Petromat today issue15

Page 1

015 วารสาร PETROMAT Today ปี ท่ี 4 ฉบับที่ 15

U&I Collaboration

$

- U&I Collaboration Research - U&I Collaboration ในมุมมองของภำคอุตสำหกรรม - วิจัย มหำวิทยำลัย อุตสำหกรรม เปนไปได


INTRODUCTION

ห นึ่ ง ในเป า หมายของการพั ฒ นาประเทศ คือ การท�าให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

PETROMAT’s Editor Corner

คณะที่ปรึกษา รศ. ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร รศ. ดร.ศิริพร จงผาติวุฒิ บรรณาธิการ แก้วใจ คําวิลัยศักดิ์ ผู ้ช่วยบรรณาธิการ ฤทธิเดช แววนุกูล

U&I Collaboration

แกวใจ ค�ำวิลัยศักดิ์

kaewjai.k@chula.ac.th

กองบรรณาธิการ กํากับศิลป์ ชญานิศค์ ศิริวงศ์นภา กมลชนก ชื่ นวิเศษ พรพิมล ชุ่ มแจ่ม ธีรยา เชาว์ขุนทด ภัสร์ชาพร สีเขียว กุลนาถ ศรีสุข อรนันท์ คงเครือพันธุ ์

รั ฐ บาลจึ ง ให้ ค วามส� า คั ญ ต่ อ การวิ จั ย การพั ฒ นาต่ อ ยอด และการใช้ น วั ต กรรมในการพั ฒ นาสิ น ค้ า และบริ ก าร ซึ่งการพัฒนานวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จ� า เป็ น ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ ทั้ ง จากภาครั ฐ และเอกชน รัฐบาลมีนโยบายและโครงการสนับสนุนต่าง ๆ เช่น โครงการ RDI Tax 300% โครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จ ากมหาวิ ท ยาลั ย และสถาบั น วิ จั ย จาก ภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในภาคเอกชน (Talent Mobility) โครงการคู ป องนวั ต กรรม เป็ น ต้ น รายละเอียดท่านผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในคอลัมน์ “U&I Collaboration กุญแจสู่ความยั่งยืนของประเทศ” PETROMAT ได้ด�าเนินการเพื่อตอบสนองนโยบาย รั ฐ บาลโดยมี ก ารท� า งานแบบ One-Stop Service มี ค วามร่ ว มมื อ กั บ ภาคอุ ต สาหกรรม ได้ แ ก่ การท� า วิ จั ย ร่ ว มกั น การจั ด ประชุ ม สั ม มนา/เสวนา เป็ น ที่ ป รึ ก ษา และช่วยแก้ไขโจทย์ปญหาให้กับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึง่ ท่านผูอ้ า่ นสามารถติดตามได้จากคอลัมน์“Get to Know” และ “PETROMAT Research” วารสารฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก คุณอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารและกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จ�ากัด (มหาชน) ซึ่งท่านได้ม าเล่ า ถึ ง ประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับ U&I Collaboration นอกจากนี้ PETROMAT ยั ง ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก ดร.สั น ติ กุลประทีปญญา Director, Southeast Asia Research & Development จาก UOP, A Honeywell Company ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเล่าถึงประสบการณ์การท�างาน ในการพั ฒ นางานวิ จั ย โดยความร่ ว มมื อ ระหว่ า งภาครั ฐ และภาคอุตสาหกรรม ให้ท่านผู้อ่านทราบด้วยค่ะ

จัดทําโดย

ศูนย์ความเป�นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั�น 7 ซ.จุ ฬาฯ 12 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุ งเทพฯ 10330 โทร : 0-2218-4141-2 โทรสาร : 0-2611-7619 Email: info@petromat.org WWW.PETROMAT.ORG



INTRODUCTION เรื่องโดย... ฤทธิเดช แววนุกูล

U&I Collaboration ¡ØÞá¨ÊÙ‹¤ÇÒÁÂÑè§Â×¹¢Í§»ÃÐà·È

ไ ม่ว่าจะผ่านมากี่ปประเทศไทยยังคงเป็นประเทศก�าลังพัฒนา หลายท่านคงคิดเหมือนผมว่าเมื่อไหร่ประเทศของเรา จะพัฒนาสักที มีเวทีเสวนาหลายแห่ง สื่อหลายส�านักที่วิเคราะห์ถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินค�าว่า

“กับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างลงความเห็นว่าเป็นสาเหตุที่ท�าให้ประเทศไทย พัฒนาต่อไปไม่ได้ เจ้ากับดักที่ว่านี้คืออะไร และเราจะหลุดจากกับดักนี้ได้อย่างไร ใน PETROMAT Today ปที่ 3 ฉบับที่ 10 ได้ ล งบทสั ม ภาษณ์ ดร.วิ ไ ลพร เจตนจั น ทร์ ผู้ อ� า นวยการส� า นั ก งานเทคโนโลยี บริ ษั ท ปู น ซิ เ มนต์ ไ ทย จ� า กั ด (มหาชน) ซึ่งท่านได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยไว้ดังนี้ครับ “ประเทศไทยมี 3 Step โดย Step แรก เป็นการ Import ของเข้ามาขาย เป็นยุคทองของ Sales พอ Step ที่ 2 ซื้อ Know-how มาตั้งโรงงาน เป็นยุคของ Production แต่ Step ต่อไปท�าแบบนัน้ ไม่ได้แล้ว เพราะความสามารถในการแข่งขันมันไม่มี วันหนีง่ ก็มคี นทีผ่ ลิตของได้ถกู กว่าเรา ขายของได้ถูกกว่าเรา เพราะฉะนั้น เราต้องท�าการวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) ต้องสร้างบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โจทย์วจิ ยั มันตอบโจทย์ Needs ของประเทศ ซึง่ ก็คอื Needs ของภาคผลิตและภาคบริการนัน่ เอง คิดง่าย ๆ ทุกวันนี้เรา Import เข้ามาทุกอย่าง ถ้าเรายังท�าอะไรเองไม่ได้ อนาคตล�าบากแน่ เราต้องมุ่งเน้นท�า R&D ให้ได้”

R&D 2552

2554

2556

0.25% 0.37% 0.47%

57,000 130,000

70:30 2559

1%

ส�าหรับผมมองว่าการทีจ่ ะน�าพาให้ประเทศพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ได้นั้น เป็นเรื่องของเราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ปจจุบันทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างให้ความส�าคัญในการลงทุนด้าน R&D มาก ในงาน CEO Innovation Forum 2015 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้าน R&D ของประเทศไทยไว้ดังรูปภาพ [1] ทางภาครัฐคาดหวังว่าการลงทุนด้าน R&D ในป พ.ศ. 2564 จะเพิ่ม ขึน้ เป็น 2% ของ GDP และในป พ.ศ. 2569 จะบรรลุเปาหมายทีป่ ระเทศไทย จะออกจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง [2] ทั้ ง นี้ ภาครั ฐ มี ม าตรการจู ง ใจเพื่ อ ให้ เ กิ ด การลงทุ น วิ จั ย มากขึ้ น เช่น การหักลดหย่อนภาษีเมื่อเอกชนลงมือวิจัย เรียกว่า RDI Tax 300% ซึง่ ครม. เห็นชอบไปเมือ่ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 นอกจากนีก้ ารแข่งขัน ทางธุรกิจในปจจุบันได้เปลี่ยนจากการแข่งขันด้านราคาไปเป็นการแข่งขัน ด้วยนวัตกรรม โดยการจะได้มาซึ่งนวัตกรรมนั้น จ�าเป็นต้องมีความพร้อม ด้ า น R&D แต่ ภ าคเอกชนกลั บ มี ป  ญ หาด้ า นการขาดแคลนนั ก วิ จั ย ซึ่งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยสามารถเติมเต็มได้ แต่นโยบายการบริหาร ของราชการไม่ได้เอื้อต่อการให้นักวิจัยไปช่วยงานวิจัยในภาคอุตสาหกรรม 4 U&I Collaboration

2556 2559

รัฐบาลโดย สวทน. กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จึงได้มโี ครงการ “Talent Mobility” ขึน้ โดยจะเปิดโอกาสให้นักวิจัยภาครัฐสามารถท�างาน วิ จั ย ร่ ว มกั บ ภาคเอกชนโดยถื อ เป็ น การปฏิ บั ติ ราชการ ถือเป็นการชดใช้ทุน และสามารถน�า ผลงานมาขอต�าแหน่งวิชาการได้ โดย ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินค�าว่า “งานวิจัย ขึ้ น หิ้ ง ” PETROMAT ได้ เ ข้ า พบตั ว แทนภาค อุตสาหกรรมจ�านวนมาก เพื่อที่จะหาสูตร/วิธีการ/ รูปแบบการท�างานที่จะท�าให้เกิดการวิจัยร่วมกัน ระหว่ า งภาคการศึ ก ษาและภาคอุ ต สาหกรรม (University & Industry Collaboration) และสามารถน�างานวิจัย “จากหิ้งสู่ห้าง” ให้ได้ PETROMAT พบว่ า ภาคอุ ต สาหกรรมมี ค วาม ต้องการให้นักวิจัยเข้าไปร่วมมืออย่างมาก แต่ติดที่ ไม่ทราบว่าจะต้องติดต่อผูเ้ ชีย่ วชาญท่านไหน จะท�า R&D เองก็ต้องลงทุนเครื่องมือที่มีราคาสูง ต้องจ้าง นักวิจัยซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะมีความเชี่ยวชาญตรงกับ ป ญ หาหรื อ ไม่ ส� า หรั บ นั ก วิ จั ย หรื อ อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยมีปญหาเรื่องภาระงานสอนท�าให้ ไม่มเี วลานัดคุยกับทางภาคอุตสาหกรรม มีความกังวล เรือ่ งสัญญา ข้อกฎหมาย การเผยแพร่ผลงาน เป็นต้น


