การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

Page 1



ที่ปรึกษา ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ รองอธิบดีกรมอนามัย ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข จัดทำโดย สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กองบรรณาธิการ ทพญ.วรางคนา เวชวิธี ทพญ.สุปราณี ดาโลดม ทพญ.ชวัลลักษณ์ แก้วมงคล ทพญ.นนทลี วีรชัย นายเสน่ห์ ครุฑษา พิมพ์ครั้งที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ที่ สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก


... คำนำ ... การมีอนามัยช่องปากที่ดี มีฟันใช้เคี้ยวอาหาร อย่างเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากจะทำให้สุขภาพ

ช่องปากดี ไม่มีโรค ลดการสูญเสียฟันแล้ว ยังส่งผลต่อ สุขภาพและคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น หนั ง สื อ ชุ ด การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก

ผู้สูงอายุเล่มที่ ๕ “ร่วมคืนรอยยิ้มผู้สูงวัย ร่วมใส่ใจสุขภาพ ช่ อ งปาก” จึ ง ได้ จั ด ทำขึ้ น โดยรวบรวมเนื้ อ หาสาระที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากด้ ว ยตนเอง จาก หนังสือ “ร่วมคืนรอยยิ้มผู้สูงวัย ร่วมใส่ใจสุขภาพช่องปาก” ที่จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๙ และเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึ ง ได้ เ พิ่ ม เติ ม เนื้ อ หาในส่ ว นของการดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปาก

ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องการผู้ดูแล ซึ่งกรมอนามัย หวั ง ว่ า จะเป็ น ประโยชน์ ต่ อ ผู้ สู ง อายุ รวมทั้ ง นั ก วิ ช าการ และบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุต่อไป

(ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี) อธิบดีกรมอนามัย สิงหาคม ๒๕๕๕



สำหรับผู้สูงวัย ✏ ฟั น เป็ น อวั ย วะสำคั ญ ที่ ต้ อ งใช้ ใ นการกิ น อาหาราทั้งการเคี้ยว กัด กลืน และการพูด ✏ การสูญเสียฟัน การเกิดรอยโรค และความ เจ็บปวดในช่องปาก จัดเป็นปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่งในผู้สูงวัย ที่ ส่ ง ผลกระทบโดยตรงต่ อ สุ ข ภาพร่ า งกาย จิ ต ใจ และ คุณภาพชีวิต ✏ การรั ก ษารอยโรค หรื อ การใส่ ฟั น เที ย ม

แก่ผู้สูงวัยมักจะยุ่งยากซับซ้อนกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ เนื่องจาก สุขภาพร่างกาย และสภาวะโรคในช่องปากที่เรื้อรังมานาน ทำให้ใช้เวลานาน หลายครั้ง หลายขั้นตอน ที่ต้องการ ความร่วมมือจากผู้สูงวัยที่มารับบริการ จึงไม่สะดวกทั้งตัว

ผู้สูงวัยและผู้ดูแล ✏ ดังนั้น การดูแลสุขภาพด้วยตนเองหรือผู้ดูแล ที่บ้าน และการป้องกันโรคในช่องปากเพื่อลดโรค ลดการ สูญเสียฟัน ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้สูงวัย

1


การดูแลสุขภาพ

ช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ

สามารถปฏิ บั ติ ไ ด้ ด้ ว ยตั ว ผู้ สู ง วั ย เอง หรื อ

โดยผู้ ดู แ ลในกรณี ที่ ผู้ สู ง วั ย ช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองไม่ ไ ด้ สำหรั บ

ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ เรื่องที่ต้องการการดูแลมี 4 เรื่อง คือ 1. การทำความสะอาดฟันแท้ และฟันเทียม (ฟันปลอม) 2. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง 3. การเลือกรับประทานอาหาร 4. การรั บ บริ ก ารตรวจป้ อ งกั น และรั ก ษาจาก

