การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เล่ม 4

Page 1



ชื่อหนังสือ

: การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งอายุ เล่มที่ ๔

ที่ปรึกษา : ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี นพ.สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย คณะผู้จัดทำ :

ทพญ.นนทลี วีรชัย ทพญ.สุปราณี ดาโลดม ทพญ.วรางคนา เวชวิธี ทพญ.เยาวเรศ วงศาศุลักษณ์ ทพญ.ชวัลลักษณ์ แก้วมงคล นางสาวชนิกา โตเลี้ยง นายเสน่ห์ ครุฑษา

พิมพ์ครั้งที่ ๑

: เมษายน ๒๕๕๕

จำนวน

: ๒๕,๐๐๐ เล่ม

พิมพ์ที่

: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

เจ้าของ

: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โทร.

๐-๒๕๙๐-๔๑๑๗

โทรสาร ๐-๒๕๙๐-๔๑๑๕ URL

ISBN

: http://dental.anamai.moph.go.th/oralhealth/elderly/2555/Eldgr/HPPEld4.pdf : ๙๗๘-๖๑๖-๑๑-๑๑๗๓-๑


คำนำ

จากจุดเริ่มต้นของการจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต

ผู้สูงอายุ ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เพื่อสนองกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจ

ก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” นำมาสู่แนวคิดในการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปาก ตนเอง เพื่อลดการสูญเสียฟัน ลดความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ในปี ๒๕๔๙ กรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการศึกษาพัฒนารูปแบบและระบบการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุในพื้นที่นำร่อง โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง พึ่งพา บริการทันตสุขภาพจากภาครัฐตามความจำเป็น ตลอดจนมีแผนงาน โครงการและกิจกรรม

รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่มีความเป็นไปได้ตามบริบทของพื้นที่ ภายใต้การบูรณาการการดูแลช่องปากให้เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผลการพัฒนารูปแบบและระบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในพื้นที่นำร่อง

พบว่า ชมรมผู้สูงอายุ ที่มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุทำกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ อยู่แล้ว เป็นภาคี

เครือข่ายสำคัญที่สามารถพัฒนาศักยภาพ สร้างความเข้มแข็ง ให้เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพิ่มเติมให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง มีการจัดระบบให้ผู้สูงอายุได้รับการ บริการตามความจำเป็น ด้วยการสนับสนุนด้านวิชาการและบริหารจัดการ จากชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุขในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด รวมทั้งกรมอนามัย

ทั ้ ง ในส่ ว นกลางและในระดั บ เขต ซึ่ ง กรมอนามั ย เห็ น ว่ า จะเป็ น กิ จ กรรมหนึ่ ง ที่ ส่ ง ผลต่ อ การ

สร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จึงได้ถอดบทเรียนรูปแบบการจัดกิจกรรมดังกล่าว และ

จัดทำเป็นหนังสือ การสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม ๔ “ตกผลึก ประเด็นการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก สู่ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี” เพื่อเป็นต้นแบบ

การเรียนรู้ รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากทั้งใน พื้นที่เดิม และพื้นที่ใหม่ที่สนใจ โดยหวังว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา และสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้สูงอายุ ที่ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมต่อไป (ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี) อธิบดีกรมอนามัย เมษายน ๒๕๕๕


สารบัญ

หน้า

คำนำ

บทสรุป ... สำหรับผู้บริหาร ➧ จังหวัดลำปาง ... “ผลิดอกออกผล ที่เมืองนครลำปาง” ➧ จังหวัดเชียงใหม่ ... “ สามัคคี มีน้ำใจ แด่ผู้สูงวัย” ➧ จังหวัดชัยภูมิ ... “ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก” ➧ จังหวัดราชบุรี ... นัดพบ ... ที่ “ท่านัด” ➧

จังหวัดอำนาจเจริญ ... “แก่อย่างสง่า ชรา อย่างมีคุณภาพ”

จังหวัดตราด ... “แหลมงอบ ... นำร่องผู้สูงอายุสุขภาพช่องปากดี”

จังหวัดสตูล ... “อาสานำร่องกิจกรรมผู้สูงวัย”

จังหวัดนครศรีธรรมราช ... “ร่วมสร้างสุขภาพช่องปากดี ... ที่เมืองคอน”

จังหวัดตรัง ... “สบาย สบาย สไตล์ นาหมื่นศรี”

เมล็ดพันธุ์ แห่งการเรียนรู้

๑ ๔ ๑๑ ๑๕ ๒๐ ๒๔ ๒๘ ๓๒ ๓๙ ๔๔ ๔๘

ภาคผนวก ➧ โครงการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในจังหวัดต้นแบบ” ➧ ภาพกิจกรรม

๕๗ ๕๙


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู ง อ า ยุ

สำนั ก ทั น ตสาธารณสุ ข กรมอนามั ย สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การพั ฒ นากิ จ กรรมการ

ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรในพื้นที่ ตั้งแต่ บุคลากรสาธารณสุข ภาครัฐ ได้แก่ ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล นักวิชาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประชาชน ได้แก่

ผู้สูงอายุ แกนนำผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งบุคลากรจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ร่วมคิด ร่วมทำงานอย่างบูรณาการในพื้นที่ ปรากฏเป็นกิจกรรมที่เกิดจาก ความคิด และการกระทำที่ส่งผลให้บรรลุวัตถุประสงค์ “ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตที่ดี” ปี ๒๕๔๙–๒๕๕๐ เป็ น สองปี แ รกของการค้ น หารู ป แบบกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องปากผู้สูงอายุ มีหน่วยงานอาสาร่วมทำกิจกรรม ในลักษณะที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ประสาน

การทำงานร่วมกัน ได้แก่ ศูนย์อนามัยที่ ๔ ราชบุรี เชื่อมโยงกิจกรรมจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และ สุ พ รรณบุ ร ี ศู น ย์ อ นามั ย ที่ ๕ นครราชสี ม า เชื่ อ มโยงกิ จ กรรมจั ง หวั ด ชั ย ภู ม ิ และบุ ร ี รั ม ย์

ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เชียงใหม่ เชื่อมโยงกิจกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง ศูนย์อนามัยที่ ๖ ขอนแก่น เชื่อมโยงกิจกรรมจังหวัดขอนแก่น และศูนย์อนามัยที่ ๗ อุบลราชธานี เชื่อมโยงกิจกรรมจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นในชมรมผู้สูงอายุ พบ ๓ รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ ๑ ชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมตามที่โรงพยาบาลได้จัดขึ้น รูปแบบที่ ๒ โรงพยาบาล และ/หรื อ สถานี อ นามั ย สนั บ สนุ น ให้ ช มรมผู ้ สู ง อายุ

จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยโรงพยาบาลและสถานีอนามัยเป็นผู้ร่วมจัดกิจกรรม รูปแบบที่ ๓ ชมรมผู้สูงอายุมีการจัดกิจกรรมขึ้นเองอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือ ของท้องถิ่น โดยมีโรงพยาบาล/สถานีอนามัย เป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญ ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุบรรลุผลสำเร็จ ได้แก่ ๑. ชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการ ชุมชนในที่นี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ วัด องค์การบริหาร

ส่วนตำบล สถานีอนามัย และโรงพยาบาลชุมชน ๒. ความเข้มแข็งของชุมชน ได้แก่ หน่วยงานต่างๆ มีความเข้มแข็ง มีผู้บริหารจัดการ จัดระบบการดำเนินงานที่ดี สังคมให้การส่งเสริม สนับสนุน จะมีส่วนช่วยทำให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรม

ได้ดี เช่น ชมรมผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๓. ผู้นำมีวิสัยทัศน์ ทำให้เกิดความคิดการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ผู้นำ อาทิเช่น ทันตแพทย์ ผู้บริหาร บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๔. สิ่งสนับสนุนเพื่อการดำเนินกิจกรรมเบื้องต้น เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สื่อการเรียนรู้ ๕. งบประมาณสนับสนุน สำหรับของการประชุม/อบรม และการทำกิจกรรมต่างๆ ๖. เป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสต่างๆ

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

จิตอาสา นำร่องกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

1


สการส ร้ า งร้เ สา งริเมสสุริขมภสุาขพภช่า อพงช่ปอางกปผูา้ กสู ผู ง อ้ สูางวั ยุ ย เล่มที่ ๔

จุดเชื่อมโยงการทำงาน - ภาคีเครือข่าย

2

ภาคีเครือข่าย เป็นองค์ประกอบสำคัญของชุมชน ตั้งแต่ ผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น PCU (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในปัจจุบัน) CUP สำนักงานสาธารณสุข จังหวัด ศูนย์อนามัยเขต และสำนักทันตสาธารณสุข จะมีบทบาทการทำงานที่แตกต่างกัน โดยผู้สูงอายุ/ ชมรมผู้สูงอายุ เป็นหน่วยหลักของการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุด้วยกัน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็ น ผู ้ ส นั บ สนุ น งบประมาณ และให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ อำนวยความสะดวกในเรื่ อ งต่ า งๆ สำนั ก งาน สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้สนับสนุนระบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในภาพรวม และให้การสนับสนุน พื ้ น ที่ ได้ แ ก่ PCU, CUP ในการดำเนิ น กิ จ กรรม ในส่ ว น PCU, CUP ด้ ว ยความใกล้ ช ิ ด กั บ ชุ ม ชน

เพราะหน่วยงานตั้งอยู่ในพื้นที่ มีบทบาทในการให้บริการความรู้ด้านวิชาการที่ถูกต้องแก่ผู้ดำเนินการ เพื่อ ที่จะสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ รวมทั้งจัดระบบบริการตามความเหมาะสม ศูนย์อนามัย มีบทบาทใน การสนับสนุนด้านวิชาการให้แก่บุคลากร จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกันในระดับเขต และติดตามประเมินผล และ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย มีบทบาทในการกำหนดนโยบายทิศทาง

การดำเนินงาน และระบบการสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและบริหารจัดการในระดับประเทศ จัดให้มีเวทีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับประเทศและระดับภาค ติดตามประเมินผลในภาพรวมของประเทศ ภายใต้

การสนับสนุนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของระดับพื้นที่ เช่น สนับสนุนสื่อความรู้

เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากสำหรับ

ผู้สูงอายุ แผ่นพับ ภาพพลิกเพื่อการสอนทันตสุขศึกษาของแกนนำชมรมผู้สูงอายุฯ เป็นต้น


กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ กระจายต้นแบบการทำกิจกรรมไป

ในหลายๆ พื้นที่ หลายๆ จังหวัด ด้วยรูปแบบการทำกิจกรรมที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับแนวคิด แนวทาง การดำเนินงานของแต่ละพื้นที่เอง จังหวัดที่เข้าร่วมกิจกรรม ตามโครงการศึกษาพัฒนารูปแบบ/ระบบ

การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในระยะต้น (ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐) ได้แก่ ๑. จังหวัดลำปาง...ชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่มวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม ชมรมผู้สูงอายุ บ้านศิลา ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา ๒. จังหวัดเชียงใหม่...ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี ๓. จังหวัดชัยภูมิ...ชมรมผู้สูงอายุบ้านหลุบโพธิ์ ตำบลหลุบโพธิ์ อำเภอบ้านเขว้า ชมรม

ผู้สูงอายุโรงพยาบาลคอนสวรรค์ ชมรมผู้สูงอายุบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ ๔. จังหวัดราชบุรี...ชมรมผู้สูงอายุท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก ๕. จังหวัดอำนาจเจริญ...ชมรมผู้สูงอายุบ้านเปือย ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ ๖. จังหวัดตราด...ชมรมผู้สูงอายุอำเภอแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ ๗. จั ง หวั ด สตู ล ...ชมรมผู ้ สู ง อายุ ส ถานี อ นามั ย บ้ า นควน หมู่ ท ี่ ๔ ตำบลบ้ า นควน

อำเภอเมือง ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า ๘. จังหวัดนครศรีธรรมราช...ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลทุ่งสง อำเภอทุ่งสง ชมรมผู้สูงอายุ ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาแก้ววิเชียร อำเภอเชียรใหญ่ ๙. จังหวัดตรัง...ชมรมผู้สูงอายุนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง ผลการดำเนิ น การ ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากผู ้ สู ง อายุ โดยชมรมผู ้ สู ง อายุ ฯ ในจั ง หวั ด

นำร่อง เหล่านี้ เป็นรูปแบบการดำเนินงานที่จะได้นำมาเล่าสู่กันฟัง ให้ได้ทราบถึง แนวคิด วิธีการดำเนิน กิจกรรมที่หลากหลาย เกิดผลปฏิบัติออกมาในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะได้ให้เกิดการเรียนรู้ทั่วกัน

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ชุมชนร่วมสร้าง สังคมสุขภาพช่องปากดี

3


จังหวัดลำปาง

“ผลิดอกออกผล ที่เมืองนครลำปาง”

ลำปางทำโครงการฟั น เที ย มพระราชทานตั ้ ง แต่ ป ี ๒๕๔๘ พร้ อ มๆ กั น กั บ จั ง หวั ด

ทั่วประเทศ และเมื่อปี ๒๕๔๙ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยมีแนวทางขยายการดำเนินงานใน กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อมุ่งให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดีตลอดชีวิต คัดเลือกจังหวัดอาสาสมัครนำร่อง ดำเนิ น กิ จ กรรมสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากผู ้ สู ง อายุ ขณะนั ้ น ลำปางมี ปั ญ หาการทำงาน

ด้านทันตสาธารณสุข คือ การทำงานอยู่ในสภาพตั้งรับ ขณะที่ปัญหาสุขภาพช่องปากขยายตัวอย่าง รวดเร็ว และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุด้วย และเห็นว่าการริเริ่มกิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นความพยายามที่จะหลุดพ้นจากปัญหาดังกล่าว ทำให้ ส ำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด ลำปางอาสานำนโยบายมาขั บ เคลื่ อ นในพื ้ น ที่ ศู น ย์ อ นามั ย

ที่ ๑๐ เชียงใหม่ นำร่องทำกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ ... งานใหม่ที่ท้าทาย

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ก้าวย่าง อย่างลำปาง

4

ลำปางดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้ผู้สูงอายุแบบผสมผสาน โดย ทำโครงการ พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ เพื่อคงสภาพช่องปากที่ดีไว้ ตลอดชีวิต สามารถดูแลตนเองได้ ทำโครงการฟันเทียมพระราชทานเพื่อให้ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหาร ได้ เ หมาะสม และทำโครงการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากผู ้ สู ง อายุ ต ามชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ เพื่ อ ลด

การสูญเสียฟัน ผลการทำกิจกรรม พบว่า ผู้สูงอายุมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรม ทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลอนามัยช่องปากตนเอง และผู้สูงอายุด้วยกัน มีการตรวจคัดกรองโรค และ ส่งต่อผู้สูงอายุไปรับบริการทันตกรรมป้องกัน ในโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุตาม ชุดสิทธิประโยชน์ และรับการรักษาด้วยการใส่ฟันเทียม จากการที่ลำปางมีเวทีให้ทันตบุคลากรมาพบปะกันเป็นวาระประจำ ๔ รอบ ใน ๑ ปี จะมี หั ว หน้ า ฝ่ า ย/หั ว หน้ า กลุ่ ม งานทั น ตสาธารณสุ ข จากโรงพยาบาลศู น ย์ ล ำปาง โรงพยาบาลชุ ม ชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ในครั้งที่ ๒ และ ๔ จะมีทันตาภิบาล จากสถานี อนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อร่วมประเมินผลการดำเนินงาน รอบครึ่งปี ในการประชุมครั้งที่ ๒ และจัดทำแผนงานปีงบประมาณถัดไปในการประชุมครั้งที่ ๔

จึงถือเป็นช่องทางหนึ่งในการนำเสนอผลการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ

ของจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นผลสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงานที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงาน สร้างเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุด้วย


เวทีนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นเวทีสำหรับงานบริหาร แต่เป็นเวทีที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เนื้อหาที่ได้ไม่เพียงแต่จุดประกาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เข้าร่วมโครงการเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ เกิดการสรุปบทเรียนจากการดำเนินงาน และนำบทเรียนย้อนกลับไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ในแต่ละพื้นที่อย่างแนบเนียนอีกด้วย ปั จ จั ย ความสำเร็ จ ของการดำเนิ น งานของที ม งานลำปาง กล่ า วได้ ว่ า มี ก ารทำงาน

เป็นทีม มุ่งพัฒนาการจัดบริการทันตสุขภาพผู้สูงอายุ การประสานงานอย่างต่อเนื่องกับพื้นที่ และ

ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ ง มี ก ารเลื อ กพื ้ น ที่ ด ำเนิ น การที่ เ หมาะสม เช่ น ชมรมผู ้ สู ง อายุ เ ข้ ม แข็ ง และที ม งาน

มีความพร้อม มีการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งรูปแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ตลอดจนมี ก ารแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ถ่ า ยทอดเทคโนโลยี ร ะหว่ า งสถานบริ ก าร และชมรม

ด้วยการจัดประชุมทันตบุคลากร การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาดูงานระหว่างอำเภอ

ตัวอย่างการขับเคลื่อนงาน... เมืองนครลำปาง

ส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู ง อ า ยุ

คุ ณ หมอธาริ ณ ี แสงแก้ ว และที ม งานโรงพยาบาลแจ้ ห่ ม อาสานำร่ อ งกิ จ กรรม

สร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยมีคุณนันทริกา เลิศเชวงกุล ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ ที่เห็น

โอกาสบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุเข้าด้วยกัน ร่วมทำกิจกรรมด้วย ชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่มวัดศรีหลวง ตั้งอยู่ที่วัดศรีหลวง ตำบลแจ้ห่ม มีสมาชิก ๓๑๕ คน ก่อตั้งเมื่อ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการทำกิจกรรมจากเทศบาล มีรถรับส่ง

ผู ้ สู ง อายุ ม าประชุ ม ทุ ก ครั ้ ง เคยทำเรื่ อ งสุ ข ภาพ โดยเชิ ญ วิ ท ยากรมาให้ ค วามรู ้ เ รื่ อ งสุ ข ภาพทุ ก ปี

มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม ได้แก่ ออกกำลังกายสัปดาห์ละ ๓ วัน วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา ๑๖.๐๐ น. จิ ต อาสาทำดี เ พื่ อ พ่ อ ทำบุ ญ ตั ก บาตรข้ า วสารอาหารแห้ ง เยี่ ย มผู ้ ป่ ว ยที่ น อนพั ก รั ก ษาตั ว อยู่ ใ น

โรงพยาบาล และทำสมุนไพร ยาหม่องน้ำ ยากันยุง ปัจจุบัน ชมรมมีชื่อใหม่ คือ “ชมรมสานรัก

ผู้สูงวัยอำเภอแจ้ห่ม”

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ที่ชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวง ปีแรก (๒๕๔๙) ... ร่วมคิดร่วมทำ นำร่องกิจกรรม

5


สการส ร้ า งร้เ สา งริเมสสุริขมภสุาขพภช่า อพงช่ปอางกปผูา้ กสู ผู ง อ้ สูางวั ยุ ย เล่มที่ ๔

แจ้ห่ม เริ่มต้นทำกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ ด้วยการจัดโครงการสุขภาพฟันดีเพื่อผู้สูงวัย

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก สามารถนำไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่น และเพื่อให้เกิดกิจกรรมการดูแล มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม ๗๙ คน เป็นผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม และ ตำบลแม่สุก โดยการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และทำกิจกรรมกลุ่ม โดยนำแกนนำ

ผู้สูงอายุคิดร่วมกัน ในเรื่องจะจัดกิจกรรมอะไรให้ผู้สูงอายุในชมรม และนอกชมรม เพื่อให้มีสุขภาพ

ช่องปากที่ดี และจะจัดกิจกรรมอะไรให้ผู้อื่นมีสุขภาพช่องปากที่ดี พบว่ า กิ จ กรรมที่ ผู ้ สู ง อายุ ต ้ อ งการได้ แ ก่ อบรมให้ ค วามรู ้ ภ ายในกลุ่ ม ประกวดฟั น

ตรวจสุขภาพช่องปาก จัดบอร์ดความรู้ ฝึกแปรงฟัน จับคู่ตรวจฟัน และสอนบุตรหลานชมรมจึงกำหนด เวลาในการทำจัดกิจกรรม และพบว่า ผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ◆ จัดบอร์ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากที่ชมรมฯ ◆ แกนนำผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้สมาชิก ◆ ผู้สูงอายุตรวจฟันในหมู่บ้าน และบันทึกผลการตรวจว่า ตรวจฟันให้ใคร โรคฟันที่พบ เช่น มีฟันโยก หินปูน และการแนะนำไปพบทันตแพทย์ ◆ ประกวดฟันผู้สูงอายุ ในวันแม่ (๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙) มีกิจกรรม ให้ความรู้โดย

คุณหมอตอบปัญหา การตรวจสุขภาพช่องปาก ออกกำลังกาย ฝึกบริหารใบหน้าโดยผู้สูงอายุเป็นผู้นำ การฝึก ซึ่งต่อมา ทุกครั้งของการออกกำลังกาย ก็จะมีการบริหารใบหน้าด้วย และมอบรางวัลฟันดี ◆ รวบรวมภาพกิจกรรม จัดบอร์ดเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รู้ ผลจากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุสามารถคิดเอง ทำได้เอง ทำให้ ทีมโรงพยาบาลเกิดแรงใจที่จะขับเคลื่อนงานเชิงรุกที่กว้างขึ้นต่อไป

6

เรียนรู้เรื่องราว ต่อยอดกิจกรรม ๒๕๕๐

ทพญ.จิณห์วรา จิรธรรมโอภาส และ ทพญ.ชรินทร อิสระยางกูล ทันตแพทย์รุ่นต่อมา สานต่อกิจกรรม ด้วยการเรียนรู้จากกิจกรรมที่ผ่านมา และพบว่าผู้สูงอายุ เมื่อสามารถดูแลตนเองได้

ก็มีความต้องการไปดูแลคนคนใกล้ชิด เช่น ลูกหลาน เพื่อนบ้าน และคนในชุมชน ผู้สูงอายุจึงต้องการมี ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน เรื่องโรคประจำตัว และอยากตรวจฟันได้ จึงได้จัด “โครงการสุขภาพดีเริ่มที่ตนเอง” เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจความสัมพันธ์ของการเป็นโรคทางกาย เช่น

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในช่องปาก เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นพ้อง ต้องกันว่า การส่งเสริมสุขภาพช่องปากจะดีได้ สุขภาพร่างกายต้องดีด้วย และการดูแลสุขภาพช่องปาก และสุขภาพร่างกายต้องมีการดูแลควบคู่กันไป อันจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น โดยมี

เป้าหมาย ให้แกนนำสามารถตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุได้เอง ด้วยแบบฟอร์มการตรวจสุขภาพ

ช่องปาก ตลอดจนมีการอบรมผู้สูงอายุให้รู้จักการย้อมสีคราบจุลินทรีย์ บันทึกคะแนน และจับคู่นับ ปริมาณสีที่ติดฟัน ด้วยโครงการคนเฒ่าฟันดี บ่ติดสีแดง ภายหลั ง การอบรม พบว่ า ผู ้ สู ง อายุ ท ำกิ จ กรรมเพิ่ ม เติ ม ได้ แ ก่ เดิ น ออกกำลั ง กาย

ไปตามบ้ า นเพื่ อ ไปตรวจฟั น เบื ้ อ งต้ น ตรวจวั ด ความดั น แนะนำเรื่ อ งการดู แ ลสุ ข ภาพให้ ผู ้ สู ง อายุ

ที่ บ ้ า น คิ ด แบบตรวจสุ ข ภาพช่อ งปากอย่า งง่า ย ใบส่ง ต่อ ผู ้ สู ง อายุ ท ี่ ต ้ อ งการรั ก ษาทางทั น ตกรรม

และคุณพ่อกมล เนตรรัศมี ได้นำความรู้เรื่อง สุขภาพช่องปาก เผยแพร่ทางวิทยุชุมชน


เชื่อมต่อกิจกรรม ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒

รุ่นคุณหมอนุ่น คุณหมอป๋อม และคุณหมอจิ๊บ ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อ เนื่องในชมรมผู้สูงอายุปีนี้ พบว่า ผู้สูงอายุทำสมุดนับฟันเป็นสมุดประจำตัวผู้สูงอายุด้านสุขภาพ

ช่องปาก มีข้อมูลสุขภาพช่องปาก และความสะอาดของช่องปาก โดยมีผลการตรวจ จากการวัดคราบ จุ ล ิ น ทรี ย์ และแกนนำผู ้ สู ง อายุ ร่ว มออกหน่ว ยแพทย์ พอ.สว. ที่ โ รงเรี ย นบ้ า นทุ่ง คา ตำบลแม่สุ ก

อำเภอแจ้ห่ม เพื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากแก่ประชาชน มีการทำโครงการเยี่ยมเพื่อน เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชนบทที่ห่างไกล และขยาย เครือข่าย โดยนำผู้มีประสบการณ์มาเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ◆ แล้วทำอย่างไรให้ตำบลอื่นๆ รู้เรื่องด้วย ... แกนนำผู้สูงอายุบอกว่า เขาจะจับคู่ตำบล ที่เข้มแข็ง กับตำบลที่เริ่มทำ จะไปให้ความรู้ และสอนกัน ◆ และถามว่า แล้วทำไมไม่ดูเด็กด้วย ตอนนี้ผู้สูงอายุก็จะแต่งนิทานประกวดกัน ระดับ ตำบลก็จะมีเสียงตามสาย ทำให้ จากเดิมมีการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๓ ชมรม ตอนนี้ขยายเป็น

๑๔ ชมรม ครบทุกตำบล ชมรมผู้สูงอายุอำเภอแจ้ห่ม เป็นต้นแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีการ ดำเนินงาน ไปช่วยส่งเสริม สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ ในพื้นที่ ให้ได้เรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก และทำกิจกรรมต่อๆ กันไป เกิดนวัตกรรมในชมรมที่ผู้สูงอายุช่วยกันคิดช่วยกันทำ ได้แก่ ◆ ภาพวาดตำแหน่งของฟัน สำหรับสอนการตรวจ และนับฟัน ◆ ทำสมุดนับฟัน เป็นคู่มือประจำตัวผู้สูงอายุ เพื่อบันทึกการตรวจความสะอาดฟัน ◆ การตรวจนับฟัน ด้วยการย้อมสีคราบจุลินทรีย์ และใช้ cotton bud ตรวจนับฟันรายซี ่ ◆ เผยแพร่ ค วามรู ้ เ รื่ อ งสุ ข ภาพ และสุ ข ภาพช่ อ งปากในชมรม ด้ ว ยการทำบอร์ ด ประชาสัมพันธ์ และมุมความรู้ เรื่องสุขภาพ สุขภาพช่องปาก

