สงกรานต์ สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
คำ�นิยม
“สงกรานต์” เป็นประเพณีอนั งดงามของไทยทีส่ บื ทอดกันมาแต่โบราณ ด้วยถือเป็น วันขึน้ ปีใหม่แบบไทย และเป็นเทศกาลประจำ�ปีทม่ี คี วามสำ�คัญต่อประชาชนชาวไทย ระหว่าง วันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ ซึง่ ถือเป็นช่วงวันหยุดยาว ต่อเนื่องกันหลายวัน เพื่อให้ผู้ทำ�งานต่างถิ่นได้กลับบ้านไปร่วมกิจกรรมกับครอบครัว เช่น การทำ�บุญ ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้�ำ พระ รดน้�ำ ขอพรผูใ้ หญ่ เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคลให้กบั ชีวติ แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรษุ ทีล่ ว่ งลับไปแล้ว และเล่นสาดน้�ำ กันในสถานทีต่ า่ งๆ ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะแฝงไว้ด้วยสาระ คุณค่า และแสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เป็นที่ชื่นชมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติที่หลั่งไหล มาเทีย่ วประเทศไทย สามารถสร้างรายได้ให้กบั ประเทศจำ�นวนมาก ในฐานะทีเ่ ป็นคนไทย จึงควรทีจ่ ะช่วยกันอนุรกั ษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี ทีด่ งี ามของเราให้คงอยู่ และเพือ่ เป็นการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับประเพณีสงกรานต์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้จดั ทำ�หนังสือประเพณีสงกรานต์เล่มนีข้ น้ึ เพือ่ ให้ทราบถึงความเป็นมา แนวปฏิบตั ิ และคุณค่าของประเพณีสงกรานต์ทถ่ี กู ต้อง
(นายวีระ โรจน์พจนรัตน์) รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม
คำ�ปรารภ
ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีสำ�คัญที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ เป็นวัฒนธรรมประจำ�ชาติที่งดงามและเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู การแสดง ความเคารพ โดยใช้น้ำ�เป็นสัญลักษณ์ของความสะอาด ความบริสุทธิ์ สร้างเสริมสายใย ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้จัดพิมพ์หนังสือ “สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า” ขึ้นในรูปแบบการ์ตูนที่อ่านเข้าใจง่าย พร้อมแนวทางที่ควรปฏิบัติ และสิง่ ทีค่ วรละเว้นทัง้ ภาษาไทยและอังกฤษ ทัง้ นี้ เพือ่ ให้ประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศ ได้ทราบและปฏิบัติได้ถูกต้อง ซึ่งผมหวังว่าเนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่าน ได้รับความรู้ความเข้าใจในประเพณีสงกรานต์ซึ่งถือว่าเป็นปีใหม่แบบไทยได้ดียิ่งขึ้น
(ศาสตราจารย์อภินนั ท์ โปษยานนท์) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
คำ�นำ�
อัตลักษณ์อันโดดเด่นและเป็นที่ร้จู ักกันทั่วไปของประเพณีสงกรานต์ซ่งึ เป็นวันปีใหม่ แบบไทยนอกเหนือไปจากการเล่นสาดน้ำ�แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับเทศกาลสงกรานต์ เสมอมา คือ “นางสงกรานต์” ที่บางคนอาจจะเข้าใจผิด คิดว่าเป็นเพียงเทพีหรือนางงาม ที่ชนะการประกวดในงานเท่านั้น แต่โดยแท้จริงแล้ว นางสงกรานต์มีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ ไม่น้อย ดังนั้น ในหนังสือเล่มนี้ จึงได้นำ�เสนอตำ�นานสงกรานต์และเรื่องราวเกี่ยวกับ นางสงกรานต์มาเพื่อเผยแพร่ให้ได้ทราบด้วย โดยเฉพาะครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่มีการวาดรูป นางสงกรานต์ครบทุกนางและครบทุกอิริยาบถ ซึ่งจะทำ�ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หวังว่าเนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้ คงจะช่วยให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้ในเรื่องสงกรานต์และนางสงกรานต์เพิ่มมากขึ้น
(นางสาวนันทิยา สว่างวุฒธิ รรม) อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
สารบัญ ประเพณีสงกรานต์ ปีใหม่แบบไทย.................................................................... ๙ ความหมายของคำ�ว่า “สงกรานต์”.................................................................... ๑๑ วันผูส้ งู อายุแห่งชาติและวันครอบครัว............................................................... ๑๒ “นางสงกรานต์” เกี่ยวกับสงกรานต์อย่างไร..................................................... ๑๓ รู้จักนางสงกรานต์ทั้งเจ็ด.......................................................................................๑๕ อิริยาบถของนางสงกรานต์...................................................................................๑๖ รูปประกอบนางสงกรานต์ ๒๘ นาง.................................................................. ๑๗ ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘.......................................................... ๒๕ ความเชื่อเกี่ยวกับนางสงกรานต์และวันสงกรานต์.........................................๒๖ แนวทางปฏิบัติในวันสงกรานต์...........................................................................๒๘ สิ่งที่ควรละเว้นในเทศกาลสงกรานต์................................................................. ๓๑ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสงกรานต์..................................................................................๓๓
ประเพณีสงกรานต์ ปีใหม่แบบไทย
เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณี ที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุน่ และการให้เกียรติเคารพซึง่ กันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทย ได้อย่างเด่นชัด โดยใช้น้ำ�เป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี ปัจจุบันแม้ไทยเราจะนับวันที่ ๑ มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยม แต่ด้วยลักษณะพิเศษ และกิจกรรมที่คนในชุมชนได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นการทำ�บุญทำ�ทาน การอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ การสรงน้ำ�พระ การรดน้ำ�ขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำ� และการละเล่นรื่นเริงต่างๆ ล้วนทำ�ให้ชาวไทย ส่วนใหญ่ยังถือประเพณีสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยๆ ที่เป็นเทศกาลแห่งความเอื้ออาทร เกื้อกูลผูกพันซึ่งกันและกัน สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
9
