ก
คํานํา รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ ARTD 2304 ซึ่งได้จัดทําเกี่ยวกับเรื่อง การสร้าง Font ลายมือโดยใช้ โปรแกรม FontCreator V 5.5 เพื่อใช้เป็นอีก Font หนึ่งที่ใช้พิมพ์ในงานต่างๆได้และ เพื่อให้นักเรียน และกลุ่มที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ Font จะได้ทราบวิธีการสร้าง Font และการติดตั้งโปรแกรม FontCreatorบนคอมพิวเตอร์ของผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้ทํางาน หากการทํารายงานฉบับนี้ ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทํา นาย นนทวัฒน์ บุตรนัย รหัส 5121302706
ข
สารบัญ ภาพ
หน้า
คํานํา
ก
สารบัญ
ข
สารบัญภาพ
ค-ง
สารบัญตาราง
จ
การจัดทํา Project Font ลายมือ โดยใช้โปรแกรม FontCreator
1
การเขียนFontลายมือโดยใช้ตารางTemplate
2
วิธีนําFontลายมือเข้าเครื่องเพื่อทําเป็นไฟล์
4
การติดตั้งFontลายมือเพื่อใช้งาน
16
ตัวอย่างข่าวสารเรื่องราวของ Font ประวัติ และแหล่งที่มาของ Font (ฟอนต์) 13 Font
17 18
ฟอนท้นั้น .. สําคัญไฉน..
19
ประวัติศาสตร์ของอักษร
25
ค
สารบัญภาพ ภาพ
หน้า
ภาพที่ 1 โลโก้ High-Logic
1
ภาพที่ 2 ตารางการเขียน
2
ภาพที่ 3 ปากกาใช้ในการเขียน
3
ภาพที่ 4 ภาพตัวอย่างที่ได้จากการเขียน
3
ภาพที่ 5 ภาพตัวอย่างที่ได้จากการเขียน
4
ภาพที่ 6 เครื่องสแกน
5
ภาพที่ 7 ภาพตัวอย่างในการทํางาน
6
ภาพที่ 8 ภาพตัวอย่างในการทํางาน
6
ภาพที่ 9 ภาพตัวอย่างในการทํางาน
7
ภาพที่ 10 ภาพตัวอย่างในการทํางาน
7
ภาพที่ 11 ภาพตัวอย่างในการทํางาน
8
ภาพที่ 12 ภาพตัวอย่างในการทํางาน
8
ภาพที่ 13 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง
9
ภาพที่ 14 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง
10
ภาพที่ 15 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง
11
ภาพที่ 16 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง
12
ภาพที่ 17 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5
13
ภาพที่ 18 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5
13
ภาพที่ 19 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5
14
ภาพที่ 20 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5
14
ภาพที่ 21 ภาพตัวอย่างการพิมพ์ในโปรแกรม Font Creator 5.5
15
ง
สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพ
หน้า
ภาพที่ 22 ภาพตัวอย่างการติดตั้ง Font
16
ภาพที่ 23 ชนิดของ Font ในโลก
20
ภาพที่ 24 หนังสือโบราณสมัยราชวงศ์ถังของจีน
21
ภาพที่ 25 ตัวอย่าง Font ย้อนยุค
22
ภาพที่ 26 ภาพตัวอย่างระบบการพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส
22
ภาพที่ 27 ภาพตัวอย่างบล็อกแม่พิมพ์โลหะระบบเล็ตเตอร์เพรส
23
ภาพที่ 28 หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย
23
ภาพที่ 29 ตัวอย่าง ฟอนต์แบบดิสเพลย์
24
จ
สารบัญตาราง ตาราง ตารางแสดงอักษรฟินิเชียและอักษรที่เป็นลูกหลาน
หน้า 27
1
รายงานการสร้าง Font ลายมือ โดยใช้ โปรแกรม High-Logic FontCreator V 5.5
ภาพที่ 1 โลโก้ High-Logic (ที่มา : httpblog.fastncheap.comwp-contentuploads201112high-logic-logo-1024x211.png)
การจัดทํา Project Font ลายมือ โดยใช้ โปรแกรม FontCreator นี้ ได้มีขั้นตอนการจัดทําดังต่อไปนี้ 1.การเขียน Font ลายมือโดยใช้ ตารางTemplate 2.วิธีนํา Font ลายมือเข้าเครื่องเพื่อทําเป็นไฟล์ 3.การติดตั้ง Font ลายมือ เพื่อใช้งาน
โดยขั้นตอนที่ได้กล่าวมานี้สามารถสร้าง Font ลายมือไปใช้เองได้ รวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆผ่าน font ที่สร้าง หรือเขียนขึ้นเองได้ โดยนําไปใช้ในเทศการต่างๆได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการออกแบบนี้บอกถึงรายระเอียดตั้งแต่การเขียน Font จนถึงการติดตั้ง Font และใช้งานใด้จริง
2
1.การเขียน Font ลายมือโดยใช้ ตาราง Template การเขียน Font โดยใช้ ตาราง Template นั้น ต้องมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ 1.1 ตาราง Templateการสร้างหรือการหาตารางTemplate นั้น หาดาวน์โหลดได้ในอินเตอร์เน็ตหรือสร้าง ขึ้นมาเองตัวอย่างดังภาพ ตาราง Template ภาษาอังกฤษ
ตาราง Template ภาษาไทย
ภาพที่ 2 ตารางการเขียน (ที่มา : ผศ.ประชิด ทิณบุตร) ซึ่ง ตาราง Template ที่ได้นํามาเป็นตัวอย่างนั้นจะมีอยู่ 2 แบบคือ แบบเขียนภาษาอังกฤษ และ แบบเขียนที่เป็น โดยทั้ง 2 แบบ จะมีช่อง สี่เหลี่ยมเหมือนกันทั้ง 2 แบบ ซึ่งแต่ละช่องสีเหลี่ยมนั้น จะมีเส้นบอกขนาดของตัวอักษรที่เราจะต้องเขียน สังเกตุตรงช่องสีเหลียมจะเห็นได้ว่าจะมีเส้นบอกขนาดของตัวอักษรทั้งซ้ายและขาว ทุกๆช่องจะมีเหมือนกันทั้งหมดทุกช่องและ จะมีความสูงของขนาดเส้นเท่าๆกัน
3
1.2.ปากกา Pigma โดยจัดหาได้ทั่วไปตามร้านค้าต่างๆ ซึ่งต้องมีขนาดความหนาของเส้น 0.1 มม. โดยจะทําให้ การเขียน Font สวยงามและไม่ใหญ่เกินไป ตัวอย่างดังภาพ
ภาพที่ 3 ปากกาใช้ในการเขียน (ที่มา : httpwww.chornakorn.co.thproducts.phpcat_id=7&cat_sub_id=26&product_id=2160)
ไม่ได้อุปกรณ์ทั้ง 2 ครบแล้ว ให้ลงมือทําโดยใช้ปากกาที่ได้นํามาเขียนลงบนตรา Template ตามที่ได้วางแผนไว้ โดยแต่ละ ช่องของตาราง จะมีการระบุตัวอย่างของตัวอักษรไวตามช่องตัวอย่างดังภาพ
ภาพที่ 4 ภาพตัวอย่างที่ได้จากการเขียน (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย)
4
โดยให้เขียนตัวอักษรทุกตัวลงตามช่องที่มีตัวตัวอักษรนั้นกําหนดไว้ตามตัวอย่างด้านบน เมื่อเขียนลงบน ตาราง Template ตามที่วางแผนไว้ก็จะได้ตามตัวอย่างที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งจะมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยดังภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 5 ภาพตัวอย่างที่ได้จากการเขียน (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย)
2.วิธีนํา Font ลายมือเข้าเครื่องเพื่อทําเป็นไฟล์ เมื่อได้ทําการเขียน Font บน ตารางTemplate เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ 2.1 นํากระดาษที่เป็น ตาราง Template ไป สแกนลงเครื่อง โดยสแกนอยู่ที่ 300 DPI ซึ่งจะได้ขนาดของไฟล์ ใหญ่ และขยายภาพได้มากขึ้น ซึ่งตัวอย่างเครื่องสแกนดังภาพ
5
ภาพที่ 6 เครื่องสแกน (ที่มา : httpeasyprintexpress.comservice_scanning.php)
เมื่อสแกนเรียบร้อยแล้วก็จะได้ไฟล์ภาพ JPG ที่มีขนาด 300 DPI 2.2 วิธีการจัดทํา Font ลายมือโดยใช้โปรแกรม FontCreator5.5 จะมีขั้นตอนต่อไปนี้ เปิดโปรแกรม FontCreator5.5 ขึ้นเพื่อสร้าง Font และเปิดอีกหนึ่งโปรแกรม (โปรแกรมอะไรก็ได้ที่สามารถ Copy ได้ เช่น Adobe Photoshop, Adobe Illustrator เป็นต้น ) โดยส่วนตัวในการจัดทํา Font ในครั้งนี้ได้ใช้ Adobe Photoshop ในการสร้างผลงานโดยทั้งสองโปรแกรมจะมีขั้นตอนการทํางานดังนี้ -เมื่อเปิดโปรแกรมทั้งสองขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยโปรแกรม สแกนมา ก็จะได้ดังภาพต่อไปนี้
