The Photographers' sideway

Page 1

THE

PHOTOGRAPHERS’ S I D E WAY

บันทึกระหว่างทางชีวติ ช่างภาพ

เสาวภัคย์ อัยสานนท์



THE

PHOTOGRAPHERS’ S I D E WAY

บันทึกระหว่างทางชีวติ ช่างภาพ

เสาวภัคย์ อัยสานนท์


บันทึกระหว่างทางชีวิตช่างภาพ The Photographers’ sideway เสาวภัคย์ อัยสานนท์.

ที่ปรึกษาจุลนิพนธ์ อาจารย์กองทรัพย์ ชาตินาเสียว คณะกรรมการจุลนิพนธ์ ผศ.มัทนา เจริญวงศ์ รศ.ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย อาจารย์อารีย์ พีรพรวิพุธ อาจารย์สมเกียรติ จันทรสีมา

เรื่อง เสาวภัคย์ อัยสานนท์ ออกแบบรูปเล่ม เสาวภัคย์ อัยสานนท์ ภาพประกอบ Pepep Saenkham

เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร



คำานำาผู้เขียน


กว่าจะเป็นตัวหนังสือตัวแรกของหน้าค�ำน�ำในหนังสือเล่มนี้ ขอเล่าให้ฟังก่อนว่า ดิฉันนั่ง ครุน่ คิดอยูน่ าน เนือ่ งจากไม่รวู้ า่ จะเริม่ ต้นเขียนอย่างไรดี พอนึกย้อนกลับไปในช่วงปิดเทอมทีผ่ า่ น มา สิ่งหนึ่งที่นักศึกษาทุกคนรู้อยู่แก่ใจถึงสิ่งที่ต้องเผชิญ เมื่อการเปิดเทอมมาถึง เรารูจ้ กั สิง่ นัน้ กันในนามว่า ‘จุลนิพนธ์’ ซึง่ เป็นผลงานทีเ่ รียกได้วา่ เป็นผลงานชิน้ ยักษ์ใหญ่ ชิ้นสุดท้ายในช่วงชีวิตวัยเรียน มันเป็นช่วงเวลาที่ดิฉันใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการนั่งตกผลึก ความคิดในหัวสมองว่าจะท�ำเรื่องอะไร ชั่วความคิดหนึ่ง ‘ช่างภาพ’ คือสิ่งที่แว่บเข้ามาอยู่ในหัวสมองของเรา และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ท�ำให้ดิฉันมีโอกาสได้มาท�ำหนังสือเล่มนี้ในเวลาต่อมา มักมีคนเปรียบเปรยไว้วา่ ‘ชีวติ คือการเดินทาง’ อาจเป็นเพราะมันเป็นการเริม่ ต้นจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอันเป็นจุดเป้าหมายคล้ายๆ กัน แต่กระนั้นสิ่งส�ำคัญอาจไม่ใช่แค่เพียงจุดเริ่ม ต้นหรือจุดเป้าหมาย หากแต่ยังมี ‘ระหว่างทาง’ ของการเดินทางที่คอยแต่งแต้มสีสัน และปรุงรส ไปด้วยประสบการณ์ที่แฝงไปด้วยกลิ่นอายของหลากเรื่องราว รวมถึงทุกสรรพสิ่งที่พบเจอ ถ้าลองเปรียบเทียบ ‘ชีวติ ช่างภาพเป็นเหมือนการเดินทาง’ ดูบา้ ง จุดหมายปลายทางของ พวกเขาคงจะมีภาพถ่ายดีๆ ที่สวยงามเกิดขึ้นมากมายออกมาให้เราได้เห็นอยู่เสมอ แต่เคยสงสัยไหมว่า ภาพถ่ายเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร? มีเรื่องราว หรือความหมายใดซ่อนอยู่ในภาพเหล่านั้น และระหว่างทีพ่ วกเขาเดินอยูบ่ นเส้นทางชีวติ ตรงนัน้ เขาพบเจอกับเรือ่ งราวอะไรมาบ้าง? เชือ่ ว่า หลายคนไม่มโี อกาสได้ออกไปเรียนรูถ้ งึ ประสบการณ์จริงทีอ่ ยูน่ อกเหนือจากต�ำรา หนังสือเล่มนีจ้ งึ ไม่ได้เน้นกระบวนการถ่ายภาพหรือเทคนิคถ่ายภาพอันเหนือชัน้ จากเหล่า บรรดาช่างภาพ มันเป็นแค่หนังสือเล่มหนึ่งที่เริ่มต้นจากความรัก ความชื่นชอบในการถ่ายภาพ และต้องการที่จะน�ำเสนอเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์ท�ำงานผ่านค�ำบอกเล่าของพวกเขา ออกไปผจญภัยด้วยการหยิบกล้อง หยิบหนังสือ และสะพายกระเป๋าออกเดินทาง แล้วให้เรามี ‘ระหว่างทาง’ ที่ดีร่วมกันเถอะค่ะ :-) เสาวภัคย์ อัยสานนท์


สารบัญ


บันทึกหน้าที่หนึ่ง 10 บทเรียนจากการเดินทาง อรุณ ร้อยศรี 16 ชีวิตสัมพันธ์กับธรรมชาติ บารมี เต็มบุญเกียรติ 34 นักอนุรักษ์ท้องฟ้าด้วยภาพถ่าย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ 52 ภาพข่าวสะท้อนชีวิต วสันต์ วณิชชากร 68 ชายในโลกขาวดำ� กันต์ สุสังกรกาญจน์ 82 ชายหนุ่มผู้มาพร้อมกับโอกาส ณัฐพล วุฒิเพ็ชร์ 98 บันทึกส่งท้าย 114


10

The Photographers’ sideway


INTRODUCTION

11


บันทึกหน้าที่หนึ่ง หากคุณถามว่า ภาพถ่ายเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร? เคยคิดไหมว่า คุณจะได้ค�ำตอบอะไรกลับมา “ภาพถ่ายเกิดจากการที่มีล�ำแสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดเป็นภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับ” นั่นเป็นอีกค�ำตอบหนึ่งที่ถูกต้อง แต่การถ่ายภาพไม่ใช่แค่เรื่องของแสงเท่านั้น ‘กล้อง’ เป็นอีกปัจจัยที่เรียกได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์อย่างเราไปเสียแล้ว (ลองสังเกตรอบตัวขณะที่ก�ำลังอ่านหนังสืออยู่ตอนนี้ อาจพบคนก�ำลังยืนถ่ายรูปอยู่ก็ได้) ย้อนกลับไปเป็นศตวรรษ การถ่ายภาพถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องยาก จะถ่ายภาพทีก็คงเป็น เพราะมีโอกาสส�ำคัญๆ เท่านั้น น้อยคนนักที่จะพกกล้องติดตัวเพื่อเก็บภาพต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แตกต่างไปจากภาพพฤติกรรมที่เราเห็นอย่างคุ้นชินในสมัยนี้ พอเห็นอะไรสะดุดตาเข้าหน่อยก็ ต้องรีบคว้าอุปกรณ์ถ่ายภาพขึ้นมาเก็บภาพอยู่เสมอ ดูเหมือนว่า ใครๆ ต่างก็เป็นช่างภาพได้ แค่ยกสมาร์ทโฟนขึ้นมาเพื่อถ่ายรูปก็สามารถ บันทึกภาพได้ แต่การเป็นช่างภาพไม่ใช่เพียงแค่นั้น พวกเขาไม่ได้เป็นบุคคลที่กดชัตเตอร์แล้วได้ภาพก็ถือว่าเป็นช่างภาพ การเป็นช่างภาพ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องประกอบไปด้วยหลายๆ สิ่ง เพราะภาพถ่ายแต่ละภาพกว่าจะได้ออกมาเป็น ภาพหนึ่งภาพนั้น ต้องอาศัย ‘กระบวนการ’ กระบวนการในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกระบวนการใช้กล้องด้วยเทคโนโลยีดีๆ ราคาแพงๆ มีความทันสมัย หรือเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพ และเทคนิคการถ่ายภาพให้ พิเศษล�้ำหน้ากว่าใครๆ แล้วก็สามารถเป็นช่างภาพได้ หากแต่เป็นกระบวนการทาง ‘จิตใจ’ ของเหล่าช่างภาพที่ผสมผสานคลุกเคล้าไปด้วย ทักษะ จินตนาการ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา รวมไปถึงความรักและความชื่นชอบในการถ่าย ภาพเข้าไว้ด้วยกัน 12

The Photographers’ sideway


กว่าจะมาเป็น ‘ช่างภาพ’ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เส้นทางสู่นักถ่ายภาพที่ผู้คนทั่วไปให้ การยอมรับล้วนมาจากการฝึกฝน ใฝ่รู้ และมีความอดทน ผ่านงานการถ่ายภาพรูปแบบต่างๆ มา นับไม่ถ้วน การได้พบปะผู้คน ผ่านสถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆ มาอย่างมากมาย ท�ำให้ช่างภาพ เหล่านัน้ มีเรือ่ งราวในการใช้ชวี ติ และประสบการณ์ทถี่ กู บ่มเพาะมาอย่างหลากหลาย ซึง่ นัน่ ท�ำให้ แต่ละคนก็มีรูปแบบการท�ำงาน และแนวทางการใช้ชีวิตที่น่าสนใจแตกต่างกัน ส�ำหรับช่างภาพแล้ว สิ่งที่มาพร้อมกับ ‘ภาพถ่าย’ อาจไม่ได้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์ที่ถูก บันทึกออกมาให้ได้เห็นตรงหน้า ไม่มใี ครรูห้ รอกว่า กว่าภาพหนึง่ ภาพจะออกมาเป็นภาพถ่าย ภาพเหล่านัน้ ผ่านเหตุการณ์ ใดมาบ้าง สิ่งที่พวกเขาพบเจอระหว่างเส้นทางการเป็นนักถ่ายภาพเป็นอย่างไร เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของพวกเขาที่เกิดจากการถ่ายภาพอาจจะถือเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งส�ำคัญที่อาจเปลี่ยนมุม มองชีวิตของเขา หรือแม้แต่อยู่ติดตัวเขาไปอีกนานแสนนาน เปิดหน้าถัดไป แล้วคุณจะพบกับเรื่องราวชีวิต และประสบการณ์ของ 6 ช่างภาพ ไม่ว่า จะเป็นช่างภาพสัตว์ป่าและธรรมชาติ ช่างภาพบุคคลและแฟชั่น ช่างภาพขาวด�ำ ช่างภาพสารคดี ช่างภาพข่าว และช่างภาพดาราศาสตร์ พวกเขาจะท�ำให้มุมมองที่มีต่อการถ่ายภาพของคุณเปลี่ยนไป ........

13




อรุณ ร้อยศรี Arun Roysri

DOCUMENTARY PHOTOGRAPHER “ส่วนตัวผมถ้าชีวิตนี้ไม่ได้เดินทางเลย คงอยู่อย่าง ไร้ จิ ต วิ ญ ญาณ ไม่ เ ห็ น ความสวยงาม ไม่ เ ห็ น ความ ท้าทาย ผมคงจะอยู่อย่างไม่เห็นคุณค่าอะไรเลย”

16

The Photographers’ sideway


17


THE LESSON FROM TRAVEL

บทเรียนจากการเดินทาง

ติ๊ก.. ติ๊ก.. ติ๊ก... เสียงของเข็มนาฬิกาค่อยๆ เดินผ่านไปอย่างช้าๆ หากตั้งใจมองดูสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ในทุกวินาทีที่เข็มนาฬิกาเดินผ่าน เราจะเห็นถึงการ ไหลเวียนของเรื่องราว สิ่งของ และผู้คนอยู่เสมอ ไม่ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะดีหรือร้าย ทุกเหตุการณ์ ต่างเป็นบทเรียนที่ควรค่าแก่การจดจ�ำ ชีวิตคงน่าเบื่อ หากเราหยุดออกเดินทางเพื่อไปค้นหาบางสิ่ง ตรงกันข้ามกับชีวิตของ ‘อรุณ ร้อยศรี’ หรือ พี่ยิว ช่างภาพสารคดี หนึ่งในช่างภาพสิบ คนของกลุ่ม 10 Fotos ที่มีผลงานการถ่ายภาพสารคดี และภาพข่าวภายใต้แนวความคิดยึดมั่น ในการรังสรรค์สังคมที่ดีด้วยการถ่ายภาพ เขาเป็นนักเดินทางที่ไม่เคยหยุด เป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษกับการก้าวย่างเข้ามาสู่เส้นทางแห่งการถ่ายภาพเชิงสารคดี ด้วยความรักที่บ่มเพาะ และประสบการณ์ที่ค่อยๆ สั่งสมให้เขาเป็นนักถ่ายภาพที่ดี ในวันนี้พี่ยิวได้ถ่ายเทสิ่งที่เชื่อและชอบ ซึ่งสั่งสมมาตลอดทั้งชีวิตลงสู่ผลงานภาพถ่ายให้ ผู้คนได้เห็น ทุกภาพถ่ายของเขาบอกเล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบได้เจอ 18

The Photographers’ sideway


จากวันนัน้ จนวันนีเ้ ขาใช้เวลาไปกับการเก็บกระเป๋าออกไปเดินทางพร้อมกับสะพายกล้อง ถ่ายรูปคู่ใจที่เป็นอุปกรณ์บันทึกความทรงจ�ำ เพื่อไปเก็บภาพมาเป็นระยะเวลาร่วมกว่า 12 ปีแล้ว ในช่วงวัยเยาว์ของเขาดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาส�ำคัญทีแ่ รงบันดาลใจผลิดอกออกผลอย่างเบ่งบาน “ผมชอบถ่ายภาพมาตั้งแต่เด็กๆ เลยครับ” เขาเริ่มเล่าย้อนถึงช่วงเวลาของชีวิตวัยเด็กกับการถ่ายภาพ จากกล้องคอมแพ็คธรรมดาตัวหนึง่ ทีเ่ อาไว้ใช้สำ� หรับถ่ายภาพคนสนิทใกล้ตวั ไม่วา่ จะเป็น เพือ่ นๆ ทีโ่ รงเรียน หรือครอบครัวอันเป็นทีร่ กั การเริม่ ถ่ายภาพเล่นๆ เปลีย่ นไปจริงจังมากขึน้ เมือ่ เริ่มใช้กล้อง SLR เป็นครั้งแรกในสมัยมัธยมปลาย แม้ว่ากล้องตัวนั้นเขาจะไม่ใช่เจ้าของก็ตาม แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ กับกล้องของเพื่อนตัวนั้น แต่ก็ท�ำให้เขาได้เรียนรู้ถึงการ ท�ำงาน รวมไปถึงวิธีการถ่ายภาพ จนในสุดท้ายเขาก็มีกล้อง SLR เป็นของตัวเองครั้งแรก “ตอนเรียนมหาวิทยาลัยจะมีการออกค่ายอนุรกั ษ์ พอได้ออกค่ายก็เหมือนเป็นการเริม่ เปิด โลกทั ศ น์ ใ ห้ เ ราได้ เ ห็ น สถานที่ ต ่ า งๆ มากขึ้ น ผมโบกรถเที่ ย ว แล้ ว ก็ ไ ด้ เ จอสถานที่ ส วยๆ ระหว่างทางเต็มไปหมด ก็รู้สึกประทับใจ” “สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนแรงบันดาลใจที่ท�ำให้ผมอยากถ่ายภาพมากขึ้น อยากจะเก็บภาพ สวยๆ มาฝากให้คนอื่นได้ดู” บางคนชอบถ่ายภาพ แต่ไม่ได้จริงจังถึงขนาดทีจ่ ะมาเป็นช่างภาพ ส�ำหรับบางคนแล้วการ ถ่ายภาพอาจเป็นเพียงแค่งานอดิเรกทีใ่ ช้ในเวลายามว่างเท่านัน้ และเขาเคยเป็นหนึง่ ในบุคคลนัน้ “ตัวผมไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นช่างภาพตั้งแต่แรก ไม่เคยคิดเลยด้วยซ�้ำว่าจะท�ำได้” ความคิดอยากเป็นช่างภาพไม่เคยมีอยู่ในหัว แต่มันกลับถูกแปรเปลี่ยนไปด้วยความ ชื่นชอบ และพัฒนากลายเป็นความสนใจด้านการถ่ายภาพขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่งจากการ ชักชวนของเพื่อน ท�ำให้เข้ามาสู่วงการถ่ายภาพสารคดีอย่างเต็มตัวในกองบรรณาธิการหนังสือ Advance Thailand Geographic ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพช่างภาพสารคดีของเขา จวบจนมาถึงทุกวันนี้ ถ้าบอกว่าเสน่ห์ของคนเล่าข่าว คือ การเล่าเรื่องชีวิตจริงที่น่าเหลือเชื่อ เสน่ห์ของการเป็นช่างภาพสารคดีก็คงเป็นอย่างนั้นเช่นเดียวกัน หากแต่มีส่วนผสมของเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดผ่านศิลปะเข้ามาประกอบอยู่ด้วย เพื่อให้ได้ มาซึ่งภาพถ่ายที่มีองค์ประกอบอันงดงามยิ่งขึ้น 19


“หลักส�ำคัญของภาพถ่ายสารคดี คือ การสื่อสารความจริง สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น เหตุการณ์เป็นอย่างไร เป็นสิง่ ทีช่ า่ งภาพสารคดีตอ้ งถ่ายทอดออกมาให้ตรงกับจุดนัน้ ทุกครัง้ ก่อน การเก็บภาพ ผมจะคิดก่อนอยู่เสมอเลยว่า เราจะบอกอะไรกับคนที่เห็น ในภาพควรมีอะไร นอกนั้นก็เป็นหน้าที่ของเราในการปรุงรสด้วยแสง และอารมณ์ นั่นคือเสน่ห์ของการถ่ายภาพที่ ผสมผสานกันระหว่างเหตุการณ์จริงตรงหน้ากับสีสันของอารมณ์และความรู้สึก” เขาเล่าถึงการออกไปท�ำงานสารคดีว่า การออกไปท�ำงานแต่ละครั้งจะให้ประสบการณ์ มากมาย ทั้งในเรื่องการรู้จักวางแผน หรือบางครั้งวางแผนไปเสียดิบดี แต่ก็กลับไม่ได้เป็นไปตาม แผนที่วางไว้ การเดินทางแต่ละครั้งจะสอนให้เรารู้จักประเมินเหตุการณ์ แก้สถานการณ์ เฉพาะหน้า เพราะบางงานมีโอกาสเพียงแค่ครั้งเดียว จะไปซ�้ำอีกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ในเรื่องผู้คนและวัฒนธรรมก็เช่นกัน บางครั้งเราก็ได้มุมมองการใช้ชีวิตดีๆ จากผู้คนที่เรา ไปท�ำงานด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ถึงวิธีปฏิบัติตัวว่า จะท�ำอย่างไรเพื่อจะเข้าถึง และได้ภาพที่ปรารถนา ส�ำหรับเขาคนนี้ หากจะกล่าวว่า ‘ชีวิตคือการเดินทาง’ ก็คงไม่ผิดนัก “ส่วนตัวผมถ้าชีวติ นีไ้ ม่ได้เดินทางเลย คงอยูอ่ ย่างไร้จติ วิญญาณ ไม่เห็นความสวยงาม ไม่เห็นความท้าทาย คงจะอยู่อย่างไม่เห็นคุณค่าอะไรเลย” การเดินทางการพบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา คนหลากหลายรูปแบบ การได้ภาพที่ ต้องการในแต่ละครัง้ นัน้ ไม่ได้งา่ ยอย่างผลลัพธ์ทเี่ ห็น ในการถ่ายภาพแต่ละครัง้ มีวธิ กี ารสือ่ สารกับ คนที่เราไปถ่ายเพื่อให้ได้ภาพที่ออกมาดี “ส�ำหรับผม การถ่ายภาพสารคดีไม่ได้เป็นเพียงแต่การถ่ายภาพสารคดี แต่เป็นอีกสิง่ หนึง่ ที่เป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมผ่านการถ่ายทอดน�ำเสนอสาระในเชิงสวยงามและสร้างสรรค์ อย่างทีบ่ อกผมเชือ่ มัน่ ว่างานสารคดีเป็นงานหนึง่ ทีม่ สี ว่ นช่วยขับเคลือ่ นสังคม มันมีเสน่หต์ รงความ จริง แต่เราสามารถน�ำเสนอสาระพวกนี้ในเชิงสวยงามสร้างสรรค์ได้” นี่คือสิ่งที่เขาเชื่อถือและยึดมั่น ด้วยความรักในการเดินทางที่เป็นสิ่งเข้ามาเติมเต็มบวกกับการใช้ชีวิตที่มีการถ่ายภาพ สอดแทรกเข้ามาอยู่ตลอด หลายสิ่งหลายอย่างได้ให้ค�ำตอบแก่ตัวเขา การด�ำเนินชีวิต ยิ่งท�ำงาน ยิ่งพบปะผู้คนอย่างหลากหลาย เหมือนเป็นปราการอันทรงคุณค่าที่สร้างความแข็งแรง และ ความหมายให้กับชีวิต 20

The Photographers’ sideway


สารคดีคนเลี้ยงช้าง คชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์

21


การตัดไม้โกงกางของชาวบ้านในชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม

22

The Photographers’ sideway


23


24

The Photographers’ sideway


“ทุกภาพที่ถ่าย ผมรู้สึกคุ้มค่าทุกภาพ เพราะแต่ละภาพไม่ใช่แค่อยู่ๆ เราไปถ่ายก็ได้มา มันเป็นภาพทีม่ าจากการตกผลึกหลายอย่าง แต่ละภาพได้มาบนความยากง่ายแตกต่างกันไปตาม สถานการณ์ ตามสถานที่ การเลือกมาท�ำหน้าที่ตรงนี้ผมรู้สึกว่า มันคุ้มค่าทั้งหมด” การท� ำ งานเป็ น ช่ า งภาพสารคดี ข องช่ า งภาพคนนี้ ไม่ ใ ช่ แ ต่ เ ป็ น การท� ำ งานที่ ดู แสนจะธรรมดา เพราะการลงพื้นที่ในแต่ละครั้งถือเป็นสิ่งที่นับว่ามีค่าเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับเขา ในฐานะคนหนึง่ ทีไ่ ด้เข้าไปสัมผัสเหตุการณ์จริง สัมผัสผูค้ นเหล่านัน้ ซึง่ โดยปกติแล้วคนทัว่ ไปก็อาจ จะไม่ได้เข้าไปถึงในจุดนั้นได้ “การเรี ย นรู ้ พ วกนี้ จ ะน� ำ เราไปสู ่ ก ารท� ำ งานแบบมื อ อาชี พ เช่ น สารคดี รั ง นก ผมต้องพยายามท�ำทุกอย่างเพื่อให้คนเก็บรังนกเห็นว่า เราท�ำได้เหมือนเขา จะเสี่ยงอันตราย จะปีนป่ายยากแค่ไหนก็ไม่แสดงอาการหวาดกลัว จนในทีส่ ดุ คนเก็บรักนกเขาเห็นความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจ ของเรา เขาก็พาเราท�ำกิจกรรม และเปิดโอกาสให้ถ่ายรูปได้อย่างเต็มที่ และที่ได้ผลเกินคาดคือ เขาจะคอยสอนเทคนิคการปีน การไปจุดต่างๆ ยังไงให้ปลอดภัย และได้งาน” ด้วยการออกเดินทาง ออกไปเจอผู้คน และรับประสบการณ์ใหม่ๆ ถือเป็นการเดินทางที่ เรียกได้ว่า เป็นโอกาสในการใช้ชีวิต โลกใบนี้กว้างใหญ่มาก ระหว่างทางในการออกเดินทางเพื่อ ให้ได้ภาพตามที่ต้องการแต่ละครั้งจึงอาจจะได้พบผู้คนดีๆ หรือเรื่องราวดีๆ ก็ได้ และท�ำให้เขา กล้าพูดได้อย่างเต็มปากว่า “มันคือประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต” สิ่งหนึ่งที่เขาพูดถึงเกี่ยวกับคุณสมบัติของช่างภาพสารคดีที่ควรมี เขาบอกว่า การท�ำงานของช่างภาพสารคดี คล้ายๆ กับการท�ำงานวิจยั ภาพทีเ่ ราถ่ายต้อง ถ่ายทอดความจริงออกมาอย่างเที่ยงตรงที่สุด โดยเริ่มต้นหาประเด็น ศึกษาข้อมูล และลงท�ำงาน ตามประเด็น ส่วนในการลงพื้นที่ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยไปอีกว่า เราจะลงไปที่ไหน อย่างไร เวลาไหน ประสานงานกับใคร เป็นต้น เรื่องผู้คนก็มีปัญหาให้เจอทุกครั้ง เช่น เรื่องการประสานงาน หรือไม่ได้รับความร่วมมือ ทั้งหมดเหล่านี้เราก็จะต้องรู้ว่าจะจัดการยังไง ถึงจะแก้ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ต้องท�ำให้เรามี โอกาสมากที่สุดที่จะเข้าถึง และได้งานกลับมา “ผลลัพธ์สุดท้ายคือ เราอยากเห็นภาพที่สวย และภาพนั้นได้ท�ำหน้าที่ของมัน โดยคาด หวังว่าภาพมันจะไปกระทบความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความงามของภาพ หรือเรื่องราว และ อารมณ์ในภาพไปกระทบ นั่นคือสิ่งที่ช่างภาพสารคดีจะมีความสุขที่สุด” 25


26

The Photographers’ sideway


สารคดี ‘รังนกอัญมณีแห่งทะเลตะวันออก’ เคยตีพิมพ์ ในนิตยสาร National Geographic ในปี 2551

27


การถ่ายภาพสารคดี (Documentary Photography)

28

The Photographers’ sideway

การเก็บข้อมูลภาคสนามอาจใช้เวลาเพียงครั้งเดียว ก็เพียงพอ แต่บางกรณีก็ต้องไปหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับ ประเด็นทีจ่ ะถ่ายภาพก่อนลงภาคสนาม ดังนัน้ ผูถ้ า่ ยภาพ จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า ต้องศึกษาข้อมูลก่อน และต้องเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือที่จ�ำเป็นให้พร้อม เช่น กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์ถ่ายภาพ สมุดจนบันทึก รวมทั้ง การนัดหมายบุคคล และการขอเข้าไปใช้สถานที่ เป็นต้น


“การลงถ่ายภาพทุกครั้งไม่เคยมีครั้งไหนที่สบายเลย ร่างกายจะถูกทรมานที่สุด ตื่นแต่เช้ามืด กลับค�่ำ บางครั้งกลางดึกยังต้องติดอยู่กลางทะเล หรือป่าลึกเลยก็มี แต่ทุกครั้งที่มองช่องมองภาพ ผมลืมความเหน็ดเหนื่อยในช่วงเวลานั้นทันที มีแต่ความตื่นเต้น ความท้าทายเข้ามาแทน มีผิดหวังบ้าง สมหวังบ้าง ปนกันไปเป็นเรื่องปกติ” แต่ในความล�ำบากก็ยังคงมีช่วงเวลาที่ชื่นชอบที่สุด “น่าจะช่วงพักกองช่วงเย็นครับ กลับมาที่แคมป์ กลับมาเจอทีมงาน หรือบางครั้งก็พักกับ แหล่งข่าว ได้ทำ� กิจกรรมเชิงมิตรกับเพือ่ นร่วมงาน กับผูค้ น และเป็นช่วงทีจ่ ะได้กลับมาดูงาน ได้สงั สรรค์ กันบ้างเล็กน้อยก่อนลุยงานเช้าวันต่อไป ก็คือเป็นช่วงที่ได้ละจากงานนั่นแหละครับ” ถึงจะผ่านการถ่ายภาพมาจนล้นมืออยู่แล้วก็ตาม แต่ส�ำหรับพี่ยิวแล้ว เขายังคงทุ่มเทให้กับ การถ่ายภาพให้ดีต่อไปยิ่งขึ้น เพราะเขาเชื่อว่า การถ่ายภาพไม่ควรหยุดอยู่กับที่ ต้องมุ่งมั่นพัฒนาฝีมือ และหาสูตรในการท�ำงานของตัวเองให้ออกมาให้คนเห็นคุณค่าอยู่เสมอ “จุดเปลี่ยนส�ำคัญในการท�ำงานถ่ายภาพน่าจะตอนท�ำงานส่ง National Geographic ตอนนั้น ท�ำให้ผมต้องพัฒนาตัวเองกว่าที่เป็นอยู่ให้ได้ มีการใส่ใจคุณภาพมากขึ้น ท�ำให้รู้ว่าการท�ำงานแบบมือ อาชีพเป็นอย่างไร และผลที่ตามมาไม่ใช่รายได้ แต่เป็นเรื่องโอกาสต่างๆ มากมายในสายงานที่ท�ำ เช่น ปัจจุบันก็ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ถ่ายภาพจากนิคอน (Nikon) เพื่อท�ำงานในสายที่เราท�ำอยู่ทุก วันนี้ อันนี้ผมก็เชื่อว่ามันเกิดจากการที่เราท�ำงานให้มีคุณภาพ และมีคนเขาเห็นคุณค่าของงานเรา” ความแตกต่ า งของชี วิ ต ในเมื อ งกั บ ชี วิ ต ชนบทที่ ต นเองได้ ล งไปท� ำ งานในแต่ ล ะพื้ น ที่ นั้ น ทุกสิ่งล้วนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอยู่ที่ว่า เราจะก�ำหนดกรอบความคิดของเราไว้อย่างไร “ผมมองว่า ชีวิตในเมืองจะมีปฏิสัมพันธ์น้อย ผู้คนมุ่งแต่ในสิ่งที่ตัวเองท�ำ ต่างจากผู้คนในต่าง จังหวัดทีจ่ งั หวะเคลือ่ นตัวจะช้ากว่า ท�ำให้มเี วลาหันมองสิง่ รอบข้างมากขึน้ และมีธรรมชาติคอยจรรโลง ใจทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งผมก็เห็นว่ามันต่างมีข้อดีข้อเสียคนละอย่างไป” การเป็นช่างภาพ ท�ำให้มักได้สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่เสมอ การมองเห็นอะไรในวิถีชีวิตของผู้คนเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ท�ำให้เขามองย้อนกลับมามองตัวเองอยู่ บ่อยครั้ง การได้เข้าไปพูดคุย ได้เข้าไปในสถานที่ที่ปกติไม่ได้ไป หรือได้คุยกับคนที่ปกติเราไม่มีโอกาส ได้คุย เป็นสิ่งที่ท�ำให้การลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง เป็นช่วงเวลาที่เรียนรู้ และได้รับบทเรียนต่างๆ ในชีวิต “การมองคนมากๆ ก็ท�ำให้เรารู้เห็นเยอะ อะไรดีไม่ดี แต่บางทีมันก็เหนื่อย แต่มันก็ดีที่เมื่อเรารู้ ว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรที่เราเห็นว่าไม่เข้าท่าก็มองย้อนถึงตัวเอง และเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมได้แต่ก็ถือว่า 29


โชคดี ในกรณีลงพืน้ ทีไ่ ปเจอกับผูค้ นมากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลทีส่ ามารถน�ำแนวคิดมาเป็นต้นแบบ ที่ดีๆ ในหลายเรื่อง เช่น ด้านการอนุรักษ์ ด้านสังคมและจิตสาธารณะ ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดีมากๆ” ในวันนี้มีช่างภาพสารคดีรุ่นใหม่เกิดมาอย่างมากมาย สิ่งที่เขาบอกกับเราคือ เขาขอแค่ทำ� งาน ด้านนีไ้ ปจนสุดก�ำลัง เมือ่ ถึงวันทีท่ ำ� ไม่ไหวก็อยากเห็นว่ามีชา่ งภาพสารคดีรนุ่ ใหม่ทเี่ กิดขึน้ มาเยอะๆ โดย เป้าหมายก็เพื่อบอกเล่าข้อมูล เรื่องราวความจริง ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเพียง พอแล้วส�ำหรับเขา เขาบอกอีกว่า ทุกคนสามารถท�ำงานสารคดีได้ เพราะทุกคนต่างก็มีศักยภาพในตัวเองเท่าๆ กัน อยูแ่ ล้ว ถ้าจะมีความแตกต่างอะไรคงเป็นความแตกต่างทีว่ ดั กันทีค่ วามตัง้ ใจและทุม่ เทว่า เราจะสามารถ อดทนกับสิ่งที่ก�ำลังท�ำอยู่ได้มากน้อยแค่ไหน “งานสารคดีเป็นงานที่มีคุณค่าในตัวของมันเองผมอยากให้ก�ำลังใจทุกคนที่คิดและตั้งใจจะยึด อาชีพสายนี้ และในการฝึกฝนพัฒนางานก็สามารถเลือกเป็นได้” จากการสนทนาพอจะสรุปชีวิตของ ‘อรุณ ร้อยศรี’ ว่า เขาไม่ได้เป็นเพียงแค่นักถ่ายภาพ ผู้เก็บ ภาพบันทึกเหตุการณ์ทอ่ี ยูต่ รงหน้า ในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นนักเดินทางทีอ่ อกไปใช้ชวี ติ ส่วนใหญ่ไปกับ การขวนขวายเก็บเรือ่ งราวทัง้ ดีและไม่ดี จากการพบปะผูค้ นอย่างมากมายในระหว่างทางของการใช้ชวี ติ ทุกแง่มุมที่ผ่านเข้ามาและได้ประสบพบเจอ ส�ำหรับเขาแล้วสิ่งเหล่านั้นถือเป็นบทเรียนอันล�้ำค่าและไม่อาจหาได้ง่ายๆ จากที่ไหน ในท้ายที่สุดแล้ว เสน่ห์ของการถ่ายภาพสารคดีอยู่ตรงที่มันคือชีวิตจริงที่เหลือเชื่อ ชีวิตที่เรา อาจไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือได้สมั ผัส ในฐานะช่างภาพสารคดีจงึ ไม่ได้มหี น้าทีแ่ ค่ถา่ ยภาพสวยๆ จากทุก มุมโลกมาน�ำเสนอต่อผู้ชม แต่กลับเป็นภาพที่มีเรื่องราว มีชีวิต และอารมณ์ความรู้สึกแฝงอยู่ในนั้น สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่เขาอยากน�ำมาถ่ายทอดสู่สายตาให้คนอื่นได้เห็น เพราะความสวยงาม สักวันอาจถูกลืมเลือนไป แต่เรื่องราวและความรู้สึกมันจะฝังแน่นอยู่กับเราไปตลอด เส้นทางการถ่ายภาพสารคดีของ อรุณ ร้อยศรี ยังคงด�ำเนินต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด พร้อมกับ การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเก็บเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์อย่างไม่หยุดหย่อน การเป็นนักเดินทางเป็นสิ่งที่เข้ามาเติมเต็มให้ค�ำว่า ‘ใช้ชีวิต’ ของเขาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือการเดินทางอาจไม่ต่างอะไรกับการใช้ชีวิต ........

30

The Photographers’ sideway


31


32

The Photographers’ sideway


33


บารมี เต็มบุญเกียรติ Baramee Temboonkiat

WIDELIFE PHOTOGRAPHER “ภาพถ่ายที่ดีต้องดีทั้งด้านหน้าที่เราเห็นและด้านหลังที่เราถ่าย สำ�หรับผม การไม่ได้ภาพกลับมา มันยังไม่แย่ เท่ากับการที่เราไป รบกวนสัตว์และธรรมชาติ”

34

The Photographers’ sideway


35


INTO THE WILD

ชีวิตสัมพันธ์กับธรรมชาติ

เราอยู่ในบ้านหลังหนึ่งที่โอบล้อมด้วยต้นไม้ ห้องท�ำงานขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ห้องนั้นไม่มี เครือ่ งปรับอากาศ แต่ใช้หลักการระบายอากาศให้คนสดชืน่ แทน ทุกด้านของผนังภายในห้องเป็น อิฐแบบเปลือย ‘ลอฟท์’ (Loft) ด้านหนึ่งเป็นหน้าต่างที่สามารถมองออกไปเห็นวิวร่มรื่นจาก ชัน้ สอง ขณะทีอ่ กี ฝัง่ มีระเบียงนัง่ ขนาดยาวให้ได้นงั่ พูดคุยกัน บนโต๊ะท�ำงานตัวใหญ่มคี อมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ถ่ายภาพวางเรียงรายอยู่เต็มพื้นที่ ชั้นวางของที่ท�ำจากไม้วางประกอบอยู่ตามมุม บนตู้เองก็เช่นกัน เต็มไปด้วยสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่ส่วนใหญ่เป็นหนังสือว่าด้วย สัตว์ปา่ และธรรมชาติ เครือ่ งบดกาแฟ กรอบรูปทีบ่ รรจุดว้ ยภาพถ่ายของกล้องฟิลม์ และแผ่นเพลง ไวนิลเก่าๆ ที่ดูยากจะพบเห็น บ้านที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่สร้างด้วยคนที่รักธรรมชาติหลังนี้ คือ บ้านของ ‘บารมี เต็มบุญเกียรติ’ หรือ พี่ก้อง ช่างภาพสัตว์ป่าและธรรมชาติ ผู้มีผลงานการถ่ายภาพเรื่อง ราวของสัตว์ป่าและชีวิตใต้ท้องทะเลอันเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ ‘ข้าวตู’ สุนขั พันธุไ์ ทยผสมขนสีนำ�้ ตาลเหมือนโกโก้ เดินเข้ามาหาแขกราวกับว่าเป็นหน้าที่ ประจ�ำ มันรอเปิดประตูต้อนรับแขกอย่างเราเข้าบ้านอย่างเป็นมิตรพร้อมกับเจ้าของของมัน 36

The Photographers’ sideway


พีก่ อ้ งเล่าว่า เพราะความทีอ่ าศัยอยูใ่ นเมืองจึงอยากให้บา้ นคงความร่มรืน่ จากต้นไม้ ต้นไม้ ใหญ่ทเี่ คยมีกไ็ ม่อยากโค่นทิง้ แต่ยงั คงเก็บไว้ ขณะเดียวกันก็มชี อ่ งลมทีม่ ลี มพัดอยูต่ ลอดเวลา โดย ไม่จ�ำเป็นต้องมีพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ ทุกวันในยามว่าง หากไม่ได้เดินทางออกไปถ่ายภาพทีไ่ หน การได้ใช้เวลาอยูก่ บั ครอบครัว เล่นกับสุนขั รดน�ำ้ ต้นไม้ ฟังเพลง และเขียนหนังสือ สิง่ เหล่านีล้ ว้ นแล้วแต่เป็นงานอดิเรกส่วนหนึง่ ที่คอยเติมเต็มในชีวิตของเขา จากจุดเริม่ ต้นของความรูส้ กึ ชืน่ ชอบในการถ่ายภาพ แต่ดว้ ยความรูส้ กึ ทีว่ า่ หากไม่เริม่ หัด ถ่ายภาพก็จะถ่ายไม่เป็นสักที ความสนุกในการถ่ายภาพจึงถูกปรับเปลีย่ นกลายมาเป็นความจริงจัง ที่เขาสนใจและใส่ใจในเส้นทางของการเป็นช่างภาพมากขึ้น คงไม่มีใครคาดคิดว่า กล้องตัวแรกในชีวิตของบารมี เต็มบุญเกียรติ จะมีความเป็นมาถึง ขนาดที่ว่า เขายอมเอารถไปแลกกับกล้องถ่ายภาพมือสองเพียงตัวเดียว “ตอนนัน้ ผมได้รถต่อมาจากพีช่ าย พอได้รถมาผมก็เอาไปขาย แล้วเอาเงินทีไ่ ด้ไปซือ้ กล้อง ในโรงรับจ�ำน�ำ” เขายิ้ม แม้จะเรียนในสาขาช่างกลโรงงาน และสาขาออกแบบแม่พมิ พ์ แต่เขาก็ตดั สินใจเข้าชมรม ถ่ายภาพทีม่ หาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ช่วงแรกของการเริม่ ถ่ายภาพนัน้ ยังคงเป็นยุคทีใ่ ช้กล้องฟิลม์ ทีแ่ หล่งความรูห้ รือสือ่ ในช่วงเวลานัน้ มีนอ้ ยมาก จะมีเพียงบทความใน นิตยสาร และค�ำสอนบอกเล่าจากรุน่ พีใ่ นชมรมเท่านัน้ จากสมาชิกชมรมถ่ายภาพคนหนึง่ ในเวลา ต่อมาเขาได้รบั เลือกให้เป็นประธานชมรม ซึง่ เขาเองก็รสู้ กึ ภูมใิ จทีค่ รัง้ หนึง่ เคยมีสว่ นท�ำให้นกั ศึกษา หันมาสนใจถ่ายภาพมากขึ้น หลังเรียนจบเขาท�ำงานเป็นช่างภาพธรรมชาติให้กับนิตยสารท่องเที่ยวหลายเล่มอยู่ หลายปี ซึ่งเป็นสิ่งที่น�ำพาเขาให้ไปรู้จัก และคลุกคลีกับการถ่ายภาพทางธรรมชาติ “ตอนท�ำงานอยูใ่ นนิตยสาร Advance Thailand Geographic ผมได้เดินทางไปถ่ายภาพ ท่องเที่ยวในสถานที่หลายแห่ง สมัยนั้นถ้าเป็นรูปวิวทิวทัศน์ เราจะเห็นกันบ่อยมากเลยนะ แต่ว่า ถ้าเป็นรูปสัตว์ป่า รูปนก หรือรูปใต้น�้ำจะไม่ค่อยมี” “ผมอยากจะน�ำเสนอภาพถ่ายต่างๆ ของเมืองไทย ความคิดนี้เป็นสิ่งจุดประกายที่ท�ำให้ เราอยากท�ำงานเกีย่ วกับธรรมชาติ ผมมีความสุขเวลาทีอ่ ยูก่ บั ธรรมชาติ จึงท�ำให้ชอบถ่ายทุกอย่าง เกี่ยวกับธรรมชาติ ดอกไม้ก็ชอบถ่าย ส่วนสัตว์ป่าก็เริ่มจากการถ่ายภาพง่ายๆ ก่อน ผมไปถ่าย 37


38

The Photographers’ sideway


กวาง เก้ง หมูป่า ที่เขาใหญ่ พอมีเวลามากขึ้นก็เริ่มถ่ายมากขึ้น ค่อยๆ เก็บไปทีละอย่าง” พีก่ อ้ งเล่าให้เราฟังอีกว่า การได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับธรรมชาติ ท�ำให้เขาได้ฝกึ ฝนในการ ถ่ายภาพสัตว์ควบคู่ไปกับการถ่ายภาพธรรมชาติอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะสัตว์ป่าและชีวิตใต้ท้อง ทะเล ความหลงใหลในเสน่หข์ องธรรมชาติเหล่านี้ เป็นช่วงเวลาส�ำคัญทีเ่ ป็นเหมือนสิง่ จุดประกาย ให้เขาเริ่มอยากออกจากงานประจ�ำที่เคยท�ำอยู่ เขาได้ค�ำตอบในหัวใจที่ชัดเจนว่า เขาต้องการใช้ชีวิตอย่างไร? “ผมอยากให้คนไทยรู้ว่า ในเมืองไทยมันมีอะไร” เขาบอกกับเราด้วยน�้ำเสียงหนักแน่น และนั่นคือสาเหตุที่ท�ำให้เขารู้ตัวว่าเขาอยากเป็น ‘ช่างภาพสัตว์ป่า’ แล้วหันมาเข้าสู่วงการช่าง ภาพสัตว์ป่าและธรรมชาติอย่างเต็มตัว จวบจนมาถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว เขายังคงออกเดินทางเพื่อไปถ่ายภาพสัตว์ป่า และธรรมชาติ พร้อมกับเก็บเรื่องราวดีๆ มาให้ผู้คนได้รับรู้ ระหว่างการสนทนา เราอดละสายตาที่จะแอบมองออกไปรอบๆ ภายในห้องแห่งนี้ไม่ได้ แสงแดดยามบ่ายส่องทะลุเข้าไปกระทบสิง่ ของทีว่ างเรียงรายอยูบ่ นชัน้ ไม้เก่าๆ ขณะเดียวกันสิง่ มี ชีวติ ทีเ่ ดินไปเดินมาอย่าง ‘ข้าวตู’ ก็มกั จะเข้ามาร่วมนัง่ ฟังเหมือนเป็นผูร้ ว่ มสนทนาอีกคนหนึง่ อยู่ เป็นพักๆ การได้มานั่งสนทนากับพี่ก้องเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสักพักหนึ่ง ท�ำให้เราสัมผัสได้ถึงใจ ที่รักในธรรมชาติอย่างแท้จริง

