10 ประวัติมิสซังกรุงสยาม บทที่ 7

Page 1

บทที่ 7 สมัยพระสังฆราชลาโน ค.ศ. 1679-1696 (ต่อ) พระศาสนาคาทอลิกในกรุ งสยาม หลังการเบียดเบียนพระศาสนา ค.ศ. 1692-1696 สภาพอันน่ าเศร้ าสลดของกลุ่มคริสตชนต่ างๆ มิชชันนารี มีเจตนาและประพฤติอย่างไรมาแล้วก็ตามโครงการของเขาทําไม่ได้ผลเพราะเหตุใดก็ตามสภาพ ของมิสซังกรุ งสยามในขณะนั้นเป็ นที่น่าเศร้าสลดเป็ นอย่างยิง่ ความหายนะทั้งทางวัตถุและทางใจ กองทับถมอยู่ ทัว่ ไป โบสถ์ใหญ่โบสถ์นอ้ ย สามเณราลัย วิทยาลัยกลาง ถูกปล้นหรื อทําลายสิ้ น กลุ่มคริ สตชนที่อยุธยา ที่บางกอก ที่มะริ ด และที่ถลาง ถูกรังควานอย่างหนัก ; กลุ่มคริ สตชนทางภาคเหนือ คือ ที่พิษณุโลก ที่นครไทย และที่สุโขทัย ล้มหายไปเลย คริ สตังในกลุ่มเหล่านี้หลายคนได้ถูกนํามาขังคุกที่อยุธยา ที่เหลือนอกนั้นคือพวกที่หนีเข้าไปอยูใ่ นป่ าประเทศลาว ก็อยูต่ ่อไป แล้วค่อยๆ ละทิ้งกิจปฏิบตั ิทางศาสนาทุกอย่าง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1687 ถึงปี ค.ศ. 1693 ไม่มีมิชชันนารี มาแทนพวกที่ลม้ ป่ วยจนพิการบ้าง ถึงแก่มรณภาพไป บ้าง หรื อถึงเหตุตอ้ งไปจากกรุ งสยามบ้าง ในบรรดาผูท้ ี่ถึงแก่มรณภาพไปนั้น เราบอกแล้วว่ามี คุณพ่อแฌฟฟรารด์ เดอ แลสปี เน, คุณพ่อโมแนสจีเอร์ ,คุณพ่อโปมารด์, คุณพ่อเลอ เชอวาลีเอร์ สําหรับคุณพ่อลีออน ที่เดินทางไปปอนดิ เชรี กบั นายพลแดฟารฌฺ น้ นั ต่อมาท่านจะไปประเทศจีน และจะไม่กลับกรุ งสยามเลย ส่ วนคุณพ่อเฌอนูด์ กับ คุณพ่อโฌเรต์ อยูใ่ นประเทศพม่า คุณพ่อกราเว อยูใ่ นประเทศโคชินจีน แล้วจะมีคุณพ่อมานูแอล มาสมทบกับ คุณพ่อกราเว ในปี ค.ศ. 1693 ด้วย ในปี เดียวกันนี้ คุณพ่อเชอเวรยถึงแก่มรณภาพ หลังจาก ทํางานไม่ได้ต้ งั แต่ นานมาแล้ว ยังเหลือคุณพ่อป๊ อกเกต์ สําหรับปกครองวิทยาลัย และเหลือคุณพ่อมารฺ ตีโน, คุณพ่อแฟเรอ, คุณพ่อแดส เตรชี กับพระสงฆ์พ้ืนเมืองอีก 2-3 องค์ สําหรับ ทําการฟื้ นฟูมิสซัง ซึ่ งก็จะทําได้ยากและช้ามาก เพราะพระเจ้า แผ่นดิน บรรดาขุนนางและประชาชนแสดงความเป็ นอริ ไม่ไว้วางใจ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1693 จะมีพระสงฆ์มาช่วย 2 องค์ คือ คุณพ่อกาบรี แอล โบรด์ (Braud) ซึ่งเป็ น ชาวเมืองนังตฺ (Nantes) ในประเทศฝรั่งเศส และเคยเป็ นมิชชันนารี ในภาคตะวันตกของประเทศตังเกี๋ย 2-3 ปี กับคุณพ่ออันโตนิโอ ปิ นโต ซึ่งกลับจาก กรุ งโรมในปี ค.ศ. 1695 1 เนื่องจากมิชชันนารี มีจาํ นวนน้อย และโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงอนุญาตให้เขาออกไปนอกจังหวัด พระนคร เขาจึงแพร่ ธรรมอยูแ่ ต่ในนครหลวงและบริ เวณ ตลอดจนกลุ่มคริ สตชนที่ต้ งั ขึ้นทางภาคใต้แล้ว ฉะนั้นเรา จึงเห็นว่าจะเป็ นการพูดเกินความจริ ง ถ้าจะกล่าวเหมือนกับมิชชันนารี องค์หนึ่งว่า "เรื่ องต่ างๆ ค่ อยๆ เข้ ารู ปเข้ ารอย ในสภาพเดิม" และพวกมิชชันนารี "เป็ นที่นิยมยกย่ องและเป็ นที่รักใคร่ เหมือนในอดีต"

k

iv h rc

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A s e

A l a

ic r o ist

H

1ในบทที่ 5 เล่าว่า สามเณรอันโตนิโอ ปิ นโต ตามคณะทูตสยาม (โกษาปาน) ไปกรุ งฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1686 และในปลายปี นั้น ได้ไปกรุ งโรม พูดบรรยายเทวศาสตร์เรื่ องหนึ่งเฉพาะเบื้องพระพักตร์พระสันตะปาปา จนพระองค์ทรงชื่นชอบพระทัย ทรงบัญชาให้บวชเป็ นพระสงฆ์ก่อน กลับประเทศฝรั่งเศส เราอยากทราบว่าเมื่อบวชแล้ว อันโตนิโอ ปิ นโต เรี ยนต่อที่กรุ งโรม หรื อกลับไปทําอะไรเป็ นเวลานานถึง 9 ปี ใน ประเทศฝรั่งเศส แล้วจึงกลับมากรุ งสยามเอาในปี ค.ศ. 1695 (ผูแ้ ปล)


