18 ประวัติมิสซังกรุงสยาม บทที่ 15

Page 1

บทที่ 15 สมัยพระสังฆราชเลอ บ็อง ค.ศ. 1776 - 1780 พระสั งฆราชและมิชชันนารีถูกขับไล่ วิทยาลัยกลางย้ ายไปประเทศโคชินจีนและประเทศอินเดีย พระสั งฆราชเลอ บ็อง เป็ นประมุขมิสซัง

k

ko g n a fB

นับแต่ยคุ นี้เป็ นต้นไป ถือว่าพระสังฆราชเลอ บ็อง ได้เริ่ มปกครองอย่างเป็ นทางการในฐานะประมุขมิสซัง กรุ งสยาม เพราะในปี ค.ศ. 1776 พระสังฆราชบรี โกต์ได้รับแต่งตั้งเป็ นอธิการปกครองมิสซังมาลาบารฺ ตามที่กล่าว มาแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงนี้พึงถือเป็ นการเปลี่ยนแปลงทางทฤษฎียงิ่ กว่าทางปฏิบตั ิ เพราะตั้งแต่มาถึงกรุ งสยาม พระสังฆราชเลอ บ็อง ได้เข้าปกครองมิสซังกรุ งสยามทุกอย่างแต่ผเู้ ดียว อย่างไรก็ดีเราเห็นเป็ นการสมควรที่จะ บันทึกการเปลี่ยนแปลงนี้ให้เป็ นที่สังเกตไว้

เข้ าเฝ้ าพระเจ้ าแผ่ นดิน

iv h rc

e c io d rch

o e s

A s e

ขณะนั้น พระเจ้าตากสิ นมีความรู ้สึกอย่างไรต่อพระสังฆราชและมิชชันนารี ก็ยงั เป็ นการยากที่จะเข้าใจได้ บางครั้งพระองค์ทรงแสดงพระทัยดีต่อเขา อย่างน้อยก็ทรงแสดงเช่นนั้นด้วยพระอากัปกิริยาภายนอก แต่พระองค์ยงั มีความขุ่นเคืองพระทัยต่อข้อคําสอนที่ขดั แย้ง และทรงรู้สึกว่าไม่สามารถจะกําราบให้อ่อนลงได้ เมื่อพวกมิชชันนารี ออกจากคุกได้สามสัปดาห์ พระเจ้าตากสิ นก็ทรงแสดงพระประสงค์ใคร่ จะพบพวกเขา แต่เนื่องจากพระสังฆราชยังป่ วยอยู่ คุณพ่อกูเด กับคุณพ่อการฺ โนลต์ จึงเข้าเฝ้ าแต่เพียงสององค์ พระเจ้าแผ่นดินทรง แสดงพระอัธยาศัยอันดียงิ่ ประทับนัง่ ตํ่ากว่ามิชชันนารี ท้ งั สอง และทรงส่ งนํ้าชาให้ดื่ม ซึ่ งพระองค์ไม่เคยปฏิบตั ิ เช่นนี้ แม้ต่อข้าราชการชั้นผูใ้ หญ่ พวกมิชชันนารี ยงั ได้เข้าเฝ้ าพระเจ้าแผ่นดินอีกหลายครั้ง และทุกครั้งได้รับการ ต้อนรับเป็ นอย่างดี

A l a

ic r o ist

H

งานของมิชชันนารี การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแสดงพระทัยดีเช่นนี้ แม้จะเป็ นแต่ภายนอก ก็ทาํ ให้พวกมิชชันนารี มีความหวัง พระสังฆราชเลอบ็อง ขอให้สามเณราลัยมิสซังต่างประเทศที่กรุ งปารี ส ส่ งพระสงฆ์มาประกาศศาสนาที่เมืองเพชร บุรีและนครศรี ธรรมราช และประกาศต่อไปที่จนั ทบุรี ท่านจัดตั้งสามเณราลัยเล็กๆ ขึ้นแห่งหนึ่ง ซึ่ งท่านคิดว่าเมื่อ จัดตั้งขึ้นแล้ว สามเณรของท่านจะไม่ตอ้ งไปศึกษาต่อที่วทิ ยาลัยกลาง


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม  219

มิชชันนารี ผรู ้ ่ วมงานของพระสังฆราช สอนให้บางคนกลับใจได้อย่างไม่คาดฝัน พระเจ้าตากสิ นรับสั่งให้ จับชาวบ้านที่อาศัยอยูใ่ นป่ าใกล้ชายแดนทั้งหมด มาไว้ที่เมืองหลวง ในพวกที่ถูกจับมานี้ มีคนลาวอยูป่ ระมาณ 300 คน พวกมิชชันนารี ช่วยเหลือคนเหล่านี้ ซึ่งมาถึงเมืองหลวง ในสภาพไม่มีอะไรติดตัวเลย และมีชีวติ อยูอ่ ย่างยากจน ข้นแค้น ความช่วยเหลือของมิชชันนารี บงั เกิดผล กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 1778 มีคนลาวจํานวน 80 คน กลับใจขอรับ ศีลล้างบาปก่อนตาย นอกจากนี้ พวกมิชชันนารี ประกอบพิธีศีลล้างบาปให้แก่เด็กใกล้จะตายอีกประมาณ 900 คน ที่เมืองบางกอก ในปี ค.ศ. 1778-1779 คุณพ่อกูเดยังทํามากกว่านี้ ท่านพยายามจะตั้งกลุ่มคริ สตังลาวขึ้นหมู่หนึ่ง จึงเรี ยน ภาษาของเขา และอบรม หญิงคริ สตังใจศรัทธาให้ไปเยีย่ มและรักษาพยาบาลคนเหล่านั้น สอนภรรยาและบุตรหญิงของเขา นอกจากนั้นยัง อบรมคนสอนคําสอนสําหรับดูแลและช่วยเหลือเขาทางฝ่ ายกายและวิญญาณ เวลาท่านไม่อยูด่ ว้ ย ท่านเขียนไว้วา่ "ทุกอย่ างเริ่ มจะดาเนินไปอย่ างเป็ นที่น่าพอใจทีเดียว แต่ แล้ วจะเป็ นเพราะพระญาณสอดส่ องจัดหรื อเพราะปี ศาจ ริ ษยาก็ไม่ ทราบ โครงการของข้ าพเจ้ าต้ องล้ ม และความหวังต่ างๆ ของข้ าพเจ้ าเป็ นอันสูญแทบหมดสิ ้น" ที่เป็ นดังนี้ ก็เพราะคนลาวบางคนหนีไป พระเจ้าแผ่นดินสั่งให้จบั คนที่เหลือ บางคนก็ให้เอาไปใส่ คุก บางคนก็ยกให้ขา้ ราชการ "ทาให้ ทุกคนแตกกระจัดกระจายไป" คราวนี้คุณพ่อกูเด ก็หมดหนทางที่จะรวมเขาให้อยู่ เป็ นหมู่และสอนเขา เวลาพบเขาโดยบังเอิญ ก็ได้แต่ช่วยท่องบทสวดบางบทเพื่อมิให้เขาลืม ส่ วนหมู่บา้ นญวนซึ่ง คุณพ่อการฺ โนลต์ดูแลมาตลอดนั้น กลับมีคริ สตังจํานวนหนึ่งจากห่าเตียน (พุทไธมาส) และจันทบุรีมาอยูเ่ พิ่มขึ้น

