หน่วยงานดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2554

Page 1

หน่วยงานดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในมหกรรมการประชุมวิชาการ ในโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผูส้ ูงอายุ ครั้งที่ ๒ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

๑๑-๑๒ มกราคม ๒๕๕๕ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี


บทนํา จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทั่วโลก จากที่เคยมีเด็กจํานวนมาก ปัจจุบัน สัดส่วนรวมทั้งจํานวนเด็ก ลดลง และได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) ซึ่งหมายถึง การมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากร ทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ กรมอนามัย โดยสํานักทันตสาธารณสุข ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย และทันตบุคลากรทั่วประเทศ จึงได้พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี รูปแบบ แนวทางด้านการสร้างเสริม สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ซึ่งเป็นปัญหาหลักใน กลุ่มผู้สูงอายุไทย จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๔ มีการจัดกิจกรรมหลักเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ภายใต้โครงการฟันเทียม พระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๓ กิจกรรมหลัก ได้แก่ ๑. การใส่ฟันเทียมทั้งปากหรือเกือบทั้งปากทดแทนฟันที่สูญเสียไป ๒. การดูแลสุขภาพช่องปากตนเองผ่านทางชมรมผู้สูงอายุ ๓. การพัฒนารูปแบบ/แนวทางการจัดบริการส่งเสริมป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์ เพื่อลดการสูญเสียฟัน ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมอนามัยได้จัดมหกรรมการประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงห่วงใยสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุไทย และเพือ่ ค้นหาหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นต้นแบบพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ทั้ง รูปแบบ/ แนวทางการดําเนินงาน การบริหารจัดการ ตลอดจนสร้างขวัญ กําลังใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมอนามัยจึงได้ กําหนดเกณฑ์การคัดเลือกหน่วยงานดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากรายงานผลสัมฤทธิ์ การดําเนินงานในพื้นที่ และจําแนกหน่วยงานดีเด่นเป็น ๗ ประเภท ได้แก่ ๑. จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๒. จังหวัดดีเด่นด้านการจัดบริการฟันเทียมพระราชทาน ๓. โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๔. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดีเด่นด้านการจัดบริการป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ๕. ศูนย์อนามัยดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๖. แหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๗. ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต

สํานักทันตสาธารณสุข กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมวัยทํางานและผู้สูงอายุ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๕


คัดเลือกจังหวัดที่มีผลการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในภาพรวมของจังหวัด โดยแบ่งจังหวัด เป็น ๓ ขนาด ตามจํานวนอําเภอ จังหวัดขนาดเล็ก ๓-๘ อําเภอ (๓๒ จังหวัด) จังหวัดขนาดกลาง ๙-๑๖ อําเภอ (๓๓ จังหวัด) และจังหวัดขนาดใหญ่ มากกว่า ๑๖ อําเภอ (๑๑ จังหวัด) มีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้ ๑. มีรายงานการจัดบริการใส่ฟันเทียม ตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน (ฟันเทียมทั้งปาก หรือเกือบทั้ง ปาก) ได้ตามเป้าหมายที่กําหนด หรือเกินกว่าเป้าหมายที่กําหนด ๒. มีรายงานชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ครอบคลุมทุกอําเภอ อย่างน้อย ๑ อําเภอ ๑ ชมรม (จังหวัดขนาดใหญ่ครอบคลุมร้อยละ ๙๐ ของจํานวนอําเภอ) ๓. มีรายงานการจัดบริการทันตกรรมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ ครอบคลุมทุกอําเภอ อย่างน้อย ๑ อําเภอ ๑ หน่วยบริการ ซึ่งบริการดังกล่าวประกอบด้วย ๑) การตรวจสุขภาพช่องปาก ๒) การให้คําแนะนําหรือการฝึกทักษะใน การควบคุมคราบจุลินทรีย์ ๓) การใช้ฟลูออไรด์วานิชป้องกันรากฟันผุ และ ๔) การขูดหินน้ําลายป้องกันปริทันต์อักเสบ (จังหวัดขนาดใหญ่ครอบคลุมร้อยละ ๙๐ ของจํานวนอําเภอ) จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ปี ๒๕๕๔ ได้แก่ ๑. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกําแพงเพชร ๒. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ๓. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ๔. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก ๕. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลําปาง ๖. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ๗. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอํานาจเจริญ


จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกําแพงเพชร จากการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดกําแพงเพชร ปี ๒๕๕๓ พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันแท้ที่ สามารถใช้งานได้ ๒๐ ซี่ขึ้นไป ร้อยละ ๕๒.๖๓ มีฟันใช้เคี้ยวอาหารจํานวน ๔ คู่สบ ทั้งฟันแท้และฟันเทียม ร้อยละ ๔๔.๗๗ ซึ่งยังมีจํานวนฟันคู่สบต่ํากว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดของสํานักทันตสาธารณสุข ซึ่งกําหนดว่า ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่าง เหมาะสมจํานวน ๔ คู่สบ ร้อยละ ๕๑ จึงดําเนินการจัดระบบการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้ผู้สูงอายุ ขยาย การดําเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุให้ครอบคลุมพืน้ ที่ทั้งหมด ๑๑ อําเภอ จังหวัดกําแพงเพชร โดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลภาครัฐ ดําเนินโครงการฟันเทียม พระราชทาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน มีผลงานการใส่ฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุ จํานวน ๓,๗๖๐ ราย และมีผลการ ดําเนินงาน ได้เกินเป้าหมาย และจัดส่งรายงานได้ทันตามระยะเวลาที่กําหนด ผู้สูงอายุใส่ฟันเทียมตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน จังหวัดกําแพงเพชร ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ปีงบประมาณ เป้าหมาย (คน) ผู้สูงอายุได้ใส่ฟันเทียม (คน) ๒๕๕๒ ๔๘๓ ๔๘๙ ๒๕๕๓ ๕๖๑ ๕๖๕ ๒๕๕๔ ๖๑๕ ๗๑๕ ดําเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุเมื่อปี ๒๕๕๓ โดยคัดเลือก ชมรมผู้สูงอายุนําร่อง ๒ ชมรม ได้แก่ ชมรมผู้สูงวัยเทศบาลตําบลลานกระบือ อ.ลานกระบือ และชมรมเสริมสร้างผู้อาวุโส (อส.) เทศบาลตําบลพราน กระต่าย อ.พรานกระต่าย พัฒนาเป็นชมรมต้นแบบของจังหวัดปี ๒๕๕๔ ได้ดําเนินงานครอบคลุมทุกพื้นที่ ๑๑ อําเภอ เกิด กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุครอบคลุมทุกพื้นที่ เช่น การตรวจสุขภาพช่องปากในชมรมโดยทันตบุคลากร การแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกครั้งที่มีการประชุม/อบรม หรือดําเนินกิจกรรมในชมรม ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมให้ความรู้ เล่านิทาน เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เกิดนวัตกรรม น้ํายาบ้านปากสมุนไพร และเม็ดแป้งย้อมสี ฟัน ด้านการจัดบริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ในกลุ่มผู้สูงอายุ เริ่มให้บริการเมื่อปี ๒๕๕๔ โดยนําร่องใน พื้นที่ที่มีความพร้อม ๙ อําเภอ และขยายการดําเนินงานเต็มพืน้ ที่ทั้ง ๑๑ อําเภอ ปี ๒๕๕๓ ผลการให้บริการทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุตามชุดสิทธิประโยชน์ ปี ๒๕๕๒–๒๕๕๔ ปี ตรวจฟันและให้คําแนะนํา การใช้ฟลูออไรด์วานิช การขูดหินปูนและขัดฟัน งบประมาณ เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ ๒๕๕๒ ๗๐๐ ๗๑๙ ๑๐๐ ๗๐๐ ๑๕๗ ๒๒.๔๒ ๗๐๐ ๓๘๒ ๕๔.๗๑ ๒๕๕๓ ๗๕๐ ๗๕๗ ๑๐๐ ๗๕๐ ๒๔๔ ๓๒.๕๓ ๗๕๐ ๔๗๙ ๖๓.๘๗ ๒๕๕๔ ๖๕๐ ๗๑๔ ๑๐๐ ๖๕๐ ๒๘๘ ๔๔.๓๑ ๖๕๐ ๕๐๔ ๗๗.๕๔


จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง จังหวัดมีการดําเนินการกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ โดย สร้างสุขนิสัยในการดูแล ความสะอาดช่องปากแก่ผู้สูงอายุ จัดระบบบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามความจําเป็น และสร้างการมีส่วนร่วม ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มีผลการดําเนินงาน ได้แก่ ๑. ผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่ฟันเทียมฐานพลาสติกทั้งปาก หรือเกือบทั้งปาก (๑๖ ซี่ขึ้นไป) ตั้งแต่ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึง กันยายน ๒๕๕๔ (เป้าหมายจํานวน ๓๗๐ ราย โดยปีงบ ๒๕๕๔ กําหนดให้ทันตแพทย์ ๑ คน ให้บริการใส่ฟัน เทียมผู้สูงอายุ ๑๐ คน) จํานวน ๔๕๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๒๒.๗ ๒. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากแก่ผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ ทางทันตกรรม ๓๔ แห่ง ครอบคลุมทุกอําเภอในจังหวัดตรัง และบางอําเภอได้จัดบริการด้านทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุตามชุด สิทธิประโยชน์ในสถานีอนามัยทุกแห่ง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการอย่างทั่วถึง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับ บริการ รวมทั้งเป็นการค้นหาผู้ที่ควรใส่ฟันเทียม ๓. สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โดยบูรณาการทํางาน ร่วมกับสหวิชาชีพ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการขยายชมรมผู้สูงอายุในการจัดกิจกรรม ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกปี ครอบคลุมทุกอําเภอในจังหวัดตรัง จํานวน ๓๓ ชมรม และมีชมรมต้นแบบในการดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุ ๑ อําเภอ ๑ ชมรม ๔. กําหนดตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยให้มีกิจกรรมด้านทันตสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่อง ปากแก่ผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยทุกแห่ง (จํานวน ๑๒๕ แห่ง) คิดเป็นร้อยละ ๖๕ ๕. ค้นหาผู้สูงอายุฟันดี วัย ๘๐ ปี เพื่อเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากและเป็นผู้แทนผู้สูงอายุฟันดี วัย ๘๐ ปี เป็นตัวแทนระดับจังหวัด เข้าร่วมการคัดเลือกระดับเขต และประกวดระดับประเทศ ปี ๒๕๕๔ จํานวน ๑ ราย คือ นางข้ํา สิทธิการ จากชมรมผู้สูงอายุเฉลิมพระเกียรติตําบลตําบลควนเมา อําเภอรัษฎา มาตรการที่ได้ดําเนินการ โดย ๑. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดประชุมชี้แจงโครงการ แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยบริการ รองรับจัดบริการและ สนับสนุนการดําเนินงาน วางแผน กําหนดแนวทาง ในการดําเนินงานตามกิจกรรมของโครงการฯ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ๒. มีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๓. มีการพัฒนาศักยภาพแก่บุคลากรสาธารณสุข ๔. งบประมาณการดําเนินงานกิจกรรมกลุ่มผู้สูงอายุ ปี ๒๕๕๔ จากงบกองทุนทันตกรรม สํานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา ๕. บันทึกข้อมูล และรายงานผลการปฏิบัติงานตามระบบข้อมูลอิเลคทรอนิคส์ทุกสิ้นเดือน เพื่อติดตามความ คืบหน้า และประเมินผลการบรรลุเป้าหมายโครงการ ในวันประชุมหัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุขทุกเดือน ๖. มีการสนับสนุนสื่อต่างๆ ๗. สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุขยายการดําเนินงานตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ในลักษณะของ เครือข่าย ชมรมผู้สูงอายุมีการพบปะ/ชักชวนเพื่อนสมาชิกของชมรมในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง กัน และเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินงานมากขึ้น ๘. มีการรองรับระบบส่งต่อโดยได้จดั ช่องทางพิเศษแก่กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อมารับบริการ ตามโครงการฯ ๙. มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนําเสนอผลงานในระดับจังหวัด ๑๐. พาผู้สูงอายุศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุต้นแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน


จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ จากกระแสพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทําให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงห่วงใยสุขภาพช่องปากของประชาชน ซึ่งส่งผลต่อ สุขภาพและคุณภาพชีวิต ประกอบกับปัญหาสุขภาพในกลุ่มผูส้ ูงอายุ ได้แก่ การสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพจังหวัดบุรีรัมย์ ในปี ๒๕๕๒ พบว่าผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้ ๒๐ ซี่ ร้อยละ ๕๗.๘๒ ผลสํารวจ ปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๕๔.๑ ซึ่งพบว่า ผู้สูงอายุมีการสูญเสียฟันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และฟันที่มีอยู่ ยังพบโรคในช่องปากที่มีโอกาสนําไปสู่การ สูญเสียฟัน โดยเฉพาะรากฟันผุ และโรคปริทันต์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จังหวัดบุรีรัมย์จึงได้แก้ไขปัญหาการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ โดยการจัดบริการใส่ฟันเทียมแก่ ผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุให้สามารถจัดกิจกรรมเพือ่ การดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเอง ลดการสูญเสียฟัน เพื่อให้ ผู้สูงอายุมีฟันเคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสม สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้ดําเนินการโครงการฟันเทียมพระราชทานและ ส่งเสริมสุขภาพสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จังหวัดบุรีรัมย์ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระมหามงคล ๘๔ พรรษา ในปี ๒๕๕๔ แก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟัน ให้ได้รับ บริการใส่ฟันเทียมทดแทน ให้ผู้สูงอายุ มีฟันเคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสม และลดการสูญเสียฟัน การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ดูแล สุขภาพช่องปากของตนเอง ผ่านทางชมรมผู้สูงอายุ วิธีดําเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงทันตบุคลากร โรงพยาบาลชุมชน เพื่อดําเนินกิจกรรมการให้บริการใส่ฟันเทียม ๒. ประชุมวิชาการเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ทันตบุคลากร เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข แกนนําชมรมผู้สูงอายุ ๓. สนับสนุนงบประมาณ เพื่อกระตุ้นการดําเนินกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๔. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และจัดประกวดชมรมผู้สูงอายุด้าน การส่งเสริมสุขภาพช่องปากดีเด่น ระดับจังหวัด ๕. ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานการดําเนินโครงการฯ ผลการดําเนินงาน ๑. ผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ได้รับการใส่ฟันเทียม และได้รับคําแนะนําในการดูแลฟันแท้ และฟันเทียมจํานวน ๘๒๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของเป้าหมาย (๗๙๑ ราย) และผู้สูงอายุได้รับบริการฝังรากฟันเทียม จํานวน ๑๙๖ ราย ๒. มีการจัดบริการทันตกรรมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ ครอบคลุมทุกอําเภอ ๒๓ หน่วยบริการ จํานวน ๙๕๒ ราย คิด เป็นร้อยละ ๑๐๐ ของเป้าหมาย (๒๓ อําเภอ) ซึง่ บริการดังกล่าวประกอบด้วย ๑. ตรวจสุขภาพช่องปาก ๒. การให้คําแนะนําหรือการฝึก ทักษะในการควบคุมคราบจุลินทรีย์ ๓. การใช้ฟลูออไรด์วานิชป้องกันรากฟันผุ ๔. การขูดหินน้ําลายป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ ๓. มีชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ครอบคลุม ๒๒ อําเภอ ๔๐ ชมรม คิดเป็น ๙๕.๖๕ ของเป้าหมาย (๒๓ อําเภอ) ผลการประกวดชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากดีเด่น จังหวัดบุรีรัมย์ ปี ๒๕๕๔ รางวัลชนะเลิศ คือ ชมรม ผู้สูงอายุบ้านหนองบัวเหนือ อําเภอสตึก รองชนะเลิศอันดับ ๑ คือ ชมรมผู้สูงอายุบ้านโคกวัดรักษ์ฟัน อําเภอบ้านกรวด และรองชนะเลิศ อันดับ ๒ คือ ชมรมผู้สูงอายุ บ้านตะโก อําเภอห้วยราช ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ๑. ควรมีการดําเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ๒. การพัฒนาให้มีนวตกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๓. การสนับสนุน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และองค์กรต่างๆ จะช่วยให้การดําเนินกิจกรรมของชมรมผูส้ ูงอายุ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้


จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก สุขภาพช่องปากเป็นประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาในผู้สูงอายุและกระทบต่อคุณภาพชีวิต จากผลการสํารวจสภาวะ ทันตสุขภาพ จังหวัดนครนายก ปี พ.ศ.๒๕๕๓ พบว่า ผู้สูงอายุมีคู่สบฟันหลังเป็นฟันแท้กับฟันแท้ ฟันแท้กับฟันเทียม หรือ ฟันเทียมกับฟันเทียม ๔ คู่ขึ้นไป ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว เพียงร้อยละ ๔๐.๗ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด นครนายก เห็นถึงความสําคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ และความจําเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลด้าน การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การป้องกันโรคในช่องปากอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อจะทําให้ผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ ซึ่งจะส่งผลให้ดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยมีแนวคิดในการจัดกิจกรรม ดังนี้ ๑. สร้างระบบการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุในหน่วยบริการตาม ชุดสิทธิประโยชน์ และเชื่อมต่อกับระบบบริการรักษาทางทันตกรรม ๒. สร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแกนนําในการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง หรือผู้ดูแล รวมทั้งเชื่อมต่อกับระบบบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดย สร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาดช่องปากแก่ผู้สูงอายุ และจัดระบบบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามความจําเป็น ๒. สร้างความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ปญ ั หาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ วิธีการ ๑. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงพยาบาล สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒. จัดการประชุมแนวทางการดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๓. หน่วยบริการดําเนินการจัดบริการตามแนวทางการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๔. ติดตาม กํากับ การดําเนินงานในหน่วยบริการ สรุปและรายงานผล ผลการดําเนินงาน ผู้สูงอายุได้รับบริการใส่ฟันเทียม ปีงบประมาณ เป้าหมาย (ราย) ผลงาน (ราย) ร้อยละ ๒๕๕๔ ๒๘๐ ๓๑๙ ๑๑๓ ๑๕๕๓ ๒๒๐ ๒๕๓ ๑๑๕ ๒๕๕๒ ๒๓๐ ๒๕๘ ๑๑๒ ผู้สูงอายุได้รับบริการทันตกรรมป้องกัน ปีงบประมาณ เป้าหมายตรวจช่องปาก (ราย) ตรวจช่องปาก (ราย) ทาฟลูออไรด์วานิช (ราย) ขูดหินปูน (ราย) ๒๕๕๔ ๕๔๔ ๗๖๑ ๒๗๑ ๓๕๑ ๑๕๕๓ ๓๘๐ ๓๕๗ ๑๔๒ ๒๐๔ ๒๕๕๒ ๕๐๐ ๔๔๕ ๑๔๙ ๒๐๒ ชมรมผูส้ ูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนําชมรมผู้สูงอายุและสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ข้อเสนอในการปรับปรุงหรือเพิ่มกิจกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ - จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ใน หัวข้อ โรคทางระบบกับทันตกรรม การให้สุขศึกษาแก่กลุ่มผู้สูงวัย - ประชาสัมพันธ์ทางสื่อสาธารณะ


จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลําปาง จังหวัดลําปางกําลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว จากข้อมูลประชากร ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ จังหวัดลําปางมี ประชากรผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปกว่าร้อยละ ๑๖.๑๑ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาการสูญเสียทั้งปาก ในขณะที่ผู้ที่ฟันเหลืออยู่ยังมีโอกาส สูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทัง้ จากโรคปริทันต์และรากฟันผุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ ทันตบุคลากรจังหวัดลําปาง จึงเห็นพ้องต้องกันว่าถึงเวลาที่ต้องกําหนดแนวทางที่ชัดเจนในการการจัดบริการสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับ การ ดําเนินงานของ สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยที่ต้องดําเนินการใน ๓ เรื่อง เริ่มจาก การใส่ฟันเทียมในโครงการฟันเทียมพระราชทาน เพื่อให้ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสม (เริ่มดําเนินการ ปี ๒๕๔๘) จากนั้นจึงพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ท่านสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง (เริ่มดําเนินการ ปี ๒๕๔๙) อันจะนําไปสู่การคงสภาพช่องปากที่ดี ในระยะยาว ในขณะเดียวกัน ก็จัดบริการส่งเสริมป้องกันในคลินิกตามชุดสิทธิประโยชน์ (ขูดหินปูน เกลารากฟัน ทาฟลูออไรด์วานิช รวมทั้ง อุดและถอนฟันซี่ที่จําเป็น) เพื่อรักษาสภาพช่องปากที่ดีและป้องกันการสูญเสียฟันเพิ่ม (เริ่มดําเนินการ ปี ๒๕๕๑) ผลการดําเนินงาน โครงการฟันเทียมพระราชทาน : ปัจจุบัน มีผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่ฟันเทียมไปแล้ว ทั้งหมด ๔,๐๒๐ ราย จากเป้าหมาย ๔,๐๗๙ ราย และเพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลในตัวอําเภอได้ จึงมีการออกหน่วยไป ให้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลด้วย เพื่อการบริการที่ใกล้บ้าน โครงการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรม : ปี ๒๕๔๙ สมัครเข้าร่วมโครงการกับศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เริ่มต้น ดําเนินการ ๒ ชมรม ในอําเภอห้างฉัตร และอําเภอแจ้ห่ม โดยประสานกับงานส่งเสริมสุขภาพฯ เพื่อหาข้อมูลในการพิจารณา คัดเลือกคัดเลือกชมรมที่จะดําเนินการ โดยเลือกจากชมรมฯ ที่เข้มแข็ง และมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป (มีสมาชิกชมรมไม่เกิน ๕๐ คน) จากนั้น ประสานกับฝ่ายทันตสาธารณาสุข โรงพยาบาลชุมชน และผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ของโรงพยาบาลเพื่อร่วมกัน กําหนดแนวทางการดําเนินงานในชมรม ซึ่งได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ แกนนําผู้สูงอายุใน ชมรม จากนั้นจึง Empowerment ให้ผู้สูงอายุในชมรมคิด และดําเนินกิจกรรมด้วยตนเอง โดยมีทีมงานสาธารณสุขเป็นเพียงผู้สนับสนุน เท่านั้น กิจกรรมที่เกิดขึ้นในชมรมผู้สูงอายุ ได้แก่ เช่น การแปรงฟัน ย้อมสีฟัน ตรวจฟัน คิดแบบฟอร์มการตรวจฟัน เมื่อดูแลตนเองได้ แล้ว ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งจึงขยายผลงานของตนเองไปในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการไปเยี่ยม/ดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อนผู้ป่วยที่ติด เตียง ออกให้ความรู้ให้แก่เด็กในศูนย์เด็ก โรงเรียน ให้ความรู้ผ่านเสียงตามสาย ตรวจฟันในศูนย์เด็ก ในระดับจังหวัด มีการจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกระตุ้น ติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินงาน ทําให้อําเภออื่นที่ ยังไม่ได้ดําเนินการเห็นรูปแบบในการทํางาน และ อยากทํา ปัจจุบันมีชมรมผู้สูงอายุที่ดําเนินการด้านส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ ทั้งหมด ๕๔ ชมรม ครอบคลุมเต็มพื้นที่ทั้ง ๑๓ อําเภอ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม : เริ่มดําเนินการตั้งปี ๒๕๕๑ จังหวัด ลําปางได้จัดให้บริการครอบคลุมทุกอําเภอ ซึ่งผู้สูงอายุที่มารับบริการมาจาก ๒ ทาง คือ จากคลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาล และจากชมรม ผู้สูงอายุที่แกนนําตรวจฟันและแนะนําให้มารับบริการ โดยมีกิจกรรม ได้แก่ ตรวจสุขภาพช่องปากและโรคทางระบบจากผู้สูงอายุในชมรม ผู้สูงอายุ และคลินิกโรคเรื้อรัง ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคปริทันต์และรากฟันผุ ให้บริการทันตกรรมป้องกันตาม ชุดสิทฺธิประโยชน์ เช่น เคลือบฟลูออไรด์วานิช ขูดหินปูน ควบคลุมคราบจุลินทรีย์ ให้บริการรักษาทางทันตกรรม ตาม Treatment needs และประเมินความจําเป็นในการใส่ฟันเทียม ปัจจุบันจังหวัดลําปางได้มีการดําเนินตามโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ตาม ชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ทั้งหมด ๑,๐๘๔ ราย ตรวจฟัน ๑,๐๘๔ ราย เคลือบฟลูออไรด์วานิช ๓๔๐ ราย ขูดหินปูน ๕๙๘ ราย พึงระลึกเสมอว่า เพราะ ... สุขภาพช่องปากมีผลต่อสุขภาพโดยรวม หากผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี ท่านจะสามารถดูแลตัวเองและคนในชุมชนได้ไม่แพ้ อสม. เพราะเราเชื่อว่า ... “ผู้สูงอายุ มีศักยภาพ มีเวลา มีความตั้งใจ มีความคิดสร้างสรรค์ และมองสุขภาพแบบองค์รวม”


จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ประชากรจังหวัดศรีสะเกษ ๑,๔๕๒,๔๗๑ คน เป็นผู้สูงอายุจํานวน ๑๖๒,๗๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๒ และ จากการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพของจังหวัดศรีสะเกษ ปี ๒๕๔๘ พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้อย่างน้อย ๒๐ ซี่ ร้อยละ ๔๐.๘ ซึง่ ต่ํากว่าร้อยละ ๕๐ ซึ่งเป็นค่าเป้าหมายระดับประเทศ และมีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ ๔.๙๓ ได้รับบริการด้านสุขภาพ ช่องปากในรอบ ๑ ปี ในขณะที่รูปแบบการให้บริการสําหรับกลุ่มอายุนี้ ยังคงเน้นการให้บริการเฉพาะด้านรักษาเป็นหลัก จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษต้องกลับมาทบทวนบทบาท หน้าที่ ภารกิจ ตลอดจนปรับ แนวคิด มุมมองการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่จําเป็นต้องทําทั้งเรื่องส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ การ ป้องกันรักษา และฟื้นฟูควบคูก่ ันไป โดยสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดศรีสะเกษ ดําเนินการใน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑) การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ๒) ผู้เกี่ยวข้องร่วมกําหนดรูปแบบการ ดําเนินงาน ๓) การดําเนินงานของบุคลากรและเครือข่าย ๔) ติดตาม แก้ไขปัญหาอุปสรรค ประเมินผลรายปี ผลการดําเนินงาน จังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ๑. การให้บริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ ๔,๓๓๗ ราย จากเป้าหมาย ๓,๐๕๓ ราย ๒. การจัดบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากให้แก่ผู้สูงอายุ ครอบคลุม ๒๒ อําเภอ โดยให้บริการตรวจคัด กรองความเสี่ยงสุขภาพช่องปาก ให้คําแนะนําและฝึกทักษะในการควบคุมคราบจุลินทรีย์ ขูดหินน้ําลายป้องกันโรคปริทนั ต์ อักเสบ และการใช้ฟลูออไรด์วานิชป้องกันรากฟันผุ ๓. การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุให้มีศักยภาพในการดูแลช่องปากตนเองเบื้องต้น โดยมีชมรมผู้สูงอายุ อย่างน้อย ๑ ชมรม ในทุกอําเภอ ครบ ๒๒ อําเภอ สามารถจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับบริบทให้กับ สมาชิก และมีชมรมผู้สูงอายุผ่านการประเมินรับรองเป็นชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ ระดับทอง ๑ แห่ง และระดับเงิน ๔ แห่ง ๔. มีการค้นหาและยกย่องบุคคลต้นแบบในพื้นที่ โดยผู้สูงอายุในจังหวัดได้รับรางวัลชนะเลิศ สิบยอดฟันดีวัย ๘๐ ปี ระดับประเทศ ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา ๓ ปี (ปี ๒๕๕๐–๒๕๕๓) จํานวน ๓ คน และรางวัลรองชนะเลิศผู้สูงวัยอายุ ๘๐ ปี สุขภาพฟันดี ระดับประเทศ จํานวน ๑ คน ในปี ๒๕๕๒ ๕. การติดตามและประเมินผล รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดศรีสะเกษ จากข้อมูลการ สํารวจสภาวะทันตสุขภาพของจังหวัด ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘–๒๕๕๔ พบว่า ผู้สูงอายุได้รับบริการด้านสุขภาพช่องปากในรอบ ๑ ปี เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ ๔.๙๓, ๗.๖๑, ๗.๗๔, ๘.๗๑, ๘.๗๕, ๙.๑๘ และ ๑๑.๙๕ ผู้สูงอายุมฟี ันใช้งานได้อย่างน้อย ๒๐ ซี่ คิด เป็นร้อยละ ๔๐.๘, ๔๑.๖, ๔๒.๓, ๔๔.๒, ๖๑.๔, ๖๒.๕ และ ๕๖.๘ ซึง่ เพิ่มขึ้นตามลําดับ โดยปัจจัยความสําเร็จ เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของเครือข่ายบริการสุขภาพทุกแห่งที่ร่วมกันดําเนินงานตาม แนวทางรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงภาคประชาชน ที่ได้แกนนําชมรม ผู้สูงอายุที่เข้มแข็งในการดําเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการดําเนินกิจกรรมดังกล่าว และจากผลการดําเนินงานที่ได้ สํานักงาน สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษจะได้วางแผนที่จะดําเนินการขยายความครอบคลุม รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของ ผู้สูงอายุในจังหวัด โดยการขยายบริการลงสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลที่ไม่มีทันตบุคลากร และเพิ่มจํานวนชมรม ผู้สูงอายุในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการดูแลช่องปากตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุใน จังหวัดต่อไป


จังหวัดดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอํานาจเจริญ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๔๘ ที่มุ่งเน้นด้านการดูแลรักษา บําบัดและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดย ให้มีการดําเนินการโครงการฟันเทียมพระราชทานขึ้นเป็นครั้งแรก และจากผลการสํารวจสภาวะช่องปากของผู้สูงอายุจังหวัด อํานาจเจริญ ตลอด ๕ ปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้สงู อายุส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับ โรค เหงือกอักเสบ โรคฟันผุ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถใช้ฟัน เคี้ยวอาหารอย่างปกติ จึงจําเป็นต้องได้รับการดูแลบําบัดรักษา ฟืน้ ฟู เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีผู้สูงอายุอีก กลุ่มหนึง่ ที่มีร่างกายแข็งแรง และสุขภาพช่องปากดี เหมาะที่จะเป็นตัวอย่างในด้านการดูแลสุขภาพ ดังนั้น จังหวัดอํานาจเจริญ จึงได้ จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีกิจกรรมสําคัญที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของ ผู้สูงอายุในจังหวัดอํานาจเจริญ ดังต่อไปนี้ ๑. กิจกรรมจัดบริการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียฟันในช่องปากตัง้ แต่ ๑๖ ซี่ ขึ้นไป โดยใส่ ฟันเทียมฐานพลาสติกให้ มีผลดําเนินงานรวม ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน รวม ๑,๒๕๓ ราย คิดเป็น ร้อยละ ๑๒๒.๓๙ ของ กลุ่มเป้าหมาย (๑,๐๓๔ คน โดยตัง้ เป้าหมายจากอัตรากําลังของทันตแพทย์ : ผู้รับบริการฟันเทียม ๑:๑๐) ๒. กิจกรรมการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม เริ่มดําเนินการในปี ๒๕๕๑ ถึง ปัจจุบัน ซึ่งผู้สูงอายุจังหวัดอํานาจเจริญทุกราย ได้รับการตรวจ และส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก และคัดกรองเพื่อรับการรักษา ทางทันตกรรม ในช่วง ๕ ปี ปีละ ๕๐๐ คน รวมจํานวน ๒,๐๐๐ คน (ผู้สูงอายุ ๑๐ คน : ทันตบุคลากร ๑ คน : ปี) ๓. กิจกรรมพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เริ่มดําเนินการในปี ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน โดย ตั้งเป้าหมาย ๑ อําเภอ : ๑ ชมรม ปัจจุบันมีชมรมผู้สูงอายุครอบคลุมในทุกอําเภอ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จํานวน ๑๕ ชมรม ๔. จัดกิจกรรมมหกรรมประกวดผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปากปีละ ๑ ครั้ง เริ่มตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน เพื่อ คัดเลือกผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างด้านสุขภาพและสุขภาพฟันดี เป็นตัวอย่างของจังหวัดอํานาจเจริญ ส่งเข้าประกวดระดับประเทศ และส่งผลให้ผู้สูงอายุจังหวัดอํานาจเจริญ ได้รับรางวัล ๑๐ ยอดฟันดี วัย ๘๐ ปี จํานวน ๒ คน คือ นายเผย นามวงศ์ ในปี ๒๕๔๙ และนายสุรวัฒน์ หาญสาร ในปี ๒๕๕๑ ผลการดําเนินโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โครงการ/กิจกรรม ผลการดําเนินงาน ปี ๒๕๕๑ ปี ๒๕๕๒ ปี ๒๕๕๓ ปี ๒๕๕๔ เป้าหมาย ผลงาน เป้าหมาย ผลงาน เป้าหมาย ผลงาน เป้าหมาย ผลงาน ๑. โครงการฟันเทียมพระราชทาน ๑๖๒ ๑๕๘ ๑๘๐ ๒๑๑ ๑๘๐ ๒๒๐ ๑๘๒ ๒๘๐ ๒. โครงการส่งเสริมป้องกันโรค ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๕ ในช่องปาก ตามชุดสิทธิ ประโยชน์ทางทันตกรรม ๓. โครงการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ๗ ๗ ๗ ๗ ๗ ๗ ๗ ๑๕ ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๔. มหกรรมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ช่องปาก จากการดําเนินการที่มุ่งมั่นของบุคลากรด้านทันตสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผล ให้จังหวัดอํานาจเจริญ ได้รับการคัดเลือกเป็นจังหวัดต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ปี ๒๕๕๓ และในปี ๒๕๕๔ ได้รับการคัดเลือกเป็นจังหวัดดีเด่น ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลอํานาจเจริญได้รับรางวัลหน่วยบริการ ดีเด่น ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมใิ จ ทีเ่ ป็นกําลังใจให้พวกเรามุง่ มั่นที่จะพัฒนางาน ทันตสาธารณสุขในจังหวัดอํานาจเจริญให้ดียงิ่ ๆ ขึ้นไป


คัดเลือกจังหวัดที่มีกิจกรรมดังต่อไปนี้ ๑. บริหารจัดการ และผลักดัน ให้โครงการฟันเทียมพระราชทานเป็นนโยบายระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการ จังหวัดให้ความสําคัญ ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนราชการ ตลอดจน องค์กร และท้องถิ่น ๒. มีการรณรงค์ค้นหาผู้สูงอายุ ที่มีความจําเป็น และต้องการรับบริการใส่ฟันเทียม ในโครงการฟันเทียม พระราชทานทุกตําบล ทุกหมู่บ้าน ๓. ทันตบุคลากรทั้งจังหวัด ร่วมรณรงค์จัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุทั้งจังหวัดครบ ๑๐๐% ซึ่งทําให้ ผู้รับบริการใส่ฟันเทียมปีต่อๆ ไป เป็นผู้ที่ก้าวเข้าสู่อายุ ๖๐ ปี ในปีนั้นๆ จังหวัดดีเด่นด้านการจัดบริการฟันเทียมพระราชทานในปี ๒๕๕๔ ได้แก่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก


จังหวัดดีเด่น ด้านการจัดบริการฟันเทียมพระราชทาน

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก นําโดย ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดโครงการ “พิษณุโลกรวมใจ ช่วยผู้สูงวัยยิ้มหวาน สนองพระ ราชปณิธานในหลวง” รณรงค์ให้ผู้สูงวัยในจังหวัดพิษณุโลกทุกคน ที่มีความจําเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปาก ได้รับฟันเทียม พระราชทาน โดยมีภาคส่วนต่างๆ ร่วมสนับสนุนโครงการ ได้แก่ สํานักงานจังหวัดพิษณุโลก กาชาดจังหวัดพิษณุโลก สปสช. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และสํานักงาน สาธารณสุขอําเภอทุกอําเภอ คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และบริษัท โอสถสภา พร้อมกําหนดเป็นวาระจังหวัด “ผู้สูงวัยยิ้มสวย ด้วยพระบารมี” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นปีเฉลิม พระชนมพรรษาครบ ๘๔ พรรษา อันจะนํามาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ พร้อมการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพใน ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อลดการสูญเสียฟัน เกิดชมรมต้นแบบ ชมรมผู้สูงอายุฟันดี ๑ อําเภอ ๑ ชมรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน ๒. ให้ผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลกมีฟันเทียมพระราชทานใช้งานครอบคลุม ร้อยละ ๑๐๐ ทําให้ผู้สูงอายุเข้าถึง บริการใส่ฟันเทียมพระราชทาน นํามาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี ๓. พัฒนาความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ สร้างเสริมสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพช่องปากทั้งฟันแท้และฟันเทียม ขั้นตอนการดําเนินงาน ๑. นําเสนอข้อมูลผู้สูงอายุและข้อมูลการจัดบริการใส่ฟันเทียมพระราชทานในภาพรวมปี ๒๕๔๘–๒๕๕๒ ย้อนหลัง ๕ ปี ในที่ประชุมมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยมีภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ อาทิ กาชาด จังหวัด สํานักงานจังหวัด คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และภาคเอกชน บริษัท โอสถสภา เข้าร่วมประชุม ๒. ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอให้กําหนดเป็นวาระจังหวัด ใช้งบประมาณในการเปิดตัวโครงการฯ และสนับสนุน การจัดบริการส่วนหนึ่งจาก บริษัท โอสถสภา ที่เหลือเบิกจ่ายจาก สปสช. และกาชาดจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการ สนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรม ในการประกาศความสําเร็จของโครงการฯ การประชาสัมพันธ์โครงการฯ (จังหวัด พิษณุโลกจัดเวทีประชาสัมพันธ์งานฟันเทียมพระราชทาน ๒ ครั้ง ครั้งแรกเปิดตัวโครงการฯ ครั้งที่ ๒ เมื่อดําเนินการได้ตาม เป้าหมาย เป็นเวทีประกาศความสําเร็จโครงการฯ) ๓. บุคลากรสาธารณสุข ตั้งแต่ระดับตําบลค้นหา และประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุเข้ารับบริการในโรงพยาบาล รัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยหน่วยบริการ ทุกแห่ง พร้อมใจกัน ดําเนินการ และลดระยะเวลาในการรอคอยของผู้สูงอายุ ในการรับบริการ ผู้สูงอายุสามารถรับบริการได้ในครั้งแรกที่มาพบ ทันตแพทย์ ๔. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ และคัตเอาท์ ประชาสัมพันธ์ ๔ มุมเมือง เชิญชวนให้ผู้สูงอายุ รับฟันเทียม พระราชทานในโรงพยาบาลใกล้บ้าน ๕. หน่วยบริการรายงานความก้าวหน้าให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกเดือน และรายงานผลต่อผูว้ ่า ราชการจังหวัดในวาระการประชุมหัวหน้าส่วนระดับจังหวัดทุกเดือน ความภาคภูมิใจในงาน “พิษณุโลกรวมใจ ช่วยผู้สูงวัยยิ้มหวาน สนองพระราชปณิธานในหลวง” ด้วยความมุ่งมั่นของทันตบุคลากร ที่มีความรัก และเทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดพิษณุโลก สามารถจัดบริการใส่ฟันเทียมพระราชทานแก่ผู้สูงอายุ ได้จํานวนทั้งสิ้น ๑,๐๑๔ ราย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘-๒๕๕๓ จํานวนทั้งสิ้น ๓,๙๑๙ ราย ทันตบุคลากรเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ได้มีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้จะเป็นวาระสุดท้าย ของชีวิตที่ผู้สูงอายุมีความต้องการที่จะใส่ฟนั เทียม การให้บริการดังกล่าวก็สามารถดําเนินการได้ ประชาชนรวมทั้งผู้สูงอายุ เห็นความสําคัญของการมีฟันใช้งาน นํามาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระเมตตา ให้ ผู้สูงอายุได้มีฟันใช้งานในโครงการ


คัดเลือกโรงพยาบาลที่มีการจัดกิจกรรมครบถ้วน ทัง้ การส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก ในกลุ่ม ผู้สูงอายุ มีการดําเนินงานที่ครอบคลุมกิจกรรมดังต่อไปนี้ ๑. เป็นโรงพยาบาลที่มีการจัดบริการใส่ฟันเทียมพระราชทานอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ของเป้าหมายรายจังหวัด ๒. เป็นโรงพยาบาลที่มีชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในอําเภออย่างน้อย ๑ ชมรม ๓. เป็นโรงพยาบาลที่มีบริการทันตกรรมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ต่อเนื่อง ๒ ปี ๑๐๐ รายขึ้นไป โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ปี ๒๕๕๔ ได้แก่ ๑. โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลําปาง ๒. โรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก ๓. โรงพยาบาลปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ๔. โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก ๕. โรงพยาบาลพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร ๖. โรงพยาบาลพาน จังหวัดเชียงราย ๗. โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ๘. โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ๙. โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล ๑๐. โรงพยาบาลอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลเกาะคา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง โรงพยาบาลเกาะคาเป็นโรงพยาบาลชุมชนทุติยภูมิระดับ ๒.๒ งานทันตสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งใน กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ มีทันตแพทย์ ๕ คน ทันตาภิบาล ๕ คน ผู้ช่วยทันตแพทย์ ๒ คน และพนักงานอื่นๆ อีก ๔ คน รับผิดชอบประชากรทั้งสิ้น ๖๔,๗๙๙ คน มีผู้สูงอายุ ๑๑,๙๗๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๕ มีจํานวนชมรมผู้สูงอายุทุก หมู่บ้านรวม ๗๘ ชมรม โรงพยาบาลเกาะคาเริ่มดําเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา มีการ ดําเนินกิจกรรมด้านทันตสุขภาพ ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก โดยจัดให้มีผู้รับผิดชอบโครงการ หลัก ๒ คน คือ ทันตแพทย์ และทันตาภิบาล ทุกปีจะมีการจัดทําโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้สูงอายุหนึ่งตําบลหนึ่ง ชมรม โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ และโครงการฟันเทียมพระราชทาน โดยทําในลักษณะบูรณา การ ทั้งในแต่ละโครงการและในงานฝ่ายอื่นๆ เช่น งานตรวจสุขภาพทั่วไปของผู้สูงอายุ เป็นต้น การดําเนินงานเริ่มจากการ ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเพื่อเลือกชมรมผู้สูงอายุและพื้นที่ดําเนินการ ในการทํากิจกรรมแต่ละครั้ง จะมีเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. และ อสม. มาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง กิจกรรมประกอบด้วยการบริการส่งเสริมป้องกันโรคใน ช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ มีการตรวจฟัน ขูดหินปูน ทาฟลูออไรด์ในกลุ่มเสี่ยง ถอนฟัน จัดนิทรรศการและให้ทันตสุข ศึกษา ผลงานปี ๒๕๕๔ มีการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ ๒,๘๐๖ คน ใส่ฟันเทียม ๓๑๓ คน โดยเป็นฟันเทียม พระราชทานจํานวน ๗๕ คน โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ มีกิจกรรม ๔ ชมรม คือ ชมรมผู้สูงอายุ บ้านศิลา บ้านหนองหล่าย บ้านนาเวียงและบ้านหัวแต มีการเชื่อมโยงเครือข่ายโดยมีผู้นําชมรมผู้สงู อายุไปขยายฝัน เพื่อ ก่อกระแสและจุดประกายให้กับชมรมอื่นๆ มีการระดมความคิดเพื่อวางแผนจัดกิจกรรม และร่วมกันจัดกิจกรรมตามแผน มี การลงทะเบียนผู้สูงอายุที่ต้องการทําฟันเทียม โดยประสานกระจายข่าวให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบล และผู้นําชุมชน และทันตแพทย์ออกให้บริการทุกขั้นตอนที่ รพ.สต. เพื่อให้ผู้สูงอายุสะดวกมารับบริการที่ใกล้บ้าน หลังจากการดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทําให้ได้บทสรุปของการดําเนินงานเพื่อไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ที่ ต้องการขยายไปดังมีขั้นตอนดังนี้ หาข้อมูลพื้นฐาน ประสานเครือข่าย ขายความคิด เสริมสร้างกิจกรรม นวัตกรรมเฟื่อง ต่อเนื่องโครงการ ทีมงานเข้มแข็ง เป็นแหล่งเรียนรู้ สู่นโยบายสาธารณะ ทุกระยะประเมิน เพลินบูรณาการ สานสามัคคี ทําให้การขยายการดําเนินการมีทิศทางที่ชัดเจน ทําความเข้าใจกับชมรมผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องได้ ดีขึ้น พร้อมกับความร่วมมือที่ดีในทีมงานทุกส่วน


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ้านนา อําเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก สุขภาพช่องปากส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพ อารมณ์ และสังคม โดยเฉพาะความรู้สึก เจ็บปวด จากการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพประชาชน จังหวัดนครนายก ปี พ.ศ.๒๕๕๓ พบว่า ผู้สูงอายุมีคู่สบฟันหลัง เป็นฟันแท้กับฟันแท้ ฟันแท้กับฟันเทียม หรือฟันเทียมกับฟันเทียม ๔ คู่ขึ้นไป ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว เพียงร้อยละ ๔๐.๗ จึงมีความจําเป็นที่ ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล เพื่อลดการสูญเสียฟัน กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลบ้านนา ร่วมกับสํานักงานสาธารณสุขอําเภอบ้านนา ได้จัดทําโครงการส่งเสริมป้องกันโรค ในช่องปากผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม อําเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เพื่อพัฒนาระบบการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแกนนําในการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพ ช่องปากด้วยตนเองของผู้สูงอายุ รวมทั้งสนับสนุนการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของผูส้ ูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ปัญหาการสูญเสียฟัน ของผู้สูงอายุ โดย สนับสนุนการจัดระบบบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และการป้องกันโรคในช่องปาก แก่ผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ ด้านส่งเสริมป้องกันทางทันตกรรม ซึ่งจะลดภาระค่าใช้จ่ายในการทําฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุ สร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาดช่องปาก ทั้ง ฟันแท้และฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ วิธีการดําเนินการ โดย - ประสานงานกับสํานักงานสาธารณสุขอําเภอบ้านนา และ รพ.สต. ใน CUP บ้านนา สํารวจกลุ่มเป้าหมายในชุมชน - จัดทําแผนการดําเนินงานและชี้แจงแก่ผู้เกี่ยวข้อง - ตรวจสุขภาพช่องปาก และให้คําแนะนําในการดูแลสุขภาพช่องปาก แก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการสํารวจ ใช้ฟลูออไรด์วา นิช หรือเจล ขูดหินน้ําลายและทําความสะอาดฟัน ใส่ฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุในรายที่จําเป็น - ออกนิเทศ ติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงาน เพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงาน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการ ดําเนินงานให้เหมาะสม - ขั้นสรุป รายงานผลและประเมินผลการดําเนินงาน - รายงานความก้าวหน้าของโครงการ สรุป รายงานผลและประเมินผลการดําเนินงาน ผลการดําเนินงาน ผู้สูงอายุใน CUP บ้านนาได้รับบริการใส่ฟันเทียม ปีงบประมาณ เป้าหมาย (ราย) ผลงาน (ราย) ร้อยละ ๒๕๕๔ ๗๐ ๖๙ ๙๘ ๑๕๕๓ ๖๐ ๗๐ ๑๑๖ ๒๕๕๒ ๗๐ ๗๒ ๑๐๒ ผู้สูงอายุบ้านนาได้รับบริการทันตกรรมป้องกัน ปีงบประมาณ เป้าหมายตรวจช่องปาก ตรวจช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช ขูดหินปูน (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) ๒๕๕๔ ๑๗๕ ๑๑๘ ๓๑ ๔๖ ๑๕๕๓ ๑๐๐ ๑๐๒ ๔๙ ๖๙ ๒๕๕๒ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๙ ๕๖ ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากอําเภอบ้านนา จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในการประชุมชมรมผู้สูงอายุ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลปลายพระยา อําเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ สุขภาพช่องปากส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพ อารมณ์ และสังคม จาก ข้อมูลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพประชาชนจังหวัดกระบี่ ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีฟันแท้ใช้งานได้ตั้งแต่ ๒๐ ซี่ขึ้นไป มีร้อยละ ๓๔.๑๓, ๒๒.๙๗, ๓๘.๙๓ ผู้สูงอายุที่มีความจําเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปากหรือมากกว่า ๑๖ ซี่ ปี ๒๕๕๓๒๕๕๔ มีร้อยละ ๒๑.๑๒, ๓๒.๗๖ ตามลําดับ ปัญหาการสูญเสียฟันและโรคในช่องปากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ ผู้สูงอายุ โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเกีย่ วข้องกับภาวะโภชนาการ ดังนั้น การจะให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาว อย่างมีคุณภาพต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพร่างกาย โรงพยาบาลปลายพระยา เห็นความสําคัญของปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และความจําเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับการ ดูแลด้านการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล การส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้สูงอายุเป็นชมรมผู้สูงอายุ การทํา กิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน อาทิเช่น การออกกําลังกาย ส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างสม่ําเสมอ ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมี พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนผู้สูงอายุได้ เพื่อให้มีการพัฒนาสุขภาพกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคม ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดี สามารถดํารงตนอย่างมีคุณภาพชีวิตจนตลอดอายุขัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ด้านการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล ๒. ลดการสูญเสียฟันอย่างเป็นระบบรวมทั้งการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การรับบริการส่งเสริมป้องกัน ตามชุดสิทธิประโยชน์ ร่วมไปกับการรักษาและการใส่ฟันเทียมใน ระบบบริการปกติ ๓. ให้ผู้สูงอายุได้รับบริการส่งเสริมป้องกันรักษา และฟื้นฟูสภาพช่องปากอย่างเหมาะสม และต่อเนื่อง กลวิธีการดําเนินงาน ๑. การให้บริการทันตสาธารณสุขเชิงรุก ๒. การให้ทันตสุขศึกษารายกลุ่ม / ตัวต่อตัว / สื่อ / ฝึกปฏิบัติจริง ๓. ติดตามเฝ้าระวัง ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ๔. พัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผลการดําเนินงาน ๑. ให้บริการส่งเสริมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ตอ่ เนื่องตั้งแต่ ๒๕๕๑–๒๕๕๔ จํานวน ๑,๑๒๖ คน ๒. บริการใส่ฟันเทียมในโครงการฟันเทียมพระราชทาน จํานวน ๑๑๑ คน ๓. มีชมรมผู้สูงอายุต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จํานวน ๑ ชมรม คือ ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาต่อ รพ.สต.บ้านเขาต่อ อําเภอปลายพระยา นโยบายการบริหารจัดการการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ปี ๒๕๕๕ ๑. จัดบริการเชิงรุกด้านบริการส่งเสริมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดระบบช่องทาง ด่วนเมื่อผู้สูงอายุเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ๒. ค้นหาผู้สูงอายุที่มีความจําเป็นต้องได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปากหรือมากกว่า ๑๖ ซี่ เข้าโครงการฟันเทียม พระราชทานฯ และเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ๓. ขยายชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ให้ครอบคลุมทุก รพ.สต.


