การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 3

Page 1




ที ่ปรึกษา

นายแพทย์สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ รองอธิบดีกรมอนามัย ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย ผู้อํานวยการสํานักทันตสาธารณสุข

จั ดทําโดย

สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เรี ยบเรียงโดย

ทพญ.สุปราณี ดาโลดม ทพญ.วรางคนา เวชวิธี

กองบรรณาธิ การ

ทพญ.สุปราณี ดาโลดม ทพญ.วรางคนา เวชวิธี ทพญ.นนทลี วีรชัย นางกัญญณิช ครุฑษา นางสาวชนิกา โตเลี้ยง นายเสน่ห์ ครุฑษา

พิ มพ์ครั้งที่ 1

มกราคม 2554 จํานวน 4,000 เล่ม

พิ มพ์ที่

บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด

d

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


คำนํา

ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั 5 ธันวาคม 2554 กรมอนามัยได้เข้าร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟันด้วย การใส่ฟนั เทียมทดแทน และลดการสูญเสียฟันด้วยการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุดูแลอนามัยช่องปาก ตนเอง รวมทั้งพัฒนาบริการทันตกรรมป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน สําหรับผู้ปฏิบัติงาน องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและทันสมัย นับว่ามี ความจําเป็นอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพและคุณภาพในการดําเนินงาน กรมอนามัยจึงได้จัดการ ประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานและนักวิชาการทุกปี และเพื่อให้ความรู้จาก การบรรยายของวิทยากรได้เผยแพร่ในวงกว้าง กรมอนามัยจึงได้ถอดบทบรรยาย จัดทําเป็น หนังสือชุด “การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ” ซึ่งดําเนินการมาแล้ว 2 เรื่อง เรื่องที่ 1 สุ ข ภาพช่ อ งปากมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ สุ ข ภาพและโรคทางระบบ เรื่ อ งที่ 2 Detection and prevention for Oral Health in the Elderly และเรือ่ งนีเ้ ป็นเล่มที่ 3 การดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ซึ่งได้รวมความรู้ส่วนหนึ่งจากการประชุมสัมมนา เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพและ การป้ องกันโรคในช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ได้จัดการประชุมเมื่อวันที่ 2-3 มิถุนายน 2553 กรมอนามัยขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ที่กรุณาให้ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และหวังว่านักวิชาการตลอดจน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน จะได้ใช้ประโยชน์จากหนังสือที่จัดทําขึ้นเล่มนี้ เพื่อสร้างสุขภาพ และสุขภาพช่องปากที่ดีให้กับผู้สูงอายุไทยในโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริม สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป (ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี) อธิบดีกรมอนามัย

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

e


สารบัญ

การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

f

1

อ.ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • การดูแลตามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยบุคลากรสาธารณสุข 1 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสําหรับผู้สูงอายุ 1 การดูแลตามความเสี่ยง 2 • การดูแลทําความสะอาดช่องปากด้วยตนเองหรือผู้ดูแล 3 ผู้สูงอายุกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้ 3 ผู้สูงอายุกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 5 • การใช้ฟลูออไรด์ในผู้สูงอายุ 8

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดช่องปาก ทพญ.นนทินี ตั้งเจริญดี สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

10

10 10 17 17 20 21 23 23 23

• อุปกรณทําความสะอาดชองปากหลัก แปรงสีฟัน • อุปกรณเสริมสําหรับทําความสะอาดซอกฟน ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน ไม้จิ้มฟัน แปรงกระจุกเดียว ไม้ขูดลิ้น แปรงสําหรับแปรงลิ้น • ยาสีฟัน

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ บรรยายโดย อ.ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต*

การดูแลสุขภาพชองปาก โดยทั่วไปจะหมายถึง การดูแลทั้งฟน เหงือก เนื้อเยื่อใน ชองปาก นํ้าลาย และมุมปาก ซึ่งตองรวมกันระหวางการดูแลตามความเสี่ยงตอการเกิดโรค โดยบุคลากรสาธารณสุข และการดูแลทําความสะอาดชองปากดวยตนเองหรือผูดูแล

1. การดูแลตามความเสี่ยงตอการเกิดโรคโดยบุคลากรสาธารณสุข 1.1 การประเมินความเสี่ยงตอการเกิดโรคสําหรับผูสูงอายุ ความเสีย่ งตอการเกิดโรคสําหรับผูส งู อายุ ประเมินจากรอยโรคในชองปากในรอบ 3 ป ที ่ผานมา และปจจัยเสี่ยง โดยแบงเปน 3 กลุม ไดแก

1. กลุมเสี่ยงสูง 2. กลุมเสี่ยงปานกลาง

พบรอยโรคในชองปาก อยางนอย 1 แหง พบปจจัยเสี่ยงตางๆ ในรอบ 3 ปที่ผานมา

a

a

-

a

3. กลุมเสี่ยงตํ่า - - ดังนั้น กอนเริ่มวางแผนดูแลชองปากผูสูงอายุ จึงควรซักประวัติทั้งทางการแพทย สังคมพฤติกรรม เพื่อดูปจจัยเสี่ยง อาทิเชน - การมีนํ้าลายแหง นํ้าลายนอย นํ้าลายขน - ความถี่ของการกินระหวางมื้อจําพวกนํ้าตาล แปง - โรคประจําตัวหรือยา ซึ่งอาจทําใหเกิดภาวะปากแหง หรือยาที่มีสวนประกอบ เปนนํ้าตาล * คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

1


- มีคราบจุลินทรียมาก - การปฏิสัมพันธ เชน พูดคุยไมรูเรื่อง, หลงลืม ความจําเสื่อม - ไมสามารถดูแลทําความสะอาดชองปากไดดวยตนเอง - การพบทันตแพทยไมสมํ่าเสมอ - ตัวฟน เชน รูปราง คุณสมบัติของ enamel การมีรอยอุดฟนที่ไมดี มีเหงือกรน รากฟนโผล ดังนั้น ผูสูงอายุจึงมักจะถูกรวมอยูในกลุมเสี่ยงปานกลางหรือสูงอยูแลว เนื่องจากมี รากฟนโผล - ใสฟน ชนิดติดแนน หรือฟนเทียมชนิดถอดไดซงึ่ มีตะขอ จะเปนปจจัยเสีย่ งทีส่ าํ คัญมาก ที่ทําใหเกิดฟนผุได 1.2 การดูแลตามความเสี่ยง 1.2.1 กลุมเสี่ยงตํ่า : มักจะเปนกลุมที่สามารถดูแลตนเองไดดี - แนะนําใหแปรงฟนตามปกติ วันละ 2 ครั้งดวยยาสีฟนผสม ฟลูออไรด - ตรวจสุขภาพชองปากอยางนอยทุก 12 เดือน หรือ 18 เดือน รวมทั้งติดตามดูกรณีที่พบ white spot lesion หรือ proximal caries 1.2.2 กลุมเสี่ยงปานกลาง : จะพบไดในหลายกลุม ดูแลโดย - แปรงฟนวันละ 2 ครั้งดวยยาสีฟนผสมฟลูออไรด - ขัดฟน (prophylaxis) - ใชฟลูออไรดวานิชทุก 6 เดือน - อมนํ้ายาบวนปากผสมฟลูออไรดชนิดที่ไมเปนกรด เชน โซเดียม ฟลูออไรด วันละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 นาที - ตรวจสุขภาพช องปากติดตามรอยโรคทุก 6–12 เดือน ถา รอยโรคใหญ ขึ้ น หรื อ มี ร อยโรคเกิ ด ใหม ก็ อ าจใช ฟ ลู อ อไรด เสริมไดถขี่ นึ้ (ทุก 3 เดือน) รวมกับการแนะนําการบริโภคอาหาร 1.2.3 กลุมเสี่ยงสูง : - แปรงฟนวันละ 2 ครั้งดวยยาสีฟนผสมฟลูออไรด - ใชฟลูออไรดวานิชทุก 3 เดือน - อมนํ้ า ยาบ ว นปากผสมฟลู อ อไรด หรื อ นํ้ า ยาบ ว นปากที่ ผ สม chlorhexidine แตไมควรเกิน 6 สัปดาห เนื่องจากมีสวนผสม ของแอลกอฮอลและฟนอาจติดคราบสีนํ้าตาล - แนะนําการดูแลอนามัยชองปากและการบริโภคอาหาร

2

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


- ตรวจสุขภาพชองปากทุก 6 เดือน สังเกตดูวามีการลุกลามของ รอยโรคหรือไม ถามีการลุกลามมากกวา middle third ของ dentine ก็ใหใชนํ้ายาบวนปากที่ผสม chlorhexidine และใช ฟลูออไรดวานิชทุก 3 เดือนใหม รวมทั้งติดตามทุกๆ 6 เดือน

สําหรับการดูแลตามกลุม เสีย่ ง ในเรือ่ งการตรวจสุขภาพชองปาก นอกจากรอยโรคแลว ควรตรวจแผลบริเวณเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะบริเวณขางลิ้นดวย ปจจุบัน systematic review รายงานวาไมมีหลักฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะ สรุปวาการขูดหินปูน และการขัดฟน จะชวยลดหรือปองกันโรคปริทันต แตอาจไดผลทาง การรั ก ษาเป น รายบุ ค คล สิ่ ง สํ า คั ญ ที่ จ ะลดหรื อ ป อ งกั น โรคปริ ทั น ต คื อ การเลิ ก บุ ห รี่ และ การควบคุมเบาหวาน ดังนั้น การดูแลสุขภาพชองปากในผูสูงอายุ จึงไมใชแคการแปรงฟน กําจัดคราบจุลินทรีย แตตองใชหลัก common risk factors ทํางานรวมกับวิชาชีพอื่นๆ จัดการกับปจจัยเสี่ยงรวม ระวังเรื่องอาหารหวานจัด เค็มจัด รวมทั้งการเลิกบุหรี่และหมาก นอกจากนั้นการกระตุนกระบวนการคืนกลับของแรธาตุ (remineralization) ก็สําคัญมาก ถาพบรากฟนผุ อยารีบอุดฟน ใหใชฟลูออไรดกอน ถาผูปวยใหความรวมมือดี จะเห็นการคืนกลับของแรธาตุเปนการรักษาแบบ minimal intervention และที่สําคัญไดแก การเสริมนํ้าลายไมใหปากแหง

