Creative Thailand Magazine (2013)

Page 1

คิด

©

นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย TCDC

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความสร้างสรรค์

THE OBJECT โคเคดามะ

เมษายน 2556 ปีที่ 4 | ฉบับที่ 7 แจกฟรี

CREATIVE CITY MANLBOROUGH

THE CREATIVE ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล




สารบัญ

6 7 8 10 11 12 20 22 24 28 34

The Subject

The "Not-So-Secret" Garden

The Object

โคเคดามะ... ศิลปะมีชีวิต

Creative Resource

Featured Book/ Book/ DVD/ DVD

Matter

The Sunflower Home Heliostat

Classic Item Greenhouse

Cover Story Plant a Garden

Insight

Meet the Bonsai Designer

Creative Entrepreneur

Ziamese Sisters รสชาติแห่งคุณภาพจากธรรมชาติ

Creative City

Marlborough บ่มมูลค่าเมืองในขวดไวน์

The Creative

ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล Let your live, share it with future.

Creative Will

พันพรรณ... สวนปันพันธุ์เพื่อชีวิตยั่งยืน

บรรณาธิการ | อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ที่ปรึกษา | ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, วราภรณ์ วศินสังวร, จรินทร์ทิพย์ ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร | ศุภมาศ พะหุโล ผู้ช่วยบรรณาธิการ | พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ | ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ | กมลกานต์ โกศลกาญจน์ บรรณาธิการศิลปกรรม | พจน์ องค์ทวีเกียรติ, พัชราภรณ์ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ์ | ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ | ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝึกงาน | พีระ โพธิ์คัณธา, ศุภพัฒน์ วิเทศ, อคีรัฐ สะอุม จัดทำ�โดย | ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียนมทาวเวอร์ อ่านนิตยสารฉบับออนไลน์และดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 www.creativethailand.org โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH พิมพ์ที่ | บริษัท ทูโฟร์ พริ้นติ้ง จำ�กัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ์. 02 416 7320 จำ�นวน 50,00 เล่ม Facebook: Creative Thailand นิตยสารฉบับนี้ใช้น้ำ�หมึกพิมพ์จากน้ำ�มันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้กระดาษรีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ "Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์" โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

CT

เรือนเพาะชำ�รายได้ จากความเขียว ที่เกาะคิวชู ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น บริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู กำ�ลังทำ�ใน เรื่องที่เป็นมากกว่าการบริหารตารางการเดินรถไฟ ด้วยตระหนักดี ว่า ธุรกิจของพวกเขาไม่ได้ขึ้นกับความเร็วและความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ความงามของทิวทัศน์สองข้างทางรถไฟยังเป็นจุดขายสำ�คัญที่ดึงดูด ลูกค้าเพื่อให้เข้ามาใช้บริการรถไฟสายนี้ แต่เมื่อหลายปีก่อน ทิวทัศน์ จากท้อ งทุ ่ ง ไร่ น า และฟาร์มดอกไม้ ที่เป็นจุดดึงดูดกลั บ ค่ อ ยๆ เลือนหายไป เพราะคนรุ่นใหม่ต้องการละทิ้งชีวิตเกษตรกรโดยการขาย ฟาร์มและไร่ของครอบครัวทิ้ง และหันไปทำ�งานในเมืองแทน ดังนั้น เพื่อที่จะคงความงามจากท้องทุ่งเอาไว้ เจอาร์ คิวชูจึงลงทุนซื้อฟาร์ม ดอกไม้ในจุดที่รถไฟวิ่งผ่าน และจ้างให้ชาวไร่ยังคงทำ�ฟาร์มดอกไม้ต่อไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการรักษาวิวทิวทัศน์ไว้ได้แล้ว ก็ยังเป็นช่องทางต่อย อดธุรกิจการเกษตรให้ชุมชน เพราะหลายปีต่อมาจนทุกวันนี้ ชาวเมือง ได้กลับมาเห็นความสำ�คัญและให้ความสนใจทำ�กิจการฟาร์มดอกไม้และ พืชผักผลไม้กันอย่างหนาตา ทั้งยังงอกเงยไปสู่การสร้างสรรค์เป็นธุรกิจ ที่หลากหลาย ทั้งการผลิตสินค้าเพื่อส่งขายบนสถานีและบนขบวนรถไฟ ธุรกิจร้านอาหาร หรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญที่ผู้คนจะแวะเวียนมา เป็นไปได้ว่า ถ้าเป็นหลายปีก่อน ธุรกิจฟาร์ม สวนต้นไม้ และ การเกษตร อาจถูกมองข้าม หรือบริษัทรถไฟอาจต้องพ่ายแพ้ต่อความ ต้องการใช้ชีวิตในเมืองของคนรุ่นใหม่ แต่ปัจจุบัน ความห่วงใยต่อโลก ใบนี้ได้สร้างความปรารถนาที่จะเป็นส่วนเล็กๆ ของการบ่มเพาะพื้นที่ สีเขียว และในอีกด้านก็เป็นแรงผลักดันให้คนรุ่นใหม่ได้หันไปสู่ธุรกิจ ที่ต้องเดิมพันกับธรรมชาติและวิทยาการการเกษตรอันทันสมัยอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยที่ทำ�ให้ธุรกิจฟาร์มและสวนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วอาจมา จากความเบื่อหน่ายชีวิตในเมืองและการมุ่งสู่ชีวิตกลางแจ้งของนักธุรกิจ หน้าใหม่ หรือแม้แต่การมองเห็นโอกาสงดงามที่จะปั้นธุรกิจสีเขียวเพื่อ ตอบสนองกลุ่มลูกค้าจำ�นวนมหาศาล

รายงานจาก ReportLinker ระบุถึงภาวะตลาดของอุตสาหกรรมการ ทำ�สวนและการใช้ชีวิตนอกบ้าน (Gardening and Outdoor Living) ทั่วโลกในปี 2011 ว่ามีมูลค่าแตะ 187 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตรา เติบโตที่ร้อยละ 3 ในตลอด 4 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังประเมินว่า การ ขยายตัวของธุรกิจดังกล่าวจะเพิ่มเป็นร้อยละ 3.5 ระหว่างปี 2011-2016 และอาจมีมูลค่าตลาดสูงถึง 220 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากมี ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิดอกออกใบอย่างหลากหลาย ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ เครื่องมือทำ�สวน อุปกรณ์การเพาะปลูก เรือนกระจกเพาะชำ�ต้นไม้ รวมทั้งสื่อทั้งสิ่งพิมพ์และรายการโทรทัศน์ที่นำ�เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิถี สีเขียวซึ่งกำ�ลังได้รับความนิยมอย่างสูงและทำ�รายได้งดงาม จนคิดเป็น สัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของมูลค่าอุตสาหกรรมในกลุ่มเดียวกันทั้งหมด โดยมีชนชั้นกลางชาวจีนเป็นกลุ่มคนที่เพลิดเพลินกับความสดชื่นของ ธุรกิจนี้มากที่สุด ด้วยอัตราการขยายตัวของธุรกิจที่สูงที่สุดในโลกถึง ร้อยละ 10 และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องร้อยละ 9 ต่อปีจนถึงปี 2016 ยิ่งเมืองเติบโตรวดเร็วและแออัดขึ้นเท่าไร การได้ปลีกตัวอยู่กับ สิ่งแวดล้อมอื่นเพียงชั่วครู่ ก็อาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจมหาศาล และ จะยิ่งดีขึ้นไปอีก เมื่อการสร้างแรงบันดาลให้คนอื่นนั้น สามารถสร้างผล ตอบแทนที่น่าพึงใจทางธุรกิจได้พร้อมๆ กัน อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด Tami Fertig

CT

THE “NOT-SO-SECRET” GARDEN เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

ปัจจุบนั เมือ่ การทำ�สวนในเมืองใหญ่ก�ำ ลังเป็นเทรนด์ใหม่มาแรง คงไม่มใี ครรูซ้ ง้ึ ถึงเรือ่ งนี้ ดีไปกว่า ทารา คอลลา (Tara Kolla) กูรูการทำ�ฟาร์มในเขตเมืองผู้เป็นเจ้าของ ซิลเวอร์ เลค ฟาร์มส (Silver Lake Farms) ฟาร์มดอกไม้แบบเกษตรอินทรียใ์ นเขต ซิลเวอร์ เลค ของลอสแอนเจลิส สหรัฐฯ เรือ่ งราวของสวนมากเอกลักษณ์แห่งนีเ้ ป็นบท พิสจู น์ได้อย่างดีวา่ การทำ�สวนหลังบ้านในเขตเมืองเป็นได้มากกว่างานอดิเรก หากการ ลงแรงกับผืนดินยังสามารถงอกงามขึน้ มาเป็นรายได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึง่ สะท้อนให้เห็น ถึงความเป็นไปได้ในการประนีประนอม “ความเป็นเมือง” เข้ากับ “ความโรแมนติก” ของการได้อยูท่ า่ มกลางธรรมชาติ

ภายหลังซื้อบ้านในพื้นที่หุบเขาของซิลเวอร์ เลค ในปี 2001 คอลลา ตัดสินใจเปลี่ยนสวนหลังบ้านบนพื้นที่ราว 2.5 ไร่ เป็นสวนปลูกไม้ ตัดดอกและไม้ยืนต้นให้ผลหลากชนิด เพื่อเป็นแหล่งรายได้ในการดูแล รักษาบ้านและที่ดินขนาดไม่ย่อมนัก คอลลาซึ่งทิ้งงานประจำ�มาจับเรื่อง การทำ�สวนอย่างเต็มตัว ลงเรียนทั้งวิชาพฤกษศาสตร์ ปฐพีศาสตร์ และ การจัดสวนที่วิทยาลัยเพียร์ซ (Pierce College) และเริ่มขายดอกไม้ แสนสวยจากสวนหลังบ้านที่เธอปลูกขึ้นแบบปลอดสารพิษยังตลาดนัด เกษตรกรในชุมชนตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ความนิยมอย่างสูงในดอกไม้สดหลากสายพันธุ์ที่ปลูกขึ้นอย่างใส่ใจ ของเธอนำ�ความไม่พอใจมายังเพื่อนบ้าน ซึ่งในปี 2009 ได้ร้องเรียนไป ยังแผนกการก่อสร้างและความปลอดภัยของลอสแอนเจลิส (The City of Los Angeles Department of Building and Safety) โดยอ้าง กฎเทศบั ญ ญั ติ ห้ า มการปลู ก ดอกไม้ ใ นเขตที่ อ ยู่ อ าศั ย เพื่ อ การนำ � ไป จำ�หน่าย ในช่วงฤดูใบไม้ผลิซึ่งดอกไม้กำ�ลังเบ่งบานงดงามที่สุด เมืองซึ่ง เห็นดีเห็นงามไปกับคำ�ร้องของเพื่อนบ้าน ได้สั่งให้ซิลเวอร์ เลค ฟาร์มส หยุดการทำ�สวนเพื่อการค้าในทันที 6l

