เรื่องน่ารู้
สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย
สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ชื่อหนังสือ คณะผู้จัดทำ� พิมพ์ครั้งที่ 3 พิมพ์ที่ เจ้าของ ISBN
: เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย : ทพญ.วรางคนา เวชวิธี ทพญ.สุปราณี ดาโลดม ทพญ.นนทลี วีรชัย ทพ.ถาวร เปรื่องวิทยากุล : กันยายน 2554 จำ�นวน 15,000 เล่ม : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด : สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2590-4117 โทรสาร 0-2590-4115 : 974-515-692-2
คำ�นำ� ผู้สูงอายุ เป็นประชากรกลุ่มที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันเป็นกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มหนึ่งที่ ประสบปัญหาสุขภาพนานัปการ ซึ่งรวมถึงสุขภาพช่องปาก ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการทำ�งานของระบบบดเคี้ยว ส่งผลต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุโดยรวม ปัญหาการเปลี่ยนแปลง หรือความรุนแรงของ โรคและรอยโรคในช่องปากในประชากรกลุ่มนี้ นอกจากจะเป็นผลจากพฤติกรรม เช่น การทำ�ความสะอาดช่องปาก หรือจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ อาทิเช่น การสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมาก แล้วยังเป็นผลกระทบจากโรคทางระบบ บางโรค หรือการได้รับยารักษาโรคทางระบบ เป็นเวลานานอีกด้วย การป้องกันและการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดปกติ หรือรอยโรคใหม่ในช่องปาก เพื่อคงสภาพการใช้งาน ให้ได้ในวัยนี้ เป็นสิ่งจำ�เป็นที่ต้องให้ความสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องของการให้บริการรักษาและฟื้นฟูสภาพ ดังนั้น การดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องสม่ำ�เสมอทั้งโดยตัวผู้สูงอายุเองหรือโดยผู้ดูแล จึงเป็นหัวใจสำ�คัญในการควบคุม ป้องกันและส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดี กรมอนามัย โดย กองทันตสาธารณสุข จึงได้จัดพิมพ์หนังสือ “เรื่องน่ารู้สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย” เพื่อให้ทั้งบุคลากรสาธารณสุข และผู้ใกล้ชิดที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทุกท่านได้มีความรู้และตระหนักถึงความสำ�คัญ ของการมีสขุ ภาพช่องปากทีด่ ี การมีฟนั บดเคีย้ ว เพือ่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี องผูส้ งู อายุ และนำ�ไปปรับใช้ในการสนับสนุน ให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากผูส้ งู อายุในชีวติ ประจำ�วัน อันจะนำ�ไปสูก่ ารลดโรค ลดความรุนแรงของโรคในช่องปาก ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี สมวัย สามารถมีฟันใช้งานโดยปราศจากความเจ็บปวด ตลอดอายุขัย สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
สารบัญ
คำ�นำ�
บทนำ�
สภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย การจัดบริการเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
บทที่ 1
การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง การดูแลเพื่อการมีสุขภาพดีสมวัย ตลอดชีวิต
บทที่ 2
การเลี่ยนแปลงในช่องปากผู้สูงอายุ 2.1 การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในช่องปากที่ควรสังเกต - ตัวฟัน - เหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ - เยื่อบุในช่องปากและลิ้น - น้ำ�ลายและต่อมน้ำ�ลาย 2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติ และรอยโรคในช่องปาก - ปัจจัยจากสภาวะอนามัยช่องปาก - ปัจจัยจากอาหาร - ปัจจัยจากโรคทางระบบ การรักษาและการใช้ยา ภาวะทุโภชนาการ - ปัจจัยจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
9 11 12 15 15 16 16 17 19
บทที่ 3
ข้อเสนอแนะในการดูแลช่องปากผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ ข้อเสนอแนะในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบ ข้อเสนอแนะในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ได้รับรังสีรักษา และ/หรือเคมีบำ�บัด ข้อเสนอแนะในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
21 29 30 32
ภาคผนวก สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลในผู้สูงอายุ หน่วยงานภาครัฐที่ดำ�เนินการด้านผู้สูงอายุ
หน้า 1
5 6 7
35 37
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
1
บทนำ� ผู้สูงอายุ (older persons) ตามความหมายขององค์การสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก คือ ผูม้ อี ายุตงั้ แต่ 60 ปีขนึ้ ไปเมือ่ นับตามวัย หรือ หมายถึงผูเ้ กษียณอายุจากการทำ�งานเมือ่ นับตามสภาพเศรษฐกิจ หรือ หมายถึงผูท้ สี่ งั คมหรือวัฒนธรรมกำ�หนดว่าสูงอายุ ซึง่ ในแต่ละประเทศอาจแตกต่างกัน เช่น ยุโรป อเมริกา นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป(2,3,13) สำ�หรับประเทศไทย หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ และเกณฑ์การปลดเกษียณ ซึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุนี้ ทางองค์การสหประชาชาติ ยังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามสภาพร่างกาย การรับรู้ ความคิดความจำ� ความสามารถในการทำ�กิจวัตรประจำ�วัน คือ 1) ผู้สูงอายุระยะต้น (Young-old) อายุระหว่าง 60-69 ปี 2) ผู้สูงอายุระยะกลาง (Old-old) อายุระหว่าง 70-79 ปี และ 3) ผู้สูงอายุระยะปลาย (Oldest-old) คืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป สำ�หรับประเทศไทย จำ�นวนประชากรสูงอายุ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 โดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล(5) พบว่า จากจำ�นวนประชากรทั้งประเทศ 63,265,000 คน เป็นประชากรสูงอายุ 6,565,000 คน คิดเป็นร้อยละ 10.4 โดยในจำ�นวนนี้ มีอายุ 60-79 ปี 5,875,000 คน และอายุ 80 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นประชากรสูงอายุวัยปลาย 690,000 คน และจากการคาดการณ์ของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคม สำ�นักนายกรัฐมนตรี คาดว่า ประชากรสูงอายุจะเพิ่มเป็น 6,910,000 คน ในปี พ.ศ.2550 และเป็น 10,776,000 คน ในปี พ.ศ.2563 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3(5)
สภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย ผู้สูงอายุไทยมีสภาวะสุขภาพทั้งสภาวะสุขภาพทั่วไปและสุขภาพช่องปากที่ควรคำ�นึงถึง สรุปโดยย่อดังนี้ 1) สภาวะสุขภาพทั่วไป อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุไทย เป็นผลมาจากการมีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น โดยในปี 2546 พบว่า อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด หรือ จำ�นวนปีเฉลี่ย ที่คาดว่าบุคคลจะมีชีวิตอยู่ตั้งแต่แรกเกิด ในเพศหญิงเป็น 75.0 ปี เพศชาย 67.9 ปี ในขณะที่อายุขัยเฉลี่ย 60 ปี หรือ จำ�นวนปีเฉลี่ย ที่คาดว่าบุคคลหนึ่งจะมีชีวิตอยู่หลังจาก มีอายุ 60 ปีในปี 2546 ในเพศหญิงเป็น 81.9 ปี เพศชาย 79.6 ปี(5) แม้จะมีอายุขัยยืนยาว แต่การมีอายุมาก สภาพร่างกายย่อมจะมีการเสื่อมตามวัย ทำ�ให้เจ็บป่วยง่าย และส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีสภาวะทุพพลภาพและภาวะพึ่งพา ในจำ�นวนที่สูงขึ้น จากข้อมลูการสำ�รวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2546 โดย สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า กลุ่มอายุที่เจ็บป่วยสูงสุด ร้อยละ 37.2 เป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป รองลงมา ร้อยละ 29.8 เป็นกลุ่มเด็กเล็ก 0-4 ปี(7) และปัญหาสุขภาพที่สำ�คัญมาจากโรคเรื้อรังและอุบัติเหตุ ได้แก่ (6)
2
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
- โรคข้อเสื่อม ปวดข้อเรื้อรัง ร้อยละ 55-70 - โรคตา ร้อยละ 40-45 - การหกล้ม ร้อยละ 20 - ท้องผูก ร้อยละ 20-25 - โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 20-30 - ภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 20 - โรคเบาหวาน ร้อยละ 8-12 - ภาวะโคเลสเตอรอล ร้อยละ 15-20 ในเลือดสูง - โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 4-5 - โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 3-7 - โรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 2-3 - กลุ่มอาการสมองเสื่อม ร้อยละ 3-4 ปัญหาความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการ รักษาพยาบาล และอัตราการครองเตียง ซึ่งผู้สูงอายุไทยยังเป็นกลุ่มที่มีอัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลของรัฐ ทั่วประเทศ ถึงร้อยละ 28 ของเตียงผู้ป่วยทั้งหมด (4) นอกจากภาระค่าใช้จ่ายแล้ว การเจ็บป่วยและภาวะทุพพลภาพของผู้สูงอายุยังเป็นภาระสำ�คัญสำ�หรับ ผู้ดูแลที่อาจเป็นคู่สมรส บุตรหลาน ญาติ หรือผู้อื่น โดยผู้สูงอายุไทย(4) ร้อยละ 25 หรือ ทุก 1 ใน 4 คน มีปัญหาสุขภาพที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถทำ�กิจวัตร ตามที่เคยทำ�ได้ ร้อยละ 18.9 หรือ 1 ใน 5 คน มีปัญหานี้นาน กว่า 6 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาทุพพลภาพระยะยาว และร้อยละ 1.7- 2.1 มีภาวะทุพพลภาพ รุนแรงจำ�เป็นต้อง มีผู้ดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา ส่วนภาวะพึ่งพา ร้อยละ 6.9 ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำ�กิจวัตรประจำ�วัน เช่น การรับ ประทานอาหาร การทำ�ความสะอาดใบหน้า การสวมใส่เสื้อผ้า การอาบน้ำ� อีกร้อยละ 11.5 พึ่งพาผู้อื่นเมื่อออก นอกบริเวณที่พัก และร้อยละ 45.6 ไม่สามารถเดินทางโดยลำ�พังต้องพึ่งพาผู้อื่นเมื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ ทั้งๆ ที่โรคและภาวะทุพพลภาพส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ 2) สภาวะสุขภาพช่องปาก ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาสุขภาพทีส่ �ำ คัญอย่างหนึง่ เนือ่ งจากมีผลโดยตรงต่อระบบบดเคีย้ ว ส่ง ผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ ซึง่ เป็นเรือ่ งสำ�คัญต่อสุขภาพร่างกายอย่างยิง่ ในวัยนี้ จากการสำ�รวจสภาวะสุขภาพช่อง ปากของประชากรไทย ปี 2543-2544 รวบรวมโดย กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่า(8) ผู้สูงอายุ ร้อยละ 53 มีโรคฟันผุ ร้อยละ 61.6 มีโรคปริทันต์ที่ยังไม่ได้รับการรักษา ซึ่งโรคเหล่านี้ นอกจากจะลดทอนประสิทธิภาพ การบดเคี้ยว ก่อให้เกิดปัญหาความเจ็บปวดแล้ว ยังเป็นสาเหตุสำ�คัญของการสูญเสียฟัน ซึ่งพบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 8.2 ไม่มีฟันทัง้ ปาก ร้อยละ 50 มีฟันใช้งานน้อยกว่า 20 ซี่ ทั้งที่แท้จริงแล้วโรคในช่องปากทุกชนิดสามารถ ป้องกันได้ ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ร้อยละ 27 และ 23 ของผู้สูงอายุ ยังมีพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการเกิดโรคในช่องปาก เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ตามลำ�ดับ(9) และมีเพียงร้อยละ 30.5 ที่ดูแล ความสะอาดโดยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง หลังตื่นนอนตอนเช้า และหลังอาหารเย็น หรือก่อนนอน โดยไม่รับ ประทานอาหาร/เครื่องดื่ม จนเข้านอน ร้อยละ 56.4 รับรู้ว่ามีปัญหาในช่องปากเมื่อมีอาการเด่นชัด เช่น ปวดฟัน เสียวฟัน ฟันโยก แต่ก็มีเพียง ร้อยละ 23.3 ที่ไปรับบริการทันตกรรมในรอบ 1 ปี(8) และส่วนใหญ่จะไปรับบริการ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยจนไม่สามารถทนหรือดูแลด้วยตนเองได้อีก ทำ�ให้ชนิดของบริการที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับ เป็นการรักษารอยโรคที่มีการลุกลามหรือมีอาการเจ็บปวดรุนแรงแล้ว การรักษาเพื่อคงสภาพฟันไว้ใช้งานจึงค่อนข้าง ซับซ้อน ใช้เวลานาน ผู้สูงอายุไม่สามารถมารับบริการตามนัดได้ จึงมักตัดสินใจถอนฟันเพื่อขจัดปัญหา
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
3
การจัดบริการเพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จากสภาวะสุขภาพทัว่ ไปและสุขภาพช่องปากของผูส้ งู อายุ จะเห็นได้วา่ ผูส้ งู อายุสว่ นใหญ่ประสบปัญหาโรค เรื้อรัง ที่จำ�เป็นต้องได้รับการบริการรักษา ฟื้นฟูสภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็จำ�เป็น ต้องได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคควบคู่กันไป เพื่อช่วยป้องกันปัญหาการเกิดโรคใหม่ โรคแทรกซ้อน ทีจ่ ะนำ�ไปสูภ่ าวะทุพพลภาพและการพึง่ พา รวมทัง้ ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุให้ยนื ยาว มีความสุข ไม่มคี วาม พิการ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ซึ่งจากกระบวนการของงานสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้จดั ให้มบี ริการด้านสุขภาพ ทัง้ ด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟืน้ ฟูสภาพโดยไม่คดิ มูลค่าแก่ผสู้ งู อายุ ทีไ่ ม่มสี วัสดิการ ใดๆ ตั้งแต่ปี 2535 แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่เป็นปัญหาสำ�คัญในระบบบริการด้านสุขภาพผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องในสถานพยาบาลได้ ดังนั้น กระบวนการจัดบริการเพื่อบรรลุ เป้าหมายทางสุขภาพที่ดีในกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากจะต้องมีครบถ้วนแล้ว การเข้าถึงตัวผู้สูงอายุให้ทันการณ์และ ต่อเนื่องเป็นระบบ เป็นสิ่งที่ควรคำ�นึง จากแนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุในอนาคตที่จะเปลี่ยนเป็นการดูแลเชิงรุก เพื่อการเข้าถึง โดยใช้ชุมชน เป็นฐาน (Community-base care) มากขึ้น (4,11,12) โดยมีรูปแบบการบริการในชุมชน เช่น การบริการพยาบาล ระดับต้น การดูแลที่บ้าน และการดูแลโดยชุมชน หรือ การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมผ่านระบบเครือข่ายใน ชุมชน (4) โดยมีเป้าหมายสำ�คัญ คือ การเพิ่มศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ พึ่งพาตนเองได้ ลดความพิการ ส่งเสริมคุณภาพชีวติ ให้ยนื ยาวและมีความสุข บุคลากรสาธารณสุขโดยเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข เจ้าหน้าทีส่ ถานีอนามัย ที่ปฏิบัติงานในชุมชน ดูแลชุมชน ผ่านกระบวนการเยี่ยมบ้าน จึงมีบทบาทสำ�คัญยิ่ง ทั้งในการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ และครอบครัวตระหนัก สามารถเฝ้าระวังและดูแลตนเอง รวมทั้งเชื่อมโยงประชากรสูงอายุ เข้ากับระบบบริการ สุขภาพและสังคม