สัตว์ป่ากับการถ่ายภาพ อีกฟากหนึ่งของชีวิต การเดินทางไกล การออกไปพักแรมอยู่กลางป่า นั่งซุ่มรอถ่ายภาพ สัตว์ป่าอยู่ในบังไพรที่แสนจะแคบและร้อนอบอ้าวอยู่เป็นเวลานาน การหาเสบียงและอาหาร ประกอบกับการขนข้าวของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ตั้งแคมป์ อุปกรณ์การถ่ายภาพ ทั้งเลนส์ และกล้อง ความล�ำบากเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ช่างภาพสัตว์ป่าเคยชินไปเสียแล้ว ในการเตรียมตัวออกไปถ่ายภาพแต่ละครั้ง ไม่เพียงแต่จะต้องตระเตรียมอุปกรณ์ในการ ด�ำรงชีวิตในป่าให้พร้อม แต่ยังต้องเตรียม ‘ทักษะ จินตนาการ และประสบการณ์’ ไปด้วย “ทักษะ ประสบการณ์ และจินตนาการเป็นสิ่งส�ำคัญที่ช่างภาพสัตว์ป่าควรมี” “การถ่ายภาพประเภทนี้ต้องใช้ทุกอย่าง ทักษะต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้ไว้ เช่น ทักษะในการ ลงพื้นที่ ทักษะการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ทักษะในการดูพฤติกรรม หรือแม้แต่การดูรอยเท้าของสัตว์ 39


ล้วนแล้วแต่เป็นสิง่ ส�ำคัญ นอกจากนีเ้ รายังต้องรูว้ า่ เราน�ำทักษะไปใช้ให้เกิดประสบการณ์อย่างไร ประสบการณ์ที่ได้ มันก็มีทั้งเรื่องดีและไม่ดี ดีก็เก็บไว้ใช้ ไม่ดีก็เรียนรู้ไว้ว่า ต่อไปในครั้งหน้าจะ แก้ไขอย่างไร” “ประสบการณ์ทางอ้อมก็เป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีค่ วรรับรู้ เวลาคนอืน่ ไปเจออะไรแบบไหนมา เรา ต้องฟังแล้วเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การท�ำงานของเราเอง แต่สุดท้ายแล้วที่ส�ำคัญที่สุดคือ จินตนาการ เพราะจินตนาการจะท�ำให้เรากลับไปแล้วกลับไปอีก ถ้าเกิดเราบอกว่า พอแล้ว จบแล้ว มันก็จบ” ส�ำหรับเขาแล้ว การเข้าไปใช้ชวี ติ และท�ำงานอยูใ่ นป่าตามใจหวัง การเดินทางไปกับกล้อง และเลนส์ ตลอดจนเฝ้ามองชีวติ อันหลายหลากชีวติ รอบๆ ตัว ท�ำให้เขาได้รบั รูถ้ งึ เรือ่ งราวอันใหญ่ โตมากขึน้ การถ่ายภาพสัตว์ปา่ ไม่เพียงแต่จะเป็นการถ่ายทอดพฤติกรรมของสัตว์ปา่ ให้ออกมาให้ ได้เห็นเท่านัน้ หากแต่เป้าหมายทีแ่ ท้จริงในการถ่ายภาพของเขากับเป็นหัวใจทีเ่ ปีย่ มไปด้วยความ ละเอียดละไมและใส่ใจในชีวิตทุกชีวิต “ภาพถ่ายที่ดีต้องดีทั้งด้านหน้าที่เราเห็นและด้านหลังที่เราถ่าย ส�ำหรับผมการไม่ได้ ภาพกลับมา มันยังไม่แย่ เท่ากับการที่เราไปรบกวนสัตว์และธรรมชาติ” แววตาของเขาบ่งบอกถึงความรู้สึกที่จริงจัง “บางคนถ่ายรูปนกออกมาสวย แต่พกกิ่งไม้มาจากบ้าน เอาไปปักไว้เองให้มันดูสวย หรือ แม้แต่เอาหนอนไปวางไว้ ทีนี้พอนกตัวนั้นมันติดหนอน มันรู้สึกว่าได้กินอยู่ตลอด มีแสงแฟลช แว่บแว่บมาก็ไม่มีผล มันก็ไม่ระแวงภัย อยู่ๆ ดี มีเหยี่ยว บินลงมาจับมันไปเลย เพราะว่ามันขาด สัญชาตญาณของตัวเองไปแล้ว” “เราต้องไม่ไปท�ำอะไรที่ผิดไปจากธรรมชาติ ไม่ไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์ อย่าง บางคนไปถ่ายภาพแล้วเห็นกิ่งไม้อยู่กิ่งหนึ่งขัดใจมาก บัง ไม่สวยเลย พอกลางคืนเลยแอบไป ตัดออก ทั้งๆที่กิ่งไม้กิ่งนั้น อาจจะเป็นกิ่งที่สัตว์ใช้ไว้พรางศัตรูก็ได้ บางทีมันอาจจะไปท�ำรังตรง นั้น เพราะเห็นว่ามีกิ่งไม้อันนี้อยู่ก็ได้ เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพไม่ใช่แค่การได้ภาพ แต่มันต้อง เป็ น การได้ ภ าพมาแบบเข้ า ใจด้ ว ยว่ า พฤติ ก รรมและความเป็ น อยู ่ ข องสั ต ว์ เ ป็ น อย่ า งไร และรู้ด้วยว่า การถ่ายภาพของเราเป็นการรบกวนพวกเขาหรือเปล่า” เขายกตัวอย่างให้ฟังถึงสถานการณ์ของคนที่มักง่ายบางคนจนท�ำให้ธรรมชาติเกิด ความสูญเสีย แววตาทีด่ จู ริงจังในตอนแรกเปลีย่ นเป็นสายตาทีฉ่ ายความกังวลใจออกมาอยูไ่ ม่นอ้ ย 40

The Photographers’ sideway


41


ชื่อภาพ ‘เขา’ เนื้อทราย (Hog Deer)

42

The Photographers’ sideway

สั ต ว์ ป ่ า ใช้ ‘หู ’ และ ‘จมู ก ’ แทนการมองเห็ น สัญชาตญาณในการดมกับการรับฟังจะดีกว่ามนุษย์ เป็นอย่างมาก ในการเตรียมตัวเข้าป่าแต่ละครัง้ ไม่ควร ประพฤติตนที่ผิดแปลกไปจากสิ่งที่ธรรมชาติมีอยู่ แต่ ควรท�ำตัวกลมกลืนให้มากที่สุด


เพราะการถ่ายภาพแต่ละครั้งจะต้องรบกวนสัตว์ป่าให้น้อยที่สุด การใช้ชีวิตให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติจึงถือเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ช่างภาพสัตว์ป่า และ ธรรมชาติพึงมี ‘จิตใจ’ ก็ส�ำคัญที่เป็นตัวก�ำหนดให้รับรู้ได้ว่า เราจะท�ำสิ่งที่ถูกต้องหรือท�ำสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้นแล้วเราจะต้องระมัดระวังและดูแลรักษาธรรมชาติให้ดีที่สุด นอกเหนื อ จากการเก็ บ ภาพสั ต ว์ ป ่ า และธรรมชาติ เขายั ง ได้ เ ก็ บ ภาพความทรงจ� ำ และภาพความคิดของสัตว์ป่า รวมถึงธรรมชาติที่สวยงามเอาไว้อย่างมากมาย ดูเหมือนการถ่ายภาพจะเป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างเขากับธรรมชาติ

นาทีชีวิต การใช้ชีวิตอยู่ในป่าอาจเป็นดินแดนสรวงสรรค์ส�ำหรับเหล่าบรรดาช่างภาพสัตว์ป่าและ ธรรมชาติ แต่ในบางครั้งดินแดนแห่งนั้นก็แฝงไปด้วยความอันตรายที่ไม่อาจคาดฝัน ครัง้ หนึง่ บนเส้นทางการเดินทางไปเฝ้าถ่ายภาพวัวแดงทีเ่ ขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ห้วยขาแข้ง ไม่มีใครรู้ว่า วันนั้นจะเกิดเหตุการณ์หนึ่งที่เปลี่ยนมุมมองในชีวิตของช่างภาพสัตว์ป่าผู้นี้ไปเลย “ความตั้งใจในทริปนั้นของผมคือ การไปเฝ้าถ่ายภาพวัวแดง แต่โดยส่วนตัวแล้วผมเบื่อ ภาพจากโป่งแล้ว เพราะมันเป็นภาพมุมบังคับ เราเองก็ถ่ายมุมนี้อยู่บ่อยๆ ผมเลยเดินเข้าไปตาม ล่องแม่นำ�้ อีกด้านหนึง่ เพือ่ ทีจ่ ะถ่ายภาพมุมตีบทีเ่ ป็นน�ำ้ แล้วมีสตั ว์กำ� ลังข้ามมา เช้าของวันทีส่ ี่ ผม ก็ไปเฝ้าวัวแดงเหมือนเดิม แล้วก็คยุ กับเจ้าหน้าทีไ่ ว้วา่ ผมจะต้องกลับมาเพือ่ เปลีย่ นจุด หมายถึงว่า ออกจากจุดนีไ้ ปเฝ้าทีจ่ ดุ อืน่ ผมก็อยากจะท�ำตามกฎเขา ไม่อยากจะออกเกินหกโมง ก็คอื สีโ่ มงควร จะออกจากซุ้มมาเก็บของแล้ว แต่วันนั้นออกจากป่าเกือบหกโมง” “เราเห็นมันเหมือนมีก้อนอะไรขึ้นมาอยู่ก้อนหนึ่ง ทีแรกเข้าใจว่ามันน่าจะเป็นหมูป่าที่ลง มาเล่นน�ำ้ มองไม่เห็น ผมเลยลองถ่ายเป็นภาพมาแล้วกดซูมดู ปรากฏว่าเป็นเสือโคร่งนอนหันหลัง อยู่ เห็นหู มีแต้มขาวๆ ทีนี้แบบชัวร์เลย ผมเลยยิ่งเข้าไปใกล้มันเรื่อยๆ เพราะว่าเข้าใจว่ามันมีแค่ ตัวเดียว ถ้าตัวเดียวไม่มผี ล ส่วนใหญ่ถา้ เจอมันจะวิง่ หนี เลีย่ งเรา แต่สรุปว่าไม่ใช่ พอเดินไปถึง เรา เจอเสือห้าตัว” แน่นอนว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในป่าคือ ‘นักล่า’ และเสือก็คือหนึ่งในผู้เป็นนักล่าที่เราต่างรู้ กันดีวา่ น่ากลัวเพียงใด ภาพความคิดหนึง่ ในห้วงของความทรงจ�ำก็ยอ้ นกลับมาให้ระลึกถึงอีกครัง้ 43


ก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน พี่ก้องอ่านคอลัมน์เกี่ยวกับสารคดีสัตว์ป่าของ ม.ล. ปริญญากร วรวรรณ หรือ ‘พี่เชน’ ที่ใจความของเนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์เฉียดตายระหว่างช่างภาพสัตว์ ป่ากับ ‘เสือ’ “ตอนนั้นพี่เชนออกไปตามเสือที่หลุดออกมาที่ จ.กาญจนบุรี หลังจากที่ต้อนเสร็จก็มีเจ้า หน้าที่ไปยิงยาสลบ แต่เสือตัวนั้นไม่สลบกลับวิ่งหนีออกมา พี่เชนจึงตามไปกับผู้ช่วยนักวิจัย พอ วิ่งเข้าไปใกล้ถึงตัวเสือ มันหันกลับมา แล้ววิ่งเข้ามาตะปบเข้าที่หน้าของเขาจนล้มลง จากนั้นเสือ ก็วิ่งหนีไปอีก แต่ด้วยความบ้าบิ่นของพี่เชน เขาลุกขึ้นมาแล้ววิ่งตามไปเพื่อถ่ายภาพเสืออีก มัน เลยหันกลับมาอีกครั้งพร้อมกับวิ่งพุ่งตรงเข้ามาหา วินาทีนั้นพี่เชนเอากล้องยัดปากเสือสวนกลับ ไป เลนส์พังไปตัวหนึ่ง แล้วมันก็วิ่งหนีหายไป” เสียงกิ่งไม้หักเพราะกระรอกวิ่งไล่กันหล่นลงมา ท�ำให้เขาตื่นจากภวังค์ แล้วต่อไปนี้คือ ภาพที่เขาเห็น “ภาพทีเ่ ห็นต่อมาคือ ลูกเสือทีก่ ำ� ลังเดินผ่านแม่ไป พอกิง่ ไม้หล่นปุบ๊ ลูกไม่ได้สนใจเลยนะ ลูกเสือสีต่ วั ไม่มใี ครรูเ้ รือ่ งเลย แต่แม่มนั หันมา หันมาเสร็จแล้วก็ขฟู่ ใู่ ส่เราทันที เพราะว่าเสียงทีเ่ กิด ไม่ใช่เสียงในธรรมชาติไง ถ้าไม้ตกลงมาบนทรายมันก็จะเป็นอีกเสียงหนึ่ง แต่มันดันตกลงขาตั้ง กล้อง หล่นลงมาผ่านหัวผมไปเลยนะ (หัวเราะ) แล้วพอมันฟู่เสร็จมันก็วิ่งควบสวนมาหาผมเลย ตอนนั้นผมคิดอะไรไม่ออกเลย แต่ผมก็ยกขาตั้งกล้องขึ้น แล้ววิ่งสวนลงไป” เขาชูมือขึ้นมาสองข้างเพื่อประกอบท่าทางให้เห็นภาพในการเล่าครั้งนี้ให้เห็นได้อย่าง ชัดเจนขึ้น “ขณะทีว่ งิ่ สวนลงไป มันก็หยุดเบรก รอยเบรกมันยาวเป็นเมตรเลยนะ แล้วตัวแม่มนั ก็ตดั ไปทางซ้าย ตัวลูกไปทางขวา ตอนนั้นผมมีมีด ผมก็เลยหยิบมีดขึ้นมา แล้วเคาะกับขาตั้งกล้องให้ ดัง พอเดินผ่านตรงนั้น ขนลุกทุกเส้นเลย แล้วพอกลับมา มันก็ท�ำให้ได้คิดหลายๆ อย่างว่า โห! ความเป็นความตายมันห่างกันแค่นิดเดียวเอง” เขาเล่าถึง ณ วินาทีนั้น ขณะที่เขาก�ำลังตกใจกับภาพที่เห็นอยู่ตรงหน้า “ตอนนั้นเราไม่รู้หรอก เราอาจจะไปรบกวนความสุขที่มันก�ำลังไปเล่นน�้ำ แต่ว่าสุดท้าย แล้วมันก็แยกย้ายกันไป เราก็ไม่ใช่นายพราน มันก็ยังได้อยู่กบั ลูกที่มนั รัก เราก็รอดมาก็ได้กลับมา เจอครอบครัวที่รัก แล้วตอนนั้นไม่คิดเลยว่าจะมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ก็เลยเปลี่ยนมุมมอง แต่เรา เป็นคนที่คิดตลอดเวลานะว่า นั่งรถไป รถมันจะไปชน หรือนั่งเครื่องบิน มันจะตก แต่อีกมุมหนึ่ง 44

The Photographers’ sideway


ชื่อภาพ ‘Fear’ เสือโคร่ง (Tiger)

เสื อ โคร่ ง คื อ ผู ้ ล ่ า สู ง สุ ด แห่ ง ห่ ว งโซ่ อ าหาร มี อาณาเขตการหากิ น กว้ า งขวางนั บ ร้ อ ยตาราง กิโลเมตร มักแวะเวียนมาที่โป่งใหญ่เพื่อคอยล่าสัตว์ และกินพืชขนาดใหญ่เป็นอาหาร

45


ก็คดิ ว่าสิง่ ทีเ่ ราท�ำอยู่ ชีวติ มันก็ใช้คมุ้ แล้วนะ คุม้ แล้วทีท่ ำ� แบบนีส้ นุกแบบนี้ ยังอยากมีงานทีจ่ ะท�ำ มันออกมาเรือ่ ย ความท้าทายของช่างภาพสัตว์ปา่ นัน้ ล้วนต้องคิดอยูเ่ สมอว่าท�ำยังอย่างไรถึงจะได้ ภาพนั้นมา หรือว่าเห็นภาพในจินตนาการของตนเอง แล้วเราท�ำมันได้ เราไม่รู้หรอกว่า เราแค่ อยากจะถ่ายวัวแดง แล้วอยู่ดีๆ ก็เจอเสือโคร่งห้าตัว” ระหว่างการสนทนา ความเงียบเริ่มเข้ามาแทนที่ วินาทีนั้นตัวของเราเองรู้สึกได้ถึง ความตื่นเต้นในช่วงเวลาระทึกขวัญนั้นของพี่ก้อง แววตาของเราส่องประกายเหมือนเด็กที่ก�ำลัง นั่งฟังผู้ใหญ่เล่านิทานเรื่องหนึ่ง แต่ทว่า นิทานเรื่องนั้นคือ เรื่องราวเฉียดตายของผู้ชายคนนี้ ถ้าวันนั้นเขาพลาด เขาอาจไม่ได้มานั่งเล่าเรื่องนี้ให้เราฟังก็ได้ ความคุ้มค่าของชีวิตบางครั้งก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพียงเศษเสี้ยววินาที ไม่มีใครล่วง รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อย่างไรก็ดีสิ่งที่เขาก�ำลังท�ำอยู่ในตอนนี้มันคือ สิ่งที่เขาบอกกับตัวเองได้แล้วว่าเขาค้นพบความสุขได้จากสิ่งใด เป็นเวลาบ่ายสี่โมงเย็นแล้วนับตั้งแต่ที่บทสนทนาระหว่างเรากับพี่ก้องเริ่มขึ้น จากการสนทนาในครัง้ นี้ เราพอจะสรุปได้วา่ ช่วงชีวติ ในแต่ละช่วงทีม่ บี ทบาทของธรรมชาติ เป็นตัวขับเคลือ่ นของเขา การได้ออกไปถ่ายภาพสัตว์ปา่ และธรรมชาติลว้ นแล้วแต่เป็นความสุขที่ ท�ำให้เขาเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ยอมอุทิศชีวิตให้งานถ่ายภาพสัตว์ป่า เพื่อปรารถนาให้สังคมหันมา เข้าใจและใส่ใจธรรมชาติมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่เขากล่าวทิ้งท้ายไว้ให้กับเรา คือความมหัศจรรย์ของผืนป่าที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ยัง ตกค้างเหลืออยู่ แต่กย็ งั รอวันทีจ่ ะหมดและสลายไป ยังมีอกี หลายสิง่ ในธรรมชาติทเี่ รายังหาไม่เจอ และรอให้ผู้คนได้พบเห็นได้สัมผัสถึงความสวยงามรวมถึงเห็นคุณค่าของผืนป่าไม้ มองออกไปนอกห้องท�ำงาน มวลสีเขียวของหมูไ่ ม้นอกหน้าต่างก�ำลังไหวๆ ไปตามสายลม เหมือนเป็นการโบกมืออ�ำลาการพูดคุยในวันนี้พร้อมกับแนวคิดและสิ่งที่ฝากถึงใครหลายคนให้ มองเห็นความส�ำคัญ และความสวยงามของสัตว์และผืนป่าธรรมชาติในเมืองไทย ........