Adobe Photoshop ให้เปิดไฟล์ภาพที่ได้
6
ภาพที่ 7 ภาพตัวอย่างในการทํางาน ที่มา: นนทวัฒน์ บุตรนัย -ส่วนโปรแกรม FontCreator5.5 ให้เปิด ตัวอย่าง Font ที่จะนํามาทํางาน ( Font อะไรก็ได้ที่มี ภาษาไทย) โดยการทํา Project นี้ผมได้ใช้ ต้นฉบับที่เป็น Font AAA-Watin-newในการทํา Project นี้ เมื่อเปิดเสร็จแล้วก็จะได้ตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 8 ภาพตัวอย่างในการทํางาน (ที่มา:นนทวัฒน์ บุตรนัย) -ขั้นตอนต่อไป คือ ให้ Copy ตัว Font ที่ได้สแกนเข้าโปรแกรม Adobe Photoshop โดยใช้ เครื่องมือของ Adobe Photoshop คือ Rectangular Marquee Tool (M) เพื่อความเรียบง่ายในการ Copy โดยใช้ เครื่องมือ Rectangular Marquee Tool (M) ลากเส้นทับให้เป็นสี่เหลี่ยมดังภาพต่อไปนี้
7
ภาพที่ 9 ภาพตัวอย่างในการทํางาน (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย) เมื่อได้ดังภาพให้กด Ctrl +C เพื่อเป็นการ Copy หลังจากนั้นให้ไปที่โปรแกรม FontCreator5.5 โดยไปที่ตัวอักษรนั้นๆ ที่เรา Copy ดังภาพ
ภาพที่ 10 ภาพตัวอย่างในการทํางาน (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย) เมื่อได้ดังภาพให้ดับเบิ้ลคลิ๊กไปที่ตัวอักษรนั้นเข้าไปจะได้ดังรูปภาพ
8
ภาพที่ 11 ภาพตัวอย่างในการทํางาน (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย) เมื่อได้ดังภาพแล้วให้กด Ctrl+V เพื่อเป็นการวางตัวอักษรที่เราได้ Copy ไว้เมื่อ Ctrl+V ก็จะได้ดังภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 12 ภาพตัวอย่างในการทํางาน (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย)
9
เมื่อได้ดังภาพให้จัดวางตําแหน่งโดยแทนตัวอักษรเดิมที่มีอยู่และจัดวางขนาดตามความเหมาะสมที่ต้องการโดยจะมีเส้นต่างที่ ไวบอกขนาดของแต่ละตัวอักษรและได้ใช้หลักเกณฑ์ดังภาพต่อไปนี้ ภาพตัวอย่าง
ภาพที่ 13 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง (ที่มา : http://typefacesdesign.blogspot.com/2011/12/cru-font-family.html)
10
ภาพตัวอย่าง
ภาพที่ 14 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง (ที่มา : http://typefacesdesign.blogspot.com/2011/12/cru-font-family.html)
11
ภาพตัวอย่าง
ภาพที่ 15 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง (ที่มา : http://typefacesdesign.blogspot.com/2011/12/cru-font-family.html)
12
ภาพตัวอย่าง
ภาพที่ 16 ภาพตัวอย่างตารางการจัดวาง (ที่มา : http://typefacesdesign.blogspot.com/2011/12/cru-font-family.html)
13
โดยให้ทําแบบตัวอย่างนี้ไปจนครบทุกตัวอักษรทั้ง Font ภาษาไทยและ อังกฤษ ซึ่งให้สังเกตว่าขนาดความสูงของต้นฉบับ เช่น ตัวภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ ตัวภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก ตัวเลข ตัวอักษรไทย สระไทย ตัวเลขไทย เป็นต้น จะมีความสูง แตกต่างกันไป โดยช่องว่างระหว่างตัวอักษรจะมีวิธีการและจัดระเบียบตามขั้นตอนต่อไปนี้ เมื่อได้วางตัวอักษรแล้วจะต้องจัดเส้นไกด์หน้าหลังโดยเส้นหน้าจะวางห่างจากตัวอักษรแล้วแต่ความเหมาะสม วิธีทําก็คือ เมื่อวางตัวอักษรแล้วให้ทําคลิกขาวเมื่อคลิกขวาแล้วจะได้หน้าตาดังภาพ
ภาพที่ 17 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5 (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย) เมื่อได้ดังภาพแล้วให้เข้าไปที่ Properties… ที่อยู่ด้านล่างสุดจากนั้นก็จะได้หน้าต่างดังภาพ
ภาพที่ 18 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5 (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย)
14
จากนั้นให้ทําการตั้งค่าหรือคํานวนส่วนต่างๆของตัวอักษรแล้วใส่ตัวเลขตามที่ต้องการหรือทําการทดลงใส่ดูก่อนตามตวาม เหมาะสมจากนั้นจึงทําการแก้ไข -เมื่อจัดวางเรียบร้อยทุกตัวอักษรแล้วขั้นตอนต่อไปคือการเปลี่ยนชื่อ Font เช่น Font AAA-Watin-new เป็น CRU-nonthawat-Artd2304 เป็นต้น จะมีวิธีการทําดังนี้ให้ไปที่ Format +Naming ก็จะได้ภาพดังต่อไปนี้ โดยให้ เข้าไปที่ เมนู Fornat ต่อด้วย Naming จะได้หน้าตาดังภาพ
ภาพที่ 19 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5 (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย) เมื่อได้ดังภาพจากนั้นให้ทําการเปลี่ยนชื่อตามที่ได้กล่าวไว้ เมื่อเปลี่ยนชื่อเสร็จแล้วให้กด Advanced ก็จะได้ภาพดังต่อไปนี้
ภาพที่ 20 ภาพตัวอย่างการทํางานในโปรแกรม Font Creator 5.5 (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย)
15
เมื่อได้ดังภาพคุณจะเห็นช่องว่างให้เขียนชื่อ Font ของคุณเมื่อตั้งชื่อที่คุณต้องการเสร็จแล้วให้กด OK เพื่อเป็นการยืนยันใน การเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ทําเอง จากนั้นให้ไปที่ File เพื่อกด Save As เป็นการบันทึก Font ทีคุณสร้างขึ้นเอง -ขั้นตอนการทดลอง Font ที่ได้สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรม FontCreator5.5 จาก FontCreator5.5 ให้ ไปที่เมนู Font +Test เพื่อทําการทดสอบ Font ที่เราสร้างขึ้นจะได้ดังภาพ
ภาพที่ 21 ภาพตัวอย่างการพิมพ์ในโปรแกรม Font Creator 5.5 (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย) เมื่อทดสอบเรียบร้อยแล้วก็ต้องทดสอบกับโปรแกรมอื่นด้วยเพื่อความสมบูรณ์ของ Font เช่นโปรแกรม Adobe Photoshop, Adobe Illustrator, Microsoft office ตัวอย่างทดลองในโปรแกรม Microsoft office ดังข้อความ ต่อไปนี้
16
3.การติดตั้ง Font ลายมือ เพื่อใช้งาน วิธีการติดตั้ง Font ลายมือลงเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยง่าย ซึ่งใช้ Font ที่ได้สร้างไว้เรียบร้อยแล้ว โดยไปที่ Settings+Control Panel จากนั้นให้ไปคําว่า Font แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กเข้าไปก็จะได้ภาพดังต่อไปนี้
ภาพที่ 22 ภาพตัวอย่างการติดตั้ง Font (ที่มา : นนทวัฒน์ บุตรนัย) เมื่อได้ดังภาพให้เปิดไฟล์หรือที่อยู่ของ Font ที่ได้สร้างไว้เรียบร้อยแล้วให้ Copy ไฟล์ Font ที่เราได้สร้างไว้เรียบร้อยแล้ว โดยกด Ctrl +C เพื่อเป็นการ Copy จากนั้นให้กด Ctrl+ V ที่บนหน้าต่างที่แนบมาด้านบน แค่นี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นการ ติดตั้ง Font ที่ได้สร้างไว้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็สามารถนํา Font ที่ได้สร้างไปใช้งานได้
17
ตัวอย่างข่าวสารเรื่องราวของ Font ประเภทของฟอนต์ (Type Font) ก่อนอื่นเราจะมีทําความรู้จักกับประเภทของฟอนต์กับคร่าว ๆ ก่อน......... ฟอนต์ในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น ประเภทใหญ่ ๆ คือ
3