ทันตบุคลากร

1. การทำความสะอาดฟันแท้และฟันเทียม (ฟันปลอม) กรณีที่มีฟันแท้ ควรทำความสะอาด ด้ ว ยการ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า และก่ อ นนอนให้ ทั่ ว ถึ ง ทุ ก ซี่ ทุ ก ด้ า น

ให้ ม ากที่ สุ ด โดยเฉพาะบริ เ วณคอฟั น ด้ ว ยแปรงสี ฟั น ขนาดเล็ ก เหมาะสมกั บ ขนาดช่องปาก ขนแปรงนิ่ม ซึ่งอาจใช้ แปรงสีฟันสำหรับ เด็ก นำมาดัดแปลง 2


ด้ า มแปรง เพื่ อ ให้ จั บ ได้ ถ นั ด มื อ ขึ้ น ร่ ว มกั บ การใช้ ย าสี ฟั น ผสมฟลู อ อไรด์

ที่มีจำหน่ายทั่วไป

✏ สำหรั บ ด้ า นหลั ง ของฟั น ซี่ สุดท้าย หรือฟันที่เหลือซี่เดี่ยว โดย ไม่มีฟันข้างเคียง การใช้แปรงกระจุก เดียวจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าและ ดีกว่า

3


✏ บริเวณระหว่างซี่ฟันหรือซอกฟัน ขนแปรงสีฟัน อาจเข้าไม่ถึง ควรใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดเพิ่มเติม

✏ ถ้ามีชอ่ งระหว่างซีฟ่ นั ทีก่ ว้าง ควรใช้แปรงซอกฟัน หรือไม้จิ้มฟันช่วยกำจัดเศษอาหารด้วย ซึ่งถ้าเลือกใช้ไม้จิ้ม ฟันก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดย • ไม้จิ้มฟันที่ใช้ต้องมีปลายเรียว บาง มนกลม ไม่มีเสี้ยน • ใช้เพื่อเขี่ยเศษอาหาร ออกจากบริเวณซอก ฟันเพิ่มเติมจากการแปรงฟันปกติ • ถ้ า ใช้ ท ำความสะอาดคอฟั น ควรทำให้ ปลายแตกเป็นพู่ก่อน แล้วค่อยๆ ครูดไประหว่างคอฟันและ ขอบเหงือก

4


กรณีใส่ฟันเทีย มชนิดถอดได้

✏ ถอดฟั น เที ย มออกทุ ก ครั้ ง ก่ อ นทำความสะอาดฟั น แท้ ตามปกติ ✏ หลังอาหารทุกมื้อ ให้ ถอดฟั น เที ย มออกมาทำความ สะอาด ✏ ก่ อ นนอนทุ ก ครั้ ง ทั้ ง นอน กลางวัน และกลางคืน ให้ถอดฟันเทียม ออกมาทำความสะอาด และแช่น้ำสะอาด ทิ้งไว้ ✏ การทำความสะอาดฟันเทียม ชนิดถอดได้ สามารถทำได้โดยใช้แปรงสีฟัน ขนนิ่ม ชุบน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน แปรงให้ทั่วแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือใช้แปรงสีฟันขนนิ่ม และยาสีฟันชนิดครีมแปรง ให้ทั่ว แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ไม่ใช้ยาสีฟันที่เป็นผง เพราะจะทำให้ฟันเทียมที่เป็นพลาสติกสึกง่าย ✏ กรณี ที่ ฟั น เที ย มนั้ น ใช้ ม านาน ติ ด สี น้ ำ ตาลดำ

มีคราบบุหรี่หรือคราบอาหารที่ล้าง และแปรงด้วยน้ำสบู่

ไม่ออก ให้ใช้เม็ดฟู่สำหรับแช่ทำความสะอาดฟันเทียมช่วย

ซึ่งมีจำหน่ายในคลินิกทันตกรรมทั่วไป

5


2. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่างทำให้เนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น กระพุ้ ง แก้ ม เพดานปาก ลิ้ น เกิ ด อาการอั ก เสบ แสบ ร้ อ น