ช่วงเทศกาลสงกรานต์จะตรงกับวันที่ ๑๓, ๑๔, และ ๑๕ เมษายนของทุกปี ซึง่ รัฐบาล ได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่องกัน เพื่อให้ประชาชนที่ทำ�งานในต่างท้องที่ ได้กลับไปยังถิ่นฐานของตน เพื่อไปร่วมทำ�บุญเยี่ยมญาติผู้ใหญ่บุพการี และเล่นสนุกสนาน กับครอบครัว เพื่อนฝูง นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีมอญ พม่า เขมร ลาว รวมถึงชนชาติไทยเชื้อสายต่างๆ ในจีน อินเดีย ต่างก็ถือตรุษสงกรานต์เป็นประเพณีฉลองปีใหม่เช่นเดียวกับเรา เพียงแต่ ในประเทศไทยได้มีการสืบสานและวิวัฒนาการประเพณีสงกรานต์จนมีเอกลักษณ์อันโดด เด่นกลายเป็นวัฒนธรรมประจำ�ชาติที่มีความพิเศษ แม้แต่ชาวต่างชาติก็ยังให้ความสนใจ และรู้จักประเพณีนี้เป็นอย่างดี
...สืบสานประเพณีไทย 10 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
ความหมายของคำ�ว่า
“สงกรานต์”
คำ�ว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “ก้าวขึ้น” หรือ “ผ่าน” หรือ “เคลื่อนย้าย” หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์ จากราศีหนึ่งเข้าไปในอีกราศีหนึ่ง เช่น เคลื่อนจากราศีสิงห์ไปสู่ราศีกันย์ ซึง่ จะเป็นเหตุการณ์ปกติทเ่ี กิดขึน้ ทุกเดือน เรียกว่า สงกรานต์เดือน ยกเว้นว่า เมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเมื่อใดก็ตาม ก็จะเรียกชื่อเป็นพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” อันหมายถึง การก้าวขึ้นครั้งใหญ่ ซึ่งนับเป็นครั้งสำ�คัญ เพราะถือว่าวันนีเ้ ป็นวันปีใหม่ตามคติพราหมณ์ โดยเป็นการนับทางสุรยิ คติ ซึ่งจะตกในราววันที่ ๑๓, ๑๔ หรือ ๑๕ เมษายน ซึ่งแต่ละวันจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” หมายถึง วันที่ พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษอีกครั้ง หลังจากผ่านเข้าสู่ราศีอื่นๆ แล้วจนครบ ๑๒ เดือน วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า “วันเนา” แปลว่า วันอยู่ หมายถึง วันที่ ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษอันเป็นราศีตั้งต้นปีเข้าที่เข้าทางเรียบร้อยแล้ว วันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า “วันเถลิงศก” เป็นวันเปลีย่ นจุลศักราชใหม่ ถือเป็นวันเริม่ ปีศกั ราชใหม่ การกำ�หนดให้อยูว่ นั นี้ ก็เพือ่ ให้แน่ใจว่าดวงอาทิตย์ โคจรขาดจากราศีมีนมาสู่ราศีเมษแล้วอย่างน้อย ๑ องศา ทั้งสามวันนี้ ถ้าหากดูตามประกาศสงกรานต์ อันเป็นการคำ�นวณ ตามหลักโหราศาสตร์จริงๆ แล้วก็จะมีการคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันบ้าง เช่น วันมหาสงกรานต์ อาจจะเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน แทนทีจ่ ะเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน แต่เพื่อให้จดจำ�ได้ง่าย และไม่สับสน จึงกำ�หนดเรียกตามที่กล่าวข้างต้น
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
11
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัว
วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันมหาสงกรานต์แล้ว รัฐบาลยังกำ�หนด ให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” อีกด้วย เพื่อให้ลูกหลานได้เล็งเห็นความสำ�คัญของผู้สูงอายุ ซึง่ ส่วนใหญ่กม็ กั จะเป็นบุพการี ผูอ้ าวุโสหรือผูใ้ หญ่ในชุมชนทีเ่ คยทำ�คุณประโยชน์แก่สงั คมนัน้ ๆ มาแล้ว ส่วนวันที่ ๑๔ เมษายนของทุกปี รัฐบาลก็ได้กำ�หนดให้เป็น “วันครอบครัว” เพราะเห็นว่าช่วงดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับไปหาครอบครัว อยู่แล้ว จึงเป็นช่วงเวลาแห่งความรักความอบอุ่น ที่จะได้พบกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา และทำ�กิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
...สืบสานประเพณีไทย 12 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
“นางสงกรานต์” เกี่ยวกับสงกรานต์อย่างไร
เมื่อทราบความหมายของคำ�ว่า “สงกรานต์” และความหมายของวันต่างๆ แล้ว หลายคนคงสงสัยว่า “นางสงกรานต์” มาเกี่ยวข้องกับประเพณีสงกรานต์ตรงไหน นางสงกรานต์ไม่มีตัวตนจริง แต่เป็นคติความเชื่อที่ปรากฎอยู่ใน “ตำ�นานสงกรานต์” ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ให้จารึกลงในแผ่นศิลาติดไว้ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว ซึ่งเป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณ ผู้ไม่รู้ หนังสือได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็น วันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดที่เทียบกันแต่ละวัน ในสัปดาห์โดยมีเรื่องเล่าว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตร จึงถูก นักเลงสุราข้างบ้านซึ่งมีบุตรสองคนกล่าว คำ�หยาบคาย ดูหมิ่นในทำ�นองว่าถึงจะ ร่�ำ รวยเงินทอง แต่กไ็ ม่มบี ตุ รสืบสกุลตายไป สมบัติก็สูญเปล่า สู้ตนผู้มีบุตรก็ไม่ได้ เ ศ ร ษ ฐี ไ ด้ ฟั ง แ ล้ ว เ กิ ด ค ว า ม ล ะ อ า ย จึงไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เมื่อเวลาผ่านไปสามปีก็ยังไม่มีบุตร อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์ สงกรานต์ จึงได้ไปอธิษฐานขอบุตรจาก พระไทร พระไทรสงสารจึงไปขอพระอินทร์ ท่านจึงได้ส่งธรรมบาลเทวบุตรจุติมาเกิด เป็นลูกเศรษฐีมีชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
13
ซึ่งเมื่อเจริญวัยขึ้นก็รู้จักภาษานกและเรียนไตรเพทจบเมื่ออายุเพียงเจ็ดปี ต่อมา ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่างๆ แก่มนุษย์ แต่ขณะนั้น ท้าวกบิลพรหม เป็นผู้ทำ�หน้าที่ แสดงมงคลทั้งปวงแก่มนุษย์อยู่ก่อนแล้ว จึงเกิดความไม่พอใจ ไปท้าธรรมบาลกุมาร ให้ตอบปริศนาสามข้อ โดยมีข้อแม้ว่าหากธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้ จะต้องตัดศีรษะบูชาตน หากตอบได้ตนก็จะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมารแทน ปริศนาดังกล่าวมีอยู่ว่า ข้อที่ ๑ เช้า ราศีอยู่ที่ใด ข้อที่ ๒ เที่ยง ราศีอยู่ที่ใด ข้อที่ ๓ ค่ำ� ราศีอยู่ที่ใด (ราศี หมายถึงความอิ่มเอิบ ความภาคภูมิ) ธรรมกุมารขอผลัดไปเจ็ดวัน ปรากฏว่าเวลาล่วงถึงวันที่หก ก็ยังคิดหาคำ�ตอบไม่ได้ จึงไปนอนอยู่ใต้ต้นตาล บังเอิญขณะนั้นได้ยินเสียงนกอินทรีสองผัวเมียคุยกันว่า วันรุ่งขึ้น จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะตอบปริศนาไม่ได้ พร้อมกันนั้นนกตัวผู้ก็ได้เฉลยคำ�ตอบ เช้า ราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอาน้ำ�ล้างหน้า เที่ยง ราศีอยู่ที่อก มนุษย์จึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ค่ำ� ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงเอาน้ำ�ล้างเท้า ธรรมบาลกุมารได้ยินสามารถตอบปริศนาได้ ดังนั้น ท้าวกบิลพรหมจึงต้องตัดศีรษะ บูชาธรรมบาลกุมาร แต่ก่อนจะตัดศีรษะ ท้าวกบิลพรหมก็ได้เรียกธิดาทั้งเจ็ดของตนที่เป็น บาทบริจาริกา (แปลว่านางบำ�เรอแทบเท้าหรือสนม) ของพระอินทร์มาสั่งเสียว่า ศีรษะตนนั้น หากตั้งไว้ในแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก หากทิ้งในอากาศฝนก็จะแล้ง ถ้าทิ้งในมหาสมุทร น้ำ�ก็จะแห้ง ดังนั้น จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำ�พานมารองรับศีรษะที่ถูกตัด แล้วนำ�ไปแห่รอบ เขาพระสุเมรุ จากนั้นก็อันเชิญประดิษฐานที่มณฑปถ้ำ�คันธุลีเขาไกรลาส ครั้นถึง ๓๖๕ วัน ซึง่ โลกสมมุตวิ า่ เป็นปีหนึง่ เวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทัง้ เจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยทีเ่ ทพธิดาทัง้ เจ็ดนีป้ รากฏในวันมหาสงกรานต์ เป็นประจำ� จึงชือ่ ว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมซึง่ มีอกี ชือ่ ว่า ท้าวมหาสงกรานต์นน้ั โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์นั่นเอง เพราะ กบิล แปลว่า สีแดง ...สืบสานประเพณีไทย 14 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
