โครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
1
ฟันนั้น ... สำคัญนัก
ฟันในผู้สูงอายุเป็นฟันแท้ มีจำนวน 32 ซี่ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้ดี จะสามารถมีฟันได้ครบ ไปจนสิ้นอายุขัย อวัยวะในช่องปากที่สำคัญประกอบด้วย ฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก และลิ้น ฟันมีหน้าที่ที่สำคัญ คือ 1. ช่วยในการบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด 2. ช่วยให้การพูดออกเสียงชัดเจน 3. ช่วยให้เกิดความสวยงามแก่ใบหน้า เข้าสังคมได้โดยไม่อายใคร
หน้าที่ของฟัน
เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต
- เคี้ยวอาหาร - พูดได้ชัดเจน - สวยงาม อวัยวะในช่องปาก ประกอบด้วย ฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น
- เข้าสังคม
2
คราบจุลินทรีย์ … ต้นเหตุการเกิดโรคในช่องปาก
คราบจุลินทรีย์ เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคในช่องปาก มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม นุ่ม บาง มีสีเหลือง ซีด ถึงสีขาว และเหนียวติดบนตัวฟันไม่สามารถกำจัดด้วยการบ้วนน้ำ แต่กำจัดได้ด้วยการแปรงฟัน และใช้ ไหมขัดฟัน จะเห็นได้ชัด ถ้าใช้สีย้อม วิธีการใช้สีย้อมคราบจุลินทรีย์ 1. ใช้สีผสมอาหารสีชมพู 1 กรัม ผสมน้ำ 25 ซีซี เก็บไว้ในขวดทึบแสง หรือแบ่งสีใส่ขวดเล็ก เช่น ขวดหยอดยา 2. ใช้สำลีก้อนเล็ก หรือไม้พันสำลี ชุบน้ำยาย้อมสีฟัน กด และทาบริเวณคอฟัน ทุกซี่ ทุกด้าน น้ำยาย้อมสีจะแทรกซึมเข้ากับคราบจุลินทรีย์ และหินน้ำลาย รวมทั้งบริเวณฟันผุ มองเห็นเป็นสีชมพู เข้ม ต่างจากบริเวณผิวฟันที่เรียบ สะอาด ได้อย่างชัดเจน
คราบจุลินทรีย์เมื่อใช้สีย้อม จะเห็นเป็นคราบหนาติดที่ตัวฟัน เป็นที่อยู่ของเชื้อโรคหลายชนิด
ก่อนย้อมสีคราบจุลินทรีย์
การเตรียมสีย้อมคราบจุลินทรีย ์ • ใช้สีผสมอาหาร สีแดง (Erythrocin) 1 กรัม (1 ซอง) • ผสมนํ้า 25 ซีซี • คนให้เข้ากัน • เก็บไว้ในขวดทึบแสง หรือ แบ่งเก็บไว้ในขวดเล็ก
เมื่อย้อมสีคราบจุลินทรีย์
วิธีย้อมสี ใช้ไม้พันสําลีชุบสีย้อม ทาให้ทั่วบริเวณฟัน
หลังการย้อมสี และทําความสะอาดแล้ว
3 การเกิดโรคในช่องปากจากคราบจุลินทรีย์
กลุ่ ม เชื้ อ โรคหลายชนิ ด ในคราบจุ ลิ น ทรี ย์ ใช้ น้ ำ ตาลเป็ น แหล่ ง พลั ง งานและผลิ ต กรดออกมา กรดเหล่านี้จะไปสลายแคลเซียมและฟอสเฟตของผิวเคลือบฟัน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคฟันผุ และสารพิษ ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ คราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน เมื่อทิ้งไว้นาน จะมีแคลเซียมมาตกตะกอน และแข็งตัว เรียกว่าหินน้ำลาย (calculus)
คราบจุลินทรีย์
อาหารหวาน ... นํ้าตาล
โรคฟันผุ
โรคปริทันต์
4 โรคฟันผุ รากฟันผุ
การผุของฟัน เริ่มที่ผิวเคลือบฟัน โดยเห็นเป็นจุดดำเล็กๆ หากปล่อยทิ้งไว้ จะลุกลามไปถึงชั้นเนื้อฟัน มีอาการเสียวฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือเมื่อกระทบของเย็น บางครั้งมีอาการปวดได้ และหากยังไม่ทำ การรักษา จะลุกลามไปถึงชั้นโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้เกิดการปวดรุนแรง เป็นหนอง และบวมบริเวณ ใบหน้าได้ การรักษาจะยุ่งยากขึ้น โดยต้องรักษาคลองรากฟัน หรืออาจต้องสูญเสียฟันไป การผุบริเวณรากฟัน ต่างจากการผุที่ตัวฟัน เนื่องจากส่วนประกอบบริเวณรากฟัน ทำให้เวลาฟันผุ จะผุเร็ว และการผุมักเป็นบริเวณกว้างแต่ไม่ลึก การผุระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ฟลูออไรด์ ส่วนฟันที่ผุลึกสามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน
การผุที่ตัวฟัน
อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน ถอนฟัน อุดคอฟัน
รากฟันผุ
การใช้ฟลูออไรด์วานิช
5 โรคปริทันต์
โรคปริทันต์เป็นโรคที่มีการทำลายอวัยวะรอบๆ รากฟัน ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบและปริทันต์ อักเสบ ระยะเหงือกอักเสบ จะมีลักษณะบวม แดง เป็นมัน ดูฉุ มักพบมีเลือดออกบริเวณคอฟัน การรักษา โรคในระยะเหงือกอักเสบ สามารถรักษาได้ด้วยการขูดหินปูน หรือการขูดหินน้ำลาย ในบางคนโรคจะ หยุดยั้งอยู่ในระดับการอักเสบนี้ แต่บางคนโรคจะลุกลามมากขึ้น มีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ต่อไป เข้าสู่ระยะโรคปริทันต์อักเสบ ระยะปริทันต์อักเสบ เริ่มมีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาด้วยการขูดหินปูน หรือเกลารากฟัน จะทำให้การทำลายลุกลาม เกิดการอักเสบมากขึ้น และเมื่อถึงปลายรากฟัน จะทำให้เกิด ฝีปลายราก มีอาการปวดบวม เป็นหนองร่วมด้วย จำเป็นต้องรับถอนฟันหรือการรักษาที่ยุ่งยากมากขึ้น
ระยะเหงือกอักเสบ
รักษาได้ ด้วยการขูดหินปูน
ระยะปริทันต์อักเสบ มีการทําลายของกระดูกรอบฟันร่วมด้วย
รักษาได้ ด้วยการขูดหินปูน เกลารากฟัน หรือถอนฟัน
6 ผลเสียจาก ... โรคปริทันต์
โรคปริทันต์ระยะเหงือกอักเสบ สามารถหายเป็นปกติได้ เมื่อได้รับการดูแล และการรักษาที่ดี แต่ถ้าปล่อยให้โรคลุกลามถึงระยะปริทันต์อักเสบ จะทำให้เกิดผลเสียต่อสภาวะในช่องปากตามมา เช่น ทำให้ ฟั น ห่ า ง ฟั น ยื่ น ยาว ฟั น โยก ทำให้ ฟั น บานออกจากกั น เกิ ด ความไม่ ส วยงาม ทำให้ เ หงื อ กร่ น เกิดการเสียวที่ฟัน และอาหารติดตามซอกฟันได้
ฟันห่าง ฟันยื่นยาว ฟันบานออกไม่สวยงาม
เหงือกร่น เสียวฟัน อาหารติดซอกฟัน
7 เมื่อปวดฟัน ฟันไม่ดี ไม่มีฟัน ... ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย
ผู้สูงอายุที่เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก ปวดฟัน ฟันไม่ดี สูญเสียฟัน ส่งต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพ จิตใจได้ เช่น - ฟันคม ฟันบิ่น อาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก โดยเฉพาะบริเวณลิ้น เนื่องจากเกิดการกัดลิ้น ส่วน ของฟันคม ฟันบิ่น ไประคายเคืองลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม ทำให้เกิดแผลในช่องปากได้ - การไม่มีฟัน ทำให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการเคี้ยวอาหารได้น้อยลง ทำให้ร่างกายขาดอาหาร - การปวดฟัน หรือการเจ็บปวดในช่องปาก ทำให้เกิดความทรมาน ทำให้เกิดความเครียด ต่อภาวะ ที่ต้องทนความเจ็บปวด
ผู้สูงอายุที่ปวดฟัน ฟันไม่ดี หรือมีการสูญเสียฟัน ทําให้เกิดผลเสียกับสุขภาพร่างกาย
กินอาหารได้น้อย เกิดภาวะการขาดอาหาร
เกิดความเครียด เกิดแผลในปาก
8 การติดเชื้อในช่องปาก พฤติกรรมไม่ดี มีผลเสียต่อสุขภาพ
