การถ่ายภาพพืช ดอกไม้ และแมลง

Page 1

การถ่ายภาพพืช ดอกไม้ และแมลง|

บทที่ 8 การถ่ายภาพพืช ดอกไม้ และแมลง การถ่ายภาพพืช ดอกไม้ และแมลงซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กเป็นประเภท ของภาพถ่ายที่ถูกนามาใช้ในงานด้านการผลิตสื่อบ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะใช้เพื่อความ สวยงามแล้ว ภาพประเภทนี้ยังจาเป็นต่อการใช้ประกอบการนาเสนอข้อมูลความรู้ทั้ง ทางด้านพฤกษศาสตร์และกีฏวิทยา ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนกว่าข้อมูลที่ เป็นตัวอักษรเพียงอย่างเดียว ในบทนี้จะกล่าวถึงเทคนิคที่จะขจัดปัญหาที่สาคัญนั่นก็ คือเรื่องของความชัดเนื่องจากเป็นการถ่ายวัตถุขนาดเล็ก และวิธีการสร้างความโดด เด่นให้กับพืช ดอกไม้ หรือแมลงที่ถ่ายเพื่อให้น่าสนใจและผู้ดูสามารถเห็นรายละเอียด ได้อย่างชัดเจน เทคนิคการถ่ายภาพพืช ดอกไม้ และแมลง การถ่ายภาพพืชและดอกไม้ นั้น เวลาที่เ หมาะสมคือช่วงเช้าเพราะพืชหรือ ดอกไม้จะสดชื่น มีน้าค้างเกาะ แต่หากใบไม้หรือดอกไม้แห้งเกินไป ควรเพิ่มความชุ่ม ชื้นให้ดอกไม้โดยการใช้น้าฉีดไปบนกลีบดอก หรือใช้โฟว์กราวด์ช่วยเพื่อให้ภาพดู นุ่มนวลขึ้น ในเรื่องของทิศทางแสง หากพืชหรือดอกไม้นั้นมีใบหรือกลีบหนาควรให้ แสงส่องมาด้านข้าง แต่ถ้าใบหรือกลีบบางควรให้แสงส่องมาด้านหลังของใบไม้หรือ ดอกไม้เพื่อจะได้เห็นเส้นใยที่อยู่ภายในกลีบดอก

ภาพที่ 8-1 ตัวอย่างการถ่ายภาพดอกไม้

ณัฐกร สงคราม | 71


การถ่ายภาพ | เทคนิคและการนาไปใช้เพื่อการสื่อสาร

การจัดองค์ประกอบของภาพนั้น หากเป็นดอกไม้ควรเน้นดอกไม้เพียง 1-2 ดอก และถ่ายในลักษณะชัดตื้นเพื่อให้ลอยเด่นออกมาจากฉากหลัง โดยควรถ่ายให้ มองเห็นเกสรของดอกไม้ และหากรอจังหวะที่มีแมลงมาตอมที่เกสรจะช่วยให้ภาพมี เรื่องราวและสวยงามขึ้น ช่างภาพอาจหาน้าหวานหรือน้าผึ้งมาหยอดเพื่อล่อให้แมลง บินมาตอมดอกไม้ที่ต้องการ ส่วนการถ่ายภาพแมลงควรโฟกัสที่ตาของแมลง แต่หาก ต้องการถ่ายเพื่อให้เห็นลายละเอียด ของแมลงทั้ งหมด ควรเลื อ กมุ ม ถ่ายภาพในลักษณะที่ขนาดกับลาตัว ของแมลงเพื่อให้เห็นลายละเอียดได้ ทั่วทั้งลาตัว