k

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A

พระเจ้ าแผ่ นดินทรงมีความรู้ สึกร้ ายต่ อพวกคริ es สตัง

iv h rc

อย่างไรก็ดี พระจริ ยวัตรของพระเจ้าตากสิ นกลับกลายเป็ นประหลาดพิกล ทรงใช้เวลาส่ วนหนึ่งไปประทับ อยูต่ ามวัด1 ให้เขานับถือราวกับเป็ นเทพเจ้า และทรงยืนยันว่าพระองค์ทรงลอยขึ้นไปในอากาศได้ พวกมิชชันนารี แสดงอาการไม่ยอมเชื่อและแย้งว่าเป็ นไปไม่ได้ พระองค์ไม่ทรงยินยอมให้เขาเข้าเฝ้ าอีก ในปี ค.ศ. 1778 พระเจ้าตากสิ นมีรับสัง่ ให้มีการแห่ในแม่น้ าํ เพื่อฉลองประมวลข้อเชื่อถืองมงายที่พระองค์ เพิ่งจะแต่งขึ้นเสร็ จ การฉลองกําหนดให้มีสามวัน ผูท้ ี่อยูใ่ นเมืองบางกอก ไม่วา่ จะเป็ นชาติใด ทั้งจีน, ญวน, ลาว, อินเดีย, มลายู ได้รับคําสั่งให้ไปร่ วมในการแห่น้ ี ขณะที่กาํ ลัง แห่ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จขึ้นไปบนปะรําที่ยกขึ้นบน ฝั่งแม่น้ าํ เจ้าพระยา และทอดพระเนตรการแห่ ครั้นไม่เห็นมีพวกคริ สตัง ก็กริ้ วขึ้นอย่างฉับพลัน ร้องว่า "ข้ ารู้ หรอกว่ า เพราะเหตุไรพวกคริ สตัง จึงไม่ มา แต่ ข้าจะต้ องบังคับให้ พวกนีเ้ ชื่ อฟั งให้ จงได้ และถ้ าพระสังฆราชและพวก มิชชันนารี ขดั สู้ข้า ข้ าก็จะฆ่ าเสี ย แต่ เขาคงยอมให้ ฆ่าตายเหมือนกับสัตว์ "

A l a

ic r o ist

H

พระเจ้าตากสิ นเริ่ มนัง่ กรรมฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2320 ในประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 (เล่มเดิม) หน้า 118 กล่าวว่า "อนึ่ง เข้าทรง นัง่ ให้โต๊ะแขก ดู..." (กรรมการฯ) 1


220  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

วันรุ่ งขึ้น พระองค์ค่อยสงบพระสติลง เพราะได้สดับฟังคําอธิบายของข้าราชการผูใ้ หญ่ผหู้ นึ่ง จึงเพียงแต่ ทรงแสดงความมีพระทัยร้อนรนใคร่ ให้มนุษยชาติรอดพ้นจากความทุกข์ ตรัสว่า "ข้ าอยากนาโลกไปในทางที่ถกู พวกคริ สตังไม่ พอใจตามข้ า เขาก็จะพากันพินาศ เป็ นเรื่ องของเขา" อันที่จริ งพระเจ้าแผ่นดินทรงพระเจตนาดี แต่ทรง ขาดความรอบรู ้และทรงพอพระทัยความเข้มงวดเด็ดขาดเกินไป ต่อมามินาน เป็ นวันจ่ายเงินเดือน 2 พระเจ้าตากสิ นกริ้ วพวกคริ สตังอีก ตรัสว่า "จ่ ายเงินให้ พวกนีม้ ี ประโยชน์ อะไร? ไม่ ยอมมาร่ วมในพิธีของเรา และยังไม่ ยอมมาเล่ นเครื่ องดนตรี ในงานฉลองของเรา" คนที่อยู่ ณ ที่น้ นั ออกชื่อพระสังฆราชและมิชชันนารี พระเจ้าแผ่นดินจึงตรัสสรุ ปว่า "ไม่ ต้องจ่ ายเงินเดือนให้ พวกคริ สตัง จนกว่ า พวกพระสังฆราชและพวกมิชชันนารี จะออกไปจากประเทศ" มิชา้ มินาน ก็มีการแห่ตามแบบอย่างคนต่างศาสนาอีก คริ สตังบางคนได้ไปร่ วมในการแห่ โดยหวังว่าการปฏิบตั ิของเขาจะทําให้พระเจ้าตากสิ นหายกริ้ ว

