Stateless

Page 1

่หัวใ เปิดเด็พืกไร้​้ นส ัญทีชาติ

บันทึกความงดงาม ของ 4 ชี วิตที่ก�ำลังเบ่งบานอยู ่ในมุ มใกล้ตัวเรา

อาทิตยา สุขาภิรมย์



เปิ ดพื้ นที่หัวใ เด็กไร้่ สัญชาติ ตามความฝั นบนความหวังที่เลือนราง


เปิดใจผู้เขียน หากถามว่าเด็กไร้สญ ั ชาติคอื ใคร หลายคนอาจตอบได้วา่ คือคนไม่มี สัญชาติ ซึง่ ตรงตัวกับค�ำนิยาม แต่ถา้ ถามว่าสภาพชีวติ เขาเป็นอย่างไร ต่าง จากคนธรรมดาอย่างเราตรงไหน ฉันกล้าพูดได้ว่าน้อยคนนักที่จะรู้ถึงค�ำ ตอบ เด็กไร้สญ ั ชาติแบ่งออกเป็นหลายประเภท ทัง้ เด็กบนทีร่ าบสูง เด็ก ไทยพลัดถิน่ และพวกสุดท้ายเด็กทีเ่ กิดจากลูกแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้า เมือง ส�ำหรับกลุ่มสุดท้ายนอกจากความไร้สัญชาติแล้ว ยังมีสถานะเด็ก ต่างด้าว สถานะพิเศษพ่วงติดตัวมาด้วย ต้องยอมรับก่อนว่าฉันเองเคยมีทัศคติเชิงลบกับกลุ่มแรงงาน ต่างด้าว ไม่ได้เพราะความรังเกียจแต่เป็นเรื่องของความกลัวมากกว่า คง ไม่ต่างจากคนไทยอีกหลายๆ คน นอกจากนี้ค�ำพูดที่เคยได้ยินผ่านหูจาก คนบางกลุ่ม ยังมองว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนอีกชนชั้น แน่นอนเมื่อถูกมอง เป็นพลเมืองชัน้ สอง จึงไม่แปลกใจหากจะมีหนังสือน้อยเล่มทีต่ แี ผ่เรือ่ งราว ชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ ‘เปิดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ’ เป็นหนังสือสารคดีที่เกิดขึ้นจาก การตัง้ ค�ำถามหลายอย่างกับตัวเอง โดยตัง้ ใจเลือกพืน้ ทีจ่ งั หวัดสมุทรสาคร


เพราะเป็นเมืองหลวงของคนต่างด้าว จังหวัดที่คนไทยมักพูดกันเล่นๆ ว่า หากพม่าจุดไม้ขีดคนละอันก็เผาเมืองนี้ได้ทั้งเมือง จากความอยากรู้แปรเปลี่ยนเป็นความตั้งใจในการลงไปสัมผัส ชีวิตเล็กๆ เพื่อค้นหาเรื่องราวชีวิตจริง ตลอดระยะเวลา 2 เดือนเต็มที่ได้ เรียนรู้ชีวิต เด็ก 4 คนที่มีสถานะไร้สัญชาติ รวมถึงครอบครัวพวกเขาช่วย เปลี่ยนแปลงภาพลบต่อคนต่างด้าวที่เคยมี นอกจากเรื่องราวชีวิตจริงแล้ว ยังมีแนวความคิดของหน่วยงาน องค์กรใจดีทเี่ กีย่ วข้อง ไขข้อปัญหาทีเ่ กิดจากความไร้สญ ั ชาติให้เข้าใจอย่าง ถ่องแท้ เรือ่ งราวต่างๆ ถูกถักทอร้อยเรียงออกมาจากประสบการณ์ตรง จัด ท�ำเป็นหนังสือด้วยความสามารถและความตั้งใจที่มีทั้งหมดของผู้เขียน โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจของการอยู่ร่วมกันใน ยุคที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และที่ส�ำคัญเพื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับ ตัวเด็กเจ้าของต้นเรื่อง รวมไปถึงอีกหลายชีวิตเล็กๆ ซ่อนตัวอยู่ ณ มุม หนึ่งมุมใดของสังคม อาทิตยา สุขาภิรมย์


เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ เรื่อง อาทิตยา สุขาภิรมย์ ที่ปรึกษา อาจารย์ภมรศรี แดงชัย คณะที่ปรึกษา อาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ ดร.กันยิกา ชอว์ อาจารย์วีรศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ภาพประกอบ อาทิตยา สุขาภิรมย์ อังศุมา รัตนโกสินทร์ หนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้ามลอกเลียนแบบ ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่ารูปแบบหรือวิธีการ ใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต


สารบัญ ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน 9 จากถุงมือสู่ปากกา 17 หัวใจเป็นไทย 39 ฝันไกลที่ไปไม่ถึง 69 หน้าที่ของเด็กดี 97 แสงสว่างหรือวังวน 121



01

ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน

จอโทรทัศน์ฉายภาพของ หม่อง ทองดี เด็กชายตัวเล็ก วัย 12 ปี ส่งเสียงร้องด้วยความดีใจกับชัยชนะในการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5 ผลตอบแทนแห่งความพากเพียรในครั้ง นั้ น คื อ การได้ เ ป็ น ตั ว แทนประเทศไทยเข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น เครื่ อ งบิ น กระดาษพับชิงแชมป์ทแี่ ดนอาทิตย์อทุ ยั แต่แล้วชัว่ พริบตาเสียงแห่งความ ดีใจกลับต้องแปรเปลีย่ นเป็นความโศกเศร้าพร้อมคราบน�ำ้ ตาทีเ่ ต็มไปด้วย ความผิดหวัง กับความฝันทีพ่ งั ทลายลงต่อหน้า จากค�ำพิพากษาของสังคม ที่บอกว่า เขาไม่ใช่คนไทย สาเหตุที่เด็กชายหม่องไปเป็นตัวแทนแข่งในนามประเทศไทย ไม่ได้เพราะเขาไม่มีสัญชาติ ซึ่งความไร้สัญชาติเป็นข้อจ�ำกัดด้านสิทธิการ ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน 9


เดินทางออกนอกประเทศและการกลับเข้ามา และทีส่ ำ� คัญกว่านัน้ คือเรือ่ ง นี้เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ เหตุผลข้อสุดท้ายทีด่ จู ะร้ายแรงไปเสียหน่อยเมือ่ เทียบกับสิง่ ทีเ่ ด็ก ตัวเล็กๆ คนหนึง่ จะท�ำได้ หลุดออกมาจากปากผูใ้ หญ่คนหนึง่ ของบ้านเมือง เสียงรายงานข่าวช่วงเที่ยงวันของผู้ประกาศสาวจบลง พร้อมกับ ค�ำถามมากมายที่ผุดขึ้นในหัวของฉัน ท�ำไม เพราะอะไร และที่ส�ำคัญเด็ก ไร้สัญชาติคือใคร ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและเอกสารมากมายอธิบายว่า ‘เด็กไร้ สัญชาติ’ หรือเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า ‘บุคคลที่ไม่มีสถานะทาง ทะเบียน’ คือบุคคลที่ประเทศไทยรับรู้ว่า ยังพิสูจน์สถานะทางกฎหมาย ว่าด้วยสิทธิในสัญชาติไม่ได้ หรือพิสจู น์ได้แล้วว่าเป็นคนต่างด้าว แต่ยงั ส่ง กลับประเทศต้นทางไม่ได้ เมื่อมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ในทางกฎหมายไม่รับรู้ว่าเป็นคนสัญชาติ ใด แต่มตี วั ตนอยูใ่ นประเทศไทย ทางการไทยจึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องรับรูต้ วั ตน ของคนเหล่านัน้ โดยการขึน้ ทะเบียนประวัตไิ ว้ ส�ำหรับคนต่างด้าวทีเ่ ป็นคน จากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว กัมพูชา และพม่า ที่เข้ามาท�ำงานเป็น แรงงาน จะมีการจัดท�ำทะเบียนประวัติที่เรียกว่า ทร. 38/1 ซึ่งมีชื่อเรียก ทางการว่า ‘แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับ อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ’ รวมถึงลูกของพวกเขาซึ่ง มีสถานะเป็นผู้ติดตาม ส�ำหรับแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน ทร. 38/1 จะมีการก�ำหนด ระยะเวลาให้อยู่ในประเทศชั่วเวลาหนึ่ง ตามที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติ 10 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ก�ำหนดไว้เป็นคราวๆ ซึ่งคนเหล่านี้จะต้องเข้าสู่การพิสูจน์สัญชาติกับ ประเทศต้นทางในเวลาต่อไป แต่หากไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติจาก ประเทศต้นทาง และไม่อาจส่งกลับประเทศต้นทางได้ ก็จะถูกย้ายมาอยู่ ในทะเบียน ทร.38 ก (ทะเบียนราษฎร์ส�ำหรับผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน) ดังนั้นเด็กไร้สัญชาติจึงมีการขึ้นทะเบียนประวัติใน ทร.38/1 บ้าง และ ทร.38 ก บ้าง เพือ่ ให้เกิดการรับรูต้ วั ตนของเด็กไร้สญ ั ชาติในระหว่าง รอการก�ำหนดสถานะบุคคลตามกฎหมายใหม่ หรือรอการส่งกลับออก นอกประเทศไทย นอกจากนี้ยังจะเป็นประโยชน์แก่เด็กเหล่านี้ในแง่ของ การได้รับสิทธิที่ส�ำคัญต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอีกด้วย ข้อความยาวเหยียดกับภาษาทางการของกฎหมาย อธิบายถึงการ รับรูก้ ารมีตวั ตนของเด็กไร้สญ ั ชาติ และนัน่ เป็นครัง้ แรกทีฉ่ นั ได้รจู้ กั กับเด็ก ที่ไม่ได้เป็นคนของประเทศอะไรเลยบนโลกใบนี้ หากจะพูดว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจับต้องได้ แต่คล้ายว่าจะเลือน รางจากค�ำตีตราของข้อกฎหมายก็คงไม่ผิดในความรู้สึก จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผ่านมาเกือบ 4 ปี วันที่อะไรหลายอย่าง เปลีย่ นไป หม่องผูจ้ ดุ ประเด็นปัญหาเด็กไร้สญ ั ชาติให้กบั ฉัน เปลีย่ นสถานะ จากเด็กชายเป็นนาย แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เขายังคงเป็นคนที่ มีตัวตนเลือนราง แม้วา่ หลังจากทีส่ อื่ ประโคมข่าวของหม่อง ทองดี สูส่ าธารณชน จะ มีผู้ใหญ่ใจดีของบ้านเมืองหลายคนหยิบยื่นโอกาสให้เด็กน้อยได้สานฝัน พร้อมสัญญาถึงรางวัลของชีวิต คือการให้สัญชาติไทยและทุนการศึกษา ถึงระดับปริญญาเอกแลกกับการท�ำชื่อเสียงให้ประเทศไทย แต่สุดท้าย ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน 11


แล้ว สัญญานั้นดูจะเป็นเพียงลมปากของผู้ใหญ่คนหนึ่งที่สร้างความหวัง ให้เด็กน้อยเท่านั้นเอง

สมุทรสาคร มหานครของคนต่างด้าว

ความไร้สัญชาติของหม่องเกิดจากความที่เขาเป็นลูกแรงงาน ต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย หม่องไม่ใช่เพียงคนเดียวในประเทศไทยที่ ต้องตกอยู่ในสถานะจ�ำยอมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และหากพูดถึงคน ต่างด้าว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจังหวัดที่ใครหลายคนรวมถึงฉันนึกถึง คือ จังหวัดสมุทรสาคร นครของคนต่างด้าว จังหวัดที่เต็มไปด้วยโรงงานและถูกหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจจากหยาด เหงื่อแรงงานของจ�ำนวนแรงงานต่างด้าวนับแสน แน่นอนว่าคนเหล่านี้ก็ มีวิถีชีวิตเหมือนพวกเรา ท�ำงาน มีครอบครัว และสร้างผลิตผลน้อยๆ ที่ เกิดจากความรัก แม้ว่ายังไม่มสี ถิติทแี่ น่นอนส�ำหรับจ�ำนวนเด็กไร้สญ ั ชาติทเี่ กิดจาก แรงงานต่ า งด้ า ว แต่ ก ลั บ มี ข ้ อ มู ล ที่ น ่ า สนใจจากสาธารณสุ ข จั ง หวั ด สมุทรสาคร รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา แรงงานต่างด้าวมีการ ตั้งครรภ์ทั้งที่ไม่พึงประสงค์ และไม่ได้รับการวางแผนครอบครัว มีอัตรา การเกิดของบุตรแรงงานข้ามชาติสูงมากถึงปีละ 3,000 - 3,600 คน จากตัวเลขที่เห็นอาจสรุปได้ว่าจ�ำนวนเด็กไร้สัญชาติที่เกิดจาก แรงงานต่างด้าวมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี จ�ำนวนชีวติ เล็กๆ ทีเ่ กิดใหม่ขนึ้ ทุกวันราวกับดอกเห็ดในระยะเวลา 10 ปีทผี่ า่ นมา เป็นสัญญาณบอกกับเราให้เปิดตามองความจริงและยอมรับ 12 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ว่าเราไม่ใช่คนแปลกหน้าต่อกันอีกต่อไปแล้ว สถานะ ‘ไร้สัญชาติ’ ที่เป็นค�ำตีตราติดตัวมาตั้งแต่เกิด ท�ำให้เด็ก กลุ่มนี้ถูกลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กพึงจะได้รับ เนื่องจากไม่ได้รับรอง สิทธิการเป็นพลเมืองของประเทศใดในโลก รวมทั้งเสี่ยงตกอยู่ในปัญหา ต่างๆ ด้วย โดยรายงานของมูลนิธเิ ครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวติ แรงงาน (LPN) เรื่องสถานการณ์เด็กต่างด้าวในพื้นที่สมุทรสาคร ปี 2554 ระบุว่า ปัญหา ที่เกิดขึ้นในพื้นที่มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การที่เด็กไม่ได้รับสิทธิทาง สุขภาพหรือการประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิการเดินทางออกนอกพื้นที่ การเข้าถึงการศึกษาและสันทนาการต่างๆ เนื่องจากโรงเรียนบางแห่งใน จังหวัดสมุทรสาครไม่ได้มบี ทบาทเชิงรุกในการสนับสนุนให้เด็กต่างชาติเข้า เรียนอย่างจริงจัง การเสีย่ งเข้าไปเป็นแรงงานเด็กก่อนวัยอันควรและผิดกฎหมายของ เด็กอายุต�่ำกว่า 14 ปี และเด็กที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป จะประสบปัญหาเกี่ยว กับเรือ่ งแรงงานเป็นหลัก โดยปัญหาทีเ่ ด็กพบคือ ปัญหาการกดค่าแรง การ ได้รบั สิทธิแรงงาน และตกอยูใ่ นสภาวะการเป็นเหยือ่ การค้าแรงงานมนุษย์ ซ�้ำร้ายยังมีโอกาสถูกละเมิดสิทธิทางด้านร่างกายและเพศ ปัญหา ปัญหา ปัญหา ! ดูจะเต็มไปหมด ช่ ว งปี ห ลั ง ที่ ผ ่ า นมาดู เ หมื อ นว่ า ปั ญ หาจะถู ก คลี่ ค ลายลงจาก หน้าต่างบานใหญ่ที่เปิดโอกาสให้ อย่างเรื่องการศึกษาทางภาครัฐร่วมมือ กับหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไข ซึ่งการสนับสนุนให้เด็กเข้าเรียนมากขึ้น เป็นส่วนช่วยแก้ปญ ั หาทีเ่ รือ้ รังมานานอย่างเรือ่ งของแรงงานเด็ก และทาง ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน 13


หน่วยงานรัฐมีการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องของแรงงานเด็กอย่างจริงจัง เรื่องของสาธารณสุขก็เช่นเดียวกัน อย่างล่าสุด ปี 2556 มีการเปิดขาย บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี จ�ำหน่ายในราคา 365 บาท แน่นอนว่าโอกาสมากมายถูกเปิดออกจากความตัง้ ใจของรัฐบาลใน การเข้ามาแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวติ ของเด็ก ทว่าน้อยคนนัก ทีจ่ ะตอบได้วา่ ความเป็นจริงแล้ว เขาเหล่านีเ้ ข้าถึงโอกาสทีห่ ยิบยืน่ ให้มาก น้อยเพียงใด หรือสถานะไร้สญ ั ชาติยงั คงเป็นตัวขวางให้เขาเข้าไม่ถงึ โอกาส นั้นอยู่ดี ฉันตัดสินใจออกเดินทางด้วยหัวใจที่เปิดกว้างเพื่อค้นหาสภาพ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิต และหวังว่าการเดินทางในครั้งนี้ จะท�ำให้ ฉันได้รู้จักพวกเขาในอีกมุมหนึ่งของหัวใจเช่นเดียวกัน

14 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ




02

จากถุงมือสู่ปากกา

ยามบ่ายทีแ่ สนอบอ้าวของฤดูรอ้ น ลมเอือ่ ยๆ พัดปะทะผิวกายชวน ให้รู้สึกเหนอะตัวไม่น้อย ทันทีที่เข้าเขตจังหวัดสมุทรสาคร ต้นไม้ที่เคย เขียวขจีสองข้างทาง ถูกแทนที่ด้วยโรงงานพร้อมกลิ่นไอทะเล ยิ่งชวนให้ รู้สึกร้อนขึ้นกว่าเดิม เพราะเป็นจังหวัดที่ไม่ไกลจากรุงเทพมากนัก ในวัน หยุดแบบนี้ ตามชุมชนจึงคลาคล�่ำไปด้วยผู้มาเยือนจากต่างถิ่น ท่ามกลางกลุ่มฝูงชน ใครบางคนที่ดูแปลกตาทั้งการแต่งตัว และ ภาษาที่ใช้ ทุกคนต่างเรียกพวกเขาว่า ‘คนต่างด้าว’ ก�ำลังขะมักเขม้นกับ การท� ำ งาน ฉั น ยิ้ ม รั บ กั บ ภาพนั้ น มั น เป็ น สั ญ ญาณส� ำ คั ญ ว่ า เรามา ถึงที่หมายอย่างแท้จริงแล้ว จุดประสงค์ของผู้มาเยือนแตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม คงหนีไม่พ้นมาท่องเที่ยวหรือท�ำการค้า แต่ส�ำหรับฉันหาก จากถุงมือสู่ปากกา 17


บอกกับใครว่ามีนดั กับ ‘เด็กไร้สญ ั ชาติ’ คงไม่ตอ้ งแปลกใจหากใครฟังและ มองว่าแปลกไปสักหน่อย เพราะเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการพูดถึงนัก หรือ บางคนไม่รู้เลยด้วยซ�้ำว่ามีตัวตนของพวกเขาอยู่ รถยนต์เคลื่อนตัวมาจอดหน้าทาวน์เฮาส์ 4 คูหา ที่นี่เป็นที่ตั้งของ มูลนิธิ LPN หรือมูลนิธเิ ครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวติ แรงงาน ทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั กันดีในหมูค่ นต่างด้าว องค์กรอิสระแห่งนีท้ ำ� หน้าทีห่ ลายอย่าง ตัง้ แต่การ ดูแลสิทธิดา้ นสุขภาพ สิทธิแรงงาน จนไปถึงการเข้าสูร่ ะบบการศึกษาของ ลูกหลานต่างด้าวทั้งที่มีสัญชาติและไม่มีสัญชาติ วันนี้ที่นี่เต็มไปด้วยแรงงานเพื่อนบ้าน สอบถามจากเจ้าหน้าที่ใน มูลนิธคิ นหนึง่ เขาบอกว่าวันนีเ้ ป็นวันหยุดของเหล่าบรรดาคนต่างด้าว เขา เหล่านัน้ จึงใช้เวลาจากการว่างงานมาเรียน กศน. (การศึกษานอกโรงเรียน) กับทางมูลนิธิ รวมไปถึงแวะเวียนเข้ามาขอค�ำปรึกษาจาก ‘ศูนย์ให้ค�ำ ปรึกษาด้านแรงงาน’ ‘ใหม่’ (นามสมมุต)ิ ในชุดเครือ่ งแบบนักเรียนโรงเรียนรัฐบาล ก�ำลัง ท�ำหน้าที่อย่างขะมักเขม้นในการเป็นล่ามให้กับหญิงสาวชาวพม่าคนหนึ่ง อยู่บริเวณมุมห้อง ฉันทักเธอเบาๆ หลังจากเห็นว่าเธอท�ำภารกิจเสร็จแล้ว ใหม่ทำ� หน้า ไม่แน่ใจ ก่อนจะยิ้มกว้างให้ฉันเมื่อจ�ำได้ว่าเราเคยพบกันแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ สองเดือนก่อน ขณะที่ฉันเข้ามาติดต่อทางมูลนิธิ ในตอนนั้นเธอดูไม่อยาก คุยกับคนแปลกหน้าอย่างฉันเท่าไหร่ ต่างจากครั้งนี้ที่รอยยิ้มของเธอ บ่งบอกว่าพร้อมแล้วที่จะให้ฉันได้รู้จัก เด็กสาวพามาหาทีเ่ งียบปราศจากผูค้ นเพือ่ ให้สะดวกต่อการคุยกัน เรานั่งอยู่บนแคร่ไม้ไผ่ใต้ต้นก้ามปู ใหม่เป็นเด็กสาวรูปร่างสูง ขาว สะดุด 18 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ตาด้วยแป้งทานาคาทีป่ ะเป็นรูปดาวอยูบ่ นแก้มของเธอ ผมสัน้ ทรงนักเรียน ถูกมัดด้วยยางอย่างลวกๆ ใหม่บอกว่าเธอเพิ่งกลับมาจากการซ้อมร�ำที่ โรงเรียน จึงท�ำให้ยังอยู่ในชุดนักเรียน ฉันมองเสื้อนักเรียนของเธอย่างสนใจ เสื้อนักเรียนของเด็กหญิง ไร้สญ ั ชาติคนนีแ้ ตกต่างจากเด็กทัว่ ไปตรงทีม่ เี พียงชือ่ ‘ใหม่’ ปักอยูเ่ ท่านัน้ ใหม่หัวเราะออกมาเบาๆ เมื่อเห็นว่าฉันจ้องเสื้อของเธอตาไม่กะพริบ เธอ บอกว่าถ้าเป็นทีอ่ นื่ อาจจะดูแปลกไปเสียหน่อย แต่สำ� หรับทีโ่ รงเรียนของ เธอนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะมีเด็กหลายร้อยคนที่เป็นแบบเธอ ปัจจุบันใหม่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม (วัดก�ำพร้า) เธอ บอกว่าตอนนี้อายุ 16 ปีแล้ว แต่ยังอยู่แค่ชั้นประถม 6 เท่านั้น เพราะ กว่าจะเข้าเรียนประถม 1 อายุก็ปาเข้าไป 11 ปี ใหม่ขยายความให้ฟังว่า ตอนเด็ก โรงเรียนคือสถานที่คุ้นชินส�ำหรับคนอื่น แต่กับเธอต่างกันออก ไป ตลาดกุ้ง แพปลาและโรงงาน เป็นสถานที่คุ้นชินมากกว่า

ชีวิตวัยเด็ก

ความไร้ สั ญ ชาติ ข องใหม่ เ กิ ด จากการที่ แ ม่ ไ ม่ ไ ด้ พ าเธอไปจด ทะเบียนเกิด เธออาศัยอยู่ในตลาดกุ้งกับแม่เชื้อสายชาวพม่า ทุกวันแม่ ต้องขายของตั้งแต่เช้ายันเย็น การทิ้งใหม่ไว้ในห้องจึงเป็นทางดีที่สุด แต่ เพราะการที่อยู่ในห้องเฉยๆ เป็นเรื่องน่าเบื่อส�ำหรับเธอ เด็กหญิงตัวน้อย วัย 6 ปี จึงเดินจากบ้านในตลาดกุ้งตั้งแต่ตี 3 ไปที่แพปลาเพียงล�ำพังเพื่อ หางานท�ำ “ตอนนั้นหนูอยากช่วยแม่ท�ำงานหาเงิน หนูเลยไปท�ำงานแกะกุ้ง ตรงหน้าตลาดนัน่ แหละ แต่ไม่ได้ทำ� จริงจัง” ใหม่เล่าย้อนถึงอดีตในวัยเด็ก จากถุงมือสู่ปากกา 19


ทีแ่ ตกต่างกับเด็กทัว่ ไปด้วยท่าทีสบายๆ เธออธิบายต่อว่าช่วงไปสมัครงาน เป็นช่วงทีท่ างล้งกุง้ (โรงงานแกะกุง้ ขนาดเล็ก) ต้องการคนทีไ่ ม่มบี ตั รเข้าไป ท�ำงานพอดี ทุกวันใหม่จะเข้างานตัง้ แต่ตี 3 ส�ำหรับเวลาเลิกงานในแต่ละวันนัน้ ไม่มเี วลาแน่นอน เนือ่ งจากเป็นรายเหมาจึงขึน้ อยูก่ บั จ�ำนวนกุง้ ทีม่ ใี นแต่ละ วัน เธอบอกว่าวันไหนงานน้อยจะเลิก 2 ทุ่ม แต่ถ้าหากวันไหนงานเยอะ เลิกงาน 5 ทุ่มเลยก็มี ฉันนั่งนับจ�ำนวนชั่วโมงการท�ำงานที่เธอบอกหักลบ กับเวลาทั้งหมดในแต่ละวัน ผลสรุปออกมาบอกว่าในวันหนึ่งเธอมีเวลา พักผ่อนไม่ถงึ 6 ชัว่ โมงด้วยซ�ำ้ จึงไม่แปลกหากร่างกายเล็กๆ นีจ้ ะประท้วง ออกมาบ้าง “หนูเหนื่อยมากเลย ปวดตัวไปหมด แต่มันก็คุ้มดีนะ ได้เงินเยอะ แม่ก็บอกว่าท�ำดีแล้ว คนอื่นเขาก็ชมด้วยว่า ท�ำได้ขนาดนี้เลยหรือ เราก็ รู้สึกดีด้วยที่หาเงินได้” เธอพูดปิดท้ายอย่างภูมิใจ ก่อนเสริมว่าถ้าวันไหน ขยันก็จะได้เงินเยอะ แต่ถา้ ยิง่ ไม่พกั เลยจะได้เงินเยอะมากขึน้ บางอาทิตย์ ได้มากสุดถึงสามพันบาทเลยก็มี แม้วา่ ตลอดเวลาการท�ำงานในล้งกุง้ แห่งนี้ จะเหนือ่ ยบ้างอะไรบ้าง แต่คา่ ตอบแทนทีไ่ ด้รบั กับก�ำลังใจจากแม่ของเธอก็ทำ� ให้เธอมีความสุขกับ มัน จนกระทั่งเข้าเดือนที่ 3 ของการท�ำงาน มีข่าวลือหนาหูว่ารัฐบาล ประกาศจับเด็กต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย และแรงงานหญิงต่างด้าวตั้ง ครรภ์ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายส่งกลับประเทศ เพื่อลดจ�ำนวนคนต่างด้าวที่ มีมากขึ้นในจังหวัดสมุทรสาคร เมื่ อ มี ก ารประกาศจั บ เด็ ก เกิ ด ขึ้ น การส่ ง ลู ก เข้ า ไปเรี ย นใน 20 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


สถานศึกษาคือเกราะก�ำบังทีด่ ที สี่ ุด แม่ของใหม่เองก็เป็นหนึง่ คนทีค่ ดิ เช่น นั้น ในขณะนั้นตามโรงเรียนต่างๆ ยังไม่เปิดโอกาสให้เด็กต่างด้าวเข้าไป ศึกษา ทางออกเดียวคือการพาเข้าไปเรียนที่มูลนิธิ LPN ที่สมัยนั้นเป็น เพียงหน่วยงานเดียวที่เป็นที่พักพิงให้กับเด็กกลุ่มนี้ “หนูรู้จัก LPN ตั้งแต่ตอนเด็กๆ ตอนท�ำกุ้งนั่นแหละ เขาจะพาคน ลงไปดูการใช้ชีวิตของพวกแรงงานว่าอยู่ยังไง ‘ครู’ เขาเห็นหนู เขาก็เข้า มาคุยด้วยว่าทีม่ ลู นิธมิ สี อนหนังสือ ถามว่าอยากเรียนไหม” เธอเล่าถึงครัง้ แรกที่ได้พบ ‘พี่ตุ่น’ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิ LPN ที่เป็นคนบุกเบิกให้เด็กๆ ได้ เรียนหนังสือ ใหม่เรียกการเรียนในห้องเรียน LPN ว่า ‘ห้องเรียนเตรียมความ พร้อม’ การเรียนที่เธอบอกกับฉันว่าคล้ายการเรียนพิเศษ สอนแค่ภาษา ไทยกับภาษาอังกฤษ เน้นให้อ่านออกเขียนได้มากกว่า แต่เรียนได้เพียง 3 สัปดาห์ ไม่ทนั ทีเ่ ธอจะอ่านออกเขียนภาษาไทยได้ ใหม่กต็ อ้ งออกจากการ เรียน ด้วยเหตุผลทีแ่ ม่บอกว่าทีน่ ไี่ ม่ใช่โรงเรียน รอให้เป็นโรงเรียนแล้วค่อย กลับมาเรียนจะดีกว่า ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ข่าวการจับเด็กเงียบ หายไป ชีวิตยังคงเหมือนวังวน เธอเข้าท�ำงานอีกครั้งที่ล้งกุ้งเดิม หาก วันไหนเป็นวันหยุด ใหม่จะท�ำตัวขยันมาช่วยแม่ของเธอขายกับข้าวกับ หมากทันที ไม่ทันไรข่าวการจับเด็กก็กลับมาให้ใจหายเล่นอีกครั้ง แต่ครั้ง นี้เป็นโชคดีของใหม่ที่มีโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งเปิดโอกาสให้เด็กแบบเธอ ได้เรียนหนังสือ การเรียนหนังสืออย่างเป็นทางการครั้งแรกจึงเริ่มขึ้น

จากถุงมือสู่ปากกา 21


คุณสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำ�นวยการ มูลนิธิ LPN หรือครูใหญ่ของเด็กๆ ต่างด้าว ผู้บุกเบิกจัดการศึกษาใน จังหวัดสมุทรสาคร

ก้าวแรกสู่รั้วโรงเรียน

“ครูใหญ่ ว่างไหมคะ” ใหม่พาฉันเข้าไปหาชายคนหนึ่งที่ก�ำลัง ท�ำงานอยู่ภายในห้องประชุมเล็กๆ ของมูลนิธิ เขาเป็นชายวัยกลางคน ริว้ รอยบนใบหน้าทีบ่ ง่ บอกว่าผ่านเรือ่ งราวอะไรมาเยอะ ผมยาวประบ่า ไว้ หนวดเคราดูน่าเกรงอกเกรงใจ เขาเงยหน้าขึ้นจากงานที่ท�ำอยู่ รอยยิ้มที่ เผยออกมาบ่งบอกถึงความใจดี ใหม่แนะน�ำให้ฉันกับ ‘ครูใหญ่’ ก่อนที่ เธอจะขอตัวไปท�ำธุระส่วนตัวที่ค้างไว้ คุณสมพงษ์ สระแก้ว หรือ ‘พี่ตุ่น’ ที่เด็กๆ ต่างด้าวเรียกว่าครูใหญ่ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ LPN อธิบายถึงการเริ่มจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก ไร้สญ ั ชาติและเด็กต่างด้าวว่า มีสาเหตุมาจากความสงสาร เห็นเด็กต้องอยู่ 22 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


บ้านเพียงล�ำพัง นอกจากนี้ยังเสี่ยงไปเป็นแรงงานก่อนวัยอันควรอีกด้วย สมัยก่อนที่กฎหมายยังไม่เปิดให้เด็กได้เข้าเรียนในโรงเรียน ทาง มูลนิธิได้มีการเปิดการเรียนการสอนแบบ Learning center อยู่บริเวณ ชั้นสองของมูลนิธิ โดยเข้าไปหาเด็กที่อยู่ในชุมชน และชักชวนเข้ามาเรียน ส�ำหรับวิชาที่สอนคือวิชาพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ภาษาไทย ภาษา อังกฤษ และวิชาพิเศษที่เรียกว่า ‘ทักษะการใช้ชีวิต’ ซึ่งจะสอนเกี่ยวกับ การใช้ชีวิตในประเทศไทย มาถึงตรงนี้พี่ตุ่นหยุดพูด เขาเชิญชวนให้ฉันเดินขึ้นไปบริเวณชั้น สองทีบ่ อกว่าเป็นห้องเรียนเก่าทีเ่ คยใช้สอนเด็กๆ สภาพห้องเรียนเป็นห้อง ปูนขนาดกว้างพอจะจุคนได้ประมาณ 50 คน พื้นปูด้วยเสื่อน�้ำมัน มีโต๊ะ พลาสติกสีเทาตัวเล็กทีส่ ภาพบ่งบอกว่าผ่านการใช้งานมาหลายปีวางเรียง รายเป็นแถว พี่ตุ่นบอกเราว่า สมัยก่อนมีเพียงเสื่อน�้ำมันเท่านั้น เด็กตัว น้อยจะนัง่ เรียนกับพืน้ แต่เมือ่ เด็กๆ ได้เข้าสูโ่ รงเรียนแล้ว ห้องนีจ้ งึ ถูกปรับ เปลี่ยนเป็นห้องเรียน กศน. ที่ใช้สอนแรงงานในทุกๆ วันอาทิตย์ “หลังจากปี 2548 ทีร่ ฐั บาลมีนโยบายส่งเสริมให้เด็กกลุม่ นีไ้ ด้เรียน ทางมูลนิธิเห็นถึงช่องทางตรงนั้น จึงเข้าไปร่วมมือกับโรงเรียนวัดศิริมงคล เป็นอันดับแรก” พีต่ นุ่ พูดให้ฉนั ฟังถึงจุดเริม่ ต้นของการเข้าร่วมส่งเสริมการ ศึกษากับสถานศึกษา พร้อมเสริมว่าทีเ่ ลือกโรงเรียนแห่งนี้ เพราะทีน่ เี่ หลือ เด็กไทยเรียนเพียงแค่ 30 กว่าคนเท่านั้น มีความเสี่ยงต่อการถูกปิด และ โชคดีที่ผู้อ�ำนวยการ ทัศนีย์ สว่างอารมณ์ ที่ด�ำรงต�ำแหน่งในขณะนั้นมี ทัศนคติเดียวกันกับทางมูลนิธิจึงท�ำให้ไม่มีปัญหากับทางสถานศึกษา แต่ กลับมีปัญหากับฝ่ายชาวบ้านมากกว่า จากถุงมือสู่ปากกา 23