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
5
บทที่ 1
การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการดำ�เนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ(10,13) ที่เป็นผล มาจากอายุที่เห็นได้ชัด ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย - ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ฝ่อลีบ ไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงข้อไว้ได้ ทำ�ให้การเคลื่อนไหว ช้าลง ร่วมกับความไวของการตอบสนองของเซลล์ประสาทลดลง อวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว ในหูชั้นในเสื่อมไป ทำ�ให้ผู้สูงอายุไม่สามารถที่จะเปลี่ยนอริยาบถ เคลื่อนไหว หรือตอบโต้เมื่อ จำ�เป็นต้องใช้ความเร็วมากกว่าปกติได้ จึงมีการเสี่ยงที่จะเสียการทรงตัว พลัดหกล้มง่าย และเมื่อ เกิดอุบัติเหตุแล้วมักจะเกิด ความผิดปกติที่รุนแรงและภาวะทุพพลภาพได้ - ระบบประสาทสัมผัสพิเศษ เช่น * สายตามีปัญหาการมองไม่ชัดจากสายตายาว ต้อกระจก กล้ามเนื้อลูกตาเสื่อม ทำ�ให้การ กรอกตาตามการมองภาพเคลื่อนไหวไม่ชัด * การได้ยินมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากประสาทรับเสียงในหูชั้นในเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น * การรับรสและกลิ่น มีแนวโน้มลดลง ลิ้นรับรสได้น้อยลงโดยเฉพาะรสหวาน ทำ�ให้ผู้สูงอายุ มีแนวโน้มรับประทานรสหวานมากขึ้น - ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆรวมทั้งเยื่อบุในช่องปาก มีความยืดหยุ่นลดลง ปริมาณไขมันใต้ผิวหนัง ลดลง เกิดการเหี่ยวย่นบางลง บาดเจ็บและเกิดรอยแผลได้ง่าย - ระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดที่แข็งตัวจากการเสื่อมตามวัยเป็นสาเหตุหนึ่ง ของความ ดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าเป็นมากอาจทำ�ให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ สมองไม่พอ เกิดอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้ามืดเป็นลมได้ - ระบบการบดเคี้ยวและการเปลี่ยนแปลงในช่องปาก (รายละเอียดในบทต่อไป) - ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ต่อมน้�ำ ลายทีข่ บั น้�ำ ลายน้อยลง น้�ำ ย่อยในกระเพาะทีล่ ดลง ทำ�ให้การกลืนและการย่อยอาหารทำ�ได้ ไม่ดี การดูดซึมน้อยลง การเคลื่อนไหวของลำ�ไส้ที่ลดลง ทำ�ให้ท้องอืด หรือท้องผูกเพิ่มขึ้น การรับประทานที่มีกากใย ร่วมกับการมีระบบการบดเคีย้ วที่ดี จะช่วยการทำ�งานของกระเพาะลำ�ไส้ ให้ร่างกายนำ�สารอาหารไปใช้งานง่ายขึ้น ขับถ่ายดีขึ้น
6
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
- ระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย มีอัตราลดลง (Basal metabolic rate) การใช้พลังงาน ของร่างกายลดลง เกิดภาวะน้ำ�หนักเกิน อ้วนง่าย - ระบบอื่นๆ เช่น ระบบต่อมไร้ท่อ มีการผลิตฮอร์โมนลดลง เช่น ตับอ่อน ผลิตอินซูลินน้อยลง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานง่ายกว่าวัยอื่น ระบบการตอบสนองต่อการอักเสบและระบบ ภูมคิ มุ้ กันทีเ่ สือ่ มไป ตามอายุทมี่ ากขึน้ จะเพิม่ ความเสีย่ งต่อการติดเชือ้ ทัง้ ทางร่างกายและช่องปาก ในผู้สูงอายุ 2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ มีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ทำ�ให้ความต้องการการเรียนรู้สิ่งใหม่ลดลง มีการเปลี่ยนแปลง ทางอารมณ์ บางครั้งใจน้อย หงุดหงิด วิตกกังวล อาจนำ�ไปสู่ความเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต นอนไม่หลับ ซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตได้
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจดังกล่าว เป็นไปในทางเสื่อมถอย เป็นธรรมชาติในผู้สูงอายุ อยู่แล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ขึ้นกับสาเหตุ 2 ประการ(14) คือ กรรมพันธ์ุ และ สิ่งแวดล้อม แม้กรรมพันธ์ุจะมีส่วน แต่ปัจจุบันพบว่าปัจจัยแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสำ�คัญ ได้แก่ - ภาวะโภชนาการ : ทั้งภาวะโภชนาการขาด และภาวะโภชนาการเกิน นอกจากจะส่งผลต่อการ เปลีย่ นแปลงของสภาพร่างกายและจิตใจผูส้ งู อายุในทางเสือ่ มถอยโดยตรงแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเกิดและสัมพันธ์ กับความรุนแรงของรอยโรคและโรคเรือ้ รัง เช่น การขาดสารอาหารพวกวิตามินบี สัมพันธ์กบั การเกิดรอยโรคปากนก กระจอก การได้รับอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวมาก เช่น กะทิ สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด อาหารรสเค็ม หรืออาหารที่มีเกลือในปริมาณสูง สัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น - ภาวะโรคเรือ้ รังและอุบตั เิ หตุ : ถ้าดูแลตนเองไม่ดพี อ ควบคุมโรคไม่ได้ หรืออุบตั เิ หตุทที่ ำ�ให้เกิดความ ผิดปกติที่รุนแรงและภาวะทุพพลภาพ จะส่งผลต่อการเสื่อมถอย ของร่างกายและจิตใจในผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เช่น ผู้สูงอายุที่ปกติมีการได้ยินลดลงเนื่องจากการเสื่อมของประสาทรับเสียงในหูชั้นในอยู่แล้ว แต่ถ้ามีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเส้นเลือดเลี้ยงหูชั้นในง่ายขึ้น อาจทำ�ให้เกิดหูอื้อ หูตึงได้ หรือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานจะมีแนวโน้มการเสื่อมของตา เส้นประสาทเสื่อม มือเท้าชา ผิวหนังอักเสบง่าย เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อในช่องปากและการสูญเสียฟันง่ายกว่า เร็วกว่าผู้สูงอายุที่ปกติ เป็นต้น - วิถีชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพ : เป็นปัจจัยที่สามารถช่วยทั้งชะลอการเปลี่ยนแปลง เช่น พฤติกรรม การออกกำ�ลังกาย การเลือกรับประทานอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ หรือ เป็นปัจจัยทีช่ ว่ ยเร่งการเสือ่ มถอย เช่น พฤติกรรมเสีย่ ง การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่ตับ ปอด เป็นต้น ดังนัน้ แม้จะสูงวัย หากมีการปฏิบตั ติ นและได้รบั การดูแลทีเ่ หมาะสม ก็จะสามารถชะลอความชรา มีสขุ ภาพ ร่างกายที่ดีเหมาะสมกับวัยได้
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
7
การดูแลเพื่อการมีสุขภาพดีสมวัย ตลอดชีวิต
จุดมุ่งหมายการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ 1. เพื่อคงความมีสุขภาพดี สามารถครองชีวิตอย่างอิสระ ไม่เป็นภาระ หรือพึ่งพาบริการของรัฐมากนัก 2. เพื่อสามารถค้นพบโรคทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในระยะแรก รักษาถูกต้องทันเวลา พร้อมฟื้นฟูสภาพ อย่างเหมาะสม 3. เพื่อการคงศักยภาพ และเน้นการพึ่งพาตนเองมากที่สุด สร้างความรู้สึกว่าผู้สูงอายุยังมีความสำ�คัญ และสามารถดูแลตนเองได้ แม้จะมีโรคเรื้อรังก็สามารถอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ 4. เพื่อให้ระยะสุดท้าย ของชีวิต อยู่อย่างสมศักดิ์ศรี
ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรมีหลักการดูแลตนเอง ดังนี้ 1. มีการส่งเสริมสุขภาพ การออกกำ�ลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจ และการสันนาการ 2. มีการดูแลป้องกันตนเองเบื้องต้น ในเรื่องอาหารและโภชนาการ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การ สูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวมทั้งมีการดูแลสุขภาพช่องปาก 3. มีการตรวจหาสิง่ ผิดปกติ และรีบให้การบำ�บัดรักษาแต่เนิน่ ๆ โดย สังเกตด้วยตนเอง การตรวจสุขภาพ ร่างกายประจำ�ปี เพือ่ ตรวจหาโรคเสีย่ ง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง ไทรอยด์ สมองเสือ่ ม หรือ ตรวจหารอยโรคในระยะเริ่มแรก เพื่อให้การบำ�บัดรักษา เช่น รอยโรคในช่องปาก 4. มีสังคม เช่น เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร เพื่อการมีคุณค่าในตนเอง 5. มีการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
ในส่วนของครอบครัว / ผู้ดูแล / ชุมชน ควรมีหลักการดูแลและให้การสนับสนุน ดังนี้ 1. สนับสนุนให้ผู้สูงอายุ พึ่งพาตนเองมากที่สุด 2. ให้อสิ ระ ยอมรับนับถือในสิทธิ เสรีภาพของผูส้ งู อายุ ในการร่วมตัดสินใจสิง่ ต่างๆทีเ่ กีย่ วข้องกับตนเอง 3. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้าน ในชุมชน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุ 4. สนับสนุน ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ในการเดินทางเข้ารับบริการ
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
9
บทที่ 2
การเปลี่ยนแปลงในช่องปากผู้สูงอายุ วัยสูงอายุ เป็นวัยที่โครงสร้างและอวัยวะในร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางถดถอย อวัยวะใน ช่องปาก ทั้งตัวฟัน เนื้อเยื่อรองรับฟัน เยื่อบุในช่องปาก ต่อมน้ำ�ลาย รวมไปถึงข้อต่อขากรรไกร ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งการเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะดังกล่าวนอกจากเป็นผลจากอายุแล้ว ปัจจัยจากการดูแลความสะอาดช่องปาก ที่ไม่เพียงพอ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ โรคทางระบบ เช่น เบาหวาน การรับ ประทานยารักษาโรคบางชนิดเป็นประจำ� จะยิง่ ทำ�ให้เกิดความผิดปกติในช่องปากบางชนิดได้งา่ ย รวดเร็วและรุนแรงขึน้ ถ้าไม่ได้รับการป้องกันรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ย่อมเกิดการสูญเสียฟันจนทำ�ให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ ในที่สุด บุคลากรสาธารณสุขควรสังเกตและแยกได้วา่ ลักษณะใดเป็นการเปลีย่ นแปลงโดยธรรมชาติ หรือลักษณะ ใดเป็นความผิดปกติทนี่ �ำ ไปสูก่ ารเกิดโรคได้ ซึง่ การจำ�แนกดังกล่าว ต้องอาศัยการตรวจในช่องปาก ร่วมกับการสังเกต และการซักถามความรู้สึกไม่สบายหรือเจ็บปวดซึ่งผู้สูงอายุสามารถระบุได้ สิ่งที่ควรสังเกตในช่องปาก ได้แก่ ตัวฟัน เหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ เยื่อบุในช่องปากและลิ้น น้ำ�ลายและต่อมน้ำ�ลาย 1) ตัวฟัน(49) 1.1 ลักษณะทั่วไป : โดยปกติ ลักษณะฟันในผู้สูงอายุจะดูเหมือนยาวขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นผลจากการร่น ของเหงือก ฟันสีเข้มขึ้น เนื่องจากเคลือบฟันด้านนอกสุดของตัวฟัน ซึ่งมีความใสสึกกร่อนไป ทำ�ให้เห็นสีของ เนื้อฟันที่อยู่ถัดเข้าไป ซึ่งมีสีเข้มกว่า โพรงประสาทฟันมีขนาดเล็กลง ตีบแคบ หรือ อุดตัน เป็นลักษณะที่พบ ได้ปกติ ในผู้สูงอายุ 1.2 ความผิดปกติและรอยโรคของตัวฟัน : ที่พบบ่อย ได้แก่ 1.2.1 ฟันสึก-กร่อน ซึ่งมีหลายลักษณะ ขึ้นกับสาเหตุ เช่น * ฟันสึก-กร่อน บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกรามและปลายฟันหน้า(16,17) การสึก จะพบผิวฟันมีลักษณะแบน เรียบ แข็ง ลักษณะนี้เกิดจากการใช้บดเคีย้ วอาหารที่คอ่ นข้างแข็ง หรือใช้เฉพาะบริเวณ นั้นเคี้ยวอาหาร อย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ถ้า พบลักษณะเป็นรอยหวำ� เป็นหลุมบนด้านบดเคี้ยวของฟันหลัง และ ผิวฟันของฟันหน้า เป็นการกร่อน ซึง่ เกิดจากกรดอาหาร สารเคมี ทีอ่ าจมาจากการรับประทานอาหารทีม่ รี สเปรีย้ วจัด หรือ ดื่มเครื่องดื่มบางประเภท ที่มีความเป็นกรดสูง เป็นประจำ� ถ้าสึก-กร่อนเล็กน้อย ไม่มีอาการ ไม่จำ�เป็นต้อง รักษา แต่ถ้าสึก-กร่อนมาก จนมีอาการเสียวฟัน จำ�เป็นต้องได้การบูรณะ หรือ บางรายที่ฟันหน้าสึกจนสั้น เพราะ ใช้ฟันหน้าเคี้ยว เนื่องจากสูญเสียฟันกราม ควรได้รับการใส่ฟันปลอมและฝึกเคี้ยวฟันหลัง
10
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
ฟันกรามบน-ล่างมีรอยสึกติดขอบเหงือก
ฟันปกติใน ผู้สูงอายุ หญิง 65 ปี
ฟันสึก จากการ บดเคี้ยว
รอยหวำ�บริเวณ ฟันล่าง ซ้าย-ขวา จากอาหาร รสเปรี้ยว
ฟันสึก จากการบดเคี้ยว ในผู้สูงอายุชาย 68 ปี
* ฟันสึก ที่พบบริเวณคอฟันใกล้ขอบเหงือก(16,17) จะสังเกตเห็น รอยสึก เป็นรอยหวำ� หรือ บากเข้าไปในเนือ้ ฟัน บางครัง้ มี อาการ เสียวร่วมด้วย มักเกิดจากการแปรงฟันทีร่ นุ แรง หรือ ผิดวิธี หรือ การใช้แปรงขนแข็ง ร่วมกับ ยาสีฟันบางชนิดที่มีผงขัดหยาบ การสึ ก ลั ก ษณะนี้ ค วรได้ รั บ การบู ร ณะ เพราะถ้ า ปล่ อ ยทิ้ งไว้ อาจสึกลึกลงไปถึงโพรงประสาทฟัน เกิดการปวดและถ้าไม่สามารถ ทำ�ความสะอาดบริเวณนัน้ ได้ดพี อ อาจเกิดการผุรว่ มด้วยภายหลัง
ฟันผุ ที่เกิดบริเวณฟันลึก
1.2.2 โรคฟันผุ ในผูส้ งู อายุมกั เกิดบริเวณคอฟัน ซอกฟัน รากฟัน(18,19) ซึง่ แตกต่างจากกลุม่ เด็กทีม่ กั พบการผุบริเวณด้านบดเคีย้ ว เนือ่ งจากวัยผูส้ งู อายุมกี ารล้มเอียง ยืน่ ยาวของฟัน มีภาวะเหงือกร่น จนเห็นรากฟัน ดังนั้นการผุบริเวณรากฟันจะลุกลามรวดเร็วกว่าตัวฟัน จึงต้องหมั่นสังเกตเพื่อป้องกันรักษาได้ทันท่วงที
