Petromat : Step 2 r&d partnerships

Page 1

งานเสวนา

“PETROMAT : Step 2 R&D Partnerships” (ก้าวสู่คู่ความร่วมมือ R&D)

วันอังคารที่ 23 เมษายน 2556 เวลา 10:15 - 11:45 น. ณ ห้องประชุม 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

รายชื่อวิทยากร 1. ดร. วีรภัทร์ ตันตยาคม เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2. ดร. อลิสา เล็กอุทัยวรรณ นักวิจัย บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำ�กัด 3. ดร. สุชาดา บุตรนาค นักวิจัย สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. 4. ผศ. ดร. ชนินทร์ ปัญจพรผล นักวิจัย PETROMAT จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี ม.เกษตรฯ 5. ผศ. ดร. ศิริพร จงผาติวุฒิ รองผู้อำ�นวยการและนักวิจัย PETROMAT จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ 6. ผศ. ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ หัวหน้าโปรแกรมวิจัย HPSM, PETROMAT และหัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ (ผู้ดำ�เนินการเสวนา)

ดร. ศิริธันว์ : สวัสดีแขกผู้มีเกียรติทุกท่านค่ะ ก่อนอื่นก็ขอให้ ดร. วีรภัทร์ พูดถึงภาพรวมของการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีค่ะ ดร. วีรภัทร์ : ตลอด 30 ปี กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีการเติบโตอย่างต่อ เนื่อง ทำ� GDP ให้กับประเทศประมาณ 5 % คิดเป็นรายได้ประมาณ 5 แสน ล้านบาทต่อปี ส่วนเรื่องการวิจัยและพัฒนา เราได้ร่วมมือกับ สวทน. ทำ� ยุทธศาสตร์ด้านปิโตรเคมีสำ�หรับการวิจัยและพัฒนา และได้รับความร่วมมือ จาก PETROMAT ในการร่วมกำ�หนดเป้าหมายและแผนที่จะทำ�ร่วมกันใน อนาคตครับ ดร. ศิริธันว์ : ตอนนี้กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตระหนักถึงเรื่องสังคมและ สิ่งแวดล้อม คนที่ทำ�วิจัยคงจะต้องทำ�เรื่องนี้เป็นหลัก ทีนี้อยากจะย้อนกลับ มาที่ชื่องานเสวนา Step 2 R&D Partnerships ทำ�ไมถึงเป็น Step 2 พวกเราพลาด Step 1 ไปหรือเปล่า ขอเชิญ ดร. ศิริพร ค่ะ ดร. ศิริพร : ขอเล่าให้ฟังก่อนว่า PETROMAT กำ�เนิดมา 14 ปีแล้ว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 เรามีการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นมา มีการจัดซื้อ ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ระดับสูง มีการสร้างงานวิจัย เราผลิตบัณฑิตระดับ ป.โท ไปกว่า 2,000 คน และ ระดับ ป.เอก กว่า 300 คน มีคณาจารย์และนักวิจัยที่มี ความเชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมีและวัสดุ ปัจจุบันเราพยายามที่จะนำ�องค์ความรู้ ที่เรามีไปตอบโจทย์ของประเทศ ประจวบกับเรามีการจัดงาน PETROMAT & PPC SYM เป็นประจำ�ทุกปี จึงถือโอกาสตรงนี้ให้คนจากภาคอุตฯ และภาค การศึกษามานั่งคุยกันว่าเราจะมีความร่วมมือกันได้อย่างไร สำ�หรับชื่องาน เสวนานี้ ถ้าเลข 2 คือ to ก็หมายถึงการก้าวไปสู่คู่ความร่วมมือด้านวิจัยและ พัฒนา แต่เลข 2 ก็มีอีกความหมายด้วย จาก Step 1 เราได้สร้างองค์ความ รู้ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว สำ�หรับ Step ต่อไป เราจะก้าวไปอย่างไร อยากให้ มาช่วยกันคิดค่ะ ดร. ศิริธันว์ : ชอบค่ะชื่อนี้ เหมือนเราค่อย ๆ ก้าวด้วยกัน แต่ก่อนที่เราจะมี ความร่วมมือกันได้ อยากจะฟังความคิดเห็นจากภาคอุตฯ ว่ามีนโยบายใน การทำ�วิจัยร่วมอย่างไรบ้าง ดร. อลิสา : ตอนนี้ SCG กำ�ลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 100 ปัจจุบันผู้บริหารของ SCG ต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็น Innovation Organization จึง Challenge ว่าทำ�อย่างไร ถึงจะเกิด Fast Innovation ได้ ซึ่งแน่นอนที่สุดการ Collaboration คือคำ�ตอบของเรื่องนี้ โดยเราแบ่งออกได้เป็น 3 Steps คือ 1) Front End Step คือช่วงแรก ๆ ที่เกิดไอเดียใหม่ ๆ การ Collaboration จะเกิดจากนักวิจัยที่ Bottom Up ขึ้นมา อย่างเช่นที่ดิฉันได้ Collaborate กับ PETROMAT หรือทางมหาวิทยาลัย 2) Research Step เป็นช่วงที่ลงลึก