2. การดูแลทําความสะอาดชองปากดวยตนเองหรือผูดูแล 2.1 ผูสูงอายุกลุมคนที่ชวยเหลือตัวเองได การทําความสะอาดชองปากเหมือนกับกลุมวัยอื่นๆ แตผูสูงอายุอาจใชไหมขัดฟน ลําบาก จึงอาจแนะนําชนิดที่ใชมือเดียว หรือใชอยางอื่นทดแทน เชน ใชไมจิ้มฟนที่ถูกวิธี ใชแปรงซอกฟน หรือใชผากอซชวยก็ได 2.1.1 การแปรงฟนและการใชไหมขัดฟน มีคาํ แนะนําจากประเทศอังกฤษ, ออสเตรเลีย ใหแปรงฟนวันละ 2 ครัง้ ๆ ละ 2 นาที (2 For 2) เพื่อประสิทธิภาพของฟลูออไรดในยาสีฟน และการบวนปากหลังแปรงฟนนั้น ใหบวนยาสีฟนทิ้ง โดยไมตองกลั้วนํ้า หรือกลั้วนํ้าเพียง 1-2 ฝามือ เพื่อใหเหลือฟลูออไรดอยูใน ช อ งปาก โดยหลักการการแปรงฟนดวยยาสีฟนฟลูออไรด ควรใหฟลูออไรดคงอยูในชองปาก อยางนอย 2 ชั่วโมง แตคงยากในบริบทคนไทย เพราะเรามักจะแปรงฟนกอนทานขาวเชา ถาแปรงตอนตื่นนอนก็ขอใหรับประทานอาหารเชาหลังจากนั้นอยางนอยครึ่งชั่วโมง ฝรั่งเคา กินอาหารก อนแปรงฟ น ยาสีฟนฟลูออไรด จึงใชไดผล แตก็ตองพิจารณาอาหารที่กินด วย ถาอาหารเชาเปนนํ้าสมหรือนํ้าที่มีความเปนกรดสูง การแปรงฟนหลังรับประทานทันทีอาจทําให เกิดฟนกรอน (erosive) ถาจะใชไหมขัดฟนก็ใชหลักการเดียวกัน คือ ทําอยางไรใหคงมีฟลูออไรด

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

3


ในปากหลังแปรงฟน 30 นาที ดังนั้น การใชไหมขัดฟนจึงควรใชกอนแปรงฟน เพื่อใหฟลูออไรด คงอยูบริเวณซอกฟนได ฟลูออไรดนอกจากจะชวยปองกันฟนผุแลว ยังชวยลดอาการเสียวฟน ไดดวย นอกจากนี้ การแปรงฟนในผูสูงอายุควรใชแปรงขนนุม ในตางประเทศแนะนําให แปรงโดยเนนบริเวณขอบเหงือก ขยับแบบวนกลม ๆ (circle) จะชวยปองกันคอฟนสึก หรือขยับ แลวปดลง (modified bass) หรือในญี่ปุนจับแปรงแบบจับปากกา บางรายอาจแนะนําใหใช ผากอซเช็ดแทนการใชแปรงสีฟน ดังนั้นจะใชอุปกรณอะไร วิธีแปรงแบบไหน ขึ้นกับคําแนะนํา จากบุคลากร การเปลี่ยนแปรงสีฟนไมจําเปนตองเปลี่ยนทุก 3 เดือน แตถาผูสูงอายุเจ็บปวย เช น ปวยดวยไขหวัดใหญ หรือเจ็ บ ป ว ยมากๆ หลั ง จากหายแลว ควรเปลี่ ย นแปรงสี ฟน ใหม สวนการแปรงลิ้น อาจใช้ แ ปรงสี ฟ น หรื อ แปรงสํ า หรั บ แปรงลิ้ น เฉพาะได (รายละเอี ย ดใน การเลื อกใชผลิตภัณฑทําความสะอาดชองปาก) 2.1.2 อาหาร ผูสูงอายุควรเลือกอาหารที่มีความกรอบ มีกากใยมาก เชน ฝรั่ง แครอท แอปเปล มะมวงดิบ รวมทั้งอาหารที่มีการกระตุนใหหลั่งนํ้าลาย ในตางประเทศไดแนะนําให เคี้ยวหมากฝรั่งหลังมื้ออาหาร เพื่อกระตุนการหลั่งของนํ้าลาย และเพื่อชวยกําจัดเศษอาหารที่ ตกค างในชองปาก นอกจากนี้ ยังกระตุนการทํางานของสมอง แตอาจจะไมเหมาะกับคนไทย 2.1.3 การทําความสะอาดฟนเทียม ควรแปรงดวยนํ้าสบู ทั้งดานนอกและดานที่สัมผัสเนื้อเยื่อ ไมควรใชยาสีฟน เพราะอาจเกิดรอยบนผิวฟนเทียมไดงาย ควรมีภาชนะใสนํ้ารองรับเพื่อกันการตกแตก เก็บไวใน ภาชนะที่มีฝาปดหลังทําความสะอาดแลว แตในผูสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ภูมิตานทานตํ่า การแช ฟนเทียมในนํ้าระหวางที่นอน อาจมีเชื้อราเติบโตได และกอใหเกิด stomatitis ในผูปวยกลุมนี้ ประเทศแคนาดาจึ งมีขอแนะนําใหถอดฟนเทียมออกใสกลองไวเฉยๆ โดยไมแชนํ้า 2.1.4 กรณีปากแหง ให จิ บ นํ้ า บ อ ยๆ หรื อ เคี้ ย วหมากฝรั่ ง หรื อ หาอาหารชนิ ด ที่ เ ห็ น แล ว ทําใหนํ้าลายไหล เชน สะเดา นํ้าปลาหวาน มะขามปอม แตตองระวังอยาใหหวานมาก เค็มมาก เพราะตุมรับรสที่ลิ้นรับรสได นอยลง สวนยาที่ใชกระตุนการหลั่งนํ้าลายยังไม แพรหลายและ ราคาแพง ปจจุบันประเทศไทยเริ่มทดลองผลิตยาลดปากแห งจากวานหางจระเข โดยทั่วไป ถ า ริ ม ฝ ป ากแห ง ผู สู ง อายุ ที่ ป กติ ก็ ใ ช ลิ ป มั น ทาได แต ถ า เป น ผู ที่ ภู มิ คุ ม กั น ตํ่ า ๆ ก็ ไ ม ค วรใช เนื่องจากลิปมันเปนผลิตภัณฑที่มีสวนผสมของไขมัน หรือวาสลิน ถาทาแลวมีบางสวนหลุดเขา บริเวณปอด ก็จะเปน Foreign bodyได ควรเลือกใชผลิตภัณฑที่ไมมีไขมันผสม เชน KY jelly สวนยาที่ใชกระตุนนํ้าลายทางระบบ เชน Pilocarpine มักจะหลีกเลี่ยง เพื่อปองกันการเกิดผลขางเคียง ควรใชชนิด topical ซึ่งมีทั้งรูปแบบของเหลว, gel หรือ spray สําหรับพนเขาในปากเพื่อกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย

4

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


2.1.5 การใชนํ้ายาบวนปาก ถาเปนกลุมเสี่ยง ควรใชนํ้ายาบวนปากที่ไมมีสวนผสมของแอลกอฮอลแตมี ฟลูออไรดผสม นํา้ ยาบวนปากประเภทผสมยาฆาเชือ้ ไมจาํ เปนในกลุม ผูส งู อายุปกติ ในประเทศไทย ยาบวนปากที่วางจําหนายที่ไมมีแอลกอฮอลผสม เชน คอลเกต ฟลูโอคาริล ถามีความเขมขน ฟลูออไรดตํ่าคือซื้อไดทั่วไปตามรานคาก็ใชไดทุกวัน ถาความเขมขนสูงตองอยูภายใตการดูแลของ ทันตบุคลากร โดยใชสัปดาหละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ อื่ น ๆ เช น CPP-ACP tooth mousse และ Bioactive glass ซึง่ กระตุน ใหแรธาตุคนื กลับผิวฟน แตยงั มีราคาสูง และยังมีหลักฐานทางวิชาการ รองรับในระยะยาวนอย 2.2 ผูสูงอายุกลุมที่ชวยเหลือตนเองไม ได ขอแนะนํากอนการชวยเหลือ ควรยึดหลักการ ใหผูปวยชวยเหลือตนเองไดอยางมี ศักดิศ์ รี (dignity) ใหมากทีส่ ดุ กอน เชน ถาจับแปรงเองได ก็ใหจบั แปรงเอง เราแคตรวจดูวา สะอาด หรือไม ถาจับเองไมได ก็ถามกอนวาจะใหชวยไหม เพราะการเขาไปชวยทันที อาจมีผลตอ ความรูสึก จิตใจ ทําใหรูสึกไรคา ที่ไมสามารถชวยเหลือตนเองไดอีกตอไป ตองพยายามใหมี กิจกรรมชวยเหลือตนเองแบบงายๆ ถาทําไมไดจริงๆ คอยทําให 2.2.1 การแปรงฟนในกลุมที่ชวยเหลือตนเองไมได - อุปกรณ ไดแก แปรง 1-2 ดาม, ผาขนหนู, ชามรองรูปไต และควรใช ถุงมือทุกครั้ง - ตําแหนง (position) ที่เหมาะสม ควรใหผูสูงอายุนอนตะแคงพรอมมี อางหรือชามรูปไตรอง ถาวางไมไดใหใชผาขนหนูรอซับนํ้าที่ตําแหนงนั้น ผูชวยเหลือหรือผูดูแล อาจจะอยูทางดานหลัง จะไดไมปวดหลังหรืออยูดานขาง หรือใหผูปวยหนุนตัก - วิธีการ ใช แ ปรง 2 อั น อั น หนึ่ ง ใช แ ปรงฟ น อี ก อั น หนึ่ ง ใช ด า มแปรงช ว ยรั้ ง ช อ งปาก อาจปรับรูปรางทําใหดา มแปรงงอเปนมุมเหมือนกระจกสองปาก (mouth mirror) โดยใชความรอน นอกจากนี้ ยังอาจใชไมกดลิ้น พันผาก็อซหนาๆ ทําเปน mouth prop ใหกัด หรือใชโฟมยี่หอ open wide ใหผสู งู อายุกดั ไดเลย จะกวางกวาแปรงสีฟน มีรอ งใหนวิ้ จับไดถนัด ใชครัง้ เดียวทิง้ ใชในเด็ กหรือผูส งู อายุ ก็ได ใน ICU หรือหอผูปวย พยาบาลจะนิยมใชฟองนํ้าที่เรียกวา oral swab เพื่อเอา เศษอาหารกอนใหญออก ตามดวยการแปรงฟนหรือใชผาก๊อซถูซํ้า เพราะผูที่ดูแลตัวเองไมได ขางกระพุง แกม (buccal pouch) มักจะมีเศษอาหารติดคางอยู Oral Swab ที่ใชมี 2 แบบ คือ แบบที่ไมชุบอะไรเลย ถาเอามาชุบนํ้ายาบวนปากก็ชวยใหรูสึกสดชื่นขึ้น แตไมมีผลตอความสะอาด และแบบที่ชุบ lemon glycerin ชนิดนี้หามใชในผูสูงอายุ เพราะยิ่งใชเนื้อเยื่อจะยิ่งแหง