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
11
สาเหตุของโรคฟันผุ เกิดจากเชือ้ โรคในคราบจุลนิ ทรีย์ ทีเ่ กาะติดอยู่ บริเวณผิวฟัน ย่อยสลายอาหารพวก น้ำ�ตาล ทำ�ให้เกิดกรดบริเวณผิวฟัน เกิดภาวะความเป็นกรดในช่องปาก เมื่อลดต่ำ�ลงถึงระดับหนึ่ง ผิวฟันจะมีการ สูญเสียแร่ธาตุ ซึ่งถ้าไม่มีการคืนกลับของแร่ธาตุ จะเกิดเป็นรูผุได้ และสำ�หรับผู้สูงอายุ มักมีน้ำ�ลายน้อย ทำ�ให้ปรับ สภาวะความเป็นกรด ในช่องปากให้เป็นกลางได้ช้า จึงทำ�ให้เกิดการผุได้ง่ายขึ้น
ชั้นเคลือบฟันมีการสูญเสียแร่ธาตุ และลุกลามเข้าไปในชั้นเนื้อฟัน
ฟันปกติ
การผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน เชื้อโรคจะลงไปที่ปลายรากฟัน
2) เหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ 2.1 ลักษณะทั่วไป : (49) เหงือก ลักษณะปกติในผู้สูงอายุจะมีสีชมพูซีด อาจค่อนข้างคล้ำ� มีความแน่นแข็งพอสมควร ไม่มีลักษณะบวมแดง ช้ำ� แต่อาจมีการร่นบ้างจากการแปรงฟันที่ผิดวิธี หรือผลจากรอยโรคในอดีต เนื้อเยื่อปริทันต์ เป็นอวัยวะที่อยู่รอบรากฟัน ไม่สามารถเห็นได้ ในช่องปาก ประกอบด้วย เยื่อยึดปริทันต์ และกระดูกเบ้าฟัน ทำ�หน้าที่ช่วยรองรับและกระจาย แรงบดเคี้ยว จากตัวฟันสู่กระดูกขากรรไกร เมื่ออายุมากขึ้น จะมีการ สร้างเนื้อเยื่อ ทดแทนลดลง เยื่อปริทันต์จึงบางและยืดหยุ่นน้อยลง สำ�หรับกระดูกเบ้าฟัน มีการไหลเวียนโลหิตภายในลดลง การสร้าง และละลายของกระดูกช้าลง กระดูกเบ้าฟันจะบางและพรุนมากขึ้น แต่ก็ยังใช้งานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุชาย 70 ปี มีเหงือกปกติ
2.2 ความผิดปกติและรอยโรคของเหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ : ที่พบบ่อย ได้แก่ 2.2.1 โรคปริทันต์อักเสบ (20,21) : สาเหตุหลัก มาจากคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นคราบเชื้อโรค ที่ติดบริเวณคอฟัน เชื้อโรคเหล่านี้ จะปล่อยสารพิษทำ�ให้เกิดการระคายเคืองเกิดการอักเสบของเหงือก เยื่อยึด ปริทันต์และกระดูกเบ้าฟัน ทำ�ให้ฟันโยกได้
12
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
เหงือกปกติ
คราบจุลินทรีย์ และหินปูน เกาะบริเวณคอฟัน
คราบจุลินทรีย์ และหินปูน เกาะบริเวณคอฟันเพิ่มขึ้น ทำ�ให้เหงือกอักเสบ
เหงือกอักเสบ, เยื่อยึด ปริทันต์, กระดูกเบ้าฟัน ถูกทำ�ลาย ฟันโยก
นอกจากนี้พฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง(25,36) เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานที่ไม่ได้ควบคุม จะทำ�ให้อาการของโรครุนแรงขึน้ ในระยะแรกอาจไม่มอี าการผิดปกติเด่นชัด แต่ถา้ สาเหตุยงั คงอยูแ่ ละร่างกายมีความ ต้านทานลดลง จะพบการอักเสบ โดยเหงือกจะบวม สีแดงช้ำ� เลือดออกง่าย และเมื่อกระดูกเบ้าฟันถูกทำ�ลาย จะสังเกตความผิดปกตินี้ได้จากการโยกของฟัน อาจมีหรือไม่มีอาการปวดร่วมด้วยก็ได้
เหงือกอักเสบรุนแรง บวมสีแดงช้ำ� เลือดออกง่าย
เหงือกอักเสบเนื้อเยื่อปริทันต์ถูกทำ�ลาย ฟันโยก
ฟันโยก สูญเสียฟัน
2.2.2 ความผิดปกติอื่นๆ : อาจพบความผิดปกติอื่นๆ บริเวณเหงือก เช่น แผ่นคราบสีขาว หนาตัว แผลที่มีลักษณะถลอกแดง จากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ก้อนตุ่ม นูนแข็งหรือเป็นแผลจากการ ระคายเคืองอื่นๆ เป็นต้น 3. เยื่อบุในช่องปาก (oral mucosa) และ ลิ้น 3.1 ลักษณะทั่วไป : เยื่อบุในช่องปาก ได้แก่ เยื่อบุบริเวณกระพุ้งแก้ม เพดานปาก ริมฝีปากบน-ล่างด้านใน ใต้ลิ้น เหงือก ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อเหล่านี้จะมีความยืดหยุ่นน้อยลง บางลง ในผู้สูงอายุบางคน อาจสังเกตพบ ตุ่มนูนเล็ก ๆ คล้ายหัวสิวสีเหลืองอ่อนขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้ม เพดานปาก ซึ่งเป็นลักษณะของต่อมไขมันที่สามารถ มองเห็นได้ชัดขึ้นเนื่องจากเนื้อเยื่อบางลง บางคนอาจพบลักษณะเส้นเลือดขอดใต้ลิ้น พื้นปากใต้ลิ้น โดยจะสังเกตเห็น แนวเส้นเลือดดำ�เป็นปุ่ม ๆ ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะปกติไม่มีอันตราย แต่ความต้านทานที่ลดลง อาจทำ�ให้เกิด ความระคายเคือง แสบร้อน หรือเกิดแผลในช่องปากง่ายกว่าปกติ
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
เส้นเลือดขอดใต้ลิ้นพบได้ปกติ
13
ลิ้นปกติในผู้สูงอายุชาย 68 ปี
ลิ้น ด้านบนจะบางลง เรียบแบน เกสรลิ้น (filifrom papilla) จะหายไป ลิ้นดูเลี่ยน เป็นแผลหรือ สบลิ้นได้ง่าย แต่ไม่รุนแรง ต่อมรับรสบนลิ้นฝ่อ ทำ�ให้ระดับการรับรสเปลี่ยนไป ต้องมีรสจัดขึ้นจึงจะรับได้ 3.2 ความผิดปกติและรอยโรคของเยื่อบุช่องปาก และลิ้น : มีทั้งแบบมีอาการเฉียบพลัน เกิดขึ้นรวดเร็ว เจ็บปวดมาก หรือ แบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นช้า ๆ และ คงอยู่เป็นเดือน ๆ โดยไม่เจ็บมากนัก ลักษณะที่สังเกตเห็นมีหลายลักษณะ ดังนี้ 3.2.1 รอยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา(49) อาจเห็นเป็นแผ่นสีขาวครีม ขูดออกได้ หรือเป็นแผ่นขาว ตุ่มขาว ที่ล้อมรอบด้วย เนื้อเยื่อสีแดงจัด หรือเป็นแผ่นสีแดง มักจะเจ็บ ส่วนใหญ่พบบริเวณเพดาน กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก สัมพันธ์กับ ผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่ มีโรคทางระบบ เช่น เบาหวาน ได้รับยาปฎิชีวนะรักษาโรคบางชนิด หรือ ใช้ยาพวกสเตียรอยด์ เป็นเวลานาน หรือ อาจพบร่วมกับการอักเสบ ใต้ฐานฟันปลอมชนิดถอดได้ ที่ไม่ได้ถอดทำ�ความสะอาดสม่ำ�เสมอ ในผูส้ งู อายุบางรายทีใ่ ส่ฟันปลอมทีม่ ยี างดูดกลางเพดาน จะก่ออันตรายต่อเนือ้ เยือ่ เพดานปาก เพราะนอกจากทำ�ให้ เพดานอักเสบ ติดเชื้อราแล้วถ้าใส่นานๆ แรงดูดอาจทำ�ให้เพดานบางลงจนทะลุได้ รอยโรคสีขาวครีม ซึ่งสัมพันธ์กับการ สูบบุหรี่และดื่ม เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
รอยโรคแผ่น สีขาวครีมบริเวณ สันเหงือก
รอยโรคสีแดงที่ลิ้น
การอักเสบ การติดเชื้อรา ใต้ฐานฟันปลอมบน
14
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
3.2.2 ลักษณะผิดปกติและรอยโรคที่ไม่ใช่เกิดจากการติดเชื้อรา ที่พบบ่อยได้แก่ ไลเคนพลานัส(22) ลักษณะรอยโรคเป็นลายเส้นสีขาว ประกอบด้วย ตุม่ เล็กหนาตัว เบียดกันแน่นกลายเป็นเส้นสีขาวหนาตัวจากเนือ้ เยือ่ ปกติ ขูดไม่ออก พบบริเวณกระพุง้ แก้ม เหงือก รอยต่อระหว่างกระพุ้งแก้มกับเหงือก เพดานปาก ริมฝีปาก ผู้ป่วยมักมีอาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาจเกิด ขึ้นเอง หรือเกิดเมื่อรับประทานอาหารรสจัด หรืออาหารร้อน ซึ่งสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตับอักเสบมากกว่าปกติ หรือ อาจพบการบวมของต่อมน้ำ�ลายขนาดเล็กบริเวณเพดานปาก และมีการขยายตัว ของรูเปิด เห็นเป็นตุ่มหนา และมีจุดสีแดงชัดเจน (Nicotinic stomatitis) จากการสูบบุหรี(26) ่ หรือ ไม่เห็นรอยโรค ที่ชัดเจน แต่ผู้ป่วยรู้สึกว่าเนื้อเยื่อบริเวณนั้น หยาบ หนา ระคายเคือง อาจเกิดจากสารเคมี หรือ จากฟันและ ฟันปลอม
เส้นสีขาวหนาตัวของไลเคนพลานัส บริเวณกระพุ้งแก้ม
เส้นสีขาวหนาตัว บริเวณลิ้น
ต่อมน้ำ�ลายบริเวณเพดานปาก ขยายตัว เห็นเป็นจุดแดงชัดเจน จากการสูบบุหรี่
3.2.3 ลักษณะผิดปกติที่อาจเปลี่ยนเป็นมะเร็ง(32) เช่น พบก้อน บวม อาจนิ่มหรือแข็งก็ได้ หรือ เป็นแผ่นคราบสีแดง สีขาว รอยแผล จะเป็นนานกว่า 2 สัปดาห์ หรือ มีอาการ ปวด ชา เป็นเวลานาน หรือ มีเลือดไหลซึมจากบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
ก้อนบวมนิ่มบริเวณเพดานปาก
รอยแผลนูน ด้านข้างของลิ้น
ลักษณะผิดปกติดังกล่าว จำ�เป็นต้องได้รับการรักษาในช่องปากที่ถูกต้อง ร่วมกับการดูแลโรคทางระบบ และปรับพฤติกรรมเสี่ยง
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
15
4) น้ำ�ลายและต่อมน้ำ�ลาย 4.1 ลักษณะทั่วไป : ปกติคนเรา ผลิตน้ำ�ลายจากทุกๆ ต่อมรวมกัน ได้วันละ 0.5-1.5 ลิตร น้ำ�ลายประกอบ ไปด้วย น้ำ� โปรตีนหลากหลายชนิด และอีเล็คโตรไลต์ต่างๆ น้ำ�ลายมีประโยชน์อย่างมากต่อช่องปาก โดยน้ำ�ลาย จะทำ�หน้าที่หลักในการ(27) 1) ทำ�ให้อาหารแตกตัว จากเอ็มไซม์ อะมิเลส โปรตีเอส ดีเนส อาร์เนส จากนั้นทำ�หน้าที่ นำ�อาหารสู่กระเพาะ โดยทำ�ให้อาหารรวมเป็นก้อน เพื่อสะดวกในการกลืน หล่อลื่น ขณะกลืน โดยสร้างสารเมือกกลัยโคโปรตีน น้ำ� 2) ปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่าง ทำ�ให้เกิดความสมดุลย์ภายในช่องปาก 3) ช่วยป้องกันเนื้อเยื่ออ่อนและแข็ง รวมทั้งซ่อมแซมเนื้อเยื่ออ่อนในปาก 4) ต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ (Antimicrobial) เนื่องจากในน้ำ�ลายมี สารคัดหลั่ง IgA ไลโซไซม์ เลคโตเฟอริน สารต่อต้าน เอสไอวี (Anti-HIV Factors) 5) ช่วยหล่อลื่นอื่นๆ เช่น ขณะพูดคุย ในผู้สูงอายุ การทำ�งานของต่อมน้ำ�ลายจะลดลง ขนาดของต่อมเล็กลง โดยเฉพาะต่อมน้ำ�ลาย ใต้ขากรรไกรล่าง ความข้น-ใส และองค์ประกอบในน้ำ�ลายเปลี่ยนแปลงไป ความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรค ลดลง ในผู้สูงอายุบางราย อาจพบการฝ่อลีบ มีพังผืดมากขึ้น(27) ทำ�ให้น้ำ�ลายถูกขับออกมาน้อยลง ทำ�ให้ปากแห้ง รู้สึกแสบร้อนในปาก ผู้สูงอายุควรจิบน้ำ�บ่อย ๆ เพื่อให้ช่องปากมีความชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง 4.2 ความผิดปกติและรอยโรค : ถ้ามีอาการผิดปกติ(23) ผู้ป่วยจะรู้สึกน้ำ�ลายแห้งมาก ปากแห้งชัดเจน จนทำ�ให้กลืนลำ�บาก เจ็บเนื้อเยื่ออ่อนระคายเคือง ปากเป็นแผลง่าย มีโอกาสเกิดเชื้อราในช่องปากสูง หรือ เกิดฟันผุง่ายแทบทุกซี่(33,41) เนื่องจากไม่มีน้ำ�ลายชะล้างเศษอาหารและปรับสมดุลในปาก รวมทั้งการรับรสชาติเปลี่ยนแปลงไป มักพบใน ผูส้ งู อายุทไี่ ด้รบั ยาบางชนิด(31) เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือผูท้ ไี่ ด้รบั การฉายรังสีรกั ษา บริเวณใบหน้าและลำ�คอ จำ�เป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเฉพาะในช่องปากร่วมกับ การปรับใช้ยาทางระบบ
ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติและรอยโรคในช่องปาก
ความผิดปกติและรอยโรคในช่องปากผู้สูงอายุ เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างที่สำ�คัญ ได้แก่ 1. ปัจจัยจากสภาวะอนามัยช่องปาก 2. ปัจจัยจากอาหาร 3. ปัจจัยจากโรคทางระบบ การรักษาและการใช้ยา รวมทั้งภาวะทุโภชนาการ 4. ปัจจัยจากพฤติกรรมเสี่ยง
16
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
1) ปัจจัยจากสภาวะอนามัยช่องปาก ในผู้สูงอายุ ที่มีอนามัยช่องปากไม่ดี ช่องปากไม่สะอาด จะมีผลต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ ผิดปกติและความรุนแรงของรอยโรค เนื่องจากช่องปากที่ไม่สะอาด จะมีการสะสมของคราบจุลินทรีย์ (plaque) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อโรค ที่เกาะติดผิวฟัน ทั้งที่อยู่เหนือขอบเหงือก ใต้เหงือก และที่ผิวฟันปลอม กลุ่มเชื้อโรค เหล่านี้ เป็นหนึ่งในปัจจัยเริ่มต้น ที่ทำ�ให้เกิดโรคฟันผุ ที่ตัวฟัน รากฟัน และโรคปริทันต์ ซึ่งพบบ่อยและเป็นสาเหตุ หลักของการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ สาเหตุที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำ�ความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีพอ ส่งผลให้มีอนามัยช่องปากที่ไม่ดี เนื่องจาก - มีสภาพในช่องปากที่เอื้อต่อการเกาะติดของคราบจุลินทรีย์ เช่น มีฟันล้มเอียง ยื่นยาว อันเป็นผล จากการถอนฟันคู่สบหรือฟันข้างเคียง มีร่องลึกบริเวณขอบเหงือก เหงือกร่น รากฟันมีผิวขรุขระ ไม่เรียบ หรือ มีร่องบนคอฟัน/รากฟัน จากการแปรงฟันผิดวิธี การมีฟันผุที่ตัวฟันและรากฟันอยู่แล้ว การมีหินปูน หรือการใส่ ฟันปลอมซึ่งจะมีส่วนของตะขอและแผ่นฟันปลอมเพิ่มเข้ามาในช่องปาก เกิดซอกมุม ทำ�ให้การสะสมของคราบ จุลินทรีย์ง่ายขึ้น
ฟันบนยื่นยาว ทำ�ให้เกิด ซอกระหว่างฟันกรามบน
ฟันล้มเอียงจากการถอนฟัน
หินปูนสะสมผิวฟันขรุขระ คราบจุลินทรีย์เกาะติดง่าย
- มีสภาพร่างกายไม่พร้อม เนื่องจากมีโรคประจำ�ตัวบางอย่าง ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ การทำ�ความสะอาด เช่น โรคตา ปัญหาสายตา ทำ�ให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ไม่สามารถกำ�จัดคราบจุลินทรีย์และ สิ่งตกค้างบางบริเวณได้หมด ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)(35) เป็นอาการของไขข้ออักเสบ บวม ที่เกิดขึ้นที่กระดูกข้อมือ ทำ�ให้ประสิทธิภาพการใช้มือลดลง แปรงฟันลำ�บาก ผู้ป่วยโรค Parkinson,s(24,41) ซึ่งขยับ เคลื่อนไหวลำ�บาก กล้ามเนื้อใบหน้าแข็งเกร็ง ริมฝีปาก ลิ้น เคลื่อนไหวไม่ดี ควบคุมการกลืนยาก การทำ�ความ สะอาดช่องปากก็จะลำ�บากด้วย นอกจากนี้ ปัญหาภาวะจิตใจ ซึมเศร้า สมองเสื่อม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้ผู้สูงอายุบางราย ไม่สามารถดูแลความสะอาดช่องปากด้วยตนเองได้ดีพอ
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
17