พี่ตุ่นยังเสริมว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวบ้านจะไม่เข้าใจและมี ทัศนคติที่ไม่ดีกับเด็กกลุ่มนี้ เพราะคิดว่าเหล่าบรรดาเด็กน้อยตาด�ำๆ จะ มาแย่งที่เรียนของเด็กไทย ทางมูลนิธิจึงใช้การแก้ปัญหาโดยการลงพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ ท�ำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งในช่วงปีหลังจากนั้น ค่อนข้างได้รับความเข้าใจมากขึ้น เด็กส่วนใหญ่ที่เข้าไปอยู่โรงเรียนจะผ่านการเตรียมความพร้อมมา จากมูลนิธิแล้วขั้นหนึ่ง เมื่อเข้าไปที่โรงเรียนก็สามารถเข้าเรียนในระบบ โรงเรียนได้เลย โดยการเข้าชัน้ เรียนจะจัดระดับตามความรูแ้ ละความพร้อม ของเด็ก เด็กคนไหนเก่งได้ขึ้นชั้นประถม 3 เลยก็มี นอกจากนี้จะมีห้อง พิเศษอยู่ห้องหนึ่งที่เรียกกันเองว่าห้องเตรียมเด็กจะเป็นห้องเรียนนอก ระบบ ส�ำหรับเด็กที่ยังสื่อสารภาษาไทยไม่ได้ ในการเข้าไปร่วมการจัดการเรียนกับทางโรงเรียนนั้น มูลนิธิช่วย จัดหาครูชาวไทย และชาวพม่าเพื่อเข้าไปช่วยสอนจ�ำนวนเด็กที่เพิ่มมาก ขึน้ และช่วยปรับภาษาให้กบั เด็กทีย่ งั ไม่เข้าใจภาษาไทยร้อยเปอร์เซ็น เพือ่ ไม่ให้เป็นภาระของโรงเรียน ทุกอย่างดูจะไปได้สวย แต่หนึง่ ปีให้หลัง เกิด ปัญหาเกี่ยวกับผู้บริหาร จึงต้องย้ายไปจัดการเรียนการสอนร่วมกับทาง โรงเรียนวัดศรีสุนทราราม (วัดก�ำพร้า) แทน เสียงฝีเท้าที่ดังขึ้นด้านหลังท�ำให้บทสนทนาหยุดลง ใหม่เดินเข้า มาช้าๆ พร้อมน�้ำเปล่าสองแก้วในมือ พี่ตุ่นลุกขึ้นจากโต๊ะที่นั่งอยู่และดึง เก้าอี้ที่อยู่ใกล้ๆ เป็นเชิงบอกว่าให้ใหม่มานั่ง เมื่อเห็นว่าเจ้าตัวที่เป็นคน เรียนนั่งอยู่ตรงหน้าแล้ว ฉันเลยถือโอกาสถามเธอทันที “ตอนหนูเข้าไปเรียนหนูอยู่ ป. 1 เลยเพราะว่าพอรู้เรื่องบ้างแล้ว จากที่ได้เรียนที่นี่กับอยู่บ้านแม่ก็ซื้อหนังสือมาให้เขียนบ้าง ช่วงที่เรียนก็ดี 24 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


บริเวณชั้นสองของมูลนิธิ LPN เดิมทีใช้เป็นห้องเรียนเด็กต่างด้าวและเด็กไร้สัญชาติ ในยุค เริ่มแรกมีเพียงพื้นเสื่อน�้ำมันเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงและใช้เป็นห้องเรียน กศน. ส�ำหรับเหล่าบรรดาแรงงานในวันอาทิตย์

เขาก็สอนให้ มีครูคนเดียวสอนทุกวิชา แต่หนูเรียนแค่ 3 เดือนก็ต้องออก จากโรงเรียนอีก จะมาได้เรียนอีกทีก็ตอนโตที่วัดก�ำพร้านี่แหละ” เมือ่ ถึงตรงนีฉ้ นั สงสัยเกีย่ วกับการเรียนการสอนทีจ่ ดั ขึน้ ทีโ่ รงเรียน วัดก�ำพร้า พีต่ นุ่ จึงบอกแค่วา่ มันต่างไปจากทีโ่ รงเรียนวัดศิรมิ งคลค่อนข้าง มาก อยากให้ฉันลงไปสัมผัสด้วยตัวเองมากกว่า เขาหันไปบอกใหม่ว่าวันจันทร์หน้า ตอนที่เธอไปเรียนให้พาฉันไป ด้วย เด็กหญิงพยักหน้ารับ เป็นเวลาเดียวกันกับที่เสียงโทรศัพท์ของพี่ตุ่น จากถุงมือสู่ปากกา 25


ดังขึ้น จากที่จับใจความได้เหมือนจะมีงานด่วนเข้ามา พี่ตุ่นมีสีหน้า เคร่งเครียดทันที เขาขอตัวไปสะสางงานที่ค้างเอาไว้ และที่ก�ำลังมีเข้ามา ใหม่อีกระลอก ในห้องเรียนเหลือแค่ใหม่กบั ฉัน ฉันต่อบทสนทนาอีกครัง้ ด้วยการ ถามเธอถึงสาเหตุที่ต้องลาออก “มีปัญหาเรื่องเงินค่ะ” คือเหตุผลที่เธอตอบฉัน ใหม่อธิบายเพิ่ม เติมว่า อุปสรรคใหญ่อีกเรื่องคือสุขภาพของแม่ แม่ของเธอมีโรคประจ�ำ ตัวหลายอย่าง ท�ำให้ท�ำงานไม่ได้มากเท่าเดิม รายได้ที่เคยมีมากก็ลดน้อย ลง ล�ำพังค่าเช่าห้องที่แพงถึงเดือนละ 3,500 บาท ก็เป็นภาระมากพออยู่ แล้ว เรือ่ งของค่ารถรับส่งกับเงินไปโรงเรียนจึงเป็นปัญหาตามมา ประกอบ กับการเดินทางที่ค่อนข้างไกลจากบ้านท�ำให้แม่เป็นห่วง แม่ของใหม่จึง ตัดสินใจให้เธอออกจากโรงเรียนเพื่อไปท�ำงานอีกครั้ง “ตอนนั้นเหมือนหนูท�ำงานเลี้ยงแม่แบบเต็มตัว” เด็กสาวเล่าถึง เหตุการณ์หลังออกจากโรงเรียน ใหม่เข้าท�ำงานในต�ำแหน่งคัดปลาอยู่ที่ ตลาดทะเลไทย เธอบอกว่าการไปสมัครงานนั้นง่ายแสนง่าย เพราะทาง แพปลาไม่ตอ้ งการคนมีบตั รเข้าท�ำงาน แต่เธอต้องโกหกอายุ จากอายุจริง 8 ปี เป็น 12 ปีเพราะกลัวว่าหากบอกอายุน้อยเกินไป ทางแพปลาจะไม่ รับเข้าท�ำงาน ด้วยความที่เป็นคนรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนวัยเดียวกัน ผมยาว การ พูดการจา และท่าทางกร้านโลกจากการใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ ท�ำให้นายจ้าง เชื่อว่าเธออายุ 12 ปี แม้ตอนหลังจะถูกจับได้จากการคาดคั้นอย่างหนัก ว่าโกงอายุเข้ามาท�ำงาน แต่นายจ้างก็ไม่ได้ไล่เธอออกแต่อย่างใด กลับเอา 26 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


หูไปนาเอาตาไปไร่ เพราะเห็นว่าเธอท�ำงานเป็นแล้ว อีกทัง้ เป็นช่วงทีท่ าง แพปลาก�ำลังต้องการคนพอดี “บางวันไม่ได้กนิ ข้าวเลยก็มี เพราะเป็นเรือ่ งของการแข่งขัน ถ้าพัก ปลาที่ท�ำได้ในแต่ละวันก็จะน้อยลง” เธอบอกว่าการท�ำงานได้เงินไม่มาก นักเพราะค่าแรงให้ตามน�้ำหนักของปลา ซึ่งสมัยก่อนได้เพียงกิโลกรัมละ 3 บาท นอกจากนีก้ ารท�ำงานทีไ่ ด้พกั ผ่อนน้อยกับรายได้ทไี่ ม่แน่นอน ท�ำให้ เธอก็หางานใหม่ในโรงงานไปพลางๆ ด้วย จนวันหนึ่งแม่ของเธอบอกว่า มีคนสามารถพาเธอเข้าไปท�ำงานในโรงงานได้

เข้าสู่โรงงาน

แม่ของใหม่พาเธอไปท�ำความรู้จักกับชายคนหนึ่งในตลาดกุ้ง เขา เรียกตัวเองว่า ‘นายหน้า’ เธอต้องเสียเงินจ�ำนวน 2,500 บาทให้กับชาย คนนั้นเป็นค่าสมัครเข้าท�ำงานรวมถึงอุปกรณ์การท�ำงานอย่างเสื้อและ หมวก ใหม่บอกว่าเขาพาเธอไปสมัครงานที่โรงงาน โดยการสมัครงานนัน้ ทางโรงงานขอรูปกับใบ ทร. เป็นหลักฐาน แต่หากไม่มีก็ไม่เป็นไรเพราะ ก�ำลังเป็นช่วงรับคนไม่มีเอกสารเข้าท�ำงาน “จริงๆ หนูมีใบ ทร.38/1 ที่แม่เคยพาไปท�ำตอนเด็ก แต่อายุมัน น้อยเกินหนูเลยไม่เอาไป แต่ว่าเกือบเข้างานไม่ได้แน่ะ” ใหม่บอกว่าเมื่อ ไปถึงหน้าโรงงาน เจ้าหน้าที่ที่รับสมัครไม่เชื่อว่าเธออายุ 18 ปี เพราะเธอ ดูเด็กเกินไป จนได้นายหน้ามาช่วยยืนยันให้วา่ เธออายุ 18 จริง ทางโรงงาน ถึงรับเธอเข้าเป็นพนักงาน จากถุงมือสู่ปากกา 27


ในโรงงานแปรรูปกุ้งแห่งนี้แบ่งออกเป็นหลายแผนก เพราะเป็น พนักงานใหม่ จึงไม่มีแผนกประจ�ำ ต้องวนท�ำงานทุกห้อง ซึ่งเธอบอก ว่าห้องทอดเป็นห้องที่เธอเกลียดที่สุดเพราะต้องทรมานกับไอร้อนของ น�้ำมันจากกระทะขนาดใหญ่ ลักษณะการท�ำงานก็เหมือนกับโรงงานทั่วไปที่ท�ำงานเป็นกะ เธอ ท�ำงานทั้งกะเช้าและกะดึกสลับกันไปในแต่ละอาทิตย์ เมื่อถามถึงเรื่อง ค่าแรงที่ได้รับใหม่ดูจะตื่นเต้นขึ้นมาทันที เธอบอกว่าได้วันละ 200 บาท ถ้ารวมกับค่านอกเวลาและโบนัสที่ได้รับทุกๆ เดือนก็เป็นเงินเฉียดหมื่น เด็กสาวดูภูมิใจทุกครั้งที่พูดถึงเงินจ�ำนวนมากที่เธอหาได้ด้วยน�้ำ พั ก น�้ ำ แรงของตั ว เอง แม้ จ ะรู ้ ว ่ า สิ่ ง ที่ เ ธอท� ำ เข้ า ข่ า ยผิ ด กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ห้ามไม่ให้เด็กอายุต�่ำ กว่า 15 ปีทำ� งาน แต่เมือ่ สิง่ ตอบแทนคือเงินทีไ่ ด้มาให้แม่ของเธอ ใหม่เอง ก็ยินดี “พี่รู้ไหมท�ำไมเขาอยากเข้าโรงงานใหญ่ๆ กัน” ฉันส่ายหน้าตาม ภาษาคนอยากรู้ “ถ้าเราเข้าไปอยู่ในโรงงานใหญ่ มันก็จะดีกว่าในโรงงานเล็กๆ เพราะว่าเราจะได้ 3 อย่าง คือใบ ทร.38 บัตร 30 บาท และตอนนั้นเขา ฮิตเรื่องบัตรต�ำรวจกัน” ใหม่คงเห็นสีหน้าที่แสดงถึงความสงสัยของฉัน เธอจึงชิงอธิบายก่อนว่า ‘บัตรต�ำรวจ’ คือบัตรที่มีรายละเอียดที่แสดงตัว ของแรงงานว่าเป็นคนของโรงงานนัน้ ๆ นอกจากนัน้ ยังมีเบอร์โทรศัพท์ของ นายหน้าเอาไว้ให้โทรเพือ่ มาไถ่ตวั หากถูกต�ำรวจจับ ต่างจากโรงงานเล็กๆ ที่ถ้าเกิดถูกจับนอกที่ท�ำงานก็จะไม่มีใครช่วย 28 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


บอกลาอ้อมกอด

ปลายเดือนดำ�เนินมาถึง สำ�หรับคนทำ�งานแล้ววันสิน้ เดือนเป็นวัน ทีท่ กุ คนมีความสุขทีส่ ดุ ใหม่เองก็เช่นกันเธอมีความสุข เพราะจะได้นำ�เงิน เดือนที่ออกไปให้แม่ แต่ใครจะรู้ว่าวันนั้นกลับกลายเป็นคืนที่มืดมิดที่สุด ของเธอ “จ�ำได้ดีว่าวันนั้นเป็นวันที่ 8 หัวหน้าเขามาเรียกหนูว่ามีคนมาพบ พอออกไปเจอครูออ้ น เขาบอกหนูวา่ แม่ถกู จับ” ใหม่เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ ในอดีต วันทีท่ ำ� ให้ชวี ติ ของเธอเปลีย่ นไป แววตาทีไ่ ม่ได้แสดงออกถึงความ หมองเศร้า เป็นตัวบอกกับเราว่าเธอไม่ได้รู้สึกอะไรกับเหตุการณ์นั้นแล้ว รถยนต์มงุ่ หน้าออกจากมหาชัยไปยังกรุงเทพมหานครทันที ใหม่ บอกว่าแม้ระยะทางจะไม่ไกลนัก หากแต่มันกลับยาวนานในความรู้สึก ของเธอเหลือเกิน เมื่อไปถึงสถานีต�ำรวจ ต�ำรวจบอกว่าแม่ของเธอถูกจับ ในข้อหาค้ายาเสพติด ในฐานะที่อยู่กับแม่ทุกวันเด็กหญิงยืนยันว่าแม่ของ เธอขายหมากไม่ได้ขายยาเสพติด “ต�ำรวจเขาบอกว่าในหมากมีสว่ นผสมของยาเส้น มันผิดกฎหมาย หนูกบ็ อกเขาว่าแม่ไม่รู้ ทีพ่ ม่าเขากินกัน แล้วแม่เขาก็ขายมานานแล้ว” แต่ ดูเหมือนว่าเหตุผลที่ใหม่ยืนยันกับต�ำรวจจะไม่มีน�้ำหนักมากพอ ผล สุดท้ายคือแม่ของเธอถูกส่งตัวกลับพม่า ใหม่เองก็ได้แต่ยอมกับค�ำตัดสิน นั้นด้วยความเข้าใจ ค�ำตัดสินออกมาพร้อมๆ กับอนาคตทีใ่ หม่ตอ้ งเลือก เลือกทีจ่ ะกลับ พม่าไปกับแม่หรือเลือกที่จะอยู่ในความดูแลของ LPN และเรียนหนังสือ อยู่ท่ีประเทศไทย ในทีแรกเด็กหญิงเองก็มีท่าทีลังเลใจที่จะต้องออกจาก จากถุงมือสู่ปากกา 29


รูปถ่ายใหม่กับแม่ของเธอสมัยอายุ 6 ปี ขณะไป เที่ยวอยุธยาด้วยกัน เก็บไว้เป็นตัวแทนความคิดถึง

อ้อมอกแม่ แม้จะเป็นทางเลือกที่ยากส�ำหรับเด็กคนหนึ่ง แต่สุดท้ายเธอ ตัดสินใจเลือกอยูท่ ปี่ ระเทศไทยจากการโน้มน้าวใจของมูลนิธิ ว่าถ้าเธออยู่ ที่นี่จะได้เรียนหนังสือ มีโอกาสได้ท�ำงานดีๆ เลี้ยงแม่ ใหม่บอกว่าคืนนัน้ เธอไม่เสียน�ำ้ ตาสักหยดให้กบั เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ แต่วันรุ่งขึ้น เธอมีโอกาสได้คุยกับแม่อีกครั้งผ่านโทรศัพท์ คล้ายว่าเสียง ของแม่ปลุกเธอขึ้นมาให้พบความจริง ว่าแม่ไม่ได้อยู่เคียงข้างเธออีกแล้ว ในตอนนั้นน�้ำตาที่ไม่เคยคิดว่าจะมีกลับไหลออกมาอย่างไม่ขาดสาย

30 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


แม่คนที่สอง

ตอนนี้ใกล้เวลาอาหารเย็น ร่างกายก็เริ่มส่งสัญญาณของความ หิวทันที ฉันเดินไปตามกลิ่นหอมของอาหารและเสียงเจี๊ยวจ๊าวที่ดังออก มาจากในครัว ใหม่ก�ำลังท�ำกับข้าวส�ำหรับอาหารมื้อเย็นอยู่กับ ‘พีอ่ อ้ น’ ปฏิมา ตัง้ ปรัชญากูล ผู้จัดการมูลนิธิ LPN หรือ ‘แม่’ ที่ใหม่มักจะเรียกเมื่อ อยู่ต่อหน้าเพื่อนๆ มีก�ำลังเสริมเป็นเด็กหญิงตัวเล็กสองสามคน ที่แย่งกัน เป็นลูกมืออยู่ใกล้ๆ เรานั่งล้อมวงโต๊ะไม้ขนาดใหญ่ที่มีอาหารง่ายๆ อย่างกะเพราหมู กับแกงจืดวางอยู่บนโต๊ะ แต่เมื่อมีเสียงหัวเราะอยู่ตลอดเวลาของเด็กๆ จากการปล่อยมุกของ ‘แป้ง’ เด็กหญิงชาวกัมพูชา สมาชิกอีกคนของบ้าน หลังนี้ อาหารมื้อนั้นก็พลอยมีรสชาติแห่งความสุขมากขึ้น เด็กๆ รีบวิ่งไป ล้างจานเพือ่ ไปดูละครตอนเย็น บนโต๊ะอาหารจึงเหลือเพียงฉันและพีอ่ อ้ น พี่อ้อนเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ได้พบกับเด็กหญิงตัวน้อย เธอเจอกับ เด็กหญิงใหม่วยั 5 ปีครัง้ แรก ขณะทีท่ างมูลนิธลิ งพืน้ ทีส่ ำ� รวจตลาดกุง้ เพือ่ หาเด็กที่อยู่ในชุมชนให้เข้ามาท�ำกิจกรรมกับเรียนหนังสือทีม่ ลู นิธิ ใหม่กบั พี่อ้อนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีจากการที่ใหม่เข้ามาเรียนที่มูลนิธิแห่งนี้ ทั้งสองคนติดต่อกันอยู่ตลอดตั้งแต่วันแรกที่พบกันจนถึงวันที่แม่ ของใหม่ถูกจับ ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่สถานะของเธอเปลี่ยนจากครูมา เป็นแม่เช่นกัน ในค�่ำคืนที่ค�ำพิพากษาอันแสนโหดร้ายบอกให้เด็กหญิงวัย เพียง 6 ปีตอ้ งเลือก พีอ่ อ้ นเป็นคนรัง้ ใหม่ไว้และอธิบายให้เด็กหญิงได้เข้าใจ “ทีไ่ ม่ได้สง่ ไปด้วยกันเพราะเด็กอยูใ่ นการเลีย้ งดูทไี่ ม่เหมาะสม เรา กลัวว่าแม่เขาจะเอาลูกเขาไปเป็นแรงงานอีก เราเลยเลีย้ งเด็กเอง ให้เขาอยู่ จากถุงมือสู่ปากกา 31


ถ้าเกิดถูกปฏิบตั อิ กี แบบ หนึ่ ง จนเกิ ด ค� ำ ว่ า ‘พวกแก พวกฉัน’ มันจะท�ำให้เกิดความ เกลียดชั งได้

กับเราจนกว่าเขาจะดูแลตัวเองได้” จากวันนัน้ เป็นต้นมา ใหม่เปลีย่ นสถานะ จากเด็กโรงงานเป็นเด็กนักเรียนด้วยการสนับสนุนเลีย้ งดูจากทางมูลนิธิ ส�ำหรับการเข้าเรียนของใหม่ไม่มีปัญหาเพราะใหม่มีใบ ทร.38/1 ที่เคยท�ำไว้ตั้งแต่ยังเด็ก ประจวบเหมาะกับช่วงที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้เด็ก ไร้สัญชาติเข้าศึกษาได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นดันเป็นเรื่องทางสังคมอย่าง วัฒนธรรมมากกว่า “คนนอกนิยามเขาว่าเป็นพม่า แต่ตัวเขาเองยังไม่รู้ด้วยซ�้ำว่าเขา เป็นคนประเทศอะไร เขาอาจจะรู้ว่าการกินการพูดมันคือพม่าแต่ว่าจริงๆ แล้วบริบทสังคมรอบข้าง มันไม่ใช่ เขาก็งงว่าฉันเป็นอะไร เด็กหลายๆ คน ก็ไม่ต่างกัน คือพวกเขาเกิดที่เมืองไทย อยู่แต่ในสังคมไทย การถูกเพื่อน เรียกว่า อีมอญ อีพม่า เขาก็ไม่เข้าใจ” เธอเสริมว่า โชคดีที่ใหม่มีเพื่อนดี เพราะถ้าเจอเพื่อนไม่ดีและถ้าเกิดถูกปฏิบัติอีกแบบหนึ่ง จนเกิดค�ำว่า ‘พวกแกพวกฉัน’ มันจะท�ำให้เกิดความเกลียดชังได้ บรรยากาศอึดอัดขึน้ มาทันทีจากค�ำตอบเมือ่ ครู่ ฉันจึงเปลีย่ นไปคุย ถึงเรื่องของอนาคตที่ทางพี่อ้อนได้วางไว้ให้ใหม่ เพื่อให้บรรยากาศไม่ดูน่า อึดอัดเกินไป 32 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


พีอ่ อ้ นไม่ได้วางเส้นทางอนาคตของเด็กสาวในปกครองอย่างจริงจัง มากนัก เธอบอกเพียงว่าขึ้นอยู่กับใหม่ว่าอยากเรียนหรืออยากออกไป ท�ำงาน หากใหม่ต้องการท�ำงานเธอก็อยากให้เด็กสาวเรียน กศน. ควบคู่ ไปด้วย แต่ลึกๆ ตัวเธอก็แอบหวังไว้ในใจว่าใหม่อาจจะเป็นเด็กไร้สัญชาติ คนแรกที่ เรี ย นจบในระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ซึ่ ง ใหม่ ส ามารถเรี ย นได้ ตามพระราชบัญญัตกิ ารศึกษา 2548 ทีก่ ำ� หนดให้เด็กทุกคนสามารถเรียน ได้ถึงระดับมหาวิทยาลัย เธอเปรยกับฉันถึงอนาคตอีกทางหนึ่งที่เด็กสาวมักจะมาปรึกษา บ่อยๆ ใหม่มคี วามคิดว่าอยากจะกลับไปอยูก่ บั แม่ทพี่ ม่า เพราะตัวเด็กสาว ไม่อยากให้แม่ที่อายุมากขึ้นทุกวันต้องอยู่เพียงล�ำพัง ซึ่งตัวเธอเองก็ไม่ได้ ขัดอะไร ด้วยเหตุผลที่ว่า ‘ใหม่โตแล้ว ชีวิตเป็นของเขา เขามีสิทธิเลือก’ จากเหตุผลที่พี่อ้อนพูดมาดูไม่น่ามีปัญหาอะไรกับอนาคตที่วางไว้ แต่ทำ�ไมสีหน้าของเธอถึงดูเป็นกังวลขัดแย้งกับคำ�พูด “มันก็ดีแหละถ้าเขาจะได้ไปอยู่กับแม่เขา เขาจะได้อบอุ่น แต่ที่พี่ เป็นห่วงคือถ้าเขาจะกลับไปอยู่ที่พม่ามันก็จะมีปัญหา เพราะว่าเขาก็ไม่ ได้มีใบเกิดของพม่า ทางนั้นก็จะไม่รับเขาเป็นคนของประเทศอีก” แม้ว่า อนาคตของใหม่จะดูมีทางออก แต่เธอในฐานะแม่ที่เลี้ยงใหม่มาเกือบ 10 ปี กลับอดเป็นห่วงไม่ได้หากใหม่เลือกที่จะกลับไปอยู่กับแม่แท้ๆ ของ เธอที่พม่า

ฝันร้ายกลายเป็นดี

คืนฝันร้ายผ่านพ้นไป กลับกลายเป็นวันดีๆ ที่เข้ามาแทนที่ หลัง จากถุงมือสู่ปากกา 33


จากใหม่ตัดสินใจเข้ามาอยู่ในความดูแลของมูลนิธิ ใหม่ได้เข้าเรียนที่ โรงเรียนวัดก�ำพร้าในฐานะเด็กไร้สญ ั ชาติรนุ่ แรก ด้วยภาษาทีย่ งั ไม่แข็งแรง มากนัก ใหม่จึงต้องเรียนในห้องเตรียมความพร้อมก่อน “ตอนเรียนที่ห้องเตรียมความพร้อมเรียนปีเดียวก็จริง แต่ว่า เหมือนหนูได้เรียนตั้งแต่ ป.1 - ป.4 ครูเขาจะเอาหนังสือของหนังสือของ ป.1 ถึง ป.4 มาใช้สอนเด็ก คือหนูเรียนได้เร็วสองเดือนแรกก็หนูอยู่ห้อง ป. 1 พอสองเดือนต่อมาก็เรียน ป.2” เธออธิบายถึงการเรียนการสอนที่ จัดขึ้นในยุคแรกให้ฟัง ใหม่บอกว่าส�ำหรับการเรียนแบบนี้จะเรียนแต่วิชา ซ�้ำๆ ค่อนข้างน่าเบื่อเมื่อเทียบกับการได้เข้าเรียนในระบบในปีถัดมา เพียงเวลา 1 ปี ใหม่ก็ผ่านการสอบวัดระดับและได้เข้าศึกษาใน ระบบโรงเรียน ด้วยอายุที่มากกว่าเด็กทั่วๆ ไปกับระดับภาษาไทยที่อยู่ใน เกณฑ์ดี ท�ำให้ใหม่เลื่อนชั้นไปอยู่ในชั้นประถม 2 ทันที ใหม่บอกว่าเธอ ชอบการเรียนในระบบเพราะได้เรียนและได้สทิ ธิทกุ อย่างเช่นเดียวกับเด็ก ไทย ไม่เหมือนสมัยอยู่ห้องเตรียมความพร้อม ที่จะเข้าไม่ถึงสิทธิเรื่องของ กิจกรรมสันทนาการ และไม่ได้นมโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการดูถูกด้วย เด็กไทยในโรงเรียนยังไม่คุ้น ชินกับการที่มีเด็กต่างด้าวเข้ามาเรียน ท�ำให้เด็กไทยไม่ชอบพวกเธอสัก เท่าไหร่นัก แต่ตอนหลังเรื่องท�ำนองนี้ก็ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแล้ว โชคดีที่วันนี้ พี่ต้อม เจ้าหน้าที่มูลนิธิ LPN ที่เคยสอนใหม่ตั้งแต่ยัง เรียนอยูใ่ นห้องเรียนเตรียมความพร้อมเข้ามาท�ำธุระทีม่ ลู นิธพิ อดี เมือ่ เห็น ว่าพี่ต้อมเสร็จธุระแล้วฉันจึงขอแบ่งเวลาสัก 15 นาที พี่ต้อมยิ้มตกลงด้วย ความยินดีที่จะให้สัมภาษณ์ 34 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เขาเป็นชายหนุ่มหน้าตาใจดีที่เข้ามารู้จักกับเด็กกลุ่มนี้จากการท�ำ ค่ายอาสา ได้มีโอกาสเข้ามาทดลองสอนเด็กๆ จนตอนนี้ผ่านมา 6 ปีแล้ว ที่พี่ต้อมหลงรักความน่ารักของเด็กน้อยจนไปไหนไม่ได้ เขาอธิบายการเรียนการสอนในยุคแรกที่ใหม่เข้ามาเรียนว่า สมัย ก่อนห้องเรียนของเด็กๆ เป็นเพียงเรือนไม้หลังใหญ่ที่ใช้ตู้กั้นแบ่งออกเป็น 4 ห้องเรียนย่อย โดยนักเรียนที่อยู่ในแต่ละห้องจะแบ่งตามระดับความ สามารถในการสือ่ สาร ส�ำหรับโต๊ะเรียนและอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ยังไม่มี เป็นการเรียนแบบที่เรียกว่าพอมีตามอัตถภาพ “โรงเรียนเปิดโอกาสให้เรียนตัง้ แต่ปี 2548 ก็จริง แต่วา่ กว่าเด็กจะ ได้เข้าในระบบจริงๆ ก็ปี 2550 คือตอนปี 2549 เด็กที่เรียนอยู่นอกระบบ มีเยอะเกินไป ประมาณ 200 คนได้ ห้องเรียนเราก็มีพื้นที่จ�ำกัดและอีก อย่างเด็กก็จะเรียนซ�้ำๆ อยู่ที่ห้องนี้ ทางพวกพี่เลยไปคุยกับ ผอ.ว่าตอนนี้ เด็กไม่มีทางไป จะตันอยู่แค่ในห้องเรียนเตรียมความพร้อม ครูเองเขาก็ เข้าใจ ปีต่อมาเลยจัดให้เด็กได้เข้าเรียนในระบบในระดับชั้นประถม 1” พี่ต้อมยังบอกเพิ่มเติมว่าใหม่ถือเป็นเด็กในยุคแรกที่ได้เข้าเรียนใน ระบบ ซึ่งตอนนั้นยังให้มีสอบข้ามชั้นได้ แตกต่างจากปัจจุบันที่ต้องเรียน ไปตามหลักสูตรเริ่มตั้งแต่ประถม 1

อนาคตที่เลือกยาก

มีเรื่องน่ายินดีเกิดขึ้นเมื่อช่วงปิดเทอมใหญ่ 3 เดือนที่ผ่านมา ใหม่ มีโอกาสได้กลับไปเจอแม่เป็นครัง้ แรกหลังจากทีไ่ ม่ได้เจอกันมาเกือบสิบปี ที่ อ.แม่สอด จ.กาญจนบุรี เมื่อหัวข้อสนทนาเป็นเรื่องของแม่ หญิงสาวก็ จากถุงมือสู่ปากกา 35