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลปากพลี อําเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีปัญหาทันตสุขภาพสะสมตั้งแต่วัยเรียน วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ จากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในกลุ่ม ผู้สูงอายุมีปัญหาทันตสุขภาพ ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพองค์รวมโดยเฉพาะด้านโภชนาการ ผลจากสภาวะทันตสุขภาพทีเ่ ป็นปัญหาไม่เพียงแต่ เกิดผลต่อสุขภาพ ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจําทัง้ ด้านการบดเคี้ยว การยิ้ม การพูด การเข้าสังคม การเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ปัญหาเหล่านี้ บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพ อารมณ์ และสังคม โดยเฉพาะความรู้สึกเจ็บปวด จากการสํารวจสภาวะ ทันตสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดนครนายก ปี ๒๕๕๓ พบว่า ผู้สูงอายุมคี ู่สบฟันหลังเป็นฟันแท้กับฟันแท้ ฟันแท้กับฟันเทียม หรือฟันเทียมกับ ฟันเทียม ๔ คู่ขึ้นไป ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว เพียงร้อยละ ๔๐.๗ จึงมีความจําเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริม ป้องกันโรคในช่องปากทีเ่ หมาะสมและมีประสิทธิผล เพื่อลดการสูญเสียฟัน การได้รับบริการส่งเสริมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ร่วมไปกับการ รักษาและการใส่ฟันเทียม จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี สามารถดํารงตนอย่างมีคุณภาพชีวิตตลอดอายุขัย โรงพยาบาลปากพลี ร่วมกับ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอปากพลี จังหวัดนครนายกจึงได้จัดทําโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก ป้องกัน รักษาโรคในช่องปาก ฟื้นฟูสภาพช่องปาก และสร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมผู้สูงอายุ เพือ่ เป็นแกนนําในการจัดกิจกรรมดูแล สุขภาพช่องปากด้วยตนเอง มีวัตถุประสงค์เพือ่ สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุมกี ารพัฒนาตนเอง ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปาก สร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาดช่องปากทั้งฟันแท้ และฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันโรคในช่องปาก แก่ผู้สูงอายุตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม และ ใส่ฟันเทียม เพื่อการเคี้ยวอาหารให้กับผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟัน และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทีเ่ กี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุ วิธีการ ๑. ประสานสํานักงานสาธารณสุขอําเภอปากพลี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล และชมรมผู้สูงอายุ สํารวจกลุ่มเป้าหมาย ๒. ตรวจสุขภาพช่องปากและให้คําแนะนําในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช หรือเจล ขูดหินน้ําลายและทํา ความสะอาดฟัน ให้การรักษาทางทันตกรรมและใส่ฟันเทียมในรายที่จาํ เป็น ๓. เข้าร่วม ติดตาม และส่งเสริม กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในการประชุมของชมรมผู้สูงอายุทุกครั้ง ได้แก่ กิจกรรมแปรงฟัน ตรวจสุขภาพช่องปาก อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและอาหารที่มีประโยชน์ บริหารร่างกายและใบหน้า จัดมุมสุขภาพช่องปาก เป็นต้น ผลการดําเนินงาน ผู้สูงอายุใน CUP ปากพลีได้รับบริการใส่ฟันเทียม ปีงบประมาณ เป้าหมาย (ราย) ผลงาน (ราย) ร้อยละ ๒๕๕๔ ๕๐ ๗๖ ๑๕๒ ๑๕๕๓ ๔๐ ๕๐ ๑๒๕ ๒๕๕๒ ๕๐ ๖๐ ๑๒๐ ผู้สูงอายุใน CUP ปากพลีได้รับบริการทันตกรรมป้องกัน ปีงบประมาณ เป้าหมายตรวจช่องปาก (ราย) ตรวจช่องปาก (ราย) ทาฟลูออไรด์วานิช (ราย) ขูดหินปูน (ราย) ๒๕๕๔ ๑๕๐ ๑๕๔ ๗๔ ๙๖ ๑๕๕๓ ๑๐๐ ๘๔ ๓๐ ๓๙ ๒๕๕๒ ๑๖๐ ๑๖๑ ๓๗ ๓๖ ชมรมผู้สงู อายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากอําเภอปากพลี จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในการประชุมกรรมการชมรม ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนําผู้สูงอายุ การพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สงู อายุ โดย การสนับสนุนสื่อสําหรับมุมสุขภาพช่องปากในชมรมผูส้ ูงอายุให้มากขึ้น การขยาย กิจกรรมลงสู่ รพ.สต. และชุมชนเพิ่มขึน้


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลพรานกระต่าย อําเภอพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร ปัจจุบันประชากรในวัยสูงอายุมีแนวโน้มจะเพิ่มจํานวนมากขึ้น งานด้านสาธารณสุขจึงควรให้ความสําคัญเกี่ยวกับผู้ป่วยในวัยนี้ เนื่องจากเป็นวัยที่มีความเสื่อมถอยของร่างกายตามธรรมชาติ ทําให้ผู้สูงอายุเจ็บป่วยได้งา่ ย ส่วนโรคในช่องปากของผู้สูงอายุที่พบได้บ่อยก็คือ รากฟันผุและโรคปริทันต์ หากไม่ได้รับการป้องกันรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ก็มักจะเป็นสาเหตุให้สูญเสียฟัน ส่งผลกระทบต่อเนื่องทําให้ สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตทรุดโทรมลงได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการทางทันตสาธารณสุขได้อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว และทั่วถึงยิ่งขึ้น รพ.พรานกระต่าย มีผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ จํานวน ๒,๘๗๐ คน ฝ่ายทันตสาธารณสุขได้ให้บริการผู้สูงอายุอย่างครบวงจร ส่งเสริม – ป้องกัน – รักษา – ฟื้นฟู โดยผ่านทางโครงการและกิจกรรมดังต่อไปนี้ ๑. โครงการฟันเทียมพระราชทาน นอกจากการให้บริการเชิงรับแก่ผู้ป่วยนอกแล้ว ยังได้มีการทําเชิงรุกโดยความร่วมมือจาก PCU รพ.สต.ท่าไม้และ รพ.สต.คลองพิไกร ซึง่ มีทันตาภิบาลประจํา และได้ประสานงานกับ รพ.สต. เครือข่ายในการรับส่งผู้สูงอายุมาทําฟันเทียมที่ โรงพยาบาล ผลการดําเนินงานมีดังต่อไปนี้ ปีงบประมาณ เป้าหมายรายจังหวัด (คน) ผู้สูงอายุได้ใส่ฟันเทียม (คน) ๒๕๕๒ ๔๘๓ ๘๒ ๒๕๕๓ ๕๖๑ ๑๐๐ ๒๕๕๔ ๖๑๕ ๑๒๒ ๒. มีการดําเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องมาตัง้ แต่ปี ๒๕๕๒ โดยความร่วมมือจากชมรมสร้าง เสริมสุขภาพผู้อาวุโส (อส.) เทศบาลตําบลพรานกระต่าย ซึ่งก่อให้เกิดกิจกรรม ได้แก่ มีทันตบุคลากรบรรยาย อบรมให้ความรู้แก่สมาชิกชมรม อย่างสม่าํ เสมอ มีกิจกรรมตรวจฟันประจําปี โดยทันตบุคลากร ปีละ ๑ ครั้ง มีการทําระบบนัด สําหรับสมาชิกชมรม โดยเทศบาลสนับสนุนรถ อเนกประสงค์รับส่งผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกมาโรงพยาบาลด้วยตนเอง มีเทพียมิ้ สวย เป็นตัวแทนช่วยเป็นสื่อกลางในการทํางานส่งเสริมทันตสุขภาพ ระหว่างทันตบุคลากร และสมาชิกชมรม และชมรมนําความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่สู่ชุมชน โดยการสอนเด็กชั้นอนุบาลร้องเพลงแปรงฟัน สมาชิก ชมรมบางส่วนเข้ามาช่วยงานในคลินิกเด็กดีของโรงพยาบาลด้วย ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ทางชมรมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชมรมดีเด่นด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ ระดับจังหวัด ๓. โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก ตามชุดสิทธิประโยชน์ มีผลการดําเนินงานดังต่อไปนี้ ปีงบประมาณ ตรวจฟันและให้คําแนะนํา ทาฟลูออไรด์วานิช ขูดหินปูนและขัดฟัน เป้าหมาย ผลงาน เป้าหมาย ผลงาน เป้าหมาย ผลงาน ๒๕๕๒ ๑๐๐ ๑๐๑ ๒๕ ๓๓ ๖๐ ๖๗ ๒๕๕๓ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๕ ๒๕ ๖๐ ๖๑ ๒๕๕๔ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๕ ๓๘ ๖๐ ๖๔ ปัญหาอุปสรรคและแนวทางพัฒนา ปัญหาและอุปสรรคในการทํางานทั้งเชิงรุกและเชิงรับคือ การส่งเสริมป้องกันไม่สามารถทําได้ครอบคลุมประชากรผู้สูงอายุในพื้นที่ ได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการวางแผนร่วมกับฝ่ายส่งเสริมทําโครงการ Long term care โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้ อสม. มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ สามารถตรวจช่องปากอย่างง่าย และส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมาที่โรงพยาบาลเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการรักษาที่ เหมาะสม กิจกรรมที่เกิดขึ้นคือ อสม. ใช้แบบตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากจากโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตาม ชุดสิทธิประโยชน์ฯ เข้าไปตรวจผู้สูงอายุตามพื้นที่รับผิดชอบ ปีละ ๒ ครั้ง มีการให้ความรู้และคําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก เบื้องต้น และหากพบความผิดปกติก็จะมีบัตรส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาล เข้าสู่ช่องทางด่วนในการให้บริการ สําหรับแนวทางในการพัฒนา จะเน้นไปที่ผู้สูงอายุกลุ่ม ๒ และกลุ่ม ๓ เนือ่ งจากบุคคลกลุ่มนี้มีความไม่สะดวกในการเข้าถึงบริการ ทางฝ่ายจึงได้มีการวางแผนเพื่อที่จะพัฒนาบุคลากร และรูปแบบการให้บริการเพื่อการดูแลผู้สูงอายุสองกลุ่มนีใ้ นระยะยาวต่อไป


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลพาน อําเภอพาน จังหวัดเชียงราย “เราจะเป็นโรงพยาบาลชุมชนคุณภาพชั้นนํา ที่มีความเป็นเลิศ ด้านบริการและการสร้างสุขภาพในชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้” คือ วิสัยทัศน์ของ โรงพยาบาลพาน ซึ่งมี นายแพทย์ฑิฆัมพร จ่างจิต เป็นผู้อํานวยการ มีนโยบายมุ่งเน้นการบริการสุขภาพแบบบูรณการเชือ่ มโยง ในมิติกาย จิต สังคม และปัญญา โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ผสมผสานงานบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู และให้ความสําคัญกับการสร้าง สุขภาพประชาชนในชุมชน ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลพาน โดย ทพญ.อรอนงค์ พูลสวัสดิ์ ทพญ.วรางคณา เทียมภักดี ทภ.ศิรประภา นิชพิพัฒน์กุล ดําเนินงานทันตกรรมแบบบูรณาการ ผสมผสาน ครอบคลุมกลุ่มอายุและพื้นที่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ดําเนินงานร่วมกับ รพสต. โดยจัดสรรทันตบุคลากรลงไปในแต่ละ รพสต. เพื่อทํางานส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสขุ ภาพช่องปากประชาชน ผู้สูงอายุ ... เป็นกลุ่มที่ รพ.พาน ให้ความสําคัญ เนื่องจากเห็นคุณค่าและศักยภาพของผู้สูงอายุ และจากพระราชดํารัสของพระ เจ้าอยู่หัว ที่ตรัสว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทําให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” เพื่อสืบสานปณิธาน จึง วางแผน และดําเนินงานอย่างจริงจัง ด้วยการเลือกผู้สูงอายุ เป็นเป้าหมายหลักในการดําเนินงานของโรงพยาบาลในโซนรับผิดชอบตามนโยบาย ของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อให้เป็นโอกาสพัฒนางานในกลุ่มให้ดียิ่งขึ้นและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานระหว่างโซน ฟันเทียมพระราชทาน มีการบริหารจัดการการใส่ฟันเทียมพระราชทานให้แก้ผู้สูงอายุ โดยคํานึงถึงความต้องการ ความครอบคลุม และการเข้าถึงบริการ คือ มีการประชาสัมพันธ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ รพสต. เพื่อคัดกรองและส่งต่อผู้สูงอายุไปรับบริการใส่ฟันเทียมที่ โรงพยาบาล ส่วนในพื้นที่ห่างไกล อาทิ ตําบลทรายขาว ดอยงาม แม่อ้อ มีการจัดให้ทันตแพทย์ไปบริการใส่ฟันเทียมในพื้นที่ งานฟันเทียม ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้คุณภาพและมาตรฐาน มีการติดตามเพื่อประเมินผลวัดความพึงพอใจ และทําการแก้ไขเป็นรายบุคคลหากพบว่ายังมีปัญหา เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใส่ฟันเทียม คือ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ดี ส่งผลให้มีความสุขกาย สบายใจ เป็นการเพิ่มพูน คุณภาพชีวิต โดยผลงานการใส่ฟันเทียมพระราชทานในส่วนฟันเทียมทั้งปากปี ๒๕๕๔ จํานวน ๖๗ ราย ปี ๒๕๕๓ จํานวน ๕๐ รายซึ่งถือว่า เกินกว่าร้อยละ ๑๐ ของผลงานจังหวัด และวัดความพึงพอใจโดยรวมเกินกว่าร้อยละ ๙๐ การบริการส่งเสริมโรคตามชุดสิทธิประโยชน์ มีการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ในพื้นที่นําร่อง คือ เขตตําบลม่วงคําครบ ๑๗ หมู่บ้าน และขยายไปยังตําบลอื่น โดยออกหน่วยให้บริการตรวจช่องปาก ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดัน ตามแบบฟอร์ม ทาฟลูออไรด์ ขูดหินปูน นัดและส่งต่อไปรับบริการ ถอนฟัน อุดฟัน ใส่ฟันเทียมที่โรงพยาบาลโดยมีช่องทางการเข้ารับบริการที่สะดวกและรวดเร็ว มีการนัด ติดตามเพื่อประเมินผลการการให้บริการ และที่สําคัญมีกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพ พัฒนาทักษะการทําความสะอาดช่องปาก และบริหาร ใบหน้า ผลการดําเนินงานภายในปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ มากว่า ๒๐๐ รายขึ้นไป นอกจากนั้นทางฝ่ายทันตฯ ยังมีการให้ทันตกรรมบูรณาการผสมผสาน ในผู้สูงอายุกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานและมีการติดตามอย่างต่อเนื่องอีกด้วย การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ฝ่ายทันตฯ เห็นความสําคัญในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ เชื่อว่าความเข้มแข็งและการพึ่งตนเอง ของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพจะนําไปสู่ความยั่งยืนในการพัฒนา จึงได้พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุซึ่งมีทุนเดิมอยู่แล้ว โดยใช้เวทีนวตกรสังคม สร้างแกนนําผู้สูงอายุ ประกอบกับสํานักทันตสาธารณสุข และศูนย์อนามัยที่ ๑๐ จัดงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุมาโดยตลอด เป็น โอกาสดีที่แกนนําผู้สูงอายุอําเภอพานใช้เป็นเวทีศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นําไปสู่การพัฒนางานชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง ได้แก่ ตําบลม่วงคํา สันกลาง เจริญเมือง เมืองพาน และ ดอยงาม ซึ่งตําบลดอยงาม นอกจากการพัฒนาระดับตําบลยังมีการพัฒนาชมรมผูส้ งู อายุ ในระดับหมู่บ้าน คือ บ้านสันมะกอก หมู่ ๖ ที่เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง ตั้งแต่ อบต. ผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่ รพสต. ทันตบุคลากร ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้มแข็ง มี คุณวิลาวัลย์ ปัญญา เป็นประธาน ที่สําคัญมีผู้สูงอายุและแกนนํา นําทีมโดย อุ้ยเงิน อุ่นเรือน และ อุ้ยแก้ว นวนด้วง เป็นชมรมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพภายใต้ชื่อ “ชมรมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ” มีการพบปะกันอย่างสม่ําเสมอของผู้สูงอายุ และ อสม. ทํากิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพภายใต้สโลแกน“ฟันดี ๔ พ.” เน้น ๔ พฤติกรรมสุขภาพเพื่อฟันดี คือ การทําความสะอาดช่องปาก การบริโภค อาหาร การออกกําลังกายใบหน้าและลิ้น และการตรวจฟัน พร้อมรับบริการทันตกรรมที่เหมาะสม มีนโยบายทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยการพบปะแต่ละครั้ง ผู้สูงอายุจะเริ่มต้นและจบท้ายอย่างมีความสุข ด้วยการร้องเพลง “ฟันดี ๔ พ.” ที่พ่อหลวงมานพ เทพนิล แต่งเป็นเพลง ประจําหมู่บ้านเพื่อสร้างความตระหนัก และพลังของชมรม และยังใส่ใจในสุขภาพด้านอื่น โดยมี หมอไก่ ผอ.รพสต. และหมอน้อย ร่วมทํากิจกรรม ชมรมมีการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมที่สําคัญ คือ กิจกรรมการแปรงฟันด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม หรือการฝึกสมาธิเจริญสติขณะแปรงฟัน ซึ่ง นอกจากจะได้สุขภาพช่องปากที่ดีแล้ว ยังได้สุขภาพจิตที่ดี ส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมและปัญญาอีกด้วย


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลภูเขียว อําเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ตามที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เห็นความสําคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และความจําเป็น ที่ผู้สูงอายุ ควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากที่เหมาะสม และมีประสิทธิผลอย่างเป็นระบบ เพื่อลด การสูญเสียฟัน ทั้งการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การรับบริการส่งเสริมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ ร่วมไปกับการ รักษาและการใส่ฟันเทียม ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพตลอดอายุขัย โรงพยาบาลภูเขียวได้เล็งเห็นถึงความสําคัญ จึงได้เข้าร่วมโครงการนี้ และดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสุขนิสัยใน การดูแลความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุ พัฒนาระบบการให้บริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ป้องกันโรคในช่องปาก และ สร้างความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการไขแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยการดําเนินการเริ่มต้นจาก ชมรมผู้สูงอายุในอําเภอภูเขียวทีเ่ ข้มแข็ง คือ ชมรมผู้สูงอายุไทเก๊กภูเขียว ซึ่งปกติจะมีการรวมกลุ่มกันออกกําลังกายอยู่แล้ว ได้แก่ ออกกําลังกายโดยวิธีไทเก๊ก และไม้พลอง กิจกรรมการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากแก่ผู้สูงอายุในชุดสิทธิประโยชน์ โดย เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลภูเขียว และบุคคลากรอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ดูแลช่องปาก ให้คําแนะนําและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก ตรวจสุขภาพช่องปาก ใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ การขูดหินน้ําลายและขัดฟันเพือ่ ป้องกันโรคปริทันต์ ร่วมกับการให้บริการใส่ฟนั เทียม ซึ่งผู้สูงอายุให้ความสนใจ เห็น ประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรม และให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรมเป็นอย่างดียิ่ง ฝ่ายทันตสาธารณสุขจึงมีความตั้งใจ ขยายการจัดกิจกรรมไปยังกลุ่มผู้สูงอายุอื่นที่สนใจ ก็ได้รับความสนใจจากชมรมผู้สูงอายุบ้านลาด โดยจัดกิจกรรมใน ลักษณะเดิม แต่จัดในกลุ่มเล็กลงเพื่อให้สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้นเมื่อมีการจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จะเชิญตัวแทนจากชมรมเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบแนวทางและ รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพจากตัวแทนชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ และผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ และนํามาเป็น แนวคิดในการดําเนินการในรูปแบบที่เหมาะสมกับชมรมตนเองได้ต่อไป ดังเช่น ชมรมผู้สูงอายุไทเก๊กภูเขียว ได้ไปเห็น ตัวอย่างการทําน้ํายาบ้วนปากของชมรมผู้สูงอายุบ้านโสก อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จึงได้นําสูตรมาปรับปรุงทดลอง ทําน้ํายาบ้วนปากใช้ ปรากฏว่าใช้ได้ผลดี ทําให้สมาชิกเกิดความภูมิใจในผลผลิต จากการดําเนินโครงการทุกครั้งได้รับความ ร่วมมือและความสนใจจากผู้สูงอายุเป็นอย่างดี ผู้สูงอายุตื่นตัวเห็นความสําคัญในการเฝ้าระวังดูแลทันตสุขภาพ ปัญหาทันต สุขภาพลดลงนําไปสู่สขุ ภาพที่ดี สามารถสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างทันตบุคลากรและผู้สูงอายุได้ดีขึ้น ซึ่งการ ดําเนินงานจะประสบความสําเร็จได้นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน โดยนําความรู้เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปากไปใช้และปฏิบัติอย่างถูกต้อง สําหรับการดําเนินงานของโรงพยาบาลภูเขียว ยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นซึ่งยัง ต้องมีการค้นหารูปแบบ และพัฒนาให้มีความยัง่ ยืนต่อไป


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลสตูล อําเภอเมือง จังหวัดสตูล จากจํานวนผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสตูลที่เข้าคิวเพื่อรับบริการทําฟันเทียม ที่มีการเพิ่มขึ้นใน ทุกปี สอดคล้องกับนโยบายของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีฟนั เทียมใช้บดเคี้ยวอาหารตาม เป้าหมาย กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลสตูล จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยจัดให้มีกิจกรรมการใส่ ฟันเทียมและการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้สูงวัยที่ไม่มีฟันสําหรับบดเคี้ยวอาหารเพื่อให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพที่ดีและสามารถดํารงตน อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑. เพื่อฟื้นฟูปัญหาการไม่มฟี ันบดเคี้ยวอาหารในผู้สูงอายุโดยการใส่ฟันเทียม ๒. เพือ่ สร้างสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุ วิธีดําเนินการ ๑. แต่งตั้งคณะทํางานและผู้รับผิดชอบในการดําเนินกิจกรรมในโครงการ ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านทันตบุคลากรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับ ตําบล โรงพยาบาลและชมรมผู้สูงอายุ ๓. ขึ้นทะเบียนเข้าคิวการทําฟันเทียมที่กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลสตูล ๔. ติดต่อประสานงานและติดตามผู้สูงอายุเพื่อเข้ารับการทําฟันเทียมตามกําหนด ๕. จัดกิจกรรมให้ทันตสุขศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟันเทียมและสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุ ๖. ติดตามผลการรักษาและประเมินผลประสิทธิภาพการใส่ฟันเทียมในผู้สูงอายุ การประเมินผล ๑. ผู้สูงอายุได้รับบริการใส่ฟันเทียมมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ปี ๒๕๕๓ ผู้สูงอายุได้ใส่ฟันเทียมจํานวน ๗๙ คน จากเป้าหมาย ๔๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗๕.๖ ปี ๒๕๕๔ ผู้สูงอายุได้ใส่ฟันเทียมจํานวน ๙๕ คน จากเป้าหมาย ๔๘ คน คิด เป็นร้อยละ ๑๙๗.๙ ๒. ผู้สูงอายุร้อยละ ๙๙ มีความพึงพอใจต่อการใส่ฟันเทียม ร้อยละ ๕๒ สามารถดูแลรักษาฟันเทียมและสุขภาพ ช่องปากได้ดี ๓. ผู้สูงอายุทุกคนสามารถใช้ฟันเทียมบดเคี้ยวอาหารและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลังการใส่ฟันเทียม ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผูส้ ูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพสุขภาพช่องปากของตนเอง และการดูแลรักษาฟัน เทียม ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการมีสุขภาพที่ดีขนึ้ ในระยะยาว ข้อเสนอแนะ ๑ ควรมีการเฝ้าติดตามและประเมินผลการใส่ฟันเทียมอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการสร้างสุขนิสยั ที่เหมาะสมในการ ดูแลและการใช้งานฟันเทียมที่เหมาะสม ๒. ควรมีการจัดกิจกรรมพบปะผู้สูงอายุเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใส่และการดูแลฟันเทียม


โรงพยาบาลดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ จากกระแสพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า “เวลาไม่มฟี ันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทําให้ไม่ มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ทําให้เห็นความสําคัญของสุขภาพช่องปากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ ชัดเจน จากการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๔ โดย กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากที่เป็นปัญหาหลัก ในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ การสูญเสียฟัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้จัดทําโครงการ “ฟันเทียมพระราชทาน” เป็นโครงการพิเศษ เพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวาระมหามงคล ๘๐ พรรษา และเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟันที่ส่งผลต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวติ ของผู้สูงอายุ มุง่ เน้นที่จะทําฟันเทียมทดแทนแก่ผู้สูงอายุให้มีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลอํานาจเจริญ เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด ๓๓๐ เตียง ให้บริการประชาชนทั่วไป ครอบคลุม ๖ อําเภอในเขตจังหวัด การดําเนินงานตามโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุได้ ดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้บริการใส่ฟันเทียมผู้สูงอายุไปแล้ว รวมทั้งสิ้น ๒๔๐ คน (ผลงาน ตค.๕๐-กย.๕๔) มี เป้าหมายปีละ ๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓ ของเป้าหมายจังหวัด กิจกรรมหลัก การตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อขึ้นทะเบียน ผู้สูงอายุ เตรียมช่องปากก่อนการใส่ฟันเทียม และวางแผนการจัดบริการใส่ฟันเทียม โดยให้ความสําคัญกับผู้สูงอายุที่ด้อย โอกาส ให้เครือข่าย/ชมรมผู้สูงอายุ มีส่วนร่วมในการค้นหา และจัดทําช่องทางด่วนสําหรับการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุใน โครงการ ให้ได้รับบริการที่สะดวกและรวดเร็วในการมารับบริการในแต่ละครั้ง การใส่ฟันเทียม และแนะนําการดูแลสุขภาพ ช่องปากแก่ผู้สูงอายุ ใช้เทคนิค วัสดุ เครื่องมือที่มีมาตรฐาน สามารถให้บริการทําฟันเทียมที่มีคุณภาพ การให้คําแนะนําใน การดูแลฟันแท้และฟันเทียม เป็นการพัฒนาทักษะและสร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาดช่องปากตนเองทั้งฟันแท้และฟัน เทียมแก่ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียม ในส่วนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โรงพยาบาลอํานาจเจริญ ดําเนินกิจกรรมพัฒนาชมรมสร้างเสริม สุขภาพเพื่อชุมชนผู้สูงอายุ ตําบลบุ่ง ซึ่งที่ชมรมผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งชมรม เพื่อส่งเสริมความสามัคคี ระหว่างสมาชิกและบุคคลทั่วไป ให้การอุปการะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหมู่สมาชิกส่งเสริมการกุศลสาธารณะประโยชน์ บํารุง และส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้กับผู้สูงอายุ มีสมาชิกทั้งสิน้ ๑๓๒ คน ชาย ๕๔ คน หญิง ๗๘ คน กิจกรรมของชมรมฯ คือ คณะกรรมการร่วมประชุมทุก ๒ เดือน เยี่ยมเยียนสมาชิกที่ป่วย สมาชิกออกกําลังกาย เช่น รําไม้พลอง ยางยืด บาสโล๊ฟ ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ส่วนกิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุมีข้อตกลงในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีการตรวจสุขภาพช่องปาก เพือ่ การส่งต่อไปรับบริการป้องกันโรคในช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ และให้ทันตสุขศึกษา โดย ทันตบุคลากรปีละ ๒ ครั้ง มีกิจกรรมการบริหารใบหน้าก่อนการออกกําลังกาย เสริมสร้างแรงจูงใจโดยการมอบ ชุดแปรงสีฟันยาสีฟันแก่ผู้สูงอายุ กิจกรรมการแปรงฟันและตรวจฟันโดยจิตอาสาก่อนการออกกําลังกายมีทีมจิตอาสาใน การดูแลสุขภาพช่องปาก โดยกิจกรรม คือ การเล่านิทาน และสอนแปรงฟัน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การแสดงหมอลํา แคน ทุกวันจันทร์ พุธ ณ เวทีจิตอาสาที่โรงพยาบาลอํานาจเจริญ กิจกรรมต่อมาโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ : บริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ ให้กับผู้สูงอายุ โดยการตรวจสุขภาพช่องปาก ให้คําแนะนําการใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุการขูดหินน้ําลายและขัดฟัน โรงพยาบาลดําเนินมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๔ มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด ๕๐๐ คน โดยเป็นผู้สูงอายุในชมรม ดังกล่าว และผู้สูงอายุที่ชมรมเครือข่ายบริการที่มีทันตบุคลากรประจําอยู่ดําเนินการจัดบริการ โดยมีระบบการส่งต่อมาที่ โรงพยาบาลในกรณีใส่ฟันเทียม ในการจัดบริการโรงพยาบาลจัดช่องทางพิเศษให้ผู้สูงอายุในการนัดรับบริการเพื่อความ สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งในการดําเนินกิจกรรมทั้งหมด ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายทั้งแกนนําผู้สูงอายุและชมรมที่ เข้มแข็ง หน่วยงานอื่น เช่น งานเวชกรรมสังคม ฯลฯ มาเป็นแรงผลักดันให้การดําเนินกิจกรรมประสบความสําเร็จ


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดีเด่น มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และบริการป้องกันโรคใน ช่องปากตามชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งบริการดังกล่าว ประกอบด้วย ๑) การตรวจสุขภาพช่องปาก ๒) การให้คําแนะนําหรือการ ฝึกทักษะในการควบคุมคราบจุลินทรีย์ ๓) การใช้ฟลูออไรด์วานิชป้องกันรากฟันผุ และ ๔) การขูดหินน้ําลายป้องกันปริ ทันต์อักเสบ โดยทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล รวมทั้งประสานการส่งต่อเข้ารับบริการรักษาในกรณีที่ เกินขีดความสามารถ ที่เป็นต้นแบบได้ ตลอดจนมีรายงานผลการดําเนินงานทุกกิจกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดีเด่นด้านการจัดบริการป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ในปี ๒๕๕๔ ได้แก่ ๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลคอกช้าง จังหวัดหนองคาย ๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนนทรี จังหวัดปราจีนบุรี ๓. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านเป็ด จังหวัดขอนแก่น ๔. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลพุทธรักษา จังหวัดสมุทรปราการ