Creative Thailand

อย่างไรก็ดี นั่นไม่ใช่จุดจบของสวนดอกไม้แห่งนี้ แม้จะใช้เวลานาน นับปี แต่คอลลาและเพื่อนเกษตรกรในพื้นที่จับมือกันต่อสู้กับกฎหมาย ล้าสมัยที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1946 และชัยชนะที่ได้จากการลงคะแนนเสียง แก้กฎหมายดังกล่าวของสมาชิกสภาเมืองอย่างเป็นเอกฉันท์ในปี 2010 ทำ�ให้คอลลาสามารถกลับมาปลูกดอกไม้เพื่อส่งไปจำ�หน่ายในตลาดของ ชุมชนได้อีกครั้ง รวมถึงเปิดทางให้กับเกษตรกรชาวเมืองลอสแอนเจลิส อื่นๆ ในการทำ�สวนไม้ดอกและไม้ผลในเขตที่อยู่อาศัยเพื่อการจำ�หน่าย ซึ่งมีขอบเขตที่ชัดเจนมากขึ้น เรื่องราวของซิลเวอร์ เลค ฟาร์มส ดูเผินๆ อาจเป็นเพียงแค่การ ทำ�ความฝันให้กลายเป็นความจริง แต่หยาดเหงื่อและน้ำ�ตาที่คอลลาอาจ แลกมาในการเปลี่ยนกฎของเมืองให้เอื้อกับการทำ�สวนนั้น น่าจะเป็น ต้นแบบให้กับผู้อาศัยในเขตเมืองทั่วทุกมุมโลกได้ว่า การทำ�สวนให้ทำ� เงินในเขตเมืองไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ผลไม้ หรือพืชผักและสมุนไพรแบบ ไมโครกรีนซึ่งกำ�ลังมาแรง ใช่จะเป็นเรื่องที่เป็นไม่ไปได้ และอาจเป็น กรณีศึกษาที่ช่วยเปลี่ยนนิยามและกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกับพื้นที่ สีเขียวในเขตเมืองได้ต่อไปในอนาคต ที่มา: latimes.com, silverlakefarms.com


CT kuraz.cz

THE OBJECT คิดแล้วทำ�

โคเคดามะ...ศิลปะมีชีวิต เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูล

เมือ่ แทบทุกๆ วัฒนธรรมในโลกต่างกำ�ลังเปลีย่ นแปลงไปอย่างรีบร้อน จนทำ�ให้แนวคิด อุดมคติ รวมถึงคุณค่าต่างๆ ทางวัฒนธรรม ค่ อ ยๆ เลื อ นหายหรื อ แม้ แ ต่ ถ ู ก หลงลื ม ไป แต่ ข ณะเดี ย วกั น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็อาจสร้างความน่าสนใจและโอกาสใหม่ ที่จะได้มองเห็นการเปลี่ยนผ่านของคุณค่า รูปแบบ และวิธีการ ที ่ ถ ู ก ปรั บ ไปตามกาลเวลา เช่ น เดี ย วกั บ ศิ ล ปะการรั ง สรรค์ “โคเคดามะ (Kokedama)” ที่ไม่เคยหยุดอยู่กับท

คำ�ว่า “โคเคดามะ” นั้นหมายถึงมอสส์สีเขียวที่ปกคลุมอยู่บนก้อนดิน มีประวัติความเป็นมาย้อนไปได้ถึงยุคเอโดะ (ค.ศ.1603-1868) ซึ่งเป็นยุค ที่นิยมปลูกบอนไซแบบ “เนอาไร (Nearai)” ที่เริ่มปลูกในกระถาง ก่อนจะนำ�ออกมาและปล่อยให้เติบโตภายนอก ทั้งนี้ก่อนที่จะนำ�บอนไซ และดินออกจากกระถาง ศิลปินผู้รังสรรค์จะต้องมั่นใจว่าบอนไซต้นนั้นๆ เติบโตและหยั่งรากลงดินแน่นแล้ว เพื่อว่าเมื่อนำ�มาออกมา รากที่อยู่ใน ดินจะยังคงรักษารูปฟอร์มของตัวเองและเติบโตได้ต่อไป หลังความนิยมเลี้ยงเนอาไรเริ่มอิ่มตัว ก็ได้มีการพัฒนาและปรับ เปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงบอนไซมากขึ้น โดยมีการนำ�ต้นมอสส์มาปลูก ยึดเกาะรอบๆ ก้อนดินที่ใช้ปลูก กระทั่งมีการนำ�เอามอสส์มาพันจนรอบ ก้อนดินและบัญญัติศัพท์ไว้ใช้เรียกเนอาไรที่มีมอสส์สีเขียวปกคลุมทั่ว แล้วว่า “โคเคดามะ” ลักษณะเด่นของโคเคดามะอยู่ที่การเตรียมดิน ให้เป็นก้อนกลมคล้ายลูกบอล ด้วยการผสมดินพีทร้อยละ 70 กับดิน อาคาดามะที่มีลักษณะเหมือนดินเหนียวร้อยละ 30 เพื่อให้ดินจับตัว กันได้ดี ส่วนไม้ที่จะใช้ปลูกอาจเป็นไม้กลุ่มบอนไซหรือไม้ประดับประเภท อื่น และเมื่อนำ�ต้นไม้ลงในดินเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการนำ� ต้นมอสส์สีเขียวที่รดน้ำ�จนชุ่มมาพันให้สนิท ใช้ด้ายพันทับให้แน่นอีกครั้ง รดน้ำ�ให้ทั่ว ก่อนนำ�ไปประดับตกแต่งได้ตามต้องการ ปัจจุบัน โคเคดามะกำ�ลังได้รับความนิยมอย่างสูงในแวดวงคนรัก บอนไซทั่วโลก ทั้งในญี่ปุ่นเอง เนเธอร์แลนด์ ไปจนถึงสหรัฐฯ และอังกฤษ โดยมักได้รับการกล่าวขานในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ในการปรับ เปลี่ยนบอนไซในกระถางให้เป็นประติมากรรมจากธรรมชาติที่สวยงาม และน่าทึ่งผ่านกรรมวิธีและกระบวนการใหม่ๆ เช่นผลงานของชาร์ลอตต์ แคเธอรีน (Charlotte Catherine) ที่นำ�ศาสตร์แห่งการจัดวางแท่นบูชา มาใช้กับโคเคดามะจนเป็นผลงานแปลกตาและให้ความรู้สึกที่หรูหรา

รวมถึงการเลือกพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจอย่างดอกไซคลาเมน กล้วยไม้ และ ดอกหน้าวัวมาผสมผสานกับศิลปะการปลูกโคเคดามะได้อย่างลงตัว จนกลายเป็ น กระแสความนิ ย มในการนำ � บอนไซออกจากกระถาง เพื่อรังสรรค์ความงามจากธรรมชาติในรูปแบบที่แตกต่าง แต่ยังคงรักษา คุ ณ ค่ า ในฐานะศู น ย์ ก ลางแห่ ง ความสงบและพลั ง จากธรรมชาติ ไ ว้ อันเปรียบเสมือนการรังสรรค์ศิลปะที่มีชีวิตอย่างแท้จริง ที่มา : charlottecatherine.com, cutebonsaitree.com, บทความ “Gardening Trends: The Rise of Kokedama” โดย Tovah Martin (1 ธันวาคม 2012) จาก telegraph.co.uk

Creative Thailand

l7


CT

CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา

FOOD AND THE CITY:

URBAN AGRICULTURE AND THE NEW FOOD REVOLUTION

FEATURED BOOK

โดย Jennifer Cockrall-King

แทบไม่น่าเชื่อว่า ท่ามกลางสินค้ามากมายภายในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่นั้น แท้จริง แล้วจะสามารถรองรับความต้องการของพลเมืองในเมืองๆ หนึ่งได้เพียงสามวัน อันเป็น มาจากความล้มเหลวของกระบวนการผลิตอาหารของโลกในวันนี้ โดยเฉพาะปัญหา ความยุ่งยากของระบบการขนส่งเพื่อให้ได้มาซึ่งความสดใหม่อยู่เสมอ และหากระบบ ดังกล่าวผิดพลาดขึ้นเมื่อใด นั่นอาจหมายถึงการขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์ระหว่าง ประเทศ หรือแม้แต่ความวุ่นวายที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ การจัด การด้านทรัพยากรอาหารที่ดีพอเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลกกว่า 7 ล้านล้านคน รวมถึงการขยายตัวของเขตที่พักอาศัยที่เรียกว่าเมืองจึงกลายเป็นโจทย์ สำ�คัญที่ต้องเร่งหาทางออก หนังสือเล่มนี้เลือกนำ�เสนอคำ�ตอบอย่างการทำ�เกษตรในเมือง (Urban Agriculture) เพือ่ เป็นอีกหนึง่ ทางเลือกสำ�หรับการผลิตอาหารเองภายในเมืองใหญ่ตา่ งๆ ทัว่ โลกทีก่ �ำ ลัง

BOOK

THE VERTICAL GARDEN: FROM NATURE TO THE CITY

โดย Patrick Blanc ในปี 2005 นอกจากคนไทยจะได้ตื่นตาตื่นใจ กับการเปิดตัวของห้างสรรพสินค้าใหญ่ใจกลาง กรุงอย่างสยามพารากอนแล้ว ยังถือเป็นครั้ง แรกที่ประเทศไทยได้นำ�ระบบผนังสีเขียวหรือ 8l

Creative Thailand

DVD Green Wall มาใช้ภายในอาคารนี้ด้วยเช่นกัน จนทำ�ให้หลายคนเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับ ขั้นตอนและที่มาในการผสมผสานพืชพันธุ์ของ ไม้น้อยใหญ่หลายสายพันธุ์ที่ถูกนำ�มารังสรรค์ เป็นผลงานจากธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชิดวิถีชีวิต คนเมือง แพทริ ก บลั ง ก์ นั ก พฤกษศาสตร์ และ ศิลปินชื่อก้องชาวฝรั่งเศส คือผู้ที่พลิกโฉมหน้า ของป่าคอนกรีตให้ร่มรื่น เขาเดินทางสำ�รวจ และศึกษาป่าเขตร้อนทั่วโลก เพื่อแปลงความรู้ สู่การทำ�สวนแนวตั้งที่สามารถดำ�รงชีวิตควบคู่ กับอาคารสำ�คัญต่างๆ ในเมืองใหญ่ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นอาคาร 21st Century Museum of Contemporary Art ในเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น Quai Branly Museum ในปารีส หรือ CaixaForum Madrid ในสเปน หนังสือ เล่มนี้จึงเต็มไปด้วยภาพสวยสีสด ซึ่งรวบรวม ผลงานและแนวคิดของแพทริก บลังก์ ศิลปิน ผู้มีเส้นผมสีเขียวคนนี้ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