โรคฟันผุ โรคปริทันต์ หรือโรคอื่นๆ ในช่องปาก ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคเข้าสู่
อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ผ่านทางกระแสเลือด ทางเดินอาหารและอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมา พฤติกรรมที่ไม่ดีหลายอย่าง เกิดผลเสียกับสุขภาพช่องปาก เช่น การสูบบุหรี่ – ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นจำนวนมาก จะเกิดคราบในช่องปาก มีลักษณะเป็นคราบเหนียวติดตามตัวฟัน นอกจากจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ ฟันโยกแล้ว บุหรี่มีสารก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากอีกด้วย การดื่มสุรา – ผู้ที่ดื่มสุราเป็นนิสัย ทำให้เกิดพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพ และสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ทำให้ละเลยการดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และก่อให้เกิดมะเร็ง การกินหมาก – ผู้ที่กินหมากเป็นประจำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค มะเร็งช่องปาก การใช้ฟันผิดหน้าที่ – ผู้ที่ใช้ฟันกัดสิ่งของต่างๆ เช่น เปิดจุกน้ำขวด กัดด้าย กัดของแข็งๆ ทำให้เกิดฟันบิ่น ฟันแตกได้
คอหอย ท่ออาหาร ปอด ตับ ลำไส้เล็ก
สมอง ต่อมน้ำลาย หัวใจ
พฤติกรรมที่เกิดผลเสียกับสุขภาพช่องปาก
การสูบบุหรี่ ทําให้เกิดโรคปริทันต์ และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในช่องปาก การดื่มเหล้า ทําให้เกิดพฤติกรรมการรักษาความสะอาดของช่องปากไม่ดี การกินหมาก การกินหมากเป็นเวลานาน มีผลต่อการเกิดมะเร็งได้ การใช้ฟันผิดหน้าที่ ทําให้เกิดฟันบิ่น ฟันแตก ได้
กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่
ทวารหนัก
บุหรี่ การติดเชื้อในช่องปาก สามารถลุกลามไปตาม อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
มะเร็งช่องปาก
ฟันบิ่น ฟันแตก การกินหมาก
9
ฟันสึก ... ควรระวัง
ฟันสึกเกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องมาจากการใช้ฟันมานาน แบ่งได้เป็น
ฟันสึกที่เกิดจากการรับประทานอาหารเปรี้ยวจัด หรืออาหารแข็ง อาหารหรือผลไม้รสเปรี้ยว มีความเป็นกรดทำให้ฟันสึก การรับประทานของเปรี้ยวบ่อยๆ กรดจะกัดกร่อนตัวฟัน ทำให้เคลือบฟันบางลงเข้าใกล้เนื้อฟันมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกเสียวฟันได้ง่าย ฟันสึกที่เกิดจากการแปรงฟันผิดวิธี การแปรงฟั น ที่ ใช้ แรงมากเกิ น และ/หรื อ ใช้ แ ปรงที่ มี ข นแปรงแข็ ง ทำให้ เ กิ ด การทำลายเนื้ อ ฟั น บริ เวณคอฟั น เกิดคอฟันสึก หากทำลายแค่ชั้นเคลือบฟัน หรือเนื้อฟันเพียงเล็กน้อย อาจมีอาการเสียวฟันเมื่อบริเวณนั้นสัมผัสความเย็นจัด เปรีย้ วจัด หรือหวานจัด หากเนือ้ ฟันถูกทำลายมาก อาการเสียวฟันมากขึน้ ต้องทำการอุดคอฟัน และถ้าลึกถึงโพรงประสาทฟัน ต้องทำการรักษารากฟัน ตามด้วยการครอบฟัน ฟันสึกจากการรับประทานอาหารแข็งหรือใช้ฟันผิดหน้าที่ เกิดจากการเคี้ยวของแข็งเป็นประจำ เช่น เคี้ยวน้ำแข็ง หรือใช้แรงบดเคี้ยวมาก นอกจากนี้ ยังพบฟันสึกจากการนอนกัดฟัน หรือการกัดฟันที่อาจเกิดจากความเครียด กัดเน้นฟัน หรือเกิดจากมี การสูญเสียฟันแล้วไม่ใส่ฟัน