ดูมีความสุขอย่างเห็นได้ชัด เธอเล่าให้ฉนั ฟังว่าในแต่ละวันเธอกับแม่ทำ� อะไรด้วยกันบ้าง ตลอด จนเรือ่ งชีวติ ของแม่เธอทีพ่ ม่า สายตาและน�ำ้ เสียงทีใ่ หม่พดู ถึงแม่ทำ� ให้ฉนั สัมผัสได้ว่าส�ำหรับใหม่แล้ว แม่ก็เปรียบเสมือนน�้ำหล่อเลี้ยงหัวใจ แต่เมื่อ ฉันถามถึงอนาคตที่แม่คิดไว้ให้เธอ สีหน้ากลับแปรเปลี่ยนเป็นความกังวล ทันที ตอนนี้ใหม่เรียนอยู่ชั้นประถม 6 ซึ่งก�ำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ฉันถามว่าเธอวางแผนอนาคตของตัวเองไว้อย่างไร เธอบอกว่าเธออยาก เรียนต่อมัธยม แต่หลังจากที่ไปเจอแม่มันกลับเป็นค�ำถามที่ยากที่สุด ที่ไม่ เคยตอบได้อีกเลย “ตอนไปเจอกันแม่เขาก็ไม่ได้บอกตรงๆ เขาพูดอ้อมๆ พูดไปร้องไห้ ไปว่าค่าเช่าบ้านแพง เงินก็ไม่คอ่ ยมีใช้ แต่หนูรวู้ า่ แม่อยากให้หนูไปท�ำงาน ตอนนี้หนูก็คิดอยู่ว่าจะเรียน กศน. แต่ก็ไม่รู้ว่าจะอย่างไรดี เพราะถ้าต้อง ท�ำงานก็จะไม่มีเวลา มันเรียนได้ไม่เต็มที่” น�้ำเสียงของใหม่เต็มไปด้วย ความเครียดกับอนาคตที่ต้องเลือกในเร็วๆ นี้ ใหม่บอกด้วยน�้ำเสียงเศร้าๆ ว่า หากเธอเลือกที่จะท�ำในสิ่งที่เธอ ต้ อ งการเธอก็ ก ลั ว ที่ จ ะเป็ น ‘ลู ก อกตั ญ ญู ’ บรรยากาศอยู ่ ใ นสภาวะ ตึงเครียด ฉันจึงเปลี่ยนเรื่องมาเป็นความฝันในอนาคต “หนูอยากเป็นทนายความ” เป็นค�ำตอบที่ใหม่บอกฉันถึงความ ใฝ่ฝันของเธอ ความฝันนี้เริ่มต้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จากการที่เธอได้เขามาอยู่ ในมูลนิธิ LPN นอกจากจะรับหน้าที่ดูแลงานบ้านแล้ว เธอยังท�ำหน้าที่ เป็นล่ามช่วยเหลือในคดีเด็กและผู้หญิงบ่อยครั้ง การที่ปีๆ หนึ่งใหม่ต้อง 36 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เข้าไปสัมผัสความเดือดร้อนที่แรงงานและเด็กทั้งหลายถูกกระท�ำ ท�ำให้ จากหน้าที่ที่ได้รับจึงแปรเปลี่ยนเป็นความฝันอันยิ่งใหญ่ บทสนทนาจบลงพร้อมกับยุงที่เข้ามากัดท�ำให้แสบๆ คันๆ เป็น ระยะเหมือนกับนาฬิกาที่เตือนว่าตอนนี้เป็นเวลาหัวค�่ำแล้ว ใหม่บอกว่า พรุ่งนี้เธอจะพาฉันไปเที่ยวที่โรงเรียนของเธอ โชคดีที่มีเสื้อผ้าติดรถ มาสองสามชุด วันนี้ฉันจึงตัดสินใจค้างที่นี่ ก่อนจะแยกย้ายกันไป ฉันทิ้ง ค�ำถามไว้กบั เธอข้อหนึง่ ว่า คิดว่าตัวเองโชคร้ายไหม หญิงสาวตอบเพียงว่า ไม่รู้ ฉันจึงเลือกถามอีกข้อหนึ่งแทน “ถ้าตอนนั้นเราไม่เจอครูคิดว่าเราเป็นอย่างไร” “ไม่อยากจะคิด คงอยูท่ โี่ รงงานอะไรสักแห่งแหละพี่ เรือ่ งเรียนคง ไม่อยู่ในหัว เพราะไม่รู้ว่าช่องทางคืออะไร” จริงอยู่ที่ว่าโชคชะตาชีวิตของใหม่เกิดขึ้นมาจากความบังเอิญ แต่ ถ้าหากประตูแห่งการศึกษาไม่เปิดต้อนรับเด็กไร้สถานะอย่างเธอให้เข้าไป เรียน ตอนนี้ใหม่เองก็คงอยู่ที่โรงงานไหนสักแห่ง มือน้อยๆ อาจจะยังสวม ถุงมือแทนที่จะจับปากกาอย่างเช่นทุกวันนี้

จากถุงมือสู่ปากกา 37



03

หัวใจเป็นไทย

“ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” นักเรียนตัวน้อยใหญ่ เปล่งเสียงร้องเพลงชาติอย่างแข็งขัน ยืนเป็นแถวยาวเรียงหนึ่งอยู่หน้า เสาธงในเวลา 8 โมงตรง อาจจะมีส�ำเนียงแปร่งหู ไม่ชัดถ้อยชัดค�ำอยู่บ้าง บอกถึงคนไร้สัญชาติไทย แต่เป็นเสียงที่ชาวต�ำบลบางหญ้าแพรกต่างคุ้น ชินมานานกว่า 8 ปี ท่ามกลางชุมชนประมงและโรงงานอาหารทะเลขนาดเล็กเป็นทีต่ งั้ ของโรงเรียนวัดศรีสุทธาราม (วัดก�ำพร้า) หนึ่งในโรงเรียนน�ำร่องที่มีการ เปิดการเรียนการสอนแก่เด็กต่างด้าวและเด็กไร้สญ ั ชาติหลายเชือ้ ชาติ จน ได้สมญานามจากคนแถวนี้ว่า ‘โรงเรียนนานาชาติ’ วันนี้ใหม่พาฉันมาที่โรงเรียนแต่ยังไม่ได้พาฉันเดินชมโรงเรียนตาม หัวใจเป็นไทย 39


ที่สัญญาเอาไว้ ไกด์กิตติมศักดิ์คนนี้ก็ต้องไปเข้าเรียนเสียก่อน ตรงนี้จึง เหลือเพียงฉันกับสนามฟุตบอลโล่งๆ นั่งรับลมคิดอะไรเพลินๆ อยู่สักพัก พลันเสียงท้องร้องส่งสัญญาณท�ำให้นึกขึ้นได้ว่าเมื่อเช้ายังไม่มีอะไรตกถึง ท้อง จึงตัดสินใจเดินไปโรงอาหารทีอ่ ยูไ่ ม่ไกลหาอาหารเบาๆ รองท้องเสีย หน่อย รอบบริเวณค่อนข้างเงียบเพราะยังไม่ถึงเวลาพัก แต่ในโรงอาหาร ที่ค่อนข้างมืดนั้นกลับมีใครบางคนนั่งอยู่ก่อนแล้ว ชายหน้าตาใจดีและมีเส้นผมสีขาวแซมบางๆ บนศีรษะ กับริ้วรอย เหีย่ วย่นบนใบหน้าบ่งบอกถึงช่วงวัยทีเ่ ริม่ มีอายุ จากเครือ่ งแบบข้าราชการ สีกากีคาดว่าน่าจะเป็นครู ฉันยกมือขึ้นไหว้และแนะน�ำตัวเพื่อไม่ให้ เป็นการเสียมารยาท ครูไม่ได้ถามไถ่อะไรมากนัก คงเป็นเพราะมีนกั ศึกษา เข้ามาดูงานทีน่ บี่ อ่ ยๆ ภาพคนแปลกหน้าทีเ่ ข้ามาป้วนเปีย้ นในโรงเรียนจึง เป็นที่คุ้นตา

โรงเรียนนานาชาติ

“ที่นี่เป็นโรงเรียนล�ำดับที่สองรองจากโรงเรียนวัดศิริมงคลที่มีการ รับเด็กต่างด้าวกับเด็กไร้สัญชาติเข้าเรียน แต่บริบทการเรียนการสอนจะ ต่างออกไป” ครูชัยวัฒน์ นุชกรรณ์ รักษาการแทนครูใหญ่คนปัจจุบันได้อธิบาย ถึงการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขณะพาฉันเดินชมโรงเรียนหลัง จากที่ทานอาหารเพิ่มพลังให้กับร่างกายแล้ว ครูชยั วัฒน์เป็นคนพืน้ เพมหาชัยมีเชือ้ สายมอญ ปีนเี้ ป็นปีที่ 34 แล้ว ที่เขาประกอบอาชีพครู การที่เห็นเด็กต่างด้าวทุกวันตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม 40 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ประกอบกับเคยท�ำงานพัฒนาชุมชนตามโรงเรียนทุรกันดารมามาก ท�ำให้เขาให้ความส�ำคัญกับเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษและมีส่วนผลักดันให้ เด็กไม่มีสัญชาติไทยได้เข้าเรียนหนังสือ โรงเรียนแห่งนีร้ บั เด็กต่างด้าวเข้าเรียนตัง้ แต่ปี 2548 ซึง่ เป็นปี เดียวกับที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก�ำหนดให้ เด็กทุกคนทีอ่ ยูใ่ นประเทศไทยต้องเข้าเรียนในสถานศึกษา โดยเกิดขึน้ จากความร่วมมือของสามหน่วยงาน คือโรงเรียน มูลนิธิ LPN และ สมาคมแช่เยื่อแข็งไทย โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ 2 ข้อ อย่างแรกคือทางโรงเรียนสงสาร และไม่ตอ้ งการให้เด็กเป็นภาระของสังคมไทย ประกอบกับเป็นช่วงที่ ช่องกฎหมายก็เปิดกว้างให้เด็กเข้าศึกษาได้เต็มที่ ดังนัน้ จึงควรให้สทิ ธิ กับเด็กตามหลักสิทธิมนุษยชน และอีกสาเหตุคือการที่เด็กไทยลดลง ไม่ถงึ 500 คน โดยจ�ำนวนดังกล่าวส่งผลให้ทงั้ ครู และงบประมาณลด ลงตามไปด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาโรงเรียน ครูชัยวัฒน์ ได้เล่าถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้กับ เด็กกลุ่มนี้ว่า จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือกลุ่มเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษา และกลุ่มที่อยู่ในระบบการศึกษา โดยเด็ก ที่อยู่ในระบบการศึกษาก็จะแบ่งอีกเป็น 2 รูปแบบ คือการเรียนแยก กลุ่มเฉพาะเด็กต่างด้าว และอีกแบบคือเรียนร่วมกับเด็กไทย เมือ่ เราเดินมาถึงในส่วนอาคารสีสม้ ทีเ่ กิดจากความร่วมมือกัน ของภาคเอกชนและมูลนิธิ LPN เพิ่งได้มาตอนเปิดภาคเรียน โดยตึกนี้เป็นในส่วนที่ให้เด็กที่อยู่ในกลุ่มเตรียมความพร้อม หัวใจเป็นไทย 41


เรียนซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ห้อง คือห้องเตรียมความพร้อม1 กับเตรียมความ พร้อม 2 ซึง่ ทัง้ สองห้องจะเป็นห้องทีเ่ ด็กพูดภาษาไทยอยูใ่ นเกณฑ์ดที งั้ หมด ตอนนี้เรายืนอยู่หน้าห้องเตรียมความพร้อม 2 ยืนดูเด็กๆ ที่ก�ำลัง เรียนวิชาภาษาไทยอย่างตั้งใจ ครูชัยวัฒน์หยุดทักทายครูสาวผู้สอนก่อน จะพาฉันไปดูหอ้ งเตรียมความพร้อมห้องที่ 3 ทีบ่ ริเวณอาคารไม้หลังเก่าที่ แยกตัวออกไป พร้อมอธิบายว่าเป็นห้องเตรียมความพร้อมให้กับเด็กที่ เข้าใจภาษาไทยในระดับต�่ำ ห้องนี้มีความพิเศษตรงที่รวมเอาเด็กอายุ 5 - 15 ปีเอาไว้ในห้องเดียวกัน ภายในห้องแบ่งเป็นสองส่วนโดยใช้ฉากไม้ เป็นตัวกั้น ด้านหนึ่งเป็นโต๊ะเรียนที่ก�ำลังท�ำการเรียนการสอนอยู่ ส่วนอีก ด้านเป็นฟูกนอนที่ให้เด็กๆ ใช้นอนกลางวัน ฉันมองเด็กๆ ทีก่ ำ� ลังตัง้ หน้าตัง้ ตาคัดภาษาไทยอยูบ่ นโต๊ะนักเรียน ทีค่ อ่ นข้างเก่ากว่าห้องเรียนทีอ่ ยูใ่ นระบบ ท�ำให้อดสงสัยในเรือ่ งของความ เท่าเทียมไม่ได้ “เด็กๆ ในห้องนีจ้ ะยังไม่ได้ในเรือ่ งของนมโรงเรียน กาเรียนวิชาลูก เสือ วิชาพละและการเข้าร่วมกีฬาสี” ครูชยั วัฒน์ชแี้ จงอย่างละเอียดถึงสิง่ ทีน่ กั เรียนกลุม่ นีย้ งั ขาด อย่างเรือ่ งนมโรงเรียนค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะ เด็กที่อยู่นอกระบบซึ่งไม่มีเงินอุดหนุนรายหัว ส�ำหรับเรื่องวิชาลูกเสือกับ วิชาพละ เป็นเรือ่ งของความไม่พร้อมของภายใน ทัง้ เรือ่ งครูและการบริหาร แต่ยงั มีเรือ่ งน่ายินดีทคี่ รูบอกพร้อมรอยยิม้ ว่าปีนจี้ ะเป็นปีแรกทีเ่ ด็กกลุม่ นี้ ได้ร่วมเล่นกีฬาสี นอกจากนี้ครูยังอธิบายให้ฟังถึงข้อสงสัยของฉัน ที่เกิดการจัด ห้องเรียนเตรียมความพร้อมขึน้ ว่า อย่างแรกคือเกิดจากการทีท่ างโรงเรียน 42 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ไม่มคี รู และงบประมาณ เมือ่ ทางมูลนิธิ LPN น�ำเด็กพวกกลุม่ นีเ้ ข้ามาเรียน จึงจ�ำเป็นต้องจัดให้มีห้องเรียนนอกระบบขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนั้น อีก ทั้งเด็กกลุ่มนี้มีข้อด้อยในเรื่องของภาษาไทย บางคนรู้เรื่องแต่บางคนไม่รู้ จึงจ�ำเป็นต้องปรับพื้นฐานให้เท่ากันก่อน สมัยก่อนทางโรงเรียนยังไม่ได้แบ่งห้องเรียนนอกระบบออกเป็น 3 ห้อง แต่ให้นักเรียนกว่าร้อยชีวิตเรียนรวมกันหมดในอาคารไม้แห่งนี้ ซึ่ง เมื่ อ มี ก ารประเมิ น ความรู ้ แ ล้ ว พบว่ า การเรี ย นเช่ น นี้ ท� ำ ให้ เ ด็ ก ไม่ ไ ด้ ประโยชน์ เ ท่ า ที่ ค วร จึง มีก ารเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี การศึกษา 2556 ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนห้องเรียนใหม่แบ่งเป็น 3 ห้องและ โชคดีทท่ี างหน่วยงานเอกชนให้ครูอตั ราจ้างเข้ามาสอนแทนทีน่ กั ศึกษาและ พี่เลี้ยงเด็กที่ทางมูลนิธิเคยจ้างมา จึงท�ำให้เด็กคุณภาพดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณอันดีที่บอกว่าหน่วยงาน เอกชนเห็นความส�ำคัญของคุณภาพของชีวิตเล็กๆ นี้มากขึ้น ครูบอกกับเราว่าเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ส�ำคัญที่สุดของการรับเด็ก กลุ่มนี้เข้าเรียนคือการได้ช่วยเด็กให้พ้นจากอันตราย เพราะโรงเรียนก็ เหมือนบ้าน การทีเ่ ด็กเข้ามาในโรงเรียนก็เหมือนมีเกราะป้องกัน ไม่ใช่เด็ก เถื่อน โรงเรียนเองก็ต้องดูแลเด็กเต็มที่เหมือนลูกคนหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่หลาย คนก็เห็นเช่นเดียวกันกับครูจงึ ท�ำให้จำ� นวนเด็กในแต่ละปีมจี ำ� นวนเพิม่ ขึน้ ทุกๆ ปี ไม่เพียงแต่โรงเรียนวัดก�ำพร้าเท่านัน้ ทีด่ ปู ระสบความส�ำเร็จในการ เป็นเกราะป้องกันให้กับเด็ก ทั้งจังหวัดสมุทรสาครก็เช่นเดียวกัน จากสถิ ติ ข องส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา หัวใจเป็นไทย 43


ครูกำ�ลังสอนมารยาทในการเข้าสังคมให้กับเด็กๆ ในห้องเตรียมความพร้อม (บน) เด็กโตนั่งเรียนวิชาศิลปะส่วนเด็กอายุต�่ำกว่า 4 ปีเข้านอนกลางวัน (ล่าง)

44 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


สมุทรสาคร (2556) ระบุว่าสถิติจ�ำนวนนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทาง ทะเบียนราษฎร์และเด็กไม่มีสัญชาติไทยที่เข้าเรียนโรงเรียนในเขตพื้นที่ การศึกษาสมุทรสาครจ�ำแนกตามระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ปี 2554 มีทั้งสิ้น 1,345 ปี 2555 คน มีทั้งสิ้น 1,589 คน และล่าสุด ปี 2556 มีทั้งสิ้น 1,932 คน จ�ำนวนตัวเลขที่มากขึ้นทุกปีเป็นสัญญาณดีว่าเด็กๆ เข้าถึงโอกาส ทีท่ างรัฐบาลเปิดให้มากขึน้ แต่ในทางกลับกันทัง้ ค�ำบอกเล่าของส�ำนักงาน เขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาและโรงเรียนวัดก�ำพร้ายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า อัตรา เด็กที่ออกกลางคันในแต่ละปีก็มีจ�ำนวนสูงไม่แพ้กัน ยิ่งในช่วงหัวเลี้ยว หัวต่ออย่างชั้นประถม 3 และประถม 6 ปัญหาที่ดูจะเป็นวังวนนี้ท�ำให้ครูผู้บุกเบิกอย่างครูชัยวัฒน์อดเป็น กังวลไม่ได้ สีหน้าดูเครียดขึน้ ทันทีเมือ่ ต้องพูดถึงอนาคตของเด็กๆ “ตัง้ แต่ สอนไอ้พวกนีม้ า 8 ปี จบแค่ชนั้ ประถมเท่านัน้ แหละ เรียนไปสักพักพ่อแม่ก็ ให้ออกไปท�ำงาน วงจรหลักๆ ของเด็กพวกนีแ้ หละหนู เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่อย่างน้อยการทีเ่ ขาได้มาเรียนก็พอให้เขามีทกั ษะติดตัวไปท�ำงานได้บา้ ง” แม้คำ� ตอบของครูจะไม่มนั่ ใจว่าเกราะแห่งการศึกษาทีช่ ว่ ยป้องกัน เด็กกลุ่มนี้ได้นานขนาดไหน แต่ฉันมั่นใจว่าอย่างน้อยการได้เห็นดอกไม้ ดอกเล็กๆ ยังเติบโตอย่างปลอดภัยอยู่ในรั้วโรงเรียนเพียงเท่านี้หัวใจของ คนเป็นครูอย่างเขาก็เป็นสุข

ความฝันอันสูงสุด

ตอนนี้ฉันนั่งอยู่ในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 จากการ หัวใจเป็นไทย 45


ฝากฝังของครูชัยวัฒน์ที่บอกกับคุณครูนิตยา ค�ำถนอม ครูสาวหน้าตา น่ารักประจ�ำชั้นเรียน ให้ฉันมาดูการเรียนการสอนใน ‘ห้องเรียนเด็กต่าง ชาติ’ เป็นห้องเรียนพิเศษที่มีแค่เด็กมอญกับเด็กพม่าเรียนเท่านั้น ซึ่งเป็น ผลจากการยกชั้นเด็กนอกระบบเข้ามาในเป็นห้องเรียนในระบบ จึงเกิด การคละกันระหว่างเด็กตั้งแต่อายุ 11 - 15 ปี แม้จะมีอายุต่างกันแต่ด้วย ระดับภาษาไทยที่อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน ท�ำให้การเรียนเป็นไปอย่างลงตัว ‘เมื่อโตขึ้นพวกหนูอยากเป็นอะไรพร้อมบอกเหตุผล’ หัวข้อนี้ถูก ตัง้ ขึน้ ในวิชาภาษาไทย เมือ่ ครูถามจบ เด็ก ๆ ต่างแย่งกันยกมือตอบจนครู เองมองแทบไม่ทัน ห้องเรียนเล็กๆ ดูจะโกลาหลขึ้นทันตาเมื่อเสียงเล็กๆ ต่างพูดในสิง่ ทีต่ วั เองคิด จนครูสาวต้องบอกให้อยูใ่ นความสงบและไล่ถาม ทีละคน ค�ำตอบทีอ่ อกมาจากปากพวกเขาไม่เกินความคาดหมายของฉันนัก บ้างอยากเป็นครู บ้างอยากเป็นต�ำรวจ จนมาถึงค�ำตอบของเด็กชายคน หนึ่งที่ท�ำฉันถึงกับสะดุดใจ “หนูอยากเป็นคนไทยครับ ...น่าภูมิใจดี” ชาติ (นามสมมุติ) เด็กชายชาวมอญร่างอวบตอบเป็นภาษาไทยด้วยน�้ำเสียงชัดถ้อยชัดค�ำ แววตาแฝงไปด้วยความจริงใจ ในวินาทีที่ได้ยินค�ำตอบจากปากของเด็ก น้อยท�ำเอาฉันรูส้ กึ ดีกบั การทีไ่ ด้เป็นคนไทยพร้อมกับค�ำถามทีผ่ ดุ เข้ามาใน หัวทันที ‘ท�ำไมถึงภูมใิ จ?’ แต่เสียดายทีเ่ วลาในชัน้ เรียนหมดลงเร็วไปหน่อย ค�ำถามทีฉ่ นั ตัง้ ใจจะขอคุณครูถามเด็กน้อยจึงตกไป เห็นทีคงต้องท�ำความ รู้จักกันนอกรอบสักหน่อยแล้ว เสียงออดบอกเวลาพักเที่ยงดังขึ้นพร้อมกับเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ของ 46 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เด็กๆ สนามบอลและสนามเด็กเล่นเล็กๆ ที่เคยเงียบเหงาถูกเติมเต็มด้วย ความวุน่ วายของเหล่าบรรดานักเรียนทีจ่ บั กลุม่ เล่นกันอย่างสนุกสนานอีก ครั้ง กิจกรรมหลายรูปแบบถูกจัดขึ้นโดยพวกเขาเอง พวกผู้หญิงกระโดด ยาง พวกผู้ชายจับกลุ่มกันเล่นบอล ส่วนเด็กเล็กๆ ไปเก็บลูกหินใต้ต้นไม้ มาท�ำเป็นหมากเก็บ ที่น่าสังเกตคือทั้งเด็กไทยและเด็กต่างด้าวเล่น ร่วมกันไม่มีแบ่งเชื้อชาติ เป็นภาพมิตรภาพน่ารักๆ ชวนอมยิ้มตาม หลังจากกินข้าวเสร็จฉันชวนชาติ มานั่งทานไอศกรีมที่โต๊ะไม้ใกล้ ป่าจากหลังโรงเรียน เสือ้ นักเรียนสีขาวหนักไปทางสีเหลืองบ่งบอกว่าผ่าน การใช้งานมาอย่างยาวนานของชาติเปรอะเปื้อนไปด้วยคราบไอศกรีม เด็กชายยิ้มอย่างอายๆ รอยยิ้มที่แต่งแต้มอยู่ที่ใบหน้าบอกว่าเขาเป็นคน อารมณ์ดี ตอนนีเ้ ป็นเวลาเทีย่ งกว่าๆ ดูจากนาฬิกาบนข้อมือแล้วยังพอมีเวลา เหลือให้เราได้ท�ำความรู้จักกันได้สักพัก บทสนทนาถึงค�ำถามที่ค้างคาใจ จึงเริ่มขึ้น “หนูวา่ มันน่าภูมใิ จ เพราะถ้าเราเป็นคนไทยตามหาความฝันได้ ไม่ ต้องท้อด้วย คือที่กลัวตามหาความฝันไม่ได้เพราะเราไม่ใช่คนประเทศนี้ เราก็กลัวว่าเขาจะไม่ให้เราท�ำตามความฝัน” เขาตอบด้วยน�้ำเสียง แผ่วเบาต่างจากการตอบค�ำถามในห้องอย่างสิ้นเชิง ซึ่งก็ผิดจากที่ฉันคาด ไว้มาก เด็กชายอธิบายต่อว่าจริงๆ แล้วเขาอยากเป็นหมอเพราะอยากรักษา คนป่วย แต่เขาเองก็ไม่กล้าฝันขนาดนัน้ เพราะเขารูส้ กึ ว่าเขาไม่เท่าเทียมและ ไม่มสี ทิ ธิเหมือนกับเด็กไทย ฉันถามต่อถึงเหตุผลทีเ่ ขาคิดว่าไม่เท่าเทียม หัวใจเป็นไทย 47


“หนูกไ็ ม่รเู้ หมือนกัน แต่หนูเห็นเด็กมอญเด็กพม่าทีน่ ี่ ไม่เห็นมีใคร จะท�ำงานดีๆ ได้สกั คน มีแต่ออกไปท�ำงานโรงงานกันหมด” เด็กชายตอบ ออกมาอย่างยากล�ำบากเหมือนไม่แน่ใจกับค�ำตอบ ก่อนเขาจะเปรยขึน้ ว่า เขาเองก็เคยเกือบต้องออกไปท�ำงานทีโ่ รงงานสปริงแถวบ้านเมือ่ ต้นเทอม ที่ผ่านมาจากการบังคับของแม่ เพราะด้วยฐานะที่ยากจนและการไม่เห็น ถึงความส�ำคัญของการศึกษา เป็นเหตุผลให้แม่ของเขาอยากให้ออกมา ท�ำงานมากกว่า ฉันมองขนาดตัวทีเ่ ล็กเกินกว่าจะเข้าไปท�ำงานในโรงงาน พร้อมมอง หน้าเด็กชายอีกครั้งหาความเศร้าในดวงตา แต่ไม่พบร่องรอยเลยสักนิด เด็กชายเว้นไปสักพักก่อนพูดตบท้ายถึงเหตุผลที่วันนี้เขาไม่มีความเศร้า แล้วว่า ถือเป็นโชคดีของเขาที่ตอนนี้แม่เข้าใจว่าการเรียนส�ำคัญอย่างไร เมือ่ เห็นว่าเด็กชายชาติในวันนีย้ งั ได้ใส่ชดุ นักเรียนแทนทีจ่ ะเป็นชุด โรงงานฉันเองก็รู้สึกสบายใจกับอนาคตที่ยังปลอดภัยในโรงเรียนแห่งนี้ ตอนนี้เราจึงเปลี่ยนเรื่องมาคุยเรื่องการเรียนแทน บรรยากาศรอบข้างก็ สดใสขึ้นทันที ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 สมัยที่ชาติอายุได้เพียง 6 ปี เขาเรียนที่ โรงเรียนวัดแถวบ้านมาก่อน ที่นั่นสอนแค่ภาษามอญกับภาษาอังกฤษ แต่ นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ท�ำให้เขารักเรียน เรียนได้เพียง 2 เดือนเด็กชายก็ต้องออกจากโรงเรียนนั้น เพราะ ครูที่โรงเรียนตีเขาทุกวัน บางวันถึงกับเลือดตกยางออกเลยก็มี เมื่อแม่ของชาติรู้เรื่องจึงให้เขาลาออกจากโรงเรียนทันทีประจวบ เหมาะกับที่แม่รู้ว่าโรงเรียนวัดก�ำพร้ารับเด็กไร้สัญชาติไม่มีเอกสารแสดง 48 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ตนเข้าเรียน จึงให้มาสมัครเรียนทีน่ โี่ ดยผ่านทางมูลนิธิ LPN แต่ดว้ ยเพราะ ภาษาไทยของชาติไม่แข็งแรงนักท�ำให้เขาต้องอยูใ่ นห้องเรียนเตรียมความ พร้อมถึง 2 ปี ซึ่งเป็นเหตุผลให้ตอนนี้ชาติอายุ 12 ปี แล้วแต่ยังอยู่เพียง แค่ชั้นประถมศึกษา 2 เท่านั้น

ทะเบียนที่จัดขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุด

เสี ย งออดท� ำ ลายความสุ ข ดั ง ขึ้ น อี ก ครั้ ง เด็ ก ๆ จากทั่ ว ทุ ก มุ ม โรงเรียนวิง่ แยกย้ายเข้าห้องของแต่ละคน ราวกับบอกว่าหากไปช้าจะโดน ครูทำ� โทษ ชาติเองก็เช่นเดียวกัน เขารีบขอตัวเพือ่ จะไปเรียนในวิชาต่อไป ทันที ฉันเดินไปส่งเขาที่หน้าห้องเรียนคอมพิวเตอร์ เมื่อเห็นว่าเด็กชาย เข้าชั้นเรียนแล้วเรียบร้อย ฉันจึงไปที่ห้องเรียนของชาติอีกครั้งพอดีกับที่ เห็นครูนติ ยาว่างจากการสอนอยู่ เลยขออนุญาตเข้าไปคุยกับเธอในฐานะ ครูของเด็กชาย “เขาเป็นเด็กดีคนหนึ่ง เขาจะช่วยเพื่อนๆ เป็นประจ�ำ ทุกคนใน ห้องนี้รักเขาหมดแหละ แล้วรู้ไหมเขาเป็นเด็กขยัน ตอนเช้าเขาจะช่วยแม่ แกะกุ้งแกะปลาก่อนมาโรงเรียนทุกวัน” ครูสาวพูดไปยิ้มไปถึงเด็กน้อย ลูกศิษย์ของเธอ ฉันสัมผัสได้ถึงสายตาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักและความเอ็นดู เราคุยกันเรือ่ ยเปือ่ ยส่วนมากจะเป็นเรือ่ งในโรงเรียนเสียเป็นส่วนใหญ่ จน มาถึงค�ำถามทีฉ่ นั สงสัยจากการทีค่ ยุ กับชาติเมือ่ ครู่ ‘ชาติเป็นเด็กไร้สญ ั ชาติ คนหนึ่งที่ไม่มีเอกสารแสดงตน เวลาเข้ามาสมัครเรียนเขาต้องท�ำอย่างไร’ ครูสาวเดินไปที่โต๊ะรื้อของบางอย่างจากลิ้นชัก ก่อนจะหยิบแผ่น หัวใจเป็นไทย 49


กระดาษปึกหนึ่งขึ้นมา เธอยื่นให้ฉันดูก่อนบอกว่าเป็นแบบฟอร์มที่ โรงเรียนใช้ทำ� ประวัตเิ ด็กเอกสารทีค่ รูวา่ เป็นกระดาษสีขาวหน้าตาธรรมดา มีชอ่ งให้กรอกประวัตขิ องเด็ก บุพการีและช่องประทับลายนิว้ มือเพือ่ เป็น หลักฐานแสดงการมีตวั ตนพร้อมกับตัวเลขคลายกับรหัสในบัตรประชาชน ครูบอกว่ามันคือรหัส ‘G’ ฉันถามครูว่ารหัสตัวนี้หมายถึงอะไร เธอท�ำ หน้าครุ่นคิดสักพักก่อนจะพาฉันไปหาคนที่บอกว่าสามารถตอบค�ำถาม เรื่องนี้ได้กระจ่าง ครูเยาวลักษณ์ นุชกรรณ์ ครูช�ำนาญการที่พ่วงต�ำแหน่งครูฝ่าย ทะเบียนอีกต�ำแหน่ง ก�ำลังนั่งท�ำงานด้วยสีหน้าคร�่ำเคร่ง เมื่อเธอรู้ว่าฉัน กับครูนิตยาต้องการความกระจ่างเกี่ยวกับทะเบียนที่ซับซ้อนนั้น เธอใน ฐานะผูร้ กู้ ว็ างมือจากงานตรงหน้าและอธิบายถึงขัน้ ตอนการด�ำเนินการใน การรับเด็กไร้สัญชาติเข้าศึกษาทันที ส� ำ ห รั บ เ ด็ ก ที่ ไ ม ่ มี เ อ ก ส า ร แ ส ด ง ต น อ ะ ไร เ ล ย ท า ง กระทรวงศึกษาธิการจะมอบหมายให้โรงเรียนจะออกชุดเลขทะเบียน 13 หลัก โดยเรียกว่า ‘ทะเบียนG’ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ซึ่งทะเบียน นี้ จะเป็นประโยชน์แก่ทางโรงเรียนในการได้รับงบประมาณอุดหนุนราย หัวของเด็ก นอกจากนีท้ างโรงเรียนจะท�ำการรวบรวมข้อมูลของเด็กโดยการให้ ผูป้ กครองเป็นผูบ้ อกข้อมูลส่วนตัวของเด็ก และใช้หลักฐานแสดงตัวในส่วน ของพ่อแม่แทน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ทร. หรือพาสปอร์ต กรอกข้อมูลลงใน แบบฟอร์มทีช่ อื่ ทะเบียนส�ำหรับบุคคลไม่มสี ถานะทางทะเบียน (แบบ 89) จากนั้นจึงน�ำแบบฟอร์มดังกล่าวส่งให้กับทางเทศบาลเพื่อไปท�ำ 50 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


บัตรประจำ�ตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน หน้าตาเหมือนกับบัตรประชาชนเพียงแต่ตัวบัตร เป็นสีชมพ-ูขาว นอกจากนี้รหัสประจำ�ตัวขึ้นต้นด้วยเลข 0 ซึ่งแตกต่างจากบัตรประชาชน ของคนไทยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 1 หรือเลข 3 หัวใจเป็นไทย 51