ระคายเคือง อาจกลายเป็นสาเหตุของรอยโรคในช่องปากได้ ตั้งแต่ เชื้ อ รา ไปจนถึ ง เป็ น มะเร็ ง ในช่ อ งปากดั ง นั้ น จึ ง ควรหลี ก เลี่ ย ง พฤติกรรมเสี่ยง เช่น ✏ การสูบบุหรี่ ยาเส้น ยานัตถุ์ นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เนื้อเยื่อ เช่น การติดเชื้อรา ไปจนถึงเป็นมะเร็งในช่องปากแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์ สูญเสียกระดูกที่หุ้มรอบตัวฟัน อาจทำให้ฟันโยก โดยไม่มีอาการ บวมแดงที่เหงือก และต้องสูญเสียฟันในที่สุด นอกจากนี้ ยังส่ง ผลต่ อ สุ ข ภาพร่ า งกาย ทำให้ เ สี่ ย งต่ อ โรคความดั น โลหิ ต สู ง หลอดเลือดอุดตันและมะเร็งปอดอีกด้วย ✏ การเคี้ยวหมาก หรือเคี้ยวหมากผสมยาเส้น ✏ การดื่มเครื่องดื่ม หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ ผสมบ่อยๆ ✏ การละเลยต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น • ปล่อยให้มีรากฟัน หรือฟันผุที่ต้องถอนอยู่ใน ช่องปากนานๆ • ปล่อยให้มีวัสดุอุดฟันแตก บิ่น • มีฟันเทียมที่ใช้มานานหลวม ขยับไปมา เวลา เคี้ยว อาหาร หรือ ฟันเทียมแตก หัก ชำรุด คม บาดแก้ม และลิ้นหรือฟันเทียมที่ไม่พอดี กดบริเวณข้างแก้มจนเจ็บ เป็นแผล • มี แ ผลในช่ อ งปากเรื้ อ รั ง จากการกั ด ข้ า งแก้ ม กัดลิ้น 6


3. การเลือกรับประทานอาหาร ✏ ควรรับประทานอาหารให้เป็นมื้อ งดอาหารว่าง และหลี ก เลี่ ย งการรั บ ประทานหลั ง การแปรงฟั น และ

ก่อนนอน ✏ ถ้างดอาหารว่างไม่ได้ ควรเลือกรับประทาน

อาหารพวกโปรตี น ถั่ ว ต้ ม หรื อ ผลไม้ ส ด แทนอาหาร ประเภทแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะที่หวาน หรือติดฟันง่าย

แปรงออกจากฟันได้ยาก ✏ หลี ก เลี่ ย งอาหารที่ เ หนี ย วและแข็ ง ที่ อ าจ ทำให้ฟัน และวัสดุอุดฟันบิ่น หรือแตกหัก ✏ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ บุหรี่ ยาเส้น ยานัตถุ์ หมาก เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

7


4. การรับบริการตรวจ ป้องกันและรักษาโรค

จากทันตบุคลากร ควรตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน เพื่อการ ป้องกันและรักษาโรคในช่องปากในระยะแรกเริ่ม ซึ่งบริการ ที่ควรได้รับ ได้แก่ ✏ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง และเหมาะสม ✏ การทาฟลูออไรด์แบบเข้มข้น บริเวณคอฟัน เช่น ฟลูออไรด์เจล วานิช เพื่อป้องกันรากฟันผุ ✏ การอุดฟันในกรณีฟันผุ ด้วยวัสดุชนิดกลาส ไอโอโนเมอร์ซึ่งปลดปล่อยฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุซ้ำ ✏ การขูดหินน้ำลาย และทำความสะอาดฟัน เพื่อ ป้องกันการเกิดเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์หรือรำมะนาด

