84 Trees Bhumibol

Page 1






สารบัญ จากใจของเรา

6

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า

8

ก่อนจะมาเป็น ๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง

22

พรรณไม้ภาคเหนือ

30

พรรณไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

80

พรรณไม้ภาคตะวันออก

110

พรรณไม้ภาคตะวันตกและภาคกลาง

126

พรรณไม้ภาคใต้

166

หัวใจที่รับผิดชอบต่อสังคมไทยของเรา

208

บรรณานุกรม

212

ดัชนี

214

คณะผู้จัดทำ

215



จากใจของเรา จากพระราชปณิธานอันมุ่งมั่นเสมอมาตลอดระยะเวลา

ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงเป็ น องค์ พ ระประมุ ข ของ

ชาวไทย ได้จุดประกายให้ประชาชนทั่วไป องค์กรภาครัฐบาลและ ภาครัฐวิสาหกิจ ได้เล็งเห็นคุณค่าของการปลูกต้นไม้เพื่อชุบชีวิต ผืนป่าและสมดุลของระบบนิเวศน์ในธรรมชาติที่หายไปให้กลับคืน มาใหม่ อี ก ครั้ ง เพราะไม่ ใ ช่ เ พี ย งแต่ จ ะช่ ว ยฟื้ น ฟู จ ำนวนพื้ น ที่

ป่าโดยรวมที่ลดลง และจำนวนที่ร่อยหรอลงไปทุกทีของพรรณไม้ ประจำถิ่ น และไม้ ที่ ห ายาก แต่ ยั ง เป็ น การมุ่ ง ให้ ค วามรู้ เ รื่ อ ง ลั ก ษณะของชนิ ด และภู มิ ป ระเทศที่ ถู ก ต้ อ งและสอดคล้ อ งกั บ พรรณไม้ทคี่ ดิ จะนำมาปลูกแก่ผทู้ สี่ นใจอีกด้วย หนังสือ ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง จาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและสืบสาน แนวทางการดำเนิ น งานตามพระราชดำริ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว เรื่องการปลูกป่าในใจคน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ ได้ พระราชทานแก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ป่ าไม้ ที่ รั บ ผิ ด ชอบด้ า นการดู แ ลป่ า ว่ า “...ถ้าจะปลูกป่าควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคน เหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วย ตนเอง” หนังสือเล่มนี้จึงมีเนื้อหาว่าด้วยการให้ความรู้ในเรื่องพรรณไม้ ซึ่งถือเป็น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการฟื้น ฟูป่า โดยเน้นไป

ที่พรรณไม้สำคัญประเภทไม้ถิ่นเดียวและหายาก ซึ่งเกี่ยวพันกับ

วิถีชีวิตและสังคมไทยรวม 84 ชนิด อันเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ อันใกล้นี้ หนังสือเล่มนี้จึงนับเป็นหนังสือที่มีคุณค่า ที่นอกจากจะ รวบรวมพรรณไม้ต้นสำคัญที่หายากได้ถึง 84 ชนิดแล้ว ยังเน้น การปลู ก ฝั ง จิ ต สำนึ ก ความรั ก และหวงแหนธรรมชาติ แ ละ

สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ต้นน้ำลำธารและอนุรักษ์ดิน อันเป็นสมบัติของชาติที่ “ในหลวง” ทรงเน้นย้ำให้คนไทยทุกคนพึงรักษาไว้เสมอมา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)



ก่อน... เย็นลม ร่มรื่น ร่มผืนป่า ผีเสื้อหยอก ดอกหญ้า หยอกฟ้าใส กระแตป่าย กระต่ายเปลี่ยน เวียนต้นไป ทุ่งดอกไม้ โน้มก้าน ต้านลมเย็น แล้ว... มนุษย์ ก็ลอบลัก เข้าหักหั่น ผืนป่าพลัน ลดร้าง เริ่มว่างเว้น เที่ยวแต่ทิ้ง ตอตาย ย้ายต้นเป็น ไม่ปลูกเน้น เพิ่มต้นดี พื้นที่ไพร ดั่งดำรัส พ่อหลวง ทรงห่วงป่า ฟื้นธรรมชาติ ฟื้นผืนหญ้า ฟื้นฟ้าใส เริ่มคืนป่า สู่ป่า สู่ฟ้าไทย ด้วยการปลูก ป่าใหญ่ ในใจคน ทรงแผ้วทาง ถางพง ให้ตรงที่ ทรงช่วยชี้ วิถีทำ สัมฤทธิผล ทุกก้าวพ่อ ก่อป่าใหม่ ให้ปวงชน เอกถกล องค์ราชา เลิศราชัน