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

5


นอกจากนี้แปรงสีฟันไฟฟาปจจุบันใชไดดี สะดวกกับผูดูแลที่จะแปรงให มีงานวิจัย ที่พบวาหัวแปรงแบบกลมๆ หมุนๆ จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ขณะที่รูปแบบอื่นยังไมมีหลักฐาน ทางวิชาการวาแปรงไดดี - ลําดับขั้นตอนวิธีการแปรงฟน ควรทําเปนระบบ โดย

1) เอาเศษอาหาร กอนใหญๆ ออกกอนโดยใช Oral Swab หรือผาก๊อซ

2) แปรงด า นนอก หรื อ ด า น Buccal โดยให ค นไข กั ด ฟ น ไว แล ว แปรงด า นนอกให ครบทุกซี่

3) แปรงดานใน ซึ่งมักจะมีปญหาวาผูสูงอายุไมอาปาก ใหเอามือลูบแกม ทัง้ 2 ขาง ใชนิ้วลูบริมฝปากใหรูสึกผอนคลายกลามเนื้อ แลวคอยๆ เอานิ้วลวงลงไปใหอาปาก สํ า หรั บ ด า นในจะเริ่ ม จากแปรงฟ น หน า บนก อ น โดยวางแปรงในแนวตั้ ง แปรงฟ น หลั ง บน แลวคอยแปรงฟนหนาลาง ฟนหลังลางเปนตําแหนงสุดทาย

6

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


ลําดับที่ 1 แปรงฟนหน้าบน

ลําดับที่ 2 แปรงฟนหลังบน

ลําดับที่ 4 แปรงฟนหนาลาง

ลําดับที่ 3 แปรงฟนหลังลาง

รูปแสดงลําดับการแปรงฟนด้านใน ในกลุมผูสูงอายุที่ชวยเหลือตัวเองไม ได

4) คอยซับนํ้าลายและเศษอาหารตลอดเวลา กรณีที่อยูในโรงพยาบาลก็ใช suction ในหอผูป วย ซึ่งอนาคตที่โรงพยาบาลจะมีผสู ูงอายุกลุม ที่ติดเตียงมากขึ้น ถาเปนที่บาน ก็ใชผาซับกรณีที่ไมมี suction แตสําหรับผูสูงอายุที่มีปญหาอื่นๆ เชน กลืนลําบาก (dysphagia) ตองมี suction ทีบ่ า นเพราะนํา้ ทีจ่ ะใชบว นปากตองใส Syringe 10 ซีซี คอยๆ ฉีดนํา้ ทีละนอย ระหวางแปรง และตองใช้ suction ดูดน้ำลายตลอดเวลาไมใหสําลัก ผูสูงอายุที่สมองเสื่อม บางคนอาจจะกัด เตะ ตี ตองใจเย็นๆ เวลาดูแลผูสูงอายุ สําหรับผูสูงอายุที่ชวยเหลือตัวเองไมได เคล็ดลับสําหรับผูดูแล คือ ใหยืดหยุน อาจจะไมตอ งแปรงเชาและเย็นเสมอไป แปรงเวลาไหนก็ได เพราะบางทีตอนเชาผูด้ แู ลมีกจิ กรรมมาก เชน เช็ดตัว กินขาว ยายจากเตียงมานั่ง เปลี่ยนเวลามาแปรงฟนตอนบายก็ได มีคําแนะนําจาก ผูเชี่ยวชาญดานผูสูงอายุ แตยังไมมีหลักฐานทางวิชาการวา ผูสูงอายุที่ชวยเหลือตัวเองไมได แปรงฟนแควันละครั้งก็พอ โดยใชยาสีฟนผสมฟลูออไรด เวลาไหนก็ได และผูดูแลอาจตอง ชวยกันมากกวาหนึ่งคน

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

7


2.2.2 ขอควรระวังสําหรับผูดูแล - ใชแปรงจับใหถนัดทั้ง 2 ดาม - ใสถุงมือเสมอ, อยาเอานิ้วไปอยูระหวางฟน - ใชแปรงขนนุมหัวเล็ก - ถอดฟนเทียมกอนเสมอ ถามีฟนเทียมใหถอดมาแปรงขางนอก - เวลาแปรงใหผูปวยชูมือขึ้น ผูดูแลกอดจากดานหลัง หรือใหผูสูงอายุ นอนตะแคง ใชเทคนิคลูบหนา ลูบริมฝปาก ใหอาปาก - ที่สําคัญตองมีวิชาชีพอื่น นอกเหนือจากทันตบุคลากรเขามาชวย และ ตองสื่อสารกับญาติหรือผูดูแลใหดี

การใช ฟลูออไรด ในผูสูงอายุ

8

ในฐานะทันตบุคลากรหรือบุคลากรสาธารณสุข ควรมีความรูเรื่องฟลูออไรดรูปแบบ ตางๆ สําหรับผูสูงอายุ ไดแก 1. นํ้ายาบวนปาก ที่มีฟลูออไรดผสมมีหลายยี่หอ มีทั้งใชเปนประจําทุกวัน หรือ ทุกสัปดาห 2. ยาสีฟน ปกติมีฟลูออไรด 1,000 – 1,500 ppm ยกเวน Prevident ของ คอลเกต ที่มีฟลูออไรด 5,000 ppm ใชในกลุมที่เสี่ยงตอฟนผุสูงมากๆ ตองใหทันตแพทยสั่งให 3. ฟลูออไรดเจล เปนชนิดเดียวกับที่ใชในเด็ก APF และ NaF แบบแรกมีความ เปนกรดสูงไมเหมาะที่จะใชกับผูสูงอายุและเด็ก 4. ฟลูออไรดวานิช ความเขมขนของฟลูออไรดสูงมากถึง 22,600 ppm แตจะใช ในปริมาณที่นอยมาก มี 2 ชนิด คือ - Duraphat และ Duraphor ของคอลเกต วิธีใชงายมาก ไมตองบีบ จากหลอด แคเอาพูกันจิ้มตรงปลายแลวปายบริเวณที่ตองการไดเลย - MI paste ของ 3M มีทงั้ ฟลูออไรด และ Calcium phosphate แต หลักฐานวิชาการยังไมชัดเจน ทั้งฟลูออไรดวานิช หรือฟลูออไรดเจล ใหผลในการปองกันหรือยับยั้งฟนผุบริเวณ ดานเรียบ (smooth surface) ไดทั้ง 2 รูปแบบ แตจะใชฟลูออไรดวานิชมากกวา เพราะใชงาย ใชปริมาณนอย ไมตอ งใช tray ซึง่ ผูส งู อายุไมควรใชฟลูออไรดเจล ตองระวัง airway obstruction มีหลักฐานทางวิชาการที่พบวา ฟลูออไรดวานิช ลดฟนผุในเด็กได 38% สวนวัยทํางานและ สูงอายุมีคําแนะนําใหใช แตยังไมมีงานที่เปน systematic review ซึ่งสํานักทันตสาธารณสุข กําลังศึกษาประสิทธิผลในผูส งู อายุ จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


การทาฟลูออไรดวานิช ทาโดยเวนระยะหางสมํา่ เสมอคือ ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน หรือทุก 1 เดือน 4 เดือน หรือ 7 เดือน ขึ้นอยูกับความเสี่ยง ถาผูสูงอายุไมมีความเสี่ยงก็ไม ตองใช เพราะมีหลักฐานทางวิชาการแลววาไมมีประโยชน ถาเสี่ยงตํ่า ก็ไมตองใชเสี่ยงปานกลาง ใชทุก 6 เดือน ถาเสี่ยงสูงใชทุก 3 เดือน วิธีการใชฟลูออไรดวานิช - ใชผาก๊อซ, cotton bud หรือ air syringe ทําใหผิวฟนพอแหง หรือเอาเศษ อาหารชิ้นใหญออกเทานั้น ไมตองแหงมาก เพราะวานิชทนนํ้าได และจะ set ตัวเมื่อมีนํ้า - เทฟลูออไรดวานิชใสถวยพลาสติก 0.5-1.0 มิลลิลิตร ก็ทาไดทั่วทั้งปาก - ใชพูกัน หรือ cotton bud ทาเฉพาะบริเวณรากฟนที่ expose เทานั้น ทาบางๆ ใหทั่ว พยายามอยาใหโดนเหงือก เพราะอาจจะแพได ไมตองเปาใหแหง - ใหผูปวยหุบปากได หลังทําชั่วโมงแรกไมไดหามทานนํ้า ทานอาหาร แตไมควร เคี้ยวอาหารแข็ง ตามที่บริษัทแนะนําวา 4-6 ชั่วโมงแรกใหทานอาหารออนๆ และอยาเพิ่ง แปรงฟน