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

นวัตกรรม ... ชมรมผู้สูงอายุด้านส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ชมรมผู้สูงอายุอำเภอแจ้ห่ม

7


ปัจจุบัน ... ของอำเภอแจ้ห่ม ◆ มีหลายวิชาชีพ ได้แก่ ทันตบุคลากร พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ บูรณาการงาน

ส่งเสริมสุขภาพเข้าด้วยกัน ช่วยกระตุ้น สนับสนุนให้ชมรมฯ สามารถเดินต่อไปด้วยความเข้มแข็ง ◆ มีการประยุกต์งานทันตสาธารณสุข เข้ากับงานศูนย์ ๓ วัย ของโครงการสายใยรัก แห่งครอบครัว ◆ การพัฒนาสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้โรงพยาบาล แจ้ห่มมีการแบ่งเขตความรับผิดชอบ เข้าไปให้ความรู้ และดูแลชมรมฯ ในแต่ละพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ที่อำเภอเกาะคา ปี แรก (๒๕๕๐) ... เราก็ทำได้

8

ทันตแพทย์หญิงสุมิตรา โยธา จากโรงพยาบาลเกาะคา บอกว่า จากที่ได้ฟังแนวทางการ จัดการปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจากพื้นที่อื่นๆ ซึ่งสามารถดำเนินการได้จริง เธอจึงเข้าร่วม โครงการเมื่อปีที่ ๒ ของลำปาง เลือกชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา ซึ่งเป็นชมรมเข้มแข็ง มี อาจารย์พิสมัย ฉันทะ ข้าราชการครูเกษียณเป็นประธาน ขณะนั้น ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลามีกิจกรรมการช่วยเหลือดูแล สมาชิกในชมรมที่เจ็บป่วย มีการรวมกลุ่มออกกำลังกาย และทำกิจกรรมทุกวันพระ ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา ตั้งอยู่วัดบ้านศิลา หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะคา ก่อตั้งขึ้นมาจากปัญหา สุขภาพของคุณแม่พิสมัย ซึ่งเป็นโรคเบาหวาน ท่านคิดว่า ทำอย่างไรร่างกายจะแข็งแรง จึงออก

กำลั ง กาย โดยเริ่ ม จากการออกกำลั ง กายคนเดี ย ว เป็ น ชวนเพื่ อ นๆ ใกล้ บ ้ า น มาออกกำลั ง กาย

กลายเป็นกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน โดยมีโรงพยาบาลเกาะคา และสถานีอนามัยน้ำล้อมเป็นพี่เลี้ยง และเมื่อมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน และเครือข่ายต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วม จึงเกิดเป็น

กลุ่มสร้างสุขภาพผู้สูงอายุที่เข้มแข็งมาก เกาะคาเริ่มต้นกิจกรรม ด้วยการประชุมกลุ่มให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ระดมสมอง กับผู้สูงอายุว่า จะขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมในพื้นที่อย่างไร จนเป็นที่มาของ โครงการทูตทันตกรรม และโครงการเสริมพลังผู้สูงอายุรักษ์เหงือก-ฟัน กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุใน ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก

มีความรู้ สามารถดูแลช่องปากของตนเอง และสมาชิกชมรมได้ แกนนำขยายความรู้เรื่อง การดูแล สุขภาพช่องปากด้วยตนเอง โดย อบรมแกนนำผู้สูงอายุ ๓๐ คน ให้ความรู้เรื่อง โรคเหงือกและฟัน สาธิตการแปรงฟัน และการประชุมกลุ่ม ให้คิดเรื่อง เราจะทำอะไรกันต่อไป ซึ่งผู้สูงอายุคิดว่า จะไป ดูแลสุขภาพช่องปากของสมาชิกชมรม ขยายไปศูนย์เด็กเล็ก และการจัดทำบอร์ดความรู้

๒๕๕๐-๒๕๕๒ ... ต่อยอด ขยายเครือข่าย

เกาะคาทำโครงการต่อเนื่อง คือ “โครงการผู้สูงอายุเข้มแข็ง ร่วมแรงป้องกันโรคเหงือก และฟัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพเหงือก และฟันที่ดี ผู้สูงอายุมีความรู้ในเรื่องปัญหา และการดูแลสุขภาพเหงือก และฟัน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม

การป้องกัน และการดูแลสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชน ขยายกิจกรรมทำในชมรม

ผู้สูงอายุ ๒ แห่ง ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะคา และชมรมผู้สูงอายุบ้านผึ้ง

หมู่ที่ ๓ ตำบลศาลา


หลากหลาย ... มีให้เรียนรู ้ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่นี่มีค่อนข้างหลากหลาย เช่น การแปรงฟัน ร่วมกันหลังออกกำลังกาย การตรวจฟันโดยใช้แบบบันทึกการตรวจฟันให้สมาชิกชมรม ตรวจฟันให้เด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก การให้ความรู้ เรื่อง สุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนในการให้ความรู้ เรื่อง สุขภาพ

ช่องปากแก่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยในกิจกรรมเยี่ยมบ้าน การให้ความรู้กับลูกหลาน สมาชิกในครอบครัว ของผู้สูงอายุ ฯลฯ ชมรมผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อดำเนิน กิจกรรมประกวดฟัน ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน พร้อมกับขยายพื้นที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหล่าย โดยมีชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลาเป็นพี่เลี้ยง ชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหล่าย อยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลเกาะคา เป็นชมรมฯ เข้มแข็งด้วย กิจกรรมที่มีมาก พ่อถนอม แผ่นคำ เป็นประธาน ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนเก่า ทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ◆ การแปรงฟันหลังการออกกำลังกาย วันจันทร์ พุธ ศุกร์ ◆ การตรวจฟันกันเองในผู้สูงอายุ ◆ การตรวจฟันลูกหลาน ◆ โรงพยาบาลให้บริการทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุด้วยชุดสิทธิประโยชน์ และการทำฟันเทียม ตอนนี้ ชมรมสามารถจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพได้ด้วยเอง โดยขอคำปรึกษา จากทีมสาธารณสุข และเสนอของบประมาณโดยตรง จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

แลกเปลี่ยน เรียน และรู้ ... เวทีกระตุ้นแรงบันดาลใจ ต่ อยอดกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ปีต่อปี

ปีแรก (๒๕๔๙) ลำปางทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ๒ ชมรม คือ แจ้ห่ม และห้างฉัตร แจ้ห่ม เลือกชมรมผู้สูงอายุอำเภอแจ้ห่ม ตำบลแจ้ห่ม และชมรมผู้สูงอายุบ้าน

แม่สุก ตำบลแม่สุก ส่วนห้างฉัตร เลือกชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ฮาว ตำบลห้างฉัตร ปีที่สอง (๒๕๕๐) ทีมบุคลากรชวนกันขยายกิจกรรมฯ ต่อไปยังชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ จึง ขยายไปที่ชมรมผู้สูงอายุอำเภอเกาะคา และอำเภอเถิน ปีที่สาม (๒๕๕๑) ลำปางทำกิจกรรมต่อเนื่อง ขยายโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุไปได้ ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง เสริมงาม วังเหนือ สบปราบ แม่ทะ เมืองปาน แม่พริก จำนวน ๑๓ ชมรม พบว่า บางแห่งทำเชิงระบบ คือ มีการให้บริการใส่ฟันเทียม การป้องกันโรคใน

ช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ และการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะ มองว่า ผู้สูงอายุมีศักยภาพสามารถทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกันเอง สามารถตรวจโรคทางระบบ และคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคในช่องปากของผู้สูงอายุได้ จึงให้โอกาสผู้สูงอายุทำกิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมฯ ช่วยเหลือกิจกรรมการตรวจคัดกรองโรค ส่งต่อผู้สูงอายุมารับ

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ปี ๒๕๕๓ … เพิ่มพื้นที ่

9


การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

10

การรักษา ทั้งด้านป้องกันโรค และใส่ฟันเทียม และบางแห่งทำในโรงพยาบาล ในคลินิกโรคเรื้อรัง โดย คัดเลือกผู้สูงอายุจากคลินิกโรคเรื้อรัง มารับบริการทันตกรรมป้องกัน และปีที่สี่ (๒๕๕๒) ลำปางมีแผนขยายกิจกรรมไปครบ ๑๓ อำเภอ เพิ่มแม่เมาะ และงาว

สิ่งที่ทำให้ลำปางขยายการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ได้อย่างต่อเนื่อง มาจาก การที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปางใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กิจกรรมการดำเนินงานของพื้นที่ โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทำกิจกรรมส่งเสริม

สุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ เรื่องที่น่าสนใจ ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่มเป็นชมรมฯ ที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากนำร่อง เป็น ชมรมที่มีแกนนำผู้สูงอายุ มีพยาบาลทำงานด้านผู้สูงอายุมานาน เป็น Key Person ให้กับงานส่งเสริม

สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และเนื่องจากการเปลี่ยนทันตแพทย์ที่ลำปางมีค่อนข้างสูง ทันตแพทย์

โรงพยาบาลชุมชนเปลี่ยนทุกปี ไม่ได้น้อยกว่าจังหวัดอื่น เมื่อถึงวาระเปลี่ยนทันตแพทย์ ในแต่ละ ทันตแพทย์ใหม่ มารับช่วงต่อการทำงานแต่ยังมีคุณนันทริกา ที่ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุในพื้นที่อยู่

จึงเหมือนเป็นเสาหลักประสานการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ ทำให้ชมรมผู้สูงอายุอำเภอ แจ้ห่มทำเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้ต่อเนื่องตลอดมา นอกจากนั้น เมื่อมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ต่างๆ เช่น จัดโดยสำนักทันต สาธารณสุข โดยศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เชียงใหม่ กรมอนามัย หรือมีกิจกรรมที่ต้องการให้ลำปางไปเผย แพร่ประสบการณ์ ก็จะให้โอกาสทีมงาน ทั้งทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุข และแกนนำผู้สูงอายุ

เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรม ผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การเขียนแผนปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนากิจกรรมในชมรมฯ ด้วย ผลพวงจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ข้อสรุปว่า การทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ให้กับผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุนั้นไม่ยาก ถ้าไปค้นหาชมรมที่เข้มแข็ง ทำเองได้ จัดกระบวนการให้

ผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องมาเรียนรู้การทำงานของกันและกัน เพราะว่า ชมรมผู้สูงอายุมีใจอยากทำ กิจกรรมอยู่แล้ว จึงทำให้เกิดการดำเนินงานต่อยอด เกิดการขยายผลการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่ อ งปากในชมรมผู ้ สู ง อายุ ไ ปสู่ อ ำเภออื่ น ๆ เรื่ อ ยๆ ด้ ว ยความสมั ค รใจ ประกอบกั บ การเตรี ย ม

งบประมาณรองรับของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ลำปางจึงมีการขยายการดำเนินงานได้ถึง ๑๓ ชมรม ในปี ๒๕๕๒ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องเล่า เรื่องราวของประสบการณ์ในการทำงาน ด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติเป็นการประจำของลำปางต่อมา


จังหวัดเชียงใหม่

ท่ากว้างเป็นตำบลเล็กที่สุดในอำเภอสารภี ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่ากว้างมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง บูรณาการเป็นองค์รวม โดยมีการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต ด้วยการนำเอาทุนทางวัฒนธรรมมาประสาน ให้สอดคล้องกับกิจกรรม เอื้อให้เกิดการ

ขับเคลื่อนพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบไม่แปลกแยก ทุนทางสังคมที่ชุมชมเล็กๆ แห่งนี้ แนบแน่นกับความเป็นเครือญาติ การเคารพนบนอบ

ผู้เฒ่าผู้แก่ การเอื้ออำนวยการสร้างพลังให้ชุมชน ภายใต้วิธีคิดการทำงานพัฒนาของเจ้าหน้าที่ที่มองว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพที่ผ่านประสบการณ์สั่งสม มีความพร้อมในเรื่องเวลา และ เสียสละเพื่อส่วนรวม ขอมีเพียงพื้นที่และกระบวนการที่ขับเคลื่อนกลุ่มอย่างต่อเนื่อง มีการหนุนเสริม

ที่พอเหมาะพอดีจากเจ้าหน้าที่ การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุก็จะเป็นไปด้วยดี รวมทั้งความเข้มแข็งของ ชมรมผู้สูงอายุ มาเสริมให้เกิดความคิดสร้างนวัตกรรม แปรรูปออกมาเป็นกิจกรรมดีๆ เพื่อชุมชน ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้สูงอายุได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ และคิดเผื่อแผ่ไปยังชุมชน เพื่อการมีส่วนร่วมในพัฒนาชุมชน ของตนเองด้วย

ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่ากว้าง เข้มแข็ง

พ่อดี บุญมา เป็นประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลท่ากว้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ ความไม่พร้อม ของชมรมผู้สูงอายุในช่วงที่พ่อดีเข้ามารับตำแหน่ง เป็นจุดเริ่มต้นทำให้พ่อดี และสมาชิกได้ร่วมคิดหาวิธี การที่จะทำให้กองทุนผู้สูงอายุมีงบตั้งต้น เพื่อเป็นน้ำหล่อเลี้ยง นอกจากวิธีการหาเงินเข้าชมรมฯ โดย วิธีบริจาค และผ้าป่าแล้ว ในปี ๒๕๔๖ ชมรมฯ ได้เขียนโครงการเพื่อพัฒนากิจกรรมต่อเนื่อง ไปยัง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของชมรมฯ เอง จึ ง มี ก ารคั ด เลื อ กแกนนำทุ ก หมู่ บ ้ า นรวม ๑๕ คน ร่ ว มกั น ค้ น หา วิ เ คราะห์ ปั ญ หา

ความต้องการของผู้สูงอายุ พร้อมกับหาวิธีการแก้ไขปัญหา เกิดกิจกรรมตามมา คือ ผู้สูงอายุต้องการ เพิ่มทักษะด้านการออกกำลังกาย จึงเชิญวิทยากรมาสอน ผู้สูงอายุต้องการความรู้เรื่องสมุนไพร และ โภชนาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก็มาให้ความรู้ ด้านการพัฒนาสุขภาพจิต ผู้สูงอายุก็ได้ทำ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ปฏิบัติธรรมที่วัด และจากการค้นหาปัญหาในครั้งนั้น ทำให้เกิดกิจกรรม ต่อเนื่องมายังปัจจุบันมากมาย เช่น การทอผ้า การสานไซดักปลาขนาดจิ๋วเพื่อเป็นของที่ระลึก และ

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

“สามัคคี มีน้ำใจ แด่ผู้สูงวัย”

11


พ่อดีเล่าว่า “ชมรมผู้สูงอายุท่ากว้าง จาก ๗ ปี ก่อน จนถึงทุกวันนี้ มีกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ และ หมุนเวียนกันไป คือ การออกกำลังกาย แบบไม้พลอง ฟ้อนเจิง และรำมวยจีน ทุกวัน อังคาร และ

ศุกร์ แถมด้วยรำวงย้อนยุค และซื้อจักรยานปั่นเพื่อสุขภาพที่สถานีอนามัย และใน ๑ ปี จะมีการพัฒนา คุณภาพชีวิต ธรรมสัญจรในอำเภอสารภี ช่วงเข้าพรรษา การปฏิบัติกรรมฐาน นั่งสมาธิในชุมชน

การรั ก ษาอนุ รั ก ษ์ ป ระเพณี แ ละวั ฒ นธรรมพื ้ น บ้ า น เช่ น การแข่ ง กี ฬ าประจำปี ประเพณี ย ี่ เ ป็ ง

ปล่ อ ยโคมลอย และรวบรวมวั ต ถุ โ บราณของเก่ า เก็ บ ไว้ เ พื่ อ เป็ น สาธารณกุ ศ ลแก่ ค นรุ่ น หลั ง ได้ ดู

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตำบลท่ากว้าง และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น ไปให้ความรู้ในวันเด็ก วันพ่อ วันแม่

ก็เข้าไปร่วมกิจกรรม แนะนำแนวทางที่ดีให้กับลูกหลาน” จากคำบอกเล่าของพ่อดี ทำให้ได้รู้ว่า การสร้างกิจกรรมหลากหลายในชมรมผู้สูงอายุ เป็นกลวิธีหนึ่งที่ทำให้ชมรมผู้สูงอายุมีชีวิตชีวา สอดคล้องกับความสามารถของผู้สูงอายุ ที่จะได้ ลงมือคิด ลงมือทำ เกิดกลุ่มส่งเสริมสุขภาพตนเอง และเกิดกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็ง ... จุดเริ่มต้นของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

12

ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่ากว้าง ได้รับเลือกเพื่อนำร่องทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ เมื่อปี ๒๕๔๙ ด้วยเหตุผลที่ว่า ...ตำบลท่ากว้าง มีชมรมผู้สูงอายุที่มีความพร้อม

มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะประธานชมรมฯ ชมรมมีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่แล้ว ทั้งด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ สมุนไพร และโภชนาการ ได้รับการสนับสนุนจากสถานีอนามัยตำบลท่ากว้าง องค์การ บริหารส่วนตำบลท่ากว้าง รวมทั้ง พ่อดีมีลูกสาวเป็นทันตาภิบาล อยู่ที่โรงพยาบาลสารภีด้วย คุณหมอกุ้ง (ทพญ.อัญชลี อารียา) ทันตแพทย์โรงพยาบาลสารภี ประสานการดำเนินงาน กับแกนนำผู้สูงอายุ พบว่า แกนนำยังขาดความรู้เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จึงเริ่มต้น ทำกิจกรรมให้ความรู้แกนนำ ด้วยการจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การดูแลสุขภาพ

ช่องปากแบบองค์รวมให้แกนนำผู้สูงอายุ ได้ข้อตกลงที่จะนำไปดำเนินการในชมรมฯ ได้แก่ ๑. การให้คำแนะนำด้านสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุ ๒. ชี้แจงโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการดูแลรักษาฟันเทียม ๓. เป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก ให้แก่ญาติ และลูกหลาน ๔. การออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ผลการดำเนิ น งาน พบว่ า ผู ้ สู ง อายุ ม ี ค วามรู ้ ค วามเข้ า ใจ มี ทั ศ นคติ ด ี ต่ อ เรื่ อ งการ

ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการ ได้รับการดูแลต่อเนื่องเป็นองค์รวมมากขึ้น ตลอดจน

ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดี ปี ๒๕๕๐ เมื่อชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมหลากหลาย จึงมีสมาชิกใหม่มาร่วมกิจกรรม

มากขึ้น เกิดเครือข่าย “เพื่อนช่วยเพื่อน” จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เพิ่มขึ้น จากเดิม สถานีอนามัย องค์การบริหารส่วนตำบล ชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับวัด นำของบริจาคจากวัด และปัจจัยต่างๆ ไปเยี่ยมปีละครั้ง เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้สูงอายุ ทำให้

ผู ้ สู ง อายุ ไ ด้เห็นผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ท ี่ ช่ว ยเหลื อ ตนเองไม่ไ ด้ ไ ม่ส ามารถมาร่ว มกิ จ กรรม จึ ง ขอ สนับสนุนงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนตำบล สนับสนุนยานพาหนะ ของเยี่ยม เพื่อไปแนะนำ การดูแลสุขภาพ และสุขภาพช่องปากให้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสที่บ้าน ซึ่งบางครั้งก็จะใช้รถของ ตัวเอง หรือขี่จักรยานไปก็มี


“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ปี ๒๕๕๑ โรงพยาบาลสารภีเริ่มทำกิจกรรม โครงการป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ

ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม มีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม เน้นการ

มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับสมาชิกชมรมฯ ตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพ ช่องปาก เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากกันเอง ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก คัดกรองโรค ในผู้สูงอายุ ที่มีโรคทางกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยมีการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ (F1) และ

การบั น ทึ ก สุ ข ภาพช่อ งปากและการให้ บ ริ ก ารแก่ผู ้ สู ง อายุ (F2) ซึ่ ง ผู ้ สู ง อายุแ กนนำสามารถให้ ค วาม

ช่วยเหลือตรวจสุขภาพผู้สูงอายุตามแบบฟอร์ม F1 ในเรื่อง ข้อมูลทั่วไป การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก คำนวณ BMI และสัมภาษณ์ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากด้วย โรงพยาบาลจัดกิจกรรม Walk rally ให้ความรู้ผู้สูงอายุ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชิญ แกนนำผู ้ สู ง อายุ ต ำบลใกล้ เ คี ย งมาร่ ว มกิ จ กรรม แบ่ ง เป็ น ๔ ฐาน ได้ แ ก่ ฐานสุ ข ภาพจิ ต ผู ้ สู ง วั ย

ฐานโภชนาการที่เหมาะสม ฐานการบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ช่องปากและลิ้น ฐานการย้อมสีฟัน

ฝึกทักษะการแปรงฟัน การทำความสะอาดฟันเทียมที่ถูกต้อง และมีการประกวดผู้สูงอายุฟันดี ผลการดำเนินงาน พบว่า ผู้ สูง อายุม ีค วามรู้ ความเข้า ใจ เรื่ อง การส่ง เสริ มสุ ขภาพ

ช่องปาก และเข้ารับบริการทันตกรรมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ทุกคนตอบเป็นเสียง เดียวกันว่า กิจกรรมในที่ผ่านมาทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการ ได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง เป็นองค์รวม และผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปี ๒๕๕๒ โรงพยาบาลสารภีทำกิจกรรมในโครงการชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม

ต่อเนื่อง และเข้าร่วมงานวิจัยฟลูออไรด์วานิช ชมรมผู้สูงอายุได้ทำ “โครงการพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยผ่อเขี้ยว หลานในศูนย์สามวัย” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีความต้องการ ให้ผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็งในชุมชนมาช่วยเรื่องสุขภาพอนามัย และเรื่องทั่วๆ ไป ในศูนย์เด็กเล็ก ปี ๒๕๕๓ เมื่อมีการคุยว่าจะทำอะไรต่อ ผู้สูงอายุจึงคิดว่า ไปทำในศูนย์เด็กให้เด็กก่อน

วัยเรียน ทำขนมอ่อนหวาน ขนมพื้นบ้านที่ไม่มีน้ำตาลให้เด็กรับประทาน เล่านิทาน และแทรกงาน

ทันตสุขภาพไปด้วย

13


ร่วมด้วยช่วยกัน ทำกิจกรรมในโรงเรียน

“ผมมีความสามารถเรื่อง การฟ้อนเจิง ถ่ายทอดให้แกนนำเยาวชน ไปสอนในโรงเรียนที่ อำเภอสารภีกว่า ๑๐ โรงเรียน ไปแนะนำว่า ช่องปากและฟันนั้นสำคัญ อย่าทานขนมหวาน อย่าเคี้ยว ของแข็ ง และเหนี ย ว จะทำให้ ฟั น สึ ก เร็ ว โตขึ ้ น มาจะมี ฟั น ไม่ ด ี . .. กิ น อะหยั ง ก็ บ่ ไ ด้ บ่ า เดี ๋ ย วนี ้

ทางด้านช่องปากและฟันหายห่วงได้เลย ที่อำเภอสารภีเฮา เช่น โรงเรียนอนุบาล พ่อแม่เขาจะไม่ยอมซื้อ ขนมหวานให้ลูก หื้อลูกหลานไปโรงเรียนอนุบาล เพราะกลัวฟันหลอ เสียสุขภาพร่างกายในภายหน้า...” พ่อดีเล่าให้ฟังถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ นอกจากการสอนฟ้อนเจิง จะสอดแทรกทันตสุขภาพลงไป

ในกระบวนการเรียนรู้ เล่าเรื่องการดูแลสุขภาพปากและฟันจากประสบการณ์จริง พาผู้สูงอายุที่ใส่ฟัน เทียมไปคุยกับเด็กๆ ให้เห็นว่า การไม่มีฟันลำบากในการเคี้ยวอาหารอย่างไร รวมถึงการเล่านิทานให้ เด็กฟัง

นวัตกรรมที่เกิดขึ้น

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

14

◆ การเยี่ยมบ้านของชมรมผู้สูงอายุโดยภาคส่วนที่หลากหลาย สร้างกิจกรรมร่วมกัน ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาล ชมรมผู้สูงอายุ และหลังการเยี่ยมบ้านมีการรับประทาน อาหารกลางวันร่วมกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือข่าย ◆ กิ จ กรรมถ่า ยทอดความรู ้ เช่น Walk rally ๔ ฐาน ได้ แ ก่ ฐานสุ ข ภาพจิ ต ผู ้ สู ง วั ย

ฐานโภชนาการที่เหมาะสม ฐานการบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ฐานการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมไปถึง การประกวดผู้สูงอายุฟันดี เป็นการบูรณาการกิจกรรมที่ดำเนินการในชมรมผู้สูงอายุไปด้วยกัน ◆ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ขัดทำความสะอาดฟัน กระตุ้นการหลั่ง ของน้ำลายแทนการเคี้ยวหมากฝรั่ง เป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้าน ◆ การมี ส่ ว นร่ ว มของแกนนำผู ้ สู ง อายุ ใ นการประเมิ น สุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ ด้ ว ยการ สัมภาษณ์ตามแบบตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ (F1) ทำให้ผู้สูงอายุตระหนักในบทบาทของตัวเองมากขึ้น

ได้ฝึกทักษะ และลดปัญหาด้านการสื่อสารกับผู้สูงอายุด้วยกันเอง ◆ โครงการ/กิจกรรม จากการฟื้นทุนเดิมที่มีอยู่ เช่น โครงการข่วงพญ๋าคนเมืองล้านนา เพื่อสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน ชมรมหมอเมือง จัดตั้งศูนย์การแพทย์ทางเลือก โครงการภูมิปัญญาที่ดี ที่ อบต. โครงการอบสมุนไพรผู้สูงอายุ ◆ การถ่ายทอดทันตสุขภาพผ่านกิจกรรมที่ผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียน เช่น การสอนภูมิปัญญาล้านนา ฟ้อนเจิง กิจกรรมประดิษฐ์พานพุ่มต้นดอก ต้นเทียน การเล่านิทาน

ที่แทรกงานทันตสุขภาพ


จังหวัดชัยภูมิ

ชัยภูมิ เป็นจังหวัดในภาคอีสานตอนล่าง มี ๑๖ อำเภอ มีโรงพยาบาลทั่วไป ๑ แห่ง

โรงพยาบาลชุมชน ๑๕ แห่ง สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือศูนย์สุขภาพ ชุมชน ๑๖๗ แห่ง ทันตบุคลากร ๑๔๐ คน ประชากรมีทั้งหมดล้านกว่าคน เป็นประชากรผู้สูงอายุ ประมาณ ๕๙,๐๐๐ คน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิมีแนวคิดการทำงาน ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีฟันเคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีการทำกิจกรรม ๓ ด้านควบคู่