รู้จักนางสงกรานต์ทั้งเจ็ด
จากตำ�นานข้างต้น นางสงกรานต์จะมีดว้ ยกันทัง้ หมด ๗ นาง ตามแต่ละวันในสัปดาห์ ส่วนปีไหนจะเป็นนางสงกรานต์นางใด ก็ขี้นอยู่กับว่า วันมหาสงกรานต์ปีนั้นตรงกับวันใด ทั้งนี้ นางสงกรานต์จะไม่ได้ขี่พาหนะตามปีนักษัตร แต่ละนางจะมีนาม อาหาร อาวุธ และ สัตว์ที่เป็นพาหนะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ วันอาทิตย์ นาม นางทุงษะ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค หรือปัทมราช (พลอยสีแดง) ภักษาหารมะเดื่อ หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือสังข์ มีครุฑเป็นพาหนะ วันจันทร์ นาม นางโคราคะ ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา (ไข่มุก) ภักษาหาร น้ำ�มัน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีเสือเป็นพาหนะ วันอังคาร นาม นางรากษส (ราก-สด) ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต หัตถ์ขวาถือตรีศูล หัตถ์ซ้ายถือธนู มีสุกร (หมู) เป็นพาหนะ วันพุธ นาม นางมณฑา ทัดดอกจำ�ปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีคัสพะ (ลา) เป็นพาหนะ สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
15
วันพฤหัสบดี นาม นางกิริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต หัตถ์ขวาถือ ขอช้าง หัตถ์ซ้ายถือปืน มีช้างเป็นพาหนะ วันศุกร์ นาม นางกิมิทา ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหาร กล้วยน้ำ�ว้า หัตถ์ขวาถือขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ มีกระบือ (ควาย) เป็นพาหนะ วันเสาร์ นาม นางมโหธร ทัดดอกสามหาว (ผักตบ) เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือตรีศูล มีนกยูงเป็นพาหนะ
อิริยาบถของนางสงกรานต์ นอกจากนามของนางสงกรานต์แต่ละนางข้างต้น จะเป็นการบอกให้ทราบว่า “วันมหาสงกรานต์” หรือวันขึ้นปีใหม่ของปีนั้นตรงกับวันใดแล้ว ท่าหรืออิริยาบถ ที่นางสงกรานต์ขี่พาหนะ ยังเป็นการบอกช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งแต่ละปีจะไม่เหมือนกันด้วย เพราะสมัยก่อนจะไม่มีการนับเคาท์ดาวน์แบบปัจจุบัน ว่าหลังเที่ยงคืน จะเป็นเวลาขึ้นปีใหม่ทันที แต่เขาจะนับจากช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ เคลือ่ นจากราศีมีนมาอยู่ในราศีเมษ ซึ่งอาจจะเป็นเวลาเช้า สาย บ่าย เย็นหรือค่ำ�ก็ได้ ดังนั้น อิริยาบถของนางสงกรานต์ที่ขี่พาหนะมาจึงเป็นการบอกให้ทราบถึงช่วงเวลา ดังกล่าว ซึ่งจะมีด้วยกัน ๔ ท่า คือ ๑. ถ้าพระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษ ในระหว่างเวลา รุ่งเช้าจนถึงเที่ยง นางสงกรานต์ จะ ยืน บนพาหนะ ๒. ถ้าพระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษ ในระหว่างเวลา เที่ยงจนถึงค่ำ� นางสงกรานต์ จะ นั่ง บนพาหนะ ๓. ถ้าพระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษ ในระหว่างเวลา ค่ำ�ไปจนเที่ยงคืน นางสงกรานต์ จะ นอนลืมตา บนพาหนะ ๔. ถ้าพระอาทิตย์ยกสูร่ าศีเมษ ในระหว่างเวลา เทีย่ งคืนไปจนถึงรุง่ เช้า นางสงกรานต์ จะ นอนหลับตา บนพาหนะ ...สืบสานประเพณีไทย 16 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
รูปประกอบนางสงกรานต์ ๒๘ นาง ดังนี้ นางสงกรานต์แต่ละวันกับอิริยาบถแต่ละช่วงเวลา กรณีท่ี ๑ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์จะมีชอ่ื ว่า นางทุงษะ
รูปที่ ๑ นางทุงษะ ยืนมาบนครุฑ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ ระหว่างรุ่งเช้าถึงเที่ยง
รูปที่ ๒ นางทุงษะ นั่งมาบนครุฑ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ ระหว่างเที่ยงจนถึงค่ำ�
รูปที่ ๓ นางทุงษะ นอนลืมตามาบนครุฑ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง ค่ำ�ถึงเที่ยงคืน
รูปที่ ๔ นางทุงษะ นอนหลับตามาบนครุฑ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
17
กรณีที่ ๒ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันจันทร์ นางสงกรานต์จะมีชื่อว่า นางโคราคะ
รูปที่ ๑ นางโคราคะ ยืนมาบนเสือ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่ จะอยู่ระหว่างรุ่งเช้าถึงเที่ยง
รูปที่ ๒ นางโคราคะ นั่งมาบนเสือ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่ จะอยู่ระหว่างเที่ยงจนถึงค่ำ�
รูปที่ ๓ นางโคราคะ นอนลืมตามาบนเสือ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง ค่ำ�ถึงเที่ยงคืน
รูปที่ ๔ นางโคราคะ นอนหลับตามาบนเสือ ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า
...สืบสานประเพณีไทย 18 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
กรณีที่ ๓ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอังคาร นางสงกรานต์จะมีชื่อว่า นางรากษส
รูปที่ ๑ นางรากษส ยืนมาบนหมู ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง รุ่งเช้าถึงเที่ยง
รูปที่ ๒ นางรากษส นั่งมาบนหมู ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงจนถึงค่ำ�
รูปที่ ๓ นางรากษส นอนลืมตามาบนหมู ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง ค่ำ�ถึงเที่ยงคืน
รูปที่ ๔ นางรากษส นอนหลับตามาบนหมู ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
19
กรณีที่ ๔ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันพุธ นางสงกรานต์จะมีชื่อว่า นางมณฑา
รูปที่ ๑ นางนางมณฑา ยืนมาบนลา ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง รุ่งเช้าถึงเที่ยง
รูปที่ ๒ นางมณฑา นั่งมาบนลา ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงจนถึงค่ำ�
รูปที่ ๓ นางมณฑา นอนลืมตามาบนลา ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง ค่ำ�ถึงเที่ยงคืน
รูปที่ ๔ นางมณฑา นอนหลับตามาบนลา ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่างเที่ยง คืนถึงรุ่งเช้า