46

The Photographers’ sideway


การเข้าป่าในแต่ละครั้ง ควรสวมใส่เสื้อผ้าสีไม่ฉูดฉาด ซึ่งเข้ากันกับสภาพแวดล้อม ‘บังไพร’ คือ ซุ้มที่มีลักษณะกลมกลืนไปกับธรรมชาติไว้ ใช้ส�าหรับอ�าพรางตัวจากสายตาของสัตว์

47


ชื่อภาพ ‘กินโป่ง’ วัวแดง (Banteng)

48

The Photographers’ sideway

สัตว์กนิ พืชทุกชนิดต้องหาแร่ธาตุบางอย่างที่ไม่มี ในพืช เพื่อน�ำมาเสริมร่างกายให้แข็งแรง ‘โป่ง’ คือ พื้นที่แหล่งอาหารส�ำคัญ และเป็นแหล่ง ดินที่มีรสเค็มและละเอียด ซึ่งเกิดจากแร่ธาตุบางชนิด


ชื่อภาพ ‘ชีวิตบนเรือนยอด’ ชะนีมงกุฎ (Pileated Gibbon) 49


50

The Photographers’ sideway


51


ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ Suparerk Karuehanon

ASTRONOMY PHOTOGRAPHER “การถ่ า ยภาพดาราศาสตร์ บางคนบอกว่ า ภาพ ดาราศาสตร์คือภาพที่แลกมาด้วยความเจ็บปวด ถ้าคุณ ไม่มคี วามรักในการถ่ายภาพ มันก็ยากทีจ่ ะถ่ายภาพแนวนี”้

52

The Photographers’ sideway


53


THE GUARDIAN OF ASTRONOMY

นักอนุรักษ์ท้องฟ้าด้วยภาพถ่าย

“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถ อธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย” ประโยคจบเกี่ยวกับการถ่ายภาพดาราศาสตร์ที่ปรากฏทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน บนเว็บไซต์ข่าวผู้จัดการออนไลน์ของ ‘ศุภฤกษ์ คฤหานนท์’ หรือ พี่แจ๊ค สะดุดตาเราเข้าอย่างจัง ไม่ เ พี ย งแต่ เ ขาจะเป็ น นั ก ถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวและความรู ้ ผ ่ า นตั ว อั ก ษร แต่ ผ ลงานภาพถ่ า ย ของเขายั ง เป็ น สิ่ ง ชวนให้ ห ลงใหล ไม่ ใ ช่ เ พี ย งความสวยงาม แต่ มั น คื อ เสน่ ห ์ ที่ น ่ า ค้ น หา จากสิ่งที่อยู่บนฟากฟ้า ที่เรียกว่า ดวงดาว ปัจจุบันพี่แจ๊คเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่ง ชาติ โดยเป็นทั้งในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ รวมถึงเป็นหนึ่งในช่างภาพดาราศาสตร์ที่มีอยู่เพียงไม่กี่คนของเมืองไทยตอนนี้ แน่นอนว่า เราไม่รีรอที่จะติดต่อช่างภาพดาราศาสตร์คนนี้ไปในทันที ที่ ก ระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ซึ่ ง เป็ น สถานที่ ท� ำ งานอี ก แห่ ง หนึ่ ง ของพี่แจ๊ค ระหว่างที่เรานั่งรออยู่นั้น ชายหนุ่มร่างเล็กผิวคล�้ำสวมเสื้อคลุมแขนยาวสีกรมท่า ที่เดินมาพร้อมกับเป้ขนาดใหญ่และข้าวของสัมภาระต่างๆ เดินตรงเข้ามา แล้วการสนทนา ก็เปิดฉากขึ้นเมื่อเขามาถึง 54

The Photographers’ sideway


“ผมรักเสียงชัตเตอร์น่ะครับ” พี่แจ๊คบอกด้วยรอยยิ้มเล็กๆ “ตอนนั้นผมอายุประมาณ 22 ปี มันมีจังหวะหนึ่งที่ผมไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ จ.น่าน ไปนอนพักแรมอยู่ตอนกลางคืน แล้วก็ไปลองถ่ายภาพดู คนที่แนะน�ำให้ลองถ่ายภาพก็ คือพี่ชาย เขาเป็นคนที่เล่นกล้องอยู่แล้ว เขาก็เลยบอกให้เราลองถ่ายภาพดวงดาวดู แล้วก็เป็นคน สอนวิธีถ่ายภาพให้กับผมด้วย” เขาเริ่มเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการถ่ายภาพตอนกลางคืน ซึ่งต้องเปิดหน้ากล้องทิ้งไว้นานๆ เป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง ในตอนนั้นตัวเขาเองก็ไม่อาจทราบได้ว่า ภาพที่ถ่ายไปจะออกมาเป็น ลักษณะอย่างไร แต่หลังจากทีเ่ ขาน�ำฟิลม์ ไปล้าง ภาพทีป่ รากฏเห็นกลับเป็นภาพเส้นดวงดาวผสม ผสานกับสีท้องฟ้าได้อย่างสวยงาม และน่าประทับใจ “มันเป็นการรอคอยครั้งแรก ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแค่เพียงว่า การที่เห็นดาว เป็นจุด เหมือนคนทัว่ ไปก็คดิ ว่า ดาวก็เป็นอยูข่ องมันอย่างทีต่ าเราเห็นแบบนีแ้ หละ แต่สดุ ท้ายมัน ไม่ใช่ ดาวมันเคลื่อนที่เป็นเส้น แล้วนั่นมันคืออะไรล่ะ?” เขาขมวดคิ้วเล็กน้อย “ผมก็เกิดความสงสัย แล้วเริ่มที่จะศึกษาว่า ทรงกลมท้องฟ้าเป็นอย่างไร วัตถุท้องฟ้ายัง มีอะไรให้เราน่าค้นหา และน่าสนใจอีกตั้งเยอะ เราเลยเริ่มเข้าไปหาจุดนี้” นับว่าเป็นการรอคอยครั้งแรกที่อาจเรียกได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นส�ำคัญของการถ่ายภาพ ดาราศาสตร์ในชีวติ ของเขาเลยก็วา่ ได้ จากคนทีไ่ ม่มคี วามรูท้ างด้านดาราศาสตร์เลย แต่เป็นเพราะ ความชืน่ ชอบ และหลงเสน่หใ์ นการถ่ายภาพเป็นทุนเดิม จุดเริม่ ต้นจากวันนัน้ จึงเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้เขา ย่างก้าวเข้าสู่วงการการถ่ายภาพด้านดาราศาสตร์อย่างเต็มตัว “ต้องบอกตรงๆ ว่า ถูกชวนมาท�ำงานเพราะเรื่องการถ่ายภาพนี่แหละ” เขาหัวเราะ แม้ว่าการถ่ายภาพดวงดวงจะเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบ และคุ้นเคย การถูกเชิญชวนให้ไปร่วม ท�ำงานในฐานะช่างภาพที่ถ่ายวัตถุบนท้องฟ้าจึงเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น และเป็นโอกาสที่ควรรีบ คว้าไว้ แต่กระนั้นภาพที่คิดไว้ในหัว กลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดคิด “พอดีมีคนชวนให้เราไปถ่ายภาพดวงดาวที่ดอยอินทนนท์ สิ่งแรกไม่ต้องคิดอะไรเลย ไป ครับ!” เขายิ้ม “ผมไปในทันทีเลยครับ เพราะคิดว่าเราก็ได้ไปถ่ายดาวเหมือนที่เราเคยถ่าย แต่พอเราไป ถึง มันไม่ใช่อย่างที่เราคิดไว้เลย สิ่งที่เราเจอมันคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เต็มไปหมด” 55


56

The Photographers’ sideway


บททดสอบจากบนฟ้า กว่าจะได้ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ออกมาสักหนึง่ ภาพนัน้ การถ่ายภาพในแต่ละครัง้ ต้อง อาศัยความอดทน ความพยายาม และประสบการณ์ ซึ่งนับว่าเป็น บททดสอบส�ำคัญของนักถ่าย ภาพดาราศาสตร์ที่ทุกคนต้องเผชิญ “การถ่ายภาพดาราศาสตร์ บางคนบอกว่า ภาพดาราศาสตร์คือภาพที่แลกมาด้วยความ เจ็บปวด หนึ่งคุณต้องรอเวลาในการถ่ายภาพ เพราะการถ่ายภาพดาราศาสตร์ เป็นการถ่ายภาพ ในช่วงเวลากลางคืน คุณไม่สามารถจะถ่ายภาพเดียว แชะ! ในเวลาไม่กวี่ นิ าที มันเป็นไปไม่ได้หรอก คุณต้องใช้เวลาในการเปิดหน้ากล้องไว้นานๆ เพือ่ เก็บแสงของเส้นแสงดาวทีม่ นี อ้ ยๆ แล้วจะค่อยๆ เผยรายละเอียดออกมาให้เราได้เห็น” “นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราต้องลุน้ และรอคอย สิง่ ทีเ่ ราวางแผน พยายามเตรียมการ และเตรียมตัวต่างๆ แล้วท�ำมันออกมา เราต้องตอบตัวเองให้ได้อยู่เสมอว่า มันได้ผล ออกมาไหม” ไม่มีอะไรการันตีความส�ำเร็จ ส�ำหรับครั้งแรกการเริ่มต้นถ่ายภาพดาราศาสตร์ หลายคน อาจจะพบความผิดหวัง สิ่งที่เป็นบททดสอบของการถ่ายภาพแบบนี้ล้วนขึ้นอยู่กับตัวเองว่า ชื่นชอบการถ่ายภาพแนวนี้หรือไม่ พี่แจ๊คเล่าว่า หากคุณลองไปถ่ายภาพดู ถ้าคุณถ่ายครั้งแรกแล้วคุณรู้สึกว่า ไม่ประทับใจ คุณก็คงไม่เหมาะกับภาพแนวนี้ เพราะภาพแนวนี้ต้องอาศัยความอดทน ใจเย็น ประสบการณ์ ความชอบส่วนตัว และต้องมีความรักในการถ่ายภาพ แล้วคุณจะท�ำได้ดี “ถ้าคุณไม่มีความรักในการถ่ายภาพ มันก็ยากที่จะถ่ายภาพแนวนี”้ เขาฝากถึงคนที่อยากจะเริ่มหัดถ่ายภาพดาราศาสตร์ สิง่ ทีค่ นอืน่ มองว่า เป็นเรือ่ งยากทีอ่ ยากจะท�ำให้เป็นเรือ่ งง่าย ท�ำให้เป็นสิง่ ทีใ่ กล้ตวั เรา ไม่ ได้ไกลตัวเราเกินไป อยู่ที่ว่าจะสามารถท�ำหรือไม่ การที่เรารอคอยและลุ้นไปกับมัน ก็ถือเป็นสิ่ง หนึ่งที่ท�ำให้เขาสนุกกับการท�ำงานตรงนี้ การได้ออกไปถ่ายภาพท�ำให้มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น การได้ออกไปศึกษา และเฝ้าดูท้องฟ้า เป็นสิ่งที่ท�ำให้เขารับรู้ว่า ยังมีอีกหลายสิ่งที่รอให้ได้ค้นหา “สิ่งที่เราสนุกกับมันก็คือว่า เราสามารถที่จะถ่ายภาพในสิ่งที่ตาของเรามองไม่เห็น แต่ ก ล้ อ งสามารถมองเห็ น ได้ เพราะฉะนั้ น ผมจึ ง พยายามที่ จ ะน� ำ ความรู ้ ต ่ า งๆ มาบวกกั บ องค์ประกอบทางด้านศิลปะไปใช้แล้วถ่ายภาพออกมา ซึ่งสิ่งนี้เองที่ท�ำให้เราได้ทั้งภาพที่เรียกว่า ตามองไม่เห็น แต่ท�ำให้คนเห็นได้ ท�ำให้พวกเขาได้เห็นความสวยงามในยามค�่ำคืน” 57


สำ�หรับผู้ที่สนใจการถ่ายภาพดาราศาสตร์ อุปกรณ์ที่จำ�เป็นสำ�หรับการถ่ายภาพประกอบไปด้วย กล้องถ่ายภาพดิจิทัล ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ แบตเตอรี่สำ�รอง เมมโมรี่การ์ด หรือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตามดาวแบบพกพา หรือ ขาตั้งกล้องแบบตามดาว

58

The Photographers’ sideway


59


อย่ า งไรก็ ดี ในการถ่ า ยภาพทุ ก ครั้ ง ย่ อ มแลกมาด้ ว ยกั บ ความเสี่ ย ง แต่ ก็ แ ลกกั บ ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น การกดชัตเตอร์แต่ละภาพส�ำหรับเขาจึงมีความหมายทุกครั้ง “ผมไม่เคยเสียดายอุปกรณ์ที่ถ่ายไปเลย ชัตเตอร์ที่เสียไปมีความหมายกับผมเสมอ ทุกครั้งที่ผมลั่นชัตเตอร์ ถึงเราจะไม่ได้อะไรกลับมา ถึงมันจะเสียไป แต่สิ่งที่เราได้กลับมาคือ ประสบการณ์ที่จะเพิ่มขึ้น สิ่งที่เราก�ำลังจะท�ำ ถึงมันจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้น แต่ข้อผิดพลาดนั้น เราสามารถเอามาแก้ ไ ขในครั้ ง ต่ อ ไปได้ และสิ่ ง ที่ เ ราพยายามจะท� ำ ทุ ก วั น นี้ คื อ พอเรารู ้ สิ่ ง ที่ เ ราได้ คื อ เราอยากจะแชร์ ป ระสบการณ์ ใ นการถ่ า ยภาพทางด้ า นดาราศาสตร์ ให้กับคนอื่นได้รู้ เหมือนกับที่เรารู้”

ฟ้าเปลี่ยนชีวิต ดวงดาวบนท้องฟ้าไม่ได้มใี ห้เห็นอยูต่ ลอด บางดวงดาวเปล่งประกายฉายแสงอยูบ่ นท้องฟ้า ให้ได้เห็นในวันนี้ ตื่นขึ้นมาในอีกวันก็อาจจะลาลับหายไปแล้ว เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ อาจเกิดขึ้นในช่วงร้อยปี สองร้อยปี หากพลาดโอกาสที่จะเห็นก็อาจไม่มีโอกาสได้เห็นอีกเลยก็ได้ ในการถ่ายภาพทุกครั้งจึงต้องมีการวางแผน เตรียมการความพร้อม “ภาพบางปรากฏการณ์ มันไม่เกิดขึน้ บ่อยในชัว่ ชีวติ คนเรา เพราะฉะนัน้ เวลาทีม่ นั จะเกิด ขึ้น ในอนาคตที่มันก�ำลังจะเกิดขึ้นเนี่ย เราก็ต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม และพลาดไม่ได้” “สิ่งพวกนี้มันคือสิ่งที่กดดันที่สุดในการท�ำงาน ปรากฏการณ์บางปรากฏการณ์เราพลาด ไม่ได้ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ถ้าคุณไม่ถ่ายคุณต้องรอไปอีกกี่ปี 50-60 ปี ดาวหางดวงนี้ถ้า คุณไม่ถ่าย มันไม่เข้ามาอีกแล้ว มันจะเข้ามาครั้งเดียวมาเฉียดโลก แล้วก็ออกไปเลย เพราะอย่าง นั้นคุณจะพลาดไม่ได้” ปัญหาใหญ่ที่ช่างภาพดาราศาสตร์ต้องพบเจอคงจะหลีกหนีไม่พ้นขั้นตอนการท�ำงานที่ ธรรมชาติเป็นตัวก�ำหนด ไม่สามารถคาดเดาหรือกะเกณฑ์อนาคตล่วงหน้าได้ นี่คือความท้าทายของช่างภาพดาราศาสตร์ ทุกเสี้ยววินาทีของการถ่ายภาพมีความส�ำคัญ ความถูกต้องแม่นย�ำในการถ่ายภาพของ ช่ า งภาพทั่ ว ไป อาจจะสามารถควบคุ ม ได้ ว ่ า ต้ อ งการอารมณ์ แ บบไหน จั ด ไฟอย่ า งไร จัดองค์ประกอบต่างๆ ได้ตามทีใ่ จต้องการ แต่ชา่ งภาพดาราศาสตร์ไม่สามารถจัดสร้างอะไรขึน้ มา ได้เลย คุณต้องจัดการตัวเอง 60

The Photographers’ sideway


การถ่ายภาพดวงจันทร์ (Moon)

ควรเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ที่มีทางยาวโฟกัส ตั้งแต่ 200 mm. ขึ้นไปเพื่อให้ ได้ภาพดวงจันทร์ที่มีขนาด ใหญ่พอทีจ่ ะเห็นรายละเอียดพืน้ ผิวและหลุมของดวงจันทร์ ได้อย่างชัดเจน โดยปกติแล้วดวงจันทร์ขณะเต็มดวงจะมี ขนาดปรากฏบนท้ อ งฟ้ า เพี ย ง 0.5 องศา หรื อ หาก เหยี ย ดแขนให้ สุ ด แล้ ว ใช้ นิ้ ว ก้ อ ยเที ย บกั บ ดวงจั น ทร์ ดวงจันทร์จะมีขนาดครึ่งหนึ่งของนิ้วก้อยเท่านั้น

61


01

02

01 ภาพเส้นแสงดาว (Star trails) 02 ภาพเนบิวลา M42 ในกลุ่มดาวนายพราน 62

The Photographers’ sideway


“ธรรมชาติเป็นตัวก�ำหนด 90% อีก 10% ที่เหลือนั้น คือ เทคนิควิธีการความรู้ ประสบการณ์ การวางแผนการเตรียมตัวในการที่จะออกไปถ่ายภาพ ถ้าเกิดว่าเราวางแผนดี ทุกอย่าง แต่ปรากฏว่า ในวันทีเ่ ราออกไปถ่ายภาพวันนัน้ ท้องฟ้าไม่เปิด ท้องฟ้ามืด แบบนีก้ จ็ บเลย ถ้าท้องฟ้าเคลียร์ แต่เราไม่รู้ว่าจะถ่ายออกมาได้อย่างไร อันนี้มันก็ยากเหมือนกัน” ไม่เพียงเท่านี้การท�ำงานเป็นช่างภาพดาราศาสตร์ การดูแลร่างกายกับสภาพอากาศ ที่ ไ ม่ เ ป็ น ใจก็ เ ป็ น อี ก สิ่ ง ที่ เ ป็ น ปั ญ หา และอุ ป สรรคในการท� ำ งานที่ ย ากล� ำ บาก การท� ำ งาน อยู ่ ภ ายใต้ ส ภาพอากาศที่ เ ลวร้ า ย การแบ่ ง เวลาให้ กั บ การท� ำ งาน และใช้ ชี วิ ต ท� ำ ให้ เ ขา เกิดจุดเปลี่ยนในชีวิต “การถ่ายภาพมันท�ำให้เราเปลี่ยนตัวเองในทางที่ดีขึ้นนะ” พี่แจ๊คได้เล่าเท้าความให้เราฟังถึงความเป็นคนกินเหล้าที่เปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็น คนรักสุขภาพ เขาพูดพลางอมยิ้มเล็กๆ ที่มุมปาก “เมื่อก่อนผมท�ำงานอยู่บนดอยอินทนนท์ ภายใต้ความกดอากาศที่ต�่ำ หากเราไม่ดูแล ตัวเอง ร่างกายคงไม่เหมาะที่จะต่อสู้กับสภาพอากาศ ผมนอนในเวลากลางวัน ตื่นขึ้นในเวลา กลางคืน เวลาชีวิตก็เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นร่างกายจะต้องฟิตอยู่ตลอดเวลา มันจึงท�ำให้ผมเลิก สูบบุหรี่ และกินเหล้าไปโดยปริยาย”

มุมมองจากนักอนุรักษ์ท้องฟ้า การเห็ น ภาพของท้ อ งฟ้ า ที่ แ ตกต่ า งกั น ไปในแต่ ล ะปี เ ป็ น สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ เ ขามองเห็ น การเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท�ำให้เขารู้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง และน่าเรียนรู้อยู่เสมอ “ท้องฟ้าสมัยก่อนมันแตกต่างกับสมัยนี้นะ สะท้อนออกมาทางภาพที่ถ่ายมานี่แหละ ภาพถ่ายที่ผมถ่ายมาแต่ละปี ก็เห็นความแตกต่างของมัน” “มันบอกอะไรกับเรา?” การเห็นภาพท้องฟ้าที่แตกต่างออกไปในแต่ละปี ท�ำให้เขาเกิดค�ำถามขึ้นมา เขาพูดถึงเรื่องความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ควรมองข้ามอันเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะต่างๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น บนโลก การเปลี่ ย นแปลงเหล่ า นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ บ างคนอาจไม่ เ คยสั ง เกตเห็ น ซึ่ ง เป็ น สิ่งที่น่ากังวลใจอยู่ไม่น้อย 63


“ถ้าเราไปถามพ่อแม่ว่าดูดาวเป็นไหม? น้อยคนนะที่จะบอกว่า ดูไม่เป็น คนบอกอาจจะรู้นิดๆ หน่อยๆ แต่คนในอดีตเขารูน้ ะ คนแก่เนีย่ ตายายจะรูว้ า่ นีค่ อื ดาวอะไร แต่พอมาเป็นรุน่ พ่อรุน่ แม่ของเรา เขาไม่รแู้ ล้ว นีค่ อื สิง่ ทีผ่ มก�ำลังจะท�ำ โดยการเอาภาพถ่ายมาสือ่ นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราพยายามจะสร้างให้มนั กลับ มาอยู่อีกครั้ง” เพราะภาพถ่ายเป็นสิ่งบ่งบอกความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน “ภาพพวกนี้เป็นข้อมูลที่ดีในอนาคต อดีตเป็นอย่างไร อนาคตเป็นอย่างไร ภาพพวกนี้สามารถ บอกได้เสมอ” ไม่เพียงแต่เขาจะเป็นช่างภาพดาราศาสตร์ นักวิจัย และนักเขียนบทความ แต่เขาผู้นี้ยังเป็น ‘นักอนุรักษ์ท้องฟ้า’ ที่อยากจะถ่ายทอดเรื่องราว และประสบการณ์ รวมถึงมีความต้องการที่อยากจะ สร้างนักถ่ายภาพดาราศาสตร์สมัครเล่นขึ้นมาใหม่ เพื่อมาร่วมอนุรักษ์ท้องฟ้าไปด้วยกัน “ส�ำหรับผมแล้ว การถ่ายภาพคือการเก็บข้อมูลทีเ่ ราอยากรู้ อยากน�ำข้อมูลออกมาเผยแพร่ และ แสดงให้คนอืน่ เห็น ผมอยากให้พวกเขาได้รู้ ได้ทราบถึงข้อมูลทีน่ อ้ ยคนจะรู”้ รอยยิม้ พบเห็นเสมอตลอด การสนทนาเมื่อพูดถึงการถ่ายภาพในแต่ละบทสนทนายังคงไม่จางหาย “ผมอยากให้ผคู้ นทีห่ ลับใหลในเวลากลางคืน ได้ตนื่ ขึน้ มารับรูถ้ งึ เรือ่ งราวบนท้องฟ้า ไม่ใช่มวั แต่ หลับอยู่อย่างนั้น (หัวเราะ) กลางคืนยังมีอะไรให้เราค้นหาอีกมากมาย โดยปกติแล้วคนจะไม่ค่อยให้ ความสนใจกับกลางคืนสักเท่าไหร่ คนทีถ่ า่ ยภาพมันได้ประโยชน์ไปในตัวเอง โดยทีเ่ ราไม่รตู้ วั คุณได้เรียน รู้ท้องฟ้าไปในตัว คุณได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ไปในตัว” สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ตลอดระยะเวลาจากเริ่มต้นสนทนาจนบทสนทนาจบลง ทุกครั้งที่พูดถึง เรือ่ งราวเกีย่ วกับสิง่ ทีอ่ ยูบ่ นท้องฟ้า ดวงดาว เขาจะเปรยรอยยิม้ และแววตาทีส่ กุ ใสอยูเ่ สมอ ซึง่ มันท�ำให้ ผู้ฟังรับรู้ได้ถึงความกระตือรือร้น และความต้องการที่อยากจะเผยแพร่การถ่ายภาพดาราศาสตร์ ของผู้ชายคนนี้ การถ่ายภาพดาราศาสตร์ไม่เพียงแต่จะเป็นการบันทึกข้อมูล หากแต่ยังเป็นสิ่งคอยย�้ำเตือนถึง ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ภาพถ่ายดาราศาสตร์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับดวงดาว บนฟากฟ้า ปรากฏการณ์ตา่ งๆ ดวงจันทร์ทเี่ ราเห็นคุน้ ชินอยูใ่ นทุกๆ ช่วงของชีวติ ตัง้ แต่คนรุน่ หลังจนถึง เหล่าคนปัจจุบันนี้ก็เกิดความเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของการถ่ายภาพที่ผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และดาราศาสตร์ ถือเป็นเสน่ห์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด 64

The Photographers’ sideway


“การถ่ายภาพไปเรื่อยๆ มันท�ำให้เราได้เรียนรู้ธรรมชาติ ได้เรียนรู้เรื่องดาวบนท้องฟ้า ได้เรียนรู้ ถึงสิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้น อีกเยอะเลย ซึ่งเสน่ห์ของมันก็คือว่า ‘มันไม่มีที่สิ้นสุด’ ยังมีอีกหลายสิ่งหลาย อย่างที่เรายังไม่สามารถที่จะถ่ายภาพมันออกมาได้ เรารู้แต่บางทีเรายังไม่สามารถจะเอามันออกมาได้ ก็เป็นสิ่งที่เรายังต้องพยายาม ไปเก็บภาพมันต่อไป” โลกคงน่าเบื่อไม่น้อย หากเรามองเห็นแต่เพียงสิ่งที่อยู่บนโลกใบนี้ โดยไม่รู้เลยว่ายังมีอีกหลาย สิ่งหลายอย่างที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น หรือไม่อาจทราบได้ว่า ยังมีอะไรที่สวยงามรอให้เราค้นพบ ในวันนี้มีคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า ‘ช่างภาพดาราศาสตร์’ คอยเก็บบันทึกภาพสิ่งสวยงามนอกโลก ออกมาให้เราได้เห็น และถ่ายทอดความส�ำคัญของเรือ่ งราวบนฟากฟ้าให้เราได้รว่ มเป็นนักอนุรกั ษ์ทอ้ งฟ้า ที่จะคอยชี้ทางบอกคนรุ่นหลังว่า ยังมีสิ่งสวยงามและน่าค้นหาคอยให้เราได้ศึกษา และรอดูอยู่เสมอ ลองตืน่ ขึน้ มาในตอนกลางคืน แล้วหยิบกล้องสะพายกระเป๋า ออกไปเก็บภาพจากท้องฟ้ากัน ดูไหม? ........