8


ช่องปาก

การดูแลอนามัย สำหรับผู้สูงอายุ

ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

ข้ อ แนะนำในการดู แ ลอนามั ย ช่ อ งปากสำหรั บ

ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรยึดหลักการให้ผู้สูงอายุ ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดก่อน เช่น ถ้าผู้สูงอายุจับแปรง เองได้ ก็ ใ ห้ จั บ แปรงเอง และช่ ว ยตรวจดู ว่ า สะอาดหรื อ ไม่

ถ้าจับแปรงเองไม่ได้ จึงเข้าไปช่วย พยายามให้มีกิจกรรม ช่วยเหลือตนเองแบบง่ายๆ ถ้าทำไม่ได้จริงๆ ค่อยทำให้ 1. การแปรงฟันผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 1.1 อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ แปรงสีฟัน 1-2 ด้าม

ผ้าขนหนู ชามรองรูปไต และถุงมือ 1.2 ตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการแปรงฟัน ให้ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุนอนตะแคงพร้อมมีอ่างหรือชามรูป ไตรอง ถ้าวางไม่ได้ให้ใช้ผ้าขนหนูรอซับน้ำที่ตำแหน่งนั้น

ผู้ ช่ ว ยเหลื อ หรื อ ผู้ ดู แ ลอาจจะอยู่ ท างด้ า นหลั ง หรื อ อยู่

ด้านข้าง หรือให้ผู้ป่วยหนุนตัก 1.3 วิธีการ • ใช้แปรงสีฟัน 2 อัน อันหนึ่งใช้สำหรับ แปรงฟัน อีกอันหนึ่งใช้ด้ามแปรงช่วยรั้งช่องปาก โดยอาจ ปรับรูปร่างทำให้ด้ามแปรงงอเป็นมุมเหมือนกระจกส่องปาก 9


นอกจากนี้ อาจใช้ไม้กดลิ้นพันผ้าก๊อซหนาๆ ให้ผู้สูงอายุกัด เพื่อให้มีช่องว่างในช่องปากที่สามารถเข้าไปทำความสะอาดฟันได้ • แปรงสีฟันไฟฟ้า ปัจจุบันใช้ได้ดี สะดวก กับผู้ดูแลที่จะแปรงให้ มีรายงานว่า หัวแปรงแบบกลมๆ หมุน

มีประสิทธิภาพดีที่สุด • ในห้ อ งดู แ ลผู้ ป่ ว ยฉุ ก เฉิ น (ICU) หรื อ

หอผู้ป่วย นิยมใช้ฟองน้ำที่เรียกว่า oral swab เพื่อเอาเศษ อาหารก้อนใหญ่ออก ตามด้วยการแปรงฟัน หรือใช้ผ้าก๊อซ

ถูซ้ำ เพราะผู้ที่ดูแลตัวเองไม่ได้ มักมีเศษอาหารติดข้างกระพุ้ง แก้ม Oral Swab มี 2 แบบ คือ แบบที่ไม่ชุบอะไรเลย ถ้าเอา มาชุบน้ำยาบ้วนปาก จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น แต่ไม่มีผลต่อ ความสะอาด และแบบที่ชุบ lemon glycerin ห้ามใช้ใน

ผู้สูงอายุ เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อแห้ง 1.4 ลำดับขั้นตอน วิธีการแปรงฟัน ควรทำเป็น ระบบ โดย 1) ใช้ Oral Swab หรื อ ผ้ า ก็ อ ซ นำเศษ อาหารก้อนใหญ่ออกก่อน

10


2) แปรงด้านนอก หรือด้านกระพุ้งแก้ม โดยให้คนไข้ กั ด ฟั น ไว้ แล้ ว แปรงด้ า นนอกให้ ครบทุกซี่ 3) แปรงด้านใน ซึ่งมักจะมีปัญหาว่าผู้สูงอายุ ไม่ อ้ า ปาก ให้ เ อามื อ ลู บ แก้ ม ทั้ ง 2 ข้ า ง โดยใช้ นิ้ ว ลู บ

