การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
บทที่ 7 การจัดองคประกอบในการถายภาพ ภาพถ่ายที่ดีและมีความสวยงามในเชิงศิลปะนั้น นอกจากจะต้องมีอุปกรณ์ ในการถ่ า ยภาพที่ เ หมาะสมและมี คุ ณ ภาพแล้ ว สิ่ งที่ เ ป็ นหั วใจสํ า คั ญ ของการ ถ่ายภาพ คือ การจัดองค์ประกอบของภาพซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานทางสุนทรียภาพ สําคัญที่ช่างภาพต้องนําไปใช้ในการจัดมุมมองของภาพให้ออกมาสวยงาม น่าสนใจ โดดเด่นกว่าภาพที่ถ่ายโดยบุคคลทั่วๆ ไป ในที่นี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ นํามาใช้ในการถ่ายภาพ ซึ่งประกอบด้วย 1. รูปทรง (Form) นับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่มีอยู่ในภาพถ่ายแทบ ทุกภาพ วัตถุต่างๆ ล้วนมีรูปทรงที่แตกต่างกันไป ในการถ่ายภาพช่างภาพควร พิจารณาเลือกวัตถุที่มีรูปทรงเด่น ชัดเจนกว่าส่วนอื่นๆ เพื่อนํามาเป็นจุดสนใจของ ภาพ โดยทั่วไปรูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1.1 รูปทรงเรขาคณิต (Geometric Form) ได้แก่ วงกลม วงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม ช่างภาพดีนั้นควรใช้การผสมผสาน กันของรูปทรงและสัดส่วนที่เหมาะสมประกอบในการจัดองค์ประกอบภาพ เช่น การถ่ายวิวทิวทัศน์หรือสถานที่ที่ มีรูปทรงที่โดดเด่น การถ่ายภาพ คนยืนอยู่ในกรอบหน้าต่าง
ภาพที่ 7-1 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบรูปทรงเรขาคณิต ณัฐกร สงคราม | 83
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
1.2 รูปทรงธรรมชาติ (Organic Form) เป็นรูปทรงที่ให้ความรู้สึก ทางโครงสร้ า งของการเจริ ญ เติ บ โตของสิ่ ง มี ชี วิ ต การนํ า รู ป ทรงชนิ ด นี้ ม าจั ด องค์ประกอบสามารถทําได้ง่าย เพราะมีอยู่ในชีวิตประจําวัน เพียงแต่ช่างภาพต้อง หมั่นสังเกตธรรมชาติรอบตัว เพื่อให้เห็นรูปทรงที่น่าสนใจและนํารูปทรงเหล่านั้น มาสร้างเป็นภาพ เช่น การถ่ายภาพดอกไม้ ใบไม้
ภาพที่ 7-2 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบรูปทรงธรรมชาติ
1.3 รูปทรงอิสระ (Free Form) เป็นรูปทรงที่ไม่สามารถจําแนก ลักษณะได้แน่ชัดลงไป เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด ให้ ความรู้สึกทางจินตนาการได้มากที่สุด เช่น รูปทรงของก้อนเมฆ กระแสน้ํา หรือ ก้อนหิน
ภาพที่ 7-3 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบรูปทรงอิสระ 84 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
2. รูปร่าง (Shape) สิ่งที่แตกต่างระหว่างองค์ประกอบของรูปร่างกับ รูปทรงคือ รูปทรงจะต้องแสดงให้เห็นรายละเอียดของมิติความลึก ความหนาของ สิ่งของหรือวัตถุต่างๆ ในขณะที่รูปร่างจะไม่แสดง แต่จะใช้การสื่อให้รู้ว่าสิ่งนั้น มีลักษณะเช่นไรจากเค้าโครงภายนอก ซึ่งลักษณะของรูปร่างสามารถแยกแยะ สิ่งนั้ นให้เ ด่ นชั ดจากฉากหลั ง ช่ ว ยให้ ภ าพถ่า ยดู น่า สนใจ สะดุ ดตา และแสดง อารมณ์ความรู้สึกได้ดีถึงแม้จะไม่มีมิติความลึกหนาก็ตาม องค์ประกอบข้อนี้มักใช้ ในการถ่ายภาพเงาดํา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ภาพซิลูเอต (Silhouette) ซึ่งเป็น การถ่ า ยภาพในลั กษณะย้ อ น แสงเพื่ อให้เ ห็นคน วัตถุ หรื อ สถานที่ในภาพเป็นเพียงรูปร่าง สีดําไม่มีรายละเอียดใด ยกเว้น ส่วนที่เป็นฉากหลัง
ภาพที่ 7-4 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบรูปร่าง
การถ่ายภาพซิลูเอตเป็นการถ่ายภาพย้อนแสง ดังนั้น จึงนิยมถ่ายในช่วง เช้าหรือช่วงเย็น เพราะแสงทางด้านหลังของตัวแบบ (คน วัตถุ หรือสถานที่ที่ ต้องการให้เห็นแค่รูปร่าง) จะสว่างกว่าด้านหน้า อีกทั้งยังได้สภาพแสงของท้องฟ้า ฉากหลังที่มีสีสันสวยงาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะถ่ายช่วงเวลาอื่นไม่ได้ อาจถ่ายเที่ยงวัน หรือกลางคืนก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้ทั้งภาพวิวทิวทัศน์ต่างๆ หรือจะเป็น ภาพบุคคลรวมทั้งแนวอื่นๆ ขึ้นอยู่กับมุมมองหรือจินตนาการ บวกกับความช่าง สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวของช่างภาพแต่ละคน เทคนิคการถ่ายภาพประเภทนี้อยู่ที่การวัดแสง โดยไม่ได้วัดแสงที่ตัวแบบ แต่เป็นการวัดแสงที่ฉากหลัง ถ้าเป็นเวลาเช้าตรู่หรือเย็นมากซึ่งสามารถมองดวง อาทิ ตย์ด้ว ยตาเปล่ าได้ ก็ วัดแสงที่ ดวงอาทิ ตย์โ ดยตรงได้ เลย แต่ถ้า เป็นช่ ว งที่ ณัฐกร สงคราม | 85