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

9


ทํกาความสะอาดช ารเลือกใชผลิตภัณฑ องปาก

บรรยายโดย ทพญ. นนทินี ตั้งเจริญดี *

อุปกรณที่ใชในการดูแลสุขภาพชองปากมีหลายชนิด แตอุปกรณหลักที่สําคัญสําหรับ การทําความสะอาดชองปาก เพื่อปองกันโรคฟนผุ โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคอื่นๆ ในชองปาก ก็คือแปรงสีฟนที่ใชกันอยูทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณเสริมอื่นๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพใน การกําจัดคราบจุลินทรียโดยทั่วไป ทันตบุคลากรจะแนะนําใหประชาชนแปรงฟนวันละ 2 ครั้ง ดวยแปรงสีฟน ขนนุม ใชยาสีฟนผสมฟลูออไรด และใชไหมขัดฟนอยางนอยวันละ 1 ครั้ง และ จะมีคําถามของประชาชนเสมอวา ควรจะเลือกซื้อแปรงสีฟน แบบใด อุปกรณเสริมจําเปนตองใช หรือไม ใชอยางไร จึงเปนที่มาของหัวขอบรรยาย เรื่อง การเลือกใชผลิตภัณฑทําความสะอาด ชองปาก...จากรานคาในครั้งนี้ อันไดแก 1. อุปกรณทําความสะอาดชองปากหลัก : แปรงสีฟน 2. อุปกรณเสริม : ไหมขัดฟน แปรงซอกฟน ไมจิ้มฟน แปรงกระจุกเดียว แปรงสําหรับแปรงลิ้น 3. ยาสีฟน 4. นํ้ายาบวนปาก

อุปกรณทําความสะอาดชองปากหลัก

แปรงสีฟน

แปรงสีฟนเปนอุปกรณหลักที่ใชในการทําความสะอาดชองปาก ที่ประชาชนทั่วไป สามารถเลือกซื้อจากรานคา เพื่อการดูแลสุขภาพชองปากตนเองและคนขางเคียง American Dental Association (ADA) ไดกําหนดคุณลักษณะของแปรงสีฟนไววา 1) ตองมีประสิทธิภาพในการกําจัดคราบจุลินทรีย เปนหนาที่หลัก 2) ตองลดโรคเหงือกอักเสบได ซึ่งเปนผลมาจากขอ 1) 3) ตองไมทําอันตรายตอเหงือกและฟนในขณะที่แปรงฟน ดังนั้น แปรงสีฟนที่ดีจึงตองผานการทดสอบคุณสมบัติทั้ง 3 ขอนี้ของ ADA * สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

10

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


สําหรับประเทศไทย มี 2 หนวยงานที่ดูแลแปรงสีฟนที่วางจําหนายในทองตลาด ไดแก 1) สํ า นั ก งานคณะกรรมการคุม ครองผู บ ริ โ ภค สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี (สคบ.) ควบคุมฉลากแปรงสีฟนที่ตองระบุคุณสมบัติดานตาง ๆ ใหชัดเจน 2) สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ดูแลคุณภาพแปรงสีฟนใหมีคุณสมบัติครบ ทั้ง 3 ขอตามที่ ADA กําหนด ทั้งหัวแปรง ขนแปรง และดามแปรง

1. คุณภาพแปรงสีฟน สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รวมกับภาคีเครือขาย ที่เกี่ยวของไดกําหนดมาตรฐานวิชาการแปรงสีฟนทั้งหัวแปรง ขนแปรง และดามแปรง เชน แปรงสีฟนผูใหญ กําหนดความกวาง ยาว หนาของหัวแปรง ขนแปรงเปนชนิดนุมหรือปานกลาง ขนแปรงตองไดรับการมนปลายไมตํ่ากวา รอยละ 75 แตละกระจุกของขนแปรงตองทนตอ แรงดึงไดไมตาํ่ กวา 15 นิวตัน ดามแปรงมีความยาวมากกวา 150 ซม. เปนตน และดําเนินการ เฝาระวังคุณภาพแปรงสีฟน โดยการสํารวจคุณภาพแปรงสีฟนในประเทศอยางตอเนื่องทุกๆ 3 ป เริม่ ตัง้ แต พ.ศ. 2543 ครัง้ ลาสุดเปนครัง้ ที่ 4 พ.ศ. 2550 ไดสมุ เก็บตัวอยางแปรงสีฟน ทีจ่ าํ หนาย ในทองตลาด ทุกยี่หอทุกรุน ทั้งที่ผลิตในประเทศและตางประเทศ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม สงขลา ขอนแกน และกรุงเทพมหานคร พบแปรงสีฟน 67 ยีห่ อ จํานวน 273 รุน เมือ่ ตรวจสอบ ทางหองปฏิบัติการ พบวา แปรงสีฟนรอยละ 25 ไมไดมาตรฐานของกรมอนามัย ขอบกพรองที่ พบมากทีส่ ดุ คือ ขนแปรงแข็ง ไมผา นการมนปลาย หัวแปรงมีขนาดใหญเกินไป และแรงยึดแนน ของกระจุกขนแปรงไมเพียงพอ ซึง่ กรมอนามัยไดดาํ เนินการแกไข โดยมีหนังสือแจงผูป ระกอบการ ในกรณีที่แปรงสีฟนมีคุณภาพตํ่ากวามาตรฐานเพื่อขอความรวมมือในการปรับปรุงแกไข หรือ ประชุมบริษัท ผูผลิตแจงผลการตรวจ นอกจากนี้ ยังมีขอมูลรายงานผลการตรวจแปรงสีฟน ในเว็บไซตสํานักทันตสาธารณสุข สวนแปรงสีฟนที่สุมสํารวจแลวพบวาไมมีฉลาก ไมทราบผูผลิต/ นําเขา กรมอนามัยไดขอความรวมมือจาก สคบ. ในการออกตรวจตลาดตักเตือนผูจําหนาย และค นหาตนตอผูนําเขา เพื่อชี้แจงใหปฏิบัติใหถูกตองตอไป

2. ฉลากแปรงสีฟน สํานักงานคณะกรรมการคุมครองผูบริโภค สํานักนายกรัฐมนตรี (สคบ.) ควบคุม ฉลากแปรงสีฟน ใหเปนไปตามประกาศคณะกรรมการวาดวยฉลาก ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2545) ให แปรงสีฟน เปนสินคาที่ควบคุมฉลาก ซึ่งกําหนดวา บนฉลากแปรงสีฟนตองระบุ 5 เรื่องดังนี้ 1) ลักษณะขนแปรง หมายถึง มนกลม เรียวแหลม รูปโดม หรือปลายตัด 2) ชนิดของขนแปรง เชน นุมพิเศษ นุม นุมปานกลาง หรือแข็ง 3) วัสดุที่ใชทําดามและขนแปรงสีฟน เชนดามแปรงผลิตจากเทตราโพลีเอธิลีนและ โพลีโพรพิลีน ขนแปรงผลิตจากโพลีเอไมล การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

11


4) วิธีใช เชน ใชแปรงฟนอยางนอยวันละ 2 ครั้ง 5) ขอแนะนําอื่นๆ เชน ควรเปลี่ยนแปรงสีฟนเมื่อขนแปรงเริ่มบาน ลางแปรงให สะอาดหลังใชและเก็บในที่แหง

ตัวอยางรายการที่ระบุบนฉลากแปรงสีฟน

สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย จะดูแลใหคุณภาพและขอความบนฉลากตรงกัน และใชสัญลักษณแปรงติดดาวติดไวที่ฉลากผลิตภัณฑ เพื่อใหประชาชนไดใชฉลากแปรงสีฟน ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อแปรงสีฟนที่มีคุณภาพ

12

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


3. การเลือกซื้อแปรงสีฟน สิ่งที่สําคัญ คือ ความนุมของขนแปรงและการมนปลาย การเลือกซื้อแปรงสีฟน เราจะดูที่แปรง 3 จุดใหญๆ ไดแก หัวแปรง ขนแปรงและดามแปรงซึ่งสามารถดูจากฉลาก แปรงสีฟน ได 3.1 หัวแปรง ปลายหัวแปรงเมื่อลูบดูแลวตองไมมีความคม เพราะจะบาดเหงือกหรือ เนื้อเยื่อในชองปากไดในขณะที่แปรงฟน หัวแปรงควรมีขนาดพอเหมาะ คือ มีความยาวประมาณ 2-3 ซี่ฟน หัวแปรงเล็กจะเขาไปทําความสะอาดซี่ฟนไดดีกวาหัวแปรงที่ใหญมากๆ โดยเฉพาะเด็ก ซึ่งถาใชแปรงสีฟนผูใหญ หัวแปรงจะมีขนาดใหญเกินไป ทําใหแปรงฟนไดไมสะอาด รูปราง หัวแปรงในทองตลาดมีใหเลือกมาก ถาเปนรูปสี่เหลี่ยมจะมีพื้นที่ทําความสะอาดมาก แตจะเขาไป ทําความสะอาดในจุดเล็กๆ ซอกลึกๆ ของฟนไดไมดีพอ หรือถาเปนรูปวงรี หรือขาวหลามตัด หรือรูปไข และรูปเรียวเล็ก (taper) จะทําความสะอาดซอกเล็กๆ ลึกๆ ไดดี 3.2 ขนแปรง ขนแปรงสี ฟ น เป น เรื่ อ งที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด เพราะทํ า หน า ที่ ใ นการทํ า ความสะอาดฟน กําจัดคราบจุลินทรียในชองปาก ขณะเดียวกันก็ไมทําใหเกิดแผล การแนะนํา ประชาชนตามมาตรฐานวิชาการ จึงใหใชขนแปรงสีฟนนุม หรือนุมพิเศษ หรือนุมปานกลาง และเลือกขนแปรงทีไ่ ดรบั การมนปลายทัง้ หมด แตเนือ่ งจากความนิยมของประชาชนในประเทศไทย บางกลุม ชอบขนแปรงขนาดปานกลางจนถึงแข็ง บริษัทผูผลิตบางแหงก็อิงตลาด ผลิตขนแปรง กลุมปานกลาง จึงยังคงพบขนแปรงชนิดนี้ในทองตลาด นอกจากนี้ ขนแปรงแตละกระจุกตอง ทนตอแรงดึงไดไมตาํ่ กวา 15 นิวตัน ขนแปรงจะไดไมหลุดเขาในคอขณะทีแ่ ปรงฟน แปรงบางยีห่ อ ที่ขนแปรงเรียวแหลม สํานักทันตสาธารณสุขก็ไดตรวจสอบขนแปรง เพือ่ ดูประสิทธิภาพในกําจัด คราบจุลนิ ทรีย หรือจะทําใหเกิดแผลขณะแปรงหรือไม พบวา ขนแปรงทุกเสนมนกลม ไมทําให เกิดแผล มีคุณภาพในการกําจัดคราบจุลินทรีย ก็ถือวาผานมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีการออกแบบขนแปรง ที่บริษัทอางวาเพื่อวัตถุประสงคอื่นๆ เชน ชวยนวดเหงือก ขณะแปรงฟน หรือชวยขัดฟน หรือชวยทําความสะอาดดานหลังของฟนซี่ในสุด เปนตน และมีการเรียงตัวของขนแปรงในทิศทางตางๆ เปนจุดขายของบริษัท จะออกแบบ อย า งไรก็ ต ามให ยึ ด ถื อ หน า ที่ ข องขนแปรงในการทํ า ความสะอาดฟ น กํ า จั ด คราบจุ ลิ น ทรี ย โดยไมทําใหเกิดแผล โดยแนะนําขนแปรงนุม ปลายมนตามมาตรฐาน