ok k g การปฏิบัติของพระสั งฆราชเลอ บ็อง ต่ อผู้ทาผิด n a่อมา เวลามิสซา B พระสังฆราชเลอ บ็อง ไม่พอใจที่คริ สตังบางคนปฏิบตั ิดงั นี้ และในวันอาทิ ต ย์ ต f o ท่านประกาศตัดผูก้ ระทําผิดขาดจากพระศาสนจักร มีแต่คนเดียวหัวดื้อ นอกนั้นทุe กคนได้สารภาพความผิด และยอม s ขอโทษ ซึ่งพระศาสนจักรก็ยอมอภัยให้แก่ผกู ้ ระทําผิดที่รู้สาํ นึกตัวเสมอ ce ioยค่อยปรกติ พระองค์จึงดูเหมือนเข้าพระทัย d พระเจ้าตากสิ นทรงทราบเรื่ องนี้ แต่ชะรอยจะเป็ นเพราะพระทั rcานัh้น พระองค์ทรงตําหนิสมุหนายก ที่ยพุ ระองค์ให้เล่น คุณธรรมของพวกคริ สตังและสิ ทธิ์ ที่จะขัดสู ้ของเขา A ยิง่ กว่ งานพวกคริ สตัง พระองค์ตรัสว่า "วันก่ อน เจ้eาเห็sนข้ ากาลังโกรธ ก็พยายามจะยัว่ ยุให้ ข้าโกรธหนักขึน้ พวกคริ สตัง iv h นั้นเขาถือศาสนาของเขามัน่ คง ไม่cเหมื อนกับเจ้ าที่เป็ นเหมือนสัตว์ สองหน้ า แต่ ขอให้ ร้ ู ไว้ เถิด ถ้ าวันนั้นข้ าได้ ทา r อะไรรุ นแรงต่ อพวกคริ สตัlงแล้Aว เจ้ าก็จะต้ องชดใช้ จะต้ องรั บเคราะห์ ด้วย" a ความนึกrคิiดcถูกต้องเช่นนี้เป็ นแต่แสงสว่างที่ผา่ นวูบเดียวเข้าไปในความมืด ซึ่งครอบงําจิตใจอันยโสของ พระเจ้าiแผ่ นtดิo นอยูเ่ ป็ นปรกติวสิ ัย พวกพระภิกษุทูลพระองค์ซ้ าํ แล้วซํ้าอีก และ ในที่สุดก็ดูเหมือนพระองค์ทรงพลอย s H เชื่อจริ งๆ ว่า ตราบใดที่พวกสอนศาสนาคริ สตังยังอยูใ่ น พระราชอาณาจักร ตราบนั้นพระองค์จะทรงลอยขึ้นไป ในอากาศไม่ได้

2"วันจ่ายเงินเดือน" คงจะหมายถึงวันจ่ายเงินเบี้ยหวัดรายปี กระมัง ?(กรรมการฯ)


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม  221

พระสั งฆราชและพวกมิชชันนารีถูกขับไล่ การกระทบกระทัง่ และยุแหย่เหล่านี้ทาํ ให้พระองค์ทรงขุ่นเคืองพระทัย และผลที่เกิดก็คือ พวกมิชชันนารี ถูกขับไล่ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1779 พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระบัญชาให้ สมุหนายกแจ้งคําสัง่ ให้ออกจาก พระราชอาณาจักรให้พระสังฆราชและพระสงฆ์ทราบ คุณพ่อกูเด เขียนไว้วา่ "เราพยายามทาทุกอย่ างเท่ าที่สามารถ จะทาได้ เพื่ออยู่กับคริ สตังของเราต่ อไป แต่ ไร้ ผล" เมื่อพวกมิชชันนารี รบเร้าอ้อนวอนและอ้างถึงพระเมตตาของ พระเจ้าแผ่นดินแต่หนหลัง รัชทายาทก็เพียงแต่รับสัง่ ว่า "ที่ท่านว่ านั้นก็จริ งทั้งนั้นแหละ แต่ เสด็จพ่ อของเรา เปลี่ยนแปลงไปเสี ยแล้ ว" วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1779 พวกมิชชันนารี ลงเรื อไปมะละกา และจากนั้นพระสังฆราชเลอ บ็อง เดินทาง ต่อไปยังเมืองกัวในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1780 ส่ วนคุณพ่อการฺ โนลต์ กับ คุณพ่อกูเด เดินทางไปเมืองปอนดิเชรี แต่มีความปรารถนาจะพบเรื อที่นน่ั สักลําหนึ่งเพื่อเดินทางไปเกาะถลาง (ภูเก็ต) เป็ นอันว่าไม่มีพระสงฆ์คาทอลิกสักองค์เดียวในพระราชอาณาจักรสยามแล้ว วิทยาลัยกลางก็ลม้ สู ญไปแล้ว เหลือแต่คริ สตังไม่ดีไม่ชว่ั ไม่กี่ร้อยคนเป็ นประจักษ์พยานผลงาน และความยากลําบากที่พวกมิชชันนารี ได้สู้ทนมา เป็ นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษบนฝั่งแม่น้ าํ เจ้าพระยา อนิจจา! เป็ นผลงานที่นบั ว่าน้อยเต็มที! เดชะบุญที่พระเป็ นเจ้ามิได้ ทรงวัดพระคุณของพระองค์ตามผลงานที่เกิด และเมื่ออุตส่ าห์ทาํ แต่ทาํ ไม่ได้ผล หรื อมีน้ าํ ใจจะทําแต่ทาํ ไม่ได้ พระองค์ก็ยงั ประทานบําเหน็จให้อยู่