[2]

(2569)

1%

2%

ดังนัน้ PETROMAT ได้เพิม่ บทบาทในการประสานงานระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมด้วยการท�างานแบบ One-Stop Service ท�าให้ปจ จุบนั มีโครงการวิจยั ร่วมระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมมากขึน้ เรือ่ ย ๆ และถือเป็นพันธกิจหลักทีจ่ ะผลักดันให้เกิด U&I Collaboration และเกิดการสร้างนวัตกรรมอันจะเป็นกุญแจทีน่ า� ให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศทีม่ รี ายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสักที อำงอิง 1. วารสาร PETROMAT Today ปที่ 3 ฉบับที่ 10 2. ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนสูเ่ ปาหมายการลงทุนวิจยั และพัฒนาร้อยละ 1 ของ GDP, พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์, CEO Innovation Forum 2015, 2 มีนาคม 2558, ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ผู้ได้รับรางวัล

PTIT Awards (Petroleum Institute of Thailand Awards)

Awards

ประจ�าป 2558-2559 ดังต่อไปนี้

1. ศำสตรำจำรย ดร.ธรำพงษ วิทิตศำนต (CU-CT) ไดรับรำงวัลประเภท PTIT Fellow 2. รองศำสตรำจำรย ดร.ศิริรัตน จิตกำรคำ (CU-PPC) ไดรับรำงวัลประเภท PTIT Scholar

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ

ศำสตรำจำรย ดร.สุวบุญ จิรชำญชัย (CU-PPC) PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ ที่ไดรับรำงวัล PTT NSTDA Chair Professor ผูช่วยศำสตรำจำรย ดร.สิริพล อนันตวรสกุล (KU-ChE) ประจ�ำป 2558 ภำยใตโครงกำรวิจัยเรื่อง ที่ไดรับรำงวัล PST Rising Star 2015 “พอลิเมอรสีเขียวที่ยั่งยืน บนควำมทำทำย โดยสมำคมโพลิเมอรแห่งประเทศไทย ของประเทศไทยที่อุดมดวยทรัพยำกรหมุนเวียน” 5


NEWS

EVENTS

อินเตอร์พลาสไทยแลนด์ 2015

PETROMAT ร่วมเป็นประธานในพิธเี ปิด ร่วมกับ บริษทั Reed Tradex จ�ำกัด สมาคมพลาสติก TBIA สถาบันไทย-เยอรมัน บริษทั อิมโก้ ฟูด๊ แพ็ค จ�ำกัด สมาคมไทยคอมโพสิต MTEC เปิดงาน “อินเตอร์พลาสไทยแลนด์ 2015” ณ ไบเทค บางนา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฏาคม 2558 และในวันศุกร์ ที่ 10 กรกฎาคม 2558 เวลา 13.30 - 16.30 น. PETROMAT ร่วมด้วยสถาบันพลาสติก สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย และบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จ�ำกัด จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “รุกตลาดเออีซี สร้างไทยเป็นฮับบรรจุภัณฑ์ภูมิภาค” ณ ห้อง GH 201 ชั้น 2 ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

PETROMAT เจราจาความร่วมมือด้านวิจัย

หน่วยงานคอมโพสิต บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด จ.ระยอง เมื่อวันพุธที่ 3 มิถุนายน 2558

การประชุมการศึกษาระบบและกลไกการศึกษา อาชีวศึกษาในกลุ่มอาชีพปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 และวันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2558

6 U&I Collaboration

EVONIK (SEA) Pte Ltd. Singapore เมื่อวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2558

PETROMAT ร่วมพิธีท�ำบุญเลี้ยงพระเนื่องในโอกาส ครบรอบ 56 ปี ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2558


PETROMAT เขำร่วมประชุมเชิงปฏิบัติกำร เรื่อง “แนวปฏิบัติในการบริหาร โปรแกรมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศ” จัดโดย สบว. และศูนยควำมเปนเลิศทั้ง 11 ศูนยฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2558

ประชุมเชิงปฏิบัติกำร “การพัฒนาระบบและการศึกษา กลไกอาชีวศึกษาอย่างยั่งยืน ในกลุ่มอาชีพปิโตรเลียม และปิโตรเคมี” เมื่อวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2558

พีทีที โกลบอล เคมิคอล น�ำบริษัทพันธมิตรทำงธุรกิจลงพื้นที่ส�ำรวจศักยภำพกำรลงทุน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตำก

คุณสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดตาก ให้การต้อนรับ คุณสุพฒ ั นพงษ์ พันธ์มเี ชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ คุณอัฒฑวุฒิ หิรญ ั บูรณะ ประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร กลุม่ ธุรกิจปิโตรเคมีขนั้ ปลาย ผู้บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ากัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จ�ากัด พร้อมบรรยาย แนะน�าเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ในโอกาสที่ บริษทั ฯ น�าบริษทั พันธมิตรทางธุรกิจกว่า 40 บริษทั ลงพืน้ ทีส่ า� รวจ ศักยภาพเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ตามโครงการสนับสนุนการลงทุนเเละจัดตั้งคลัสเตอร์ของกลุ่มอุตสาหกรรม พลาสติก รวมถึงอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ มุง่ เพิม่ ขีดความสามารถด้านการเเข่งขันทางการค้า ให้กบั อุตสาหกรรม พลาสติกของประเทศไทย ในโอกาสนี้ คณะฯ ได้ เ ข้ า เยี่ ย มชมเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษเมี ย วดี ในสาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมี ย นมา โดยได้การต้อนรับจาก นายหล่วย กั่วอู ผู้ว่าเมืองเมียวดี และนางตินตินเมี๊ยะ ประธานหอการค้าเมียวดี และฟง การบรรยายแนะน�าเกีย่ วกับเขตเมียวดี พร้อมกันนีไ้ ด้ลงพืน้ ที่ เยีย่ มชม สวนอุตสาหกรรมในเครือสหพัฒน์ฯ และโครงการ นิคมอุตสาหกรรม ในเครือมิตรผล


COVER STORY

U&I Collaboration

ในมุมมองของภาคอุตสาหกรรม

โรงกลั่นไทยออยล์ หรือ บริษัท ไทยออยล์ จ�ากัด

(มหาชน) นั บ เป็ น ผู ้ น� า ด้ า นธุ ร กิ จ โรงกลั่ น น�้ า มั น ของประเทศไทย ด้วยก�าลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทั้งด้าน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี น�า้ มันหล่อลืน่ พืน้ ฐาน สารท�าละลาย และเคมีภัณฑ์ ไฟฟา รวมทั้งมีธุรกิจการขนส่งทางเรือ และการผลิตเอทานอล ที่ตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ด้านพลังงานทดแทน แต่ที่ส�าคัญไปกว่านั้น ไทยออยล์ ยังให้ความส�าคัญกับงานวิจยั และพัฒนา โดยมีความร่วมมือ ในการท� า วิ จั ย กั บ มหาวิ ท ยาลั ย มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดย Cover Story ฉบับนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติจาก คุณอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จ�ากัด (มหาชน) ในการ ให้สัมภาษณ์ ซึ่งท่านให้ประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับ U&I Collaboration ดังนี้ครับ

คุณอธิคม เติบศิริ

ประธำนเจำหนำที่บริหำรและกรรมกำรผูจัดกำรใหญ่ บริษัท ไทยออยล จ�ำกัด (มหำชน)

PETROMAT: ก่อนอื่นอยากให้คุณอธิคมช่วยเล่าประสบการณ์การท�างานให้พวกเราฟงด้วยครับ คุณอธิคม: ผมไม่ได้อยู่ใน Field ด้าน Operation หรือ Engineer อาจจะมีมุมมองที่ต่างออกไป ผมอยู่ในฝงผู้ใช้เทคโนโลยี