65


66

The Photographers’ sideway


ภาพถ่ายทางช้างเผือก MILKY WAY สำ�หรับช่วงเวลาที่สังเกตทางช้างเผือกได้ดีที่สุดคือ ช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนตุลาคม 67


วสันต์ วณิชชากร Wason Wanichakorn

JOURNAL PHOTOGRAPHER “มันเป็นหน้าทีร่ บั ผิดชอบทีฝ่ งั ลึกมานาน กระสุนห่าง แค่ครึ่งเมตร ระเบิดตกห่างแค่ถนนสองเลน มีดห่างคอ แค่เมตรนึง แต่ผมก็ยังเลือกที่จะไปถ่ายต่อ อาจเรียกได้ ว่าเป็นคนบ้า หรือบางคนอาจเรียกว่าจิตวิญญาณเป็น เส้นบางๆ ไม่ห่างกัน”

68

The Photographers’ sideway


69


A SPIRIT OF JOURNAL

ภาพข่าวสะท้อนชีวิต

เสียงปืนทีก่ ราดยิงออกมาเป็นระยะ เสียงระเบิดทีด่ งั สนัน่ ห่างออกไปแค่สองช่วงเลนถนน เสียงหิน และเสียงไฟท่ามกลางความวุ่นวายและจลาจลที่เกิดจากกลุ่มคนที่ไร้สติ นี่คือเสียงที่เข้ามากระทบโสตประสาทในฉากหนึ่งของช่วงชีวิตระหว่างการท�ำงานเป็น ช่างภาพข่าวของ ‘วสันต์ วณิชชากร’ หรือ พี่เคี้ยง ทุกเหตุการณ์ผ่านเลนส์เป็นร้อยๆ เรื่อง ทุกซอกทุกมุมของการลงพื้นที่การออกไปเก็บบันทึกภาพเหตุการณ์เพื่อน�ำออกมาให้ผู้อื่นได้เห็น คือ ส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้ชายคนนี้ ย้อนกลับไปใครเลยจะรูว้ า่ ช่างภาพทีอ่ ทุ ศิ ตัวให้กบั การถ่ายภาพข่าวมาหลายต่อหลายครัง้ คนนี้ เคยมีความคิดเมือ่ ครัง้ สมัยเรียนทีย่ งั เป็นเพียงนักศึกษาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คนหนึ่ง ถึงขนาดที่ว่า เขาเคยท�ำสารนิพนธ์เกี่ยวกับการต่อต้านภาพข่าวในประเทศไทยมาก่อน “ผมไม่ชอบภาพข่าวในเมืองไทยเลย” เขาเล่าถึงความไม่นา่ รืน่ รมย์ของภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์หลากหลายฉบับทีเ่ ราเห็นกันอยู่ บ่อยครั้ง การเซ็นเซอร์ภาพที่เหมือนไม่ได้ตั้งใจปกปิดแหล่งข่าวอย่างแท้จริง การเห็นภาพนอง เลือดอันน่าสยดสยอง เป็นภาพที่ชวนน่าขนลุก และไม่น่าดู 70

The Photographers’ sideway


แม้เขาจะเคยรู้สึกไม่ชื่นชอบภาพข่าวของไทยอย่างเข้าขั้น ทว่า ดูเหมือนมุมมองของเขาที่มีต่อการถ่ายภาพข่าวจะไม่ได้มีแค่นั้น พี่วสันต์เล่าถึงภูมิหลังในชีวิตให้กับเราฟังอีกว่า เขาเติบโตมาในครอบครัวชาวจีน เป็นลูก คนโต ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลส�ำคัญที่ท�ำให้พ่อของเขาอยากให้เขากลับมาดูแลกิจการของครอบครัว แต่ดว้ ยความทีเ่ ขาไม่ได้ตอ้ งการอยากจะท�ำสิง่ นัน้ แต่มใี จรักในการถ่ายภาพมากกว่า และยังอยาก กลับไปใช้ชีวิตวัยเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยต่อ “ตอนนั้ น เป็ น ช่ ว งหั ว เลี้ ย วหั ว ต่ อ พอดี เขาจะพาเรากลั บ บ้ า นให้ ไ ด้ แต่ ผ มไม่ ก ลั บ ยังไงก็ไม่กลับ” เขาพูด แน่นอนว่า พ่อของเขาไม่สามารถเอาชนะความดื้อรั้น และความรักในการถ่ายภาพของ เขาได้ จนกระทัง่ วันหนึง่ พ่อของเขาตัดสินใจทีจ่ ะลงทุนธุรกิจทีเ่ กีย่ วกับสิง่ ทีเ่ ขารัก โดยการไปมัดจ�ำ เครื่องพิมพ์รูปเครื่องหนึ่ง เพื่อเป็นสิ่งโน้มน้าวใจดึงเขาให้กลับมาท�ำงานที่บ้าน ปัจจุบันพี่วสันต์จึงมีธุรกิจเกี่ยวกับการถ่ายภาพภายใต้ชื่อร้าน Viewpoint ซึ่งมีอยู่ ถึง 3 สาขา ที่ อ. ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเอง ขณะเดียวกันก็ยังคงรับ งานถ่ายภาพให้กับส�ำนักข่าวต่างประเทศ (Associated Press) หรือ AP จนถึงทุกวันนี้ เส้นทางการท�ำงานในสายข่าวของเขาทีไ่ ด้ตามเก็บภาพเรือ่ งราวต่างๆ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในชีวิตประจ�ำวันของคนทั่วไป แม้ว่าการท�ำงานในแต่ละครั้งจะสามารถปฏิเสธเหตุการณ์ที่ ตัว ช่างภาพไม่อยากไปก็ได้ รวมไปถึงเหตุการณ์อนั ตรายทีไ่ ม่มชี า่ งภาพคนนัน้ อยากรับมา แต่เขา กลับเป็นฝ่ายเข้าหา และเลือกการท�ำงานที่แฝงไปด้วยอันตรายเหล่านั้น และนั่นคือสาเหตุท่ีท�ำให้ชีวิตของเขากลับเต็มไปด้วยเรื่องราวระทึกขวัญในช่วงชีวิตของ การเป็นช่างภาพข่าวที่อาจเรียกได้ว่าเป็น ‘คนบ้า’ ค�ำว่า ‘บ้า’ เป็นค�ำที่ท�ำให้เราสงสัยถึงชีวิตช่างภาพข่าวของเขา แต่เขาใช้ค�ำว่า ‘บ้า’ กับตัวเองจริงๆ “มันเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่ฝังลึกมานาน กระสุนห่างแค่ครึ่งเมตร ระเบิดตกห่างแค่ถนน สองเลน มีดห่างคอแค่หนึ่งเมตร แต่ก็ยังเลือกที่จะไปถ่ายต่อ อาจเรียกได้ว่าเป็นคนบ้า หรือบาง คนอาจเรียกว่าจิตวิญญาณน่ะครับ เป็นเส้นบางๆ ไม่ห่างกัน” เขาหัวเราะ การลงปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายเหมือนจะเป็นอาการเสพติดพิเศษของเขาขึ้นไปทุกที ความคุ้มค่าในการถ่ายภาพของเขาในทุกครั้ง ล้วนเป็นสิ่งที่ท�ำให้เขารู้สึกชื่นชอบ และท้าทาย 71


ส�ำหรับเขา ความสนุกจากการการลงปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ในแต่ละครั้ง คือการได้เจอ เรือ่ งราวใหม่ๆ ในแต่ละวัน ความท้าทายทีจ่ ะถ่ายเหตุการณ์นนั้ ออกมาให้ได้ดี บางงานอยูใ่ นพืน้ ที่ ทีค่ นทัว่ ไปเข้าไม่ได้ การได้เข้าใกล้ชดิ เหตุการณ์แบบทีค่ นทัว่ ไปเข้าไม่ถงึ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในเรื่องนั้นๆ ว่าจะต้องมีภาพมาลงตีพิมพ์ให้ได้ จนมีค�ำพูดว่า “ไม่ได้ไม่ได้” เขาอธิบายว่า การไม่ได้กค็ อื การไม่มภี าพข่าวในเรือ่ งนัน้ ตีพมิ พ์วนั นัน้ ประชาชนทัว่ ประเทศ ก็จะไม่ได้เห็น เราไม่ได้ เราก็จะผิดหวัง ส�ำนักข่าวก็ผิดหวัง แล้วอะไรคือหัวใจของช่างภาพข่าว? “เป็นคนช่างสังเกตมาก ในเรื่องที่เราสนใจ นี่เป็นหัวใจของช่างภาพข้อหนึ่งเลยครับ ทีค่ วรมีอกี ความรูเ้ รือ่ งประเด็นทีเ่ ป็นข่าวในขณะนัน้ ต่อเรือ่ งทีป่ ระชาชนสนใจ ความพร้อม ความ รวดเร็วที่จะไปถึงเหตุการณ์ได้ทันเวลา ไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ดังนั้นภาพข่าวที่ดี จึงเป็นภาพเดียวที่จะบอกให้คนที่เห็นได้รู้และเข้าใจได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง การได้มาซึ่งภาพ ข่าวที่ดีแต่ละภาพมันจึงยาก และท้าทาย” หากเปรียบเปรยว่า กล้องถ่ายรูปเป็นอวัยวะส่วนใดในร่างกาย คงเปรียบได้กับดวงตา และเท้าทั้งสองข้าง “หลายๆ คนชอบมาถามว่าภาพนั้นภาพนี้ ถ่ายได้ยังไง ภาพนั้นภาพนี้ถ่ายได้สวยมากเลย ถ่ายภาพเก่งมาก ถ่ายมามีแต่ภาพสวยๆ อยากถ่ายได้แบบนี้บ้าง แต่ส�ำหรับผมแล้วทุกภาพสวยๆ ทีไ่ ด้มาไม่เคยมีภาพไหนได้มาง่าย ผมเรียนรูว้ า่ การเดินมากกว่าคนอืน่ และการมองมากกว่าคนอืน่ จะช่วยท�ำให้เรามีโอกาสได้ภาพที่ดีมากขึ้น โดยเฉพาะภาพข่าว ถ้าอยากได้ภาพสวยๆ ดีๆ นอกจากพื้นฐานการถ่ายภาพแล้ว จงใช้ส้นตีนและสายตาให้มากๆ” เรื่องราวต่อไปนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หากคุณไม่ใช่บุคคลที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณการ เป็นช่างภาพข่าว คงไม่มีใครหน้าไหนกล้าพาตัวเองเข้าไปสู่เหตุการณ์เสี่ยงอันตรายเช่นนี้ เหตุการณ์อันน่าตื่นเต้นเหตุการณ์แรกที่เขาเล่าให้เราฟังคือ เหตุการณ์การลงพื้นที่ ท�ำข่าวเรื่อง โสเภณีข้ามแดน ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งในเหตุการณ์นั้นพี่วสันต์จะต้องลงพื้นที่ด้วย ตัวเอง และแฝงตัวเข้าไปซื้อบริการโสเภณี เพื่อให้ได้ข้อมูลและภาพถ่ายข่าวออกมา “ผมคิดว่า จะพาเขาไปที่โรงแรมไหนก็ได้ แต่พอเขามาถึง เขาบอกว่า จะต้องไปโรงแรมที่ เขาระบุ ไ ว้ เ ท่ า นั้ น ตอนนั้ น เราไม่ มี ท างเลื อ ก เพราะอยากได้ ข ้ อ มู ล อยากได้ ภ าพกลั บ มา ก็ไปตามโรงแรมที่เขาพาไป” 72

The Photographers’ sideway


73


เขาเล่าต่อ “เมื่อก่อนมันไม่มีโทรศัพท์นะ มันนานมาแล้ว (หัวเราะ) สมัยนั้นนักข่าวจะใช้ วิทยุสื่อสารติดต่อกัน พอขึ้นไปที่ห้อง เราก็คุยกับเขาตรงๆ ว่าเรามาท�ำเรื่องนี้เพื่ออะไร ตอนแรก เขาก็ตกใจเหมือนกัน แต่ตอนหลังก็ยอมคุย หลังจากที่คุยกัน และถ่ายรูปไปได้ซักพัก มันก็มีวอ จากเพื่อนพี่ที่จอดรถรออยู่ใต้โรงแรม วอขึ้นมาบอกว่า ให้รีบลงมา! อย่าลงทางเดิม ลงทางไหน ก็ได้ที่เป็นทางอื่น!” “มันมีรถกระบะขนผู้ชายมาเกือบสิบคนพร้อมไม้กับอาวุธครบมือ!” เสียงที่เล่าให้ฟังดูจะสูงขึ้น “ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่า เขาจะมาท�ำอะไรเราหรือเปล่า แต่เหตุการณ์มันไม่ปกติแล้ว เพราะรถทะเบี ย นกรุ ง เทพ กั บ พวกหน้ า ตาแปลกๆ ที่ รู ้ ว ่ า ไม่ ใ ช่ ค นพื้ น ที่ มั น มี ไ ม่ เ ยอะที่ นั่ น เราถูกเพ่งเล็งแล้ว พอน้องดาวบอกว่า คงมีคนมาแอบฟังเรา แล้วพอมีวอขึ้นมาน้องดาวก็บอกว่า ‘พี่ ล งทางนี้ มั น มี ท างหนี ไ ฟ’ เขาก็ พ าเราไป ตอนนั้ น เราก็ ไ ม่ ไ ด้ คิ ด ว่ า เขาจะเป็ น ยั ง ไงนะ ก็รีบหนีไปทางบันไดหนีไฟ ปีนลงมายังไม่ถึงชั้น 1 อยู่แค่ชั้น 2 เราก็โดดลงมาแล้ว” แม้ เ หตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด จะผ่ า นมาเป็ น เวลากว่ า ยี่ สิ บ ปี แต่ เ ขากลั บ ไล่ ร ายละเอี ย ดใน ความทรงจ�ำราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน “ถ้าวันนั้นไม่มีวอบอก ก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นยังไง (หัวเราะ) มันเป็นเรื่องลับมาก แล้วถ้า เกิ ด เราไปแล้ ว เราหายไปก็ ไ ม่ มี ใ ครรู ้ เพราะมั น อยู ่ ช ายแดน คล้ า ยๆ แดนที่ ไ ม่ มี ก ฎหมาย ดูแลเท่าไหร่ ตอนนั้นถ้าได้รับอันตรายอะไรขึ้นมาก็ไม่มีใครช่วยเราได้” แล้วไม่กลัวหรือ? “กลัวครับ แต่ก็คงไม่มากพอที่จะหยุดตัวเองน่ะครับ” เหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้อยู่ตลอด เราอาจไม่เข้าใจความรู้สึกในการพาตัวเอง ไปอยู่ในที่ที่อันตรายเหมือนเขา แต่จากเรื่องเล่าที่ได้ฟังมา ณ วินาทีนั้นเรารับรู้ได้ถึงพลังของการ เป็นช่างภาพข่าวอันแรงกล้าของพี่วสันต์ เขาบอกว่า ในงานภาพข่าวบางครั้งความมุ่งมั่นที่จะได้ภาพธรรมดาไม่พอ แต่ต้องเป็น ความมุ ่ ง มั่ น แบบสู ง มากที่ จ ะต้ อ งได้ ภ าพให้ ไ ด้ เหตุ ก ารณ์ บ างเหตุ ก ารณ์ ที่ อ ยู ่ ใ นสถานะ สุ ่ ม เสี่ ย ง ล่ อ แหลม และคาดไม่ ถึ ง ต่ อ สิ่ ง อั น ตรายที่ อ ยู ่ ข ้ า งหน้ า คนที่ มี ค วามพร้ อ ม สมบู ร ณ์ จะท� ำ ให้ ก ารตัด สิน ใจพุ่งไปยังเป้าหมายได้เร็ ว กว่ า และได้ ภ าพเหตุ ก ารณ์ นั้ น ทั น ก่อนที่มันจะจบลง 74

The Photographers’ sideway


แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่เหตุการณ์อันตรายเหตุการณ์เดียวที่เขาเจอ ในช่วงปี 2553 เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมทางการเมือง (นปช.) กับเจ้าหน้าที่ ทหารถื อ เป็ น โศกนาฏกรรมที่ เ กิ ด จากความไร้ ส ติ ข องมนุ ษ ย์ เหตุ ก ารณ์ นี้ ไ ม่ ใ ช่ เ หตุ ก ารณ์ สลายผู้ชุมนุมธรรมดา หากแต่เกิดความสูญเสียมากมาย ทั้งชีวิตและจิตใจของผู้คน ไม่ต้องแปลก ใจเลยว่า ช่างภาพข่าวขาลุยคนนี้อยู่ในเหตุการณ์อันน่าระทึกขวัญเหตุการณ์นี้ด้วย ที่สี่แยกคอกวัว เวลาประมาณสองทุ่มของคืนวันที่ 10 เดือนเมษายน “ตอนนัน้ มันอันตรายเพราะไม่มใี ครรูห้ รอกว่า จะมีการยิง กับการระเบิดเกิดขึน้ แบบนัน้ ” “วันนั้นจะมีเสียงปืนตลอด เพราะปกติทหารเขาจะยิงปืนขู่ขึ้นฟ้าอยู่แล้ว เราก็ไม่ได้กลัว ปืนกลัวขวด กับก้อนหินมากกว่า แต่วันนั้นมันไม่ได้มีแค่นั้น ตอนสองทุ่มตรง มันมีระเบิด M79 ลูกหนึ่งลงที่แนวทหาร อยู่ห่างจากผมแค่สองเลนถนน ใกล้มาก! เพื่อนที่อยู่ตรงกันข้ามกัน ยังไม่ทันได้หลบอะไรก็โดนสะเก็ดระเบิดแล้ว” เขาเล่าด้วยน�้ำเสียงตื่นเต้น “ช่ ว งที่ ร ะเบิด ตกห่างกัน แค่ถนนสองเลน ตอนนั้ น ไปประจ� ำ อยู ่ ฝ ั ่ ง ผู ้ ชุ มนุ มเสื้ อ แดง แนวเสื้อแดงอยู่ก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้าวสาร แนวทหารอยู่ถัดไปก่อนจะเลี้ยวขวาเข้าข้าวสาร คือห่างกันสัก 20 เมตรเองมั้ง เสื้อแดงเขาก็ปาพวกระเบิดไป ก้อนหิน หนังสติ๊ก ทหารก็จะมีโล่ ป้องกัน และยิงปืนขู่ขึ้นฟ้า แล้วก็จะมีกระสุนยางต้านกันอยู่อย่างนั้น ผมก็เข้าไปทางฝั่งเสื้อแดง” “ทีนี้มันอันตรายเพราะว่า เราไม่เคยคิดมาก่อนว่ามันจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ผมก็เข้าไป อยู่ฝั่งเสื้อแดง เขาก็คิดว่า ผมเป็นนักข่าวญี่ปุ่น ได้โอกาสผมก็เลยฟอร์มเป็นนักข่าวญี่ปุ่นไป เพราะถ้าเป็นคนไทยเนี่ย ‘เขา-จะ-ไม่-ให้-ถ่าย’!” “มันเป็นพื้นที่ที่อันตรายมาก จะไปไหนมาไหนทีสุดแสนจะล�ำบาก นั่งรออยู่สักพักหนึ่ง ก็มีเสียงระเบิดดังตู้ม! ขึ้นมา โอ้โห! ดังมาก พอมองออกไป วินาทีนั้นเห็นทหารนอนเป็นกองเลย นะ ก็รบี หยิบกล้องขึน้ มาถ่ายภาพ แต่พอดีตรงมุมทีเ่ ราอยูม่ นั โดนบัง ผมเลยตัดสินใจย้ายออกจาก ฝั ่ ง เสื้ อ แดงไปอยู ่ ร ะหว่ า งแนวทหารกั บ เสื้ อ แดงแทน ช่ ว งนาที นั้ น เป็ น ช่ ว งที่ อั น ตรายที่ สุ ด เพราะว่าเป็นเวลากลางคืน M79 ลูกแรกลงตรงช่วงนัน้ สองทุม่ แต่ทนี ส้ี องทุม่ มันก็มดื แล้ว ถูกไหม? ไม่มใี ครมาเดินมายืนแล้ว มันมืดแล้ว เสียงปืนมันมีมาตัง้ แต่บา่ ยแล้วไง มันไม่มใี ครอยูแ่ ถวนัน้ แล้ว ทุกคนต้องหนีออกมาจากตรงนั้นแล้ว” “ตอนนั้นมันมีทั้งหิน ทั้งระเบิดไฟ ระเบิดขวด มันไปรวมอยู่แถวนั้นหมดเลย มันทั้งมืด ทั้งน่ากลัว แล้วก็เป็นนาทีที่แบบว่า ทุกคนขาดสติ” 75