k

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A s พระสั งฆราชเลอ บ็อง ถึงแก่มรณภาพ e ivงเมืองกัวไม่กี่เดือน ก็ถึงแก่มรณภาพไปรับบําเหน็จที่กล่าวนี้ ท่านสิ้นใจ h พระสังฆราชเลอ บ็อง เดินcทางไปถึ rา" เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1780 ผูส้ าํ เร็จราชการอาณานิคมโปรตุเกสได้จดั การ A ในอาราม "พระมารดาของพระเจ้ l a ปลงศพท่านอย่าrงมโหฬาร ic พระสังฆราชที่เมืองกัวเป็ นผูถ้ วายมหาบูชามิสซาและประกอบพิธีรอบหีบศพ (absoute) o t ว้ ายชนม์จะได้รับเกียรติในการปลงศพเช่นนี้ เราท่านอาจนึกถามในใจว่า หลุมที่บรรจุร่างอันหา แม้พระสั งฆราชผู s i ชีวH ติ ไม่แล้วของพระสังฆราชเลอ บ็อง นั้น มิได้บรรจุมิสซังสยามทั้งมิสซัง ซึ่ งดูเหมือนตายแน่แล้ว และเกือบไม่มี ทางจะกลับเป็ นขึ้นมาใหม่ ด้วยละหรื อ

คุณพ่อปิ โญ เดอ เบแฮน เป็ นอธิการวิทยาลัยกลาง ในช่วงเวลานี้เอง บังเอิญมีเหตุการณ์หลายเรื่ องเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างน่าเจ็บปวดรวดร้าวใจยิง่ นัก กล่าวคือ วิทยาลัยกลาง ซึ่งในศตวรรษที่ 17 เป็ นมูลเหตุสาํ คัญให้ประมุขมิสซังองค์แรกๆ มาตั้งอยูใ่ นกรุ งสยามนั้น เกิดมาล้ม สู ญไปพร้อมกับพระสังฆราชเลอ บ็อง วัดและกิจการต่างๆ ที่ต้ งั ขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งร้อยยีส่ ิ บปี ต่อไปนี้คือลําดับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1767 จนถึงปี ค.ศ. 1782 ทําให้วทิ ยาลัยกลางต้องถูกยุบไปชัว่ คราว


222  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

ตามที่กล่าวมาข้างต้น วิทยาลัยกลางย้ายจากกรุ งศรี อยุธยาไปตั้งที่ฮอนดัตในแคว้น โคชินจีน อธิการของ วิทยาลัยในปี ค.ศ. 1767 คือ คุณพ่อปิ โญ เดอ เบแฮน (Pigneau de Béhaine) ท่านเป็ นมิชชันนารี หนุ่มที่ถูก กําหนดให้ไปอยูแ่ คว้นโคชินจีน แต่เพราะขาดอาจารย์จึงได้รับคําสั่งให้มาอยูท่ ี่วทิ ยาลัยนี้ คุณพ่อบัวเรต์เขียนไว้วา่ "ท่ านเป็ นสมบัติมีค่ายิ่งสาหรั บวิทยาลัย มีคุณสมบัติสูงสาหรั บปกครองและมีคุณธรรมอันหาได้ ยาก ซึ่ งจะเป็ น ตัวอย่ างเตือนใจเด็ก เหล่ านี"้ ไม่กี่ปีต่อมา คุณพ่อปิ โญ เดอ เบแฮน ทําให้มิสซังต่างๆ และประเทศฝรั่งเศสที่หา อาณานิคม มีชื่อขจรขจายไปทัว่ ส่ วนคุณพ่อ อารฺ โตด์ นั้น แม้สูงอายุกว่าและเคยปกครองสํานักนี่มาแล้ว ก็ขอเป็ น ผูช้ ่วยอธิ การใหม่เท่านั้น คุณพ่อปิ โญเอาใจใส่ ในงานซึ่ งท่านมีความรู้เข้าใจ เป็ นอย่างดีต้ งั แต่ตน้ มาแล้ว ท่านเขียนไว้ ว่า "ไม่ ต้องสงสัยเลยว่ างานนีเ้ ป็ นงานที่น่าสนใจกว่ าหมด ในบรรดางานของมิสซัง เป็ นเรื่ องสาคัญต้ องเตือนให้ บรรดามิชชันนารี หนุ่มเชื่ อตระหนักในข้ อนี "้ และเพื่อป้ องกันให้กิจการดังกล่าวคงอยู่ ไม่ชา้ ท่านจะต้องแสดงความ เฉลียวฉลาดและความมานะอดทนให้เป็ นที่ประจักษ์

k

เจ้ าศรีสังข์ อาจารย์ วทิ ยาลัยกลางต้ องเข้ าคุก

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

วันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1767 มีคริ สตังคนหนึ่งมาที่วทิ ยาลัย เป็ น "คนมีเล่ ห์เหลี่ยมเท่ าๆ กับเป็ นคนเสี ยสละ" เขามาในนามของเจ้าไทยองค์หนึ่งซึ่งหนีมาจากกรุ งสยาม ชื่อเจ้าศรี สังข์3 (Chieu-si-xoang, Prea Chau-si-sang) เจ้าองค์น้ ีขอร้องให้มิชชันนารี ท้ งั สองรับตน ตนจะมาชี้แจงแผนการซึ่ งคริ สตังผูน้ ้ นั ล่วงหน้ามาเล่าให้ทราบแล้ว กล่าวคือ เจ้าศรี สังข์เคยอ่านเรื่ องทูตไทยและฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 ในหนังสื อตํานานของพระราชอาณาจักร จึงใฝ่ ฝันที่จะไปประเทศฝรั่งเศส และแม้จะไม่พดู ถึง ก็เข้าใจว่าคงใฝ่ ฝันที่จะขอกําลังประเทศฝรั่งเศสมากูร้ าชบัลลังก์ กลับคืนด้วย เจ้าชายองค์น้ ีเป็ นชายหนุ่มเฉลียวฉลาดและรอบคอบ พวกมิชชันนารี พรรณนาลักษณะชมเชยไว้มาก แม้วา่ แผนการของเจ้าชายเป็ นที่น่าเลื่อมใสหลายด้าน คุณพ่อปิ โญ กับคุณพ่ออารฺ โตด์ กลัวเจ้าเมืองห่าเตียนจะโกรธ จึงปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าศรี สังข์เดินทางต่อไปโดยไม่ได้พบมิชชันนารี ท้ งั สอง ไปขอพํานักลี้ภยั อยูใ่ นพระราชสํานัก เขมร และก็ได้รับการต้อนรับเป็ นอันดี

