www.fire.gistda.or.th
www.fire.gistda.or.th
เกี่ยวกับ TMS (Thailand Monitoring System)
ดาวเทียมสำ�รวจทรัพยากรธรรมชาติของไทย ดาวเทียมไทยโชต และดาวเทียมดวงอื่น ๆ ที่ประเทศไทยรับสัญญาณอยู่นั้น สามารถผลิตภาพ นำ�มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายสาขา โดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติได้เป็นอย่างดี ซึ่งการประยุกต์นำ�ข้อมูลจากดาวเทียม มาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้นควรพัฒนาเป็นองค์รวมทั้งระบบ โดยหลังจากรับ สัญญาณควรมีแบบจำ�ลองเฉพาะด้านมารองรับข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม พัฒนาเป็นข้อมูลสำ�เร็จรูปพร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็วมีความถูกต้องในระดับ ที่ยอมรับได้ เช่น พื้นที่เพาะปลูกข้าว พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ประสบภัยนำ�้ท่วม ฯลฯ โดยขั้นตอนการนำ�เสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์บนอินเทอร์เน็ตนั้น เทคโนโลยีปัจจุบันที่นิยมใช้งานคือ Web Map Service (WMS) นั้น ถือได้ว่า เป็นเทคโนโลยีทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในการสนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถ เข้าไปใช้ ข้อมูลนั้นได้ตลอดเวลาในทุกสถานที่ที่มีเครือข่ายไปถึง ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ที่เป็นมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง และมีการใช้งานที่ง่าย สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทำ�ให้เกิดการใช้งานสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่าน เว็บ (Web-based GIS) ได้อย่างกว้างขวาง สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รองรับ การเชื่อมโยงระบบกับหน่วยงานราชการอื่นๆ จากการดำ�เนินโครงการที่ผ่าน มาได้พัฒนาโมเดลที่มีความถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้ และได้ให้บริการไป แล้วหลาย ๆ ด้าน และได้รับการตอบรับการสาธารณชนเป็นอย่างดี รวมทั้ง หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิสารสนเทศได้มาเชื่อมโยงข้อมูลนำ�ไปใช้ ประโยชน์ ซึ่งจำ�เป็นต้องพัฒนาระบบบริการนี้อย่างต่อเนื่อง และปรับปรุง ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป จัดพิมพ์โดย สำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558
www.fire.gistda.or.th
คู่มือการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อติดตามไฟป่าและหมอกควัน สารบัญ
หัวข้อ
การติดตามหมอกควันและไฟป่า การติดตามความแห้งแล้ง การวิเคราะห์หาพื้นที่เผาไหม้ แบบจำ�ลองและคาดการณ์พื้นที่เสี่ยง เกิดไฟป่าล่วงหน้า 7 วัน การใช้งานเว็บไซต์ คำ�ถามที่พบบ่อยของจุดความร้อน
หน้า
1 3 4
8 10 19
www.fire.gistda.or.th