TRUCK FARM

กำ�กับโดย Curt Ellis และ Ian Cheney พื้นที่อาจเป็นข้อจำ�กัดลำ�ดับต้นๆ ของคนใน เขตเมื อ งที่ ป รารถนาจะมี แ ปลงผั ก เล็ ก ๆ เป็นของตัวเอง แต่สารคดีขนาดสั้นจำ�นวน 3 ตอนนีไ้ ด้พสิ จู น์ให้เห็นว่า ทุกพืน้ ทีส่ ามารถเปลีย่ น


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เผชิญกับโอกาสที่จะเกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ยังได้นำ� เสนอวิธีจัดการกับข้อจำ�กัดด้านพื้นที่ของเมือง เพื่อให้ยังคงสามารถสร้าง พื้นที่สำ�หรับการทำ�เกษตรกรรมได้ อันจะเป็นกระบวนการสำ�รองอาหาร ให้อยู่ในมือของผู้บริโภคเองได้อย่างยั่งยืน เจนนิเฟอร์ ค็อกรอลล์-คิง ผู้เขียน ยังได้ทำ�การสำ�รวจและแสวงหาผู้นำ�กระแสด้านการทำ�สวนครัว ในเมืองใหญ่ รวมทั้งทำ�วิจัยตามเมืองต่างๆ ที่ประสบความสำ�เร็จในการ รับมือกับการขาดแคลนอาหาร ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นเทรนด์ระดับโลก ที่ทุกๆ ฝ่ายกำ�ลังให้ความสนใจ เจนนิเฟอร์อธิบายถึงกระแสโลกซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่องนี้ว่า เกิดขึ้นทั้ง ในเมืองจากฝั่งยุโรปอย่างลอนดอน และปารีส ไปจนถึงโลกตะวันตก อย่างแวนคูเวอร์และนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งต่างก็เป็นเมืองที่สามารถสร้างทาง เลือกใหม่ของระบบซูเปอร์มาร์เก็ตแบบบูรณาการให้เป็นโมเดลตัวอย่าง ที่ดำ�รงตัวอยู่ได้อย่างเอกเทศ โดยแกนนำ�เหล่านี้นอกจากจะเป็นผู้ที่มอง การณ์ไกลและมีหัวก้าวหน้าแล้ว พวกเขายังสร้างพื้นที่เพิ่มเพื่อทำ�การ เพาะปลูกด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ว่างบนหลังคา สวนหลังบ้าน

เป็นแปลงเพาะปลูกได้ไม่ยาก ไม่เว้นแม้แต่ ท้ายรถกระบะ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้จึงช่วย ตอกย้ำ�ให้เห็นถึงการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีจาก การรับประทานอาหารที่มาจากแปลงเพาะปลูก ของตัวเอง ด้วยโมเดลการเพาะปลูกสำ�หรับ คนในเมื อ งใหญ่ ที ่ เ ริ ่ ม ต้นด้วยการเปลี่ยน ท้ายกระบะเป็นแปลงดิน สู่การสร้างผลผลิต ขนาดย่อมที่ค่อยๆ เติบโตพร้อมส่งตรงสู่ผู้ปลูก และผู้บริโภค จนสร้างรายได้เป็นรูปธรรมและ นำ�มาพร้ อ มกั บความสุ ข สารคดีเรื่องนี้ยัง เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดโครงการ Truck Farm Chicago ที่เปลี่ยนรถฟอร์ดให้กลายเป็นสวน ผักเคลือ่ นทีเ่ พือ่ ให้ความรูแ้ ก่เด็กๆ ตามโรงเรียน รวมถึงชุมชนต่างๆ และรณรงค์ให้พวกเขา ตระหนักถึงความสำ�คัญของการมีสุขภาพที่ดี ที่ควรเริ่มจากการสร้างแปลงผักเป็นของตัวเอง เพื่อลดการพึ่งพิงจากระบบอุตสาหกรรมหลักที่ เต็มไปด้วยสิ่งปนเปื้อน

CT

ที่จอดรถ พื้นที่ว่างข้างทาง หรือแม้แต่ฟาร์มแนวตั้ง ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจของคนในชุมชน หรือการสร้างฟาร์มคนเมืองโดยใช้พื้นที่ที่ถูก ทิ้งร้างในการปลูกและจำ�หน่ายผักสดคุณภาพดีให้กับร้านอาหารและ เชฟท้องถิ่น เพื่อให้วงการการผลิตอาหารภายในเมืองได้รับการปฏิวัติ ให้กลับมาใช้งานได้ดีและมีคุณภาพอีกครั้ง การทำ�งานของเกษตรกรคนเมืองผู้ที่เริ่มลงมือทำ�สวนในเมืองใหญ่ จึงเปรียบเสมือนกลุ่มคนหัวขบถซึ่งกำ�ลังทำ�การปฏิวัติแบบเล็กๆ ลับๆ กับ ระบบอุตสาหกรรมการผลิตอาหารขนาดใหญ่ของโลก ทว่าก็กลับมีส่วน ช่วยผลักดันให้สังคมเติบโตขึ้น จนกระทั่งสามารถผลิตอาหารเพื่อป้อน ตนเองและแบ่งปันกันภายในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง

HULA GIRL

กำ�กับโดย Lee Sang-il เมื่ อ บริ ษั ท เหมื อ งถ่ า นหิ น กำ � ลั ง จะปิ ด ตั ว ลง ชาวเมื อ งจึ ง วางแผนร่ ว มกั บ เทศบาลเพื่ อ เปลี่ยนเมืองอุตสาหกรรมสีทึมในเขตหนาวให้ กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวในบรรยากาศฮาวาย

แห่งที่สอง ภาพยนตร์ดัดแปลงจากเหตุการณ์ จริงราวปี 1965 ในเมืองโทโฮคุทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นความ งดงามเดียวที่สะท้อนบรรยากาศของฮาวาย ได้มีเพียงพื้นที่ที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลเท่านั้น ชาวเมืองจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่ เพื่อทลายกำ�แพงของความเป็นไปไม่ได้ ตั้งแต่ การจ้างครูสอนเต้นรำ�มาจากโตเกียวเพื่อสอน ให้ ลู ก สาวของคนงานกลายเป็ น นั ก เต้ น ฮู ล่ า บนเวที รวมถึงการช่วยกันนำ�ตะเกียงนำ�้มัน ก๊าดมาให้ความอบอุ่นแก่พืชพรรณเขตร้อนใน โดม จนทำ�ให้ Joban Hawaiian Center ซึ่ง เป็นความหวังเดียวของชาวเมืองเปิดให้บริการ ได้ทันเวลา และกลายเป็นสวนสันทนาการใน บรรยากาศฤดูร้อนแห่งแรกของญี่ปุ่นที่เรียก ผู้เข้าชมได้กว่า 1.24 ล้านคนภายในปีแรกที่ เปิดเท่านั้น

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

youtube.com/WikodaHeliostat

CT

THE SUNFLOWER HOME HELIOSTAT

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

เมื ่ อ แบบแปลนของบ้ า นและการจั ด สวนถู ก แยกออกจากกั น ด้ ว ยผนั ง หน้ า ต่ า ง รวมทัง้ ระบบปรับอากาศ ด้วยเหตุผลในเรือ่ งของประโยชน์ใช้สอยและข้อจำ�กัดด้านพืน้ ที่ ผู้อยู่อาศัยหลายบ้านจึงรู้สึกห่างไกลกับธรรมชาติรอบตัวแม้จะมีพื้นที่สวนอยู่ในบ้าน ก็ตาม ปัจจุบันจึงมีนวัตกรรมใหม่ที่ทำ�หน้าที่เชื่อมโยงพื้นที่การอยู่อาศัยเข้ากับ พื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะช่วยตอบความต้องการในการเข้าใกล้กับธรรมชาติ มากขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานและการประหยัดพลังงานในครัวเรือน ซึ่งนวัตกรรมที่ว่านี้ก็คือ The Sunflower Home Heliostat หรือเครื่องมือ ควบคุมแสงสำ�หรับการจัดสวน

โดยทั่วไปแล้ว Heliostat จะเป็นที่รู้จักกันใน ฐานะอุปกรณ์กระจกที่ใช้เปลี่ยนทิศทางของ แสงและใช้ ผ ลิ ต พลั ง งานสะอาดที่ เ ป็ น มิ ต ร กับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ The Sunflower Home Heliostat เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออก แบบขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดแสง ในสวน และการสร้างแหล่งกำ�เนิดแสงที่เป็น ธรรมชาติมากที่สุด โดย The Sunflower Home Heliostat จะทำ � ให้ แ สงธรรมชาติสามารถ ส่ อ งผ่ า นเข้ า ไปภายในตั ว บ้ า นได้ อ ย่ า งเพี ย ง พอตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะทางทิศเหนือ ซึ่ง ปกติ แ ล้ ว แสงแดดจะส่ อ งได้ ไ ม่ ถึ ง ตลอดวั น นอกจากนี้ มันยังได้ผนวกเครื่องควบคุมการ 10 l Creative Thailand

สะท้อนของแสงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่จะ ปรับตามเส้นทางของแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วง วันได้โดยไม่ต้องใช้ปลั๊กหรือสายเคเบิลใดๆ แต่ ใ ช้ เ พี ย งพลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ เ ท่ า นั้ น กระบวนการทำ � งานของกระจกหกเหลี่ ย ม ที่มีมอเตอร์พลังงานแสงอาทิตย์คอยควบคุม ทิศทางนี้ ได้รับการออกแบบมาให้มีรูปลักษณ์ คล้ายดอกทานตะวัน เพื่อให้ดูกลมกลืนกับ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และยังมาพร้อม ประโยชน์ ใ ช้ ส อยที่ ม ากกว่ า การสั ง เคราะห์ แสงให้กับพืช แต่จะดึงเอาพลังงานแสงมาใช้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ช่วยสร้าง บรรยากาศภายในบ้านอย่างละมุนละไม ไม่ว่า