มากกว่าผู้ผลิตเทคโนโลยี ผมท�างานที่บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จ�ากัด (มหาชน) (PTTAR) ก่อนที่จะรวมเป็นบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ากัด (มหาชน) (PTTGC) อยู่ทางฝงปิโตรเคมีมากกว่าทางโรงกลั่น และได้มีโอกาสไปท�างานที่บริษัท ไออาร์พีซี จ�ากัด (มหาชน) (IRPC) ซึ่งจะเน้นหนักทางปิโตรเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีปิโตรเคมีหลากหลาย ทั้งสายแอโรแมติกส์ และสายโอเลฟินส์ และได้สัมผัสกับผู้บริโภคค่อนข้างมาก พนักงานขายแต่ละคนก็อยู่กับผู้ขึ้นรูปพลาสติกหน้างานเลย เพราะฉะนั้น เลยมีมุมมองสะท้อนจากผู้ใช้ค่อนข้างมาก อุตสาหกรรมรายย่อยหรือ SMEs เขามีโจทย์ทางด้านธุรกิจค่อนข้างเยอะ ซึ่งเทคโนโลยี หรือการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสิง่ ทีส่ า� คัญ เราอยูต่ น้ ทางเราไม่คอ่ ยรูห้ รอกครับ เพราะเราท�าผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็น Standardized Commodity ไม่ค่อย Differentiate เท่าไหร่ แต่พอปลายทางจะเริ่ม Differentiate มากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราอยู่ต้นทางแล้วไม่ได้ยิน เสียงสะท้อนจากปลายทาง เราจะไม่สามารถพัฒนาได้ตรงเปาหมายนัก ทีนี้ตอนอยู่ IRPC ก็มีการพัฒนาเรื่อง Green ABS

8 U&I Collaboration


เนือ่ งจาก ABS ใช้ยางสังเคราะห์ในการท�า เราก็มแี นวความคิดว่า สมัยก่อนที่ระยองมีการปลูกยางเยอะมาก ท�าอย่างไรจะน�า วัตถุดบิ ธรรมชาติมาใช้ได้ เพือ่ สิง่ แวดล้อม ลดคาร์บอนฟุตพรินท์ และยั ง ส่ ง เสริ ม ให้ กั บ เกษตรกรด้ ว ย ก็ เ ริ่ ม โครงการวิ จั ย และพัฒนาว่ายางธรรมชาติเอาไปท�าอะไรได้บ้าง ประกอบกับ ความต้องการผลิตภัณฑ์เพือ่ สิง่ แวดล้อมจากประเทศทีเ่ จริญแล้ว เช่น ยุโรป อเมริกา หรือญี่ปุนก็ตาม เพราะฉะนั้น จะตอบโจทย์ 2 อย่างเลย คือต้นทางเรือ่ งทีจ่ ะช่วยเกษตรกรรม และปลายทาง ที่ ต ้ อ งการวั ต ถุ ดิ บ ที่ เ ป็ น ธรรมชาติ ม ากขึ้ น ในที่ สุ ด ก็ ไ ด้ จ ด สิทธิบัตรเรื่องนี้ แต่ที่จริงเรื่องยางธรรมชาติไม่ใช่เฉพาะ ABS ยั ง มี อ ย่ า งอื่ น ด้ ว ย เรื่ อ ง Asphalt ตอนนี้ ภ าครั ฐ บาล ก็ พู ด มากขึ้ น นะครั บ ที่ จ ะเอายางธรรมชาติ ม าใช้ แ ทนยาง ที่มาจากไฮโดรคาร์บอน นี่ก็เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ IRPC ท�าอยู่ มั น ก็ คื อ Linked ของความต้ อ งการปลายทางกั บ ต้ น ทาง เพียงแต่เรามองไปข้างหน้าอีก 1 – 2 สเต็ป ช่วยลดโลกร้อน สนองตอบเมกะเทรนด์ พอโจทย์มันชัด โจทย์มันคม งานวิจัย ก็ตามมาได้ แต่ขอ้ เสียอันหนึง่ ก็คอื ราคายังสูงอยู่ พอดีเศรษฐกิจ ยุโรปไม่ดี ก�าลังซื้อก็จะแผ่ว เราก็เก็บเทคโนโลยีไว้รอเวลา ที่จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง นี่ก็เป็นประสบการณ์ตอนอยู่ IRPC สิ่งที่สําคัญคือ

เราต้องมีโจทย์ที่ถูกต้อง

ภาคเอกชนแบบพวกเราก็คงเป็นเสียงสะท้อน ว่าจริง ๆ แล้ว ผู้บริโภคต้องการอะไร การตั้งโจทย์ถูกมันก็สําเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

PETROMAT: ส�าหรับไทยออยล์มีนโยบายด้าน R&D

อย่างไรบ้างครับ คุณอธิคม: ผมว่าก็เหมือนเดิมนะ มันไม่ใช่เป็นนโยบาย เฉพาะไทยออยล์ แต่ เ ป็ น ของทั้ ง กลุ ่ ม ปตท. มากกว่ า เราหากินกับ Asset Base คือเป็น Resource Extraction ขึ้ น มาจากใต้ ดิ น จากนั้นก็แปรสภาพ ลงทุนสร้างโรงกลั่น โรงงานปิโตรเคมี เรามองว่าประเทศทีเ่ จริญแล้วเค้าพัฒนาเรือ่ ง Knowledge Based Economy มากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร CEO ปตท. ท่านให้ความส�าคัญ เรื่ อ งเทคโนโลยี ม าก ตั้ ง แต่ ท ่ า นรั บ ต� า แหน่ ง ก็ ผ ลั ก ดั น เรื่อง TAGNOC (Technologically Advanced and Green National Oil Company) ซึ่งในกลุ่มก็เห็นด้วย เพราะว่า มันเป็นเทรนด์ของอนาคตจริง ๆ เราจะก้าวข้าม Threshold ของการพัฒนาประเทศไปได้ มันต้องไปทีเ่ ทคโนโลยี อันนีก้ เ็ ป็น จุดเริม่ แต่ละบริษทั ก็มคี วามพร้อมไม่เหมือนกัน อย่างทีผ่ มเรียน บริ ษั ท ไหนที่ ใ กล้ ผู ้ บ ริ โ ภคก็ จ ะเห็ น ความส� า คั ญ เรื่ อ งนี้ และเขาก็ทา� ล่วงหน้า บริษทั ไหนทีไ่ กลผูบ้ ริโภคก็อาจจะเริม่ เรือ่ ง นีช้ า้ หน่อย เช่น ไทยออยล์ เป็นต้น เพราะ ไทยออยล์เราอยูต่ น้ น�า้

ผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็น Commodity คือกลัน่ น�า้ มัน พอกลัน่ น�า้ มันเสร็จ Differentiation ของผลิตภัณฑ์กม็ ไี ม่มาก ท�าตามสเปกทุกอย่างเลย เพราะฉะนัน้ การวิจยั และพัฒนาของไทยออยล์ไม่ได้เป็นการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผ่านมา จะเป็นการพัฒนากระบวนการผลิตเสียส่วนใหญ่ ไม่วา่ จะเป็น การลดต้ น ทุ น การผลิ ต ก็ ดี หรื อ จะเป็ น การเพิ่ ม Yield ของผลผลิตก็ดี ก็ยังอยู่ภายใต้กรอบของผลิตภัณฑ์เหมือนเดิม บวกกับการที่ว่าผลิตภัณฑ์ของไทยออยล์ถึงแม้จะหลากหลาย แต่ยังไม่ออกไปนอกกรอบผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสผู้บริโภคจริง ๆ หรือสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคจริง ๆ พัฒนาการ R&D ของไทยออยล์ทดี่ ขี นึ้ เป็นล�าดับ จะมุง่ เน้นเรือ่ งกระบวนการผลิต มากกว่า ผมคิดว่าต่อไปไทยออยล์จะไปเพิม่ น�า้ หนักทีจ่ ะท�าเกีย่ วกับ ผลิตภัณฑ์มากขึ้น หรือต่อยอดไปผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการ ของตลาดที่ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีหรือยังไม่มีผู้ผลิต ซึ่งปจจุบันเรามีโครงการท�า LAB (Linear Alkyl Benzene) เป็นสารลดแรงตึงผิว เมืองไทยไม่มีคนผลิต ต้องน�าเข้าอยู่ เทคโนโลยี นี้ เ ราก็ ก� า ลั ง ท� า แต่ ยั ง อยู ่ ใ นวงค่ อ นข้ า งจ� า กั ด เราต้องใช้วิธีร่วมทุน จากนั้นเราก็ต่อยอดศึกษาจากตรงนั้นไป จะค่อย ๆ เป็นไปตามล�าดับ ไม่ได้รวดเร็วเหมือนบริษัทอื่น ที่เขาอยู่ใกล้ผู้บริโภค

PETROMAT: ได้มองอะไรที่เป็น Disruptive Technology

ไว้บ้างไหมครับ คุณอธิคม: ตอนนี้จริง ๆ ตามที่ผมเรียน ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีโรงกลั่นมัน Mature มาก แทบจะ Buy on Shelf ได้เลย อยูท่ ชี่ ว่ งไหนเศรษฐกิจมันขับเคลือ่ นไปทางไหนมากกว่า อาจจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ บ้าง ที่เกิดขึ้นมาเป็น Disruptive อย่างการ Convert น�้ามันหนักที่มีราคาต�่าให้เป็นน�้ามันใส เมือ่ ก่อนนีส้ ว่ นต่างของราคาน�า้ มันส�าเร็จรูปกับน�า้ มันหนักยังน้อย มันก็เลยไม่เกิดสักที แต่เทคโนโลยีถามว่ามีไหม ก็มี พอถึงเวลา ที่ ส ่ ว นต่ า งตรงนี้ ม ากขึ้ น ก็ ท� า ให้ คุ ้ ม ทางเชิ ง เศรษฐกิ จ แต่ส ่ว นใหญ่แ ทบจะ On Shelf ซึ่งแตกต่างกับปิ โ ตรเคมี ที่เทรนมันเปลี่ยนไปตามความต้องการผู้บริโภค ในภาพรวม ของโรงกลั่นผมว่า Disruptive มันไม่ค่อยมี

