค้าเป็น พลวัตของเค้า ในมุมมองของนักพัฒนาอย่างเราก็มองว่าสุดท้ายแล้ว เราต้องไปนำ�สิ่งที่เราเรียกว่าเจริญแล้ว ไปพัฒนากับชุมชนซึ่งบาง ครั้งวิถีชีวิตและมุมมองมันอาจจะสวนทางกับชุมชนก็ได้ อย่างเช่น เราบอกว่าในโครงสร้างพื้นฐานน้ำ�ไหลไฟสว่างทางสะดวก เป็นสิ่งที่ ชุมชนต้องมีและมันเป็นตัวชี้วัดความเจริญของชุมชน ซึ่งในมุมมอง หรือมิตคิ วามเป็นจริงมันไม่ใช่ เพราะว่าชุมชนวันนีม้ นั สามารถเดินได้ ด้วยตัวของเค้าเอง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเอาเด็กไปเดินในพื้นที่ดอย พืน้ ทีเ่ ขา เข้าไปในป่า เด็กก็บอกว่าพืน้ ทีต่ รงนีย้ งั ขาดในเรือ่ งของการ คมนาคมขนส่ง ยังขาดในเรือ่ งของการประปา คนยังไม่กนิ ดีอยูด่ ี วาท กรรม โง่จนเจ็บ จึงกลายเป็นวาทกรรมทีห่ ลอกหลวงชุมชน ว่าชุมชน ยังด้อยโอกาส ยังขาดการพัฒนา ในชุมชนวันนี้ เค้ามีพลวัตของเค้า ในการขับเคลือ่ นของเค้า ว่าเค้าจะมีการขับเคลือ่ นไปในทิศทางไหน
ทำ�ไมต้องศึกษาชุมชน : ถามว่าวันนี้เราเรียนชุมชนศึกษา หรือศึกษาชุมชน เราศึกษาเพื่ออะไร ก็คงตอบสั้นๆละครับว่า คงเป็นการศึกษา ทีไ่ ม่สอนให้เราไปคิดแทนชาวบ้าน จริงๆแล้วความรูว้ นั นีค้ รับ มันอยูท่ ชี่ มุ ชนทุกความรูเ้ ลยนะ ทุกองค์ความรู้ มันอยูท่ ชี่ มุ ชน ถ้าเราสามารถ เข้าชุมชนได้ แสดงว่าวันนี้คุณมีองค์ความรู้ในการอยู่ในสังคมแบบครบถ้วนเลยนะ คนที่จะเรียนในชุมชนต้องเก่งคนก่อน เก่งคนแล้วเก่ง ชุมชน เก่งอย่างไร ก็คือคุณสามารถที่อยู่กับคนในชุมชนได้อย่างมีความสุข สอง เมื่อคุณอยู่ในชุมชน ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นเจ้าของชุมชน แล้วคิดจะพัฒนาชุมชน คนประเภทนี้ผิด แต่คนที่คิดจะอยู่ในชุมชน วันนี้เค้าต้องสามารถอยู่ในชุมชนได้ แล้วเค้าต้องสามารถมองปัญหา ผ่านตาชาวบ้าน แล้วคิดเหมือนชาวบ้านได้ ไม่ใช่สอนให้คณ ุ คิดแทนชาวบ้าน ในวันนีช้ มุ ชนศึกษาคือการเรียนรูเ้ รือ่ งของเรา และอยูใ่ นชุมชน ได้อย่างมีความสุขและมองทุกอย่างให้เป็นไปตามพลวัตไม่คิดก้าวกระโดด แต่ค่อยๆเป็นค่อยๆไป
โครงการไม้ไผ่หรรษา ตอน มหัศจรรย์แนวกันคลื่น เป็นทีน่ ยิ มอย่างมากในหมูน่ กั ศึกษา สำ�หรับ การปลูกป่าชายเลน แต่เกือบทัง้ หมดทีไ่ ด้ปลูก ไปถูกปล่อยทิ้งเอาไว้และตาย เพราะโดนคลื่น ทะเลซัดไปจนหมด และทำ�ให้ต้นกล้าไม่เพียง พอต่อความต้องการ ทำ�ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกชุมชนศึกษา จัดทำ�โครงการนี้ขึ้นโดยทำ� แนวกั้นคลื่นเพื่อชะลอคลื่นทะเลที่ซัดเข้าสู่ฝั่ง และเพาะพันธุก์ ล้าไม้เพือ่ ให้เพียงพอต่อความ ต้องการ