ฟันสึก จากการกินอาหารเปรี้ยวจัด
ฟันสึก จากการแปรงฟันผิดวิธี
ฟันสึก จากการรับประทานอาหารแข็ง หรือการใช้ฟันผิดหน้าที่
10
การใส่ฟันเทียม เพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
เมื่อถึงวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีการสูญเสียฟันไปจำนวนมาก จากโรคฟันผุ โรคปริทันต์ ที่จำเป็นต้องถอนฟัน ทำให้ผู้สูงอายุขาดความสุขจากการรับประทานอาหาร และบุคลิกภาพไม่ดี การใส่ฟันเทียม เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป จะช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น
ผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟันจากโรคในช่องปาก ควรได้รับการใส่ฟันเทียม เพื่อช่วยในการบดเคี้ยวอาหารได้ละเอียด ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ฟันเทียม บางส่วน
ฟันเทียมทั้งปาก
11 การดู แ ลรั ก ษาฟั น เที ย มแบบถอดได้
ฟันเทียมชนิดถอดได้ จะมีฐานพลาสติกที่สัมผัสกับเหงือกและฟัน และมีตะขอยึดเกาะกับฟันข้างเคียง อาจเป็นที่สะสมของเศษอาหารต่างๆ มีวิธีการทำความสะอาด โดยทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหาร ควรถอดฟันเทียม มาทำความสะอาด พร้อมกับทำความสะอาดฟันจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุ และกลิ่นปาก โดยใช้แปรงสีฟัน ขนอ่อนกับน้ำสบู่แปรงทำความสะอาดฟันเทียม มีภาชนะรองรับเพื่อกันฟันเทียมตกแตก และก่อนนอนต้องถอด ฟันเทียมแช่น้ำไว้เสมอ ข้อควรระวัง - ผู้ใส่ฟันเทียมต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรรับประทานอาหารเหนียว และแข็ง - ไม่นำฟันเทียมแช่ในน้ำเดือด หรือน้ำร้อน เพราะจะทำให้บิดเบี้ยว และไม่ควรทิ้งฟันเทียมตากแห้ง เพราะอาจแตกร้าว - บางครั้งต้องมีการซ่อมแซมฟันเทียม หรือเปลี่ยนใหม่ ถ้ามีการแตกหัก หรือชำรุด ฟันเทียมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือก และเนื้อเยื่อในปาก ควรได้รับการแก้ไข หากปล่อยทิ้งไว้จะ เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดแผลมะเร็งในปาก
วิธีการดูแลรักษาฟันเทียมแบบถอดได้
1. แปรงฟันเทียมทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร 2. การแปรงฟันเทียม ควรมีภาชนะรองรับ 3. ระวังไม่ให้ฟันเทียมตกลงพื้น 4. เมื่อเข้านอนกลางคืน ถอดฟันเทียมแช่นํ้าในภาชนะมีฝาปิด
การแปรงฟันเทียมถอดได้บางส่วน
การแปรงฟันเทียมถอดได้ทั้งปาก
12
การรักษาความสะอาดช่องปาก
ผู้ สู ง อายุ รั ก ษาความสะอาดช่ อ งปากโดยวิ ธี ง่ า ยๆ ได้ ด้ ว ย การแปรงฟั น เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ได้ แ ก่ แปรงสีฟัน การเลือกใช้แปรงสีฟัน นอกเหนือจากการเลือกสี ยี่ห้อ ขนาดแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้ - ขนแปรง เป็นขนแปรงที่อ่อน มีสปริง หน้าตัดขนแปรงเรียบ ปลายมน ทำด้วยไนล่อน เพราะจะ ไม่ทำอันตรายต่อเหงือกและฟัน และรักษาความสะอาดง่าย - ขนาดแปรง มีความกว้าง-ยาว เหมาะกับขนาดของปาก ไม่เกะกะเวลาเข้าทำความสะอาดฟัน - ด้ามแปรง ยาวพอเหมาะ จับได้ถนัดมือ หลังใช้แปรงสีฟันแล้ว ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งแห้งไว้ในที่อากาศถ่ายเท การเลือกใช้ยาสีฟัน ควรเลือกชนิดครีม มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เลือกกลิ่นรส ยี่ห้อได้ตามต้องการ ถ้าไม่เกิดอาการแพ้