2) ปัจจัยจากอาหาร อาหารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ และรอยโรคในช่องปากโดยตรง คือ อาหารพวกน้ำ�ตาล การรับประทานอาหารหวานระหว่างมื้ออาหารบ่อยๆ จะยิ่งส่งผลต่อการเกิดโรคฟันผุชัดเจน เนื่องจากเชื้อโรค ในคราบจุลินทรีย์ย่อยสลายอาหารพวกน้ำ�ตาล ทำ�ให้เกิดความเป็นกรดในช่องปากอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้สูงอายุ มีน้ำ�ลายน้อย ยิ่งทำ�ให้เกิดฟันผุได้ง่าย 3) ปัจจัยจากโรคทางระบบ การรักษาและการใช้ยารวมทั้ง ภาวะทุโภชนาการ โรคทางระบบ การรักษาและการใช้ยา รวมทั้งภาวะทุโภชนาการ ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ในช่องปากโดยตรง ได้แก่ 3.1 โรคทางระบบ ได้แก่ q โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย ที่มีผลกระทบต่อภาวะช่องปากชัดเจน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบา หวานที่ไม่ได้ควบคุม (uncontrolled) จะพบ ภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ (36,37) - อาการปากแห้ง ปวดแสบปวดร้อนในช่องปาก เนื่องจากการไหลของน้ำ�ลายลดลง ต่อมน้ำ�ลายโต - มีโอกาสเกิดฟันผุได้งา่ ย เนือ่ งจากมีการเพิม่ ระดับของน้ำ�ตาลกลูโคสในน้ำ�ลาย ร่วมกับ การไหลของน้ำ�ลายที่ลดลง ไม่มีน้ำ�ลายช่วยชะล้างอาหารและช่วยลดความเข้มข้น ของภาวะกรดด่าง - มีแนวโน้มเกิดโรคปริทันต์ได้ง่ายและรุนแรงกว่าปกติ เนื่องจากมีการทำ�ลายเนื้อเยื่อ ของเหงือกเนื้อเยื่อปริทันต์ และกระดูกเบ้าฟัน ทำ�ให้เหงือกบวม เกิดหนองปลายราก ฟันโยก และสูญเสียฟันได้ในที่สุด นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการเกิดโรคปริทันต์ใน ผู้ป่วยเบาหวานทำ�ให้ประสิทธิผลของยารักษาโรคเบาหวานลดลงด้วย - ติดเชือ้ ง่าย โดยเฉพาะการติดเชือ้ รา(Candidiasis) เนือ่ งจาก เชือ้ ราเจริญได้ดใี นน้�ำ ลาย ทีม่ นี �้ำ ตาลกลูโคสสูง และถ้าผูป้ ว่ ยสูบบุหรี่ หรือ มีภาวะอนามัยช่องปากทีไ่ ม่ดรี ว่ มด้วย จะยิ่งทำ�ให้เกิดการติดเชื้อราง่าย และรุนแรงขึ้น - เมื่อเกิดแผลในปาก จะหายช้า q วัณโรค (49) วัณโรคปอดในผู้สูงอายุ อาจพบเป็นแผลที่มีลักษณะเฉพาะของวัณโรคในช่องปากได้ โดยแผลมีลักษณะสีแดง ไม่เจ็บ แผลจะคงอยู่นาน ไม่หาย q โรคไต (49) ไตวายเรื้อรัง ทำ�ให้ร่างกายไม่สามารถกำ�จัดของเสียออกจากร่างกายได้ เกิดภาวะยูรีเมีย อาจพบอาการแสดงทางช่องปากได้ เช่น เลือดออกในชัน้ ใต้เยือ่ บุชอ่ งปาก บริเวณด้านข้าง ของลิ้น
18
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
3.2 การรักษาและการใช้ยา ได้แก่ q การบำ�บัดทางรังสี เคมีรักษา เพื่อต้านเซลล์มะเร็ง การฉายรังสีรกั ษามะเร็งบริเวณศีรษะและใบหน้า ทำ�ให้ตอ่ มน้�ำ ลายมีการเปลีย่ นแปลง น้�ำ ลาย ไหลน้อยลง มีอาการปากแห้ง ปากและลิ้นแห้งเป็นฝ้า ฟันผุง่าย ควรให้อมน้ำ�บ่อยๆ ให้ช่องปากชุ่มชื้น ถ้าเป็นไปได้ ควรแนะนำ�ผู้ป่วยให้ไปรักษาทางทันตกรรมทุกชนิดให้เรียบร้อยก่อนไปฉายรังสีรักษา q การใช้ยารักษาโรคทางระบบที่เรื้อรังบางชนิด(31) เช่น - ยารักษาโรคภูมิแพ้(Antihistamines) เช่น CPM Atarax ยากลุ่มลดความเครียด เช่น Amitryptrypline ถ้าใช้นานๆ ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านคุณภาพและปริมาณของน้ำ�ลายลดลง ความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ลดลง น้ำ�ลายมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น เกิดภาวะปากแห้ง เกิดการระคายเคือง อักเสบเนื้อเยื่อในช่องปาก และเกิดฟันผุง่าย - ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เช่น เมธิลโดปา (Methydopa) ยารักษาโรคเบาหวาน เช่น คลอโพรปาไมด์ (Chlerporpamide) ยารักษาโรคข้ออักเสบ เช่น เพนิลบิวทาโซน(Phenylbutazone) อินโดเมทาซิน(Indomethacin) ยารักษาโรคตับ เช่น เพนิซิลามิน (Penicillamine) เป็นต้น อาจกระตุ้นให้เกิดรอย โรคสีขาวบนเนื้อเยื่อ ที่เช็ดถูไม่ออกของไลเคนพลานัส - ยารักษาโรคหอบหืด ที่เป็นยาพ่นในช่องปากกลุ่มสเตียรอยด์ (steroid) เป็นประจำ� จะมีผลข้างเคียงทำ�ให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากง่ายขึ้น 3.3 ภาวะทุโภชนาการ อาจเป็นผลกระทบจากภาวะจิตใจ ซึมเศร้า หรือ การไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหาร หรือ การดูดซึม อาหารบกพร่อง ทำ�ให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ที่พบบ่อย(28,29) ได้แก่ - การขาดวิตามิน บี 2, 5, 6,12 ทำ�ให้ลิ้นเลี่ยนเป็นมัน มีสีแดงจัด เนื้อเยื่อในปากเป็น แผลง่าย อาจเกิดแผลที่มุมปาก ที่เรียก ปากนกกระจอกได้ - การขาดธาตุเหล็ก หรือ กรดโฟลิก เป็นเวลานานหลายปี ทำ�ให้เกิดภาวะโลหิตจาง เนือ้ เยือ่ ในช่องปาก ติดเชื้อง่าย ลิ้นเลี่ยน รับรสได้ไม่ดี ปากแห้ง รวมถึงเป็นสาเหตุของการเกิดแผลปากนกกระจอกด้วย สำ�หรับแผลปากนกกระจอก นอกจากเป็นผลจากการขาดสารอาหารแล้ว การสึกของฟัน หรือ การสูญเสียฟันกรามในผู้สูงอายุทำ�ให้ระยะห่างระหว่างขากรรไกรบนและล่างมีระยะสั้นลง มีผลทำ�ให้มุมปากตก มุมปากจะชื้นอยู่ตลอดเวลา ง่ายต่อการติดเชื้อ
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
ลิ้นเลี่ยนจากการขาดธาตุเหล็ก ในผู้สูงอายุหญิง 75 ปี
19
แผลนกปากกระจอก
3.4 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มักพบในผูส้ งู อายุหญิง ซึง่ อาการทีพ่ บอาจมีอาการปากแห้ง ปวดแสบปวดร้อน บริเวณเนือ้ เยือ่ ในช่องปาก การรับรสชาติไม่ดี 4) ปัจจัยจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ 4.1 การสูบบุหรี่ การเคี้ยวยาเส้น / ยานัตถ์ุ สารประกอบในบุหรี่ โดยเฉพาะนิโคติน (Nicotine) น้�ำ มันดิบ (Tars) รวมทัง้ สารอืน่ ทีเ่ กิดจาก การเผาไหม้ในช่องปากส่งผลต่อร่างกาย โดย เมื่อผ่านไปที่ปอด ผ่านไปตามกระแสเลือด จะกระตุ้นต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ให้ขับสาร epinephrine เพิ่มขึ้น ทำ�ให้หลอดเลือดรัดตัว เพิ่มการยึดติดของเกล็ดเลือด ทำ�ให้ หลอดเลือดตีบง่ายขึ้นเกิดความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงขึ้นเสี่ยงต่อหลอดเลือดอุดตัน(26)
รอยโรคสีขาวจากเชื้อรา บริเวณเหงือกในผู้สูบบุหรี่
ฟันมีคราบสีน้ำ�ตาล โยก โดยไม่มีอาการของเหงือก
20
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
ส่วนผลต่อช่องปาก ความร้อนและสารประกอบต่างๆ ที่เหลือตกค้างจากการเผาไหม้ใน ช่องปาก ซึ่งจะรวมถึงยาเส้น ยานัตถ์ุ ที่ใช้เคี้ยวหรือสัมผัสกับเนื้อเยื่อ จะก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ทำ�ให้เกิดรอยโรคเป็นปื้นสีขาว สีแดง เกิดการติดเชื้อราที่อาจนำ�ไปสู่การเกิดมะเร็ง ในผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดมะเร็งในช่องปากสูงกว่าคนไม่ได้สูบ ถึง 5 เท่า นอกจากนี้การสูบบุหรี่มีผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่อปริทันต์ และการสูญเสียกระดูกเบ้ารากฟัน ทำ�ให้เกิดร่องลึกโดยรอบรากฟัน เกิดฟันโยก และการสูญเสียฟัน โดยบางครั้ง อาจไม่มีอาการอักเสบ บวมแดงของเหงือกเลยก็ได้ และบุหรี่ยังมีผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์ รวมทั้งมีผล ลดประสิทธิผล และไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางทันตกรรมด้วย(25) 4.2 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ / การใช้น้ำ�ยาบ้วนปากที่ผสมแอลกอฮอล์(38) พบความสัมพันธ์ของผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงกับการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก Oral Squamous Cell Carcinoma (38) ส่วนการใช้น้ำ�ยาบ้วนปากที่ผสมแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน พบว่าก่อให้เกิดความ ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก และก่อให้เกิดรอยโรคได้(51) 4.3 การเคี้ยวหมาก การระคายเคืองอย่างเรื้อรัง ต่อเนื้อเยื่อช่องปาก อาจทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง(52) 4.4 การระคายเคืองจากสาเหตุอื่นๆ การระคายเคืองจากตัวฟัน รากฟันที่ผุ สึกกร่อน วัสดุอุดตันที่แตกบิ่น การใส่ฟันปลอมชนิด ถอดได้ ที่ไม่พอดี ฟันปลอมที่ใส่มาเป็นเวลานานจนหลวม หรือ ขยับไปมา เนื่องจากมีการละลายตัวของสันเหงือก ฟันปลอมที่แตกหักชำ�รุด และไม่ได้นำ�ไปซ่อม การเสียดสี การระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อช่องปากเรื้อรัง อาจทำ�ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งภายหลังได้ จากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดความผิดปกติและรอยโรคใน ช่องปาก การปฏิบัติตนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะช่วยให้ผู้สูงอายุคงความมีสุขภาพช่องปากที่ดีสมวัยได้ตลอดชีวิต ซึ่งการปฏิบัติตนเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี จะได้กล่าวในบทต่อไป
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
21
บทที่ 3
ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้สามารถคงสภาพในช่องปาก เพื่อลดการสูญเสียฟัน และลด ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติต่างๆ เป็นสิ่งจำ�เป็น แต่เนื่องจากผู้สูงอายุมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง ไม่เท่ากัน ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จึงแบ่งเป็น 1. ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ 2. ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบ 3. ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในผู้สูงอายุที่ได้รับรังสีรักษาหรือบำ�บัด 4. ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ + ข้อแนะนำ�ทั่วไปในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ หรือพอจะช่วยเหลือตัวเองได้บ้างในการทำ�กิจวัตรประจำ�วัน อาจมี หรือ ไม่มีโรคประจำ�ตัว สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดความ ผิดปกติหรือรอยโรค ที่จะเกิดใหม่หรือกลับเป็นซ้ำ� ได้ดังนี้ 1. การทำ�ความสะอาด การดูแลความสะอาดช่องปากให้เหมาะสม โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อกำ�จัดคราบจุลินทรีย์ ซึ่ง เป็นสาเหตุของโรคส่วนใหญ่ ในช่องปากออก การทำ�ความสะอาดช่องปากนี้รวมไปถึงการทำ�ความสะอาดลิ้นและ ฟันปลอมด้วย ซึ่งวิธีทำ�ความสะอาดช่องปาก สามารถทำ�ได้ทั้งทางเชิงกล เช่น การขัด ถู ขูด และการใช้สารเคมี 1.1 การทำ�ความสะอาดเหงือกและฟัน(39,40) วิธีที่ทำ�ได้ด้วยตนเองที่สะดวกและคุ้นเคยที่สุด คือ การแปรงฟัน แต่ในผู้สูงอายุที่มี สภาพเหงือกและฟันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความสามารถในการใช้มือและสายตาที่เปลี่ยนแปลงไป ควรมีวิธีการ และการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ที่เหมาะสมร่วมด้วย อุปกรณ์ทำ�ความสะอาดที่แนะนำ� ได้แก่ แปรงสีฟัน : การแปรงฟันที่ถูกวิธี มีหลักสำ�คัญ คือ * ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน * ควรแปรงให้ทั่วถึงทุกซี่ ทุกด้าน โดยเฉพาะ คอฟัน และซอกฟัน * ควรแปรงฟันร่วมกับการใช้ยาสีฟันชนิดครีมที่ผสมฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ * ควรใช้เวลาแปรงฟันแต่ละครั้ง ประมาณ 2 นาที
22
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
: การเลือกใช้แปรงสีฟัน * ควรเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีด้ามจับได้ถนัดมือ * ตัวแปรงไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เมื่อเทียบกับขนาดของช่องปาก * ขนแปรงนิ่ม ปลายขนแปรงมน * ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อขนแปรงบาน หรือ มีอายุการใช้งาน 2-3 เดือน : กรณีผสู้ งู อายุทมี่ ปี ญ ั หากล้ามเนือ้ มือ หรือ ไม่สามารถควบคุมการใช้มอื ในการแปรงฟันแบบธรรมดา ได้ดี อาจแก้ไขได้โดย * เลือกใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า เพื่อผ่อนแรง * ปรับปรุงขนาดของด้ามแปรงสีฟันทั่วไป ให้จับได้เหมาะมือเช่น ถ้านิ้วมือกางไม่ได้ อยู่ใน ลักษณะกำ�มือแน่นตลอดเวลา ให้สอดด้ามแปรงเข้าไปในฝ่ามือที่กำ�แน่นหรือ ถ้ามือไม่สามารถกำ�ได้แน่นเท่าปกติ ควรปรับปรุงขนาดของด้ามแปรงให้เหมาะกับการกำ�ด้ามแปรง เช่น ใช้ยางทีเ่ ป็นมือจับของจักรยาน สวมทับด้ามแปรงสีฟนั ยึดด้วยกาว หรือดินน้ำ�มัน หรือ อาจเพิ่มสายรัดยึดแปรงไว้กับมือ โดยใช้วัสดุที่หาง่าย น้ำ�หนักเบา ไม่ดูดซับน้ำ� เช่น หลอดพลาสติก หรือสายน้ำ�เกลือ ผูกติดกับด้ามแปรง โดยปลายหนึ่งผูกไว้ทางด้านขนแปรง และอีกปลาย ผูกที่ปลายด้ามแปรง
แปรงสีฟันไฟฟ้า
รูปแบบประยุกต์ของด้ามแปรงให้จับถนัดมือ
การทำ�งานจะใช้มือสอดเข้าไปในระหว่างช่องด้ามแปรงและสายรัด โดยให้สายรัด รัดหลังมือไว้กับ ด้ามแปรง เมื่อขยับมือก็จะสามารถแปรงฟันได้ ไหมขัดฟัน
: ลักษณะ เป็นเส้นแบน มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ให้เลือกใช้ตามขนาด ความกว้างของซอกฟัน : การใช้ไหมขัดฟัน * ใช้ช่วยทำ�ความสะอาดซอกฟัน โดยใช้ควบคู่กับการแปรงฟัน อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง * ดึงไหมขัดฟันออกมายาวประมาณ 10-12 นิว้ ใช้นวิ้ กลางพันแต่ละ ปลายไว้ หรือผูกเส้นไหมเป็นวงกลมขนาดข้อมือ ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จับเส้นไหมห่างประมาณ 1 นิ้ว ตามรูป * นำ�ไหมขัดฟันค่อยๆผ่านลงในซอกฟัน พยายามอย่าให้บาดเหงือก
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ * แปรงซอกฟัน : ใช้ทำ�ความสะอาดซอกฟันที่ที่เป็นช่อง หรือฟันห่าง ได้ดี : การใช้
แปรงกระจุกเดียว
23
กวาดถูไหมขัดฟันขึ้นลงในแนวดิ่งเพื่อขจัด เอาคราบจุลนิ ทรียอ์ อก ถ้ารูส้ กึ ไหมขัดฟันติด ให้ปล่อยปลายข้างหนึ่งแล้วค่อยๆ ดึงออก ด้านข้าง
* เลื อ กขนาดแปรง ให้ ส่ ว นที่ เ ป็ น ขนแปรง มีขนาดใหญ่กว่าซอกฟัน ทีจ่ ะทำ�ความสะอาด เล็กน้อย * จุ่มน้ำ�ให้ขนแปรงอ่อนนุ่ม สอดเบาๆเข้าไป ระหว่างซอกฟันในทิศทีเ่ อียงไปทางปลายฟัน ขยับเข้าออกแนวนอน
: ลั ก ษณะคล้ า ยแปรงสี ฟั น ปกติ แต่ มี ข นแปรงเพี ย ง กระจุกเดียว : ใช้ทำ�ความสะอาดในจุดลึกๆ หรือแคบ เช่น ด้านหลัง ฟันกรามซีส่ ุดท้ายทีแ่ ปรงสีฟันปกติแปรงได้ไม่ถงึ ไม่ถนัด หรือใช้แปรงฟันซี่ที่เหลือเดี่ยวๆ ไม่มีฟันข้างเคียง