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม 121

อยุธยา ที่กรุ งศรี อยุธยา คริ สตังชาวญวนพวกเดียวเป็ นพวกที่มีความหนักแน่นมัน่ คงสักหน่อย ในปี ค.ศ.1690 เขามี จํานวนเพิ่มขึ้นราว 50 คน โดยมาจากคนกลุ่มหนึ่งจํานวน 125 คน ซึ่ง ชาวสยามพบตามเกาะต่างๆ ในอ่าวสยาม แล้วนํามาไม่วา่ จะยอมหรื อขัดขืน ส่ วนโบสถ์นกั บุญยอแซฟ ที่เริ่ มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์น้ นั เป็ นอัน แล้วเสร็ จในปี ค.ศ. 1695 คุณพ่อแดสเตรชีเห็นว่าโบสถ์หลังนี้เป็ น "โบสถ์ ซื่อๆ แต่ มีความสง่ างามอย่ างไรบอก ไม่ ถกู เป็ นความสง่ า งามที่ดูคล้ ายพยากรณ์ ว่า ในอนาคตจะมีความสาคัญอะไรทานองนั้น จริ งอยู่ ในโบสถ์ นี้ พิธีศาสนาทาไม่ โอ่ อ่า เหมือนในอาสนวิหารต่ างๆ ในยุโรป แต่ มีความสะอาด ความเอาใจใส่ และความสงบเสงี่ยม" คุณพ่ออันโตนิโอ ปิ นโต ยังเสริ มว่า "แม้ ทั้งภายในและภายนอกโบสถ์ ยงั ไม่ เรี ยบร้ อยและขาดเครื่ องประดับ แต่ ในกรุ งสยามไม่ มีอาคารและโบสถ์ ใดจะเทียบกับโบสถ์ นีไ้ ด้ ชาวโปรตุเกส ที่เมืองกัวและมาเก๊ าเห็นว่ าโบสถ์ นี้ งามก็ไม่ ใช่ ย่อยแล้ ว มีขนุ นางและแม้ กระทั่งคุณหญิงคุณนายในวังมาชมโบสถ์ นีบ้ ่ อยๆ บุคคลและของซึ่ งเป็ นที่เชิ ด หน้ าชูตามากที่สุดในโบสถ์ นีก้ ค็ ือ นายริ ชารด์ (Richard) กับออร์ แกนที่เขาเป็ นผู้เล่ น" 2 เราเริ่ มประกอบพิธีกรรม ต่างๆ ในวัน พระคริ สตสมภพ

k

พวกมิชชันนารีปฏิบัติต่อคริสตังทีท่ าผิดอย่ างไร ?

o e s

ko g n a fB

พวกมิชชันนารี อยากป้ องกันมิให้คริ สตังทําผิด ดังที่หลายคนกระทําในระหว่างการเบียดเบียนศาสนา จึงใช้ ความเคร่ งครัดต่อเขามากกว่าแต่ก่อน พระสังฆราชลาโนเขียนไว้ในปี ค.ศ. 1694 ว่า : "ปี นี ้ เราให้ คริ สตังของเราบางคนทั้งชายและหญิงทาการใช้ โทษบาป อย่ างสง่ า การปฏิ บัติเช่ นนีเ้ ป็ นที่ ถูกใจคนชาติต่างๆ ในบ้ านเมืองนีพ้ อสมควร มีคริ สตังราว 18 หรื อ 20 คน ถูกทาโทษและถูกประกาศชื่ อ เพราะทา บาปต่ างๆ ที่ใครๆ รู้ การประกาศเช่ นนีไ้ ม่ ทาให้ เขาเสี ยใจเท่ าไรนัก ต่ อมาคุณพ่ ออธิ การของพวกพระสงฆ์ เยสุอิต ขับไล่ คนที่มีช้ ูออกจากโบสถ์ ต่อหน้ าธารกานัล ซึ่ งการปฏิ บัติเช่ นนีย้ งั ไม่ เคยทามาก่ อนเลย ข้ าพเจ้ าเชื่ อตระหนักว่ า ที่นี่เราต้ องใช้ ระเบียบวินัยเหมือนที่พระศาสนจักรในสมัยแรกใช้ ในระหว่ างการเบียดเบียน อย่ างน้ อยก็ในหลายเรื่ อง มิฉะนั้นเราจะไม่ ทาอะไรที่จริ งจังเลย"

iv h rc

e c io d rch

A s e

A l a

ic r o t ก - การเยีย่ มคนเจ็บป่ วย s การล้าiงบาปเด็ H พวกมิชชันนารี เริ่มทํางานที่เขาชอบเป็ นพิเศษอีกครั้งหนึ่ง คือ การประกอบพิธีศีลล้างบาปให้แก่ลูกของคน

ต่างศาสนาที่ใกล้จะตาย ในปี ค.ศ. 1694 คุณพ่อแดสเตรชีลา้ งบาป ให้แก่เด็กวันละ 2-3 คน เป็ นเวลาหลายเดือน ในปี ค.ศ. 1695 และ ค.ศ. 1696 คนตายเพราะเป็ นโรคไข้ทรพิษมาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ เด็ก ; ภายในเวลา 18 เดือน มีคนตายถึง 80,000 คน จํานวนเด็กที่รับศีลล้างบาปในขณะนั้นจึงคงต้องสู งมากทีเดียว เพราะมิชชันนารี ตอ้ ง ประกอบพิธีศีลล้างบาปถึงวันละ 15 หรื อ 20 ครั้ง

2ในหนังสื อ "การเดินทางมากรุ งสยามของบาทหลวงเยสุ อิต" (ฉบับปี ค.ศ. 1687 หน้า 266) บาทหลวงตาชารด์เขียนว่า "โบสถ์หลังนี้จะ ใหญ่โตมาก และถ้าตั้งแต่แรกได้ทาํ แบบแปลนเรี ยบๆ สมํ่าเสมอ ก็อาจจะถือได้วา่ เป็ นโบสถ์ที่งาม เหมือนกับที่สร้างขึ้นในเมืองยุโรป"


122  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

ในขณะเดียวกัน พวกมิชชันนารี กพ็ ยายามรักษาผูใ้ หญ่ดว้ ย และเมื่อพระสังฆราชลาโนถวายคําแนะนําแด่ พระเพทราชา "ให้ ทรงสั่งถ่ ายยา และเอาเลือดของชาวบ้ านชาวเมืองออก" พระเพทราชาทรงออกพระกฤษฎีกาสั่งให้ ใช้วธิ ี รักษาโรคแบบนี้ นอกจากใช้ยาแล้ว ยังใช้การภาวนาด้วย พระสังฆราชสั่งให้กลุ่มคริ สตชนทุกกลุ่มทําการแห่และการภาวนา ร่ วมกัน เพื่อขอพระเป็ นเจ้าโปรดให้โรคระบาดหมดไป

