พระพุทธพิทยมงคล

Page 1

จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยนครพนม ประวัติการก่อสร้างหอพระพุทธพิทยมงคล ประจามหาวิทยาลัยนครพนม

เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพิกา วะสาร นักเอกสารสารสนเทศ สานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม


พระพุทธพิทยมงคลเป็นพระพุทธรูปประจามหาวิทยาลัยนครพนม ได้รับ พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ จากสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด า ฯ สยามบรมราชกุ ม ารี พระราชทานชื่อในวันพุธที่ 7 มีนาคม 2555 ว่า “พระพุทธพิทยมงคล” ซึ่งหมายถึง พระพุทธรูปที่ประกอบด้วยความเจริญรุ่งเรืองแห่งความรู้ รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ดา อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนมในขณะนั้นจัดพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปนี้ขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา09.09 น. ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมีหลวงปู่คาไหล ปริ สุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดศรีสมภู อ.นาหว้า จ. นครพนม เป็นประธานในพิธีทางสงฆ์ พระอาจารย์กัณ หา พระมหาพนมพร ปุตฺตวโร พระครูโสภณ เจติยาทร และพระมหาเสรี พุทฺธิวโส เป็นพระภาวนาจารย์นั่งปรกสี่ทิศ หอพระพุทธพิทยมงคล เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย ที่มีลักษณะศิลปะ ราชสานักล้านช้าง ทั้งสัดส่วนของอาคารและลวดลายประดับตกแต่ง ซึ่งมีขนาดความสูง 7 เมตร ส่วนองค์พระพุทธรูปมีขนาดหน้าตัก 70 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทั บ อยู่บ นรั ต นบั ล ลัง ก์ แ ละฐานสิ งห์ โดยรอบหอพระพุ ท ธรู ป ออกแบบเป็ น ลาน ประทักษิณ เพื่อเป็นสถานที่เวียนเทียนในวันสาคัญทางพุทธศาสนา และมีเสาโคมดวง ประทีปทั้ง 4 ด้าน หอพระพุทธองค์นี้ทาการก่อสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเป็น ศูนย์รวมจิตใจของนักศึกษาและบุคลากรใจมหาวิทยาลัยนครพนม พระพุทธพิทยมงคลสร้างขึ้นตามแนวคิดของ อาจารย์ ดร.ธงชัย สวัสดิ สาร ซึ่งในขณะนั้นดารงตาแหน่งคณบดีของวิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม บริการ เมื่อ พ.ศ. 2555 ได้ไปพบรองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรีที่บ้าน เพื่อ ปรึ ก ษาและขอให้ ร องศาสตราจารย์ ดร.ภิ ญ โญ สุ ว รรณคี รี ท าการออกแบบหอ พระพุทธรูปและองค์พระพุทธปฏิมาขึ้นเป็นพระพุทธรูปประจามหาวิทยาลัย และได้ ปรึกษากับรองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดีในขณะนั้น เพื่อปรึกษาใน เรื่องสร้างหอพระและพระพุทธปฏิมาประจามหาวิทยาลัย จึงมีความเห็นตรงกันว่าควร สร้าง แต่ด้วยงบประมาณที่จะต้องจัดสรรให้ไม่เพียงพอในการก่อสร้าง รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี จึงเสนอแนะให้ทาพระพุทธรูปจาลองขึ้นเป็นพุทธบูชา และเปิดให้ ผู้มีกุศลจิตได้ทาการเช่าไปบูชา เพื่อนารายได้มาสร้างหอพระได้สาเร็จลุล่วงไปได้

จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยนครพนม


จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยนครพนม ประวัติโดยย่อผู้ออกแบบหอพระ และออกแบบพระพุทธพิทยมงคล รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต – ศิลปินแห่งชาติ


รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2480 เป็น บุตรของ นายซ้อน – นางรื่น สุวรรณคีรี สมรสกับนางลาวัณย์ สุวรรณคีรี มีธิดา 3 คน ได้แก่ นางสาว ดลฤดี สุวรรณคีรี, นางสาวปิยนุช สุวรรณคีรี และนางสาวพุทธชาติ สุวรรณคีรี รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี มีความสนใจงานด้านสถาปัตยกรรมไทยมา ตั้งแต่เด็กๆ เมื่ออายุ 8 ขวบ พระครูปทุมธรรมธารี วัดสามบ่อ จังหวัดสงขลา ได้นาไปเลี้ยงเป็นบุตร บุญธรรม เนื่องจากพระครูปทุมธรรมธารี มีความสามารถพิเศษ คือ เป็นช่างลาย เมื่อมีงานที่วัด ท่าน พระครู ฯ ก็จะลงมือเขียนลวดลายต่างๆ แล้วท่านเกิดความสนใจและช่วยเป็นลูกมือ ท่านพระครู ฯ จึงได้สอนการเขียนลายต่างๆ ให้พระครูปทุมธรรมธารี นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการเขียน ลายแล้ว ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในการแกะลายฉลุไม้ ซึ่งใช้ประดับหน้าบันวัด กุฏิ โรงเรียน เป็นต้น ทาให้ท่านมีลูกศิษย์ที่เป็นช่างเป็นจานวนมาก และในทุกวันพระ บรรดาช่างทั้งหลายจะมาแลกเปลี่ยน วิชาความรู้กันและช่วยท่านพระครูฯ ทางานต่างๆ และเมื่อช่างเหล่านั้นเห็นถึงความสนใจและตั้งใจ ของ ท่าน จึงช่วยกันถ่ายทอดงานช่างต่างๆ ให้ เช่น การแกะรูปหนังตะลุง ลายประดับอาคาร ลาย ประดับเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าว ทาให้ท่านมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องลวดลายต่างๆ มาตั้งแต่ สมัยที่ยังเป็นเด็ก ท่านศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดสามบ่อ อาเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สาเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อมาได้เข้าศึกษาในระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนสันติราษฎร์บารุง กรุงเทพมหานคร สาเร็จการศึกษาปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยในขณะที่กาลังศึกษาได้พักอาศัยอยู่ที่วัดประยูร ฯ ซึ่งมีลูกศิษย์รุ่นพี่ช่วยสอนกวดวิชาในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จนสามารถสอบเข้าคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สาเร็จ ผลงานชิ้นสาคัญในขณะที่ทาการศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ ๔ คือ ได้ ทาการออกแบบอาคารแสดงสินค้าไทยในงาน New York World Fair Pavilion ขณะทาการศึกษา ในระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้เข้าสอบวิชาวาดเขียนตรี วาดเขียนโท และวาดเขียนเอก ที่วิทยาลัยเพาะช่าง และได้รับประกาศนียบัตร เป็นครูสอนวิชาวาดเขียนของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาท่านได้เข้ารับ ราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาวาดเขียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ซึ่งนับได้ว่าชีวิตความเป็น ครูเริ่มต้นจากจุดนี้เป็นต้นมา

จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยนครพนม


หลังจากสาเร็จการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน ปีพ.ศ. ๒๕๐๗ ท่านได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยา สอนในวิชาสถาปัตยกรรมไทย โดยการคิดค้นวิธีการเรียนการสอนขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็น มาตรฐานในการเรียนการสอนทั่วทุกมหาวิทยาลัยมาตราบจนเท่าทุกวันนี้ นอกจากภารกิจในการเป็นอาจารย์แล้ว รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้รับ ใช้พระศาสนา โดยการออกแบบอาคารทางศาสนาเรื่อยมา และเมื่อครั้งที่ทาการออกแบบอาคาร ประถมพุทธศาสตร์ จิตตภาวันวิทยาลัย อาเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมือง พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยได้ ทางานด้วย ความตั้งใจเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อานิสงฆ์ดังกล่าวส่งผลให้ท่านได้รับทุนไปศึกษาต่อใน ระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยเพ็นซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ และใช้เวลาในการศึกษาจนสาเร็จการศึกษาได้ภายใน ระยะเวลา ๙ เดือน หลังจากสาเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกา ท่าน ได้ กลับมารับราชการตลอดมา จากการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมไทยจนเป็นที่ยอมรับ จนได้รับการประกาศเกียรติคุณจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ คนดีศรีมหาวชิราวุธ ปริญญาศิลปศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปริญญาสถาปัตยกรรม ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาปนิกดีเด่น บุคคล ตัวอย่างด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างสรรค์ผล งาน สถาปัตยกรรมไทย ประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่น สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และสืบทอดผลงานสถาปัตยกรรมไทย การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ๓ บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (สถาปัตยกรรมไทย) ได้รับ พระราชทานเหรี ยญดุ ษฎี มาลา เข็ มศิ ลปวิ ท ยา (ดม.ศ.) รางวัล นิค เคอิเ อเชี ย ไพรซ์ สาขา ศิล ปวั ฒ นธรรม ฯลฯ รวมถึ ง ได้ รั บ พระราชทานรางวั ล เข็ ม เชิ ด ชู เ กี ย รติ พ ระธาตุ พ นม ประจ าปี การศึกษา 2553 สาขาสถาปัตยกรรมอีกด้วย

จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยนครพนม

แหล่งที่มาข้อมูล: สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรง ประกอบพิธีเปิดหอพระพุทธพิทยมงคล พระพุทธรูปประจามหาวิทยาลัยนครพนม และสูจิบัตรพิธี พระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยนครพนม ประจาปีการศึกษา 2552-2553


จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยนครพนม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.