ไม้จิ้มฟัน : ใช้ช่วยทำ�ความสะอาดซอกฟัน แต่มักใช้ได้ถนัดในฟันหน้า ใช้ขจัดคราบจุลินทรีย์ที่อยู่ระหว่างซอกฟันที่มี เหงือกร่น มีช่องเห็นชัด หรือช่องระหว่างแยกรากฟัน : การใช้ไม้จิ้มฟัน l ไม้จิ้มฟันควรมีลักษณะด้ามตรง แบน เรียวบาง ไม่มีเสี้ยน l ใช้ท�ำ ความสะอาดซอกฟันทีห่ า่ ง และช่วยเขีย่ เศษอาหารออกโดยสอด เข้าไปในซอกฟัน ระวังอย่าให้เป็นอันตรายต่อเหงือก l กรณีใช้ทำ�ความสะอาดคอฟัน ถ้าเป็นไม้จิ้มฟันปลายแหลมควรกัด ปลายให้แตกเป็นพู่ก่อน แล้วค่อยๆใช้ครูดไปตามคอฟันขอบเหงือก : ไม้จิ้มฟันใช้ง่ายกว่าไหมขัดฟัน แต่มีข้อจำ�กัดมากกว่า ตรงที่ใช้ได้เฉพาะ ผู้ที่มีช่องว่างระหว่างซี่ฟันไม่สามารถใช้ขัดทำ�ความสะอาดตรงมุมโค้ง ของฟัน และซอกฟันปกติ เพราะโอบรอบฟันไม่ได้
24
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
Water pick : เป็นอุปกรณ์ฉีดน้ำ�แรงสูง ที่สามารถใช้แรงฉีดของน้ำ�ทำ�ความสะอาดและกำ�จัดเศษอาหารในซอกฟัน น้ำ�ยาบ้วนปาก : มี 2 ประเภท คือ น้ำ�ยาบ้วนปากเพื่อช่วยลดการเกิดคราบจุลินทรีย์ (Antiplaque) และขจัดเชื้อโรค เช่น น้ำ�ยา บ้วนปากที่ผสม Chlohexidine gluconate 0.12 – 0.2 % อมบ้วนปากครั้งละ 1 นาที วันละ 2 ครั้ง ส่วนผสมของน้ำ�ยาอาจทำ�ให้เกิดคราบสีน้ำ�ตาล-ดำ� บนตัวฟัน ส่วนน้ำ�ยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์จะช่วยป้องกัน ฟันผุที่ตัวฟันและรากฟัน 1.2 การทำ�ความสะอาดเยื่อบุช่องปากและลิ้น เพื่อขจัดคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์ ที่ตกค้างอยู่บริเวณเยื่อบุช่องปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ด้านบนของลิ้น โดยควรทำ�ความสะอาดทุกครั้งหลังอาหาร โดยวางแปรงสีฟันหรือ อาจใช้ไม้กวาดลิ้น วางลงบนผิวลิ้นกวาดจากโคนลิ้นออกมาด้านปลายลิ้น ทำ�ซ้ำ� 4 - 5 ครั้ง ส่วนเยื่อบุช่องปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก อาจใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม หรือ ใช้นิ้วมือกวาดเบาๆ 1.3 การทำ�ความสะอาดฟันปลอม ฟันปลอมมี 2 ชนิด คือ ชนิดถอดได้ และ ชนิดติดแน่น - ฟันปลอมชนิดถอดได้ : อาจมีสว่ นของตะขอใช้ยดึ กับฟันข้างเคียง และมีฐานพลาสติก หรือโลหะวางบนเหงือก หรือเพดานปาก เพื่อรับแรงบดเคี้ยว ซึ่งบริเวณที่เป็นตะขอหรือฐานพลาสติกนี้ จะมีเศษ อาหารมาติดหรือตกค้างได้ จึงควรถอดฟันปลอมออก ทำ�ความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร พร้อมกับทำ� ความสะอาดฟันแท้ในปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุและกลิ่นปาก นอกจากนี้ ควรถอดฟันปลอมออกก่อนนอน ทุกครั้งทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อให้เหงือกได้พักผ่อน และฟันปลอมที่ถอดออกต้องล้างให้สะอาด และแช่น้ำ�ไว้ ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ฐานพลาสติกของฟันปลอมแห้ง ซึ่งจะทำ�ให้แตกชำ�รุดได้ การทำ�ความสะอาดฟันปลอม * ใช้แปรงสีฟันแตะน้ำ�ยาล้างจาน หรือสบู่ ขัดถูฟันปลอมให้สะอาดครั้งหนึ่งก่อน แล้วล้างออกด้วยน้ำ�สะอาดให้หมด จากนั้นใช้แปรงสีฟันกับยาสีฟัน ขัดถูฟันปลอม ให้สะอาด ล้างด้วยน้ำ�สะอาด อีกครั้ง การล้างควรมีภาชนะคอยรองรับเพื่อกัน ฟันปลอมตกแตก * กรณีมีคราบหินปูน คราบบุหรี่เกาะติดฟันปลอม สามารถใช้น้ำ�ยาเคมี หรือยาเม็ด สำ�หรับแช่ทำ�ความสะอาดฟันปลอมได้ น้ำ�ยาบางชนิด เช่น alkaline hypochlorite แม้ว่าจะมีคุณสมบัติทำ�ลายเชื้อราและ เชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่เหมาะกับฟันปลอม ที่มีโลหะเนื่องจากกัดกร่อน และยังทำ�ให้สีฐานพลาสติกจางลง หรือน้ำ�ยาพวก chlohexidine 2% เมื่อแช่ฟันปลอมจะสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา candida พร้อมลดการยึดเกาะทำ�ให้จำ�นวนเชื้อโรคเกาะฟันปลอม น้อยลง แต่หลังจากแช่แล้ว ต้องล้างด้วยน้ำ�สะอาด และแช่ในน้ำ�สะอาด ก่อนนำ�มาใส่
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
ฟันปลอมชนิดถอดได้ฐานอะคริลิก และฐานโลหะ
ใช้แปรงสีฟันขนอ่อน แปรงร่วมกับสบู่
25
ถอดแช่น้ำ�ก่อนนอนทุกครั้ง
ข้อควรระวัง * ห้ามนำ�ฟันปลอมแช่ในน้ำ�เดือด น้ำ�ร้อน เพราะจะทำ�ให้บิดเบี้ยว และไม่ควรทิ้งฟันปลอมตากแห้ง เพราะอาจแตกร้าวได้ * ฟันปลอมบางชนิดมีอายุการใช้งาน อาจต้องซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ ถ้ามีการแตกหัก * ฟันปลอมที่ทำ�ให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือกและเนื้อเยื่อช่องปากควรได้รับการแก้ไข หากทิ้งไว้ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดแผลมะเร็งในปาก - ฟันปลอมชนิดติดแน่นจะสวม ทับลงไปบนซี่ฟัน หรือใช้ฟันข้างเคียงช่องว่าง เป็นหลักยึด ฟันปลอมชนิดนี้จะไม่มีตะขอ หรือ ฐานบนเหงือก หรือเพดานปาก ไม่สามารถถอด ออกได้ ดังนั้น การรักษาความสะอาด นอกจาก การแปรงฟันตามปกติแล้วควรใช้ไหมขัดฟันสอด เข้าทำ�ความสะอาดใต้ฟันปลอม และขอบเหงือกด้วย
ครอบฟัน,สะพานฟัน
2. การเลือกรับประทานอาหาร ปกติคนเรามีความต้องการพลังงานเปลีย่ นไปตามอายุ เมือ่ อายุมากขึน้ ความต้องการพลังงาน จะลดลงเนื่องจากมีกิจกรรมต่างๆลดลง การเผาพลาญพลังงานลดลง ความต้องการอาหารควรต้องลดลงด้วย ตามอัตโนมัติ แม้วา่ ผูส้ งู อายุจะต้องการพลังงานปริมาณน้อยลง แต่ความต้องการชนิดของสารอาหารทัง้ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ไม่ได้ลดน้อยลงตามอายุที่มากขึ้นในวัยสูงอายุ การเลือกรับประทานอาหาร นอกจากจะต้องคำ�นึงถึงคุณค่า อาหารให้ครบถ้วนพอเพียงกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวันแล้ว ชนิด ลักษณะ ความแข็ง นิ่ม และความถี่ ในการบริโภคอาหารก็มีความสำ�คัญ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาโรคในช่องปาก มีการสูญเสียฟัน บางคน มีฟันโยก ใส่ฟันปลอม ซึ่งทำ�ให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลง(28) ความสามารถในการทำ�ความสะอาดก็ลดลง เกิดการตกค้างของอาหารโดยเฉพาะพวกคาร์โบไฮเดรท น้ำ�ตาล ซึ่งนำ�ไปสู่ฟันผุได้(34)
26
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
- สำ�หรับการรับประทานอาหารเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีควรปฏิบัติดังนี้ * ควรรับประทานอาหารให้เป็นมื้อ ไม่ควรกินจุบจิบระหว่างมื้อ โดยเฉพาะช่วงก่อนนอน เพื่อลดการตกค้างของเศษอาหาร แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ยังชอบรับประทานอาหารว่าง เพิ่มเติมจากมื้อปกติ ควรเลือกอาหารพวกโปรตีนและผลไม้(34) โดยเฉพาะผลไม้ที่มี ลักษณะเป็นเส้นใย รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มันแกว ถั่ว อาหารธัญพืช เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะดีต่อช่องปากแล้ว ยังมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ และมีเส้นใย ที่ช่วยให้ลำ�ไส้ทำ�งานได้อย่างปกติ ป้องกันอาการท้องผูกในผู้สูงอายุได้(30) * ควรลดอาหาร พวกรสหวานจัด พวกแป้ง น้ำ�ตาลที่นิ่ม ละเอียดมากๆ หรือเหนียว ติดฟัน ให้นอ้ ยลง เนือ่ งจากตกค้างในซอกฟันได้สงู ทำ�ความสะอาดยาก เกิดฟันผุงา่ ย(34) * ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ซึ่งมีสารพวกคาเฟอีนที่เป็นอันตรายต่อระบบ การทำ�งานของหัวใจ และความดันโลหิต และ น้ำ�อัดลม ที่มีน้ำ�ตาลและความเป็น กรดสูง ส่งผลต่อการเกิดฟันผุ การสึกกร่อนของฟันโดยตรง ควรปรับเปลี่ยนเป็น นมสด หรือน้ำ�ผลไม้ จะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากกว่า - สำ�หรับผูใ้ ส่ฟนั ปลอมควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับประทาน โดยเฉพาะอาหารเหนียว และแข็ง 3. การเสริมสร้างความแข็งแรงของช่องปาก 3.1 การเสริมสร้างความแข็งแรงของตัวฟัน ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุที่ตัวฟันและรากฟัน ควรเสริมสร้าง ความแข็งแรงของฟันร่วมไปกับการทำ�ความสะอาด การใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันฟันผุ โดยฟลูออไรด์ จะลดการละลายตัวของผิวฟัน(solubility) ยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุในโครงสร้างฟัน (Demineralization) และ ส่งเสริมการคืนกลับของแร่ธาตุไปยังผิวฟัน (Remineralization) ทำ�ให้ฟันผุเกิดขึ้นและ ลุกลามเป็นรูช้าลง รูปแบบการใช้ฟลูออไรด์ มี 2 ลักษณะ - แบบใช้ได้เองทั่วไป : ผู้สูงอายุสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองเป็นประจำ� อยู่ในรูปของ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ น้ำ�ยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ หลายยี่ห้อ - แบบที่ทันตบุคลากรเป็นผู้ให้บริการ : เช่น การเคลือบฟลูออไรด์ในรูปของเจล การทาฟลูออไรด์วานิช ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในปาก เฉพาะที่ ในช่วงเวลาหนึ่ง
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
27
3.2 การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าและ ลิ้น(50) เมื่ออายุมากขึ้น การทำ�งานของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆปากหรือหน้า จะช้าลง ทำ�ให้ บางครั้งเคี้ยวอาหารไม่ถนัด มีอาหารค้างอยู่ภายในช่องปาก กระพุ้งแก้ม การบริหารใบหน้าและลิ้น จะช่วยกระตุ้น เส้นประสาท กล้ามเนื้อใบหน้า เช่น แก้ม ปาก และลิ้น ทำ�ให้การทำ�งานที่เคยเคลื่อนไหวช้าลง ให้กลับเคลื่อนไหว ได้ดีขึ้น คล่องขึ้น การบริหารใบหน้า - ช่วยปลุกเส้นประสาท กระตุน้ กล้ามเนือ้ ใบหน้า เช่น แก้ม ปาก และลิน้ ให้เคลือ่ นไหว ได้ดีขึ้น - แนะนำ�ให้ทำ�หลังล้างหน้าตอนเช้า - ขั้นตอน มี 3 ขั้น แต่ละขั้นใช้เวลาประมาณ 10 วินาที แล้วผ่อนคลาย จากนั้นให้ ปฏิบัติซ้ำ�ตั้งแต่ต้น อีก 3 รอบ ขั้นตอน มีดังนี้
ขั้นที่
ขั้นที่ 2 : อ้าปากกว้างและลืมตาให้กว้าง
ขั้นที่ การบริหารลิ้น
1
: เริ่มต้นด้วยสูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เหยียดริมฝีปากออกไปด้านข้างเป็นแนวกว้าง ขยับให้แก้มสูง หลับตาให้สนิท
3 : ปิดปากให้สนิท ป่องแก้ม ขยับปากซ้าย-ขวา
- - -
ช่วยให้การเคลื่อนไหวของลิ้นดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การทำ�งานที่ต้องคลุกเคล้าอาหาร ด้ ว ยลิ้ น ทำ �ได้ ดี ขึ้ น ป้ อ งกั นไม่ ใ ห้ อ าหารตกสู่ ห ลอดลม ช่ ว ยให้ อ อกเสี ย งพู ดได้ ชัดเจนขึ้น และช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำ�ลาย แนะนำ�ให้ทำ�ก่อนรับประทานอาหาร การบริหารลิ้น มี 2 แบบ คือ การบริหารโดยการเปิดปาก และ การบริหารโดยการ ปิดปาก โดยมีขั้นตอนดังนี้
28
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
l
การบริหารโดยการเปิดปาก (ปฏิบัติแต่ละขั้นตอน 5 ครั้ง)
1. แลบลิ้นเข้าและออก 2. แลบลิ้นแล้ว เคลื่อนไปทางซ้าย-ขวา หมุนลิ้นไปทางซ้าย ขวาเพื่อเลียรอบๆ ริมฝีปาก
3. แลบลิน้ แล้วขยับลิน้ ขึน้ ลงขวา เพื่อเลียรอบๆริมฝีปาก
l การบริหารโดยการปิดปาก (ปฏิบัติแต่ละขั้นตอน 5 ครั้ง) 1. ดันริมฝีปากบนด้วยลิ้น 2. ดันริมฝีปากล่างด้วยลิ้น 3. ดันแก้มซ้าย ขวาด้วยลิ้นหมุนลิ้น ไปรอบๆทั้งซ้ายและขวา
3.3 การกระตุ้นการทำ�งานของต่อมน้ำ�ลาย เมื่ออายุมากขึ้น น้ำ�ลายผลิตน้อยลง ช่องปากมีแนวโน้มแห้งง่าย กลืนลำ�บาก การนวด ต่อมน้ำ�ลาย จะช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำ�ลายผลิตน้ำ�ลายมากขึ้น - แนะนำ�ให้ทำ�ก่อนรับประทานอาหาร - การนวดต่อมน้ำ�ลาย มี 3 ต่อม ได้แก่ ต่อมใต้หู ต่อมใต้คาง ต่อมใต้ลิ้น หลังจาก ตรวจสอบตำ�แหน่งที่จะนวดแล้ว ให้ปฏิบัติตามขั้นตอน 1-3 แล้วทำ�ซ้ำ�อีก 2-3 ครั้ง
ต่อมใต้หู ต่อมใต้ลิ้น ต่อมใต้คาง
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นต่อมใต้หู วางนิ้วก้อยถึงนิ้วชี้ไว้ที่แก้มแล้ว หมุนแถวๆฟันกรามบนวนจาก ข้างหลังไปข้างหน้าทำ� 10 ครั้ง
ขั้นที่ 2 การกระตุ้นต่อมใต้คาง วางนิ้วโป้งตรงส่วนที่นุ่ม ตรงกระดูกคาง กดตั้งแต่บริเวณ ใต้หูจนถึงใต้คาง ประมาณ 5 ตำ�แหน่งๆละ 5 ครั้ง ตามลำ�ดับ
29
ขั้นที่ 3 การกระตุ้นต่อมใต้ลิ้น ใช้นวิ้ โป้งของทัง้ 2 มือกดลงช้าๆ ที่บริเวณลิ้น ข้างใต้คาง 10 ครั้ง
4. การป้องกันความผิดปกติ
โดย - ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ เคี้ยวหมาก - พบทันตบุคลากรเพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - กรณีผู้สูงอายุมีโรคทางระบบ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อควบคุมโรค ให้อยู่ในระดับที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและช่องปาก
+ ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบ
ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบบางโรค ที่สำ�คัญได้แก่ เบาหวาน หรือ จะมีการเปลี่ยนแปลงใน ช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคชัดเจน จำ�เป็นต้องได้รับคำ�แนะนำ�เฉพาะ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อคงการมีสุขภาพ ช่องปากที่ดี
ลักษณะในช่องปากผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวาน โรคในช่องปากเป็นภาระแทรกซ้อนสำ�คัญอันดับ 6 (37) ของโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ จะทำ�ให้เกิดการ ทำ�ลายเนือ้ เยือ่ ของเหงือกและกระดูกเบ้าฟัน เกิดภาวะเหงือกอักเสบ ฟันโยก และในขณะเดียวกันถ้าดูแลช่องปาก ไม่ดี มีการติดเชื้อของเหงือก ก็จะมีผลทำ�ให้ควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือดยากด้วย (รายละเอียดในบทที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติและรอยโรคในช่องปาก)
ดังนั้น การให้คำ�แนะนำ�ในการดูแลสุขภาพร่างกายและการดูแลในช่องปากที่เหมาะสม จะสามารถช่วยให้ ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือดได้ดี ลดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทั้งระยะสั้นและยาวได้
30