Postscript (PS1) Postscript หรือ PS1format เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นโดยบริษัท Adobe ก่อนจะมีฟอนต์แบบ TrueType ใน เวลาหลายปีต่อมา PS1 เป็นฟอนต์ที่คมชัด และให้รายละเอียดมาก ถูกใช้มากสําหรับงานที่ต้องการคุณภาพสูงเช่นหนังสือ หรือนิตยสารรายปักษ์ผู้ใช้ส่วนใหญ่มั กเป็น professionaldesigner มากกว่า home user ในระยะแรก วิธีการ install font แบบ postscript นี้ค่อนข้างยุ่งยากและจะต้อง install ผ่านโปรแกรมที่ชื่อ ว่า ATM(AdobeTypeManager) แต่ในภายหลัง Microsoft ได้ปรับปรุงวิธีการ install นี้ใน Windows OS ทั้งหมด ตั้งแต่เวอร์ชั่น windows 2000 เป็นต้นมา ทําให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น TrueType (TT) TrueType เป็นมาตรฐานของฟอนต์ ที่ถูกวางรากฐานมาจาก Apple และ Microsoft ในช่วงยุคปลายปี 80 support การทํางาน บนระบบปฏิบัติการทั้ง Macintosh และ Windows ทําให้ TrueType font เป็นมาตรฐานที่ ได้รับความแพร่หลายมากที่สุดในยุคนั้น TT เป็นรูปแบบที่นําเอาข้อมูลของฟอนต์ ที่ใช้ในการวาด (Draw) บน screen กับ ข้อมูลที่ใช้ในการพิมพ์ผ่าน printer มารวมกันอยู่ใน package เดียวกัน เป็นฟอนต์ที่สามารถ scale และเปลี่ยน size ได้ทุกขนาด โดยที่จะยังคงความคมชัดอยู่เสมอสําหรับทุก point ที่เปลี่ยนไป ฟอนต์ที่เป็นลักณะ TrueType นี้ยังสามารถ print ได้ด้วย printer ทุกแบบที่ support ด้วย Windows OpenType OpenType เป็นผลจากความร่วมมือกันของ Adobe และ Microsoft มีลักษณะคล้ายกับ TrueType ต่างกัน ตรงที่ OpenType มี character set ที่กว้างกว่า ทําให้สามารถบรรจุจํานวนตัวอักขระได้มากถึง 65,000 ตัวอักษร ด้วยจํานวนที่มากกว่า TrueType นี้ ทําให้ OpenType สามารถเก็บตัวอักษรแปลก ๆ อักขระพิเศษ ตัวอักษรของภาษาอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน กลุ่มประเทศอาหรับ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เอาไว้ได้มากมายในฟอนต์เดียว และความสามารถพิเศษอันนี้นี่เอง ทําให้ OpenType สามารถทํางานได้กับทุก platform โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะบรรจุเอา character code ไว้แล้วทุก platform นั่นเอง นอกจาก 3 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ปัจจุบัน ก้อมีแตกแยกย่อยออกไปอีกหลายรูปแบบนะครับ มีทั้ง Vector Type, Raster Type, Clear Type และอีกหลายต่อหลายแบบ จุดที่น่าสนใจจุดหนึ่งคือ แบบ Raster Type......ฟอนต์โดย ปกติทั่วไปแล้ว ถ้าเป็น TrueType จะมีคุณสมบัติในการ resizable อยู.่ ....นั่นคือ ไม่ว่าเราจะเพิ่ม size ของฟอนต์เข้าไป กี่ point ก็ตาม ตัวอักษรที่ได้ จะมีการ draw ใหม่เสมอ ทําให้ขอบตัวอักษรคมชัด คล้าย ๆ กับภาพแบบ Vector จึงเรียก คุณสมบัติแบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า Vector Type แต่ในกรณีของ RasterType นั้น จะมีความคมชัดของตัวอักษร ที่ point size หนึ่ง ๆ เท่านั้น เช่น 12pts,
18
18pts, 24pts หรือ 60 pts เมื่อเราทําการขยายฟอนต์นั้นให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จะพบว่า ที่ขอบของตัวอักษรจะเกิด การแตกเป็นเหลี่ยม ๆ คล้าย ๆ กับเวลา zoom ภาพ แบบ raster เข้าไปเรื่อย ๆ นั่นเอง เมื่อลองเปิด Folder Fonts ใน windows ดู เราจะพบว่า Icon รูปร่างต่าง ๆ นั้นจะสื่อถึงประเภทของฟอนต์แต่ ละแบบครับ TT คือ TrueType O คือ OpenType A คือ RasterType / PS1 ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือฟอนต์ "Microsoft Sans Serif" กับฟอนต์ "MS Sans Serif" หลาย ๆ คนคงเคยใช้ ฟอนต์สองตัวนี้มาแล้วแน่ ๆ แต่เชื่อว่ามีจํานวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าฟอนต์สองตัวนี้ต่างกันอย่างไร เพราะถ้าพิมพ์ในขนาดเล็ก แล้ว จะไม่สามารถแยกได้ถึงความแตกต่างเลย .....เฉลยก็คือ "Microsoft Sans Serif" เป็นฟอนต์แบบ VectorType ส่วน "MS Sans Serif" เป็น RasterType ครับ ลองดูตัวอย่างในรูปนะครับ ในรูปนี้ ด้านบนคือฟอนต์ " Microsoft Sans Serif" ครับ ด้านล่างคือฟอนต์ "MS Sans Serif" ที่ขนาด 28 pts เท่ากัน ลองเปรียบเทียบความคมชัด ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/228185
ประวัติ และแหล่งที่มาของ font (ฟอนต์) 13 font ตามที่ครม.ได้เห็นชอบให้ทุกส่วนราชการยกเลิกฟอนต์ต่างชาติและบังคับใช้ 13 ฟอนต์ไทยในงานราชการ ระบุป้องกันละเมิดลิขสิทธิ์ (http://hilight.kapook.com/view/51951) นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจําสํานัก นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดําเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและ ฟอนต์ อื่น ๆ ทั้งหมด จํานวน 13 ฟอนต์ ของสํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (สอซช.) หรือ SIPAและ กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) และใช้ฟอนต์ดังกล่าว แทนฟอนต์เดิม ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอโดยให้ติดตั้งและใช้งานให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก ปัจจุบันส่วนราชการจํานวนมากมีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลายไม่มีมาตรฐานในเอกสาร ทางราชการอีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการหลายแห่งใช้มาตรฐานฟอนต์ของบริษัทเอกชนที่ผูกขาด ลิขสิทธิ์ เช่น Angsana อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาและมีการประกวดแข่งขันฟอนต์ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมให้เกิดการใช้Open Source Software ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีให้ส่วนราชการไทยประกาศมาตรฐานเอกสารดิจิตัล และรูปแบบ ของฟอนต์ที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใดๆเพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและ เอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยซึ่งในขณะนี้มีฟอนต์ที่ส่วนราชการไทยสามารถเป็นเจ้าของและพร้อมแจกจ่ายให้ กับผู้ ประสงค์จะใช้งานรวม 13 ฟอนต์ 1. TH Sarabun PSK ออกแบบโดย คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ บังคับใช้ทั่วไป TH Sarabun PSKได้พัฒนาเป็น TH Sarabun
19
PSK IT9 และพัฒนาเป็นTH Sarabun PSK New 2. TH Chamornman ออกแบบโดยคุณเอกลักษ์ เพียรพนาเวช 3. TH Krub ออกแบบโดยคุณเอกลักษณ์ เพียรพนาเวช 4. TH Srisakdi ออกแบบโดย ทีม อักษราเมธี (คุณไพโรจน์ เปี่ยมประจักพงษ์,คุณบวร จรดล) 5. TH Niramit AS ออกแบบโดย ทีม อักษราเมธี (คุณไพโรจน์ เปี่ยมประจักพงษ์,คุณบวร จรดล) 6. TH Charm of AU ออกแบบโดย คุณกัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ 7. TH Kodchasan ออกแบบโดย คุณกัลย์สุดา เปี่ยมประจักพงษ์ 8. TH K2D July8 (8 กรกฏา) ออกแบบโดย คุณกานต์ รอดสวัสดิ์ 9. TH Mali Grade 6 ออกแบบโดย คุณสุดารัตน์ เลิศสีทอง 10. TH Chakra Petch (จักรเพชร) ออกแบบโดย คุณธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ 11. TH Bai Jamjuree CP ออกแบบโดย ทีม PITA (คุณรพี สุวีรานนท์, คุณวิโรจน์ จิรพัฒนกุล) 12. TH KoHo ออกแบบโดย กลุ่ม ก-ฮ (คุณขาม จาตุรงคกุล, คุณกนกวรรณ แพนไธสง,คุณขนิษฐา สิทธิแย้ม) 13. TH Fah Kwang ออกแบบโดย ทีม สิบเอ็ด (คุณกิตติ ศิริรัตนบุญชัย,คุณนิวัฒน์ ภัทโรวาสน์) ฟอนต์ทั้ง 13 ฟอนต์ สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ที่นี่ SiPA http://www.sipa.or.th/more_news.php?cid=33&filename=index THSarabunPSKNe ดาวโหลด http://www.f0nt.com/download/sipafonts/THSarabunNew.zip ที่มา http://www.rachakarnclub.com/2010/11/font-th-saraban-psk-windows-xp.html http://www.gotoknow.org/blogs/posts/448219