“...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้ว คนเหล่านั้นก็จะพากัน ปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษา ต้นไม้ด้วยตนเอง...” พ.ศ. ๒๕๑๙ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

ปัญหาเรือ่ งการเสือ่ มโทรมของทรัพยากรป่าไม้

คือสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่พระทัยตลอดมา

ในหลวงกับการอนุรักษ์ป่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่มีสายพระเนตรอันยาวไกล นับแต่ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 6 ทศวรรษ พระองค์ทรงทุ่มเท

พระวรกายอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่อาณาประชาราษฎร์ โดยการเสด็จ พระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในทุกภูมิภาคเป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ทั้งนี้เพื่อทอดพระเนตร สภาพชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ข องพสกนิ ก รในพื้ น ที่ ถิ่ น ทุ ร กั น ดารเพื่ อ ที่ จ ะได้ ท รงทราบถึ ง ปั ญ หา

ความเดือดร้อนทุกข์ยากที่แท้จริงของราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการเสื่อมโทรม

ของทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบ

ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดินและน้ำเท่านั้น หากแต่ยังโยงใยถึงปัญหา ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรม และระบบนิเวศน์ ด้ ว ยเหตุ นี้ พระองค์ จึ ง ทรงมี พ ระราชดำริ ใ ห้ มี ก ารอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู ป่ า เพื่ อ รั ก ษา

สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทั้งน้ำ ดิน และป่าไม้ เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

ในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ จากพระราชดำริดังกล่าวจวบจนถึงวันนี้ นำมาซึ่งโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการ อนุรักษ์ป่าไม้มากมาย ได้แก่ โครงการป่าไม้สาธิต โครงการป่าไม้สาธิตอาจถือได้ว่าเป็น พระราชดำริ เ ริ่ ม แรกเกี่ ย วกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ าไม้

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2503-2504 เมื่อครั้งที่พระองค์

11


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญ

กับการสำรวจและทดลองปลูกพันธุ์พืชต่างๆ เพื่อยังประโยชน์แก่ประชาชน

เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัด

ประจวบคี รี ขั น ธ์ ขณะที่เสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวั ด เพชรบุ รี พระองค์ ท อดพระเนตรเห็ น

ต้นยางขนาดใหญ่จำนวนมากปลูกเรียงรายสองข้างทาง จึงมีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนี้ ไว้

เป็ น สวนสาธารณะ แต่ ก็ ไ ม่ อ าจดำเนิ น การได้ เนื่ อ งจากมี ร าษฎรมาทำไร่ ท ำนาในบริ เ วณนั้ น

เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง ในบริเวณพระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนาในแปลงทดลองพระราชวังสวนจิตรลดา ซึ่งต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้ต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระตำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้สาธิตนั้นเพื่อทรงศึกษาธรรมชาติวิทยา

ป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิดเมื่อปี 2508 โครงการป่าพระราชทานมูลนิธิชัยพัฒนา-มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จังหวัดสงขลาและปัตตานี โครงการดังกล่าวดำเนินการประสานงานโดยองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ มูลนิธิ โททาล (Total) และสถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วยโครงการ ย่อย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัด สงขลา โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าชายเลน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า โครงการหลวง โครงการนี้เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน ราษฎรในภาคเหนือ พระองค์ทรงพบเห็นการตัดไม้ทำลายป่าและความลำบากยากแค้นของชาวเขา บนดอยต่างๆ จึงทรงมีพระราชดำริและทรงจัดตั้งโครงการเกษตรในที่สูงขึ้น เริ่มจาก โครงการ พระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา ในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินบนดอยปุยเพื่อเป็นสถานีทดลองปลูกพืชเมืองหนาว พร้อมกับพระราชทานชื่อว่า สวนสองแสน ปีต่อมาได้ขยายโครงการไปสู่ดอยอ่างขาง ซึ่งประสบความสำเร็จ นำความกินดีอยู่ดี มาสู่ราษฎร จากนั้นโครงการจึงขยายต่อไปสู่ดอยต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่อีก 4 ดอย ได้แก่