การติดตามหมอกควันและไฟป่า สำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. ได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญในการนำ�ข้อมูลดาวเทียมระบบ MODIS ซึ่งเป็น เครื่องมือถ่ายภาพที่ได้รับการติดตั้งบนดาวเทียม TERRA และ AQUA พัฒนาโดย องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(National Aeronautic and Space Administration: NASA) จะมีแถบการถ่ายภาพครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย และสามารถถ่ายภาพได้วันละ 4 ช่วงเวลาได้แก่ดาวเทียม TERRA (เวลา 01.00-02.00 และ10.00-11.00 น.) ดาวเทียม AQUA (เวลา 13.00-14.00 และ22.00-23.00 น.) โดยใช้ข้อมูลในช่วงคลื่นอินฟราเรดกลาง (MIR band) แบนด์ 21 22 และช่วงคลื่น ความ-ร้อน (Thermal band) แบนด์ 31 เพื่อประมวลผลตำ�แหน่งจุดความร้อน โดยใช้โมเดล MOD14 ร่วมกับข้อมูลอ้างอิงพิกัดตำ�แหน่งใน MOD 03 และได้มีการ จำ�แนกแหล่งที่เกิดจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้ที่ดินไว้ 6 ประเภท ได้แก่ ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) พื้นที่ เกษตรกรรม พื้นที่ริมทางหลวง (250 เมตร) และชุมชน-อื่นๆ นอกจากนี้สทอภ. ได้ดำ�เนินการวิเคราะห์พื้นที่ีหมอกควันไฟ วิเคราะห์จาก ภาพสีผสมจริงของข้อมูลดาวเทียม TERRA ระบบ MODIS ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิง วัตถุ (Object OrientedAnalysis) พร้อมกับตรวจสอบความถูกต้องของผลการ วิเคราะห์ด้วยสายตา (Visualize)
1
www.fire.gistda.or.th
ตำ�แหน่งจุดความร้อนตาม ชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ตัวอย่างแผนที่จุดความร้อน (HOTSPOT) จากภาพถ่ายดาวเทียมระบบ MODIS ตัวอย่างพื้นที่หมอกควันไฟด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงวัตถุ จากภาพถ่ายดาวเทียมระบบ MODIS
ควันไฟ
2
www.fire.gistda.or.th
การติดตามความแห้งแล้ง สทอภ. ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS นำ�มาวิเคราะห์ ดัชนีที่บ่งชี้ถึงความแห้งแล้งทางกายภาพในพื้นที่ โดยใช้ช่วงคลื่นที่สามารถตอบสนอง ต่อสิ่งบ่งชี้ถึงความแห้งแล้ง ได้แก่ 1) ช่วงคลื่นสีแดง (Red Band) มีความสามารถใน การแบ่งแยกความอุดมสมบูรณ์ของพืชจากความสามารถในการดูดกลืนคลอโรฟิลล์ 2) ช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Nir-Infrared Band) มีความสามารถในการแยกความ แตกต่างและความหนาแน่นของพืช และ 3) ช่วงคลื่นอินฟราเรดคลื่นสั้น (Shortwave Infrared Band) มีความสามารถในการวัดความชื้นในพืชโดยเฉพาะความชื้นของใบ โดยนำ�ข้อมูลราย 7 วัน นำ�มาจัดทำ�ดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index : NDVI) ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์และความเขียวของ พืชพรรณ และดัชนีความแตกต่างของความชื้น (Normalized Difference Water Index : NDWI) ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงความชุ่มชื้นหรือแห้งแล้งของพื้นที่ได้
ตัวอย่างแผนที่ดัชนีความตากต่างของพืชพรรณ (NDVI) และความชื้น (NDWI) จากดาวเทียมระบบ MODIS
3
www.fire.gistda.or.th
การวิเคราะห์หาพื้นที่เผาไหม้ (Burnt scar) จากภาพดาวเทียม
สทอภ. ได้วิเคราะห์และคำ�นวณพื้นที่เผาไหม้ (burnt scar) ด้วยการใช้ค่า ความแตกต่างของดัชนีการเผาไหม้ (Difference Normalized Burn Ratio; DifNBR) ที่คำ�นวณจากภาพดาวเทียม LANDSAT-8 โดยใช้ภาพต่างช่วงเวลาคือ ภาพก่อนเกิด ไฟป่า และภาพเมื่อเกิดไฟป่า จากความสัมพันธ์ของค่าการสะท้อนแสงของพื้นที่เกิด ไฟป่า ดังภาพหน้า..... และมีสมการในการวิเคราะห์ดังสมการ DifNBR = (NBR pre − NBR post ) * 1000
