SPIN magazine

Page 1

spin issue : 01

WARM UP / CHECH POINT / SPIN AROUND SPIN’s TALK / ON THE WAY / BY THE WAY / COOL DOWN


5

CON TENT

SPIN’S NOTE

พบกับประสบการณ์ใหม่ ในการอ่ า นนิ ต ยสาร ด้วยเทคโนโลยี AR บน SPIN Magazine ผ่าน อุปกรณ์เคลื่อนที่ เพียง สแกน QR Code เพื่อ ดาวน์โหลดแอพลิเคชัน Lay AR ฟรี ทั้งในระบบ IOS และ Android

CHECK POINT

ON THE WAY

10

Please scan here If you are IOS

28

PHOTO GELLERY

Please scan here If you are android

ขั้นตอนการใช้งาน แอพลิเคชัน Lay AR

เปิดแอพลิเคชัน Lay AR

ดาวน์โหลด แอพลิเคชัน Lay AR SPIN MAG 2

น�ำกล้องส่องไปยัง รูปภาพที่มีสัญลักษณ์ แล้วรับชมได้เลย


20

9

COOL DOWN

BY THE WAY

26

WARM UP

6

SPIN AROUND

SPIN’S TALK

SPIN MAG 3

22

12


KMUTT Bike Club KMUTT Bike Club หรือ ชมรมจักรยาน มจธ. ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2556 ภายใต้โครงการ KMUTT Walk & Bike Society ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ผลักดันขึ้น ตามนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) เพื่อสร้างสังคมการใช้จักรยาน และการเดินเท้าภายในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการ อนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นวิธีการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน ติดตามความเคลื่อนไหวชมรมได้ที่ Bike Friday ทริปปั่นสั้นวันศุกร์ กิจกรรมปั่นจักรยานทุกเย็นวันศุกร์ตามเส้นทาง รอบมหาวิทยาลัย สามารถเข้าร่วมได้ทั้งนักศึกษา บุคลากร มจธ. รวมทั้งบุคคลภายนอก โดยออก สตาร์ทจากตึก Green Society @KMUTT ทุกเย็น วันศุกร์ เวลา 16.30-17.00 น. จักรยานประเพณี มจธ.บางมด-บางขุนเทียน เป็นกิจกรรมใหญ่ซึ่งจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม เป็น ประจ�ำทุกปี โดยจะร่วมกันปั่นจักรยานจาก มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีวิทยาเขตบางมด ไปยังมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขต บางขุนเทียน Zom bike ฟื้นคืนชีพจักรยานเก่า มาคืนชีพให้กับจักรยานเก่ากับกิจกรรมดีๆ ที่ให้ นักศึกษาหรือบุคลากร มจธ. มาร่วมกันซ่อม จักรยาน โดยมีอาสาสมัครจากชมรม KMUTT Bike Club เป็นพี่เลี้ยงคอยให้ความรู้และค�ำแนะน�ำกับผู้เข้า ร่วมกิจกรรม เมื่อซ่อมเสร็จแล้วก็สามารถน�ำ จักรยานไปใช้ฟรีได้ตลอดทั้งปีเลย

จักรยานประเพณี มจธ บางมด-บางขุนเทียน / KMUTT Volunteer

Saturday Ride Fever ทริปยาววันเสาร์ กิจกรรมปั่นจักรยานทุกเช้าวันเสาร์ ไปท่องเที่ยว สถานที่น่าสนใจ สามารถเข้าร่วมได้ทั้งนักศึกษา บุคลากร มจธ. รวมทั้งบุคคลภายนอก โดยออก สตาร์ทจากตึก Green Society @KMUTT ทุกเย็น วันศุกร์ เวลา 7.30 น. จักรยานประเพณี กรุงเทพ-หัวหิน ธันวาคม กิจกรรมปั่นจักรยานทางไกล ระยะทาง 199 กม. จากกรุงเทพ (มจธ.) ไปยังหัวหิน ซึ่งมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้จัดขึ้นร่วมกับชมรม สวนธนโกลด์ซิตี้ และหน่วยงานภายนอก ในเดือน ธันวาคมเป็นประจ�ำทุกปี โดยในแต่ละปีจะมีไฮไลท์ของ กิจกรรมและสถานที่แตกต่างกันไป วินจักรยาน มจธ. ในช่วงเปิดเทอม หากใคร ต้องการความสะดวกรวดเร็ว บริเวณหน้า มหาวิทยาลัยจะมีวินจักรยานให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00-8.30 น. ซึ่งน้องๆ นักศึกษาของชมรมหรือ ผู้มีจิตอาสาจะมาปั่นพาเราไปส่งถึงหน้าอาคารเลย

credits

ศูนย์การจัดการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย (EESH) บรรณาธิการอ�ำนวยการ ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ บรรณาธิการบริหาร / สุธาสินี สุขโข บรรณาธิการ / สถาพร ศาสนพิทักษ์ บรรณาธิการ ฝ่ายศิลปกรรม / นนทวัฒน์ ตันติธรรม ช่างภาพและวีดิโอ / ทศพล สุวรรณสุต ที่ปรึกษา / Special Thanks สถาพร วัชรีฤทัย / วีรกูล โกไสยสิต / ธนาคาร คุ้มภัย / พชร ธนเวสารัชกุล / คุณลุงปรีชา พลอยเลี้ยง / คุณป้าผ่องใส SPIN MAG 4


spin’s note

SPIN Magazine เป็นโปรเจกต์เล็กๆ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการ ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การดูแล ของศูนย์การจัดการพลังงานสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (EESH) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการ สร้างสื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางจักรยานรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อส่งเสริม นโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว รวมทั้งเสริมสร้างจิตส�ำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยรอบมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น SPIN Magazine เป็นนิตยสารที่มากกว่านิตยสาร เพราะเราได้น�ำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมิติใหม่ให้กับการอ่านหนังสือ ท�ำให้ผู้อ่านสามารถบริโภคข้อมูลข่าวสารได้ทั้งใน รูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และภาพเคลื่อนไหว เพียงแค่สแกนภาพที่แสดงสัญลักษณ์บนนิตยสารผ่านแอพลิเคชั่นบน สมาร์ทโฟนของคุณ ก็จะสามารถรับชมวีดิโอของสถานที่นั้นๆ ได้ทันที เรียกได้ว่ามี 1 แต่ได้ถึง 2 เลยทีเดียว SPIN Magazine มีที่มาที่ไปมาจากค�ำว่า ‘spin’ ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า ปั่น หรือ หมุน ซึ่งเราน�ำ มาใช้เปรียบเทียบกับการปั่นจักรยานและการหมุนเคลื่อนที่ของวงล้อจักรยานนั่นเอง ส�ำหรับ SPIN Magazine Issue 1 มาในคอนเซปต์ ‘Every place has its own story’ ที่จะพาผู้อ่านไปสัมผัสเรื่องราวใน ชุมชนเก่าแก่และเสน่ห์ของวิถีชีวิตริมคลองที่ยังไม่เลือนหายไปตามกาลเวลากับเส้นทางจักรยาน ‘เลียบคลอง บางมด’ ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วัดพุทธบูชา ศาลเจ้าแม่ทับทิม สวนมะพร้าวคุณ ลุงปรีชา มัสยิดนูรุลหุดา รวมทั้งตลาดคลองบางมด แต่เท่านั้นยังไม่หมด เพราะเรายังพกสาระความรู้ดีๆ พร้อมทั้งแนบแผนที่เส้นทางจักรยานเลียบคลองบางมดมาฝากกันในเล่มด้วย รับรองว่าทริปนี้ไม่ต้องกลัว หลงทาง แต่ระวังจะหลงเสน่ห์วิถีชีวิตริมคลองเข้าเต็มๆ !!! S