ภาพที่ 8-2 ผีเสื้อกับดอกไม้ช่วยให้ภาพน่าสนใจขึ้น

การถ่ายพืชที่มีขนาดใหญ่หรือถ่ายทั้งต้นปัญหาเรื่องการโฟกัสเบลอจะน้อย แต่ หากถ่ายเฉพาะบางส่วนเช่น ใบ ผล ดอก หรือถ่ายแมลงซึ่งมีขนาดเล็กต้องระวังใน เรื่องของความชัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายภาพด้วยโหมดถ่ายระยะใกล้ ซึ่งใช้ เลนส์มาโคร (Macro) หรือ เลนส์ Close-up (ในกรณีของกล้องฟิล์ม หากไม่มี เลนส์สาหรับถ่ายระยะใกล้ ก็สามารถใช้เทคนิคกลับเลนส์ถ่ายได้) ต้องระวังเรื่องของ การหลุดโฟกัสให้ดี เพราะมีช่วงความชัดลึกน้อย ทางที่ดีควรใช้ขาตั้งกล้องในการถ่าย และใช้การโฟกัสระบบแมนนวลจะดีกว่า พร้อมทั้งตั้งช่องรับแสงที่แคบๆ ไว้เพื่อให้ ภาพมีความชัดลึกมากขึ้น

ภาพที่ 8-3 ตัวอย่างการถ่ายภาพแมลง 72 | PHOTOGRAPHY FOR COMMUNICATIONS


การถ่ายภาพพืช ดอกไม้ และแมลง| ในกรณีที่เจอปัญหาของวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมาหรือลมที่พัดทาให้วัตถุนั้นๆ ไม่ อยู่นิ่ง สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องเพื่อให้กล้องบันทึกภาพ หลายภาพเผื่อไว้ หรือการตั้งระบบการโฟกัสเป็นการแบบติดตามวัตถุ ซึ่งจะช่วยให้ เราถ่ายภายวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาได้ง่ายขึ้น แต่หลายครั้งอาจพบปัญหากล้อง โฟกัสตามไม่ทันเมื่อใช้ระบบโฟกัสภาพติดตามวัตถุ เป็นเพราะช่วงการหมุนของเลนส์ มาโครมีช่วงกว้าง และการเสียแสงทาให้ประสิทธิภาพในการโฟกัสลดลงไป ทางแก้ก็ คือประเมินสภาพแสงก่อนถ้าอยู่ในแสงน้อยให้ทดลองโฟกัสดู ถ้ากล้องโฟกัสภาพตาม ไม่ทัน ต้องเลือกใช้วิธีอื่น หรือไม่ก็เลือกถ่ายภาพในทิศทางการเคลื่อนไหวด้านที่มีการ เปลี่ยนแปลงระยะโฟกัสน้อยที่สุด เช่น การเคลื่อนไหวที่ขนานกับกล้อง (ซ้ายขวา) จะ มีการเปลี่ยนแปลงระยะชัดได้น้อยกว่าการเคลื่อนไหวที่เข้าใกล้และถอยห่างจากกล้อง เป็นต้น

ภาพที่ 8-4 การถ่ายภาพแมลงที่เคลื่อนไหว

การควบคุมแสงและฉากหลัง ฉากหลังเป็นสิ่งสาคัญที่สุดในการสร้างความสวยงามและความโดดเด่นให้พืช หรือดอกไม้ ช่างภาพควรเลือกมุมที่ฉ ากหลังมีสีอ่อนหรือเข้มตรงข้ามกับสีของพืช หรือดอกไม้ ในกรณีที่ไม่สามารถเลือกมุมที่ฉ ากหลังที่เรียบง่ายไม่รกรุงรังได้ ช่างภาพอาจเตรียมกระดาษแข็งสีต่างๆ ที่ต้องการไปวางไว้ด้านหลังเพื่อให้ได้ฉากสีที่ ต้องการก็ได้ ณัฐกร สงคราม | 73