9


COVER STORY

PETROMAT: อย่างตอนนีร้ าคาน�า้ มันตกลงมาค่อนข้างเยอะ

ไม่ทราบว่ามีผลต่อนโยบายของบริษัทหรือเปล่าครับ คุณอธิคม: ในแง่ของงบประมาณก็ตอ้ งมีการปรับตามสภาวะ แต่ว่าทิศทางคงไม่เปลี่ยน เพียงแต่ว่าเราจะขยับทรัพยากร ไปทางไหนมากกว่ า กั น ที่ ผ ่ า นมาไทยออยล์ เ น้ น ไปเรื่ อ ง การพั ฒ นากระบวนการผลิ ต จากนี้ ต ่ อ ไปคงจะต้ อ งแบ่ ง เริ่มขยับมาที่ New Product Innovation มากขึ้น

PETROMAT: คล้าย ๆ Hedge Fund หรือเปล่าครับ คุณอธิคม: จะคล้าย Venture Capital ที่จริงก็คือ Private

Venture Capital นั่นแหละ ทางกลุ่ม ปตท. เอง หลายบริษัท ก็ไปลง Venture Capital ต่างประเทศ แต่จริง ๆ ในกลุ่มเอง มีเทคโนโลยีเยอะแยะเลย ที่บางบริษัทมีทรัพยากรหรือไอเดีย ก้าวไปแล้วบ้าง แต่วา่ งบสนับสนุนอาจจะน้อย ยังไปด�าเนินการ ต่อไม่ได้ แต่วา่ บริษทั อืน่ มีความสนใจเทคโนโลยีนี้ ก็เอาเงินมาลง ซึ่ ง ไอเดี ย ตรงนี้ ถ ้ า ท� า ได้ ก็ ข ยายไปนอกกลุ ่ ม ก็ ไ ด้ แต่ ต อนนี้ ยังตั้งไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายรองรับเรื่องมาตรการด้านภาษี ซึ่งภาครัฐอาจจะต้องมาช่วย

PETROMAT: ค�าถามสุดท้ายนะครับ ภาคเอกชนอยากจะ

PETROMAT: ผมเห็นว่ามีการท�าเรื่องความร่วมมือระหว่าง

ไทยออยล์กับมหาวิทยาลัยมาระดับหนึ่ง ตอนนี้ก็เป็นนโยบาย ภาครั ฐ ที่ อ ยากให้ ม หาวิ ท ยาลั ย กั บ อุ ต สาหกรรมท� า งาน ร่วมกันใกล้ชดิ มากขึน้ ทางคุณอธิคมมองว่าไทยออยล์จะขยับตรงนี้ ต่อยังไงครับ ทราบมาว่าไทยออยล์มีความร่วมมือหลายที่ เช่น วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี หรือ สวทช. คุณ อธิ คม: ผมคิดว่ากรอบเดิมที่ท�าอยู่ก็ค่อนข้างไปได้ดี แต่ทสี่ า� คัญคือเราต้องมีโจทย์ทถี่ กู ต้อง ภาคเอกชนแบบพวกเรา ก็คงเป็นเสียงสะท้อนว่าจริง ๆ แล้ว ผู้บริโภคต้องการอะไร การตั้ ง โจทย์ ถู ก มั น ก็ ส� า เร็ จ ไปครึ่ ง หนึ่ ง แล้ ว ที่ ผ ่ า นมาสิ่ ง ที่ เป็นปญหาปกติของการท�า R&D ไม่ใช่ตอบไม่ตรงค�าถาม แต่เป็นถามไม่ตรงกับค�าตอบ ความหมายก็คอื การตอบไม่ตรงค�าถาม เราอาจจะมีค�าถามหรือมีโจทย์ที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ค้นคว้ามา อาจจะยังตอบไม่ได้ แต่ว่าในทางกลับกัน ถามไม่ตรงค�าตอบ เหมือนเรามีงานวิจัยอยู่เยอะแยะเลย แต่ไม่ตรงค�าถามคือ ไม่ตรงกับสิ่งที่ตลาดต้องการ ซึ่งตรงนี้ภาคเอกชนช่วยได้เยอะ ในกลุม่ ปตท. เองก็กา� ลังเริม่ เรือ่ งเทคโนโลยีฟน ด์ทจี่ ะสนับสนุน การลงทุนเพื่อท�าเทคโนโลยี หรือว่า R&D ซึ่งในภาคเอกชน ยังไม่มีแบบนี้ ในภาครัฐมีอยู่แล้วโดยการบริหารจัดการเป็น ของ สวทช. โดยเริ่ ม ต้ น จะเป็ น ภายในกลุ ่ ม ปตท. ก่ อ น มีกลุ่มเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับ Renewable ส�ารวจและผลิต เป็นต้น แล้วแต่ละคนที่จะสนับสนุนก็จะมีเมนูให้เลือกว่าเงิน จะไปลงทีไ่ หน แต่วา่ จะเลือกลงเป็นเทคโนโลยีเลยไม่ได้นะครับ ต้ อ งเลื อ กเป็ น กลุ ่ ม เทคโนโลยี แ ต่ ว ่ า ทิ ศ ทางคงไม่ เ ปลี่ ย น เพี ย งแต่ ว ่ า เราจะขยั บ ทรั พ ยากรไปทางไหนมากกว่ า กั น ที่ผ่านมาไทยออยล์เน้นไปเรื่องการพัฒนากระบวนการผลิต จากนี้ ต ่ อ ไปคงจะต้ อ งแบ่ ง เริ่ ม ขยั บ มาที่ New Product Innovation มากขึ้น 10 U&I Collaboration

ให้ภาคการศึกษามีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างไรบ้าง เพื่อให้ความร่วมมือดีขึ้น คุณอธิคม: ผมว่าการที่ท�างานร่วมกับภาคเอกชนนี่ถูกต้อง แต่ที่เรียนไปแล้วว่าคนที่ลงทุนหรือคิดด้าน R&D ของเอกชน ส่วนใหญ่ตอ้ งเป็นบริษทั ทีใ่ หญ่และมีทรัพยากรมาก ส่วนบริษทั รายย่ อ ยพวก SMEs ซึ่ ง เขาใกล้ ชิ ด ผู ้ บ ริ โ ภคและมี โ จทย์ กลั บ ไม่ ส ามารถที่ จ ะเข้ า มาได้ ท� า อย่ า งไรภาคการศึ ก ษา ถึ ง จะเข้ า ถึ ง ผู ้ ป ระกอบการรายย่ อ ยได้ ตรงนี้ จ ะดี ม าก เพราะรายใหญ่ ที่ รู ้ โ จทย์ จ ากรายย่ อ ยก็ ดี แต่ ถ ้ า รายใหญ่ ที่ยังไม่รู้โจทย์จากรายย่อยก็จะวนอยู่ตรงนี้แหละ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเทคโนโลยีท่ีตอบสนองความต้องการของเมกะเทรนด์ ไม่ ว ่ า จะเรื่ อ งโลกร้ อ น Urbanization, Aging Society หรือเรื่องการลดขยะในสังคมเมือง ผมว่าเป็นอะไรที่ส�าคัญมาก

สุดท้ายนี้ PETROMAT ขอขอบคุณ คุณอธิคม เติบศิริ เป็นอย่างสูง ที่ได้สละเวลาอันมีค่ามาให้มุมมอง จากประสบการณ์ทางธุรกิจ การหาโจทย์วิจัยที่ตรงกับความต้องการ ของผู้บริโภค ซึ่งมีประโยชน์ต่อการทํา U&I Collaboration และพ้นจากปญหา “ถามไม่ตรงกับคําตอบ” สักที



INTERVIEW

วิจัย มหาวิทยาลัย

อุตสาหกรรม เป็นไปได้ ก ารวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อน

เทคโนโลยีให้ก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น แต่จะส�าเร็จได้นั้น จ� า เป็ น ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ จากทุ ก ฝ า ยทั้ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันศึกษาถึงปญหาและแนวทาง แก้ปญหาที่มีอยู่ให้หมดไป PETROMAT Today ฉบับนี้ ได้รับเกียรติ จาก ดร.สันติ กุลประทีปญญา Director, Southeast Asia Research & Development จาก UOP, A Honeywell Company, USA ซึ่ ง ท่ า นจะมา เล่ า ประสบการณ์ ที่ เ คยร่ ว มงานในการพั ฒ นางานวิ จั ย กั บ ทั้ ง บริ ษั ท เอกชนและสถาบั น การศึ ก ษามากมาย เพื่อเป็นแนวทางและให้ข้อคิดแก่ผู้ท�าวิจัยทุกคนในการ พัฒนางานวิจัยให้ก้าวสู่ความร่วมมือระดับอุตสาหกรรม