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน(36,37) ผูป้ ว่ ยเบาหวานพึงรูข้ อ้ มูล และพึงตระหนักว่า ตนเองมีภาวะเสีย่ ง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในช่องปาก ได้ง่ายตามที่กล่าวข้างต้น แต่สามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้โดย - การดูแลอนามัยช่องปากที่ดี เช่น การดูแลความสะอาดของฟัน/เหงือก ฟันปลอมที่ถูกต้อง - การควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือดให้คงที่สม่ำ�เสมอ โดยควบคุมอาหารหวาน หมั่นออกกำ�ลังกาย รับประทานยา และตรวจเช็คตามที่แพทย์กำ�หนด - การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคติน และความร้อนจากการเผาไหม้จะเพิ่ม ความเสี่ยงต่อโรคปริทันต์ และการสูญเสียฟัน - การได้รับการตรวจ คัดกรอง หาความผิดปกติของช่องปากจากทันตแพทย์ทุก 6 เดือน กรณีไม่มีฟัน ในช่องปาก ควรพบทันตแพทย์ทุก 12 เดือน เพื่อตรวจเฝ้าระวัง ความผิดปกติของเนื้อเยื่อใน ช่องปากด้วย นอกจากนี้ อาจบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น และนวดต่อมน้ำ�ลายเพื่อกระตุ้นการทำ�งานของช่องปากให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น (รายละเอียดอยู่ในข้อแนะนำ�ทั่วไปในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ)
การเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
- - - - -
+ ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากในผูส้ งู อายุทไี่ ด้รบั รังสีรกั ษาและ/หรือ เคมีบำ�บัด
ผูป้ ว่ ยเบาหวานทีม่ กี ารคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือดอย่างดี สามารถรับบริการทันตกรรมได้ทกุ ชนิด ยกเว้น กรณีมีโรคแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับบริการ การนัดหมายเวลารักษาทางทันตกรรม ควรเป็นช่วงที่ผู้ป่วยได้รับอินซูลินแล้วตั้งแต่ 30 นาที จนถึง 8 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของอินซูลิน ส่วนใหญ่แนะนำ�ให้รับบริการช่วงเช้า รับประทานอาหารให้เรียบร้อย ตามมื้อปกติ ไม่ควรให้ผู้ป่วยเครียดก่อนมารับบริการ เพราะจะกระตุ้นให้เกิดน้ำ�ตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีการตรวจวัดน้ำ�ตาลด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้ผู้ป่วยนำ�อุปกรณ์ที่ใช้วัดมาด้วย
ผลข้างเคียงของการบำ�บัดโรคมะเร็งด้วยรังสีรักษาและ/หรือเคมีบำ�บัด อาจทำ�ให้เกิดอาการ ในช่องปาก ดังนี้(41-43,45) 1. ช่องปากแห้ง ตึง เนื่องจากต่อมน้ำ�ลายฝ่อลีบ ผลิตน้ำ�ลายน้อยลง การไหลของน้ำ�ลายลดลง น้ำ�ลายเหนียวข้น กลืนลำ�บาก เนื้อเยื่อต่างๆ ระคายเคือง เป็นแผล มีอาการปวดแสบ ปวดร้อนได้ง่าย อาจพบแผลมุมปากร่วมด้วย 2. มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ในช่องปาก โดยเฉพาะเชื้อรา และการติดเชื้อทางระบบได้ง่าย 3. ฟันผุง่ายครั้งละหลายซี่ เนื่องจากไม่มีน้ำ�ลายช่วยชะล้างอาหาร หรือช่วยปรับสมดุล ภาระ กรด-ด่าง ในช่องปาก ทำ�ให้ฟันเกิดการสูญเสียแร่ธาตุง่ายและเร็วกว่าปกติ
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
31
4. ลิ้นอาจบวมแตก แห้ง หรือมีอาการปวดแสบ ปวดร้อน ความสามารถในการรับรสชาติ เปลี่ยนไป 5. การเคลื่อนไหวของขากรรไกรลดลง ทำ�ให้ความสามารถในการเคี้ยว การพูด ลดลง
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่ได้รับรังสีรักษา และ/หรือเคมีบำ�บัด ผูส้ งู อายุทไี่ ด้รบั รังสีรกั ษา และ/หรือเคมีบ�ำ บัด พึงดูแลช่องปากตนเองเพือ่ ลดความไม่สบาย และลดความ เสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก ดังนี้(41-44) 1. ควรดูแลความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้อง สม่ำ�เสมอ โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในผู้ป่วยบางคนอาจมีปัญหาทนต่อกลิ่น รส ของยาสีฟันเดิมไม่ได้ ก็ควร เลือกยาสีฟันกลิ่นใหม่ ที่ยังคงมีฟลูออไรด์ และไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อรวมทั้งควรทำ�ความสะอาด ซอกฟัน ด้วยการใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟัน 2. ควรสร้างเสริมความแข็งแรงของตัวฟัน ด้วยการใช้น้ำ�ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ หรือ ใช้ฟลูออไรด์ เจล ที่บ้านทุกวัน(1.1% NaFgel หรือ 0.4% Unflavored standard Fgel) นอกเหนือจากการใช้ ยาสีฟันฟลูออไรด์ สม่ำ�เสมอ เพื่อกระตุ้นการกลับคืนแร่ธาตุ ไปยังผิวฟัน เพื่อทำ�ให้ฟันผุเกิดช้าลง ซึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็นมากสำ�หรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ 3. อมบ้วนปากด้วยสารละลายเบคกิ้งโซดาและเกลือ (solution of baking soda and salt) แล้วบ้วน ตามด้วยน้ำ�เปล่า จะช่วยลดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หลังการรักษา (การผสมสารละลายเบคกิ้งโซดา และเกลือ ทำ�ได้โดย ใช้น้ำ�อุ่น 1 แก้ว ผสมกับเบคกิ้งโซดา 1/4 ช้อนชา และเกลือ 1/8 ช้อนชา คนให้เข้ากัน) 4. กรณีที่มีอาการปากแห้ง น้ำ�ลายแห้ง อาจต้องจิบน้ำ�อุ่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับช่องปากหรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง เคี้ยวพาราฟิน เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำ�ลาย 5. ควรเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควรเป็นอาหารที่มีความนุ่ม ชื้น โดยเฉพาะถ้ามีแผลในปาก อาหารต้องไม่แห้งแข็ง และควรลดอาหารพวกแป้ง น้ำ�ตาล ที่เป็นสาเหตุของฟันผุ 6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ 7. ควรรับบริการ ตรวจ ป้องกัน จากทันตบุคลากร ทุก 4 เดือน โดยการเคลือบฟลูออไรด์เจล การใช้ ฟลูออไรด์วานิชทาบริเวณรอยผุ รวมทั้งรับการรักษาเมื่อเกิดรอยโรค นอกจากนี้ อาจบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น และนวดต่อมน้ำ�ลายเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำ�ลาย และเพิ่มประสิทธิภาพ การทำ�งานของช่องปาก (รายละเอียดใน ข้อแนะนำ�ทั่วไปในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ)
การเข้ารับบริการทันตกรรม(43,45) ในผู้ที่อยู่ในช่วงของการได้รับรังสีรักษา และผู้ที่ได้รับการฉายรังสีแล้ว สามารถรับบริการทันตกรรม พื้นฐาน ที่ไม่ใช่การถอนฟัน หรือทำ�ศัลยกรรมช่องปากได้ แต่ทางที่ดีเมื่อรู้ว่าจำ�เป็นต้องได้รับรังสีรักษาควรไปตรวจ และรับบริการทันตกรรมให้เรียบร้อยก่อน
32
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
+ ข้อแนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
ในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่สามารถ เคลือ่ นไหวได้ ต้องนอน หรือนัง่ อยูก่ บั ที่ หรือมีภาวะป่วยทางจิตทีไ่ ม่สามารถดูแลตนเองได้ จำ�เป็นต้องมีผชู้ ว่ ยเหลือ ดูแลสุขภาพช่องปากให้ ซึ่งการดูแลช่องปากสามารถทำ�ได้ใน 2 ลักษณะ คือ 1. การดูแลทำ�ความสะอาดช่องปากและป้องกันโรค มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ - ให้ผู้สูงอายุรู้สึกช่องปากสะอาดสดชื่น ทำ�ให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น - ป้องกันการเกิดแผล และลดการติดเชือ้ ในช่องปาก เช่น เชือ้ รา ซึง่ อาจมีผลต่อความ รุนแรงของโรคทาง ร่างกาย - ลดความเสี่ยงต่อการเกิดรอยโรค เช่น ฟันผุ ปริทันต์ - ลดความเจ็บปวดหรือความรูส้ กึ ไม่สบาย เพราะการเจ็บปวดไม่วา่ ด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม จะส่งผลต่อระบบการทำ�งานของร่างกาย ความวิตกกังวล ซึมเศร้า และรูส้ กึ โดดเดีย่ ว ทางจิตใจ 2. การช่วยบริหารเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก โดยการช่วยบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น และต่อมน้ำ�ลาย เพื่อช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพ การกลืน การพูด การแสดงความรู้สึกทางใบหน้า รวมถึงกระตุ้นการผลิตน้ำ�ลาย
1. การดูแลทำ�ความสะอาดช่องปากและป้องกันโรค / กรณีผู้สูงอายุสามารถจับแปรงและเคลื่อนไหวมือได้ ควรให้ผู้สูงอายุแปรงฟันเอง หรือช่วย จับมือ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ตนเองมีความสามารถ มีอิสระอยู่ แต่อาจช่วยหาอุปกรณ์ที่ทำ�ให้จับด้ามแปรงได้ถนัด มือยิ่งขึ้น หรือใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า (รายละเอียดในบทการดูแลช่องปากทั่วไป) / กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือ เคลื่อนไหวตัวเองได้ แต่ยังรับรู้ได้(41,48) จะช่วยดูแล ช่องปากได้ดังนี้ 1. การช่วยแปรงฟัน ต้องยกศรีษะผู้สูงอายุขึ้น เพื่อกันการสำ�ลัก โดยให้ผู้สูงอายุอยู่ในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน โดยอาจใช้หมอนหนุนบนเตียง หรือถ้าผู้สูงอายุศรีษะไม่นิ่ง ควรให้ผู้สูงอายุนั่ง ให้ศรีษะพิงผู้ดูแลซึ่งยืนอยู่ด้านหลัง ก็ได้ วิธีช่วยแปรงฟัน - เริ่มด้วยการให้ผู้สูงอายุจิบน้ำ�เล็กน้อย เพื่อให้ช่องปากมีความชื้น - ใช้แปรงสีฟันขนอ่อน และยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เล็กน้อย แปรงฟัน และเหงือกเบาๆ โดยจับมือผู้สูงอายุแปรง หรือแปรงให้ ให้ครบทุกซี่ แต่ควรระวังอย่าใช้แปรงขนาดใหญ่ หรือสอดเข้าไปใน ด้านลำ�คอลึกเกินไป เพราะอาจทำ�ให้อาเจียน
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
33
- หยุ ด พั กให้ ผู้ สู ง อายุ บ้ ว นน้ำ � ลาย หรื อ อมน้ำ � เล็ ก น้ อ ยบ้ ว นลงในชามอ่ า งใบเล็ ก ก่อนแปรงต่อ สลับการหยุดพัก 2-3 ครั้ง - อาจใช้น้ำ�ยาบ้วนปากชนิดผสมฟลูออไรด์ อมบ้วนปากกรณีที่มีฟันเหลืออยู่ในปาก เพื่อป้องกันฟันผุ สำ�หรับน้ำ�ยาบ้วนปากผสมคลอเฮกซิดีน หรือ แบบฆ่าเชื้อโรค ก่อนใช้ควรปรึกษาทันตบุคลากร 2. การดูแลริมฝีปาก ควรดูแลริมฝีปาก โดยเฉพาะมุมปากไม่ให้แห้ง มีรอยแตก เป็นแผล โดยการทาวาสลินหลังแปรงฟัน หลังรับประทานอาหาร 3. ดูแลภายในช่องปากให้ชุ่มชื้น ถ้าช่องปากแห้งควรให้จิบน้ำ�อุ่น 4. กรณีใส่ฟันปลอม ควรมีการถอดออกทำ�ความสะอาดทั้งฟันปลอม และช่องปากของ ผู้สูงอายุทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
/ กรณีผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่รับรู้ สามารถช่วยทำ�ความสะอาดช่องปากได้ โดยใช้ไม้กดลิ้นเปิดช่องปากผู้สูงอายุ ใช้ปากคีบ คีบผ้าก๊อส สำ�ลี ที่ชุบน้ำ�หมาดๆ เช็ดฟัน ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ให้ทั่ว หรือใช้นิ้วพันผ้านุ่มชุบน้ำ�หมาด เช็ดใน ปากให้ทั่วก็ได้ โดยดูว่า
นอกจากนี้ ผู้ดูแลควรจะสังเกตความผิดปกติอื่นๆ ในช่องปากผู้สูงอายุ ขณะทำ�ความสะอาดด้วย
- -
ฟันปลอมของผู้สูงอายุที่ใส่อยู่หลวม หรือเสื่อมสภาพแตกหักไปบางส่วน บาดเนื้อเยื่อในช่องปาก เป็นแผลหรือไม่ มีการอักเสบบริเวณใต้ฟันปลอมหรือไม่ ตรวจดูในปากว่ามีรอยโรคลักษณะอื่นๆ เช่น ฝ้าขาว แผล เนื้องอกเป็นก้อนที่ผิดปกติ เชื้อรา หรือไม่ ถ้าสงสัยให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือทันตบุคลากรเพื่อทำ�การรักษาต่อไป
2. การช่วยบริหารเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก(50)
การช่วยบริหารเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
/ กรณีผู้สูงอายุสามารถเคลื่อนไหวศรีษะ กล้ามเนื้อใบหน้า และเคลื่อนไหวมือได้สามารถบริหาร กล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น และต่อมน้ำ�ลาย ตามขั้นตอนใน ข้อแนะนำ�ทั่วไปในการดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุ
34
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
/ กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือช่วยเหลือตนเองได้ - การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ผู้ดูแลจะเป็นผู้ปฏิบัติให้ โดย 1. ให้ผู้สูงอายุหลับตาวางนิ้วมือ 2. จับบริเวณกลาง ซ้าย ขวา ทั้ง 2 ข้างที่เปลือกตาจากนั้น ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปากบน เคลื่อนนิ้วมือไปรอบๆ อย่าง และล่างโดยใช้นิ้วมือแล้วปล่อยมือ นุ่มนวล 10 วินาที
-
3. ดึงแก้ม โดยดึงทั้งฝั่งซ้ายขวา ปล่อยมือ 10 วินาทีจากนั้น ดึงแก้มขึ้นเล็กน้อยขยับ ไปซ้าย ขวาปล่อยมือ 10 วินาที
การบริหารกล้ามเนื้อลิ้น กรณีที่ไม่สามารถทำ�ได้ด้วยตนเอง ผู้ดูแลจะเป็นผู้ปฏิบัติให้ โดย * ทำ�ก่อนรับประทานอาหาร * ใช้ผ้าก๊อซดึงลิ้นแล้วขยับไปข้างหน้า ทางซ้ายและขวา ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที ทำ�ซ้ำ� 3 ครั้ง * ช่วยให้การเคลื่อนไหวของลิ้น และการหลั่งน้ำ�ลายดีขึ้น
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
35
ภาคผนวก สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลในผู้สูงอายุ บริการสาธารณสุขที่บุคคลมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