วันที่ 12 ธันวาคม
วันที่ 11 มีนาคม
วันที่ 7 กุมภาพันธ์
ภาพข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT ผสม ช่วงคลื่น (MIR NIR GREEN) บันทึกภาพ ต่างช่วงเวลา สามารถวิเคราะห์และติดตาม พื้นที่ไฟไหม้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งในบริเวณ พื้นที่ไฟไหม้จะปรากฎเห็นเป็นสีม่วงเข้ม
NBR = ( NIR - MIR ) / ( NIR + MIR ) DifNBR = ค่าความแตกต่างของค่าดัชนีการเผาไหม้ NBR NBRpre= ค่าดัชนีการเผาไหม้ ข้อมูลภาพก่อนเกิดไฟป่า (ก่อนฤดูกาลเกิดไฟป่า) NBRpost = ค่าดัชนีการเผาไหม้ ข้อมูลภาพหลังเกิดไฟป่า NIR = ค่าการสะท้อนแสงในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ MIR = ค่าการสะท้อนแสงในช่วงคลื่นอินฟราเรดกลาง
4
www.fire.gistda.or.th
การสะทอนชวงคลื่น ลักษณะการเผาไหมซึ่งปรา
การสะทอนแสงคล การสะทอนแสงคล
(1) (1) พื้นทีไ่ มเผาไหม
(2)พื้นที่เผาไหมระดับค
พื้ น ที่ ที่ ไ ม ไ ด เ ผามี ค า NBR ต่ํ า จนถึ ง ค า ติ ด ลบ คา NBR อยูระหวาง (200 เนื่องจาก -การสะท อ นแสงข -แบนดอินฟราเรดใกล (NIR) จะมีความสัมพันธ อินฟราเรดใกล (NIR) จะม กับ Chlorophyll ใบพืชซึ่งจะมีคาสูง -คาการสะทอนแสง -คาการสะทอนแสงในชวงคลื่นอินฟราเรดกลาง มีคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากน้ําใน (MIR) จะมีคาต่ํา เนื่องจากความชื้นในใบพืชและน้ํา สะทองแสงในชวงคลื่นนี้เพ ในดินมีคาสูง 5
www.fire.gistda.or.th
นของพืชที่สัมพันธกับ ากฎบนขอมูลจากดาวเทียม
ลื่น NIR สูง ลื่น MIR ตํ่า
ความรุนแรงปานกลาง
0-400).
การสะทอนแสงคลื่น NIR ตํ่า การสะทอนแสงคลื่น MIR ปานกลาง
การสะทอนแสงคลื่น NIR ตํ่า การสะทอนแสงคลื่น MIR สูง
(2)
(3)
(3)พื้นที่เผาไหมที่มีระดับความรุนแรง
คา NBR มากกวา 400 -เนื่องจากการเผาไหมรุนแรงใบไมถูกเผาไหมหมด ของน้ํ า ในใบพื ช ในแบนด -คาการสะทอนของดินเพิ่มขึ้นเนื่องจากน้ําในดิน มีคาลดลง ลดลง งในอินฟราเรดกลาง (MIR) -พื้นดินจะมีการสะทอนแสงในชวงอินฟราเรดใกล นใบพืชระเหยไปทําใหการ จะต่ํากวาชวงคลื่นอินฟราเรดกลาง พิ่มขึ้น -ในชวงคลื่นอินฟราเรดกลาง (MIR) จะมีคาการ สะทอนแสงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของน้ําทั้งใน ดินและในใบพืช 6
www.fire.gistda.or.th
เมื่อทำ�การวิเคราะห์พื้นที่เกิดไฟไหม้ (burnt scar) จากข้อมูลภาพดาวเทียม LANDSAT แล้วจะได้ตำ�แหน่ง และพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ หลังจากนั้นนำ�ข้อมูลพื้นที่ ขอบเขตต่างๆ เช่น พื้นที่ขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ขอบเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ขอบเขต พื้นที่ สปก. รวมถึงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ฯลฯ มาร่วมการวิเคราะห์โดยการ ซ้อนทับ (overlay) กันก็สามารถทราบพื้นทีี่ในบริเวณใดบ้างที่เกิดไฟป่า และอยู่ใน ความรับผิดชอบของหน่วยงานใดบ้างเป็นต้น ดังแสดงในภาพ
7
www.fire.gistda.or.th
แบบจำ�ลองและคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่าล่วงหน้า 7 วัน