ดร.สันติ กุลประทีปญญำ

Director, Southeast Asia Research & Development UOP, A Honeywell Company, USA

PETROMAT: ในมุมมองของอาจารย์ งานด้านวิจยั และพัฒนา (R&D) ส�าหรับประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง ดร.สันติ: การท�างานวิจยั ของเมืองไทยทัง้ ภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ยังอยูใ่ นขัน้ ทีเ่ รียกว่า วิจยั (Research) ยังไม่ถงึ ขัน้

พัฒนา (Development) ผมอยากให้ทุกคนคิดถึงค�าถามว่า จุดประสงค์ของการวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือในอุตสาหกรรม คืออะไร และเพื่ออะไร อาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางกลุ่มจะอยู่แต่กับวิชาการตลอดเวลา ท�าหน้าที่สอนหนังสือนักเรียน แต่ควรค�านึงถึง อีกหน้าที่หนึ่งคือ ต้องสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง สิ่งที่เห็นได้คือ การตีพิมพ์ผลงานวิชาการ (Publication) ซึ่งเป็นหัวใจของการวิจัย ถ้าไม่ทา� วิจยั ความรูต้ า่ ง ๆ ก็จะลดน้อยลงไป ต้องรูจ้ กั อ่านผลงานวิจยั ใหม่ ๆ เพือ่ พัฒนาความรูแ้ ละรูท้ นั เทคโนโลยีทพี่ ฒ ั นาตลอดเวลา และสอนให้นกั เรียนรูจ้ กั การท�าวิจยั รูจ้ กั คิดวิเคราะห์ปญ  หาและหาวิธแี ก้ปญ  หาทีเ่ กิดขึน้ ส�าหรับการท�าวิจยั ในอุตสาหกรรมเพือ่ ทีจ่ ะ แก้ปญหาที่เกิดขึ้น สร้างชื่อเสียงให้กับบริษัท ปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น สร้างความรู้ให้กับนักวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปญหาให้ลูกค้า และเชื่อมโยงกับนักวิทยาศาสตร์ที่อื่น ๆ เพื่อท�าความรู้จักและแลกเปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน อ่ำนต่อหนำถัดไป...

12 U&I Collaboration



INTERVIEW

PETROMAT: อยากให้อาจารย์ช่วยแนะน�าถึงแนวทาง

ในการสร้างความร่วมมือในการท�าวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรม ดร.สั น ติ : เราต้ อ งรู ้ ถึ ง ความต้ อ งการของมหาวิ ท ยาลั ย และภาคอุ ต สาหกรรมก่ อ นจึ ง จะท� า ให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ ระหว่างกันได้ สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องการจากภาคอุตสาหกรรม คือ (1) งบประมาณสนับสนุนการวิจัย (2) มีจุดประสงค์ในการ ท�าวิจยั ทีช่ ดั เจน (3) ได้รบั ความร่วมมือและสนับสนุนเทคโนโลยี (4) มี ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ เครื่ อ งมื อ /อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ส� า หรั บ การ ขยายขนาดงานวิจัยสู่ระดับอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวทาง ในการพัฒนางานวิจัยให้สามารถน�าไปใช้ประโยชน์ในระดับ อุ ต สาหกรรมได้ และ (5) มี ก ารท� า สั ญ ญาตกลงร่ ว มกั น อย่างชัดเจนในการจดลิขสิทธิ์ของงานวิจัยและเพื่อตีพิมพ์/ เผยแพร่งานวิจัย ส�าหรับสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมใช้ในการเลือกอาจารย์ มาร่วมวิจัยจากประสบการณ์ของผม คือ (1) ความน่าเชื่อถือ ของอาจารย์ (2) มี ผ ลงานวิ จั ย และความเชี่ ย วชาญตรง กับงานวิจัยที่ต้องการศึกษา (3) นักวิจัยสามารถเชื่อมโยง ระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจได้ (4) สามารถคิดค้น นวัตกรรมใหม่ทมี่ มี ลู ค่า และ (5) สามารถร่วมมือท�างานเป็นทีมได้

ดร.สันติ กุลประทีปญญา รวมบรรยายในงาน PETROMAT Seminar ประจําปี 2558

PETROMAT: สิ่งที่จะท�าให้นักวิจัยประสบความส�าเร็จ

ในการท� า วิ จั ย และผลิ ต ผลงานวิ จั ย เป็ น ที่ ต ้ อ งการ ของอุตสาหกรรม คืออะไร ดร.สันติ: สิง่ ทีจ่ ะท�าให้โครงการวิจยั ประสบความส�าเร็จได้นนั้ ต้องอาศัยปจจัยหลายประการ ซึ่งขอยกตัวอย่าง ดังนี้ (1) Project selection คือ การเลือกหัวข้องานวิจัย สิง่ นีเ้ ป็นหัวใจของการท�าวิจยั การลงมือท�างานวิจยั ไม่ใช่เป็นสิง่ ทีย่ าก แต่จะท�าอะไรนั้นเป็นสิ่งที่ยากกว่า เพราะการเลือกโครงการ ทีเ่ หมาะสมเป็นสิง่ ส�าคัญทีจ่ ะท�าให้ได้ผลประโยชน์และมีชอื่ เสียง ตามมา จึงต้องมีการศึกษาข้อมูลด้านความต้องการของลูกค้า และท้องตลาด เช่น อุตสาหกรรมหรือสังคมต้องการอะไร ใช้เทคโนโลยีอะไร มีคนใช้เทคโนโลยีนี้แล้วหรือยัง ถ้าพบว่า เทคโนโลยีนนั้ ไม่มใี นเมืองไทย เราจะท�าอย่างไร ท�าวิจยั ต่อไปไหม และเมื่อท�าส�าเร็จได้แล้วจะสามารถขยายขนาดไปสู่ระดับใหญ่ ขึ้ น ได้ ไ หม มี ข ้ อ มู ล เพี ย งพอหรื อ ไม่ สิ่ ง เหล่ า นี้ จ ะเป็ น สิ่ ง ที่ ต้องศึกษาก่อนที่เราจะเลือกพัฒนางานวิจัยขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง เพื่อน�าไปสู่การตั้งจุดประสงค์การวิจัยที่ชัดเจน (2) Think out of the box คือ การคิดนอกกรอบ ในกรณีนี้ ผมต้องการจะชีใ้ ห้เห็นว่า นักวิจยั หรือนักวิทยาศาสตร์ ต้องเก่งทุกคนอยู่แล้ว แต่การที่เราเก่งทางวิชาการไม่จ�าเป็นว่า ในทางปฏิบัติจะปฏิบัติได้ดีเหมือนกันทุกคน บางคนอาจคิด แก้ปญ  หาได้แตกฉานภายในวันเดียว บางคนอาจใช้เวลาหลายวัน หรื อ คิ ด ไม่ อ อกเลยก็ ไ ด้ การคิ ด นอกกรอบนี้ จ ะเป็ น วิ ธี ก าร ทีจ่ ะท�าอย่างไรถึงจะท�าให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างเช่น การน�าเทคโนโลยี 2 อย่างมาเชื่อมต่อกัน หรือน�ามาต่อยอด เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

ถ้าเราทําใจไม่ได้ ว่าเราจะหยุดที่ไหนสักแห่ง

ไม่พอใจสิ่งที่ตนมีอยู่ ชีวิตของเรา จะไม่มีความสุข

ดร.สันติ กุลประทีปญญา บรรยายพิเศษ แก่นักศึกษาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

14 U&I Collaboration


(3) Teamwork คื อ การท� า งานร่ ว มกั น เป็ น ที ม ในอุตสาหกรรมเราจะท�างานร่วมกันเป็นทีม บางโครงการเรา ต้องการความเชี่ยวชาญจากนักวิจัยหลาย ๆ ท่าน เราก็จะมี ประชุมทุกเดือนเพือ่ สร้างการท�างานร่วมกันเป็นทีม และเมือ่ ได้ ผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว เราต้องให้เครดิตกับทีมของเราทุกคน (4) Select the right partner คือ การเลือกคน ให้ เ หมาะสม เป็ น การเลื อ กอาจารย์ ห รื อ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญ ที่จะมาท�างานวิจัยร่วมกันให้มีความสามารถเหมาะสมตรงกับ งานที่เราจะศึกษา และต้องสามารถร่วมกันท�างานเป็นทีมได้

เราควรสนุกและรักงานที่ทํา

เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทํางาน

ซึ่งจะทําให้ได้ผลงานที่ดี

ถ้าได้ทําโครงการวิจัยร่วมกับผู้อื่น ให้คิดว่าเราทําโครงการวิจัยเพื่อตัวเราเอง

จะทําให้เรามีความสุข กับงานที่ทํา PETROMAT: อยากให้อาจารย์ฝากแง่คิดถึงนักวิจัยทุกคน