ฟอนต์นั้น.. สําคัญไฉน.. คนสนิทมักรู้จักฉันจากอาชีพหมอดูแต่อาชีพหลักของฉันยังคงยึดการเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์เต็มตัวแม้จะเริ่มต้นเองด้วยการมั่ว แต่ก็มัวแบบมีหลักการใฝ่ฝันขยันหาความรู้จากประสบการณ์และการขวนขวาย และพัฒนามาจนเลิกมั่วและยืดอกได้ไม่อาย ใคร ฉันอาจไม่ได้จบกราฟฟิกโดยตรงไม่ได้เข้าเรียนในสถาบันใดที่ผ่านมา ฉันเจอโลกในแง่ร้ายมาเยอะ เจอคนที่มองแต่ หน้าตาและยี่ห้อกะลาที่ครอบหัว มากกว่าคุณค่าและความรู้ในลอนสมองเสียเป็นส่วนใหญ่ ขอโทษนะ.. ที่ฉันไม่ค่อยเชื่อถือ ระบบการศึกษาของไทยเท่าไรเลย ฉันแค่เชือว่า.. ถ้าจะตั้งใจแล้ว.. มันไม่ยากเกินความพยายาม เชื่อเถอะว่า.. ฉันอ่าน Text Books มากกว่ากราฟฟิกปริญญาหลายๆ คนด้วยซํ้า 6-7 ปีที่ผ่านมา ฉันครํ่าครวญและครําหวอดอยู่ในวงการ ชีวติ ประจําวันของฉันไม่เคยหนีพ้นตัวอักษร หรือศัพท์ทางการออกแบบว่า ฟอนต์ สักที บนโลกใบนี้มีฟอนต์เป็นร้อยล้าน ฟอนต์ การจะเลือกฟอนต์แต่ละชนิดมาใช้งาน มันจะส่งผลต่องานออกแบบของคุณมาก จนคุณอยากจะอวดผลงานของคุณ ให้โลกได้ประจักษ์ไปทุกแห่งหน หรือไม่ก็เอาหัวหมุดคอห่านตายไปให้รู้แล้วรู้รอด มิให้เสียชื่อเสียงบุพการีกันเลยทีเดียว ไหนๆ ก็เสียเวลามาอ่านกันแล้ว ก็อยากให้ได้ความรู้กันไปเต็มๆ เราก็มาทําความรู้จักชนิดของฟอนต์กันก่อนดีกว่า ชนิดของ ฟอนต์ในโลก แบ่งตามที่ฉันรู้จักออกเป็น 9 ชนิด คือ
20
ภาพที่ 23 ชนิดของ Font ในโลก (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry) 1. Serif เซริฟ คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์หางอักษขระบาง แบ่งเป็นแบบย่อยได้อีก คือ 1.1 ฟอนต์ดั้งเดิม มีหางกระจึ๋งนึง 1.2 ฟอนต์ยุคปรับเปลี่ยน หางยาวออกมาหน่อย ปลายหางแคบเข้า 1.3 ฟอนต์ยุคใหม่ หางยาวเท่ายุคปรับเปลี่ยน แต่ปลายหางกว้างเท่าโคนหาง 2. Slab Serif สแลบ เซริฟ คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์หางอักขระหนา 3. Sans Serif แซนส์ เซริฟ คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์ไม่มีหางอักขระ 4. Script สคริปต์ คือ ฟอนต์ตัวเขียน หรือ ฟอนต์ตวัด ฟอนต์ลายมือทุกชนิดคือฟอนต์ชนิดนี้
21
5. Blackletter แบล็คเล็ตเตอร์ คือ ฟอนต์ประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นในยุคนิยมเครื่องพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดแรกของโลกเกิดขึ้นครั้งแรกในจีนที่ใช้การแกะสลักไม้เป็นตัวหนังสือนูนตํ่าใช้แทนแม่พิมพ์ หนังสือ โบราณสมัยราชวงศ์ถังของจีนที่ถูกพิมพ์ด้วยบล็อกพิมพ์ที่แกะสลักจากไม้ถือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ถูกค้นพบ
ภาพที่ 24 หนังสือโบราณสมัยราชวงศ์ถังของจีน (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry) เมื่อเกิดกระแสนิยมเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ขึ้นในยุโรป และต่อๆ มาอีกในทุกทวีป แม่พิมพ์ก็ถูกทําขึ้นจากโลหะ ทําให้เกิดศิลปะ ตัวอักษรประดิษฐ์ ทั้งไทโปกราฟี และคัลลิกราฟีขึ้นมา สังเกตว่าบนตัวอักษรจะมีลวดลายโค้ง เว้า ตวัด อ่อนช้อย งดงาม และคลาสสิค พบมากในฟอนต์แบบย้อนยุคสไตล์วินเทจ
22
ภาพที่ 25 ตัวอย่าง Font ย้อนยุค (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry)
ระบบการพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส
ภาพที่ 26 ภาพตัวอย่างระบบการพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry
23
ตัวอย่างบล็อกแม่พิมพ์โลหะระบบเล็ตเตอร์เพรส
ภาพที่ 27 ภาพตัวอย่างบล็อกแม่พิมพ์โลหะระบบเล็ตเตอร์เพรส (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry) ระบบการพิมพ์นั้น แรกมีในสยามก็คือโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์นั่นเอง The Bangkok Recorder หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของ ไทยตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์
ภาพที่ 28 หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry)
24
6.Displayดิสเพลย์คือฟอนต์ที่พัฒนาและสร้างขึ้นในยุคที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบเล็ตเตอร์เพรสในการพิมพ์หนังสือพิมพ์ และจําเป็นต้องใช้ฟอนต์ตัวหนังสือขนาดใหญ่ในการพาดหัวข่าว ซึ่งตัวหนังสือที่ใหญ่เกิน 36 pt หมึกจะไปคั่งในแม่พิมพ์ มากเกินไป เมื่อพิมพ์ลงกระดาษแล้ว หมึกมักจะเลอะเทอะหรือกระจายฟุ้งออกจนเละเทะ จึงต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระ ออกเพื่อดักหมึก และเราก็พบได้ในระบบการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์แบบฉลุ ที่ต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระเพื่อเชื่อมไม่ให้ แม่พิมพ์บิดเบี้ยวไป ลองจินตนาการถึงแผ่นพลาสติกที่เจาะเป็นตัวหนังสือเป็นแผงๆ ที่สมัยก่อนเราใช้ทาบกระดาษและเอาเม จิกระบายตามช่อง หรือบล็อกสกรีนเสื้อก็ได้ ระหว่างตัวหนังสือจะต้องมีเส้นมายึดแบบกลางตัวอักษรอย่าง 0 ก็จะเป็น ( ) แบบนั้นแหล่ะ ต่อมาจนถึงยุคการพิมพ์สมัยใหม่ เทคโนโลยีในการสร้างแม่พิมพ์ถูกพัฒนาขึ้น จึงไม่จําเป็นต้องตัดทอน บางส่วนของอักขระออกเพื่อดักหมึกอีก แต่อย่างไรก็ดีลักษณะพิเศษของฟอนต์แบบดิสเพลย์ ยังคงอยู่ที่การตัดทอนบางส่วนของ อักขระออก เราจึงนับรวมฟอนต์ อาทิ ฟอนต์ตัวเลขดิจติ อล เข้าไปในฟอนต์ประเภทนี้ด้วย
ภาพที่ 29 ตัวอย่าง ฟอนต์แบบดิสเพลย์ (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry) 7. Monospaced โมโนสเปซเซ็ด คือ ฟอนต์ที่มีขนาด glyph เท่ากันหมด อย่างฟอนต์ที่เกิดขึ้นในยุดเครื่อง พิมพ์ดีด เนื่องจากกลไกของเครื่องพิมพ์ดีด จํากัดให้ตัวหนังสือต้องอยู่ในหน้าตัดแม่พิมพ์บนแกนเหล็กที่เท่ากันทั้งหมดนั่นเอง 8. Dingbat ดิงแบต คือ รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างให้มาอยู่ในรูปแบบฟอนต์
25