สทอภ. ได้จัดทำ�แผนที่คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่า โดยการประเมินด้วย แบบจำ�ลองทางคณิตศาสตร์ จากโปรแกรมระบบภูมิสารสนเทศสร้างแบบจำ�ลองด้วย Model-Builder วิเคราะห์จากปัจจัยเชิงพื้นที่ประกอบด้วย 1. จุดความร้อน (Hotspot) สะสมย้อนหลัง 10 ปี 2. จุดความร้อนสะสมปัจจุบัน ย้อนหลัง 7 3. ดัชนีความแตกต่างของความชื้น (NDWI)ย้อนหลัง 7 วัน 4. ความถี่พื้นที่เผาไหม้ ปี พ.ศ 2553 - 2557 (LANDSAT-5 , LANDSAT-8) 5. ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินเช่น ป่าผลัดใบ ป่าไม่ผลัดใบ พื้นที่- เกษตรกรรม แหล่งนำ�้ ฯลฯ 6. ข้อมูลด้านภูมิอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณนำ�้ฝน ความชื้นสัมพัทธ์ 8
www.fire.gistda.or.th
ผลการวิเคราะห์ ที่ได้ นำ�ไปจัดทำ�ข้อมูลแผนที่คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่า (รายสัปดาห์) บริเวณ 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำ�ปาง ลำ�พูน ตาก และอุตรดิตถ์ สามารถนำ�ข้อมูล ที่ได้ไปใช้ ใ นการเฝ้ า ระวังและติดตามสถานการณ์ไฟป่ า หมอกควั นในพื้ นที่ ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพสูงสุด ระดับพื้นที่เสี่ยงแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1. พื้นที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า 2. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าน้อย 3. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่ามาก
เผยแพร่ข้อมูลคาดการณืพื้นที่เสี่ยงไฟป่าในรูปแบบ Rasterfile Shapefile แผนที่ (.JPG) และรายงานประจำ�สัปดาห์ (.PDF) ผ่านทางเว็บไซต์ http://fire.gistda.or.th/
9
www.fire.gistda.or.th
การใช้งานเว๊ปไซด์ http://fire.gistda.or.th
GISTDA
ได้ ดำ � เนิ น การวิ เ คราะห์ แ ละประมวลผลข้ อ มู ล จากดาวเทียมเพื่อใช้ติดตามสถานการณ์จุดความ ร้อน (Hotspot) แผนที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า พื้นที่เผาไหม้ และการกระจายตัวของ หมอกควัน โดยมีการรายงานสถานการณ์ไฟป่า และหมอกควันรายวัน แก่ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บไซต์ http://fire.gistda.or.th
การเรียกใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต
การใช้งานและเข้าถึงข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่เกิดไฟป่า หมอก ควัน สามารถเรียกใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตบนบราวเซอร์ ได้แก่ Mozilla Firefox, Chrome และ บราวเซอร์อื่นๆ โดยเรียกใช้งานระบบผ่าน URL
URL : http://fire.gistda.or.th เพื่อเข้าสู่หน้าหลัก
องค์ประกอบหลักของเว็บไซต์ 1
สถานการณ์ไฟป่าจากภาพถ่ายดาวเทียม 2 ประเมินพื้นที่เสี่ยงไฟป่า 3 ดาวน์โหลดข้อมูลย้อนหลัง 4 สถานการณ์ไฟป่ารายจังหวัด 10
www.fire.gistda.or.th 1
สถานการณ์ไฟป่าจากภาพถ่ายดาวเทียม
ผู้ ใช้ ง านสามารถเลื อ กแสดงผลข้ อ มู ล จุ ด ความ ร้อนซ้อนทับร่วมกับข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่น ๆ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ ติดตาม และวางแผนรับมือ สถานการณ์ไฟป่าให้ดียิ่งขึ้น 1. แผนที่ฐาน
1 2
ประกอบด้วยแผนที่ฐาน
3 - ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต
4
11