เป็นแบบรับรองทะเบียนประวัตบิ คุ คลผูไ้ ม่มสี ถานะทางทะเบียน (ทร.38 ก) จากนั้นจะออกบัตรพลาสติกสีชมพู คล้ายกับบัตรประชาชนของคนไทย ไว้ให้เด็กเก็บเป็นหลักฐานแสดงตนอีกที ส�ำหรับระยะเวลาในการออกบัตรนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความ สมบูรณ์ของหลักฐานแสดงตน แต่อย่างไรก็ตามหากมีใบทร.38 ก ก็ถอื ว่า เป็นบุคคลที่มีหลักฐานแสดงตนแล้ว นอกจากนี้การที่เด็กมีใบ ทร.38 ก หรือรหัส G เมื่อจบการศึกษาจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองเหมือน กับเด็กไทยและสามารถเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนของ ส�ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ แม้จะดูเป็นเรื่องเข้าใจยาก แต่พอสรุปได้ว่าทะเบียนประวัตินี้เกิด ขึน้ จากความตัง้ ใจของหน่วยงานรัฐทีพ่ ยายามให้เด็กไร้สญ ั ชาติเข้าถึงระบบ การศึกษาอย่างเร็วที่สุดและไม่เป็นภาระของสถานศึกษา

เมื่อปากท้องส�ำคัญกว่าการเรียนรู้

รถสองแถวสีฟ้าคันใหญ่สายโกรกกราก - มหาชัยวิ่งโขยกไปมาบน ถนนดินลูกรังอย่างช้าๆ ด้วยความระมัดระวังพร้อมกับทิ้งฝุ่นตลบเอาไว้ เบื้ อ งหลั ง ลั ด เลาะผ่ า นซอยเล็ ก ซอยน้ อ ย จนกระทั่ ง เสี ย งกระเป๋ า รถสองแถวที่อยู่ด้านท้ายตะโกนมาว่า ‘ถึงป้ายวัดโกรกกรากแล้ว’ ฉันกับผูโ้ ดยสารสองสามคนลงจากรถจ่ายเงินให้กบั กระเป๋าหน้าตา ใจดี ยืนมองรถคันใหญ่ที่ค่อยๆ เคลื่อนตัวหายลับเข้าไปในฝุ่นกลุ่มควัน ก่อนเดินเท้าจากหน้าวัดไม่กี่ 100 เมตร มาหยุดอยู่หน้าประตูรั้วเหล็กที่ ค่อนข้างสูงคล้ายกับประตูโรงงาน ก้มลงมองกระดาษแผ่นเล็กทีช่ าติเขียน 52 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


แผนที่บอกทางที่อยู่ในมือสลับกับมองสถานที่ตรงหน้าอีกครั้ง เมื่อแน่ใจ ว่ามาถูกที่หมายแล้ว จึงตัดสินใจเคาะประตู ร่างของหญิงสาวในชุดเสื้อยืดสีชมพูบานเย็นกับกางเกงขาสั้นสี น�ำ้ ตาลอ่อนปรากฏขึน้ หลังประตูบานใหญ่ ‘พีส่ าว’ แม่ชาวมอญของชาติ ออกมาต้อนรับฉันพร้อมรอยยิ้ม บ้านของชาติเป็นห้องเช่าเล็กๆ ที่อาศัย พืน้ ทีส่ ว่ นหนึง่ ของโรงงานท�ำกะปิ ทัว่ บริเวณจึงตลบอบอวลไปด้วยกลิน่ กะปิ บริเวณมุมห้องไม่ไกลจากทางเดินนัก เด็กชายร่างอวบก�ำลังแกะ ปลาตัวเล็กใส่กระสอบอย่างขะมักเขม้นอยูบ่ นพืน้ วันนีช้ าติใส่เสือ้ สีดำ� กับ กางเกงนักเรียนสีกากี รอยยิม้ ทีป่ ระดับบนใบหน้าสดใสไม่ตา่ งจากครัง้ แรก ที่พบกัน ท่าทางและความเร็วในการแกะปลาทีเ่ ห็นในตอนนีบ้ ง่ บอกถึงความ ช�ำนาญจากการท�ำงานมาตั้งแต่อายุ 9 ปีได้เป็นอย่างดี เวลาตี 4 ของทุกวันชาติจะตืน่ ขึน้ มาแกะปลาทีแ่ ม่ไปรับมาก่อนจะ ออกไปโรงเรียนในเวลา 6 โมงเช้า และกลับมาท�ำอีกทีในช่วงเย็นหลังเลิก เรียนหากเป็นในช่วงปิดเทอมเด็กชายจะท�ำงานหนักเป็นสองเท่าบางวัน เพื่อแลกกับจ�ำนวนเงินที่มากขึ้น บางวันเขาจะท�ำงานทั้งวันเลยก็มี ส�ำหรับชาติแล้วการท�ำงานเป็นสิง่ ทีเ่ ขาคุน้ เคยมาแต่เด็กไม่ตา่ งจาก ใหม่เพราะแม่ของเด็กชายมักจะหอบหิ้วเขาไปที่โรงงานทุกวัน “พี่พาชาติไปที่โรงงานด้วย พ่อมันก็ต้องท�ำงาน อยู่คนเดียวก็ อันตราย” พี่สาวพูดขึ้นถึงจุดเริ่มต้นของการท�ำงานแบบไม่จริงจังของ ลูกชาย ย้อนไปสมัยชาติยังเป็นเด็กน้อยวัย 4 ขวบ เมือ่ เห็นว่าเด็กน้อยโตพอสมควรแล้ว พีส่ าวตัดสินใจกลับไปท�ำงาน หัวใจเป็นไทย 53


ทีโ่ รงงานกุง้ อีกครัง้ เด็กชายชาติกต็ ดิ สอยหอยตามผูเ้ ป็นแม่ไปด้วย เขาช่วย งานเล็กน้อยอย่างช่วยหยิบตะกร้า และเด็ดหางกุง้ แลกกับเงินเล็กๆ น้อยๆ เป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ชาติใช้ชีวิตอยู่ในโรงงานแทนที่จะเป็นโรงเรียน กระทั่งนายจ้างของพี่สาวไม่อนุญาตให้เด็กเข้าไปในโรงงานอีกต่อ ไป เนือ่ งจากกลัวผิดกฎหมายหากต�ำรวจตรวจพบ เมือ่ เอาลูกไปทีท่ ำ� งาน ไม่ได้เหมือนก่อน การให้ลูกไปอยู่ในโรงเรียนจึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ที่สุด จึงตัดสินใจพาชาติไปเข้าโรงเรียนวัดมอญที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านก่อน จะย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนวัดก�ำพร้า จนเมือ่ 2 ปีทแี่ ล้วแม่ของชาติมลี กู เพิม่ อีก 1 คนท�ำให้เธอไม่สามารถ ท�ำงานได้เหมือนเดิม รายรับที่ลดลงประกอบกับข้าวของที่แพงขึ้นตาม สภาพเศรษฐกิจ ล�ำพังค่าแรงวันละ 300 บาทจากการเป็นลูกจ้างในโรงงาน ท�ำกะปิของผู้เป็นพ่อไม่เพียงพอส�ำหรับ 4 ชีวิตอีกต่อไป ความคิดที่จะเอา ชาติออกจากโรงเรียนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาระหว่างที่เขาก�ำลังจะขึ้นชั้น ประถม 2 จึงผุดเข้ามาในหัวของเธอ “เมือ่ ก่อนนีเ้ ราก็เคยมีความคิดไม่ดี ถ้าเรียนไปแล้ว รูไ้ ปแล้วก็ตอ้ ง แกะกุง้ แกะปลาจะเรียนไปท�ำไม เสียเงินเปล่าๆ มันก็รอ้ งไห้ใส่แม่บอกว่า หนูขอไปเรียนไม่ได้หรอ” พีส่ าวถอนหายใจเล็กน้อยเมือ่ เล่าถึงทัศนคติของ เธอทีเ่ คยเห็นว่าการศึกษาไม่ใช่เรือ่ งส�ำคัญ เธอบอกเสริมว่า บางครัง้ เธอ ไม่ให้เงินลูกไปเรียนเพราะหวังว่าจะให้ชาติอยูก่ บั บ้าน กลับตรงกันข้ามด้วย ความทีเ่ ด็กชายเป็นคนรักเรียนเขาตัดสินไปโรงเรียนโดยไม่เอาเงินไปสักบาท ความคิดที่เสี่ยงต่ออนาคตของชีวิตเล็กๆถูกลบล้างด้วยค�ำพูดของ ลุงชด (นามสมมุติ) ชายอายุวัยต้น 50 ปีเพื่อนข้างห้องเช่าที่เห็นเด็กชาย 54 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


มาแต่เล็ก รักและเอ็นดูเหมือนลูกเหมือนหลานคนหนึ่ง “เราบอกว่าความคิดแบบนัน้ ไม่ใช่ คนเราต่อไปไม่วา่ จะเป็นประเทศ ไหนก็แล้วแต่ถา้ ไม่มคี วามรูก้ จ็ บ ยังไงถ้าอยูก่ บั โรงเรียนครูเขาต้องหาทาง ช่วยให้มนั ได้เรียนสูงๆ แล้วเดีย๋ วนีร้ ฐั บาลเขาก็สนับสนุนแล้วด้วย ...เด็กตัว แค่นใี้ ห้มนั ไปท�ำงาน ไม่กลัวมันอันตรายหรือไง ส่งลูกไปล�ำบากแท้ๆ” ลุงชด ต้องพูดอยูห่ ลายครัง้ กว่าแม่ของชาติจะยอมเปลีย่ นความคิดใช้เหตุสารพัด เข้ามาขู่ รวมถึงเรือ่ งทีช่ าติเคยประสบอุบตั เิ หตุทโ่ี รงงานด้วย ค�ำพูดที่กรอกหูอยู่ทุกวันเป็นผลเข้าไปสะกิดใจผู้เป็นแม่เปลี่ยน ความคิดจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากไม่เห็นค่าของการศึกษาจนตอนนีถ้ งึ แม้จะต้องกู้หนียืมสินมาให้ลูกเรียนเธอก็จะท�ำ

บาดเจ็บที่ความรู้สึก

หลังจากเลิกเรียนเด็กชายชาติวยั 6 ปี จะเดินจากโรงเรียนวัดมอญ ไปที่โรงงานพลาสติกทุกวันเพื่อรอแม่และกลับบ้านพร้อมกัน เป็นเรื่อง ชินตาของคนในโรงงานทีเ่ ห็นเด็กน้อยวิง่ เข้าออกห้องโน้นห้องนี้ เล่นซนไป ตามภาษาเด็ก เพียงแต่วันนั้นเขาโชคร้าย “วันนั้นไอ้ชาติมันก็ไปที่โรงงานแบบปกติ แล้วทีนี้มันซน สายพาน เครื่องจักมันเลยเข้าไปบาดขา เลือดไหลเต็มขา ไม่หยุด ลูกก็ร้องไห้ เราก็ ตกใจรีบพาลูกไปโรงพยาบาล” เธอถอนหายใจออกมาเบาๆ เล่าย้อนกลับ ไปถึงเหตุการณ์ 6 ปีทแี่ ล้ว ขณะที่เธอเข้าเป็นพนักงานโรงงานพลาสติกใน ระยะเวลาสั้นๆ พี่สาวเล่าว่าสิ่งแรกเมื่อไปถึงแผนกฉุกเฉิน ทางโรงพยาบาลขอ หัวใจเป็นไทย 55


ก็มดี บี า้ งไม่ดบี า้ งแหละ แต่ “ เราไม่ โ กธรเขาหรอก เรามา

อาศัยบ้านเขาจะพู ดอะไรได้ ก็ได้ แต่ ท นไป ถ้ าไม่ จ� ำ เป็ น พ่​่ ี ก็ ไ ม่ อยากไปโรงพยาบาลอีกแล้ว

เอกสารแสดงตัวของลูกชายเธอ เธอบอกกับนางพยาบาลไปว่าชาติไม่มี เอกสารใดๆ เลย เมื่อเห็นว่าเป็นเช่นนั้นนางพยาบาลคนนั้นก็ไม่ได้กล่าว อะไรเพิ่มเติม กลับพาชาติไปนั่งตรงเก้าอี้ของทางโรงพยาบาลแทน เธอรอด้วยใจทีร่ อ้ นรุม่ นานกว่าชัว่ โมงแต่ไม่เห็นทีทา่ ว่าจะได้รกั ษา ความคิดว่าทางโรงพยาบาลกลัวว่าครอบครัวของเธอจะไม่มีเงินจ่ายค่า รักษาพยาบาลจึงไม่ให้ลูกของเธอรักษาเสียทีผุดขึ้นในหัวของเธอ จึง ตัดสินใจไปถามพยาบาลคนเดิมอีกครั้ง แม้ว่าจะร้องไห้และอ้อนวอนขอให้รักษาให้ลูกของเธอก่อน แต่สิ่ง ทีไ่ ด้รบั กลับมาคือการปล่อยให้เด็กชายยืนรอจนผ่านไปกว่า 2 ชัว่ โมง เมือ่ นายจ้างของเธอมาถึง เขาเข้าไปพูดบางอย่างกับทางโรงพยาบาล สักพัก ร่างของเด็กน้อยถูกพาเข้าไปในห้องรักษาทันที จากเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นเหตุผลให้เธอไม่อยากไปรักษากับทาง โรงพยาบาลอีกแล้ว ถ้าเป็นไปได้เธอจะเลือกรักษากับทางคลินิก ด้วย เหตุผลที่ว่า เธอรู้สึกว่าคลินิกยินดีต้อนรับคนแบบเธอมากกว่า 56 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


“เวลาไปรักษาจะรูส้ กึ ว่าเขาจะค่อนข้างมีอารมณ์กบั เรานะ คนไทย ไปพี่ก็เห็นเขาก็พูดดี พอเป็นเรานี่ใส่อารมณ์ ก็มีดีบ้างไม่ดีบ้างแหละ แต่ เราไม่โกธรเขาหรอก เรามาอาศัยบ้านเขาจะพูดอะไรได้ ก็ได้แต่ทนไป ถ้า ไม่จ�ำเป็นพี่ก็ไม่อยากไปโรงพยาบาลอีกแล้ว” ประโยคสั้นๆ ที่เต็มไปด้วย น�้ำเสียงตัดพ้อยังดังอยู่ในความรู้สึกของฉัน แม้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะไม่ร้ายแรงถึงชีวิตหรือไม่รุนแรงในสายตา ใครๆ แต่กลับเป็นสิ่งที่จ�ำฝังลึกในความรู้สึกของคนเป็นแม่

ส่วยแต่กำ�เนิด

เสียงร้องของ ‘อั้ม’ เด็กชายวัย 2 ขวบดังขึ้นจากเปลที่อยู่ไม่ไกล ตัดบทสนทนาที่ค่อนข้างเครียดให้จบลง พี่สาวลุกขึ้นจากเก้าอี้ที่นั่งอยู่ หยิบขวดนมจากตะกร้าสีฟ้า เดินไปที่มุมห้อง ก่อนค้อมตัวลงไกวเปลโยก ให้เป็นจังหวะเบาๆ พร้อมขับกล่อมเพลงทีจ่ บั ใจความได้วา่ เป็นภาษามอญ ไม่นานเสียงงอแงของเด็กน้อยค่อยๆ เงียบลงหลังจากได้รับความอบอุ่น ผ่านเสียงเพลงและสัมผัสจากแม่ที่อยู่ข้างๆ ภาพที่เห็นอยู่เบื้องหน้าชวนให้รู้สึกอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูก พอ เห็นอัม้ ก็อดนึกถึงชาติในตอนเด็กไม่ได้ พลันค�ำถามส�ำคัญทีเ่ ตรียมมาจาก บ้านถึงเรือ่ งความไร้สญ ั ชาติกเ็ ข้ามาในหัว เมือ่ พีส่ าวนัง่ ลงบนเก้าอีอ้ กี ครัง้ ฉันจึงถือโอกาสถามเธอเธอยิ้มให้บางๆ ก่อนเล่าให้ฟัง ชาติเกิดที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน อ.แม่กลอง ในตอนนั้นเธอไม่รู้ ว่าเด็กสามารถจดทะเบียนการเกิดได้ แม้ว่าตอนหลังจะทราบข่าวว่า สามารถตามไปจดทะเบียนเกิดในทีหลังได้แต่ก็กินระยะเวลาล่วงเลยมา หัวใจเป็นไทย 57


พี่สาวก�ำลังอุ้ม ‘อั้ม’ น้องของชาติ เตรียมตัวไปอาบน�้ำหลังจากตื่น นอนในช่วงนอนกลางวัน

6 ปีแล้ว ข้อมูลต่างๆ ที่ทางโรงพยาบาลเก็บไว้ก็หายไปตามกาลเวลาด้วย ท�ำให้ทกุ วันนีช้ าติเป็นเด็กไร้สญ ั ชาติอย่างเต็มตัว เธอพูดไปพลางส่ายหน้า ไปด้วยความเสียดาย “นีห่ นู ถามหน่อยสิ ไอ้สตู บิ ตั รเนีย่ มันแพงขนาดเป็นพันเลยหรอ” เสียงของลุงชดแทรกขึ้น ขณะที่น�ำผลไม้ที่จัดใส่จานย่างดีมาให้ ฉันเองส่ายหน้าเพื่อบอกว่าไม่รู้ ลุงชดจึงชี้แจงเพิ่มเติมว่า พ่อของ 58 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ชาติเล่าให้เขาฟังว่าหลังจากทีพ่ สี่ าวคลอดเด็กชายอัม้ ทางครอบครัวต้อง เสียเงินถึง 2,500 บาทถึงจะได้ใบสูติบัตรมา เมือ่ ฉันถามถึงเหตุผลทีต่ อ้ งเสียเงินจ�ำนวนมากเพือ่ ทีจ่ ะได้ใบส�ำคัญ นั้นมา ลุงชดเล่าต่อว่า หลังจากที่พี่สาวคลอดอั้ม ในขั้นตอนการได้รับ ใบรับรองการเกิดนั้น พ่อของชาติต้องไปติดต่อที่ร้านแห่งหนึ่งแถวห้าง น�ำ้ พุ ห้างชือ่ ดังของสมุทรสาคร เพือ่ เสียเงิน 500 บาท ก่อนทีจ่ ะไปทีอ่ ำ� เภอ เพื่อน�ำใบรับรองการเกิดพร้อมเอกสารแสดงตัวต่างๆ ไปยื่น จากนั้นต้อง ย้อนกลับไปเอาใบสูติบัตรที่ร้านดังกล่าวอีกครั้ง โดยแลกกับเงินจ�ำนวน กว่า 2,000 บาท ไร้ซึ่งค�ำตอบ ฉันไม่สามารถตอบลุงชดได้เช่นกัน ซ�้ำยังมีค�ำถาม มากมายเกิดขึน้ ด้วยทัง้ เรือ่ งสูตบิ ตั ริ าคาแพงกับการรักษาทีบ่ าดเจ็บในความ รูส้ กึ ของพีส่ าว

ค�ำชี้แจง

“ที่นี่มีคนต่างด้าวมาใช้บริการมากกว่าคนไทยเกือบเท่าตัวได้ค่ะ” คุ ณ สุ น ารี คงตรง นั ก วิ ช าการสาธารณสุ ข ประจ� ำ หน่ ว ยปฐมภู มิ โรงพยาบาลสมุทรสาคร พูดขึ้นขณะที่เธออาสาพาฉันไปติดต่อที่ห้อง ฉุกเฉินในบ่ายวันหนึ่ง คงเป็นจริงอย่างทีเ่ ธอว่า เพราะตัง้ แต่กา้ วเท้าเข้ามาในโรงพยาบาล ประจ�ำจังหวัดแห่งนีต้ ลอดทางเดินแน่นขนัดไปด้วยผูป้ ว่ ยต่างด้าวตัง้ แต่เด็ก ตัวเล็กๆ จนถึงผูส้ งู อายุถงึ ขนาดทีท่ างโรงพยาบาลต้องจัด ‘คลินกิ แรงงาน ต่างด้าว’ ขึน้ บริเวณตึกด้านหลังแยกออกไปเป็นพิเศษเพือ่ ลดความแออัด หัวใจเป็นไทย 59


ตลอดทางเท้าและตามจุดส�ำคัญต่างๆ ทั่วโรงพยาบาลจะมีป้าย บอกทางเป็นภาษาพม่าติดอยู่ นอกจากนี้คุณสุนารียังชี้ให้เห็นถึงความ พิเศษอีกอย่างที่หาได้ยากในโรงพยาบาลอื่นๆ คือที่นี่จะมีล่ามที่คอยให้ บริการคนต่างด้าวทั้งหมด 14 คน จากเริ่มแรกมีเพียง 2 - 3 คนเท่านั้น เธอเสริมว่าจ�ำนวนการจ้างล่ามที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสัญญาณบอกถึง จ�ำนวนคนต่างด้าวที่เข้ามาค้าแรงงานในเมืองแห่งนี้มีเพิ่มมากขึ้น แต่ใน ทางกลับกันก็เป็นสิ่งที่บอกว่าคนกลุ่มนี้เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขเพิ่ม มากขึ้นเช่นเดียวกัน ระหว่างที่เดินจาก ‘หน่วยปฐมภูมิ’ หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาดูแลคน ต่างด้าว เด็กต่างด้าวรวมถึงเด็กไร้สญ ั ชาติโดยเฉพาะไปยังห้องฉุกเฉินผ่าน บริเวณลานจอดรถบัส ทีน่ กี่ ลับถูกเติมเต็มด้วยกลุม่ คนทีต่ อ่ แถวยาวนับสิบ แถว โต๊ะหลายตัวถูกวางเรียงเป็นแถวมีปา้ ยผ้าติดติดก�ำกับไว้วา่ ‘จ�ำหน่าย บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าส�ำหรับคนต่างด้าว’ ที่น่าแปลกใจในจ�ำนวนคนเกือบ 50 คนมีแต่หนุ่มสาววัยท�ำงาน ปราศจากกลุ่มพ่อแม่ต่างด้าวที่พาลูกๆ มาซื้อบัตรทั้งๆ ที่ปัจจุบันมีการ จ�ำหน่ายบัตรดังกล่าวแก่เด็กแล้วเช่นกัน เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข มีการประกาศ จ�ำหน่ายบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส�ำหรับเด็ก 0 - 7 ปีกลุ่มเด็กที่อายุ ไม่เกิน 7 ปี จะมีค่าใช้จ่ายการซื้อประกันสุขภาพที่ 365 บาท ต่อคน ต่อ ปี โดยผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิในการดูแลทั้งการตรวจสุขภาพประจ�ำปี บริการด้านการรักษาพยาบาล บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี ไตวายเรื้อรังระยะ 60 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


สุดท้าย และโรคร้ายแรงอื่นๆ คุณสุนารีอธิบายวิธีการจัดจ�ำหน่ายบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในกรณีทเี่ ด็กไม่มเี อกสารแสดงตนว่า ทางโรงพยาบาลจะใช้ลายนิว้ มือของ เด็กเป็นหลักฐานเพือ่ ป้องกันการสวมสิทธิ และหลักฐานของทางพ่อแม่ใน การรับรองเด็ก แต่ถ้าเป็นกรณีที่พ่อแม่ไม่มีเอกสารอะไรมาเลย ทาง โรงพยาบาลไม่สามารถขายบัตรได้เพราะไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน “ถ้าพูดถึงสถิติยังไม่ค่อยมีคนมาซื้อ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่ายังแพง เกินไปกับอีกประเภทคือต้องรอลูกป่วยหนักๆ ถึงจะซื้อเพราะเขาไม่เห็น ถึงความจ�ำเป็น” คุณสุนารีเสริมว่าแม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่ม พ่อแม่ต่างด้าวรับทราบแต่ผลตอบสนองก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งราคา 365 บาท ที่เทียบง่ายๆ ว่าจ่ายเพียงวันละ 1 บาทก็ยังมากเกินไปส�ำหรับ คนกลุ่มนี้ นอกจากนี้เธอยังบอกว่าไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรที่การซื้อบัตร ประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นเรื่องอันดับท้ายๆ ที่พ่อแม่นึกถึง เพราะ ทุกวันนี้เรื่องของค่ารักษาพยาบาลของเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างเป็นปัญหา เนื่องจากเด็กไร้สัญชาติต้องออกเงินเองทั้งหมดหรือไม่ก็จ่ายตาม สิทธิทมี่ ี ไม่เหมือนกับเด็กไทยทีร่ กั ษาฟรีเพราะรัฐบาลมีงบประมาณเข้ามา อุดหนุน แต่เด็กส่วนใหญ่มฐี านะค่อนข้างยากจน ดังนัน้ ค่าใช้จา่ ยส่วนใหญ่ ตกเป็นหน้าทีข่ องทางโรงพยาบาลปีๆ หนึง่ นับเป็นเงินหลายสิบล้านบาท ตอนนีเ้ ราสองคนอยูห่ น้าห้องฉุกเฉิน คุณสุนารี ผายมือเป็นเชิงบอก ให้ฉันนั่งรอบริเวณเก้าอี้พลาสติกสีน�้ำเงินเข้มหน้าห้องตรวจ ก่อนเธอจะ หายเข้ า ไปในห้ อ งฉุ ก เฉิ น สั ก ครู ่ เ ดี ย วเธอก็ อ อกมาพร้ อ มกั บ หัวใจเป็นไทย 61


ใบสูติบัตรราคาแพงหลักฐานแสงการมีตัวตนของ ‘อั้ม’ กับสมุดบันทึกสุขภาพ เด็กต่างด้าวที่พี่สาวบอกว่าสามารถนำ�ไปเป็นหลักฐานแจ้งเกิดได้

คุณอัมพร รอดสุด พยาบาลวิสญ ั ญีประจ�ำห้องฉุกเฉิน คุณสุนารีแนะน�ำให้ ฉันรู้จักกับคุณอัมพรก่อนขอตัวไปท�ำงานที่ค้างไว้ จากการแต่งตัวของคุณอัมพรที่มีทั้งหน้ากากอนามัยและเสื้อคลุม ผ่าตัดสีเขียว ทำ�ให้รสู้ กึ ว่าเธอกำ�ลังยุง่ อยูพ่ อสมควรและเพือ่ ไม่ให้เป็นการ รบกวนเวลางานของคุณเธอมากนัก ฉันจึงเล่าเรื่องของชาติเมื่อ 6 ปีก่อน ให้ฟังทันที “กรณีนี้ถ้าดูจากเรื่องของต�ำแหน่งแผล มันอยู่ที่แขนขาซึ่งไม่ 62 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


อันตรายถึงชีวิต ตอนนั้นอาจจะมีคนอื่นที่รุนแรงกว่า เราก็ต้องรักษาคน อื่นก่อน เพราะแผนกฉุกเฉินให้การรักษาตามความหนักเบาของโรค เน้น ความฉุกเฉินเป็นหลัก ไม่เน้นตามคิว” เธอยกตัวอย่างให้ฟงั อย่างเห็นภาพ ว่า หากมีคนเป็นลมก็ต้องวิ่งทิ้งคนที่เย็บแผลอยู่ไปหาคนที่เป็นลมก่อน ฉันถามถึงความเป็นไปได้เกีย่ วกับเรือ่ งของบัตรแสดงตัวตนว่าเป็น ผลให้เด็กได้รับการรักษาช้าหรือไม่ คุณอัมพรอธิบายว่า ไม่ว่าจะเป็นเมื่อ 6 ปีที่แล้วหรือปัจจุบันขั้นตอนในการรับบริการที่ห้องฉุกเฉินของเด็กไร้ สัญชาติเหมือนกับเด็กไทย คือทางโรงพยาบาลไม่สนใจเรื่องของเอกสาร แสดงตนหรือแม้แต่ชื่อด้วยซ�้ำ สิ่งแรกที่ท�ำคือส่งคนไข้เข้าห้องฉุกเฉินทันที ยิ่งถ้าผู้ป่วยเป็นเด็ก ถือเป็นภาวะเร่งด่วนกว่าในกรณีผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก ส่วนเรื่องของ เอกสารให้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ให้ไปที่ห้องทะเบียน และการที่ต้องตรวจ เช็คเรือ่ งเอกสารของเด็กเพือ่ ทีจ่ ะดูเรือ่ งสิทธิของการรักษาซึง่ เป็นประโยชน์ แก่ตัวครอบครัวของเด็กเอง ส�ำหรับความเข้าใจของแม่ชาติทวี่ า่ เกีย่ วกับเรือ่ งเงิน เธอบอกว่าไม่ น่ามีความเป็นไปได้เลย เนือ่ งจากทางโรงพยาบาลมีหลักการว่าให้ทำ� การ รักษาก่อนส่วนเรือ่ งเงินค่อยว่ากันหลังจากนัน้ หากมีมากก็จา่ ยมาก มีนอ้ ย ก็จ่ายน้อย หรือถ้ากรณีที่ไม่มีเงินเลย ทางโรงพยาบาลจะขอความ อนุเคราะห์จากหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ของทางโรงพยาบาล “ยิง่ ตอนนีโ้ รงพยาบาลแทบจะเบิกเงินคืนได้นอ้ ยมาก เพราะเด็กที่ ไม่มีใบมารักษามากขึ้นทุกปี” เธอบอกก�ำชับเพื่อยืนยันว่าเรื่องเงินไม่ใช่ ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษา หัวใจเป็นไทย 63


จากการเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อหาค�ำตอบครั้งนี้ต้องยอมรับ กับตัวเองว่าไม่อาจสรุปได้ว่าเรื่องนี้ใครถูกใครผิด แต่ส่ิงที่รับรู้มาในครั้งนี้ ยืนยันได้ว่า เรื่องเงินยังคงเป็นปัญหาของเด็กกลุ่มนี้ แม้ว่าทางหน่วยงาน จะพยายามเปิดช่องทางให้เข้ามากถึงบริการต่างๆ แล้วก็ตาม

สูติบัตร

แม้จะเป็นเวลาบ่ายสามโมงแต่อุณหภูมิก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด พระอาทิตย์ยงั คงท�ำหน้าทีข่ องมันอย่างซือ่ สัตย์ มองนาฬิกาแล้วเห็นว่ายัง อยู่ในช่วงเวลาราชการ ฉันจึงตัดสินใจไปที่ส�ำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล เมืองสมุทรสาคร เพื่อสอบถามเรื่องสูติบัตรราคาแพงของเด็กชายอั้มให้ ชัดเจนขึ้น หญิงสาวร่างท้วม เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนราษฎร เธอดูมีท่าทีลังเล ใจเล็กน้อยเมื่อทราบถึงจุดประสงค์ในการมาครั้งนี้ ก่อนกระซิบว่าเรื่องนี้ ค่อนข้างเป็นความลับของทางราชการ แต่สุดท้ายก็ยินดีให้ความกระจ่าง แก่ฉัน ส�ำหรับขัน้ ตอนการจดทะเบียนการเกิดส�ำหรับเด็กต่างด้าวนัน้ จะ ต้องใช้หลักฐานแบ่งเป็นสองส่วน คือหนังสือรับรองการเกิดคนต่างด้าว ที่ทางโรงบาลออกให้ กับอีกส่วนคือเอกสารแสดงตัวของพ่อแม่ ไม่ว่าจะ เป็นพาสปอร์ตหรือใบ ทร. หรือหากไม่มอี ะไรเลย อย่างน้อยทีส่ ดุ ให้ใช้สมุด สุขภาพแม่และเด็กที่ได้มาขณะไปฝากครรภ์มายื่นเป็นหลักฐานก็เพียง พอแล้ว “ค่าใช้จ่ายไม่เสียเลยแม้แต่สลึงเดียว จะมีก็แต่ค่าซองอะไรแบบนี้ 64 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


แต่ถา้ ไปแจ้งเกิดต่างส�ำนักทะเบียน คุณก็ตอ้ งเสียเงิน แต่แค่ 20 บาท ไม่มี เกินไปกว่านี้” หญิงสาวยืนยันด้วยน�้ำเสียงหนักแน่น เธอท�ำท่าครุ่นคิดก่อนพูดเสริมว่า อย่างไรก็ตามในการออก ใบรับรองการเกิด พ่อแม่ของเด็กต้องน�ำหน้าแรกของพาสปอร์ตที่ได้รับ การแปลเป็นภาษาไทยไปให้กบั ทางโรงพยาบาลเพือ่ ใช้เป็นหลักฐาน ซึง่ ใน ขั้นตอนนี้อาจจะเป็นไปได้ที่ทางครอบครัวชาติต้องเสียเงินจ�ำนวนหลาย พันบาทให้กับร้านแปล เพือ่ ความแน่ใจฉันจึงเข้าไปสอบถามร้านแปลบริเวณห้างน�ำ้ พุตาม ค�ำแนะน�ำของข้าราชการสาว หญิงสาวเจ้าของร้านที่ก�ำลังยุ่งอยู่กับงานแปล บอกว่าในการท�ำ ใบรับรองการเกิดที่ใช้เพียงหน้าพาสปอร์ตอย่างเดียวเท่านั้น ค่าใช้จ่ายใน การแปลตกไม่เกิน 250 บาท และถึงแม้ว่าจะมีการแปลพาสปอร์ตทั้งเล่ม แต่ไม่เกิน 1,000 บาท ซึง่ ไม่ตา่ งจากค�ำตอบของชายชราเจ้าของร้านแปล ที่อยู่เลยไปอีกสองซอย เขายังพูดก่อนฉันออกจากร้านอีกว่า “ไม่มีที่ไหน เขาคิดแพงขนาดนั้นหรอก ขูดรีดกันเกินไป”