วิทยาลัยกลาง นักศึกษาในวิทยาลัยกลางที่ปกครองโดยอธิการฝี มือเยีย่ มอย่างคุณพ่อป๊ อกเกต์ ผ่านวิกฤติการณ์มา โดย ได้รับความเสี ยหายน้อยกว่าที่เราเคยมีเหตุเกรงกันไว้ แม้ในขณะที่มีความทุกข์แค้นอย่างแสนสาหัส เขาก็เรี ยนต่อไป ในคุกนครบาล (Lacouban) และหลังจากถูกปล่อยออกมาให้มีอิสรภาพเพียงครึ่ งๆ กลางๆ เขาก็เรี ยนต่อไปใน กระท่อมที่สร้างให้เขาอยู่ เมื่อเขามีอิสรภาพอย่างสมบูรณ์แล้ว มีการคิดจะย้ายวิทยาลัยกลางไปอยูท่ ี่เมืองปอนดิเชรี ในประเทศอินเดีย แต่โครงการนี้มีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เพราะประเทศฝรั่งเศสกําลังทําสงครามกับประเทศฮอลัน ดาและประเทศอังกฤษ ไม่ชา้ เราจึง ล้มเลิกโครงการนี้ และสองปี ต่อมา เมื่อประเทศฝรั่งเศสเสี ยเมืองปอนดิเชรี ชัว่ คราว เราก็ชื่นชม ที่ได้ตดั สิ นใจดังนี้ ต่อมา ได้มีโครงการที่จะให้วทิ ยาลัยกลางที่กรุ งศรี อยุธยาอยูท่ ี่สามเณราลัย หรื อจะอยูท่ ี่อาคารหลังที่ไม่สู้ จะดีนกั ซึ่งฟอลคอนสั่งให้สร้างขึ้นและเคยเรี ยกกันว่าวิทยาลัยคอนสฺ ตนั ติเนียน แต่เหตุผลที่ให้ยา้ ยไปอยูท่ ี่มหา พราหมณ์ครั้งแรก มีน้ าํ หนักกว่าข้อพิจารณาอื่นๆ นักศึกษา จึงเป็ นอันต้องกลับไปพักอยูท่ ี่สาํ นักเดิม

k

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A s e ยบร้อยสักหน่อย ซ่อมแซมที่ชาํ รุ ดเสียหายและมีเครื่ องเรื อน หลังจากจัดบ้านให้มีความสะอาดและความเรี v i บ้างแล้ว เขาก็ต้ งั หน้าเรี ยนอย่างจริ งจัh ง คุณพ่อป๊ อกเกต์พิจารณาความคิดจิตใจของเขาก็เห็นว่า คล้ายคลึงกับที่เราคิด c r ในทุกวันนี้ คือ ท่านกล่าวว่l า A "โดยทั่วๆ ไป นักเรี ยนเข้ าใจและจาเรื่ องที่เป็ นนามธรรม สูตร และ รายละเอียดไม่ ส้ ูจะ a ได้ สิ่ งที่มีอยู่แต่ ใrนความคิ ic ด ( tres de raison) เขาเห็นเป็ นเรื่ องเข้าใจยากยิ่งกว่าเรขาคณิ ต แต่ที่พูดนีจ้ ะต้องยกเว้น o อันโตนิโs อ tปิ นโต คนหนึ่ง กับคนอื่นอีกคนหรื อสองคน" i H เขาเรี ยนพูดภาษาลาตินก่อน ต่อไปก็เรี ยนไวยากรณ์ เมื่อเรียนได้ 1 เดือน เด็กก็พดู ได้ นิดหน่อยเวลาเล่น นักศึกษา - ความคิดจิตใจ - การศึกษา

ê

ครั้นเรี ยนได้ 1 ปี "เขาก็ร้ ู ภาษาลาตินพอจะพูดให้ คนอื่นเข้ าใจได้ ทุกเรื่ อง และพูดภาษาลาตินได้ คล่ องเท่ ากับพูดภาษา ของตน แต่ ไม่ ใช่ พูดได้ ถกู ต้ องเท่ ากับซี เซโร" 3

3ซีเซโร (Cicero) นักพูดชาวโรมันสมัยก่อนคริ สตกาล 106-43 (ผูแ้ ปล)


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม 123

ทีน้ ีเราก็สอนแบบกระจายนาม (declinaisons) และแบบกระจายกริ ยา (conjugaisons) พร้อมด้วยกฎ สําคัญๆ ที่เขาท่องได้ภายใน 15 วัน "เพราะมีความจาดีและค่ อยๆ เข้ าใจ" นักประพันธ์สาํ คัญๆ ที่เขาเรี ยนคือ ซีซาร์ , กวินตุส กูรฺซีอุส (Quintus Curtius), โฮราส (Horace), วีรฺยลิ (Virgile) และโดยเฉพาะอย่างยิง่ เตแรนซีอุส (Terentius) ซึ่ งคุณพ่อป๊ อกเกต์ชอบเป็ นพิเศษ และ "พยายามชาระให้ บริ สุทธิ์ " นอกจากนี้ เรายังสอนประวัติศาสตร์ กับภูมิศาสตร์ อีกนิดหน่อย ส่ วนหนังสื อเกี่ยวกับศาสนาที่เขาเรี ยนก็มี ; หนังสื อพันธสัญญาใหม่, ถอดแบบ พระคริ สตเจ้า, จดหมายที่เลือกเฟ้ นของนักบุญเยโรม, บทรําพึงของนักบุญเอากุสติน นักบุญ อันแซลโม และนักบุญ แบรฺ นารด์ ตามคําขอร้องของพระสังฆราชลาโน คุณพ่อเฟลอรี (Fleury) ส่ งหนังสื อหลายเล่มที่แต่งสําหรับสอนเณร มาให้ พระสังฆราชเขียนไปขอบใจท่านในปี ค.ศ. 1693 ว่า "ท่ านไม่ เคยอ่ านเรื่ องอะไรที่ถกู ต้ องและเหมาะสมยิ่งกว่ า นีส้ าหรั บสติปัญญาและกิริยามารยาทของชนชาติตะวันออกเหล่ านี "้ คุณพ่อป๊ อกเกต์ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน เขาสอนพิธีกรรมและการขับร้องด้วย คือ ฝึ กเณรให้ "ทาตามจารี ตที่พระศาสนจักรกาหนดทุกอย่ าง" แต่ "ไม่ มีคนเสี ยงดีๆ และคนที่เสี ยงพอใช้ ได้ กห็ าได้ ยากเต็มที "