กันไป ได้แก่ การใส่ฟันเทียมตามโครงการฟันเทียมพระราชทานให้กับผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟันไปแล้ว การป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม และการพัฒนาศักยภาพชมรม ผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง การทำฟันเทียมให้ผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทาน เป็นบริการแรกที่ชัยภูมิ ดำเนินการ โดยให้บริการครบทุกหน่วยบริการ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ถึงปัจจุบัน ในปี ๒๕๔๙ ชัยภูมิทำ กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ โดยเน้นให้มีการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพ

ช่องปากผู้สูงอายุด้วยตนเอง ในชมรมผู้สูงอายุนำร่อง ที่ตำบลหลุบโพธิ์ อำเภอบ้านเขว้า และชมรม

ผู้สูงอายุบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ และมีการพัฒนาต่อยอดไปยังชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ เรื่อยมา และ ตามมาในปี ๒๕๕๑ มีการนำร่องทำกิจกรรมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทาง ทันตกรรม ด้วยการจัดบริการทันตกรรมป้องกันให้กับผู้สูงอายุ ให้บริการผู้สูงอายุในเรื่อง การตรวจ สุขภาพช่องปาก ให้คำแนะนำด้านทันตสุขภาพ ขูดหินปูน และให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชในผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงรากฟันผุ นำร่องที่โรงพยาบาลภูเขียว และโรงพยาบาลคอนสวรรค์ และขยายการให้บริการ ต่อมาในสถานบริการอื่นๆ

ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู ้

กลยุทธ์การทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ คือ ให้แต่ละพื้นที่จัด กิจกรรมตามความสมัครใจ ด้วยความพร้อมของบุคลากร และหน่วยบริการ โดยดูจาก ชุมชนมีความ เข้มแข็งทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ติดตาม สนับสนุน กระตุ้น

จนเกิดกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ ด้วยการเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งระบบ ตั้งแต่การทำงานในปีแรกๆ เรียนรู้ ที่จะพัฒนารูปแบบกิจกรรมในหัวข้อที่ตรงกันว่า จะทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ

กันอย่างไร เมื่ อ เกิ ด กิ จ กรรมในชมรมผู ้ สู ง อายุ น ำร่ อ งขึ ้ น สำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด จึ ง นำ

ผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงอายุ และบุคลากรสาธารณสุข ได้รับรู้ เรียนรู้วิธีการ จัดกิจกรรมซึ่งกันและกัน และส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเพิ่มขึ้น ด้วยการสนับสนุนต่างๆ เช่น

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

“ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก”

15


จัดประกวดผู้สูงวัยฟันดีระดับจังหวัด/ระดับอำเภอ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในจังหวัด ติดตามการ ทำกิจกรรมผู้สูงอายุถึงระดับชมรมผู้สูงอายุ ประชุมทีมงาน และทำเครือข่ายผู้สูงอายุระดับจังหวัด เครือข่ายกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุจึงมีมากขึ้น โดยเริ่มต้นที่ ชมรม

ผู้สูงอายุบ้านหลุบโพธิ์ อำเภอบ้านเขว้า ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโสก ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาล คอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ ขยายไปที่ชมรมไทเก้กภูเขียว อำเภอภูเขียว ชมรมผู้สูงอายุอำเภอจัตุรัส และชมรมผู้สูงอายุอำเภอบ้านแท่น ดังเช่น

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ PCU หลุบโพธิ์ อำเภอบ้านเขว้า

16

คุณนิคม โถชัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข PCU หลุบโพธิ์ เล่าว่า เมื่อปี ๒๕๔๙ เห็นว่า

ผู้สูงอายุที่หลุบโพธิ์มีการรวมกลุ่มกันเป็นชมรมอยู่แล้ว จึงเพิ่มกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เข้าไป เริ่มจากจับกลุ่มถอดความรู้ผู้สูงอายุว่า เขาดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร ทำให้ได้แนวคิดจาก

คุณพ่อจัก ลาภมี ประธานชมรมฯ และแกนนำคนสำคัญของชมรมฯ ว่า เคยเห็นคุณพ่อของท่าน

ใช้ไม้กุดทา (ตอนหลังมาเรียกกันว่า ไม้คนทา) มีลักษณะคล้ายไม้ข่อย มีรสขม/ฝาด เลือกไม้ที่มีลักษณะ

ไม่แข็ง/ไม่อ่อนเกินไป เหลาให้มีรูปร่างเหมือนไม้เสียบลูกชิ้น ทำตรงปลายทำให้แตกเป็นฝอย เอามาใช้ ขัดฟัน ช่วยทำความสะอาดช่องปากได้ ประกอบกับ “... ช่วงนั้นผู้สูงอายุคิดกันว่า เรื่องฟัน เราต้องมี อะไรสักอย่างที่จะทำให้เกิดการดูแลให้เป็นรูปธรรมชัดเจน … จึงคิดค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สมัยโบราณ ผู้สูงอายุ พระภิกษุ ใช้กันมานานแล้ว ในเรื่อง ไม้ขัดฟันที่ทำจากไม้คนทา ...” ทำให้ชมรมผู้สูงอายุเกิด กระแสการนำไม้กุดทามาใช้ทำความสะอาดช่องปากทุกวัน ทั้งเช้า/กลางวัน/เย็น ทั้งเวลาไปวัด หรือ

ช่วงที่มีกิจกรรมออกกำลังกาย และพกไม้กุดทาติดตัวเวลาไปนอกบ้าน เช่น ไปเยี่ยมลูกหลาน ไปงาน เป็นต้น ส่วนกิจกรรมด้านความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากนั้น คุณเหงี่ยม ปลื้มใจ เลขา ชมรมฯ บอกไว้ ว่ า “... ตอนแรกยากพอสมควร ในการรวมตั ว ผู ้ สู ง อายุ เ พื่ อ มาทำกิ จ กรรมการ

ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก แต่พอคุณหมอไปให้ความรู้ จึงใช้เสียงตามสายบ้าง ใช้คนต่อคน คือ ผู้สูงอายุ ที่มีความรู้ไปเล่าให้ผู้สูงอายุคนอื่นได้รู้ พูดให้เข้าใจ ก็ทำให้ผู้สูงได้รับความรู้มากขึ้น สนใจมากขึ้น

ผลพวงก็จะได้เพิ่มขึ้นมา ...” ทำให้เมื่อผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแล้ว ก็จะดูแลกันเอง สถานีอนามัยปรับบทบาทไปเป็นผู้สนับสนุนวิชาการ พร้อมกันนั้นองค์กรท้องถิ่น (อบต.) ก็เข้ามา

ร่ว มกิ จ กรรมเอง พร้ อ มการสนั บ สนุ น งบประมาณ ทำให้ ไ ด้ รั บ การจั ด สรรงบประมาณเพื่ อ จั ด ทำ โครงการด้านสุขภาพช่องปากในปี ๒๕๔๙ ผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ภูมิใจ ในปี ๒๕๔๙ ชมรมผู้สูงอายุ บ้านหลุบโพธิ์ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของอำเภอ บ้านเขว้า และคุณพ่อบุญมา ชัยเนตร ได้รับรางวัล ๑๐ ยอดฟันดีวัย ๘๐ ปี ท่านมีสุขภาพแข็งแรง และ มีฟันครบทุกซี่ และชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เดือนละ ๑ ครั้ง และมีการจัดทำอุปกรณ์ ดูแลสุขภาพช่องปากด้วยไม้คนทา เป็นอุปกรณ์เสริมในการทำความสะอาดช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ


ที่ PCU บ้านโสก และโรงพยาบาลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

โรงพยาบาลคอนสวรรค์คัดเลือกชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม ๒ ชมรม ได้แก่ ชมรม

ผู้สูงอายุโรงพยาบาลคอนสวรรค์ อยู่ใกล้โรงพยาบาล สะดวกในการประสานงาน และชมรมผู้สูงอายุ บ้านโสก ที่มีผู้นำสถานีอนามัย และผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง ที ม ทั น ตบุ ค ลากร เข้ า ไปร่ ว มแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ กั บ ผู ้ สู ง อายุ ใ นชมรมฯ ในเรื่ อ ง

ความต้องการของผู้สูงอายุด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งพบว่า ผู้สูงอายุขอให้มีการให้ความรู ้ เรื่อง สุขภาพช่องปาก และการรักษา โรงพยาบาลคอนสวรรค์จึงจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ ในเรื่อง

การตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา การฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะการแปรงฟัน นัดมารับบริการรักษาที่โรงพยาบาล การประกวดผู้สูงอายุฟันดี และประกวดการแปรงฟันในผู้สูงอายุ ผลของกิจกรรมพบว่า ผู้สูงอายุให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และเห็นความสำคัญของ

การดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น โดยมีผู้สูงอายุที่ลดการเคี้ยวหมากได้ และนำเงินรางวัลไปจัดตั้งเป็น

กองทุนแปรงสีฟันยาสีฟัน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีแปรงสีฟันยาสีฟันใช้ในราคาถูกต่อไป กิจกรรมที่ชมรมผู้สูงอายุดำเนินการต่อ ได้แก่ ผู้สูงอายุทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ช่องปากทุกวันพระ โดย ทำกิจกรรมสอนการแปรงฟันที่วัด

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ปี ๒๕๕๐ ตำบลหลุบโพธิ์ขยายเครือข่ายพัฒนาการเสริมสร้างสุขภาพในช่องปากไปใน ประชาชนทุกกลุ่มวัย เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ถูกต้อง ร่วมกันแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของชุมชน ลดความเชื่อผิดๆ และมีหมู่บ้านต้นแบบการดูแลสุขภาพ ช่องปากเพิ่มขึ้น ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากระดับตำบล ทำกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่อง ◆ จัดทำและใช้ไม้ขัดฟันที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น ◆ ให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุ ทางหอกระจายข่าว เสียงตามสาย งานพิธี ประเพณีต่างๆ ◆ จัดตั้งกองทุนแปรงสีฟันยาสีฟัน เพื่อให้สมาชิกมีแปรงสีฟันและยาสีฟันที่มีคุณภาพ ราคาถูก ◆ สั ม มนาเครื อ ข่ า ยการเสริ ม สร้ า งสุ ข ภาพช่ อ งปากแก่ เ ด็ ก เยาวชน ประชาชน

วัยแรงงาน และหมู่บ้านใกล้เคียง ◆ ทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อดูแลผู้สูงอายุด้านสุขภาพช่องปาก โดยเยี่ยมเยียน

ให้ความรู้ผู้สูงอายุที่บ้าน ๑๘ หมู่บ้าน

17


ด้านการป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ … คุณหมอเอ๋ (ทันตแพทย์หญิงนริศรา ดีบ้าน โสก) เล่ า ว่ า โรงพยาบาลคอนสวรรค์ ท ำโครงการส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น โรคในช่ อ งปากในผู ้ สู ง อายุ

โดยมุ่งที่จะแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ด้วยการสร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาด

ช่องปาก จัดระบบบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามความจำเป็น และสร้างความมีส่วนร่วม ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ และพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุใน การจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง มีกิจกรรมที่ดำเนินการ ก็คือ ◆ สร้างผู้สูงอายุแกนนำไปดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในหมู่บ้านตนเอง โดยผ่ายการอบรม แกนนำผู้สูงอายุ และให้แกนนำถ่ายทอดความรู้ทุกวันพระ ◆ การให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่ ◆ สนับสนุนโมเดลฟัน เพื่อการสอนทักษะการแปรงฟัน ◆ จัดช่องทางพิเศษ สำหรับบริการทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุ ◆ ส่งต่อผู้สูงอายุที่ตรวจพบโรคทางระบบไปพบแพทย์ ผลการทำกิ จ กรรม ทำให้ ผู ้ สู ง อายุ ไ ด้ เ ห็ น ความสำคั ญ ในเรื่ อ งของสุ ข ภาพช่ อ งปาก

มีความรู้มากขึ้น และมีความต้องการการทำฟันที่นอกเหนือจากการถอนฟันด้วย

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ชมรมผู้สูงอายุบ้านโสก

18

ชมรมฯ มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ คือ ให้ความรู้ ด้านสุขภาพและทันตสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ เป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ให้ผู้สูงอายุ

มีส่วนร่วมดูแลเอาใจใส่สุขภาพกาย ใจ ของสมาชิก บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สังคม ให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ได้รับการใส่ฟันเทียมพระราชทาน และเกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และร่วมสร้างคุณค่า คุณประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และ สังคมอย่างยั่งยืน ชมรมผู้สูงอายุบ้านโสก จัดกิจกรรมเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้สมาชิก ได้แก่ ◆ ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพฟัน และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี ◆ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลคอนสวรรค์ ◆ การอบรมความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก เพื่อดำเนินโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ◆ แกนนำผู ้ สู ง อายุ ใ ห้ ค วามรู ้ / ทั ก ษะ เรื่ อ งการแปรงฟั น ที่ ถู ก วิ ธ ี ใ นโอกาสต่ า งๆ เช่ น วันพระ วันพบปะสมาชิก ◆ การแปรงฟันก่อนการออกกำลังกาย ชมรมผู้สูงอายุบ้านโสกมีการออกกำลังกายกันตอนเย็นสม่ำเสมอ จึงจัดกิจกรรมการสอน แปรงฟันในช่วงเวลาก่อนการออกกำลังกาย โดยโรงพยาบาลคอนสวรรค์ได้จัดทำโมเดลฟัน ทำจาก

ปูนพลาสเตอร์ขนาดเท่าช่องปาก ใช้เป็นโมเดลสาธิตการแปรงฟัน และการร้องเพลงแปรงฟันในชมรมฯ


ชมรมผู้สูงอายุคอนสวรรค์

ปัจจุบัน ชัยภูมิทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยรวมการทำกิจกรรมทันต สุขภาพในผู้สูงอายุเข้าด้วยกัน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ การป้องกันโรคใน

ช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม และการใส่ฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟันมาก กว่ า ๑๖ ซี่ ข ึ ้ น ไป ใน โครงการฟั น เที ย มพระราชทานและการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากผู ้ สู ง อายุ

ภายใต้กรอบแนวคิดว่า “เรามีฝ่ายทันตสาธารณสุข มีศูนย์สุขภาพชุมชน มีชมรมผู้สูงอายุร่วมทำกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง มีการประสานการทำงาน และมีคลินิกทันตกรรมเข้าไปร่วม เพื่อสร้างระบบบริการ

ให้มีการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ที่สำคัญคือ ให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองได้ ซึ่งจะ ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี และมีการขยายไปกลุ่มวัยอื่นต่อไป” ทุ ก ๆ ปี สำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด ชั ย ภู ม ิ จั ด แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ก ารทำงานส่ ง เสริ ม

สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ และเมื่อมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการจัดกิจกรรม เรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ไหน ก็จะพาแกนนำผู้สูงอายุเข้าไปร่วมกิจกรรม เพื่อให้โอกาสผู้สูงอายุ ได้พัฒนาทักษะ ความรู้ ด้วยตัวเอง สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุให้เป็นพื้นที่สำหรับการศึกษาดูงาน ตลอดจน เสนอแนะให้ผู้สูงอายุร่วมเป็นวิทยากรในการประชุม หรือการนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ด้วย

นวัตกรรมสร้างกระแส

เมื่ อ มี ก ิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากขึ ้ น ในชมรมผู ้ สู ง อายุ สิ่ ง ที่ ต ามมาแทบจะใน

ทุกชมรมผู้สูงอายุ ก็คือ ผลผลิตจากการร่วมคิดร่วมทำ ซึ่งปรากฎเป็นนวัตกรรม ที่ช่วยสร้างกระแส

การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุขึ้นมา ทำให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ - ชมรมผู้สูงอายุบ้านหลุบโพธิ์ ทำไม้คนทา เป็นอุปกรณ์เสริมในการทำความสะอาด

ช่องปาก เกิดกระแสทำให้ผู้สูงอายุและชุมชนสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง - โรงพยาบาลคอนสวรรค์ คิดทำโมเดลฟัน เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุใช้ประกอบการสาธิต วิธีการแปรงฟัน ให้กับผู้สูงอายุ ในกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ - ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลคอนสวรรค์ ทำน้ำยาอมบ้วนปาก ให้ผู้สูงอายุใช้ในการดูแล สุขภาพช่องปาก

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ชมรมนี้ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลคอนสวรรค์ เมื่อเริ่มตั้งชมรม ได้มีการจัดทำกองทุนแปรงสีฟัน ยาสีฟัน ขายบ้าง แจกบ้าง แกนนำผู้สูงอายุได้รับการอบรมความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ทำให้แกนนำ สามารถนำความรู ้ ไ ปสอนผู ้ สู ง อายุ ด ้ ว ยกั น ในโครงการเพื่ อ นช่ ว ยเพื่ อ น สอนวิ ธ ี ก ารแปรงฟั น ใน

วันเทศกาลสำคัญ ตลอดจน ร่วมกิจกรรมกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เล่านิทานในศูนย์เด็กเล็ก คุณหมอวรพงษ์ แสงชัยสุวรรณ โรงพยาบาลคอนสวรรค์ เล่าว่า สิ่งที่ทีมงานทันตสาธารณสุข ทุ่มเทให้ชุมชนคอนสวรรค์ คือ โครงการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เห็นใจผู้สูงอายุที่ต้องเข้ามาในเมืองเพื่อ พบแพทย์ จึงมีการออกพื้นที่เพื่อให้คำแนะนำ และตรวจสุขภาพทั่วไป พร้อมบันทึกประวัติคนไข้

อย่างใกล้ชิดว่า ต้องทำการรักษาอะไรบ้าง นัดมารับบริการที่โรงพยาบาล และเปิดช่องทางพิเศษ สำหรับผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุสามารถติดต่อเข้ามาจองคิวรับบริการเป็นผู้ป่วยพิเศษได้ทันที

19


จังหวัดราชบุร ี

นัดพบ...ที่ “ท่านัด” “ท่านัด” เป็นตำบลเล็กๆ ตำบลหนึ่งในเขตอำเภอดำเนินสะดวก มี ๘ หมู่บ้าน ประชากร ๘,๙๐๐ คน เป็นชาวสวนผลไม้ สวนองุ่น เศรษฐกิจค่อนข้างดี จะว่าเมืองก็ไม่เมือง ชนบทก็ไม่ชนบท

เป็นชนบทแบบใกล้เมือง มีความอบอุ่นแบบชาวสวน ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัดก่อตั้งขึ้นปลายปี ๒๕๔๕ โดยการนำของสถานีอนามัยตำบล

ท่านัดนำผู้สูงอายุมาประชุมพูดคุยกัน และก่อตั้งเป็นชมรมผู้สูงอายุขึ้น โดย “… แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ระยะแรก ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุราชการแล้ว มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลท่านัด มาเป็น

คณะกรรมการฯ มีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเป็นที่ปรึกษา ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ ๒๙๐ คน ...”

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

จุดกำเนิด กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ

20

ศู น ย์ อ นามั ย ที่ ๔ ราชบุ ร ี โดย คุ ณ หมอวรศั ก ดิ์ ชิ น รุ่ ง โรจน์ และคุ ณ หมอยุ ้ ย

(ทพญ.ดลฤดี แก้วสวาท) นำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุเข้าสู่อำเภอดำเนินสะดวก ราชบุรี มุ่งหาพื้นที่ชมรมผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็ง และที่นี่ … ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัด มีชื่อเสียง

ด้านการทำกิจกรรมชมรมฯ และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมาก่อน จึงได้รับการคัดเลือกให้ได้มาเรียนรู้ และนำร่องทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้ผู้สูงอายุในโครงการนี้ หมอฮุย หรือคุณกรรณิการ์ ชุติพงศ์ศาศวัต นำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุ เข้าสู่ชมรมฯ หมอฮุยเป็นนักวิชาการสาธารณสุขที่ทำงานแบบองค์รวม งานทุกอย่างเธอ

รู้ทิศทาง และแนวทางการทำงานอย่างดี รวมทั้งเรื่อง การให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก หมอฮุย

บอกว่า “… สสจ.ราชบุรี จัดอบรมเรื่องฟันให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบ่อย ไม่ว่าจะมีกิจกรรมอะไร

คุณหมอก็จะมีการแทรกเรื่องฟันทุกที หมอฮุยบอกว่า ‘พูดจนเข้าหู ฝังอยู่ในหู’ ถึงเจ้าหน้าที่อนามัย จะไม่ใช่ทันตาภิบาล ก็จะมีความรู้เรื่องนี้ไปด้วย ตอนนี้ ความรู้เรื่องฟันซึมเข้าไปแล้ว” ทำให้เธอ มีความมั่นใจ เรื่อง การให้ความรู้เรื่องฟัน เธอนำกิจกรรมนี้มานำร่องที่ชมรมผู้สูงอายุท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เพราะว่า ที่นี่เป็นที่รวมของผู้สูงอายุที่มีความสามารถ เป็นอดีตข้าราชการ เคยเป็นครู เป็นนายทหาร อากาศ เป็นผู้นำชุมชน จึงมีแนวคิดให้ผู้สูงอายุเป็นแกนนำ ผู้สูงอายุที่มีความรู้ สามารถช่วยกันคิด และ ทำกิจกรรมต่อในชมรมฯ ได้ โดยเริ่มต้นจากกระบวนการกลุ่ม ให้ผู้สูงอายุช่วยกันคิดว่า กิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ควรจะมีเรื่องอะไร และความรู้ที่เขาอยากได้ในแต่ละ ปีจะมีอะไรบ้าง และได้ข้อสรุปกิจกรรมที่ผู้สูงอายุต้องการ คือ การตรวจสุขภาพ การออกกำลังกาย การให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่ ทั้งเรื่องสุขภาพ และสุขภาพช่องปาก การสนับสนุนกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ที่นี่มีสม่ำเสมอ โดยมีการเวียนเป็นเจ้าภาพเลี้ยง อาหารผู้สูงอายุเป็นประจำทุกเดือน ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด

มีสวัสดิการ รถรับ-ส่งผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม และ PCU ท่านัด สนับสนุนด้านสถานที่ สิ่งอำนวย ความสะดวก ในการให้ ค วามรู ้ และบริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ ทำให้ ช มรมผู ้ สู ง อายุ ม ี ก ารทำ

แผนกิจกรรมตลอดปี


แกนนำผู้สูงอายุร่วมทำกิจกรรม ตามโครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ

ช่องปากผู้สูงอายุ โดย ◆ บุคลากรสาธารณสุขให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก และการดูแลรักษา ◆ ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยใช้แบบฟอร์มที่สถานีอนามัยจัดทำขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุรู้จักสุขภาพช่องปากตนเอง และไปรับการดูแลรักษาต่อ ◆ ขึ ้ น ทะเบี ย นเข้ า โครงการฟั น เที ย มพระราชทาน โดย โรงพยาบาลดำเนิ น สะดวก

เปิดช่องทางการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านช่องปากทางด่วนให้กับสมาชิกชมรมฯ ◆ มี ก ารแปรงฟั น หลั ง อาหารกลางวั น ทุ ก ครั ้ ง ในวั น นั ด พบผู ้ สู ง อายุ ด้ ว ยกิ จ กรรม

แปรงฟัน ๕ นาที ตามเสียงเพลง ◆ มี ก ารตรวจความสะอาดหลั ง การแปรงฟั น และฝึ ก การแปรงฟั น สะอาด ถู ก วิ ธ ี โดยผู้สูงอายุอดีตข้าราชการครู ◆ กิ จ กรรมเค้ ก ก้ อ นสุ ด ท้ า ย เพื่ อ ลดการนำเค้ ก อวยพรวั น เกิ ด เป็ น ผลไม้ อ วยพร

วันเกิดแทน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับผู้สูงอายุ ด้วยการลดขนมหวาน ผลการจั ด กิ จ กรรมในปี แ รก เกิ ด ผลประโยชน์ กั บ ผู้ สู ง อายุ ม ากมาย อาทิ เ ช่ น

มีช่องทางลัดให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก และผู้สูงอายุร่วมกันหา

รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก “ง่ายๆ แค่นี้ ด้วยคติที่ว่า ปากเป็นประตูใจ เป็นประตูสู่สังคม ตอนนี้ ผู้สูงอายุของเรา เวลายิ้มฟันก็สวย ทั้งสวยด้วยฟันเทียม และสวยด้วยฟันจริง นี่คือ วิธีการดำเนินงานง่ายๆ ของเรา”

ปีที่สอง (๒๕๕๐) … “ร่วมมือร่วมใจ อะไรก็ทำได้”

ชมรมผู้สูงอายุขยายการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อยอด ไปสู่ครอบครัว

เกิดกิจกรรมการประกวด “ปู่ย่า ตายาย และบุตรหลาน สุขภาพฟันดี ปี ๒๕๕๐” เป็นกิจกรรมที่ สามารถดึงคนในครอบครัวมาร่วมกันดูแลสุขภาพช่องปาก โดย รวมคน ๓ วัย ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ และลูกหลาน โดยมีเกณฑ์การประกวด ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) การให้ความรู้โดยให้ผู้สูงอายุ หรือบุคคลใน ครอบครัว ๒) การสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี และ ๓) การตรวจสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุจากชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัด เข้าร่วมเป็นกรรมการชมรมคนรักษ์ฟัน อำเภอ ดำเนินสะดวก ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วย ข้าราชการครูที่ยังรับราชการ และเกษียณอายุแล้ว

นายทหารเกษียณ สมาชิกเหล่ากาชาด อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชนทั่วไป เนื่องจากว่า การจัดตั้ง ชมรมคนรักษ์ฟันของอำเภอดำเนินสะดวก มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายชมรมผู้สูงอายุตำบล

ท่านัด ทำให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรม Walk rally กับชมรมคนรักษ์ฟัน เมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐

มีบทบาทไปเป็นผู้ให้ความรู้แก่นักเรียน และผู้ปกครอง ในเรื่อง การรักษาพยาบาล และการตรวจ สุขภาพช่องปากให้เด็ก และประชาชนทั่วไปด้วย

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

๔ ปี กับพัฒนาการ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เริ่มเมื่อปี ๒๕๔๙ ... “ปาก เป็นประตูใจ เป็นประตูสู่สังคม”

21


นอกจากนั้น กรรมการชมรมผู้สูงอายุจะเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากแก่สมาชิก ชมรม กระตุ้นให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และนำความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากไปให้

คำแนะนำแก่บุตรหลานในครอบครัวด้วย

ปีที่สาม (๒๕๕๑) … “กิจกรรมง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เหมาะกับผู้สูงวัย” เข้าสู่การให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม มีการเชื่อมโยงการให้บริการ