จะเป็นในห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องน้ำ� โดยสามารถใช้ทดแทนแสงสว่างจากหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์ที่จะช่วยถนอมสายตาและให้ แสงสว่างได้มากกว่าหลอดไฟปกติ นอกจากนี้ การมีแสงจากธรรมชาติส่องผ่านเข้ามาในตัว บ้านในปริมาณที่เหมาะสม ยังช่วยให้คนใน บ้านสามารถปลูกต้นไม้ในกระถางตรงบริเวณ ที่เคยอับแสงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ความ รู้สึกปลอดโปร่งและใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น โดยในทุกกระบวนการทำ�งานของ The Sunflower Home Heliostat ยั ง ไม่ ป ล่ อยก๊ า ซ เรือนกระจกตลอดระยะเวลาการใช้งานของ อุปกรณ์นี้ จะเห็นได้ว่า แม้ The Sunflower Home Heliostat จะเป็นเพียงเครื่องมือควบคุมแสง สำ�หรับการจัดสวน แต่กแ็ ฝงไว้ดว้ ยการออกแบบ ที่ผ่านกระบวนการคิดเพื่อที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ การใช้ ง านระหว่ า งบ้ า นและพื้ น ที่ ธ รรมชาติ ในสวนได้เป็นอย่างดี หากรู้จักการจัดการที่ ดีพอ


lgstudio.squarespace.com

relevantsearchscotland.co.uk

CLASSIC ITEM คลาสสิก

CT

• เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีการปลูกพืชในเรือน

กระจกมากที ่ ส ุ ด ในโลก โดยร้ อ ยละ 80 ของ ผลผลิตทางการเกษตรที่ส่งออกไม่ว่าจะเป็นพริก หยวก ผักกาด และแบล็กเบอร์รี่ ล้วนมาจากการ เพาะปลูกในเรือนกระจก ซึ่งใช้พื้นที่เพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด

GREENHOUS

wikimedia.org

• กระจกคือวัสดุสำ�คัญในการก่อสร้างโรงเรือนเพาะ

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

ปลูกประเภทนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติกรองความ ร้อนจากแสงแดดในตอนกลางวัน และรักษาความ อบอุ่นไว้ได้ดีเมื่อต้องเผชิญกับความหนาวเย็นใน ตอนกลางคืน แต่เนื่องจากกระจกมีน้ำ�หนักมาก และราคาสูง ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุเรือน กระจกจึงพัฒนามาเป็นการใช้แผ่นพลาสติกอย่าง ไฟเบอร์กลาสหรือพีวีซีแบบม้วนแทน

• โรงเรื อ นกระจกสามารถแบ่ ง ประเภทได้ ต าม

อุณหภูมิ โดยโรงเรือนกระจกแบบร้อน (18-26 องศาเซลเซียส) เหมาะสมกับพืชเมืองร้อนอย่าง ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง เฟิร์น และปาล์ม ส่วน โรงเรือนกระจกแบบอุ่น (13-15 องศาเซลเซียส) เหมาะสมกับพืชผักและดอกไม้ ขณะที่โรงเรือน กระจกแบบเย็น (7 องศาเซลเซียส) เหมาะกับต้น กล้าหรือพืชเมืองหนาวอย่างผักโขมและถั่วลันเตา

พายุ เ ฮอริ เ คนที่ ถ ล่ ม เมื อ งเอดิ น บะระในสกอตแลนด์ เ มื่ อ เดื อ นมกราคมปี ที่ ผ่ า นมา ส่งผลให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อสวนพฤกษศาสตร์แห่งเอดินบะระ (Royal Botanic Garden Edinburgh) ที่มีอายุยาวนานกว่า 343 ปี แม้สวนแห่งนี้จะผ่านร้อน ผ่านหนาวและเคยเผชิญหน้ากับความเลวร้ายของสภาพอากาศมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นฤดูที่ฝนตกตลอด 24 ชั่วโมง หรือความหนาวเหน็บแบบติดลบหลาย • โรงเรื อ นกระจกที่ มี ข นาดใหญ่ ที่ สุ ด ในโลกคื อ สิบองศา แต่พายุจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ก็ได้ทำ�ลายล้างต้นไม้อายุยืนกว่าร้อยปี โครงการอีเดน (Eden Project) ที่มณฑลคอร์น ที่ตระหง่านอยู่ภายนอก เหลือไว้เพียงพันธุ์ไม้ภายในโรงเรือนกระจก (Greenhouse) วอลล์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ด้วยขนาด ที่แม้จะได้รับความเสียหายอยู่บ้าง แต่เพียงห้าเดือนให้หลัง เหล่าพืชพันธุ์ก็กลับมา เทียบเท่า 30 สนามฟุตบอล ทำ�ให้ที่นี่สามารถ แตกใบอ่อนเป็นสัญลักษณ์แห่งการเติบโตครั้งใหม่ ภายใต้โรงเรือนกระจกที่คอย จำ�ลองระบบนิเวศวิทยาสำ�หรับผู้ที่หลงใหลในโลก โอบอุ้มการเจริญเติบโตนี้ให้เป็นไปด้วยดีได้ต่อไปอย่างที่เคยเป็นมา แห่งพฤกศาสตร์ไว้ได้อย่างครบถ้วน โดยมี Humid Biome เป็นโดมเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุด • ในช่วงศตวรรษที่ 30 กษัตริย์ไทบีเรียส (Tiberius) •ในช่ ว งยุ ค วิ ก ตอเรี ย น บทบาทของโรงเรื อ น Tropics ในโลก และมีการจำ�ลองระบบนิเวศที่หลากหลาย แห่งจักรวรรดิโรมัน ผู้เผชิญกับอาการป่วย ได้ กระจกถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นสัญลักษณ์เพื่อบ่ง ทั้งเขตร้อนชื้นและเขตเมดิเตอร์เรเนียน รับคำ�แนะนำ�ของแพทย์ประจำ�พระองค์ว่าให้เสวย บอกสถานะทางสังคม หญิงสาวชนชั้นกลางใน ผักประเภทแตงกวาเพื่อรักษาอาการให้บรรเทา อังกฤษนิยมจิบชายามบ่าย ท่ามกลางสวนสวย • สวนขวดแก้ว (Terrarium) เป็นหนึ่งในประเภท ลง “โรงปลูกแตงกวา” จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุม ในโรงเรือนกระจกภายในบ้านของตนเอง รูปแบบ ของการเพาะพันธุ์ไม้ในเรือนกระจก ปัจจุบันการ สภาพแวดล้อมให้แตงกวาสามารถเติบโตได้ในทุก การปลูกพันธุ์พืชในยุคนั้นจึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับ ทำ�สวนขวดแก้วกำ�ลังกลายเป็นงานอดิเรกที่ได้รับ ฤดูกาล โดยใช้วิธีการปลูกให้ต้นแตงกวาเลื้อยไป การแสดงออกทางสังคมนี้โดยเฉพาะ เช่น เรือน ความนิยม ด้วยแนวคิดง่ายๆ อย่างการ “ลงมือ กับล้อเกวียน เพื่อให้สามารถนำ�ออกมาตากแดด กระจกที่ เ พาะปลู ก องุ่ น สำ � หรั บ เป็ น วั ต ถุ ดิ บ ใน ปลูก รดน้ำ� แล้วลืมไปซะ” อันมีที่มาจากระบบ ได้ทุกเช้า และเลื่อนเข้าไปเก็บในโรงเรือนเพื่อ การทำ�ไวน์ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่บ่งบองสถานะทาง นิ เ วศในสวนขวดแก้ ว ที่ เ ป็ น แบบพึ่ ง พาตนเอง ควบคุมปัจจัยในการเจริญเติบโตอย่างการรักษา สังคม เป็นต้น ทำ�ให้ผู้เลี้ยงไม่ต้องรดน้ำ�เป็นประจำ�ทุกวัน เพียง ความร้อนได้ในตอนกลางคืน แค่นานๆ ครั้ง ต้นไม้ก็ยังสามารถเจริญเติบโตได้ ดีเป็นระยะเวลาหลายปี ที่มา: ars.wisc.edu/greenhouse/History, greenzonelife.com, web.agri.cmu.ac.th, greenhousegrower.com, วิกิพีเดีย

Creative Thailand

l 11


CT

COVER STORY เรื่องจากปก


COVER STORY เรื่องจากปก

CT

Creative Thailand

l 13


CT

COVER STORY เรื่องจากปก


COVER STORY เรื่องจากปก

CT

Creative Thailand

l 15


CT

16 l

COVER STORY เรื่องจากปก

Creative Thailand


COVER STORY เรื่องจากปก

CT

Creative Thailand

l 17


CT

18 l

COVER STORY เรื่องจากปก

Creative Thailand

COVER STORY เรื่องจากปก



CT

INSIGHT อินไซต์

MEET THE BONSAI DESIGNER เรื่อง: ปิยพงศ์ ภูมิจิตร ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง

คนที่ ไ ม่ เ คยเลี้ ย งบอนไซจะไม่ มี วั น เข้ า ใจว่ า บอนไซ คืออะไร ตามศัพท์แล้ว บอนไซ (Bonsai) หมายถึง ต้นไม้ทโ่ี ตในกระถาง (บอน = กระถาง ไซ = การปลูกต้นไม้) หลายคนเข้ า ใจผิ ด ว่ า การปลู ก ต้ น ไม้ พั น ธุ์ แ คระ คือบอนไซ แต่จริงๆ แล้ว บอนไซคือการปลูกต้นไม้ ในกระถางให้ อ อกมาหน้ า ตาเหมื อ นกั บ ต้ น ไม้ ใ หญ่ ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ต่างกับการนำ�ไฟฉายย่อส่วน ของโดราเอมอนส่ อ งไปที่ ต้ น ไม้ ใ หญ่ ใ ห้ เ หลื อ ขนาด ตามทีต่ อ้ งการ ตัง้ แต่ตน้ เล็กจิว๋ ทีส่ งู แค่ 2.5 เซนติเมตร จนถึงขนาดสูงท่วมหัวผู้ใหญ่