เครื่องมือทําความสะอาดหลัก แปรงสีฟัน ... ยาสีฟัน
การดัดแปลงด้ามแปรงสีฟัน เพื่อให้ผู้สูงอายุจับได้ถนัดมือ
13 การรักษาความสะอาดช่องปาก
เครื่องมือช่วยเสริมทำความสะอาดช่องปากอื่นๆ เช่น - ไหมขัดฟัน มีคุณสมบัติเป็นเส้นใย ช่วยทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน มีชนิดเป็นเส้นไหม และ ชนิดมีด้ามจับ ใช้ควบคู่กับการแปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน - แปรงซอกฟัน มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายแปรงล้างขวด ทำความสะอาดซอกฟันที่เป็นช่อง หรือ ฟันห่าง - แปรงกระจุกเดียว คล้ายแปรงสีฟันปกติ แต่มีขนแปรงเพียงกระจุกเดียว ใช้ทำความสะอาดใน จุดลึกๆ หรือแคบ เช่น ด้านหลังฟันกรามซี่ในสุด - ไม้จิ้มฟัน มีลักษณะด้ามตรง แบน บางเรียว ไม่มีเสี้ยน ใช้ทำความสะอาดซอกฟันที่ห่าง และ ช่วยเขี่ยเศษอาหารชิ้นโตออก - ผ้าก๊อซ ใช้เป็นแถบแบน ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว กว้างประมาณ ครึ่งนิ้ว หรือประมาณความสูงของ ตัวฟัน ใช้ขัดฟันกรณีฟันห่างมากๆ เช่น ฟันด้านท้าย หรืออยู่เดี่ยวๆ
เครื่องมือช่วยเสริมทําความสะอาดช่องปาก ไหมขัดฟัน ชนิดเป็นเส้นไหม และชนิดมีด้ามจับ
ไม้จิ้มฟัน ผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาด
แปรงขนกระจุก แปรงซอกฟัน
14
แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
การแปรงฟันที่ถูกวิธี ใช้วิธี ขยับ-ปัด โดยเอียงแปรง 45 องศา ปลายของขนแปรงจะแทรกเข้าไปใน ร่องเหงือกเล็กน้อย ออกแรงถูแปรงไปมาสั้นๆ 3-4 ครั้ง แล้วปัดแปรงสีฟันเข้าหาตัวฟันไปด้านสบฟัน ทำเช่นนี้ 5-6 ครั้ง สำหรับฟันหน้าบนด้านเพดาน และฟันหน้าล่างด้านลิ้น ใช้วิธี กด ดึง ปัด การแปรงด้านบดเคี้ยว วางขนแปรงตั้งฉากกับด้านบดเคี้ยว ออกแรงถูไปมา 4-5 ครั้ง บริเวณลิ้นอาจมีคราบเศษอาหาร หรือมีลักษณะเป็นฝ้าขาว ควรทำความสะอาดโดยใช้ขนแปรงสีฟัน ถูเบาๆ บนด้านลิ้น
แปรงฟันบน
แปรงฟันล่าง
แปรงฟันด้านบดเคี้ยว
แปรงลิ้น
15
วิธีการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมการทำความสะอาดฟัน
อุ ป กรณ์ ช่ ว ยทำความสะอาดฟั น เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ผู้ สู ง อายุ ส ามารถเลื อ กนำมาใช้ ช่ ว ยทำความสะอาดฟั น ตาม
ความเหมาะสม กับสภาพฟันที่มีในปาก เช่น ไหมขัดฟัน ดึงเส้นไหมยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ใช้นิ้วกลางพันแต่ละปลายไว้ หรือผูกเส้นไหมเป็นวงกลม ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้ จับเส้นไหม ห่างประมาณ 1 นิ้ว ดึงเส้นไหมค่อยๆ ผ่านลงในซอกฟัน พยายามอย่าให้บาดเหงือก โอบรอบตัวฟัน ถูไปมา 5-6 ครั้ง ของแต่ละซี่ฟัน แปรงซอกฟัน วางแปรงให้แนบด้านใดด้านหนึ่งของซอกฟัน ถูเข้าออก 5-6 ครั้ง แปรงกระจุกเดียว วางแปรงชิดขอบเหงือก ลากแปรงไปมาตามคอฟันทีละซี่ ซี่ละ 5-6 ครั้ง ไม้จิ้มฟัน อาจทำให้ปลายแตกเป็นพู่ และวางปลายไม้จิ้มฟันบริเวณคอฟันใกล้ขอบเหงือก ลากไปตามคอฟัน แถบผ้าก๊อซ ถูไปมาตามแนวนอน 5-6 ครั้ง หรือพันนิ้วมือเช็ดทำความสะอาดบริเวณฟัน เหงือก ลิ้น