ดอยอินทนนท์ สถานีฯ ขุนวาง ปางดะ และแม่หลอด และในปี 2523 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อโครงการ ให้เป็นการถาวรว่า โครงการหลวง มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในนาม ดอยคำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนในชนบทมีชีวิต

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพึ่งตนเองได้ในที่สุด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงทำหน้าที่เสมือนศูนย์กลาง การเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไร จะพัฒนาอย่างไรจึงจะได้ผล ศูนย์การศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่ เสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตที่ถ่ายทอดวิทยาการแผนใหม่ และยังทำหน้าที่เป็นศูนย์การวิจัยค้นคว้า

ในพื้นที่ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบพัฒนาป่าตามแนวพระราชดำริโดยตรง อันได้แก่ ป่าประเพณี ป่ากึ่งชุมชน ป่าชุมชน และป่าในบ้าน การศึกษาค้นคว้า การทดลองและการ สาธิต ปัจจุบันศูนย์การศึกษาการพัฒนาฯ มีอยู่ 6 ศูนย์ทั่วประเทศ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา

เขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในการงานด้านการอนุรักษ์ป่า เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็เพื่อพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้กลับคืนมาอีกครั้ง เพื่อความ กินดีอยู่ดีของพสกนิกรของพระองค์ในทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเพียงปลูกป่า ลงบนผื น แผ่ น ดิ น เท่ า นั้ น หากยั ง ทรงมุ่ ง หวั ง ที่ จ ะปลู ก ป่ า ลงในจิ ต ใจของประชาชนด้ ว ย

ดังพระราชดำริที่พระราชทานแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ เมื่อปีพุทธศักราช 2519 ความว่า “...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูก ต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...”

13


การฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดำริของพระองค์ ทรงให้เริ่มต้นจากการปลูกป่าในใจคนก่อน โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจให้แก่ราษฎรเพื่อให้ได้รับรู้ถึงประโยชน์ของป่าและการอยู่ร่วมกับ ป่าอย่างพึ่งพาอาศัยกัน และส่งเสริมให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่าจนกระทั่งสามารถ

จัดตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่า ช่วยกันดูแลรักษาป่า สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ป้องกันการตัดไม้ทำลาย ป่าและการเกิดไฟป่า ตลอดจนรู้จักนำพืชป่ามาบริโภคใช้สอยอย่างเหมาะสม ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในศาสตร์ต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม จึงก่อเกิดเป็นแนวพระราชดำริเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มากมาย อาทิ การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มวิธีการอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนสูงสุด โดยทรงแนะนำวิธีการปลูกป่าเชิงผสมผสาน ทั้งด้านเกษตร วนศาสตร์ และเศรษฐกิจสังคม ไว้เป็น มรรควิธีปลูกป่าแบบเบ็ดเสร็จ อันได้แก่ การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ดังพระราชดำรัสที่ ได้พระราชทานในพิธีปิดการสัมมนาการเกษตร

ภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2524

ความตอนหนึ่งว่า


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

ทรงริเริ่มการกระจายความรู้แผนใหม่ เพื่อเผยแพร่การพัฒนาป่า ให้กว้างไกลออกไป

“...เดี๋ยวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่า ป่า ๓ อย่าง นั้น คืออะไร. แต่ ให้เข้าใจว่า ป่า ๓ อย่าง นี้มีประโยชน์ ๔ อย่าง ไม่ใช่ ๓ อย่าง. ป่า ๓ อย่าง ที่บอกว่าเป็นไม้ฟืน เป็นไม้ผล และไม้สร้างบ้านนั้น ความจริงไม้ฟืนกับไม้ใช้สอยก็อันเดียวกัน ไม้สร้างบ้านกับไม้ใช้สอย ก็อันเดียวกัน. แต่เราแบ่งออกไปเป็นไม้ทำฟืน ไม้สร้างบ้านเรือน รวมทั้งไม้ทำศิลปหัตถกรรมแล้วก็ ไม้ผล...” พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ดังกล่าวได้ดำเนินการในหลายส่วนราชการ ทั้งกรม ป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่ง โดยมีการปลูกไม้ใช้สอย ไม้กิน ได้ และไม้เศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากจะให้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างที่ 4 คือ อนุรักษ์ ดินและอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร สามารถช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนได้อย่างมหาศาล การปลูกป่าทดแทน จากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในปัจจุบัน ได้ส่งผลให้ระบบนิเวศน์ของธรรมชาติเกิดความ เสียหายอย่างรุนแรง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ ให้มากขึ้น ซึ่งวิธีการหนึ่ง