. Mimicry มิมมิครี คือ ฟอนต์ล้อเลียน หรือ ฟอนต์เลียนแบบ พบได้ทั่วไปในฟอนต์ที่เลียนแบบวิธีเขียนจากตัว อักขระภาษาอื่น อาทิ ฟอนต์ไทยลานนา ฟอนต์ไทยสไตล์จีน ฟอนต์อังกฤษสไตล์ญี่ปุ่น จบเรื่องชนิดของฟอนต์แล้ว ก็มาถึงเรื่องที่จั่วหัวไว้ ฟอนต์นั้น.. สําคัญไฉน.. ธรรมดามนุษย์ย่อมมีการสื่อสารระหว่างกัน ในยุคแรกแบบอดัมส์กับอีฟ โลกนี้มีเราเพียงสองคน ก็ใช้การสื่อสาร แบบวจนภาษา คือพูดจากันไป แถมพกการสื่อสารกันด้วยหัวใจ มองตากันไปก็เข้าใจกันเอง อันนี้จัดเป็น อวจนภาษา แต่พอ หมดโปรโมชั่น ฉันเริ่มเบื่อหน้าแก ก็เลยต้องสร้างอะไรขึ้นมาเพิ่มเป็นอวจนภาษาอีกอย่าง แทนการสื่อสารระหว่างกัน อาทิ ภาพวาดบนผนังถํ้า " วันนี้ ตีหมีได้แปดตัว เป็นหมีแพนด้า 2 ตัว เลยเอามาทิ้งไว้ให้ย่างกินเองนะ เพราะคืนนี้ฉันจะไม่ กลับถํ้า" จากภาพ พัฒนาเป็นอักษรภาพ จากอักษรภาพ พัฒนาเป็นอักษรเฉยๆ แต่อักษรเฉยๆ นี้ต้องคล้ายกัน เพื่อให้ สื่อสารตรงกันในกลุ่ม แต่มันจะให้เหมือนกันเด๊ะ คงยากน่าดูในยุคที่ไม่มีปรินเตอร์ ลายมือมันไม่เหมือนกัน ต่างก็มีลักษณะ เฉพาะตัวไป ความแตกต่างนี้ก็กลายมาเป็นฟอนต์ชนิดต่างๆ และฟอนต์ชนิดต่างๆ นี่ก็ให้อารมณ์แตกต่างกัน ในบางประเทศ อย่าง จีน และ ญี่ปุ่น ให้ความสําคัญกับฟอนต์มาก จนถือว่าเป็นศิลป์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งบอกความเป็นตัวตนของ ผู้เขียนได้ ในยุคจีนโบราณนั้น คนผู้หนึ่งซึ่งเขียนอักษรได้สวยงาม สามารถเขียนอักษรขาย เลี้ยงครอบครัวบ่าวไพร่ได้เป็น ร้อยๆ ชีวิตกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ การมีภาษา มีอักษรของชนชาติใด นับได้ว่าชนชาตินั้นศิวิไล เป็นผู้มีอารยะ นั่นเป็น เหตุผลที่ทําให้เกิดกรณีหลักศิลาจารีกพ่อขุนรามขึ้น เห็นได้ว่า.. การมีอักษรมีภาษานั้น สําคัญขนาดอาจทําให้ชาติอยู่รอดหรือ ถูกรุกรานได้ จบประวัติศาสตร์ขั่วโมงประวัตศิ าสตร์แล้ว เพราะคุณครูชักเริ่มง่วงและหิว จะออกหากินก่อนเข้านอนทีหลัง แถม กลัวคนฟังแลคเชอร์จะสัปหงกโขกจอ แล้วพรุ่งนี้จะมาเล่าเรื่องฟอนต์ต่อ ในหัวข้อความสําคัญของฟอนต์ในงานออกแบบ และ แถมพกด้วย 60 ฟอนต์ไม้ตายของไอ้เกว
ประวัติศาสตร์ของอักษร อักษร (อังกฤษ: alphabet) คือ สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย สําหรับใช้แทนหน่วยเสียง ในภาษาหนึ่งๆ โดยเรียก รวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะหรือหน่วย เสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคําก็ได้เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือ จีน(นักวิชาการบางสํานักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีนเป็น"อักษร"ตามนิยามของคําว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่ เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคํา หรือหน่วยคํา) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตําราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และ การใช้อักษรอย่างถูกต้องอักษรอาจใช้สําหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คําว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆหลายภาษาในยุโรปโดยมีการ ดัดแปลงเล็กๆน้อยๆเพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้
26
เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้นรวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆเช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และ ภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร)เป็นต้นมีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่นอักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลา ผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง ประวัติศาสตร์ของอักษร ชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียปิ ต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็น อักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิตกิ ในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของ ตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคําในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่นๆ ที่ใช้ใน ปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรกรีกและอักษรละติน จุดกําเนิดในอียิปต์ เมื่อประมาณ 2,157 ปีก่อนพุทธศักราช ชาวอียปิ ต์โบราณพัฒนาอักษร 22 ตัว ใช้แสดงเสียงพยัญชนะ และ สัญลักษณ์ตัวที่ 23 ใช้แสดงคําที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ ซึ่งใช้แสดงการออกเสียงของอักษรไฮโรกลิฟฟิกที่ใช้แทนคํา แสดงการ ผันทางไวยากรณ์ และใช้ถ่ายเสียงคํายืมจากภาษาอื่น แต่ตัวอักษรเหล่านี้ไม่ได้ใช้ในระบบอักษรแทนหน่วยเสียง ระบบอักษร แทนหน่วยเสียงปรากฏครั้งแรกเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยคนงานชาวเซมิติกในอียิปต์ตอนกลาง [2] อีก 500 ปี ต่อมา อักษรนี้ได้แพร่กระจายขึ้นไปทางเหนือ และเป็นต้นกําเนิดของอักษรต่างๆทั่วโลก ยกเว้นอักษรเมรอยติกที่พัฒนาจากไฮ โรกลิฟฟิกเมื่อ พ.ศ. 243 ในนูเบีย อียิปต์ใต้ อักษรตระกลูเซมิติก อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรไฮโรกลิฟฟิกอื่นๆเข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กําหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติกเช่น ไฮโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซ มิตกิ )[3] เมื่อนํามาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูป บ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลําดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลําดับพยัญชนะ pr ใน ภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนําอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น [4] ไม่มีหลักฐานว่าอักษรเซมิติกเริ่มต้นมีจํานวน เท่าใดและเรียงลําดับอย่างใด อักษรที่พัฒนาต่อมานั้น อักษรยูการิติคมี 27 ตัว และอักษรฟินิเชียมี 22 ตัว การเรียงลําดับ ของอักษรเหล่านี้มี 2 แบบ คือ ลําดับ ABGDE ของอักษรฟินิเชีย และลําดับ HMLQ ของอักษรทางใต้ อักษรยูการิติกใช้ทั้ง 2 แบบ ชื่อของอักษรมักใช้ตามอักษรฟินิเชีย ทั้งอักษรซามาริทัน อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรฮีบรูและอักษรกรีก แต่ ต่างไปในอักษรอาหรับและอักษรละติน แต่ไม่มีการใช้ชื่ออักษรในอักษรพราหมีและอักษรรูนิก
27
ชื่ออักษรและการเรียงลําดับ ตารางนี้แสดงอักษรฟินิเชียและอักษรที่เป็นลูกหลาน ลาดับ ที่
ระบบสัทศาสตร์สากล
อักษรคานาอันไนต์
(IPA)
value อักษรยูการิติก อักษรฟินิเชีย
อักษร
อักษร
ฮีบรู
อาหรับ
1
ʼalp "วัว"
/ʔ/
1
ʼʼalpa
ʼālep א
2
bet "บ้าน"
/b/
2
ʼbeta
bēt
3
gaml “เครื่องขว้าง”
/g/
3
4
dalet “ประตู” / digg “ปลา”
/d/
ฉลอง”
6
อักษรที่เป็นลูกหลาน
alifﺍ
ΑAАʼ
ב
ﺏ
Β B В-Б ʼ
ʼgamla
gīmel ג
ﺝ
Γ C-G Г ʼ
4
ʼdelta
dālet
ד
ﺩ
ΓDД
/h/
5
ʼho
hē
ה
هـ
Δ E Е-Є
wāw “ห่วง”
/β/
6
ʼwo
wāw
ו
و
polytonicϜ-Τ F-VYУʼ
7
zen “อาวุธ” / ziqq “โซ่ตรวน”
/z/
7
ʼzeta
zayin ז
ز
ΕZЗ
8
ḥet “เส้นด้าย” / “รั้ว”
/ħ/ / /x/
8
ʼḥota
ḥēt
ח
ح
ΖHИʼ
9
ṭēt “ล้อ”
/tʼ/}}
9
ʼṭet
ṭēt
ט
ط
ΘѲ
10
yad “แขน”
/j/
10
ʼyod
yōd
י
ي
ΗIʼ
11
kap “มือ”
/k/
20
ʼkap
kap
כ
ك
ΚKК
12
lamd “ปฏัก”
/l/
30
ʼlamda
lāmed ל
ل
ΛLЛʼ
13
mem “น้า”
/m/
40
ʼmem
mēm
م
ΜMМ
14
naḥš “งู” / nun“ปลา”
/n/
50
ʼnun
nun
נ
ن
ΝNН
“ปลา” ?"