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
แสงแดดเริ่มแรงมากแล้ว อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ โดยตรง เพราะนอกจากจะทําให้สายตาเบลอแล้ว ยังอาจทําให้เซนเซอร์รับภาพเสื่อมสภาพได้ แต่ให้ วัดแสงที่บริเวณท้องฟ้าด้านหลังแทน และควรลด ขนาดช่องรับแสงให้แคบลงอีกซัก 2-4 Stop หรือ หากไม่ได้ใช้โหมด M ก็ใช้วิธีการชดเชยแสงให้ under ลง เพื่อ ให้ตัวแบบดํามืดจนมองไม่เห็ น รายละเอียดบนพื้นผิวของตัวแบบ ภาพที่ 7-5 การถ่ายรูปร่างในช่วงแสงแดดแรง
ส่วนการตั้งค่าอื่นๆ ก็ควรใช้ขนาดช่องรับแสงแคบ เพื่อให้ได้ภาพชัดลึก ตั้งแต่ ด้า นหน้า ไปยังฉากหลั ง แต่ ก็ให้โ ฟกัส ไปที่ตัว แบบเพราะต้ องการให้ เ ส้ น รูปร่างรอบตัวแบบมีความคมชัดมากที่สุด ส่วนค่าความไวแสง (ISO) ควรตั้ง ประมาณ 100-200 ไม่ควรใช้โหมด Auto และอาจต้องใช้ขาตั้งกล้องร่วมด้วย เนื่ อ งจากเมื่ อตั้ งช่ อ งรั บแสงแคบ ความไวชั ตเตอร์ ก็จะต่ํา ลง และสุ ดท้า ยการ ถ่ายภาพแนวซิลูเอตห้ามเปิดแฟลชเพราะแสงแฟลชจะเปิดเผยให้เห็นรายละเอียด ของตัวแบบ ทําให้ไม่มีลักษณะเงาดําของรูปร่างเกิดขึ้น แม้ว่าสิ่งที่ทําให้เสน่ห์ของภาพซิลูเอตมีมากยิ่งขึ้นคือสภาพแสงด้านหลัง แต่ อย่าลืมว่าสิ่งที่เป็นหัวใจหลักคือ เงาดําของรูปร่างตัวแบบ ซึ่งต้องมีความเด่นชัด ดู แล้วเข้าใจทันทีว่าคืออะไร ถ้าเป็นคนก็รู้กําลังทําอะไรอยู่ ดังนั้น จึงไม่ควรมีเงาดํา ซ้อนทับกันมากเกินไป จนรกและดูไม่รู้เรื่อง หาจุดสนใจไม่เจอ 3. รูปแบบ (Pattern) หรือที่บางคนเรียกว่า “ภาพแบบซ้ําซ้อน” ซึ่ง หมายถึงลักษณะรูปร่างรูปทรง เส้น รวมถึงสิ่งที่ปรากฏซ้ําซ้อนเหมือนกันมากๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องกันหรือเรียงกันไปตามลําดับซึ่งจะพบเห็นได้ทั่วไปทั้งที่ 86 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
มนุษย์สร้างขึ้นและมีขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น การซ้ําซ้อนของใบไม้ ลวดลายอิฐ บนกําแพงรั้วที่เรียงซ้อนกัน รถที่จอดเรียงรายกันหลายๆ คัน พระหรือเณรที่ยืน เรียงรายหรือทํากิจวัตร ร่วมกัน หรือบางครั้งสิ่งเหล่านั้นอาจจะไม่ได้อยู่ใกล้กัน แต่ช่างภาพเป็นคนนํามาจัดวางเรียงกันเองก็เป็นได้
ภาพที่ 7-6 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบรูปแบบ
ลักษณะความซ้ําซ้อนของรูปแบบนั้น อาจเป็นการเรียงตัวกันไปตามลําดับ อย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งทําให้มีความน่าสนใจเท่าๆ กันทั้งภาพ เหมือนการ มองลวดลายที่สวยงาม แต่บางครั้งหากการเรียงตัวนั้นไม่มีจุดเด่นในตัววัตถุเองก็ อาจทํ า ให้ ภ าพดู ธ รรมดาเกิ น ไป ขาดความน่ า สนใจ หรื อ ตรงกั น ข้ า ม หากมี รายละเอียดเยอะเกินไปก็อาจทําให้ภาพดูหนักหรือรกจนไม่น่ามอง นอกจากการ เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบแล้ว รูปแบบการซ้ําซ้อนอาจเป็นการเรียงตัวกระจายใน พื้นที่ใกล้เคียงโดยไม่เป็นระเบียบมากนัก แต่ดูต่อเนื่องเป็นรูปแบบเดียวกันก็ได้ ซึ่ง ในกรณีหลังช่างภาพควรจะเลือกเอาวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งมาเป็นจุดสนใจให้กับภาพ โดยอาจเลือกจากความแตกต่างจากชิ้นอื่นๆ เพื่อให้ภาพน่าสนใจขึ้น นอกจากนี้ การซ้ําซ้อนของรูปแบบก็ไม่จําเป็นต้องเป็นกับวัตถุหรือสิ่งของ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถใช้ความซ้ําซ้อนร่วมกับการจัดองค์ประกอบอื่นๆ ได้ หรือแม้แต่การซ้ําซ้อนรูปแบบด้วยกันเอง ดังนั้น ถ้าเห็นสิ่งใดที่มีความซ้ําซ้อนของ ณัฐกร สงคราม | 87
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
รู ปแบบให้ ลองมองทั้ งมุ ม กว้ า งและแคบดู ก่ อ น เพราะอาจมีมุมถ่ายภาพอื่นๆ เพื่อเล่นรูปแบบมาก ขึ้ นอี ก อย่ างไรก็ ตาม ข้ อควรระวั งของการเรี ย ง ถ่ายภาพประเภทนี้ ก็คือ อย่าจัดภาพให้เกิดความ สับสนมากเกินไปจนอาจทําให้จุดเด่นของภาพลด ความเด่นลงไป เพราะแต่ละจุดอาจแย่งความสนใจ กันเอง ภาพที่ 7-7 การใช้รูปแบบมากกว่า 1 แบบ