หนูรักในหลวง

“ชาติรู้จักในหลวงด้วยหรอ” “รู้จักครับ ในหลวงท่านเป็นคนดีมาก” เสียงเพลงข่าวในพระราชส�ำนักดังขึ้นจากหน้าจอทีวีแย่งความ สนใจจากบทสนทนาไปหมดสิ้น แววตาที่จดจ้องอย่างตั้งใจ ในขณะที่มือ ของเขายังท�ำหน้าที่แกะปลาตัวเล็กเช่นเคย หัวใจเป็นไทย 65


“หนูอธิบายไม่ถูก หนูชอบดูข่าว ถึงหนูจะไม่ได้เห็นในหลวงทุกๆ วัน แต่แค่ได้เห็นลูกๆของท่านที่ออกทีวีทุกวัน หนูก็ดีใจแล้ว” เด็กชายไม่ สามารถอธิบายได้ว่าความรักที่เขามีต่อในหลวงมากน้อยแค่ไหน คงเป็น ความรู้สึกเดียวกันกับฉันที่ฉันได้เห็นพระองค์ครั้งแรก คล้ายมีก้อนบาง อย่างมาจุกอยู่ที่ล�ำคอ แต่สัมผัสได้ถึงความอบอุ่นแผ่ซ่านไปทั้งหัวใจจน บรรยายออกมาเป็นค�ำพูดไม่ได้ ความรักและความเทิดทูนที่พ่อของชาติมีต่อพ่อหลวง ถ่ายทอดสู่ ลูกชายวันแล้ววันเล่า พ่อเป็นคนสอนให้ชาติไหว้ในหลวง หากเวลา เด็กชายท�ำผิดพ่อจะบอกให้เขาดูในหลวงเป็นแบบอย่าง โดยให้เหตุผลว่า ‘เพราะในหลวงท่านเป็นคนดี คนไทยทั้งประเทศถึงได้รักท่าน’ ชาติเชื่อ พ่อทุกครั้งเพราะเขาเองก็อยากให้คนไทยรักเขา ฉันนึกย้อนไปถึงเรือ่ งเก่าๆ แม่ของชาติเคยบอกกับฉันว่า เธอไม่คดิ จะให้ชาติกลับไปอยูท่ ปี่ ระเทศพม่า เพราะประเทศไทยคือแผ่นดินเกิด จะ ให้กลับไปอยู่ที่พม่าเธอเองก็ไม่รู้ว่าลูกชายจะอยู่ได้อย่างไร แต่ที่นี่ชาติมี เพื่อนและที่ส�ำคัญครอบครัวของเด็กชายก็อยู่ที่นี่กันหมด หากเป็นไปได้ สุดท้ายก็คงตายที่เมืองไทยเช่นกัน ส�ำหรับชาติแล้ว แม้สายเลือด เชื้อชาติจะต่างจากเรา แต่เขามี ประเทศไทยเป็นแผ่นดินเกิด และมีพอ่ หลวงทีเ่ ทิดทูนไว้ดว้ ยหัวใจเฉกเช่น เดียวกัน คงไม่ผดิ ใช่ไหม ถ้าจะเปิดรับเอาหัวใจทีม่ คี วามเป็นไทยเต็มเปีย่ ม ดวงนี้เข้ามาเติมเต็ม สานฝันให้เกิดขึ้นจริงบนหัวใจดวงน้อยๆ ดวงนี้

66 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ




04

ฝันไกลที่ไปไม่ถึง

ป้ายไม้ขนาดใหญ่ติดอยู่หน้าวัด ชื่อ ‘วัดศิริมงคล’ ที่ถูกเขียน ด้วยหมึกสีแดง บ่งบอกความเป็นวัดต่างจังหวัดได้ดี บรรยากาศสบายๆ ยามเย็นขัดกับบรรยากาศในวัดที่ดูคึกคักและเร่งรีบเหลือเกิน ทั่วบริเวณ เต็มไปด้วย พระ ชาวบ้านและเด็กวัด ที่กำ�ลังเร่งมือสร้างโบสถ์ เพื่อให้ทัน งานเข้าพรรษาที่จะเกิดขึ้นในอาทิตย์หน้า ฉันกับพ่อเดินเข้าไปหาพระชรารูปหนึ่งที่นั่งอยู่บริเวณม้าหิน ถาม หา ‘นัด’(นามสมมุติ) เด็กหนุ่มที่นัดกันเอาไว้ ท่านไม่ตอบแต่กลับพาเรา ไปด้านหลังวัดและบอกให้เราคุยกับ ‘หลวงพีส่ ายันต์’ ทีก่ ำ�ลังคุมงานสร้าง โบสถ์อยู่บริเวณหลังวัดแทน พระชราเข้าไปพูดบางอย่างกับหลวงพี่ ท่าน หันมายิ้มให้เราอย่างใจดี ก่อนจะหยุดสั่งงาน และเดินนำ�หน้าพาเราขึ้น ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 69


ไปนั่งบนศาลาวัด “นมัสการค่ะหลวงพี่“ฉันพูดพร้อมยกมือไหว้ “ไอ้นัดมันไม่อยู่หรอกโยม ออกไปปั้นโอ่งอยู่ข้างวัด แต่คิดว่าอีก สักพักน่าจะกลับแล้ว” หลวงพี่บอกด้วยท่าทางสบายๆ ก่อนจะสั่งเด็กวัด ให้ไปเอาน�้ำกับขนมมารับแขก เราจึงอาศัยช่วงเวลาที่รอนัดกลับมาจาก การท�ำงานพิเศษ นั่งคุยกับหลวงพี่ในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง

เด็กวัด

หลวงพี่เจอนัดครั้งแรกที่งานศพพ่อของเด็กชาย ท่านทราบจาก แม่ของนัดที่ยืนอยู่ข้างกายของเขาว่า นัดอยากเรียนหนังสือ แต่ทาง ครอบครัวค่อนข้างยากจน ด้วยความสงสาร ท่านจึงขอนัดมาอุปการะ จาก วันนั้นเป็นต้นมานัดใช้ชีวิตเยี่ยงเด็กวัดทั่วไปตั้งแต่อายุ 6 ปี นอกจากนัดจะอาศัยข้าวก้นบาตรและวัดเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ทางหลวงพี่ยังได้ส่งเสียเขาให้เรียนหนังสือด้วย “สมัยก่อนนี้ทางโรงเรียนยังไม่เปิดรับเด็กต่างด้าว แต่หลวงพี่ฝาก เขาเข้าไปอยู่ในนามวัดก็เลยให้เรียนได้เพราะว่าโรงเรียนอยู่ในที่วัด” ด้วย ความว่าท่านเป็นคนชอบเรียนหนังสือ จึงเห็นความส�ำคัญของการศึกษา และมีแนวคิดที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนก็ตาม หากมีความรู้ก็เป็นสิ่งที่ ดี เหมือนกับมีสมบัติติดตัว เอาตัวรอดได้ และท�ำให้ตัวเองสูงขึ้นได้ ท่านยังเสริมให้ฟงั ว่า สมัยทีน่ ดั เข้าเรียนแรกๆ ผอ.คนเก่าก็ให้เรียน ธรรมดาไม่ได้สนับสนุนอะไร แต่พอตอนหลังกฎหมายเปิดช่องซึ่งเป็นใน ช่วงของ ผอ.เสาวนีย์ สว่างอารมณ์ เข้ามาบริหารพอดี ตอนนั้นจึงมีการ สนับสนุนให้เด็กเข้าเรียนอย่างเต็มที่ นอกจากนีย้ งั สนับสนุนเรือ่ งกีฬาด้วย 70 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เรานั่งคุยเรื่องสัพเพเหระ ตั้งแต่เรื่องในวัด วิถีคนมอญ จนไปถึง เรื่องธรรมะ คุยกันได้สักครู่ใหญ่ หลวงพี่หยุดพูดไปสักพัก ก่อนจะชะเง้อ มองผ่านหลังเราไป “เห้ย มาให้ไว พีเ่ ขารอเอ็งนานแล้ว” ได้ยนิ เสียงตอบรับพร้อมเสียง ฝีเท้ากระทบพืน้ ไม้ ฉันหันไปมองตามเสียงก่อนจะพบกับเด็กหนุม่ ทีเ่ รารอ มาเกือบชั่วโมง นัดเป็นเด็กหนุม่ ผิวคล�ำ้ ทีค่ าดว่าน่าจะเกิดจากการเล่นกีฬา ร่างกาย ไม่สงู ใหญ่เหมือนนักกีฬาทัว่ ไป ติดออกไปทางเล็กด้วยซ�ำ้ แต่ดจู ากความเร็ว ที่วิ่งเข้ามาเมื่อครู่ บ่งบอกได้ว่าเวลาอยู่ในสนามลีลาคงไม่เบา หลวงพี่ถามไถ่นัดด้วยความเป็นห่วงถึงเรื่องปากท้อง เมื่อได้ความ ว่าชายหนุ่มกินข้าวมาจากที่ท�ำงานแล้ว ท่านจึงขอตัวไปคุมงานต่อ ตรงนี้ จึงเหลือฉัน พ่อและนัด เราทักทายกันสักพักพอให้คนุ้ เคยก่อนจะเริม่ ต้นบท สนทนาที่เป็นจุดประสงค์ของการมาในครั้งนี้ เด็กหนุ่มเล่าให้ฟังว่า เขาเกิดและเติบโตบนแผ่นดินไทย หลังจาก ที่แม่ชาวมอญอพยพจากประเทศบ้านเกิดมาอยู่อาศัยและท�ำงานอยู่ที่ โรงงานท�ำปลาหมึกในจังหวัดสมุทรสาคร นัดมีใบรับรองการเกิดแต่แม่ของ เขาไม่ได้พาไปแจ้งเกิดกับทางอ�ำเภอ เมื่อเขาไร้หลักฐานการเกิด ทุกวันนี้ เขาจึงมีสภาพเป็นเด็กไร้สัญชาติ เมื่ออายุได้ 2 ปี นัดย้ายกลับไปอยู่กับยายที่ประเทศพม่า ที่นั่นเขา ได้เรียนหนังสือเหมือนกับเด็กทั่วไป แต่เพียงไม่นานเขาต้องย้ายกลับมา เมืองไทยอีกครั้ง ด้วยเหตุผลของแม่ที่บอกว่ายายแก่มากแล้ว หลังจากย้ายกลับมาอยู่เมืองไทย เขาอาศัยอยู่กับแม่ตามล�ำพัง เพราะพ่อต้องไปออกเรือ บ้านของเขาเป็นห้องเช่าใกล้ๆ โรงงานท�ำ ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 71


ปลาหมึกที่ท�ำงานของแม่ ด้วยความที่แม่ต้องท�ำงานทิ้งนัดไว้คนเดียว เหตุผลต่างๆ ทั้งกลัวลูกหาย เป็นห่วง หรือแม้แต่ถูกจับเข้ามาในหัว ดัง นั้นการขังลูกไว้ในห้องคือสิ่งที่ดีที่สุดที่แม่ของนัดจะท�ำได้ในขณะนั้น ถึงจะได้อยู่กับแม่แต่นัดไม่ได้รู้สึกปลอดภัย จากการที่ถูกขังไว้ใน ห้องเพียงล�ำพังท�ำให้ ความกลัว และความเหงาเข้ามาแทนที่ หลังจากนั้น เพียง 6 เดือน เขาได้รับข่าวร้าย พ่อของนัดเสียชีวิตจากการออกเรือท�ำ ประมง “อย่างที่หลวงพี่เล่าให้ฟังเลยครับ ท่านเห็นผมก็เลยชวนมาเรียน ตอนนั้นเราก็คิดแบบเด็กๆ ว่าต้องมีเพื่อนๆ แน่ๆ เลย ดีกว่าอยู่คนเดียว” เด็กหนุ่มอธิบายต่อว่า ด้วยความที่แม่ของเขาเห็นว่าเด็กชายจะปลอดภัย เธอจึงอนุญาตให้มาอยู่ที่วัดศิริมงคลได้

กีฬาคือความภูมิใจ

นัดในวัย 6 ปีเขาเรียนชั้นอนุบาล 1 ที่โรงเรียนวัดศิริมงคล แม้ว่า ตามเกณฑ์อายุแล้วเขาจะต้องอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่1 แล้วก็ตาม ในช่วงทีเ่ ข้าเรียนปีแรกเป็นช่วงแรกทีท่ างโรงเรียนยังไม่เปิดโอกาส ให้เด็กต่างด้าวเข้าเรียน เพื่อนส่วนใหญ่ของเขาจึงมีแต่เด็กไทย ต่างจาก ปัจจุบนั ทีน่ ดั บอกว่า โรงเรียนเดิมเก่าของเขาเต็มไปด้วยเด็กมอญเด็กพม่า ส�ำหรับนัดเองไม่มปี ญ ั หากับเรือ่ งความแตกต่างทางเชือ้ ชาติ ปัญหา เดียวของเขาคือเรือ่ งของการใช้ภาษา ด้วยความว่าตลอด 6 ปีทผี่ า่ นมาเขา พูดแต่ภาษามอญเป็นหลัก แม้ว่าเริ่มแรกของการเรียนอาจจะยากไปสัก หน่อย เพราะปัญหาทางด้านภาษาส่งผลไปถึงการเรียนท�ำให้ตามเพือ่ นไม่ 72 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ค่อยทัน แต่โชคดีทคี่ รูของเขาเข้าใจและเอาใจใส่เด็กไร้สญ ั ชาติคนนีเ้ ป็นพิเศษ “แล้วตอนนี้เก่งภาษาไทยเลยสิ” ฉันแกล้งถาม “ตอนนีน้ โี่ ปรแล้วพี่ ภาษามอญลืมหมด ใช้แต่ภาษาไทย” เขาอมยิม้ เล็กน้อย ก่อนบอกเหตุผลว่า เพราะทั้งที่วัดและโรงเรียนเขาใช้แต่ภาษา ไทย จะใช้ภาษามอญก็เพียงแต่เวลาแม่โทรมาหา ด้วยอายุที่เยอะที่สุดของระดับชั้นปีท�ำให้ร่างกายโตกว่าเด็กในชั้น เดียวกัน แต่กระนั้นก็ไม่ได้สร้างความแตกต่าง กลับเป็นผลดีที่ท�ำให้เขา เข้าตาครูจนได้กา้ วเข้ามาเป็นนักกีฬาของโรงเรียนเป็นครัง้ แรกเมือ่ สมัยอยู่ ชั้นประถม 2 นัดไล่นิ้วนับจ�ำนวนชนิดกีฬาที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมทีม พลาง ไล่ชื่อให้ฉันฟังอย่างเสียงดังฟังชัดตั้งแต่ วอลเลย์บอล ฟุตซอ ฟุตบอล เปตอง และกรีฑา “ผมเป็นนักกีฬาคนเดียวในโรงเรียนที่ไม่ได้เป็นคนไทยด้วยนะ” เขาเสริมในตอนท้ายด้วยน�้ำเสียงที่แสดงออกถึงความภูมิใจ ด้วยความที่นัดเป็นคนขยัน ฝึกซ้อมกีฬาได้เพียงปีเดียว เขาก็มี ทักษะมากพอเข้าไปแสดงฝีมือในกีฬาระดับจังหวัด ประเภทกรีฑา เป็น ตัวแทนวิง่ สีร่ อ้ ยเมตรได้แชมป์ของจังหวัด จากการฝึกซ้อมอย่างหนักท�ำให้ นัดกับเพื่อนอีกหนึ่งคนคว้ารางวัลชนะเลิศมาครองได้อย่างใจหวัง มาถึง ตรงนีน้ ดั บอกด้วยน�ำ้ เสียงเสียดายว่าหลังจากการแข่งขันครัง้ นัน้ เพือ่ นอีก คนที่ได้มีโอกาสเข้าไปเล่นในระดับอื่นต่อต่างจากเขาที่ไม่ได้รับการติดต่อ เลย เมื่อเห็นว่านัดเงียบไปฉันจึงถามถึงกีฬาชนิดอื่นต่อ “วอลเลย์บอลเลยครับ เก่งสุดเลยอันนี้” เด็กหนุ่มหยุดพูดสักพัก ก่อนจะเชิญเราให้เข้าไปในกุฏิของของหลวงพี่สายันต์ ฉันถามนัดก่อน ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 73


เหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาต่างๆตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงปัจจุบัน (บน) เหรียญทองแห่งความภาคภูมิใจในการแข่งขันฟุตบอล ‘สาครเกมส์’ กีฬาครั้ง สุดท้ายในฐานะนักกีฬาโรงเรียน (ล่าง) 74 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ด้วยความไม่แน่ใจหากจะเข้าไปในทีส่ ว่ นตัวโดยไม่ได้รบั อนุญาต เด็กหนุม่ ส่ายหน้าแทนค�ำตอบว่า ไม่เป็นเป็นไร ฉันถามเขาด้วยความสงสัยว่า ไปแข่งทีไ่ หนมา เพราะจากเหตุการณ์ ของน้องหม่อง แสดงให้เห็นว่าเด็กกลุม่ นีม้ กั มีปญ ั หาเรือ่ งการเดินทางออก นอกจังหวัด นัดบอกว่าเขาเดินทางไปแข่งที่กรุงเทพ โดยใช้บัตรนักเรียน กับใบ ทร. เป็นเอกสารในการเดินทาง โดยมีครูไปท�ำเรื่องออกนอกพื้นที่ ให้กับทางอ�ำเภอ เหรียญรางวัลที่ได้จากการแข่งขันจ�ำนวนมากถูกขัดจนขึ้นเงาบ่ง บอกว่าได้รบั การดูแลจากเจ้าของเป็นอย่างดี ถูกแขวนไว้บนฝาผนังไม้ นัด เขย่งเท้าหยิบ 2 เหรียญสีโลหะที่แขวนอยู่หน้าสุดให้เราดู เหรียญโลหะ สลักตราสัญลักษณ์การแข่งขัน รอบเหรียญก�ำกับด้วยข้อความ ‘กีฬา นักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551’ เขาเอามือลูบเหรียญอย่างทะนุถนอม อีกมือชี้ไปที่เกียรติบัตร รางวัลอีกชิ้นที่ได้ ที่ใส่กรอบติดฝาผนังอยู่เคียงข้างกัน เขาบอกว่าในการ แข่งขันวอลเลย์บอลระดับประเทศสมัยทีอ่ ยูช่ นั้ ประถม 5 ในตอนนัน้ ทีมของ เขาได้รางวัลรองชนะเลิศซึง่ ถือเป็นผลงานชิน้ โบว์แดงของเขาเลยก็วา่ ได้ “แต่พรี่ ไู้ หม ...ผมโดนประท้วงด้วยนะ” นัดเว้นระยะนิดหน่อย พอ ให้ฉันสงสัยในค�ำพูดลอยๆ นั้น ก่อนพูดว่า “ฝ่ายตรงข้ามเขาบอกว่าเรา ไม่ใช่คนไทย แข่งไม่ได้”

ความผิดหวังครั้งแรก

แม้ว่าในการแข่งขันกีฬานักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานจะผ่านไป ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 75


ด้วยดี แต่เส้นทางการเป็นนักกีฬาของนัดที่โรยด้วยกลีบกุหลาบไม่ได้ สวยงามเหมือนเดิม เค้าลางร้ายเริ่มปรากฏในอีก 1 เดือนต่อมา ในการ แข่งขันวอลเลย์บอลที่จังหวัดสมุทรสาคร บ้านเกิดของเขาเอง “พอแข่งได้รางวัลระดับประเทศมา ก็ถึงเวลาเราจะไปแข่งใน ทัวร์นาเมนต์วิทยุการบินที่จัดขึ้นเดือนถัดมา อันนี้ก็เจอประท้วงก่อน เขา รูจ้ ดุ อ่อนเรา ทีเ่ ราเป็นคนต่างด้าวทัง้ ทีมเลย เขาบอกว่าหลักฐานการสมัคร ไม่ผ่าน ทั้งๆ ที่ผมก็ใช้อันเดียวกับตอน ป. 4” เขาอธิบายเพิม่ เติมว่าตอนไปแข่งกีฬา สพฐ. สมัยประถม 4 ใช้บตั ร นักเรียนกับบัตร ทร. 38 ก เป็นหลักฐานไปสมัคร เพื่อยืนยันการมีตัวตน เด็กหนุ่มมีท่าทางหัวเสียเล็กน้อยเมื่อพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ไม่ค่อยน่า จดจ�ำเท่าไหร่นัก “แต่คือที่ไม่เข้าใจอีกอย่าง คือขนาดระดับประเทศยังยอมเรื่อง หลักฐานได้ แต่แข่งวิทยุการบินในระดับจังหวัด ไม่ยอม” เด็กหนุ่มเปรย ออกมาถึงเหตุผลที่เขาเองก็ไม่เข้าใจจนถึงทุกวันนี้ พร้อมบ่นเสียดายที่ พลาดการแข่งขันในครั้งนั้นที่มีรางวัลเป็นเงินเดิมพันหลายหมื่นบาทหาก ชนะ วันเวลาผ่านพ้นไป 1 ปี เวียนมาบรรจบฤดูการแข่งขันอีกครั้ง ปีนี้ นัดในวัย 13 ปี โตเกินรุ่นของกีฬาที่ตามกฎของโรงเรียนที่ส่งนักกีฬาเข้า แข่งขันในรุ่นไม่เกิน 12 เขาจึงส่งไม้ผลัดต่อให้รุ่นน้องได้ขึ้นมาแสดงฝีมือ ส่วนตัวเขาเปลี่ยนต�ำแหน่งจากหัวหน้าทีมวอลเลย์บอล มาเป็นพี่เลี้ยง นักกีฬาให้กับน้องๆ แทน ไม่ใช่แต่เพียงเวลาที่เวียนมาบรรจบ เหตุการณ์ น่าผิดหวังคล้ายเดิมเองก็กลับมาด้วยเช่นกัน 76 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


นัดเล่าด้วยน�้ำเสียงแผ่วเบาย้อนถึง การแข่งขันกีฬานักเรียนการ ศึกษาขั้นพื้นฐานในปีถัดมาหลังจากได้รองแชมป์ 2 สมัย ซึ่งวันนั้นแม้ว่า เขาจะไม่ได้เป็นหนึ่งในผู้เล่น แต่ได้มีโอกาสไปที่สนามแข่งกับครู เพื่อช่วย ฝึกซ้อมน้องก่อนลงแข่ง เหตุการณ์เกิดขึน้ ในการแข่งขันแมตช์แรก ระหว่าง ที่ทั้งทีมรอเวลาแข่งด้วยความตื่นเต้น เพียงอีกไม่กี่นาทีก่อนลงสนาม กรรมการเข้ามาที่ห้องพักก่อนจะ บอกกับทั้งทีมว่า ปีนี้ทางคณะกรรมการให้แข่งไม่ได้ เพราะมีปัญหาเรื่อง หลักฐาน ค�ำตัดสินของการแข่งขันครั้งนั้นจบลงคือพวกเขาเป็นฝ่ายแพ้ ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มแข่ง ครูที่เป็นคนพาไปแข่งขัน พยายามหาค�ำตอบจากกรรมการ ด้วย เหตุผลทีว่ า่ เมือ่ ปีทแี่ ล้วยังเข้าร่วมการแข่งขันได้ อีกทัง้ ระเบียบการทีใ่ ช้รบั สมัครเด็กก็ยงั เป็นระเบียบเดิม แต่เมือ่ ค�ำตอบจากกรรมการคือการยืนยัน ว่าต้องท�ำตามระเบียบทีก่ ำ� หนดขึน้ ชัดเจนว่าต้องเป็นเด็กไทยเท่านัน้ ถึงจะ มีสทิ ธิในการแข่งขัน ทางเดียวทีท่ ำ� ได้ คือเดินออกจากสนามแข่ง ทิง้ ความ ฝันไว้เบื้องหลัง “ผมเสียใจแทนน้อง เสียใจแทนทีม ผมคิดว่ามันคือการปิดกัน้ สิทธิ เด็ก คนไทยในทีมสองคนก็เลยตกไปเลยทัง้ ทีม แต่กไ็ ม่มใี ครว่าอะไร เข้าใจ กันดี ได้แต่บน่ ๆ กันแหละว่าเสียดาย” น�ำ้ เสียงทีเ่ ศร้าอย่างปิดไม่มดิ พลอย ท�ำให้ผู้ฟังอย่างฉันอดเสียดายตามไม่ได้ แม้วา่ จะไม่ได้คำ� ตอบทีแ่ น่ชดั แต่ทางโรงเรียนเองก็ไม่ได้นงิ่ เฉย กลับ พยายามเรียกร้องหาค�ำตอบทุกวิถีทาง ‘วันเด็กแห่งชาติ’ วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ปี 2553 วันที่ ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 77


เด็กทุกคนต่างรอคอย แต่ส�ำหรับนัดวันนี้มีความพิเศษยิ่งกว่า เขาเป็น ตัวแทนของเด็กนักเรียนวัดศิริมงคล ใช้เวทีท�ำเนียบรัฐบาลในการถามกับ นายกรัฐมนตรี อภิสทิ ธิ์ เวชชาชีวะ ถึงสาเหตุทพี่ วกเขาแข่งกีฬา สพฐ.ไม่ได้ “ไม่มีค�ำตอบ เขาบอกแค่นี้ครับ” คือค�ำตอบที่นัดได้รับรู้จากปาก ผอ. หลังจากทีเ่ ธอเข้าไปคุยกับนายกฯ เมือ่ ไม่ได้คำ� ตอบทีช่ ดั เจนตัวเขาเอง ก็ไม่สนใจจะหาค�ำตอบจากมันเช่นกัน ได้แต่ปล่อยวาง แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า เป็นเพราะพวกเขาเกิดมาไม่เหมือนคนอื่น ถ้าเปรียบค�ำตอบทีไ่ ด้รบั เป็นสี สีของมันก็คงเป็นสีเทา ไม่ตา่ งอะไร กับสีท้องฟ้าที่เรามองเห็นในค�่ำคืนนี้

เปิดโอกาส

ช่วงเวลาไม่น่าจดจำ�ผ่านพ้นไปพร้อมกับเวลาที่เปลี่ยนไป ตอนนี้ นัดเข้าศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย โรงเรียนมัธยมชื่อดังของ สมุทรสาคร ในระดับชั้น ม. 4 ด้วยวัย 18 ปี ไม่ใช่เรื่องที่น่าสงสัยอะไรหากเด็กคนหนึ่งจะเข้าเรียนในระดับ มัธยมศึกษา เพียงแต่ว่านัดมีความแตกต่างกันออกไป เขาเป็นเด็กไร้ สัญชาติ ข้อมูลทีไ่ ด้รบั จากนัดกับข่าวสารทีผ่ า่ นตามาค่อนข้างต่างกัน ทำ�ให้ เกิดวามสงสัยไม่น้อย ‘เด็กต่างด้าว เด็กไร้สัญชาติ ถูกกีดกันพ้นระบบการศึกษา ทั้งที่รัฐ เปิดโอกาสให้เข้าเรียนได้ทงั้ เด็กทีต่ ามมากับพ่อแม่ หรือเกิดในเมืองไทย แต่ โรงเรียนไม่อยากรับ อ้างปัญหาต่างๆ นานา’ ข้อความข้างต้นคือพาดหัวข่าวเมือ่ 1 เดือนก่อนทีฉ่ นั มีโอกาสได้อา่ น

78 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ข่าวมีเนื้อความระบุว่าตามโรงเรียนมัธยมจะไม่รับเด็กต่างด้าวและเด็กไร้ สัญชาติเข้าเรียน เพราะมีปัญหาความไม่พร้อมหลายๆ ภาคส่วนทั้งเรื่อง ของสถานที่ ครู ตลอดเรื่องหลักฐานในการสมัครเรียน “ในการรับเข้าเรียนเป็นการสอบเข้า 100 เปอร์เซ็น สำ�หรับการรับ เด็กไร้สัญชาติเข้าศึกษา ทางโรงเรียนใช้หลักฐานอย่างเดียวในการสมัคร สอบ คือใบรับรองการจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเดิม” คุณสมชาย สุวรรณกาญจน์ รองผู้อำ�นวยการด้านฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย อธิบายถึงข้อสงสัยในการรับเด็กไร้สัญชาติ เข้าศึกษาว่า การเปิดรับเด็กไร้สัญชาติเข้าเรียนครั้งแรกเมื่อปี 2552 ตาม พระราชบัญญัตกิ ารศึกษา 2548 เพือ่ ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน เด็ก ไร้สญ ั ชาติทสี่ อบติดและสามารถเข้ามาเรียนได้จะมีสทิ ธิเท่ากันทุกประการ กับเด็กไทย ตัง้ แต่การเรียนการสอน กีฬา กิจกรรมสันทนาการต่างๆ ตลอด จนเรื่องของทุนการศึกษา สำ�หรับสาเหตุที่เมื่อก่อนทางโรงเรียนและโรงเรียนอื่นๆ ไม่รับเด็ก กลุ่มนี้เข้าเรียนนั้น มีสาเหตุ 4 ประการ คือทัศนคติของผู้สอน ความไม่ พร้อมของสถานศึกษา ความไม่มั่นใจถึงระดับการสื่อสารภาษาไทยของ เด็กกลุม่ นี้ และเรือ่ งของหลักฐานแสดงตัวเพราะมีผลต่อเงินค่าหัวของเด็ก ที่ต้องได้รับจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยส่วนตัวคุณสมชายคิดว่าการรับเด็กกลุม่ นีเ้ รียนเป็นสิง่ ทีด่ เี พราะ เป็นสิทธิของเด็กที่ควรจะได้รับไม่ว่าจะเป็นคนชาติใดก็ตาม

ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 79


มุ่งสู่ฝัน

เวลาบ่ายโมงไม่ใช่เวลาเลิกเรียน แต่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ในวันนี้กลับคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันสอบวันสุดท้าย เด็กบาง คนจับกลุ่มคุยกับเพื่อน บ้างสะพายกระเป๋าเตรียมตัวกลับบ้าน ทำ�ให้ทั่ว บริเวณเต็มไปด้วยผู้คน วันนี้ฉันกับนัดเรานัดเจอกันที่โรงเรียนแต่เขาไม่มี โทรศัพท์มือถือ ทำ�ให้การพบปะกันครั้งนี้ค่อนข้างยาก ฉันเดินสวนฝูงชนเข้าไปในโรงเรียนจนถึงห้องธุรการ ถามหา ‘นัด’ จากผู้หญิงคนหนึ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นครู หญิงวัยกลางคนยิ้มให้อย่างใจดี ก่อนบอกว่าเธอเป็นครูของเขาเอง คุณครู ธนพรรณ สาทร ครูประจำ�ชั้น ม. 4 คนปัจจุบันของนัด เล่า ให้ฟงั ว่า แม้วา่ เธอจะไม่สนิทกับนัดมาก จากตารางสอนทีท่ ำ�ให้เจอลูกศิษย์ เพียงสามครั้งต่อสัปดาห์แต่บอกได้ว่านัดเป็นเด็กดี ไม่เกเร เป็นที่รักของ เพื่อนๆ ที่สำ�คัญค่อนข้างเจียมตัวเพราะเขารู้ว่าเขาไม่ใช่คนไทย สิ้นเสียง ครูสาว ก็มาถึงห้อง ม. 4/7 พอดี เจอนัดกำ�ลังเก็บของเข้ากระเป๋า เป็น โชคดีของฉันที่มาทันเวลา เรานั่งทอดสายตาอยู่ที่ม้าหินใต้ต้นไทรยักษ์ ข้างสนามฟุตบอล มองเด็กกลุ่มใหญ่ที่กำ�ลังเล่นกีฬากันอยู่อย่างสนุกสนาน คล้ายเป็นการ ปลดปล่อยความเครียดหลังจากเหน็ดเหนื่อยมา 1 ภาคเรียน ลมพัดโชย เบาๆ ทำ�ให้รู้สึกผ่อนคลาย เราปล่อยเวลาล่วงเลยไปพักใหญ่ บทสนทนา ถึงจุดเริ่มต้นในโรงเรียนแห่งจึงเริ่มขึ้น “ตอนสอบเข้าโรงเรียน ตอน ม. 1 อ่านหนังสือเยอะเลยครับกลัว ไม่ได้ ...กลัวเขาไม่รับด้วย” เขาบอกเสริมว่าเป็นโชคดีที่โรงเรียนนี้ใช้การ 80 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เข้าสอบเป็นหลัก ไม่เคร่งเรื่องหลักฐาน จึงทำ�ให้เขามีโอกาสเข้า มาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ แม้จะออกตัวว่าเป็นคนเรียนไม่เก่ง แต่จากการ เอาชนะคู่แข่งจำ�นวนหลายร้อยคน ก็พอบอกได้ว่าเขาเองก็มีฝีมือไม่แพ้ เด็กไทย เหตุผลหลักอีกอย่างที่ทำ�ให้นัดมีความแน่วแน่ในการเรียนต่อชั้น มัธยมศึกษามาจากแม่ของเขาเอง ตั้งแต่ช่วงจบชั้นประถมศึกษา แม่ของ ชายหนุ่มมักจะโทรมาหาบ่อยๆ เพื่อขอให้เขาไปอยู่ด้วย นัดบอกว่าแม่ไม่ เข้าใจว่าการเรียนมันสำ�คัญอย่างไร การออกมาช่วยทำ�งานหาเงินเป็นสิ่ง ที่แม่คิดว่าดีที่สุด โชคดีที่หลวงพี่ช่วยอธิบายให้แม่เข้าใจด้วยความคิดที่ว่า ‘หากมีความรู้ติดตัวจะเป็นสิ่งดี’ ดูเหมือนว่าแม่ของเขาจะเข้าใจมากขึ้น เพราะช่วงหลังเธอโทรมาหาเด็กชายน้อยลง นัดบอกว่าในตอนนั้นเขาคิดเพียงว่าต้องสอบเข้าให้ได้ เพราะถ้า สอบไม่ติดเขาต้องออกไปทำ�งานกับแม่และเดินเข้าสู่วังวนแรงงานไร้ฝีมือ และเหตุผลสำ�คัญเหลือสิ่งอื่นใด ‘เขากลัวว่าจะไม่มีโอกาสได้เล่นกีฬา’ ทีส่ ดุ แล้ว กีฬายังคงเป็นสิง่ สำ�คัญทีห่ ล่อเลีย้ งความสุขภายในจิตใจสำ�หรับ ชายหนุ่ม เส้นทางในการเป็นนักกีฬาที่ถูกตัดขาดไปเมื่ออดีต ถูกเติมเต็มอีก ครัง้ ด้วยโอกาสทีไ่ ด้รบั จากอาจารย์ใจดีทา่ นหนึง่ ทีเ่ ห็นแวว ดึงตัวเขาไปเป็น หนึ่งในทีมลูกหนัง เมื่อครั้งอยู่มัธยม 2 “อาจารย์เขาเจอผมเล่นอยูก่ บั เพือ่ นทีโ่ รงเรียนเขาก็เลยเรียกไป ผม ก็ออกตัวเลยว่าไม่มีเอกสาร อาจารย์เขาก็ไม่ได้ว่าอะไร เขาก็บอกว่าเล่น ได้“ ฉันเห็นประกายแห่งความสุขเกิดขึ้นในตาของนัด เอกสารที่เขาว่า ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 81