/s/
60
ʼ samka
sāmek ס
-
Ξ
ʼen “ตา”
/ʕ/
70
ʼʼain
ʼayin ע
ع
ΟOО
5
15
16
Haw “หน้าต่าง” / hll “การเฉลิม
samek
“การสนับสนุน”
/
28 17 pu “ปาก” / piʼt“มุม”
/p/
80
ʼpu
pē
18 ṣad “พืช”
/sʼ/
90
ʼṣade
ṣādē ص צϠ
19 qup “เชือก”
/kʼ/
100 ʼqopa
20 raʼs “หวั ”
/r/ / /ɾ/ 200 ʼraša
ف פΠPП
qōph ق ק rēš
ر ר
ϘQҀ ΡRРʼ
21 šin “ฟัน” / šimš “พระอาทิตย์” /ʃ/
300 ʼšin
šin
س שSШʼ
22 Taw “แต้ม”
400 ʼto
tāw
ت תΣTТʼ
/t/
ตารางแสดงอักษรฟินิเชียและอักษรที่เป็นลูกหลาน (ที่มา : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry) ลูกหลานของอักษรเซมิตกิ อักษรคานาอันไนต์ระยะแรกใช้แทนเสียงพยัญชนะเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าอักษรไร้สระ และพัฒนาต่อไปเป็น อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิกที่พัฒนาไปจากอักษรฟินิเชียซึ่งใช้เขียนภาษาราชการของจักรวรรดิเปอร์เซียเป็นบรรพบุรุษของ อักษรอื่นๆในเอเชีย ได้แก่ อักษรฮีบรูสมัยใหม่ พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกผ่านทางอักษรซามาริทัน [5] [6] อักษรอาหรับ พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกผ่านทางอักษรนาบาทาเอียน ทีใช้ในจอร์แดนตอนใต้ อักษรซีเรียค พัฒนามาจากอักษรปะห์ลาวีและอักษรซอกเดียเป็นต้นแบบของอักษรออร์กอน อักษรอุยกูร์ อักษร มองโกเลียและอักษรแมนจู อักษรจอร์เจีย อาจมาจากอักษรอราเมอิกผ่านทางอักษรในเปอร์เซียหรืออักษรกรีก อักษรอราเมอิกอาจเป็นบรรพบุรุษของอักษรพราหมีที่พัฒนาไปเป็นอักษรทิเบต อักษรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ ใช้ในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู อักษรฮันกึล ที่ใช้เขียนภาษาเกาหลี มีหลักฐานบางส่วนแสดงว่า อาจมาจากอักษรทิเบตผ่านทางอักษรพัก-ปา แต่ที่ แปลกกว่าอักษรอื่นคือ รูปแบบของอักษรมาจากอวัยวะที่ใช้ออกเสียง อีกทางหนึ่ง อักษรฟินิเชียพัฒนาไปเป็นอักษรกรีกและอักษรเบอร์เบอร์โบราณ [7] และเริ่มมีการกําหนดอักษรที่ใช้แทน เสียงสระ ตัวอย่างเช่น ภาษากรีก ไม่มีเสียง อ หรือ ฮ ( h) ดังนั้น อักษรฟินิเชีย ’alep และ he กลายเป็นอักษรกรีก อัลฟา และ e (ต่อมาคือเอฟซิลอน) และใช้แทนเสียงสระอะ (/ a/) และเอ (/ e/) แทนเสียง /อ/ และ /ฮ/ เนื่องจากภาษากรีกมี เสียงสระ 6 -12 เสียง ชาวกรีกจึงพัฒนาอักษรเพิ่ม เช่น ei, ou, and o (ต่อมาคือ โอเมกา)
29
อักษรกรีกเป็นต้นแบบของอักษรสมัยใหม่ในยุโรป เช่นอักษรละตินและอักษรอิตาลีโบราณ โดยอักษรเหล่านั้นมี สัญลักษณ์แทนเสียงสระด้วย เช่น อักษรกลาโกลิตกิ อักษรซีริลลิก อักษรอาร์เมเนีย อักษรโกธิกและอาจรวมอักษรจอร์เจีย ด้วย [9] [10] นอกจากความสัมพันธ์ในแนวเส้นตรงดังกล่าวแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างอักษรในด้านอื่นๆอีก เช่น อักษรแมน จู มาจากอักษรไร้สระในเอเชียตะวันตก แต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรฮันกึลด้วย อักษรจอร์เจียมาจากอักษรอราเมอิกแต่ได้รับ อิทธิพลจากอักษรกรีก อักษรกรีกที่ปรับปรุงแล้วนําไปใช้คู่กับไฮโรกลิฟ 6 ตัว ใช้เขียนภาษาคอปติก อักษรครีมีลักษณะผสม ระหว่างอักษรเทวนาครีและชวเลขของพิตแมน และมีลักษณะคล้ายตัวเขียนของอักษรละติน อักษรอิสระ อักษรที่ใช้ในปัจจุบันและไม่อาจย้อนกลับไปหาอักษรคานาอันไนต์ได้ คือ อักษรทานะ แม้ว่าจะดูเหมือนอักษรอาหรับ แต่ที่จริงแล้วมาจากตัวเลข อักษรโซมาลีที่ใช้ในโซมาลีเมื่อ พ.ศ. 2463 และเป็นอักษรราชการคู่กับอักษรละตินจนถึง พ.ศ. 2515 มีรปู ร่างพยัญชนะทีถ่ กู ปรับปรุงขึน้ ใหม่ อักษรสันตาลีที่ใช้ในเอเชียใต้ มีพื้นฐานจากสัญลักษณ์ทั่วไป อักษรโอคัมใน สมัยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องหมายที่เป็นขีด และจารึกในสมัยจักรวรรดิเปอร์เซีย เคยเขียนในรูปแบบอักษรรูปลิ่ม และมี การใช้ในระบบอักษรเป็นครั้งคราว อักษรในสื่ออื่นๆ เมื่อสื่อที่ใช้เขียนอักษรเปลี่ยนไปทําให้รูปร่างของอักษรเปลี่ยนไปได้ เช่นอักษรยูการิตกิ ที่เป็นอักษรรูปลิ่ม อาจจะมา จากตระกูลเซมิติก การประดิษฐ์หรือปรับปรุงอักษรใหม่ๆยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้งอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น อักษรเบรล รหัสมอร์ส ชวเลข ^ Himelfarb, Elizabeth J. "First Alphabet Found in Egypt", Archaeology 53, Issue 1 (Jan./Feb. 2000): 21 ^ Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet. Berkeley: University of California Press. pages 211-213. ^ McCarter, P. Kyle. “The Early Diffusion of the Alphabet.” The Biblical Archaeologist 37, No. 3 (Sep., 1974): 54-68. page 57. ^ Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet, Berkeley: University of California Press. page 212.