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

13


ภาพแปรงสีฟนที่ ไดมาตรฐาน

ตัวอยางขนแปรงลักษณะอื่นๆ ที่มี ในทองตลาด ขนแปรงยาง ขนแปรงยางที่ เรียงอยู่แถวนอก ซึ่งผูผลิตระบุ บนฉลากวาชวย นวดเหงือก

ขนแปรงยางที่ เรียงอยู่แถวนอก ผูผลิตระบุ บนฉลากวาชวย นวดเหงือก

ขนแปรงยางรูปถ้วย ผู้ผลิตระบุบน ฉลากว่าช่วย รวบรวมยาสีฟัน ไว้ในขณะที่แปรงฟัน เพื่อขัดฟัน ขนแปรงยางที่อยูดานใน ผูผลิตระบุบนฉลากวาชวยขัดฟนในขณะแปรงฟน

14

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


กระจุกขนแปรงพิเศษที่หัวแปรง กระจุกขนแปรง พิเศษที่หัวแปรง ซึ่งผูผลิตระบุบน ฉลากวาชวยทํา ความสะอาดฟน ซี่ที่อยูดานในสุด

3.3 ดามแปรงสีฟน เลือกที่จับถนัดมือของคนแปรง มีทั้งชนิดที่เปนยางหรือพลาสติก มาตรฐานที่สํานักทันตสาธารณสุขกําหนด ความยาวของดามแปรงสีฟนไมควรตํ่ากวา 150 มิลลิเมตร ถาสั้นมากๆ ก็จะจับไมถนัด และที่ควรระวังคือ แปรงสีฟนที่ใชแลวหรือดามแปรง พลาสติกชนิดใส มักจะเปราะหักงาย หากแปรงแรงๆ อาจจะหักได ดามแปรงสีฟนจึงออกแบบ เชน ใหมีรองบนดามจับ เพื่อไมใหลื่นขณะที่แปรงฟน ที่วางนิ้วโปง ในขณะที่ แปรงฟน

ดามแปรงยาง มีการทําเปนรอง เพื่อใหไมลื่น ในขณะที่แปรงฟน

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

15


การออกแบบดามแปรง เพื่อใหจับไดถนัดและไม ลื่นในขณะที่แปรงฟน

ดามแปรงทําจาก พลาสติกชนิดตางๆ

ดามแปรงพลาสติกชนิดนี้ อาจเปราะหักงาย ถา ใชแรงในการแปรงมากๆ

4. อายุการใชงานของแปรงสีฟน มีขอ แนะนําวาเรือ่ งการใชงานของแปรงสีฟน วาควรจะเปลีย่ นเมือ่ แปรงสีฟนเริม่ บาน เนื่ อ งจากทํ า ให แ ปรงฟ น ไม ส ะอาดและอาจทํ า อั น ตรายต อ เหงื อ กได ซึ่ ง แต ล ะคนไม เ ท า กั น บางคนเดือนเดียวแปรงสีฟน ก็บานแลว แตบางคน 6 เดือนก็ยงั ไมบาน จึงแนะนําเปนกลางๆ วา ควรเปลีย่ นแปรงสีฟนทุก 3 เดือน หรือเมื่อสังเกตไดวาขนแปรงบาน

5. การดูแลแปรงสีฟน - การทําความสะอาดแปรงสีฟน หลังจากแปรงฟนเสร็จใหลางแปรงใหสะอาด สะบัดนํ้าใหแหง ไมตองลวกนํ้ารอน - การเก็บแปรงสีฟน วางแปรงในแนวตั้งในที่โปรง อากาศระบายไดดี ไมควรเก็บ แปรงสีฟนในกลอง หรือใสฝาครอบตลอดเวลา จะทําใหแปรงชื้นหรือเกิดเชื้อราตรงโคนกระจุก ขนแปรง

16

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


อุปกรณเสริมสําหรับทําความสะอาดซอกฟน แปรงสีฟนเปนอุปกรณพื้นฐาน ที่ใชทําความสะอาดชองปากไดประมาณ 60-70% เทานั้น ยังมีพื้นที่เหลืออยูอีกประมาณ 30% ที่แปรงสีฟนไมสามารถเขาไปทําความสะอาด ไดอยางทั่วถึง ไดแกบริเวณซอกฟน โดยเฉพาะผูที่เปนโรคปริทันตที่รุนแรง จึงจําเปนตองมี อุปกรณเสริมสําหรับการทําความสะอาดซอกฟน ใหเลือกใชตามสถานการณ ตามลักษณะของ ชองปากของแตละคน ไดแก ไหมขัดฟน แปรงทําความสะอาดซอกฟน และไมจิ้มฟน

1. ไหมขัดฟน ไหมขัดฟนเปนเสนใยที่ทําจากไนลอน หรือพลาสติกประเภทเทฟลอนหรือโพลีเอธีลีน ใชเพื่อกําจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรียที่ติดระหวางซอกฟน มีทั้งประเภทที่เคลือบขี้ผึ้งและ ไมเคลือบขี้ผึ้ง ผูที่เริ่มใชจะแนะนําใหใชแบบเคลือบขี้ผึ้งกอน และชนิดที่มีสารแตงกลิ่นรส และ ไมมีสารแตงกลิ่นรส การใชไหมขัดฟน เพื่อทําความสะอาดซอกฟน อาจใชกอนแปรงฟน หลังแปรงฟน และกอนนอน สวนใหญจะแนะนําใหใชวันละ 1 ครั้งกอนนอน แตมีเอกสารทางวิชาการวา การใชกอนแปรงฟนจะชวยกําจัดคราบจุลินทรียบริเวณซอกฟน และทําใหฟลูออไรดจากยาสีฟน สามารถเข าไปเกาะกับผิวเคลือบฟนไดมากขณะที่แปรงฟน 1.1 ชนิดของเสนใย มี 2 แบบ 1) แบบเคลือบขี้ผึ้ง (Waxed) เหมาะสําหรับฟนที่สัมผัสกันแนนมาก และสําหรับ ผูที่เริ่มใชครั้งแรก 2) แบบไมเคลือบขี้ผึ้ง (Unwaxed) เหมาะกับฟนที่สัมผัสกันไมแนนมาก อยางไรก็ตามทั้ง 2 แบบมีประสิทธิภาพในการทําความสะอาดเทาเทียมกันถาใชอยางถูกตอง

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

17


1.2 การใชเสนใยขัดฟน (Flossing) 1 2 3 1) ตัดไหมขัดฟนยาวประมาณฟุตครึ่ง หรือ 18 นิ้ว นํามาพันรอบนิ้วกลางกับ นิ้วนาง (หรือนิ้วกลางนิ้วเดียวก็ได แตอยาพันกับนิ้วชี้) ใหแนนพอที่จะทําใหไมลื่นหลุด และ ไมแนนเกินไปจนบาดนิว้ หรือทําใหนวิ้ เจ็บ เหลือเสนไหมไวระหวางมือประมาณ 3-4 นิว้ เพือ่ ใชทาํ ความสะอาดฟน หรือบางคนไมถนัด อาจผูกไหมขัดฟนเปนวงกลมก็ได ดังภาพ 1 2) ใชนิ้วหัวแมมือกับนิ้วชี้จับเสนไหมไวสําหรับทําความสะอาดฟนดังภาพ 2 ให เสนไหมเหลืออยูระหวางนิ้วมือ 2 ขางประมาณ 1/2 นิ้วจนถึงนิ้วครึ่ง 3) คอยๆ สอดเสนไหมเขาไประหวางซี่ฟนเบาๆ ระวังอยาใหเสนไหมกระแทก หรือบาดเหงือก ทําความสะอาดฟนทีละซี่โดยการใชเสนไหมโอบลอมฟนคลายรูปตัวซี (‘C’) ดังภาพ 3 4) ออกแรงถูเสนไหมบนผิวฟนเบาๆ ในแนวนอน อยาออกแรงในแนวตัง้ เพือ่ ปองกัน อันตรายตอเหงือก ถูเสนไหมบนผิวฟนเบาๆ ขึน้ บางลงบางซีล่ ะ 2-3 รอบ โดยเริม่ จากสวนบนสุด ของซี่ฟนลงไปใตแนวเสนเหงือกเล็กนอย แลวกลับขึ้นไปใหม 5) อยาออกแรงกดเสนไหมบนเหงือก ซึ่งจะทําใหเหงือกชํ้า เปนแผล หรือเกิด การอักเสบได วิธสี งั เกตวา เราออกแรงกดบนเหงือกหรือไม คือ ขณะทีใ่ ช ดูในกระจกวา มีรอยกด ของเสนไหมบนเหงือกขณะใชไหมขัดฟนหรือไม ถาทําถูกวิธีจะไมมีรอยกดนี้เลย รอยกดที่เหงือก การใชไหมขัดฟน ถาใชไมถูกจะทําอันตรายตอเหงือก ปกติเสนใยไมควรขาดขณะใช แตถาเสนใยขาดอยูเสมอบริเวณใด แสดงวาฟนที่อุดไวบริเวณนั้นอาจมีปญหาควรรีบแกไข