นัดกับหลวงพี่สายันต์ ผู้ปกครองที่เลี้ยงนัดมาตั้งแต่อายุ 6 ปี 82 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


หมายหมายถึงหลักฐานการแสดงตัวตนว่าเป็นคนไทยตามที่กฎของการ แข่งขันระบุเข้าสอบเป็นหลัก ไม่เคร่งเรื่องหลักฐาน จึงทำ�ให้เขามีโอกาส เข้ามาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ แม้จะออกตัวว่าเป็นคนเรียนไม่เก่ง แต่จาก การเอาชนะคู่แข่งจำ�นวนหลายร้อยคน ก็พอบอกได้ว่าเขาเองก็มีฝีมือไม่ แพ้เด็กไทย เหตุผลหลักอีกอย่างที่ทำ�ให้นัดมีความแน่วแน่ในการเรียนต่อชั้น มัธยมศึกษามาจากแม่ของเขาเอง ตั้งแต่ช่วงจบชั้นประถมศึกษา แม่ของ ชายหนุ่มมักจะโทรมาหาบ่อยๆ เพื่อขอให้เขาไปอยู่ด้วย นัดบอกว่าแม่ไม่ เข้าใจว่าการเรียนมันสำ�คัญอย่างไร การออกมาช่วยทำ�งานหาเงินเป็นสิ่ง ที่แม่คิดว่าดีที่สุด โชคดีที่หลวงพี่ช่วยอธิบายให้แม่เข้าใจด้วยความคิดที่ว่า ‘หากมีความรู้ติดตัวจะเป็นสิ่งดี’ ดูเหมือนว่าแม่ของเขาจะเข้าใจมากขึ้น เพราะช่วงหลังเธอโทรมาหาเด็กชายน้อยลง นัดบอกว่าในตอนนั้นเขาคิดเพียงว่าต้องสอบเข้าให้ได้ เพราะถ้า สอบไม่ติดเขาต้องออกไปทำ�งานกับแม่และเดินเข้าสู่วังวนแรงงานไร้ฝีมือ และเหตุผลสำ�คัญเหลือสิ่งอื่นใด ‘เขากลัวว่าจะไม่มีโอกาสได้เล่นกีฬา’ ทีส่ ดุ แล้ว กีฬายังคงเป็นสิง่ สำ�คัญทีห่ ล่อเลีย้ งความสุขภายในจิตใจสำ�หรับ ชายหนุ่ม เส้นทางในการเป็นนักกีฬาที่ถูกตัดขาดไปเมื่ออดีต ถูกเติมเต็มอีก ครัง้ ด้วยโอกาสทีไ่ ด้รบั จากอาจารย์ใจดีทา่ นหนึง่ ทีเ่ ห็นแวว ดึงตัวเขาไปเป็น หนึ่งในทีมลูกหนัง เมื่อครั้งอยู่มัธยม 2 “อาจารย์เขาเจอผมเล่นอยู่กับเพื่อนที่โรงเรียนเขาก็เลยเรียกไป ผมก็ออกตัวเลยว่าไม่มีเอกสาร อาจารย์เขาก็ไม่ได้ว่าอะไร เขาก็บอก ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 83


ว่าเล่นได้“ ฉันเห็นประกายแห่งความสุขเกิดขึ้นในตาของนัด เอกสาร ทีเ่ ขาว่าหมายถึงหลักฐานการแสดงตัวตนว่าเป็นคนไทยตามทีก่ ฎของการ แข่งขันระบุ นอกจากจะเป็นนักบอลโรงเรียนแล้วฝันของเขาดูไปไกลกว่าเดิม เมื่อนัดมีโอกาสได้เข้าร่วมทีม ‘สำ�เภาบุรี’ สโมสรชื่อดังประจำ�จังหวัด สมุทรสาคร แมวมองสายตาดีที่เห็นนัด ในการแข่งขันกีฬาภายในจังหวัด ‘สาครเกมส์’ กีฬาครั้งแรกในฐานะนักกีฬาโรงเรียน ตำ�แหน่งกองหน้า เพราะกลัวว่าประวัติศาสตร์จะซ�้ำรอย นัดบอกว่าหลังจากที่ทาง สโมสรส�ำเภาบุรเี รียกเข้าไปพบ เขารีบบอกกับทางโค้ชทันทีวา่ มีปญ ั หาเรือ่ ง ของหลักฐานแสดงตน ทางโค้ชเองก็ไม่ติดใจอะไร โดยให้เหตุผลว่าดูกันที่ ที่ฝีมือมากกว่า ท่าทางและสีหน้าของเด็กหนุ่มที่ดูภูมิอกภูมิใจ ท�ำให้ฉัน อดถามนัดไม่ได้ว่าเขารู้สึกยังไงตอนที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม “ดีใจ มันคือความภูมิใจของชีวิตผม” คำ�ตอบสั้นๆ แต่ได้ใจความ ที่ถูกถ่ายทอดมาด้วยน้ำ�เสียงหนักแน่น การได้เข้าไปอยู่ในสโมสรเป็นโอกาสอันดีเพื่อต่อยอดจากบอล นักเรียนสูบ่ อลอาชีพ แต่แน่นอนคำ�ว่า ‘สัญชาติ’ ยังคงเป็นตราติดตัว สร้าง ฝันร้ายที่หลอกหลอนเขาไม่เลิก

ฝันร้ายมาเยือนอีกครั้ง

เมือ่ เข้าเป็นหนึง่ ในทีมของโรงเรียน นัดมีโอกาสได้ไปแข่งในหลายๆ รายการ ร่วมถึงกีฬาสำ�คัญอย่างสาครเกมส์ กีฬานักเรียนประจำ�จังหวัด สมุทรสาครด้วย 84 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


แม้วา่ ครัง้ นีจ้ ะได้เพียงทีอ่ นั ดับ 3 แต่ในปีตอ่ มาเขาและเพือ่ นๆ ก็ไม่ ทำ�ให้โรงเรียนผิดหวัง คว้าอันดับ 1 ส่งผลให้ได้ไปเป็นตัวแทนของจังหวัด ไปแข่งในรายการกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ สนามแข่งระดับภาคทีจ่ ดั ขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี แต่เพราะความไร้สัญชาติทำ�ให้เด็กหนุ่มมีปัญหา เรื่องเดินทางออกนอกจังหวัด ขวากหนามที่ซ่อนตัวอยู่ตามเส้นทางนักกีฬาของเขา เริ่มปรากฏ อีกครั้งในอีก 6 เดือนต่อมา ในการแข่งขัน รายการ ‘ไพรมินิสเตอร์’ ที่ เขาร่วมแข่งในนามสโมสรสำ�เภาบุรี ‘ไพรมินิสเตอร์’ คือการรวมทีมของเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี จะ เรียนหนังสือหรือไม่เรียนก็ได้ เอามาแข่งกันหาทีมทีด่ ที สี่ ดุ เพือ่ เป็นตัวแทน ของจังหวัดเอาไปแข่งกับจังหวัดอื่น โดยการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ รุ่นไม่เกิน 16 ปี กับรุ่นไม่เกิน 18 ปี การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบแรกคือแข่งกันในจังหวัด ไม่มีเงินรางวัล กับรอบที่สองคือไปแข่งนอกจังหวัดเป็นทัวร์นาเมนต์มีเงิน รางวัลเข้ามาเกี่ยว นัดบอกว่าในรอบแรกเขาเข้าร่วมกับทีมอายุ 16 ปี ใน การแข่งขันนัดแรกเขาโดนประท้วงจากฝ่ายตรงข้ามด้วยเหตุผลเดิมๆ ‘ไม่ใช่คนไทย ทำ�ไมเอามาเล่น’ แต่เป็นโชคดีที่โค้ชเขาไปช่วยพูดจึงทำ�ให้ เข้าร่วมการแข่งขันได้ต่อ “ตอนนั้นพอเขาประกาศชื่อ ผมคิดในใจ เอาอีกแล้ว ดีที่โค้ชช่วย ไว้ และอันนั้นผมได้ที่ 3 ด้วยอีกฝ่ายเขาก็เลยโอเค” นัดบอกว่าแม้ว่าจะ ตกรอบแต่ด้วยความที่เขาอายุเยอะกว่ารุ่นที่ลง ผสมกับฝีมือ ที่โค้ชบอก ว่า ‘เสียดาย’ เลยดึงไปให้เล่นในทีมรุ่นอายุ 18 ปี ที่ชนะในระดับจังหวัด ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 85


และมีโอกาสไปแข่งในรอบทัวร์นาเมนต์ โอกาสครัง้ ใหม่ทไี่ ด้มาเหมือนเปลวเพลิงทีจ่ ดุ ติด ก่อนทีแ่ สงของมัน จะค่อยๆ หรี่ลงและดับลงตามคำ�อธิบายที่ตามมาเช่นเดียวกัน นัดเล่าให้ฉันฟังว่าการจะออกไปเล่นนอกจังหวัดในฐานะนักกีฬา อาชีพของทีมสำ�เภาบุรีนั้น เขาต้องทำ� ‘บัตรนักกีฬา’ เพื่อใช้แสดงตัวใน การแข่งขัน แต่ตวั เขาเองติดเรือ่ งหลักฐานแสดงตัวตน ทำ�ให้ทางเจ้าหน้าที่ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ไม่สามารถออกบัตรให้ได้ เป็นผลให้ เขาพลาดโอกาสนั้นไป แม้ว่าโค้ชจะยังยิบยื่นโอกาสให้เขาได้เล่นอยู่ในทีมต่อ โดยจำ�กัด เฉพาะในรายการอุ่นเครื่องกระชับมิตร ที่ไม่มีเงินรางวัลเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ตาม แต่ในความจริงแล้วทางสโมสรไม่คอ่ ยมีรายการอุน่ เครือ่ ง ส่วนใหญ่ จะเล่นรายการใหญ่กนั มากกว่า บวกกับระยะทางจากวัดไปถึงสนามซ้อม ที่ค่อนข้างไกล เขาจึงตัดสินใจออกจากทีม เมื่อเขาไม่ได้อยู่ในทีมสโมสรอีกต่อไป นักกีฬาโรงเรียนจึงเป็นทุก สิ่งของเขา ปีหน้าเด็กหนุ่มจะอายุครบ 19 ปี ซึ่งเกินรุ่นอายุที่ทางโรงเรียน กำ�หนดทำ�ให้เขาต้องออกจากทีม การสมัครเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมมัธยม ปลาย เพื่อมีโอกาสในแข่งขันสาครเกมส์ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมที่ ผ่านมา จึงเป็นโอกาสสุดท้ายในฐานะนักกีฬาโรงเรียน แม้จะผ่านความผิดหวัง ความเจ็บปวด มาหลายครั้ง แต่ชายหนุ่ม เองก็ยังมีความหวังเสมอ เขาตั้งความหวังกับการการแข่งขันครั้งสุดท้าย ไว้มากที่สุด และเขาก็เจ็บปวดมากที่สุดเช่นเดียวกัน “คือผมตั้งใจซ้อมมาก ซ้อมมาเป็นเดือน พอถึงเวลาไปฟังผลกับ 86 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ซ้อมมาเป็นเดือน พอถึงเวลาไป “ ฟั งผลกับอาจารย์ เขาบอกว่าปี นลี้ งไม่

ได้ นักกีฬาโรงเรียนก็บอกไม่รูใ้ ห้เป็นได้ ไหม ตอนนัน้ มันวู บเลยพี่ อารมณ์แบบ โลกพัง เข่าอ่อน

อาจารย์ เขาบอกว่าปีนี้ลงไม่ได้นะ นักกีฬาโรงเรียนเขาก็บอกไม่รู้ให้เป็น ได้ไหม ตอนนั้นมันวูบเลยพี่ อารมณ์แบบโลกพัง เข่าอ่อนเลย” นัยน์ตา แสดงออกถึงความเจ็บปวดเป็นเครือ่ งยืนยันได้ถงึ ความเสียใจครัง้ นัน้ เด็ก หนุ่มบอกว่านั่นเป็นครั้งแรกที่เขาร้องไห้ให้กับการเป็นนักกีฬา “เขาบอกว่าหลักฐานไม่ครบขาดบัตรประชาชน อย่างปีที่แล้วมัน อนุโลมเรื่องหลักฐานมันเลยให้เล่นได้ กฎระเบียบไม่ได้เปลี่ยนแต่ปีนี้ไม่ อนุโลมให้แล้ว” นัดหน้าตาหม่นลงเล็กน้อย “ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำ�ไมครูเขาไม่บอกก่อนว่าเล่นไม่ได้”

เสียดาย

ครูขวัญชัย วิชกูล ครูวชิ าพลศึกษาบอกว่าเขาพบนัดครัง้ แรกเมือ่ 2 ปีทแี่ ล้ว ขณะนัน้ นัดเข้ามาเป็นนักกีฬาของโรงเรียน จากการผ่านตาครูอกี คนหนึ่งที่รับเข้ามา ซึ่งตอนนี้ได้ลาออกไปแล้ว ครูอธิบายว่าเวลามีการแข่งขัน เขาจะเป็นคนเช็คหลักฐานของเด็ก ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 87


ทุกคนในการสมัครเข้าแข่งขัน โดยนัดจะนำ�ใบ ทร. 38 ก ซึ่งเป็นเอกสาร ติดตัวเพียงอย่างเดียวมาให้ทกุ ครัง้ นอกจากนีย้ งั เสริมว่าเรือ่ งของหลักฐาน ทีใ่ ช้สมัครเอาแน่เอานอนไม่ได้ ถ้าหากเล่นในระดับทีเ่ กินกว่าจังหวัด การ ตรวจหลักฐานนักกีฬาจะค่อนข้างจริงจัง ต่างจากการเล่นที่อยู่ในจังหวัด จะไม่เข้มงวดในเรือ่ งของหลักฐานเท่าไหร่เพราะรูว้ า่ เป็นเด็กทีอ่ ยูใ่ นสังกัด ของโรงเรียน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นเสมอไป “จริงๆ แล้วตอน ม. 3 ทีเ่ ขาไปชนะในรายการสาครเกมส์ เขาก็เริม่ โดนประท้วงแล้วแต่เขาไม่รู้ เพราะพวกอาจารย์กบั กรรมการมาคุยกันเอง” ครูขวัญชัยเล่าให้ฟงั ถึงเหตุการณ์ในอดีต ก่อนอธิบายถึงขัน้ ตอนการตรวจ เช็คในสนามให้ฉันฟังว่า ก่อนการลงแข่งในสนามทุกครั้ง กรรมการจะเอา บัตรประชาชนมาเช็คดูอกี รอบหนึง่ เพือ่ ความแน่ใจ ใครมีให้ลง ใครไม่มไี ม่ ให้ลง แต่ดว้ ยความทีน่ ดั เป็นลูกทีมของสำ�เภาบุรี ทางโค้ชเขามาคุยกับทาง กรรมการให้ ทำ�ให้เมื่อครั้งนั้นนัดมีโอกาสได้เล่น ครูถอนหายใจก่อนเล่าให้ฟงั ว่า ถึงแม้วา่ ในรายการนีท้ มี ของนัดจะ ชนะและมีโอกาสได้ไปเล่นเป็นตัวแทนของจังหวัด แต่เด็กหนุ่มยังติดเรื่อง สิทธิของการเดินทาง นัดต้องไปขออนุญาตในการออกนอกพื้นที่ ซึ่งตรง นี้ทางโรงเรียนไม่ได้พาไปทำ�และมีปัญหาเรื่องภายในกันเอง ที่ครูบอกว่า เป็น ‘ความลับ’ ทำ�ให้นัดถูกตัดสิทธิและต้องนำ�เด็กไทยเข้ามาสวมแทนที่ ถึงแม้ว่านัดจะตัวเล็ก แต่ทักษะและความเร็วของฝีเท้าไม่เป็น รองใคร เวลาอยูใ่ นสนาม พอลูกส่งถึงเท้านัดทีเ่ ป็นกองหน้า จะจบคะแนน ให้ทีมได้แทบทุกครั้ง ครูที่คอยขับเคี่ยวลูกศิษย์ของเขามาตลอด 2 ปี ก็อดเสียดายใน 88 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ตัวเด็กคนนี้ไม่ได้ ก่อนบอกเสริมว่านัดเป็นเด็กที่มีความตั้งใจสูง เพราะ กีฬาเป็นสิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจทดแทนในเรื่องของการเรียนที่เขาเก่ง สู้เด็กไทยไม่ได้ จากค�ำบอกเล่าของครูพอตัดสินได้ว่านัดเองเป็นนักกีฬาฝีมือดี คนหนึ่ง เมื่อถึงชั้นมัธยมปลายนัดถูกตัดออกจากการเป็นนักกีฬาโรงเรียน ครูทคี่ อยขับเคีย่ วทีมฟุตบอลมาตลอด 2 ปีอย่างเขาก็อดเสียดายไม่ได้ ไม่ตา่ ง อะไรกับครูสรุ พงษ์ พลายอยูว่ งษ์ ทีเ่ ข้ามาคุมทีมฟุตบอลระดับมัธยมปลาย ครูสุรพงษ์ ออกตัวก่อนว่าเขาพอรู้จักนัดอยู่บ้างจากการแสดง ฝีเท้าในช่วงระดับมัธยมต้น แต่ ได้ทำ� ความรูจ้ กั อย่างจริงจังว่าเขาไม่ใช่เด็ก ไทยเมื่อนัดเดินมาหาเขาขอเข้าสมัครเป็นหนึ่งในทีมฟุตบอลมัธยมปลาย “เขาถูกตัดสิทธิในเรื่องคุณสมบัติ ตอนแรกเราก็ไปประสานกับ ฝ่ายจัด ว่าเรามีนักกีฬาคุณสมบัติแบบนี้ใช้ได้ไหม เขาบอกว่าปีนี้ไม่อนุมัติ ผมก็ไปที่ กกท. ไปบอกเขาว่าท�ำไมปีที่แล้วให้เด็กลงเล่นได้ แต่ปีนี้ไม่ได้ เขาก็บอกมาว่าปีที่แล้วกฎมันไม่เข้ม” ครูสุรพงษ์เล่าถึงเหตุการณ์ที่ท�ำให้ นัดต้องเสียน�้ำตา เมือ่ รูผ้ ลของการสมัครทีต่ ดั สิทธิของเด็กหนุม่ อย่างแน่นอน ครูบอก ว่าสีหน้าและท่าทางตอนทีน่ ดั รูเ้ รือ่ งบ่งบอกได้วา่ เขาเสียใจมาก แต่ทางครูเอง ก็อธิบายให้เขาฟังว่ามันเป็นเรือ่ งของระเบียบทีท่ างฝ่ายแข่งขันก�ำหนดมา ครูบอกเสริมว่าการที่จะช่วยด�ำเนินเรื่องให้นัดเข้าแข่งขันได้เป็น เรือ่ งยาก เพราะเป็นเรือ่ งของหลักฐานตัวบุคคลเกีย่ วข้องกับกฎหมาย และ การทีจ่ ะดึงดันเข้าไปเล่นแบบเดิมนัน้ ไม่สามารถท�ำได้ เพราะมีกฎก�ำหนด ชัดเจน ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 89


หากมีการตรวจพบว่ามีการฝ่าฝืนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็กจะมี ความผิดถูกตัดสิทธิไปด้วย “น่าเสียดาย ถ้าเขามีโอกาสเขาคงไปอีกไกล ข้อดีของเขาคือเขามี ระเบียบ ขยันกว่าเด็กไทยในทีมด้วยกันเองเป็นล้านเท่า กล้าพูดได้ ผมเอง ก็เสียใจที่ช่วยลูกศิษย์ผมไม่ได้” ครูพูดด้วยน�้ำเสียงอ่อนแรงที่เต็มไปด้วย ความเสียดาย ก่อนขอตัวลุกออกไปสอน แม้วา่ เส้นทางนักกีฬาของนัดในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายจะ ต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือนัดได้ทิ้งความ เสียดายให้กับครูของเขาทั้งคู่ ความเสียดายที่ต้องเสียเด็กฝีมือดี ความ เสียดายทีต่ อ้ งเสียเด็กมีวนิ ยั ไป และทีส่ ดุ ความเสียใจทีค่ นเป็นครูอย่างเขา ส่งลูกศิษย์ไม่ไปถึงฝั่งฝัน

เข้มงวดกว่าเดิม “จริงๆ แล้วมีกฎการรับนักกีฬาก�ำหนดชัดเจนว่าเด็กต้องมี

สัญชาติไทยถึงจะมีสทิ ธิเข้าแข่งขัน ซึง่ กฎตรงนีบ้ งั คับใช้ตงั้ แต่ปี 2535 แต่ ที่ปีที่แล้วเด็กยังลงแข่งได้แต่ปีนี้กลับลงไม่ได้แล้ว อาจเกิดจากการไม่ได้มี การเช็คข้อมูลให้ละเอียดก่อน เพราะปีหนึง่ ๆมีนกั เรียนมาสมัครเป็นพันคน เจ้าหน้าทีต่ รวจหลักฐานมีแค่สองสามคน ท�ำให้เกิดความผิดพลาดไปบ้าง” คุณสุรเชษฐ์ ช�ำนาญนุกูล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา อธิบายถึงสาเหตุทที่ ำ� ให้ปนี นี้ ดั ไม่สามรถเข้าแข่งขันได้เหมือนเมือ่ ปีทแี่ ล้ว นอกจากนี้ยังบอกเสริมว่า ปีนี้มีการเข้มงวดมากขึ้นโดยได้ส่ง ระเบียบการในการส่งเด็กเข้าแข่งขันไปให้ทุกโรงเรียน ซึ่งในระเบียบการ

90 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันอาทิตย์ นัดปั้นโอ่งอยู่บริเวณข้างวัด อาชีพเสริมที่เด็ก หนุ่มใช้หาเงินเล็กๆ น้อยมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว

ก�ำหนดบทลงโทษชัดเจนว่าหากมีการส่งเด็กทีไ่ ม่มสี ญ ั ชาติไทยเข้าร่วมการ แข่งขันจะส่งผลให้ทั้งเด็กและโรงเรียนถูกตัดสิทธิ์ทางการแข่งขันทันที ตามระเบียบจังหวัดสมุทรสาครว่าด้วยการแข่งขันกีฬา – กรีฑา นักเรียนจังหวัดสมุทรสาคร ประจ�ำปี 2556 ระบุคณ ุ สมบัตแิ ละข้อก�ำหนด ของผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันไว้ว่า ในการสมัครเข้าแข่งขัน ส�ำหรับ หลักฐานประกอบการสมัครทุกรุน่ อายุนกั กีฬา ต้องแนบส�ำเนาประชาชน เท่านัน้ คุณสุรเชษฐ์ยงั อธิบายให้หายสงสัยถึง ‘ความเข้มงวด’ ทีต่ อ้ งมีตงั้ แต่ แรกว่า เพราะถ้าหากทางหน่วยงานปล่อยให้เด็กผ่านเข้าไปเล่นระดับสูง ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 91


เกี่ยวข้อง ทางฝ่ายคู่ตรงข้ามอาจจะประท้วงได้ว่าโกง ไม่เอาคนไทยมา เล่น จึงเป็นเหตุผลทั้งหมดที่จำ�เป็นต้องดูตั้งแต่เรื่องหลักฐานตั้งแต่ต้นไม่ สามารถยืดหยุ่นได้ “จริงๆ ก็สงสารเด็กเขานะ เป็นเด็กมีความเป็นเลิศแต่ไม่ สามารถไปต่อได้ ดันมาติดที่หลักฐาน แต่เราเองก็ช่วยอะไรไม่ได้เพราะ เป็นเรื่องของกฎระเบียบ” เขาพูดออกมาด้วยความเสียดายที่ต้องเสีย นักกีฬาฝีมือดีคนหนึ่งไป

ไม่กล้ามีความฝัน

ศาลาท่าน�้ำวัดวันนี้ร้อนอบอ้าวผิดปกติ สาเหตุน่าจะมาจากเมฆ ที่ก�ำลังตั้งเค้าครึ้มฟ้าครึ้มฝนมาแต่ไกล ดีว่าได้น�้ำอัดลมเย็นๆ ที่นัดไปซื้อ หามาให้กับเสียงเพลงพม่าจังหวะสนุกที่ทางวัดเปิด พอดับร้อนคลาย หงุดหงิดไปได้บ้าง วันนี้ฉันกับพ่อตั้งใจน�ำของมาถวายสังฆทาน โชคดีที่ เจอนัด จึงได้โอกาสถามในสิ่งที่ค้างคาใจกับเจ้าตัวเสียเลย ตอนนี้นัดได้ออกจากการเป็นนักกีฬาโรงเรียนและนักกีฬาของ สโมสรแล้ว การแสดงฝีเท้าในโรงงานแถวบ้าน เป็นเพียงความสุขเดียวที่ เขาสามารถแสดงออกได้ เนื่องจากเขาไม่ต้องใช้หลักฐานอะไรในการเล่น เพราะมันเป็นแค่บอลภายในเท่านั้น ไม่วา่ จะเป็นเด็กตัวเล็กหรือผูใ้ หญ่ตวั โต ทุกคนต่างก็มคี วามฝันด้วยกันทัง้ นัน้ ส�ำหรับหนุม่ ใหญ่ทอ่ี ยูใ่ นช่วงหัวเลีย้ วหัวต่ออย่างนัดก็เช่นเดียวกัน เขา มุ่งมั่นว่าจะเอาดีทั้งทางด้านกีฬาและการเรียนควบคู่กันไป เด็ ก หนุ ่ ม ตอบค� ำ ถามเรื่ อ งอนาคตการเรี ย นที่ ว าดฝั น ไว้ ด ้ ว ย 92 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ความไม่แน่ใจ บอกแต่เพียงว่าอยากเรียนไปเรื่อยๆ เท่าที่โอกาสของ กฎหมายจะเปิดให้ ซึ่งเขาเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะท�ำได้ไหม ฉันจึงถาม ต่อถึงเรื่องกีฬา “เคยคิดอยากไปแข่งทีเ่ มืองนอกนะ แต่ถา้ เป็นแบบนีอ้ นาคตก็ยงั คิด ยาก สิทธิทจี่ ะฝันมันน้อย” นัดถอนหายใจให้กบั อนาคตทางกีฬาทีม่ องไปก็ จะมีแต่รบิ หรีล่ งทุกวัน ก่อนจะทิง้ ท้ายด้วยประโยคทีท่ ำ� ให้อดรูส้ กึ แย่ไม่ได้ “พี่รู้ไหมบางทีผมก็อิจฉาคนอื่นเขานะ ไม่ต้องกังวลหลักฐานไม่ ครบอะไร เป้าหมายมีก็ตั้งได้เลย ไม่ต้องมาคิดว่าติดขัดยังไงไหม คนอื่น เขาคิดแค่ซ้อม แต่เราต้องคิดเพิ่มไปถึงว่าเราจะเล่นได้ไหม” มีคนเคยบอกฉันว่าคนเราทุกคนเกิดมาพร้อมความฝันและความ หวัง แต่ในความหวังจะมีเส้นบางๆ ระหว่างความฝันและความจริงกั้นอยู่ นั่นคือ เส้นของการตัดสินใจลงมือท�ำกับไม่ลงมือท�ำ หลายคนไปไม่ถึงฝัน เพราะไม่ลงมือท�ำ ส�ำหรับเด็กหนุ่มที่ยืนอยู่หน้าฉันคนนี้ต่างกันออกไป เขาต่อสู้เพื่อ ให้ฝันเป็นจริง แต่ค�ำตีตราจากตราสารกฎหมายที่ติดตัวเขามาตั้งแต่เกิด กลับเป็นขวากหนามท�ำลายฝัน เกินกว่าคนๆ หนึ่งจะสู้ไหว ก่อนกลับฉันแวะลาหลวงพีส่ ายันต์ ท่านบอกข่าวดีทแี่ ม้แต่เจ้าตัวเอง อาจจะยังไม่รู้ ตอนนีท้ า่ นก�ำลังพยายามท�ำเรือ่ งขอสัญชาติไทยให้เด็กหนุม่ อยู่ คล้ายมีแสงสว่างแห่งความหวังทอประกายเต็มทางเดินแห่งความฝัน ก็ได้แต่หวังว่าหลวงพีจ่ ะเป็นคนช่วยพานัดเดินไปให้ถงึ ปลายทางทีร่ ออยู่

ฝั นไกลที่ไปไม่ถึง 93


การเดินทางออกนอกพื้นที่

คนไร้สญ ั ชาติมขี อ้ จ�ำกัดในการเดินทางออกนอก ‘เขตพืน้ ทีค่ วบคุม’ ซึง่ หมายถึงเขตอ�ำเภอ หรือจังหวัดที่อยู่อาศัย หรือที่ท�ำงาน หรือที่เรียนหนังสือ คือไม่สามารถมีอิสระในการเดินทางไปไหนมาไหน ดังเช่นผู้มีสัญชาติไทย หรือ แรงงานต่างชาติทเี่ ข้าเมืองถูกกฎหมาย หากคนไร้สญ ั ชาติตอ้ งการเดินทางออก นอกพื้นที่ ด้วยเหตุผลความจ�ำเป็นต่างๆ ได้แก่ เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย มี หนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐ เพือ่ การรักษาพยาบาล ต้องยืน่ ขออนุญาต ต่อผูว้ า่ ราชการจังหวัด ซึง่ ก็ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะรูว้ า่ ได้รบั อนุญาตหรือไม่

การลงโทษผู้ฝ่าฝืน

บุคคลไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการจัดท�ำทะเบียนประวัติและบัตร ประจ�ำตัว หากเดินทางออกนอกเขตที่พักอาศัยหรือเขตพื้นที่ออกบัตรโดยไม่ ได้รับอนุญาตหรือไม่เดินทางกลับภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต หรือไม่ไป รายงานตัวต่อนายอ�ำเภอเมื่อเดินทางกลับ ให้ถือว่าเป็นผู้หลบหนีออกนอก เขต และต้องถูกลงโทษดังนี้ 1. ครั้งแรก ตักเตือนท�ำทัณฑ์บนไว้กับนายอ�ำเภอ/ปลัดอ�ำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจ�ำกิ่งอ�ำเภอ 2. ครั้งที่ 2 เปรียบเทียบปรับฐานขัดค�ำสั่งเจ้าพนักงานปรับ 500 บาท 3. ครั้งที่ 3 เปรียบเทียบปรับฐานขัดค�ำสั่งเจ้าพนักงานปรับ 500 บาท และรายงานตัวต่อนายอ�ำเภอทุกเดือน เป็นเวลา 3 เดือน พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2552