มาตรการ 5 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำ�หนดให้ บุคคลมีสิทธิได้รับ บริการสาธารณสุขทีม่ มี าตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขทีบ่ คุ คลจะมีสทิ ธิ ได้รับ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำ�หนด คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 กำ�หนดให้ ใช้ชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” เป็นบริการสาธารณสุขที่บุคคลมีสิทธิได้รับตาม พระราช บัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และได้ใช้ขอบเขตบริการดังกล่าว มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้บริการดัง กล่าวจะเป็นไปตามหลักการดังนี้ 1. เป็นบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขพื้นฐานที่จำ�เป็นต่อสุขภาพและการดำ�รงชีวิตของบุคคลและ ครอบครัว ประกอบด้วย การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการ ฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งบริการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 2. การไปรับบริการสาธารณสุขของบุคคล ให้ไปรับบริการได้ที่หน่วยบริการประจำ�ที่ตนเองได้เลือกขึ้น ทะเบียนไว้ กรณีที่เกินขีดความสามารถหน่วยบริการประจำ� จะเป็นผู้พิจารณาส่งต่อไปรับบริการยังสถานพยาบาลอื่น ตามความเหมาะสมต่อไป กรณีทหารผ่านศึกทีไ่ ม่ใช่ผปู้ ระกันตนตามพระราชบัญญัตปิ ระกันสังคม หรือ ได้รบั สิทธิสวัสดิการรักษา พยาบาลของข้าราชการ สามารถใช้สิทธิที่สถานพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่ง (เนื่องจากเป็นสิทธิที่มีมติคณะรัฐมนตรี รองรับอยู่แล้ว ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 6 วรรคสาม) กรณี ของคนพิการ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับทหารผ่านศึกเช่นกัน 3. กรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน ประชาชนสามารถเข้ารับบริการ ที่หน่วยบริการที่อยู่ในระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสถานพยาบาลอื่นที่ขึ้นทะเบียนกับสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแห่งใดก็ได้ ที่อยู่ใกล้ที่สุด กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินใช้บริการไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี 4. การจัดบริการการแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก ทั้งการตรวจวินิจฉัยโรค การรักษา การส่ง เสริมป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพ ประชาชนผู้มีสิทธิสามารถใช้บริการได้ จะต้องผ่านการตรวจคัดกรองและส่งต่อ โดยแพทย์
36
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
รายละเอียดบริการสาธารณสุขที่บุคคลจะได้รับประกอบด้วย 1. การตรวจรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพทั่วไป 1) การตรวจ วินิจฉัยโรค บำ�บัดและฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา รวมการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายประกอบโรคศิลปะ 2) การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง กรณีบุตรมีชีวิตอยู่ 3) บริการอาหารและห้องผู้ป่วยสามัญ 4 การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำ�ฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาท ฟันน้ำ�นม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ 5) ยาและเวชภัณฑ์ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ 6) การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล 2. การรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง การรักษาพยาบาลทีม่ คี า่ ใช้จา่ ยสูง รวมทัง้ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ (ทัง้ ภายในและภายนอกร่างกาย) ตามที่คณะกรรมการกำ�หนด 3. บริการสาธารณสุขไม่ครอบคลุมการบริการทางการแพทย์ ต่อไปนี้ 3.1 กลุ่มที่เกินกรอบความจำ�เป็นพื้นฐาน 1) การรักษาภาวะมีบุตรยาก 2) การผสมเทียม 3) การเปลี่ยนเพศ 4) การกระทำ�ใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 5) การตรวจ วินิจฉัย และรักษาใดๆ ที่เกินความจำ�เป็นและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 3.2 กลุ่มอื่นๆ 1) โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทคนไข้ในเกิน 180 วัน ยกเว้น หากมีความจำ�เป็นต้องรักษาต่อ เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทาง การแพทย์ 2) การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างค้นคว้าทดลอง 3) การรักษาผูป้ ว่ ยไตวายเรือ้ รังระยะสุดท้าย ด้วยการล้างไต (peritoneal dialysis) การฟอกเลือด (haemodialysis) ด้วยเครื่องไตเทียม 4) การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (organ transplant) 3.3 บริการกลุ่มที่ปัจจุบันมีงบประมาณจัดสรรให้เป็นการเฉพาะ อันได้แก่ 1) โรคจิต กรณีที่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 15 วัน 2) การบำ�บัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด 3) ผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งสามารถใช้สิทธิตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
37
4. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการควบคุมโรค ครอบคลุมบริการ ดังต่อไปนี้ 1) ให้มีและใช้สมุดบันทึกสุขภาพประจำ�วัน ในการดูแลสุชภาพแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง 2) การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ 3) การดูแลสุขภาพเด็ก พัฒนาการ และภาวะโภชนาการของเด็ก รวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรค ตามแผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ 4) การตรวจสุขภาพประชาชนทัว่ ไปและกลุม่ เสีย่ ง (ตามแนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชนไทย จัดทำ�โดยแพทยสภา 2543) 5) การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีเพื่อการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก 6) การวางแผนครอบครัว 7) การเยี่ยมบ้าน (home visit) และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (home health care) 8) การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว 9) การให้คำ�ปรึกษา (counseling) และการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ 10) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ ก. การตรวจสุขภาพช่องปาก ข. การแนะนำ�ด้านทันตสุขภาพ ค. การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำ�คอ ง. การเคลือบหลุมร่องฟัน (ในกลุ่มอายุไม่เกิน 15 ปี)
หน่วยงานภาครัฐที่ดำ�เนินการด้านผู้สูงอายุ 1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1.1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้จัดบริการสำ�หรับผู้สูงอายุ โดย 1.1.1 จัดตัง้ สถานสงเคราะห์คนชรา เป็นทีอ่ ปุ การะผูส้ งู อายุทปี่ ระสบปัญหาทุกข์ยากเดือดร้อน และสมัครใจเข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์ ปัจจุบันมีศูนย์สาธิต จำ�นวน 7 แห่ง ได้แก่ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร / สถานสงเคราะห์คนชราบางละมุง ชลบุรี/ สถานสงเคราะห์คนชราธรรมปกรณ์เชียงใหม่ / สถานสงเคราะห์คนชราบ้านทักษิณ ยะลา/ สถานสงเคราะห์คนชราวาสนะเวศม์ พระนครศรีอยุธยา / สถานสงเคราะห์คน ชราภูเก็ต และ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบุรีรัมย์
38
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
1.1.2 จัดตัง้ ศูนย์บริการทางสังคมผูส้ งู อายุ ( Day Centre ) ทีม่ กี ารจัดบริการ ทัง้ แบบ บริการ ภายในศูนย์ ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย สังคมสงเคราะห์ กิจกรรมเสริมรายได้ นันทนาการ กิจกรรมเสริมความรู้ เป็นด้น และ บริการบ้านพักฉุกเฉิน ซึ่งเป็นบริการช่วยเหลือ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเดือดร้อนเฉพาะหน้า หรือ ประสานเพื่อ ส่งไปรับการช่วยเหลือจาก หน่วยงานอื่น ปัจจุบันมี 7 แห่ง ได้แก่ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น / ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุบางละมุง ชลบุรีศูนย์บริการผู้สูงอายุบางแค และ ศูนย์บริการผู้สูงอายุบ้านทิพย์สุคนธ์ กรุงเทพมหานคร /ศูนย์บริการผู้สูงอายุปิยะมาลย์ และศูนย์บริการผู้สูงอายุเชียงใหม่ / ศูนย์บริการบ้านบุรีรัมย์ 1.1.3 จัดหน่วยเคลื่อนที่ สำ�หรับเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุตามบ้าน นำ�ข้อมูลข่าวสารบริการไป เผยแพร่การให้บริการในด้านคำ�แนะนำ�และการรักษาพยาบาลเล็กๆ น้อยๆ 1.1.4 สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ โดยจัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุในวัด หรือสถาบันศาสนาอื่นๆ เช่น โบสถ์ มัสยิด โดยชุมชน จัดกิจกรรม ตามความต้องการ ของชุมชนนั้น 1.1.5 การสงเคราะห์เครือ่ งอุปโภค บริโภค เครือ่ งช่วยความพิการ และอืน่ ๆ ตามสภาพปัญหา 1.1.6 การจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานให้ นายจ้างที่มีความประสงค์ต้องการต่อไป 1.2 สำ�นักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ เสนอแนะนโยบาย แนวทาง กำ�หนดมาตรฐาน สนับสนุนเครือข่าย ในการส่งเสริมการใช้ศกั ยภาพ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ และการจัดสวัสดิการสังคมสำ�หรับผู้สูงอายุ รวมทั้งกำ�กับ ดูแล ติดตามประเมินผล การดำ�เนินงานด้านผู้สูงอายุ 1.3 สำ�นักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุน เงินอุดหนุนแก่อ งค์ ก รเอกชนมู ล นิ ธิ ที่ ดำ �เนิ น งานด้ า นผู้ สู ง อายุ ตั้ ง แต่ ปี 2517 เป็นต้นมา 2. กระทรวงแรงงาน 2.1 สำ�นักงานประกันสังคม มีพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ได้ขยาย ความคุ้มครองการประกันสังคมกรณีชราภาพ โดยเริ่มดำ�เนินการวันที่ 31 ธันวาคม 2541 โดยส่งเงินสมทบเป็น ร้อยละ ของรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตน ทั้งนี้ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ 2.2 กรมการจัดหางาน หน่วยงานศูนย์กลางติดต่อประสานให้แก่ผู้สูงอายุที่ต้องการทำ�งาน และบริษัทต่างๆ ที่ต้องการ รับผู้สูงอายุเข้าทำ�งาน ซึ่งกรมการจัดหางานจัดตั้งดำ�เนินการในทุกจังหวัด
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
39
2.3 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หน่วยงานฝึกอบรมเกี่ยวกับ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งฝึกอบรมทักษะ อาชีพต่างๆให้แก่ผู้สูงอายุ ที่สนใจ 3. กระทรวงศึกษาธิการ 3.1 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) บริการการศึกษานอกโรงเรียนสำ�หรับผู้สูงอายุ เผยแพร่ให้ความรู้ในการดำ�เนินชีวิต เช่น อาชีพ สุขภาพ กฎหมาย โภชนาการ โดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 3.2 สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (ส.ช.) หน่วยงานจัดทำ�หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งติดตามและควบคุมการดำ�เนินงานของหน่วย งานภาครัฐและเอกชน ที่ดำ�เนินการสอนตามหลักสูตรนี้ 4. กระทรวงวัฒนธรรม 4.1 สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ทำ�หน้าที่รวบรวม คัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ทรงคุณค่าภูมิปัญญาไทย ที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามและคงเอกลักษณ์ในสังคมไทย 5. กระทรวงสาธารณสุข 5.1 กรมอนามัย พัฒนาส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังป้องกันรักษา ฟื้นฟูสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ เช่น การเผยแพร่ ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ การอบรม สัมมนา การใช้สมุดบันทึกสุขภาพ การจัดทำ�คู่มือดูแลผู้สูงอายุ การพัฒนาบุคลากร ในการให้บริการ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อหารูปแบบการดำ�เนินงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5.2 สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์พัฒนาคุณภาพ การบริการให้ได้ มาตรฐานครอบคลุม โดยมุ่งเน้นการบริการเชิงรุกสู่ชนบท ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของ ตนเอง ผ่านทางระบบสาธารณสุขมูลฐาน รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ผ่านสื่อต่างๆ 5.3 กรมสุขภาพจิต หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ จัดทำ�โครงการรณรงค์ต่างๆ เผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ โดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งรับปรึกษาปัญหาทางโทรศัพท์หมายเลข 1667
40
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
5.4 สำ�นักงานประกันสุขภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำ�เนินการ ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลแก่กลุ่มผู้สูงอายุ 5.5 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) หน่วยงานด้านวิชาการที่ศึกษาวิจัย หรือสนับสนุนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการศึกษา เรื่องเกี่ยวกับผู้สูงอายุในประเด็นต่างๆ และเผยแพร่สู่สาธารณชน
6. กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดย - การให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ประสบปัญหาความเดือดร้อน - การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์ ทำ�กิจกรรม ร่วมกัน - การจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร และศูนย์บริการสาธารณสุข ให้บริการ โดยไม่คิดมูลค่าและครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ - การจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติประจำ�ปี - การประสานงาน และสร้างเครือข่าย - การจัดทำ�บัตรประจำ�ตัวประชาชนสำ�หรับผู้สูงอายุ - การจัดหน่วยเคลื่อนที่เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุในชุมชน - การรับถ่ายโอนภารกิจ (ในปี 2546) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค 2 และศูนย์บริการทาง สังคมผู้สูงอายุ ดินแดง