ไหมขัดฟัน ช่วยขัดทําความสะอาดบริเวณซอกฟัน
แปรงสีฟันขนกระจุก ช่วยทําความสะอาดฟันที่มีอยู่ซี่เดียว
แปรงซอกฟัน ช่วยทําความสะอาดฟัน บริเวณที่มีช่องว่าง ระหว่างฟันกว้าง
ดึงเส้นไหมยาวประมาณ 1 ฟุต จับ
ผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาด พันผ้าให้เป็นเส้น ถูทําความสะอาดฟัน บริเวณที่ไม่มีฟันประชิด หรือใช้ผ้าพันนิ้วมือ ถูทําความสะอาดฟัน หรือเหงือก
ไม้จิ้มฟัน ช่วยขัดทําความสะอาดรอบซี่ฟัน
เส้นไหมให้ตึง
กดเส้นไหมผ่านระหว่างซี่ฟัน ถูไหมขึ้น-ลง ทําทั้งฟันหน้า-ฟันหลัง ฟันบน-ฟันล่าง
ไหมขัดฟันแบบมีด้ามจับ กดไหมขัดฟันลงระหว่างซอกฟัน เอียงให้แนบกับด้านฟันทีละด้าน ถูเส้นไหมไป-มา
16
ทำอย่างไร ไม่ ให้มีกลิ่นปาก
กลิ่นปากเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การไม่ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี การมีฝ้าขาวที่ลิ้น การมีเศษอาหาร ติดอยู่บริเวณรูฟันที่ผุ ซอกฟัน การเกิดโรคฟันผุที่มีรูผุขนาดใหญ่ การเกิดโรคปริทันต์ อักเสบ เป็นหนอง การสูบบุหรี่ หรือการกินหมาก วิธีการดูแลรักษาไม่ให้มีกลิ่นปาก ทำได้โดย - ทำความสะอาดช่องปาก ด้วยการแปรงฟัน ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วยทำความสะอาดที่เหมาะสม กับสภาพฟันของผู้สูงอายุแต่ละคน ทำความสะอาดฟันทุกซี่ให้ทั่ว สม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน - เมื่อแปรงฟัน ควรแปรงลิ้นด้วย เพื่อไม่ให้เกิดคราบอาหารติดค้างอยู่ที่ลิ้น - หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง เช่น สะตอ หอม เป็นต้น หรือเมื่อรับประทานแล้ว ให้บ้วนปาก หรือแปรงฟันตามทุกครั้ง
สาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
ฝ้าขาวที่ลิ้น
การป้องกัน...กลิ่นปาก
คราบจุลินทรีย์ เศษอาหารติดฟัน
รอยโรคฟันผุ ปริทันต์อักเสบ แผลในช่องปาก
การทําความสะอาดฟันช่องปากอย่างทั่วถึง
การแปรงลิ้น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง
สูบแล้วปากเหม็นกลิ่นบุหรี่
หมาก
บ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทาน
17
ผู้สูงอายุตรวจฟันเองก็ ได้ ง่ายจัง
การตรวจสุ ข ภาพช่ อ งปากด้ ว ยตนเอง โดยใช้กระจกเงาส่องหน้า 1 บาน อาจมีกระจกเล็กๆ 1 บาน ช่วยสะท้อนบริเวณฟันที่ไม่สามารถมองเห็นได้ตรงๆ ด้วย การตรวจฟันควรทำหลังจากแปรงฟันเสร็จ เพื่อดูว่า แปรงฟันสะอาดหรือไม่ มีฟันที่มีรูหรือรอยดำ เหงือก บวมแดง เป็นหนองหรือไม่ ทำให้พบปัญหาโรคในช่องปากตั้งแต่เริ่มแรกก่อนที่จะมีอาการรุนแรง วิธีการตรวจ โดย 1. ตรวจฟันหน้าบนและล่าง - ยิ้ม ยิงฟันกับกระจก ให้เห็นฟันหน้าบนทั้งหมด ทั้งตัวฟันและเหงือก 2. ตรวจฟันด้านข้างแก้ม - ยิ้มให้กว้างไปถึงฟันกราม อาจใช้นิ้วมือช่วยดึงมุมปาก เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน 3. ตรวจฟันล่างด้านบดเคี้ยวและด้านใน - ก้มหน้าอ้าปากกว้าง ดูด้านบดเคี้ยว กระดกลิ้นขึ้น เพื่อตรวจดู ด้านในฟันหน้าล่าง และฟันกราม 4. ตรวจฟันบนด้านบดเคี้ยว และด้านเพดาน - เงยหน้าอ้าปากดูในกระจก อาจใช้กระจกบานเล็กช่วย สะท้อนดูส่วนในของฟันหน้าบน ฟันกรามบน และด้านบดเคี้ยวของฟันกราม นอกจากนั้น ผู้สูงอายุสามารถตรวจฟันให้ผู้สูงอายุด้วยกันเอง เพื่อตรวจดูความสะอาดฟันและปัญหาโรคฟัน เบื้องต้นได้