18

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


1.3 ปญหาของการใช ไหมขัดฟน ที่สําคัญคือ ใชยาก ตองฝกฝน และยิ่งถาระหวาง ซี่ฟนสัมผัสกันแนนมากก็จะยากขึ้น อาจตองใชแรงกดจนโดนเหงือกขางลาง นอกจากไหมขัดฟนแบบธรรมดาแลว ยังมีไหมขัดฟนอีก 2 แบบ คือ ซุปเปอรฟลอส (Superfloss) กับ Floss threader ซึ่งใชทําความสะอาดใตสะพานฟน สําหรับผูที่ใสฟนชนิด ติดแนนหรือใสลวดจัดฟน - ซุปเปอรฟลอส (Superfloss) ใชสําหรับคนไขจัดฟน หรือ ใสสะพานฟน หรือ ตามที่ทันตแพทยแนะนํา วิธีใช คือ สอดสวนปลายที่แข็งผานซอกฟนที่ใสไว แลวดึงสวนที่เปน ฟองนํ้ามาโอบแนบดานขางของฟนที่ครอบโดยใชนิ้วบังคับ ขัดจากขอบเหงือกไปทางดานบดเคี้ยว 6 ครั้ง จากนั้นใชฟองนํ้าทําความสะอาดซอกฟนที่ครอบอีกซี่หนึ่งที่อยูขางๆ ดังภาพ

ภาพการใช Superfloss

- Floss threader ใชทําความสะอาดบริเวณที่ใสสะพานครอบฟน และบริเวณที่ ใสลวดจัดฟนเชนเดียวกับ Superfloss แตรูปรางเปนหวงพลาสติกคลองเสนใยขัดฟน ดังภาพ เวลาใช ตัดไหมขัดฟนยาวประมาณฟุตครึ่งหรือ 18 นิ้ว ใสลงไปในหวงของ (Floss Threader) ปลายเข็ ม สอดไปใต ส ะพานฟ น ไหมขั ด ฟ น ก็ จ ะผ า นเข า ไปตรงบริ เ วณใต ส ะพานฟ น หรื อ ทํ า ความสะอาดตรงบริ เวณใตสะพานฟนหรือลวดจัดฟน

ภาพการใช Floss threader

อีกรูปแบบหนึ่งของไหมขัดฟันคือ มี Floss holder เปนเครื่องจับเสนใยสําเร็จ จะมีไหมติดอยูกับดามจับแทนการพันนิ้วมือดังภาพ ทําใหใชไดสะดวกขึ้น โดยวางลงไประหวาง ซี่ฟนตรงๆ แตมีขอ เสียคือ ประสิทธิผลไมดเี ทาทีค่ วรเนือ่ งจากไมสามารถโอบรอบซีฟ่ น และอาจ ทําใหบาดเหงือกได แตขอดีคือ ใชสะดวก การใชนิ้วมือมีประสิทธิภาพดีกวามากถาใชถูกวิธี

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

19


ภาพการใช Floss holder พร้อมไหมขัดฟัน

2. แปรงซอกฟน (Proxabrush, Interdental brush) กรณี ที่ มี ฟ น ห า งหรื อ ฟ น ล ม เอี ย ง มี ช อ งระหว า งฟ น มี เ หงื อ กร น หรื อ ไม มี ฟ น ดานขาง หรือดานหลังของฟนซี่สุดทาย การใชไหมขัดฟนไมสามารถแนบเขาไปกับตัวฟนได ประสิทธิภาพไมดพี อ จึงมีอปุ กรณอกี ชนิดหนึง่ ทีเ่ ขามาเสริมชวยทําความสะอาด คือ แปรงซอกฟน ที่ใชอยูมีทั้งชนิดที่มีดามจับ (Proxabrush) ดังภาพ และที่ไมมีดามจับ มีลักษณะคลายแปรง ลางขวดขนาดเล็ก (Interdental brush) ดังภาพ สวนที่ใชทําความสะอาดมี 2 แบบ คือ รูปราง ทรงกระบอก (cylinder) และทรงกรวย (taper)

20

Proxabrush

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี

Interdental brush


วิธีใช สอดแปรงเขาไปตรงชองวางระหวางซี่ฟน จากนั้นวางแปรงบนเหงือกใหแนบ ดานหนึ่งของซอกฟน แลวถูเขาถูออกประมาณ 3-4 ครั้ง แลวเบนแปรงมาแนบอีกดานหนึ่ง ถูเขาถูออก 3-4 ครั้ง ทําเชนนี้กับซอกฟนที่มีชองวางโดยเขาจากดานกระพุงแกมและเขาจาก ดานลิ้นดวย ถาใช Proxabrush จะเขาไดทงั้ 2 ดาน สวน Interdental brush นัน้ ใชเขาจาก ดานกระพุง แกมเทานั้น

ภาพการใชแปรงซอกฟน

การเลือกแปรงซอกฟ น ตองเลือกขนาดแปรงซอกฟ นใหเหมาะสมกับขนาดของ ซอกฟน ของเราดวย ถาเลือกแปรงซอกฟนที่เล็กเกินไปแปรงจะไมสัมผัสกับซอกฟน ถาขนาด ใหญ เ กิ น ไปก็ จ ะทํ า ใหอ อกแรงมาก และอาจทํ า ใหเ กิ ด การอั ก เสบได ถ า มี ฟ น ห า งหรื อ มี ช อ ง ซอกฟนกวาง การใชแปรงซอกฟนมีสวนชวยไดมาก แตถาซอกฟนแคบอยาใชแปรงซอกฟนใหใช ไหมขัดฟนทําความสะอาดแทนเพื่อปองกันแรงกดจากแปรงไป ทําใหฟนสึกหรือเหงือกรน

3. ไมจิ้มฟน เปนอุปกรณเสริมที่ทันตแพทยไมคอยแนะนําใหใช เนื่องจากจะมีปญหาตามมา แตเปนอุปกรณที่ถูกใชมากที่สุด สามารถใชไดทันทีหลังอาหาร ใชสะดวกโดยเฉพาะผูสูงอายุ โดยทั่วไป ไมจิ้มฟนมีหนาที่กําจัดเศษอาหารชิ้นใหญที่ติดตามซอกฟน แตไมสามารถกําจัด คราบจุ ลินทรียได 3.1 ตามมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม มอก. 491-2547 ไมจิ้มฟน หมายถึง ผลิตภัณฑที่ทําจากไมหรือพลาสติก ใชสําหรับเขี่ยเศษอาหาร ที่ติดฟนออก หรือทําความสะอาดซอกฟน มีรูปรางเปนแทงยาว มีสวนปลายที่ใชงานทั้งสองขาง หรือขางเดียว ตองผานกรรมวิธีทําความสะอาดที่เหมาะสม เชน ใชสารเคมีหรือความรอน สวนปลายที่ใชงานอาจมีการชุบสารปรุง แตงกลิ่นรส ซึ่งเปนชนิดและใชในปริมาณที่ปลอดภัย สวนที่ใชจับอาจทําเปนลวดลาย เพื่อใหสะดวกแกการใชงานได การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

21


ในประเทศไทย ประเภทและชนิดของไมจิ้มฟน ทําจากวัสดุ 2 ประเภท - ประเภทไม มีชนิดที่ชุบสารปรุงแตงกลิ่นรส และชนิดที่ไมชุบสารปรุงแตงกลิ่นรส การควบคุมคุณภาพ ไดกําหนดใหไมจิ้มฟนประเภทนี้ตองมีผิวเรียบ ไมเปนขุยหรือมีรอยจาก การฉีกของไม ทิศทางของเสี้ยนไมขนานกับความยาวของไมจิ้มฟน หากชุบสารปรุงแตงกลิ่นรส สารนั้นตองเปนชั้นคุณภาพอาหาร โดยผูทําตองมีใบรับรองคุณภาพวาเปนชั้นคุณภาพอาหารไวที่ โรงงาน - ประเภทพลาสติก ตองมีผิวเรียบไมมีสิ่งเจือปน ไมมีฟองอากาศหรือไมปรากฏ ลักษณะบกพรองที่อาจเปนอันตราย หรือผลเสียหายตอการใชงาน เกณฑในการตรวจสอบไมจิ้มฟน - ความยาวตองไมนอยกวา 50 มิลลิเมตร - สวนปลายที่ใชงาน มีความยาวไมเกิน 1.2 มิลลิเมตร เล็กมากๆ ไมเรียวแหลม มาก และจะตองมีความแข็งแรง - ไมจิ้มฟนประเภทไม สามารถรับแรงกด 4.5 นิวตันได โดยไมหักภายในระยะ เวลา 5 วินาที แตถา เปนประเภทพลาสติกตองงอไมจมิ้ ฟนตรงกลางเปนมุม 90 องศา ถึง 95 องศา ไดโดยไมจิ้มฟนไมหัก 3.2 ปญหาของการใช ไมจิ้มฟน ไมจิ้มฟนที่มีขายอยูในตลาด มีเพียงมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมควบคุม คือ มอก. 491-2547 ออกมา เมือ่ ป 2547 แตยงั ไมมกี ารควบคุมคุณภาพจริงจัง สวนใหญจะ แข็งเกินไป ถาใชนานๆ และออกแรงมากเกินไป จะทําใหหัก ทําอันตรายเหงือก ทําใหเหงือกรน และทําใหฟนหาง เกิดชองวางระหวางซีฟ่ น มากขึน้ สงผลใหเศษอาหารติดบริเวณดังกลาวงายขึน้ กวาเดิม การใชทถี่ กู ตอง คือ ใชไมจิ้มฟนเขี่ยเศษอาหารออกเบาๆ ไมควรใชแรงแคะหรืองัดเพื่อ กําจัดเศษอาหาร ถาเศษอาหารติดแนนระหวางซอกฟนเปนประจํา ควรหาสาเหตุอื่นๆ และรีบ แกไข เชน อาจมีฟนผุซอกฟน หรือฟนที่อุดหรือครอบไวมีปญหา เปนตน