...สืบสานประเพณีไทย 20 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
กรณีที่ ๕ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์จะมีชื่อว่า นางกิริณี
รูปที่ ๑ นางกิริณี ยืนมาบนช้าง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง รุ่งเช้าถึงเที่ยง
รูปที่ ๒ นางกิริณี นั่งมาบนช้าง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงจนถึงค่ำ�
รูปที่ ๓ นางกิริณี นอนลืมตามาบนช้าง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง ค่ำ�ถึงเที่ยงคืน
รูปที่ ๔ นางกิริณี นอนหลับตามาบนช้าง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
21
กรณีที่ ๖ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์จะมีชื่อว่า นางกิมิทา
รูปที่ ๑ นางกิมิทา ยืนมาบนควาย ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง รุ่งเช้าถึงเที่ยง
รูปที่ ๒ นางกิมิทา นั่งมาบนควาย ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงจนถึงค่ำ�
รูปที่ ๓ นางกิมิทา นอนลืมตามาบนควาย ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง ค่ำ�ถึงเที่ยงคืน
รูปที่ ๔ นางกิมิทา นอนหลับตามาบนควาย ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า
...สืบสานประเพณีไทย 22 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
กรณีที่ ๗ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์จะมีชื่อว่า นางมโหธร
รูปที่ ๑ นางมโหธร ยืนมาบนนกยูง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง รุ่งเช้าถึงเที่ยง
รูปที่ ๒ นางมโหธร นั่งมาบนนกยูง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงจนถึงค่ำ�
รูปที่ ๓ นางมโหธร นอนลืมตามาบนนกยูง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง ค่ำ�ถึงเที่ยงคืน
รูปที่ ๔ นางมโหธร นอนหลับตามาบนนกยูง ช่วงเปลี่ยนเวลาเป็นปีใหม่จะอยู่ระหว่าง เที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
23
...สืบสานประเพณีไทย 24 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปีมะแม เทวดาผู้หญิง ธาตุทอง สัปตศก จุลศักราช ๑๓๗๗ ทางจันทรคติ เป็นอธิกมาสทางสุริยคติ เป็นปกติ สุรทิน วันที่ ๑๔ เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ� เดือน ๕ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๑๔ นาที ๑๔ วินาที นางสงกรานต์ ทรงนามว่า รากษสเทวี ทรงพาหุรดั ทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหาร โลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จนั่งมาเหนือหลังวราหะ (หมู) เป็นพาหนะ วันที่ ๑๖ เมษายน เวลา ๑๘ นาฬิกา ๒๑ นาที ๓๖ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น ๑๓๗๗ ปีนี้ วันพุธ เป็นธงชัย วันอังคารเป็นอธิบดี วันอังคารเป็นอุบาทว์ วันพฤหัสบดีเป็นโลกาวินาศ ปีนี้ วันอาทิตย์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๔๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๖๐ ห่า นาคให้น้ำ� ๔ ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๒ ชื่อ วิบัติ ข้าวกล้า ในภูมินาจะเกิดกิมิชาติ (ด้วงกับแมลง) จะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำ�งามพอดี
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
25
ความเชื่อเกี่ยวกับ นางสงกรานต์และวันสงกรานต์
คนสมัยก่อนรู้หนังสือกันน้อย อีกทั้งยังไม่มีสื่อที่จะบอกเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ รวมถึงวันสำ�คัญ ๆ ต่าง ๆ ล่วงหน้าเช่นปัจจุบัน ดังนั้น ประกาศสงกรานต์ของทางราชการ จึงมีสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการดำ�เนินชีวิตของราษฎรที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ซึ่งนอกจากจะมีเนื้อหาข้างต้นแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะรอดูรูปนางสงกรานต์ของ แต่ละปีดว้ ย เนือ่ งจากรูปนางสงกรานต์จะเป็นเครือ่ งบอกเหตุการณ์ หรือเป็นการทำ�นายอนาคต ล่วงหน้า อันเป็นความเชื่อของคนสมัยนั้น ซึ่งจะมีทั้งการพยากรณ์เกี่ยวกับอิริยาบถของ นางสงกรานต์วา่ นางใด มาอิรยิ าบถไหน จะเกิดเหตุเช่นไร รวมไปถึงการทำ�นายวันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศกด้วยว่า หากวันเหล่านี้ตกวันใด จะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น
สำ�หรับความเชื่อในเรื่องอิริยาบถของนางสงกรานต์ เชื่อกันว่า ๑. ถ้านางสงกรานต์ ยืนมา จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ ๒. ถ้านางสงกรานต์ นั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ ๓. ถ้านางสงกรานต์ นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข ๔. ถ้านางสงกรานต์ นอนหลับตา พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี ...สืบสานประเพณีไทย 26 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
ส่วนคำ�ทำ�นายเกีย่ วกับ วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ก็มวี า่ ๑. ถ้าวันอาทิตย์ เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดถิ่น ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็นวันเถลิงศก บรรดา ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย นักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำ�ราญ คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยา ๕. ถ้าวันพฤหัสบดี เป็นวันมหาสงกรานต์ จะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเถลิงศก ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเนา ผลไม้จะแพง ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดี ๒. ถ้าวันจันทร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ เป็นวันเถลิงศก สมณชีพราหมณ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิง จะปฏิบตั ิกรณียกิจอันดีงาม คุณนายทัง้ หลายจะเรืองอำ�นาจ ถ้าวันจันทร์ ๖. ถ้าวันศุกร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ เป็นวันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือ พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก จะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็น พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้ วันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายใน กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็นวันเนา พริกจะแพง จะมีความสุขสำ�ราญ แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย ๓. ถ้าวันอังคาร เป็นวันมหาสงกรานต์ แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็นวันเถลิงศก โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง พ่อค้าคหบดีจะทำ�มาค้าขึ้น มีผลกำ�ไรมาก แต่ถ้าเป็นวันอังคารเป็นวันเนา ผลหมาก ๗. ถ้าวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ รากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็นวันเถลิงศก โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ข้าราชการทุกหมูเ่ หล่าจะมีความสุข มีชยั ชนะ ถ้าวันเสาร์เป็นวันเนา ข้าวปลาจะแพง แก่ศัตรูหมู่พาล ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำ�น้อย จะเกิด ๔. ถ้าวันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ เพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่อง ถ้าวันเสาร์เป็นวันเถลิงศก บรรดาทหาร จากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็นวันเนา ทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู
การพยาการณ์ขา้ งต้น ก็เช่นเดียวกับทำ�นายดวงเมืองในปัจจุบนั อันเป็นการคำ�นวณ ทางโหราศาสตร์ที่เป็นสถิติชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดหรือไม่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้นก็ได้ แต่ค�ำ ทำ�นายเหล่านีก้ เ็ ป็นเสมือนคำ�เตือนล่วงหน้าให้ทกุ คนดำ�รงชีวติ อยูด่ ว้ ยความไม่ประมาท มีสติ และรู้จักเตรียมวิธีแก้ไขหรือป้องกันไว้ล่วงหน้า สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
27
แนวทางปฏิบัตใิ นวันสงกรานต์
ก่อนวันสงกรานต์ มักจะเป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อความเป็นสิริมงคล ในการจะเริ่มต้นชีวิตวันขึ้นปีใหม่ เพราะการเตรียมตัวในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทำ�ความสะอาด การจัดทำ�อาหารไปทำ�บุญ ฯลฯ จะทำ�ให้เรารู้สึกสดชื่น มีความหวัง และรอคอยด้วยความสุข อีกทั้งการได้ทำ�ความสะอาดบ้านก็เหมือนการได้ฝึกชำ�ระจิตใจ ล่วงหน้าไปในตัว ช่วงวันสงกรานต์ เมื่อสงกรานต์มาถึงก็จะได้เป็นเวลาที่ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจสดชื่น เบิกบาน ซึ่งกิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ได้แก่ ทำ�บุญตักบาตร หรือนำ�อาหารไปถวายพระที่วัด ถือเป็นการสืบทอดและทำ�นุบำ�รุง พุทธศาสนา อีกทั้งช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็น รู้จักการให้ การเสียสละ โดยไม่หวังมุ่งหวัง สิ่งใดตอบแทน ทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือการทำ�บุญอัฐิ เป็นการแสดงความ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณผู้ล่วงลับไปแล้ว
...สืบสานประเพณีไทย 28 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
การสรงน้ำ�พระ จะมี ๒ แบบคือ การสรงน้ำ�พระพุทธรูปและสรงน้ำ�พระภิกษุ สามเณร เพื่อแสดงความเคารพต่อปูชียบุคคลที่ดำ�รงสืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อความ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเมื่อเริ่มศักราชใหม่
การปล่อยนกปล่อยปลา ช่วงสงกรานต์มักจะเป็นหน้าแล้ง น้ำ�แห้งขอดอาจจะ ทำ�ให้ปลาตาย จึงมักมีการปล่อยนกปล่อยปลาที่ติดบ่วงติดน้ำ�ตื้นให้เป็นอิสระ หรือบางแห่ง มีการปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่แหล่งน้ำ� เพื่อช่วยสร้างสมดุลยภาพ
สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
29
การก่อเจดีย์ทราย จุดประสงค์ก็คือการให้พระภิกษุได้นำ�ทรายไปใช้ประโยชน์ ในการก่อสร้างหรือใช้ถมพื้นที่ต่อไป สมัยก่อนคนทำ�กิจกรรมต่างๆในวัด ดังนั้น เขาก็ถือว่า ทรายอาจติดเท้าออกไป เมื่อถึงปีจึงควรจะขนทรายไปใช้คืน ปัจจุบันการก่อเจดีย์ อาจจะเหลือเพียงรูปแบบ จึงอาจจะปรับเปลี่ยนไปทำ�บุญในรูปแบบอื่นแทนได้
การรดน้ำ�ขอพรผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะผู้มีอาวุโสน้อยพึงปฏิบัติต่อผู้มีอาวุโสมาก เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
...สืบสานประเพณีไทย 30 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
การละเล่นรื่นเริงหรือมหรสพต่างๆ เป็นการเชื่อมความสามัคคีและเพื่อความ สนุกสนานรวมทั้งยังเป็นการสืบสานมรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป เช่น ลิเก ลำ�ตัด โปงลาง หมอลำ� หนังตะลุง และโนรา เป็นต้น การเล่นรดน้ำ� ระหว่างญาติพี่น้อง มิตรสหาย หรือระหว่างเด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ควรจะใช้น้ำ�สะอาดผสมน้ำ�อบ หรือน้ำ�หอม และ เล่นสาดกันด้วยความสุภาพ มีไมตรีต่อกัน พร้อมกล่าวคำ�อวยพรให้ต่างมีความสุข และ อย่าเล่นกันด้วยความคึกคะนอง รุนแรง จาบจ้วง หรือตั้งใจล่วงเกินผู้อื่นจนทำ�ให้เกิดการ ทะเลาะวิวาท นอกจากกิจกรรมข้างต้นแล้ว บางแห่งยังมีการทรงเจ้าเข้าผีเพื่อความสนุกสนาน เช่น การเข้าแม่ศรี การเข้าผีลิงลม ฯลฯ รวมถึง มีการเล่นอื่นๆ เช่น เล่นสะบ้า เล่นลูกช่วง เล่นเพลงพิษฐาน (อธิษฐาน) เป็นต้น สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
31
สิในเทศกาลสงกรานต์ ่งที่ควรละเว้น
เพื่อให้ประเพณีสงกรานต์ยังคงความหมายสาระและคุณค่าที่ดีงาม จึงควรที่ ทุกภาคส่วนของสังคมจะเน้นสิ่งที่ควรปฏิบัติข้างต้น และละเว้นสิ่งที่จะทำ�ลายความงดงาม ของประเพณีดังกล่าวลงไป อันได้แก่ ไม่มุ่งประกวดความงามของเทพีสงกรานต์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรเน้น ให้เด็กรุ่นใหม่ที่เข้าประกวดได้ร่วมทำ�กิจกรรมบำ�เพ็ญสาธารณประโยชน์บ้าง เพื่อเป็น การสร้างให้รู้จักจิตอาสา ไม่ดื่มเหล้าหรือเครื่องดองของเมาในวัดหรือในที่สาธารณะ เพราะนอกจาก จะไม่เหมาะสมแล้ว ส่วนใหญ่มักจะเมาอาละวาด หรือแซวกันจนเกิดการทะเลาะวิวาท รวมทั้งแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสม แต่ที่สำ�คัญคือ มักเมาแล้วขับรถโดยประมาท ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมหรืออุบัติเหตุอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อันเป็นสาเหตุแห่งความ เดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น จึงควรสำ�รวมในการดื่มเหล้า หรือควรดื่มกันเฉพาะในหมู่ ญาติมิตรเพื่อนฝูง และอยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปเกะกะระรานผู้อื่น หรือดื่มจนขาดสติ
...สืบสานประเพณีไทย 32 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
ไม่เล่นสาดน้ำ�กัน ด้วยความรุนแรง ก้าวร้าว คึกคะนอง และไม่ใช้อุปกรณ์ ที่อันตราย เพราะปัจจุบันหลายคนก็เล่นด้วยความประมาท ผิดกาลเทศะทำ�ให้ผู้อื่น เดือดร้อน รำ�คาญ หรือสาดน้ำ�เข้าไปยังรถที่กำ�ลังวิ่ง ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุที่น่าเศร้าสลด รวมทั้งมีการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้น้ำ�ผสมแป้งมัน หรือสี ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะ ทำ�ให้สกปรกยากแก่การทำ�ความสะอาดแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ในภายหลัง จึงควรละเว้นการเล่นที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ และไม่ควรสาดน้ำ�ผู้อื่นที่มิได้เล่นกับเรา หรือผู้ที่เดินทางไปกิจธุระ และไม่ควรสอนหรือกระทำ�สิ่งที่ผิดประเพณีต่อชาวต่างชาติ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและดูถูกประเพณีวัฒนธรรมของเรา