จากบุคลากรโรงพยาบาลดำเนินสะดวก มาจัดระบบเพื่อให้บริการผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคฟันผุ ทำให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงได้เข้ารับบริการการป้องกันโรคในช่องปาก ด้านการตรวจฟันและ การให้คำแนะนำ การทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ และการขูดหินน้ำลายเพื่อป้องกันโรคปริทันต์

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ปีที่สี่ (๒๕๕๒) … “สร้างคุณค่าในตนเองให้กับผู้สูงวัย”

22

เมื่อจังหวัดราชบุรีมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ ยิ้มสร้างสุข ๑๐ เมษายน ๒๕๕๒ เพื่อเป็น

การสร้างกระแสการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับประชาชน ด้วย slogan “ฟันเทียม สร้างรอยยิ้ม

สร้างความสุข” ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัดได้เข้าไปร่วมจัดกิจกรรม “ยิ้มสร้างสุข” ในฐาน ยิ้มกับ สุขภาพช่องปาก ด้วยการไปร่วมให้ความรู้ เรื่องการทำความสะอาดฟันแท้ ฟันเทียม การสาธิต

การทำน้ำยาบ้วนปากด้วยเกลือป่น และน้ำอุ่น รวมทั้งการทดสอบกลิ่นปากของตนเองด้วย นอกจากนั้น ผู้สูงอายุจากชมรมฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรม ในโครงการ “เล่านิทาน” เพื่อ

ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ในเด็กก่อนวัยเรียนด้วยเช่นกัน

ความสำเร็จของการดำเนินงาน

การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุตำบลท่านัด ประสบความสำเร็จได้ เพราะมีกระบวนการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนมี ๔ ระยะ คือ

ระยะแรก วางรากฐาน

ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัดมีการดำเนินกิจกรรมของผู้สูงอายุที่เข้มแข็งตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และพั ฒ นากิ จ กรรมต่ อ ยอดไปเรื่ อ ยๆ สิ่ ง ที่ เ หมาะสมสมาชิ ก จะดำเนิ น งานจนเกิ ด ความเคยชิ น

ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุเอง กระบวนการทำงานนั้น มีการร่วมกันวิเคราะห์ วางแผน

จากคณะกรรมการชมรมฯ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาศัยการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของบุคคล และหน่วยงาน ที่เข้ามาสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ ความรู้ และกิจกรรมที่ผู้สูงอายุต้องดำเนินการ โดยเริ่มดำเนินการกับสมาชิกชมรม และชุมชน ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ ๒ ปี

ระยะที่สอง การกระตุ้นกิจกรรม

ด้วยบทบาทของหมอฮุย ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยตำบล ท่านัด ที่สรรหากิจกรรมแปลกๆ ทำแล้วสนุกสนาน และเกิดประโยชน์กับสมาชิกมานำเสนอให้กับชมรม หรือสมาชิกชมรมนำเสนอขึ้นมาเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงงบประมาณเป็นหลัก มีกิจกรรมไหนที่สามารถ ดำเนินการก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ ก็จะลงมือทำเลย หรือกิจกรรมที่สามารถขอ


การสนับสนุนได้ ก็จะขอรับการสนับสนุน และกิจกรรมที่สมาชิกชมรมฯ เห็นพ้องต้องกันใน จัดทำกิจกรรมก็จะดำเนินการประกาศเป็นเป้าหมายของชมรมฯ ในการพัฒนาต่อๆ ไป

ระยะที่สาม การขยายกิจกรรม

เมื่อพื้นฐานของชมรมเข้มแข็งเพียงพอ มีกิจกรรมการดำเนินงานที่หลากหลายในแต่ละ เดือน จึงมีการขยายงาน ชมรมฯ ได้เริ่มทำในเรื่องของการให้บริการป้องกันโรคในช่องปาก ตามชุดสิทธิ ประโยชน์ทางทันตกรรม เชื่อมโยงกับบุคลากรโรงพยาบาลดำเนินสะดวก การเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรม คนรักฟัน อำเภอดำเนินสะดวก และการจัดกิจกรรมในโรงเรียน

ระยะต่อไป สืบทอด หรือการสร้างทีมงานในอนาคต

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัดมองเห็นว่า การดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ นั้น จะต้องมีผู้นำ หรือคณะทำงานที่เข้ามารับช่วงกันต่อๆ ไป จึงเริ่มรับสมาชิกวิสามัญเข้ามาช่วยงานในชมรมฯ และ

ส่ ง สมาชิ ก หรื อ แกนนำต่ า งๆ เข้ า ร่ ว มประชุ ม สั ม มนา หรื อ อบรม เพื่ อ เรี ย นรู ้ ก ิ จ กรรมใหม่ ๆ

อย่างสม่ำเสมอ

23


จังหวัดอำนาจเจริญ

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

“แก่อย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพ”

24

จังหวัดอำนาจเจริญ ทำกิจกรรมตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน โดยการใส่ฟันเทียม ให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยกระจายเป้าหมายให้ทันตแพทย์ในทุก

โรงพยาบาล (CUP) ดำเนินการ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีฟันใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และในปี ๒๕๕๐ มีความพยายามป้องกันการสูญเสียฟันแท้ โดยการให้บริการเชิงป้องกัน ตามชุดสิทธิประโยชน์ควบคู่ไปกับการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุเป็นรายบุคคล ด้วยการตรวจ สุขภาพช่องปาก ให้คำแนะนำ/ฝึกปฏิบัติดูแลช่องปาก การขูดหินน้ำลาย และการใช้ฟลูออไรด์วานิช ป้องกันรากฟันผุ การบริหารจัดการจะเป็นลักษณะเดียวกับการให้บริการฟันเทียมโดยพูดคุยกันกับ

ทีมทันตบุคลากรใน ๗ อำเภอ แล้วกระจายเป้าหมายให้ทันตแพทย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

ในระดับโรงพยาบาลและ รพ.สต. ดำเนินการ เป้าหมายของอำนาจเจริญ นอกจากการดูแล โดยการจัดบริการด้านสุขภาพช่องปาก

ที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุแล้ว ยังต้องการสร้างให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากได้ ด้วยตนเอง จากแนวคิดนี้ จังหวัดได้จัดประชุม โดยคัดเลือกผู้สูงอายุมาอำเภอละ ๒๕ คน เพื่อกระตุ้น ให้ชมรมผู้สูงอายุในแต่ละอำเภอ ได้มาร่วมเรียนรู้การจัดกิจกรรมสุขภาพช่องปาก ซึ่งประกอบด้วย

การประกวดสุขภาพทั่วไป สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ การแสดงนวัตกรรมและสาธิตการดูแลสุขภาพ

ช่องปาก และการแสดงกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆสำหรับผู้สูงวัย ชมรมที่รับไป จนสร้างผลงานได้ชัดเจน เป็นชมรมแรกๆ ที่จะนำเสนอคือ ชมรมผู้สูงอายุตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ ที่ซึ่งมีคำขวัญว่าผู้สูงอายุ ที่นี่จะต้อง “แก่อย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพ”

บริบทของพื้นที ่

ตำบลเปือยเป็นชุมชนที่โดดเด่นในเรื่องความรัก ความสามัคคี มีความเป็นเครือข่าย

การพึ่งพา และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทำให้สามารถทำงานด้วยกันเป็นทีมได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น

ภาคราชการในระดับจังหวัด อำเภอ หรือตำบล รวมไปถึงเทศบาลตำบล ซึ่งเป็นองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และภาคประชาชน อย่างเช่น ชมรมผู้สูงอายุ เป็นความโดดเด่นที่สร้างแรงดึงดูดให้ หน่วยงานต่างๆอยากเข้าไปสัมผัสและร่วมทำงานด้วย “ทีมงาน” ของเปือย ไม่ได้แค่มีองค์ประกอบครบถ้วน แต่แต่ละคนยังทำหน้าที่ตาม บทบาทที่ตนเองถนัดอย่างเต็มที่ เต็มศักยภาพ โดยมี “แรงบันดาลใจ” เป็นตัวผลักดัน แรงบันดาลใจที่ ต้ อ งการเห็ นผู้สูงอายุในชุมชนของตนมี สุ ข ภาพดี ทั ้ ง กายและใจ มี เ ป้ า หมาย มี จุ ด มุ่ง หวั ง ร่ว มกั น นอกจากนี้ ทีมงาน ยังมีลักษณะ “เปิดใจ” ยอมรับซึ่งกันและกัน เพราะมีจุดแข็งเรื่องความเป็นพี่น้อง รู้จักมักคุ้นกันเป็นทุนเดิม ทำให้การทำงานมีบรรยากาศที่ดี มีการเกื้อหนุนกันและกัน จึงมีจิตอาสาเข้า มาร่วมเป็นทีมงานมากขึ้น แม้จะแตกต่างหลากหลายอาชีพ ก็ไม่ใช่อุปสรรค


จุดเริ่มต้น

บ้านเปือยเริ่มทำกิจกรรมด้วยการค้นหาชุมชนก่อน เมื่อรู้ว่าเขาทำอะไรเป็น กิจวัตร ประจำวัน หรือนาฬิกาชีวิตของชุมชนเป็นอย่างไร จึงเข้าไปทำตัวให้สอดคล้อง ไปร่วมกิจกรรมด้วย เช่น ออกกำลังกายตอนตี ๕ เข้าไปแทรกซึมจุดประกายขยายความคิด บอกสิ่งที่คิดจะทำและเป้าหมาย

ที่จะเดินไปให้ได้รับรู้ร่วมกัน เมื่อทุกคนเอาด้วย จึงเริ่มปฏิบัติการ ติดอาวุธทางปัญญา ด้วยการอบรม

ความรู้ด้านวิชาการ ฝึกทักษะการควบคุมคราบจุลินทรีย์ การใช้สีย้อมฟัน ฝึกการตรวจฟันด้วยตนเอง เพื่อทำให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองได้ และมีการพัฒนาต่อเนื่อง เป็นระยะ ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในทุกโอกาส นอกจากนี้ยังมองต่อไปถึงการเชื่อมโยงกับระบบการให้บริการในคลินิก ให้กับผู้สูงอายุ ในชุมชนเป็นกรณีพิเศษด้วย

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

สำหรั บ โรงพยาบาลลื อ อำนาจ เดิ ม งานสุ ข ภาพช่ อ งปากผู ้ สู ง อายุ มุ่ ง ไปที่ ก ารรั ก ษา พยาบาลเป็นหลัก เมื่อต้องการให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ภายใต้ศักยภาพของวัย เป็น ความท้าทาย ของการทำงานเชิงรุกในชมรมผู้สูงอายุก็เริ่มมองหาเครือข่ายใกล้ชุมชน โดยมีสถานี อนามัยบ้านเปือยเป็นตัวเชื่อมคนทำงานกับพื้นที่ ผู้สูงอายุในชมรมบ้านเปือย มีความคิดว่า ด้วยวัยที่สูงขึ้น นอกจากความต้องการสร้าง สุขภาพดีให้กับตนเองแล้ว ยังอยากทำอะไรคืนให้กับสังคมในช่วงบั้นปลายชีวิต ดังนั้นนอกจากจะมี

การรวมกลุ่มกันออกกำลังกายทุกเช้าอย่างสม่ำเสมอ โดยมีสมาชิกชมรมหมุนเวียนกันเป็นคนนำออก

กำลังกายทั้ง ไม้พลอง แอโรบิค ไทเก้ก ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ตี ๔ ถึงตี ๕ ที่ศาลาวัด แล้วยังมีการนำ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นความรู้ติดตัวผู้สูงอายุมาหลายรุ่นถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ นอกจากนี้ ด้วยลักษณะเฉพาะของประธานชมรม คือ “พ่อเกิด” ซึ่งเป็นครูเกษียณอายุราชการ เป็นผู้ทำงาน

เพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพ มีวาทศิลป์ในการพูด มีศิลปะในการนำ เป็นจุดแข็ง ที่ทำให้ทุกคนมีความสุขเมื่อได้ทำงานด้วย สมาชิกไว้วางใจ ให้ความร่วมมือ มีขวัญกำลังใจ ที่จะทำงานให้สำเร็จไปด้วยกัน และสิ่งสำคัญที่พ่อเกิดยึดถือมาโดยตลอด คือ การให้เกียรติเพื่อน

ร่วมงานด้วยความจริงใจ และทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ในส่วนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเปื อยมีทัศนคติ

เชิงบวกกับงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ มองว่า ผู้สูงอายุ คือ ปูชนียบุคคลที่ต้องให้การยกย่องดูแล เมื่อมี เทศกาลงานบุญประเพณี เทศบาลจะเข้าร่วมกิจกรรม ให้ความอนุเคราะห์ เรื่องพาหนะ การเดินทาง และงบประมาณที่จัดสรรจากกองทุนสุขภาพ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็น ประจำทุกปี ปีละ ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นงบประมาณสำหรับการทำกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การจัดประชุมอบรมให้ความรู้ สร้างขวัญกำลังใจ รวมถึงการทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานการทำงาน

ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ ในระบบการทำงานด้านทันตสาธารณสุขในภาพรวมของจังหวัด สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลกิจกรรมสม่ำเสมอ โดยการวางแผน กำกับ ติดตามประเมินผล ประสานงาน รวมถึงจัดการฐานข้อมูลสนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการให้ สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้

25


ผลที่ได้

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ผู้สูงอายุบ้านเปือยได้สร้างข้อตกลงร่วมกัน คือ จะแปรงฟันทุกวัน วันละ ๒ ครั้ง เช้าและ ก่อนนอน และจะมีกิจกรรมกลุ่มเป็นระยะ โดยการแปรงฟันร่วมกันทุกวันศุกร์ และมีการนำนวัตกรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน อันได้แก่ ผงขัดฟันสมุนไพร น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร และไม้ขัดฟันทำจากไม้ข่อย

มาใช้ด้วย มีกิจกรรม เพื่อนคู่หูดูแลฟัน ด้วยการจับคู่ตรวจฟัน แนะนำกันและกัน มีกิจกรรมเพื่อน ช่วยเพื่อน โดยเยี่ยมเยียนแนะนำสุขภาพถึงบ้าน โดยที่ผู้สูงอายุจิตอาสาออกเยี่ยมบ้านเพื่อนผู้สูงอายุ

ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จัดกิจกรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพ และสุขภาพช่องปากของตนเอง โดย เป็นผู้สูงวัยอ่อนหวาน อ่อนเค็ม อ่อนมัน มีการรวมกลุ่มสาธิตทำอาหารอ่อนหวาน ทำน้ำข้าวโพดผสม ถั่ ว แดงหลวง น้ ำ มะตู ม เพื่ อ สุ ข ภาพ เพื่ อ กระตุ ้ น ให้ ผู ้ สู ง อายุ บ ริ โ ภคอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพ เหมาะสม

ตามวัย ลดการบริโภคน้ำตาล รวมทั้งปลูกจิตสำนึกรักฟันแก่ลูกหลาน ด้วยการลดการรับประทาน

น้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ ผลที่ได้ นอกจากการมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นแล้ว ชมรมผู้สูงอายุยังมีการทำงานกับ

ภาคส่วนอื่นๆเกิดความเชื่อมโยงกับปราชญ์ท้องถิ่น ได้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาเผยแพร่ ทำให้ผู้สูงอายุ

มีความภูมิใจ มีความสุข และกล้าแสดงออก

26


บทเรียนรู้จากการทำงาน ที่บ้านเปือย

คุ ณ เอื ้ อ งอรุ ณ สมนึ ก ทั น ตบุ ค ลากรโรงพยาบาลบ้ า นเปื อ ย เล่ า ถึ ง สิ่ ง ที่ เ รี ย นรู ้

จากกระบวนการทำงาน ที่ส่งผลให้ลืออำนาจเกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่ดำเนินการโดย ชมรมผู้สูงอายุว่า การทำงานกับชุมชน ต้องยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนให้เกิดสภาพคล่องตัวที่สุดในการ ทำงาน นอกจากนั้น ยังต้องเรียนรู้ องค์ประกอบเหล่านี้ อันได้แก่ ๑. การค้นหา “ตัวจริง” และ “ตัวตน” ของชุมชน “ตัวจริง” ในที่นี้ คือผู้นำ แกนนำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน คือตัวขับเคลื่อนตัวหลักที่

จะมาทำงานร่วมกันให้ได้พูดคุยแนวคิด หาโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งให้กำลังใจกัน และกันอย่างต่อเนื่อง จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่เน้นการทำงาน

เชิงรุกเพื่อป้องกันมากกว่างานรักษา “ตัวตน” หาศักยภาพของชุมชนและความถนัดของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วยการใช้

เครื่องมือช่วยในการสืบค้น ได้แก่ แผนที่เดินดิน หรือฐานข้อมูลในชุมชน วิเคราะห์ชุมชน ๒. การทำงานเป็นทีม ร่วมกับผู้อื่น ควรจะทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้อื่นและ

มีหลักการทำงาน ในที่นี้ ใช้หลักสามประสาน ได้แก่ (๑) ประสานพลัง คือ ผนึกพลังความต่าง

อย่างสมดุล ร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ (๒) ประสานใจ คือ ใช้สะพานเพื่อประสานใจ คนต่อคน และ คนต่อสังคม และ (๓) ประสานสุข คือ การช่วยเหลือเกื้อกูล บูรณาการให้เกิดความเท่าเทียม และ

หลักสามครอง คือ การรู้จักครองตน ครองคน และครองงาน ๓. การทำงานต้องใช้กลยุทธ์หลากหลายผสมผสานกัน ได้แก่ (๑) มีแผนที่ดี มีความ

ยืดหยุ่น แต่ต้องไม่หย่อนยาน (๒) สร้างแรงจูงใจให้มีความรู้สึกอยากเข้าร่วมทำกิจกรรม ภายใต้เงื่อนไข บริ บ ทที่ เ หมาะสมกั บ พื ้ น ที่ และกลุ่ ม เป้ า หมาย (๓) มี เ ป้ า หมายการทำงานที่ ชั ด เจนร่ ว มกั น เช่ น

การมีสุขภาพกายใจที่ดี

ท้ายสุด คือ ความยั่งยืน

“... ความที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สนิทสนมกันเป็นทุนเดิม จึงมีการพบปะกันเป็นประจำ เมื่อมี เรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพฟันและช่องปากเป็นอีกหนึ่งหัวข้อของการพูดคุย สมาชิกชมรมหลายคนจึงเริ่ม ที่จะหันมาใส่ใจดูแลกัน บ้างบอกเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหรือแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่เพื่อนให้รับทราบ บ้างช่วยเป็นธุระดูแลหยูกยากระทั่งพาเพื่อฝูงที่เจ็บไข้ส่งโรงพยาบาล ... การรวมกันเป็นกลุ่มจึงเปรียบ เหมือนแรงสนับสนุนให้การอยู่ร่วมของผู้คน มีบรรยากาศที่เป็นมิตรและน่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งหากภาวะเช่นนี้ ได้รับการปลูกฝังให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน หรือเป็นตัวอย่างในโรงเรียนได้ คุณค่าของการเป็น

ผู้สูงอายุ จะอีกหนึ่งแรงอัดฉีดที่นำไปสู่การมีชีวิตที่ยืนยาวของผู้สูงอายุในสังคมไทย ...” นอกจากนี้ การมีกรรมการชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง มีสมาชิกหลากหลายอายุ สามารถ สืบทอดการทำงานกันได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นต้นทุนสำคัญที่ช่วยตอบคำถามเรื่องความยั่งยืนในการ ทำงานดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในพื้นที่แห่งนี้ได้

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

27


จังหวัดตราด

แหลมงอบ..นำร่องผู้สูงอายุสุขภาพช่องปากดี

ตราดเป็นจังหวัดในภาคตะวันออก ติดอ่าวไทย มี ๗ อำเภอ การให้บริการด้านสุขภาพ ช่องปากสำหรับผู้สูงอายุมีเพียงการรักษาตามอาการ ตามมาด้วยการให้บริการฟื้นฟูสภาพโดยการ

ใส่ฟันเทียมตามนโยบายในปี ๒๕๔๘ และ จากการติดตามดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดของศูนย์อนามัยที่ ๓ ชลบุรี ที่คาดหวังอยากเห็นระบบการบริการสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีความยั่งยืน มากกว่าการรอรับ บริการจากบุคลากร จึงเข้ามาจุดประกายให้พื้นที่เห็นความสำคัญของการสร้างกำลังหลักจากชมรม

ผู้สูงอายุ ให้มีการเพิ่มพูนศักยภาพ เพื่อสร้างกิจกรรม พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เหมาะสมกับ

การดูแลสุขภาพ

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

บริบท และต้นทุนทางสังคม ของจังหวัดตราด

28

จังหวัดตราด มีกลุ่มนักคิด นักพัฒนาในหลายวงการ เช่น วงการพัฒนาชุมชน สังคม

มีท่านพระครูสุบิน ปณิโต ผู้บุกเบิกและก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์แบบชีวิตพอเพียง เป็นต้นแบบ

การจัดสวัสดิการชุมชนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ มีองค์กรชุมชน-เครือข่ายภาคประชาชนที่เข็มแข็ง โดยเฉพาะกลุ่มชมรมผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในจังหวัดแบบ “มีสิทธิ มีเสียง” มีองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น ที่มีนโยบายในภาพรวมของจังหวัดสำหรับกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ ที่ชัดเจนและเป็น

รูปธรรม โดย อบจ.ตราด สนับสนุนงบประมาณการสร้างอาคาร เพื่อการรวมกลุ่มสร้างสรรค์กิจกรรม ของผู้สูงอายุ ที่เรียกว่า “สถานที่เอื้ออาทรผู้สูงอายุ”ขึ้นในทุกอำเภอ อำเภอแหลมงอบ เป็ น อำเภอที่ ม ี ทั ้ ง ไทยพุ ท ธและมุ ส ลิ ม อาศั ย อยู่ ร่ ว มกั น ประชากร

มี เ ศรษฐานะค่ อ นข้ า งดี และที่ ส ำคั ญ คื อ ที ม สุ ข ภาพในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม

สุขภาพตำบล บุคลากรในทีมเป็นคนพื้นที่ เติบโต และทำงานในพื้นที่มาโดยตลอด และด้วยวิสัยทัศน์ ของโรงพยาบาลแหลมงอบ ที่ ต ้ อ งการเป็ น ผู ้ น ำเครื อ ข่ า ยการสร้ า งสุ ข ภาพ และด้ ว ยพั น ธกิ จ

ที่ต้องการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีคุณภาพ สนับสนุนการจัดบริการ เพื่อมุ่งสู่การสร้าง สุขภาพที่ดี โรงพยาบาล รู้และเข้าใจสภาพปัญหา รู้ว่าประชากรผู้สูงอายุที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งอำเภอ ทำให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระงานที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดย เฉพาะงานบริการเชิงรับ ซึ่งนับวันจะล้นมือและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด และ

การทำงานจากการตั้งรับด้วยการรักษาแบบเดิม ในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว มาเป็นเชิงรุก ที่เน้น การส่งเสริม ป้องกัน และให้ชุมชน หรือประชากรกลุ่มเป้าหมายได้เข้ามามีส่วนร่วม จึงจะเกิดความ

ยั่งยืนในการพัฒนาสุขภาพได้

จุดเริ่มต้นที่สำคัญ : ความมุ่งมั่นและตั้งใจ ของคนแหลมงอบ เมื่ อ บุ ค ลากรในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำบล รู้ แ ละเข้ า ใจ สภาพปัญหา เห็นพ้องต้องกัน ว่าจะต้องดำเนินงานเชิงรุก จึงได้วางแผนขับเคลื่อนกิจกรรม โดย

ตั้งเป้าหมายการดำเนิน ๒ ประการ คือ


บทบาทที่สนับสนุนกัน ของภาคีเครือข่าย

เมื่อชมรม/ชุมชน ท้องถิ่น ทีมงานในพื้นที่/หน่วยสนับสนุนระดับจังหวัดและเขต มีการ ทำงานร่ ว มกั น แล้ ว เพื่ อ ให้ เ กิ ด ระบบการดำเนิ น งานที่ ชั ด เจนและต่ อ เนื่ อ ง จึ ง ได้ ว างบทบาทของ

แต่ละหน่วยให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และสนับสนุนกันและกันได้อย่างต่อเนื่อง โดย ศูนย์ประสานงานหลักจะอยู่ที่โรงพยาบาลแหลมงอบ เป็นผู้ประสานงานกับชมรมผู้สูงอายุ สื่อสารสร้างกระแส ปรับระบบบริการ จากเดิมที่เน้นการรักษาและฟื้นฟู จะเพิ่มในเรื่องของการส่งเสริม ป้องกัน โดยบูรณาการร่วมไปกับงานอื่นๆ เช่น เวชปฏิบัติครอบครัว คลินิกผู้ป่วยเบาหวาน ให้มากขึ้น พร้อมสนับสนุนทรัพยากรให้กับหน่วยงานในพื้นที่

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

๑. ต้องการให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างเหมาะสม ๒. ต้องการให้เกิดระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน จากนั้นจึงคุยกับเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว โดยผ่านผู้รู้จักช่วยประสานให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ ทุกคนเห็นด้วย เพราะทำเพื่อ สังคม เพื่อบ้าน เมื่ อ นำแนวคิ ด ไปคุ ย กั บ แกนนำชมรม ซึ่ ง เป็ น บุ ค คลสำคั ญ คุ ณ ลุ ง ทองหล่ อ วรฉั ต ร ประธานชมรมผู้สูงอายุอำเภอแหลมงอบ คุณลุงทองหล่อให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ คุณลุงกล่าวว่า “ปัจจัยที่ทำผู้สูงอายุให้ความร่วมมือโครงการนี้เพราะเป็นโครงการที่ทำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ

ผู้สูงอายุอย่างแท้จริง และหากผู้สูงอายุไม่สนใจจะดูแลสุขภาพด้วยตนเอง แล้วใครจะมาดูแลให้ ดังนั้น

ผู้สูงอายุจึงต้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ด้วยตนเอง” แหลมงอบ จึงได้ประสานคุณหมอดำรง ธำรงเลาหพันธ์ จากศูนย์อนามัยที่ ๓ ชลบุรี

มาให้ ค วามรู ้ และจั ด กระบวนการจุ ด ประกายความคิ ด เพื่ อ กระตุ ้ น ให้ ผู ้ สู ง อายุ เ ห็ น ความสำคั ญ

เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเอง ร่วมกันคิดร่วมกันวางแผน ว่าจะทำกิจกรรมอะไร/อย่างไรใน กับชมรม แต่ละชมรมที่เข้าประชุม ได้ร่วมกันวาดฝันลงบนผืนผ้าและนำเสนอ ครั้งนั้น มีแกนนำ