SPIN MAG 5


WARM UP เรื่อง / ภาพ : สถาพร ศาสนพิทักษ์

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps Stretch) - ยืนตัวตรงให้เท้าชิดกัน - งอหัวเข่าข้างขวาไปข้างหลังแล้วใช้มือข้างขวาจับที่ ปลายเท้าที่ขาข้างที่งอขึ้นมา - ดึงค้างไว้จะรู้สึกถึงการยืดของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า - ท�ำข้างละ 3-5 รอบโดยท�ำรอบละ 30 วินาที *** การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าสามารถช่วยลดการ บาดเจ็บที่หัวเข่าและหลัง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการไหลเวียด และช่วยลดความเครียดของกล้ามเนื้อ

N O E M CO

ท่ายืดกล้ามเนื้อน่อง (Calf Stretch) - ยืนตรง กลางขาออกประมาณไหล่ - ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าหนึ่งก้าว วางมือลงบน ตักขวา พยายามทรงตัวและรักษาให้ฝ่าเท้าทั้ง สองราบกันพื้น ออกแรงไปที่หัวเข่าข้างซ้าย โดยที่หัวเข่าข้างขวาตรงไม่งอ - ท�ำข้างละ 3-5 รอบโดยท�ำรอบละ 30 วินาที ***การยืดกล้ามเนื้อน่องช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ปวดของเท้า, หน้าแข้ง, สะโพก, และหัวเข่า อีก ทั้งยังช่วยป้องกันการปวดเส้นเอ็นด้วย SPIN MAG 6


ท่ายืดกล้ามเนื้อหัวไหล่ (Shoulder Stretch) - ยืนกางขาออกประมาณไหล่ - ยกแขนขวาขึ้นมาในระดับความสูงของหัวไหล่ - ขยับแขนไปด้านหน้าผ่านล�ำตัวไปอีกข้างแล้วยก แขนซ้ายขึ้นมาเพื่อดันแขนขวาให้ใกล้กับหน้าอก มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แล้วกดค้างไว้ ท�ำข้างละ 3-5 รอบโดยท�ำรอบละ 30 วินาที - จากนั้นเปลี่ยนไปท�ำอีกข้าง *** ไหล่นั้นเป็นหนึ่งในข้อต่อที่ละเอียดที่สุดของ ร่างกาย การยืดกล้ามเนื้อไหล่จะช่วยเพื่อความ ยืดหยุ่นและการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Runner’s Stretch) - ยืนตัวตรง เท้าชิดกัน - โน้มตัวลงโดยพยายามใช้มือจับที่ปลายเท้า ถ้าไม่ สามารถจับที่ปลายเท้าได้ให้โน้มตัวไปจนรู้สึกถึงการยืด ของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง - ท�ำข้างละ 3-5 รอบโดยท�ำรอบละ 30 วินาที ***การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังจะช่วยบรรเทาอาการ เจ็บปวดที่สะโพกและหัวเข่า

exercise

ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังแขน (Triceps Stretch) - ยืนกางขาออกประมาณไหล่ - ยกแขนขวาขึ้นให้เลยศีรษะ งอข้อศอกจนมือขวามาแตะที่ด้าน หลังของไหล่ซ้าย - ใช้มือซ้ายของคุณกดที่หน้าหลังของไหล่ข้างขวาแล้วค้างไว้ จากนั้นเปลี่ยนไปท�ำอีกข้าง - ท�ำข้างละ 3-5 รอบโดยท�ำรอบละ 30 วินาที ***แม้ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มเล็กๆ แต่กล้ามเนื้อหลังแขนหรือ ไทรเซปนั้นช่วยประคองหัวไหล่และไบเซป อีกทั้งยังช่วยในการ บ�ำรุงรักษาการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของร่างกาย SPIN MAG 7


remember, as long as you are breathing it’s never too late to start a new beginning.

SPIN MAG 8


K C E CH T N I PO

‘เสพศิลป์บนก�ำแพง ชมแหล่งวิถีชีวิตริมคลอง’

ลังจากปั่นจักรยานผ่านซุ้มประตูวัดพุทธบูชาเข้าสู่ถนนเลียบคลองบางมดมาซักระยะหนึ่ง ให้ สังเกตทางด้านซ้ายมือของตัวเองดีๆ เราจะพบกับก�ำแพงสูงสีขาวสะอาดตาที่ประดับประดาด้วยแผ่นเซรามิกส์ ลวดลายต่างๆ หลากหลายสีสันและรูปทรง ผสมผสานกันอย่างลงตัว จนกลายเป็นภาพวาดสะท้อนวิถีชีวิต ของชาวบ้าน ณ ริมคลองบางมด เมื่อปั่นตามเส้นทางไปอีกนิด จะมองเห็นก�ำแพงที่อยู่ถัดมาซึ่งถือว่าเป็นไฮไลท์เลยก็ว่าได้ เพราะ ก�ำแพงขนาดยาวกว่าร้อยเมตรนี้ ถูกแต่งเติมด้วยแผ่นเซรามิกส์พระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 โดยถ่ายทอดเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินไทย ภายใต้แนวคิด “เงา ของแผ่นดินที่สะท้อนความรักของพ่อหลวง” ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานสร้างสรรค์นี้คือ ครูแจ๋ Atpotterhouse BKK เจ้าของสตูดิโอและโรงเรียน สอนปั้นเซรามิกส์ที่มีหัวใจรักชุมชน เกิดปิ๊งไอเดียเนรมิตก�ำแพงว่างเปล่าให้กลายเป็นกระดานศิลปะบอกเล่า เรื่องราวพระราชกรณียกิจโครงการฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 จึงได้รวบรวม ภาพวาดลายเส้นจากอาสาสมัครจ�ำนวนมากมาสร้างเป็นตราปั๊มหลากหลายขนาด แล้วตัดด้วยพิมพ์กดคุกกี้ รูปต่างๆ ก่อนจะน�ำไปเข้าสู่กระบวนการให้ความร้อนจนได้เป็นแผ่นเซรามิกส์สีขาวแซมน�้ำเงินพระบรมฉายาทิ สลักษณ์ในอิริยาบถต่างๆ เพื่อน�ำมาแปะลงบนก�ำแพงนั่นเอง เพลิดเพลินกับการชมงานเซรามิกส์กันไปแล้ว แต่ความพิเศษยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะริมคลอง บางมดยังมี Wall Art สีสันสดใสให้แวะพักถ่ายรูปกันอีกด้วย บอกเลยว่าใครพลาดแล้วจะต้องเสียดายแน่นอน! SPIN MAG 9