4. พื้นผิว (Texture) วัตถุสิ่งของแต่ละอย่างจะมีผิวเรียบมัน หยาบ หรือมี ลวดลายและสีสันที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผิวของกระจกหรือผืนน้ําจะเรียบมัน เป็นเงา ผิวของหินหรือทรายจะหยาบขรุขระ ผิวของคนชราจะเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น การถ่ายภาพที่เน้นพื้นผิวนั้น นอกจากความสวยงามแล้วยังสามารถสร้างความรู้สึก แห่งการสัมผัสให้เกิดกับผู้ มองภาพได้ ซึ่งปกติ คนเราจะรั บรู้ ผ่านการสัมผัสวัตถุ สิ่งของนั้นๆ แต่สําหรับภาพถ่าย ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลจะทําให้สามารถ จินตนาการถึงรสสัมผัสได้แม้ไม่ได้สัมผัสจริงๆ ลักษณะของพื้นผิว จําแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) พื้นผิวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งหาได้จากสภาพแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเรา เช่น ใบไม้ เปลือกไม้ พื้นดิน ทราย ผิวน้ํา ก้อนเมฆ หรือแม้กระทั่งบน ร่างกายของคนเรา เช่น ผิวหนัง เส้นผม แววตา 2) พื้นผิวที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ทั้งที่สร้างด้วยมือเป็นหลัก เช่น การวาด ขีด เขียน แกะสลัก หรือการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ช่วย เช่น การทอ การพิมพ์ การพ่น การปั้ม นอกจากนี้ ช่างภาพยังสามารถสร้างพื้นผิวได้เอง โดยใช้ร่วมกับ “รูปแบบ” ซึ่งการซ้ําซ้อนของรูปแบบก่อให้เกิดพื้นผิวได้เช่นกัน โดยเฉพาะการซ้ําซ้อนที่เป็น 88 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
ระเบี ย บสามารถสร้ า งเป็ น ลวดลายบนพื้ น ผิ ว ของวั ต ถุ ห รื อ สิ่ ง ของที่ ส วยงาม แปลกตาได้ เ ป็ น อย่ า งดี เทคนิ ค การถ่ า ยภาพประเภทนี้ เน้ น การมองเห็ น รายละเอียดของพื้นผิว ลวดลาย และสีสันที่ชัดเจน ดังนั้น การตั้งช่องรับแสงแคบ เพื่อให้เกิดความชัดลึกจึงเป็นสิ่งจําเป็น
ภาพที่ 7-8 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบพื้นผิว
แต่หากจําเป็นต้องใช้ช่องรับแสงกว้าง (ชัดตื้น) ก็สามารถทําได้ เพียงแต่ ต้องเห็นรายละเอียดของพื้นผิวที่เป็นจุดสนใจของภาพได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ บ่อยครั้งที่การถ่ายภาพพื้นผิวมักจะใช้กับวัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น ลวดลายบนใบไม้ พื้นผิวของหยดน้ํา ซึ่งต้องใช้โหมดถ่ายภาพระยะใกล้ หรือเลนส์ถ่ายใกล้ (Macro) มาช่วย รวมทั้งขาตั้งกล้องก็เป็นสิ่งที่จําเป็นมากหากความไวชัตเตอร์ต่ําเกินไป ณัฐกร สงคราม | 89
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
สิ่งที่ควรคํานึงถึงอีกประการ ก็คือ ทิศทางของแสง ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่ทํา ให้พื้นผิวมีความเด่นชัดมากขึ้น พื้นผิวที่ไม่มีลักษณะความนูนหรือลึกมากนัก เช่น ลวดลายบนผ้าหรือใบไม้ ควรใช้แสงทิศทางตรงที่ส่องเข้าหาพื้นผิวไม่ว่าด้านหน้า หรือด้านหลังเพื่อให้เห็นความสว่างได้ทั่วถึงทั้งภาพ ในขณะที่แสงจากด้านข้างหรือ แสงเฉียงเหมาะสมกับพื้นผิวที่ขรุขระ มีลวดลายที่นูนลึกแตกต่างกัน เพราะทําให้ เกิดเงาของด้านที่ไม่โดนแสงสว่าง ช่วยให้ภาพถ่ายดูมีมิติ นอกจากนี้หากเป็นพื้นผิว แวววาว เช่น แก้ว ผิวน้ํา แสงสว่างจะทําให้มีแสงหรือเงาสะท้อน ก่อให้เกิดความ น่าสนใจได้ดี อย่างไรก็ตาม แทนที่จะเลือกนําเสนอพื้นผิวใดพื้นผิวหนึ่งเพียงอย่างเดียว การเลือกใช้พื้นผิวที่ต่างกันมาประกอบกันจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทําให้ภาพถ่าย นั้นดูเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น วัตถุที่มีผิวเรียบวางเด่นอยู่บนผิวขรุขระ สร้าง ความรู้สึกที่ขัดแย้งให้เกิดขึ้นและสะดุดตาผู้พบเห็นได้อย่างมากด้วย 5. ความสมดุล (Balance) ได้แก่ การจัดส่วนประกอบต่างๆ ที่ปรากฏใน ภาพเมื่อแบ่งภาพออกเป็นด้านซ้ายด้านขวาให้มีน้ําหนักเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ทั้งสองด้าน มองดูแล้วสมดุลไม่เอียงหรือหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง ความสมดุลนี้มัก ใช้ในการถ่ ายภาพประเภทวิ วทิ วทั ศน์ ที่ เห็ นแนวหรื อเส้นขอบฟ้ า รวมทั้ งภาพ สถาปัตยกรรม อาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่างภาพต้องระมัดระวัง เพราะหากเกิดความไม่สมดุลขึ้น จะทําให้ภาพนั้นลดคุณค่าลง แต่ก็ยกเว้นกรณีที่ ช่างภาพตั้งใจให้ภาพเอียงเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง หลักการถ่ายภาพ แบ่งความสมดุลออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ความสมดุลแบบปกติ (Formal or Symmetrical Balance) มักใช้ กั บ การถ่ า ยภาพด้ า นหน้ า ตรงหรื อ ขนานกั บ ตั ว แบบ และตั ว แบบนั้ น ก็ ค วรมี ลั ก ษณะทั้ ง สองด้ า นที่ เ หมื อ นกั น โดยช่ า งภาพต้ อ งวางตํ า แหน่ ง มุ ม ภาพให้ ส่ ว นประกอบในภาพเหมื อ นกั น ทั้ ง 2 ด้ า น (ครึ่ ง ซ้ า ย ครึ่ งขวา) ไม่ ว่ า จะเป็ น ตําแหน่ง ขนาด รูปแบบของวัตถุ น้ําหนักของสี รวมทั้งแสง เป็นต้น 90 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