iv h rc

A s e

A l a

ic r o ist

H

3เจ้าศรี สังข์องค์น้ ี ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 ขององค์การคุรุสภาจัดพิมพ์ พ.ศ. 2512 หน้า 58 เรี ยกว่า "เจ้าเสสัง" และกล่าวว่า ปี พ.ศ. 2314 พระเจ้าตากรี บยกทัพไปปราบเมืองพุทไธมาส และต้องการคุมตัวเจ้าเสสังกับเจ้านาย บางองค์ เช่น เจ้าจุย้ และขุนนางเก่าๆ ของกรุ งศรี อยุธยาบางคน (กรรมการฯ)


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม  223

การที่มิชชันนารี ท้ งั สองไม่ยอมรับเจ้าศรี สังข์น้ นั นับเป็ นความคิดถูกต้องเหมาะสม เพราะเหตุวา่ พอเจ้าไทย องค์น้ นั จากไป คนของพระเจ้าตากสิ นก็มาถึงห่าเตียน (พุทไธมาส) พร้อมด้วยเครื่ องบรรณาการมาถวายมักเทียนตู ขอให้มอบเจ้าชายที่หนีมาแก่เขา ครั้นทราบว่าเจ้าศรี สังข์ผา่ นมาทางฮอนดัต มักเทียนตูก็ส่งั ให้จบั มิชชันนารี ท้ งั สอง พามาที่ห่าเตียน วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1768 คุณพ่อปิ โญ คุณพ่ออารฺ โตด์ และคุณพ่อจางก็ถูกจับนําไปขังคุก และ ถูกสอบถามถึงเจ้าไทยองค์น้ นั ที่มาหา คุณพ่ออารฺ โตด์ผสู้ ู งอายุและรู้ภาษาดีกว่าทุกคน อธิบายข้อเท็จจริ งให้ฟัง เขาก็ เชื่อ แต่ใคร่ จะใช้ท่านล่อให้เจ้าศรี สังข์มาที่ห่าเตียน เขาขอร้องให้ท่านไปเชิญเจ้าชายมา ท่านก็ยนิ ยอม แต่มีขอ้ แม้วา่ ต้องปล่อยคุณพ่อปิ โญ และคุณพ่อจางเป็ นอิสระ ความจริ งท่านก็เตือนพวกข้าราชการแล้วว่า เจ้าไทยคงไม่ยนิ ยอมมาแน่ และท่านจะไม่รับอาสาชักชวนให้ มา ท่านเพียงแต่จะไปด้วยกันกับข้าราชการผูถ้ ือสารของเจ้าผูค้ รองนครเมืองห่าเตียนเท่านั้น เมื่อบังคับให้มิชชันนารี ทําตามที่ตอ้ งการไม่ได้ ในที่สุดเขาก็ยอมทําตามที่มิชชัน นารี ขอ คุณพ่อปิ โญกับคุณพ่อจางกลับไปที่ฮอนดัต ส่ วน คุณพ่ออารฺ โตด์เดินทางไปประเทศเขมรพร้อมกับผูไ้ ปเจรจา เหตุการณ์เป็ นไปตามที่คุณพ่ออารฺ โตด์คาดไว้ กล่าวคือ เจ้าศรี สังข์ไม่ยอมไปที่ห่าเตียน แล้วคุณพ่ออารฺ โตด์ก็เดินทางกลับไปฮอนดัต พอท่านเดินทางไปถึงในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ทหารคนหนึ่งก็ไปหา กล่าวว่า "คุณพ่ อ โปรดมากับผม ท่ าน อุปราชสั่งให้ เอาคุณพ่ อใส่ คุกและติดคา" "ขอขอบคุณพระเป็ นเจ้ า" มิชชันนารี ตอบ "ข่ าวที่มาบอกนีเ้ ป็ นข่ าวดี ขอบใจ เราไปกันเดี๋ยวนีท้ ีเดียวด้ วยความเต็มใจที่สุด" เมื่อถึงคุก ท่านก็คุกเข่าลงรับคา ยํ้าถ้อยคําที่พระสงฆ์สวดเมื่อสวมเสื้ อกาสุ ลาว่า "ข้ าแต่ พระเป็ นเจ้ า ผู้ตรั สว่ า แอกของเราอ่ อนนุ่ม" คุณพ่อปิ โญ เดอ เบแฮน กับคุณพ่อจาง ก็ถูกจําคุก อีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากโดยแท้ที่จริ งเขาไม่ มีอะไรจะตําหนิติโทษท่าน และเจ้าหน้าที่ที่ห่าเตียน ก็ไม่มีใจเป็ นอริ ศตั รู กบั พวกมิชชันนารี ไม่ชา้ เขาก็ปล่อยท่านทั้ง สามกลับไปบ้าน

k

วิทยาลัยถูtกo เผาr

iv h rc

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

A s e

ic

A l a

s i H ขณะที่อาจารย์ไม่อยู่ สามเณรที่ฮอนดัตคงถือวินยั ต่อไปเท่าที่จะถือได้ดว้ ยความสงบ อันเป็ นธรรมดาของคน