ริ ม ฝี ป ากให้ รู้ สึ ก ผ่ อ นคลายกล้ า มเนื้ อ แล้ ว ค่ อ ยๆ เอานิ้ ว

ล้วงลงไปให้อ้าปาก เริ่มจากแปรงฟันหน้าบน โดยวางแปรง ในแนวตั้ง แปรงฟันหลังบน แล้วแปรงฟันหน้าล่าง ฟันหลัง ล่างเป็นตำแหน่งสุดท้าย

ใช้ผ้าพันตะเกียบเพื่อช่วยผู้สูงอายุอ้าปาก

อ่างรองน้ำบ้วนปาก

ใช้ด้ามแปรงเพื่อช่วยผู้สูงอายุอ้าปาก

ฟองน้ำ, ผ้าก๊อซ, ผ้าสาลูเช็ดเหงือก

11


4) คอยซั บ น้ ำ ลายและเศษอาหารตลอดเวลา กรณี ที่ อ ยู่ ใ นโรงพยาบาลก็ ใ ช้ ที่ ดู ด น้ ำ ลายในหอผู้ ป่ ว ย

ซึ่งอนาคตที่โรงพยาบาลจะมีผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดเตียงมากขึ้น

ถ้าเป็นที่บ้านก็ใช้ผ้าซับ กรณีที่ไม่มีที่ดูดน้ำลาย แต่สำหรับ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาอื่นๆ เช่น กลืนลำบาก (dysphagia)

ต้องมีที่ดูดน้ำลายที่บ้าน เพราะน้ำที่จะใช้บ้วนปาก ต้องใส่ กระบอกฉีดยา (Syringe) ขนาด 10 ซีซี ค่อยๆ ฉีดน้ำ

ทีละน้อยระหว่างแปรง และต้องใช้ที่ดูดน้ำลายตลอดเวลา เพื่อไม่ให้สำลัก สำหรั บ ผู้ สู ง อายุ ที่ ช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองไม่ ไ ด้ ให้

ยื ด หยุ่ น อาจจะไม่ ยื ด หยุ่ น ต้ อ งแปรงเช้ า และเย็ น เสมอไป เพราะบางทีตอนเช้ามีกิจกรรมมาก เช่น เช็ดตัว กินข้าว ย้ายจากเตียงมานั่ง เปลี่ยนเวลามาแปรงฟันเวลาบ่ายก็ได้

แต่ อ ย่ า งน้ อ ยที่ สุ ด ผู้ สู ง อายุ ที่ ช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองไม่ ไ ด้ ขอให้

ผู้ ดู แ ลและแปรงฟั น ให้ วั น ละครั้ ง โดยใช้ ย าสี ฟั น ผสม

ฟลูออไรด์ และผู้ดูแลอาจต้องช่วยกันมากกว่าหนึ่งคน 1.5 ข้อควรระวังสำหรับผู้ดูแล • ใช้แปรงจับให้ถนัดทั้ง 2 ด้าม • ใส่ ถุ ง มื อ เสมอ และอย่ า เอานิ้ ว ไปอยู่ ระหว่างฟัน 12


• ใช้แปรงขนนุ่มหัวแปรงเล็ก • กรณี ใ ส่ ฟั น เที ย ม ควรถอดออกก่ อ น เสมอ เพื่อทำความสะอาดทั้งฟันเทียมและในช่องปากของ

ผู้สูงอายุทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร • เวลาแปรงให้ผู้ป่วยชูมือขึ้น ผู้ดูแลกอด จากด้านหลัง หรือให้ผู้สูงอายุนอนตะแคง ใช้เทคนิคลูบหน้า ลูบริมฝีปาก ให้อ้าปาก • ที่ ส ำคั ญ ต้ อ งมี ค นอื่ น เข้ า มาช่ ว ย และ ต้องสื่อสารกับญาติให้ดี 2. การดูแลริมฝีปากผู้สูงอายุ ควรดูแลริมฝีปาก โดยเฉพาะมุมปากไม่ให้แห้ง ป้องกันการมีรอยแตกเป็นแผล ดูแลภายในช่องให้ชุ่มชื่น