Don’t worry, BIKE happy บทสนทนาสั้นๆ กับนักปั่นผู้มีความสุข

“สัตว์สังคมมีหลายเผ่าพันธุ์ แต่มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์เดียวที่ต้องมีพร็อบในการเข้าสังคม” ประโยคแรกของบทสนทนาก็ท�ำให้เรารู้สึก ถึงความไม่ธรรมดาของนักปั่นคนนี้ ดุสิต ระเบียบ นาวีนุรักษ์ หรือ ราม คือศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ปัจจุบันเป็นเว็บ มาสเตอร์และนักท�ำคอนเทนต์ฝีมือดี ผู้ที่ยังหลงใหล ในการปั่นจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ “ทุกอย่างล้วนมีสื่อกลางที่เป็นดัง สัญญาณคอยจูนหาผู้คนที่ยืนอยู่คลื่นความถี่ เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นจักรยาน กีฬาชนิดอื่น หรือแม้ กระทั่งรสนิยมความชอบทั่วไป ถ้าชอบอะไรคล้ายกัน มันก็มักจะมีตัวกลางบางอย่างดึงดูดคนที่คุยกันรู้ เรื่องเข้ามา” คุณรามเล่าถึงเหตุผลแรกเริ่มของการ ปั่นจักรยานระหว่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่สอง ในรั้ว มหาวิทยาลัย จากชายหนุ่มที่เคยใช้ฟุตบอล ปิงปอง หรือดนตรี เพื่อการเข้าสังคม กลับกลายเป็นคนรัก จักรยานอย่างจริงจัง ถึงขนาดเก็บตังค์ซื้อชิ้นส่วน มาประกอบเองทีละชิ้นตั้งแต่ครั้งแรก “เวลาใครถามว่าท�ำไมถึงชอบปั่นจักรยาน เราคงจะนึกถึงการลดน�้ำหนัก การได้สุขภาพที่ดี และ มีใบหน้าเด็กลงเป็นอย่างแรก แต่ที่พูดมาก็ไม่ได้คาด

หวังอะไร เพราะเข้าใจว่าดัชนีมวลกายเหล่านั้นคงใช้ เวลาไม่น้อยเพื่อจะรู้ผล ทว่าในแง่ความรู้สึกกลับ สวนทางกันเลย ทันทีที่ร่างกายอยู่บนหลักอานด้วย ความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากแรงลมที่ ปะทะใบหน้าแล้ว สิ่งที่เรียกว่าความสุข มันไหลผ่าน ร่างกายโดยไม่มีไมล์จักรยานยี่ห้อใดจะวัดค่าได้ด้วย ซ�้ำ” คุณรามกล่าว เมื่อเราถามต่อว่าความสุขเหล่านั้นเกิดจากอะไร คุณ รามตอบกลับโดยไม่ลังเลว่า “ความสุขจากการมอง แสงส้มสุดท้ายของวันแล้วใช้กล้ามเนื้อของเราไล่ตาม มัน ความสุขเกิดจากการเป็นอิสระที่คุณจะพาตัวเอง ไปไกลแค่ไหนก็ได้ถ้าคุณไหว และความสุขเกิดจากการ มีเพื่อนร่วมทาง ที่แม้เราจะตบชิฟเตอร์เปลี่ยนเกียร์ คนละจังหวะแต่หัวใจยังเต้นเป็นจังหวะเดียวกัน แน่นอน” แม้เป็นบทสนทนาสั้นๆ แต่คุณรามก็ท�ำให้ เราฉุกคิดอะไรได้มากมายว่า สุดท้ายแล้วคงไม่ใช่เพียง การปั่นจักรยาน แต่ทุกงานอดิเรกของเราก็อาจไม่ ต้องการเหตุผลอะไรมาอธิบาย ไปมากกว่าการมี ความสุขที่ได้ลงมือท�ำมันแล้วล่ะ

SPIN MAG 10


เพราะทุกสถานที่มีเรื่องราวดีๆ ซ่อนอยู่ Spin's Around ฉบับนี้ จึงขอพาคุณผู้อ่านและเหล่านัก ปั่นไปท�ำความรู้จักกับชุมชนเก่าแก่ ย่านบางมด พร้อมสัมผัสความ งดงามผ่านวิถีชีวิตใกล้ชิดสายน�้ำ ที่ยังไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา กับ 4 สถานที่ท่องเที่ยวไฮไลต์ ใน เส้นทาง 'เลียบคลองบางมด'

SPIN MAG 11


Wat Phutthabucha เรื่อง : สุธาสินี สุขโข ภาพ : สถาพร ศาสนพิทักษ์ วิดีโอ : นนทวัฒน์ ตันติธรรม

ไหว้พระเสริมสิริมงคล ยลวิถีริมคลอง

จุดหมายแรกของเส้นทางเลียบคลอง

บางมดคือ วัดพุทธบูชา ศาสนสถานที่เป็นดังศูนย์ รวมใจของพุทธศาสนิกชนในย่านบางมดมากว่า 60 ปี เดิมที ที่ดินผืนนี้เคยเป็นสวนส้มบางมดทั้งหมด ทว่าเกิดเหตุการณ์น�้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2485 ท�ำให้ชาวสวนต้องตกระก�ำล�ำบากไปตามๆ กัน แต่ ครั้นเมื่อพ้นวิกฤตน�้ำท่วม ชาวสวนส้มหลายคนก็ กลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง นายเล็ก และนาง ทองด�ำ เหมือนโค้ว หนึ่งในชาวสวนที่ฟื้นตัวจาก วิกฤต ผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ถวาย ที่ดินให้เพื่อสร้างเป็นวัดประจ�ำชุมชนริมคลอง บางมดขึ้น วัดพุทธบูชา มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ พระพุทธชินราชจ�ำลองขนาดเท่าองค์จริง ประดิษฐานภายในอุโบสถ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มี พุทธลักษณะที่งดงาม ฝาผนังด้านหลังลงรักเขียน ลวดลายปิดทองเป็นรูปใบไม้และดอกไม้ แทรกด้วยปูน