ok k g n การบวช a B ในเอกสารต่างๆ ที่เรามี เกือบไม่มีพดู ถึงเรื่ องสําคัญเรื่ องหนึ่งเลยคือ เรื่ องการบวชแต่ f เรื่ องนี้เป็ นเป้ าหมาย o ของวิทยาลัยกลางทีเดียว เราไม่ทราบว่า วิทยาลัยพยายามจะบรรลุถึง เป้ าหมายนีe้ อย่างไร นานๆ ทีจะมีพดู ถึงการ sีสมุดบันทึกบอกจํานวนผูบ้ วชและวัน e บวชสักครั้งหนึ่ง แต่พดู แบบแทรกอยูใ่ นเรื่ องอื่น ไม่ละเอียดจะแจ้ง และไม่ ม c o i เดือนปี ของการบวช อีกประการ หนึ่ง เป็ นเรื่ องสําคัญที่จะต้องบอกกล่ d าวเพิ่มเติมในที่น้ีวา่ สามเณรส่วนใหญ่น้นั เมื่อ h c รับศีลบวช ขั้นต้นและจบการเรี ยนเทวศาสตร์ ที่มหาพราหมณ์ แล้ว ก็กลับไปมิสซังของเขาที่ประเทศตังเกี๋ย โคชิน r A จีน และจีน แล้วก็รับศีลบวชเป็ นพระสงฆ์ที่บา้ นเมื sองของเขา e iv h คุณพ่ออังเฌโลทีเ่ กาะนีโกบาร์rc A เราเห็นควรแจ้a งให้l ทราบถึงเรื่ องมิชชันนารี กรุ งสยามได้พยายามถึงสองครั้งสองคราว ที่จะไปแพร่ ธรรม icกร คือ ที่เกาะนีโกบาร์ และในประเทศพม่า ซึ่งทั้งสองแห่งนี้ขณะนั้นอยูใ่ นอํานาจปกครองของ r นอกพระราชอาณาจั o t s พระสังiฆราชลาโน H

ในระหว่างการเบียดเบียนศาสนา คุณพ่ออังเฌโลหาวิธีออกจากกรุ งสยามได้ เพราะมีสัญชาติเป็ น ชาวฟิ ลิปปิ นส์ จึงไปที่เกาะนีโกบาร์ อยูท่ ี่เกาะนั้น 7 ปี หรื อกว่านั้น โดยเกือบไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่ประการใด เลย และมีผเู้ ขียนในปี ค.ศ. 1696 ว่า "ในจดหมายฉบับหลังๆ ที่เขียนมา ท่ านบอกว่ าที่ยงั ประกอบพิธีล้างบาปให้ แก่ คนทั้งเกาะไม่ ได้ ก็เพราะขาดถ้ อยคาสาหรั บแปลให้ เขาเข้ าใจอัตถ์ ลึกซึ ้งในศาสนาของเราเท่ านั้น เพราะชาวเกาะ เหล่ านีม้ ีสภาพจิตใจที่พร้ อมจะถือศาสนาของเรา" ที่พดู เช่นนี้เป็ นการพูดเกินความจริ งแน่ น่าเสี ยใจที่มิชชันนารี ใน ศตวรรษที่ 17 หลายต่อหลายคนคุน้ กับคําพูดเกินความจริ งแบบนี้ เราไม่ทราบว่าคุณพ่ออังเฌโลแพร่ ธรรมอยูใ่ นหมู่ เกาะนีโกบาร์ กี่ปี และทําการได้ผลเป็ นชิ้นเป็ นอันอะไรบ้าง แต่เมื่อมีมิชชันนารี ผา่ นไปที่เกาะเหล่านี้ในศตวรรษที่ 18 เขาไม่พบร่ องรอยของศาสนาคาทอลิกสักอย่างเลย และมิชชันนารี ที่มาแพร่ ธรรมต่อในศตวรรษที่ 19 ก็จะพูดเป็ น ทํานองเดียวกัน