ถ้าช่องปากแห้งควรให้จิบน้ำอุ่น 3. กรณีผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่รู้สึกตัว สามารถช่วยทำความสะอาดช่องปากได้ โดยใช้ ไม้กดลิ้นเปิดช่องปากผู้สูงอายุ ใช้ปากคีบ คีบผ้าก๊อซ สำลี ที่ชุบน้ำหมาดๆ เช็ดฟัน ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ให้ทั่ว หรือใช้นิ้วพันผ้านุ่มชุบน้ำหมาด เช็ดในปากให้ทั่วก็ได้ 13


นอกจากนี้ ผู้ดูแลควรจะสังเกตความผิดปกติอื่นๆ ในช่องปากผู้สูงอายุ ขณะทำความสะอาดด้วย โดยดูว่า • ฟันปลอมหรือฟันเทียมของผู้สูงอายุที่ใส่อยู่ หลวมหรือเสื่อมสภาพแตกหักไปบางส่วน บาดเนื้อเยื่อใน ช่ อ งปากเป็ น แผลหรื อ ไม่ มี ก ารอั ก เสบบริ เ วณใต้ ฐ าน

ฟันปลอมหรือไม่

• ตรวจดูในปากว่ามีรอยโรคลักษณะอื่นๆ เช่น ฝ้ า ขาว แผล เนื้องอกเป็นก้อนที่ผิดปกติ เชื้ อ ราหรื อ ไม่

ถ้ า สงสั ย ให้ ป รึ ก ษาเจ้ า หน้ า ที่ ส าธารณสุ ข แพทย์ ห รื อ

ทันตบุคลากรเพื่อทำการรักษาต่อไป

14


... อ้ า งอิ ง ...

1. สำนั ก ทั น ตสาธารณสุ ข กรมอนามั ย กระทรวง สาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ ม ที่ 3 : การดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ . มกราคม 2554 2. ภาพจากชมรมผู้สูงอายุ บ้านพัวรัง ต.บ้านดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

http://www.hkpr.on.ca/uploadedFiles/OralHealth-WEB.pdf

15


... บทส่ ง ท้ า ย ... เหงือก และฟันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ส่งผล ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต สามารถอยู่กับเราได้ตลอดชีวิต ถ้าดูแลรักษาถูกต้อง สม่ำเสมอ ➲ ผู้ สู ง วั ย บางราย ประสบปั ญ หา ปวดฟั น เสียวฟัน ฟันโยก บวม ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน ได้ตามปกติ เกิดความเจ็บปวด ความเครียด นอนไ่ม่หลับ บั่นทอนสุขภาพ ➲ ผู้สูงวัยบางรายสูญเสียฟันแท้ไปแล้ว ต้องใส่ ฟันเทียมเพื่อช่วยในการบดเคี้ยว การพูด และความสวยงาม แต่ฟันเทียมไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่าฟันแท้ สภาวะช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ ที่ พ บได้ มี ตั้ ง แต่ มี ฟั น ครบในปาก มีโรคในช่องปากไปจนถึ ง สู ญ เสี ย ฟั น ทั้ ง ปาก จากสภาพที่พบจริงๆ แต่ไม่ว่าสภาพช่องปากจะเป็นอย่างไร การดูแลสุขภาพช่องปาก ยังเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดการลุกลาม ความเจ็บปวด จากรอยโรค และการสูญเสียฟันที่อาจเกิดขึ้นใหม่ได้แล้วยัง สร้างความรู้สึกสะอาด สบาย มั่นใจ ให้กับตัวผู้สูงอายุ และ คนรอบข้างด้วย

16



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.