ปั้นนูนรูปเทพบูชา สื่อความหมายเป็นภาพหมู่เทวดา นางฟ้าโปรยดอกไม้ ไม่เพียงแต่น่าสนใจในแง่ ประติมากรรมเท่านั้น หากแต่เรื่องราวประวัติความ เป็นมาขององค์พระพุทธชินราชจ�ำลองที่วัดพุทธ บูชาก็ยังมีความพิเศษอีกด้วย หากใครเคยแวะเวียนมาย่านบางมดผ่าน ทางถนน พุทธบูชา ก็คงจะรู้ดีว่าถนนสายนี้คดเคี้ยว เป็นอย่างมาก จนบางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเป็น เพราะเหตุใด แต่เมื่อได้สอบถาม ได้พูดคุยกับชาวบ้าน ในพื้นที่จึงได้รู้ว่า สมัยนั้นยังไม่มีถนนใหญ่ตัดผ่าน บริเวณวัด ท�ำให้ขั้นตอนการอัญเชิญพระพุทธชิน

SPIN MAG 12


ราชองค์จ�ำลองมาประดิษฐานเป็นไปอย่างทุลักทุเล ด้วยขนาดขององค์พระที่ใหญ่ ชาวบ้านจึงต้องร่วมใจกัน บริจาคที่ดินของตน ตัดถนนท�ำทางจากบางปะแก้วเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายองค์พระพุทธิชินราชจ�ำลอง มายังวัดพุทธบูชาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยแรกเริ่มตั้งชื่อว่า ถนนบางมดพัฒนา แต่ต่อมาก็เรียกพ้องกับชื่อ วัดกันจนติดปากว่า ถนนพุทธบูชา อย่างเช่นทุกวันนี้ นอกจากมาสักการะองค์พระพุทธชินราชจ�ำลองแล้ว วัดพุทธบูชายังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆ อีก มากมาย อาทิเช่น รอยพระพุทธบาทจ�ำลอง หอระฆัง รวมทั้งพระมหาเจดีย์พุทธบูชาขนาดใหญ่ ที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและรูปหล่อหลวงพ่อโสธร แวะไหว้พระเสริมสิริมงคลกันแล้ว เราอยากใหให้ลองลัดเลาะไปตามถนน เพื่อมายลวิถีริมคลองที่ ด้านหลังวัดพุทธบูชา บริเวณรอบๆ นี้จะมีร้านค้าวิสาหกิจชุมชน และร้านจ�ำหน่ายอาหารนก-ปลาเปิดให้ บริการกับนักท่องเที่ยวเป็นประจ�ำทุกวัน เมื่อเดินพ้นซุ้มประตูวัดไปจะพบกับเส้นทางเลียบคลองบางมดและ ท่าน�้ำวัดพุทธบูชา ซึ่งจะพาเราย้อนกลับสู่วิถีชีวิตริมคลองที่เรียบง่าย ด้วยบรรยากาศร่มรื่นของแมกไม้สี เขียวขจีและสายน�้ำที่ไหลเอื่อย มีบ้านเรือนเรียงรายริมสองฝั่งคลอง มองเห็นรอยยิ้มของชาวบ้านที่พายเรือ ผ่านไปมา นับว่าเป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ดีต่อใจ ชวนให้เหล่านักปั่นเดินทางต่อไปเพื่อค้นหาความ งามที่ยังซ่อนอยู่บนเส้นทางเลียบคลองบางมดสายนี้เสียจริง ๆ

SPIN MAG 13


Chao Mae Tubtim Shrine เรื่อง : สุธาสินี สุขโข ภาพ : สถาพร ศาสนพิทักษ์ วิดีโอ : นนทวัฒน์ ตันติธรรม

เมื่อมองไปยังบ้านเรือนของผู้คนที่เรียงรายอยู่ริมสองฝั่งคลอง เราอาจไม่เห็นถึงความแตกต่าง

ระหว่างตึกรามบ้านช่องของที่นี่สักเท่าไร แต่ใครจะไปเชื่อว่าท่ามกลางบ้านเรือนที่ดูแสนจะธรรมดา กลับมี อาคารสีแดงขนาดใหญ่สะดุดตาซ่อนตัวอยู่ อาคารแห่งนี้คือ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของชาวไทยเชื้อสายจีนในละแวกนี้มาอย่างยาวนาน ศาลเจ้าแม่ทับทิม ตั้งอยู่ติดกับริมคลองบางมด ออกแบบเป็นอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน มีลักษณะ ทางสถาปัตยกรรมแบบจีนประยุกต์ อาคารด้านหน้าสร้างซุ้มประตู 2 ชั้นประดิษฐานเทพฟ้าดินตามคติความ เชื่อของจีน มีลานกลางแจ้งระบายอากาศ ส่วนอาคารกลางเป็นโถงกว้างตกแต่งด้วยเสามังกร อาคารด้าน ในเน้นการประดับเฉพาะบนผนัง มีความเรียบง่ายคล้ายคลึงกับศิลปะแบบไหหล�ำ โดยประดิษฐานเจ้าแม่ทับทิม เป็นองค์เทพประทาน พร้อมทั้งเจ้าแม่ไข่มุก เจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่ไทหวา เจ้าพ่อเสือ และพระพุทธส�ำป้อ

SPIN MAG 14


เดิมทีศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งนี้เป็นเพียงศาลไม้เล็กๆ ที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในละแวกนี้นิยมมากราบไหว้บูชา ต่อมา เมื่อชาวบ้านมาขอพรแล้วประสบผล ท�ำการค้าขายรุ่งเรือง มากขึ้น จึงร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินสร้างเป็นศาลเจ้า ขนาดใหญ่ขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับชาว ไทยเชื้อสายจีนในย่านนี้ ปัจจุบันศาลเจ้าแม่ทับทิมบางมดแห่งนี้ ก็ยังมีชาว บ้านแวะเวียนมาขอพรกันอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะในด้าน การท�ำมาค้าขาย ด้านโชคลาภ หรือแม้กระทั่งด้านความรัก นอกจากกราบไหว้สักการะแล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ก็ยังเป็นสถานที่ จัดพิธีมงคลตามโอกาสส�ำคัญต่างๆ ท�ำให้เป็นสถานที่ซึ่งชาว บ้านละแวกนี้ได้มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นต่อกันไป โดยปริยาย

t r a e h d n a l u o s

SPIN MAG 15


Masjid Nurulhuda เรื่อง : สุธาสินี สุขโข ภาพ : สถาพร ศาสนพิทักษ์ วิดีโอ : นนทวัฒน์ ตันติธรรม