รากเหง้าของบอนไซนั้นมาจากจีน เรียกว่า เผินจิ่น (Penjing – มีความ หมายเดียวกับบอนไซ) เชื่อกันว่ามีมาประมาณ 1,500-2,000 ปีมาแล้ว ใน สมัยราชวงศ์จิ๋น โดยยุคแรกจะมีการขุดต้นไม้ที่ขึ้นตามหน้าผามาปลูกใน กระถางเซรามิก เมื่อจีนและญี่ปุ่นเริ่มติดต่อค้าขายกันและรับเอาศาสนา พุทธมาจากอินเดียในสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุนนางและชนชั้นนำ�ในญี่ปุ่นจึง นิยมสั่งพ่อค้าจีนให้ขนต้นไม้ย่อส่วนในกระถางมาพร้อมกับเรือสินค้าด้วย เมื่อเข้าสู่ยุคเอโดะ การจัดรูปทรงและตำ�แหน่งของกิ่งและลำ�ต้นที่ต้องทำ� อย่างประณีตและแม่นยำ� ทำ�ให้การเลี้ยงบอนไซกลายเป็นพิธีกรรมเพื่อ ฝึกสมาธิอย่างหนึ่งของพระนิกายเซน ในประเทศไทย การปลูกไม้ที่มีลักษณะคล้ายๆ บอนไซนั้นมีมา ตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกกันว่า ไม้ดัด ส่วนบอนไซหรือไม้แคระนั้นเพิ่งจะ เริ่มเลี้ยงกันอย่างจริงจังในช่วง 30 ปีให้หลังมานี้ โดยมีต้นไม้ไทยหลาย ชนิดที่ถูกนำ�มาทดลองปลูกเป็นบอนไซและได้รับความนิยม หลายชนิด เป็นพันธุ์ที่ใช้ทำ�ไม้ดัดมาก่อนและตกทอดมาถึงการทำ�บอนไซ เช่น ข่อย ตะโก โพธิ์ มะสัง หมากเล็กหมากน้อย ชาฮกเกี้ยน ไทร ไกร หรือแม้แต่ ไม้ดอกอย่าง โมก แก้ว หรือเฟื่องฟ้า ฐานันดร์ ปฏิภานธาดา สถาปนิก นักออกแบบบอนไซ และเจ้าของ เว็บไซต์ bonsaibaison.com นับเป็นนักเลี้ยงบอนไซมือวางอันดับต้นๆ 20 l

Creative Thailand


INSIGHT อินไซต์

ของประเทศ เริ่มต้นจากความสนใจบอนไซที่เกิดขึ้นตั้งแต่ได้เปิดดูหนังสือ บอนไซภาษาญี่ปุ่นในร้านขายหนังสือต่างประเทศเมื่ออายุได้ 10 ขวบ เขา อาศัยภาพเทคนิคการทำ�จากหนังสือ ค่อยๆ ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากใช้ต้นไม้ของไทยก่อน จนมาเริ่มเล่นไม้สนพันธุ์ต่างๆ อย่าง สนมังกร สนสามร้อยยอด สนบลู สนปอม สนประดิพัทธ์ สนแผง และ มาโฟกัสที่สนเลื้อยและสนชิมปากุ เมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา บอนไซในแบบของฐานันดร์นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพื่อไม่ให้เกิด ข้อจำ�กัด เขาจะเริ่มจากการเลือกต้นไม้ที่จะใช้เป็นโครงสร้าง พยายาม หาต้นที่โคนและรากมีลักษณะคล้ายต้นไม้ใหญ่ เลือกด้านที่สวยที่สุด ออกแบบและสเก็ตช์ภาพ เพื่อวางเป้าหมายว่าอยากให้บอนไซมีหน้า ตาออกมาแบบไหน จากนั้นก็ลงมือตัดแต่งกิ่งและใช้ลวดดัดเพื่อให้เกิด รูปทรงอย่างที่ต้องการ นอกจากนี้ ฐานันดร์ยังได้ใช้ความรู้ทางด้าน สถาปัตยกรรมที่ร่ำ�เรียนมาอย่างเทคนิคการเล่นกับแสงและเงาตกกระทบ และการสร้างรูปทรง มาเป็นพื้นฐานในการทำ�บอนไซ เขากล่าวว่า สถาปัตยกรรมและบอนไซแตกต่างกันเพียงที่งานสถาปัตยกรรมจะเริ่ม ต้นจากศูนย์และความว่างเปล่า แต่สำ�หรับต้นไม้นั้นได้มีการออกแบบ ตัวเองไปแล้ว 50% และการลงมือทำ�บอนไซก็คือการจัดการกับอีก 50% ที่เหลือ เพราะเขาเชื่อว่าการทำ�บอนไซคือการเคารพและเดินตามสิ่งที่

CT

ต้นไม้มีมาให้อยู่แล้ว ทุกวันนี้ บอนไซในประเทศไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก แม้จะ เป็นรองเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่ก็มีชมรมบอนไซ อยู่ทุกภูมิภาค มีการจัดกลุ่มเวิร์กช็อปให้ความรู้ในการทำ�บอนไซกันเป็น ประจำ�ทุกเดือน เช่นเดียวกับเว็บไซต์ที่มีอายุร่วม 4 ปีของเขาที่มีผู้เข้า ชมแล้วประมาณ 30,000 คน และยังกลายเป็นสังคมออนไลน์ของคนรัก บอนไซขนาดไม่ย่อมนักที่รวบรวมคนรักบอนไซจากทั่วโลกเข้ามาแลก เปลี่ยนความรู้ ความคิด และแรงกระตุ้นชั้นดีในการทำ�บอนไซระหว่าง กัน ที่สำ�คัญคือ เป็นการต่อยอดการเลี้ยงบอนไซของฐานันดร์ให้กลาย เป็นธุรกิจที่มาจากงานอดิเรก ด้วยความเอาใจใส่ดูแลอย่างดีทุกต้นทำ�ให้ ทุกครั้งที่มีลูกค้ามาซื้อบอนไซจากเขา ฐานันดร์จะให้กล่องเครื่องมือที่มี ทั้งกรรไกร ปุ๋ย ที่ใส่ปุ๋ย และคู่มือแนะนำ�การดูแลเล็กๆ น้อยๆ ให้คน ที่ซื้อไปรู้สึกสนุกกับการดูแลมันไปได้นานๆ เพราะเขาเชื่อว่า บอนไซเป็น ศิลปะอย่างเดียวที่มีชีวิต ไม่มีวันเสร็จ และเราสามารถทำ�มันไปได้ตลอด ชีวิต ที่มา: บทสัมภาษณ์ ฐานันดร์ ปฏิภาณธาดา ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bonsaibaison : โทร. 089 000 5544, bonsaibaison.com, facebook.com/thanun.patipantada Creative Thailand

l 21


ZIAMESE SISTERS รสชาติแห่งคุณภาพจากธรรมชาติ เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

“ชีวิตคนเราจะยาวจะสั้นแค่ไหนไม่มีใครรู้ ทำ�งานแทบแย่ แก่ตัวลงก็ต้องเอาเงินมาจ่ายค่ายารักษาตัวเอง ออกมาทำ�อะไร ที่อยากจะทำ�ดีกว่า จะได้มีความสุข” ย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน ความเครียดจากการทำ�งานในแวดวงธนาคารพาณิชย์ และผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาอาการป่วยด้วยยาแผนตะวันตก ปลุกให้หัวใจที่รักในอิสระของ นัทธ์หทัย พุกกะณะสุต บอกลางานประจำ�ทีท่ �ำ มากว่าสิบปี แล้วหันมาปรับสมดุลให้รา่ งกายและการใช้ชวี ติ ด้วยการสร้างธุรกิจชาใบหม่อนสายพันธุไ์ ทย ภายใต้ชื่อ “ศิอามีส ซิสเตอร์ส (Ziamese Sisters)” จนได้บุกเบิกในตลาดต่างประเทศ ด้วยประสบการณ์และความทุ่มเท ที่การันตีด้วยรางวัลคุณภาพและรสชาติระดับโลก

Good Health, Good Business จากประสบการณ์การเจ็บป่วยทำ�ให้นัทธ์หทัยได้เรียนรู้ว่าการแพทย์ แผนปัจจุบันไม่ใช่คำ�ตอบของการรักษาเสมอไป หลายครั้งที่ศาสตร์การ แพทย์แผนโบราณซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาสามารถเยียวยาให้ หายจากอาการป่วยได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่นเดียวกับที่อาการ ปวดศีรษะของเธอที่บรรเทาลงได้ด้วยการนวดผ่อนคลายแบบตะวันออก และเมื่อตัดสินใจบอกลาจากงานประจำ� เธอจึงเริ่มหันมาระมัดระวังเรื่อง อาหารการกิน รวมถึงหาความรู้เพิ่มเติมจนเกิดความเข้าใจว่า โรคภัยที่ คนส่วนใหญ่เป็นกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการที่มนุษย์เข้าไปยุ่ง กับระบบธรรมชาติมากเกินไป “เราดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ได้ผลผลิต ตามความต้องการของตลาด และทำ�ทุกอย่างเพื่อให้ผลิตสินค้าได้ใน ปริมาณมาก จนเกิดเป็นวงจรปัญหาทีท่ �ำ ลายวัฏจักรทีแ่ ท้จริงของธรรมชาติ อย่างเช่น เนื้อวัวที่เรียกว่า Corn-fed beef ซึ่งเป็นเนื้อที่ได้จากการเลี้ยง 22 l

Creative Thailand

วัวด้วยข้าวโพดซึ่งมีราคาถูกและทำ�ให้วัวโตเร็ว สารอาหารที่ได้จึงต่าง จากเนื้อวัวที่กินหญ้าเพราะมันผิดธรรมชาติ ทุกวันนี้คนจึงเป็นโรคเบา หวาน โรคมะเร็งกันมาก เพราะผู้บริโภคเองก็ไม่ทันคิดและไม่ได้ทำ�ความ เข้าใจว่าสิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแท้จริงแล้วมันมาอย่างไร” ความตระหนักในเรื่องอาหารซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง ประกอบ กับที่คุณพ่อเป็นข้าราชการ ทำ�ให้เมื่อลงมือจับธุรกิจของตนเอง เธอจึง หวังว่ากิจการเล็กๆ ของเธอจะช่วยสร้างชื่อเสียงให้แก่แผ่นดินบ้านเกิด ได้บ้าง ดังนั้นเป้าหมายหลักที่ตั้งไว้จึงไม่ใช่เม็ดเงินมหาศาล แต่เป็นการ นำ�เสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพชั้นเยี่ยมที่ได้จากการคัดสรรวัตถุดิบพันธุ์ดี นำ�ไปปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดโดยปล่อยให้เติบโตตาม ธรรมชาติ ด้วยเหตุผลที่ว่า “เมื่อลงมือทำ�แล้วก็อยากจะทำ�ให้ดี ไม่ดีก็ไม่ สบายใจ เพราะว่ามันเป็นเรื่องสุขภาพของคน”