22

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


บางแหงพบวาไม้จิ้มฟันไมสะอาด อาจจะมาจากขั้นตอนการผลิต หรือการเก็บใน ภาชนะเปด เชน วางไวบนโตะอาหาร ผูท เี่ ปนโรคปริทนั ตไมควรใช เพราะอาจติดเชือ้ จากไมจมิ้ ฟน ที่ไมสะอาดได และถาใชอยางไมระวัง ไมจิ้มฟนอาจตกลงในคอได

4. แปรงกระจุกเดียว (single tufted brush) เปนแปรงเสริมสําหรับผูที่มีฟนเก ฟนลมเอียง หรือบริเวณที่แปรงสีฟนเขาไปทํา ความสะอาดไมทั่วถึง แนะนําใหใชบริเวณดานในของฟนลาง ในผูที่ใสเครื่องมือจัดฟนหรือบริเวณ ฟนดานหลัง วิธีใช หลังจากการแปรงฟนตามปกติแลว ใหใชแปรงซอกฟนกวาดขนแปรงไปตาม คอฟ น เมื่ อ ถึ ง ซอกฟ น จึ ง ขยั บ ขนแปรงอยู กั บ ที่ แ ล ว ป ด ไปด า นบดเคี้ ย วทํ า เช น นี้ กั บ ฟ น ทุ ก ซี่ ที่ ตองการ 5. ไมขูดลิ้น แปรงสําหรับแปรงลิ้น ในกลุ ม ผู ใ หญ พบว า มี ค ราบติ ด ที่ ลิ้ น และเป น สาเหตุ ที่ทําใหเกิดกลิ่นปาก จากเชื้อโรคหลายชนิดที่สะสมอยูที่ลิ้น ดังนั้น คนทีม่ กี ลิน่ ปากและมีคราบติดอยูบ นลิน้ จึงควรใชแปรงสําหรับแปรงลิน้ ซึ่งมีลักษณะแบน จะไมโดนเพดานปากในขณะแปรง และไมทําใหเกิด อาการขยอนเวลาแปรงควรแปรงกอนการแปรงฟน แปรงเบาๆ จาก โคนลิ้นมาปลายลิ้น โดยไมตองใชยาสีฟน แตในเด็กไมแนะนําใหใช เพราะอาจทําใหตุมรับรสที่ลิ้นอักเสบ ถาไมมีแปรงสําหรับแปรงลิ้น ก็ ใ ช แ ปรงสี ฟ น ธรรมดาที่ ข นแปรงนุ ม เพื่ อ ป อ งกั น การอั ก เสบและ เลือดออกที่ลิ้น เนื่องจากถามีแผลสะสมที่ลิ้นก็ยิ่งทําใหกลิ่นปากรุนแรง ขึ้น

ยาสีฟน

ยาสีฟนเปนอุปกรณชวยในการแปรงฟน คุณสมบัติยาสีฟนที่ดี ไดแก 1. ทําความสะอาดฟนไดดี 2. ไมทําอันตรายตอเหงือกและฟนไมระคายเคืองตอเยื่อบุชองปาก 3. ปองกันฟนผุ 4. มีกลิ่น รส ดี 5. เนื้อยาสีฟนเปนเนื้อเดียวกันตลอดไมแยกชั้น 6. มีรูปแบบที่สะดวก และราคาไมแพง

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

23


โดยมีสวนประกอบหลักของยาสีฟน ดังนี้ - สารขัดฟน 15-50 % (แบบเจลใสมีสารขัดฟน 15-25% ในรูปซิลิกา) - สารใหความชุมชื้น 20-40 % - สารใหฟอง 1-2 % - สารควบคุมความเหนียวขน 0.5-2 % - สารปรุงแตงกลิ่นรส 1-2 % - สารกันเสีย 0.1-0.2 % - สารอื่นๆ เชน ฟลูออไรด สมุนไพร สารระงับเชื้อ ฯลฯ ยาสีฟนที่มีจําหนายในทองตลาดมีหลายชนิดใหเลือกใช เชน ยาสีฟนผสมฟลูออไรด ยาสีฟน สมุนไพร ยาสีฟน ไวทเทนนิง่ ยาสีฟน แกเสียวฟน ยาสีฟน ขจัดคราบบุหรีแ่ ละชากาแฟ เปนตน

1. ยาสีฟนผสมฟลูออไรด โดยทั่วไป จะแนะนําใหใชยาสีฟนผสมฟลูออไรดเพื่อชวยปองกันฟนผุ เปนชองทาง ในการไดรับฟลูออไรดที่ดีทั้งสําหรับเด็กและผูใหญ พบวาผูที่แปรงฟนดวยยาสีฟนผสมฟลูออไรด เป นประจําจะมีโอกาสเกิดฟนผุนอยกวาผูที่ไมไดใชยาสีฟนผสมฟลูออไรดประมาณรอยละ 30 กระบวนการที่ฟลูออไรดเขาไปเสริมความแข็งแรงของผิวเคลือบฟน จะเกิดขึ้นขณะที่เราแปรงฟน จึงควรแปรงฟนนานอยางนอย 2 นาที เพื่อใหฟลูออไรดในยาสีฟนมีเวลาพอที่จะเขาไปจับกับ ผิวเคลือบฟนได ยาสีฟนผสมฟลูออไรดที่มีจําหนายในทองตลาดจะมี 2 แบบ คือยาสีฟนสําหรับ ผูใหญ ซึง่ จะมีฟลูออไรด 1,000 ppm และยาสีฟน สําหรับเด็กทีม่ ปี ริมาณฟลูออไรด 500 ppm สามารถอานไดจากฉลาก ในบานที่มีเด็ก ไมควรใชยาสีฟนสําหรับผูใหญหลอดเดียวใชทั้งบาน เนือ่ งจากมีการศึกษาพบวาเด็กที่มีอายุตํ่ากวา 6 ป จะกลืนยาสีฟนถึงรอยละ 30 ขณะที่แปรงฟน โดยไม ไ ด ตั้ ง ใจ เพราะว า กล า มเนื้ อ ช ว ยในการกลื น ยั ง ไม ดี พ อ จะทํ า ให เ ด็ ก ได รั บ ฟลู อ อไรด เกินขนาด นอกจากนี้ ยาสีฟนของเด็กจะมีการเติมกลิ่นรสลงไป เชน รสสม รสโคก ทําใหเด็ก ชอบทานยาสีฟน ผูใหญควรระวังเก็บยาสีฟนใหพนมือเด็ก รวมทั้งเปนผูบีบยาสีฟนใหเด็กเอง และดูแลขณะที่เด็กแปรงฟนไมใหเด็กกลืนยาสีฟน ขอแนะนําสําหรับผูปกครองในการเลือกใชยาสีฟนผสมฟลูออไรดสําหรับเด็ก 1. ควรแปรงฟนโดยใชยาสีฟนผสมฟลูออไรดอยางนอยวันละ 2 ครั้ง และแปรงฟน นานครั้งละ 2 นาทีขึ้นไป 2. ในเด็กที่มีอายุตํ่ากวา 6 ป - ผูปกครองควรเปนผูบีบยาสีฟนใหเด็ก - ดูแลเด็กในขณะที่เด็กแปรงฟน อยาใหเด็กกินหรือกลืนยาสีฟน

24

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


3. ในทองตลาดมียาสีฟนผสมฟลูออไรด 1,000 ppm และ 500 ppm เด็กที่มี อายุตํ่ากวา 6 ปควรเลือกใชยาสีฟนสําหรับเด็กที่มีปริมาณฟลูออไรด 500 ppm เพื่อลด ความเสี่ยงตอการกลืนฟลูออไรดเขาไปมากเกินไปในขณะที่แปรงฟน โดยดูฉลากเลือกที่ระบุวามี แอคทีฟฟลูออไรดอิออน 500 พีพีเอ็ม หรือมีโซเดียมฟลูออไรด 0.11% w/w หรือมีโซเดียม โมโนฟลูออโรฟอสเฟต 0.38% w/w เด็กทีม่ อี ายุ 1 ปีครึง่ - 3 ป ใชยาสีฟนขนาดเมล็ดถั่วเขียว

เด็กที่มีอายุ 3 - 6 ป ใชยาสีฟนขนาดเมล็ดขาวโพด

เด็กที่มีอายุ ตํ่ากวา 2 ป ควรใชยาสีฟน ในปริมาณ แตะขนแปรง พอชื้นเทานั้น

เด็กที่มีอายุ 6 ปขึ้นไป บีบยาสีฟนยาว ครึ่งเซ็นติเมตร

4. ปริมาณยาสีฟนผสมฟลูออไรดที่เหมาะสมในการแปรงฟนแตละครั้ง - เด็กที่มีอายุตํ่ากวา 2 ปควรใชยาสีฟนในปริมาณที่แตะขนแปรงพอชื้นเทานั้น - เด็กที่มีอายุ 1 ปีครึ่ง - 3 ป ใชยาสีฟนขนาดเมล็ดถั่วเขียว - เด็กที่มีอายุ 3 - 6 ป ใชยาสีฟนขนาดเมล็ดขาวโพด - เด็กที่มีอายุ 6 ปขึ้นไป บีบยาสีฟนยาวครึ่งเซนติเมตร