i a

f

เกิดใหม่จากน�้ำใจแห่งพี่น้อง

ากต้ อ งการท่ อ งเที่ ย วสั ม ผั ส วิ ถี ชี วิ ต ชุ ม ชนริ ม คลองที่ มี ป ระวั ติ ยาวนาน รวมทั้งมีการผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา อย่างลงตัว เราเชื่อว่าชุมชนริมคลองบางมดแห่งนี้ สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่าง ดีทีเดียว เพราะย่านนี้ เป็นทั้งถิ่นที่อยู่ของชาวไทยพุทธ ชาวไทยจีน และชาวไทย มุสลิมมาตั้งแต่ในอดีต เมื่อพูดถึงการตั้งรกรากของชาวมุสลิมในพื้นที่ริมคลองบางมดนั้น อาจจะต้องย้อนไปถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินเกณฑ์ชาว มุสลิมเข้ามาเพื่อประกอบเกษตรกรรม นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ พื้นที่ริมคลอง บางมดจึงเต็มไปด้วยบ้านเรือนของพี่น้องชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ขนาดใหญ่ โดยมีสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทางศาสนาเป็นมัสยิดใจกลางชุมชน มัสยิดนูรุลหุดา ดูจากสภาพภายนอกอาจจะยังไม่เก่าแก่เท่าไหร่ แต่ แท้จริงแล้วมัสยิดแห่งนี้มีที่มาที่ไปน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะสร้างขึ้นจากไม้ของ มัสยิดเก่าย่านเจริญกรุง ซึ่งพี่น้องชาวมุสลิมในย่านนั้นยกให้กับพี่น้องที่นี่ ดังนั้น หากนับอายุแผ่นไม้อันประกอบขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความส�ำคัญและมีคุณค่า ทางจิตใจแห่งนี้ ก็ถือว่ามีอายุกว่าร้อยปีแล้วนั่นเอง SPIN MAG 16


ภายนอกของมัสยิดนูรุลหุดาเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างสร้างแบบก่ออิฐ ถือปูน ทาสีฟ้าสบายตา ชั้นบนสร้างด้วยไม้ รูปแบบการตกแต่งประยุกต์จากบ้านไม้ ภาคกลาง เพิ่มกลิ่นอายแบบภาคใต้ด้วยหน้าต่างและซุ้มประตูบานโค้ง ส่วนบนของ บานหน้าต่างมีลูกเล่นเป็นกระจกหลากสีสัน คล้ายกับ stained glass ในโบสถ์หรือ มัสยิดขนาดใหญ่ บริเวณห้องละหมาดบรรยากาศโปร่งโล่งสบาย อากาศถ่ายเท ตลอดเวลา เมื่อมองผ่านหน้าต่างจะเห็นศาลาริมน�้ำและบ้านเรือนริมคลอง รายล้อม ด้วยต้นไม้เล็กใหญ่นานาพันธุ์ ยามบ่ายคล้อยแดดร่มลมตกไปจนถึงช่วงเย็น บริเวณมัสยิดแห่งนี้จะเต็ม ไปด้วยพี่น้องชาวมุสลิมที่มาละหมาดและมาสนทนาพูดคุยร่วมกัน แม้กระทั่งเด็กๆ ก็ ยังมาใช้ลานกว้างของที่นี่เป็นสนามเด็กเล่น ท�ำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน ซึ่ง นอกจากเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามโอกาสส�ำคัญแล้ว มัสยิดนูรุ ลหุดาก็ยังเปิดอบรมสอนศาสนาอิสลามเบื้องต้น รวมถึงมีการบรรยายศาสนธรรม เป็นประจ�ำทุกเดือนอีกด้วย ท�ำให้ภาพของคอมมูนิตีเล็ก ๆ อันเกิดจากการใช้พื้นที่และ เวลาร่วมกันของชาวบ้าน คือสิ่งที่มีให้เห็นที่มัสยิดแห่งนี้อยู่เสมอ

h it

SPIN MAG 17


Klong Bang Mod Market เรื่อง : สุธาสินี สุขโข ภาพ : สถาพร ศาสนพิทักษ์ วิดีโอ : นนทวัฒน์ ตันติธรรม

ปั่นจักรยานซึมซับธรรมชาติและสัมผัส วิถีชีวิตริมสองฝั่งคลองกันไปแล้ว มาแวะพักยืดเส้นยืดสายให้หายเหนื่อย ที่ “ตลาดคลองบางมด” กันดีกว่า!!!

ตลาดคลองบางมด ตั้งอยู่บนเส้นทางถนน

เลียบทางด่วนกาญจนาภิเษก ติดกับวิชชาลัยใน สวนบางมด เป็นแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือร่วมใจของหลายภาคส่วน อาทิเช่น โครงการ 3C Project ฝ่ายพัฒนา ชุมชน ส�ำนักงานเขตทุ่งครุ ผู้ประกอบการ Box Garden @Bangmod และวิชชาลัยในสวน บางมด สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างสรรค์เศรษฐกิจและรายได้ให้ชุมชน เปิด ท�ำการครั้งแรกวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงแม้ว่าจะเป็นตลาดเปิดใหม่แต่เราขอรับรองเลย ว่าที่นี่มีทีเด็ดไม่แพ้ที่อื่นแน่นอน

ที่นี่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 โซน ได้แก่โซน ชิม-ช็อป และโซน นั่งชิลล์ โซนชิม-ช็อป อัดแน่นด้วยซุ้มร้านค้าที่มีของกิน หน้าตาน่ารับประทานมากมาย ทั้งของคาว ของ หวาน รวมทั้งผักผลไม้ ตลอดจนสินค้าที่ระลึก ไม่ ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋า หรือผลิตภัณฑ์จากชุมชน ที่คัดสรรมาให้เลือกช็อปกันจนตาลาย พร้อมทั้ง พื้นที่ส�ำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจและนั่งรับประทานใน บรรยากาศร่มรื่นอีกด้วย SPIN MAG 18


เดินช็อปปิ้งอาหารและของฝากไปแล้ว ลองแวะมาดูโซน ถัดไปกันบ้าง ส�ำหรับ โซนนั่งชิลล์ หรือ Box Garden @Bangmod โซนนี้เปิดเป็นร้านค้าในตู้คอนเทนเนอร์ ที่มี ทั้งร้านอาหารสไตล์โฮมเมด ร้านสเต็ก ร้านปิ้งย่างสไตล์ อเมริกัน ร้านน�้ำปั่นเพื่อสุขภาพ ร้านเสื้อผ้า และร้านค้า อื่นๆ อีกมากมาย แต่ถ้าหาก ช็อป ชิม ชิลล์ จน เพลิดเพลินแล้ว ยังไม่หน�ำใจ เราขอแนะน�ำให้แวะมาป้อน นมแพะเป็นกิจกรรมตบท้าย เรียกได้ว่าเหมาะแก่การพา ครอบครัวมาเดินเล่นและท�ำกิจกรรมร่วมกันในวันหยุด สุดสัปดาห์มากเลยทีเดียว SPIN MAG 19