ผู้สูงอายุ มาร่วมดำเนินการ จาก ๔ ตำบล ตำบลละ ๕ คน รวม ๒๐ คน บอกว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เน้น กิจกรรมนันทนาการเป็นหลัก จึงร่วมกันวางแผนเอากิจกรรมนันทนาการมาประยุกต์ใช้ สอดแทรก ความรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะให้ช่องปากของผู้สูงอายุดี ได้กิจกรรมที่ผู้สูงอายุคิดและออกแบบกันเอง เช่น ตำบลคลองใหญ่ ทำเรื่องการรำกระบี่กระบองและแปรงฟันก่อนรำ ตำบลน้ำเชี่ยวเป็นเจ้าพ่องอบ

ขอรำงอบ ที่ตำบลแหลมงอบ ขอรำไทย เป็นรำไทยฟันดี และที่ตำบลบางปิดมีเอกลักษณ์ การเล่นละคร พื้นบ้าน คือ ละครชาตรี จึงมีการเล่นละครชาตรีให้ผู้สูงอายุดู เป็นต้น และสิ่งที่ชมรมผู้สูงอายุคิดจะทำกันต่อเนื่อง คือ การไปเยี่ยมไปแนะนำการดูแลสุขภาพ ช่องปากแก่ผู้สูงอายุในแต่ละตำบล ที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต อยู่ติดบ้าน ไม่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมได้ ไม่มีโอกาสได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก

29


หน่วยบริการในพื้นที่ (PCU) รับผิดชอบการจัดบริการ ประสานการดำเนินงานกับผู้สูงอายุ ในพื้นที่ โดยทำงานเป็นทีมร่วมไปกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย และอาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองท้องถิ่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ

ท้องถิ่นในเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประสานงาน และการสื่อสารสาธารณะ ชมรมผู ้ สู ง อายุ ด ำเนิ น การกิ จ กรรมในชมรมผู ้ สู ง อายุ ถ่ า ยทอดความรู ้ ภู ม ิ ปั ญ ญา

สร้างสรรค์นวัตกรรม และการประสานกับสมาชิก

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ผลการดำเนินงาน

30

ตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมา เกิดภาพความสำเร็จในพื้นที่ ๔ ด้าน ดังนี้ ๑. ด้ า นต้ น ทุ น และปั จ จั ย นำเข้ า มี “การมองหา” และนำต้ น ทุ น มาเชื่ อ มประสาน

เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเขตและพื้นที่ ซึ่งมีกลไกเครือข่ายที่เข็มแข็งอยู่แล้ว มีการเชื่อมประสาน

เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน ทั้งในภาครัฐ ผู้นำชุมชน ผู้นำชมรมผู้สูงอายุ โดยมี องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน ๒. ด้านระบบ เกิดการพัฒนาระบบบริการที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคใน

ช่องปากและฟัน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ ๓. ด้ า นกระบวนการมี ก ารให้ บ ริ ก าร มี ก ารดำเนิ น การครบวงจร ได้ แ ก่ บริ ก าร

ใส่ฟันเทียม การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และการให้บริการทันตกรรมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ และมีการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร และแกนนำผู้สูงอายุ โดยการจัดเวที/กิจกรรมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ที่หลากหลาย ๔. ด้านผลลัพธ์ เกิดผลลัพธ์ในระดับพื้นที่ ได้แก่ ๔.๑ มีการสร้างและขยายชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากทั้งสิ้น ๕ ชมรม ใน ๔ ตำบล กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุมีหลายรูปแบบ โดยทุกชมรมจะมีการฝึกแปรงฟันที่ ถูกวิธี มีการแปรงฟันร่วมกันทุกครั้งในการประชุมประจำเดือน เช่น ชมรมโรงพยาบาลแหลมงอบมีการ แปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ตำบลน้ำเชี่ยวและตำบลธรรมชาติบนจะมีกิจกรรม แปรงฟันหลังรับประทานอาหารว่าง ส่วนตำบลบางปิด ไม่มีอาหารเลี้ยง ก็จัดกิจกรรมแปรงฟันก่อน กลั บ บ้ า นหลั ง เจอกั น มี ก ิ จ กรรมเยี่ ย มบ้ า นผู ้ สู ง อายุ โ ดยผู ้ สู ง อายุ ใ นโครงการเพื่ อ นเยี่ ย มเพื่ อ น

ที่กระจายกันออกไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสได้พบ เพื่อน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เยี่ยมและผู้ถูกเยี่ยม และเป็นการสร้างเสริมกำลังใจให้

ผู้สูงอายุที่บ้าน ๔.๒ เกิ ด นวั ต กรรมด้ า นสุ ข ภาพ โดยชมรมผู ้ สู ง อายุ บู ร ณาการงานสร้ า งเสริ ม

สุขภาพเข้ากับภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดละครชาตรี รำไทยฟันดี ที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้ เกี่ยวกับเรื่องทันตสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ความรู้และการสื่อสารสุขภาพ ๔.๓ ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดูแลตนเองสามารถถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจไป

สู่ผู้อื่นได้ เช่น ป้าเซี้ยะ เป็นวิทยากรและนักสื่อสารสุขภาพที่ดี บอกเล่าสื่อสารความรู้ ความเข้าใจ

ในการดูแลรักษาฟันให้แก่คนรุ่นหลัง เช่น เด็กและเยาวชน ด้วยเหตุผลที่บอกว่า “ป้าน่ะ ฟันไม่มีแล้ว ตอนนี้ใส่ฟันเทียม เหลือฟันแท้อยู่ ๕ ซี่ ก็เลยจะให้หลานๆ มีฟันดี” เกิดรูปแบบการสื่อสารความรู้

เผยแพร่และขยายผลความรู้ ทั้งโดยผู้สูงอายุสู่ผู้สูงอายุด้วยกันเอง จากผู้สูงอายุไปยังกลุ่มอื่น เช่น ครอบครัว กลุ่มเด็กที่ศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนประถมศึกษา ๔.๔ มีการสร้างกระแสเพื่อฟันดีเป็นระยะ ทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำอย่างต่อเนื่อง


บทเรียนที่ได้รับ

บทสรุป

การที่พื้นที่สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ ต้องอาศัยพลังแห่ง ปัญญาและความมุ่งมั่นตั้งใจของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรสาธารณสุข ผู้ที่มีองค์ความรู้ ทางวิชาการในด้านสุขภาพ ที่สำคัญคือกลุ่มชมรมผู้สูงอายุที่ได้ชื่อว่าเป็นคลังสมองของท้องถิ่น ที่ได้ สะสมภูมิปัญญามาชั่วอายุคน ดังนั้นการผสมผสานองค์ความรู้เชิงวิชาการของเจ้าหน้าที่ การดึงความรู้ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในเชิงสร้างสรรค์ และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิด นวัตกรรมด้านสุขภาพประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุอำเภอแหลมงอบได้ แสดงให้เห็นว่าถึงมีศักยภาพที่จะดูแลสุขภาพปากของตนเอง และความสามารถในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมสุขภาพ รวมทั้งศักยภาพในการทำเพื่อสังคม โดยการร่วมดูแลสุขภาพในกลุ่มอายุอื่นอีกด้วย

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

◆ การเตรี ย มการเพื่ อ ประสานงานกั บ หน่ ว ยงานอื่ น ในที่ น ี ้ คื อ องค์ ก รปกครอง

ส่วนท้องถิ่น ต้องศึกษาระบบและกลไกการทำงานของหน่วยงานนั้นๆก่อน เพื่อปรับแผนหรือกิจกรรม ให้สอดคล้อง เช่น การเสนอของบประมาณควรดำเนินการ ก่อนวาระการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ของท้องถิ่น ช่วงเมษายน และพฤษภาคม ของทุกปี เป็นต้น ◆ การขยายเครือข่ายชมรม โดย การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดอบรมพัฒนา ศักยภาพแกนนำผู้สูงอายุ เป็นกระบวนการที่ใช้กระตุ้นได้ดี เหมือนดังคำพูดของ ประธานชมรม แหลมงอบ คุณพ่อทองหล่อ วรฉัตร ว่า “... จากที่ได้ไปแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการดูแลช่องปากที่

โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ กรุงเทพฯ ได้ไปรับทราบ เรียนรู้ พูดคุยกับท่านที่เคยผ่านงานด้านนี้มา รู้สึกว่าได้ ประโยชน์เยอะ ... ถ้าหากว่าเราไม่มีการเริ่มต้น เราก็ไม่ได้มีการปฏิบัติ ... เมื่อได้มีโอกาสเริ่มต้น ก็นับว่า เป็นโอกาสดีที่ได้ไปเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และได้ความรู้มา” ◆ ในการทำงานเป็นภาคีเครือข่าย ทุกส่วนควรได้ร่วมรับรู้เป้าหมาย ร่วมทำความเข้าใจ และตกลงบทบาทของตนในการทำกิจกรรม โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุที่เป็นแกนหลักต้องเข้าใจบทบาท

ควรมีการสร้างแรงจูงใจและกำลังใจให้กับทีมโดย มีการศึกษาดูงาน มีการประกาศเกียรติคุณ ◆ การให้บริการสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ต้องบูรณาการงานทั้ง ๔ ด้าน คือ ส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น รั ก ษา ฟื ้ น ฟู ไปพร้ อ มๆกั น แต่ ก ารเน้ น ให้ ผู ้ สู ง อายุ รั บ รู ้ แ ละมี ส่ ว นร่ ว ม

รับผิดชอบสุขภาพตนเอง จะช่วยลดความแออัด และความซับซ้อนของบริการลง ส่งผลดีต่อผู้สูงอายุ มากกว่าการรักษาหลังเกิดโรค

31


จังหวัดสตูล

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

อาสานำร่องกิจกรรม...ผู้สูงวัย

32

สตูล จังหวัดเล็กๆ ทางภาคใต้ ติดชายแดน ไทย-มาเลเซีย ห่างจากกรุงเทพฯ ๙๗๓ กิโลเมตร การสัญจรมีเฉพาะทางรถยนต์ พื้นที่ติดต่อกับตรัง และพัทลุงบางส่วน เป็นพื้นที่ป่าเขา มี ๗ อำเภอ ๓๖ ตำบล ๒๗๙ หมู่บ้าน ๑ เทศบาลเมือง ๖ เทศบาลตำบล และ ๓๔ อบต. มีประชากรไม่มาก ประมาณ ๒๘๐,๐๐๐ คน จะมีชาวเลอยู่ด้วยที่หลีเป๊ะ ใกล้เกาะอาดัง มีผู้สูงอายุ ๓๑,๕๗๙ คน และ

มีแนวโน้มสูงขึ้น มีชมรมผู้สูงอายุ ๗๐ ชมรม สมาชิก ๖,๘๖๔ คน สาขาสภาผู้สูงอายุ ๑ แห่ง ผู้สูงอายุ

มีฟันแท้ที่ใช้เคี้ยวอาหารได้ ๒๐ กว่าๆ เปอร์เซ็นต์ ถ้าฟันแท้ฟันเทียม ก็เกือบ ๕๐% ประชากรนับถือ ศาสนาอิสลามเป็นส่วนมาก ๗๔% มีไทยพุทธรองลงมา ๒๕% ที่เหลือเป็นคริสต์และอื่นๆ การประกอบ อาชีพ ส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และประมง สถานบริการของรัฐ มีโรงพยาบาลทั่วไป ๑๘๖ เตียง ๑ แห่ง โรงพยาบาลชุมชน ๖๐ เตียง ๑ แห่ง ๓๐ เตียง ๔ แห่ง สถานีอนามัย ๕๔ แห่ง สถานีอนามัยที่มีทันตาภิบาล ๗ แห่ง หน่วยควบคุม

มาเลเรีย ๑ แห่ง ส่วนอำเภอมะนังยังไม่มีโรงพยาบาล อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลควนกาหลง ทันตบุคลากรมีทันตแพทย์ ๒๑ คน ทันตาภิบาล ๒๖ คน ผู้ช่วยทันตแพทย์ ๗ คน

ช่างทันตกรรม ๑ คน มีอัตราส่วนความรับผิดชอบต่อทันตบุคลากร ทันตแพทย์ ๑:๓,๖๔๖ ทันตาภิบาล ๑:๑๑,๐๒๒ และผู้ช่วยทันตแพทย์ ๑:๔๐,๙๓๙ หากมองถึงความพร้อมของการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สตูลอาจมี ความพร้อมไม่มากเท่ากับจังหวัดอื่น แต่ด้วยความตั้งใจ และความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อน ก็พบว่า สตูล ทำกิจกรรมได้ จนเห็นผลลัพธ์ความสำเร็จของโครงการ ทั้งในส่วนของการดำเนินงาน เป้าหมาย

ตลอดจนรายละเอียดของกิจกรรมที่ทั้งเจ้าหน้าที่ และชมรมผู้สูงอายุได้ร่วมกันจัดทำขึ้น สตู ล ทำกิ จ กรรมใส่ ฟั น เที ย มมาพร้ อ มๆ กั บ จั ง หวั ด อื่ น ๆ ได้ อ าสานำร่ อ งกิ จ กรรม

การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๒ โครงการ ได้แก่ โครงการป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม และโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ หรือชมรม ต้นแบบผู้สูงอายุ เมื่อมีผู้สมัครทำกิจกรรม จึงดำเนินการรวมโครงการทั้งสองที่รับมาเข้าเป็นโครงการเดียว ชื่อ โครงการเครือข่ายผู้สูงวัยร่วมใจดูแลสุขภาพช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุจังหวัดสตูล ปี ๒๕๕๑

เน้นการทำกิจกรรมโดยชมรมผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ คือ ◆ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดย ➧➧➧ สร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาดช่องปากแก่ผู้สูงอายุ ➧➧➧ จัดระบบบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามความจำเป็น ◆ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


๔ ลีลา ๔ หน่วยบริการสาธารณสุข … กิจกรรมปี ๒๕๕๑ ๔ หน่วยบริการสาธารณสุข ที่อาสาเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุ ได้แก่ สถานีอนามัยบ้านควน อำเภอเมือง เทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู โรงพยาบาล ควนกาหลง และโรงพยาบาลทุ่งหว้า ทำกิจกรรมที่ชมรมผู้สูงอายุสถานีอนามัยบ้านควน ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลกำแพง ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนกาหลง และชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลทุ่งหว้า สำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด สตู ล เริ่ ม กิ จ กรรม โดย ประชุ ม ชี ้ แ จงโครงการแกนนำ

ผู้สูงอายุ และชมรมผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมต่อ เพื่อที่จะได้จัดกิจกรรม เป็นแบบอย่าง และถ่ายทอดประสบการณ์ไปยังเครือข่ายอื่นๆ ต่อไป หลังการทำกิจกรรมแต่ละชมรม จังหวัดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุ เมื่อ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๑ เพื่อให้แกนนำ

ผู้สูงอายุที่ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ มาแลกเปลี่ยนการทำกิจกรรมซึ่งกัน และกัน พบมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลากหลายลีลา ตามบริบทของพื้นที่ ได้แก่

ลีลาที่ ๑ ชมรมผู้สูงอายุสถานีอนามัยบ้านควน ม.๔ ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง

วิสัยทัศน์สถานีอนามัยบ้านควน “... เป็นศูนย์บริการสุขภาพด่านแรกในชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐาน สร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ให้พึ่งตนเองได้ ...” พันธกิจ “... จัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านแรกในชุมชน แบบองค์รวมผสมผสาน

อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ และได้มาตรฐาน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ แก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยการมี

ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีและพึ่งตนเองได้ …”

ที่ น ี่ มี มั ส ยิ ด เป็ น ศู น ย์ ก ลางของหมู่ บ ้ า น เพราะบ้ า นควนเป็ น ถนนยาว ไปทางเหนื อ

และใต้ มัสยิดเป็นที่บัญชาการหลายๆ เรื่อง เช่น การประชุม ทำสมาคมขององค์การบริหารส่วนตำบล กิ จ กรรมศาสนกิ จ (ละหมาด) ๕ เวลา ๕ โมงเช้ า เที่ ย งครึ่ ง บ่ า ยสาม หนึ่ ง ทุ่ ม และสองทุ่ ม

ก่อนกลับบ้านจะมีการคุยกัน การทำบุญ ลงแขก รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของสถานีอนามัย พัฒนาชุมชน เกษตร ชาวบ้านพบปะกันทุกวันศุกร์ รวมทั้งกิจกรรมหาเสียง สำหรับมุสลิม เรื่อง

การออกกำลังกาย และการรื่นเริง จะไม่ค่อยเน้น สถานีอนามัยบ้านควนได้รับการการประเมิน รับรองมาตรฐานที่ทำงานน่าอยู่ระดับดีมาก มีห้องรักษาพยาบาล บริการ จันทร์-ศุกร์ เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รับเฉพาะฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีแรกของเดือน เป็นคลินิกความดัน เบาหวาน ห้องส่งเสริมจะเปิดทุกวันพุธ เป็นคลินิก

ฝากครรภ์ วันพฤหัสเป็นคลินิกวางแผนครอบครัว และวันอังคารที่สองของเดือน เป็น Well Baby Clinic

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

สถานีอนามัยบ้านควน ๒ อยู่ห่างจากโรงพยาบาลสตูล ๑๑ กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการ อำเภอเมือง ๗ กิโลเมตร รับผิดชอบ ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๔ และ หมู่ ๑ มี ๖๔๖ หลังคาเรือน ประชากร ๓,๕๔๐ คน โรงเรียนประถม ๒ แห่ง โรงเรียนสอนศาสนา ๑ แห่ง อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านควน ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนยาง ค้าขาย นับถือศาสนา อิสลาม ๙๗.๕๑%

พุทธ ๒.๔๙%

33


การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

34

ห้ อ งฟั น จะเปิ ด บริ ก ารทุ ก วั น จั น ทร์ - อั ง คาร วั น พุ ธ เปิ ด บริ ก ารให้ แ ก่ ห ญิ ง มี ค รรภ์ พฤหั ส และ

ศุกร์ ทำงานโครงการและวิจัย ชมรมผู้สูงอายุบ้านควน เป็นชมรม No name ไม่มีผลงานอะไรเลย แต่ทันตาภิบาลที่ PCU และที ม งานสถานี อ นามั ย บ้ า นควนอยากทำ จึ ง ร่ ว มทำกิ จ กรรมกั บ ทั น ตแพทย์ โรงพยาบาลสตู ล (ทพ.จิตรกร แก้วอุทัย) ที่ไปให้บริการรักษาทางทันตกรรมประจำที่สถานีอนามัย ใน โครงการเครือข่าย

ผู้สูงอายุร่วมใจดูแลสุขภาพช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุหมู่ ๑ และหมู่ ๔ บ้านควน และจัดกิจกรรมโดย ◆ ประชุมชี้แจงโครงการแก่ชมรมผู้สูงอายุ ◆ ให้ทันตสุขศึกษา หมู่ ๔ และหมู่ ๑ สำหรับผู้สูงอายุหมู่ ๔ ให้ความรู้โดยหัวหน้า สถานีอนามัย เนื่องจากผู้สูงอายุใช้ภาษายาวี ๑๐๐% หัวหน้าสถานีอนามัยจะเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องการ ดูแลสุขภาพช่องปาก เพราะว่าพูดภาษายาวีได้ ◆ ตรวจสุขภาพ วัดความดัน ตรวจเบาหวาน และให้ความรู้เรื่องสุขภาพ โดย พยาบาล ◆ ตรวจสุ ข ภาพช่ อ งปาก และให้ ค ำแนะนำการดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปาก โดยออกตรวจ

ตามหมู่บ้าน ◆ ให้บริการรักษาแก่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากในคลินิก เช่น ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน แก้ไขฟันปลอม ตัดแต่งเหงือก ถอนฟัน ทาฟลูออไรด์ ◆ ฝึ ก การแปรงฟั น และกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ มี ก ารย้ อ มสี ค ราบจุ ล ิ น ทรี ย์

ก่อนการแปรงฟัน พร้อมกันที่มัสยิด ทั้งหญิงชาย กิจกรรมที่ชมรมฯ คิดทำต่อ เมื่อได้รับความรู้ และการบริการจากบุคลากรสาธารณสุข คือ ◆ ผู้สูงอายุหมู่ ๔ จะมีการแปรงฟันก่อนการละหมาดทุกวันศุกร์ และผู้สูงอายุหมู่ ๑

จะมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันพร้อมกันในวันพบปะสมาชิกชมรมฯ ทุก ๒ เดือน และส่งเสริม

ให้สมาชิกแปรงฟันอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง ◆ ประกวดฟั น สวยในผู ้ สู ง อายุ เพื่ อ หาผู ้ สู ง อายุ ท ี่ ม ี สุ ข ภาพฟั น ดี โดย หั ว หน้ า สถานี อนามัยเป็นแกนนำลงไปทำผลการดำเนินงาน พบว่า บ้านควนทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน ชมรมผู้สูงอายุได้สำเร็จ และผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานในปีต่อไป คือ ◆ ทำที่วางแปรงสีฟันในมัสยิด และแจกแปรงสีฟัน ◆ ขยายเครื อ ข่ า ยไปที่ ช มรมอื่ น ๆ โดยแกนนำ และอาสาสมั ค รสาธารณสุ ข และ

ทำกิจกรรมเชิงรุกเข้าไปในกลุ่มก่อนวัย ๖๐ ปี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับที่จะเป็นผู้สูงวัย


ลีลาที่ ๒ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู (ชมรมไท้เก้ก) เป็นชมรมเมืองที่เข้มแข็งมาก อยู่ในเขตเทศบาล แต่ชมรมที่เข้มแข็งก็จะมีงานเยอะ ทำให้ เราต้องเข้าคิวทำกิจกรรม ชมรมนี้มีประธานเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องทันตสุขศึกษา ที่บ้านของประธานเอง โดยเปิดให้การปรึกษาตลอดเวลา และเวลามีกิจกรรมต่างๆ ประธาน และคณะกรรมการจะให้ความ สำคั ญ มาก ในเรื่ อ งของการดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปาก ทั ้ ง ในรถทั ว ร์ รถเมล์ และบู ร ณาการกิ จ กรรม

ตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไปของผู้สูงอายุ และตรวจสุขภาพช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ กิจกรรมที่ดำเนินงาน จะนัดผู้สูงอายุตามวันที่โรงพยาบาลนัดมา คือ อังคารที่ ๓ ของ เดือน และทำกิจกรรม ◆ โครงการ “ฟันดีที่บั้นปลาย” มีกิจกรรมเป็นฐาน ชี้แจงโครงการ และแบ่งกิจกรรม เป็นฐาน ได้แก่ ฐานที่ ๑ วัดความดัน ส่วนสูง ตรวจ BMI บันทึกในแบบฟอร์ม ฐานที่ ๒ ตรวจสุขภาพ

ช่องปาก ฐานที่ ๓ ให้ความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปาก และฐานที่ ๔ ให้ความรู้เรื่องการดูแล

ฟันเทียม ◆ ชมรมมีการออกกำลังกาย ไทเก้ก ตอนตี ๕ ครึ่งทุกวัน เราก็จะไปถ่ายภาพ คุยกับ

ผู้สูงอายุ และทำกิจกรรมร่วมกัน ◆ ให้ความรู้สมาชิกทางเสียงตามสายก่อนการออกกำลังกาย ◆ ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ ◆ ให้คำปรึกษาและพบปะสมาชิกที่บ้านประธานชมรมตลอดเวลา ◆ ตรวจสุขภาพทั่วไป แก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ◆ ตรวจสุขภาพช่องปากแก่ชมรมผู้สูงอายุ หลังจากออกกำลังกายเสร็จ ◆ ผู้สูงอายุตรวจตรวจฟันกันเอง ◆ การนัดขูดหินปูน ทาฟลูออไรด์ และเข้าคิวฟันเทียมต่อเนื่องที่โรงพยาบาล ◆ กิจกรรมต่อไป จะดำเนินการโดยไปเสริมกับกิจกรรมที่เขามีอยู่ เช่น โรงพยาบาลจะ มีกิจกรรมทุกวันอังคารที่ ๓ ของเดือนอยู่แล้ว ก็จะไปเสริมการให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก

ลีลาที่ ๓ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง

ประธานชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนกาหลงเป็นข้าราชการบำนาญ มีชื่อเสียง ได้รับ

โล่รางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับรางวัลผู้สูงอายุดีเด่น กิจกรรมของโรงพยาบาลควนกาหลง ไม่ถึงกับ

ต้ อ งเข้ า คิ ว แต่ ต ้ อ งรอเวลาความพร้ อ มทำกิ จ กรรมของผู ้ สู ง อายุ และก็ แ ทรกตั ว ได้ ใ นที่ สุ ด โดย

คุณหมอเบิร์ด จึงทำโครงการ “การตรวจสุขภาพในช่องปาก และการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรม

ผู้สูงอายุ” มีกิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ ◆ กิจกรรมในการประชุมชมรมผู้สูงอายุแต่ละเดือน ➧➧➧ ให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ➧➧➧ สอนการแปรงฟัน ➧➧➧ ย้อมสีคราบจุลินทรีย ์ ➧➧➧ กิจกรรมนันทนาการ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน และ การแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในชมรม ➧➧➧ ให้ผู้สูงอายุเล่าประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคน

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

35


◆ แปรงฟันพร้อมกันเดือนละ ๑ ครั้ง ◆ การตรวจสุขภาพ วัดความดัน ตรวจโรคเบาหวาน ◆ คั ด เลื อ กผู ้ สู ง อายุ ท ี่ ม ี สุ ข ภาพช่ อ งปากดี เป็ น ตั ว อย่ า งแลกเปลี่ ย นประสบการณ์

การดูแลทันตสุขภาพ ◆ เรื่องสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมของผู้สูงอายุ จะนัดผู้สูงอายุมาตรวจ ที่ รพ. และ จะเอามาเข้าโครงการเป็นสมาชิกใหม่ ผู้สูงอายุให้ความร่วมมือดี ส่วนใหญ่ชอบทำฟัน มีความต้องการใส่ฟันเทียม มีญาติรับส่ง และมาตามนัดเสมอ ถ้ามาไม่ได้ ก็จะมาหลังจากนั้น และขอนัดครั้งต่อไป

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ลีลาที่ ๔ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า

36

ทุ่งหว้าเป็นโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง อยู่ห่างตัวเมืองประมาณ ๕ กม. ติดอำเภอ

ประเหลียน จังหวัดตรัง มี ๕ ตำบล ๓๕ หมู่บ้าน สถานีอนามัย ๗ แห่ง ไม่มีทันตาภิบาลอยู่ประจำ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลทุ่งหว้าตั้งมาประมาณ ๑๕ ปี ช่วงหลังๆ จะมีกิจกรรม มีการรวมกลุ่มมากขึ้น

มีสมาชิก ๒๐๐ คน จะมีปัญหาเรื่องการเดินทาง และช่วงเทศกาลถือศีลอดของอิสลาม เนื่องจากที่นี่