124  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

คุณพ่อเฌอนูด์ กับคุณพ่อโฌเรต์ ในประเทศพม่ า การประกาศศาสนาในประเทศพม่าได้ผลดีกว่าเล็กน้อย และการตายอย่างกล้าหาญของมิชชันนารี ท้ งั สองที่ ไปแพร่ ธรรมนั้น สะท้อนแสงความมีเกียรติไปถึงประเทศพม่าด้วย ในปี ค.ศ. 1667 พ่อค้าฝรั่งเศสที่เมืองมาสุ ลีปาตัมคนหนึ่ง ซึ่ งเคยอยูใ่ นประเทศพะโค และอาณาจักรอังวะ ราว 2 ปี เขียนถึงพระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลา ม็อต ว่า ในประเทศทั้งสองมีคริ สตัง 1,040 คน เขาบอกชื่อเมือง หลายเมืองที่มี "โบสถ์ สวยงาม แต่ ไม่ มีพระสงฆ์ ดูแล นอกจากองค์ ที่ปรกติพักอยู่ที่เมืองอังวะ" คําบอกเหล่านี้กระตุน้ ให้พระสังฆราชมีความปรารถนาที่จะส่ งพระสงฆ์ไปยังภูมิภาคนี้ แต่ภาวการณ์ไม่อาํ นวยให้ท่านทําได้ ทูตมอญที่อยุธยาคนหนึ่งไปเยีย่ มพระสังฆราชลาโน และสัญญาจะให้ความคุม้ ครอง แก่มิชชันนารี ที่จะ ส่ งไปในประเทศของเขา ท่านก็ยงิ่ มีน้ าํ ใจนําโครงการนี้กลับมารื้ อฟื้ น เราบอก อย่างชี้ชดั แน่นอนไม่ได้วา่ จะเป็ นปี ใด แต่เข้าใจว่าจะเป็ นปี ค.ศ. 1687 คือก่อนการปฏิวตั ิใน กรุ งสยาม 4 พระสังฆราชเขียนไปบอกมิชชันนารี 2 องค์คือ คุณพ่อเฌอนูด์ กับคุณพ่อโฌเรต์ ซึ่ งขณะนั้นอยูใ่ นประเทศเขมร ให้เดินทางไปประเทศพะโค พระสงฆ์ท้ งั สองไปถึง เมืองซีเรี ยม (Syriam) ในปี ค.ศ. 1689 พบชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ บารอน เดอ ลา ดือรังเดียร์ (de la Durandière) ท่านบารอนให้มิชชันนารี ท้ งั สองพักที่บา้ นสองสามวัน บอกเรื่ องราวต่างๆ เกี่ยวกับประเทศและศาสนาคริ สตัง ซึ่ง อยูใ่ นภาวะโชติช่วงชัชวาลน้อยกว่าที่มีคนพรรณนาให้ประมุขมิสซังฟัง หลังจากนั้นคุณพ่อเฌอนูดเ์ ดินทางไปเมืองพะโค 5 (Pégou) ซึ่งมีครอบครัวคริ สตังอาศัย อยู่ 5 ครอบครัว ท่านพักอยูท่ ี่บา้ นเก่าหลังหนึ่งของคลังเก็บสิ นค้าชาวฮอลันดา รักษาคนเจ็บป่ วย แจกยา เรี ยนภาษาและล้างบาปให้ คนต่างศาสนาหลายคน อาศัยที่ท่านเป็ นคนมีเมตตาจิตและเสี ยสละ คนต่างศาสนาจึงพากันมีความนิยมยกย่องและ ไมตรี จิตต่อท่าน จนถึงกับเขาและแม้แต่พระภิกษุ "ลงมือสร้ างโบสถ์ หลังหนึ่งกับบ้ านก่ ออิฐหลังหนึ่งให้ ท่าน" แต่ นอกจากคริ สตังเก่าคนหนึ่งที่ถวาย 1 ใน 4 ของเอกูแล้ว คนอื่นๆ นอกนั้นพยายามขัดขวางตามคําเสี้ ยมสอนของ พระสงฆ์ที่เมืองกัวองค์หนึ่ง แต่ถึงจะขัดขวางก็ไม่สู้จะเป็ นผล มิชา้ มีข่าวเล่าลือว่า พระเจ้ากรุ งอังวะจะขับไล่คุณพ่อเฌอนูด์ กับคุณพ่อโฌเรต์ ทันที คุณพ่อเฌอนูดไ์ ปหา เจ้าที่เป็ นผูบ้ งั คับบัญชาที่เมืองพะโค แจ้งให้ทราบถึงข่าวนี้ ซึ่ งท่านกล่าวเสริ มว่า เป็ นที่น่าเสี ยใจยิง่ นัก เพราะท่านได้ เตรี ยมวัสดุต่างๆ สําหรับสร้างโบสถ์แล้ว เจ้าผูน้ ้ นั ฟังแล้วก็ตอบว่า "เชิ ญทาโบสถ์ ของท่ านไปเถิด" ทันทีมิชชันนารี ก็ ลงมือสร้าง และในวันสมโภชพระจิตเจ้า ปี ค.ศ. 1690 ท่านก็ประกอบพิธีมิสซาในโบสถ์นอ้ ยที่อุทิศถวายแด่ นักบุญเปโตร ระหว่างนั้นคุณพ่อโฌเรต์อยูท่ ี่เมืองซี เรี ยม ในหมู่คริ สตัง "ซึ่ งประพฤติตัวไม่ ดีและไม่ ร้ ู คาสอน และจะหา คนที่ร้ ู ข้อความเชื่ อที่สาคัญๆ ในศาสนาสัก 15 คนก็ทั้งยาก" ท่านแสดง ใจเร่ าร้อนเป็ นอย่างยิง่ เทศน์ แปลคําสอน เตือนคนบาปให้กลับใจ ท่านต้องหยุดชะงักงานที่ทาํ ไว้ก่อน เมื่อพระสงฆ์ฟรังซิสกันที่ส่งมาจากเมืองกัวมาถึง ขู่คน กลับใจใหม่วา่ ประเทศโปรตุเกส จะพิโรธ ถ้าเขาติดต่อกับมิชชันนารี ฝรั่งเศส ซํ้ายังพูดใส่ ความมิชชันนารี เป็ นเรื่ อง น่าขบขันเต็มที แต่ก็เกิดผลไม่นอ้ ยเหมือนกัน

k

iv h rc

e c io d rch

A s e

A l a

ic r o ist

H

4หมายถึงการปฏิวตั ิในปี ค.ศ. 1688 กระทําโดยพระเพทราชา (ผูแ้ ปล) 5หมายถึง เมืองหงสาวดี (กรรมการฯ)

o e s

ko g n a fB


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม 125

คุณพ่อเฌอนูด์ กับคุณพ่อโฌเรต์ ถูกฆาตกรรมทีเ่ มืองอังวะ คุณพ่อโฌเรต์ออกจากเมืองซี เรี ยม เดินทางไปสมทบกับคุณพ่อเฌอนูดท์ ี่เมืองพะโค มิชชันนารี ท้ งั สอง ทํางานอย่างสุ ดกําลังความสามารถ แต่ไม่มีจดหมายสักฉบับที่คุณพ่อทั้งสองเขียนในช่วงเวลานี้ที่เหลืออยูก่ บั เรา จดหมายฉบับเดียวที่เรามีอยูค่ ือ ฉบับลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1693 จดหมายฉบับนี้บอกว่า ผูแ้ พร่ ธรรมทั้งสอง จะเดินทางไปเมืองอังวะ เพราะพระเจ้า กรุ งอังวะรับสั่งให้ไปเฝ้ าในทันที คุณพ่อทั้งสองเดินทางมาเกือบจะอยูใ่ น ฐานะเป็ นนักโทษ เพราะมี "ผู้คุมหลายคน" และการที่ท่านถูกส่ งตัวมาอย่างเร่ งรี บนั้น "ทาให้ ใครๆ เชื่ อว่ ามีอันตราย" สองสามเดือนต่อมา ทราบข่าวว่ามิชชันนารี ท้ งั สองถูกลงโทษ ถูกทรมานอย่างป่ าเถื่อนคือ เมื่อถูกเปลื้อง เสื้ อผ้าแล้ว ทั้งสองถูกปล่อยให้ยงุ กัด แล้วถูกจับยัดกระสอบโยนลงในแม่น้ าํ เมื่อแจ้งข่าวมรณภาพของคุณพ่อทั้ง สอง มิชชันนารี องค์หนึ่งคือ คุณพ่อกราเว เชื่อว่าที่คุณพ่อ ทั้งสองต้องตายนั้นก็เพราะคนต่างศาสนาคนหนึ่งเกลียด ชังไปฟ้ องท่าน เพราะลูกสาวของเขากลับใจมาเป็ นคริ สตัง แล้วไม่ยอมแต่งงานกับคนต่างศาสนา เอกสารอื่นบอกว่า คนต่างศาสนา ผูน้ ้ ีเป็ นชาวมุสลิม เขายอมถือศาสนาคาทอลิก แต่พี่นอ้ งของเขาโกรธแค้น จึงหาทางแก้เผ็ด โดยฟ้ อง มิชชันนารี ท้ งั สองต่อพระภิกษุ พระภิกษุก็ไปทูลยุแหย่พระเจ้าแผ่นดินให้แสดงความเป็ นศัตรู ต่อท่าน