ญวน เมื่ออาจารย์กลับมาแล้ว เขาก็เรี ยนต่อไปตามเดิม แม้วา่ ยิง่ วันยิง่ มีความแร้นแค้นหนักขึ้น วิทยาลัยขณะนั้นทรุ ดโทรมมาก ฝนตกในห้องรับประทานอาหารและในห้องนอนเกือบเหมือนๆ กับข้าง นอก ทั้งอาจารย์และสามเณรพากันไปตัดไม้ไผ่ ใบไม้ และกิ่งไม้ในป่ ามาทํากระท่อมใหม่ คุณพ่ออารฺ โตด์ไปอยูบ่ า้ น เล็กๆ อีกหลังหนึ่งห่างจากวิทยาลัยเป็ นระยะทางเดินไม่กี่นาที ท่านเอาธุระในการปกครองดูแลสัตบุรุษคริ สตังเป็ น ต้น


224  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1769 มักเทียนตูเกิดเรื่ องบาดหมางกับพระเจ้าตากสิ น 4 จึงสั่ง ให้จดั ทัพเรื อ โดย ให้อยูใ่ นบังคับบัญชาของบุตรเขย อ้างว่าจะนําข้าวไปส่ งที่เมืองบางกอก แต่ที่แท้ต้ งั ใจจะจับตัวพระเจ้าตากสิ นโดยมิ ให้ทนั รู้พระองค์ ฝ่ ายพระเจ้าตากสิ นทรงทราบก่อน เพราะมีสายลับรายงาน จึงสั่งให้ยดึ ข้าวและจับผูบ้ งั คับการเรื อ ทุกลําไว้ มักเทียนตูมีความยุง่ ยากลําบากมาก เขมรและจีนหลายพวกหลายฝ่ ายได้ถือโอกาสรุ กเข้าไปทําลายรัฐส่ วน หนึ่ง โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ฮอนดัต คุณพ่อปิ โญ คุณพ่อมอรฺ วงั และคุณพ่ออารฺ โตด์ หนีไปที่ห่าเตียน พระสงฆ์ ฟรังซิ สกันองค์หนึ่งชื่อ คุณพ่อมารฺ แต็ง เดอ รอบเบส กับหญิงต่างศาสนารํ่ารวยคนหนึ่ง รับให้อยูอ่ าศัยทันที มักเทียนตูใช้ทหารไปที่วทิ ยาลัย สั่งให้เผาเสี ย เพื่อป้ องกันมิให้พวกกบฏ เข้าไปหลบอาศัย

คุณพ่ออารฺ โตด์ ถึงแก่มรณภาพ

k

ko g n a fB

ในระหว่างที่เกิดเหตุร้ายต่างๆ นี้ คุณพ่ออารฺ โตด์ ก็มาถึงแก่มรณภาพที่ห่าเตียนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1769 คุณพ่ออารฺ โตด์องค์น้ ีเป็ นพระสงฆ์ที่ทาํ งานแข็งขันมาก "ท่ านนั่งฟั งสารภาพบาปได้ ทั้งวันๆ โดยไม่ รั บประทานอะไรเลย เวลาคา่ รั บประทานข้ าวกับถัว่ ต้ มเค็มนิดหน่ อย แล้ วก็นั่งฟั งสารภาพบาปต่ อไป" "ท่ านยกจิตใจ ขึน้ หาพระเป็ นเจ้ า โดยสวดภาวนาสั้นๆ บ่ อยๆ จนเกิดเป็ นความเคยชิ นติดนิสัย ตราบจนกระทั่งวาระสุดท้ าย"

o e s

e c io ย้ ายวิทยาลัยกลางไปทีว่ รี ัมปัตนัม d h เมื่อคุณพ่ออารฺ โตด์ถึงแก่มรณภาพแล้ว คุณพ่rอc ปิ โญกับมิชชันนารี หนุ่มอีกองค์หนึ่ง ซึ่ งเป็ นผูช้ ่วยชื่อ Aและน่ากลัวจะเกิดความอดอยาก จึงตัดสินใจพาสามเณรไป s ่ คุณพ่อมอรฺ วงั เห็นว่าสถานที่แห่งนั้นมีแต่ความวุ น วาย e v i เมืองปอนดิเชรี h c r เมื่อได้หนังสื อเดินทางแล้ A ว เขาทั้งหมดมีจาํ นวน 43 คน ก็ลงเรื อจีนลําหนึ่ง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม l aะละกา เปลี่ยนเรือ แบ่งออกเป็ นหลายกลุ่ม บางคน จึงไปถึงเมืองตรังเกอบารฺ (Tranquebar) ค.ศ. 1769 เขาแวะที ่ ม c i toงเมืrองมาสุลีปาตัม (Masulipatam) แล้วไปรวมกันที่เมืองปอนดิเชรี บางคนก็is ไปถึ H คุณพ่อปิ โญพาสามเณรไปอาศัยอยูท่ ี่วรี ัมปัตนัม (Virampatnam) ในที่ดินซึ่งเป็ นของชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง ห่างจากเมืองไม่กี่กิโลเมตร ที่ดินแปลงนี้คุณพ่อมาต็อง (Mathon) เหรัญญิกคณะมิสซังต่างประเทศที่อินเดียได้ซ้ือ ไว้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1771 และได้สร้างอาคารหลายหลัง ซึ่ งยังมีซากเป็ นอิฐใหญ่ให้เห็นอยูจ่ นกระทัง่ ทุก วันนี้ ทั้งที่ดินและอาคารทั้งหมดราคา 40,000 ฟรังก์