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

CT

Journey of the Perfect Taste การตีตลาดในระยะแรกของศิอามีสพบอุปสรรคไม่น้อย เนื่องจากคน ไทยมักเลือกซื้อสินค้าจากราคาเป็นอันดับแรก ในขณะที่ชาวต่างชาติแม้ จะเห็นคุณค่าแต่ก็มองว่าสินค้าไทยเป็นของถูกที่สามารถต่อรองราคาได้ ดังนั้นลูกค้ากลุ่มแรกๆ ของศิอามีสจึงเน้นไปที่โรงแรมเป็นหลัก เธอรู้ดี ว่านอกจากคุณภาพที่ได้มาตรฐานแล้ว เมื่อขึ้นชื่อว่าอาหาร รสชาติจึง เป็นสิ่งสำ�คัญที่สุด เพื่อพิสูจน์ว่าการเข้าใจธรรมชาติของต้นหม่อนอย่าง ทะลุปรุโปร่ง การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี และการควบคุมกระบวนการ ปลูกในไร่ของเธอเอง ทำ�ให้ได้คุณภาพและรสชาติที่แตกต่างจริง เธอจึง ทดลองส่งชาใบหม่อนสูตรต้นตำ�รับซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกไปประกวด ในปี 2006 ที ่ ก รุ ง บรั ส เซลส์ ประเทศเบลเยี ่ ย ม และได้ ร ั บ รางวั ล Superior Taste Award ด้วยคะแนนถึง 89.6% จากสถาบันอาหารชั้นนำ� iTQi ซึ่งก่อตั้งโดยคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) หลังจากนั้นไม่นาน ปี เตอร์ กอร์ดอน (Peter Gordon) เชฟมิชลินสตาร์ซึ่งเคยได้รับชาของเธอ เป็นของที่ระลึก ก็ได้ติดต่อให้เธอส่งตัวอย่างชาไปให้ก่อนตัดสินใจรับไป ขายในร้านอาหารของเขา “ตอนที่หยิบชาออกมา เขาก็ทำ�หน้าไม่ค่อย ดีแล้ว เพราะเห็นว่าเป็นชาถุง ดีที่เขาเห็นใจว่าเรามาไกล พอชิมปุ๊บก็รีบ ฉีกถุงออกเลย แล้วก็หยิบขึ้นมาดมใหญ่ ชมว่ากลิ่นดีมาก ถามว่ายังมีรส อื่นอีกไหม ช่วยส่งราคามาให้หน่อย” ปัจจุบันชาสมุนไพรหอมกรุ่นของ เธอจึงได้อวดโฉมในร้านขายชาและร้านอาหารในกรุงลอนดอนไม่ต่ำ�กว่า สี่ร้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นร้านของเชฟระดับมิชลินสตาร์ทั้งหมด

Everyone’s Cup of Tea ความตั้งใจเริ่มแรกของเธอ คือการพัฒนาสินค้าไทยให้มีคุณภาพและ เป็นที่รู้จักในตลาดโลก ในขณะนั้นชาใบหม่อนยังไม่เป็นที่นิยมนัก เธอจึง ส่งตัวอย่างชาไปทำ�วิจัยที่คณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จนพบว่าชาใบหม่อนมีข้อได้เปรียบเหนือชาทั่วไปที่ผลิตจากใบของต้นชา (Camellia Sinensis) เพราะไม่มีสารคาเฟอีนและสารแทนนิน จึงไม่มีรส ฝาด ไม่ทำ�ให้ท้องผูกหรือนอนไม่หลับ นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิส ระเควอซิทิน (Quercetin) และเคมเฟอรอล (Kaempferol) ซึ่งมีสรรพคุณ บรรเทาอาการแพ้หรืออักเสบ ทั้งยังช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ชาใบหม่อนจึงเหมาะกับผู้บริโภคทุกวัย และสามารถตอบโจทย์ตลาดโลก ในอนาคตที่กระแสรักสุขภาพกำ�ลังทวีความสำ�คัญขึ้นได้ดี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับศิอามีส ซิสเตอร์ส : ziamesesisters.com, ziameseteasociety.com

Do the Best, the Key to Success เมื่อเร็วๆ นี้ นัทธ์หทัยยังได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “พาเล ดู โดฟีน (Palais Du Dauphine)” ที่วางตำ�แหน่งทางการตลาดไว้สำ�หรับผู้บริโภคระดับ กลางและสูง โดยนำ�เข้าชาคุณภาพดีจากทั่วโลก พัฒนาผลิตภัณฑ์ประ เภทเบเกอรี่ที่ทำ�จากหม่อนและวัตถุดิบสดใหม่อื่นๆ อาทิเช่น ครัวซอง คุกกี้และแยมลูกหม่อนซึ่งกำ�ลังอยู่ในช่วงทดลองตลาด นอกจากนี้ ยัง เปิดคอร์สทำ�อาหารส่วนตัวในครัวที่บ้านของเธอเอง โดยหวังจะสร้าง ความนิยมในการดื่มชาและทำ�ให้ผลิตภัณฑ์จากชาใบหม่อนเป็นที่รู้จัก มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงเป้าหมายต่อไปของธุรกิจ เธอบอกกับ เราเพียงว่า อยากทำ�สินค้าให้ดีที่สุด เพราะเชื่อว่า “ของดี อย่างไรก็มีคน ต้องการ” เช่นเดียวกับที่เคยมีคนถามเธอว่าคู่แข่งทางธุรกิจของเธอคือ ใคร และคำ�ตอบของเธอก็คือ “ไม่ได้มองว่าใครเป็นคู่แข่ง แต่อยากมอง ให้เป็นคู่ค้ามากกว่า อีกอย่างเราอยากทำ�ของเราให้ดีก่อน” ความเชื่อที่สะท้อนถึงการมองข้ามขีดจำ�กัดทางความคิดนี้ ไม่เพียง ตอกย้ำ�ถึงความเป็นตัวจริงด้านผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของศิอามีส ซิสเตอร์ส แต่ยังแสดงให้เห็นว่า การเคารพซึ่งกันและกัน และการรับ ผิ ด ชอบทั้ ง ต่ อ ตนเองและผู้ อื่ น ด้ ว ยการทำ � หน้ าที่ ของตนเองให้ ดี ที่ สุ ด ยังคงเป็นสิ่งสำ�คัญที่ธรรมชาติได้สอนให้เราเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

maui.co.nz

CT

MARLBOROUGH

บ่มมูลค่าเมืองในขวดไวน์ เรื่อง: รัตมา พงศ์นพรัตน์ "โซวีญยองบล็องทำ�ให้มาร์ลโบโรห์ประสบความสำ�เร็จ และมาร์ลโบโรห์ก็ทำ�ให้โซวีญยองบล็องประสบความสำ�เร็จเช่นกัน" บ็อบ แคมป์เบลล์

หากกล่าวถึงความนิยมในไวน์แห่งโลกใหม่ อย่างนิวซีแลนด์ พันธุ์องุ่นที่สร้างชื่อเสียงติด อันดับต้นๆ ในตลาดโลกซึ่งบ็อบ แคมป์เบลล์ (Bob Campbell) กูรูด้านไวน์ถึงกับยกให้ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ใ หม่ ข องประเทศแทนผลไม้ เลื่องชื่ออย่างกีวีก็คือ องุ่นขาวพันธุ์โซวีญยอ งบล็อง (Sauvignon Blanc) ซึ่งมีการเพาะ ปลูกมากถึงร้อยละ 57 ของจำ�นวนไร่องุ่น ทั่วทั้งประเทศ และถูกนำ�มาผลิตเป็นไวน์ถึง ร้อยละ 69 โดยร้อยละ 89 ของไร่องุ่นพันธุ์นี้ ล้วนตั้งอยู่ที่แคว้นทางเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ อย่าง "มาร์ลโบโรห์ (Marlborough)"

24 l

Creative Thailand

แม้จะมีอายุเพียง 40 ปี แต่องุ่นขาวพันธุ์โซวีญยองบล็องจากไร่ในมาร์ลโบโรห์ก็สามารถตี ตลาดไวน์แห่งโลกเก่าอย่างฝรั่งเศสได้อย่างไม่ไว้หน้า ทั้งยังได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของ มาร์ลโบโรห์จากเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะดินแดนแห่งความสมบูรณ์ของแสงแดดและ การผลิตข้าวบาร์เลย์ ไปสู่ศูนย์กลางแห่งการผลิตไวน์ชั้นเยี่ยม ซึ่งไม่ได้มีเพียงแต่องุ่น ขาวพันธุ์โซวีญยองบล็องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาร์ดอเน (Chardonnay) รีเอสลิง (Riesling) ปิโนต์กรี (Pinot Gris) และองุ่นแดงพันธุ์ปิโนต์นัวร์ (Pinot Noir) ที่ได้รับการ ยอมรับและการันตีจากเวทีประกวดไวน์ระดับโลก การกระโจนเข้าสู่ความสำ�เร็จอย่างรวดเร็วอันเป็นผลมาจากองค์ประกอบทางด้าน สภาพแวดล้อมที่เป็นใจ และความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของกลุ่มอุตสาหกรรมไวน์ที่ทำ�ให้ รัฐบาลท้องถิ่นเล็งเห็นและให้การสนับสนุน ตลอดจนการให้ความสำ�คัญในการพัฒนา ตัวผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการวิจัยและการค้นคว้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อยู่ภาย ใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งคำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้ไวน์ของมาร์ลโบโรห์ได้รับ ความนิยมจนถึงขีดสุด และยังจะคุมบังเหียนในการเป็นผู้นำ�การผลิตไวน์ในสายพันธุ์ อื่นๆ อีกในอนาคต


citizen-times.com

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

CT

WINE INDUSTRY ไวน์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็วของนิวซีแลนด์ ซึ่งมีมูลค่าถึง 28.3 พันล้านบาทในปี 2011 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่า 15,167 ล้ า นบาทในปี 2006 โดยเกื อ บร้ อ ยละ 80 ของจำ � นวน การส่งออกทั้งหมดถูกส่งไปยังประเทศที่เป็นผู้นำ�ด้านการส่งออกไวน์ อาทิ ออสเตรเลี ย ร้ อ ยละ 31 สหราชอาณาจั ก ร ร้ อ ยละ 26 และ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 21 ทั้งนี้ภูมิภาคที่ผลิตไวน์รายใหญ่ซึ่งคอไวน์คุ้นหู กันดีในนิวซีแลนด์ ได้แก่ โอ๊กแลนด์ (Auckland) กิสบอร์น (Gisborne) ไวราราปา (Wairarapa) มาตินโบโรห์ (Martinborough) ฮอว์กสเบย์ (Hawke’s Bay) เซ็นทรัล โอทาโก (Central Otago) แคนเทอร์เบอรี่ (Canterbury) และมาร์ลโบโรห์ (Marlborough) โดยปัจจุบันที่มาร์ลโบ โรห์แห่งเดียวมีพื้นที่ปลูกไวน์กว่า 23,600 เอเคอร์