ภาพที่ 7-9 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบความสมดุลแบบปกติ 2) ความสมดุลแบบไม่ปกติ (Informal or Asymmetrical Balance)
เป็นการจัดส่วนประกอบที่ตัวแบบมีรูปทรงและสัดส่วนไม่เหมือนกัน น้ําหนักสีไม่ เท่ากัน หรือพื้นผิวไม่เหมือนกันทั้งสองด้าน ซึ่งถ้าจะถ่ายมาด้านหน้าตรงก็อาจทําให้ ภาพขาดสมดุล ช่างภาพสามารถแก้ไขให้เกิดความรู้สึกสมดุลขึ้นมาได้โดยการมอง หาวัตถุที่ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่มีขนาดหรือรูปทรงใกล้เคียงกันมาวางไว้คนละข้าง
ภาพที่ 7-10 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบความสมดุลแบบไม่ปกติ
การแก้ไขเรื่องความสมดุล ยังสามารถใช้สีมาช่วย โดยเลือกส่วนที่มีน้ําหนัก สีที่คล้ายกันมาช่วยถ่วงแต่ละฝั่ง หรือแม้แต่การวางวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่มีสีอ่อน อยู่ด้านหนึ่ง แล้วใช้วัตถุขนาดเล็กแต่มีสีเข้มอยู่อีกด้านหนึ่งก็จะช่วยให้เกิดสมดุล ณัฐกร สงคราม | 91
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
กันได้ เพราะสีเข้มดูมีน้ําหนักกว่าสีอ่อน หากใช้สีอ่อนสีเข้มในปริมาณที่เท่ากันจะ กลายเป็นการไม่สมดุลแทน รวมทั้งการใช้สีโทนร้อน เช่น สีแดง สีส้ม ให้มีพื้นที่ น้อยกว่าสีโทนเย็น เช่น สีฟ้า หรือสีขาว ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ภาพเกิดความ สมดุลขึ้นได้ เช่นเดียวกับน้ําหนักหรือโทนสี การจัดให้พื้นผิวขรุขระมีบริเวณน้อยกว่า พื้ น ผิ ว เรี ย บก็ ทํ า ให้ ดู ส มดุ ล ได้ เพราะพื้ น ผิ ว ขรุ ข ระให้ ค วามรู้ สึ ก ของน้ํ า หนั ก มากกว่าพื้นผิวเรียบนั่นเอง นอกจากนี้ ยังอีกหลายเทคนิคที่นิยมใช้ เช่น การวาง ตําแหน่งของวัตถุที่มีขนาดใหญ่ให้อยู่ใกล้จุดกึ่งกลางภาพมากกว่าวัตถุอีกด้านหนึ่ง ที่ มี ขนาดเล็ กกว่ า เพื่ อ ให้ พื้ นที่ ว่ า งจากจุ ดกึ่ งกลางของวั ต ถุ ขนาดเล็ กช่ ว ยถ่ ว ง น้ําหนักของวัตถุขนาดใหญ่ นั่นเอง หรื อ เหลือ พื้นที่ว่ า ง ในด้ า นที่ วั ต ถุ ห รื อ ตั ว แบบ หันหน้ า หรื อ กํา ลั งเคลื่อ นที่ ไปให้มากกว่าอีกด้าน
ภาพที่ 7-11 การถ่วงน้ําหนักเพื่อให้เกิดความสมดุลแบบไม่ปกติ
นอกจากการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์และสถาปัตยกรรมแล้ว หลักความสมดุลนี้ ยังสามารถนําไปใช้กับการถ่ายภาพบุคคลทั้งเดี่ยวและหมู่ โดยภาพเดี่ยวถ้าเป็น การถ่ายหน้าตรงแบบติดบัตรจะต้องวางตําแหน่งศีรษะให้สมดุล หรือถ้าฉากหลัง เป็นวิวทิวทัศน์ช่างภาพก็ต้องระวังไม่ให้ฉากหลังเอียง ส่วนภาพหมู่นอกจากระวัง ฉากหลังแล้ว ต้องพยายามจัดแบ่งจํานวนคนให้เท่าๆ กันทั้ง 2 ข้าง หากฝั่งใดฝั่ง หนึ่งไม่สมดุลกันก็ต้องโยกย้ายตําแหน่ง กระจายคนตัวสูง ตัวเตี้ย ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ให้สมดุล หรือหากมีคนอ้วนอยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งก็ควรถ่วงอีกฝั่งด้วยคนที่ตัวเล็กกว่า เป็น 2 เท่า 92 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
6. กรอบ (Frame) การนําภาพถ่ายที่อัดลงกระดาษมาใส่กรอบติดผนัง วาง ไว้ในตู้โชว์หรือตั้งบนโต๊ะ นอกจากเป็นการป้องกันภาพถ่ายแล้ว กรอบยังทําหน้าที่ แยกภาพถ่ายออกจากพื้นที่รอบๆ ทําให้ภาพดูโดดเด่นขึ้น ปราศจากการรบกวนจาก สีหรือลวดลายพื้นผิวของสิ่งรอบข้าง เพราะหากนําภาพไปติดบนผนังเลยโดยไม่ใส่ กรอบ ภาพถ่ายใบนั้นอาจถูกกลืนไปกับผนังหรือโดนผนังแย่งความเด่นไป
ภาพที่ 7-12 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบกรอบ
การใส่กรอบ (Frame) ในแนวคิดของการจัดองค์ประกอบภาพ เป็นการใส่ ตั้ งแต่ ตอนถ่ า ยภาพ โดยการนํ า สิ่ งใดสิ่ งหนึ่ ง ไม่ ว่ า จะเป็ นรู ปร่ า ง ลั กษณะเส้ น ลวดลาย หรือแม้แต่แสง มาทําให้เกิดเป็นกรอบภาพ ซึ่งช่วยให้ตัวแบบหรือวัตถุ สถานที่ ที่ เ ป็ น จุ ด สนใจของภาพ น่ า ดู น่ า สนใจยิ่ ง ขึ้ น เช่ น การถ่ า ยภาพผ่ า น หน้าต่างโบสถ์เข้าไปเห็นพระพุทธรูป การถ่ายภาพสามเณรกําลังกวาดลานวัดโดย ถ่ายจากข้างในโบสถ์ให้ประตูโบสถ์เป็นกรอบ การถ่ายภาพที่ใช้อุโมงค์ต้นไม้เป็น กรอบเพื่อเพิ่มความเด่นให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินอยู่ตรงกลาง หรือการถ่ายภาพ นักแสดงบนเวทีที่โดนไฟลําแสงส่องแล้วใช้พื้นที่มืดรอบๆ ที่ไม่โดนแสงสว่างเป็น กรอบดําของภาพ การใส่กรอบลงไปในภาพ จึงเป็นเหมือนการบังคับให้สายตา ของผู้ดูอยู่ในบริเวณที่กําหนด เพื่อเน้นให้สิ่งที่อยู่ภายในกรอบดูเด่นขึ้น ช่วยให้ ภาพมีคุณค่า มีมิติ มีเรื่องราวมากขึ้น ณัฐกร สงคราม | 93
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
ภาพที่ 7-13 การใช้ความมืดเป็นกรอบภาพ
การถ่ายภาพลักษณะนี้ใช้กับภาพได้หลากหลายประเภทโดยเฉพาะภาพ ทิวทัศน์และภาพบุคคล การปรับตั้งค่าที่กล้องใช้ขนาดช่องรับแสงแคบเพื่อให้ภาพ มี ค วามชั ดลึ ก ทั้ ง ส่ ว นที่ เ ป็ น กรอบและส่ ว นที่ เ ป็ นจุ ด สนใจ สิ่ งสํ า คั ญ ขึ้ นอยู่ กั บ มุมมองของช่างภาพว่าจะใช้อะไรมาสร้างเป็นกรอบภาพ แต่ต้องระวังอย่ามัวแต่ มุ่งความสนใจไปที่กรอบอย่างเดียวจนเผลอให้กรอบภาพทับส่วนสําคัญของสิ่งที่ เป็นจุดสนใจภายใน อีกสิ่งที่ต้องระวังคือความสมดุลและการเอียงของกรอบภาพ นอกจากนี้หากใช้เทคนิคการถ่ายแบบรูปร่างหรือเงาดําเป็นกรอบภาพก็ต้องระวัง การวัดแสงที่อาจทําให้จุดสนใจมีสภาพแสงที่ไม่พอดีได้ เพราะหากกรอบภาพมี ขนาดใหญ่ ห รื อ ใช้ พื้ น ที่ ใ นภาพมาก ระบบวั ด แสงทั่ ว ไปอาจคํ า นวณว่ า กํ า ลั ง ถ่ายภาพในที่แสงน้อย และกําหนดค่าความไวชัตเตอร์และช่องรับแสงให้เปิดรับ แสงมากขึ้น ทําให้แทนที่จุดสนใจตรงกลางจะได้แสงพอดี (Normal) กลับได้แสงที่ สว่างเกิน (Over) แทน 7. น้ําหนักสี (Tone) น้ําหนักสีหรือโทนสีในทางศิลปะจําแนกตามวงล้อ ของสีออกเป็น 2 วรรณะ คือ สีโทนร้อน (Warm Tone) ซึ่งประกอบด้วย 94 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีม่วงแดง และสีโทนเย็น (Cool Tone) ประกอบด้วย สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ําเงิน สีม่วงน้ําเงิน (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ) ในการถ่ายภาพสามารถเลือกใช้โทนสีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพื่อทําให้ภาพดู กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเพื่อเน้นจุดสนใจโดยใช้โทนสีวรรณะตรง ข้ามกัน เช่น ดอกไม้สีแดงท่ามกลางใบไม้สีเขียว นกสีเหลืองบินอยู่บนท้องฟ้า สีคราม
ภาพที่ 7-14 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบน้ําหนักสี
นอกจากนี้ในทางจิตวิทยา น้ําหนักสีแต่ละโทนยังช่วยสื่อถึงอารมณ์หรือ ความรู้สึกได้ สีโทนร้อนให้ความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ส่วนสีโทนเย็น ให้ความรู้สึกสงบ สบาย สดชื่น และถ้าแยกออกเป็นสีต่างๆ สีแต่ละสีก็สามารถสื่อ ความรู้สึกที่แตกต่างกันได้ เช่น สีแดงให้ความรู้สึกรุนแรง กระตุ้น สีเหลืองให้ ความรู้สึกความสดใหม่ สุกสว่าง สีเขียวให้ความรู้สึกร่มรื่น ร่มเย็น สีน้ําเงินให้ ความรู้สึกสุขุม ลุ่มลึก สีน้ําตาลให้ความรู้สึกเก่า หนัก สีม่วงให้ความรู้สึกหรูหรา มี เสน่ห์ สีขาวให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด สีดําให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ สีเทาให้ ความรู้สึกเศร้า อาลัย สีทองให้ความรู้สึกสูงค่า รุ่งเรือง การถ่ายภาพยังให้ความสนใจกับน้ําหนักสีในเรื่องความมืดหรือความสว่าง ซึ่งเกิดจากการรับแสงสว่างที่ไม่เท่ากัน ส่วนใดรับแสงมากก็จะสว่าง ส่วนใดไม่ โดนแสงก็จะเป็นเงามืด น้ําหนักของสีที่แตกต่างกันจะทําให้เห็นรูปทรง รูปร่าง ณัฐกร สงคราม | 95
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