7. กระทรวงมหาดไทย 7.1 กรมการพัฒนาชุมชน สนับสนุนส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความชำ�นาญเฉพาะด้าน ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อ ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และช่วยเหลือสังคม รวมทั้งจัดกิจกรรมฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี 7.2 กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำ�หน้าที่เกี่ยวกับภารกิจปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรับผิดชอบงานเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 300 บาท/ คน/เดือน กิจกรรมในชุมชนทีเ่ กีย่ วกับผูส้ งู อายุ และภารกิจสถานสงเคราะห์คนชรา 13 แห่ง ได้แก่ สถานสงเคราะห์ คนชรา จำ�นวนที่บ้านโพธิกลาง นครราชสีมา/บ้านธรรมปกรณ์วัดม่วง นครราชสีมา / บ้านเขาบ่อแก้ว นครสวรรค์ / บ้านจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี / บ้านอู่ทอง-พนังตัก จังหวัดชุมพร/ บ้านมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม / บ้านนครปฐม จังหวัดนครปฐม/ วัยทองนิเวศน์ เชียงใหม่ / บ้านศรีตรัง / บ้านบางแค 2 กรุงเทพมหานคร / บ้านลพบุรี จังหวัดลพบุรี / เฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) นครปฐม / เฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อลำ�ใย อุปถัมภ์) กาญจนบุรี
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
41
ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ 11 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุดินแดง กรุงเทพมหานคร /ศูนย์ศรีสุคต พิษณุโลก / ศูนย์โพธิ์กลาง นครราชสีมา / ศูนย์ทักษิณ ยะลา / บ้านธรรมปกรณ์ วัดม่วง นครราชสีมา / ศูนย์วัยทอง เชียงใหม่ / ศูนย์ลพบุรี ลพบุรี / ศูนย์บ้านบางแค 2 กรุงเทพมหานคร / ศูนย์ศรีตรัง จังหวัดตรัง / ศูนย์อู่ทอง-พนังตัก ชุมพร / ศูนย์ผู้สูงอายุเพชรทองคำ� กรุงเทพมหานคร 8. กระทรวงคมนาคม บริการลดค่าโดยสารรถไฟครึ่งราคาช่วงเดือนมิถุนายน–กันยายน ของทุกปี ตลอดจนจัดที่นั่งสำ�หรับ ผู้สูงอายุในรถประจำ�ทาง และรณรงค์ให้ประชาชนเอื้อเฟื้อที่นั่งแก่ผู้สูงอายุ 9. กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา 9.1 การกีฬาแห่งประเทศไทย มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน โดยใช้กีฬาเป็นสื่อ ในส่วนผู้สูงอายุได้จัดทำ�โครงการและกิจกรรม เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการให้ บริการทางวิชาการโดยจัดทำ�เป็นเอกสาร คู่มือต่างๆ แผ่นโปสเตอร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นสื่อเผยแพร่ 10. สำ�นักนายกรัฐมนตรี 10.1 กรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สอื่ เกีย่ วกับผูส้ งู อายุ ตลอดจนรณรงค์ให้ประชาชนและสือ่ มวลชน ให้เห็นความสำ�คัญของผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจของหน่วยงานอื่นๆ ในเรื่องทำ�หน้าที่พิทักษ์ คุ้มครองสิทธิแก่ ผู้สูงอายุทางด้านกฎหมาย เช่น กระทรวงยุติธรรม รวมทั้งหน่วยงานที่ทำ�หน้าที่ในการศึกษาวิจัย เผยแพร่ความรู้ แหล่งวิชาการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลงานแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เช่น วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น
42
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
เอกสารอ้างอิง 1. สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ สำ�นักนายกรัฐมนตรี. 2546. การคาดประมาณประชากรจำ�แนกตามหมวดอายุ และเพศ พ.ศ.2533-2563 (http://WWW.nso.go.th / thai/stat) 2. United Nations. Policies and Programmes for Older Persons in Asia and the Pacific : Selected studies, Social Policy Paper No.1. New York, 2001: 3-7 3. World Health Organization. http://www.who.int/country/en. 4. คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ สำ�นักนายกรัฐมนตรี.แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545-2564. กรุงเทพมหานคร 2545:7-18 5. สารประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 12 ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 6. สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล : สถานะของประชากรสูงอายุไทยในปัจจุบัน และการดำ�เนินการต่างๆ ของประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและพฤฒาวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ.2543 7. สถาบันวิจยั ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส). สุขภาพคนไทย 2546. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, สำ�นักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ(สสส): 10 8. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมษายน 2545. รายงานผลการสำ�รวจสภาวะทันต สุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2543 – 2544: 7-10 9. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. การสำ�รวจสุขภาพประชากรอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปในประเทศไทย ปี พ.ศ.2538 กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ พ.ศ.2540 10. สำ�นักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการส่งเสริมสุขภาพที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ สำ�หรับบุคลากรสาธารณสุข, เมษายน 2545:21-23 11. Stabb A.S. and Hodge L.C. Essentials of gerontological nursing, New York 1996 12. ประคอง อิ น ทรสมบั ติ . การพยาบาลผู้ สู ง อายุ : สู่ วั ย สู ง อายุ ด้ ว ยคุ ณ ภาพ.กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม,สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย,สมาคมสภาผู้สูงอายุ แห่งประเทศไทย,2542: 236-7 13. บรรลุ ศิรพิ านิช. ผูส้ งู อายุไทย: ความเปลีย่ นแปลงของร่างกายและการทำ�งานของร่างกายเมือ่ เข้าสูว่ ยั สูงอายุ. สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย,2542:24-25,59-86 14. งานวัยทำ�งานและผู้สูงอายุ กลุ่มงานพัฒนาวิชาการ เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ โครงการ พัฒนาบุคลากรสาธารณสุข เพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป, โรงพยาบาลชุมชน,ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต1. ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 1 บางเขน กรุงเทพฯ. มีนาคม 2543:19 15. Aw TC. Lepex ,Johnson GH, Manel L. Characteristics of noncarious cervical lesions: a Clinical investigation. J Am Dent Assoc 2002; 133:725-33
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33.
43
Kelleher M, Bishop K, Tooth surface loss: an overview. Br Dent J 1999; 186:61-6 Asawaworarit N, Nakaparksin J , Traiyalaksana N. Tooth wear Part I : Prevalence and etiology. J Dent Assoc Thai 2003;53(4):276-85 Joshi A, Papas AS, Giunta J. Root caries incidence and associated risk factors in middle-aged and older adults. Gerodontal 1993;10:83-9 Powell LV, Manel LA,Senft GD. Exploration of prediction models for caries risk assessment of the geriatric population. Com Dent Oral Epid 1991;19:291-5 Beck JD, Koch GG, Rozier RG, Tudor GE. Prevalence and risk indicators for periodontal attachment loss in a population of older community-dwelling blacks and whites. J Perio 1990;61:521-8 Locker D and Leake JL. Risk indicators and risk markers for periodontal disease experience in older adult living independently in Ontario,Canada. J Dent Res 1993;72:9-17 Tanakun S, Dharmbhibhit J. A Retrospective Study of Oral Lichen Planus in Thai Patients Referred to the Department of oral Medicine, Mahidol University: 106 cases. J Dent Assoc Thai 1996;46(5-6):273-8 Daniel J. Caplan and Ronald J. Hunt; Salivary flow and risk of tooth loss in an elderly population., Community Dent Oral Epidemiol 1996;24:68-71 Medical Problem in the clderl, dental care of the elderly 1995 ทพ.ญ.พวงทอง เล็กเฟื่องฟู บุหรี่กับโรคปริทันต์ ใน : กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย คู่มือสำ�หรับ ทันตบุคลากร วิธีช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ 2545 รศ.ทพ.ญ.ลัคนา เหลืองจามีกร ยาสูบกับรอยโรคในช่องปาก ใน : กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย คู่มือ สำ�หรับทันตบุคลากร วิธีช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ 2545 Vissink A, Spijkervet F, Amerongen A. Aging and saliva : A leview of The literature. Spec Care in Dent 1996;16(3):95-102 Brodeur J-M, Laurin D, Vallee R, Lachapelle D. Nutrient intake and gastrointestinal disorders related to masticatory performance in the edentulous elderly. J Prost Dent 1993; 70 : 468-73 Walls WGA, steele JG, Sheiham A, Marcenes W, Moynihan P. Oral health and nutrition in older People. J Public Health Dent 2000; 60:304-7 Oliver M, Laurin D, Brodeur JM, Boivin M, Ledue N, Levy M, et al. Prosthetic relining and dietary counselling in elderly women. J Can Dent Assoc 1995; 61:882-6 Mintzer J, Burns A. Anticholinergic side-effects of drugs in elderly people. J R Soc Med 2000;93:457-62 สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์. คู่มือการตรวจวินิจฉัยมะเร็งในช่องปากระยะเริ่มแรก. สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2547. http:// www.simplestepsdental.com. Xerostomia(Dry Mouth). Reviewed by The Faculty of The University of Pennsylvania School of Dental Medicine. Last updated February 24, 2003.
44 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ Edmomson EMS. Food composition and food cariogenicity factors affeating the cariogenic potential of foods. Caries Res 1990;24(suppl 1):60-71 Simonova MV, Grinin VM, Nasonova VA, Robustova TG. Clinical factors ossentral or dental cons intensity in rheimatic patients I Am Dent 2002 Jani; 133(1) : 73-81 Diabetes and Oral health. JADA 2002; 133:1299 ดาวเรือง แก้วขันตี. โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก. http://www.anamai.moph.go.th/oralhealth/PR/ E-book/diabetes.pdf Ramirez A, Saldanha PH. Micronucleus investigation of alcoholic patients with oral carcinomas. Genet Mol Res 2002, Sep 30: 1(3) : 246-60. Griffiths J, Boyte S. Aids to oral Self-care,Rehabilitation and Independence Clinical skills series:Guide to Holistics Oral care a practical approach.Professional Nurse Mosby:112-125 Cochran DL, Kalkwrf L, Buunsvold A. Plaque and calculus Removal: Considerations for the Professional 1994 Preventive Dentistry for the older Adult. Grritric Dentrstry, 1996 : 320-325 Oral care for camcer patients, JADA 2002; 133:1014 Joyston-Bechal S. Prevention of dental discases Following radiotherapy and chemotherapy Int Dent J 1992; 42:47-53 Massler CF. Preventing and treating The oral complications of caneer the rapy. Gen Dent 2000; 48:652-5 Prapayasatok S, Pongsiriwet S, Lamaroon A, Sribun P, Jittide charaks S, Pattanaporn K, Wangchantararak S, Chitapanaryx I. Oral Health status of Northern Thai Patidents Undergoing Radiotherapy for Head and Neak Cancer. I. Dent Assoc thai Vol 54 No 1, 2004:1-6 สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษาทางทันตกรรมผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ฉบับที่ 1 พ.ศ.2546: 10-11, 23-24 นิพนธ์ พวงวารินทร์. โรคหลอดเลือด (stroke). ฉบับเรียง ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร; 2544 สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายสำ�หรับประชาชน. สถานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข : 22-24 องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย. เพื่อรอยยิ้มใส…วัยสูงอายุ Mionru k, Chiyoko H. Oral Muscle Exercise 1 2 3. Fujisawa public health and welfare center, Health and consulting office, Tokyo, Japan. Carretero-Pelaez A, Esparza-Gomez GC, Figuero-Ruiz E, Cerero-Lapiedra R. Alcohol-containing mouth-washes and oral cancer. Critical analysis of literature. Med Oral 2004; 9 : 116-23. Chiba I, Muthumala M, Yamazaki Y, et al. Characteristics of mutations in the p53 gene of oralsquamous-cell carcinomas associated with betel-quid chewing in Sri Lanka. Int J cancer. 1998 Sep 11;77(6) : 839-4
เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
45
ขอบคุณจากใจ คณะผู้จัดทำ� - - -
คณะผู้จัดทำ� ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงต่อผู้มีส่วนร่วม ในการจัดทำ�หนังสือฉบับนี้ ขอบคุณ ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย ที่ได้ให้การสนับสนุนการจัดทำ� ขอบคุณ ทพ.ญ.ดาวเรือง แก้วขันตี ที่กรุณาให้ข้อมูล อ่านฉบับต้น และให้ความคิดเห็น ปรับปรุงข้อมูล ให้ถูกต้อง ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ขอบคุณ ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์, ทพ.ญ.เพ็ญแข ลาภยิ่ง, คุณสุวิภา อนันต์ธนสวัสดิ์ ที่กรุณาให้ข้อมูล เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม หากยังมีความบกพร่องประการใด คณะผู้จัดทำ�ขอน้อมรับไว้ เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ในโอกาสต่อไป