4เรื่ องมักเทียนตู กับ เจ้าตากนี้ เป็ นเรื่ องที่ไม่มีในพระราชพงศาวดารของไทย แต่ก็เป็ นเรื่ องที่น่ารู้เรื่ องหนึ่ง (กรรมการฯ)


ประวัติมิสซังกรุ งสยาม  225

อาศัยการวิง่ เต้นของคุณพ่อดาวุสต์ ซึ่ งได้รับแต่งตั้งเป็ นพระสังฆราชเกียรตินามแห่ง เซรัม (Céram) แต่ยงั อยูท่ ี่กรุ งโรมเสมอ พระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ 14 โปรดให้อธิการของวิทยาลัยกลางมีอาํ นาจเท่ากับเจ้าอาวาส บางอย่างตั้งแต่เวลาได้รับแต่งตั้ง เช่น สิ ทธิ์ ที่จะให้อนุญาตบางอย่างแก่อาจารย์ และสิ ทธิ์ ที่จะให้ประมุขมิสซังซึ่ง ผ่านมาที่วทิ ยาลัย มีอาํ นาจประกอบพิธีศีลกําลังและศีลบวช การที่ขอและได้รับอํานาจเหล่านี้ก็เพื่อมิให้พระสังฆราช ที่เมืองซาน โทเม ซึ่ งเมืองปอนดิเชรี ข้ ึนกับท่านทางฝ่ ายวิญญาณนั้น ไม่เข้ามายุง่ เกี่ยวในวิทยาลัยกลาง วิทยาลัยกลางในขณะนั้นมีสามเณรอยู่ 39 คน อธิการกล่าวชมเชยเขาว่าดังนี้ "ปั จจุบันเรามีชายหนุ่มเป็ น จานวนมากอยู่ที่นี่ ล้ วนมีความศรั ทธาร้ อนรนยิ่งนัก เขาถือความซื่ อ ความนอบน้ อมเชื่ อฟั ง และจิตตารมณ์ ความ ถ่ อมตัวและความยากจนดียิ่งกว่ าในยุโรปเสี ยอีก" อย่างไรก็ตาม จํานวนสามเณรลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ ว สามเณรที่มาจากแคว้นตังเกี๋ย และโคชินจีนพากัน กลับไปมิสซังของเขา บ้างก็เพราะทนอากาศร้อนจัดทางทิศใต้ของอินเดีย ไม่ไหว บ้างก็เพราะเรี ยนจบแล้ว สามเณร ที่เหลือเป็ นชาวจีนจากเสฉวนเกือบหมด จนอธิ การพูดออกมาว่า "แต่ ก่อน วิทยาลัยนีเ้ รี ยกว่ าวิทยาลัยกลางสาหรั บทุก ชาติ อีกหน่ อยจะกลายเป็ นวิทยาลัยเฉพาะสาหรั บคนจีนไปเสี ยแล้ ว" ฉะนั้น ในบรรดาประมุขมิสซังต่างๆ ประมุขมิสซังเสฉวนคือ พระสังฆราชป็ อตจีเอร์ (Pottier) เป็ นประมุข มิสซังองค์เดียวที่แสดงความห่วงใยต่อวิทยาลัยกลางอย่างแท้จริ ง และนานๆ ทีก็ส่งคําแนะนําในการปกครองมาฝาก ท่านเขียนว่า "ข้ อสาคัญ ต้ องหาคนที่มีอายุ มีความศรั ทธา ใจมัน่ คง มีประสบการณ์ และตั้งใจแน่ วแน่ จะอยู่ในหน้ าที่ ตลอดไป มาเป็ นอธิ การ อาจารย์ ฝรั่ งที่จะส่ งช่ วยอธิ การนั้นควรจะเป็ นมิชชันนารี ที่ได้ รับการฝึ กอบรมมาจากสามเณ ราลัย ที่กรุ งปารี ส มีคุณสมบัติเหมาะสม และตั้งใจจะอยู่ประจาที่วิทยาลัย โดยไม่ หวังจะไปอยู่ตาม มิสซังต่ างๆ เว้ นแต่ จะมีเหตุการณ์ พิเศษ"

k

iv h rc

A s e

A

l ทยาลัยกลาง คุณพ่อมาต็องเป็ นอธิ ก ารวิ a c i r o ist

e c io d rch

o e s

ko g n a fB

เมื่อได้เป็ นพระสังฆราชเกียรตินามแห่งอาดรัง และประมุขมิสซังโคชินจีนในปี ค.ศ. 1771 และได้รับ อภิเษกเป็ นพระสังฆราชที่เมืองมาตรัส เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1774 แล้ว พระสังฆราชปิ โญ เดอ เบแฮน ได้มอบการปกครองวิทยาลัยกลางแก่คุณพ่อมาต็อง ซึ่ งเป็ นเหรัญญิกของคณะมิสซังต่างประเทศที่เมืองปอนดิเชรี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1743 อธิ การใหม่ได้คุณพ่อ สรี ซีเอร์ (Srizier) ซึ่งเป็ นชาวเมืองลาโรแชล (La Rochelle) เป็ น อาจารย์สอนปรัชญาและ เทวศาสตร์ กบั ท่าน ส่ วนอาจารย์สอนวรรณคดี คือ คุณพ่อมาญี (Magny) เกิดในปี ค.ศ. 1748 ที่เมืองโรซัว-ซืรฺ-แซรฺ (Rozoy-sur-Serre) ในจังหวัดแอสนฺ (Aisne) ปัจจุบนั ปี ค.ศ. 1776 คุณพ่อ มาต็อง กล่าวสรุ ปสภาพของวิทยาลัยกลางว่าดังนี้ "วิทยาลัยเจริ ญดีพอสมควร สามเณรของเราน้ อยคนได้ รับปริ ญญา เอก แต่ นั่นไม่ ใช่ ความผิดของเขา เขาพากันเป็ นวัณโรคกันหมด" เราจึงพยายามถนอมกําลังของสามเณรไว้ คุณพ่อสรี ซีเอร์ อยากซื้ อโรงพิมพ์เล็กๆ แห่งหนึ่ง เพื่อลดงานของสามเณรให้นอ้ ยลง