k

คุณพ่อตาชารด์ เจรจาให้ กลับมีความสั มพันธ์ ระหว่ าง กรุงฝรั่งเศสกับกรุงสยาม

o e s

ko g n a fB

ขณะที่พวกมิชชันนารี กาํ ลังทํางานอย่างสงบเสงี่ยมและยากลําบากนั้น คุณพ่อตาชารด์พยายามจะให้กลับมี ความสัมพันธไมตรี ระหว่างกรุ งฝรั่งเศสกับกรุ งสยาม ข่าวแรกๆ เกี่ยวกับการปฏิวตั ิในกรุ งสยามมาถึงกรุ งปารี สใน ราวปลายปี ค.ศ. 1689 ในขณะที่กองเรื อฝรั่งเศสกําลัง จะเตรี ยมตัวมากรุ งสยามพร้อมกับมาร์ควีส เดราญี (marquis d'Eragny), กองทหาร, คุณพ่อ ตาชารด์ และขุนนางชาวสยาม ดังนั้น จึงมีการเปลี่ยนจุดหมายปลายทางของกองเรื อ ซึ่งได้รับ คําสั่งให้แล่นไปยังประเทศอินเดีย เพื่อปฏิบตั ิการสู้รบกับชาวอังกฤษ ตามคําแนะนําของข้าหลวงเมือง ปอนดิเชรี ชื่อ มารฺ แต็ง (Martin) ก่อนจะออกเดินทาง คุณพ่อตาชารด์ได้ประกอบพิธี ล้างบาปให้ขนุ นาง 2 คน และ กลางทาง เมื่อขุนนางอีกคนหนึ่งล้มป่ วยลง ก็ได้รับศีลล้างบาป เช่นเดียวกัน เมื่อมาถึงบาลัสซอรฺ (Balassor) แล้ว พระสงฆ์ผเู้ ป็ นนักการทูตได้ส่งหนังสื อฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1690 ถึงเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่ งขณะนั้นคือ ทูตเก่าคนที่หนึ่ง ซึ่ งไปกรุ งฝรั่งเศสพร้อมกับเมอซิ เออร์ เดอ โชม็องต์ 6 คุณพ่อตาชารด์ยนื ยันว่าตนมีใจรักชอบชาวสยาม "จนถือว่ าตนเป็ นชาวสยามคนหนึ่ง ไม่ ทราบ ว่ าชาวสยามจะป้ องกันผลประโยชน์ ของพระเจ้ าแผ่ นดินด้ วยจิตใจมัน่ คงอย่ างท่ านเช่ นนีห้ รื อไม่ " เขาฝากหนังสื อ ดังกล่าวมากับพวกขุนนางซึ่ งลงเรื อเดินทางมาเมืองมะริ ด เมื่อไม่ได้รับคําตอบ ท่านจึงมีหนังสื อฉบับหนึ่งลงวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1691 ยืนยันว่า "ตนคอยพระบัญชาของพระเจ้ ากรุ งสยาม เพื่อเดินทางมายังพระราชอาณาจักรของ พระองค์ " รัฐบาลสยามยังนิ่งเฉยต่อไป รัฐบาลคิดอย่างไรเกี่ยวกับคําร้องขอของคุณพ่อตาชารด์ ? รัฐบาลเคยส่ งขุน นาง 2 คน กับล่ามปิ นเฮโรไปหาท่านแล้ว และพระสังฆราชลาโน ก็เขียนในเดือนสิ งหาคม ค.ศ. 1691 ว่า "เรื่ อง ต่ างๆ ดูพร้ อมดีพอสมควร" แต่พระสังฆราชไว้ใจ เจ้าพระยาพระคลังก็แต่พอประมาณเท่านั้น ท่านกลัวว่า "เจ้ าพระยาพระคลังจะทาชักช้ า ในกิจธุระต่ างๆ เพราะเป็ นคนที่มีแต่ ลิน้ 7 แต่ ทาอะไรไม่ เสร็ จสักอย่ าง"

iv h rc

e c io d rch

A s e

A l a

ic r o ist

H

6หมายถึง โกษาปาน หรื ออีกนัยหนึ่ง ออกพระวิสูตรสุ นทร (ผูแ้ ปล) 7"มีแต่ลิ้น" หมายความว่า "ได้แต่พดู เก่ง" หรื อที่เราชอบพูดว่า "ดีแต่พดู " (ผูแ้ ปล)


126  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

คุณพ่อตาชารด์เห็นว่าเวลายังไม่เหมาะพอที่จะเดินทางไปกรุ งสยาม จึงเพียงแต่มอบ คําชี้แจงมากับล่ามปิ น เฮโร พร้อมกับสั่งให้แจ้งคําชี้แจงนั้นแก่เจ้าพระยาพระคลัง การปฏิบตั ิ เช่นนี้ เป็ นวิธีที่จะทราบว่า ท่านจะตกลงกับ เจ้าพระยาพระคลังได้หรื อไม่