ของสิ่งนั้น และสร้างมิติความลึกให้กับภาพ เช่น ภาพทิวทัศน์ภูเขาที่สลับซับซ้อน ภูเ ขาที ่อ ยู ่ใ กล้จ ะมีส ีเ ข้ม ในขณะลูก ที ่ไ กลออกไปสีจ ะค่อ ยอ่อ นจางลงไป ตามลําดับ สามารถสื่อระยะใกล้ไกลได้และเห็นรูปทรงหรือรูปร่างของทิวเขาได้ อย่างชัดเจน น้ําหนักสีมืดหรือสว่างนี้ ในการถ่ายภาพจําแนกออกแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ภาพโทนสีสว่างขาวหรือไฮคีย์ (High Key) คือ ภาพถ่ายที่บริเวณส่วนใหญ่ ของภาพมีน้ําหนักของสีสว่างหรือสีขาวทั่วทั้งภาพ และภาพโทนสีมืดเข้มหรือ โลว์คีย์ (Low Key) คือ ภาพถ่ายที่บริเวณส่วนใหญ่ของภาพมีน้ําหนักของสีมืด มากหรือสีดําทั่วทั้งภาพ หลักการถ่ายภาพแนวไฮคีย์และโลว์คีย์ ไม่ใช่แค่การถ่ายภาพแบบ Over หรือ Under แต่ตามหลักการที่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ Over หรือ Under ได้คือแสง ของบริเวณรอบข้างหรือส่วนที่เป็นฉากหลังเท่านั้น บุคคลที่เป็นแบบหรือสิ่งที่ เป็นจุดสนใจของภาพต้องได้รับแสงที่พอดี (Normal) แต่ก็ไม่ควรถ่ายให้ Over หรือ Under จนดูไม่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะการถ่ายในสภาพแวดล้อมที่มี รายละเอียดของบริเวณรอบข้างหรือฉากหลัง ต้องระวังสภาพแสงโดยรวมให้ เหมาะสมด้วย
ภาพที่ 7-15 ตัวอย่างน้ําหนักสีแบบไฮคีย์และโลว์คีย์ 96 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
8. ฉากหน้า ฉากหลัง (Foreground and Background) “ฉากหน้า” และ “ฉากหลัง” เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อสร้างความสวยงามและความ น่าสนใจให้กับภาพ ช่างภาพที่ดีจะต้องเลือกฉากหน้าและฉากหลังที่เหมาะสม ในทางตรงข้ามการเลือกฉากหน้าและฉากหลังที่ไม่เหมาะสม อาจทําให้ความ สวยงามหรือคุณค่าของภาพเสียไปได้เช่นเดียวกัน ฉากหน้า (Foreground) หมายถึง ส่วนประกอบในภาพที่อยู่ด้านหน้าตัว แบบหรือวัตถุ สถานที่ที่เป็นจุดสนใจหลักของภาพ เช่น กิ่งไม้ ยอดหญ้า โขดหิน หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้อง ฉากหน้าช่วยให้เกิดมิติของภาพ แสดงระยะใกล้ ไกล และยังช่วยถ่วงน้ําหนักภาพให้สมดุล นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มากมาย เช่น สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับภาพ ไม่ให้ภาพมีพื้นที่ว่างเกินไป หรือช่วยบังสิ่งที่ไม่ สวยงามออกไป เช่ น กองขยะบนพื้ น ท้ อ งฟ้ า ที่ ไ ม่ ส วยงาม และยั ง ช่ ว ยเสริ ม เรื่องราวในภาพให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาพที่ 7-16 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบฉากหน้า
ฉากหลัง (Background) หมายถึง ส่วนประกอบในภาพที่อยู่ด้านหลังตัว แบบหรือวัตถุ สถานที่ที่เป็นจุดสนใจหลักของภาพ ช่างภาพที่ดีต้องให้ความสําคัญ ณัฐกร สงคราม | 97
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
กับฉากหลังก่อนจะถ่ายภาพทุกครั้ง ไม่ใช่ดูแต่ความพร้อมของตัวแบบ เพราะฉาก หลังที่ดีควรจะเสริมให้ตัวแบบในภาพโดดเด่น น่าสนใจ สอดคล้องกับเรื่องราว
ภาพที่ 7-17 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบฉากหลัง
ฉากหลังที่รกรุงรัง มีลวดลาย หรือสีกลืนกับตัวแบบจนเกินไป จะลดความ เด่นของตัวแบบลงและอาจทําให้รายละเอียดของภาพไขว้เขวออกไป เช่น การ ถ่ายภาพบุคคล หากมีฉากหลังเป็นต้นไม้ กิ่งไม้ เสาไฟ โผล่ออกมาจากบริเวณ ศีรษะหรือด้านหลังตัวแบบก็จะส่งผลกระทบต่อการมองใบหน้าหรือรูปร่างของตัว แบบและทําให้ความสวยงามของภาพลดไป ฉะนั้น จึงควรเลือกฉากหลังที่เรียบๆ มีโทนสีตัดกับสีของตัวแบบหลักแต่ก็ไม่จําเป็นต้องตัดกันจนมากเกินไปแค่สีไม่ กลืนกับตั วแบบมากนักก็ใช้ได้ อย่า งไรก็ตาม หากกรณีที่ ต้องการให้เ กิดความ กลมกลืนตามแนวคิดของการใช้น้ําหนักสีหรือโทนสีเดียวกัน เงื่อนไขที่สีฉากหลัง ต้องตัดกันนี้ก็ได้รับการยกเว้น ฉากหน้ านิ ยมใช้ในการถ่า ยภาพทิว ทัศ น์ และภาพบุ คคล ส่ว นฉากหลั ง มักจะใช้กับการถ่ายภาพแทบทุกประเภท ซึ่งหลักการสําคัญที่ได้กล่าวไปแล้วก็คือ สิ่งที่เป็นฉากหน้าหรือฉากหลังนั้นจะต้องไม่เด่นไปกว่าสิ่งที่เป็นตัวแบบหลักใน ภาพเป็นเด็ดขาด 98 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
ด้วยหลักการนี้ ช่างภาพจึงต้องพยายามเลือกมุมที่มีฉากหน้าหรือฉากหลัง ที่ดีที่สุด โดยเลื่อนหามุมกล้องให้อยู่ในตําแหน่งที่เหมาะสม หากตําแหน่งของ ฉากหน้าทําให้ภาพดูเอียงหรือไปบังส่วนประกอบที่สําคัญของตัวแบบหลัก ก็ต้อง ขยับตําแหน่งใหม่เพื่อให้เกิดความสมดุลหรือไม่บัง หรือหากฉากหลังมีส่วนเกิน โผล่เข้ามา เช่น กิ่งไม้ หรือสีที่กลืนกันเกินไป ก็ควรเปลี่ยนมุมกล้องไปทางซ้าย ขวา หรือ เข้า ใกล้ ถอยห่า งเพื ่อ ให้พ ้น ไปจากสิ ่ง รบกวนเหล่า นี ้ ถ้า เป็น การ ถ่ายภาพบุคคลก็อาจให้ตัวแบบขยับหรือยืนห่างออกมาจากฉากหลังมากขึ้น แต่ ถ้าหากไม่สามารถจัดได้ตามต้องการ ก็ต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพวัตถุให้มีความ ชัดตื้น โดยเน้นระยะชัดเฉพาะตัวแบบในภาพเป็นหลัก และปล่อยให้ฉากหน้า หรือฉากหลังอยู่นอกระยะชัดด้วยการเปิดช่องรับแสงกว้าง หรือไม่ก็ให้ฉากหน้า อยู่ใกล้กล้องมากๆ จนเกินระยะโฟกัส เพื่อให้ฉากหน้าเบลอในขณะที่ตัวแบบ เด่นชัด ส่วนฉากหลังก็นิยมให้เบลอเช่นเดียวกัน ยกเว้นในบางกรณีที่ฉากหลังไม่ มีลวดลายรบกวนสายตา เช่น ท้องฟ้า ก้อนเมฆ สายน้ํา สนามหญ้า ก็อาจปล่อย ให้มีความคมชัดได้ 9. กฎสามส่วน (Rule of Thirds) นับเป็นองค์ประกอบสําคัญที่ช่างภาพ นิยมใช้ในการถ่ายภาพ เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางตําแหน่งของสิ่งของ วัตถุ สถานที่ ที่เป็นจุดสนใจหลักของภาพ คําว่า “สามส่วน” หมายถึง การแบ่งพื้นที่ของภาพที่มองเห็นออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กันในแนวนอนโดยใช้เส้นตรงแนวนอนคั่น 2 เส้น และแบ่งพื้นที่อีก 3 ส่วนเท่าๆ กันในแนวตั้งโดยใช้เส้นตรงแนวตั้งอีก 2 เส้นคั่นเช่นเดียวกัน ผลจาก การมีเส้นแบ่งทั้งแนวนอนและแนวตั้งจะทําให้พื้นที่ทั้งหมดของภาพมีลักษณะ เป็น เหมือ นตาราง 9 ช่อ ง และเกิด จุด ตัด 4 จุด ที่เ ส้น แบ่ง มาตัด กัน ซึ่ง ก็ค ือ ตําแหน่งที่ควรวางสิ่งสําคัญหรือจุดสนใจของภาพไว้ เพราะเป็นตําแหน่งที่เด่น กว่าตําแหน่งอื่นๆ แม้แต่ตรงกลางภาพ โดยการเลือกวางตําแหน่งของจุดสนใจ นั้น ให้พิจารณาตามความเหมาะสมว่า ควรวางไว้ในตําแหน่งใด อาจดูจากทิศ ณัฐกร สงคราม | 99
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
ทางการเคลื่อนไหวของตัวแบบหรือการเว้นช่องว่าง แต่ก็ควรเลือกใช้เพียงจุดใด จุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุด
ภาพที่ 7-18 การแบ่งพื้นที่ของภาพตามกฎสามส่วน
การเลือ กวางตํา แหน่งของจุดสนใจนั้น ควรเลือ กใช้เ พีย งจุดใดจุดหนึ่ง เท่านั้นใน 4 จุด หรือหากจําเป็นต้องใช้มากกว่า 1 จุด ก็เต็มที่ได้ไม่เกิน 2 จุด เท่านั้น เพื่อไม่ให้แย่งความสนใจกัน เช่น ภาพใบหน้าของหญิงสาวบริเวณซ้าย บนซึ่งเป็นจุดสนใจสําคัญกําลังดมช่อดอกไม้ในมือบริเวณขวาล่างซึ่งเป็นจุดสําคัญ รองลงมา เพื ่อ ให้ภ าพมี ความสมบูรณ์ จึงควรให้ช่อ ดอกไม้อ ยู ่ใ นบริเ วณจุด ตัด กัน อีก จุด หนึ ่ง ทํ า ให้เ กิด ความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งการ มองและดอกไม้
ภาพที่ 7-19 ตัวอย่างการวางจุดสนใจของภาพตามกฎสามส่วน 100 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
มีการวิจัยเกี่ยวกับการมองเห็นของคนเราว่าในจุดตัดทั้ง 4 จุดนั้น จุดไหนที่มีคนเห็นก่อน ผลการวิจัยพบว่า จุดซ้ายบนเป็นจุดที่คนเห็นก่อนมาก ที่สุด (41%) รองลงมาคือจุดซ้ายล่าง (25%) จุดขวาบน (21%) และจุดขวาล่าง (14%) ตามลําดับ แม้ตามหลักการถ่ายภาพด้วยกฎ 3 ส่วนไม่ได้ระบุว่าต้องวาง จุดสนใจไว้ตําแหน่งบนซ้ายก่อน แต่หากช่างภาพต้องการให้คนทั่วไปมองเห็น สิ่งใดก่อน ก็สามารถนําผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ได้
ภาพที่ 7-20 ซ้ายบนคือตําแหน่งที่คนทั่วไปมองเห็นก่อนตําแหน่งอื่น
10. ช่องว่าง (Space) เป็นองค์ประกอบที่มักใช้ร่วมกับกฎสามส่วน หลักการเกี่ยวกับช่องว่าง คือ การเว้นพื้นที่ว่างบริเวณรอบข้างให้กับจุดสนใจ เช่น ภาพถ่ายบุคคลหน้าตรงติดบัตรที่ต้องเหลือพื้นที่ด้านบนและด้านข้างของตัวแบบ เพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัดเสมือนบุคคลในภาพถูกบีบอัดอยู่ในกรอบ แต่หากบุคคลไม่ได้ หันหน้าตรงแต่กําลังเบี่ยงหน้าเบี่ยงตัว หันข้าง โดยที่ตาอาจจะมองกล้องหรือมอง ไปทางอื่นก็ได้ รวมทั้งมีท่าทางเหมือนกําลังเคลื่อนที่ เช่น การเดิน การวิ่ง ในกรณี นี้การเว้นช่องว่างด้านข้างต้องไม่เท่ากัน โดยเว้นพื้นที่ด้านที่ตัวแบบหันหน้าหรือ อยู่ในทิ ศทางที่ จะไปให้มากกว่า สรุ ปง่ายๆ ก็คือ เว้นพื้นที่ด้านหน้าให้ม ากกว่ า ด้านหลังนั่นเอง หรือถ้าเงยหน้าหรือก้มหน้าด้วยก็เว้นพื้นที่ด้านที่เงยหรือก้มให้ มากกว่าอีกด้านควบคู่กันไปด้วย ณัฐกร สงคราม | 101
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