การถ่ายภาพ | เทคนิคและการนาไปใช้เพื่อการสื่อสาร

ภาพที่ 8-5 ฉากหลังควรเสริมดอกไม้ให้เด่นชัด

อีกวีธีที่จะสามารถควบคุมฉากหลังได้ก็คือการใช้แสงควบคุม โดยสภาพแสง ของพืชหรือดอกไม้กับแสงของฉากหลังควรต่างกัน แสงที่พืชหรือดอกไม้ควรสว่าง กว่าฉากหลังมากๆ เริ่มจากการเลือกมุมที่พืชหรือดอกไม้ อยู่ในที่สว่างหรือโดน แสงแดด จากนั้นหมุนกล้องเพื่อให้มองเห็นฉากหลังอยู่ในส่วนที่มืดกว่าหรือไม่โดน แสงแดด แล้วลองถ่ายภาพดู หากแสงที่พืชหรือดอกไม้สว่างเกินไปหรือไม่เด่นจาก ฉากหลังมากนัก ให้ตั้งค่าแสงให้อันเดอร์ลงประมาณ 1-2 สต็อป ผลที่ได้จะทาให้ได้ ภาพพืชหรือดอกไม้ที่สีสันชัดเจนและเด่นอยู่บนฉากหลังที่ดามืดขึ้น

ภาพที่ 8-6 การตั้งค่าแสงให้อันเดอร์ลงจะช่วยให้ดอกไม้เด่นขึ้นกว่าฉากหลัง 74 | PHOTOGRAPHY FOR COMMUNICATIONS


การถ่ายภาพพืช ดอกไม้ และแมลง| นอกจากนี้ การทาให้พืชหรือดอกไม้เด่นชัดจากฉากหลัง สามารถใช้วิธีการต่อ แฟลชพ่วงออกมาภายนอก (ในกรณีนี้กล้องถ่ายภาพที่ใช้ ต้องมีความสามารถในการ เชื่อมต่อแฟลชภายนอกได้ เช่น มีช่องเสียบสายซิงค์พ่วงแฟลช) เพื่อควบคุมแสงของ พืชหรือดอกไม้ด้วยแสงแฟลช และควบคุมแสงของฉากหลังด้วยการเปิดรับแสงของ กล้อง วิธีการคือตั้งกล้องในมุมที่ต้องการแล้วถือแฟลชที่พ่วงไว้ออกไปยิงแสงจาก ด้านข้างของพืชหรือดอกไม้ โดยเฉียงไปทางข้างหลังนิดหน่อยเพื่อไม่ให้แสงแฟลชไป โดนฉากหลัง หรืออาจเยื้องไปข้างหลังมากๆ เพื่อให้เกิดริมไลท์ซึ่งจะช่วยให้แสงที่พืช หรือดอกไม้มีความสวยงามขึ้น อาจใช้การตั้งค่ากล้องให้อันเดอร์ลงเพื่อทาให้ฉากหลัง มืดลงซึ่งจะช่วยให้พืชหรือดอกไม้เด่นขึ้น

ภาพที่ 8-7 เปรียบเทียบการใช้แฟลชภายนอกร่วมในการถ่ายภาพ ที่มา : www.rpst-digital.org

ตัวอย่างภาพถ่ายพืช ดอกไม้ และแมลง

1

2 “ผักใบเขียว” ฉากหลังที่ดาและแสงแฟลชที่บริเวณตรงกลางเพื่อเน้นความเขียวให้เด่นชัด 1 “แอปเปิ้ล” หยดน้าและทิศทางแสงที่ส่องมาด้านข้างทาให้ผลดูชุ่มฉ่า น่ารับประทาน 2

ณัฐกร สงคราม | 75


การถ่ายภาพ | เทคนิคและการนาไปใช้เพื่อการสื่อสาร

3

4

“ตั๊กแตนตาข้าว” ถ่ายชัดตื้นในมุมที่ฉากหลังเป็นดอกไม้สีแดงเพื่อตัดกับสีของตั๊กแตน 3 “กุหลาบชมพู” เป็นดอกไม้ที่กลีบหนา แสงจึงควรเข้าด้านข้างเพื่อให้เห็นมิติของกลีบดอก 4

76 | PHOTOGRAPHY FOR COMMUNICATIONS


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.