สรุป
แม้ประเพณีต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่หากเรายังปรารถนา จะสืบสาน “สงกรานต์” ให้เป็นประเพณีที่งดงามและน่าภาคภูมิใจของเราต่อไปแล้ว ก็เป็น หน้าที่ที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมกันรักษาสิ่งที่ดีงามให้คงอยู่ และขจัดสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเบี่ยงเบนให้หมดไป สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
33
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ
สงกรานต์
๑. ในสมัยโบราณ ก่อนที่เราจะถือเอาวันสงกรานต์เป็นปีใหม่ไทยนั้น คนสมัยก่อน ถือว่าวันขึ้น ๑ ค่ำ� เดือนอ้าย (เดือน ๑) เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาว เป็นการ เริ่มต้นปี ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ความเชื่อของพราหมณ์ ที่มีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิตทางเกษตร จึงเปลี่ยนวันปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ� เดือน ๕ หรือประมาณเดือนเมษายน ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ ก็ได้เปลีย่ นวันขึน้ ปีใหม่อกี ครัง้ เป็นวันที่ ๑ เมษายน และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จอมพล ป. พิบูลสงครามก็ได้ประกาศให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับแบบสากล และใช้มาจนปัจจุบัน อย่างไรก็ดี คนไทย ในหลายภู มิ ภ าคก็ ยั ง ยึ ด ถื อ เอาวั น สงกรานต์ เ ป็ น เทศกาลเฉลิ ม ฉลองปี ใ หม่ เ หมื อ นเดิ ม โดยจึงได้กำ�หนดให้วันที่ ๑๓ เมษายนเป็นวันสงกรานต์ ตามปฏิทินเกรกอรี่ ๒. ทางล้านนาเรียกวันที่ ๑๓ เมษายน ว่า “วันสังขารล่อง” หรือ “สังกรานต์ลอ่ ง” ซึ่งบางท่านให้ความหมายว่า หมายถึงอายุสิ้นไปอีกปี และเรียกวันที่ ๑๔ เมษายน ว่า “วันเน่า” หมายถึง วันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำ�ให้ปากเน่าและไม่เจริญ ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียก “วันพญาวัน” คือวันเปลี่ยนศก (ปี) ใหม่ ๓. ภาคใต้ เรียกวันที่ ๑๓ เมษายน ว่า “วันเจ้าเมืองเก่า” หรือ “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์ ส่วนวันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า “วันว่าง” คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ดังนั้น ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่างๆ แล้วไปทำ�บุญที่วัด ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” คือ วันรับเทวดา องค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไปประจำ�เมืองอื่นแล้ว ๔. การที่ “น้ำ�”มาเกี่ยวเนื่องกับประเพณีสงกรานต์ ก็เพราะ“น้ำ�”โดยตัวมันเอง ถือว่า เป็นเครื่องชำ�ระสิ่งสกปรกหรือมลทินต่างๆ และยังถือว่าเป็นเครื่องหมายของ ความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จึงมีการใช้ “น้ำ�” เป็นสัญลักษณ์ในพิธีมงคลและอวมงคลต่างๆ ...สืบสานประเพณีไทย 34 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์อันถือว่าเป็นวันปีใหม่ ซึ่งมักจะเป็นเวลาหลังการ เก็บเกี่ยวพืชผลทางเกษตรอันเป็นเวลาพักผ่อน และตรงกับเดือนเมษายนที่เป็นฤดูร้อน คนสมัยก่อนจึงมีการใช้ “น้ำ�” สาดกันเพื่อความสนุกสนานและคลายร้อนไปในตัว รวมถึง ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวันสงกรานต์ด้วย เช่น ใช้สรงพระพุทธรูปและพระสงฆ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่ หรือใช้ทำ�ความสะอาดบ้านเรือน เสมือนการขับไล่เสนียด จัญไรและล้างสิ่งสกปรกให้ออกไปจากบ้าน หรือใช้รดน้ำ�ดำ�หัวผู้ใหญ่เพื่อขอสมาลาโทษ หรือขอพรจากท่าน หรือใช้กรวดน้ำ�เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ๕. คำ�ว่า “ดำ�หัว” ปกติแปลว่า “สระผม” แต่ในประเพณีสงกรานต์ล้านนา จะหมายถึง การไปแสดงความเคารพ ขออโหสิกรรมที่เราอาจไปล่วงเกินใครใน เวลาที่ผ่านมา รวมทั้งการไปขอพรจากผู้ใหญ่ ซึ่งหมายถึงญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ในเมืองหรือครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา โดยส่วนมากจะใช้น้ำ�ขมิ้นส้มป่อยไปไหว้ท่าน และท่านก็จะจุ่มแล้วเอาน้ำ�แปะบนศีรษะเป็นเสร็จพิธี ๖. การก่อเจดีย์ทรายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มักทำ�กันในวันสงกรานต์ ซึ่งมูลเหตุ ที่คนนิยมก่อเจดีย์ทราย มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถี พร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสทุ ธิก์ เ็ กิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมืน่ ๔ พันองค์ แล้วอุทศิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมือ่ พระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทลู ถาม ถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ก่อเจดียท์ รายถึง ๘ หมืน่ ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรก หลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและ เกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำ�ให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้ ๗. การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ มายังบริเวณท้องสนามหลวงให้ประชาชนได้มาสักการะและสรงน้�ำ ในช่วงสงกรานต์นน้ั อาจารย์สมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ เล่าว่า จัดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๗ สมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยทางการเป็นผูจ้ ดั ขึน้ ให้ประชาชนได้สรงน้�ำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำ�ลังใจในโอกาสเฉลิมฉลองปีใหม่ไทย สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
35