ตรวจฟันด้านหน้า บน และล่าง
ผู้สูงอายุควรตรวจ สุขภาพช่องปาก ตนเองทุกวัน
ตรวจฟันด้านข้างแก้ม
ตรวจฟันล่าง ด้านบดเคี้ยว และด้านใน
ตรวจฟันบน ด้านบดเคี้ยว และด้านเพดาน
ผู้สูงอายุตรวจสุขภาพช่องปากกันเอง ในชมรมผู้สูงอายุ
18
อาหารดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน
ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี หรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ ปฏิบัติโดย 1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว 2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับอาหารประเภทแป้ง เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เส้นหมี่ วุ้นเส้น ผู้สูงอายุควร กินข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ เพราะมีสารอาหารโปรตีน ไขมัน ใยอาหาร และวิตามินสูง 3. กินผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ 4. กินปลา เน้นสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ 5. ดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1 แก้ว ร่วมกับการออกกำลังกาย ทำให้กระดูกแข็งแรง 6. กินอาหารที่มีไขมันพอควรเพื่อให้พลังงานและความอบอุ่น ไม่ควรกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ตับ ปลาหมึก หอยนางรม กินอาหารทอด ผัด แกงกะทิแต่พอควร 7. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด เลี่ยงการกินขนมหวาน น้ำหวาน อาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาร้า เต้าเจี้ยว ขนมขบเคี้ยว ขนมอบกรอบ อบฟู 8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อน เช่น สารกันรา ฟอร์มาลีน 9. งด หรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
19
ผู้สูงอายุยุคใหม่ สดใสแข็งแรง ดูแลตนเองได้
การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่ 1. มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม 2. มีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสม 3. มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ 4. มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 5. สามารถช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นได้ ตามอัตภาพ การรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุ มีสุขภาพดี ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ รวมทั้งสุขภาพช่องปากด้วย
วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ที่ปรึกษา ผู้จัดทํา จํานวนจัดทํา พิมพ์ที่
เพื่อประกอบการเรียนรู้ และฝึกทักษะการดูแล และส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ นายแพทย์สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ รองอธิบดีกรมอนามัย ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย ผู้อํานวยการสํานักทันตสาธารณสุข ทันตแพทย์หญิงสุปราณี ดาโลดม ทันตแพทย์หญิงนนทลี วีรชัย ทันตแพทย์หญิงชวัลลักษณ์ แก้วมงคล ทันตแพทย์หญิงวรางคนา เวชวิธี ทันตแพทย์จําเริญ ลีลามโนธรรม นางสาวจรัสพรรณ อรุณแก้ว นายเสน่ห์ ครุฑษา 1,500 ชุด สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เมษายน 2554