มีอิสลาม ๘๐% การทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เสริมไปกับกิจกรรมที่ชมรมทำ อยู่แล้ว ได้แก่ การวัดความดัน ตรวจเบาหวาน เป็นการนำโครงการเครือข่ายผู้สูงวัยร่วมใจดูแลสุขภาพ ช่องปาก ซึ่งประกอบด้วย โครงการป้องกันโรคในช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม และ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เข้าเสริมทำกิจกรรมในชมรมฯ ประธานชมรมฯ และแกนนำดำเนินกิจกรรมโดย ประชุมปรึกษาหารือกับอาสาสมัคร สาธารณสุข และทันตบุคลากร ช่วยกันคิดกิจกรรม ทำเรื่องการแปรงฟัน และการรับประทานอาหาร จากนั้น ประธานชมรมผู้สูงอายุได้แจ้งให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้ทราบ และกำหนดนโยบายการ

ส่งเสริมสุขภาพประเด็น “ผู้สูงวัยไม่กินหวาน” และทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ ในช่วงที่ ชมรมผู้สูงอายุทำกิจกรรม เดือนละ ๑ ครั้ง ในวันอังคารช่วงบ่าย โดย ◆ บูรณาการกับกิจกรรมที่ชมรมผู้สูงอายุทำมาก่อน เช่น การทำลูกประคบ แก้ปวด

แก้ เ มื่ อ ย ออกกำลั ง กาย และไปเสริ ม เรื่ อ งทั น ตสุ ข ภาพ ที ม งานทำกิ จ กรรม ได้ แ ก่ อาสาสมั ค ร สาธารณสุข และพยาบาล มีการวัดส่วนสูง วัดความดัน วัดรอบเอว คัดกรองโรค และมีการตรวจ สุขภาพช่องปาก แล้วนัดมาขูดหินปูน ◆ ทำโครงการผู้สูงวัยไม่กินหวานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคหวานในผู้สูงอายุ ด้วยการเปลี่ยนอาหารว่างเป็นน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพรที่อ่อนหวาน ผลไม้ตาม ฤดูกาล และนมจืด ◆ รณรงค์แปรงฟันหลังรับประทานอาหารว่าง จัดสถานที่แปรงฟัน และสาธิตการแปรงฟัน ◆ ทำแผ่นป้ายรณรงค์ จัดแสดงเวลาจัดกิจกรรมของอำเภอ เช่น กีฬาสี งานรณรงค์ ◆ ให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าว ผู้สูงอายุนำความรู้จากเจ้าหน้าที่ ไปให้ความรู้ ผ่านหอ กระจายข่าวของเทศบาล หรือหมู่บ้าน ◆ การให้ทันตสุขศึกษา ◆ ให้บริการตรวจฟัน ขูดหินปูน ทาฟลูออไรด์ ตามชุดสิทธิประโยชน์ ◆ มีช่องทางด่วน นัดผู้สูงอายุมารับการรักษาในช่วงบ่าย ปี ห น้ า ทุ่ง หว้ า จะมี ก ารดำเนิ น การองค์ก รไร้ พุ ง เจ้ า หน้ า ที่ ไ ม่ก ิ น หวาน แปรงฟั น หลั ง

รับประทานอาหาร ลดอาหารหวาน อาหารว่าง ไม่มีเบเกอรี่ เปลี่ยนเป็นน้ำสมุนไพรอ่อนหวาน และ

ทำกิจกรรมในผู้สูงอายุด้วย


สตูล เป็นจังหวัดภาคใต้ที่เล็ก และสงบ มีประชากรไทยพุทธ และมุสลิม การทำกิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพช่องปากถือว่ามีความง่าย อยู่ในความยาก เพราะว่า เมื่อบุคลากรที่ทำงานมีความเข้าใจ ในบริบทของชุมชน การนำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเข้าไป จึงทำให้เกิดกิจกรรมขึ้นได้ โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุของสตูล ทำครอบคลุมทั้ง ๓ โครงการ ได้แก่ ◆ โครงการฟันเทียมพระราชทาน - ใส่ฟันเทียมให้ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป และมีการสูญเสียฟันไปแล้วมากกว่า ๑๖ ซี่ขึ้นไป ◆ โครงการส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น โรคในช่ อ งปากตามชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างทั น ตกรรม -

ทั น ตบุ คลากร บุคลากรสาธารณสุ ข และภาคประชาชน ร่ว มกั น ตรวจสุ ข ภาพ สุ ข ภาพช่อ งปากให้

ผู้สูงอายุ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคปริทันต์ รากฟันผุ และให้บริการป้องกันการเกิดโรค เพื่อป้องกัน การสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ ◆ โครงการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ - การดำเนิ น กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ สู ง อายุ ดู แ ล ตนเอง และคนในชุมชน ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ หรือ

กลุ่มผู้สูงอายุที่มาชุมนุมทำกิจกรรมร่วมกัน

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ส่งท้าย

37


จังหวัดนครศรีธรรมราช

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ร่วมสร้างสุขภาพช่องปากดีที่เมืองคอน

38

นครศรีธรรมราชมีเขตการปกครอง ๒๓ อำเภอ ๑๖๕ ตำบล ประชากร ๑,๕๐๐,๐๐๐ คน

ผู้สูงอายุมี ๑๘๐,๐๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒ ในระบบราชการมีทันตแพทย์ ๑๙ คน รับผิดชอบ ประชากร ๑:๒๑,๐๐๐ ทันตาภิบาล ๑๐๑ คน รับผิดชอบประชากร ๑:๑๕,๐๐๐ มีโรงพยาบาล

๒๓ แห่ง โรงพยาบาลของเทศบาล เป็นโรงพยาบาล ๒๐,๐๐๐ เตียง PCU ๒๕๐ แห่ง พร้อมเป็น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๓๐ แห่ง งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุของนครศรีธรรมราช ตั้งต้นเมื่อปี ๒๕๔๘ โดย เริ่มจากโครงการฟันเทียมพระราชทานที่ดำเนินงานในทุกอำเภอ มีเป้าหมายการใส่ฟันเทียมตามความ สามารถของสถานบริการ จัดอบรมฟื้นฟูผู้ช่วยทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์ข้างเก้าอี้ จัดการอบรม การใส่ฟันเทียมแก่ทันตแพทย์ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน และประเมินความพึงพอใจของ ผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ “การทำงานเชิงรับ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้สูงอายุที่ต้องการใส่ฟันเทียม”

เป็นที่มาของการส่งเสริมป้องกันควบคู่ไปกับการให้การรักษา เพื่อให้ผู้สูงอายุดูแลกันเอง มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง โรคในช่องปาก และปฏิบัติตัวได้

ถูกต้อง ปี ๒๕๕๒ นครศรีธรรมราชจึงนำร่องดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในจังหวัด

โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ดีขึ้น ให้ผู้สูงอายุได้รับ บริการทันตกรรมตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง และนำความรู้ความสามารถที่ท่านมีอยู่ไป

เผยแพร่แก่ลูกหลาน คนรอบข้าง และขยายวงกว้างต่อไป

ภารกิจแรกของ สสจ. ... เสาะแสวงหา และสร้างทีมงาน นครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดใหญ่ การขับเคลื่อนงานระยะแรกจึงเป็นการคัดเลือกพื้นที่ เพื่อนำร่อง และเป็นแบบอย่างของการทำงานในพื้นที่อื่นๆ ชุติมา พงศ์อำไพ “... การเตรียมทีมแรกๆ ก็ยากเอาการ เพราะงานทันตสาธารณสุข

มี ม าก ขณะที่ ทั น ตบุ ค ลากรมี จ ำนวนน้ อ ย มาชวนไปดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากของผู้ สู ง อายุ จึ ง ไม่ ไ ด้

รับการตอบรับในทันที ต้องอาศัยหลักการ ๕ ยอ คือ แยบ ยอน ยอ เยือน เยี่ยม และต้องหมั่นเยี่ยม หมั่น ติดตาม หมั่นให้กำลังใจ โดยทุกครั้งที่ชวนคุย จะน้อมนำกระแสพระรับสั่ง ให้เห็นความยิ่งใหญ่ที่ได้ ทำงานเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าอยู่หัว ...”

การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่อำเภอทุ่งสง ทุ่งสงเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายที่ถูกคัดเลือก ด้วยเห็นศักยภาพของทีมงานที่มีความ

เข้ ม แข็ ง และกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่อ งปากของชมรมผู ้ สู ง อายุ เ ทศบาลทุ่ง สงมี ห ลากหลาย

การดำเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากประกอบไปด้วยหลากหลายกิจกรรม ได้แก่


การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่ชมรมผู้สูงอายุตำบลแหลม อำเภอหัวไทร

ชมรมผู้สูงอายุตำบลแหลม อำเภอหัวไทร ตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๔ แรกมีสมาชิก

๖๐ คน ปัจจุบันมีสมาชิก ๓๕๘ คน เป็นศูนย์กลางสมาคมเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัย สนับสนุน

การศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม จริยธรรม เป็นชมรมเข้มแข็ง ประธานมีความรับผิดชอบ

เป็นผู้นำ และผู้ประสานงานที่ดี และสมาชิกมีความสามัคคี ชมรมมีการประชุมทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน เดือนเว้นเดือน มีกิจกรรมนันทนาการ

ฟังบรรยายทางวิชาการ เยี่ยมเยียนสมาชิกที่เจ็บป่วย ทำบุญอุทิศส่วนกุศลของสมาชิก มีการสวดมนต์ ไหว้พระก่อนการประชุมทุกครั้ง การทอดผ้าป่าสามัคคี แห่เทียนพรรษา ทำกิจกรรมในพิธีบำเพ็ญกุศล งานบุญเดือนสิบ โรงพยาบาลบ้านแหลมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การแพทย์ทางเลือกบรรเทา อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การออกกำลังกาย โดย รำมโนราห์ รำกลองยาว ดนตรีไทย และรำไม้พลอง งานเพิ่มรายได้ เช่น การจักสาน รำกลองยาวในงานต่างๆ งานส่งเสริมสุขภาพ การทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ โดย ◆ เข้าร่วมการประชุมชมรมผู้สูงอายุ เพื่ออธิบายรูปแบบการดำเนินการโครงการ ◆ รั บ สมั ค รผู ้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการตามชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างทั น ตกรรม โดยการ ประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประกาศ และใช้เสียงตามสายในหมู่บ้าน ◆ แต่ ง ตั ้ ง คณะกรรมการ ๓ ฝ่ า ย ได้ แ ก่ ฝ่ า ยดำเนิ น โครงการ ฝ่ า ยกิ จ กรรม และ

ฝ่ายประสานงานระดับหมู่บ้าน

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

◆ การให้ ค วามรู ้ เรื่ อ ง การดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากแก่ แ กนนำ โดย ที ม ทั น ตบุ ค ลากร

รวมไปถึงการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างเป็น

เครือข่าย และเป็นแกนนำขับเคลื่อนการทำงานพื้นที่นั้นๆ ◆ การจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปากให้สมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ บุคคลใกล้ชิดในครอบครัว และชุมชน อาทิ การพูดคุยให้ ความรู้กันในกลุ่มเมื่อมีการประชุม หรือพบปะ ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ การแต่งเพลง รณรงค์ ใ ห้ ม ี ก ารดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปาก การจั ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก เช่ น แปรงเก่ า

แลกแปรงใหม่ ทำกระบวยบ้วนปาก ยาสีฟันสมุนไพร ยาแก้ปวดฟัน และมีการตรวจคัดกรอง ส่งต่อเพื่อ

รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ ◆ การจั ด กิ จ กรรมเสริ ม โดยสำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด อาทิ เวที แ ลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ ทั้งในกลุ่มทันตบุคลากร และชมรมผู้สูงอายุ การประกวดภาพถ่าย การประกวดผู้สูงอายุ ฟันดี การประกวดครอบครัวฟันดี เพื่อที่จะเป็นต้นแบบสำหรับการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อให้แกนนำ ขยายผลต่อ ฯลฯ

39


การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

40

◆ กิจกรรมหาปัญหา ครั้งแรก มีการแบ่งกลุ่มคิดปัญหา โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่

มาร่วมคิด มีการตั้งคำถามเพื่อหาปัญหา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่หมอคิดเอง ครั้งต่อมา จึงใช้คำถามเชิงบวก ด้วยคำถามแรกว่า “กิจกรรมในชุมชน ผู้สูงอายุที่

คิดว่า ดีที่สุด ชอบที่สุด และอยากทำที่สุด มีอะไรบ้าง” มีกิจกรรมที่ได้แล้วขั้นต้น โดยชมรมเป็นผู้คิด คำถามที่สอง “กิจกรรมที่อยากจะทำในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากมีอะไรบ้าง” ได้คำตอบว่า อยากแปรงฟันให้สะอาดถูกวิธี อยากได้รับความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก เน้นความสนุกสนาน ◆ มีผู้สมัครเข้าโครงการตามชุดสิทธิประโยชน์ ๓๘ ราย ◆ การทำกิจกรรมตามโครงการตามชุดสิทธิประโยชน์ ได้แก่ คัดกรองความเสี่ยงต่อ โรคทางกาย เสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ประเมินความเสี่ยงต่อโรคในช่องปาก การให้คำแนะนำ ฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยมีการทำแบบบันทึกการแปรงฟันของผู้สูงอายุร่วมด้วย ◆ จั ด กิ จ กรรมอบรมความรู ้ ด ้ า นสุ ข ภาพช่ อ งปาก แก่ ผู ้ สู ง อายุ โดยทำฐานกิ จ กรรม

๔ ฐาน ได้แก่ ฐานที่ ๑ เรื่อง กินถูกหลักโภชนาการ อาหารกับสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ การเสริมสร้างความแข็งแรงใบหน้า ฐานที่ ๒ เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ การแปรงฟันที่ถูกวิธี การใช้ไหม ขัดฟัน อุปกรณ์การทำความสะอาดช่องปาก ฐานที่ ๓ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคในช่องปาก และสาเหตุการสูญเสียฟัน ฐานที่ ๔ เรื่อง ฟันเทียมชนิดถอดได้ การใช้ฟันเทียมที่ถูกวิธี การดูแลทำความ สะอาด รักษาฟันเทียม ◆ จัดประกวดผู้สูงอายุฟันทน คนทน ในงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และสัมภาษณ์ ข้อปฏิบัติตนในการทำความสะอาดช่องปาก ที่ทำให้มีฟันดี ฟันทน


การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่โรงพยาบาลเชียรใหญ่

เชียรใหญ่เป็นโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ดูแลประชากร ๗๔,๘๒๗ คน รับผิดชอบ

๒ อำเภอ คือ อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ช่องปาก ภายใต้โครงการยิ้มสดใสผู้สูงวัยฟันดี ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในชมรมผู้สูงอายุบ้าน

เขาแก้ววิเชียร โดยชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาแก้ววิเชียรตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๙ มีสมาชิก ๔๗ คน ส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ และมีอาสาสมัครช่วยดูแลผู้สูงอายุ เป็นชมรมที่มีความเข้มแข็ง มีการจัดประชุมเดือนละ

๑ ครั้ง และมีฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวของโรงพยาบาลเชียรใหญ่ ไปดูแลเรื่องสุขภาพให้ การทำกิจกรรมที่เชียรใหญ่ จะมีนักศึกษาจากวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาร่วมทำกิจกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน ได้แก่ ◆ เริ่ ม ด้ ว ยการสำรวจปั ญ หาสุ ข ภาพช่ อ งปากผู ้ สู ง อายุ โดย การตรวจ และพู ด คุ ย ปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปาก พบปัญหาของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ คือ ➧➧➧ การรับประทานอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพฟัน ➧➧➧ สภาวะช่องปากของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่มีฟันเลย มีฟันผุ ฟันโยก มีการใส่ฟัน บ้างทั้งฟันเทียมบางส่วน และฟันเทียมทั้งปาก ➧➧➧ การแปรงฟัน เป็นแบบถูไปมาเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนไม่ได้แปรงฟันเลย ◆ กิจกรรมที่ผู้สูงอายุต้องการ จากการถามความต้องการการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ คือ ➧➧➧ ให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยกันเอง ➧➧➧ ให้มีหมอไปดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่หมู่บ้าน เพราะการเดินทางลำบาก ➧➧➧ มีความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ◆ เชียรใหญ่ทำกิจกรรมให้ชมรมผู้สูงอายุ โดย ➧➧➧ ครั้งที่ ๑ ทำกิจกรรมในโครงการเพื่อนรักฟัน มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลสุขภาพ ช่องปากให้แกนนำ และแกนนำสามารถไปแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ไปเยี่ยมที่บ้าน ได้ โดยทำร่วมกับนักศึกษาจากวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง จัดกิจกรรมโดย ◆ อบรมแกนนำที่ ส มั ค รเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม มี ทั ้ ง ผู ้ สู ง อายุ และอาสาสมั ค ร สาธารณสุข เรื่อง ฝึกทักษะการตรวจฟัน ความรู้เรื่องโรคฟันผุ โรคปริทันต์ และการดูแลช่องปาก

การแปรงฟัน การบริหารใบหน้าและลิ้น ฟันเทียมและการดูแลฟันเทียม ◆ ให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่แกนนำ ◆ สนับสนุนความรู้ด้านสุขภาพเรื่องอื่นๆ เช่น การออกกำลังกาย โดย โยคะ ◆ ฝึกปฏิบัติทำสื่อทันตสุขศึกษาเพื่อนำไปใช้ประกอบการสอน ➧➧➧ ผลจากกิ จ กรรมครั ้ ง ที่ ๑ พบว่ า แกนนำมี ก ารแบ่ ง เป็ น ๗ กลุ่ ม ไปเยี่ ย ม

ผู้สูงอายุที่บ้าน กับทีมสาธารณสุข โดย ทีมสาธารณสุขจะดูแลสุขภาพร่างกาย แกนนำการดูแลสุขภาพ ช่องปาก และแนะนำการทำความสะอาดช่องปากให้กับผู้สูงอายุที่ไปเยี่ยม ➧➧➧ ก่อนการทำโครงการครั้งที่ ๒ ทีมโรงพยาบาลประชุมกับพื้นที่ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เพื่อวางแผนเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้ชัดเจนขึ้น โดย จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน และ

เพิ่มกิจกรรมเสริมสร้างให้ชมรมมีความเข้มแข็ง ➧➧➧ ครั ้ ง ที่ ๒ ทำกิ จ กรรมโครงการเพื่ อ นรั ก ฟั น รุ่ น ที่ ๒ โดยมี ก ลุ่ ม นั ก ศึ ก ษา ทันตแพทย์ จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมทำกิจกรรม ดำเนินการต่อยอดจากโครงการเพื่อน รักฟัน รุ่นที่ ๑

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

41


การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

◆ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ให้ แ กนนำมี ค วามรู ้ เ รื่ อ งช่ อ งปาก มี ทั ศ นคติ ท ี่ ด ี

มีการดูแลช่องปาก การแปรงฟัน การบริการใบหน้า หรือการปฏิบัติทั่วๆ ไป ให้ถูกวิธีมากขึ้น และ

ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อเพื่อใช้ประกอบคำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก ในการเยี่ยมบ้าน ◆ ดำเนินการโดยการอบรมให้ความรู้ เรื่องสุขภาพช่องปาก และฝึกปฏิบัติ แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน การบริโภคอาหาร และผลที่เกิดจากการเคี้ยวยาเส้น หรือหมาก ◆ มี ก ารผลิ ต สื่ อ เป็ น กล่ อ งบรรจุ โ มเดลฟั น และผ้ า ก๊ อ ส เพื่ อ นำไปสอน

การทำความสะอาดช่องปากให้กับผู้สูงอายุ ➧➧➧ จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ โดยการจัด แรลลี่สานฝัน เพื่อฟันยิ้มสดใส เพื่อให้ความรู้ในลักษณะฐานกิจกรรม เพื่อให้ความรู้เรื่องฟันผุ โรคปริทันต์ และการปฏิบัติทั่วไป บริหารใบหน้าและลิ้น และการดูแลฟันเทียม โรคมะเร็งที่เกิดในช่องปาก ➧➧➧ ผลที่ได้ พบว่า แกนนำไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ โดยมีการใช้สื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับ การสาธิตให้ความรู้ และแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก

42


ขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก สไตล์นครศรีธรรมราช

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

การดำเนินงานของนครศรีธรรมราชเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เร่งรีบ ให้ได้รู้ว่ามีชมรมใด

ที่สนใจ ก็ชวนมาร่วมดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากร่วมกัน กิจกรรมจะเป็นกิจกรรมที่ดำเนิน การต่อจากของเดิม บูรณาการกับกิจกรรมที่มีอยู่ เช่น มีการดูแลสุขภาพร่างกาย การบริโภคอาหาร

อยู่แล้ว ก็ไปเชื่อมโยงถึงเรื่องของช่องปาก เพื่อที่จะได้มีร่างกายที่สมบูรณ์ เมื่อผู้สูงอายุเห็นความสำคัญ

ก็จูงใจมาช่วยทำกิจกรรมที่จะได้ตรงนั้น กิจกรรมจึงมักจะมาจากกลุ่มผู้สูงอายุเอง ทำให้มีการดูแล สุขภาพช่องปากได้ดียิ่งขึ้น และเผยแพร่ไปยังลูกหลาน ...” แนวทางสำหรับการปรับปรุงงาน ยังมีเรื่องที่เป็นจุดอ่อน ที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข อาทิ ควรมีการประเมิน และติดตามผลให้มากขึ้น การทำคู่มือ หรือสมุดประจำตัวผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพ ช่องปาก ฯลฯ ส่วนการดำเนินงานในระยะต่อไป จังหวัดได้กำหนดเป้าหมายให้มีชมรมผู้สูงอายุด้านการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากครบทุกอำเภอ อย่างน้อยอำเภอละ ๑ ชมรม มีการบูรณาการตั้งแต่ระดับ จังหวัดลงไป รวมทั้งการขยายไปในเรื่อง การป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์

ทางทันตกรรม ทุกโรงพยาบาล มีการพัฒนาศักยภาพของทันตบุคลากร และทีมงาน พัฒนาศักยภาพ อาสาสมั ค รสาธารณสุ ข ให้ ม ี ก ารดู แ ลสุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ เ พิ่ ม ขึ ้ น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง อาสาสมั ค ร สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การศึกษาดูงาน ในพื้นที่ต้นแบบ ฯลฯ

43


จังหวัดตรัง

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

สบาย สบาย สไตล์ นาหมื่นศรี

44

จังหวัดตรังทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันและ แก้ไขปัญหาการสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุ กิจกรรมเริ่มต้น เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความจำเป็นและ ความต้องการเร่งด่วนในผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันทั้งปาก ด้วยการให้บริการใส่ฟันเทียมเพื่อฟื้นฟูสภาพ

การบดเคี้ยว ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่เริ่ม ดำเนินโครงการฟันเทียมพระราชทาน ในปี ๒๕๔๘ ปัจจุบันการให้บริการดังกล่าวจัดเป็นบริการใน ระบบปกติของโรงพยาบาล ในขณะเดียวกัน ได้มีการพัฒนารูปแบบของการให้บริการด้านส่งเสริม ป้องกันโดยบุคลากร ควบคู่ไปกับการรักษาทางทันตกรรมที่ผู้สูงอายุควรได้รับตามชุดสิทธิประโยชน์

ในระบบหลักประกันสุขภาพ ได้แก่ การตรวจฟัน การแนะนำ/การฝึกปฏิบัติควบคุมคราบจุลินทรีย ์ การขูดหินน้ำลาย/การขัดฟัน และการใช้ฟลูออไรด์ป้องกันรากฟันผุ ส่วนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพของตัวผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมที่เริ่มดำเนินการใน

ปี ๒๕๕๑ ร่วมกับงานส่งเสริมสุขภาพ ดำเนินการในชมรมผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้สมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ โดยมีชมรมผู้สูงอายุตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง เป็นชมรม ต้นแบบ กิจกรรมในชมรมได้ถูกถ่ายทอดสู่เครือข่าย มีการขยายต่อเนื่องไปทุกอำเภอ ทั้งจังหวัด การจุดประกายและสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุ สามารถคิด และจัดกิจกรรมเพื่อการดูแล สุขภาพช่องปาก ให้แก่ตนเองและสมาชิก จนสามารถกลายมาเป็นชมรมต้นแบบของจังหวัดได้นั้น

เป็นกระบวนการที่น่าสนใจยิ่ง ที่จะนำเสนอแบบ สบาย สบาย สไตล์ นาหมื่นศรี

ต้นทุนที่มี …

บ้านนาหมื่นศรี เป็นศูนย์กลางตำบล มีองค์การบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัย โรงเรียน ตั้งอยู่ชุมชนเข้มแข็ง เนื่องจากมีการรวมกลุ่มแกนนำอื่นๆ หลายกลุ่มอยู่ก่อนแล้ว ชมรมผู้สูงอายุ ก็เช่นกัน มีการรวมตัว และมีกิจกรรมร่วมกัน ทั้งกิจกรรมด้านสังคม การเงิน และด้านสุขภาพ เช่น

ทุกวันพระจะมีการรวมตัวปฏิบัติธรรม มีการประชุมกองทุนของชมรมฯ กองทุนเงินกู้ ธนาคารชมรมฯ

มีสำนักงานแรงงานจังหวัดที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพ และมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาอาชีพ ส่วนด้าน

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ได้รับการดูแลจากสถานีอนามัย เช่น มีการตรวจคัดกรองเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบว่า หมู่บ้านนี้มีความพร้อมด้านผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ที่ให้ความสำคัญกับงาน

ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนาโยง เป็นโรงพยาบาลที่ดูแลพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรี เปิดให้บริการโดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ กระจายบริ ก ารสาธารณสุ ข ให้ ค รอบคลุ ม ไม่ เ พี ย งแต่ ใ ห้ ป ระชาชนได้ ม ี ส ถานที่

ตรวจรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ทั้งยังให้บริการเชิงป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟู สภาพร่างกายและจิตใจ


จากนโยบาย นำสู่การปฏิบัติ

กิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุบ้านนาหมื่นศรี เริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๑ เมื่อสำนักงานสาธารณสุข จั ง หวั ด ตรั ง นำนโยบายการสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ ของกระทรวงสาธารณสุ ข มาขั บ เคลื่ อ น

โรงพยาบาลนาโยงเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เห็นว่านโยบายของ กระทรวงสาธารณสุข สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานด้านสุขภาพช่องปากของ ผู้สูงอายุของโรงพยาบาล จึงอาสาเข้าร่วมดำเนินการ และเมื่อพิจารณาชุมชน เห็นว่ากลุ่มผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านนาหมื่นศรีมีความพร้อม จึงได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯให้ผู้สูงอายุ ที่เป็นแกนนำทราบ ร่วมกับผู้สูงอายุเสนอแนวคิดให้ชุมชน ทำให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และนายก องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงสนใจ จึงมอบหมายเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ และประสานงานดำเนิน กิจกรรมโดยเฉพาะ