ดร.สันติ กุลประทีปญญา รวมงาน PTT Group/UOP R&D Technology Workshop in Bangkok

PETROMAT: ส�าหรับ PETROMAT อาจารย์มีข้อแนะน�า

หรือแนวทางในการด�าเนินการอย่างไรบ้าง ดร.สันติ: ในความเห็นของผม PETROMAT มีศักยภาพ ที่จะเป็นศูนย์ความเป็นเลิศได้ มีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ หลายท่าน ผมจึงขอแนะน�าให้นักวิจัยช่วยกันศึกษาถึงทิศทาง ของเมืองไทยว่าจะเดินหน้าไปทางไหน สิง่ ไหนทีเ่ มืองไทยต้องการ จากนัน้ ร่วมกันคิดโครงการวิจยั ทีส่ อดคล้องขึน้ มาทีใ่ ช้ประโยชน์ จากความสามารถของเราได้และร่วมมือกันท�างานเป็นทีม รวมถึงพยายามหาความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมเพือ่ ให้เกิด โครงการวิ จั ย ขึ้ น เป็ น รู ป ธรรม และสามารถท� า ประโยชน์ ให้กับประเทศได้

เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้สามารถพัฒนางานวิจัยต่อไปค่ะ ดร.สันติ: นักวิจยั ควรสนุกและรักงานทีท่ า� เพือ่ ให้เกิดแรงจูงใจ ในการท�างาน ซึ่งจะท�าให้ได้ผลงานที่ดี ถ้าได้ท�าโครงการวิจัย ร่วมกับผูอ้ นื่ ให้คดิ ว่าเราท�าโครงการวิจยั เพือ่ ตัวเราเองจะท�าให้ เรามี ค วามสุ ข กั บ งานที่ ท� า นอกจากนี้ ค วรพอใจในรายได้ ที่เป็นอยู่ ควรออกก�าลังกายเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และสิ่งส�าคัญ อีกอย่าง คือ ถ้าชีวิตครอบครัวมีความสุขจะมีส่วนช่วยให้ ประสิทธิภาพในการท�างานดีขึ้น PETROMAT ขอขอบคุณ

ดร.สันติ กุลประทีปญญา

ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ บอกเล่าประสบการณ์ และแง่คิดดี ๆ ให้กับพวกเรา ทําให้หลาย ๆ คนเกิดแรงจูงใจ ในการพัฒนางานวิจัย ให้ก้าวสู่ระดับอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้นค่ะ

ดร.สันติ กุลประทีปญญา ถายรูปรวมกับ นักวิจัยจาก Thai Oil, PTTGC และ PTTRTI ที่ UOP Seelig School, Riversides Plant, IL, USA

15


RESEARCH เรื่องโดย... ภัสร์ชาพร สีเขียว

University & Industry Collaboration ก ารวิจัยและพัฒนาในมหาวิทยาลัยเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความเป็นไปได้จากความรู้ทางทฤษฎี การท�าวิจัย และบทความทางวิชาการต่าง ๆ แต่หลายครั้งเมื่อน�าไปใช้งานในระดับ อุตสาหกรรม มักประสบปญหาในการน�าไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตจริง เช่น ปญหาในเรือ่ งการลงทุนเครือ่ งจักรใหม่ทมี่ รี าคา สูง ต้นทุนการผลิตสูง กระบวนการผลิตทีแ่ ตกต่างไปจากเดิมมาก เป็นต้น ปญหาเหล่านีท้ า� ให้ในปจจุบนั เกิดความร่วมมือกันระหว่าง ภาคการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมทีจ่ ะพัฒนางานวิจยั ให้นา� ไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ PETROMAT ให้ความส�าคัญและผลักดัน ให้เกิดงานวิจยั ร่วมระหว่างภาคการผลิตและมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนือ่ ง โดยจะเห็นได้จากจ�านวนโครงการทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างก้าวกระโดด ใน 2 ปที่ผ่านมา ใน PETROMAT Today ฉบับนี้จะขอน�าเสนอตัวอย่างงานวิจัยที่ได้พัฒนาร่วมกับอุตสาหกรรม ดังนี้

Petro Gas Saudi

ป 2555

ป 2556

ป 2557

ป 2558 *

1 โครงกำร 3 โครงกำร 5 โครงกำร 14 โครงกำร

* ถึงเดือนสิงหำคม 2558

กำรพัฒนำวัสดุที่มีสภำพเปล่งรังสีสูงส�ำหรับใชงำนที่อุณหภูมิสูง โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จ�ากัด ให้ศึกษาลักษณะสมบัติและพัฒนาสารเคลือบผิวที่มีสมบัติการเปล่งรังสีความร้อน (Emissivity) ทีอ่ ณ ุ หภูมสิ งู ตัง้ แต่ 1,000-1,500 องศาเซลเซียส โดยพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของสารเคลือบผิว และบทบาทของสารประกอบออกไซต์ทมี่ ผี ลต่อการเปล่งรังสีความร้อนของสารเคลือบผิว ผสมกับ ตัวกลางทีป่ ระกอบด้วยสารละลายกรดฟอสเฟอริก แล้วเคลือบลงบนผิววัสดุฉนวนความร้อนทนไฟ ด้วยการจุ่มเคลือบ แล้วตรวจวัดค่าสภาพการเปล่งรังสีความร้อนของสารเคลือบผิวด้วย เครือ่ งไพโรมิเตอร์ และติดตัง้ ชุดของเทอร์โมคัปเปิล เพือ่ ใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิ ณ ต�าแหน่งต่าง ๆ ภายในเตาและพื้นผิวของชิ้นงาน ผลจากการบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพการเปล่งรังสี ความร้อนและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิด้วยเครื่องบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ พบว่าสารประกอบ ออกไซด์ข้างต้นมีการเปล่งรังสีความร้อนที่สูง และก�าลังจะพัฒนาเป็นสูตรเคลือบต่อไป

ผูช่วยศำสตรำจำรย ดร.ธนำกร วำสนำเพียรพงศ ภำควิชำวัสดุศำสตร คณะวิทยำศำสตร จุฬำลงกรณมหำวิทยำลัย (CU-MS)

แนวคิดและทฤษฎีการเคลือบผิวเพื่อเพิ่มการเปล่งรังสีความร้อน

16 U&I Collaboration

ชุดอุปกรณ์และเตาเผาส�าหรับการทดสอบ


กำรพัฒนำน�้ำมันชีวภำพจำกกระบวนกำรไมโครอิมัลชันจำกน�้ำมันปำลม ส�ำหรับกำรใชเปนเชื้อเพลิงในอุตสำหกรรม ปจจุบนั การพัฒนาน�า้ มันเชือ้ เพลิงชีวภาพในอุตสาหกรรมได้รบั ความสนใจอย่างต่อเนือ่ ง การผสมน�้ า มั น เชื้ อ เพลิ ง ด้ ว ยกระบวนการไมโครอิ มั ล ชั น (Microemulsion Fuel) เป็นหนึง่ ในเทคโนโลยีทไี่ ด้รบั ความสนใจอย่างกว้างขวาง เนือ่ งจากเป็นกระบวนการทีไ่ ม่ซบั ซ้อน และใช้พลังงานต�า่ และสามารถน�าน�า้ มันพืชหรือน�า้ มันพืชเสือ่ มสภาพมาเป็นวัตถุดบิ ได้โดยตรง การศึกษาวิจยั นีเ้ ป็นการพัฒนาส่วนผสมของน�า้ มันชีวภาพจากกระบวนการไมโครอิมลั ซิฟเิ คชัน จากน�้ามันปาล์ม ดีเซล และแอลกอฮอล์ โดยใช้สารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วม ในการท�าให้เชื้อเพลิงเหลวอยู่ในสภาพรีเวิรส์ไมเซลไมโครอิมัลชัน (Reverse Micelle Microemulsion) ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาร่วมกับอุตสาหกรรมถึงผลของชนิดสารลดแรงตึงผิว และสารลดแรงตึงผิวร่วม สัดส่วนต่าง ๆ ของเชื้อเพลิงผสม เพื่อให้ได้น�้ามันชีวภาพที่มีความใส และเป็นเนื้อเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถน�าข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการก�าหนด ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้น�้ามันเชื้อเพลิงอย่างเป็นรูปธรรม

อำจำรย ดร.อัมพิรำ เจริญแสง

วิทยำลัยปโตรเลียมและปโตรเคมี จุฬำลงกรณมหำวิทยำลัย (CU-PPC)

Reverse Micelle Microemulsion แผนภาพการละลายของผสมที่สภาวะไมโครอิมัลชัน ระหว่างน�้ามันปาล์ม น�้ามันดีเซล เมทานอล ร่วมกับสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ

Petro Gas Saudi

กำรพัฒนำโปรแกรมจ�ำลองรูปแบบกำรเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของของไหลภำยในท่อขนส่งน�้ำมันดิบ การขนส่งน�า้ มันดิบผ่านท่อเป็นกระบวนการทีพ่ บเห็นได้ทวั่ ไปในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม น�้ามันดิบส่วนใหญ่มีความหนืดสูง อีกทั้งโดยปกติแล้วอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอกท่อ มั ก จะต�่ า กว่ า อุ ณ หภู มิ ข องน�้ า มั น ดิ บ ภายในท่ อ น�้ า มั น ดิ บ จึ ง เกิ ด การสู ญ เสี ย ความร้ อ น อุณหภูมิจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะทางและเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะท�าให้ท่ออุดตันได้ ดังนัน้ การขนส่งน�า้ มันดิบผ่านท่อจะไม่สามารถด�าเนินการต่อได้ เพือ่ ปองกันหรือลดความรุนแรง จากการสูญเสียประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น จึงท�าการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการไหลภายในท่อขนส่งน�า้ มันดิบทีม่ คี วามซับซ้อน และท�านายการเกิดไขในระบบท่อ โดยน�าความรู้ทางพลศาสตร์ของไหลเชิงค�านวณมาใช้ในการแก้ปญหาการไหล ผลที่ได้พบว่า โปรแกรมจ�าลองมีความน่าเชื่อถือ โดยท�าการเปรียบเทียบความถูกต้องกับการทดลองจริง และโปรแกรมส�าเร็จรูป โปรแกรมที่ได้สามารถใช้ท�านายพฤติกรรมการไหลของน�้ามันดิบ รวมถึงการเกิดไขภายในระบบท่อได้อย่างแม่นย�า

ผูช่วยศำสตรำจำรย ดร.เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ ภำควิชำเคมีเทคนิค คณะวิทยำศำสตร จุฬำลงกรณมหำวิทยำลัย (CU-CT)

โปรแกรมจ�าลองรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของของไหลภายในท่อขนส่งน�้ามันดิบ

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ที่ได้จากโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น

17


Look Around

“PETROMAT Link:

Gateway งานเสวนา The to Innovations”

วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา

เรื่องโดย... อรนันท์ คงเครือพันธุ์

P ETROMAT ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จัดงาน PETROMAT & PPC Symposium ขึน้ เป็นประจ�าทุกป

ซึ่งในปนี้เป็นปที่ 6 แล้ว PETROMAT ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ “PETROMAT Link: The Gateway to Innovations” เพื่ อ เป็ น การแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น และข้ อ เสนอแนะ ในการท� า งานวิ จั ย ร่ ว มกั น ระหว่ า ง PETROMAT กั บ ภาคอุตสาหกรรม โดย PETROMAT ได้รับเกียรติจากหลาย ๆ หน่วยงานมาเข้าร่วมเสวนาและเสนอความคิดเห็น อาทิ สกอ., iTAP, SCG Chemicals, PTTGC, บางจาก, มหาชัยพลาสติก เป็นต้น โดย PETROMAT Today ฉบับนี้ขอน�าเสนอประเด็นส�าคัญ บางส่วนในงานมาเสนอท่านผู้อ่านดังนี้ ผมได้ รู ้ จั ก กั บ PETROMAT มาไม่ เ กิ น 3 ป เริ่ ม จากมี โ อกาสเข้ า มาคุ ย กั น แล้ ว รู ้ สึ ก ว่ า ไม่ มี Academic Wall เกิดขึ้น อีกทั้งหน่วยงานมีผู้เชี่ยวชาญ หลายท่านร่วมงานวิจัยใน PETROMAT ด้วย ดังนั้น จึ ง ตั ด สิ น ใจเริ่ ม ท� า สั ญ ญากรอบใหญ่ ขึ้ น ระหว่ า ง SCG Chemicals กับ PETROMAT เมื่อทางบริษัท มีโจทย์งานวิจัยหรือปญหาเกิดขึ้นก็สามารถเข้ามาพบ PETROMAT ได้ ทั น ที หลั ง จากนั้ น PETROMAT ก็ด�าเนินงานต่อไปจนส�าเร็จ ซึ่งเรียกว่าเป็น One-Stop Service ได้ เ ลย นอกจากนี้ ผมยั ง มี ข ้ อ เสนอแนะ ให้ ท าง PETROMAT รั ก ษาระดั บ Technical Excellence ไว้ โดยต้ อ งพยายามหาจุ ด หลั ก และรวบรวมเทคโนโลยีงานวิจัยที่เชี่ยวชาญของนักวิจัย ใน PETROMAT เพื่อให้ทางภาคอุตสาหกรรมได้เห็น ศักยภาพมากขึ้น

สกอ. นอกจากสนับสนุนทุนให้แก่ PETROMAT เพื่ อ ให้ เ กิ ด ผลงานวิ จั ย แล้ ว ยั ง พั ฒ นาบุ ค ลากร โดยใช้ทักษะเชิงวิชาการและการตีพิมพ์ด้วย ปจจุบัน ได้ เ ริ่ ม ส่ ง เสริ ม งานวิ จั ย เชิ ง พาณิ ช ย์ เ พื่ อ ตอบสนอง ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ SMEs มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ระดับชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย

ดร.จำรุรินทร ภู่ระยำ

ผูอ�ำนวยกำรกลุ่มส่งเสริมสนับสนุน และเผยแพร่งำนวิจัยจำก สกอ.

ปจจุบัน PETROMAT มีโครงการวิจัยร่วมกับ เอกชนแล้วหลายโครงการ และมีอีกหลายโครงการ ที่อยู่ระหว่างด�าเนินการเจรจาและเข้ามาเพื่อปรึกษา และรับฟงข้อเสนอแนะจากนักวิจยั ทีเ่ ชีย่ วชาญแล้วน�าไป แก้ไข/ปรับปรุงพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งทาง PETROMAT มีความพร้อมและยินดีทจี่ ะเป็นส่วนหนึง่ ในการแก้ปญ  หา ของภาคอุตสาหกรรมเพือ่ การพัฒนาประเทศอย่างยัง่ ยืน

ดร.บุตรำ บุญเลี้ยง

Technology Intelligence Manager จำก SCG Chemicals 18 U&I Collaboration

รศ. ดร.ศิริพร จงผำติวุฒิ

รองผูอ�ำนวยกำร PETROMAT และนักวิจัย จำกวิทยำลัยปโตรเลียมและปโตรเคมี จุฬำฯ



Get to Know เรื่องโดย... ภัสร์ชาพร สีเขียว

PETROMAT in U&I ก ารพัฒนางานวิจยั ให้กา้ วหน้าได้นนั้ จะต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผูศ้ กึ ษาวิจยั กับผูท้ นี่ า� งานวิจยั ไปใช้ประโยชน์ได้จริง ส�าหรับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ หรือ PETROMAT ของเรามีบทบาทในการช่วยประสานงานวิจัย และช่วยคัดสรรผู้เชี่ยวชาญให้ตรงกับงานวิจัยเพื่อให้เกิดความราบรื่นในการด�าเนินงานวิจัยร่วมกัน PETROMAT มีทีมวิจัยที่มี ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านปิโตรเคมีและวัสดุจาก 4 มหาวิทยาลัย และมีความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

วิทยาลัยปิโตรเลียม และปิโตรเคมี ภาควิชาเคมีเทคนิค ภาควิชาวัสดุศาสตร์ และภาควิชาเคมี

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาเคมี เชิงฟิสิกส์

สาขาวิชาวิศวกรรม พอลิเมอร์

งานวิจัยด้าน

เป็ น ความร่ ว มมื อ ด้ า นการท� า วิ จั ย กับนักวิจัยในสถาบันร่วมของศูนย์ฯ ในโครงการวิจัยต่าง ๆ เช่น

การใช้ประโยชน์จาก

การผลิต

ของเสียในโรงงานผลิต ไบโอดีเซล

การดักจับกาซ คาร์บอนไดออกไซด์

20 U&I Collaboration

หน่วยงานรัฐอื่น ๆ

ภำครัฐ

ภำคเอกชน พลังงานชีวมวล และการขนส่ง นํ้ามันดิบภายในท่อ

ภาควิชาวิทยาการ และวิศวกรรม

มีความร่วมมือในการ

ไฮโดรเจนจากนํ้าเสีย การสกัด

สารแอโรแมติกส์ วัสดุดูดซับทางเคมี และการพัฒนาวัสดุต่าง ๆ

จัดงานเสวนาในงาน InterPlas Thailand (ป พ.ศ. 2554 – 2558)

การปรับปรุงคุณภาพน�้าเสียจาก

การผลิตไบโอแกส


Everyday PETROMAT

Biosciences Institute (EBI) ที่มำ: - http://cenm.ag/collab - http://energybiosciencesinstitute.org