- ภาพถ่ายดาวเทียม (Nasa Blue Marble)
www.fire.gistda.or.th 2. ชั้นข้อมูลเชิงพื้นที่ (เว็คเตอร์) ประกอบด้วยชั้นข้อมูลขอบเขตการปกครอง และชั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ไฟ ป่าซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ได้แก่ ขอบเขตการปกครอง -
- ความถี่พื้นที่เผาไหม้รอบ 5 ปี (Burnt Scar) จากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT- 8 ในช่วง เดือนมกราคม ถึง เมษายน ปี 2552 – 2557 ครอบคลุมบริเวณพื้นที่ 10 จังหวัด ภาคเหนือ
การใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use) -
- พื้นที่เผาไหม้ราย 16 วัน จากข้อมูล LANDSAT- 8 การกระจายตัวของหมอกควัน (Smoke) วิเคราะห์ได้จากภาพสีผสมจริงของข้อมูลดาวเทียม Terra-Modis รายวัน
12
www.fire.gistda.or.th 3. ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลระบบ MODIS จากดาวเทียม TERRA และ AQUA ซึ่งข้อมูลจุด ความร้อนที่วิเคราะห์ได้จะนำ�มาซ้อนทับกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน 6 ประเภทหลัก คือพื้นที่ป่า อนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ สปก. พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ริมทางหลวง (250 เมตร) และอื่นๆ โดย แสดงสัญลักษณ์จุดความร้อนตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงจุดตำ�แหน่งสถานีตรวจวัด คุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ที่แสดงระดับสีของค่า PM 10 ที่ตรวจวัดได้ สามารถเลือกดูข้อมูลจุดความร้อนย้อนหลังในรอบ 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมง หรือสะสม 7 วัน
หรือแสดงจุดความร้อนย้อนหลังเป็นรายสัปดาห์ เช่น แสดงผลสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เป็นต้น
แสงดผลโดยกำ�หนดช่วงวันด้วยตนเอง โดยระบุ วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด จากนั้นนั้นคลิกเลือก ดูข้อมูล
4. แผนที่ลมชั้นบน ระดับ 850 hPa โดย กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อแสดงทิศทางลมที่จะ มีผลต่อการกระจายของหมอกควันจากไฟ และ ทิศทางของเปลวไฟ
13
www.fire.gistda.or.th 2
ประเมินพื้นที่เสี่ยงไฟป่า
ข้อมูลการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า 10 จังหวัดภาคเหนือ GISTDA ได้ให้บริการ แผนที่แบบ Web Map Tile Service (WMTS) และแผนที่ในรูปแบบดิจิตอล แผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อ การเกิดไฟป่าเป็นข้อมูลคาดการณ์พื้นที่ที่จะเกิดไฟในในรอบ 7 วันข้างหน้า ดังนั้นจึงเป็นข้อมูลที่ เป็นประโยชน์ในการติดตามและเฝ้าระวัง โดยหน่วยงานในพื้นที่สามารถนำ�ข้อมูลไปใช้ดำ�เนินการ ตรวจตราและเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว เลื อ กแสดงผลข้ อ มู ล ร่วมกับข้อมูลถนน และ ขอบเขตการปกครอง
การดาวน์โหลดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ข้อมูลตารางexcel และข้อมูล shapefile สามารถทำ�ได้ด้วยตนเอง โดยเลือกพื้นที่ที่ สนใจในช่องเลือกดูข้อมูลรายจังหวัดด้านขวามือของภาพแผนที่ ดาวน์โหลดแผนที่
ดาวน์โหลดข้อมูลเว็คเตอร์ (shapefile)
ดาวน์โหลดข้อมูล ตาราง