๘. ศัพท์บางคำ�ในประกาศสงกรานต์ คำ�ว่า สัปตศก หมายถึง ปีจุลศักราช ที่ลงท้ายด้วยเลข ๗ อธิกมาศ คือ ปีที่มีเดือน ๘ สองหน ส่วนปกติสุรทิน คือ ปีที่มี ๓๖๕ วัน ตามปกติ วันอธิบดี และวันธงชัย คือวันที่ถือว่าเป็นวันดีเหมาะแก่การ ทำ�กิจกรรมที่เป็นมงคลต่างๆ ส่วนวันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ ถือเป็นวันไม่ดี ไม่เหมาะ แก่การทำ�การมงคล ซึ่งวันดังกล่าวนี้เป็นการคำ�นวณทางโหราศาสตร์ ส่วนปีใดที่วันดีและ ไม่ดี เป็นวันเดียวกัน จะต้องดูช่วงเวลาที่เรียกว่า ยาม ตามตำ�ราโหรกำ�กับด้วย เช่น ปีนี้ วันอังคารเป็นทั้งวันอธิบดีและวันอุบาทว์ ช่วงเวลาที่เป็นอธิบดีคือ ยาม ๕ คือ ระหว่างเวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. และช่วงเวลาที่เป็นอุบาทว์ คือ ยาม ๔ คือ ระหว่าง เวลา ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ น. เป็นต้น การวัดจำ�นวนน้ำ�ฝนเป็น ห่า เป็นการวัดปริมาณน้ำ�ฝนแบบโบราณ โดยกำ�หนดว่า ถ้าฝนตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองอยู่กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำ�ฝนห่าหนึ่ง เกณฑ์ธัญญาหาร เป็นการพยากรณ์บอกถึงจำ�นวนข้าวปลา พืชพันธุ์อาหารต่างๆ ว่าปีนั้นๆ จะอุดมสมบูรณ์หรือแห้งแล้งอย่างไร เกณฑ์ธาราธิคุณ เป็นการบอกถึงปริมาณน้ำ�ฝนที่จะตกในโลกว่ามีมากน้อย น้ำ�เท่าใด
...สืบสานประเพณีไทย 36 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
นางสงกรานต์ทั้งเจ็ด
วันอาทิตย์ นาม นางทุงษะ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค หรือปัทมราช(พลอยสีแดง) ภักษาหารมะเดื่อ หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือสังข์ มีครุฑเป็นพาหนะ
วันจันทร์ นาม นางโคราคะ ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา (ไข่มุก) ภักษาหารน้ำ�มัน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีเสือเป็นพาหนะ ...สืบสานประเพณีไทย 38 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
วันอังคาร นาม นางรากษส (ราก-สด) ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต หัตถ์ขวาถือตรีศูล หัตถ์ซ้ายถือธนู มีสุกร (หมู) เป็นพาหนะ สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
39
วันพุธ นาม นางมณฑา ทัดดอกจำ�ปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีคัสพะ (ลา) เป็นพาหนะ ...สืบสานประเพณีไทย 40 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
วันพฤหัสบดี นาม นางกิริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต หัตถ์ขวาถือขอช้าง หัตถ์ซ้ายถือปืน มีช้างเป็นพาหนะ สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
41
วันศุกร์ นาม นางกิมิทา ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ�ว้า หัตถ์ขวาถือขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ มีกระบือ (ควาย) เป็นพาหนะ ...สืบสานประเพณีไทย 42 สงกรานต์ สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
วันเสาร์ นาม นางมโหธร ทัดดอกสามหาว (ผักตบ) เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือตรีศูล มีนกยูงเป็นพาหนะ สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า
43
คณะผู้จัดทำ�
ที่ปรึกษา
นางสาวนันทิยา สว่างวุฒิธรรม นายมานัส ทารัตน์ใจ นางสุนันทา มิตรงาม นางสาวทัศชล เทพกำ�ปนาท
คณะทำ�งาน
นางอรุณี คงเสรี นางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ นางสาวปราณิสา เตียวพิพิธพร นายสุชาติ คณานนท์ นางสลักจิตร ศรีชัย นางพัชรินทร์ ฤทธิ์สำ�แดง นางสาวรัชดาพร ศรีภิบาล นางมณฑิรา สวัสดิรักษา นางปัญชลี ด้วงเอียด นางสาวบุญชญา ไฮดอน นายสมภพ ปู่ไทย นายอภินันท์ คำ�ยวง นายกาจบดินทร์ พันธุ์ภักดี นางสาวภธิตา เหมทานนท์ นายจตุพร ธิราภรณ์ นายวิโรจน์ สุริยายนต์ นางสาวธศร ยิ้มสงวน นางสาวเพ็ญนภา มณฑา นางณัฐรดา เส้นสุข
ภาพประกอบ
นายโอม รัชเวทย์ นายมนัส หัสดำ� นายคาริญย์ หึกขุนทด
อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้อำ�นวยการสถาบันวัฒนธรรม นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการพิเศษ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการพิเศษ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการพิเศษ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นักวิชาการวัฒนธรรม เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
SONGKRAN FESTIVAL
Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture, Thailand
Songkran Festival
Message from the Minister of Culture Of all the festivals in the Kingdom of Thailand, Songkran is the most remarkable as it marks the beginning of a New Year. It has been firmly established as an integral part of Thai life since time immemorial. The government proclaimed the 13th of April, the 14th of April, and the 15th of April public holidays in order to allow people to return to their hometowns for making merit, offering of food and gifts to the monks, releasing of birds and fish, sprinkling of water over the Buddha images, bringing lustral water and other items to parents, senior relatives and respected persons to bathe them as tribute paying, and to ask for their blessings, splashing water among each other according to the ancient traditionof celebrating the New Year. In recent times, this traditional festival is on the list of tourist attractions and enables to put Thailand as one of the most favoured tourist destinations of the world. Songkran thereby represents the time when all the Thais as well as friends of Thailand appreciate the Thai traditional values. The Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture, deems it necessary to publish the book, Songkran, to promote public awareness and encourage public participation in the preservation and maintenance of Songkran including the story of Songkran goddesses as one of the most cherished Thai cultural heritage.
(H.E. Mr. Vira  Rojpojchanarat)
Minister of Culture Ministry of Culture of the Kingdom of Thailand
Preface “Songkran Festival” is the most important tradition of Thailand since the old days. The event shows Thai culture and good examples of youngsters being grateful to their elders by using water as the means to transfer love, respect and relationship of family, society, and nation. On this special occasion, the Ministry of Culture plans to promote the information about Songkran Festival. The Department of Cultural Promotion has published the book “Songkran Festival” which includes the appropriate ways to participate as well as the dos and don’ts. Additionally, the book is presented in cartoon form to illustrate Songkran customs and traditions. I hope this book will be fruitful and provide readers with the broader views regarding Songkran Festival.