24
25
ศึกคาวหวาน ปฏิบัติการชวนชิม
เมืข้าือมความจำ งสิ�งเจทางวั โตทะเล ฒนธรรม จากมาเลเซียเดินทางเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ พูดได้เลยว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่สวยงาม ทุกพื้นที่ดูสะอาดตา สองข้างทางประปรายไปด้วยต้นไม้มากมายที่ถูกจัดสรรบนพื้นที่เกาะเล็กๆ เมื่อเข้าสู่ตัวเมืองที่แม้จะมีตึกเรียงรายมากมายก็ยังมองเห็นพื้นที่สีเขียวให้ประชากรได้รับออกซิเจนที่บริสุทธิ์ต่อ
ก๋วยเตี๋ยว ท้าพิสูจน์ ร้ า นตั้ ง อยู่ ฝั่ ง เยื้ อ ง กั บ ตลาดกรี น เวย์ ก่ อ นถึ ง แยกไฟแดงวิทยาลัยอาชีพ หลวงประธานฯ เวลาเปิดปิด : จันทร์-อังคาร 9.3018.30 น. พุ ธ -อาทิ ต ย์ 9.30-21.00 น.
ณ ตอนนี้ มีร้านอาหารที่เน้นเมนูเส้น อย่างก๋วยเตี๋ยว อาหารที่อยู่กับคนไทยมาอย่าง ช้านาน และอำ�เภอหาดใหญ่เองก็มีร้านก๋วยเตี๋ยว อยู่ ม ากมาย ทั้ ง แบบต้ น ตำ � หรั บ ที่ มี ม าอย่ า งช้ า นาน และแบบอร่อยจนคิวยาวขายกันแทบไม่ทัน เลยทีเดียว แต่ในวันนี้เรามีเมนูเส้นร้านใหม่เอี่ยม อ่อง“ก๋วยเตี๋ยวท้าพิสูจน์”เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ�รส แซบ อร่อยแบบลืมเครือ่ งปรุงกันเลยทีเดียว น้�ำ ซุบ ที่มีความกลมกล่อม รวมกับเส้นที่มีความเหนียว นุ่มประกอบด้วยวัตถุดิบที่น่าลิ้มลองตามต้องการ ไม่วา่ จะเป็น กระดูกอ่อน รวมมิตรทะเล หรือแม้แต่ หมูนุ่ม มันช่างเข้ากันอย่างไร้ที่ติ
Yen-Yen Milk Cafe
ร้านตัง้ อยูต่ รงข้ามร. ร. มอ. วิทยาณุสรณ์ ร้าน เปิด 11.30-21.00 น. ปิดทุกวันจันทร์
เป็นร้านสไตล์น่ารักๆ ใสๆ มีเมนู ของหวานมากมายไม่ ว่ า จะเป็ น ชา เย็น โกโก้ กาแฟสด ฯ มีทั้งแบบร้อน เย็นและปั่น โดยมี ท้อปปิ้งให้เลือก มากมาย และที่เป็นจุดเด่น คือ เมนู ของหวานที่ นุ่ ม ลิ้ น แสนละมุ น อย่ า บอกใคร อย่างเช่น Toast ต่างๆ เป็น เมนูที่ผสมผสานระหว่างขนมปังอบ กรอบชิ้นโตกับไอศกรีมรสชาติ ต่างๆ และขนมปังปิง้ แสนหวาน และ ปังเย็นแสนอร่อย
ก๋วยเตี๋ยว เรือ“เมย์” จาก K&K สามชัย แล้วเลี้ยวซ้าย เลียบคลอง ถนนจุติอนุสรณ์จะ เจอป้ายสีเหลืองชือ่ ร้านแผ่นใหญ่