Energy Biosciences Institute (EBI) เป็นสถาบันวิจัย ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น มาจากความร่ ว มมื อ ระหว่ า งภาคการศึ ก ษา ได้ แ ก่ University of California at Berkeley, Lawrence Berkeley National Laboratory, และ University of Illinois at Urbana -Champaign (UIUC) และ ภาคอุตสาหกรรม คือบริษทั น�า้ มัน BP เพือ่ ศึกษา งานวิจัยร่วมกันในด้าน Cellulosic Fuels เป็นการสกัด Cellulose ในหญ้า เศษไม้ ฟางข้าว ซังข้าวโพดและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร โดยผ่านกระบวนการจนได้นา�้ ตาลและน�าไปหมักให้ได้ เอทานอลเพือ่ น�าไป เป็นเชื้อเพลิงหรือน�าไปผสมเป็นน�้ามันแกสโซฮอล์ต่อไป EBI ยังมี งานวิจัยที่ร่วมกันในด้าน Petroleum Microbiology โดยศึกษาด้าน Microorganisms ของน�า้ มันปิโตรเลียมเพือ่ น�าไปปรับปรุงกระบวนการ กลั่นน�้ามันต่อไป นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยศึกษาด้าน Biolubricants และผลิตภัณฑ์พลอยได้อนื่ ๆ ทาง Bio-Based อีกด้วย โดยมีการลงทุน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นระยะเวลา 10 ป ส�าหรับประเด็นส�าคัญ ในการตกลงความร่วมมือคือเรือ่ งทรัพย์สนิ ทางปญญา (IP) ควรมีขอ้ ตกลง ให้ชัดเจนเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝาย โดยโครงการดังกล่าว ได้ตั้งค่า IP ไว้ 100,000 เหรียญสหรัฐ ในการต่อใบอนุญาตต่อป

TOP-PPC

R&D Collaboration Unit ที่มำ: - http://research.chula.ac.th/web/cu_online/2552/vol_39_2.htm - http://ryt9.com/s/prg/1614076 - https://youtube.com/watch?v=f0HYC8m5DBM

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ท�าข้อตกลงร่วมมือ ในการท�างานวิจัยกับ บริษัท ไทยออยล์ จ�ากัด (มหาชน) โดยมีการจัดตั้งห้องปฏิ บัติ ก าร TOP-PPC Collaboration Unit ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนาร่วมโดยมีเจ้าหน้าที่ของ บริษทั ฯ มาท�างานอยูใ่ นพืน้ ทีข่ องวิทยาลัยฯ ท�าให้สามารถผลักดันโครงการวิจยั ต่าง ๆ ภายใต้ความ ร่ ว มมื อ ให้ ส� า เร็ จ ลุ ล ่ ว งไปด้ ว ยดี ห ลายโครงการ รวมทั้ ง ได้ ข ยายผลไปสู ่ ก ารใช้ ง านจริ ง ในโรงกลัน่ อาทิ โครงการเกีย่ วกับการประหยัดพลังงานในหอกลัน่ โครงการทดสอบตัวเร่งปฏิกริ ยิ า ส�าหรับกระบวนการผลิตน�้ามันดีเซลที่สามารถขยายผลไปสู่ห้องทดสอบมาตรฐานในอนาคตด้วย 21


GAMES

GAMES

PETROMAT Today ฉบับนี้ยังมีของรางวัลพิเศษ เป็น เช็คของขวัญมูลค่ำ 500 บำท และ แกว 15 ป PETROMAT จ�านวน 5 รางวัล

เพียงส่งค�าตอบทางอีเมล ไปรษณี​ีย์หรือเฟสบุค ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ทางทีมงานจะท�าการจับรางวัลและประกาศรายชื่อผู้โชคดีทางวารสารฉบับต่อไป

สถำบันร่วมภำยใต “PETROMAT” ประกอบดวย มหำวิทยำลัยใดบำง 1. ............................ 2. ............................ 3. ............................ 4. ............................

ประกำศรำยชื่ิอผูโชคดี ไดรับรำงวัลเช็คของขวัญมูลค่ำ 500 บำท ผศ. ดร.วรดา หล่อยืนยง

4 U&I Collaboration

ไดรับรำงวัลแกว 15 ป PETROMAT 1. คุณอริสา อุตมะ 2. K.Ratakorn Buaboocha 3. K.Komsan Laokamon 4. K.A Supachai 5. คุณรัชนีกร โหรชัยยะ

“รีบ มีสิทธิ์ลุนรับส่งค�ำตอบ รำงวัลทุกท่ำ

น”

info@petromat.org

petromat


Food Corner by PETROMAT

“ย.ยักษ์” บ่ อ ยครั้ ง ที่ ถึ ง เวลามื้ อ อาหารแล้ ว หลาย ๆ ท่ า นคิ ด ไม่ อ อกว่ า จะรับประทานเมนูอะไร PETROMAT ขอแนะน�าทางเลือกหนึ่งที่อาจจะ

เรื่องโดย... ธีรยา เชาว์ขุนทด

ร้านอาหารตามสัง่ แนวใหม่ “ไซส์มนุษย์” หรือ “ไซส์ยักษ์” คุณเลือกสั่งได้ตามใจ

ตอบโจทย์ปญหาท่านได้ ร้าน “ย.ยักษ์” เป็นร้านอาหารตามสั่งแนวใหม่ “ไซส์มนุษย์” หรือ “ไซส์ยกั ษ์” ตามสโลแกนแนวโบราณว่า “สามัคคีเติมพลัง” คุณเลือกสัง่ ได้ตามใจ อีกทัง้ วิธกี ารสัง่ ของร้านนีไ้ ม่ธรรมดา สามารถเลือกอาหาร ในแบบตามใจเราและเลือกได้เยอะกว่าร้านอาหารตามสัง่ ทัว่ ไป คิดเมนูไม่ออก เปิด www.eatyoryuk.com/random แล้วเลือกไซส์ ใช้ได้ทั้งในมือถือ และในคอมพิวเตอร์ สามารถเลือกออกมาเป็นเมนูทไี่ ม่ซา�้ กันได้ 4 ล้านกว่าแบบ

ยักษอินเตอร สเต็กหมูจำนใหญ่ ยักษไทย กระเพรำหมูและหมูสบั ไซสยกั ษ (349 บำท) เพิม่ เครือ่ งเคียง ไซสยกั ษ (199 บำท) เพิม่ ไข่ดาวยักษ์ โคกยักษ (49 บำท) จ�้ำบะน�้ำแดง (79 บำท) สปาเก็ ต ตี้ ซ อสขี้ เ มา (+10 บาท) (+50 บาท) ไอศกรีมยักษ (99 บำท) ท็อปปิงด้วยไข่ดาว (+10 บาท)

มำม่ ำ ซอสสุ กี้ สปำเก็ตตี้ย�ำพริกเผำเบคอนไซส ไซสมนุษย (69 บำท) มนุ ษ ย (69 บำท) เพิ่ ม หอยลาย เ พิ่ ม ห มึ ก แ ล ะ กุ ้ ง (+10 บาท) (+20 บาท)

เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 10.30 - 22.00 น. ซอยจุฬา 50 (ในยูเซ็นเตอร์) ถ.พระราม 4 ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร https://www.facebook.com/eatyoryuk 0850277760

พิเศษ !!!

ส�าหรับผู้อ่านคอลัมน์ Food Corner by PETROMAT 5 ท่ำนแรก ที่ไปรับประทานอาหารที่ร้าน “ย.ยักษ์” จะได้รับโปรโมชั่นพิเศษจากทางร้าน

โซดาไฟกับการทําความสะอาด โซดาไฟ หรือ Caustic soda ชื่อเคมีคือ Sodium hydroxide สูตรเคมีคือ NaOH เป็นของแข็งสีขาว มีทั้งแบบที่เป็น เกล็ด เป็นผงและเป็นเม็ดครึ่งวงกลม มีฤทธ์เป็นด่าง ดูดความชื้นได้ดี ละลายน�้าได้ดี

โซดาไฟ ที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของแข็ง หรือถูกเตรียมเป็นสารละลายที่ความเข้มข้น 50% โซดาไฟจะถูกใช้ ในอุ ต สาหกรรมสบู ่ อุ ต สาหกรรมกระดาษโดยใช้ เ ป็ น สารฟอกขาวเยื่ อ กระดาษ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ซั ก ฟอก เคมี ภั ณ ฑ์ ท�าความสะอาด อุตสาหกรรมเส้นใยและสิ่งทอในขั้นตอนการปรับสภาพเส้นใย การบ�าบัดน�้าเสียโดยปรับสภาพน�้า ที่มีฤทธิ์เป็นกรดให้เป็นกลางและใช้ตกตะกอนโลหะหนัก โซดาไฟกับการทําความสะอาด โซดาไฟถูกใช้อย่างแพร่หลายในการท�าความสะอาดท่อทีอ่ ดุ ตันด้วยไขมัน

โดยน�าโซดาไฟมาละลายน�า้ แล้วเทราดลงไปในท่อ ไขมันจะถูกไฮโดรไลซ์ดว้ ยด่าง (เช่น โซดาไฟ) เกิดเป็นเกลือของกรดไขมัน หรือสบู่ ซึ่งสบู่ที่เกิดขึ้นสามารถละลายน�้าได้ เรียกว่าปฏิกิริยา Saponification ซึ่งในอุตสาหกรรมการท�าความสะอาด จะใช้ โซดาไฟ ในการท�าความสะอาดอุปกรณ์ที่ปนเปอน oil, grease เช่นกัน บริษัท วาเลนซ์ จ�ากัด ด�าเนินธุรกิจให้บริการด้าน Industrial cleaning ทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส�าหรับอุตสาหกรรมหนักทั่วไป เช่น อุตสาหกรรมโรงกลัน่ น�า้ มัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมผลิตไฟฟา อุตสาหกรรมเหล็ก ด้วยกระบวนการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เทคโนโลยีทมี่ คี ณ ุ ภาพ มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

23


U&I Collaboration


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.