“ หากเปรียบสองวงล้อที่หมุนไปข้างห คนเมืองคงเปรียบเสมือนนักปั่นที่ออ เส้นทางเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย เราเร่งฝีเท้าปั่นเพื่อไปให้ถึงจุดหมายรว ระหว่างทางน้อยลงไปเท่านั้น เช่นกัน สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารสูงระฟ้าเพียง เหลียวหันกลับมามองตึกรามบ้านช่อง ราวอันทรงคุณค่าเหล่านี้ได้ ซึ่งคงจะเป SPIN MAG 20


หน้าดังมหานครที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อกแรงขับเคลื่อนจักรยานคันนี้ไปตาม ย่างแข็งขัน แต่เคยสังเกตหรือไม่ว่า ยิ่ง วดเร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งใส่ใจสิ่งต่างๆ หากเราให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา งอย่างเดียว ก็อาจท�ำให้เราหลงลืม งหน้าตาธรรมดาๆ ที่เปี่ยมไปด้วยเรื่อง ป็นเรื่องน่าเสียดาย ” SPIN MAG 21


anim

along th SPIN MAG 22


mals

he canal SPIN MAG 23


Spin’s Talk

เรื่อง : สุธาสินี สุขโข ภาพ : สถาพร ศาสนพิทักษ์ วิดีโอ : นนทวัฒน์ ตันติธรรม

คุณลุงปรีชา “สูตรส�ำเร็จของเกษตรกรรุ่นเก๋า”

บนเส้นทางริมคลองบางมดแห่งนี้ ชาวบ้านบางส่วนยังคงยึดอาชีพเกษตรกร ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับ

ธรรมชาติ ดังที่ปฏิบัติกันตั้งแต่บรรพบุรุษ แม้ว่าป่าคอนกรีตโดยรอบจะค่อยๆ รุกคืบเข้ามากลืนกิน พื้นที่นี้มากขึ้นทุกวัน มันจึงน่าสนใจไม่น้อยว่าเกษตรกรผู้ยังคงยืนหยัดอยู่ที่นี่เขามีแนวความคิด อย่างไร วันนี้ Spin’s Talk จึงขอชวนทุกท่านมารู้จักกับเกษตรกรรุ่นเก๋า ผู้มีมุมมองและแนวไม่ เหมือนใคร “คุณลุงปรีชา พลอยเลี้ยง” ชายวัย 70 กว่าที่ชาวบ้านย่านนี้รู้จักกันในนามประธานชุมชน หมู่ 3 บางมดนั่นเอง รับรองว่าชายผู้นี้ไม่ธรรมดาแน่นอน แต่จะไม่ธรรมดาอย่างไร ติดตามจากบท สัมภาษณ์กันได้เลย Q: เล่าประวัติให้ฟังคร่าวๆ ของคุณลุงให้เราฟัง หน่อยค่ะ A: ผมเป็นคนบางมดตั้งแต่เกิด ครอบครัวเป็น ชาวสวนส้มอยู่ตรงนี้กันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตา ยาย เราก็ช่วยพ่อแม่ท�ำสวนมาเรื่อยๆ จบแค่ป.7 ตอนนั้นเลยไม่ได้คิดที่จะเรียนสูงอะไร คิดแต่ว่า ยังไงก็จะยึดอาชีพนี้ แต่พอเกิดเหตุการณ์น�้ำ ท่วมถึงสองครั้ง เลยตัดสินใจเข้าไปท�ำงานใน เมือง ตอนนั้นอายุ 25 ปี มีโอกาสได้เข้าไป ท�ำงานในบริษัทใหญ่ ท�ำไปเกือบ 20 ปี แผนกเขา ก็ยุบ เลยต้องออกมาท�ำอีกบริษัทนึง บริษัทนี้ ค่อนข้างมีชื่อเสียง ได้ท�ำงานในต�ำแหน่งใหญ่ ด้วย จากนั้นก็ท�ำยาวไปจนถึงอายุ 60 เริ่มคิดว่า ตัวเองอายุมากแล้วท�ำงานแบบเดิมก็คงจะไม่ไหว เลยตัดสินใจออกจากบริษัทมาดูแลสวนที่บ้าน Q: อะไรคือจุดพลิกผันให้คุณลุงหันมาท�ำสวน มะพร้าวอย่างจริงจัง? A: คนแถวนี้คล้ายๆ กันหมด คือปลูกส้มเขียว หวานบางมด มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ท�ำกันมา เรื่อยจนถึงปี 2487 น�้ำท่วมกรุงเทพครั้งใหญ่ ทุกอย่างจมหมดไม่เว้นแม้กระทั่งสนามหลวง

กว่าจะผ่านไปได้ก็ยากล�ำบาก พอหมดน�้ำท่วมก็ เกิดสงครามโลกครั้งที่สองอีก ท�ำมาซักระยะ ผลิตผลส้มก็ดี มีชื่อเสียง แต่พอปี 2500 เกิด น�้ำเค็มหนุน ชาวสวนก็ท�ำสวนไม่ได้อีก เลยหันมา ปลูกมะพร้าวขายกัน ช่วงนั้นคนชอบซื้อไปท�ำกะทิ หรือน�้ำตาลมะพร้าว ราคาน�้ำตาลแค่กิโลกรัมละ ไม่กี่บาท ปี๊บนึงได้ถึง 29-30 กิโลกรัม เราก็ขาย พออยู่พอกินไปวันๆ พอน�้ำหายเค็มก็ตัด มะพร้าวทิ้งมาปลูกส้มอีก คราวนี้ส้มงอกงาม เลยเพราะว่าดินมันเริ่มโปร่ง ทีนี้น�้ำก็ท่วมอีกครั้งตอนปี 2526 ส้มตายหมด แต่เรามีที่ดินอยู่ 5 ไร่กว่าๆ ที่ยังว่างอยู่ เลยเอา พันธุ์มะพร้าวน�้ำหอมมาปลูกไว้ ตอนนั้นไม่ได้ ตั้งใจจะท�ำสวนมะพร้าวเป็นหลัก แต่คิดว่าสวน ส้มมันไปต่อไม่ได้แล้ว เราก็ต้องปรับตัวตาม ทีนี้ มะพร้าวน�้ำหอมมันให้ลูกดก คนนิยมมาก วันนึง มีคนมาสั่งซื้อเราก็ขับรถเอาไปให้เขา แต่เขาดัน เบี้ยวนัด เลยขายให้คนแถวนั้นแทน ปรากฏว่ามี คนมาซื้อเยอะกว่าที่คิด เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ ท�ำให้ประกอบอาชีพนี้เรื่อยมา