ก๋วยเตี๋ยวเรือ “เมย์” ก๋วยเตี๋ยวเรือรสชาติจัดจ้านถูกปากคนใต้เป็นอย่างดี และกำ�ลังเป็น ที่นิยมอยู่ ณ ตอนนี้เรียกว่าคนแน่นร้านทุกวันทุกวันกันเลยทีเดียว ด้วยเมนูท่ีมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือที่มีถึงสามขนาดให้เลือกสรร ทั้ง S L XL พร้อมกับสาระพัดเส้น โดยมีทั้งแบบหมูและเนื้อ นอกจากนี้ยังมีเมนู เรียกน้ำ�ย่อย อย่าง เกี๊ยวทอด กากหมู ผักบุ้งลวก รวมถึงเมนูน่าลองอย่างลวกจิ้ม ลูกชิ้นลวก และเอ็นลวกที่มีทั้งหมูและเนื้อเช่นกัน เมื่อทานก๋วยเตี๋ยวเรือรสจัดจ้าน เราคงต้องดับความเผ็ดร้อนด้วย เครื่องดื่มที่มีให้เลือกมากมาย
26
มาเดินทางเข้าสู่ NEW WATER สถานทีแ่ ห่งใหม่ทชี่ าว สิงคโปร์ภาคภูมิใจนำ�เสนอ ภายนอกดูเหมือนโรงงาน อุตสาหกรรมทั่วไปแต่ภายในยังแฝงความพิเศษอยู่ที่ NEW WATER เป็นสถานที่ที่ผลิตน้ำ�เพื่อการอุปโภค และบริโภคให้กับประชากรสิงคโปร์ทั่วทั้งเกาะ เพราะ น้ำ�ถือเป็นทรัพยากรที่สำ�คัญและหาได้ยากสำ�หรับ ชาวสิงคโปร์ ดังนั้น NEW WATER จึงต้องผลิตน้ำ�ที่มี คุณภาพให้แก่ชาวสิงคโปร์ด้วยนวัตกรรมการผลิตน้ำ� ที่สะอาดและทันสมัยจึงไม่แปลกเลยที่คนสิงคโปร์จะ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
เดินทางไม่กี่อึดใจก็ถึง Gardens By The Bay เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาสิงคโปร์ สวน พฤกศาสตร์แห่งนี้ ที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ริมน้ำ�และ เป็นส่วนหนึ่งของอ่าว Marina Bay ที่นี่ถือเป็น องค์ประกอบสำ�คัญในการแสดงวิสัยทัศน์และ สะท้อนภาพลักษณ์ของสิงคโปร์ในฐานะ “เมือง ในสวน” ความโดดเด่นเห็นจะอยู่ที่โซนเบย์ เซา ร์ ของเรื อ นต้ น ไม้ Conservatory Complex ภายในมีสถาปัตยกรรม ที่จัดแสดงพืชสวนและ โชว์ศกั ยภาพทางเทคโนโลยีดว้ ยพลังงานทีย่ งั่ ยืน ของสิงคโปร์ Universal Studio Singapor เป็นธีมปาร์ค ระดับโลกของสิงคโปร์ ต่อด้วยไฮไลของสิงคโปร์ ที่ไม่มาคงไม่ได้คือ Mer lion สิงโตพ่นน้ำ� เป็น สัญลักษณ์ของสิงคโปร์ สัตว์ที่ท่อนบนเป็นสิงโต ท่อนล่างเป็นปลายืนเด่นสง่าริมน้ำ� รายล้อม ด้วยตึกระฟ้าที่ออกแบบและจัดสรรให้ดูตระการ ตา ผู้คนมากมายเล็งกล้องถ่ายรูปไปที่ Mer lion ดูเหมือนนาทีน้ี นางแบบยอดฮิตคงหนีไม่พ้น
แหล่งท่องเที่ยวและช๊อปปิ้งแหล่งใหญ่ของสิงคโปร์ เรามาถึงที่น่ีเมื่อตะวันเริ่มโบกมือลาท้องฟ้า ก็ได้เวลาชมความงดงามยามค่ำ�คืนบนถนน Orchard พื้นที่ที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้ามากมาย ท่ามกลางแสงสีทจี่ ดั ขึน้ อย่างงดงาม และความหลากหลากหลายทางวัฒนธรรมของผูค้ นทีม่ าเยือน อาหารการกินที่แปลกตา รสชาติแปลกลิ้น แต่ก็รับรู้ถึงความอร่อยในแบบฉบับสิงคโปร์