เริ่มต้นที่การเรียนรู้ สู่การกระจายความรู้

“เราเดินคนเดียวไม่ได้” ทันตแพทย์หญิงพิมพ์วิภา เศรษฐวรกุล แห่งโรงพยาบาลนาโยง กล่าวถึงกระบวนการทำงาน ต้องอาศัยความร่วมมือ และการระดมพลังจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะการ พั ฒ นาให้ ผู้สูงอายุมีพลังอำนาจที่จะดู แ ลสุ ข ภาพ และจั ด การกั บ ชุ ม ชนของตนเองอย่า งเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและความเป็นไปได้ในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงระบบสังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจของชุมชน เป็นสำคัญ จากแนวคิดดังกล่าว การจะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพลังอำนาจเพียงพอที่จะดูแลสุขภาพ เป็นผู้สูงอายุที่สูงค่า สูงประสบการณ์ จนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้ ต้องมีการกำหนดเป็น

พันธกิจว่า “จะต้องจัดการอบรมการดูแลสุขภาพช่องปากให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และ สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับเด็กก่อนวัยเรียน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลนาหมื่นศรี และ นักเรียนในโรงเรียนได้” จึงเริ่มต้นทำกิจกรรม โดยเข้าไปพบกลุ่มผู้สูงอายุที่สถานีอนามัย พูดคุยกับกลุ่มแกนนำ และที่นี่ มีทันตาภิบาลเป็นคนพื้นที่ มีความสนิทสนมกับผู้สูงอายุ มีความเป็นลูกเป็นหลาน ประธาน ชมรมผู้สูงอายุเองก็เป็นผู้ที่ได้รับการใส่ฟันในโครงการฟันเทียมพระราชทาน จึงเห็นความสำคัญของ การมีสุขภาพช่องปากที่ดี ชมรมมีการทำกิจกรรมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อยครั้ง จึงเป็นชมรม

ที่มีศักยภาพ มีความเข้าใจ คุ้นเคยกับการทำกิจกรรม และมีความเข้มแข็ง เป็นที่รู้จักของชุมชน

ต่อจากนั้นก็ทำความรู้จักกับบริบทของท้องถิ่นและความต้องการของคนในชุมชน โดยการตรวจสุขภาพ

ช่องปากของผู้สูงอายุ การเข้าเรียนรู้ชุมชน ได้รู้จักธรรมชาติของชมรมว่า สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ

มีการทำกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น มีการพบปะ เจอกันในวันกองทุนเงินกู้ของชมรมฯ มีธนาคารชมรมฯ

มีการประชุมตามวาระ มีกิจกรรมตรวจเบาหวานที่สถานีอนามัย มีกิจกรรมออกกำลังกาย หรืออื่นๆ ชมรมฯ ก็จะมีการนัดกันมาทำกิจกรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชมรมจะมีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก แต่การลงพื้นที่ครั้ง แรกๆ ยังคงต้องต่อสู้กับความเชื่อของชาวบ้านที่ยังฝังใจว่า เรื่องของฟันเป็นเรื่องธรรมชาติ “แก่แล้ว ปล่อยให้มันหลุดเองตามธรรมชาติ” เจ้าหน้าที่ต้องรุกเข้าไป พยายามพูดคุย หาจังหวะอธิบาย จนชาวบ้าน เริ่มเข้าใจ บางครั้งต้องเข้าไปช่วยเหลือและสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

45


การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

46

นอกจากนั ้ น ช่ ว งแรกยั ง พบปั ญ หาเรื่ อ งเวลา เพราะเวลาในแผนปฏิ บั ต ิ ง านของ

โรงพยาบาลไม่ตรงกับเวลาว่างของชาวบ้าน ที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน ค้าขาย หรือรับจ้าง ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เมื่อพบปัญหานี้ ผู้รับผิดชอบจึงต้องนัดหมายเวลาทำการกับชาวบ้าน

ล่วงหน้าหลายๆ วัน ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานให้ตรงกับเวลาว่างของชาวบ้าน ถือเวลาที่ชาวบ้านว่าง เป็นสำคัญ ต้องเข้าไปทำกิจกรรมในวันของเขา รวมทั้งสถานที่พบปะดำเนินการ ที่ใกล้ชุมชน และ สะดวกต่อการเดินทาง เมื่อเตรียมพื้นที่แล้ว จึงเริ่มกิจกรรมที่นาโยง ทันตบุคลากรเป็นผู้เริ่มต้นให้ก่อน โดย

จัดฐานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพให้กลุ่มผู้สูงอายุอาสา ประกอบด้วย ฐานอาหาร ฐานสอน

แปรงฟันที่มีชื่อว่า “สอนลูกหลานรักฟัน” ฐานดูแลฟันเทียม การแปรงฟันที่ถูกวิธี และอื่นๆที่น่าสนใจ เป็นการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมร่วมกัน ระหว่างพยาบาล แพทย์แผนไทย รวมทั้ง กิจกรรมนันทนาการ เมื่อมีความเข้าใจและดูแลตนเองได้แล้ว กลุ่มผู้สูงอายุอาสา ก็เริ่มทำกิจกรรมถ่ายทอด การดูแลสุขภาพช่องปาก ให้แก่เด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนาหมื่นศรี โดยการไปพูดคุย

บอกเล่าถึงโทษภัยของการรับประทานขนมหวาน แนะนำ และสาธิตวิธีการแปรงฟัน โดยได้รับความ ร่วมมือจากครูผู้ดูแลศูนย์ฯ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นอย่างดี และไปช่วยให้ ความรู้ในขณะที่ทันตบุคลากรตรวจสุขภาพช่องปากให้กับเด็กประถม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และช่วยเหลือในกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย ผู้สูงอายุอาสาได้ใช้ความพยายามทุกโอกาส พูดคุย และบอกกับทุกคน ครั้งแรกเด็กๆ สงสัยว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่ครูจะมาสอนได้อย่างไร แต่เมื่อผู้สูงอายุลงไปทำงานร่วมกับทันตบุคลากรบ่อยๆ ได้มีโอกาสพูดกับเด็กจนคุ้นเคย ทำให้เด็กเข้าใจบทบาทของผู้สูงอายุมากขึ้น จากช่วงแรกที่มีคนร่วมช่วยเฉพาะกลุ่มที่รับผิดชอบ เมื่อมีการกระจายข่าว และขอความร่วมมือ

ไปยังสาธารณสุขอำเภอ อาสาสมัครหมู่บ้าน และองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งผู้สูงอายุจากชมรม ก็ได้รับความร่วมมือเพิ่มขึ้น เมื่อเขาเห็นว่าเราทำจริง ก็มีคนเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกันนี้ ก็ได้รับการ สนับสนุนจากภาคีเครือข่าย ทั้งทีมงานในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ชาวบ้าน และผู้นำ ชุมชนในทุกระดับ

ผลงานที่เกิด

การดำเนินโครงการผู้สูงอายุถ่ายทอดประสบการณ์สอนลูกหลานรักฟัน ๒๕๕๑ จากผล การทำกิจกรรมของผู้สูงอายุอาสา ๑๐-๑๒ คน และผู้สูงอายุได้นำความรู้และประสบการณ์ไปสอนเด็ก วัยก่อนเรียน และนักเรียนในโรงเรียนของชุมชนตำบลนาหมื่นศรี สัปดาห์ละ ๒ วัน โดยทำงานร่วมกับ ทันตบุคลากรที่ออกตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน หลังดำเนินกิจกรรมมาระยะหนึ่ง ได้มีการสำรวจ สภาวะทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนประถม พบว่า มีฟันผุลดลง สุขภาพช่องปากดีขึ้น นอกจากนี้ นักเรียนยังเห็นคุณค่าการเป็นแบบอย่างด้านจิตสาธารณะของผู้สูงอายุในการช่วยเหลือสังคม ส่งผลให้ ผู้สูงอายุมีความสุข มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าของตนเองในการเป็นแบบอย่างแก่คนอื่นที่สามารถทำ ประโยชน์ให้กับสังคมได้ รวมทั้งมีความมั่นใจในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์มากขึ้นด้วย โครงการนี้ได้รับรางวัลประเภทนวัตกรรมในงานการประชุมวิชาการภาคใต้ เมื่อปี ๒๕๕๑ จึ ง ทำให้ เ กิ ด แรงบั น ดาลใจ และกำลั ง ใจที่ จ ะสื บ สานกิ จ กรรมของโครงการนี ้ ต่ อ ไป ทำให้ เ กิ ด

“การดำเนินโครงการผู้สูงอายุถ่ายทอดประสบการณ์สอนลูกหลานรักฟัน ปีที่สอง” ปี ๒๕๕๒ เน้น


เป้าหมายผู้สูงอายุเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง สามารถทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ ของชุมชน และมีจิตอาสาต่อส่วนรวมมากขึ้น ได้สมาชิกกลุ่มแกนนำเพิ่มขึ้น และขยายเครือข่ายไปที่ ชมรมผู้สูงอายุนาโยงเหนือ ประสบความสำเร็จอย่างดี จึงได้มีการขยายเครือข่ายเข้าไปในชมรม

ผู้สูงอายุอีก ๗ อำเภอของจังหวัดตรังต่อไป โดยมีชมรมผู้สูงอายุนาหมื่นศรี เป็นชมรมต้นแบบ กิจกรรม ต่างๆ ของชมรม ถูกถ่ายทอดผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับจังหวัด ปี ๒๕๕๓ นอกจากจะขยายเครือข่ายงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุต่อ เนื่องไปทุกอำเภอแล้ว ยังมีการมอบรางวัลชมรมผู้สูงอายุดีเด่นระดับจังหวัด ๒ ชมรม ได้แก่ ชมรม

ผู้สูงอายุตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง และ ชมรมผู้สูงอายุต้นสมอ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง และ รางวัลชมรมผู้สูงอายุดีเด่นระดับอำเภอ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เป็นตัวอย่างในการเชื่อมโยงกิจกรรมต่อไป

ความคาดหวัง

อนาคต อยากให้ทุกชมรมเป็นเครือข่ายสุขภาพ สามารถแลกเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมที่

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

เกิดขึ้น นำไปปรับเปลี่ยน ประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ และทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้ง กาย จิต วิญญาณ อารมณ์ สังคม

47


เมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

เก็บตก … เมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้

48

บทเรียนเพื่อการพัฒนาเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม

ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า มีวิธีการทำกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลาย มีปัจจัย ที่มีผลต่อการทำกิจกรรม ต่ า งๆ มากมาย ตั ้ ง แต่ การมี ส่ ว นร่ ว มทำกิ จ กรรม การสนั บ สนุ น จากองค์ ก รภาครั ฐ เอกชน

ความสั ม พั น ธ์ ใ นพื ้ น ที่ การสื่ อ สารข้ อ มู ล ข่ า วสาร เป็ น ต้ น ประเด็ น ที่ น ำมาประมวลมาเป็ น เรื่ อ ง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ ความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ ◆ พื้นฐานของชมรม ได้แก่ กรรมการบริหารชมรม กิจกรรมการดำเนินงานของชมรม จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม ถ้าพื้นฐานทรัพยากรนี้เข้มแข็ง การทำกิจกรรมต่างๆ หรือการนำ

สิ่ ง ใหม่ ๆ เข้ า ไป จะมี โ อกาสสำเร็ จ มากกว่ า ล้ ม เหลว และต้ อ งทำในลั ก ษณะบู ร ณาการภายใต้ กระบวนการ และแนวคิดการทำงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของชมรมด้วย ◆ ชมรมผู้สูงอายุที่เกิดจากการรวมกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างพื้นที่เพื่อการ พบปะ การรวมตัวกันโดยธรรมชาติ ร่วมกับมีนโยบายภาครัฐมาหนุนเสริม จะทำให้เกิดกลุ่มเร็วขึ้น ◆ การมี ผู ้ น ำกลุ่ ม ที่ เ หมาะสม ประธานชมรมผู ้ สู ง อายุ ท ี่ ม ี ศั ก ยภาพ ทั ้ ง ด้ า นความรู ้

ความสามารถ เป็นที่ยอมรับศรัทธาของสมาชิกชมรม ที่สำคัญคือ มีความเสียสละ ทำงานเพื่อส่วนรวม จะสามารถเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุได้ตั้งแต่เริ่มต้น ◆ การขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ความเป็นอิสระของผู้สูงอายุ ที่ใช้ความสามารถ คิดเอง

ทำเอง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับ ดูแล ให้กำลังใจ เสริมพลัง ชมรมผู้สูงอายุจะเติบโตได้ด้วยตนเอง

เกิดความต่อเนื่องยั่งยืนในการดำเนินกิจกรรม และสร้างนวัตกรรมการทำงานใหม่ๆ การมีส่วนร่วมของชุมชน ◆ ความร่วมมือที่สำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุข มีส่วนช่วยผลักดันให้งานสำเร็จ ◆ การดำเนินงานต้องมีการประสานงานกันทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ทั้งแนวตั้ง และแนวราบ คื อ ตามสายบั ง คั บ บั ญ ชา และจากชมรม หรื อ หน่ ว ยงานอื่ น ๆ ในระดั บ เดี ย วกั น

การยอมรับ การสร้างแรงจูงใจ และสัมพันธภาพที่ดี ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม โดยไม่คำนึง ถึงว่า จะต้องร่วมในทุกกระบวนการ แต่ยึดตามศักยภาพของบุคคล หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ การเกื้อหนุนจากองค์กรต่างๆ ◆ การเกื ้ อ หนุ น จากภาครั ฐ ที่ เ ข้ า ใจธรรมชาติ ข องการพั ฒ นา เป็ น ผู ้ เ สริ ม พลั ง ให้

กลุ่มขับเคลื่อน เติบโตด้วยตัวเอง สนับสนุนการดำเนินงานตามความเหมาะสม เช่น ด้านวิชาการ

กำลังคน รวมไปถึง กำลังใจ ◆ นโยบายในทุ ก ระดั บ มี ค วามสำคั ญ เพราะการดำเนิ น งานในระดั บ จั ง หวั ด จะดู นโยบายจากกระทรวง กรม เขต เป็นหลัก เพื่อที่จะแบ่งจัดสรรให้มีการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ


“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

◆ การอำนวยความสะดวก สิ่งเล็กๆ ที่มีคุณค่า … การให้ หรือเติมเต็มสิ่งที่ขาดเล็กๆ น้อยๆ ส่งผลถึงความยั่งยืนของการดำเนินกิจกรรม เช่น การจัดรถ รับ-ส่ง ผู้สูงอายุ ไป-กลับ ประชุม ทำให้ผู้สูงอายุที่มีใจอยากร่วมกิจกรรม แต่ไม่สะดวกในการเดินทาง สามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยไม่ต้องกังวล รวมถึง ยังเป็นการแสดงถึง การให้ความสำคัญกับทุกๆ คนอีกด้วย ◆ คณะกรรมการสาขาสภาผู้สูงอายุประจำจังหวัด มีความสำคัญ เป็นที่ยอมรับของ

ผู้สูงอายุในจังหวัด เพราะได้รับการคัดเลือกจากชมรมผู้สูงอายุต่างๆ ถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ เป็นผู้ให้คำแนะนำ คำปรึกษาได้เป็นอย่างดี ◆ งบประมาณ ช่วยสนับสนุนกิจกรรมได้อีกทางหนึ่ง กลวิธีทำงาน ◆ สัมพันธภาพ จุดเริ่มต้นแห่งการทำงาน การสร้างสัมพันธภาพส่วนตัว ระหว่างบุคคล มีความจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่ง ระหว่างผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตบุคลากรในทุกระดับ ส่งผลทำให้เกิดความสดชื่น ร่าเริง ความเป็นกันเอง ในกระบวนการทำงาน ไม่เบื่อกับการเจอกัน หรือ มาทำงานร่วมกัน ผู้ทำกิจกรรมจึงต้องที่มีความพร้อม และได้รับการยอมรับจากคนที่ทำงานด้วย ◆ ก้าวไปพร้อมกัน จะไม่มีใครหลุดจากวงโคจร การพัฒนาให้ชมรมฯ เข้มแข็ง ไม่ใช่ เพียงแต่พัฒนาแกนนำเท่านั้น ยังต้องพัฒนาสมาชิกในชมรมให้เกิดความรับรู้เท่าทันด้วย เช่น เมื่อแกน นำไปประชุมอบรม ก็ต้องมาถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้สมาชิกในชมรมได้ทราบ เพื่อที่จะร่วมกัน พิจารณาทางเลือกในการดำเนินงาน และก้าวไปทีละขั้นตอนพร้อมๆ กัน หากมีคนที่ไม่รู้เรื่อง หรือ

ผ่านไปโดยไม่สนใจ เมื่อถึงจุดหนึ่ง เขาตามไม่ทัน การมีส่วนร่วมก็จะน้อยลง และหายไปในที่สุด ◆ ทีมงาน เข้มแข็ง คนทำงานมีความพร้อม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ได้แก่ องค์การ บริหารส่วนตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถานีอนามัย ทำให้การทำงาน ประสานสอดคล้องกันได้ดี สามารถทำงาน ช่วยเหลือแก้ไขปัญหากัน ก็จะทำกิจกรรมได้สำเร็จ ◆ สอดแทรกทันตสุขศึกษาผ่านกิจกรรมของผู้สูงอายุ เป็นความสำเร็จในการถ่ายทอด ความรู้ให้เข้าถึงเป้าหมายอย่างเป็นธรรมชาติ และได้ผล ข้อคิดที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ◆ งบประมาณเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย การทำกิจกรรมต่างๆ ต้องคำนึงถึง ศักยภาพของสมาชิก หรือแกนนำก่อนเป็นสำคัญ ไม่นำงบประมาณ มาเป็นเงื่อนไขหลักในกระบวนการ ทำงาน เพราะไม่ใช่งานทุกอย่างที่จะต้องใช้งบประมาณ สิ่งใดทำก่อนได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ

ก็ดำเนินการได้ก่อน หากรอสิ่งสนับสนุนและงบประมาณ ก็จะไม่เกิดความก้าวหน้าของกิจกรรม ◆ ประโยชน์ ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ บางครั้ง สิ่งที่คนอื่นมองข้าม อาจจะนำมาใช้ ประโยชน์ได้ดี ถ้าประยุกต์ให้เหมาะสม เช่น การใช้แปรงสีฟันของเด็กนำมาใช้กับฟันของผู้สูงอายุ หรือ ฟันเทียม ซึ่งจะทำให้การทำความสะอาดได้ดีกว่าแปรงสีฟันขนาดของผู้ใหญ่เสียอีก ◆ กิ จ กรรมง่ า ยๆ ไม่ ซั บ ซ้ อ น เหมาะกั บผู ้ สู ง วั ย การจั ด กิ จ กรรมกั บ ผู ้ สู ง อายุ ค วรทำ กิจกรรมที่ไม่ยากเกินไป เหมาะกับสรีระ และวัยของผู้สูงอายุ ที่สำคัญ หากเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับ วิถีชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุแล้ว จะได้รับความร่วมมือเป็นพิเศษ ◆ ขวัญกำลังใจ ควรมีการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับสมาชิก เช่น ทัศนศึกษา จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมตัว ทำกิจกรรมร่วมกัน

49


การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

50

◆ ช่องทางในการสื่อสาร สำคัญ ในชมรมผู้สูงอายุที่มีทำเนียบของสมาชิก และทีมงาน ที่ร่วมดำเนินกิจกรรม ทำให้ง่ายต่อการติดตาม และนัดหมายกันในแต่ละครั้งของการเข้าร่วมกิจกรรม การนำวิธีคิดไปสานต่อ ◆ วิธีคิดเกี่ยวกับ “กระบวนการพัฒนาแบบธรรมชาติ” ทำให้กลุ่มเข้มแข็ง ผ่านการ เสริมพลังของนักพัฒนา โดย นักพัฒนามีบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวย สนับสนุนปัจจัยนำเข้าที่พอเหมาะพอดี ◆ กระบวนการวิ เ คราะห์ ทุ น ของตนเอง “รู ้ ตั ว เอง” วิ เ คราะห์ จุ ด แข็ ง จุ ด อ่ อ น

คิดทางเลือกในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างทุนที่มีอยู่กับปัญหาที่ต้องพัฒนา ◆ การสร้างกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้ชมรมผู้สูงอายุมีชีวิติชีวา มีการสร้างความ สัมพันธ์อย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมเหล่านั้น และคิดกิจกรรมจิตอาสาที่เหมาะสมกับศักยภาพของ

ผู้สูงอายุ เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุภาคภูมิใจ และรู้สึกว่า ตนเองมีคุณค่า ◆ การบู ร ณาการทั ้ ง คนและกิ จ กรรม เช่ น การพั ฒ นาในพื ้ น ที่ ต ้ อ งอาศั ย ภาคี ร่ ว มที่

หลากหลาย ทุกฝ่ายมีภาระหน้าที่เป็นของตนเอง เอื้อซึ่งกันและกัน และการบูรณาการงานส่งเสริม

สุขภาพช่องปาก ผ่านกิจกรรมของผู้สูงอายุ เพื่อส่งผ่านความรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยอาศัยศักยภาพ ของผู้สูงอายุ ◆ ความต่อเนื่องของกิจกรรม กิจกรรมที่ทำอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการคิดงาน หรือ

การทำกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ ◆ กิ จ กรรมใหม่ ๆ มี ป ระโยชน์ การจั ด กิ จ กรรมในชมรมผู ้ สู ง อายุ ถ้ า มี ส ิ่ ง ใหม่ และ มีประโยชน์ ทำให้ผู้สูงอายุไม่เบื่อ รวมถึงถ้าเป็นนวัตกรรมที่ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการเองได้ ก็จะมีการ ดำเนินการต่อเนื่อง เช่น การตรวจฟันของชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัด ส่งผลต่อการดูแลรักษาสุขภาพฟันของ ผู้สูงอายุได้ ◆ การจั ด การความรู ้ การสรุ ป บทเรี ย นที่ ท ำโดยสม่ ำ เสมอ โดยมี เ จ้ า หน้ า ที่ จั ด เวที

อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เพื่อนำเสนอผลงาน และช่วยกันคิดกิจกรรมใหม่ๆ ในปีต่อไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพสามารถทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากกว่าที่เราคิด และเห็นได้ ชั ดเจนว่า การทำงานกับผู้สูงอายุทำได้ ง่า ยกว่า กลุ่ม อื่ นๆ เพราะผู ้สู งอายุม ีค วามต้อ งการ การทำ กิจกรรมเป็นทีม โดยใช้ทีมสหวิชาชีพทางการแพทย์ ช่วยทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้ เพราะ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องการการบริการด้านสุขภาพด้วย ทีมสหวิชาชีพจึงมีความสำคัญที่จะช่วย

ดูเรื่องสุขภาพองค์รวม กลยุทธ์ของการดำเนินงาน ที่มีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้ชุมชนลุกขึ้นมามีบทบาทหลัก

ในการทำกิจกรรมสุขภาพที่เหมาะสมได้ด้วยตนเองนั้น สิ่งแรกต้องเข้าหาแกนนำ ในที่นี้ ได้แก่ แกนนำ

ผู้สูงอายุ เพราะ เพื่อสร้างความเข้าใจ ปรับทัศนคติ และให้แกนนำเชื่อมโยงต่อ ทั้งข้อมูล ความรู้ ไปสู ่ ผู้สูงอายุในชมรม ต้องเข้าหาผู้นำท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งผู้นำแบบทางการ โดยตำแหน่ง และผู้นำโดยธรรมชาติ กลุ่มจิตอาสา รวมทั้งต้องหาทีมสุขภาพที่ใกล้ชิดชุมชน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะทันตบุคลากร

อาจเป็น บุคลากรสาธารณสุขอื่น พยาบาล หรือ อสม. ต้องให้ชุมชนและทีมเห็นชัดเจนว่า “การดำเนิน โครงการนี้ มีเป้าหมายอย่างไร ทำเพื่อใคร และจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ”


ต้องเรียนรู้บริบท และสภาพแวดล้อมทางสังคม และพร้อมปรับเปลี่ยนการทำงานให้ สอดคล้อง กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในแต่ละที่ อาจจะต้องทำไม่เหมือนกัน ก็ต้อง ปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับพื้นที่ และความต้องการของคนในชุมชนนั้นๆ นโยบายที่ชัดเจนของจังหวัด การสนับสนุนของผู้บริหารมีส่วนสำคัญ เนื่องจากการทำ แผนปฏิบัติงานโครงการ ต้องมีการปรับเวลา ให้สมดุลกับงานอื่นๆที่ทำอยู่ด้วย การเปลี่ยนผู้บริหาร อาจทำให้นโยบายขององค์กรเปลี่ยน ต้องมีการประสานทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการเป็น ระยะ เรื่องงบประมาณ แม้จะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่ก็เป็นอีกปัจจัยที่จำเป็น ในการดำเนินงานทุกงาน ทุกกิจกรรม มากหรือน้อย ก็พยายามบริหารการใช้อย่างคุ้มค่า และให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นบทบาทของทีมงาน ที่ทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากร่วมกัน ได้แก่ - บทบาทระดับจังหวัด และอำเภอ คือ การประสานงาน การให้นโยบาย - บทบาทของการทำกิจกรรมผู้สูงอายุ เกิดที่สถานีอนามัย เครือข่ายในพื้นที่สามารถ ขับเคลื่อนงานให้เกิดขึ้นได้ - บทบาทของท้องถิ่น ได้แก่ การร่วมวางแผน และสนับสนุนงบประมาณ

สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดพลัง

การเรียนรู้ และการสร้างสรรค์กิจกรรม เพื่อให้ชุมชนมีการดำเนินงานในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ สำหรับประชาชนในกลุ่มผู้สูงอายุ ก็คือ การจัดการความรู้ โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องความสำเร็จ และ

การเผยแพร่ เ พื่ อ การแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ผ่ า นชุ ม ชน Weblog ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ (http:// www.gotoknow.org/blogs/books/view/ km-dental-nonta) การเล่ า เรื่ อ งความสำเร็ จ (Success Story Telling) เป็ น วิ ธ ี ก ารหนึ่ ง ที่ น ำมาใช้ ใ น กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบการณ์ระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคลแบบไม่เป็นทางการ โดยใช้เทคนิคการกระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจ ให้บุคคลเล่าความทรงจำของประสบการณ์การเรียนรู้ และการทำงานที่ภาคภูมิใจให้บุคคลอื่นฟัง มีการสร้างบรรยากาศเชิงบวก เชิงชื่นชมยินดี ภายในวง หรือเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อที่ผู้ฟังจะได้เสริมคุณค่า และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของตน Success Story Telling จึงเป็นกระบวนการแบ่งปันประสบการณ์ที่ดี มีคุณค่า หรือสามารถนำ Best Practice ทั้งในระดับบุคคล และระดับหน่วยงานมาเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเปิดเผย การเล่าเรื่องความสำเร็จของการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ จากกลุ่มต่างๆ ที่ทำกิจกรรมฯ ทั้งในส่วนราชการ และประชาชน ตั้งแต่บุคลากรสาธารณสุข บุคลากร ท้องถิ่น และผู้สูงอายุ ได้จัดขึ้นภายใต้การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค และ ระดับจังหวัด ทำให้เกิดการเรียนรู้กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับผู้สูงอายุในลักษณะ

ที่แตกต่างกัน ตามบริบทของพื้นที่ จากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ผู้สูงอายุ และบุคลากร

ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้เล่าเรื่องความสำเร็จที่แท้จริงในการทำกิจกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ผู้เข้าประชุม เกิดความตั้งใจนำรูปแบบที่ได้เรียนรู้ ไปดำเนินการในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ของตนเองต่อไป

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

การจัดการความรู้ – จุดขยายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่ ชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ภายใต้การขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริม

51


การเผยแพร่เรื่องเล่ากิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จ ผ่าน Weblog ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/km-dental-nonta) ด้วยการเล่าบรรยายเนื้อหาสาระตาม จริง เน้นการถอดความจากเรื่องที่เล่า ทำให้ผู้อ่านได้รับรู้วิธีการปฏิบัติจริง เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ เกิดแนวคิดที่จะนำไปทำกิจกรรมต่อเนื่องในชุมชนของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี

จุดประกายความคิด ต่อยอดการทำงาน

มีเรื่องราวมากมายที่เป็นข้อคิด การกระทำ คำพูดดีดี ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวการทำงาน

ที่ผ่านมา ล้วนเกิดจากประสบการณ์การทำกิจกรรมจริงในพื้นที่ ทั้งในบริบทของบุคลากรผู้รับผิดชอบงาน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สูงอายุเอง อาทิ ทพญ.ลลนา ถาคำฟู สสจ.ลำปาง “... เราทำทั้ง ๓ โครงการ เพราะว่า ต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ที่มีฟันน้อยหรือ

ไม่มีฟัน มีฟันเคี้ยวได้ด้วยการใส่ฟันเทียม และผู้สูงอายุที่มีฟันอยู่ เมื่อมีความผิดปกติใดๆ ที่จะต้องรักษา จะได้รับการส่งเสริมป้องกัน โรคในช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ ได้แก่ ขูดหินปูน เคลือบฟลูออไรด์ เพื่อลดการสูญเสียฟัน ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และ

แลฟันของตัวเองที่มีเหลืออยู่ในปากไปได้ตลอดชีวิต ด้วยศักยภาพของผู้สูงอายุ และเพื่อสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตที่ดี …” การดู

คุณพ่อกมล เนตรรัศมี ชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่มวัดศรีหลวง อ.แจ้ห่ม ลำปาง “... ผมเป็นอาสาสมัครวิทยุชุมชน แจ้ห ่ม เรียกว่า จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนแจ้ห่ม ๙๘.๕๐ MHz ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา ๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. เวลา ๑ ชม.