05 หน้าที่ของเด็กดี

แม้ว่าจะมามหาชัยบ่อยครั้ง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสเข้า มาที่ ‘ชุมชนตลาดกุ้ง’ กลิ่นคาวรุนแรงของอาหารทะเล กลิ่นเฉพาะตัวที่ บ่งบอกความเป็นตลาดผลิตกุ้งขนาดใหญ่ของจังหวัดแล่นเข้ามาทักทาย เล่นเอาฉันกับพ่อแสบจมูกตั้งแต่ก้าวแรกที่ลงมาจากรถโดยสาร ช่วงเวลา 5 โมงเย็นเช่นนีต้ ลอดสองข้างทางจึงพลุกพล่านไปด้วย ผูค้ นทัง้ ทีก่ ำ� ลังเลิกงานและก�ำลังจะเข้างานในกะเย็น มองเข้าไปในแพปลา ใกล้ๆ ที่เรายืนอยู่ เห็นเด็กอายุไม่น่าเกิน 10 ปีนั่งรวมกลุ่มก�ำลังคัดแยก กุง้ กันอย่างสนุกมือ หรือบางคนก็ชว่ ยพวกผูใ้ หญ่ลา้ งพืน้ เก็บตะกร้า เตรียม ตัวกลับบ้าน ใกล้เคียงกันนัน้ เป็นตลาดนัด เต็มไปด้วยเหล่าบรรดาแม่บา้ น นุ่งผ้าซิ่น หน้าขาวนวลไปด้วยแป้งทานาคา จูงลูกจูงหลานออกมาจับจ่าย หน้าที่ของเด็กดี 97


ซื้อของสดเพื่อไปท�ำอาหารเย็น นอกจากจะเป็นทีท่ ำ� มาหากินแล้วยังเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของคนต่างด้าว ร่วมร้อยชีวิตอีกด้วย จากการคุยกับพ่อค้าหนุ่มชาวพม่าที่ขายผักอยู่ใน ตลาด ทีบ่ อกกับเราว่าถ้าจะให้นบั คนไทยว่ามีอยูเ่ ท่าไหร่ยงั ง่ายกว่านับคน พม่าเสียอีก เพราะทีน่ มี่ คี นพม่ามากเหลือเกิน คงเป็นอย่างทีเ่ ขาว่า ถ้าฉัน ไม่สะดุดตากับป้ายทะเบียนรถยนต์ที่เป็นภาษาไทย คงท�ำเอาฉันลืมๆ ไป ว่าเรายังอยู่เมืองไทย พื้นที่ของตลาดกุ้งถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือบริเวณแกะกุ้งที่ขึ้น อยู่กับแพปลาต่างๆ อาคารอยู่อาศัยที่ถัดเข้ามาภายในตลาดซึ่งมีลักษณะ เป็นตึกแถวสีช่ นั้ ทีเ่ บียดเสียดกันอย่างแออัด และสุดท้ายคือบริเวณร้านค้า ที่เหมือนกับชุมชนทั่วไป ต่างกันตรงที่ป้ายต่างๆ เป็นภาษาพม่าเท่านั้น เอง แต่ที่ท�ำเราอดตื่นเต้นไม่ได้คือเพิงขายหมากที่หาได้น้อยลงในสังคม เมืองของประเทศไทย หนุ่มๆ ที่เดินเข้ามาซื้อหมากกันอย่างไม่ขาดสาย เป็นตัวยืนยันได้ดีถึงความนิยม ถัดจากร้านขายหมากไม่ไกลนัก เสียงเชียร์ดงั ลัน่ กับกลุม่ คนทีก่ ำ� ลัง มุงดูอะไรบางอย่าง ดึงดูดความสนใจของผู้มาเยือนอย่างเราได้ดี กลุ่ม วัยรุ่นชาวพม่าที่เล่นตะกร้อก�ำลังขับเคี่ยวกันอย่างสนุกสนาน ไม่รู้ว่าเป็น เพราะแรงเชียร์หรือเกมส์ที่ก�ำลังเข้มข้นขึ้นที่สร้างอารมณ์ร่วมท�ำให้ฉัน ตื่นเต้นไปจนลืมสิ่งรอบตัว กว่าจะรู้ตัวอีกครั้งก็ตอนถูกดึงกลับมาโลก ปัจจุบันด้วยแรงสะกิดและเสียงของผู้ชายที่ดังขึ้นจากด้านหลัง “ขอโทษที่ ใ ห้ ร อนานครั บ พอดี วั น นี้ ง านยุ ่ ง นิ ด หน่ อ ย” พี่ วิ น ชายวัยกลางคนรูปร่างสมส่วน ล่ามชาวพม่าที่เราเคยเจอกันครั้งหนึ่งที่ 98 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


หล่าบรรดาแม่บ้านทำ�งานบ้านอยู่ในห้องพักขนาดเล็กที่เรียงตัวกันอย่างแออัด (บน) บรรยากาศยามเย็นในตลาดกุ้ง คึกคักไปด้วยแรงงานที่กำ�ลังทำ�งานอย่างขมีขมันอยู่ ในแพปลา (ล่าง) หน้าที่ของเด็กดี 99


โรงพยาบาลสมุทรสาคร เดินเข้ามาอย่างรีบเร่ง หลังจากที่นัดกันทาง โทรศัพท์ว่าวันนี้จะพาไปเจอคนๆ หนึ่งในตลาดกุ้งแห่งนี้ พีว่ นิ ขอโทษขอโพยเราเป็นการใหญ่หลังจากทีผ่ ดิ นัดไปกว่าชัว่ โมง เขาบอกกับเราว่าเพราะว่าวันนี้เป็นวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันเดียวที่ทาง โรงพยาบาลเปิดให้คนต่างด้าวเข้ามาฝากครรภ์ได้ งานของเขาจึงเยอะเป็น พิเศษ เขาพาเราเดินขึ้นไปบริเวณชั้นสองของอาคารสีฟ้าซีดที่ถัดเข้ามา จากแพปลาไม่มากนัก ตามหน้าห้องพักตลอดทางเดินยาว มีตะกร้าใบใหญ่ วางอยู่ ในนั้นมีถุงมือยางและรองเท้ายาง อุปกรณ์ส�ำคัญส�ำหรับประกอบ อาชีพ ห้องพักมีขนาดค่อนข้างแคบ อากาศถ่ายเทน้อย และมีกลิ่นเหม็น อับชื้นของอาหารทะเลแฝงด้วยกลิ่นควันแปลกๆ ลอดผ่านประตูห้องที่ แง้มไว้เล็กน้อย ชวนให้คนไม่คุ้นถิ่นสองคนต้องหันไปมอง คนที่ผ่านโลก มามากกว่าอย่างพ่อ กระซิบบอกเบาๆ ว่ามันคือ ‘กัญชา’ พี่วินบอกว่าเห็นห้องเล็กๆ แบบนี้ ส่วนใหญ่แรงงานจะอยู่รวมกัน ประมาณ 4 คนขึน้ ไป เพราะยิง่ อยูก่ นั เยอะ ยิง่ หารค่าห้องน้อยลง เขาบอก ว่าเคยเห็นมากที่สุดคือ 10 คน ผลัดกันนอนคนละกะ ห้องเช่าตกห้องละ 3,000 บาท ซึง่ เมือ่ เทียบกับรายได้ในแต่ละวันทีพ่ วกเขาได้รบั ถือว่าอยูไ่ ด้ ในราคาสบายๆ เดินจนเกือบสุดทางเดิน เราก็มาหยุดอยู่หน้าห้องหนึ่ง พี่วินเคาะ ประตู รอไม่นานนักก็ได้ยินเสียงคลายล็อคจากด้านใน ประตูไม้เปิดออก เด็กหญิงรูปร่างสูง ผิวขาว ตากลมโต จัดได้ว่าเป็นคนน่ารักคนหนึ่ง เสื้อ แขนสั้นสีบานเย็น กับผ้าถุงสีม่วงลายดอกไม้ที่เธอใส่ ยิ่งช่วยขับผิวขาวให้ 100 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


น่ามองยิ่งขึ้น “สวัสดีค่ะลุงวิน สวัสดีค่ะพี่” ‘ฝน’ ทักทายเราด้วยส�ำเนียงภาษา ไทยแปร่งๆ จับความได้ยาก เหมือนก�ำลังนั่งฟังชาวต่างชาติฝั่งยุโรปพูด ภาษาไทยอยู่ ฉันทักทายเธอกลับพลางคิดในใจ ว่าการคุยกับสาวน้อยคน นี้คงเป็นงานยากไม่เบา พี่วินขอตัวไปอาบน�้ำช�ำระร่างกาย หลังจากที่เหนื่อยจากการ ท�ำงานมาทั้งวันก่อนจะเดินเข้าห้องฝั่งตรงข้ามไป

ค�ำสารภาพ

บ้านของฝนเป็นห้องขนาดประมาณ 3x4 ตารางเมตรเห็นจะได้ พืน้ ห้องที่ปูด้วยเสื่อน�้ำมันได้รับการปัดกวาดอย่างสะอาดถูกเปลี่ยนเป็นที่ รับแขก พื้นที่ขนาดเล็กตรงระเบียงถูกเปลี่ยนเป็นครัว ติดอยู่กับห้องน�้ำ นอกจากฝนแล้วตอนนี้ยังมี ‘พี่ท้าย’ แม่ของฝนที่ก�ำลังท�ำอาหารเย็น ให้ กับ ‘เอ’ (นามสมมุติ) และ ‘ซอ’ (นามสมมุติ) น้องของฝนอีก 2 คนด้วย เรานั่งลงบนพื้นห้องข้างกองเสื้อสีขาวและหมวกที่มองเพียงนิด เดียวก็รู้ว่าคือเครื่องแบบโรงงาน ฝนบอกกับเราว่าเธอพึ่งกลับมาจาก ท�ำงานได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงจึงยังไม่ทันเก็บให้เรียบร้อย ฝนท�ำงานอยู่ที่ โรงงานผลิตอาหารทะเลขนาดใหญ่แห่งหนึง่ ทีอ่ ยูถ่ ดั ไปไม่ไกลจากทีน่ ี่ ฉัน เคยเห็นโรงงานที่เธอท�ำงานอยู่ครั้งหนึ่งใหญ่สมค�ำร�่ำลืออย่างที่เธอว่า ฉันรีบบอกถึงจุดประสงค์ที่มาในครั้งนี้ให้ทั้งฝนและแม่ของเธอได้ รั บ รู ้ เพราะจากค� ำ ที่ พ่ี วิ น เคยบอก คนต่ า งด้ า วมั ก ไม่ ช อบคุ ย กั บ คน แปลกหน้า ยิ่งเป็นคนไทยยิ่งแล้วใหญ่ ด้วยเหตุผลสั้นๆ ที่ว่าเขากลัวเรา หน้าที่ของเด็กดี 101


พี่ท้ายกำ�ลังทำ�อาหารเย็นให้ลูกทั้งสองคนอยู่ในครัวที่ถูกดัดแปลงมาจากระเบียง

เอาเรื่องของเขาไปบอกกับต�ำรวจ แต่จากทีเ่ ห็น ฝนดูจะแตกต่างออกไป เด็กหญิงตอบโต้อย่างฉะฉาน ไม่มีการหลบสายตา แถมยังถามฉันกลับด้วยความอยากรู้อยากเห็นด้วย ข้อมูลเดียวที่เรารู้เกี่ยวกับฝนตอนนี้คือเธอเป็นเด็กไร้สัญชาติ ความไร้สัญชาติที่เกิดจากความไม่รู้ที่สร้างความเสียใจมาให้แม่ของเธอ จนถึงทุกวันนี้ “ตอนทีไ่ ปคลอดฝนทีโ่ รงพยาบาล เขาก็ไม่ได้ให้ใบรับรองเกิดอะไร มา จะว่าเขาไม่ให้กไ็ ม่ใช่ ตอนนัน้ เราไม่รวู้ า่ มันต้องท�ำ ไม่เข้าใจว่ามันส�ำคัญ ยังไง แล้วโรงพยาบาลเขาก็ไม่ได้บอกอะไรด้วย ถ้าตอนนั้นเขาบอกว่าต้อง ท�ำเราก็ท�ำเหมือนกันแหละ” เหตุผลที่พี่ท้ายบอกไม่ต่างกับพี่สาว แม่ของ 102 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ชาติ เด็กชายไร้สัญชาติที่เราเจอที่โรงเรียนวัดก�ำพร้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราคุยกันแบบทีเล่นทีจริงเพือ่ สร้างความคุน้ เคย ถามไถ่ขอ้ มูลส่วน ตัวตัง้ แต่ชอื่ เลยไปถึงเรือ่ งสัพเพเหระอย่างงานอดิเรก จนมาถึงค�ำถามเรือ่ ง อายุที่ท�ำให้การสนทนาสะดุดลง “หนูอายุ 18 เอ้ย 16 ค่ะ” ฝนหลบตาเล็กน้อย และตอบแบบไม่ แน่ใจ ฉันจึงตัดสินใจถามอีกรอบ แต่เธอก็ยังตอบด้วยความไม่แน่ใจอีก หลายครั้ง ดังนั้นการถามแม่ของหญิงสาวน่าจะเป็นทางเดียวที่ได้ค�ำตอบ ผู้เป็นแม่เองก็ท่าทีที่สะดุดไปเล็กน้อยเช่นกัน ท�ำให้ฉันเริ่มไม่ค่อย แน่ใจว่าค�ำถามธรรมดาๆนี้เป็นค�ำถามต้องห้ามหรือเปล่า “คือว่าจริงๆ แล้วมันอายุ 14 หน่ะ” เธอตอบค�ำถามด้วยท่าทาง คล้ายกับคนท�ำผิด ‘เห้ย! แรงงานเด็ก’ คือค�ำแรกที่ฉันอุทานอยู่ในใจ ‘ผิด กฎหมาย’ คือความคิดที่สองที่ตามมา เพราะถ้าว่ากันตามข้อกฎหมาย แล้วการท�ำงานของฝนผิดเต็มประตู หากจะให้ค�ำจ�ำกัดความว่าฝนเป็นแรงงานเด็กก็อาจจะไม่ถูกต้อง นัก เพราะตามความหมายของ ส�ำนักงานคุม้ ครองแรงงาน กรมสวัสดิการ และคุม้ ครองแรงงาน ระบุวา่ แรงงานเด็ก หมายถึง ลูกจ้างซึง่ เป็นเด็กตัง้ แต่ อายุ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น ค�ำว่าแรงงานเด็กก่อน วัยอันควร น่าจะตรงตัวกว่า เมือ่ ถามเธอว่ารูไ้ หมว่าอายุเท่าเธอมันผิดทีจ่ ะท�ำงาน เด็กหญิงตอบ อย่างซื่อๆ ว่า ‘ผิดตรงไหน เด็กๆ เขาก็ท�ำกันเยอะแยะ’ ต่างจากแม่ของ ฝนที่ให้เหตุผลว่ารู้ว่าผิดแต่ส�ำหรับคนกลุ่มแบบเธอเรื่องของความจ�ำเป็น และปากท้องต้องมาก่อน หน้าที่ของเด็กดี 103


เริ่มรัก(เรียน)

“ตอนเด็กๆ มันก็อยู่บ้านกับพ่อแม่นี่แหละ ไม่ได้ท�ำอะไร” พี่ท้าย เล่าย้อนไปเมื่อ 8 ปีก่อนสมัยฝนยังเป็นเด็กหญิงตัวเล็กอายุได้เพียง 5 ปี โชคดีที่พี่ท้ายกับพ่อของฝนท�ำงานคนละเวลา เธอท�ำงานแกะกุ้งในช่วง กะเช้า ส่วนพ่อของฝนท�ำกะดึกฝนจึงมีเพื่อนอยู่บ้าน หากวันไหนพ่องาน ยุ่งกลับไม่ตรงเวลามีบ้างที่ฝนต้องตามแม่ไปอยู่ในแพปลา ฝนได้เข้าเรียนอย่างเด็กทัว่ ไป จะต่างกันตรงทีห่ อ้ งเรียนของฝนไม่ ได้ตงั้ อยูใ่ นโรงเรียน แต่เป็นห้องทีซ่ อ่ นตัวอยูช่ นั้ บนสุดของตลาดกุง้ เท่านัน้ เอง การเรียนการสอนที่ถูกจัดขึ้นโดยครูพม่าที่สอนอยู่ที่โรงเรียนวัด ศิริมงคล เวลาเรียนเริ่มต้นขึ้นทุกเย็นสี่โมงหลังจากที่ครูกลับมาถึงบ้านที่ อยู่ในตลาดกุ้ง ทีโ่ รงเรียนขนาดเล็กแห่งนี้ สอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษา พม่าซึง่ เป็นสาเหตุทแี่ ม่ของฝนส่งฝนเข้าไปเรียนในห้องเรียนเล็กแห่งนี้ เธอ อยากให้ลกู เรียนรูภ้ าษาพม่า เพราะหวังว่าวันหนึง่ จะมีโอกาสได้กลับไปใช้ ภาษาบ้านเกิดที่ประเทศของตน “ตอนนั้นก็เลยเริ่มชอบเรียน เพราะมันสนุก มันได้รู้ ตอนนี้ก็ชอบ เรียนมาก”เด็กหญิงลากเสียงยาวพร้อมท�ำมือประกอบให้รวู้ า่ มันมากมาย ขนาดไหน แทนทีฝ่ นจะชอบภาษาพม่าภาษาคุน้ เคยทีใ่ ช้พดู กันเองในบ้าน เธอกลับไปหลงรักภาษาไทย ภาษาเมืองเกิดของเธอแทน ด้วยเหตุผลแบบ เด็กๆ ที่ฟังแล้วอดอมยิ้มตามไม่ได้ เธอบอกว่าภาษาไทยสนุก และเธอมี ความฝันว่าในอนาคตเธออยากเป็นครูสอนภาษาไทยให้เด็กๆ ที่พม่า พี่ท้ายบอกว่าห้องเรียนแห่งนี้เปิดได้เพียง 3 เดือนเท่านั้นก็ต้องปิด 104 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


ตัวลง เพราะจากค�ำบอกเล่าปากต่อปาก บวกกับค่าเรียนฟรี ท�ำให้พ่อแม่ ที่มีความคิดที่ว่า ‘ใครๆ ก็อยากให้ลูกเรียนถ้าท�ำได้’ ต่างพากันจูงลูกจูง หลานเข้ามาเรียน ห้องเรียนทีเ่ คยกว้างพอรองรับเด็กได้จำ� นวนหนึง่ กลับ ค่อยๆ แคบลงตามจ�ำนวนเด็กที่เพิ่มขึ้นท�ำให้ต้องขยับขยายพื้นที่ออกไป ห้องเรียนทีป่ ดิ ตัวไปสักพักถูกเปิดขึน้ อีกครัง้ ในพืน้ ทีท่ ถี่ กู ขยับขยาย ให้ใหญ่กว่าเดิม ทีเ่ รียนใหม่ของเด็กๆ คือโรงเรียนวัดศิรมิ งคล ทีเ่ ปิดโอกาส ให้เด็กได้เข้าศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา 2548 “เห็นเด็กๆ ในตลาดแต่งชุดนักเรียนขึ้นรถไปโรงเรียนทุกเช้าหนูก็ เลยอยากไปบ้าง” เป็นข้อความทีฝ่ นบอกแม่ หลังจากทีพ่ ที่ า้ ยถามว่าอยาก ไปเรียนที่โรงเรียนไหม จากวันนั้นเป็นต้นมาฝนก็เข้าเป็นนักเรียนของ โรงเรียนวัดศิริมงคลส�ำหรับการไปสมัครเข้าเรียนนั้น ใช้เพียงเอกสารของ พ่อแม่ กับใบ ทร.38/1ของฝนที่ได้มาฟรีตั้งแต่ปี 2547 พี่ท้ายบอกด้วย ความไม่แน่ใจนักว่าเป็นทางรัฐบาลหรือเปล่าที่เข้ามาท�ำใบส�ำคัญนี้ให้ แต่ เท่าทีท่ ราบจากนายจ้างของเธอคือคนกลุม่ นัน้ เข้ามาส�ำรวจว่ามีเด็กอยูใ่ น ชุมชนตลาดกุ้งมากน้อยเพียงใด ด้วยความที่ฝนไม่ใช่คนไทยเพียงคนเดียวในห้อง ส�ำเนียงภาษาที่ เธอพูดกับเพื่อนจึงแตกต่างออกไป ‘อีมอญ อีพม่า’ จึงกลายเป็นค�ำที่ เพื่อนๆ คนไทยเรียกเธอ หากเป็นเด็กคนอื่น ฉันไม่แน่ใจว่าจะปรับตัวกับ ค�ำล้อเลียนที่คล้ายจะดูถูกแบบนี้ได้ไหม แต่กับฝนไม่ใช่ “หนูไม่สนใจหรอกเอาจริง ก็แม่ส่งมาเรียน เราก็เรียนของเราไป ใครไม่ชอบก็เรือ่ งของเขา” ฝนบอกออกมาอย่างไม่ใส่ใจนัก ก่อนจะเปลีย่ น ไปคุยเรือ่ งการเรียนของเธอให้เราฟัง เธอบอกว่าทุกวันเธอจะกลับมาอ่าน หน้าที่ของเด็กดี 105


พจนานุกรมกับหนังสือคัดภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของรักของหวงของฝน

ภาษาไทย เพราะอยากเรียนให้ทันเท่าเพื่อน ก่อนจะเล่าเรื่อยเปื่อยถึง ความยากง่ายในการเรียนแต่ละระดับชั้น สักพักเหมือนจะนึกบางอย่าง ได้ เธอลุกไปหยิบกระเป๋าใบเล็กที่แขวนอยู่ตรงตู้ข้างทีวี “พี่รู้จักอันนี้ไหม พจนานุกรม” หนังสือขนาดพกพาถูกหยิบออก มาจากกระเป๋าใบเล็ก เธอบอกว่ามักจะพกไปไหนมาไหนด้วยตลอดเพราะ มันท�ำให้เธอรู้สึกปลอดภัยทุกครั้ง เห็นแบบนี้แล้วฉันก็อยากที่จะทดสอบ ความรู้ของเธอสักหน่อย เลยลองถามค�ำศัพท์ยากๆ อย่างค�ำว่า ‘ปุถุชน’ ขึ้นมาให้เธอหาความหมาย เด็กหญิงมีทา่ ทีกบั หน้าตาทีด่ งู นุ งงไปเล็กน้อยกับค�ำศัพท์ทเ่ี หมือน 106 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เพิง่ เคยได้ยนิ เป็นครัง้ แรกในชีวติ ก่อนจะตัง้ หน้าตัง้ ตาหาความหมาย ท่าที ที่มุ่งมั่นในการหาค�ำตอบเรียกเสียงหัวเราะให้กับแขกยามเย็นอย่างเราได้ ไม่น้อย

ทางเดินที่เลือกเอง

ชีวิตในโรงเรียนของฝนด�ำเนินไปเรื่อย จนเข้าปีที่ 3 แม่ของฝนมี น้องคนที่ 2 แน่นอนว่าจ�ำนวนคนที่มากขึ้นก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิม่ ขึน้ เช่นกัน พีท่ า้ ยต้องออกจากงานเพราะไม่สามารถทิง้ ลูกสาวตัวน้อย วัย 8 เดือนให้อยู่บ้านเพียงล�ำพังได้ เนื่องจากพ่อของฝนต้องท�ำงานเพิ่ม ในช่วงกะเช้าเพือ่ หาเงินให้พอกับจ�ำนวนสมาชิกทีเ่ พิม่ ขึน้ จากเหตุผลหลาย อย่างจึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญให้ฝนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน “หนูตงั้ ใจจะออกเอง แม่ไม่ได้บงั คับอะไร ตอนนัน้ หนูตงั้ ใจว่าออก มาหนูก็จะไปท�ำงาน เพราะว่าแม่มีน้องแม่ท�ำงานไม่ได้” เธอพูดออกมา ด้วยน�ำ้ เสียงแห่งความมุง่ มัน่ ถึงความเปลีย่ นแปลงทีไ่ ม่ใช่เพราะการบังคับ ล้วนเกิดจากความสมัครใจ เธออธิบายต่อว่าทางออกทีด่ ที สี่ ดุ ทีจ่ ะช่วยทีบ่ า้ นได้คอื การออกจาก โรงเรียน จริงอยู่ที่เธอไม่ต้องเสียค่าเทอม แต่ค่ารถ ค่าอุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า ก็เป็นสิ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และอีกเหตุผลส�ำคัญคือสงสารแม่ “ตอนนั้นเขาก็มาบอกอยู่ว่า แม่จะไม่เรียนแล้ว จะออกมาท�ำงาน เราก็บอกลูกว่า เออ ถ้าอยู่ไหวเอ็งก็อยู่ไปเถอะ แม่เลี้ยงได้ อยากเรียนก็ เรียนไปไม่ต้องกังวล” เสียงของผู้เป็นแม่แทรกเข้ามา แม้วา่ พีท่ า้ ยจะพูดภาษาไทยไม่ชดั เท่าไหร่ แต่ความจริงใจทีส่ อื่ ออก หน้าที่ของเด็กดี 107


มาจากสายตา และค�ำพูดทีก่ ลัน่ ออกมาเป็นภาษาไทยอย่างง่าย ท�ำให้ฉนั สัมผัสได้ว่าพี่ท้ายเองก็มีความคิดเหมือนกับพ่อแม่ทั่วไป ที่เห็นถึงความ ส�ำคัญของการศึกษา เธออยากให้ฝนท�ำงานดีๆ จะได้ไม่ลำ� บากเหมือนกับ เธอ แม่ของฝนทิง้ ประโยคนีไ้ ว้กอ่ นจะขอตัวออกไปซือ้ ของทีต่ ลาดพร้อมน้อง ทัง้ สองคน

งานแรก

หลังจากเดินออกมาจากรัว้ การศึกษา หน้าทีแ่ รกของฝนในวัย 10 ปี คือการเลี้ยงน้องและช่วยเหลืองานบ้าน ฝนจอมขยันอยู่เฉยในห้องได้ไม่ นาน เธอก็เริ่มต้นชีวิตท�ำงานที่ตลาดกุ้ง เธอเล่าให้ฟังว่าเธอได้งานที่แพ ปลาเดียวกับแม่ของเธอ ในการสมัครงานฝนไม่ต้องใช้หลักฐานหรือ เอกสารใดๆ โดยเจ้าของแพปลาให้เหตุผลว่า ‘คนกันเอง’ ฝนได้รับ มอบหมายงานจากเจ้าของให้ท�ำหน้าที่เป็นคนตรวจไซด์กุ้งและเด็กเดิน เสบียงเพราะเห็นว่าเธอสามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้ ที่นี่นายจ้างให้ฝนท�ำใบ ทร. 38/1 อีกครั้ง ครั้งนี้เธอต้องไปแจ้ง รายละเอียดส่วนบุคคลกับทางนายจ้าง ตัง้ แต่ชอื่ นามสกุล จนไปถึงวันเกิด แต่เมื่อได้เอกสารมาปรากฏว่าข้อมูล วัน เดือน ปีเกิด ผิดไม่หมด ท�ำให้ เด็กหญิงวัย 11 ปี เปลี่ยนสถานะเป็นนางสาวอายุ 18 ปีทันที แม่ของฝนหยิบใบ ทร. 38/1 ทีว่ า่ ให้ฉนั ดู ในใบนัน้ ระบุรายละเอียด ประวัติบุคคลอย่างคร่าวๆ ทั้ง ชื่อ นามสกุล วันที่ออกเอกสาร สัญชาติ ปีเกิดและอายุ เธอชี้ตรงช่องที่กรอกปีเกิดให้ฉันดูว่าจริงๆ แล้วตรงนี้จะ ต้องเป็นปี 2542 ไม่ใช่ปี 2548 อย่างที่เป็นอยู่ สิ่งที่ฉันสะดุดตาอีกที่หนึ่ง 108 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


คือสัญชาติ เกิดค�ำถามกับตัวเองว่า ฝนเป็นเด็กไร้สญ ั ชาติแต่ทำ� ไมถึงระบุ ว่า สัญชาติพม่า พี่ท้ายบอกว่าเธอเองก็ไม่รู้ “ตอนแรกเห็นแบบนั้นเราก็ไปถามเฮีย เขาก็ว่าไม่เป็นไร จะได้เอา ไปท�ำงานได้ เขาว่าแบบนี้” เมื่อเธอเห็นว่าฝนเองก็ท�ำงานอยู่ที่นี่ ไม่น่าจะ เสียหายอะไร เธอจึงไม่ติดใจถามอะไรต่อ ยังไม่ทนั ทีพ่ ที่ า้ ยจะพูดจบประโยค เสียงของฝนก็แทรกเข้ามาถาม เราว่าอยากฟังเรื่องสนุกๆไหม ฉันพยักหน้าอย่างคนอยากรู้ เธอเรียกมัน ว่า ‘ต�ำรวจจับผู้ร้าย’คล้ายชื่อเกมส์ที่ฉันคุ้นหูตั้งแต่เด็กต่างกันที่ว่านี่คือ ของจริงที่มีต�ำรวจตัวเป็นๆเข้ามาเล่นด้วย “เวลามี ตม.เข้ามา เขาก็จะรู้กันเลย มีสายมาบอกก่อน พวกแพ ปลาที่เด็กท�ำงานกันเยอะๆ เขาก็จะปิดหมดเลย แต่มีครั้งหนึ่งที่ไม่รู้ว่า ต�ำรวจจะมา มีคนวิ่งมาบอก ต�ำรวจเข้า! ตอนนั้นวิ่งเลยวิ่งกันหมด พวก ผู้ใหญ่ก็ตกใจแต่ก็นั่งท�ำงานต่อนิ่งๆ ส่วนเด็กก็วิ่งเข้าบ้านไปหลบตรงป่า หญ้าหลังตลาด” เธอเล่าด้วยน�้ำเสียงตื่นเต้นปนข�ำ ส�ำหรับฉันกลับคิดในมุมที่ต่างกัน ในโลกแห่งความจริงเด็กๆ ยัง ต้องเผชิญกับความเสีย่ งในทุกย่างก้าวของชีวติ เพือ่ แลกกับเงินทีม่ าจุนเจือ ครอบครัว หากฝนรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตเธอถ้าเธอถูกต�ำรวจจับ บางทีเธออาจจะหัวเราะไม่ออกเลย เมือ่ เห็นว่าบทสนทนาของเราเริม่ ออก ทะเล ฉันตัดเข้าเรื่องกลับมาถามถึงงานของเธอ “งานที่หนูท�ำก็ไม่หนักอะไร วันหนึ่งท�ำงานแค่ 3 - 4 ชม. ช่วงที่ น้องหลับ ท�ำแป๊บเดียวได้เงินตั้ง 120 บาท” เด็กหญิงพูดด้วยความ พึงพอใจกับจ�ำนวนเงินที่มากส�ำหรับเธอ ถึงแม้ว่าเงินที่ได้รับจะดีขนาด หน้าที่ของเด็กดี 109


ไหนแต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของทางบ้านหากมีอีกชีวิตที่จะเข้า มาร่วมแบ่งปัน ข่าวดี! แม่ของฝนมีน้องคนที่ 3 จากการที่พี่ท้ายอุ้มท้องลูกคนที่ 3 ไหนจะ ‘เอ’ ลูกสาวคนที่ 2 ก็ ยังไม่โตมากพอทีจ่ ะอยูค่ นเดียว พร้อมกับโรคกระดูกทีท่ ำ� ให้ปวดตามไขข้อ อยู่เป็นประจ�ำรุมเร้าเข้ามาอีกครั้ง ท�ำให้พี่ท้ายตัดสินใจออกจากงานที่ท�ำ อยู่ ฝนจึงรับอาสาเข้ามาท�ำงานอย่างเต็มตัวแทนแม่ของเธอ ด้วยการเข้า ท�ำงานที่โรงงานแบตเตอรี่แห่งหนึ่ง ต้องยอมรับกับตัวเองว่าการมาคุยกับฝนมีเรื่องให้ตกใจอยู่หลาย ครั้ง ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน พอได้ยินว่าโรงงานแบตเตอรี่ ค�ำว่าผิดกฎหมาย ก็แล่นเข้ามาทักทายในความคิดเมื่อน�ำ พรบ.คุ้มครองแรงงาน พศ. 2541 มากางดูจะพบว่า มาตรา 49 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลกู จ้างซึง่ เป็นเด็กอายุตำ�่ กว่าสิบแปดปีท�ำงานอย่างหนี่งอย่างใดดังต่อไปนี้โดยระบุอย่างชัดเจนใน ข้อ (6) งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานใน สถานีบริการน�้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง โรงงานแบตเตอรี่ที่ฝนเข้าท�ำงานตั้งอยู่ใกล้ตลาดกุ้ง เธอบอกว่าที แรกก็มีท่าทีลังเลด้วยสภาพงานที่ต้องท�ำงานกับสารเคมี อีกทั้งความเป็น ห่วงจากแม่กเ็ ป็นอีกแรงทีท่ ำ� ให้เธอฉุกคิด แต่ดว้ ยค่าแรง 300 บาททีด่ งึ ดูด ใจ ประกอบกับการสมัครเข้าท�ำงานที่ไม่ต้องใช้พาสปอร์ตเหมือนที่อื่น เพราะนายจ้างต้องการแค่เพียงใบ ทร. 38/1 ซึ่งเธอเองมีอยู่แล้ว ท�ำให้ เธอตัดสินใจเข้าไปท�ำงาน ในโรงงานขนาดเล็กแห่งนี้ เธอรับหน้าทีใ่ นแผนกหยดสี ทางโรงงาน ให้อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีสองอย่างคือถุงมือและผ้าปิดปาก แม้ว่าถุงมือ 110 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เครื่องแบบโรงงานที่ฝนใส่ไปทำ�งานทุกวัน

จะมีสภาพดีขนาดไหนแต่ด้วยฤทธิ์ของสารเคมีที่กัดกร่อนอยู่ทุกวัน ยาง หนาชั้นดีก็ไม่อาจต้านทานได้ เธอบอกว่าผลจากการที่สารเคมีสัมผัสมือ ท�ำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนบ้างเป็นบางคราว พอฝนพูดถึงเรื่องความเจ็บปวดที่ได้รับจากการท�ำงาน ท�ำให้ฉัน นึกถึงค�ำพูดของป้ามาลี หญิงวัยกลางคนชาวพม่าเจ้าหน้าทีม่ ลู นิธิ LPN ที่ เคยท�ำอาชีพนายหน้ามากว่า 10 ปี ทีพ่ บกันเมือ่ สัปดาห์กอ่ น ป้าบอกว่ายัง มีการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบเลวร้ายอยู่ เมือ่ ปีทแี่ ล้ว ป้าเข้าไปทลายโรงงาน ช่วยเด็กมา 100 กว่าคน ซึง่ ถูกขังอยูใ่ นโรงงานนรกให้แกะกุง้ ทัง้ วันทัง้ คืน มี เพียงข้าวต้มมือ้ เดียวประทังชีวติ เมือ่ คิดถึงตรงนัน้ และกลับมามองเด็กสาว หน้าที่ของเด็กดี 111


ทีอ่ ยูต่ รงหน้า ก็อดคิดไม่ได้วา่ อย่างน้อยฝนก็ยงั โชคดีกว่าเด็กอีกหลายๆ คน อาจเพราะเห็นว่าฉันเงียบไป ฝนจึงสะกิดฉันให้กลับมาสนใจในสิ่ง ที่เธอจะพูดต่อ เธอบอกว่าสิ่งที่เธอเกลียดที่สุดกลับไม่ใช่เรื่องของความ เจ็บปวดทีเ่ กิดกับร่างกาย แต่เป็นเรือ่ งค่าตอบแทนทีเ่ ธอเห็นว่าไม่เหมาะสม “ทีห่ นูไม่ชอบเลย คือหนูทำ� งานเกินเวลาแต่เขาไม่ให้ตงั ค์เพิม่ ”เธอ บอกว่าก่อนสมัครงาน นายจ้างตกลงกับเธอว่าจะให้ทำ� งานเพียง 8 ชัว่ โมง แต่เมื่อท�ำงานจริงการท�ำงานกลับเริ่มตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 2 ทุ่ม ซึ่งเกิน กว่าเวลาการท�ำงานที่ก�ำหนดไว้ และการที่จะไปเรียกร้องเอาเงินค่านอก เวลานัน้ ฝนบอกว่าท�ำได้ยาก เพราะนายจ้างเป็นคนจีนท�ำให้เป็นอุปสรรค ในการสื่อสาร ด้วยค่าแรงทีไ่ ม่เป็นธรรม ท�ำให้ฝนคิดจะย้ายไปหางานท�ำในโรงงาน ใหญ่ที่คิดว่าได้มาตรฐานกว่า เธอบอกว่าที่โรงงานขนาดใหญ่ นอกจาก การท�ำงานที่ดูได้มาตรฐานกว่าที่นี่ยังมีเรื่องของสวัสดิการต่างๆ เช่น บัตร ประกันสังคม เหมือนโชคจะเข้าข้าง เพื่อนรุ่นพี่ที่อยู่ห้องข้างกันซึ่งท�ำงาน อยูใ่ นโรงงานทีเ่ ธอหมายตาไว้ มาบอกข่าวดีกบั เธอว่า ทางโรงงานก�ำลังรับ สมัครคนเข้าไปท�ำ แต่มีข้อแม้คือฝนต้องมีพาสปอร์ตส�ำหรับใช้ท�ำงาน ซึ่ง ในนั้นต้องระบุว่าอายุ 18 ปี “ตอนแรกทีฝ่ นมันมาบอก เราก็คดิ หนักว่าเอาไงดี ถ้าท�ำพาสปอร์ต คนจับได้ว่าผิด เราก็โดนจับ แต่คิดอีกทีเด็กแถวนี้ก็ท�ำกันเยอะ” พี่ท้าย บอกถึงความกลัวทีต่ อ้ งท�ำในสิง่ ทีไ่ ม่ถกู แต่เมือ่ ชัง่ ตวงเรือ่ งเงินกับสวัสดิการ ทีด่ งึ ดูดใจ สุดท้ายเรือ่ งของปากท้องก็เป็นฝ่ายชนะความกลัว เธอตัดสินใจ ให้ฝนไปท�ำพาสปอร์ตโดยใช้อายุปลอม! 112 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


แก้ปัญหาไม่ถูกจุด?