76

The Photographers’ sideway


เขาเล่าให้ฟังต่อถึงการอยู่ในท่ามกลางความวุ่นวายนั้น “ผมชูสองมือเลยนะ ยกกล้องสองกล้อง ให้เขาเห็นแล้วตะโกนบอกว่า ผมเป็นนักข่าว! ตะโกนดังมาก มันมืดมาก เขาไม่เห็นหรอกว่า หน้าตาเราเป็นยังไง เขาเห็นแต่เงากับท่าทาง ของเราเท่านั้น แล้วก็เสียงที่ตะโกนออกไปสุดเสียง ในสถานการณ์คับขันแบบนั้น เสียงปืน เสียงไฟไหม้ มันแทรกมาตลอดเวลา แต่เราก็ตะโกนสุดเสียงเท่าที่เรามี เท่าที่เราบอกได้ แต่ผมยืน ชูมืออยู่เฉยๆ เลยนะ ไม่ขยับเลย พอเราเข้าไปหลังแนวทหารได้ก็โอเคละ ทหารเขาจะตั้งแนว ประกบหน้าหลัง ต้องหันหลังให้กัน ผมเข้าไปอยู่ตรงกลางเลยก็คิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่ด้วย ความบ้าของเรา (หัวเราะ) เห็นทหารก�ำลังเอาปืนลูกซอง ซึ่งใส่กระสุนยางยิงใส่พวกเสื้อแดง เราเลยยกกล้องขึ้นแอบถ่าย ทหารตะโกนขึ้นมาว่า เห้ยถ่ายท�ำไม! มึงถ่ายท�ำไม! หลังจากนั้น ก็มีทหาร 5-6 คนวิ่งมาหาเรา ผมก็คิดในใจว่า เอาแล้วกูซวยแล้ว” ช่างภาพข่าวเล่าเรื่องต่ออย่างมีจังหวะจะโคน “กว่าจะได้อธิบายให้เขาฟังจนเข้าใจ ทหารเข้ามาอุ้มเราลอยไปเลย ยกเราทั้งตัวเลยนะ ไม่ต้องเดินเลย อุ้มไปที่กองบัญชาการของเขา” “สถานการณ์ตรงนัน้ ไม่นา่ อยูแ่ ล้ว เพราะว่าคนมันขาดสติ อย่างเราเห็นเพือ่ นนอนกองอยู่ เกือบสิบคน พวกผู้ชุมนุมก็เฮกันเข้ามา เอาของปา เอาของตี อยู่ตรงนั้นไม่ได้ แต่ผมนับถือทหาร เลย ส่วนใหญ่อดทนมาก ทุกคนมีปืนนะ แต่ไม่ยิง ถามว่ามีคนยิงไหม อาจจะมี แต่เราไม่เห็น” ธรรมชาติของมนุษย์โดยปกติแล้ว ด้วยสัญชาตญาณการได้ยนิ เสียงทีเ่ ป็นอันตราย การหนี เป็นอีกสิง่ ตอบสนองส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เราอยูส่ ถานการณ์ทปี่ ลอดภัยยิง่ ขึน้ แต่สำ� หรับเขาแล้ว สิง่ เหล่า นี้ดูจะเป็นสัญชาตญาณตรงกันข้ามที่แตกต่างจากคนทั่วไป ที่แปรเปลี่ยนเป็นแม่เหล็กดึงดูดอัน เป็นพลังขับเคลื่อนให้เขาวิ่งเขาไปหาเสียงที่คนทั่วไปไม่อยากได้ยิน เพราะการหนีส�ำหรับเขา หมายความว่า เขาจะไม่ได้เก็บภาพตามที่ใจต้องการ “ส�ำหรับพวกเรา พวกเราวิ่งเข้าไปหา เสื้อแดงมีอาวุธ ทหารมีอาวุธ ช่างภาพเราไม่มีอะไร เลย เรามีแค่กล้อง” ถ้าม็อบมีระเบิด มีก้อนหิน และหนังสติ๊ก ถ้าทหารมีปืน อาวุธของช่างภาพก็คงจะเป็น อะไรไปมิได้เสียจาก ‘กล้องถ่ายรูป’ เราคิดอย่างนั้น หลังจากที่ฟังเรื่องเล่าที่อยู่ระหว่างความเป็นกับความตายที่เขาพบเจอ ค�ำถามต่อมา แล้วจะเอาชีวิตไปเสี่ยงอันตรายท�ำไม? 77


“มันมีค�ำถามอยู่ตลอดเวลาว่า เหตุการณ์ตรงนั้นจะเป็นอย่างไร เขามีปืนไหม จะยิงเรา หรือเปล่า เรื่องแบบนี้ใช้ความรักในการถ่ายภาพอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องบ้ามากๆ ด้วย” นี่คือสิ่งที่เขาบอกพร้อมกับบทสนทนาที่จบลง ตลอดระยะเวลา 20 ปี กับการท�ำงานเป็นช่างภาพ เหตุการณ์ที่เขาเล่าถึงนั้นเป็นเพียงแค่ เหตุการณ์สว่ นหนึง่ ทีเ่ ขาได้พบเจอ วันนีเ้ ราได้รจู้ กั กับช่างภาพคนหนึง่ ทีย่ อมเอาตัวเองเข้าไปเสีย่ ง ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ความพยายามในการเก็บบันทึกภาพและเรื่องเล่าผ่านการเล่าด้วยภาพขาน โลกให้คนได้รับรู้ ด้วยหน้าที่และหัวใจของสื่อมวลชน การสวมวิญญาณคนข่าวที่ผ่านเหตุการณ์ ต่างๆ มาอย่างโชกโชน เรือ่ งราวเป็นร้อยทีเ่ กิดขึน้ ในทุกซอกซอยของถนน วันเวลาทีผ่ า่ นมามากกว่า ครึ่งชีวิตของ ‘วสันต์ วณิชชากร’ ที่ทุ่มเทไปกับสิ่งที่เขารัก และเชื่อว่าท�ำได้อยู่เสมอ ทัศนคติของการถ่ายภาพข่าวในอดีตถูกแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งให้เขาพยายามถ่ายทอดภาพ ข่าวให้ออกมาเป็นภาพเหตุการณ์ที่มีคุณค่ามากกว่าน�ำเสนอภาพถ่ายเหตุการณ์ที่ไม่ชวนดู ในฐานะช่างภาพข่าวหัวใจของช่างภาพเป็นสิ่งที่ท�ำให้เขาไขว่คว้าให้ได้ภาพที่ต้องการ ความสนุกจากการท�ำงาน การได้เจอเรื่องราวใหม่ๆ ที่ไม่ซ้�ำบวกกับความท้าทายที่จะท�ำให้ เหตุการณ์นั้นถูกถ่ายทอดออกมาด้วยดี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจึงเป็นสิ่งที่ ท�ำให้เขารักในการท�ำอาชีพช่างภาพข่าวของเขาต่อไป ณ วันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า จะมีสักกี่คนที่จะมีใจกล้าพอที่จะเข้าไปเผชิญต่อเหตุการณ์ อันตราย เพื่อไปเก็บภาพช่วงเวลาและเหตุการณ์ตรงนั้นออกมาให้คนอื่นได้เห็น เขาไม่เป็นเพียง แค่ช่างภาพผู้เก็บบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ออกมาน�ำเสนอให้ผู้คนได้เห็น หากแต่เขายังเป็นช่างภาพที่เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณการท�ำข่าวที่ทุกภาพถ่ายผ่าน ประสบการณ์เหมือนภาพที่มีชีวิตภาพหนึ่ง ไม่แปลกทีก่ ารเป็นช่างภาพจึงเป็นสิง่ ทีค่ อยแต่งแต้มสีสนั ให้กบั ทางเดินชีวติ ของเขาต่อไป เรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ ........

78

The Photographers’ sideway


79


80

The Photographers’ sideway


The 45 Most Powerful Photos Of 2013 หนึ่งในภาพ ‘Photo Of The Year’ ของสำ�นักข่าวต่างประเทศ (Associated Press) หรือ AP ในปี 2013

81


82

The Photographers’ sideway


กันต์ สุสังกรกาญจน์ Gun Susangkarakan

BLACK & WHITE PHOTOGRAPHER “เราก็ ไม่รู้หรอกว่า เราเหยาะน�้ำปลาไปในอาหาร มันจะเค็มมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่มีประสบการณ์ แต่เมื่อ เรามีประสบการณ์เมื่อไหร่ ก็เหยาะน�้ำปลาลงไป ผัดไป ใส่เครื่องปรุงอันนี้อีกนิด เอามือหยิบลงไปอีกหน่อย เราก็จะรู้ว่า เราได้รสชาติตามที่เราต้องการ โดยที่เราไม่ ต้องชั่ง ตวง หรือวัดเลย”

83


THE BLACK AND WHITE EYES

ชายในโลกขาวดำ� ภาพ: ธนวัฒน์ เพชรจันทร

แอนเซล อดัมส์ (Ansel Adams) ศิลปินช่างภาพคนหนึ่ง ปรมาจารย์นักถ่ายภาพชาว อเมริกนั ทีม่ ชี อื่ เสียง และเป็นผูถ้ า่ ยทอดความความงามอันแท้จริงผ่านทางภาพถ่ายขาวด�ำสูส่ ายตา ให้ผู้อื่นได้เห็น ภาพถ่ายต้นไม้ที่มีใบไม้สีขาวหลากหลายใบลอยโดดเด่นออกมาจากฉากป่าข้างหลังสีด�ำ มืด ไม่ได้เป็นเพียงผลงานภาพถ่ายธรรมดาๆ จากฝีมอื ของแอนเซล หากแต่ยงั เป็นภาพถ่ายทีเ่ ปีย่ ม ไปด้วยแรงบันดาลใจ และเป็นส่วนผลักดันส�ำคัญที่ท�ำให้ใครหลายๆคน ต่างฝึกฝนและเรียนรู้ วิชาการถ่ายภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพถ่ายอันงดงามอย่างศิลปินช่างภาพคนนี้ และหนึ่งในผู้ใฝ่รู้เหล่านั้น คือ ‘กันต์ สุสังกรกาญจน์’ หรือในวงการช่างภาพเรียกเขาว่า ‘ครูกันต์ขาวด�ำ’ หลังจากที่ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ครู กันต์พาเราไปดูตามห้องเรียนแต่ละห้อง ไม่วา่ จะเป็นห้องมืด ห้องล้างฟิลม์ รวมไปถึงห้องจัดแสดง ผลงานของเหล่านักศึกษา ตลอดการเดินเยี่ยมชมสถานที่ ซึ่งนับว่าเป็น จุดศูนย์รวมของการเรียน รู้แห่งศาสตร์วิชาการถ่ายภาพแห่งนี้ เราเห็นถึงขั้นตอนของกระบวนการถ่ายภาพตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนถึงผลส�ำเร็จของภาพให้ออกมาตามใจต้องการ 84

The Photographers’ sideway


เช่นเดียวกับการสนทนาทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ ในเวลาต่อมานี้ อันเป็นเรือ่ งราวตัง้ แต่จดุ เริม่ ต้น จนมาถึงปัจจุบันในชีวิตของเขา ย้อนกลับไปกว่าสองทศวรรษที่แล้ว ช่วงเวลานั้นการถ่ายภาพของเมืองไทย ข้อมูลเชิง เทคนิคในการถ่ายภาพของช่างภาพในเมืองไทยล้วนแล้วแต่เป็นเคล็ดลับเฉพาะของช่างภาพแต่ละ คนที่ไม่อาจเปิดเผยได้ เด็กหนุ่มคนหนึ่งที่เรียนจบจาก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้ว่าสาขาที่ เรียนจะไม่ได้มคี วามเกีย่ วข้องกับวิชาการถ่ายภาพ แต่เพราะหลงรักในการถ่ายภาพ ตลอดจนการ ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินช่างภาพ สิง่ เหล่านีเ้ ป็นแรงผลักดันให้เขายึดมัน่ ว่า ถ้าอยากไปถึงเป้าหมายก็ตอ้ งเสาะแสวงหา และ เดินเข้าไปหามัน ขณะทีไ่ ปเรียนต่อปริญญาโท สาขาการบริหารงานพาณิชย์ระหว่างประเทศทีม่ หาวิทยาลัย บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา แน่นอนว่า เขาไม่ลืมหาโอกาสไปแสวงหาความรู้ในสิ่งที่รัก ความตั้งใจในการไปร�่ำเรียนวิชาการถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพตามที่ใจต้องการจึงเริ่มต้นขึ้น เขาลงเรียนคอร์สวิชาการถ่ายภาพกับครูชาวต่างชาติที่นั่น แม้ว่าเขาจะไม่ได้เข้าไปเรียน กับปรมาจารย์วิชาด้านการถ่ายภาพขาวด�ำอย่างแอนเซล แต่ ณ เวลานั้น เขาก็ได้เจอกับลูกศิษย์ ของศิลปินช่างภาพทีเ่ ขาประทับใจ และมีโอกาสเข้าไปร�ำ่ เรียนกับครูจอห์น เซกตัน (John Sexton) และครูนิค จอห์นสัน (Nick Johnson) ครูกันต์เล่าถึงช่วงเวลาของการเรียนถ่ายภาพในตอนนั้นว่า การเรียนเป็นคอร์สระยะสั้น แบบนีจ้ ะไม่คดิ เกรด ไม่มเี กรดให้เหมือนการเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนัน้ ทุกสิง่ ทุกอย่างล้วน ขึ้ น อยู ่ กั บ ผู ้ เ รี ย นเองว่ า จะขยั น และตั้ ง ใจมากน้ อ ยแค่ ไ หน นั่ น เป็ น สิ่ ง ที่ ผู ้ เ รี ย นต้ อ งขยั น และใฝ่หาความรู้อย่างสม�่ำเสมอ อย่างไรก็ตามช่วงวินาทีและความรูส้ กึ แรกกับการถ่ายภาพขาวด�ำกลับไม่ได้เป็นดัง่ ใจหวัง “ตอนเริ่มต้นถ่ายภาพขาวด�ำครั้งแรก ผมไม่รู้อะไรเลย เราไม่ได้ล้างรูปเอง แต่ส่งเข้าร้าน ให้เขาล้าง ปรากฏว่า ภาพถ่ายที่ล้างออกมานั้น น�้ำหนักขาว น�้ำหนักด�ำ ไม่ได้อย่างที่เราตั้งใจไว้ เลย แล้วก็ไม่สวยเหมือนกับภาพของแอนเซลทีเ่ ราเคยเห็น ตอนนัน้ ผมงมอยูก่ บั วิธกี ารล้างภาพอยู่ หลายปีก็ยังไม่สามารถท�ำได้ จนกระทั่งได้ตัดสินใจไปเรียน มันก็เลยเหมือนกับว่า เราได้เข้าใกล้ สิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้เรื่อยๆ” 85


ช่วงเวลาทีฟ่ งั ครูกนั ต์เล่าถึงจุดเริม่ ต้นในการถ่ายภาพนัน้ เปรียบเหมือนเป็นช่วงเวลาทีเ่ ต็ม ไปด้วยความมหัศจรรย์และแรงบันดาลใจ หากมุ่งมั่นอยากจะท�ำสิ่งไหนแล้ว จงท�ำสิ่งนั้น เพื่อที่ เราจะค้นหาค�ำตอบของมันให้จงได้ ความพยายามและความเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ก็เป็นอีก องค์ประกอบหนึ่งของความส�ำเร็จ การเรียนรู้วิชาถ่ายภาพส่งผลให้เขาได้เริ่มก้าวย่างเข้าสู่ประตูแห่งโลกขาวด�ำอย่างเต็มตัว ตั้งแต่นั้นมา แต่สิ่งที่ได้รับจากการไปร�่ำเรียนที่เมืองนอก ไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้ถึงวิชาการถ่าย ภาพเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการเรียนรู้วิชาของการใช้ชีวิต การไปด�ำเนินชีวิตในต่างดินแดน ท�ำให้โลกทัศน์ และมุมมองต่อบางสิ่งบางอย่างของเขาเปิดกว้างขึ้น “ณ ช่วงเวลานัน้ ตอนทีไ่ ปเรียนต่อทุกอย่างมันเปลีย่ นตัวเราหมด ทัง้ ทัศนคติ มุมมองทีเ่ รา มองตัวเอง มองประเทศไทย เราอยู่ในที่ที่เราคุ้นเคย เราไม่รู้สึกถึงความงาม เอกลักษณ์ หรือ ความแตกต่างจนกระทัง่ เราไปอยูข่ า้ งนอก แล้วมองย้อนกลับมาเราจึงเห็นประเทศไทยชัดเจนขึน้ ” ส�ำหรับเขาแล้ว ทุกจังหวะของความรูส้ กึ ในช่วงเวลาการถ่ายภาพขาวด�ำแต่ละภาพนัน้ คือ การสามารถก�ำหนดโทนได้ “มันเป็นเหมือนกับการที่เราชอบกินบะหมี่ ถ้าหากเราท�ำเส้นขึ้นมาเอง เราก็จะสามารถ ก�ำหนดความนุ่มและความเหนียวของเส้นได้ ใส่แป้งตัวนี้เพิ่มก็จะเหนียว ใส่ตัวนี้เพิ่มก็จะนุ่ม” ภาพที่ครูกันต์เปรียบเปรยให้เราเห็นถูกท�ำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าเทียบให้เห็นภาพ เหมือนการท�ำอาหาร อาหารทีเ่ กิดขึน้ จากครูกนั ต์คงมีรสชาติแสนอร่อย เช่นเดียวกับการถ่ายภาพ ของเขาที่มีความงดงามอยู่เสมอ “การถ่ายภาพฟิล์ม เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า สุดท้ายแล้วภาพมันจะออกมาเป็นยังไง” เขาพูดพร้อมกับแฝงรอยยิ้มที่ถูกซ่อนเร้นไว้มุมปาก “เราก็ไม่รู้หรอกว่า เราเหยาะน�้ำปลาไปในอาหารมันจะเค็มมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่มี ประสบการณ์ แต่เมื่อเรามีประสบการณ์เมื่อไหร่ ก็เหยาะน�้ำปลาลงไป ผัดไป ใส่เครื่องปรุงอันนี้ อีกนิด เอามือหยิบลงไปอีกหน่อย เราก็จะรู้ว่า เราได้รสชาติตามที่เราต้องการ โดยที่เราไม่ต้องชั่ง ตวง หรือวัดเลย” “ครูกันต์ชอบท�ำอาหารแน่ๆ” เราแอบอมยิ้มและครุ่นคิดในใจ องค์ประกอบเล็กๆน้อยๆ ของการถ่ายภาพอันประกอบเกิดจากความรักเหมือนเป็นสิ่งที่ หล่อหลอมให้การเข้าไปอยู่ในโลกสีขาวด�ำของเขามีเรื่องราวให้ได้น่าค้นหา 86

The Photographers’ sideway


87


88

The Photographers’ sideway


89


การฝกมองภาพผ่านเลเยอร์สี RGB บ่อยๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้สามารถมองภาพออกมาเป็นโทนได้มากยิ่งขึ้น

90

The Photographers’ sideway


กระนั้นการถ่ายภาพขาวด�ำดูจะเป็นเพียงค�ำตอบเดียวที่ตอบโจทย์ส�ำหรับการถ่ายภาพ ของช่างภาพคนนี้ “ผมถ่ า ยภาพสี ก็ ไ ด้ ถ่ า ยขาวด� ำ ก็ ไ ด้ แต่ ผ มแสดงออกมาเป็ น โทนขาวด� ำ ได้ ดี ก ว่ า ภาพขาวด� ำ ของผมไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งครบทุ ก โทน ขึ้ น อยู ่ กั บ ว่ า ภาพนั้ น มั น แสดงออกถึ ง อะไร บางรูปมันควรจะเข้ม บางรูปมันควรจะอ่อน มันเป็นองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลงตัว พอดีมากกว่าครับ” หากเปรียบการไล่เรียงโทนสีในภาพถ่ายขาวด�ำใบหนึ่งส�ำหรับครูกันต์แล้วคงเป็นเหมือน กับเสียงดนตรีที่มีตัวโน้ตหลายเสียงแตกต่างกันออกไป ในภาพหนึง่ ภาพไม่จำ� เป็นต้องมีโทนสีครบทุกโทนเหมือนดนตรีทไี่ ม่จำ� เป็นต้องกดตัวโน้ต ครบทุกอัน บางเพลงจะใช้ไม่กี่ตัวโน้ตก็ได้ เช่นเดียวกับภาพขาวด�ำที่บางทีก็ต้องการความหลาก หลายของน�้ำหนักโทน มีสีขาว สีเทา หรือสีด�ำบ้าง อ่อนบ้างและจัดบ้าง แล้วแต่แนวคิดที่ต้องการ แสดงออกมาตามแต่ละเนื้อหาของภาพ “ดนตรีจะมีโน้ตเป็น โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ภาพขาวด�ำที่ไล่โทนกันอยู่ก็มี ชื่อก�ำกับคล้ายๆ กับชื่อระดับเสียงในตัวโน้ตที่มีหลากหลายเสียงแตกต่างกันออกไป สุดท้ายแล้ว เราต้องเรียนรู้และเข้าใจว่า เราต้องการจะสื่อสารให้คนฟังหรือคนที่ได้เห็นรับรู้ถึงเรื่องอะไร ถ้ามีจุดหมายในสิ่งที่ต้องการจะสื่อแล้วก็ต้องไปให้สุดในเส้นทางนั้น” นอกจากนี้ การฝึกฝนเป็นสิ่งหนึ่งที่ครูกันต์บอกเน้นย�้ำอยู่เสมอ หากต้องการผลงานของ ตัวเองให้ดูดี การฝึกฝนถือเป็นข้อปฏิบัติส�ำคัญที่ท�ำให้งานของเรามีคุณค่า และน่าจดจ�ำ “ประสบการณ์คือชั่วโมงบินที่ส�ำคัญ เหมือนเราชอบกินส้มต�ำ ก็ต้องตระเวนกินส้มต�ำ ทั้งกรุงเทพ อีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ให้ครบจนรู้ว่า ส้มต�ำที่อร่อยกว่าร้านนั้นร้านนี้ มันอร่อยกว่า ข้างบ้านเรานะ สิ่งนั้นมันคือ รสนิยมที่เราต้องสร้างขึ้นมา ซึ่งถ้าเกิดเราไม่เคยชิมเลย เราก็จะไม่รู้ ว่าอันไหนอร่อย เปรียบเหมือนภาพนี้เราไม่เคยดูเลย เราก็ไม่รู้ว่าอันไหนถึงสวย ถ้าเกิดเราเรียน อยู่ในห้องอย่างเดียว ไม่ออกไปค้นหาเรียนรู้โลกภายนอก เราก็จะรู้อยู่เพียงแค่นั้น” เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่ครูกันต์ก�ำลังจะบอกกับเราตอนนี้ คือ ความส�ำคัญของการเรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์นั่นเอง ปัจจุบนั ครูกนั ต์ไม่ได้เป็นเพียงศิลปินช่างภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยงั เป็น “ครูกนั ต์ขาวด�ำ” ที่วันนี้เขามีลูกศิษย์เป็นนักถ่ายภาพออกมาหลายต่อหลายรุ่น 91