ในงานวิจัยนั้น ต้องการผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น ปัจจุบัน SCG ก็มี Collaborate ทั้งต่างประเทศและในเมืองไทย สำ�หรับจุฬาฯ ก็เป็น Center หลักของเรา และวิทยาลัยปิโตรฯ ก็เป็นหนึ่งในนั้น 3) Development Step เน้นที่ภาค เอกชนทีเ่ ป็น Expert เพราะเราถือว่าเขามี Knowhow ทีจ่ ะทำ�ให้ Technology ที่เราคิดมา Develop ไปสู่ Commercial ได้สำ�เร็จ ดร. สุชาดา : ปตท. ของเรามีอายุ 30 กว่าปี และเริ่มเติบโตในช่วง 10 ปีที่ ผ่านมา จนเป็น PTT Group CEO ของเรามีนโยบายที่จะทำ�ให้ ปตท. เป็น Technologically Advanced and Green National Oil Company หรือ TAGNOC คือ ถึงเวลาที่เราจะ Develop Technology ขึ้นมาเอง เมื่อ 5 – 6 ปีที่ผ่านมา เราเข้าไป Contact กับอาจารย์และนักวิจัยโดยตรง โดย มีโจทย์วิจัยว่าเราจะเน้นพลังงานสีเขียว จนกระทั่งมีความร่วมมือกัน ปัจจุบัน เป็นการดีที่ PETROMAT มาทำ�หน้าที่ตรงนี้ให้ นอกเหนือจากความชำ�นาญ ของอาจารย์แต่ละท่าน ก็ได้เห็นการทำ�งานเป็นทีม ไม่ได้เป็นการแข่งกัน แต่ เป็นการช่วยเสริมกัน เป็น Step 2 เป็น Partnerships ที่ดีขึ้นค่ะ ดร. ศิริธันว์ : ได้ฟัง Comment ทางภาคอุตฯ ว่าทาง PETROMAT ได้ ช่วยให้ความรู้และประสานงาน ก็มีกำ�ลังใจนะคะ ทีนี้เรามาถามภาคการ ศึกษาบ้าง ขอเชิญ ดร. ชนินทร์ ค่ะ ดร. ชนินทร์ : โดยปกติหน้าที่หลักของอาจารย์คือเรื่องการเรียนการสอน ส่วนเวลาที่เหลือเราก็มามอบให้กับการวิจัย ซึ่งเราได้งบประมาณจากรัฐบาล เป็นหลัก แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่างบประมาณที่ได้นั้นลดลงเรื่อย ๆ จึงต้องหา ความร่วมมือกับภาคอุตฯ มากขึ้น ผมมีโอกาสในการทำ�วิจยั ร่วมกับภาคอุตฯ ผ่านทาง PETROMAT จุดหนึ่งที่เห็นได้ชัดคืองานวิจัยของภาคอุตฯ จะมีหัวข้อ ที่ชัดเจน ระบุชัดเลยว่าต้องการอะไร และแน่นอนว่าภาคอุตฯ ต้องการผลใน ระยะเวลาที่สั้น ดังนั้น เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำ�งานให้สามารถทำ�ได้ทัน ตามเวลา ข้อดีในการทำ�งานกับภาคอุตฯ คือเรื่องของทุนวิจัยที่สมเหตุสมผล คือให้ตามปริมาณ แต่เราต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้เงินของภาคอุตฯ ด้วย เราอาจ ต้องมีปริมาณงานตามงวดก่อน เป็นข้อจำ�กัดของนักวิจัยที่จะต้องหาเงินเพื่อ เริ่มดำ�เนินการ และอยากให้ภาคอุตฯ มองว่าการทำ�วิจัย เป็นการสร้างบัณฑิต ด้วย นอกเหนือจากการใช้ในการผลิตผลงานอย่างเดียว ดร. ศิริธันว์ : แล้วอย่างเรื่อง IP มีข้อกังวลหรือไม่ค่ะ ดร. วีรภัทร์ : จากที่เราทำ�การศึกษาเรื่อง Patent ในด้านปิโตรเคมีของไทย มี ประมาณ 300 เรือ่ ง ซึง่ เป็นของคนไทยเพียง 21 เรือ่ ง สะท้อนให้เห็นว่าทีผ่ า่ นมา เราให้ความสำ�คัญเรื่อง Patent น้อยเกินไป แนวทางแก้ไขในการทำ�ความร่วม มือกันคงจะต้องยึดหลัก “3C” C ทีห่ นึง่ ก็คอื เรือ่ ง Communication ที่ผ่านมา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.