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดีเด่นด้านการจัดบริการป้องกันโรคในช่องปาก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลคอกช้าง อําเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย รพ.สต.คอกช้าง เป็นพื้นที่เป้าหมายดําเนินการจังหวัด ให้ทํากิจกรรมตามแนวทางการดําเนินการส่งเสริม ทันตสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ ดังนั้นทาง รพ.สต. คอกช้างได้ร่วมกับฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลสระใคร จัด กิจกรรมการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคในช่องปาก และคัดกรองผู้สูงอายุใส่ฟันเทียม เพื่อให้บริการป้องกัน รักษา และใส่ฟันเทียม กิจกรรม / ขั้นตอนการดําเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงนโยบายการบริการส่งเสริมทันตสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ แก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.คอกช้าง ๒. จัดสรรช่วงเวลานัดหมาย โดยนัดหมายมา โดย ประสานกับโรงพยาบาลสระใคร เพื่อขอทันตแพทย์ช่วย ตรวจคัดกรองและดูแลหลังส่งต่อ ๓. ดําเนินกิจกรรม โดย - นัดผู้สูงอายุมาตรวจ และรับบริการที่ รพ.สต.คอกช้าง ทั้งในและนอกเวลาราชการ ที่ รพ.สต.คอกช้าง และมีการส่งต่อผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบ และผู้สูงอายุทตี่ ้องการ และพร้อม เพื่อเข้าคิวใส่ฟันเทียม ที่โรงพยาบาลสระใคร - บันทึกข้อมูลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ - จัดกิจกรรมให้ทันตสุขศึกษาและฝึกแปรงฟันโดยการย้อมสีฟัน พร้อมกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ ผลการดําเนินงาน ผู้สูงอายุได้เข้ารับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพ โดยได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติดูแลสุขภาพช่องปาก รับบริการ ป้องกันโดยการทาฟลูออไรด์วานิช ขูดหินน้ําลาย รักษาตามความจําเป็น และมีการส่งต่อเพื่อใส่ฟันเทียมพระราชทานและ ฟันเทียมบางส่วน ๕ คน บทสรุปและการพัฒนา การจัดบริการนี้ทําให้เกิดความร่วมมือกันระหว่าง รพ.สต.คอกช้าง และโรงพยาบาลสระใคร ที่ส่งทันตแพทย์ ออกมาช่วยคัดกรองและดําเนินกิจกรรม ผู้สูงอายุร่วมมือ มีความตื่นตัวในการแปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง มากขึ้น และ รพ.สต.คอกช้าง ได้ของบจากกองทุนขององค์การบริหารส่วนตําบลคอกช้าง เพื่อดําเนินการต่อเนื่องในปี ๒๕๕๕


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดีเด่นด้านการจัดบริการป้องกันโรคในช่องปาก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนนทรี อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ปี ๒๕๕๐ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนนทรีได้จัดทําวิจัยเรื่อง พฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุ โดยเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้ศึกษาเรื่องทันตสุขภาพในกลุ่ม ผู้สูงอายุของตําบลนนทรี พบว่า ปัญหาด้านทันตสุขภาพ อันเป็นผลจากพฤติกรรมและการไม่ได้รับบริการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ยังคงมีอยู่สูง และส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพด้านอื่นๆ ตามมา สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี และโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบลนนทรีได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดทําโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์แก่ผู้สูงอายุขึ้นโดยเน้น การดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง การเข้าถึงและได้รับบริการป้องกัน รักษาที่เหมาะสม ทันเวลา รวมถึงการส่งต่อเพื่อการรักษา และฟี้น ฟู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ให้ผู้สูงอายุได้รับบริการทันตสุขภาพที่เหมาะสม และมีการส่งต่อ เพื่อฟื้นฟูสภาพ ๒. เตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับบริการใส่ฟันเทียมพระราชทาน กิจกรรม/ขั้นตอนการดําเนินงาน - ประชุมชี้แจงนโยบายโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ผู้สูงอายุ แก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.นนทรี อสม. ผู้นําชุมชน ทุกระดับ - จัดทําโครงการเชิงรุกเข้าชุมชน ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมาย - ให้ความรู้ และบริการทันตกรรมในช่องปากตามสภาพปัญหาช่องปากของแต่ละบุคคล - บันทึกข้อมูล ส่งต่อเข้ารับบริการฟันเทียมพระราชทาน - ประเมินความพึงพอใจ ผลการดําเนินงาน ๑. ปี ๒๕๕๑ ที่เริ่มดําเนินโครงการ ผู้สูงอายุทุกคนในตําบลนนทรี จํานวน ๘๓๕ คน ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยง สุขภาพช่องปาก โดยการออกตรวจเชิงรุก โดยความร่วมมือของ อสม. ผู้นําชุมชน และมีการนัดหมายเพื่อ ให้บริการ เชิงส่งเสริม ป้องกัน และรักษาเบื้องต้น ที่ รพ.สต.นนทรี ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในปี ๒๕๕๔ มีผู้สูงอายุได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์แล้ว จํานวน ๔๕๐ คน คิดเป็น ร้อยละ ๕๓.๘๙ โดย ได้รับบริการเชิงส่งเสริมสุขภาพ และทันตกรรมป้องกัน ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ การฝึกแปรงฟัน และควบคุมคราบจุลินทรีย์ ๔๕๐ คน ฝึกใช้ไหมขัดฟัน ๑๒๓ คน ฝึกการใช้แปรงซอกฟัน ๒๕ คน ทาฟลูออไรด์วานิช ๙๐ คน ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้ที่มีความเสีย่ งรากฟันผุ ได้รับบริการด้านการรักษา ได้แก่ ขูดหินปูน ๒๗๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕ อุดฟัน ๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕ ถอนฟัน ๓๘๕ คน คิดเป็น ๗๘% (คิดจากผู้ที่ต้องการรับบริการ) ได้รับการส่งต่อ เพื่อฟื้นฟูสภาพ โดยการ ใส่ฟันเทียม ๙ คน คิดเป็น ร้อยละ ๒.๒๕ ของผู้ที่ต้องการใส่ฟันเทียมในพื้นที่ อย่างไรก็ตามมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ ๓๗.๕ ไม่สามารถมารับ บริการที่สถานบริการได้ เนื่องจากมีปัญหาโรคทางระบบ ร้อยละ ๒๒.๒๒ บางรายมีปัญหาด้านการเคลือ่ นไหว ในกลุ่มนี้ พบว่ามีความ เสี่ยงต่อรากฟันผุร้อยละ ๔๒.๒๒ เสี่ยงต่อปริทันต์ร้อยละ ๓๗.๗๘ ได้รับบริการเชิงส่งเสริมป้องกัน ได้แก่ การให้ทันตสุขศึกษาทุกคน การทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ ๑๓.๓๓ ๒. ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ ในทุกกิจกรรมร้อยละ ๙๕ โดยประเมินทุก ๖ เดือน ปัจจัยความสําเร็จ จากปัญหาที่พบควรได้รับการแก้ไข ทําให้ผู้นําด้านสาธารณสุขทุกระดับมองเห็นความสําคัญถึงประโยชน์ที่ผู้สูงอายุจะ ได้รับโดยตรง จึงสนับสนุนด้านงบประมาณบุคลากรร่วมคิดวางแผนการทํางานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีเครือข่าย อสม. ผู้นําท้องถิ่น ที่คอยช่วยทุ่มเทประสานงานประสัมพันธ์อย่างรวดเร็วและทั่วถึง บทสรุป และแนวทางการพัฒนาโครงการ จากผลการดําเนินงานที่ผา่ นมา โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทําให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนนทรีสามารถ ให้บริการทันตสุขภาพทั้งเชิงรุกในชุมชน และการให้บริการทั้งส่งเสริม ป้องกัน รักษาในสถานบริการใกล้บ้าน รวมทั้งการส่งต่อเพื่อรับ บริการฟื้นฟูช่องปากอย่างเป็นระบบ จนสามารถเป็นต้นแบบภายในจังหวัดด้านการดูแลทันตสุขภาพที่มีภาคีเครือข่ายในชุมชนร่วม สนับสนุน และเป็นสถานที่ฝึกงานสําหรับนักศึกษาวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรชลบุรี หลักสูตรทันตสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนนทรี ได้มีแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการสร้างเสริมทันตสุขภาพในกลุ่ม ผู้สูงอายุ ในด้านความครอบคลุมและรวดเร็ว โดยจัดทําโครงการ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตําบล รวมทั้งการพัฒนาการส่ง ต่อกับโรงพยาบาลกบินทร์บุรีให้รวดเร็วขึ้น


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดีเด่นด้านการจัดบริการป้องกันโรคในช่องปาก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านเป็ด เทศบาลตําบลบ้านเป็ด อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จากการที่บุคลากรได้ดําเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งมีการรวมกลุ่มทํากิจกรรมร่วมกัน ทุก ๒ เดือน ทําให้ได้รับทราบปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก และความต้องการด้านทันตกรรม ซึ่งผูส้ ูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการ บริการที่เหมาะสมและทั่วถึง ชมรมผู้สูงอายุจึงได้ประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านเป็ด ในการจัดบริการ ส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑. ตอบสนองความต้องการ การดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในพืน้ ที่ ๒. ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตรวจคัดกรองความเสี่ยง ป้องกัน รักษาทางทันตกรรม และส่งต่อ ผู้สูงอายุใส่ฟันเทียมในรายที่ต้องการ ๓. ให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนและสหวิชาชีพในการสร้างพฤติกรรมและสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ การดําเนินงาน ๑. ประสานเทศบาลตําบลบ้านเป็ด สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เพื่อขอการสนับสนุนการ ดําเนินงาน รวมทั้ง ประสานกับประธานกลุ่มผู้สูงอายุ ประธาน อสม. ในหมู่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน ในการวางแผนดําเนินงาน ๒. ดําเนินงาน โดย ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรม ตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ให้สุขศึกษา โดยบุคลากร ทั้งพยาบาล เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข นักวิชาการ ร่วมกัน นัดหมายให้บริการทันต สุขภาพ ๓. การประเมินผล และการติดตาม ผลการดําเนินการ มีดังนี้ - ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะช่องปาก ให้คําแนะนํา/ฝึกทักษะ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก จํานวน ๑๓๒ ราย - ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อรากฟันผุ ๖๔ ราย ได้รับการแนะนําการแปรงฟันที่ถูกวิธี การทาฟลูออไรด์ วานิช รวมทั้งการอุดคอฟันในรายที่จําเป็น - ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อปริทันต์ ได้รับการแนะนําการแปรงฟันที่ถูกวิธี การใช้แปรงซอกฟัน และ ขูดหินปูน ๔๕ ราย - ได้รับการส่งต่อรับบริการใส่ฟันเทียมในรายที่ต้องการ จํานวน ๙ ราย - ร้อยละ ๙๘ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการให้บริการทันตกรรม นอกจากนี้ ยังมีการดูแลและติดตาม ผู้สูงอายุ เป็นระยะ โดย อสม.ที่รับผิดชอบหลังคาเรือน บทสรุป จากการที่ชมรมผู้สูงอายุ มีโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกันสม่ําเสมอ จนทําให้รู้ถึงปัญหาความ ต้องการของตนเอง การมีเครือข่ายที่เข้มแข็งในชุมชน รวมทั้งองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเทศบาลตําบลบ้านเป็ดที่ให้ ความสนใจและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ และให้การสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินงาน และสํานักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนงบประมาณในการจัดอบรม และอุปกรณ์ในการดูแลช่องปาก ทําให้ รพ.สต.บ้านเป็ด สามารถ ดําเนินงาน ที่ตอบสนอง ความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน ได้อย่างเป็นรูปธรรม


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดีเด่นด้านการจัดบริการป้องกันโรคในช่องปาก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลพุทธรักษา อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งที่กําหนดโยบายให้ทันตาภิบาลทุกคน ตั้งเป้าหมายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ที่คลินิกทันตกรรม ใน รพ.สต. ตามแนวทางการดําเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพ ตามชุดสิทธิประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ ภายใต้ กองทุนทันตกรรม ดังนั้นทาง รพ.สต.พุทธรักษา จึงได้มีแนวคิดในการค้นหากลุ่มเป้าหมายออกเป็น ๓ ทาง เพื่อให้เข้าถึง กลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น โดยทางแรก ได้ทําโครงการเชิงรุกเข้าสู่ชุมชน เพื่อตรวจและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ทางที่สอง คือ การ ค้นหากลุ่มเป้าหมายที่คลินิก NCD ทางที่สามคือ การค้นหากลุ่มเป้าหมายในชมรมผู้สูงอายุ เมื่อพบกลุ่มเป้าหมายที่มีความ จําเป็นต้องได้รับบริการตามชุดสิทธิ์ประโยชน์ ก็นัดหมายให้มารับบริการทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ซึ่งเปิด บริการทุกวัน เนื่องจาก รพ.สต. ต้องดูแลรับผิดชอบประชากรสูงถึง ๑๔,๘๔๓ คน ผลปรากฏว่าเป็นที่พึงพอใจของ กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๒. ให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการส่งเสริมทันตสุขภาพ ตามชุดสิทธิประโยชน์ ๓. ให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ ๔. ให้ผู้สูงอายุได้รับการเตรียมความพร้อมของช่องปาก ก่อนเข้ารับการใส่ฟันเทียมพระราชทานที่โรงพยาบาล สมุทรปราการ กิจกรรม/ขั้นตอนการดําเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงนโยบายการบริการส่งเสริมทันตสุขภาพ ตามชุดสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุแก่เจ้าหน้าที่ รพ. สต.พุทธรักษา ทุกระดับ ๒. จัดทําโครงการเชิงรุกลงชุมชน จัดสรรช่วงเวลานัดหมายในการรองรับการให้บริการ ตามชุดสิทธิประโยชน์ ผู้สูงอายุจัดเตรียมเครื่องมือ และวัสดุทันตกรรมให้เพียงพอ ๓. ประสานงานกับบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบกลุ่มงาน NCD กลุ่มงานผู้สูงอายุ และผู้นําชุมชน ๔. ดําเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ ๔.๑ ดําเนินการตามโครงการเชิงรุกเข้าชุมชน “รถแปรงสีฟันเคลื่อนที่ ส่งเสริมฟันดีเพื่อสุขภาพ” ๔.๒ ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจากคลินิก NCD ๔.๓ ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจากชมรมผู้สูงอายุ ๕. นัดหมายผู้สูงอายุเข้ารับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ ๖. บันทึกข้อมูลผู้สูงอายุลงในโปรแกรมชุดสิทธิประโยชน์ ๗. ส่งต่อผู้สูงอายุทเี่ ตรียมพร้อมไปที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ เพือ่ เข้าคิวใส่ฟันเทียมพระราชทาน ๘. ประเมินผลความพึงพอใจ ผลการดําเนินงาน ๑. ผู้สูงอายุได้เข้ารับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ จํานวน ๒๔๖ คน ได้แก่ ตรวจสุขภาพ ช่องปาก ๒๔๖ คน ฝึกแปรงฟัน ๒๔๖ คน ย้อมสีฟัน ๑๔๕ คน ฝึกใช้ไหมขัดฟัน ๒๒๕ คน ขูดหินปูน ๖๕คน ทาวานิช ฟลูออไรด์ ๑๖ คน อุดฟัน ๑๐๒ คน ถอนฟัน ๗๙ คน และส่งต่อเพื่อใส่ฟันเทียมพระราชทานและฟันเทียมบางส่วน ๑๒ คน ๒. ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจร้อยละ ๙๐ สรุปบทเรียน : เป็นการบูรณาการงานทันตสาธารณสุขเชิงรุกเข้าสู่ชุมชน คลินิก NCD ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อค้นหากลุ่ม ผู้สูงอายุที่เป็นเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น โอกาสการพัฒนา : รพ.สต.พุทธรักษา จะดําเนินการต่อเนื่องในปี ๒๕๕๕ โดยใช้งบประมาณกองทุนทันตกรรม


คัดเลือกศูนย์อนามัย ที่มีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุน โครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริม สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ทั้งด้านวิชาการ ด้านบริหารจัดการ รวมทั้งการนิเทศ ติดตามและการรายงานผลการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ําเสมอ ทําให้เกิดรูปแบบ แนวทางการดําเนินงานที่เป็นรูปธรรมในระดับจังหวัด อําเภอ ตําบล รวมทั้งในชมรมผู้สูงอายุ ที่เป็นบทเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ในระดับเขต และระดับประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็น แกนกลางในการจัดการประชุม เพื่อขยายผลการดําเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ไปยังหน่วยงาน ระดับต่างๆ ที่สนใจอย่างต่อเนื่อง ศูนย์อนามัยดีเด่น ด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในปี ๒๕๕๔ ได้แก่ ๑. ศูนย์อนามัยที่ ๓ จังหวัดชลบุรี ๒. ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เชียงใหม่


ศูนย์อนามัยดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ศูนย์อนามัยที่ ๓ ชลบุรี ในเขตภาคตะวันออกผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการที่อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น การจัดบริการรองรับผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่ง ที่ภาคสาธารณสุขจําเป็นต้องให้ความสําคัญ มิติหนึ่งที่สําคัญในการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี คือ การพัฒนาสุขภาพ ช่องปาก ซึ่งเป็นที่แน่นนอว่าการมีสุขภาพช่องปากที่ดีจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสามารถใช้ชีวิตในสังคมอย่างมี คุณภาพ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุเป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี สามารถพึ่งตนเองในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากได้ ในปี ๒๕๕๒ ศูนย์อนามัยที่ ๓ ได้มีการดําเนินงานพัฒนาพัฒนาชมรม ผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยแบ่งระยะการพัฒนาเป็น ๓ ระยะ ระยะที่ ๑ ปี ๒๕๕๒ ได้จัดทําการศึกษานําร่อง (Pilot Study) ที่อําเภอแหลมงอบจังหวัดตราด เพื่อศึกษาความ เป็นไปได้ในการดําเนินโครงการ และค้นหากระบวนสู่ปัจจัยแห่งความสําเร็จเพื่อเป็นโมเดลให้กับจังหวัดในเขตตรวจราชการ ที่ ๓ และ ๙ การวางเป้าหมายร่วมกันของชมรม คือ การทําให้ฟันที่เหลืออยู่อยู่ยืนยาวชั่วชีวิต ผ่านการมีส่วนร่วมของ ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชมรมผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคสาธารณสุข ประเด็นหลักในการส่งเสริมสุขภาพ คือ ๑) การทําความสะอาดช่องปาก ๒) การจัดการอาหาร ๓) การตรวจสุขภาพ และการเฝ้าระวังทันตสุขภาพโดยชมรม ๔) การใช้ภูมิท้องถิ่น และถ่ายทอดเทคโนโลยี ๕) การเชื่อมโยงระบบการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปาก และ ๖) การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ระยะที่ ๒ ปี ๒๕๕๓ เป็นระยะขยายงาน โดยนําบทเรียนที่สังเคราะห์จาก อําเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด รวมถึงบทเรียนการดําเนินงานในพื้นที่อื่นๆ จากการเข้าร่วมประชุมกับสํานักทันตสาธารณสุขมาขยายการดําเนินงานใน พื้นที่ โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SRM) เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยจัดให้ทุกหวัดมีการทํา SRM ครอบคลุม ๙ จังหวัด โดยการมีส่วนร่วมของทันตบุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนําชมรมผู้สูงอายุ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะที่ ๓ ปี ๒๕๕๔ เป็นระยะพัฒนางาน ปัญหาหนึ่งที่พบ คือ ทันตบุคลากรยังไม่เข้าใจกระบวนการพัฒนา ชมรม และกิจกรรมที่สามารถดําเนินงานในชมรม ศูนย์อนามัยที่ ๓ จึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการ ดําเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ โดยเป็นทั้งรูปแบบบรรยาย และปฏิบัติการโดยมุ่งเน้นในเรื่อง การจัดการ โภชนาการที่เหมาะสมกับสุขภาพช่องปาก การควบคุมคราบจุลินทรีย์ การตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากใน ชมรม และการใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรในการดูแลสุขภาพช่องปาก นอกจากยังนําโมเดลการดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพใน ผู้สูงอายุจาก โรงพยาบาลแหลมงอบ โรงพยาบาลพานทอง และโรงพยาบาลบ้านสร้างมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ ดําเนินงาน


ศูนย์อนามัยดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เชียงใหม่ กรมอนามัย เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมอนามัย มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนา วิชาการเพื่อการส่งเสริม ควบคุม ป้องกัน และจัดการปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่ง ประกอบด้วยจังหวัด เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน งานทันตสาธารณสุขเป็นงาน หนึ่งของศูนย์อนามัยที่ ๑๐ ที่ดูแลแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพโดยรวม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีทุกช่วงวัยของชีวิตและมีวิสัยทัศน์ (Vision) คือ คนเหนือฟันดี ภาคีร่วมใจ ก้าวไกลระบบทันตสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เชียงใหม่ ดีเด่นด้านการดําเนินงานส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์ฯ มีความ ตระหนัก ในการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ จึงได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา ทันตสาธารณสุขร่วมกับผู้รับผิดชอบของจังหวัด มีการบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยมีการประชุมปรึกษาหารือกับ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สร้างความเข้าใจ ร่วมคิดและสรุปเป็นข้อตกลงร่วมกันจากนั้นจังหวัดก็จะนําข้อตกลงหรือแนวทางที่ ได้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการและทรัพยากรในพื้นที่ จึงทําให้ผลการดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีการรับรู้ร่วมกันหากพบปัญหาก็จะปรึกษาทาง Mail โทรศัพท์ หรือนัดประชุมก็จะเป็นหนทางในการปรึกษาหารือ กัน และที่สําคัญคือมีการประสานงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและใกล้ชิด สิ่งที่เป็นปัจจัยสู่ความสําเร็จของศูนย์อนามัยที่ ๑๐ - ผู้นํามีความมุ่งมั่นและความต่อเนื่อง - ความตระหนักต่อปัญหาทันตสุขภาพของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง - การสนับสนุนของภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะจากจังหวัด ,สํานักทันตฯ,องค์กรส่วนท้องถิ่น ฯลฯ - ได้รับขวัญและกําลังใจจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะมองถึงความสําเร็จของเป้าหมายการพัฒนา เกียรติคุณที่ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ เชียงใหม่ ได้รับ สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความร่วมมือ ของทุกฝ่ายเป็นอย่างดี ความมุง่ หวังต่อไปของศูนย์อนามัยที่ ๑๐ คือ จะร่วมกับทุกหน่วยงานเพื่อพัฒนางานสร้างเสริม สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุเพื่อให้ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระยะยาวต่อไป


จากการดําเนินงานในระยะเวลา ๓ ปี พบว่ามีการขยายตัวของชมรมฯ ในหลายพื้นที่ และมีการพัฒนาชมรมในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน คือ มีกิจกรรมแปรงฟันในชมรม จนถึงระดับการพัฒนาระบบการส่งเสริมทันตสุขภาพ และนวัตกรรมในชมรม ซึ่งสามารถ สรุปกิจกรรมที่ปรากฏได้ดังนี้ ๑. เกิดการสร้างกระแส และสื่อสารสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุโดยการให้การละเล่นพื้นบ้านมาเป็นเครื่องมือสื่อสารในระดับ ชุมชน เช่น ละครชาตรี รํางอบแปรงฟัน นิทานตายายฟันดี แสดงละคร เต้นฮูลาฮูปแปรงฟัน ฯลฯ ๒. เกิดนโยบายสาธารณะ และกิจกรรมชมรม ได้แก่ การแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร หรืออาหารว่าง การจัดอาหารในชมรม ที่คํานึงถึงสุขภาพช่องปาก การตรวจสุขภาพ และอนามัยช่องปากด้วยการย้อมสีฟัน ๓. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และอาคารถาวรจัดตั้งเป็นศูนย์เอื้ออาทรให้กับผู้สูงอายุ ๔. แกนนําผู้สูงอายุขยายการดําเนินงาน ในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์เด็กเล็ก เด็กนักเรียนในโรงเรียน และผู้รับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาล (จิตอาสา) โดยแสดงบทบาทในการขับเคลื่อนการดําเนินงานในเรื่องการสื่อสาร เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น ให้ทันตสุขศึกษา ประดิษฐ์สื่อการสอนสําหรับเด็ก ฯลฯ ๕. นําภูมิปัญญาชุมด้านสมุนไพร เช่น ใบฝรั่ง ใบพลู สาระแหน่ มาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๖. เกิดระบบการช่วยกันเองในชุมชน ผ่านรูปแบบแกนนําชมรม มีระบบการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ถูก ทอดทิ้ง นอนติดเตียง เพื่อให้คําแนะนําการดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกันการติดติดเชื้อในช่องปาก และเป็นขวัญกําลังใจให้ผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพเป็นแหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพช่องปาก มีกิจกรรม ประกอบด้วย ๑. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยการให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสอนทันตสุขศึกษา การจัดมุมความรู้เรื่อง สุขภาพช่องปาก การฝึกปฏิบัติแปรงฟัน การผลิตสื่อ/นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เป็นต้น ๒. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน หรือการเยี่ยมบ้านเพื่อการดูแลอนามัยช่องปาก ๓. การตรวจสุขภาพช่องปากโดยชมรมผู้สูงอายุและประสานการส่งต่อเพื่อรับบริการทันตกรรม ๔. จิตอาสา จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุอื่นๆ เช่น เด็กเล็ก เด็กวัยเรียน หรือผู้มารับบริการที่โรงพยาบาล ฯลฯ ๕. การถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชุมชน ๖. การประสานภาคีเครือข่าย ร่วมสนับสนุนการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ เช่น องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาล มหาวิทยาลัย ฯลฯ ๗. การติดตามประเมินผล เช่น ประเมินผลการแปรงฟันด้วยการย้อมสีฟัน มีข้อมูลสุขภาพช่องปากสมาชิกชมรมอย่างง่าย เช่น การนับจํานวนฟัน จํานวนคู่สบ และการติดตามการเข้ารับบริการหลังการส่งต่อ ชมรมผู้สูงอายุที่มีการพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้ครบถ้วน เป็นแหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพช่อง ปากจนถึงปัจจุบัน ทําให้ชมรมผู้สูงอายุสามารถคิดกิจกรรมเอง ดําเนินการเอง และเสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ ได้เอง สามารถดําเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนได้ ปี ๒๕๕๔ มีชมรมผู้สูงอายุที่เป็นแหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพช่องปาก จํานวน ๖ ชมรม ได้แก่ ๑. ชมรมผู้สูงอายุตําบลแจ้ห่มวัดศรีหลวง อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง ๒. ชมรมดอกลําดวนดารุ้นคอยร๊อต ตําบลหมอนทอง อําเภอบางน้ําเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ๓. ชมรมผู้สูงอายุตําบลทะเลทรัพย์ อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ๔. ชมรมผู้สูงอายุตําบลท่ากว้าง อําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ๕. ชมรมผู้สูงอายุบ้านโสก อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ๖. ชมรมผู้สูงอายุอําเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด


แหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชมรมผู้สูงอายุตําบลแจ้หม่ วัดศรีหลวง อําเภอแจ้หม่ จังหวัดลําปาง จากการที่ชมรมผู้สูงอายุตําบลแจ้ห่มวัดศรีหลวงได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่อง ปากในชมรมผู้สูงอายุระดับประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ทําให้เกิดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอย่าง ต่อเนื่อง ผลงานสร้างชื่อ คือ การสร้างแบบประเมินสุขภาพช่องปากและฟันแบบง่าย เป็นนวัตกรรมสมุดนับฟัน และการย้อมสี ฟันดูคราบจุลินทรีย์ นับเป็นเส้นทางสู่การส่งเสริมสุขภาพช่องปากของตนเองและผู้อื่น นํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดี ช่วยในการ ประเมินผลว่า ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ จากโครงการผู้เฒ่าฟันดีไม่ติดสีแดง รวมทั้งเป็น แหล่งศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงวัยเขตภาคเหนือทั้ง ๑๗ จังหวัด ในปี พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทําให้แกนนําของชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งขึ้น พบว่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนผ่าน ทันตแพทย์จากรุ่นสู่รุ่นจํานวน ๖ รุ่นก็ตาม แต่ชมรมผูส้ ูงอายุยังสามารถขยายเครือข่ายทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้พื้นที่อื่นๆ ได้ ต่อเนื่อง ปัจจัยสู่ความสําเร็จ คือ ผู้สูงอายุมีความภูมิใจที่สามารถดูแลสุขภาพฟันของตนเอง บุคคลในกลุ่มวัยอื่นได้ และ เชื่อมั่นว่าตนเองมีศักยภาพเพียงพอ ในการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้น และช่วยคัดกรองปัญหาสุขภาพ ช่องปากก่อนส่งต่อพบทันตแพทย์ และทันตบุคลากรเพื่อให้การดูแลรักษาทางทันตกรรมต่อไป การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ต่อยอดทันตแพทย์ จากรุ่นสู่รุ่น การดําเนินกิจกรรมเริ่มจาก (ปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙) ทพญ.ธาริณี แสงแก้ว รับนําร่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน ชมรมผู้สูงอายุ จึงปรึกษากับผู้ประสานงานชมรมผู้สูงอายุอําเภอแจ้ห่ม คุณนันทริกา เลิศเชวงกุล พยาบาลวิชาชีพ แนะนํา ชมรมผู้สูงอายุตําบลแจ้ห่มวัดศรีหลวงที่ดําเนินการมาแล้ว ๑๕ ปี มีกิจกรรมต่อเนื่อง มีคุณพ่อกมล เนตรรัศมี เป็นรอง ประธานชมรมขณะนั้น คุณป้าอรพิน สมร่าง เป็นเลขานุการ และอยากให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี จึงเชิญทันตแพทย์ อบรมให้สมาชิกรู้ว่าสุขภาพช่องปากและร่างกายมีความสัมพันธ์กัน ด้วยการอบรมให้รู้จักการแปรงฟันทุกซี่ให้สะอาด และ ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง ให้ความรู้ว่าฟันมี ๒ ชุด คือฟันน้ํานม และฟันแท้ ลักษณะและหน้าที่ของฟัน และให้สมาชิก ฝึกตรวจฟันกันและกัน ถ้ามีฟันสึก ฟันโยก หรือ หินปูน ก็ให้บันทึกลงในแบบฟอร์ม โดยสามารถนําแบบฟอร์มไปพบ ทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อ และมีการจัดประชุมวิชาการโครงการสุขภาพฟันดีเพื่อผู้สูงวัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เปิดตัว แกนนําสุขภาพฟันของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุร่วมกันคิดแนวทางการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ได้แก่ กิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุในชมรมมีสุขภาพช่องปากที่ดี โดยจัดการอบรมให้ความรู้และฝึกแปรงฟัน จัดประกวดฟัน ถ่ายทอดประสบการณ์ และให้มีการสาธิตการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันในกลุ่ม พร้อมปฏิบัติจริง และกิจกรรม เพื่อให้ผู้อื่นมีสุขภาพช่องปากที่ดี ได้แก่ จัดบอร์ดให้ความรู้ ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันแก่คนใกล้ชิด เช่น บุตรหลาน และทุกคนในครอบครัว จับคู่ตรวจฟัน และเดิน/ปั่นจักรยานไปแนะนําผู้สูงอายุเรือ่ งการรักษาฟัน ทันตแพทย์รุ่นที่ ๒ (ปี ๒๕๕๐-๒๕๕๑) ทพญ.จิณห์วรา จิระธรรมโอภาส และ ทพญ.ชรินทร อิสระยางกูร ทํา กิจกรรมต่อยอด ต้องการทราบพัฒนาการหลังจากอบรมเรื่องการแปรงฟันให้กับผู้สูงอายุ จึงได้ปรึกษากับคุณป้าอรพิน ร่วมกันทําแบบประเมิน และนําเรื่องย้อมสีฟันเพื่อดูคราบจุลินทรีย์ พัฒนาสมุดนับฟันขึ้นจากแบบฟอร์มเดิม เป็นโครงการผู้ เฒ่าฟันดี ไม่ติดสีแดง ทํากิจกรรมนับฟันในปากว่ามีกี่ซี่ มีฟันผุ หรือฟันโยกหรือไม่ ถ้าฟันโยกและมีอาการเจ็บจะแนะนําให้ ไปพบทันตแพทย์ มีคุณยายจันทร์คําคิดว่าการใช้ปากกาเข้าไปนับฟันในปากไม่สะอาด จึงให้ใช้ไม้พันสําลีแทน ทําการย้อมสี ฟัน บ้วนปาก และมาจับคู่ดูกันว่ามีสีติดบนตัวฟันหรือไม่ โดยให้คะแนนสีที่ติดอยู่บนตัวฟันเป็นคะแนน ๐, ๑, ๒, ๓ ดังรูป นําคะแนนมารวมกัน หารด้วยจํานวนฟันในปากทั้งหมด ได้เป็นระดับคราบจุลินทรีย์ และบันทึกลงในสมุดนับฟัน กิจกรรมนี้ จัดขึ้นเดือนละครั้ง วันพุธแรกของเดือน ช่วงแรกมีหมอมาดู แต่เมื่อผู้สูงอายุชํานาญแล้ว จึงทํากันได้เองโดยไม่ได้บอกหมอ กิจกรรมนี้ดําเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาประมาณ ๓ ปี ปีนี้มีการขยายกิจกรรมไปในชมรมผู้สูงอายุ เพิ่มอีก 4 ชมรม คือ ชมรมตะเคียนทอง ชมรมผู้สูงอายุตําบลวิเชตนคร ชมรมผู้สูงอายุตําบลบ้านสา ชมรมผู้สูงอายุปงดอน


ผลจากการทํากิจกรรมในช่วงนี้ คุณพ่อกมล เนตรรัศมี ได้รับเชิญเข้าร่วมเวทีเสวนาการสร้างเสริมสุขภาพช่อง ปากผู้สูงวัยระดับประเทศ ปี 2550 ชมรมผู้สูงอายุตําบลแจ้ห่มวัดศรีหลวง และชมรมผู้สูงอายุตําบลแม่สุกได้รับรางวัลชมรม ต้นแบบด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากระดับประเทศ คุณแม่ทองเงิน วสุสัณห์ ได้รับรางวัล 10 ยอดฟันดีวัย 80 ปี ปี 2551 มีฟันครบ 32 ซี่ และเกิดนวัตกรรมสมุดนับฟันและการย้อมสีฟันดูคราบจุลินทรีย์ และในปี 2551-2552 เปลี่ยนย้าย ทันตแพทย์ใหม่เป็นรุ่นที่ 3 คือ หมอจิ๊บ และ หมอป๋อม รับช่วงการทํากิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง รุ่นที่ ๔ ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ทพญ.ณัฐธิดา ไชยวรรณ และ หมอนุ่น ชมรมผู้สูงอายุวัดศรีหลวง ชมรมฯ ตําบลแม่ สุก และชมรมฯ ตะเคียนทอง เป็นแหล่งศึกษาดูงานของ ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ และแกนนําชมรมเป็นตัวแทนนําเสนอ นิทรรศการระดับจังหวัด ระดับศูนย์เขต และระดับประเทศ รุ่นที่ ๕ ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ หมอป๋อม หมอนุ่น หมอมาลัย ทําให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากเข้าไปในศูนย์เด็กเล็ก และโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ผ่านการประเมินในระดับทอง เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ และแกนนํา ผู้สู งอายุ อํา เภอแจ้ ห่ม คุณ แม่ อรพิน สมร่าง และคุ ณ แม่ ลํ าดวน พงษ์ นิก ร ร่ วมกั บ ทพญ.ณั ฐธิ ด า ไชยวรรณ และคุณนันทริกา เลิศเชวงกุล เข้าร่วมถอดบทเรียนโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่อง ปากที่จังหวัดกระบี่ รุ่นที่ ๖ ปี ๒๕๕๔–ปัจจุบัน ทพ.ชัยพฤกษ์ ตั้งจิตคงพิทยา หมอสอง และหมอแอน ร่วมขับเคลื่อนงานชมรม สนับสนุนสื่อการตรวจสุขภาพช่องปาก และให้ชมรมทําความเข้าใจ เรื่อง การเป็นบุคคลต้นแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่อง ปาก ดําเนินกิจกรรมหลักของการดูแลสุขภาพฟันในรูปแบบต่างๆ เสริมองค์ความรู้เรื่องโรคปริทันต์ โรคทางระบบที่พบบ่อย ในสูงอายุ จัดเวทีเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มแกนนําของชมรมผู้สูงอายุ ตามความต้องการของแกนนําชมรมผู้สูงอายุที่ ต้อ งการมีค วามรู้ ความเข้า ใจและทั กษะที่ถูกต้องในการดู แลสุขภาพช่ องปาก เพื่อให้มีความมั่ นใจก่อนออกดําเนิ นงาน กิจกรรมมุ่งเน้นให้แกนนําผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถตรวจช่องปาก และให้คําแนะนําการดูแลสร้าง เสริมสุ ขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับผู้สู งอายุแต่ละบุ คคล ด้วยการจัดการประชุมภาคทฤษฏี และปฏิบัติ ทบทวนปัญหา สุ ขภาพช่ องปากผู้ สู งอายุ จั ดฐานการเรี ยนรู้ เรื่ องสุ ขภาพช่องปาก ๕ ฐาน ได้ แก่ ฐานที่ ๑ เรื่ องโรคทางระบบ ได้แก่ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ฐานที่ ๒ เรื่องโรคปริทันต์ ฐานที่ ๓ เรื่องการตรวจนับฟันและการแปรงฟันที่ถูกวิธี ฐานที่ ๔ เรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมทําความสะอาดช่องปากและฟัน ฐานที่ ๕ เรื่องการดูแลฟันเทียม และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูก วิธี ประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟัน และตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเองอย่างง่าย จับคู่ตรวจฟัน การลงบันทึกผลการ ตรวจฟัน การเลือกใช้อุปกรณ์การแปรงฟัน การดูแลฟันเทียม เป็นต้น มีการสร้างความเข้มแข็งให้ อสม./ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อ การส่งต่อผู้สูงอายุไปรับการรักษา และการฝึกทักษะการย้อมสีฟันให้ อสม. และผู้สูงอายุ ในการตรวจประสิทธิภาพของการ แปรงฟันที่ถูกวิธี การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากไม่ได้เป็นหน้าที่ของเฉพาะทันตบุคลากรเท่านั้น ทีมสุขภาพเป็นกําลังสําคัญในการ สนับสนุนการดําเนินงาน ทีม่ ุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การปลูกฝังแนวคิดเรื่องสุขภาพฟันดี สามารถอยู่กับเราตลอดชั่วอายุขัย ทําให้มีการรณรงค์ในกลุ่มประชากรทุกช่วงวัย ในการส่งเสริม ป้องกันรักษา และฟื้นฟู สภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง มีกลุ่มจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อนช่วยดูแลฟันผู้สูงอายุ อีกทั้งการทํากิจกรรม กับสมาชิกในครอบครัวร่วมกับ อสม. และศูนย์เด็กเล็ก มีคุณปู่ คุณย่า สอนหลานแปรงฟัน ฝึกสุขนิสัยที่ดีจนกระทั่งเด็กโต ถ้าพบสิ่งผิดปกติผู้สูงอายุสามารถให้คําแนะนําและส่งพบทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนให้รับการรักษาได้ ชมรมผู้สูงอายุตําบลแจ้ห่มวัดศรีหลวง ร่วมกับทีมสุขภาพโรงพยาบาลแจ้ห่ม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบลเครือข่ายอําเภอแจ้ห่ม ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และความจําเป็นที่ผู้สูงอายุควร ได้รับการดูแลด้านการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล เพื่อลดการสูญเสียฟันอย่างเป็นระบบ โดย เน้นการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การรับบริการส่งเสริมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ ร่วมไปกับการรักษา และการใส่ฟัน เทียมพระราชทานในระบบบริการปกติ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพช่องปากดี สามารถดํารงตนอย่างมีคุณภาพชีวิต ตลอดอายุขัย และเป็นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุที่ยั่งยืน


แหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชมรมดอกลําดวนดารุ้ลคอยร๊อต ตําบลหมอนทอง อําเภอบางน้ําเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่มัสยิดดารุ้ลคอยร๊อต หมู่ ๕ ตําบลหมอนทอง อําเภอบางน้ําเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มก่อตั้งปี ๒๕๕๓ จากปัญหาผู้สูงอายุด้านความยากจน ด้านสุขภาพ ความเงียบเหงาเศร้าซึมและถูกทอดทิ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ปัญหาให้กับผู้สูงอายุ และชุมชน ได้แก่ กิจกรรมการฝึกอาชีพ เช่น การเพาะเห็ดฟาง ทําไม้กวาด ทําอาหาร สานตะกร้า กิจกรรมการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ตรวจสุขภาพปีละ ๒ ครั้ง ตรวจวัดสายตา ตรวจสุขภาพช่องปาก และกิจกรรมดูแลสังคม ได้แก่ เยี่ยมบ้าน จิตอาสาดูแลผู้พิการและครอบครัว เป็นต้น จากกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพ คณะกรรมการของชมรมมีความเห็นว่า อนามัยช่องปากของผู้สูงอายุ เป็น เรื่องสําคัญไม่น้อยไปกว่าปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ปี ๒๕๕๔ จึงมีการประสานงานกันระหว่างชมรมดอกลําดวนดารุ้ล คอยร๊อต และ รพ.สต.หมอนทอง จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุขึ้นซึ่งกิจกรรมการดําเนินงานได้แก่ ๒. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก - ด้านความรู้ ผู้สูงอายุแกนนําผ่านการอบรมและฝึกทักษะในการแปรงฟันสามารถตรวจสุขภาพช่องปาก ของตนเองและสมาชิก ให้ความรู้ กับผู้สูงอายุ ศูนย์เด็กเล็ก - สื่อและนวัตกรรม สมาชิกชมรมและแกนนําร่วมกันจัดทําสื่อ และนวัตกรรมต่างๆ ได้แก่ Pop up ใบ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก แผ่นพับ เพลงมีฟันปลอมพร้อมดูแล ทะเบียนภูมิปัญญาเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ดูแล สุขภาพช่องปาก น้ํายาบ้วนปากจากสมุนไพร - การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรม เช่น จัดมุมให้ความรู้เรือ่ งการดูแล สุขภาพในช่องปาก จัดอุปกรณ์การแปรงฟัน และชุดสาธิตการแปรงฟัน นอกจากนี้จัดมุมความรู้ที่ศูนย์ 3 วัย ๓. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน การเยีย่ มบ้าน ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพปากฟันดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ได้แก่ผู้ดูแล ๔. จิตอาสา สมาชิกมีกิจกรรมแลกเปลี่ยน-แนะนํากับคุณครูศูนย์เด็กเล็กเรื่องการแปรงฟันในเด็กเล็ก ๕. การถ่ายทอดองค์ความรู้ มีรูปแบบคุยส่วนตัว กลุ่ม สาธิต ฝึกปฏิบัติจริง ชมรมเป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้ง ภายในและนอกชุมชน นําไปสู่การเกิดชมรมผู้สูงอายุที่มั่นคง ครบทุกหมู่บ้านในตําบลหมอนทอง สามารถขยายเครือข่ายให้ ชมรมอื่นไปดําเนินงานต่อ ได้ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชมรมผู้สูงอายุระดับอําเภอ ระดับจังหวัด ๖. การประสานภาคีเครือข่าย ได้รับการสนับสนุนด้านกําลังคน วิชาการ ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ จาก อบต.หมอนทอง กรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รพสต.หมอนทอง สสอ.บางน้ําเปรี้ยว รพ.บางน้ําเปรี้ยว สสจ.ฉะเชิงเทรา ๗. การติดตามประเมินผล มีการตรวจสุขภาพในช่องปากโดย ทันตบุคลากรปีละ 2 ครั้ง มีการทบทวนความรู้ และเพิ่มความรู้ใหม่ๆ ทดสอบการแปรงฟันสะอาดโดยการใช้สีย้อมฟัน ได้มีแบ่งกลุ่มผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก ที่ รพ. สต.หมอนทองดูแลได้ ถ้าเกินความสามารถส่งต่อให้ รพ.บางน้ําเปรี้ยวขึ้นทะเบียน และนัดดูแลเป็นระยะตามแผนที่กําหนด โดยประสานผ่านแกนนําของชมรม


แหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชมรมผู้สูงอายุตําบลทะเลทรัพย์ อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ชมรมผู้สูงอายุตําบลทะเลทรัพย์ เป็นชมรมผู้สูงอายุดีเด่นระดับจังหวัดปี ๒๕๕๑ ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพระดับ จังหวัด และระดับเขต ปี ๒๕๕๒ เป็นตําบลต้นแบบด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจังหวัดชุมพร ปี ๒๕๕๓ เป็นชมรม ผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด ปี ๑๕๕๔ และจากการทํางานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ด้านส่งเสริมพระศาสนา ล่าสุดได้รับรางวัลวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับจังหวัด ปี ๒๕๕๔ ด้วย ที่ตั้ง ชมรมผู้สูงอายุตําบลทะเลทรัพย์ ตั้งอยู่ที่อาคารวิภาวดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทะเลทรัพย์ อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร การดําเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ชมรมผู้สูงอายุตําบลทะเลทรัพย์ ได้ดาํ เนินงานด้านการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ภายใต้โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผูส้ ูงอายุ “ผู้สูงวัยฟันดี ชีวีมีสุข” ปี ๒๕๕๓ มี สมาชิกเข้าร่วมโครงการจํานวน ๑๐๐ คน และต่อมาได้ดําเนินโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ “ชมรมผู้สูง วัย ใส่ใจฟันดี” เครือข่ายโรงพยาบาลปะทิว ปี ๒๕๕๔ มีสมาชิกใหม่เข้าร่วมโครงการ จํานวน ๕๐ คน ชมรมผู้สูงอายุตําบล ทะเลทรัพย์ได้จัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้ ๑. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยผู้สูงอายุ ปีละ ๒ ครั้ง เช่น มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนํา และสมาชิกชมรมด้านสุขภาพช่องปาก มีการฝึกทักษะการทําความสะอาดช่องปาก มีการแปรงฟันในช่วงเวลาจัดกิจกรรมที่ ชมรม มีการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยสมาชิกชมรม และจับคู่กันตรวจฟัน ๒. มีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีมุมทันตสุขศึกษาในชมรมผู้สูงอายุ มีสถานที่จัด กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และมีวัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมภายในชมรม ๓. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชมรมผู้สูงอายุ โดยการไปศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุอื่น และเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ของชมรมผู้สูงอายุ มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในชมรมเช่นผงสีฟันทันต์ดี ช่วยในการรักษาเหงือกและฟัน ๔. มีข้อมูลสุขภาพช่องปากของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ทันสมัย โดยการลงบันทึกในโปรแกรมผู้สูงอายุ ๕. มีการประกวดผู้สูงอายุ ๘๐ ปี สุขภาพฟันดี ซึ่งมีฟันแข็งแรงจํานวน ๓๐ ซี่ มากกว่า ๔ คู่สบ และมีกิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อน โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อการดูแลอนามัยช่องปากแก่สมาชิกชมรม ในกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียง ผลที่เกิดขึ้นกับชมรม จากการดําเนินการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยสมาชิกของชมรม ทําให้เกิดนโยบายสาธารณะในเรื่อง การลดรับประทานอาหารหวาน โดยเริ่มจากอาหารว่างในการประชุมชมรม และการ รณรงค์ในเรื่องการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ในวันประชุมประจําเดือน นอกจากนี้ยังได้เกิดนวัตกรรมการ ผลิตผงสีฟันทันต์ดี นํามาใช้ในชมรมและเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในชุมชน ทําให้มีสุขภาพของเหงือกและฟันดีขึ้น ส่งผลให้ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี และจากความเข้มแข็งของชมรมโดยได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นําท้องถิ่น แกนนําชมรม อสม. โรงพยาบาลชุมชน รพ.สต., โรงเรียน และผู้นําศาสนา ทําให้มีผลงานเด่น และได้รับรางวัลมากมาย เป็นที่ภาคภูมิใจของชุมชน/สังคม สมควรได้รับการยกย่อง ดังคําขวัญที่ว่า “สูงอายุอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีศักดิ์ศรี”


แหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชมรมผู้สูงอายุตําบลท่ากว้าง อําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ “แกนนําสานพลัง สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อผู้สงู วัยในชุมชน” ชมรมผู้สูงอายุตําบลท่ากว้าง อําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในปี ๒๕๔๓ มีการรวมกลุ่มดําเนินกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการแบบองค์รวม ทัง้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การอนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น และสนับสนุนการสืบทอดภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านเข้าด้วยกัน ภายใต้การนําของประธานชมรม และ แกนนําผู้สูงอายุ ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด ซึ่งตระหนักถึง คุณค่าการรวมกลุ่มดําเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ได้ดําเนินการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ควบคู่ไปกับโครงการฟันเทียมพระราชทาน ตามแนวคิดบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพ โดยมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัตกิ ารให้แก่แกนนําด้านสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุทั้ง ๗ หมู่บ้าน จํานวน ๑๔ คน เพื่อเสริมศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สูงอายุในชมรม ก่อให้เกิดการดําเนินกิจกรรมในโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน เยีย่ มบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ และ ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ซึ่งสอดแทรกการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก ไปพร้อมกับการดูแลสุขภาพร่างกายและ จิตใจ โดยสมาชิกในชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการคิด และดําเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และด้วยความห่วงใยลูกหลานในชุมชน ชมรมผู้สูงอายุจึงได้ดําเนินกิจกรรมใน โครงการ พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย ผ่อเขี้ยว หลาน มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ด้วยการละเล่น เล่านิทาน ถ่ายทอดวัฒนธรรมพื้นบ้านผ่านการบริโภคขนมเมืองอ่อนหวาน (ข้าวต้มถั่วลิสง/ถั่วแปบ) การแปรงฟันร่วมกันระหว่างแกนนําผู้สูงอายุ และเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อให้เกิด ความตระหนักในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลานในด้านการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง และเชื่อมมิตรภาพระหว่างวัย แกน นําชมรมผู้สูงอายุจึงได้ขยายโครงการสู่โรงเรียนระดับประถม และมัธยมศึกษาขยายโอกาส โดยให้ความรู้เรื่องการดูแล สุขภาพช่องปาก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการดํารงชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีล้านนา การออกกําลังกาย ประยุกต์นาฏศิลป์พื้นบ้าน (ฟ้อนเจิง) ให้แก่เด็กนักเรียนในตําบลท่ากว้าง และชุมชนใกล้เคียง เพื่อสืบสานประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ปัจจุบันชมรมผู้สูงอายุตําบลท่ากว้าง มีการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในสมาชิกชมรมอย่างสม่ําเสมอ เช่น กิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง จับคู่ฝึกปฏิบัติการควบคุมคราบจุลินทรีย์ด้วยเม็ดสีย้อมฟัน การแปรงฟัน ร่วมกันหลังอาหารกลางวัน แกนนําผู้สูงอายุช่วยคัดกรองผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคทางระบบ และโรคในช่องปากเพื่อส่งต่อไป รับบริการทันตกรรมป้องกันโดยทันตบุคลากร ให้สุขศึกษาด้านการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ประชาชนทั่วไป แนะนํา โครงการฟันเทียมพระราชทาน และการดูแลฟันเทียมที่ถูกวิธีแก่ผู้สูงอายุในชุมชน นอกจากนี้ยังสนับสนุนการใช้สมุนไพร เพื่อกระตุ้นการหลั่งของน้ําลาย จึงถือเป็นแบบอย่างอันดีในการเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่อง ปากแก่ผู้สูงอายุทั้งในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ซึ่งล้วนเกิดจากความสามัคคี เสียสละของแกนนําและสมาชิกใน ชมรมผู้สูงอายุ ประสานพลังเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนอันเป็นเป้าหมาย สูงสุด


แหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

“ชมรมผู้สูงอายุบ้านโสก ตําบลบ้านโสก อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูม”ิ ชมรมฯ ก่อตั้งเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดยนายชูศิลป์ เที่ยงกินรี ประธานชมรม เห็นว่า มีผู้สูงอายุบ้านโสกมี จํานวนมาก เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ผ่อนคลายความเครียด มีปัญหาก็ปรึกษากันในเวลา ว่าง เริ่มแรกมีสมาชิกทั้งหมด ๓๔๘ คน มีบ้านเลขที่ ๒๓๑ หมูท่ ี่ ๑๑ ตําบลบ้านโสก อําเภอคอนสวรรค์ เป็นสถานที่ ประสานงานของชมรม เครือข่ายสาขาสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี จังหวัดชัยภูมิ และได้รับสนับสนุนโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบลบ้านโสก อําเภอคอนสวรรค์ และโรงพยาบาล คอนสวรรค์ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ โครงการสร้างเสริมการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ การสร้างเสริมการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพและพัฒนา เครือข่ายสร้างเสริมการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สํานักงานกองทุนส่งเสริม สุขภาพ (สสส.) โดยมีจัดกิจกรรมออกกําลังกายสําหรับสมาชิกในชมรมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โครงการอาสาสมัค รดู แ ลผู้ สู ง อายุ “เพื่ อนช่ ว ยเพื่ อน” ได้ รั บ การสนั บสนุน งบประมาณ จากสํ านั ก งาน สาธารณสุขจังหวั ดชัยภูมิ และสํานั กงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ดําเนินการจัดอบรมสมาชิก อาสาสมัครดูแล ผู้สูงอายุ “เพื่อนช่วยเพื่อน” โดยอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมได้ออกเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ในหมู่บ้าน และ หมู่บ้านใกล้เคียง อาสาสมัคร ๑ คน ดูแลผู้สูงอายุ ๕ คน ปฏิบัติงานสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง เดือนละ ๘ ครั้ง กิจกรรมคือ ออก เยี่ยมถามอาการเจ็บป่วย แนะนําให้ดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปาก และการออกกําลังกายตามความ เหมาะสมของวัย เป็นกําลังใจให้กับผู้สูงอายุ โครงการสร้างเสริมภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น กิจกรรมจักสาน ได้รับงบสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วน ตําบลบ้านโสก โดยชมรมก็ได้ดําเนินการจัดอบรมสมาชิก กลุ่มจักสานขึ้น และจัดหาทุนหมุนเวียนใช้ เพื่อซื้ออุปกรณ์การจัก สานเพื่อทําเครื่องจักรสานขาย ทําไปขายไปอยู่อย่างต่อเนื่อง ทําให้กลุม่ เข็มแข็ง โครงการฟันเทียมพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา ครบ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ชมรมเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ได้คัดหาสมาชิก ๔๐ คน เข้าอบรมที่โรงพยาบาลคอนสวรรค์ เมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ และร่วมกับโครงการอาสาสมัครผู้สูงอายุ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ออกเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุ แนะนําและทํา ให้ดูในเรื่องของการดูแลสุขภาพช่องปาก คือ การแปรงฟันที่ถูกวิธี การทําความ สะอาดลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เมื่อแนะนําแล้วผู้สูงอายุรู้สึกดีใจ และกระตือรือร้นที่จะฝึกปฏิบัติ ปัจจุบัน ขยายเครือข่าย กลุ่มแกนนําผู้สูงอายุ ร่วมกับกลุ่ม อสม. ในการไปดูแลผู้พิการ (care giver) และสอนการดูแลสุขภาพช่องปากในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก และกําลังจะดําเนินงานในศูนย์ทอผ้าในหมู่บ้านต่อไป แหล่งศึกษาดูงาน แกนนําผู้สูงอายุบ้านโสกร่วมเป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การดําเนินงานส่งเสริม สุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุหมู่บ้านอื่นๆ ในปี ๒๕๕๐ ศูนย์อนามัยที่ ๖ และ สสจ.ขอนแก่น และปี ๒๕๕๓ ทันต บุคลากรจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มาศึกษาดูงานการดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จากการดําเนินงานที่ผ่านมา ผู้สูงอายุรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง เกิดการดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากอย่าง ต่อเนื่อง


แหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชมรมผู้สูงอายุอําเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุอําเภอแหลมงอบ ได้เริ่มดําเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ คปสอ.แหลม งอบ เห็นความสําคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และความจําเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริม สุขภาพในช่องปากที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและสมาชิกใน ชมรมได้อย่างถูกต้อง ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ และเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟัน สิ่งเหล่านี้ จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี สามารถดํารงตนด้วยการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขั้นตอนดําเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก เริ่มจากการพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ ด้วยการอบรมให้ความรู้แกนนําผู้สูงอายุ และผู้นําชุมชนจํานวน ๕ ชมรม เพื่อกําหนดแนวทางการดําเนินกิจกรรม และร่วมวางแผนสร้างฝันที่จะดําเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรม ผู้สูงอายุ ที่อาคารเอื้ออาทรผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจาก อบจ.ตราด เป็นสถานที่ดําเนินกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุได้ทุก เดือน มีการพัฒนาชมรมแกนนําเดิมและขยายการดําเนินงานในชมรมใหม่ กิจกรรมที่ดําเนินการ ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริม สุขภาพช่องปาก ด้วยการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก โดยทันตบุคลกร อสม.และแกนนําผู้สูงอายุ ฝึกทักษะการแปรงฟัน มีการกําหนดนโยบายการแปรงฟัน/ทําความสะอาดช่องปากหลังอาหารกลางวัน เปลี่ยนอาหารว่างจากขนมหวาน เป็นผลไม้ตามฤดูกาลแทน,เมนูอาหารกลางวันเน้นผักและปลาเป็นหลัก มีน้ําสมุนไพรอ่อนหวาน ไม่มีน้ําหวาน/น้ําอัดลม จัด มุมความรูเ้ กี่ยวกับสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ประกวดผู้สูงอายุฟันดี ผลิตโมเดลแปรงฟันจากเปลือกมะพร้าว ผลิตแปรงสีฟัน-ยาสีฟัน เพื่อเป็นสื่อในแสดงและการสอนให้ความรู้ ใน ชมรมผู้สูงอายุ นําสมุนไพรพื้นบ้านมาช่วยระงับกลิ่นปากและแก้ปวดฟันโดยแพทย์พื้นบ้าน จัดกิจกรรมสร้างกระแสเพื่อฟันดี ในชมรม ด้วยการแสดงละครชาตรี แสดงละครบทบาทสมมติ รําไทยฟันดี เซิ้งงอบ ฟันดี ฮูลาฮูปแปรงฟัน ฯลฯ มีการทําไม้ จิ้มฟันและเปลือกหมาก เพื่อเป็นอุปกรณ์การทําความสะอาดฟัน ด้านการช่วยเหลือชุมชนมีโครงการเพื่อนเยี่ยมเพื่อน ด้วยการออกเยี่ยมผู้สูงอายุที่ติดเตียง เพื่อให้ความรู้ในการ ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดเตียงแก่ญาติผู้ดูแลเป็นประจําทุกชมรมมีการตรวจสุขภาพช่องปากโดยแกนนําผู้สูงอายุ แนะนําการรักษาโดยประสานทันตบุคลากรจัดให้บริการหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่และเปิดให้บริการที่คลินิกทุกวันอังคารบ่าย ผู้สูงอายุจิตอาสาจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการให้คําแนะนําเรื่องการแปรงฟัน,เล่านิทาน และเล่าประสบการณ์ ของผู้สูงอายุให้กับเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก เด็กนักเรียนในโรงเรียน ในโรงเรียนพ่อแม่ คลินิก ANC WBC ผู้มารับบริการทันตก รรมที่โรงพยาบาลและในกิจกรรมนิทรรศการเผยแพร่นอกสถานที่ต่างๆ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับเครือข่ายเด็กไทยฟันดี นํา ผลงานแต่ ละชมรมแลกเปลี่ ยนเรี ยนรู้ ในระดั บอํ าเภอ จั งหวั ด เป็ นแหล่ งศึกษาดู ง านจากในทั้ งจั งหวั ดและต่ างจั งหวั ด นอกจากนี้ชมรมยังมีการประสานกับท้องถิ่น (อบต./เทศบาล และ อบจ.) เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณดําเนินกิจกรรมอย่าง ต่อเนื่องทุกปี โดยมีทันตบุคลากร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ท้องถิ่น และ อสม. เป็นพี่เลี้ยงในการดําเนินกิจกรรมอย่าง ต่อเนื่อง มีการรวบรวมข้อมูลผลการการตรวจสุขภาพช่องปากและผู้ที่ได้รับบริการทันตกรรมทุกชมรม ปัจจุบันชมรมผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากทุกชมรมในอําเภอแหลมงอบ (คิดเป็น ๑๐๐%) ผลการประเมินประสิทธิภาพการ แปรงฟันด้วยการใช้เม็ดสีย้อมคราบจุลินทรีย์ ดอกอัญชัญ และเปลือกแก้วมังกรสีแดง พบว่าการย้อมสีฟันจากเม็ดสี ย้อมฟัน ติดสีดีที่สุด ประสิทธิภาพในการแปรงฟันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๘.๔ เป็น ร้อยละ ๘๒.๔๘ ผลการประเมินความพึงพอใจในการ ดําเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ร้อยละ ๙๔.๒๔ ผู้สูงอายุมีฟันมากกว่า ๒๐ ซี่ ร้อยละ ๔๖ ตามลําดับ มีฟันคู่สบ≥ ๔ คู่ ร้อยละ ๖๔ ผลความสําเร็จในครั้งนี้เกิดจากการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสําคัญ ร่วมแก้ไขปัญหาทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและแกนนําผู้สูงอายุเป็นเรื่องสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่อง การประสานงานการมีส่วนร่วม การบูรณาการร่วมของชมรมผู้สูงอายุ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง


ชมรมผู้สูงอายุที่มีการทํากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรม มีกิจกรรมประกอบด้วย 1. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยผู้สูงอายุ อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง เช่น การให้ความรู้ด้านสุขภาพช่อง ปาก การฝึกทักษะการทําความสะอาดช่องปาก การแปรงฟันในช่วงเวลาจัดกิจกรรมที่ชมรมฯ การตรวจสุขภาพช่องปาก โดยสมาชิกชมรมฯ ฯลฯ 2. จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น มีมุมความรู้ในชมรมผู้สูงอายุ สถานที่จัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก วัสดุ/อุปกรณ์ สนับสนุนกิจกรรม การสร้างกระแสเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปาก ฯลฯ 3. มีการเรียนรู้เรื่องสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ เช่น การไปศึกษา/ดูงานชมรมผู้สูงอายุอื่น การเข้าร่วม ประชุมด้านสุขภาพช่องปาก ฯลฯ 4. มีข้อมูลสุขภาพช่องปากของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ทันสมัย 5. เป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน/เรียนรู้ของชมรมผู้สูงอายุ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ปี ๒๕๕๔ มีชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขตตรวจราชการ ของกระทรวง สาธารณสุข จํานวน ๑๘ ชมรม ซึ่งคัดเลือกโดยศูนย์อนามัยเขตที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ๑. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบางบัวทอง อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ๒. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๒ ชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนตาล อําเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ๓. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๓ ชมรมผู้สูงอายุตําบาลบางยอ อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๔. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๔ ชมรมผู้สูงอายุเกาะศาลพระ อําเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ๕. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๕ ชมรมรวมน้ําใจผู้สูงอายุสมอพลือ อําเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ๖. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๖ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๗. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๗ ชมรมผู้สูงอายุวัดมาตุคุณาราม ตําบลกระโสม อําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ๘. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๘ ชมรมผู้สูงอายุตําบลคลองแงะ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ๙. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๙ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพนัสนิคม อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี


๑๐. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๐ ชมรมผู้สูงอายุตําบลบ้านจีต อําเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี ๑๑. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๑ ชมรมผู้สูงอายุบ้านภูวง อําเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ๑๒. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๒ ชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหิน ตําบลศิลา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๑๓. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๓ ชมรมผู้สูงอายุตําบลบึงบูรพ์ อําเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ๑๔. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๔ ชมรมผู้สูงอายุตําบลหนองบัวใหญ่ อําเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ๑๕. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๕ ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ๑๖. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๖ ชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหล่ม อําเภอดอกคําใต้ จังหวัดพะเยา ๑๗. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๗ ชมรมผู้สูงอายุบานไม่รู้โรย ตําบลบ้านป้อม อําเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ๑๘. เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๘ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลลานกระบือ อําเภอลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑

ชมรมผู้สูงอายุบางบัวทอง อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบางบัวทอง ๑. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก - อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ และตอบคําถามทันตสุขภาพ - ฝึกทักษะการทําความสะอาดช่องปาก - ประกวดสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ - เยี่ยมบ้านสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ - ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพในคลินิกเด็กดีทุกวันอังคาร - มีการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน (รายการโทรทัศน์ช่อง ๕, ๑๑, TPBS, TNN) ๒. จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก - มีมุมความรู้ในชมรมผู้สูงอายุโดยใช้บอร์ดเคลื่อนที่ (สื่อสนุก บุกถึงที่) - มีเพลงสนับสนุนกิจกรรมการแปรงฟันประจําชมรม ๓. มีการเรียนรู้ในชมรมผู้สูงอายุ - เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ประสานความคิด เนรมิตผู้สูงอายุฟันดี” ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพฯ - เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ณ โรงแรมวรบุรีอโยธยา จังหวัดอยุธยา - เข้าร่วมงานผู้สูงอายุแห่งชาติ สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สทพม. ณ สโมสรทหารบก กรุงเทพ - เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร ในการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก ของ ผู้สูงอายุ ณ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ๔. มีข้อมูลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สมาชิกที่ตรวจ จํานวน ๘๐ คน มีอายุเฉลี่ย ๖๖.๐๗ ปี ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันแท้ในปาก ๑๔.๗๖ ซี/่ คน มีค่าเฉลี่ย จํานวนฟันผุที่ต้องถอน ๐.๓๑๕ ซี/่ คน ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันโยกที่ต้องถอน ๐.๑๑ ซี/่ คน จํานวนคู่สบฟันหลัง เป็นฟันแท้กับ ฟันแท้ เฉลี่ย ๒.๒๘ คู่ ฟันแท้กับฟันเทียมเฉลี่ย ๐.๘๗ คู่ ฟันเทียมกับฟันเทียมเฉลี่ย ๒.๐๓ คู่ มีจํานวนผู้สูงอายุที่ควรได้รับ บริการทันตกรรม ๘๘.๗๒% ๕. เป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน/เรียนรู้ของชมรม ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง - -ต้อนรับคณะผู้ดูงานจากมูลนิธิรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลฯ - -ต้อนรับคณะผู้ดูงานจากชมรมผู้สูงอายุจังหวัดฉะเชิงเทรา - -ร่วมกับอบต. ๖ แห่ง และเทศบาล 1 แห่ง จัดโครงการ “คู่หูสองวัย ใส่ใจสุขภาพฟัน” เพื่อส่งเสริม สุขภาพช่องปากในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ จากการดําเนินกิจกรรมดังกล่าว ทําให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปาก รวมทั้งสุขภาพร่างกายดีขึ้น ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า และมีความสุขที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๒

ชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนตาล อําเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ตําบลหนองน้อย ประกอบด้วย ๘ หมู่บ้าน ๙๗๔ หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด ๓,๑๓๖ คน โดยมีผู้สูงอายุ จํานวน ๖๘๔ คน (๒๑.๘๑%) มีชมรมผู้สูงอายุ รวม ๖ ชมรม ครอบคลุมทั้ง ๘ หมู่บ้าน สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จํานวน ๕๒๑ คน (๗๖.๑๖%) โดยชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนตาลครอบคลุม ๓ หมู่บ้าน การดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนตาล ครอบคลุม ๑. กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก - ชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนตาล จัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก ด้วยการบูรณาการ พร้อมกับการจ่ายเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรม ระยะแรก ดําเนินการโดยการประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ รพ.สต.หนองน้อย และ อสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสาธารณสุข ของตําบล มาช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก ปัจจุบันส่งเสริมให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรม ดําเนินการตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง โดยมี อสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสาธารณสุข และ เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.หนอง น้อย ให้การสนับสนุนเพิ่มเติม ๒. กิจกรรมด้านการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในด้านสถานที่ ด้วยผู้สูงอายุบ้านดอน ตาล ตําบลหนองน้อย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัดจึงเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้ง การจัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก เช่น การรับประทานอาหาร และ แปรงฟันหลังอาหารร่วมกันในวันพระ การตรวจสุขภาพ ร่างกายและสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ด้านวัสดุ/อุปกรณ์ ชมรมฯ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีและใช้แปรงสีฟัน ยาสีฟันที่มี คุณภาพด้วยการจัดทําเป็นกองทุนแปรงสีฟัน ด้านความรู้ ชมรมฯ ได้รับการสนับสนุนชุดสาธิต การแปรงฟัน และสนทนา ในระหว่างรับประทานอาหารร่วมกันในวันพระ ๔. มีการเรียนรู้ในชมรมผู้สูงอายุหรือเพิ่มศักยภาพชมรม - ปี ๒๕๕๔ คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุได้รับการ เพิ่มศักยภาพในด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยใช้หลักสูตรของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ครอบคลุมประเด็น การตรวจสุขภาพช่องปากอย่างง่าย การทําความสะอาดช่องปาก อุปกรณ์ที่ใช้ในการทําความสะอาดช่องปาก การ ดําเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพช่องปาก เป็นต้น ๔. มีข้อมูลสุขภาพช่องปากสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ทันสมัย ข้อมูลสุขภาพส่วนใหญ่ได้จากการสอบถามผู้สูงอายุ ในประเด็น จํานวนฟันแท้ จํานวนฟันโยกหรือล้ม การมีฟันปลอม ประเภทฟันปลอม พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การกินหมาก/ ยานัตถุ์ การสูบบุหรี่ โรคประจําตัว เป็นต้น ซึ่งจากการสํารวจในปี ๒๕๕๔ โดย อสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพ พบปัญหา สุขภาพช่องปาก ดังนี้ ผู้สูงมีฟันแท้น้อยกว่า ๑๖ ซี่ จํานวน ๖๕ คน (๙.๕๐0%) ไม่มฟี ันบดเคี้ยว ๔๐ คน (๕.๘๕%) ฟันผุ จํานวน ๑๒๐ คน (๑๗.๕๔%) และผู้สูงอายุมีฟันปลอมใช้งาน ๑๓๑ คน (๑๙.๑๕%) ได้ประสานงาน รพ.สต. ในการบําบัด และฟื้นฟูสภาพสุขภาพช่องปาก ๕. ด้านการถ่ายทอดความรู/้ การเป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน/เรียนรู้ของชมรมฯ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ด้านการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในปีงบประมาณ 2554 ชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนตาลได้รับเชิญเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่ ๑. เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องในชมรมผู้สูงอายุ ในการประชุมเพิ่ม ศักยภาพคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุด้านทันตสุขภาพ เครือข่ายบริการสุขภาพวัดสิงห์-หนองมะโมง ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลวัดสิงห์ ๒. เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดําเนินงานสุขภาพช่องปากในระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมเจ้าพระยา สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ๓. เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดําเนินงานสุขภาพช่องปากในระดับเขต ณ โรงแรมลพบุรีอินน์ จังหวัด ลพบุรี


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๓

ชมรมผู้สูงอายุตําบลบางยอ อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ชมรมผู้สูงอายุตําบลบางยอ เริ่มก่อตั้ง เมื่อปี ๒๕๔๔ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด ๒๐๐ คน โดยมีนายประวิตร ปั้น น้อย เป็นประธานชมรม และมีคณะกรรมการดําเนินงานในชมรมอีก ๑๘ ท่าน การดําเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุตําบลบางยอ ได้ดําเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตั้งแต่ ๒๕๕๒ ถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ศักยภาพและการจัดการเรียนรู้แก่แกนนําผู้สูงอายุให้มีส่วนร่วมในการวางแผน ปฏิบัติ ติดตาม ประเมินผล และเรียนรู้จาก การปฏิบัติ นําไปสู่การปรับปรุงหรือพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุโดยมี นางจุฑาภา ศรีประเสริฐ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบางยอ และนางสาวลัลน์ณภัทร์ บวรธนรุ่งเรือง เจ้าพนักงานทันต สาธารณสุขชํานาญงาน เป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือสนับสนุนด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ วิธีการดําเนินการ การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดําเนินการโดยแกนนําผู้สูงอายุ คือ การถ่ายทอดความรู้ ให้คําแนะนําด้านทันต สุขภาพ ตรวจสุขภาพช่องปาก ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี ให้กับสมาชิกในชมรม โดยจัดกลุ่มย่อย เพื่อง่ายต่อการให้ ความรู้ แกนนํา ๑ คน ต่อสมาชิก ๕ คน นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนากิจกรรมภายในชมรมตามปัญหา และความต้องการของ สมาชิก เช่น มีการจัดกระเป๋าอุปกรณ์แปรงฟันให้กับแกนนํา และสมาชิกในชมรม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพช่อง ปากของตนเอง โดยมีข้อตกลงจะสัญญาใจร่วมกัน คือ ต้องนํากระเป๋าอุปกรณ์แปรงฟันมาด้วยทุกครั้ง เพื่อแปรงฟันหลัง รับประทานอาหารร่วมกัน ก่อนเริ่มทําการประชุม นอกจากนี้ยังมีการสร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การทําสมุนไพร เกลือสะตุใช้ผสมกับยาสีฟันแปรงฟัน ทําให้มีกลิ่นหอมของสมุนไพร เย็นสดชื่น และมีผลจากเกลือช่วยรักษาเหงือกอีกด้วย แกนนําผู้สูงอายุยังขยายเครือข่ายในการถ่ายทอดความรู้ทางทันตสุขภาพไปยังชุมชน และวัด ม.๑–ม.๑๐ ตําบล บางยอ โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บางยอ ออกหน่วยตรวจคัดกรองสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก ในวันเสาร์-อาทิตย์อีกด้วย สรุปผลการดําเนินงาน ผู้สูงอายุในชมรม และประชาชนในชุมชน ที่ได้รับความรู้ด้านทันตสุขภาพจากแกนนําผู้สูงอายุไปแล้ว มีทัศนคติ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยสังเกตจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรม การสอบถาม สนทนากลุ่ม ส่วน ใหญ่ได้รับความรู้เรื่อง การแปรงฟัน การดูแลฟันเทียม โรคในช่องปาก การเลือกบริโภคอาหาร ทําให้ประชาชนมีความรู้ เพิ่มมากขึ้น ประชาชนใส่ใจในการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากดีขึ้น แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน แปรงฟันถูกวิธี และเลือกใช้แปรงสีฟันขนนุ่มขึ้น ส่วนในรายที่ใส่ฟันเทียม พบว่า มีการถอดฟันเทียมทําความสะอาดหลังทานอาหาร และถอดฟันเทียมแช่น้ําก่อนนอน เป็นต้น แผนที่จะดําเนินต่อไป - ให้ผู้สูงอายุได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (สมุนไพร) กลับมาประยุกต์ใช้กับพืช สมุนไพรในท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างถูกต้อง และนํามาใช้ในการพัฒนาโครงการสมุนไพรเกลือสะตุ ของชมรมต่อไป - พัฒนาแกนนําผู้สูงอายุ และสมาชิกเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุรุ่นต่อไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการส่งเสริม พัฒนาสุขภาพช่องปากสู่ชุมชน สร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน ให้กับแกนนําและสมาชิกในชมรมด้านทันตสุขภาพ และพัฒนา เป็นศูนย์เรียนรู้ต่อไป - จัดเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพผู้สูงอายุเป็นระยะ เพื่อ วิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบต่อไป


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๔

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเกาะศาลพระ อําเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ตัง้ อยู่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเกาะศาลพระโดย มี วัตถุประสงค์ของชมรมเพื่อ เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุในชุมชน เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ต่างๆ ของเพื่อนสมาชิก ดําเนินกิจกรรมที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสังคมโดยรวม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้เกิดความ สามัคคี ร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และรับรู้ถึงสภาวะสุขภาพ ของตนเอง ในการป้องกัน ส่งเสริมให้เกิดการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม การพัฒนากิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ของ รพ.สต.เกาะศาลพระ เป็น กิจกรรมที่ได้พฒ ั นาและดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดตระหนักถึงความสําคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ ดี การมีฟันบดเคี้ยว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ นําไปสู่การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชีวิตประจําวัน อันจะ นําไปสู่การลดโรค ลดความรุนแรงของโรคในช่องปากให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี สมวัย สามารถมีฟันใช้งาน โดย ปราศจากความเจ็บปวด ตลอดอายุขัย นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลการดําเนินรูปแบบกิจกรรม ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ไปยังชมรมผู้สูงอายุในเขตอําเภอวัดเพลง ทั้งนี้ อาศัยความร่วมมือของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. รวมทั้งทันตบุคลากรในอําเภอวัดเพลง สําหรับหน้าที่ของการเป็นผู้ให้การสนับสนุน (Service supporters) โดย อาศัยหลัก ๕ ประการในกฎบัตรออตตาวา ด้านการส่งเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter for Health Promotion) ซึ่งเป็น ที่มาของมาตรการในการพัฒนากิจกรรมดังนี้ ๑. มีการประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุทุกวันที่ ๔ ของเดือน ๒. ตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น ชั่งน้ําหนัก วัดความดันโลหิตสูง ตรวจสุขภาพช่องปาก ๓. สวดมนต์ ไหว้พระ ออกกําลังกาย นั่งสมาธิ ๔. ให้ความรู้ สันทนาการ มอบของขวัญเดือนเกิด รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน และแปรงฟันหลัง อาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นประจําทุกเดือน ๕. ชักชวนสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ สมัครเข้าสมาชิกชมรมคนรักฟันของอําเภอวัดเพลง ๖. จัดทําอ่างสําหรับอํานวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุแปรงฟัน โดยได้รับการสนับสนุน จาก อบต. ๗. จัดทําตู้สําหรับแปรงฟัน โดยสมาชิกชมรมดัดแปลงมาจากตู้เก็บกับข้าว กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสําหรับผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุนั้น เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ และร่วม ภาคีหุ้นส่วน โดยเตรียมรองรับสังคมผู้สูงวัย (Ageing Society) ในอนาคต โดยนําแนวคิดของการสร้างเสริมสุขภาพมา ผสมผสานกับการเสริมพลังชุมชน แสดงถึงการเกิดเครือข่ายความร่วมมืออันดีหน่วยงานสาธารณสุขและชุมชน อีกทั้งเป็น การพัฒนาคุณภาพในเชิงบวกที่สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ปัจจุบันที่พัฒนาระบบดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามมิติของการมี สุขภาวะที่ดี


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๕

ชมรมรวมผู้สูงอายุตําบลสมอพลือ อําเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ชมรมรวมน้ําใจผู้สูงอายุตําบลสมอพลือ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๘ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๕ หมู่ ๒ ตําบล สมอพลือ มีสมาชิก ๓๐๘ คน อาคารตั้งอยู่ในเนื้อที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลสมอพลือ โดยมีวัตถุประสงค์ใน การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นศูนย์รวมของ ผู้สูงอายุในตําบล เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือกันเองด้วยความสมัคร สมานสามัคคี มีการประชุมคณะกรรมการชมรมและการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเดือนละครั้ง อบต.สมอพลือสนับสนุน งบประมาณค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง รวมทั้งจัดรถรับ-ส่งผู้สูงอายุจากหมู่บ้านต่างๆ อํานวยความสะดวกให้มาร่วม กิจกรรมชมรมฯ อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมพัฒนาจิต กิจกรรมนันทนาการควบคู่กับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีสวัสดิการ ช่วยเหลือเมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม และเจ็บป่วย กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ ทันตสุขภาพ สมุนไพรท้องถิ่น ฯลฯ ได้รับการสนับสนุนจากส่วน ราชการและหน่วยงานต่างๆ เช่น รพ.พระจอมเกล้าฯ รพ.บ้านลาด สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตําบลกลุ่มโซน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ บริการ ตรวจสุขภาพอนามัยเบื้องต้นเดือนละครั้ง การออกกําลังกายด้วยการรําไม้พลอง ฤาษีดัดตน แอโรบิค หรือการแสดง พื้นบ้าน เช่น เต้นกํารําเคียว เห่เรือบก เพลงพวงมาลัย ระบําไก่ ฯลฯ กิจกรรมอาหารสุขภาพ จัดเมนูอาหารกลางวันที่ เหมาะสมกับสุขภาพผู้สูงอายุ ลดหวานมันเค็ม รวมทั้งจัดอาหารว่างเป็นขนมไทยอ่อนหวาน และผลไม้ตามฤดูกาลที่ เหมาะสม ด้านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้า พนักงานทันตสาธารณสุขจากรพ.สต.เครือข่าย อย่างน้อยปีละครั้ง พบว่า สมาชิกไม่มีปัญหาในช่องปาก ๒๗๓ คน ฟันผุ ๒๒ คน เหงือกอักเสบ ๑๓ คน และได้รับการส่งต่อไปรับบริการใส่ฟันเทียม ๑๓ คน ฝังรากฟันเทียม ๔ คน รวมทั้งจัดบริการ ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจรตําบลสมอพลือ โดยทีมทันตแพทย์จากโรงพยาบาลบ้านลาดซึ่งมา ให้บริการทุก ๓ เดือน ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีการจัดหาอุปกรณ์ และสถานที่ สําหรับแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกครั้งที่จัดกิจกรรมชมรมฯ และตรวจฟันสะอาดหลังแปรงฟันโดยแบ่งกลุ่ม มีแกนนํา ผู้สูงอายุแนะนําการแปรงฟัน กิจกรรมจับสลากรางวัลหลังแปรงฟัน เพื่อจูงใจให้ทุกคนแปรงฟัน สร้างความตระหนักถึง ความสําคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันใช้บดเคี้ยวเหมาะสมกับวัย กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ และ ผู้ด้อยโอกาส โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ นายกอบต. และผู้นําท้องถิ่น นําเครื่องอุปโภคบริโภคไป มอบให้ผู้สูงอายุ และแนะนําการดูแลสุขภาพสุขภาพแบบองค์รวม (ทั้ง ๔ มิต)ิ นอกจากนี้ยังมีการขยายผลการดําเนินงาน ด้วยกระบวนการจัดการความรู้สู่ชมรมผู้สูงอายุใกล้เคียง กิจกรรมส่งเสริมความรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยกลุ่มผู้สูงอายุ มี การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพช่องปากในจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี และร่วมประชุมเครือข่ายสุขภาพ ช่องปากจังหวัดลําปาง ปัจจุบันเป็นที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ต้นแบบ และการดูแลสุขภาพช่องปาก ตลอดจนการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๖