ครูกันต์เล่าถึงเหตุผลของการมาเป็นครูว่า มีรุ่นพี่ช่างภาพคนหนึ่งชวนมาบรรยายที่ มหาวิทยาลัย ตอนนั้นเขาพึ่งกลับมาจากเมืองนอกก็มีผลงานอยู่เพียงไม่กี่สิบรูป แต่รุ่นพี่บอกว่า ไม่ต้องสอนอะไรมาก แค่อยากให้เล่าประสบการณ์ให้นักศึกษาฟัง ตอนนั้นยังไม่ได้คิดว่าจะเป็น ครูด้วยซ�้ำ รู้ตัวอีกทีก็มาเป็นครูจนถึงทุกวันนี้แล้ว “ค�ำว่า ครู ในความหมายของครูกันต์หรืออะไรคะ?” เราตั้งค�ำถามขึ้นมาในฐานะการเป็นครูของเขา “ครูคือ ผู้ให้ครับ ให้ความรู้ ให้วิชา” เขายิ้มอีกครั้ง แม้จะเป็นเพียงค�ำตอบทีต่ อบกลับมาด้วยประโยคสัน้ ๆ แต่เพียงแค่นนั้ ก็ทำ� ให้เรารับรูแ้ ละ มองเห็นถึงคุณครูอารมณ์ดที า่ นหนึง่ ทีพ่ ร้อมจะมอบความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางการท�ำงาน ที่เขาเคยได้รับมาอย่างแท้จริงให้กับลูกศิษย์ โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใดๆ แต่เพียงขอแค่ให้ผู้ที่ ได้ร�่ำเรียนกับเขา มีความตั้งใจและขยันศึกษาหาความรู้เท่านั้นเอง ไม่เพียงแต่ครูกันต์จะเป็นผู้ให้ความรู้และวิชาแก่นักศึกษารุ่นใหม่หลายต่อหลายคน การเจอช่างภาพรุน่ ใหม่อยูท่ กุ วัน เจอผูค้ นทีห่ ลากหลายแตกต่างกันออกไป ก็เป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้เขาได้ ย้อนกลับมามองตัวเอง และได้เรียนรู้ “สิ่งที่เด็กรับรู้ มันค่อนข้างจะเปลี่ยนไปจากสมัยก่อน ยุคสมัยของเราตอนนี้มันเปลี่ยนไป สูอ่ นาคตมากขึน้ จริงๆมันก็คงอยูใ่ นทุกยุคทุกสมัยเพียงแต่วา่ ตอนนัน้ เราเป็นเด็กเราก็ไม่รสู้ กึ อะไร พอเราโตขึ้นมีอายุมากขึ้น เรากลับไปมองตอนนั้น มันก็เป็นสิ่งที่คนประสบอยู่มักจะมองไม่เห็น” ด้วยความเป็นช่างภาพมานานตั้งแต่ยุคฟิล์ม ผ่านมาในยุคสมัยที่อุปกรณ์การถ่ายภาพยัง ไม่มีเทคโนโลยีดีๆ เหมือนอย่างในสมัยนี้ เขาเล่าว่า ในวันนี้การถ่ายภาพสามารถถ่ายได้ง่ายขึ้น แต่การที่คนจะรู้เรื่องเครื่องมือได้ ละเอียดกลับลดลง เพราะความง่ายและความสะดวกมันช่วยเราเยอะเกินไป คนรุน่ ใหม่กเ็ ห็นแบบ คนรุ่นใหม่มากกว่า เพียงแต่ว่าเราเห็นบางอย่างมาก่อน การล้างฟิล์มก็ยังคงเป็นวิชาหนึ่งอยู่ แต่ ก่อนล้างฟิลม์ ก็จะเป็นวิชาหลัก ดิจติ อลตอนนัน้ เป็นวิชาเลือก ตอนนีก้ ลับกัน วิชาหลักเป็นดิจติ อล วิชาเลือกเป็นฟิล์ม “เด็ ก ปั จ จุ บั น เรี ย นรู ้ เ ร็ ว สมั ย นี้ เ ครื่ อ งมื อ ทุ ก อย่ า งช่ ว ยให้ เ ราเรี ย นรู ้ ไ ด้ เ ร็ ว มากขึ้ น ผมพยายามสอดแทรกไว้ อ ยู ่ ต ลอดว่ า ความรวดเร็ ว นี่ มั น เป็ น สิ่ ง ดี แต่ ใ นความรวดเร็ ว นั้ น มันก็ควรมีความประณีต ความลึกซึ้งถึงกระบวนการอะไรบางอย่าง” 92

The Photographers’ sideway


93


“ระยะเวลารวดเร็วขึ้นมันท�ำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น แต่มันท�ำให้จดจ�ำน้อยลง ภาพถ่ายดีๆ มีเยอะมาก แต่ภาพที่คนจดจ�ำมันน้อยลงเรื่อยๆ จะบอกว่า ณ เวลานี้เราคุยกันอยู่ ตอนนี้ อ าจมี ค นอั พ โหลดรู ป กั น เป็ น ล้ า นรู ป แล้ ว ก็ ไ ด้ แต่ จ ะมี สั ก กี่ ภ าพที่ มั น น่ า จดจ� ำ ปริมาณมันก็เลยเป็นตัวท�ำให้ทกุ อย่างจางลง ถ้าเราเน้นความรวดเร็วเป็นหลัก คุณภาพหรือความ ประณีตมันก็จะลดลง” เขากล่าวถึงความฉาบฉวยที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปสักเท่าไหร่ การถ่ายภาพขาวด�ำถือเป็นงานที่เขาเชื่อมั่น และตั้งใจจะ ท�ำไปเรือ่ ยๆ ด้วยความเข้าใจกับสารพันเรือ่ งราว และประสบการณ์ งานนิทรรศการทีเ่ รียงรายอยู่ ตรงหน้าไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งบ่งบอกถึงความส�ำเร็จ ภาพที่เป็นสีสันก็ไม่ได้เป็นภาพที่มีองค์ประกอบ ครบถ้วนอย่างตาเห็น “โลกใบนี้ประกอบด้วยแสงและเงา ทุกอย่างมันคือแสงและเงา เป็นโทนขาวและโทนด�ำ เมื่อเราเอาสีออกไปทั้งหมด มันก็จะเหลือเพียงแค่น�้ำหนักโทนเท่านั้นเอง ซึ่งจริงๆ ผมมองว่ามัน เป็นแก่นของสิ่งที่เรามองเห็น ถ้าเกิดคนแม่นภาพขาวด�ำแล้ว แต่ไปถ่ายภาพสี มันสวยแน่นอน แหละ แต่คนที่ไปถ่ายภาพสีสวย พอมาถ่ายภาพขาวด�ำ ไม่แน่หรอกว่ามันจะออกมาสวย” จากการพูดคุยกับครูกันต์ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งเราสัมผัสได้ไม่ยากจากแววตาและรอยยิ้ม ระหว่างช่วงเวลาทีค่ ยุ กัน เราเห็นถึง ‘ผูใ้ ห้’ ทีพ่ ร้อมมอบความรูแ้ ก่บรรดาช่างภาพรุน่ ใหม่อยูเ่ สมอ การถ่ายภาพไม่ได้เป็นเพียงแค่การเก็บบันทึกภาพให้เป็นภาพถ่ายที่สวยงาม แต่ยังเป็น งานศิลปะที่ถูกถ่ายทอดจากสายตา และความรู้สึกภายในออกมาให้ผู้คนได้เห็น การสร้างภาพให้ได้อย่างที่ใจต้องการ ต้องมองให้เห็นจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แล้วสามารถ จินตนาการได้วา่ ภาพทีก่ ำ� ลังจะถ่ายควรจะออกมาเป็นเช่นใด นักถ่ายภาพทีด่ คี วรศึกษาใฝ่หาความ รู้ และรู้จักบ่มเพาะประสบการณ์ เพื่อสร้างภาพให้ได้ตามใจปรารถนา แม้ในท้ายทีส่ ดุ ความละเมียดละไมในการถ่ายภาพแต่ละใบออกมาจะเป็นสิง่ ทีค่ อ่ ยๆ เลือน หายไปในยุคดิจิตอล ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่สะดวกและรวดเร็วไปหมด แต่จินตนาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ ก็ยังคงเป็นสิ่งส�ำคัญกว่าเทคนิคหรืออุปกรณ์ใดๆ การถ่ายภาพอาจไม่ได้อยู่ที่กล้องถ่ายรูป แต่หากอยู่ที่สายตาของเหล่านักถ่ายภาพในการ เลือกคัดสรรภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความคิดและความรู้สึกของพวกเขา โลกสีขาวด�ำยังคงเป็นโลกที่น่าจับตามอง ........ 94

The Photographers’ sideway


PHOTOGRAPHY & INSPIRATION

YOU DON’T TAKE A PHOTOGRAPH, YOU MAKE IT. Ansel Adams (1902-1984)

แอนเซล อดัมส์ (Ansel Adams) คือใคร? แอนเซลเป็นศิลปินช่างภาพชาวอเมริกัน ผู้มีผลงาน ถ่ายภาพเกี่ยวกับภาพทิวทัศน์ขาวด�ำอันงดงาม และเป็น ผูค้ ดิ ค้นทฤษฎี Zone System ระบบแบ่งค่า ความแข้มของ แสงออกเป็นโซนตั้งแต่สีขาวไปจนถึงด�ำ 10 โซน เพื่อช่วย ให้ช่างภาพสามารถควบคุมปริมาณของแสงบนฟิล์ม เนกาตีฟ ได้ตามต้องการ ซึง่ มีประโยชน์ตอ่ วงการถ่ายภาพ ทั้งขาวด�ำ และสีเป็นอย่างมาก

95


96

The Photographers’ sideway


97


98

The Photographers’ sideway


ณัฐพล วุฒิเพ็ชร์ Natthapon Vuttipetch

PORTRAIT AND FASHION PHOTOGRAPHER “กว่าจะมาเป็นตรงนีม้ นั ยาก ไม่ใช่แค่ฝมี อื แต่มนั ต้อง มีโอกาส แต่ทกุ วันนีโ้ อกาสมันก็แพ้ความขยัน ความขยัน ไม่ว่าไปอยู่ที่ไหนคนก็ชอบ”

99


THE ADVENTURER

ชายหนุ่มผู้มาพร้อมกับโอกาส ภาพ: ธนวัฒน์ เพชรจันทร, พิมพกานต์ จำ�รัสโรมรัน

ทุกย่างก้าวของชีวิต และทุกโอกาสที่เกิดขึ้นในทุกวินาที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่อง ใหญ่ต่างมีคุณค่าและมีความหมายในตนเองอยู่เสมอ แต่ละเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นต่างส่งผลสืบ เนื่องต่อยอดซึ่งกันและกัน จนกระทั่งส่งผลที่แตกต่างออกไปตามแต่ละเหตุของต้นทาง เช่นเดียวกับเรื่องราวในชีวิตของผู้ชายคนนี้ ‘ณัฐพล วุฒิเพ็ชร์’ หรือ พี่เต้ ช่างภาพหนุ่ม ไฟแรงทีม่ งี านเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ภาพถ่ายบรรดานางแบบนายแบบบนปกหนังสือและนิตยสาร ตามแผงของชั้นหนังสือล้วนแต่มีผลงานการถ่ายภาพของเขาแฝงอยู่ในนั้น ลองเลื่อนสายตาอ่านเรื่องราวชีวิตของเขาตั้งแต่บรรทัดนี้เป็นต้นไปกัน ย้อนกลับไปถึงจุดเริม่ ต้นของการถ่ายภาพ ภาพถ่ายรูปบ้านในอัลบัม้ ภาพเก่าๆ เล่มหนึง่ ที่ หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงแผ่นกระดาษธรรมดาใบหนึ่ง แต่ส�ำหรับพี่เต้แล้วทุกองค์ประกอบ ของภาพถ่ายที่แลดูธรรมดาใบนั้น กลับมีความพิเศษอยู่ในตัวของมันเอง จนท�ำให้ภาพถ่ายใบนั้น ยังคงปรากฏอย่างชัดเจนฝังลึกอยู่ในความทรงจ�ำ แรงบันดาลใจจากภาพถ่ายฝีมือพ่อ คือสิ่งจุด ประกายส�ำคัญที่ท�ำให้การถ่ายภาพกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา 100 The Photographers’ sideway


“ครั้งแรกที่เห็นภาพนั้น ผมรู้สึกสงสัยว่ามันถ่ายออกมาได้อย่างไร มันเป็นภาพรูปบ้านที่ ต่างจังหวัดเก่าๆ ใบหนึง่ ในรูปมีลำ� แสงคล้ายเลเซอร์ยงิ ลงมา ซึง่ เรามารูท้ หี ลังว่า มันคือแสงทีผ่ า่ น ม่านควัน ณ ตอนนั้นเราไม่รู้หรอกว่า จะถ่ายภาพแบบนี้ต้องท�ำอย่างไร แต่ผมรู้สึกเลยว่า รูปนี้มันมีความมหัศจรรย์มาก หลังจากนั้นผมเลยไปถามพ่อถึงวิธีการถ่ายภาพดู และค�ำตอบที่ได้ รับจากพ่อก็คือ ถ้าอยากรู้ก็ไปหาความรู้เอาเอง” ความรู้สึกสงสัย อยากรู้ และอยากลองของเขาเริ่มก่อตัวขึ้น เขาเริ่มออกแสวงหาความรู้ ถึ ง วิ ธี ก ารถ่ า ยภาพและพยายามตั้ ง ใจศึ ก ษาเล่ า เรี ย นจนได้ เ ข้ า ไปร�่ ำ เรี ย นการถ่ า ยภาพที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเลือกเป็นอันดับเดียว ไม่ได้เลือกคณะรายวิชาอื่นๆ เลย ถามว่า ถ้าตอนนั้นไม่ได้ติดที่ลาดกระบัง คิดว่า ตอนนี้ตัวเองก�ำลังท�ำอะไรอยู่? เขาก็ตอบสวนมาทันทีว่า “ก็ยังเป็นช่างภาพเหมือนเดิม แต่คงจะไปเรียนที่มหาวิทยาลัย อื่น เพราะว่าในหัวของเราตอนนั้น แม้กระทั่งตอนช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมยังจดจ�ำรูปถ่าย ของพ่ อ ได้ เ ป็ น อย่ า งดี ทุ ก วั น นี้ ก็ ยั ง จ� ำ ได้ เ กื อ บทุ ก รู ป ในอั ล บั้ ม ภาพนั้ น ว่ า มั น มี อ ะไรบ้ า ง ภาพมันยังฝังอยู่ในหัวมาตลอด” อีกด้านหนึ่งของชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เขาเล่าถึงความคิดในอดีตว่า ตอนนั้นก็คิดอะไร ง่ายๆ เหมือนยังเป็นเด็ก เรียนก็ไม่เก่ง พยายามจะหาอะไรเรียนทีง่ า่ ยๆ ไม่ได้มจี ดุ เป้าหมายส�ำคัญ อะไรในชีวิต แม้แต่การฝึกงาน เขาก็ไม่เคยฝึกมาก่อน เพราะไม่มีความสนใจอยากฝึกงาน เขาเพียงแค่อยากเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ ไปตามประสาเด็กธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น หลังจากเรียนจบ เขาเริ่มรับงานถ่ายภาพปริญญา ความล�ำบากในการออกไปหารายได้ และต้องแข่งขันกับผู้คนจ�ำนวนมากเป็นสิ่งที่ท�ำให้เขารับรู้ถึงโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น “ผมรู้สึกว่า บางทีการได้คะแนนเยอะจากมหาวิทยาลัย มันก็เป็นเพียงเป็นเศษเสี้ยวหนึ่ง ที่เรารู้ การออกมาข้างนอกกะลา มันท�ำให้เรารู้ตัวว่า เราก็เป็นแค่เมล็ดถั่วธรรมดาที่ทุกวันนี้ก็มี คนเก่งกว่าเรามหาศาลเลย” สายตาของเขาจดจ่อไปกับบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่สามารถคาดเดา จากบนเส้นทางชีวิตที่ดูไร้จุดเป้าหมาย แต่แล้วก้าวเดินของเขาต้องเกิดจุดพลิกผันไป เมื่อได้รับการติดต่ออย่างไม่คาดคิดจาก คเชนทร์ วงศ์แหลมทอง หรือ พี่เชน ช่างภาพใหญ่จาก นิตยสารชื่อดังแห่งหนึ่ง 101


“จุดเปลี่ยนของชีวิตที่ยิ่งใหญ่คือ มีเพื่อนโทรมาบอกว่า เดี๋ยวจะมีหัวหน้าช่างภาพโทรมา หา หลังจากวางสายโทรศัพท์ พี่เชนก็โทรมาทันทีเลย” วินาทีนั้นเรารับรู้ถึงความตื่นเต้นจากสายตาของเขา “พี่เชนบอกว่า ต้องมาส่งผลงานให้เขาดูภายในวันนั้นตอนหกโมง ได้ยินอย่างนั้นก็รีบ รวบรวมผลงานเลย เพราะเหลือเวลาแค่สามชั่วโมงเท่านั้น จากบางบัวทองไปเอกมัย เพื่อส่งผล งานให้เขาดู” “วันนัน้ ผมไปสาย กว่าจะไปถึงก็หกโมงนิดๆ แล้ว ประโยคทีพ่ เี่ ชนพูดกับเราคือ ไม่ตรงต่อ เวลาเลย แล้วจะท�ำงานได้หรอ ตอนนั้นคิดในใจเลยว่า มาไม่ทันไรก็โดนเล่นเสียแล้ว แต่พอหลัง จากที่เขาดูผลงานของเราไปสักพัก เขาก็พูดออกมาว่า ถ้าสมมติให้เงินเดือนๆ ละ 5,000 บาทจะ ท�ำไหม? ผมบอกกับเขาทันทีว่า ท�ำครับ เพราะรู้สึกว่าโอกาสไม่ได้ถูกหยิบยื่นมาได้โดยง่าย พอถึง สิ้นเดือน ผลสุดท้ายที่ไหนได้เขาหลอกเรา เขาลองใจเรา จริงๆ แล้วก็ได้เงินเดือนตามเกณฑ์นั่น แหละ 16,000 บาท” เขาหัวเราะ ไม่ต้องบอกก็รู้ว่านี่คือหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของเขา ความตื่นเต้นจากช่วงเวลานั้นจวบ จนถึงช่วงเวลานี้ยังคงไม่จางหาย โอกาสที่เกิดขึ้นมาอย่างมาไม่คาดคิดส่งผลให้เขาก้าวเข้าสู่เส้น ทางการเป็นช่างภาพอย่างเต็มตัวในเวลาต่อมา เรานัง่ อยูใ่ นห้องสีเ่ หลีย่ มห้องหนึง่ ผนังสีด่ า้ นล้วนเป็นสีขาว แต่ถกู ทาสีไปด้วยแสงไฟทีส่ อ่ ง สว่างกระทบออกมาเป็นระยะๆ สายไฟและอุปกรณ์วางเรียงรายบนพืน้ อยูเ่ ต็มพืน้ ที่ ผูค้ นเดินผ่าน ไปผ่านมา บทสนทนาของเรากับเขายังด�ำเนินต่อไประหว่างการขับเคลื่อนของผู้คนเหล่านั้น ‘สตูดิโอ’ เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของพวกเขา พี่เต้เล่าถึงกระบวนการในการท�ำงาน และวิธีการคิดงานของเขาให้เราฟังว่า ขั้นตอน เริ่มต้นของการถ่ายภาพทุกชิ้น การสร้างความเข้าใจร่วมกันเป็นเหมือนการพบกันครึ่งทาง ระหว่างตัวเขากับผู้ร่วมงาน เพราะการเป็นช่างภาพไม่ใช่เพียงแค่กดชัตเตอร์เพื่อได้ภาพเท่านั้น แต่ยงั ต้องเป็นนักสือ่ สารทีด่ ี ขัน้ ตอนการท�ำงานในแต่ละขัน้ โจทย์การท�ำงานทีแ่ ตกต่างกันออกไป ตามแต่ละงาน เรื่องของการสื่อสารกับตัวแบบ ในการถ่ายภาพแต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งส�ำคัญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ “ในการถ่ายภาพอันดับแรก เราต้องเข้าใจถึงตัวแบบและแบบก็ต้องเข้าใจเราเหมือนกัน ถ้าคุณเจอคนแบบที่ดังมากหรือเป็นรุ่นใหญ่มากๆ มันจะมีแรงกดดันมากนะ เราต้องสู้กับตัวเอง 102 The Photographers’ sideway