การได้พบฝนในครั้งนี้ท�ำให้เรารู้ความจริงข้อหนึ่งคือ แรงงานเด็ก ยังไม่หมดไปจากประเทศไทย นึกย้อนถึงข่าวที่เคยเห็นเมื่อสามปีที่แล้ว จังหวัดสมุทรสาครเป็นที่จับตามองจากประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกา และถูกจัดกลุ่มให้ติดอยู่ใน 58 ประเทศที่ใช้แรงงานเด็ก ซึ่งขัดต่อ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยระบุอย่างชัดเจนว่าไทย ใช้แรงงานเด็กต่างด้าวในโรงงานแกะกุ้งขนาดเล็ก และโรงงานผลิตเครื่อง นุ่งห่มและโรงงานสิ่งทอระดับล่าง อย่างไรก็ตามจากการที่ฉันเคยเข้าไปสอบถามข้อมูลกับส�ำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาครถึงเรื่องแรงงานเด็ก ใน ตอนนั้นจ่าอากาศเอก นพพร กิจรัตนา นักวิชาการแรงงานช�ำนาญการ บอกว่า จ�ำนวนแรงงานเด็กมีแนวโน้มลดลงจากเมื่อก่อนมากเนื่องจากมี การรณรงค์อย่างจริงจังจากทางจังหวัดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 และ ทางผู้ประกอบการเริ่มกลัวที่จะจ้างแรงงานเด็ก ส�ำหรับสาเหตุของความกลัวแบ่งเป็นสองอย่าง คือเรื่องกฎหมาย ที่ค่อนข้างเข้มงวดมากขึ้น กับเรื่องของต่างประเทศที่จับตามองสินค้า ประเภท กุ้ง ปลา สิ่งทอ อ้อย สื่อลามกมากขึ้น ท�ำให้บริษัทแม่ของเขา ออกมากดดันกับทางบริษัทลูกเพราะกลัวจะถูกแบน และหากพูดกันตามจริง ปัจจุบนั นีต้ ามโรงงานใหญ่ๆ ไม่มเี ด็กแอบ ท�ำงานอีกแล้ว แต่ถ้าหากจะมีจริงๆ ยังเป็นพวกโรงงานขนาดเล็กหรือที่ เรียกว่า ‘ล้ง’ มากกว่า “ที่น่าเป็นห่วงคือการรับเข้าท�ำงานในปัจจุบัน คนที่จะท�ำงานได้ หน้าที่ของเด็กดี 113


เขาไม่สนใจหรอก ตอนผม “ ไป ผมบอกว่าอายุ 25 เขาบอก ว่ าไม่ น่ า ถึ ง นะเขาก็ ล ดอายุ ผ ม เหลือ 22 ปี เฉยเลย

ต้องมีพาสปอร์ตเท่านั้น ส�ำหรับเด็กไร้สัญชาติที่ถือบัตร ทร.38 ก. หรือ ทร.38/1 ไม่ ส ามารถเข้าท�ำงานได้เ นื่องจากยกเลิก ไปหลายปีแ ล้ว ” คุณนพพร แสดงถึงความเป็นห่วง เพราะจากกฎตรงนี้ท�ำให้เกิดการ ‘ท�ำ พาสปอร์ตข้อมูลปลอมขึ้น’ เพื่อที่ตัวเด็กจะได้เข้าท�ำงานได้อย่างถูก กฎหมาย ซึ่งหากเป็นแบบนี้แรงงานเด็กก็ไม่มีทางหมดจากประเทศไทย

พาสปอร์ตเปลี่ยนชีวิต

ตอนนีว้ งสนทนาของเราใหญ่ขนึ้ กว่าเดิม มีพวี่ นิ ทีอ่ าบน�ำ้ เสร็จแล้ว เข้ามาร่วม พร้อมด้วยขนมพม่าที่ไปซื้อมาจากตลาดก่อนหน้านี้ถูกจัดใส่ จานวางไว้กลางวง “เขาก็ถามก่อนว่าอายุเท่าไหร่ หนูก็บอกไปว่า 18” ฝนเล่าให้ฟัง ถึงเหตุการณ์ที่ไปท�ำพาสปอร์ตที่กรุงเทพฯ กับน้าของเธอ เธอบอกว่าทาง เจ้าหน้าที่ขอรูปถ่ายกับใบทร. 38/1 ที่ระบุอายุ 18 ปี ด้วยความที่ฝน รูปร่างโตเกินกว่าเด็กคนอื่นๆ ท�ำให้เจ้าหน้าที่ไม่ซักประวัติของเธอมาก ต่างจากเพื่อนของเธอที่กว่าจะผ่านได้เจ้าหน้าที่ถามแล้วถามอีก จนเธอ 114 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เองบอกว่าอดลุ้นไปกับเพื่อนไม่ได้ “โอ๊ยพี่ เขาไม่สนใจหรอก ตอนผมไป ผมบอกว่าอายุ 25 เขาบอก ว่าไม่น่าถึงนะ เขาก็ลดอายุผมเหลือ 22 ปีเฉยเลย” พี่วินพูดเสริมอีกแรง เป็นการยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แม่ฝนที่นั่งอยู่ข้างกันบอกถึงค่าใช้จ่ายที่เสียไป เธอบอกว่าจ่ายไป 8,000 กว่าบาท ทั้งนี้ราคาที่แพงหูฉี่รวมใบอนุญาตเข้าท�ำงานด้วย “ไม่กลัวๆ ต�ำรวจเขาไม่เคยตรวจหนูเลย หนูตัวโต แล้วอีกอย่าง เขารู้ว่าเป็นพนักงานที่โรงงานนี้ เขาก็จะไม่ยุ่ง เห็นพี่ๆ ในโรงงานพูดกัน ว่าเขาได้ตังจากเฮียเจ้าของโรงงานไปแล้ว เขาไม่ให้ยุ่งกับลูกน้องเขา” น�้ำเสียงที่ฉะฉานท่าทางเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเธอไม่กลัวจริงๆ ที่โรงงานแห่งนี้เธอรับหน้าที่ผ่าปลาหมึก ท�ำงานตั้งแต่ 8 โมงถึง 4 โมงเย็น รายได้เดือนหนึ่ง 9,000 บาท ยังไม่รวมค่านอกเวลา และหาก เดือนไหนเธอท�ำได้ตามเป้าทีโ่ รงงานก�ำหนด เงินเดือนของเธอจะขึน้ สูงไป ถึงหลักหมื่นต้นๆ เลยทีเดียว แม้จะต้องยืนทั้งวัน แต่ส�ำหรับเธอไม่ถือว่า เป็นงานหนัก เพราะเมือ่ เทียบกับค่าแรงแล้วถือว่าคุม้ จ�ำนวนเงินทีฝ่ นบอก ว่าไม่ได้เยอะในความคิดของเธอ แต่ส�ำหรับนักศึกษาอย่างฉันเองที่ยัง หาเงินเองไม่ได้ ฟังแล้วก็รู้สึกตื่นเต้น ฉันแกล้งถามทีเล่นทีจริงกับเธอถึงเงินทีไ่ ด้มาว่าแอบเก็บเอาไว้เอง บ้างหรือเปล่า เด็กหญิงตอบกลับด้วยน�้ำเสียงจริงจังไม่มีแววตาที่ล้อเล่น หรือหัวเราะไปกับค�ำถามของฉัน ฝนบอกว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มา จากการท�ำงาน เธอจะให้แม่ของเธอหมด หากอยากได้อะไรจะขอแม่เอา ฝนยังบอกกับฉันด้วยว่าเธอไม่กล้าโกหก มันเป็นบาป หน้าที่ของเด็กดี 115


หน้าที่มาก่อนความฝัน

เสียงเปิดประตูห้องดังขึ้นเบาๆ พ่อของฝนมีท่าทีแปลกใจเล็กน้อย กับการมาเยือนของแขกแปลกหน้า เราแนะน�ำตัวให้พอ่ ของฝนได้รจู้ กั และ ทักทายกัน ผ่านการแปลภาษาจากล่ามชั้นดีอย่างลูกสาวของเขาเอง เรา ลดเสียงคุยลงเล็กน้อย เมือ่ เห็นว่าพ่อของเธอทีเ่ หน็ดเหนือ่ ยจากการท�ำงาน ทั้งกะกลางวันและกลางคืนก�ำลังล้มตัวลงบนฝูกทีถ่ ูกจัดวางไว้บริเวณใกล้ เคียง ฝนกระซิบให้เราฟังว่าเมือ่ ปีทแี่ ล้วพ่อของเธอป่วยเป็นโรคเบาหวาน ท�ำให้ตอนนั้นทางบ้านค่อนข้างล�ำบากมากทีเดียวด้วยความที่พ่อของเธอ ท�ำงานนอกระบบไม่มีประกันสังคม ต้องเสียเงินในการรักษาเดือนละพัน กว่าบาท ซ�้ำเวลาอาการก�ำเริบยังท�ำให้ต้องหยุดงานไปร่วมเดือน โชคดีที่ นายจ้างเข้าใจพ่อและเห็นว่าเป็นคนเก่าคนแก่ของที่ท�ำงานเลยไม่ไล่ออก ท�ำให้ภาระหาเงินทั้งหมดก็ตกมาอยู่ที่เด็กหญิงวัย 14 ปีเพียงคนเดียว “ช่วงนั้นหนูเลยต้องท�ำสองแรงเหนื่อยมาก” เมื่อเห็นหน้าตาที่ แสดงความสงสัยของฉัน เธอจึงอธิบายให้ฟังว่า ‘สองแรง’ คือการท�ำงาน ในวันอาทิตย์ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นวันหยุดของทางโรงงาน ผลตอบแทนคือ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจาก 300 บาทเป็น 600 บาท เธอหยุดพูดไปสักพักก่อนพูดออกมาด้วยน�ำ้ เสียงเศร้าๆ ว่า เพราะ ความเหน็ดเหนือ่ ยจากการท�ำงานหนักท�ำให้เธอไม่ได้ไปเรียน กศน. มากว่า 3 เดือนแล้ว กศน. ที่ฝนว่า คือการศึกษานอกโรงเรียนที่เธอเข้าเรียนตั้งแต่สมัย ยังท�ำงานที่แพปลาที่สอนทุกๆ วันอาทิตย์ ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ ‘หนูไม่ 116 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ


อยากลืมภาษาไทย’ที่นั่นจะสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีจุด ประสงค์ให้อ่านออกเขียนได้ เพื่อเป็นประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวัน แม้ว่าปัจจุบันนี้ฝนจะไม่ได้เรียน กศน. อย่างที่เคยเพราะเวลาใน การท�ำงานของเธอก็หมดไปทัง้ อาทิตย์ แต่ดว้ ยความทีเ่ ธอเป็นคนรักเรียน เธอจึงหมั่นหาความรู้ด้วยตัวเอง ด้วยการซื้อหนังสือทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษมาอ่านเอง ถ้าหากอันไหนไม่เข้าใจก็จะให้คนไทยที่โรงงาน สอนให้ กลิน่ เครือ่ งแกงพม่าทีล่ อยตลบอบอวล บอกว่าได้เวลาอาหารเย็น ของบ้านแล้ว แม่ของฝนชวนให้เราสองพ่อลูกทานข้าวเย็นด้วยกันก่อน พ่อของฉันปฏิเสธด้วยความเกรงใจ เพราะไม่อยากรบกวนเวลาครอบครัว ไปมากกว่านี้ “ชุดที่พี่ใส่เขาเรียกว่าอะไร” ฉันตอบไปสั้นๆ ว่าชุดมหาวิทยาลัย และอธิบายให้ฟังว่ามันคืออะไร หญิงสาวฟังอย่างตั้งใจ ก่อนเธอจะขอ อนุญาตจับเข็มทีเ่ ป็นตรามหาวิทยาลัย ฉันนึกขึน้ ได้วา่ เธอเองบอกว่าอยาก เป็นครู จึงถามเธอกลับไปว่าอยากเรียนไหม เธอพยักหน้าเบาๆ ก่อนจะ เปรยออกมา “ไม่เป็นไร ท�ำงานก่อน ได้เงินจะให้นอ้ งเรียน ส่วนตัวหนูยงั ไงก็ได้” น�้ำเสียงที่ตอบออกมาเรียบๆ ก่อน เธอจะบอกว่าตอนนี้ตัวเองมีความฝัน ใหม่แล้ว เธออยากเป็นพนักงานออฟฟิศเพราะจะได้แต่งตัวสวยๆ ฉัน หัวเราะออกมาเบาๆ ก่อนจะลุกขึ้นยืน ขอตัวกลับเมื่อเห็นว่ากินเวลามา พอสมควรแล้ว “พี่คะ มาอีกบ่อยๆ นะคะ หนูคุยกับพี่สนุกดี” ฉันยิ้มให้พร้อม หน้าที่ของเด็กดี 117


รับปากว่าจะมาอีกก่อนจะลาพ่อกับแม่ของเธอ ฝนเป็นตัวแทนของเด็กดีคนหนึ่งที่เลือกจะละทิ้งความฝันของ ตัวเองเพื่ออนาคตของคนที่เธอรัก ในเมื่อเรื่องของปากท้องยังส�ำคัญกว่า การศึกษา เธอเองก็ยอมรับกับโชคชะตาด�ำเนินชีวิตไปตามวิถีท่ีเธอเป็น คนเลือกด้วยใจที่มีความสุข และการที่ได้พบฝนท�ำให้ทัศนคติที่มีต่อการ เป็นแรงงานเด็กของฉันเปลี่ยนไป เพราะบางทีการที่ต้องออกมาเป็น แรงงานเด็กอาจจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไปก็ได้

118 เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ




06 แสงสว่างหรือวังวน จากการทีฉ่ นั ได้เข้าไปสัมผัสชีวติ เล็กๆในจังหวัดสมุทรสาคร ถึงแม้ จะเป็นช่วงเวลาเพียงไม่นาน แต่ฉนั ได้สมั ผัสถึงตัวตนและพบว่าเขาเองก็มี ความฝันไม่ต่างจากเรา ‘ความไร้สญ ั ชาติ’ ทีเ่ ป็นสถานะพิเศษซึง่ ติดตัวมาตัง้ แต่เกิดของเด็ก ต่างด้าว ผลิตผลจากแรงงานต่างด้าวที่หนีความอดอยากมาจากประเทศ แม่ สถานภาพที่ไม่ได้ต้ังใจจะได้มา ส่งผลให้พวกเขาเข้าไม่ถึงสิทธิขั้น พืน้ ฐานทีพ่ งึ จะได้รบั ซ�ำ้ ยังเป็นตัวก�ำหนดให้พวกเขาไม่กล้ามีความฝันหรือ แม้แต่หวังถึงอนาคต ในความรู้สึกความไร้สัญชาติเหมือนเชื้อร้ายที่ค่อยๆ ท�ำลายชีวิตคนเข้าไปทีละนิด จนฉันคิดว่าเราต้องหาทางแก้ไขปัญหาดัง กล่าวจริงจังกันเสียที แสงสว่างหรือวังวน 121


แม้ว่าในช่วงปีหลังปัญหาการเข้าถึงสิทธิจะคลี่คลายไปในทางที่ดี อยู่หลายเรื่อง จากการออกบัตรผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่ท�ำให้เข้าถึง สิทธิตา่ งๆ ได้งา่ ยขึน้ รวมไปถึงโอกาสทีห่ น่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุน ตั้งแต่เรื่องการศึกษา สาธารณสุข แต่ถ้าหากพูดถึงความเป็นเด็กที่ควรได้รับสิทธิตามอนุสัญญาว่า ด้วยสิทธิเด็กขั้นพื้นฐานนั้นสิทธิที่ได้รับอาจยังไม่เพียงพอ คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้าน ชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงาน ข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น หนึ่งในคนที่ท�ำงาน ต่อสูเ้ พื่อสิทธิของเด็กไร้สัญชาติมานาน เผยถึงมุมมองต่อการส่งเสริมด้าน สิทธิของเด็กให้ฉันฟัง ...แต่แค่ฟังข้อแรกก็น่ากลัวเสียแล้ว “อย่างแรกเราต้องแก้ไขตั้งแต่การออกกฎกระทรวงตามพระราช บัญญัติสัญชาติ ที่มีการก�ำหนดให้เด็กที่เกิดในประเทศไทยแต่พ่อแม่เข้า เมืองผิดกฎหมายเป็นอาชญากร” สิ่งที่คุณสุรพงษ์ว่า คือกฎกระทรวงว่า ด้วยการก�ำหนดสถานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักร ของผู้ซึ่งไม่มี สัญชาติไทย โดยกระทรวงมหาดไทย คุณสุรพงษ์เสริมว่า การออกกฎท�ำนองนี้ออกมา นอกจากจะไม่ ช่วยส่งเสริมเด็กที่อยู่ในสภาวะแย่อยู่แล้ว ยังเป็นการท�ำร้ายเด็กอีกด้วย ซึง่ ตอนนีท้ างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก�ำลังด�ำเนินการเพือ่ หาแนวทาง การปกป้องไม่ให้เด็กที่เกิดมายังไม่ได้กระท�ำความผิด แต่ต้องมาเป็น อาชญากรโดยต้องให้ทงั้ การคุม้ ครองเด็ก และให้สทิ ธิอาศัยในประเทศไทย ได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่ทั้งนี้ยังต้องรอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ซึ่งยังไม่มีแนวทางความร่วมมือที่แน่ชัด 122 เปิ ดพื้นท่ีหัวใจเด็กไร้สัญชาติ


เมื่อกล่าวถึงเรื่องการส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานทั่วไป คุณสุรพงษ์มี สีหน้าดียิ้มแย้มขึ้นกว่าการตอบค�ำถามแรก แต่ถึงกระนั้น คิ้วที่ขมวดยัง แสดงถึงความกังวลใจบางอย่าง “ตอนนี้ที่ทางประเทศไทยท�ำได้ดีที่สุดคือในแง่ของนโยบายเรื่อง สิทธิทางการศึกษา มีการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด้กได้เรียนมากขึน้ แต่ ยังพบว่ามีปญ ั หาทางการ ทัศนคติของผูป้ ฎิบตั ิ และบางเรือ่ งก็ตอ้ งส่งเสริม กันมากขึน้ เช่นการกูย้ มื กยศ. คนไร้สญ ั ชาติยงั เข้าไม่ถงึ สิทธิตรงนี้ ซึง่ ตอน นี้ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก�ำลังผลักดันให้ไทยเข้าลงนามอนุ สัญญาว่าด้วยการขจัดการปฏิบัติทางการศึกษา เพื่อเป็นทางแก้ไขปัญหา ช่องโหว่ในการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาได้อีกทาง” ส�ำหรับสิ่งที่คุณสุรพงษ์ยังเห็นว่าเป็นปัญหาอยู่มาก คือเรื่องสิทธิ ด้านการสาธารณสุข ถือว่ายังไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร อย่างเรื่อง การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จริงๆ แล้วเด็กไม่ควรเสียเงินเพือ่ ซื้อหลักประกันนั้นมาใช้ แต่ควรได้สิทธิเท่ากับเด็กไทย นอกจากนี้ เรื่อง ของการอนามัยแม่และเด็ก พบว่ายังไม่มีการปฏิบัติที่ดีพอ ซึ่งตรงนี้เป็น เรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยเข้ามาแก้ไข คุณสุรพงษ์บอกเพิ่มเติมว่า นอกจากสิทธิทั้งสองอย่างที่กล่าวไป ข้างต้นแล้ว เด็กกลุ่มนี้เข้าไม่ถึงสิทธิทางด้านอื่นเลย เช่น สิทธิทางการ เดินทาง สันทนาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วง ทั้งนี้เรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐาน ก็ต้องให้เด็กเข้าถึงได้ในทุกๆ เรื่อง แน่นอนว่าหากจะให้เด็กเข้าถึงสิทธิขนั้ พืน้ ฐานในทุกด้าน ก็จำ� เป็น ต้องใช้เงินมหาศาลในการเข้ามาจัดการ ย่อมมีการโต้แย้งจากคนไทยผูเ้ ป็น แสงสว่างหรือวังวน 123


ทางออกที่ ดี ท่ี สุ ด คื อ การ ยอมรับว่าเราต้องอยู ่ร่วมกันกับ เขา เปลี่ยนทัศนคติท่มี ตี อ่ เด็กกลุม่ นี้ และทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

เจ้าของประเทศ ถึงความไม่เห็นด้วยทีจ่ ะเอาเงินภาษีมาดูแลกลุม่ คนพวกนี้ “คนไทยมักเข้าใจกันผิดๆ ต้องท�ำความเข้าใจใหม่ว่า คนกลุ่มนี้เขา เสียภาษีให้กับเราอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นในแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการไปซื้อสินค้า ซึ่งตรงนั้นคือเงินภาษีที่รัฐได้จากพวกเขา ดังนั้นจึง ควรให้สิทธิเท่ากับเด็กไทยในแง่ของสิทธิขั้นพื้นฐาน” คุณสุรพงษ์ชี้แจงถึง ความเข้าใจผิด ทีค่ นไทยมักมีมาตลอดว่า ทัง้ คนต่างด้าวและเด็กไร้สญ ั ชาติ ที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวเป็นผู้เบียดเบียนประเทศไทย จนมีบางคนบอก ว่า การผลักดันสู่ประเทศแม่ของพวกเขาอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดทั้งกับ ประเทศไทยเองและตัวเด็กด้วย “ส�ำหรับการผลักดันกลับประเทศค่อนข้างยากมาก เพราะที่ผ่าน มาทางประเทศ พม่า กัมพูชา ลาว ไม่เคยรับเด็กทีผ่ ลักดันกลับไป เนือ่ งจาก มีปญ ั หาทางด้านการพิสจู น์สญ ั ชาติ พูดกันจริงๆ ขนาดผูใ้ หญ่ทมี่ พี าสปอร์ต แสดงตัวตนพิสูจน์สัญชาติที่ไทยแล้ว แต่พอกลับไปทางประเทศต้นทาง กลับพบว่าไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรของประเทศเขา” คุณสุรพงษ์อธิบายเพิ่มว่า ตรงนี้เป็นปัญหาจากความไม่พร้อมทาง ด้านระบบทะเบียนราษฎรของประเทศเขา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก 124 เปิ ดพื้นท่ีหัวใจเด็กไร้สัญชาติ


หากผลักดันเด็กไร้สัญชาติกลับไป คุณสุรพงษ์บอกว่าเคยมีนกั สิทธิมนุษยชนต่างๆ เสนอแนวทางแก้ไข ทีฉ่ นั ขอเรียกว่าคล้าย ‘หนามยอกก็เอาหนามบ่ง’ ในเมือ่ ปัญหาคือความไร้ สัญชาติ การให้สญ ั ชาติกเ็ ป็นการแก้ไขทีเ่ หมาะสม ส�ำหรับเรือ่ งนีค้ ณ ุ สุรพงษ์บอกว่าเคยมีความคิดทีจ่ ะให้สญ ั ชาติไทย กับเด็กกลุ่มนี้ แต่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยถือเรื่องของสัญชาติเป็นเรื่อง ที่มีผลต่อความมั่นคง เพราะเด็กไม่ได้มีเชื้อชาติไทย ดังนั้นการจะให้ สัญชาติแก่เด็กกลุม่ นีย้ งั เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งคิดกันยาว ไม่ใช่จะท�ำกันได้ภายใน ปีเดียวแต่ต้องพูดกันเป็นสิบปี “แต่ทางออกที่ดีที่สุดคือการยอมรับ ว่าเราต้องอยู่ร่วมกันกับเขา เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อเด็กกลุ่มนี้ และทุกอย่างจะดีขึ้นเอง” คือค�ำตอบ สุดท้ายที่คุณสุรพงษ์ทิ้งไว้อย่างน่าสนใจถึงทางออกที่ทุกคนสามารถช่วย กันท�ำได้ ค�ำตอบที่ได้รับฟังจากคุณสุรพงษ์ถึงแนวทางการส่งเสริมแก่เด็กๆ ท�ำให้ฉนั ไม่คอ่ ยแน่ใจนัก เพราะทุกเรือ่ งยังดูไม่มคี วามชัดเจน และต้องการ การร่วมมือทีไ่ ม่รวู้ า่ อีกนานเท่าไหร่จงึ จะส�ำเร็จ แต่ถงึ อย่างไรก็ตาม ความ พยายามในการแก้ปัญหาทางด้านกฎหมายเพื่อให้เด็กเข้าถึงสิทธิ ก็เป็น สัญญาณที่ดีที่จะช่วยเหลือให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่หากมองกลับอีกมุมตามสภาพความจริงแล้ว สิทธิที่เปิดให้ไม่ ได้เอื้อประโยชน์กับต้นทุนสภาพชีวิตที่ยังต�่ำนัก จากชีวิตของเด็ก 4 คนที่มีโอกาสได้รู้จัก เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ปาก ท้องยังส�ำคัญกว่าคุณภาพชีวติ เสมอ หากเป็นเช่นนีแ้ ล้วโอกาสทีเ่ ปิดให้เข้า ถึงสิทธิต่างๆ ก็อาจจะไม่ได้มีประโยชน์กับพวกเขาเลย แสงสว่างหรือวังวน 125


‘เด็กไร้สญ ั ชาติ’ เรือ่ งนีอ้ าจไม่มบี ทสรุปทีช่ ดั เจนว่าชีวติ ของเขาเหล่า นี้ ทีส่ ดุ แล้วจะพบกับปลายทางแห่งแสงสว่าง หรือยังคงเป็นวังวนชีวติ เดิมๆ ทีไ่ ม่อาจหลีกหนี แต่สงิ่ หนึง่ ทีฉ่ นั เชือ่ เหมือนทีค่ ณ ุ สุรพงษ์ทงิ้ ท้ายไว้ คือการ ยอมรับว่าถึงแม้เราจะพูดกันคนละภาษา สายเลือดคนละเชือ้ ชาติ แต่ตอน นี้เราอาศัยอยู่บนแผ่นดินเดียวกัน สังคมเดียวกัน และที่ส�ำคัญเขากับเรา ต่างเป็นคนเหมือนกัน และเปลีย่ นทัศนคติความเกลียดชังทีเ่ คยมี สักวันหนึ่งชีวิตเล็กๆ จะเติบโตและเบ่งบานบนทางแห่งแสงสว่าง อย่างแน่นอน

126 เปิ ดพื้นท่ีหัวใจเด็กไร้สัญชาติ




ขอบคุณจากหัวใจ • เด็กทุกคนในหนังสือเล่มนี้ที่ทำ�ให้รู้จักกับอีก ด้านหนึ่งของชีวิต • ชาวสมุทรสาครทั้งที่ใช่คนไทย และไม่ใช่คน ไทย ส�ำหรับความมีน�้ำใจ • คณะที่ปรึกษา และอาจารย์ทุกท่าน สำ�หรับ คำ�แนะนำ�และข้อคิดเห็นต่างๆ • คุณพ่อ คุณแม่ที่คอยเป็นกำ�ลังใจและอยู่ เคียงข้างกันมาตลอด 20 ปี • เพื่อนๆ ทุกคนที่คอยช่วยเหลือมาตลอด 4 ปี • มหาวิทยาลัยศิลปากรที่ทำ�ให้มีวันนี้ รู้สึกดี และภาคภูมิใจที่ได้เป็นลูกพระพิฆเนศวร


เปิ ดพื้นที่หัวใจเด็กไร้สัญชาติ

“ใหม่” อดีตแรงงานเด็กเชื้ อสายกระฉิ่น กับก้าวแรกสู่ ระบบการศึกษาไทย “ชาติ” คนเล็กหัวใจใหญ่ จากใจการเป็น ‘คนไทย’ คือความฝั นอันสูงสุด “นัด” หรือ น้องหม่อง 2 เด็กชายชาวมอญที่มาพร้อม กับพรสวรรค์ด้านกีฬา จนเป็นนักกีฬาระดับจังหวัด แต่ด้วยข้อจ�ำกัด ‘ไร้สัญชาติ’ จึงเป็นค�ำถามที่ ค้างคาใจถึงนายกรัฐมนตรี ในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2553 “ฝน” สาวน้อยชาวพม่า ... ค�ำสารภาพชี วิตแรงงานเด็ก จากพาสปอร์ตข้อมู ลปลอมเป็นใบเบิกทาง

อาทิตยา สุขาภิรมย์

จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.