2. ยาสีฟนไวทเทนนิ่ง (ยาสีฟนทําใหฟนขาว) ยาสีฟนไวทเทนนิ่ง ที่ทําใหฟนขาวมีสวนผสมของสารฟอกสีฟน 2 ประเภท ไดแก ประเภทที่ 1 มีสวนผสมของ 10% คารบาไมดเปอรออกไซด หรือ 3% ไฮโดรเจน เปอร อ อกไซด ในประเทศไทยอนุ ญ าตให ข ายได เ ฉพาะในร า นขายยา การใช ค วรปรึ ก ษา ทันตแพทย เพราะอาจมีผลแทรกซอนทําใหเสียวฟนได ประเภทที่ 2 เปนยาสีฟนไวทเทนนิ่งที่วางขายตามทองตลาด มีสวนผสมของผงขัด ที่คอนขางหยาบ หรือผสมสารบางชนิดทําใหคราบที่ติดแนนหลุดงายขึ้น ยาสีฟนชนิดนี้จะชวย กําจัดคราบสีบนตัวฟน เชน นํ้าชากาแฟ บุหรี่ ทําใหฟนขาวขึ้น เทากับสีฟนเดิมตามธรรมชาติ การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

25


ยาสีฟนประเภทนีห้ าซือ้ ไดทวั่ ไป แตผงขัดทีห่ ยาบอาจขัดถูผวิ เคลือบฟนใหสกึ ดวย จึงไมควรใช เปนประจํา

3. ยาสีฟนแกเสียวฟน ยาสีฟนที่แกเสียวฟนจะใสสารในกลุมตอไปนี้ - สตรอนเชียมคลอไรด - โปตัสเซียมไนเตรท + ฟลูออไรด - สตรอนเชียมอาซิเตต + ฟลูออไรด - โปตัสเซียมไนเตรท + แสตนนัสฟลูออไรด เพือ่ ชวยลดอาการเสียวฟนจากฟนสึก ซึง่ เกิดจาก dentinal tubule เปดในบริเวณนัน้ สารพวกนี้จะไปปดที่ tubule ไมใหสัมผัสกับสิ่งแวดลอม จึงลดการเสียวฟนเพียงชั่วคราวเทานั้น ไมใชวิธีการรักษาอาการเสียวฟนใหหายขาด บางรายอาจจะตองอุดฟน ปดรอยสึก ปองกันไมให อาการลุกลามมากขึ้น

4. ยาสีฟนสมุนไพร ยาสีฟนสมุนไพร เปนที่นิยมในไทย มีทั้งชนิดสูตรของไทยและสูตรตางประเทศ 4.1 ยาสีฟนสมุนไพรสูตรตางประเทศ ชนิดของสมุนไพรที่นํามาใช ไดแก - คาโมไมล (Chamomile) ตานการอักเสบ - อิซินาเซีย (Echinacea) ตานการติดเชื้อ - เซจ (Sage) ฆาเชื้อและดับกลิ่น - เมอรด (Myrrh) และรัททานี (Rhatanv) ทําใหเหงือกรัดตัวและชวยในการสมานแผล - นํ้ามันเปปเปอรมินท (peppermint oil) มีกลิ่นหอมทําใหสดชื่นและตอตานจุลินทรีย - แซงกวินาลีน (Sanguinarine) มีฤทธิ์ฆาเชื้อบางชนิดในชองปาก สมุนไพรบางชนิดพบวา สามารถลดอาการอักเสบของเหงือกได แตไมไดลดคราบ จุลินทรีย จึงเหมาะสําหรับผูมีปญหาเหงือกอักเสบแตไมเหมาะกับผูมีปญหาฟนผุ สวนใหญ ยาสีฟนสมุนไพรตางประเทศจะมีคาโมไมล ถามีปญหาโรคเหงือกก็ใชได แตถามีปญหาฟนผุใหใช ยาสี ฟนสมุนไพรที่ผสมฟลูออไรด

26

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี


4.2 ยาสีฟนสูตรสมุนไพรของไทย ชนิดของสมุนไพรที่นํามาใช ไดแก

ชื่อสมุนไพร

เกลือ สารสม การบูร พิมเสน กานพลู เปลือกขอย โสม ดินสอพอง ลิ้นทะเล

สรรพคุณ

ชื่อสมุนไพร

ฆาเชื้อ สมานแผล ใบพลู หามเลือด วานหางจระเข ฆาเชื้อ ชะเอมเทศ ฆาเชื้อ รักษาบาดแผล ใบฝรั่ง ฆาเชื้อและเปนยาชาเฉพาะที่ เกล็ดสะระแหน ลดอาการปวดฟน สีเสียด แกอักเสบ ลดอาการบวม เปลือกมังคุด ผงขัดฟน วานกีบแรด ผงขัดฟน ขันทองพยาบาท เกษรบัวหลวง

สรรพคุณ ฆาเชื้อ ตานเชื้อ สมานแผล แตงกลิ่น แกคัน ระคายคอ ฝาดสมานและดับกลิ่นปาก แตงกลิ่น ตานเชื้อ ฝาดสมาน หามเลือด สมานแผล ตานการอักเสบ แกแผลในปาก เปลือกตนใชถูเหงือกแข็งแรง สารสกัดจากใบและดอกมีฤทธิ์ยังยั้ง การเติบโตของจุลินทรีย

ยาสีฟนสมุนไพรไทยมีทั้งใสเกลือ การบูร พิมเสน เปลือกขอย วานหางจระเข ซึ่งมี การระบุสรรพคุณไวที่ฉลาก แตยังไมมีการควบคุม ยกเวนยาสีฟนที่ผสมฟลูออไรด มีการควบคุม โดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพราะฟลูออไรดเปนสารควบคุมพิเศษที่กระทรวง สาธารณสุ ข ใหการดูแล สวนยาสีฟนอื่นๆ ยังไมมีหนวยงานควบคุมดูแล ขอควรระวัง ยาสีฟนสมุนไพรที่ผลิตไดโดยใชวัตถุดิบธรรมชาติ อาจพบสารปนเปอนและเชื้อ จุลินทรียที่ติดมากับวัตถุดิบ จึงควรเลือกซื้อยาสีฟนที่ไดรับการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนจาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือไดรับเครื่องหมายมาตรฐานอุสาหกรรม (มอก.) และ ดูวันผลิตที่ ไมควรนานเกิน 3 ป ยาสีฟน สมุนไพรทีน่ าํ มาตรวจสวนใหญจะพบเชือ้ รา การผลิตจึง ตองทําทีละนอย ผงขัดที่นํามาใชตองละเอียด ถาหยาบมาก เวลาแปรงแรงๆ จะทําใหฟนสึกได

5. ยาสีฟนควบคุมหินปูน สารสํ า คั ญ ในยาสี ฟ น ควบคุ ม หิ น ปู น คื อ เททราไพโรฟอสเฟตและโปตั ส เซี ย ม ไพโรฟอสเฟต การใชอยางตอเนื่องจะสามารถควบคุมการเกิดหินปูนได แตอาจมีอาการเสียวฟน หรือแพสารที่ผสมในยาสีฟน จึงควรเลือกใชดวยความระมัดระวัง

การสรางเสริมสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เลม 3

การดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ

27


6. ยาสีฟนขจัดคราบบุหรี่และชากาแฟ

เปนยาสีฟนที่มีผงขัดสําหรับขจัดคราบชาและกาแฟโดยเฉพาะ

นํ้ายาบวนปาก เปนอุปกรณเสริมชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมใชเพื่อดูแลสุขภาพชองปาก แตไมแนะนํา ใหใชประจํา หรือติดตอกันเปนเวลานาน ควรใชนาํ้ ยาบวนปากเมือ่ มีขอ บงชีเ้ ทานัน้ เชน มีปญ  หา ในชองปาก มีกลิ่นปาก หรือหลังการผาตัดในชองปาก นํ้ายาบวนปากตามมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก.) - เปนสารละลายใส ไมแยกชั้น ไมมีตะกอน - มีคาความเปนกรด-ดาง ระหวาง 3.0-10.5 - โลหะหนัก ไดแก สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว สารหนู และปรอท มีรวมกันตอง ไมเกิน 20 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม - มีจํานวนจุลินทรีย แบคทีเรีย ยีสต และราทั้งหมด ตองไมเกิน 100 โคโลนี ตอกรัมหรือลูกบาศกเซนติเมตร - หากมีสวนผสมของฟลูออไรด ตองไมเกิน 1,100 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม ประโยชนนํ้ายาบวนปากที่ชัดเจน คือ ทําใหรูสึกสดชื่นในปากและลดกลิ่นปาก ชั่วคราว โดยทั่วไปจะควบคุมกลิ่นปากไดไมเกิน 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะมีเชื้อโรคขึ้นมาใหม และมีกลิน่ ปากกลับมาเหมือนเดิม ดังนั้น จึงควรรักษาที่สาเหตุของกลิ่นปาก เชน โรคฟนผุ โรคปริทันต หรือจากโรค ทางเดินหายใจ การใชนํ้ายาบวนปากโดยที่สาเหตุของกลิ่นปากยังคงอยู อาจทําใหอาการรุนแรง มากขึน้ นํ้ายาบวนปากทุกชนิดใชเสริมจากการแปรงฟนและใชไหมขัดฟนเทานั้น ไมสามารถ ใชทดแทนกันได สําหรับเด็กไมมีความจําเปนตองใชนํ้ายาบวนปาก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุตํ่ากวา 6 ป ไมควรใชเลย เพราะเด็กในวัยนี้ยังไมสามารถควบคุมการกลืนได จึงอาจกลืนนํ้ายาบวนปาก ทําใหเปนอันตรายได และไมควรใชในผูที่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล

28

จากการประชุมสัมมนา เรื่อง

การสงเสริมสุขภาพและการปองกันโรคในชองปากในกลุมผูสูงอายุ วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ณ หองประชุมโรงแรมริชมอนด จังหวัดนนทบุรี



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.