30
^ Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet, Berkeley: University of California Press. page 222 ^ Robinson, Andrew, (1995). The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms, New York: Thames & Hudson Ltd. page 172. ^ McCarter, P. Kyle. "The Early Diffusion of the Alphabet", The Biblical Archaeologist 37, No. 3 (Sep., 1974): 54-68. page 62. ^ Robinson, Andrew, (1995). The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms, New York: Thames & Hudson Ltd. page 170. ^ Robinson, Andrew. The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms. New York: Thames & Hudson Ltd., 1995 ^ BBC. "The Development of the Western Alphabet." [updated 8 April 2004; cited 1 May 2007]. Available from http://www.bbc.co.uk/dna/h2g2/A2451890.
David Diringer, History of the Alphabet, 1977, ISBN 0-905418-12-3. Peter T. Daniels, William Bright (eds.), 1996. The World's Writing Systems, ISBN 0-19507993-0. Joel M. Hoffman, In the Beginning: A Short History of the Hebrew Language, 2004, ISBN 0-8147-3654-8. Robert K. Logan, The Alphabet Effect: The Impact of the Phonetic Alphabet on the Development of Western Civilization, New York: William Morrow and Company, Inc., 1986. B.L. Ullman, "The Origin and Development of the Alphabet," American Journal of Archaeology 31, No. 3 (Jul., 1927): 311-328. Stephen R. Fischer, A History of Writing 2005 Reaktion Books CN 136481 Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_alphabet ระบบการเขียน
ระบบการเขียน (อังกฤษ: writingsystem)คือลักษณะสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงความหมายที่ใช้ในภาษา ต่างๆระบบการเขียนแตกต่างจากระบบสัญลักษณ์ทั่วไปคือบุคคลที่ใช้ระบบเดียวกันสามารถ
31
อ่านและเข้าใจภาษานั้นได้ตรงกันโดยไม่จําเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางสําหรับดึงความหมายของสัญลักษณ์นั้น ต่าง กับสัญลักษณ์ใน ภาพวาด แผนที่ ป้าย คณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ ระบบการเขียนในอเมริกากลาง (MesoamericanWritingSystems)เป็นระบบการเขียนที่พบในอเมริกากลางซึ่ง เป็นดินแดนตั้งแต่เขตทะเลทรายทางเหนือของเม็กซิโกไปจนถึงป่าดิบเขตร้อนทางตะวันตกเฉียงเหนือของคอสตาริกา เป็น ดินแดนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีทั้งศาสนา ศิลปะและภาษาเป็นเอกลักษณ์ร่วมกันของชนหลายกลุ่ม ได้แก่ เอซ เทค มายา โอลเมค และกลุ่มเล็กๆเช่น ซาโปเทค ทีโอทิฮัวคานอส มิกซ์เทค และทาราสคัน กลุ่มวัฒนธรรมเหล่านี้มีระบบ การเขียนเป็นของตนเองก่อนการเข้ามาของชาวยุโรป ลักษณะของระบบการเขียน เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับอักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์ นิยมเรียกสั้นๆว่ากลิฟ กลิฟมีความคล้ายคลึงกับรูปวัตถุ เช่น สัตว์ คน สิ่งของ รูปของสัตว์และคน มักเป็นภาพโครงร่างแสดงเฉพาะส่วนหัว ในบางกรณี มีกลิฟที่แสดงรูปเต็มตัวด้วย ส่วนของร่างกายมนุษย์ เช่น แขนและขา ใช้แสดงการกระทําหรือคํากริยา กลิฟที่แสดงเวลาเป็นรูปเรขาคณิต เช่นวงกลม สามเหลี่ยม อักษรในอเมริกากลางมีลักษณะคล้ายภาพวาดมากกว่าอักษรของชาวตะวันตก ภายในเครื่องประดับบนศีรษะของภาพ จะแสดงชื่อของภาพ ตัวอย่างนี้พบในอักษรของชาวมิกซ์เทคและเอซเทค ที่ชื่อของสถานที่และบุคคลจะวาดลงบนรูปโดยตรง ระบบตัวเลข โดยทั่วไปใช้ระบบขีดและจุด จุดแสดงเลข 1 ขีดแสดงเลข 5 ในบางกรณี จารึกอักษรมิกซ์เทคและเอซเทคใช้แต่จุด เท่านั้นระบบขีดและจุดนี้ใช้เขียนเลขน้อยกว่า 20 ถ้ามากกว่านี้จะใช้ระบบอื่น ตัวอย่างเช่น เอซเทค ใช้สัญลักษณ์พิเศษ เช่น ธง หมายถึง 20 ใบหน้า หมายถึง 400 ถุงเครื่องหอมหมายถึง 8000 การเขียนเลข 946 ใช้รูปใบหน้า 2 รูป (2*400 = 800) ธง 7 ผืน (7 x 20 = 140) และจุด 6 จุด (6 x 1 = 6), ผลรวมเป็น 946 (800 + 140 + 6) ระบบของมายาจะซับซ้อนกว่านี้ สัญลักษณ์ของรูป 20 คือพระจันทร์ครึ่งดวง การเขียนเลขจํานวนมากๆจะระบุ ตําแหน่งของตัวเลขแบบเดียวกับระบบในปัจจุบันที่เป็นเลขยกกําลังของ 10 เลข 5209 แสดงได้เป็น 5209 = 5x103 + 2x102 + 0x101 + 9x100 โดยระบบเดียวกัน ตัวเลขมายามีตั้งแต่ 0 – 19 และแต่ละหน่วยเป็นเลขยกกําลังของ 20 เลข แต่ละตัวอยู่ในระบบขีดและจุด รวมกับสัญลักษณ์ของ 0 ที่เป็นรูปหอยสังข์ ระยยปฎิทินในอเมริกากลาง ปฏิทินมี 2 ระบบคือ ปฏิทินแสงอาทิตย์ 365 วัน/ปี คํานวณจากการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก แบ่งเป็น 18 เดือนๆละ 20 วัน ตอนสิ้นปีมีเวลาพิเศษ 5 วันซึ่งถือเป็นเวลาแห่งอันตราย อีกระบบคือปฏิทินศักดิ์สทิ ธิ์ 260 วัน/ปี ไม่เกี่ยง ข้องกับระบบดาราศาสตร์ใดๆ แต่คํานวณมาจากระยะการตั้งครรภ์ของมนุษย์ ไม่มีระบบเดือน แต่ใช้วงรอบของวัน 2 แบบ ที่ เป็นคู่ขนานและเกี่ยวข้องกันคือวงรอบเครื่องหมายของวัน มี 20 ชื่อ และวงรอบสัมประสิทธิ์ของวันมี 13 ชื่อ นอกจากนี้ชาว มายายังติดตามตําแหน่งของดาวศุกร์ ในเวลากลางคืนและคํานวณเป็นวงรอบๆละ 584 วัน
32
ชาวมายาและอีพิ-โอลเมคยังมีวงรอบของเวลาที่ใหญ่ที่สุด เรียกการนับระยะยาว ปฏิทินนี้มีสัมประสิทธิ์ 5 ตัว ใช้ บันทึกรอบละ 5,000 ปี การนับระยะยาวของทั้งชาวมายาและอีพิ-โลเมค เริ่มเมื่อ 2,570 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นยุคเริ่มต้นของปัจจุบัน และด้วยระบบสัมประสิทธิ์ 5 ตัว การนับระยะยาวจะสิ้นสุดใน พ.ศ. 2551 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น จุดสิ้นสุดของโลกตามความเชื่อของชาวมายา รูปบูชา-จุดเริ่มของการเขียน การเขียนในอเมริกากลางไม่ได้เริ่มต้นจากการนับเช่นในส่วนอื่นๆของโลกแต่มีวัตถุประสงค์ในด้านการเมือง ศาสนา และประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรมเมืองที่ปรากฏครั้งแรกในอเมริกากลาง คาดว่าเป็นอารยธรรมโอลเมค มีศูนย์กลางอยู่ในเขต ร้อนชื้นของเม็กซิโก ยุคแรกเริ่มและยุคก่อนคลาสสิกในอเมริกากลาง ชาวโอลเมคแสดงผู้นําของเขาด้วยรูปหัวมนุษย์ การ ตกแต่งของแต่ละหัวจะต่างกัน และเป็นที่มาของการใส่ชื่อในข้อความ และน่าจะเป็นกลุ่มเดียวในยุคนั้นที่สร้างสัญลักษณ์เพื่อ สื่อความหมายเริ่มจากการเขียนรูปบูชาให้มีขนาดเล็กและนํามาเรียงลําดับเพื่อสื่อความหมาย และกลายเป็นกลิฟในระบบการ เขียนรุ่นหลัง ยุคก่อนคลาสสิกสมัยหลัง ( พ.