ผมก็ เอาเรื่องต่างๆ หลายๆ เรื่อง ส่วนมากเอาในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ นำมาพูด เล่าสู่กันฟัง เรื่องอาหารบ้าง การออกกำลังกายบ้าง และจันทร์ที่แล้วได้ข้อมูลเรื่อง โรคฟันผุ โรคช่องปาก ก็เอาไปพูดที่จุดปฏิบัติการ ...”

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

52

นันทริกา เลิศเชวงกุล โรงพยาบาลแจ้ห่ม ลำปาง “... การทำโครงการนี้ ผลสุดท้ายก็คือ เพื่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ เพราะถ้าเกิดว่า เจ้าหน้าที่ลงไปดำเนินการเองในผู้สูงอายุ ก็อาจไม่สำเร็จ หรือไม่ยั่งยืน …” “... ยากที่สุด คือ ช่วงที่มารับงานใหม่ๆ เป็นการเปลี่ยนทัศนคติเดิมๆ จากการที่ไปออกหน่วย เราออกไปตรวจ

ต้องเอายา วิตามิน หรืออะไรลงไป … ตอนนี้เปลี่ยนความคิดแล้ว คือ ผู้สูงอายุจะไม่ถามเลยว่า หมอเอายามาไหม อยากได้วิตามิน ตอนนี้จะมาถามว่า หมอเอาเครื่องวัดความดันมามั๊ย หมอวัดรอบเอวให้มั๊ย เป็นสิ่งที่ดีมาก …” ทพญ.อัญชลี อารียา โรงพยาบาลสารภี เชียงใหม่ “... ความปรารถนาของผู้สูงอายุ ‘อยากมีสุขภาพที่ดี อยากมีลูก หลาน เพื่อนฝูง สังคมรักใคร่ อยากมีบ้าน มีหลักประกันที่ดีในสังคมในการดำรงชีวิต ... ทำให้มองว่า บทบาทหน้าที่ของเรา ที่บอกว่า ปากเป็นประตูสู่สุขภาพ ก็เปรียบเสมือนการวางรากฐานของเสาหลัก เราทำงานเรื่อง HEALTH อย่างเดียว เสาก็จะไม่สมบูรณ์

ควรทำให้ครบ” “... เวลาจะส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต้องยืดหยุ่น หลากหลาย เราไม่สามารถใช้รูปแบบใดเพียงรูปแบบเดียวใน

การทำงาน ควรจะผสมผสานใช้หลายๆ อย่าง เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความกระตือรือร้น และมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ...”

กรรณิการ์ ชุติพงศ์ศาศวัต สถานีอนามัยท่านัด อ.ดำเนินสะดวก ราชบุรี “...จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราคิดกันว่า การแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทำได้ง่าย เราคิดว่า แทนที่เราจะทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากของเราเป็นเรื่องยาก ไกลเกินตัว

ก็มาทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ ...” “... เรื่องการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน เรามองว่า เด็กนักเรียนยังแปรงได้เลย ผู้สูงอายุก็มีประสบการณ์ มีความ สามารถแล้ว เขาก็คงแปรงฟันเองได้ด้วย ...”

ทพญ.ปาณิศรา ตรีบุญพูล สสจ.ชัยภูมิ “การทำงานกับผู้สูงอายุ แรกๆ คิดว่า จะไม่สามารถทำงานกับผู้สูงอายุได้

ผู้สูงอายุคงจะไม่รู้ ไม่เข้มแข็ง แต่พอไปทำจริงๆ แล้ว ปรากฎว่า เราทำงานไม่เยอะเลย เราออกไปไม่กี่ครั้ง เพียงแต่ไปประสานงาน

เราก็สามารถสานต่อ เพราะว่า ได้ผู้สูงอายุช่วยเหลือเยอะ ที่เขาสามารถไปให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพต่อได้”


คุณแม่อุไรพร บุญหนา ชมรมผู้สูงอายุบ้านโสก อ.คอนสวรรค์ ชัยภูมิ “... แต่ก่อนผู้สูงอายุเคี้ยวหมาก ไม่ค่อย

แปรงฟัน มีกลิ่นปาก ตอนนี้ เราก็ไปบอก ไปสาธิตการแปรงฟันให้เขา อาหารการกิน กินกันยังไง ก็บอกกันไป … สุขภาพช่องปากก็ดี ขึ้นมาก ต้องไปกระตุ้นกัน … ตอนนี้ในตระกร้าหมาก ก็จะมีแปรงสีฟันด้วย ... และตอนนี้ลดการเคี้ยวหมากกันบ้างแล้ว

ศิ ริ จิ น ต์ ดำรงคดี ร าษฎร์ อบต.ท่ า นั ด อ.ดำเนิ น สะดวก ราชบุ รี “... การสนั บ สนุ น นั้ น ไม่ ไ ด้ ส นั บ สนุ น เป็ น

รายกิจกรรม แต่สนับสนุนเป็นแบบภาพรวม คือ การบูรณา การงานที่เกี่ยวกับสุขภาพไว้ด้วยกัน งานไหนที่เห็นว่ามีประโยชน์ ก็จะ สนับสนุนงบประมาณ และความร่วมมือตลอด ทุกครั้ง ...”

ทพญ.ดลฤดี แก้วสวาท ศูนย์อนามัยที่ ๔ ราชบุรี “... ทุกคนมีใจกันแต่แรก มีแรงร่วม คือ การมองในเรื่องคุณภาพ ชีวิต เพราะว่า อยากให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมร่วมกัน มีความสุข เรื่องกายอาจมีการเสื่อม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ว่า ความสุขที่ เกิดจากการมาร่วมกิจกรรม ร่วมกันทำให้ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนแปลงไป ก็จะมีความรู้สึกสดชื่น มีพลังที่จะกลับไปทำงานต่อไป …” “การดำเนินกิจกรรมของศูนย์อนามัยที่ ๔ ทำได้ไม่ยาก คือ ... พยายามทำให้เครือข่ายผู้สูงอายุเจอกันกับผู้รับผิดชอบ บ่อยๆ สนับสนุนสิ่งที่จำเป็นที่ทำได้ ให้กำลังใจ และร่วมพัฒนาไปเรื่อยๆ ผลลัพธ์ที่ออกมา ก็มีแนวโน้มว่า จะไปได้ดี แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือ ต้องมีใจที่จะทำ ...”

เสรี สัจกุล สสจ.สตูล “... งง งง อยู่พักใหญ่ คิดว่า ทำไงดี ... คิดคนเดียว เวียนหัว เลยมาประชุมคณะทำงาน มีกลุ่มงาน ส่งเสริมสุขภาพ สสจ. เป็นที่ปรึกษาชั้นเยี่ยม เพราะเขาทำงานผู้สูงอายุมานาน แต่ทันตฯ ยังไม่ได้ทำรูปแบบที่แน่ชัด ... จึงเรียนรู้ คุยกัน ได้ข้อมูลมากมาย ... เราก็เริ่มทำงานได้ “คนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือ ผู้สูงอายุที่สาขาสภาผู้สูงอายุ เป็นที่ปรึกษา เขาชำนาญ จึงช่วยทำกิจกรรมได้มากขึ้น ...” “ผู้สูงอายุต้องใช้ภาษาที่เรียบง่าย ฟังแล้วเข้าใจ ถ้าใช้ภาษาราชการ จะมีปัญหา ต้องใช้ภาษาท้องถิ่น”

ผู้ สู ง อายุ ที่ บ้ า นควน อ.เมื อ ง สตู ล “เมื่ อ มี โ ครงการนี้ ก็ รู้ สึ ก ว่ า ดี มารวมตั ว กั น ได้ กรรมการได้ ม าพู ด คุ ย กั น

ได้รู้จักกัน โดยมีกิจกรรม เรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และชุดสิทธิประโยชน์ …” “... มี ร ากไม้ ช นิ ด หนึ่ ง เป็ น ฝอยเหมื อ นกั บ แปรง ก่ อ นการละหมาด เขาจะถู ฟั น ไปมาทุ ก ครั้ ง บทบั ญ ญั ติ

ทางศาสนาบอกว่า การเข้าละหมาดต้องแปรงฟันให้สะอาด จึงจะสมบูรณ์ ถ้าปากเหม็น ของเหม็นๆ การละหมาดนั้นจะไม่สมบูรณ์

จึงต้องมีการแปรงฟันด้วย ... ใครแปรงฟันจากไม้แล้วจะได้บุญ ...” “... ปากเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าทานดีก็จะออกมาดี ทานไม่ดีก็ออกไม่ดี เพราะฉะนั้น ก็ต้องดูแลช่องปากให้ดี …”

ดาลิซา โกบบาลี โรงพยาบาลทุ่งหว้า สตูล “... ดีใจที่ได้ทำกิจกรรมนี้ ได้ดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่า

ด้านการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟู โครงการนี้สามารถต่อยอดไปโครงการฟันเทียมได้ และเมื่อถามความรู้สึกของผู้สูงอายุ

เขาบอกว่า ดีใจที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม คิดว่า อยากให้มีโครงการต่อไปอีกนานๆ ...” เสรี สัจกุล “... เราอยากให้สิ่งที่ไปกับผู้สูงอายุ คือ สภาวะทันตสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุฟื้นฟูกลับมา ...” “... เมื่อทำไปสักพักหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้อยากทำต่อ เพราะไม่คาดคิดว่า เริ่มจากศูนย์ จากที่ไม่ได้คิดว่าจะเดินทางไหน ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราเดินไปถูกทางหรือเปล่า แต่ผลที่ได้รับกลับมา มีผู้สูงอายุที่ไม่ได้อยู่ในชมรม เรียกร้องว่า เมื่อไรคุณหมอจะลงไปทำในพื้นที่เขาบ้าง เขาอยากทำ เขาอยากทำเหมือนชมรมหมู่ที่ ๔ เขาอยากทำเหมือนสถานีอนามัยโน้นจังเลย คุณหมอไปทำได้ไหม มีถึงขั้นที่ว่า ไปบอกกับทาง อบต. ว่า พาเขาไปดูชมรมของบ้านควนหน่อย เห็นเขาทำ ผู้สูงอายุได้รับการ

ตรวจฟัน มีการแปรงฟันกันอย่างดี เขาอยากได้กิจกรรมนั้นบ้าง กลายเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแรงผลักดัน ที่จะให้เจ้าหน้าที่ของเรา ทำงานแบบมีกำลังใจมากขึ้นเรื่อยๆ …” “... สิ่งที่พบจากโครงการใหม่นี้ก็คือ ผู้สูงอายุเลิกกลัวการทำฟัน เดินเข้ามาหาเรามากขึ้น หมู่บ้านอยากที่จะมาร่วม กิจกรรม และเจ้าหน้าที่มองเห็น ว่าเขาทำไปแล้ว เขาจะขยายกิจกรรมนี้ ไปในพื้นที่อื่นได้อย่างไร ...”

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ทพ.จิตตกร แก้วอุทัย โรงพยาบาลสตูล “...การได้มีโอกาสออกไปทำงานภายนอกห้องสี่เหลี่ยมถือเป็นประสบการณ์ การทำงานที่ท้าทาย และสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในการทำงานได้ไม่น้อย ...”

53


“... เราทำงานกันหลายภาคส่วน โครงการนี้ถึงได้ขับเคลื่อนได้ เราสามารถบูรณาการงาน โดยนำเอางานผู้สูงอายุ เข้าไปในทุกๆ งาน ทำให้กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งเรื่องของฟัน สุขภาพ โรคเรื้อรัง เรื่องอาหาร และการออกกำลังกายด้วย ซึ่งสุดท้าย เกิดเป็นนวัตกรรม ก็คือ ดูเรื่องช่องปาก เรื่องอาหารการกิน จนผู้สูงอายุเสนอโครงการกับ เราว่า เขาอยากได้โครงการผู้สูงวัยเลิกกินหวาน ...” จากการทำกิจกรรม ค้นพบว่า “... การเริ่มต้น ต้องทำความเข้าใจกับเขาก่อน ว่าจะทำอะไรให้เขา และต่อจากนั้น เขา จะต้องทำอะไรต่อด้วยตัวของเอง เพื่อที่จะทำให้สุขภาพช่องปากดี ...” “... วิธีการทำงานคือ หนึ่งคนที่พูดได้ เราก็ต้องไปสร้างแกนนำ สร้างเครือข่ายขึ้นมา คุยรูปแบบการทำงานให้เขาได้ รับทราบ และนำเขาเหล่านี้มาช่วยพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้สูงอายุของเรา ในส่วนของการประกอบอาชีพ ฤดูกาล ปรากฏว่าผู้สูงอายุ ยังต้องทำงาน ที่สตูลยังทำสวนยางกัน เพราะฉะนั้น

เราหาเวลาที่เขาว่าง และเข้าไปแทรกทำกิจกรรม ...”

“... ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เขาจะมารวมตัวกันได้ง่ายกว่ามาโรงพยาบาล เวลานัดผู้สูงอายุ ก็จะประสานกับ อสม. ...”

การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ทพ.สำราญ ปิตากุลดิลก สสจ.นครศรีธรรมราช “... ถ้าผู้สูงอายุมาทำฟันเทียมกันเยอะๆ ศักยภาพของน้องๆ พร้อม ที่จะทำ แต่ยังขาดความมั่นใจ จึงพัฒนาศักยภาพ โดยจัดอบรมทันตบุคลากรในการทำฟันเทียม พี่ที่จบด้านฟันเทียมเป็นวิทยากร อบรมภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และอบรมฟื้นฟูผู้ช่วยทันตแพทย์เรื่องการทำ Block เมื่อปี ๒๕๔๘ และ ๒๕๕๑ …” “...จังหวัดตั้งเป้าหมายทำฟันเทียมปีละประมาณ ๑,๐๐๐ ราย นครศรีธรรมราชมีผลงานการใส่ฟันเทียมตรงตาม เป้าหมายทุกครั้ง เพราะจังหวัดมีการประชุมติดตามงานเกือบทุกเดือน เมื่อได้รับเป้าหมายแล้ว ต่างก็ไปทำ เมื่อมีปัญหา มาคุยกัน และปรับเป้าหมาย ตอนนี้ ฟันเทียมพระราชทาน กลายเป็นงาน Routine ของโรงพยาบาลแล้ว …”

54

ทพญ.ศิรานันท์ พราหมณี โรงพยาบาลทุ่งสง นครศรีธรรมราช “... การทำงานกับชุมชน ต้องร่วมกันเป็นเจ้าภาพ แบบไตรภาคี ชวนคิด ชวนคุย นัดหมาย ประสานท้องถิ่น โดยผู้ประสานงานของชมรม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพราะเป็นครูมาก่อน ทีมงาน ทันตบุคลากรเป็นเจ้าภาพหลัก ผลักดันให้เป็นไปตามเป้าหมาย ใช้กระบวนการชาวบ้านเป็นตัวขับเคลื่อน ให้ท้องที่/ท้องถิ่น เข้ามาสนับสนุน โดยทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ ผู้สูงอายุได้รับการรักษาดูแลสุขภาพ ได้รับความรู้ นักการเมืองท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่ บ้าน ได้หน้าตา ชื่อเสียง ทีมงาน เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติโครงการให้ชาวบ้านรู้จักรักษาดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และผู้อื่น ...” ประพันธ์ อินทสุวรรณ และบุญช่วย สวัสดิโกมล ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลทุ่งสง “ที่ทุ่งสง ชมรมคิดโครงการเอง

ทำเอง หางบประมาณเอง จากบริษัท ห้างร้าน ต่อยอดกิจกรรมไปสู่โรงเรียน เช่น การแปรงฟันหลังอาหาร คนสองวัยใส่ใจสุขภาพฟัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ รักษาฟันให้คงอยู่” “ชอบจ้าน (มาก) โครงการนี้ ทุ่งสงมีชมรมอยู่แล้ว ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพหลายอย่าง ก่อนที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ไม่มา ปวดฟัน เราก็หายามาใช้เอง หา ‘คราดหัวแหวน’ (พืชสมุนไพรมีสรรพคุณแก้ปวดฟัน) มากิน มาทา ก็พอหายปวด แต่วันนี้

เรามารู้ว่า เราต้องป้องกันมากกว่าการรักษา เจ้าหน้าที่ก็มีหมอฟันมา เราก็ได้ปัญญาไปสอนลูกหลาน” จังหวัดนครศรีธรรมราช “สิ่งที่เห็น คือ ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม ตื่นตัวมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้ามารับ บริการทันตกรรม แต่เดิมที่ว่า ถอน-ใส่ อย่างเดียว มาเป็น ทำอย่างไรให้ช่วยกันรักษาให้ได้ดียิ่งขึ้น หรือบางทีผู้สูงอายุบอกว่า มีอะไร ให้ท่านช่วยเจ้าหน้าที่ได้บ้างด้วยซ้ำไป และเรื่องความตื่นตัวของภาคเอกชน เริ่มมีมากขึ้นที่ให้การสนับสนุน ในส่วนของเจ้าหน้าที่ หลังจากได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จากที่เคยคิดว่า เจ้าหน้าที่นำความรู้ไปสอนชาวบ้าน วันนี้ หลายเรื่องที่เป็นภูมิปัญญารักษาเหงือกฟัน ทันตบุคลากรก็ได้เรียนรู้จากภูมิปัญญา ทำให้วันนี้มีความสุขในการทำงาน มีความสุขใน การลงพื้นที่ การทำงานโครงการนี้ได้ประโยชน์ร่วมกัน เจ้าหน้าที่ได้ผลงาน ความภูมิใจ ความสนุก สบายใจ .. ผู้สูงอายุได้ ประโยชน์กับตนเอง กับลูกหลาน กับคนรอบข้าง กับสังคมที่อยู่ เกิดความภูมิใจในตนเอง องค์กรท้องถิ่น องค์กรเอกชน ได้ชื่อ ได้เสียง ...” “... ความรู้สึกดี ที่ได้ดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ไม่ใช่แค่ ทำฟันเสร็จถอนฟันเสร็จ ก็เป็นอันจบกัน เพราะเมื่อได้ เข้าไปในชมรม ได้รู้ว่า เขามีกิจกรรมอะไรกันบ้าง เขามีศักยภาพที่เราคาดไม่ถึง มีความรู้สึกดี ที่ได้เห็นผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรม มีความสุข มีความเข้าใจ และกล้าเข้าสังคมมากขึ้น ทำให้มีความสุขในการทำงาน และรู้สึกดีที่ได้รับความรู้สึกดีดี จากผู้สูงอายุ ...”


ศุภลักษณ์ นุสุข ทันตาภิบาล สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติหัวไทร “... วันนี้ เราทำงานง่ายขึ้น ผู้สูงอายุมีภูมิปัญญา มีพลังในการดูแลตนเองและลูกหลาน มีหลายชมรมฯ เดินเข้ามาขอร่วมโครงการฯ หลายชมรมมีกิจกรรม มีโครงการดูแลรักษาสุขภาพ อยู่แล้ว เพียงเอาโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากไปต่อยอด ก็ขยายเครือข่ายได้ไม่ยาก ...” “... การดำเนินงาน อาศัยปฏิทินชุมชน สมมติเราจัดกิจกรรมวันนี้ แล้วทุกคนไม่ว่าง ไปทำงานกันหมด หรือไปอยู่วัด มีงาน ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมา เราปรับเปลี่ยนให้เจ้าหน้าที่เข้าสู่ชุมชน โดยไปเจอกันที่วัด หลังงานบุญ คุยกันนิดหนึ่งก็จะสนุกสนาน เฮฮา ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้สูงอายุก็จะทำได้ กิจกรรมลื่นไหลมากขึ้น ...”

อังคณา สังข์เงิน โรงพยาบาลแหลมงอบ ตราด “… เราเริ่มสนใจเรื่องสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เมื่อได้ทำโครงการ ฟันเทียมพระราชทาน ที่เน้นการให้บริการใส่ฟันเทียม อำเภอแหลมงอบมีโควต้าปีละ ๑๐ คน มีคิวประมาณ ๓๐๐ คน ซึ่งคิดว่า ทันตแพทย์คนเดียวไม่สามารถรองรับบริการได้ จึงมาสนใจในเรื่อง ทำอย่างไรให้ฟันของผู้สูงอายุยืนยาวอยู่ได้ …”

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

ทพญ.พิมพ์วิภา เศรษฐวรกุล โรงพยาบาลนาโยง ตรัง “... กิจกรรมที่ทำใน ๓ แห่ง มีความแตกต่างกัน ครั้งแรกทำที่ นาหมื่นศรี ก็ได้รับผลเป็นชมรมต้นแบบระดับจังหวัด ... พอมาทำที่นาโยงเหนือ ก็ได้เรียนรู้ว่าเรา Copy มาทั้งหมดไม่ได้ ต้องปรับ เปลี่ยนรูปแบบไปตามบริบท เพราะว่า นาโยงเหนือ เป็นชมรมกึ่งเมืองกึ่งชนบท ขณะที่นาหมื่นศรีเป็นชนบท …” “... แกนนำผู้ สู ง อายุ มี ค วามสำคั ญ เพราะว่ า การเข้ า ไปถึ ง ผู้ สู ง อายุ ใ นชมรมฯ คื อ เป้ า หมาย แต่ เ รา

ไม่สามารถเข้าไปถึงเป้าหมายทุกคนได้ ก็ต้องเข้าไปในส่วนของแกนนำก่อน เพื่อปรับความเข้าใจ และให้แกนนำเชื่อมโยงต่อ ทั้งข้อมูล ความรู้ ไปสู่ผู้สูงอายุที่อยู่ในชมรมฯ เป็นกลยุทธ์หาความร่วมมือ ...” “... ผู้นำท้องถิ่นมีความสำคัญ จะมีผู้นำแบบทางการที่ได้รับการแต่งตั้ง และผู้นำธรรมชาติที่เกิดจากจิตอาสา โครงการที่ประสบความสำเร็จ ต้องเกิดจาก ๓ ฝ่ายหลัก คือ สาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำท้องถิ่น และผู้สูงอายุ

เราจึงต้องหาทีมสุขภาพ ...”

55


การส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู งวัย เล่มที่ ๔

ภาคผนวก

56


โครงการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในจังหวัดต้นแบบ

ส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู ง อ า ยุ

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

๑๗-๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมอ่าวนางวิลล่า รีสอร์ม จังหวัดกระบี่

57


58

สการส ร้ า งร้เ สา งริเมสสุริขมภสุาขพภช่า อพงช่ปอางกปผูา้ สูก ผู ง อ้ สูางวั ยุ ย เล่มที่ ๔


ภ าพกิ จ กรรม

ส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ช่ อ ง ป า ก ผู้ สู ง อ า ยุ

“ชุมชนร่วมสร้าง...สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากดี”

แลกเปลี่ ย น...เรี ย นรู้ . ..ต่ อ ยอดกิ จ กรรม ทั้ ง ในระดั บ กลาง และในพื้ น ที่

59

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากตนเอง กลุ่ ม และชุ ม ชน


ภ าพกิ จ กรรม

สการส ร้ า งร้เ สา ริง มเ สสุริขมภสุาขพภช่าอพงช่ปอางกปผูา้ สูกงผูอ้ สูา งวั ยุ ย เล่มที่ ๔

รณรงค์ เผยแพร่ สื่ อ ความรู้ เ รื่ อ งสุ ข ภาพ แก่ ชุ ม ชน สื่ อ สาธารณะ

เพื่ อ นช่ ว ยเพื่ อ น จิ ต อาสา ร่ ว มกิ จ กรรมชุ ม ชน

60

ปาก คื อ ประตู สู่ สุ ข ภาพ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.