103


104 The Photographers’ sideway


มันเป็นเรือ่ งของประสบการณ์ทมี่ ตี ดิ ตัวมาแล้วว่า ตัวเราจะสือ่ สารกับตัวแบบอย่างไร ซึง่ เราก็ตอ้ ง พยายามสร้างความเป็นกันเองกับแบบให้มากที่สุด” เขายกตัวอย่างเหตุการณ์ถ่ายภาพนางแบบครั้งหนึ่งขึ้นมา “ล่าสุดเพิ่งไปถ่ายนางแบบคนหนึ่งมา ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน เรารู้ว่า คนนี้น่าจะแสง ประมาณนี้ น่าจะเหมาะกับใบหน้าของเขา เราก็ถ่ายมุมที่คิดว่าเขาสวย แล้วให้ดู พอเขาเชื่อใน ตัวเราแล้ว เราอยากลองให้เขาท�ำท่าเซ็กซีเ่ ลยเสนอไอเดียความคิดของเราไป สักพักเขาก็ถอดเสือ้ เปิดไหล่เองเลย เขาบอกว่า แบบนี้น่าจะสวย ซึ่งผลสุดท้ายภาพที่ออกมานั้นก็เป็นไปตามที่เราคิด ไว้ เพราะว่าแบบเชื่อใจและมั่นใจในตัวเราแล้ว” อี ก หนึ่ ง บุ ค คลส� ำ คั ญ ในการร่ ว มขั บ เคลื่ อ นตลอดกระบวนการท� ำ งานคื อ สไตล์ ลิ ส โดยเฉพาะในเรื่องของเสื้อผ้าและรสนิยมร่วมกัน “ถ้าสมมุตวิ า่ ได้โจทย์มาแล้วเราจะคิดในหัวของเราก่อนว่าจะถ่ายอะไรดี คราวนีเ้ ราจะต้อง เป็นคนคิดแล้ว ไม่ใช่สไตล์ลิสต์ พอเราได้โจทย์มา ถ้ามันคือแฟชั่น เราก็ต้องดูฤดูกาล ว่าช่วงนี้มัน คือฤดูกาลหนาว เราก็ตอ้ งไปหาข้อมูลเพิม่ มาในทิศทางทีเ่ ป็นไปตามฤดูนนั้ แฟชัน่ ทีม่ นั เป็นยุคสมัย นั้น สังเกตแสง สังเกตเสื้อผ้าและโทนสี” “ทุกครั้งที่ท�ำงาน ยิ่งเราเตรียมแผนงานได้พร้อมมากเท่าไหร่ เราก็จะเตรียมอุปกรณ์ใน การท�ำงานได้พร้อมมากขึ้นเท่านั้น นางแบบบางคนอาจจะไม่ได้เหมือนกับในข้อมูลที่เราได้รับมา เสมอไป ก็ต้องมาดูอีกทีว่า เราจะวางแผนงานให้เหมาะสมอย่างไร ขณะเดียวกันก็ต้องมานั่งหา ท่าทางการโพสของตัวเองให้เป็นไปในแบบสไตล์ที่เราเป็น” การถ่ายภาพในแต่ละครัง้ เขาไม่ได้ยดึ ติดกับเรือ่ งเทคนิคการถ่ายภาพสักเท่าไหร่ หากถาม ว่าใช้เทคนิคอะไรต้องบอกเลยว่า มันเป็นเพียงเรื่องของอารมณ์ ณ ตรงนั้น เทคนิคที่ว่า เปิด รูรับแสงกล้องให้กว้างๆ เพื่อให้ฉากหลังเบลอแล้วตัวแบบจะได้เด่นไม่ได้ถูกน�ำมาใช้เสมอไป บางองค์ประกอบที่เป็นฉากก็ช่วยขับให้ภาพมีชีวิตได้มากขึ้น เขาเปรียบเปรยการถ่ายภาพเป็นเหมือนกีฬาประเภทหนึ่งให้เราฟังว่า การกดชัตเตอร์ใน การถ่ายภาพก็คงเหมือนกับเราก�ำลังวิ่งเข้าไปยิงบอล รู้สึกว่าก�ำลังไล่ล่าฟุตบอลสักอย่าง แต่เวลา ที่เห็นรูปมันเหมือนการยิงเข้าไปแล้ว มันสะใจ เราเป็นคนชอบให้แบบมองกล้อง อะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่ดีค่อยไม่มอง แต่ต้องมองก่อน เพราะเรารู้สึกว่าสายตาที่แสดงออกมามีความส�ำคัญ คนเรามองกล้องมันมีเสน่ห์ สายตายังไงคนก็อยากดู 105


106 The Photographers’ sideway


ส�ำหรับพีเ่ ต้ ชีวติ ประจ�ำวันของเขาก็เหมือนคนธรรมทัว่ ไป ทัง้ ในด้านของความเป็นตัวของ ตัวเอง ในการใช้ชีวิต และการท�ำงานทุกสิ่งล้วนแล้วแต่ปกติเหมือนคนธรรมดาทุกอย่าง เพียงแต่ ตัวของเขานัน้ เป็นคนทีแ่ สวงหาอะไรใหม่ๆ ให้กบั ตัวเองอยูเ่ สมอ การกระตุน้ ความคิดโดยผ่านการ ศึกษาและค้นหาความรู้จากนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นการการเรียนรู้โลกกว้างผ่านการเข้าร้าน หนังสือ หรือท่องโลกอินเตอร์เน็ตล้วนแล้วแต่สร้างแรงบันดาลใจในการท�ำงานให้กับเขา การท�ำงานในแต่ละวันเขามักพบเจอกับผู้คนมากหน้าหลายตา การท�ำงานร่วมกันผู้คนที่ หลากหลาย ท� ำ ให้ เ ขาได้ ล องย้ อ นกลั บ มาเห็ น อะไรมากขึ้ น จนท� ำ ให้ ก ารท� ำ งานบางครั้ ง เขาตระหนักว่า เขาลืมใส่ใจบางคนน้อยลง “บางทีเราท�ำงานจนลืมใส่ใจกับคนไปบ้างก็มี บางทียิ่งโตยิ่งใส่ใจคนน้อย เพราะบางครั้ง เราก็ฉาบฉวยกันไป มันไม่ใช่ว่า ถ่ายงานทุกครั้งแล้วเราจะคุยกับทุกคน มันก็ไม่จริง ถ่ายเสร็จมัน ก็จบแล้วหายกันไป” เขาเล่าถึงความเชื่อหนึ่งให้เราฟัง “พอโตมาถึงจุดหนึ่ง ผมไม่ได้แค่คิดว่า ผมจะต้องถ่ายงานแบบนี้ต่อไป แต่เริ่มคิดว่า งาน ของเราต้องมีเอกลักษณ์บ้างแล้วแหละ เริ่มต้องมีลายเซ็นบ้างแล้วเพื่อท�ำให้คนรู้จักเรา ครั้งหนึ่ง เราอาจจะเคยท�ำงานเพื่อเงิน แต่เราจะท�ำงานอย่างไรในแบบของเราที่ได้เงินไปด้วย” ถ้าบอกตัวเองว่าอายุ 30 คือการเริ่มต้นของการเป็นช่างภาพอย่างเต็มตัว ส�ำหรับเขามัน คือการเริม่ ต้นการเป็นตัวของตัวเอง มีงานทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ และพัฒนาตัวเองต่อไปอย่างไม่สนิ้ สุด “ไม่มีอาชีพไหนหรอกที่จะบอกว่า จะอยู่แต่อย่างนี้ ไม่มีทาง ไม่มีใครอยากอยู่แค่ที่เดิม” ความเงียบเข้ามาเป็นเครื่องมือในการเว้นวรรคการสนทนาช่วงหนึ่ง “ไม่ใช่แค่ชา่ งภาพหรอก สมมติเป็นพนักงานแบงค์วนั ๆจะนัง่ แต่เคาเตอร์อย่างเดียวก็ไม่มี ใครอยากท�ำ น่าเบื่อตาย ผมคิดว่าทุกคนอยากโต อยากเป็นที่ยอมรับของทุกคน อย่าบอกตัวเอง ว่า แค่นี้พอแล้ว ผมไม่เคยเชื่อประโยคนี้จากใคร ทุกอย่างมันคือการแข่งขัน” ตลอดระยะสิบปีที่ผ่านมา การเป็นคนที่ชอบหาดิ้นรนช่องทางใหม่ๆ ในการน�ำเสนอผล งานของตัวเองออกสู่สายตาของสาธารณชนอย่างสร้างสรรค์ พีเ่ ต้ผา่ นการทดลองทางการถ่ายภาพมาหลากหลายรูปแบบ แม้จะมีเด็กรุน่ ใหม่ผลัดเปลีย่ น หมุนเวียนเข้ามาแค่ไหน แต่สิ่งหนึ่งที่เขาไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ความตั้งใจและความอดทนที่ไม่ เคยน้อยไปกว่าสมัยไหน ฝีมือการถ่ายภาพของเขายังคงเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ 107


“วันนี้เราอาจจะต้องถีบตัวเองขึ้นไปก่อน ต่อให้พวกเขาตามเรามาทัน เราก็ยังรู้สึกว่า มัน ก็ไม่ได้ไปสูงกว่าเรามาก สักเท่าไหร่ มันก็เป็นเรื่องปกติ เราก็ต้องถีบแข่งกันกับเด็กรุ่นใหม่ เพราะ ว่าทุกวันนี้โซเชียลเน็ตเวิร์คมันเติบโตเร็ว มีเด็กรุ่นใหม่หลายคนที่ถ่ายรูปสวย แต่ท้ายที่สุดแล้ว ถ่ายรูปสวยกับถ่ายรูปมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน ถ่ายรูปเอกลักษณ์จดี๊ กว่าเพราะมันเหนือกว่าความ สวยมาแล้ว มันคือตัวตนที่สะท้อนออกมาผ่านงานได้ชัดเจนที่สุด” “คนขยันเป็นอะไรที่น่ากลัวมาก” คือประโยคที่ดังโพล่งออกมาจากปากของเขา ก่อนจะ ขยายความว่า “กว่าจะมาเป็นตรงนี้มันยาก ไม่ใช่แค่ฝีมือ แต่มันต้องมีโอกาส แต่ทุกวันนี้โอกาส มันก็แพ้ความขยัน เราอาจจะไม่ได้เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ในการท�ำงานสูง เป็นตัวตนที่ดูรู้ว่าเป็น งานของเรา แต่หนึ่งเลยคือ เราขยัน เรากล้าพูดเลยว่า เราเป็นคนขยัน ซึ่งความขยันเนี่ย ไม่ว่าอยู่ ที่ไหนบนโลก คนก็ชอบ” วันเวลาผ่านไป แนวคิดทีม่ ตี อ่ ‘โอกาส’ ของเขาไม่เคยเปลีย่ นแปลง ตลอดการสนทนาเขา มักพูดกับเราอยู่เสมอว่า เขาเป็นคนที่โชคดีคนหนึ่งที่ได้รับโอกาส “เอาจริงๆ นะ ผมเป็นคนโชคดี เป็นคนมีโอกาส ผมว่าโอกาสมันคือสิ่งส�ำคัญ และผมเป็น คนท�ำโอกาสแรกได้ดีเสมอ” เขายืนยันอย่างหนักแน่น ช่วงเวลาของการเติบโตและประสบการณ์ในวงการถ่ายภาพทีม่ ากขึน้ เป็นเหมือนกับการ เคี่ยวกร�ำประสบการณ์ ความสามารถจนมั่นใจ แสงไฟในห้องสี่เหลี่ยมสีขาวได้ดับลง ผู้คนมากมายที่เดินผ่านไปผ่านมา อุปกรณ์ข้าวของ ที่วางเรียงเรียงไปทั่วพื้นที่ เริ่มจางหายเหลือแต่เพียงห้องสีเหลี่ยมสีขาวที่ว่างเปล่าต่างจากภาพ แรกที่เราเห็น ความสมบูรณ์ในชีวติ คนเรา ทัง้ ในแง่ความคิด ประสบการณ์ และทัศนคติทมี่ อบให้ในทุกๆ เรื่อง จ�ำเป็นต้องอาศัยเวลาในการบ่มเพาะ ยิ่งอายุมากขึ้น ชีวิตยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้น สิ่งที่เขา ถ่ายทอดออกมาผ่านผลงานภาพถ่ายคือสิ่งสะท้อนชีวิตของเขาเช่นกัน การก้าวหน้าอย่างแข็งแรงในเส้นทางการเป็นช่างภาพ ความส�ำเร็จของการท�ำงานทีม่ งี าน เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย การได้รับการยอมรับจากผลงานหลายชิ้นๆ ที่ถูกวางแผงบนแผงหนังสือ และนิตยสาร อาจไม่ใช่เพียงเพราะเขาคือคนที่โชคดี หรือมัวแต่ได้รับโอกาสดีๆ อยู่เสมอ หากแต่ เกิดจากความพยายามและความมุ่งมั่นของผู้ชายคนนี้เองที่เป็นสิ่งดึงดูดโอกาสเหล่านั้นเข้ามา ........ 108 The Photographers’ sideway


109


110

The Photographers’ sideway


111


112

The Photographers’ sideway


113


114

The Photographers’ sideway


FAREWELL

115


บันทึกส่งท้าย ภาพถ่ายที่เก็บบันทึกความทรงจ�ำที่ผ่านมาเข้ามาในชีวิตนั้นมีมากมาย บางคนการถ่าย ภาพเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องทวนความทรงจ�ำที่คอยเก็บภาพสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเพื่อที่จะ ได้เอากลับมาดู หรือระลึกในวันหลัง ขณะที่บางคนเก็บภาพเพื่อจดจ�ำความรู้สึกตรงนั้นเอาไว้ ตลอดระยะเวลาหลายเดือนทีผ่ า่ นมา การได้พดู คุยและแลกเปลีย่ นบทสนทนาทีม่ าพร้อม กับเรือ่ งราวต่างๆ จากช่างภาพหลายท่าน ไม่วา่ จะเป็นช่างภาพข่าว ช่างภาพสัตว์ปา่ และธรรมชาติ ช่างภาพดาราศาสตร์ ช่างภาพบุคคล ช่างภาพสารคดี และช่างภาพขาวด�ำ ท�ำให้ผู้เขียนเปลี่ยน มุมมองความคิดเกี่ยวกับการถ่ายภาพเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ค�ำตอบที่ได้รับจากช่างภาพแต่ละคนล้วนมีประโยชน์และมีความหมาย ช่างภาพบางคนก็บอกเล่าถึงประสบการณ์ท่ีเมื่อได้ฟังแล้วก็สามารถเปิดความคิดเราให้ กว้างและลึกขึ้น บางคนก็เล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต หรือแม้แต่บางคนก็เล่าถึง มุมมองและรูปแบบความคิดดีๆ ของพวกเขาให้เราได้รับฟัง สิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูจ้ ากการพูดคุยกับนักเก็บภาพทีม่ มี มุ มองและการใช้ชวี ติ แตกต่างกันเหล่านัน้ ไม่ใช่แค่เพียงกระบวนการถ่ายภาพหรือเทคนิคถ่ายภาพอันเหนือชัน้ แต่กลับเป็นเรือ่ งราวชีวติ และ ประสบการณ์ที่มีคุณค่า ต่อให้คุณมีเงินมากมายมหาศาลแค่ไหนก็ไม่สามารถซื้อไปได้ อีกสิ่งที่เราสังเกตถึงความเหมือนบางอย่างที่ช่างภาพทุกคนพูดถึงอยู่เสมอ นั่นคือ ยุครอยต่อระหว่างยุคฟิล์มและยุคดิจิตอล กาลเวลาได้ท�ำให้กล้องฟิล์มเลือนหายไป เกิดเป็นกล้องดิจิตอลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ ชีวิตที่ อยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน จากการกดปุ่มกลายเป็นการใช้ปลายนิ้วสัมผัสหน้าจอ วิถีชีวิตที่สะดวก ง่ายดาย และรวดเร็วขึ้นตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ดูเหมือนจะเป็นสิง่ ที่ทำ� ให้การใช้ชีวิตของ ผู้คนเปลี่ยนไป การถ่ายภาพก็เช่นเดียวกัน การถ่ายภาพในสมัยก่อน กว่าจะเก็บเงินแต่ละบาทเพือ่ ไปจ่ายค่าฟิลม์ แต่ละม้วนทีถ่ า่ ยได้ เพียงไม่กี่ภาพ เป็นเรื่องที่นักถ่ายภาพแต่ละคนต้องพบเจอ การจะถ่ายภาพภาพหนึ่ง ถ้าถ่ายเสีย แล้วก็เสียเลย ไม่มีการกดลบทิ้งแล้วกดชัตเตอร์ใหม่ แต่ละภาพจึงมีความหมายที่ส�ำคัญเสียเหลือ 116

The Photographers’ sideway


เกิน แตกต่างจากในปัจจุบันที่เราสามารถเห็นภาพที่ถ่ายได้ ณ วินาทีนั้น ไม่สวยก็ถ่ายใหม่ ไม่ชอบใจก็ถ่ายอีก เมื่อได้ยินอย่างนั้น ท�ำให้เรารู้สึกถึงความฉาบฉวยบางอย่างที่ลุกลามเข้ามาโดยที่ไม่รู้ตัว ‘ความอดทน’ และ ‘การรอคอย’ เป็นอีกสิ่งที่ได้ยินและเน้นย�้ำจากพวกเขา เชื่อว่า การรอนานๆ คือสิ่งที่คนเมืองในยุคสมัยนี้อย่างเราได้ยินเมื่อใดต้องส่ายหน้ากัน ทุกที แต่ในทางกลับกันการอดทน และรอคอยบางสิ่งบางอย่างนั้น มันก็คงเป็นเหมือนเครื่องปรุง ที่ท�ำให้การได้มาซึ่งภาพแต่ละภาพมีรสหอมหวานยิ่งขึ้น เพราะภาพถ่ายที่มีค่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ใดก็ตาม บางทีมันก็ไม่ได้มาโดยง่าย ในท้ายที่สุด การมีอุปการณ์การถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีดีๆ ราคาแพงๆ และทันสมัยที่สุด อาจไม่ใช่ค�ำตอบที่ท�ำให้เราถ่ายภาพได้ดี หรือเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของการเป็นช่างภาพ หากแต่คือ ‘หัวใจ’ ของคนถ่ายภาพเองที่ท�ำให้พวกเขาไม่หยุดที่จะออกไปค้นหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อกดชัตเตอร์เก็บเรื่องราวที่รอคอยเหล่านั้นเอาไว้ เปรียบเทียบคล้ายๆ กับตัวเราเช่นกัน สุดท้ายแล้วไม่ว่าโลกจะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป แค่ไหนก็ตาม เราไม่ควรปล่อยให้โลกใบนี้หมุนไปรอบๆ โดยที่เรายืนดูมันอยู่เฉยๆ อย่าหยุดที่จะ เริม่ ต้นท�ำสิง่ ดีๆ และพยายามสร้างสรรค์ผลงานให้คนรุน่ หลังได้เห็นถึงคุณค่าของสิง่ ทีร่ กั และสิง่ ที่ ชอบให้เกิดผลส�ำเร็จที่มองเห็นได้จริง จะว่าไปแล้วก็คงถึงเวลาแล้วสินะ ที่ตัวเราเองก็จะเริ่มหยิบกล้องที่วางอยู่ข้างกายขึ้นมา เพื่อถ่ายภาพสิ่งใดสักหนึ่งสิ่งที่เราอยากจดจ�ำและบันทึกเรื่องราว ณ ช่วงเวลานั้นเอาไว้ ค่ อ ยๆ เลื่ อ นสายตาลงไป แล้ ว จ้ อ งมองไปในช่ อ ง Viewfinder จากนั้ น เสี ย งแห่ ง แรงบันดาลใจในการถ่ายภาพของเราครั้งนี้ก็เกิดขึ้น โลกแห่งการถ่ายภาพของเราได้เริ่มขึ้นอีกครั้งแล้ว แชะ! 117


THE PHOTOGRAPHERS’ SIDEWAY



เกี่ยวกับผู้เขียน


เสาวภัคย์ อัยสานนท์ SAOVAPAK AYASANOND

ไม่เคยคิดว่าตัวเองอยากเป็น ‘นักเขียน’ จนกระทั่งหยิบนิตยสารวัยรุ่นเด็กแนวชื่อดังเล่มหนึ่งขึ้นมาอ่านเป็นครั้งแรกในช่วง ม.ปลาย แล้วได้มาฝึกงานในนิตยสารเครือเดียวกันของนิตยสารเล่มนั้น mieada_y@live.com omeayasa.tumblr.com @omeayasa



THANK YOU ขอบคุณป๋ากับแม่ส�ำหรับทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของลูก ขอบคุณกันต์ส�ำหรับรอยยิ้ม เสียงเพลง และก�ำลังใจ ขอบคุณพี่กวง พี่ชายที่พร้อมให้ค�ำแนะน�ำน้องเสมอ ขอบคุณมิว ฝ้าย พลอยที่เป็นเพื่อนร่วมเดินทางกับเรามาด้วยกัน สนุกมั้ย? ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ ทุกคนด้วยนะ ส�ำหรับก�ำลังใจดีๆ ที่มีให้กันและกัน ขอบคุณจ๊อบส�ำหรับการรับฟังปัญหา และค�ำปรึกษาดีๆ ที่ผ่านมา ขอบคุณพี่แขกที่ปรึกษาจุลนิพนธ์ และคณะกรรมการจุลนิพนธ์ทุกท่าน ขอบคุณพี่บอม และพี่เป้ง ทรงพลัง ส�ำหรับทุกความช่วยเหลือ ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกคนที่ท�ำให้หนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จเป็นเล่มออกมาได้ และขอขอบคุณช่างภาพทั้ง 6 ท่าน หนังสือเล่มนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีพวกเขา จากจุดเริ่มต้นในวันนั้นจนถึงจุดที่หนังสือออกมาส�ำเร็จได้ในวันนี้ ขอบคุณมากๆ ค่ะ :-)


“ขอบคุณส�ำหรับการร่วมเดินทางอ่านหนังสือมาด้วยกันจนถึงบรรทัดนี้ อาจดีบางส่วน ไม่ดีบางส่วน หวังว่าจะเป็นการเดินทางที่ดี ในการเริ่มต้นอุ่นเครื่องความฝันให้กับใครหลายๆ คน”



“หนังสือเล่มนี้ ไม่ ได้เน้นกระบวนการถ่ายภาพหรือเทคนิคถ่ายภาพอันเหนือชั้นจาก เหล่าบรรดาช่างภาพ มันเป็นแค่หนังสือเล่มหนึ่งที่เริ่มจากความรักในการถ่ายภาพ และ ต้องการทีจ่ ะนำาเสนอเรือ่ งราวชีวติ และประสบการณ์ทาำ งานผ่านคำาบอกเล่าของพวกเขา”

เรื่องราวชีวิต และประสบการณ์ทำางานของ 6 ช่างภาพ บารมี เต็มบุญเกียรติ วสันต์ วณิชชากร อรุณ ร้อยศรี กันต์ สุสังกรกาญจน์ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ณัฐพล วุฒิเพ็ชร์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.