ข้อมูลเว็คเตอร์ (shapefile) เพื่อนำ� ไปใช้วิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรมด้าน ภูมิสารสนเทศต่อไป
14
www.fire.gistda.or.th 3
ดาวน์โหลดข้อมูลย้อนหลัง
GISTDA ได้ติดตามจุดความร้อน (Hotspot) และหมอกควัน รายวัน โดยใช้ข้อมูล ดาวเทียม TERRA และ AQUA ระบบ MODIS รายวัน จากแผนที่ตำ�แหน่งจุดความร้อนใน 4 ช่วง เวลา ได้แก่ ข้อมูลดาวเทียม TERRA เวลา 1.00-2.00 น. / TERRA เวลา 10.00-11.00 / AQUA เวลา 13.00-14.00 น. และ AQUA เวลา 22.00-23.00 น. ตามลำ�ดับ (เวลาโดยประมาณ) โดย แสดงผลร่วมกับข้อมูล PM10 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยกรมควบคุมมลพิษ การให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลย้อนหลัง สามารถเลือกข้อมูลในวันที่ต้องการ และดาวน์โหลดข้อมูลจุด ความร้อนทั้งประเทศใน 3 รูปแบบ คือ แผนที่จุดความร้อน (JPEG) ข้อมูลเวคเตอร์ (shapefile) และตารางข้อมูล (excel) ได้เพื่อนำ�ไปใช้งานต่อไป ดาวน์โหลดข้อมูลเว๊คเตอร์ ดาวน์โหลดแผนที่ ดาวน์โหลดข้อมูล (shapefile) ตาราง ข้อมูลเวคเตอร์ และตาราง ประกอบด้วยข้อมูลเชิงบรรยาย ซึ่งแสดง รายละเอียดของจุดความร้อน เช่น ตำ�แหน่ง ค่าความเชื่อมั่น ลักษณะ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง เป็นต้น
15
www.fire.gistda.or.th 4
สถานการณ์ไฟป่ารายจังหวัด
GISTDA ได้จัดทำ�ข้อมูลการวิเคราะห์ตำ�แหน่งจุดความร้อนรายจังหวัด จำ�แนกตาม ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสรุปจำ�นวนตำ�แหน่งจุดความร้อนรายตำ�บล พร้อมทั้งกราฟ เปรียบเทียบจำ�นวนจุดความร้อนรายวันระหว่างปี 2555 2556 2557 และ 2558
ผู้ใช้งานสามารถเลือกแสดงผลข้อมูลจุดความร้อนตามวันที่ต้องการได้โดยการระบุวันที่ แถบด้านซ้ายมือ และทำ�การเลือกจังหวัด โดยจะมีรายชื่อปรากฏเฉพาะจังหวัดที่เกิดจุดความร้อน ในวันนั้นๆ ข้อมูลที่ได้จะแสดงตำ�แหน่งจุดความร้อนบนแผนที่ พร้อมตารางสรุปจำ�นวนจุดเป็น รายตำ�บล พร้อมกราฟ
การดาวน์ โ หลดแผนที่ ส ามารถ ทำ�ได้โดยการคลิกสัญลักษณ์ JPEG ด้าน ล่างของแผนที่ดังภาพ ซึ่งเป็นแผนที่ข้อมูล จุดความร้อนที่ได้มีการซ้อนทับกับการใช้ ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ 16
www.fire.gistda.or.th
การส่งข้อมูลแนวกันไฟ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการไฟป่า สามารถส่งข้อมูลแนวกันไฟของหน่วยงานท่าน ได้ที่แถบส่งข้อมูลแนวกันไฟด้านขวามือ เพื่อใช้ประโยชน์ในบริหารจัดการไฟป่าร่วมกัน และนำ�ไป ใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงไฟป่าให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ประเภทของข้อมูลได้แก่ : ข้อมูลภาพ (jpg , jpeg, gif, png, doc, docx, txt, rtf, pdf และ zip) โดยมีขนาดข้อมูลไม่เกิน 2 MฺB
17
www.fire.gistda.or.th
http://fire.gistda.or.th
18
www.fire.gistda.or.th