SPIN MAG 24


Q: ไปเรียนรู้วิธีท�ำขนมเยอะแยะขนาดนี้มาจาก ที่ไหน? A: ครูพักลักจ�ำเอา เมื่อก่อนนี้สมัยเด็กๆ เคยท�ำ พวกขนมหม้อแกง ทองหยอด ฝอยทอง เม็ด ขนุน แต่สมัยก่อนต้องท�ำเองตั้งแต่ล้างไข่ ขูด มะพร้าว เอง เวลามีงานบุญพ่อแม่จะชวนลูกไป ช่วยท�ำขนม เราก็ค่อยๆ ซึมซับ ชีวิตคนชนบทมัน เป็นแบบนี้ คนสมัยก่อนบ้านไหนเขามีลูกสาว ลูกชายก็จะมาดูกันตรงนั้นแหละ ว่าลูกสาวบ้านนี้ ลูกชายบ้านนั้นเป็นยังไง ชาวบ้านก็จะรู้จักกันใน วงกว้างๆ ทั้งต�ำบลนี่รู้จักกันหมด แต่คนสมัยนี้ คงไม่มานั่งท�ำ ไปซื้อแทนดีกว่า เพราะมันสะดวก Q: อะไรเป็นจุดเริ่มต้นของการแล้วหันมาท�ำขนม ขายได้ยังไง? A: เราท�ำน�้ำมะพร้าวน�้ำหอมไปขายวันละ 100-200 ถุง เนื้อมะพร้าวที่เหลือมันก็เยอะมาก ขึ้น ก็เลยคิดต่อยอดไปท�ำขนม

Q: อะไรคือจุดเด่นของขนมคุณลุง? A: มะพร้าว ของเรานิ่มอยู่แล้ว พอไปขายคนเขา ก็ชอบ ไปกินที่อื่นถ้าเคี้ยวไม่แหลกก็เป็นกาก กลืนไม่ลง ติดคอบ้าง อีกอย่างเราจะไม่ใช้สี สังเคราะห์ เพราะเรามีใบเตย อัญชัน ฟักทอง ปลูกเอง ใช้สีจากธรรมชาติได้

Q: เริ่มท�ำขนมอะไรก่อนเป็นอย่างแรก? A: เริ่มท�ำขนมใส่ไส้ก่อน แล้วก็มาท�ำขนมกล้วย เพราะมีกล้วยที่ปลูกไว้ในสวน ใช้สูตรที่พ่อแม่เขา ท�ำกันมาก่อน ฟักทองมีเราก็ท�ำขนมฟักทอง มัน ส�ำปะหลังมีเราก็ท�ำขนมมันได้อีก มันก็วนๆ อยู่ กับวัตถุดิบเดียวเดิมไม่กี่อย่างคือ แป้ง น�้ำตาล มะพร้าว มีอยู่แค่นี้เอง ต่างกันก็แค่ใช้แป้งข้าว เหนียว แป้งข้าวเจ้า หรือแป้งข้าวโพด อย่าง สมัยก่อนไม่มีแป้งข้าวโพด เราใช้แป้งข้าวเจ้า ธรรมดาแทน แต่เนื้อมันจะแข็งกว่านิดนึง ถ้าใส่ แป้งข้าวโพดจะเนียนมากกว่า ถ้าผสมแป้งมันก็ ท�ำให้เหนียวหน่อยนึง อันนี้มันคือการประยุกต์ เราก็ท�ำไปเรื่อยๆ คิดอะไรได้เราก็ท�ำ ค่อยๆ ปรับ สูตรไปจนได้ขนมที่ถูกใจ SPIN MAG 25


Q: ปกติขายขนมที่ไหนบ้าง? A: ปกติไปขายที่วัดพุทธบูชาตรงวิสาหกิจชุมชน วันเสาร์-อาทิตย์ แล้วก็จะมีที่สวนหมากช่วงเย็นๆ บางครั้งก็มีคนโทรมาสั่งเหมือนกัน วันนึงเราท�ำ ประมาณ 60-120 ชิ้น ตอนนี้ท�ำส่งออกไปต่าง จังหวัดบ้าง ลูกค้าติดใจเขาก็จะบอกปากต่อปาก เอง ขนาดเพชรบุรีเป็นถิ่นขนมหวานเขาก็ยังมา ซื้อขนมเราเลย

Q: อะไรคือจุดเด่นของขนมคุณลุง? A: มะพร้าว ของเรานิ่มอยู่แล้ว พอไปขายคนเขา ก็ชอบ ไปกินที่อื่นถ้าเคี้ยวไม่แหลกก็เป็นกาก กลืนไม่ลง ติดคอบ้าง อีกอย่างเราจะไม่ใช้สี สังเคราะห์ เพราะเรามีใบเตย อัญชัน ฟักทอง ปลูกเอง ใช้สีจากธรรมชาติได้ Q: การใช้ฟรอยด์มีข้อดีกว่าใบตองยังไง? A: การใช้ฟรอยด์จะท�ำให้ขนมอยู่ได้นานกว่า ใบตอง เพราะใบตองท�ำให้เกิดความชื้น อยู่ได้ไม่ ถึงหนึ่งวันขนมก็เสีย Q: แล้วทุกวันนี้ขายขนมอะไรบ้าง? A: ขนมตอนนี้มี 6 อย่าง ขนมใส่ไส้ ขนมต้ม ขนมมัน ขนมกล้วย ขนมฟักทอง ขนมถั่วแปบ หรือถ้าว่างหน่อยก็ท�ำขนมหยกมณี

Q: อยากถามคุณลุงไว้เป็นความรู้ว่า มะพร้าว ต้นนึงเอาไปคุณลุงเอามาใช้ท�ำอะไรได้บ้าง? A: มะพร้าวต้นนึงเอาไปใช้ได้ครบทุกส่วนเลยก็ว่า ได้ อย่างลูกมะพร้าวนี่นับเงินได้เลยตั้งแต่อยู่บน ต้น มะพร้าวอ่อน ทลายนึงขั้นต�่ำมันคือ 10 ลูก คิดเป็นเงิน 70-150 บาท อย่างน้อย 1 ทลายเรา ได้ตังค์แน่ๆ ทีนี้มาเรื่องใบมะพร้าว เราก็เอาไปท�ำ เครื่องจักสาน ส่วนก้านก็ใช้ท�ำไม้กวาด ตัวทาง มะพร้าวเราก็เอามาใส่ไฟท�ำฟืน เปลือกมะพร้าว พอมันแห้งก็เอาไปใส่เตา ขนมเราก็จะหอมกว่า แถมประหยัดแก๊สได้อีก กะลามะพร้าวก็เอาไปใส่ เงินได้ นอกจากนี้ถ้าต้นมันแก่ 100 ปีขึ้นไป ทาง ใต้เขาจะเอาไปผ่าท�ำไม้แป มุงหลังคาหรือท�ำ กระดาน แม้แต่รากมะพร้าวยังมีประโยชน์เลย ตัด ต้นแล้วปล่อยทิ้งไว้ 3 ปี ดินจะโปร่งเลย ปลูก ต้นไม้อะไรก็งอกงาม Q: ในฐานะที่คุณลุงเป็นประธานของชุมชน มอง อนาคตของชุมชนนี้อย่างไร? A: อยากให้ชาวบ้านได้มีพื้นที่ขายของริมคลอง ซึ่งตอนนี้ก็ก�ำลังผลักดันอยู่ แต่ถ้ามันจะมีได้