หลัก การนี้นํา ไปใช้กับ การเคลื่อ นที่ข องวัตถุหรือ สิ่ง อื่นๆ ที่ไ ม่ใ ช่บุค คล ด้วย เช่น เว้นที่ด้านหน้าที่เรือกําลังแล่นไป หรือเว้นที่ด้านล่างตามทิศทางที่นก กําลังบินโฉบลงมาจับปลา ในบางกรณีแม้วัตถุจะอยู่กับที่แต่มีการตั้งวางที่เอียง หรือ บางส่ว นเคลื่อนไหว เช่น เรือที่จอดเกยตื้นเอีย งบนชายฝั่ง เสาธงที่ผืนธง ชาติปลิวสะบัดไปตามทิศทางลม เช่นนี้ก็ต้องเหลือพื้นที่ด้านที่เอียงไปหรือลม พัดไปให้มากกว่าอีกด้านเช่นเดียวกัน หรือถ้าในภาพมีการซ้ําซ้อนของตัวแบบที่ มีทิศทางเหมือนกัน ก็ให้พิจารณาเลือกเว้นช่องว่างให้กับตัวแบบที่เด่นชัดที่สุด เพียงจุดเดียว
ภาพที่ 7-21 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบช่องว่าง
102 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
11. เส้น (Line) และความลึก (Perspective) “เส้น” เกิดจากการเรียงตัว ต่อเนื่องกันของจุด (Dot) ตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปจนมองเห็นเป็นเส้น ช่างภาพนิยมใช้ เส้ นเพื่ อ สร้ า งความแปลกใหม่ ดึงดู ดความสนใจให้ กับภาพ นอกจากนี้เ ส้น ยัง สามารถทําให้ภาพเกิดการเคลื่อนไหว (Dynamic) หรือการสงบนิ่งอยู่กับที่ได้ และช่างภาพยังนิยมใช้เส้นเพื่อนําสายตาสู่เป้าหมายหรือจุดสนใจของภาพ หรือ ที่เรียกว่าเกิด “ความลึก” เช่น การใช้แนวพุ่มไม้ แนวสะพาน แนวถนน เป็น เส้นนําสายตาผู้ชมไปสู่ภูเขา คน หรือบ้านเรือน การใช้แนวกําแพงวัด เป็นเส้น นํา สายตาไปสู่พ ระหรือ เณรที่กํา ลัง กวาดลานวัด ซึ่ง ลัก ษณะเส้น ที่ใ ช้ใ นการ ถ่ายภาพ มีดังนี้ 11.1 เส้น แนวนอน แสดงถึง ความรู ้ส ึก ที ่ส งบนิ ่ง ราบเรีย บ เคลื่อนไหวช้าและมั่นคง ตําแหน่งของเส้นแนวนอนไม่นิยมวางไว้ตรงกลางภาพ ตามหลักของกฎ 3 ส่วน โดยควรวางเส้นให้อยู่สูงหรือต่ํากว่าระดับกลางภาพ และหากมีบุคคลรวมอยู่ในภาพด้วย พยายามหลีกเลียงไม่ให้มีเส้นแนวนอนอยู่ ระดับคอหรือพาดผ่านศีรษะอย่างชัดเจน
ภาพที่ 7-22 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบเส้นแนวนอน ณัฐกร สงคราม | 103
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
11.2 เส้นแนวตั้ง มักจะเห็นในการถ่ายภาพตึก อาคารสถานที่ ต้นไม้ขนาด ใหญ่ รวมทั้ ง เส้ น ถนนหนทาง นิ ย มใช้ กั บ การถ่ า ยภาพมุ ม ต่ํ า เพื่ อ สื่ อ ถึ ง ความ แข็งแรง มั่นคง สง่างามของจุดสนใจในภาพ แต่ถ้านําไปใช้ร่วมกับคนก็ต้องระวัง ไม่ให้พาดผ่านศีรษะอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับเส้นแนวนอน
ภาพที่ 7-23 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบเส้นแนวตั้ง
11.3 เส้ นเฉี ย งและเส้ นซิ ก แซก ในการถ่ า ยภาพสิ่ งที่ เ ป็ นแนวยาว เช่ น ทางเดิน สายน้ํา แนวต้นไม้ รั้ว สะพาน บันได หากถ่ายภาพเส้นตามแนวตั้งหรือ แนวนอนธรรมดาอาจจะทําให้ภาพดูแบน ขาดมิติ ธรรมดาและไม่น่าสนใจ แต่ หากถ่ายภาพในมุมที่มีเส้นเฉียงหรือตั้งกล้องให้เอียงจะได้ภาพมีลักษณะเส้นทแยง มุมหรือเส้นซิกแซกเกิดขึ้น ทําให้เกิดเส้นนําสายตาและเห็นความลึกของภาพได้ ดีกว่าเส้นแนวนอนและแนวตั้ง ช่วยให้ภาพสวยงามมากขึ้น และยังสามารถสื่อถึง การเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว รุนแรงได้ดี 104 | Photography: Technique and Implementation for Communications
การจัดองคประกอบในการถายภาพ|
ภาพที่ 7-24 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบเส้นเฉียงและเส้นซิกแซก
11.3 เส้นโค้งและเส้นตัวเอส (S) เส้นโค้งแสดงถึงความอ่อนโยน อ่อนช้อย นุ่มนวล ร่าเริง สนุกสนาน และมีความงดงามประกอบกันไป เช่น ถนน หนทาง ลํา คลองแม่น้ําที่ ค ดเคี้ย ว โดยเฉพาะเส้นโค้งที่เ ป็นรูปตั วเอสเป็ นสิ่ งที่ ช่างภาพมักจะเลือกใช้นํามาเป็นเส้นนําสายตาเพื่อให้ภาพถ่ายสวยงามมากขึ้น เนื่องจากเส้นลักษณะนี้ดูแล้วรู้สึกสบายตากว่าเส้นตรง
ภาพที่ 7-25 ตัวอย่างองค์ประกอบแบบเส้นโค้งและเส้นตัวเอส ณัฐกร สงคราม | 105
การถายภาพ | เทคนิคและการนําไปใชเพื่อการสื่อสาร
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สามารถนํามาใช้เป็นแนวทาง ในการเลือกและจัดมุมมองในการถ่ายภาพ ภาพหนึ่งภาพสามารถมีองค์ประกอบ ได้มากกว่า 1 อย่าง เพื่อให้เรื่องราวของภาพถ่ายมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในขณะที่ บางภาพใช้องค์ประกอบเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็กลายเป็นภาพที่มีความสวยงาม เพียงพอแล้ว ฉะนั้น ช่างภาพที่ดีต้องเข้าใจและสามารถเลือกใช้องค์ประกอบ ต่างๆ ในการถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสมและลงตัว
106 | Photography: Technique and Implementation for Communications