H


226  ประวัติมิสซังกรุงสยาม

พระเมตตาของพระสั นตะปาปา ปี โอ ที่ 6 ขณะนั้น คุณพ่อบัวเรต์อยูท่ ี่กรุ งโรม ท่านรําลึกขึ้นมาได้วา่ เคยเป็ นอธิการวิทยาลัยกลาง อยูห่ ลายเดือน และ โดยที่มีความมุ่งมัน่ จะทําคุณประโยชน์ให้แก่คณะและกิจการอันมีคุณทัว่ ไปของคณะ ท่านจึงขอให้อนุมตั ิรับรอง วิทยาลัยกลางโดยพระสมณสาสน์ของพระสันตะปาปา ปี โอ ที่ 6 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1775 พระสันตะปาปา องค์เดียวกันนี้ยงั ทรงอนุญาตให้วทิ ยาลัยกลางตั้งศีลมหาสนิทในวันฉลองบางวันทรงยํ้าคําสั่งให้สามเณรต้องสาบาน ผูกมัดตนกับคณะ มิสซังต่างประเทศ จะไปเข้าคณะอื่นซึ่ งสมาชิกชักชวนเขาไปง่ายนักไม่ได้ วันที่ 27 สิ งหาคม และวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1780 พระองค์ประทานพระคุณการุ ณ บริ บูรณ์แก่สามเณร ในวันฉลองพระคริ สตสมภพ, วันฉลองพระคริ สตเจ้าสําแดงองค์, วันปัสกา, วันพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์, วันเกิด และวันถือศีลชําระของแม่พระ, วันฉลองเทวดา, วันฉลองนักบุญโยเซฟ, วันฉลองนักบุญเปโตรและเปาโล และวัน ฉลองนักบุญฟรังซิสซาเวียร์

k

วิทยาลัยกลางล้ม

o e s

ko g n a fB

แม้จะได้รับพระเมตตาจากพระสันตะปาปาเช่นนี้ จํานวนของสามเณรก็ยงั ลดน้อยลงอยูน่ นั่ เอง ยิง่ วันยิง่ มี คนคัดค้านการที่วทิ ยาลัยมาตั้งอยูท่ ี่วรี ัมปั ตนัมมากขึ้น กล่าวว่าอากาศร้อนเกินไป อาหารแพงมาก แพงกว่าที่ฮอนดัต ถึงสามสี่ เท่า สถานที่ต้ งั เล่าก็ไม่อยูก่ ่ ึงกลางพอ สามเณรต้องเดินทางไกล ได้พบกับสิ่ งที่น่าเกรงจะเกิดอันตราย และ การอยูป่ ะปนกับพวกโปรเตสแตนท์ ก็น่ากลัวจะทําให้เขาเสี ยความเชื่อ ในปี ค.ศ. 1779 คุณพ่อมาญีเขียนไว้วา่ "ข้ าพเจ้ าเชื่ อว่ าตราบใดที่วิทยาลัยตั้งอยู่ที่ปอนดิเชรี เราจะได้ รับ ประโยชน์ อะไรไม่ ได้ มาก" ขณะนั้นมีสามเณรอยูเ่ พียง 18 คนเท่านั้น ได้มีผคู้ ิด จะย้ายวิทยาลัยไปที่เมืองมะนิลา แต่ ปัญหาเรื่ องนี้ซ่ ึงจะได้รับการพิจารณาในภายหลัง ไม่ได้รับการพิจารณาในขณะนั้น ปี ค.ศ. 1782 เมื่อจํานวน สามเณรลดลงเหลือ 4-5 คน ทางสามเณราลัยคณะมิสซังต่างประเทศที่กรุ งปารี สจึงเขียนถึงคุณพ่อมาญี และคุณ พ่อสรี ซีเอร์ ให้ส่งสามเณรที่เหลือกลับไปเมืองมาเก๊า ซึ่ งจากนั้นเขาจะได้กลับไปเมืองจีน และยังส่ งหนังสื อถึง บรรดาประมุขมิสซังต่างๆ แจ้งให้ทราบถึงความเสื่ อมโทรมของวิทยาลัย และสั่งให้ปิดเสี ยอย่างน้อยก็ชว่ั คราว ความ ในหนังสื อนั้นมีดงั นี้ "แต่ นานมาแล้ ว วิทยาลัยกลางของเราที่ปอนดิเชรี เสื่ อมโทรม จนเวลานีเ้ กือบจะไม่ มีอะไรเหลือ จึงเห็นจาเป็ นต้ องยุบและถอนไปจากเมืองปอนดิเชรี แต่ เรายังตั้งใจ จะตั้งขึน้ ใหม่ ในที่อื่น เมื่อจะพบสถานที่ๆ ดีกว่ า ตามที่ท่านจะเห็นจาเป็ น" ภายหลังหนังสื อฉบับนี้ เราจะเขียนก็เขียนได้เหมือนคุณพ่อมาญีวา่ "บัดนีว้ ิทยาลัยกลางเป็ นอันล้ มไปอย่ าง สิ ้นเชิ ง เมื่อไรหนอเมื่อไรนาจะได้ ตั้งขึน้ ใหม่ ?" เป็ นอันว่าวิทยาลัยกลางปิ ดในตอนปลายปี ค.ศ. 1783 หลังจากตั้งมา ได้ 115 ปี .

A l a

iv h rc

H

ic r o ist

A s e

e c io d rch


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.