A LAND LIKE NO OTHER

มีคนเคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีไวน์ที่ไหนในโลกที่มีรสชาติเหมือนไวน์ที่บ่มจาก องุ่นแห่งมาร์ลโบโรห์ ด้วยลักษณะพิเศษที่สามารถรักษาความบริสุทธิ์ของ รสสัมผัสให้สมดุลกับรสชาติอันเข้มข้นและกลิ่นที่น่าประทับใจ และหาก ดิน น้ำ� และแสงแดด คือปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการฟูมฟักเมล็ดองุ่นให้ เจริญงอกงาม แต่ประวัติความเป็นมาของการปลูกพันธุ์องุ่นนำ�เข้าและ ผลิตไวน์ในมาร์ลโบโรห์ในช่วงเริ่มต้นนั้น กลับมาจากความจำ�เป็นใน ฐานะเครื่ อ งดื่ ม ทางสั ง คมและเพื่ อ ใช้ ป ระกอบพิ ธี ก รรมทางศาสนา มากกว่าที่จะรู้ว่าดินแดนแห่งนี้มีศักยภาพที่ดีพร้อมสำ�หรับการเจริญ เติบโตขององุ่น ซึ่งเป็นผลผลิตตั้งต้นในการผลิตไวน์ ในปี 1973 ขณะที่ผู้ผลิตไวน์รายใหญ่จากโอ๊กแลนด์อย่างมอนทานา (Montana) กำ�ลังมองหาที่ทางในการขยับขยายกิจการไวน์ของตนจาก การผลิตเพื่อบริโภคภายในเป็นการส่งออก การสำ�รวจพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มเติมทางเกาะใต้ซึ่งยังมีราคาถูกกว่าเกาะเหนือ ประกอบกับสภาพ แวดล้อมที่อำ�นวย คือ มีแสงแดดปริมาณมากพอ มีปริมาณน้ำ�ฝนค่อน ข้างต่ำ� ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ระบายน้ำ�ได้ดี และปราศจาก น้�ำ ค้างแข็งตามฤดูกาล จึงทำ�ให้มอนทานาตัดสินใจซือ้ ทีด่ นิ ในมาร์ลโบโรห์ และเริ่มการปลูกองุ่นเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ก่อนที่จะมีการจับจองผืน ดิ น จากผู ้ ผ ลิ ต รายอื ่ น ในเวลาต่ อ มา ซึ ่ ง รวมถึ ง ครอบครั ว เชื ้ อ สาย เยอรมันอย่าง จิเซ็น (Giesen) ที่ย้ายรกรากมายังนิวซีแลนด์ ซึ่งแม้จะเริ่ม

เพาะปลูกองุ่นเพื่อทำ�ไวน์ที่มาร์ลโบโรห์ในปี 1981 แต่ก็สามารถผลิตไวน์ ออร์แกนิกคุณภาพรางวัลเหรีญทองที่มี โรเบิร์ต ปาร์กเกอร์ (Robert Parker) การันตีความโดดเด่น (Outstanding) อย่างต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศที่ แ ตกต่ า งของมาร์ ล โบโรห์ ใ นแต่ ล ะพื้ น ที่ ยังอำ�นวยให้ไวน์ที่ปลูกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยพื้นที่ที่มีเทือกเขา ไคกูรา (Kaikoura) ปกคลุมทางภาคตะวันตกของเกาะใต้ ขั้นกลางด้วย แม่น้ำ�ไวราว (Wairau) ซึ่งเป็นบริเวณลุ่มแม่น้ำ�ที่มีดินชนิดพิเศษที่เรียกว่า “Bony Soil” อยู่ทางตอนเหนือของถนนนิว เลนวิก (New Renwick) จึงทำ�ให้เมล็ดองุ่นมีรสชาติดีและกลิ่นหอมละมุน ขณะที่ดินโคลนทาง ด้านใต้ของลุ่มแม่น้ำ�ไวราวจะให้รสชาติที่เข้มข้น มีกลิ่นอายของเสาวรส กูสเบอร์รี่ และผลไม้เมืองร้อนซ่อนอยู่ ส่วนองุ่นขาวพันธุ์โซวีญยองบล็อง ที่ปลูกในบริเวณลุ่มแม่น้ำ�อวาทีรี (Awatere) ที่มีสภาพภูมิอากาศพิเศษ โดยมีอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างตอนกลางวันที่จะมีอากาศ ร้อนจัดและจะเย็นลงอย่างมากในตอนกลางคืน ซึ่งภูมิอากาศเช่นนี้จะ ช่วยยืดเวลาการสุกงอมของเมล็ดองุ่น และส่งผลให้มีกลิ่นอายของหญ้า ตลอดจนได้รสชาติขององุ่นที่เข้มข้นกว่าปกติ

Creative Thailand

l 25


CT

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เทศบาลแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ ทางเทศบาลมาร์ลโบโรห์ยังได้ร่วมมือกับชุมชนในการ วางกรอบวิสัยทัศน์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างพร้อมเพียงกัน โดยตั้งโจทย์ ง่ายๆ ว่าเราอยากเห็นอะไรในมาร์ลโบโรห์ในอีกสิบปีข้างหน้า เพื่อจะได้ เห็นมาร์ลโบโรห์เป็นเมืองที่พัฒนาเชื่อมต่อกับทั่วโลก มีอุตสาหกรรม ที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อม ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้จุดประสงค์หลักของการสร้างวิสัยทัศน์ดังกล่าวก็เพื่อ สร้างให้มาร์ลโบโรห์กลายเป็นภูมิภาคที่ทั้งฉลาดและมีการเชื่อมต่ออย่าง สมบูรณ์ (Marlborough Smart and Connected) โดยมีการส่งเสริม ให้ชุมชนคิดอย่างมีกลยุทธ์ สามารถแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ นำ�กลยุทธ์ใหม่ๆ มาพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส การเกิดขึ้นของ Smart Business Marlborough ยังนับเป็นบริการอย่างหนึ่งที่เทศบาลได้ จัดเตรียมไว้เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ โดยให้ประชาชนเข้ารับ คำ�ปรึกษา หรือหาข้อมูลด้านการลงทุนทำ�ธุรกิจใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของแผนบริหารจัดการต่างๆ การขออนุญาตสร้างอาคาร ข้อมูล สาธารณูปโภค การจัดหาที่ดิน แรงงาน คลอบคลุมไปจนถึงกลยุทธ์ใน การพัฒนาเศรฐกิจของเทศบาลมาร์ลโบโรห์เอง การจัดตั้งศูนย์วิจัยไวน์แห่งมาร์ลโบโร (The Marlborough Wine Research Center) ในปี 1984 ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มเกษตรกร ชาวนา และนักการเมืองผู้มองการณ์ไกลและเล็งเห็นความสำ�คัญของ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีระบบการบริหารจัดการ แบบทรัสต์เพื่อการกุศล (Charitable Trust) ยังมีส่วนช่วยผลักดันใน เรื่องการพัฒนาด้านเกษตรกรรม พืชสวน และการทำ�ไร่องุ่นโดยเฉพาะ โดยองค์กรนี้จะทำ�งานร่วมกับเทศบาลมาร์ลโบโรห์ เพื่อให้ความรู้ตั้งแต่ การคัดเลือกเมล็ดองุ่นที่สุกพอเหมาะสำ�หรับการบ่ม ไปจนถึงความสำ�คัญ ของไนโตรเจนในกระบวนการผลิตไวน์ ในขณะที่สถาบันวิจัยคราวน์ (Crown Research Institute) นั้นได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตขั้น ปฐมภูมิและกลุ่มนักธุรกิจ เพื่อทำ�ผลงานวิจัยที่เจาะเรื่องเมล็ดพันธุ์ ของโซวีญยองบล็อง อันเป็นการรักษาคุณภาพของพันธุ์องุ่นให้โด่งดังไป ทั่วโลกและรักษามาตรฐานในตลาดระหว่างประเทศ

uncorkandunwined.blogspot.com

ส่วนหนึ่งของการรักษาสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยต่อการเพาะปลูก องุ่นเพื่อผลิตไวน์ชั้นเลิศของภูมิภาคใหญ่อย่างมาร์ลโบโรห์นั้น มาจาก รูปแบบการบริหารงานของเทศบาล การจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแลสมาชิกผู้ ผลิต และการจัดตั้งศูนย์พัฒนาข้อมูลอย่างอย่างจริง ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและต่างก็มองเห็นโอกาสการงอกเงยของ เมล็ดพันธุ์องุ่นที่จะผลิดอกออกผลเป็นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของเมือง นิวซีแลนด์ประกอบขึ้นด้วย 2 เกาะใหญ่ๆ คือ เกาะเหนือ และ เกาะใต้ โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 5 เขตเทศบาล แต่ละพื้นที่มีอิสระ ที่จะดูแลปกครองและออกนโยบายภายในเขตของตนเองโดยไม่ต้องผ่าน การเห็นชอบจากรัฐบาลกลาง แต่ถึงกระนั้น เทศบาลเขตมาร์ลโบโรห์ที่ อยู่บนเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ก็ยังจำ�เป็นต้องกำ�หนดให้มีการจัดทำ�แผน และนโยบายของเทศบาล รวมไปถึงการวางกฎระเบียบการบริหารเพื่อ จัดการกับปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ภายใต้ขอบเขตของ ร่มบทบัญญัติการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ปี 1991 (Resource Management Act 1991) จากข้อกำ�หนดดังกล่าวจึงส่งผลให้ขอบข่ายงานด้านการจัดการ บริหารแผนเทศบาลมาร์ลโบโรห์ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 แผนใหญ่ๆ คือ 1) ถ้อ ยแถลงนโยบายภู มิภ าคเทศบาลมาร์ลโบโรห์ (Marlborough Regional Policy Statement) แผนปฏิบัติการนโยบายส่วนภูมิภาค ที่นำ�มาบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพ 2) แผนบริหารจัดการทรัพยากรที่ดีของมาร์ลโบโรห์ (Marlborough Sounds Resource Management Plan) เป็นแผนปฏิบัติการที่เป็นทั้งของ ภูมิภาค และยังถูกนำ�ไปปฏิบัติในแถบชายฝั่งและเขตเทศบาลเมืองมาร์ล โบโรห์ โดยจะเน้นการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ยั่งยืนของทรัพยากร ทางกายภาพของภู ม ิ ภ าคทั้งหมด ในแผนนี้จึงคลอบคลุม นโยบาย กระบวนการต่างๆ และกฎระเบียบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และ 3) แผนบริหารจัดการทรัพยากรของแม่น้ำ�ไวราวและแม่น้ำ�อวาทีรี ซึ่งเป็น แผนงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ของลุ่มแม่น้ำ�ทั้งสอง

26 l

Creative Thailand


ronwurzer.com

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

CT

YEALANDS ESTATE WINES นอกจากเรื่องของรสชาติแล้ว สิ่งที่น่าสนใจของ ไวน์จากไร่องุ่นในมาร์ลโบโรห์คือการนำ�การ บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมาเป็นหัวใจหลักใน การประกอบธุ ร กิ จ เช่ น อุ ต สาหกรรมไวน์ ภายใต้การนำ�ของปีเตอร์ เยียแลนด์ (Peter Yealand) Yealands Estate Wines ถื อ ว่ า เป็ น โรงกลั่นไวน์น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อสิงหาคม ปี 2008 แต่ต่อมาได้กลายมาเป็นผู้ผลิตไวน์ชั้น นำ�ระดับโลกในด้านการดำ�เนินงานที่ยั่งยืนใน ทุกขั้นตอนของการผลิต อาทิเช่น รถแท็กเตอร์