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการ ยิ้มสดใส ผู้สูงวัยฟันดี เครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๒. คัดกรองสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุและวางแผนดําเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓. ขยายเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๔. สร้างกระแสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๕. ให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากทั้งฟันแท้และฟันเทียม ๖. ค้นหาต้นแบบการดูแลอนามัยช่องปาก ๗. แก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยการใส่ฟันเทียมเพื่อบดเคี้ยวอาหารแก่ผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟัน วิธีการดําเนินงาน ๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประธานชมรมผู้สูงอายุและประธาน อสม.ในเครือข่าย ๒. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ผ่านการอบรม ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชมรมทุกชมรมในเครือข่าย ๓. ผู้สูงอายุในเครือข่ายได้รับบริการทันตกรรมตามความเหมาะสม ๔. คัดเลือกชมรมผู้สูงอายุต้นแบบการดําเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ และคัดเลือก ครอบครัวผู้สูงวัยฟันดีใน ชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ ๕. คัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบสุดยอดฟันดีวัย ๘๐ ปีและสุดยอดฟันดีวัย ๙๐ ปี ผลการดําเนินงาน ด้านปริมาณ มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าร่วมประชุม ๒๕ ชมรม ๕๖ คน ประธาน อสม.และประธานผู้สูงอายุ เข้าร่วมประชุม ๕๖ คน ผูส้ ูงอายุได้รับการตรวจฟัน ๒๖ ชมรม ๔,๐๖๑ คน และมารับบริการทันตกรรม ๔๑ คน ๖๑ ครัง้ มีชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ คือ ชมรมโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช มีผู้สูงวัยฟันดีวัย ๘๐ ปี คือ นางอาบ สําเภาพล อายุ ๘๔ ปี และมีผู้สูงวัยฟันดีวัย ๙๐ ปี คือ นางส้อง แต้มเติม อายุ ๙๒ ปี ด้านคุณภาพ ๑. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประธานชมรมผู้สูงอายุ ประธาน อสม. มีความรู้และแนวทางการดําเนินงานต้นแบบ การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ๒. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจฟันโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือทันตบุคลากรและได้รับการรักษาทางทันตกรรม ตามความเหมาะสม ๓. มีต้นแบบในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ ครอบครัวผู้สูงวัยฟันดี สุดยอด ผู้สูงวัยฟันดี วัย ๘๐ ปี และ ๙๐ ปี โอกาสพัฒนา ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จะมีการออกให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และ ให้ความรู้ผู้สูงอายุ ในทุก ชมรมของเครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยทันตบุคลาการที่ PCU เครือข่าย (ปีงบประมาณที่ผ่านมา มี การให้ความรู้ผู้สูงอายุเฉพาะชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช) และคัดเลือกชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ ครอบครัวผู้สูงวัยฟันดี สุดยอดฟันดีวัย ๘๐ ปี และสุดยอดฟันดีวัย ๙๐ ปี


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๗

ชมรมผู้สูงอายุวัดมาตุคุณาราม ตําบลกระโสม อําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ชมรมผู้สูงอายุวัดมาตุคุณารามจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ วัดมาตุคุณาราม นั้นคือ ๑. เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุของตําบลกระโสม ใช้เป็นที่ปรึกษาหารือ ประกอบกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน รวมถึงการให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนตามกําลังความสามารถ ๒. เป็นศูนย์รวมของการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สมอง รวมถึงการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกันเอง ๓. เป็นศูนย์รวมของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้ เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ๔. เป็นศูนย์รวมของการติดต่อประสานงานกับภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและบุคคล ทั่วไป ยกเว้นการเรื่องของการเมืองทุกระดับ ในปี ๒๕๔๕ ทางชมรมได้รับคัดเลือกจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต ๑๑ นครศรีธรรมราช เป็นชมรมผู้สูงอายุที่ เข้มแข็ง ส่วนการดําเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุวัดมาตุคุณารามเริ่มตัง้ แต่ปี ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน โดยมี เป้าประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและจัดให้สมาชิกทุกคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในปี ๒๕๕๑ มีการตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ความรู้ รวมถึงให้บริการ (อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน) ตามความ จําเป็นกับผู้สูงอายุ โดยทีมทันตบุคลากรจากสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ในปี ๒๕๕๒ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา แต่งตั้งให้เป็นชมรมนําร่องในด้านทันตสุขภาพของจังหวัดพังงา ทางชมรมมีการจัดสัปดาห์แห่งการแปรงฟันและดูแลฟันของเพื่อนสมาชิก ทดสอบหาคราบจุลินทรีย์ ให้ความรู้ มีการ ให้บริการจากทีมทันตแพทย์ จัดทําแบบสํารวจสุขภาพในช่องปาก ในส่วนของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ได้จัดทํา โครงการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้สูงอายุ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรและนําเสนอผลการดําเนินงานในชมร มและในปีนี้ได้ริเริ่ม จัดทําโครงการแปรงฟันในเด็กก่อนวัยเรียนที่ ศพด.วัดมาตุคุณาราม ซึ่งประสบความสําเร็จเป็นอย่างมากจากผลการสํารวจ สภาวะทันตสุขภาพในช่องปากของเด็ก ๓ ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๕ เป็นร้อยละ ๖๒ ปี ๒๕๕๓ ดําเนินการตามโครงการเดิมต่อเนื่องจากปี ๒๕๕๒ ได้เพิม่ การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลส่งเสริม สุขภาพช่องปากขึ้น เพื่อความสะดวกในการทํางาน ได้จัดประชุมประธานชมรมผู้สูงอายุของจังหวัดพังงาเพื่อผลักดันงาน ส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุให้เกิดขึ้นในทุกอําเภอ ในปีนี้ได้รับคัดเลือกให้จัดนิทรรศการ และนําเสนอผลงานของ ชมรมในโครงการ “ประสานความคิด เนรมิตผู้สูงวัย” และได้รับเกียรติบัตรจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ปี ๒๕๕๔ ดําเนินการต่อเนื่องจากปี ๒๕๕๓ มีการออกให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ จากเจ้าหน้าที่ทันต สาธารณสุข สสจ.พังงา “สุขภาพดี สวัสดิการมั่นคง อนุรักษ์ภูมิปัญญา สามัคคี มีศีลธรรม ดํารงชีวิตแบบพอเพียง” นัน่ คือ วิสัยทัศน์ใน การทํางานของชมรมผู้สูงอายุวัดมาตุคุณาราม


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๘

ชมรมผู้สูงอายุตําบลคลองแงะ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา รักษาสุขภาพ” โครงการฟันดีมีสุข ชมรมผู้สูงอายุตําบลคลองแงะ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จากผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ พบว่า โรคในช่องปากเป็นปัญหาสําคัญที่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ และมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และก่อให้เกิดปัญหาตามมาในหลายด้าน ได้แก่ ด้านสังคม และเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพร่างกาย สาเหตุที่ ก่อให้เกิดโรคในช่องปากมีหลายปัจจัย ปัจจัยหลัก คือ พฤติกรรมการบริโภค และการทําความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกต้องไม่ถูกเวลา รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงบริการที่ไม่เท่ากัน การส่งเสริมและป้องกันให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จึงเป็นส่วน หนึ่งของการลดโรคในช่องปากได้ ชมรมผู้สูงอายุคลองแงะได้เห็นถึงความสําคัญของการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปาก จึงได้ จัดทําโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อต้องการให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุมีสุขภาพฟันดี ชมรมผู้สูงอายุตําบลคลองแงะก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ ตั้งอยู่ที่ศูนย์เอนกประสงค์สําหรับผู้สูงอายุในชุมชน เลขที่ ๒ ถนนวังปริง หมู่ที่ ๕ ตําบลพังลา อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มี นายทรงพล ธนารัตนวิชัย เป็นประธานชมรมฯ ปัจจุบันมีจํานวนสมาชิก ๓๒๐ คน และมีวัตถุประสงค์ของการจัดตัง้ ชมรมฯ เพื่อให้ ผู้สูงอายุได้เป็นสมาชิกชมรมและร่วมกิจกรรมสร้างสุขภาพเป็นประจําและสม่ําเสมอ มีวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อ ๑) ให้ ประชาชนทุกกลุ่มอายุ รับรู้ และตระหนักถึงอันตรายจากโรคฟันผุ ๒) ควบคุมและป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ในกลุ่มวัยต่างๆ นําไปสู่การมีฟันดีมีสุข และ ๓) ให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุสามารถดูแลป้องกันตนเอง ครอบครัว และชุมชนจากโรคฟันผุและเหงือก อักเสบได้ มีวิธีการดําเนินงาน โดย ประชุมคณะกรรมการเพือ่ วางแผนการดําเนินงาน เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจาก นายกเทศมนตรีตําบลคลองแงะ และดําเนินงานตามแผน กิจกรรมประกอบด้วย ๑. ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยบุคลากรจากฝ่ายทันตสาธารณสุข รวมทัง้ การฝึกทักษะการทําความ สะอาดช่องปากที่สามารถทําได้ด้วยตนเอง เช่น การแปรงฟัน การทําน้ําเกลืออมบ้วนปาก และการใช้ผ้าก๊อซทําความสะอาดช่องปาก การนวดเหงือกในผู้สูงอายุที่ไม่มีฟนั ใช้งาน และกิจกรรมอบรมให้ความรู้แบบบูรณาการร่วมกับเทศบาลตําบลคลองแงะ โดยได้รับ งบประมาณจากสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ชมรมผู้สูงอายุ โดยบุคลากรจาก ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลสะเดาและโดยสมาชิกของชมรมที่ผ่านการอบรม โดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล หลังจากนั้น แนะนํา การรักษาตามสภาพปัญหาและส่งต่อในกรณีทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาได้ เช่น การฝังรากฟันเทียม ๒. การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จัดให้มีมุมความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก มีสถานที่จัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังการจัดกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ทุกวันจันทร์ที่ ๒ ของเดือน และกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการแปรงฟันในผู้สูงอายุ และในส่วนของการสร้างกระแส ทางสมาชิกของ ชมรมได้แต่งเพลงแปรงฟันประกอบการรํากลองยาวในขณะที่ไปแสดงยังสถานที่ต่างๆ ที่ได้รับเชิญไปร่วมงาน ๓. กิจกรรมการเรียนรู้ในชมรมผู้สูงอายุ เช่น การไปศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุอื่น การเข้าร่วมประชุมด้านสุขภาพช่อง ปากที่มีการจัดประชุมวิชาการเป็นประจํา ที่ชมรมผู้สูงอายุประจําจังหวัดสงขลาและฝ่ายทันตสาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด สงขลาได้จัดเป็นประจําทุกปี ๔. ข้อมูลสุขภาพช่องปากของชมรม ผู้สูงอายุมจี ํานวนฟันที่เหลือเฉลี่ย ๑๒.๙๘ ซี/่ คน จํานวนคู่สบเฉลี่ย ๒ คู่สบ และ การรับการรักษาในปีที่ผ่านมา ถอนฟัน ๔๐ คน อุดฟัน ๓๐ คน ขูดหินปูน ๒๕ คน ๕. เป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน/เรียนรู้ของชมรม ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีกิจกรรมการออกกําลังกาย กิจกรรมจิตอาสา เช่น การเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุในชุมชน สอน สาธิตการดูแล และการแปรงฟันในเด็กประถมและเด็กเล็ก “เรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์สุขภาพ สิ่งใดควรทราบ สิ่งใดควรจํา สิ่งใดควรเลี่ยง เพียงแต่กระทํากิจที่ชักนํา อนามัยสมบูรณ์”


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๙ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพนัสนิคม อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ด้วยศูนย์อนามัยที่ ๓ เปิดอบรม “โครงการผู้สูงอายุฟันดีชีวีมีสุข” ทางโรงพยาบาลพนัสนิคม ได้ส่งทันตแพทย์ และตัวแทนสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพนัสนิคม ไปเข้ารับการอบรมรวม ๕ คน หลังจากการอบรมแล้วตัวแทนที่เข้า รับการอบรมเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีน่าจะได้มีการถ่ายทอดต่อให้กับสมาชิกในชมรมจึงร่วมมือกันจัดทําโครงการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพนัสนิคม โดยมีจุดประสงค์ให้สมาชิกมีความรู้เรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตัวเอง สามารถนําไปใช้เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี และทําให้รับประทานอาหาร ได้สะดวก ทางชมรมจึงได้เชิญทันตแพทย์และแผนกทันตกรรมมาตรวจสุขภาพช่องปากให้กับสมาชิกผู้สูงอายุในชมรม เพื่อ เก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการค้นหาปัญหาและความจําเป็นในเรื่องสุขภาพช่องปาก ผลการตรวจพบว่า สมาชิกผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน ได้แก่ โรคฟันผุ โรคปริทันต์ มีฟันที่ถูก ถอนไปและไม่ได้รับการใส่ฟัน ขาดความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก ทางชมรมผู้สูงอายุจึงเรียนเชิญทันตแพทย์ มา ให้ความรู้การดูแลช่องปากและฟัน และเนื่องจากสมาชิกผู้สูงอายุหลายคนใส่ฟันเทียม ทางชมรมจึงจัดให้ความรูเ้ รื่องการใส่ ฟันเทียมและการดูแลฟันเทียมด้วย และเมื่อสมาชิกรายใดมีปัญหาโรคฟันผุและโรคปริทันต์จะได้รับการแนะนําจาก ทันตแพทย์ให้ไปรับการตรวจรับการรักษา เมื่อสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจ จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนการดูแลรักษาสุขภาพ ฟันระหว่างสมาชิกด้วยกัน ฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลพนัสนิคมจะมีการจัดมุมนิทรรศการให้ความรู้ในวันที่มีการประชุม ชมรม และมีการแจกแปรงสีฟันให้สมาชิกพกติดตัว เพื่อใช้แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร เมื่อมาร่วมกิจกรรมของชมรม เมื่อทําโครงการนี้ได้รับผลดีต่อผู้สูงอายุ ทางชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพนัสนิคม จึงได้ทําโครงการขยาย เครือข่ายไปยังชมรมผู้สูงอายุ ตําบลวัดหลวง โดยเชิญทันตแพทย์จากโรงพยาบาลไปให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันเทียม และมีสมาชิกจากชมรมโรงพยาบาลพนัสนิคมไปร่วมแลกเปลี่ยนการความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ ซึ่ง ได้รับการตอบรับที่ดี ปัจจุบันผู้สูงอายุในชมรม ทั้งโรงพยาบาลพนัสนิคมและตําบลวัดหลวงที่ได้รับความรู้ความเข้าใจ รู้จัก การดูแลรักษาช่องปากและฟันดีขึ้น มีการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร รู้จักเลือกบริโภคอาหารที่ไม่เป็นโทษต่อช่องปาก และฟัน สมาชิกที่มีปัญหาจะไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาต่อเนื่อง ทําให้สมาชิกในชมรมมีความสุข พูดและยิ้มด้วยความ มั่นใจ ทําให้มีสุขกายและใจที่ดี


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๐

ชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมทันตสุขภาพตําบลบ้านจีต อําเภอกูแ่ ก้ว จังหวัดอุดรธานี ชมรมผู้สูงอายุตําบลบ้านจีต ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ รพ.สต.บ้านจีต ตําบลบ้านจีต อําเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี เริ่มก่อตั้ง ชมรมเมื่อปี ๒๕๔๙ จากกลุ่มตัวแทนที่เป็นแกนนําผู้สูงอายุในชุมชนบ้านจีต ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมแรงร่วมใจของผู้สูงวัย ชมรม จึงยืนอยู่อย่างมั่นคงและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันกิจกรรมต่างๆ ของชมรมเป็นที่ศึกษาดูงานที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง ในด้านการสนับสนุน การดําเนินกิจกรรมของชมรม โครงการ ออมวันละนิด เพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน เมื่อสมาชิกเสียชีวิต ถึงจะเป็น เงินไม่มาก แต่ก็เป็นน้ําใจที่สมาชิกในชมรมมีความผูกพันกัน ร่วมกันกินทาน (ทําบุญ) ต่อเพื่อนผู้สูงอายุที่ผู้ล่วงลับไป ชมรมผู้สูงอายุตําบลบ้านจีต มี รพ.สต.บ้านจีต เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนด้านวิชาการ การจัดอบรม เป็นที่ปรึกษา และร่วมทํา กิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีหน่วยงาน อปท. และชุมชน มาร่วมด้วยทุกครั้ง ความเข้มแข็งและยั่งยืนของชมรม ทําให้เป็นที่รู้จักและได้รับ รางวัลชมรมผู้สูงอายุระดับดีมากระดับจังหวัด และจากกรมอนามัย ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงการกีฬาและท่องเที่ยว สนับสนุนงบประมาณการออกกําลังกายในการรําไม้พลองในชมรม นอกจากจะมีการส่งเสริมสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ในการ ปฏิบัติตนแล้ว สมาชิกผู้สูงอายุ ยังได้รับการเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ในปี ๒๕๕๐ รพ.สต.บ้านจีต ได้มีทันตบุคลากรลงมา ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทําให้ผู้สูงอายุในชมรมได้รับการดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพช่องปากมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจํา และปฏิบัติตน ได้ จึงมีนวัตกรรม “หมอลํากลอน ฮ่วมแฮงฮ่วมใจ ใส่ใจสุขภาพช่องปาก” โดยนําเพลงหมอลําพื้นบ้านที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปาก เป็นสื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปาก ซึ่งฟังได้เรื่อยๆ และสนุกสนาน การที่ชมรมประสบความสําเร็จเพราะมีกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นหมอลํากลอนในอดีต มีการแต่งเป็นกลอนทํานองต่างๆ ที่ หลากหลายฟังได้รนื่ หู และนําไปเผยแพร่ในงานต่างๆ ของชุมชน เช่น งานวันปีใหม่ งานวันผู้สูงอายุ หรือใช้ร้องรําเวลากล่อมหลานหรือ ยามว่าง จึงง่ายในการทํากิจกรรม รวมทั้งความร่วมมือจากชาวบ้าน ความเอาใจใส่ จากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านจีต จึงทําให้กิจกรรม ประสบความสําเร็จ ทั้งยังมีอีกนวัตกรรม “สมุดประจําตัวทันตกรรมและแปรงฟันก่อนนอน” จัดทําขึ้นเพื่อให้สมาชิกมีสมุดประจําตัว ด้านทันตกรรม ในการตรวจสุขภาพช่องปากทุกครั้ง และลงบันทึกการรับบริการทันตกรรม ทําให้ผู้สูงอายุมีความเอาใจใส่สุขภาพช่อง ปากของตนเองมากขึ้น พร้อมทั้งสมาชิกได้ตรวจสุขภาพช่องปากให้แก่เพือ่ นสมาชิกอีกด้วย กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่ทําต่อเนื่อง ทุกปี คือ การตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดย เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข พร้อมทั้งการให้ทันตสุขศึกษาในการแปรงฟัน และการใช้ ไหมขัดฟัน จึงมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “การแปรงฟันโฮมกัน” โดยใช้เม็ดสีย้อมฟันทุกครั้ง เพือ่ ตรวจดูความสะอาดและความ ถูกต้องของการแปรงฟัน ซึ่งจะทํากันทุกวันที่ ๒๕ ของทุกเดือนที่เพือ่ นสมาชิกมาพบปะกันโดยมีสถานที่ในการแปรงฟันคือ มุมกิจกรรม แปรงฟันโฮมกัน พร้อมทั้งกระจกส่องตรวจดูความสะอาดของฟัน และมีการจับคู่เพื่อตรวจดูความสะอาดหลังการแปรงฟันทุกครั้ง มีการ สนับสนุนแปรงสีฟันและยาสีฟัน อีกทั้งยังมีบอร์ดนิทรรศการการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อให้สมาชิกได้อ่านบริเวณนี้ด้วย และสมาชิก ถ้ามีฟันเหลือในช่องปากน้อยกว่า ๑๖ ซี่ จะได้รับการส่งต่อใส่ฟันเทียมที่ รพ.หนองหาน และมีการติดตามทุกราย หลังจากนั้นจากการ ทํากิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุหลายคนตระหนักและให้ความสําคัญกับช่องปากตนเอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ รางวัลแห่งความสําเร็จ ได้แก่ ได้รับโล่ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้าน ดูแลสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ จาก ศูนย์อนามัยเขต ๖ และรับโล่ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต จากกรมอนามัย รางวัลต่างๆ ที่ได้รับทําให้ผู้สูงอายุตําบลยิ้มอย่างภาคภูมิใจ เพราะนั่นคือรางวัลชีวิตที่ทําให้ชีวิตท่านมีความหมายและ มีคุณค่า ผลงานเด่น คือ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน ออมวันละ ๑ บาท ที่ทําต่อเนื่องมา ๔ ปีแล้ว ซึ่งประสบความสําเร็จ และ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุด้วยกันได้เป็นอย่างดี ปัจจัยแห่งความสําเร็จ คือ องค์กรผู้สูงอายุเข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน ที่สําคัญสมาชิกชมรมมีความมุ่งมั่น อดทน ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันแก้ไขปัญหา การทํางานแบบ บูรณาการ ทุกหน่วยงานให้ความสําคัญ และให้โอกาสแก่ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ ภูมิปัญญาที่ท่านมี ทําให้ท่านได้รู้สึกถึงคุณค่าของ สิ่งที่ทํา ปัญหาและอุปสรรค สมาชิกบางคนลาออกเพราะไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของชมรม ปัญหาในการติดต่อสื่อสาร และความคิดเห็นที่ ไม่ตรงกัน ซึ่งเหมือนตุ่มคันที่หลัง เกายังไงก็เกาไม่ถึง แต่ก็นั่นละปัญหามีไว้ให้เราแก้ เมื่อหาทางออกสําเร็จทุกอย่างก็จะรู้สึกดีเอง ข้อเสนอแนะ ควรมีการให้ข่าวสาร เปิดหมอลํากลอนพื้นบ้าน ดูแลสุขภาพช่องปากตามหอกระจายข่าวสารทุกหมู่บ้าน และควรอนุรักษ์ กลุ่มเพลงหมอลําพื้นบ้าน โดยการประกวดในงานเทศกาลต่างๆ ที่ท้องถิ่นจัดขึ้น


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๑

ชมรมผู้สูงอายุบ้านภูวง ตําบลภูวง อําเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร จากการดําเนินกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุที่ผา่ นมา สิ่งที่ทางชมรมผู้สูงอายุตําบลภูวงรู้สึกภาคภูมิใจ ชมรม สามารถรวมกลุ่มกันทํากิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ทั้งกิจกรรมการรวมกลุ่มทําเครื่องจักสาร การรวมกลุ่มออกกําลังกาย ด้วยการฟ้อนรําประจําเผ่าร่วมกัน และสามารถสอดแทรกกิจกรรมทางทันตสุขภาพเข้าไปในกิจกรรมต่างๆ ของชมรมได้ เช่น การพูดคุยให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพในระหว่างการทํากิจกรรมต่างๆ การทํากิจกรรมแปรงฟันร่วมกันหลังทํากิจกรรม ออกกําลังกายทุกครั้ง เป็นต้น ชมรมผู้สูงอายุตําบลภูวงมีที่ทําการชมรมและสถานที่จัดกิจกรรมของชมรมอยู่ที่ ศูนย์การ เรียนรู้ชุมชนตําบลภูวง โดยข้อมูลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมเป็นข้อมูลที่ได้จากการตรวจของโรงพยาบาลหนอง สูง และมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านบุ่ง อําเภอหนองสูง เป็นที่ปรึกษาในการทํากิจกรรมและดูแล การดําเนินงานภายในชมรมผู้สูงอายุ ในรอบปีที่ผ่านมาทางชมรมได้รับเกียรติจากทางสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยได้ถา่ ยทอดวิธีการดําเนินงาน และผลงานเด่นที่ทางชมรมได้ทํา กิจกรรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ของแต่ละอําเภอ และได้มีการแลกเปลี่ยนการดําเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านอื่นๆ จากชมรมผู้สูงอายุของอําเภออื่นๆ ในจังหวัดมุกดาหารด้วย ผลงานเด่นที่อยากถ่ายทอด กิจกรรมที่ดําเนินการอยู่ประจําในชมรมผู้สูงอายุตําบลภูวง ประกอบด้วย ๑. กิจกรรมการให้ความรู้ทางทันตสุขภาพ ระหว่างการทํากิจกรรมจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ และผลิตภัณฑ์ จากผ้าพื้นเมือง โดยสมาชิกจะรวมกลุ่มทํางานร่วมกันในที่ทําการของชมรมทุกวัน ระหว่างการทํางานมีการพูดคุยเรื่องราว ต่างๆ รวมถึงเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันร่วมไปด้วย เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่สมาชิกในกลุ่ม โดยประเด็นที่มักจะหยิบ ยกมาพูดคุยคือ วิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก และความสําคัญของการแปรงฟันเพื่อทําความสะอาดช่องปาก ๒. กิจกรรมการจับคู่แปรงฟัน โดยกิจกรรมนี้จะเป็นการจับคู่ผู้สูงอายุเพื่อให้มีการตรวจสอบกันเองในแต่ละคู่ ว่ามีการแปรงฟันก่อนนอนหรือไม่ และบันทึกในสมุดบันทึกการแปรงฟันทุกวัน โดยแต่ละคนจะบันทึกว่าคู่ของตนแปรงฟัน ก่อนนอนหรือไม่ การจับคู่จะเป็นในลักษณะคู่สามี ภรรยา หรือคู่บ้านใกล้เรือนเคียง และเมื่อถึงสิ้นเดือนจะมีการส่งสมุด บันทึกแก่เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.เพื่อเก็บข้อมูล ๓. การแปรงฟันร่วมกันหลังจากการทํากิจกรรมออกกําลังกายในช่วงเย็น หรือหลังการทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในชมรมช่วงเย็น เป็นการรวมกลุ่มกันแปรงฟัน โดยผู้สูงอายุจะนําแปรงสีฟันติดตัวมาด้วย และทํากิจกรรมแปรงฟัน ร่วมกันก่อนแยกย้ายกลับบ้าน ๔. นวัตกรรมในชมรม การทําไม้คนฑา หรือไม้เจียแข้ว (ไม้สีฟัน) ซึ่งเป็นการทําไม้สมุนไพรให้ปลายด้านหนึ่ง ลักษณะคล้ายแปรงและปลายอีกด้านหนึ่งมีลักษณะเรียวแหลมเพื่อใช้เป็นไม้จิ้มฟันด้วย ซึ่งการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ของชมรมได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทั้ง รพ.หนองสูง ในการสนับสนุน เรื่องความรู้ทางสุขภาพ และการตรวจสุขภาพช่องปาก กศน. อําเภอหนองสูง และจากทางเทศบาลตําบลภูวงร่วมให้การ สนับสนุนงบประมาณต่างๆ ในการดําเนินกิจกรรมทางสุขภาพในชมรม ทําให้ชมรมผู้สูงอายุสามารถทํากิจกรรมต่างได้เป็น อย่างดี