(Prof. Apinan Posayanont) Permanent Secretary for Culture Ministry of Culture
Preface When it comes to Songkran, the meaning of this festival becomes unique. It is the time for Thais to celebrate the Thai Traditional New Year day all over the country. Songkran is not just wet, besides splashing water, some of the most joyful and exciting activities include Thai Traditional New Year’s practices. There is a belief in “Songkran Goddesses” that cannot be eliminated. Most of the people are unclear about “Songkran Goddesses” and have their ideas mixed up with the Songkran beauty queen. In fact, this is not correct! The Songkran Goddesses of Thailand have an interesting history to follow. Consequently, the book will also bring up their stories and present cartoon images for intelligible understanding. The Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture hopes that this book will be useful and able to enhance more understanding about Songkran Festival and Songkran Goddesses.
(Miss Nuntiya Swangvudthitham) Director-General Department of Cultural Promotion
What is Songkran?
Songkran is the traditional Thai New Year festival since the former time. It is a celebration that embraces goodwill, love, compassion, and thankfulness, using water as the means of expression. The word Songkran derives from Sanskrit meaning to move or step forward. The first day of Songkran takes place when the sun moves from Pisces into Aries, which marks the New Year’s Day according to the Brahmin solar system. Songkran Festival 51
Songkran Festival
The festival of Songkran falls on the 13th, 14th, and 15th of April every year. The first day is known as Maha Songkran or the grand Songkran. The Thai government has declared Songkran festival as extended public holidays to enable the people to return to their hometown for family reunions, merit-making and reuniting with others in their community. April 13th is also declared the Day of the Senior or Elderly by the government. The occasion marks the appreciation for the senior population for their years of contribution to the family and country. The 14th of April is designated as Family Day to celebrate family love and togetherness. 52 Songkran Festival
The importance of Songkran Festival Songkran is regarded as one of the most important traditions in Thailand because it encompasses the three major values in the Thai way of life which are: Value of family : Songkran is the time when family members come together to show appreciation, love and respect as well as making merit and paying homage to their ancestors. Value of society : Through active participation and interaction with each other, Songkran brings the people in the community together to enhance goodwill and unity in the society. Value of religion : Making merit by offering food to monks, going to the temples and attending Buddhist sermons are auspicious activities done during Songkran.
Songkran Festival 53
Who is Nang Songkran? In the old days, when mass communications was somewhat limited, in order to help the illiterate learn on which day of the week Songkran was, a story on the origin of Nang Songkran or Songkran Goddesses was created. It was said that Tao Kabilaprom had seven daughters, known collectively as Nang Songkran. In a gambling game that he lost to Thammakumarn, Tao Kabilaprom had to pay his debt with his head. However, his head must not come into contact with the ground, air or water because it would cause catastrophes. To maintain peace on earth, his head was placed on a tray which was then taken to Krailad Mountain.Every year, one of the daughters would bring the head down to town for procession. Each daughter was unique in her own way and was identified by her ornaments, choice of weapons and means of transport symbolised by animals. Since there were seven daughters, they also served as fairy for each day of the week. The names of the seven Nang Songkran for each day are : Day Name of Nang Songkran Transport Sunday Tung-sa, Garuda Monday Ko-ra-ka, Tiger Tuesday Rak-sod, Pig Wednesday Mon-ta, Donkey Thursday Kiri-nee, Elephant Friday Kimi-ta, Buffalo Saturday Maho-torn, Peacock
54 Songkran Festival
Nang Songkran not only represents the day of the week, but back then people often associated her characteristics to the type of weather they could expect for that year, too.
Songkran Festival 55
What to do during Songkran Festival To celebrate Songkran, there are many activities throughout Thailand which vary according to regional tradition. Some of the activities include:
Cleaning of houses and public places such as temples, schools, offices to welcome the New Year with cleanliness and fresh start. Merit making by offering alms to monks in dedication to the late ancestors, going to the temples to listen to Buddhist preaching. Releasing birds and fish back to their natural habitat is a common practice during Songkran. This act of giving freedom is a form of merit making. Sprinkling water onto Buddha images and monks is an auspicious act to receive blessings for the New Year. 56 Songkran Festival
Building sand pagodas on temple ground. Bringing sand into the temple’s premise is considered a merit because the sand can be used or reused for construction or restoration by the temple. Pouring water onto the elderly members of the family and/or the society to show respect and gratefulness and to ask for their blessing. Folk performances and traditional games are organised for enjoyment as well as to preserve the Songkran tradition. Throwing water at each other in a friendly manner by using clean or scented water, exchanging New Year’s greetings during water play, and in case of doubt, ask permission before throwing water at someone because he or she may not wish to get wet.
Songkran Festival 57
What NOT to do during Songkran As water throwing has become popular during Songkran, it is recommended that the following practice is avoided: - The use of dirty water, ice, mixture of dangerous items such as paint, dye and plant seeds, etc. may cause injuries to other people’s eyes or other parts of their body. - Throwing water at people who are riding on moving vehicles such as motorcycles, cars etc. may cause serious accidents.
58 Songkran Festival
- Using modified gadgets like PVC pump tube which produces high water pressure could cause serious injuries to others. Lewd acts such as applying powder paste on others’ face, especially females’, inappropriate physical contacts and touching are unacceptable. - Too much alcohol consumption, especially in public places could cause annoyance and unrests. Moderate drinking with friends and families in one’s own privacy is preferred. - Driving after drinking can and do cause fatal road accidents every year. Songkran Festival 59
Working Group Project Consultants
Ms. Nuntiya Swangvudthitham Mr. Manat Tharatjai Mrs. Sunantha Mit-ngam Ms. Tassachon Thepgumpanat
Work Team
Director-General of Department of Cultural Promotion Deputy Director-General of Department of Cultural Promotion Deputy Director-General of Department of Cultural Promotion Director of Cultural study Institute
Mrs. Arunee Kongsearee Mrs. Mongkolthip Rung-ngamrerg Ms. Pranisa Teopipithporn Mr. Suchat Kannanon Mrs. Salakjit Srichai Mrs. Patcharin Ritsamdang Ms. Rachdaporn Sripibarn Mrs. Monthira Sawatdirugsa Mrs. Panchalee Doung-Eiad Ms. Boonchaya Hydon Mr. Somphop Putai Mr. Apinan Kamyuang Mr. Kajbodin Punpugdee Ms. Patita Hemtanont Mr. Jatuporn Thiraporn Mr. Viroj Suriyayon Ms. Thasorn Yimsanguan Mr. Pennapa Monta Mrs. Natrada Sensook
Illustrator
Mr.Om Ratchawej Mr.Manut Hutsadam Mr.Kharin Hukkhoonthod
Cultural Officer (Senior Professional Level) Cultural Officer (Senior Professional Level) Cultural Officer (Senior Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Professional Level) Cultural Officer (Practitioner Level) Cultural Officer (Practitioner Level) Cultural Officer (Practitioner Level) Cultural Officer (Practitioner Level) Cultural Officer (Practitioner Level) Cultural Officer General Service Officer (Practional Level)
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture, Thailand ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ 14 Thiamruammitr Road, Huay Khwang, Bangkok 10310
โทรศัพท์ ๐-๒๒๔๗-๐๐๑๓ ต่อ ๑๓๒๕, ๑๓๐๓ โทรสาร ๐-๒๒๔๘-๕๘๔๔ Tel. 0-2247-0013 Ext. 1325, 1303 FAX. 0-2248-5844
www.culture.go.th