คำ�ถามที่พบบ่อยของจุดความร้อน คำ�ถามที่พบบ่อยของจุดความร้อน (Hotspot) ที่ตรวจวัดด้วยระบบ MODIS (http://www.fao.org/fileadmin/templates/gfims/docs/MODIS_Fire_Users_Guide_2.4.pdf) ในการตรวจวัดจุดความร้อน (Hotspot) จะใช้แบบจำ�ลองที่เรียกว่า MOD14 ที่ตรวจวัดจากความละเอียดของจุดภาพที่ 1 กิโลเมตร ที่บันทึกภาพที่ความยาวช่วง คลื่นที่ 3.9 ไมโครเมตร (อินฟราเรดกลาง) และ11 ไมโครเมตร (อินฟราเรดความร้อน) โดยช่วงคลื่นดังกล่าวจะมีความสามารถในการตรวจวัดค่าอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุ (Land surface temperature) ดังนั้นจึงใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม Terra/Aqua ใน ช่วงคลื่นดังกล่าวมาตรวจหา/วิเคราะห์จุดความร้อน 1.ขนาดของไฟที่เล็กที่สุดที่ระบบ MODIS สามารถตรวจพบได้ ? โดยปกติการตรวจวัดจุดความร้อนด้วยระบบ MODIS ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ ทั้ง เปลวไฟ (Flaming fire) หรือในบริเวณที่ไฟยังครุกกรุ่น (Smoldering fire) ที่มี ขนาดประมาณ 1,000 ตารางเมตรโดยขนาดของไฟจะมีขนาดที่แตกต่างกันที่สามารถ ตรวจวัดได้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ตำ�แหน่งของมุมในการถ่ายภาพ การปกคลุม ของหมอกควัน ความเป็นเนื้อเดียวกันของพื้นผิว (Homogeneous) -เปลวไฟที่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร แต่มีอุณหภูมิสูงก็สามารถ ตรวจพบได้ -ในบางกรณีซึ่งเป็นไปได้น้อยมากสามารถที่จะตรวจพบเปลวไฟที่มีขนาด พื้นที่เล็กประมาณ 50 ตารางเมตร จากการศึกษาของ Lobrt and Warnatz (1993) พบว่าอุณหภูมิบริเวณ เปลวไฟโดยทั่วไปแล้วจะมีอุณหภูมิระหว่าง 800-1,200 องศาเคลวิน และอาจจะมี อุณหภูมิสูงถึง 1,800 องศาเคลวิน สำ�หรับอุณหภูมิของไฟที่ยังครุกรุ่นนั้นจะมีอุณหภูมิ ประมาณ 450-850 องศาเคลวิน ดังนั้นประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในระบบนิเวศป่าฝนเขต ร้อน (Tropical rain forest) จากการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะตรวจวัดตำ�แหน่ง ของจุดความร้อนด้วยข้อมูลระบบ MODIS นั้นจะขึ้นกับขนาดพื้นที่ของไฟทีี่ไหม้ และ อุณหภูมิของพื้นที่ผิว (แสดงดังภาพ) 19
www.fire.gistda.or.th
2. ค่าความเชื่อมั่น (Confidence values) เป็นค่าที่มีความสำ�คัญในการ บ่งบอกตำ�แหน่งจุดความร้อน จากการตรวจวัดด้วยระบบ MODIS อย่างไร? ในการตรวจวัดค่าจุดความร้อนด้วยแบบจำ�ลอง MOD14 นั้น ทุกจุดความ ร้อนที่ตรวจวัดได้จะมีค่า“เปอร์เซ็นต์ความเชื่อมั่นของตำ�แหน่งเกิดไฟในแต่ละจุด ภาพ Fire-pixel confidence” โดยค่าความเชื่อมั่นนี้สามารถจำ�แนกเป็นช่วงชั้นได้ ดังตารางต่อไปนี้
ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ได้ข้อมูลจุดความร้อนแล้ว จำ�เป็นต้องพิจารณาค่า เปอร์เซ็นต์ ความเชื่อมั่นของตำ�แหน่ง-ของจุดความร้อนด้วย เนื่องจากจุดความร้อนที่ได้จาก ข้อมูล MODIS ไม่จำ�เป็นว่าทุกจุดต้องเป็นจุดที่เกิดไฟป่าจริงในพื้นที่ เนื่องจากเป็นจุด ที่ได้จากการวิเคราะห์อุณหภูมิพื้นผิววัตถุซึ่งบางกรณีอาจจะพบว่า จุดความร้อนเกิด ขึ้นในพื้นที่ลาดหิน หลังคาโรงงาน เป็นต้น
20
www.fire.gistda.or.th
บันทึก
21
www.fire.gistda.or.th
บันทึก
22
www.fire.gistda.or.th
บันทึก
23
www.fire.gistda.or.th
มีข้อสงสัยการใช้งานเว็บไซต์ ติดต่อ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ สำ�นักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ โทรศัพท์ 0-2143-0560, 093-580-1415 โทรสาร 0-2143-9605 E-mail envi.disaster@gmail.com
24
www.fire.gistda.or.th