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๒

ชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหิน ตําบลศิลา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยชมรม ได้แก่ ๑. ประเมินสภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยแกนนําที่ผ่านการอบรม ร่วมกับ อผส. อสม. ในหมู่บ้าน ๓ เดือน/ ครั้ง ๒. ให้คําแนะนําการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุตามครัวเรือน ๓. ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวอย่างน้อยเดือนละ ๓ ครั้ง ๔. ฝึกทักษะในการทําความสะอาดช่องปากให้กับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเดือนละ ๑ ครั้ง ในกรณีประชุมชมรม ๕. สอนแนะนําการดูแลฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียม ๖. ให้ความรู้ผ่านวิทยุชุมชนโดยแกนนําชมรมจัดรายการวิทยุในรายการ “ผู้เฒ่าเว้ากัน” ๗. ให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วยภูมปิ ัญญาท้องถิ่น คือ เพลงส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยใช้ดนตรีพื้นบ้านอิสานซึ่งเปิดตามหอกระจายข่าว หรือเวลามีกิจกรรมของชมรม เช่น ประชุมประจําเดือน หรือกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ๘. คัดเลือกผู้สูงอายุที่อายุ ๘๐ ปีขึ้นไป ที่มีฟันอย่างน้อย ๒๘ ซี่ เพื่อเป็นต้นแบบ และถ่ายทอดประสบการณ์ แก่สมาชิกในชมรม ชมรมฯ มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดย ๑. จัดมุมความรู้ โดยจัดหาเอกสาร หนังสือ แผ่นพับ ป้าย ภาพพลิก ที่วัดส่งเสริมสุขภาพ ที่ทําการชมรมฯ ๒. จัดตั้งกองทุนแปรงสีฟัน ยาสีฟนั ในชมรมผู้สูงอายุ พร้อมขยายพื้นที่ อื่นในเขตตําบลศิลา อีก ๕ กองทุน โดยขอรับงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตําบลศิลา ๓. จัดกิจกรรมแสดงประกอบเพลงในชุดการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกิจกรรมชมรม หรือมีคณะศึกษาดูงาน ๔. มอบแปรงสีฟัน/ยาสีฟัน เป็นกําลังใจให้กับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงที่ปฏิบัติตัวได้ ถูกต้อง ชมรมฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย เป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้งในระดับพื้นที่และต่างจังหวัดเป็นพื้นที่ฝึกงานของ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันต สาธารณสุข และมีการศึกษาดูงานทีช่ มรมผู้สูงอายุอําเภอคําชะอี จังหวัดมุกดาหาร ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากตนเองมากขึ้น ผู้สูงอายุมี พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากดีขึ้น เช่น การแปรงฟันถูกวิธี การรับประทานอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การเข้า รับบริการทันตสุขภาพ และตรวจพบฟันผุ เหงือกอักเสบ และการมีหินน้ําลายในผู้สูงอายุลดลง ผลกระทบ ทําให้เกิดสิ่งต่างๆ ได้แก่ ๑. ผู้สูงอายุรู้สึกถึงความมีคุณค่าแห่งตน ๒. สมาชิกชมรมมีความพึงพอใจการปฏิบัติงานของแกนนําชมรมฯ ๓. มีการพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดย บูรณาการด้านการออกกําลังกาย การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังโดยจิต อาสา “เพื่อน ช่วย เพื่อน” ๔. ชมรมมีความเข้มแข็งจนเป็นที่ยอมรับสามารถประสานงบประมาณ จาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กองทุนสุขภาพตําบลศิลา ๕. ด้านอื่นๆ เช่น เป็นชมรมสร้างเสริมสุขภาพดีเด่นของจังหวัดขอนแก่น


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๓

ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตําบลบึงบูรพ์ อําเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ “ทําบุญร่วมวัด กินข้าวร่วมวง ท่องเที่ยวถ้วนหน้า ออกกําลังกายพร้อมกัน แปรงฟันทุกวัน สองครั้งเช้าเย็น” ผลงานของชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตําบลบึงบูรพ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๑. การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยผู้สูงอายุ โครงการไปวัดฟังธรรมเราต้องแปรงฟันด้วย ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตําบลบึงบูรพ์เป็นองค์กรที่มีความเหนียว แน่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกิจกรรมไปวัดฟังธรรม เพราะยึดมัน่ หลักการ “การทําบุญกับผู้สูงอายุเป็นของคู่กัน” ใน เทศกาลเข้าพรรษา มีการตระเวนไปทําบุญทุกวัดในอําเภอ และในการไปทําบุญนั้นแกนนําจะให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่ ผู้สูงอายุที่มาทําบุญ รวมทั้งพระคุณเจ้าและมีกิจกรรมการแปรงฟันร่วมกัน โดยทําเช่นนี้จนครบทุกวัดในอําเภอบึงบูรพ์ โครงการ “ผู้สูงอายุเยี่ยมผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพช่องปาก ใส่ใจดูแลฟัน แปรงฟันร่วมกัน ฟันเราจะ แข็งแรง” ผู้สูงอายุออกเยี่ยมผู้สูงอายุในแต่ละชุมชน จํานวน ๑๓ หมู่บ้าน ในเขตเทศบาล โดยเน้นกิจกรรมให้ความรู้แก่ ผู้สูงอายุโดยแกนนําชมรม มีการทําแบบทดสอบก่อนและหลังการให้ความรู้ ตรวจช่องปาก บันทึกข้อมูลสุขภาพช่องปาก รายบุคคลอย่างง่าย และให้คําแนะนําตามสภาพปัญหาของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล ในรายที่มีปัญหาเร่งด่วนได้รับการส่งต่อ เพื่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเหมาะสม ๒. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีมุมความรู้ ประกอบด้วยสื่อต่างๆ ที่ให้ความรู้ ด้านทันตสุขภาพ ได้แก่ คู่มือ หนังสือทันตสุขภาพ โมเดล วีซีดี ภาพพลิก Roller up มีสถานที่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก ได้แก่ ศูนย์สร้างสุข วัดต่างๆ ในอําเภอบึงบูรพ์ และศาลาประชาคมประจําหมู่บ้าน มีกิจกรรมสร้างกระแส ได้แก่ โครงการรณรงค์แปรงฟันเพื่อสุขภาพและอนามัยของช่องปากที่ดีในผู้สูงอายุเทิดพระเกียรติ ๑๒ สิงหา มหาราชินี และ กิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพช่องปากทางสถานีวิทยุชุมชนบ้านโนนลาน คลื่น FM ๑๐๑.๒๕ MHz ๓. มีการเรียนรู้ในชมรมผู้สูงอายุ ร่วมประชุมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๗-๑๘ กพ.๕๓ ณ โรงแรมวีวัน จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ๒๔ พค.๕๓ ประชุมเชิงปฏิบัติการ“การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดย ศูนย์อนามัยที่ ๗ อุบลราชธานี” ๑ กย.๕๓ ณ โรงแรมอุบลรีรีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมจัดแสดงนิทรรศการและร่วมเวทีอภิปรายต้นแบบในการดูแล สุขภาพผู้สูงวัยในชุมชนหัวข้อสุขภาพช่องปาก ในงานเพื่ออีสานพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ ๒-๓ ธค.๕๓ ณ โรงแรมสุนีย์แก รนด์ จังหวัดอุบลราชธานี ๔. มีข้อมูลสุขภาพช่องปากของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ทันสมัย มีข้อมูลสุขภาพช่องปาก จากการตรวจช่อง ปากโดยแกนนําชมรมผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ข้อมูลสุขภาพช่องปากรายบุคคล และข้อมูลการให้ความรู้รายบุคคล ๑๓ หมู่บ้าน รวมทั้งข้อมูลการทํากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรม ๕. การเป็นแหล่งศึกษาดูงาน/นวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก ได้แก่ หมอลํากลอนสอนทันตสุขภาพ เพลงแปรงฟันถูกวิธี และยาสีฟันสมุนไพรปากหอม เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ให้แก่เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในอําเภอต่างๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ผลที่เกิดขึน้ กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพช่องปาก ทําให้ผู้สูงอายุเห็นความสําคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง มากขึ้น มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากโดยเฉพาะเรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและการส่งต่อเพื่อรับการรักษาและใส่ฟันเทียมอย่างเหมาะสม ทําให้มีสุขภาพ และ อนามัยของช่องปากดีขึ้น มีการพบปะและทํากิจกรรมร่วมกัน เกิดความสมัครสมานสามัคคี มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น มีเครือข่ายร่วมทํากิจกรรม ได้แก่ โรงพยาบาลบึงบูรพ์ เทศบาลตําบลบึงบูรพ์ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอบึงบูรพ์


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๔

ชมรมผู้สูงอายุหนองบัวใหญ่ ตําบลหนองบัวใหญ่ อําเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ชมรมผู้สูงอายุหนองบัวใหญ่ เป็นชมรมที่รวมผู้สูงอายุจากหมู่ ๑, ๒ และ ๗ ในพื้นที่ตําบลหนองบัวใหญ่ อําเภอ จัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันมีสมาชิกจํานวน ๓๓๕ คน โดยมีนางสมนึก ชาลีเครือ อดีตพยาบาลวิชาชีพ เป็นประธานชมรม และมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนหนองบัวใหญ่เป็นพื้นที่หลักในการรวมพลและจัดกิจกรรม ในส่วนของการจัดกิจกรรมต่างๆ นั้น ทางชมรมได้รับการสนับสนุน และความร่วมมือ จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายทันตสาธารณสุขและฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลจัตุรัส สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) จากการสนับสนุนต่างๆ ที่ได้รับ ร่วมกับประธานและเลขานุการชมรมเป็น บุคคลที่ได้รับความเคารพนับถือ และรู้จักกันดี รวมถึงความกระตือรือร้นและหัวใจที่ยังหนุ่มสาวของสมาชิกชมรม จึงส่งผล ให้ชมรมผู้สูงอายุหนองบัวใหญ่นี้มีความเข้มแข็งตลอดมา การจัดกิจกรรมต่างๆ มักจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของทุกๆ เดือน โดยมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามชมรม ผู้สูงอายุอื่นๆ ที่อยู่ภายในตําบลหนองบัวใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างชมรม และเป็น การสร้างเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุภายในตําบลหนองบัวใหญ่ กิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น การตรวจสุขภาพโดยรวม การให้ความรู้ ทางการแพทย์ การออกกําลังกาย การประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ การให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ สมาชิกชมรมจะนัดกันออกกําลังกายท่ากายบริหารและกระบี่กระบองในช่วงเย็นของทุกวัน สําหรับกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากที่จัดขึ้น ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก และให้คําแนะนําโดยสมาชิก ชมรม การย้อมสีฟันและแปรงฟันเพื่อประเมินการทําความสะอาดฟัน โดยมีอาสาสมัครที่ได้รับการอบรมจากทันตบุคลากร โรงพยาบาลจัตุรัส คอยดูแล การให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ โดยอาศัยสื่อที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลจัตุรัส การทําน้ํายาบ้วนปากจากใบฝรั่ง ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ เพราะ ทําได้ง่ายและได้ผลดี การแต่งเพลง “ฟันดี ฟันทน” ซึ่งเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก จากการตรวจสุขภาพช่องปากสมาชิกชมรมโดยทันตบุคลากร โรงพยาบาลจัตุรัส พบว่า สมาชิกชมรมส่วนใหญ่มี สุขภาพช่องปากที่ดี มีการทําความสะอาดช่องปากที่ดี กรณีที่มีการสูญเสียฟันจะได้รับการใส่ฟันปลอมโดยทันตแพทย์และ ดูแลรักษาอย่างเหมาะสม


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๕

ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง มีสมาชิกจํานวน ๑๐๐ คน มีสมาชิกที่มาออกกําลังกาย เป็นประจํา ๔๐ คน มีการดําเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรม ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ มีการจัดกิจกรรมในชมรมมากกว่าปีละ ๒ ครั้ง โดยเริ่มด้วยการก่อกระแส โดยการตรวจฟันโดยเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง เบื้องต้น หลังจากนั้นจะมีการระดมความคิดเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โดยกิจกรรมจะมีการอบรมให้ความรู้แกนนําทูตทันตกรรมเพื่อนําความรู้ไปขยายต่อให้กับสมาชิกในชมรม มีการฝึกตรวจฟัน ด้วยตนเอง โดยมีแบบตรวจฟันของชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา และมีการส่งต่อไปยังสถานีอนามัยท่าผา ซึ่งเป็นสถานีอนามัยใน เขตรับผิดชอบ มีการย้อมสีฟันเพื่อดูคราบจุลินทรีย์และฝึกแปรงฟันที่ถูกวิธี มีการฝึกตรวจฟันในเด็กเล็กเพื่อนํากลับไปดูแล ฟันในลูกหลานของตน หลังจากนั้นทางชมรมผู้สูงอายุก็จัดให้มีการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง มีการสอนญาติเพื่อ ดูแลช่องปากผู้ป่วย มีการจัดประกวดผู้สูงอายุฟันงาม โดยการจัดกิจกรรมทุกครั้ง จะมีการทํางานร่วมกันในเครือข่าย สุขภาพ โดยจะมีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อสม. และผู้นําชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กิจกรรมที่ทําอย่างต่อเนื่องคือ มีการให้ ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากโดยผู้นําชมรม ในวาระที่มีการรวมตัวของสมาชิกชมรมเพือ่ ออกกําลังกาย มีการแปรง ฟันหลังการออกกําลังกายทุกครั้งและเน้นย้ําการแปรงฟันที่ถูกต้องทุกครั้ง มีการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ เดือนละ 2 ครั้งมีการสอนการดูแลทุกส่วนรวมถึงสุขภาพช่องปาก ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม จะมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยมีการจัดบอร์ด กิจกรรมและให้ความรู้เป็นรายครั้ง มีอุปกรณ์ สื่อการสอนและ มีการทําผ้าป่าสมทบทุนเพื่อพัฒนาสถานที่เพื่อจัดมุมความรู้ ส่งเสริมสุขภาพและทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุอย่างถาวร ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลามีการเรียนรู้ในชมรมผู้สูงอายุ โดยการการไปศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุอําเภอแจ้ห่ม มี การเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในระดับเขต และระดับจังหวัดอย่างสม่ําเสมอรวมทั้งยังเป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน/ เรียนรู้ของชมรมฯและ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยเป็นที่ดูงานทั้งระดับเขตและ ระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง จากการตรวจทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ พบสมาชิกในชมรมมีฟันแท้ใช้งานครบ ๒๐ ซี่ ร้อยละ ๗๐.๕๘ สภาวะคู่สบฟันหลังมีฟันแท้สบฟันแท้มากกว่า ๔ คู่ ร้อยละ ๕๒.๙๔ มีฟันแท้สบฟันเทียม หรือฟันเทียมสบฟันเทียม มากกว่า ๔ คู่ ร้อยละ ๕.๘๘ มีคู่สบฟันหลังไม่ถึง ๔ คู่ ร้อยละ ๔๑.๑๗ ผู้สูงอายุแปรงฟันด้วยตนเองก่อนนอนร้อยละ ๗๐.๕๘ และผู้สูงอายุได้รับฟันเทียมพระทานจํานวน ๘ ราย ในการจัดกิจกรรมในชมรมแต่ละครั้ง มีการบูรณาการงานทันตสุขภาพเข้ากับกิจกรรมการดูแลสุขภาพ กิจกรรม สันทนาการ รวมไปถึงกิจกรรมตามประเพณีตา่ งๆ เพื่อความราบรื่นในการดําเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพแบบไม่แบ่งแยก ออกจากส่วนอื่นในวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๖

ชมรมผู้สูงอายุหนองหล่ม อําเภอดอกคําใต้ จังหวัดพะเยา การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันโรคในช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุตําบลหนองหล่ม มีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ก. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในช่องปากโดยผู้สูงอายุ ปีละ ๒ ครั้ง - จัดอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุแกนนํา ทุกหมู่บ้าน จํานวน หมู่ละ ๕ คน รวม ๔๕ คน - ผู้สูงอายุร่วมกันสํารวจและจัดทําฐานข้อมูลสุขภาพช่องปาก ๗๔๗ คน - ฝึกทักษะการทําความสะอาดช่องปาก - บริการส่งเสริมป้องกัน รักษาและฟื้นฟูช่องปาก - ส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาทางทันตสุขภาพ ที่โรงพยาบาล - การแปรงฟันในช่วงหลังการออกกําลังกายทุกวัน ข. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอือ้ ต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก - จัดประกวดฟัน - จับคู่ตรวจฟัน - ถ่ายทอดประสบการณ์ - เดินปั่นจักรยานไปแนะนําผู้สูงอายุเรื่องการดูแลช่องปาก - จัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องการดูแลช่องปาก ค. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ศึกษาดูงานนอกสถานที่ - เข้าร่วมประชุมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ง. มีข้อมูลสุขภาพช่องปาก จ. ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนโครงการการดูแลช่องปากผู้สูงอายุ ๑ โครงการ ร่วมกับโครงการเยี่ยมบ้าน


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๗

ชมรมผู้สูงอายุบานไม่รู้โรย หมู่ ๓ ตําบลบ้านป้อม อําเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากสุขภาพช่องปากเป็นเพียงมิติหนึ่งของการมีสุขภาพดี ดังนั้น การดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพในช่องปากจึงจําเป็นต้อง ส่งเสริมสุขภาพอย่างองค์รวม (Holistic Health) ไม่มองเพียงแต่ปัญหาเฉพาะภายในช่องปาก โดยการทํางานกับชุมชนควรยึดหลัก Positive Approach หรือการมองชุมชนในเชิงบวก โดยดึงเอาศักยภาพของชุมชนออกมาไม่มองเพียงแต่ปัญหาของชุมชน และเสริมสร้างศักยภาพของ ชุมชน (Empowerment) เพื่อให้ท้ายที่สุด ชุมชนสามารถดูแลตนเองได้ ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๓ ตําบลบ้านป้อม ได้นําแนวคิดดังกล่าวมาเป็นฐานคิดในการดําเนินงาน โดยมีผลการดําเนินงานดังต่อไปนี้ ๑. การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๑.๑ แกนนําผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาศักยภาพเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยแกนนําผู้สูงอายุสามารถตรวจสุขภาพช่องปาก ให้กับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้และเป็นต้นแบบให้กับชมรมผู้สูงอายุอื่นในการทํากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น การแปรงฟันที่ถูกวิธี ๑.๒ สมาชิกชมรมฯ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในวันมหกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ตําบลบ้านป้อม เมื่อ 20 ตค.53 ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตําบลบ้านป้อม มีการจัดนิทรรศการส่งเสริมทันตสุขภาพ ตอบปัญหาทางทันตสุขภาพ โดย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้สูงอายุในพื้นที่ตําบลบ้านป้อม ๒. จัดสิง่ แวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก คือ ๒.๑ ชมรมผู้สูงอายุจดั มุมความรู้ทางด้านทันตสุขภาพที่ รพ.สต.บ้านป้อม เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่มาออกกําลังกาย และ ประชาชนทั่วไปที่รับบริการที่ รพ.สต.บ้านป้อม ๒.๒ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมกี ารดําเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยเท้าพ่อ โดย ปลูกผักปลอดสารพิษ ตําข้าวซ้อมมือ ไว้กินในครัวเรือน และแบ่งปันให้เพื่อนบ้าน พร้อมทั้งจําหน่าย ๓. มีการเรียนรู้ในชมรมผู้สงู อายุ ผู้สูงอายุมีการเรียนรู้กันเองในชุมชน เช่น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ทําอย่างไรให้มี สุขภาพฟันดี โดยการพูดคุยกันระหว่างสมาชิกในชมรม เช่น ถามคนที่มีฟันดีไม่ผุว่าทําอย่างไรให้ฟันไม่ผุหรือใส่ฟันปลอมแล้วดีไหมอย่างไร ดูแลยากไหม เป็นต้น ๓.๑ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เยี่ยมสมาชิกที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และผู้พิการเพื่อให้กําลังใจ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้ง ติดตามเยีย่ มให้คําแนะนํา และหาวิธแี ก้ไขกรณีที่ผู้ป่วยกินยาไม่ถูกต้อง ๓.๒ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุใช้นวตกรรมเปลือกผลไม้แก้วมังกรย้อมสีฟันแทนเม็ดสีย้อมฟัน ในกิจกรรมแปรงฟันก่อนออกกําลังกาย ทุกวัน ๔. ข้อมูลสุขภาพช่องปากสมาชิกชมรม ผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพปี ๒๕๕๔ พบฟันผุร้อยละ ๒๗.๓๘ เหงือกอักเสบร้อย ละ ๑๔.๒๘ ผู้สูงอายุมีความรูใ้ นการดูแลสุขภาพช่องปากร้อยละ ๙๓ จากก่อนดําเนินงาน ร้อยละ ๖๘ ๕. ชมรมผู้สูงอายุเป็นแหล่งดูงาน/เรียนรู้ให้กับชมรมผูส้ ูงอายุอื่นๆ กิจกรรมการออกกําลังกายสัญจร ก่อนการออกกําลังกาย (รําไม้พลอง) แกนนําผู้สูงอายุจะให้ความรู้ทันตสุขภาพแก่สมาชิกก่อน เช่น การดูแลรักษาฟันปลอม การแปรงฟันที่ถูกวิธี ทําให้เกิดชมรม ต้นแบบการนําออกกําลังกาย (รําไม้พลอง) ได้รับเชิญเป็นชมรมต้นแบบให้ชมรมผู้สูงอายุในหมู่บ้านอื่น เวียนไปครบทุกหมู่บ้านใน ต.บ้านป้อม ๖. กิจกรรมจิตอาสาเล่านิทานเด็กเล็ก มีนวัตกรรม คือ ทีวีมือถือสื่อเล่านิทานเด็กเล็ก เพราะด้วยนิทานมีราคาที่ค่อนข้างแพง ชมรมผู้สูงอายุจงึ มีความคิดสร้างสื่อเองเพือ่ ประหยัดค่าใช้จา่ ย ผู้สูงอายุจะเวียนเล่านิทานให้เด็กในศูนย์เด็กเล็กทุกแห่ง ๕ ศูนย์ในตําบลบ้าน ป้อม เด็กๆ ในชุมชนชอบมาก ทําให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถและมีคุณค่า ผลที่เกิดขึ้นกับผู้สงู อายุทางด้านสุขภาพช่องปาก สุขภาพ ความสุข และคุณภาพชีวติ ผลการดําเนินงานส่งเสริมสุขภาพในช่องปากของชมผู้สูงอายุที่ทําเกิดกิจกรรมในการส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และ หลากหลาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุหมู่ที่ ๓ มีอัตราป่วยเป็นโรคฟันผุ ๒๗.๓๘ ในปี ๒๕๕๔ ไม่เพิ่มขึ้นไปจากปี ๒๕๕๓ อัตราโรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ ๑๔.๒๘ ลดลงจากปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๑๑.๒ ส่วนในด้านพฤติกรรมทันตสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ร้อยละ ๙๓ ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีสําคัญกับสุขภาพและเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ การมี ปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างโรคเรื้อรังกับโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์กับเบาหวาน ซึ่งจากผลการดําเนินงานดังกล่าวส่งผลให้สามารถลดปัจจัย เสี่ยงและป้องกันโรคเรื้อรังจะทําให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุ ในการ พัฒนาชุมชน เป็นการเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองของชมรมผู้สูงอายุ การที่สมาชิกทุกคนในชมรมผู้สูงอายุเป็นต้นแบบด้านส่งเสริมทันต สุขภาพนั้น ก่อให้เกิดโอกาส มีการสื่อความหมาย และเข้าใจข้อมูล เหตุผลได้ดี ทําให้ชุมชนสามารถแยกแยะความต้องการ และพัฒนาความสนใจ ร่วมกัน อันจะนําไปสู่การร่วมดําเนินการ หรือกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกๆ กิจกรรม


ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากระดับเขต เขต ๑๘

ชมรมผู้สูงวัยเทศบาลลานกระบือ อําเภอลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร ผลการดําเนินงานของชมรมผู้สูงอายุเทศบาลลานกระบือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ครอบคลุมตาม เกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๕ ข้อ ดังต่อไปนี้ ๑. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดย ผู้สูงอายุ อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง - มีการให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ฝึกแปรงฟัน และตรวจสุขภาพช่องปากแก่ สมาชิกใน ชมรมฯ โดยทันตบุคลากร - มีรูปแบบ การเยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุ กลุ่ม ๒ (ติดบ้าน) และกลุ่ม ๓ (ติดเตียง) โดย อาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก - จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและบ้วนปาก ด้วยน้ํายาบ้วนปากสมุนไพร ทุกวันที่มีการ ประชุมในชมรมฯ (ทุกวันอังคาร) ๒. จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก - มีการจัดตั้งกองทุนแปรงสีฟันยาสีฟัน (สมาชิกทุกคนมีอุปกรณ์แปรงฟัน) - มีการจัดมุมความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก - มีการจัดทําที่เก็บแปรงสีฟันไว้ในชมรมฯ ๓. มีการเรียนรู้ในชมรมผู้สูงอายุ - มีการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ ศูนย์อนามัยที่ ๙ - มีการผลิตน้ํายาบ้วนปากสมุนไพรไว้ใช้กันเองภายในชมรม / จําหน่าย ให้กับสมาชิกในชมรม เเละ ประชาชนทั่วไป - มีแกนนําผู้สูงอายุด้านทันตสุขภาพออกให้ความรู้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๔. มีข้อมูลสุขภาพช่องปากสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ทันสมัย - จํานวนสมาชิก ทั้งหมด ๒๗๓ คน - จํานวนสมาชิก ทั้งหมด ที่ได้รับการตรวจฟัน ๑๓๕ คน สรุปสภาวะช่องปาก จํานวนฟันมากกว่า ๔ คู่สบ จํานวน ๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๒๘ (แท้+แท้/แท้+เทียม/ เทียม+เทียม) ๕. เป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน/เรียนรู้ของชมรมฯ ทั้งภายในจังหวัด และจากต่างจังหวัด ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ได้แก่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกําแพงเพชร อบต.ลานกระบือ อบต.หนอง หลวง และ อบต.บึงทับแรต


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.