ประชาชนก็ต้องร่วมมือกันด้วย ไม่ใช่หวังพึ่ง ภาครัฐอย่างเดียว Q: วิถีชีวิตจากอดีตสู่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป มากแค่ไหน? A: ยุคสมัยนี้อะไรมันก็เปลี่ยนไปเยอะ แต่เรามอง ว่าคนที่ใช้ชีวิตในสวนน่าจะได้เปรียบกว่า เพราะได้ รู้ทั้งวิถีชีวิตดั้งเดิมและรู้เทคโนโลยีข้างนอกด้วย ในขณะที่คนข้างนอกเขาไม่สามารถมาเรียนรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านตรงนี้ได้ แถมภูมิปัญญาบาง อย่างก็มีแค่คนอายุ 50 ขึ้นไปที่รู้ด้วยซ�้ำ Q: แล้ววิถีชีวิตแบบชาวบ้านริมคลองบางมด แตกต่างจากวิถีชีวิตคนเมืองอย่างไร? A: คนที่อยู่ในกรุงเทพจริงๆ อยู่กับตึกรามบ้าน ช่อง คอนโด หรือหมู่บ้าน มันก็เหมือนเป็นการ ตีวงแคบ ไม่ได้ออกมาเห็นมาเจอธรรมชาติจริงๆ นอกเสียจากว่าพ่อแม่ส่งลูกหลานไปเรียนใน เมืองแล้วกลับมาชนบท ถึงจะรู้ว่าวิถีชีวิตเป็นยัง ไง ก็เหมือนกับการเดินทางเข้ามาที่นี่ จากถนน พุทธบูชาเข้ามาในชุมชนจะเห็นชัดว่าเลยว่ามัน เปลี่ยน เหมือนเราได้ไปอยู่ต่างจังหวัด แต่ถึง แม้ว่ามันจะเหมือนอยู่ต่างจังหวัด ผู้คนแถวนี้เขา ก็มีศักยภาพและพร้อมที่จะออกไปในเมือง อย่าง ลุงเองก็เคยอยู่ทั้งแบบชนบทและเคยไปท�ำงานใน บริษัทใหญ่ๆ ก็จะรู้หมดว่าอะไรเป็นอะไร

Q: ทุกวันนี้คิดว่าตัวเองประสบความส�ำเร็จแล้ว หรือยัง? A: แค่เราพอเพียงก็ประสบความส�ำเร็จแล้ว อยู่ แค่ที่เราพอ Q: อะไรคือเคล็ดลับหรือสูตรส�ำเร็จในการใช้ ชีวิตของคุณลุง? A: ถ้าเราท�ำแบบพอเพียงอย่างที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มันอยู่ได้จริงๆ คน อาจจะคิดว่าเป็นชาวสวนมันล�ำบาก แต่จริงๆ แล้วได้เงินเยอะกว่าพนักงานบริษัทบางแห่งอีก อาชีพเกษตรกรเลี้ยงตัวได้ เพราะทุกคนต้องกิน Q: อยากให้คุณลุงฝากอะไรทิ้งท้ายหน่อยค่ะ? A: เราท�ำขนมด้วยใจ คัดสรรวัตถุดิบเพื่อให้คน ได้ทานขนมดีๆ ท�ำแบบพอเพียงไม่ได้เอาร�่ำรวย อะไร คนแก่ถ้าไม่ได้ขยับเลยก็เป็นอัลไซเมอร์ แล้วเราก็จะท�ำขนมขายไปเรื่อยๆ ถ้ายังมีคน อุดหนุนอยู่

การนั่งคุยกับคุณลุงปรีชาท�ำให้คนรุ่นหลังอย่างเราเห็นว่าหากรู้จักอดทน ปรับตัว และรู้จัก ใช้ภูมิปัญญา สิ่งที่อยู่รอบตัวก็มีค�ำตอบให้กับปัญหาของเราเสมอ ในอนาคตข้างหน้าโลกยังต้อง เปลี่ยนแปลงอีกมาก แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปแค่ไหน เราเชื่อว่าคนเช่นลุงปรีชาก็จะรับมือกับมันได้ดีเสมอ สิ่งนี้ท�ำให้เราย้อนกลับมาถามตัวเองว่าวันที่การเปลี่ยนแปลงมาถึง เราพร้อมจะรับมือกับมันได้ไหม (ถ้าค�ำตอบคือ ไม่ ก็คงถึงเวลาที่พวกเราจะต้องหันมาเอาอย่างคุณลุงกันแล้วล่ะค่ะ


COOL DOWN ท�ำไมคุณถึงเลือกปั่นจัรกยาน

กนั้น

หลังจา บค่ะ แล้ว

อ นที่แอบช ” ค ม า ต น ักรยา นไปเลย “เริ่มปั่นจ ชอบปั่นจักรยา ็น ก็กลายเป

“เป็นคนชอบเที่ยว เนี้ยแหละ ตอบโจท

“ได้เห็นในสิ่vง ที่เราไม่เคยคิด ว่าแถ ปั่นจักรยาน ที่นี้ก็ได้เห็นทุก วบ อย่างเลย

“เป็นการอ อ และแบบเด กก�ำลังกายที่ไม่ซ�้ำท ี่ยวเลย อ ยู่ที่ตัวเรา ี่ และท�ำได้ทั้งแบบก ” ลุ่ม

SPIN28MAG 26 SPIN MAG


วและก็ออกก�ำลังกาย ดังนั้น จักรยาน ทย์” ห็น”

ั่งรถอาจจะไม่ค่อยสังเกตเ

าน “จะได้เห็นวิวข้างทางที่เวล

บ้านจะมี จนได ้ออก ย”

์ซื้อรถ”

“ไม่มีตังค SPIN MAG 29


lif

SPIN MAG 30

slow


fe

wly

SPIN MAG 31



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.