การสอดแทรกของพระสั งฆราชลาโน คุณพ่อแฟเรอ และเจ้ าพระยาพระคลัง ที่กรุ งศรี อยุธยา ไม่มีใครอยากผูกมัดตัวเอง ตามคําขอร้องของเจ้าพระยาพระคลัง พระสังฆราชลาโนส่ งคุณ พ่อแฟเรอ (Ferreux) ไปเมืองปอนดิเชรี เพื่อชี้แจงสถานการณ์และนํา "คารั บรองที่ปรารถนา" ไปแจ้งแก่คุณพ่อตา ชารด์ ในขณะเดียวกันพระสังฆราชเขียนถึง ดุ๊ก เดอ โบวิลลีเอร์ (de Beauvilliers) ถึงมาดามเดอ แม็งเตอน็อง (de Maintenon) ถึงคุณพ่อเดอ ลา แชส (de la Chaise) เพื่อขอบคุณที่ท่านเหล่านี้มีความเอื้อเฟื้ อ หรื อเพื่อฝากตัว ในความคุม้ ครอง ท่านบอกเสนาบดีเดอ ป็ องชารฺ แตร็ งว่า "ชาวสยามคอยให้ คุณพ่ อตาชารด์ กลับมาจนใจหงุดหงิด" คอยจนใจหงุดหงิดจริ งหรื อ ? เห็นจะ ไม่จริ ง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง เจ้าพระยาพระคลังบอกคุณพ่อตาชารด์วา่ "พระราชสาสน์ ของพระเจ้ าหลุยส์ ที่ 14 กับพระสมณสาสน์ ของพระสันตะปาปาจะได้ รับการต้ อนรั บอย่ างดี ถ้ า มีเรื อใหญ่ นามา ไม่ ใช่ เรื อพ่ อค้ า" แต่รีบเสริ มว่า "จะมีเรื่ องยุ่งยากลาบากในเรื่ องอาหาร เพราะจะให้ แก่ ผ้ ทู ี่จะมาได้ ก็ แต่ ผลไม้ และผัก เนื่องจากพระมหากษัตริ ย์กรุ งสยามมีรับสั่งไม่ ให้ ฆ่าสัตว์ " เจ้าพระยาพระคลังคาดล่วงหน้าว่าชาว ฝรั่งเศสอาจจะอยากใช้กาํ ลัง เขาก็ประกาศว่า "แต่ ไหน แต่ ไรมา คนที่ใช้ เรื อฝ่ าสันดอนเข้ ามา ก็ล้วนแต่ พากันพินาศ ไป" เมื่อคุณพ่อแฟเรอนําหนังสื อของเจ้าพระยาพระคลังฉบับนี้ไปถึงอินเดียคุณพ่อตาชารด์ถูกนําไปยุโรปพร้อม กับชาวฝรั่งเศสที่ถูกชาวฮอลันดาจับเป็ นเชลยเมื่อครั้งตีได้ปอนดิเชรี ฉะนั้นจึงไม่มีการเจรจาต้องเตรี ยม คุณพ่อแฟ เรอทําได้อย่างเดียวคือ เขียนถึงคุณพ่อตาชารด์ บอกเรื่ อง ที่ต้ งั ใจจะบอก พร้อมกับส่ งหนังสื อของอัครมหาเสนาบดี ชาวสยามไปให้ท่าน ในจดหมายที่เจ้าพระยาพระคลัง (โกษาปาน) เขียนในช่วงเวลาเดียวกันนี้ถึงอธิการ สามเณราลัยคณะมิส ซังต่างประเทศ คือ คุณพ่อเดอ บรี ซาซีเอร์ 8 ถึงคุณพ่อเดอ ลา แชส และถึงเสนาบดีเดอ ป็ องชารฺ แตร็ งนั้น เขาโยน ความผิดชอบทั้งหมดในเหตุการณ์ปี ค.ศ. 1688-1689 ไปให้นายพลแดฟารฌฺ ซึ่งได้ปฏิบตั ิการ "ผิดสัญญา" เขา ปฏิเสธไม่รับว่าได้ปฏิบตั ิอย่างเลวร้ายต่อพระสังฆราช มิชชันนารี และชาวฝรั่งเศส ซึ่ง "เขาเพียงแต่ เฝ้ าไว้ ไม่ ให้ คลาด สายตา" เขาถึงกับอวดว่า "ได้ ปฏิ บัติต่อท่ านเหล่ านั้นดีกว่ าที่พึงทาเสี ยด้ วยซ้าไป"

k

iv h rc

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A s e

A l a

ic r o ist

H

8จดหมายฉบับนี้ หมายถึงจดหมายต้นฉบับที่โกษาปานเขียนด้วยมือเป็ นภาษาไทยถึงบาทหลวงเดอ บรี ซาซีเอร์ ยังเก็บรักษาไว้ที่หอ้ งสมุดใน สามเณราลัยมิสซังต่างประเทศ (ผูแ้ ปล)


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม 127

กิจกรรมสุ ดท้ ายของพระสั งฆราชลาโน มรณภาพของท่ าน พระสังฆราชลาโนเห็นทีจะต้องถึงแก่มรณภาพ 9 โดยไม่ได้เห็นกรุ งสยามกลับมี สัมพันธไมตรี กบั ประเทศ ฝรั่งเศส แต่ท่านยังมีความหวังอยูเ่ สมอว่า สัมพันธไมตรี น้ นั จะกลับมีข้ ึนอีก เพราะเมื่อท่านรู้สึกว่าวาระสุ ดท้ายใกล้ มาถึงแล้ว ท่านมีหนังสื อกราบทูลพระเพทราชา"สานึกในพระมหากรุ ณาธิ คุณที่สมเด็จพระนารายณ์ และพระองค์ ทรงมีบุญคุณต่ อท่ านขอพระองค์ ทรงคุ้มครองมิชชันนารี และชาวฝรั่ งเศสที่อยู่ในพระราชอาณาจักรขณะนี ้ และ บรรดาผู้ที่จะมาในภายหลัง" พระเจ้าแผ่นดินดูจะทรงประทับพระทัยในคํากราบทูลนี้ พระองค์ตรัสว่า "คนมีสติ ปั ญญาก็ย่อมแสดงว่ าตนเป็ นคนอย่ างไรจนกระทั่งวันตาย" พระองค์ทรงส่ งเงิน 750 ฟรังก์ ไปพระราชทานเป็ น ของขวัญแก่พระสังฆราชพร้อมกับนายแพทย์คนหนึ่ง และทรงแสดงพระราชประสงค์ให้ส่งข่าวอาพาธของผูป้ ่ วย ไม่กี่วนั ก่อนจะถึงแก่มรณภาพ พระสังฆราชลาโนสั่งให้เขียนหนังสื อฉบับหนึ่งตาม คําบอกถึงสมณ กระทรวงเผยแพร่ ความเชื่อ คัดค้านความสงสัยซึ่ งดูเหมือนกรุ งโรมมีต่อท่าน บรรดาประมุขมิสซังและมิชชันนารี ฝรั่งเศส ทั้งยืนยันความจงรักภักดีอย่างลึกซึ้ งและไม่เปลี่ยนแปลงต่อพระสันตะสํานัก ท่านกล่าวว่า "ข้ าพเจ้ าพร้ อมที่ จะตาย เห็นว่ าต้ องเรี ยนให้ ท่านทราบ ถึงความรู้ สึกของข้ าพเจ้ า หวังว่ าพระสังฆราชทั้งหลายจะเชื่ อตระหนักว่ า สังฆราชผู้หนึ่งที่กาลังจะตาย ไม่ ร้ ู จักปด ปกปิ ด และแสร้ งทา" ท่านลงนามในหนังสื อฉบับนี้หลังจากได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ ต่างๆ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ไม่กี่ชว่ั โมงก่อนจะ สิ้ นใจ พระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ 12 ยังมิได้ทรงล่วงรู้ถึงหนังสื อฉบับนี้ เมื่อพระองค์ทรงส่ งพระสมณสาสน์ ลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1697 มาสรรเสริ ญที่ท่านมีใจมัน่ คงในความลําบาก และมีความซื่อสัตย์ต่ออํานาจของพระ สันตะปาปา

k

การปลงศพพระสั งฆราชลาโน

iv h rc

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A s e

การปลงศพพระสังฆราชผูน้ ่าเคารพกระทําอย่างสง่า ชาวยุโรปที่กรุ งศรี อยุธยาทุกคนตลอดจนนักบวชและ ฆราวาส พากันมาร่ วมในพิธีปลงศพ คุณพ่ออันโตนิโอ ปิ นโต เป็ นผูก้ ล่าวคําสดุดีคุณงามความดีของผูว้ ายชนม์ "ซึ่ ง เป็ นคาสดุดีที่ไพเราะจับใจอย่ างยิ่ง" ศพของพระสังฆราชฝังไว้ในโบสถ์นกั บุญโยเซฟ และพวกมิชชันนารี ได้ก่อคูหา บนหลุมศพของท่าน โดยใช้เงินพระราชทานของพระเพทราชาที่ยงั เหลืออยู่

A l a

ic r o ist

H

9ในเดือนหลังๆ ของปี ค.ศ. 1695 พระสังฆราชลาโน" ได้ลงนามในเอกสารสําคัญ 2 ฉบับ เพื่อให้คณะมิสซังต่างประเทศดําเนินไปอย่าง เรี ยบร้อย เอกสารฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม เป็ นหนังสื อมอบฉันทะให้แก่มิชชันนารี ลีออน, มารฺ ติโน, ลับเบ และเดอ ลาวีญ "ตั้งเขาเป็ นเพื่อน ร่ วมงานและเพื่อนร่ วมใจ" ของบาทหลวงเดอ บรี ซาซีเอร์ , บาทหลวงตีแบรฌฺ​ฺ และบาทหลวงเซอแว็ง ผูร้ ับมอบฉันทะทัว่ ไป เพื่อสามารถ ร่ วมกันทําเพื่อมิชชันนารี ดงั กล่าว ทุกสิ่ งที่พระสังฆราชทํา และปฏิบตั ิได้ ถ้าหากว่าอยู"่ "เอกสารฉบับที่สองลงวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1695 พระสังฆราชลาโนแต่งตั้งบาทหลวงลีออน เป็ น "อธิการสามเณราลัยนักบุญโยเซฟ และเป็ นผูร้ ับมอบฉันทะเพื่อปฏิบตั ิการในกิจธุระทุกอย่าง ของบรรดาประมุขมิสซัง และมิชชันนารี ที่ร่วมเป็ นอันหนึ่งเดียวกับสามเณราลัยคณะมิสซังต่างประเทศ" เอกสารสําคัญ 2 ฉบับนี้ไม่ได้ใช้ให้ เกิดผล และการแต่งตั้งโดยพระสังฆราชก็มิได้มีประโยชน์อนั ใด (เอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ คณะมิสซังต่างประเทศ โดย อาเดรี ยง โลเน เล่มหนึ่ง หน้า 368-371).


128  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

กรุ งโรมทราบข่าวมรณภาพของพระสังฆราชลาโนเมื่อต้นปี ค.ศ. 1699 สมณกระทรวงเผยแพร่ ความเชื่อ ตัดสิ นใจประกอบพิธีอุทิศส่ วนกุศลแก่ท่าน พระสังฆราชฟาโบรนี เลขาธิการ สมณกระทรวงฯ ขอให้ผปู้ ระศาสน์ การมหาวิทยาลัย ไปเชิญคุณพ่อชารฺ โมต์ (Charmot) ซึ่งขณะนั้นเป็ นเหรัญญิกของคณะมิสซังต่างประเทศอยูท่ ี่กรุ ง โรม ให้เป็ นผูข้ บั ร้องมิสซาใหญ่ พิธีดงั กล่าวมีข้ ึนเมื่อวันที่ 30 มกราคม "อย่ างสมเกียรติมาก"

ความเห็นเกีย่ วกับพระสั งฆราชลาโน ในจดหมายที่เขียนถึงใครต่อใคร พวกมิชชันนารี "สรรเสริ ญพระสังฆราชผู้ล่วงลับว่ า เป็ นผู้มีจิตตารมณ์ การภาวนา ถ่ อมตัว พากเพียร บาเพ็ญตบะและมีใจร้ อนรน" คุณพ่อป๊ อกเกต์เพิ่มคําบันทึกต่อไปนี้ ซึ่ งเราสมควรจะเน้นว่า "ประโยชน์ อันยิ่งใหญ่ ที่สุดที่พระสังฆราชแห่ ง เมแตลโลโปลิสทาให้ แก่ มิสซังเหล่ านี ้ โดยเฉพาะแก่ มิสซังกรุ งสยามก็คือ ท่ านได้ แต่ งหนังสื อไว้ หลายเล่ ม หนังสื อ เหล่ านีบ้ างเล่ มโต้ แย้ งและหักล้ างศาสนาของชาวสยามเสี ยโดยสิ ้นเชิ ง ส่ วนบางเล่ มก็อธิ บายและแสดงหลักของ ศาสนาคริ สตัง" 10 ฉะนั้น พระสังฆราชแห่งเมแตลโลโปลิส (พระสังฆราชลาโน) เป็ นผูม้ ีชื่อเสี ยงว่าเป็ นมิชชันนารี ที่ศกั ดิ์สิทธิ์ และใจร้อนรน ทั้งเป็ นคนขยันทํางานตัวยง ถ้าท่านได้ทาํ งานในฐานะเป็ นผูช้ ่วยหัวหน้า ก็น่าจะดีกว่าได้ทาํ งานใน ฐานะเป็ นหัวหน้าเอง พระสังฆราชปัลลือ กับคุณพ่อกาซิล ก็เคยมีความเห็นเช่นนี้ ถึงแม้มนุษย์จะมีความเห็นว่าท่าน มีค่าไม่สูงนัก แต่ท่านได้เป็ นแบบฉบับสอนคุณธรรมความดีต่างๆ ซึ่ งผูแ้ พร่ ธรรมส่ วนใหญ่ตอ้ งบําเพ็ญ และใน คันชัง่ ของพระเป็ นเจ้า ซึ่ งเป็ นคันชัง่ อันเดียวที่สาํ คัญอย่างแท้จริ งนั้น คุณธรรมมีน้ าํ หนักมากกว่าสติปัญญาและ ความศักดิ์สิทธิ์ มีน้ าํ หนักมากกว่ายศถาบรรดาศักดิ์.

k

iv h rc

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A s e

A l a

ic r o ist

H

10เราเชื่อว่าหนังสื อต่างๆ ที่พระสังฆราชลาโนแต่งนั้น ไม่มีเล่มใดเหลืออยู่ นอกจากคําแปลพระวรสาร เขียนด้วยมือ ของสามเณราลัยแห่งคณะมิสซังต่างประเทศ กับหนังสื อ De Deificatione Justorum ซึ่งได้พิมพ์แล้ว

ซึ่งมีอยูใ่ นห้องสมุด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.