ศ. 343 -843) เริ่มมีการเขียนของชาวซาโปเทค อีพิ-โอลเมคและมายา ในช่วงยุค คลาสสิก (พ.ศ. 843 -1443) และยุคหลังคลาสสิก (พ.ศ. 1443 -2043) มีระบบการเขียนเพิ่มมากขึ้น คล้ายกับว่าได้รับแรง ดลใจจากงานเขียนของชาวซาโปเทคยุคนี้อักษรได้แพร่ไปทั่วอเมริกากลางแต่ละกลุ่มต่างมีการเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกากลางได้แก่ อักษรมายา และอีพิ-โอลเมคซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น เครื่องหมายแทนเสียงการนับระยะยาวและข้อความขนาดยาวที่เป็นหน่วยทางภาษาศาสตร์ และโครงสร้างประโยค อักษรมายาเป็นอักษรที่มีการใช้งานนานที่สุด เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 243 จนสิ้นสุดราชอาณาจักรมายาเมื่อ พ.ศ. 2240 ลักษณะเด่นคือ กลิฟเป็นรูปสี่เหลี่ยม เขียนในแนวคอลัมน์คู่ซิกแซก อักษรอีกชนิดคืออักษรอีพิ-โอลเมค เป็นลักษณะผสม ระหว่างอักษรคํากับสัญลักษณ์แทนการออกเสียงในการนับระยะยาวและจดบันทึกเหตุการณ์สําคัญ จุดเริ่มต้นของการนับ ระยะยาวก็ใกล้เคียงกัน จุดศูนย์กลางอยู่ที่รัฐอัวซาคัน เม็กซิโกตอนใต้ อักษรชนิดแรกของกลุ่มนี้คืออักษรซาโปเทค มีอายุราว พ.ศ. 43 อักษรนี้ยังเข้าใจได้น้อย อักษรที่ใกล้เคียงกันคืออักษรญูอีน อักษรทีโอทิฮัวคันต่างไปจากอักษรมายาและซาโปเทค นักวิขาการ เชื่อว่าอักษรนี้ไม่ใช่ระบบการเขียนที่สมบูรณ์ อาจจะมีแค่ตัวเลขพื้นฐานกับปฏิทิน อย่างไรก็ตามหลักฐานที่แสดงว่าอักษรที โอทิฮัวคันเป็นระบบการเขียนเริ่มพบมากขึ้น หลังพ.ศ. 1443 มีวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้จักขึ้นมา 2 กลุ่มคือ เอซเทคและมิกซ์เทคซึ่งคล้ายคลึงกันมาก อักษรมิกซ์เทค มาจากอักษรซาโปเทคแล้วไปเป็นอักษรเอซเทคอีกทอดหนึ่ง ยังไม่พบข้อความขนาดยาวของอักษร 2 ชนิดนี้ หลังจากเข้ามาของชาวสเปน เมื่อชาวสเปนเข้ามา การเขียนของชาวพื้นเมืองถูกหาว่าเป็นการเขียนของปีศาจและห้ามใช้ จารึกและหนังสือจํานวน มากถูกทําลาย ชาวพื้นเมืองจึงเขียนภาษาของตนด้วยอักษรละตินแทน งานเขียนเก่าๆถูกคัดลอกโดยอาลักษณ์ที่เป็นลูกจ้งของ รัฐบาลอาณานิคมหรือโบสถ์ เมื่อยุคอาณานิคมสิ้นสุดลง การจ้างงานอาลักษณ์เหล่านี้จึงเลิกล้มไปด้วย ประชาชนในรัฐเอก ราชใหม่ประกาศตนเป็นเชื้อสายของสเปนในโลกใหม่ ไม่มีใครสนใจวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง จนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2500 จึงมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมโบราณเหล่านี้ขึ้นมาอีก
33
อ้างอิง ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81% E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B 8%99%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81% E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87
อักษรรูปลิ่ม อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคํา และอักษรที่มีระบบ สระ - พยัญชนะ คําว่า “cuneiform” มาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่าง คล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น -อักษรซูเมอร์ -อักษรแอกแคด / บาบิโลเนีย / อัสซีเรีย (เซมิติกตะวันออก) -อักษรอีลาไมต์ -อักษรเอบลาไอต์ -อักษรฮิตไตน์ -อักษรฮูร์เรีย -อักษรอูตาร์เตีย -อักษรยูการิติค (ระบบพยัญชนะ) -อักษรเปอร์เซียโบราณ (ส่วนใหญ่ใช้แทนพยางค์) แผ่นดินเหนียว ตัวกลางของอักษรรูปลิ่ม ตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว4,000ปีก่อนคริสต์ศักราชพบในบริเวณอูรุก (Uruk) นิปเปอร์ ซูซา และ อูร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้พัฒนามาจากระบบ
34
การนับที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในเมโสโปเต เมียโดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบนและแผ่นซ้อน -แบบแผ่นแบนเป็นรูปแบบโบราณพบตั้งแต่8,000ปีก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณกว้า ตั้งแต่ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน อิหร่าน และอิรัก เป็นแบบที่แพร่หลายกว่าคล้ายกับว่าเป็นแบบที่ใช้ในการนับทาง เกษตรกรรม เช่น การนับธัญพืช -แบบแผ่นซ้อนเป็นแบบที่ตกแต่งด้วยเครื่องหมายเริ่มพบในช่วง4,000ปีก่อนคริสต์ศักราชทางภาคใต้ของเมโสโป เตเมียใช้บันทึกเกี่ยวกับสินค้าแปรรูปซึ่งพบในบริเวณที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วเช่น ซูเมอร์ ตัวอย่างที่ เก่าสุด พบในวิหารเทพีอินอันนา เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ของชาวซูเมอร์ในเมืองอูรุก ซึ่งทางวิหารใช้บันทึก เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าของวิหาร จากแผ่นดินเหนียวสู่ตัวอักษร แผ่นดินเหนียวเหล่านี้ถูกเก็บในห่อที่แข็งแรง ทําด้วยดินเหนียว โดยใช้วัตถุที่เป็นของแข็งและแหลม มาเขียนให้เป็น เรื่องราว เรียกว่าบุลลา ( bulla) เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากการนับแผ่นดินเหนียวภายในบุลลาหลังการผนึกทําได้ ยาก การแก้ปัญหาจึงใช้การกดแผ่นดินเหนียวลงบนผิวนอกของบุลลาในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวอยู่ แล้วจึงใส่แผ่นดิน เหนียวเข้าไปข้างในและปิดผนึก การนับจํานวนแผ่นดินเหนียวอีกครั้งใช้การนับรอยกดบนผิวด้านนอก จากรอยกดนี้ ชาวซู เมอร์ได้พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์รูปลิ่ม เพื่อใช้บอกความหมายและจํานวน เช่น รูปลิ่ม 1 อัน หมายถึง 1 รูปวงกลม หมายถึง 10 การบันทึกว่า “แกะ 5 ตัว” ใช้การกดลงบนดินเหนียวเป็นรูปลิ่ม 5 อัน แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของแกะ ยูนิโคด อักษรรูปลิ่มบนยูนิโคดมีหลายช่วง แต่อักษรแบบหลักอยู่ที่ -U+12000–U+1236E (879 ตัวอักษร) อักษรรูปลิ่มสําหรับอักษรซูเมอร์และอักษรแอกแคด [1] -U+12400–U+12473 (103 ตัวอักษร) อักษรรูปลิ่มแทนจํานวนและเครื่องหมายวรรคตอน [2] อ้างอิง 1. ^ Cuneiform Unicode chart 2. ^ Cuneiform Numbers and Punctuation Unicode chart (ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0% B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1) (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3)
34