เศรษฐกิจรสละมุน

ใช้น้ำ�มันไบโอ ความร้อนของน้ำ�ในการทำ�ไวน์ ได้มาจากการตัดกิ่งของต้นองุ่นเอามาเป็นเชื้อ เพลิง ใช้ปุ๋ยธรรมชาติที่ทำ�มาจากกากขององุ่น และที่เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจคือการใช้แกะเบบี้ ดอลถอนหญ้าในไร่ ส่งผลให้ช่วยขจัดแมลง รบกวนต้นองุ่นได้โดยปริยาย ซึ่งโรงกลั่นไวน์ แห่งนี้ไม่เพียงได้รับการรับรองจาก Sustainable Winegrowing New Zealand แต่ยัง ได้รับประกาศนียบัติจาก carboNZero และ ISO14001 ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วย ภายใต้วิสัยทัศน์ที่เห็นแต่ความเป็นไป

"เราเลือกโปรแกรมทัวร์ไร่องุ่นในมาร์ลโบโรห์จากคำ�บอกเล่า และเราก็ไม่ ผิดหวังเลย" นักท่องเที่ยววัยปลดเกษียณชาวอังกฤษผู้มีโอกาสได้เดินทาง ไปมาร์ลโบโรห์ครั้งแรกเมื่อต้นปีที่ผ่านมากล่าว ไวน์ไม่เพียงเป็นทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจของมาร์โบโรห์และ นิวซีแลนด์ แต่ยังเป็นตัวแปรทางด้านวัฒนธรรมในการกินดื่มของ ประเทศ ซึ่งนำ�ไปสู่การสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมภาคอื่นๆ ด้วย อาทิเช่น การท่องเที่ยว และการบริการ จะเห็นได้จากการจัดเทศกาล ต่างๆ ในแต่ละเมืองที่ผลิตไวน์ สำ�หรับมาร์ลโบโรห์ เทศกาลอาหารและ ไวน์ (Marlborough Wine and Food Festival) จะมีการจัดขึ้นครบรอบ

ได้ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์แสวงหา สิ ่ ง ใหม่ อ ย่ า งไม่ ห ยุ ด นิ ่ ง ทำ � ให้ Yealands Estate Wine ได้รับรางวัลประเภท “Business Innovation” ของ Marlborough Environment Award เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2013 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับการสนับสนุน จากเทศบาลเมืองมาร์ลโบโรล์เพื่อยกย่องธุรกิจ ที่ตระหนักถึงความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อมที่ดี

30 ปี ในปี 2014 โดยผู้เข้าร่วมเทศกาลจะสามารถลองลิ้มรสชาติของไวน์ ชั้นนำ�และอาหารรสเลิศ อีกทั้งยังสามารถบำ�รุงสมองด้วยการเข้าร่วม งานสัมมนาในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับไวน์จากผู้ผลิตไวน์ชั้นนำ� และเข้า ชมห้องจัดแสดงวัตถุดิบอันเลิศรสสำ�หรับคนรักอาหาร พร้อมการสาธิต วิธีทำ�อาหารจากมาสเตอร์เชฟของนิวซีแลนด์ และเพลิดเพลินกับการ แสดงดนตรีของนักร้องนำ�ประจำ�ท้องถิ่น เป็นต้น รูปแบบการจัดงาน เทศกาลดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการทำ�ตลาดเพื่อการท่องเที่ยวของเมือง และประเทศอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำ�รายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่าง เป็นกอบเป็นกำ� ที่มา: bobcampbell.co.nz, marlborough.govt.nz, mrc.org.nz, Marlboroughwinefestival.co.nz, tripadvisor.com

Creative Thailand

l 27


CT

28 l

THE CREATIVE มุมมองของนักเขียน

Creative Thailand


THE CREATIVE มุมมองของนักเขียน

CT

Creative Thailand

l 29


CT

30 l

THE CREATIVE มุมมองของนักเขียน

Creative Thailand


THE CREATIVE มุมมองของนักเขียน

CT

Creative Thailand

l 31


CT

32 l

THE CREATIVE มุมมองของนักเขียน

Creative Thailand



CT

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

พันพรรณ... สวนปันพันธุ์เพื่อชีวิตยั่งยืน ณ วินาทีที่ผู้คนจำ�นวนมากทั้งในเมือง และชนบทต่างก็มองหาหนทางเพื่อหลีก หนีจากกระแสทุนนิยม เพื่อหวนกลับสู่ ธรรมชาติ แ ละอยู่ กั บ ตั ว เองให้ ม ากขึ้ น นั่นไม่ได้หมายความถึงการที่ทุกคนต่าง ปลีกชีวิตของตนเองให้แปลกแยกไปจาก คนอื่นๆ แต่คือช่วงเวลาที่จะได้พิสูจน์ว่า การเข้า ใกล้ธรรมชาตินั้นไม่จำ�เป็นต้อ ง ละเลยการอยู่ร่วมกันหรือการแบ่งปันกัน ระหว่างเพื่อนมนุษย์ แต่คือการทำ�ความ รู้ จั ก และเข้ า ใจตนเองรวมถึ ง ธรรมชาติ อย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะมองหาโอกาสทำ� ประโยชน์ ใ ห้ แ ก่ ผู้ อื่ น ได้ โ ดยที่ ไ ม่ ต้ อ ง รบกวนสิ่งแวดล้อม

โจน จันได ปราชญ์ชาวบ้านและผู้ก่อตั้ง “ศูนย์พันพรรณ” ศูนย์เก็บ เมล็ดพันธุ์และศูนย์เรียนรู้เพื่อพึ่งพาตนเองบนเนินเขาเล็กๆ ในเชียงใหม่ คือหนึ่งในบุคคลที่พิสูจน์แนวคิดนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ด้วยความ เชื่อที่ว่า ชีวิตของเราไม่ได้แยกขาดจากธรรมชาติอย่างที่หลายๆ คนคิด หรือเข้าใจว่าธรรมชาติคือทรัพย์สินที่มนุษย์ต้องเข้าไปตักตวงกอบโกย จนเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ชีวิตของคนเราซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในทุกวันนี้ และ ความเข้าใจดังว่านี้เองที่ทำ�ให้เขาจึงเริ่มมองหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องวงจรการผลิตอาหารที่ ผูกโยงมนุษย์เข้ากับธรรมชาติอย่างแยกกันไม่ได้ เป็นที่ทราบกันดีในหมู่คนทำ�นาทำ�ไร่ว่า การปลูกอะไรสักอย่างใน วันนี้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากแต่ก่อนมาก เพราะแทนที่เกษตรกรจะได้ ใช้เมล็ดพันธุ์ที่แบ่งเก็บไว้เองจากการเก็บเกี่ยวในปีก่อนหน้า ก็กลับต้อง ไปซื้อหาเมล็ดพันธุ์จากตลาดหรือตัวแทนบริษัทการเกษตรซึ่งมีราคาสูง ขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาพืชผลที่ได้รับกลับเท่าเดิม หนำ�ซ้ำ�เมล็ดพันธุ์ที่ ขายยังเป็นพันธุ์ที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมให้โตเร็ว รูปลักษณ์สวยงาม น่ารับประทาน และสะดวกในการขนส่ง แต่ต้องพึ่งพาปุ๋ยและสารเคมี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังกลายพันธุ์ง่ายจนไม่สามารถนำ�เมล็ดมา ปลูกต่อได้อีก ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาพันธุ์เพื่อคนทั้งประเทศและทั่วโลก จึงตกอยู่ในอำ�นาจการจัดการขององค์กรไม่กี่กลุ่ม ความหลากหลายทาง พันธุกรรม คุณสมบัติ รสชาติ และสารอาหารในพืชจึงลดลง เช่นจากใน อดีตเราเคยมีข้าวเกือบ 20,000 ชนิด แต่วันนี้เหลือเพียงไม่เกิน 200 ชนิด ขณะที่ผักผลไม้พื้นบ้านรสชาติประทับใจหลากหลายพันธุ์ที่เคยกินเมื่อ 34 l

Creative Thailand

punpunthailand.shutterfly.com

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

สมัยยังเด็กก็ค่อยๆ หายไปจากตลาด เหตุผลเบื้องหลังของการก่อตั้งศูนย์กระจายเมล็ดพันธุ์บนที่ดินขนาด ประมาณ 20 ไร่ของโจน จันได ที่ทำ�หน้าที่เป็นแหล่งอาหารชั้นเยี่ยม สำ�หรับตัวเขาเองและผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพึ่ง ตนเอง จึงได้ทำ�หน้าที่สำ�คัญในการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ จัดเก็บ และแจก จ่ายเมล็ดพันธุ์แท้ให้แก่ทุกคนที่สนใจขอรับไปปลูก โดยส่วนหนึ่งแบ่งให้ เครื อ ข่ ายเกษตรอิ น ทรี ย ์ ท ี ่ มี อ ยู ่ มากมายในประเทศ และทั ้ ง หมดนี ้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อหวังจะปลดปล่อยเกษตรกรให้หลุดจากระบบการเพาะ ปลู ก ตามใบสั ่ ง ขององค์ ก รธุ ร กิ จ เท่ านั ้ น แต่ ก ารพั ฒ นาพั น ธุ ์ ท ี ่ เ ป็ น ภูมิปัญญาสืบทอดกันมาหลายชั่วคน ยังจะช่วยสร้างประโยชน์อย่าง ยั่งยืนให้กับวงจรการผลิตอาหารของโลก และกลายเป็นมรดกสืบทอดให้ ลูกหลานมีอาหารที่ดีกินกันต่อไป เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการเอาใจใส่ดูแลด้วยหัวใจที่เชื่อในความเป็นหนึ่ง เดียวกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์จึงเป็นตัวแทนของความหวังว่า เมื่อ มีเมล็ดถูกนำ�ไปปลูกและเพาะต่อในวงกว้าง พืชพันธุ์จะยังคงไว้ซึ่งความ หลากหลาย สดสะอาด และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ทุกชีวิต แทนที่จะตกอยู่ในกำ�มือขององค์กรไม่กี่กลุ่ม เพราะความยั่งยืนที่แท้จริง ของชีวิตไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นอาหารจากพืชผลในสวนของเราเอง ที่มา: บทสัมภาษณ์ โจน จันได ผู้ก่อตั้งศูนย์พันพรรณ โดย ปิยพร อรุณเกรียงไกร greenworld.or.th, lonelytrees.net, thai.punpunthailand.org




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.