ก็คือ การปลูกป่าทดแทนป่าที่สูญเสียไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการปลูกป่าทดแทน จึงได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสในคราวเสด็จพระราชดำเนิน โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ ที่ปางหินฝน ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2520 ความตอนหนึ่งว่า

15


พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ได้รับความร่วมใจจากศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และหน่วยราชการทุกแห่ง

“...การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผน โดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนา ชาวเขา ในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมกันสำรวจต้นน้ำใน บริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้น น้ำและพัฒนาอาชีพราษฎรได้อย่างถูกต้อง สำหรับต้นไม้ที่ปลูกทดแทนป่าไม้ทถี่ กู ทำลายนัน้ ควรใช้ตน้ ไม้โตเร็วทีม่ ปี ระโยชน์หลายๆ ทาง คละกันไป และควรปลูกพืชคลุมแนวร่องน้ำต่างๆ เพื่อยึดผิวดินและให้เก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ นอกจากนั้น จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุน น้ำ ส่งไปตามเหมือง ไปใช้ ในพื้นที่เพาะปลูก ๒ ด้าน ซึ่งจะทำให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นให้บริเวณนั้นด้วย ในการนี้จะต้อง อธิบายให้ราษฎรรู้ว่า การที่ปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงนั้น ก็เพราะมีการทำลายป่า ต้นน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์...” การปลูกป่าต้นน้ำ เนื่องจากบริเวณต้นน้ำของไทยในภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศ มักประสบกับการถูก บุกรุกเพื่อทำไร่ ทำให้เกิดการพังทลายของดินอยู่บ่อยครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ตระหนั กถึงปัญหาดังกล่าว ดังจะเห็นจากเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินยังวัดคีรีบรรพต ตำบล

ลำนารายณ์ อำเภอชั ย บาดาล จั ง หวั ด ลพบุ รี เมื่ อ วั น ที่ 14 เมษายน 2520 ได้ ท รงกำชั บ กั บ

ผู้ใหญ่บ้านของตำบลลำนารายณ์ ว่า “...การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณ ต้นน้ำ ซึ่งบนยอดเขาและเนินสูงนั้น ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้น และปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นนั้นจะ ช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วย


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิทรงเคยละเว้นโอกาสในการใช้พระราชวินิจฉัยเพื่อพิจารณา แก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เกิดความผาสุกแก่เหล่าพสกนิกร

ยึดดินบนเขาไม่ ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ ไว้ ให้ดีแล้ว ท้องถิ่น ก็จะมีน้ำไว้ ใช้ชั่วกาลนาน...” ป่าเปียก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงคุณค่าที่มีอยู่อย่างอเนกอนันต์ของน้ำ ทรง เล็งเห็นว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์สามารถที่จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำ ไปประยุกต์ ใช้ ให้เป็นประโยชน์ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดำริ ป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่า นับ เป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการที่ง่ายแสนง่ายแต่ได้ผลดียิ่ง แนวพระราชดำริป่าเปียก เป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลัก สำคัญในการช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยากและเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาป่าไม้ โดยใช้ทรัพยากรน้ำเข้ามาช่วยสร้างแนวป้องกันไฟเพื่อป้องกันไฟไหม้ป่าในระยะยาว ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า “...ใช้ระบบท่อส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงบริเวณป่าไม้เสื่อมโทรมในช่วงที่มีสภาพแห้งแล้งให้เกิด ความชุ่มชื้นตลอดเวลา จะทำหน้าที่อนุรักษ์ป่าไม้ทางอ้อม กล่าวคือ ใช้เป็นแนวป้องกันสกัด ไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีลักษณะเป็น ป่าเปียก...” พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงแนะนำให้ ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาอั น เนื่ อ งมาจาก

พระราชดำริ ต่ า งๆ ทำการศึ ก ษาทดลองจนประสบผลสำเร็ จ เป็ น ที่ น่ า พอใจ ดั ง ตั ว อย่ า งที่ มี

การดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

17


“...เดี๋ยวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่า ป่า ๓ อย่าง นั้น คื อ อะไร. แต่ ใ ห้ เ ข้ า ใจว่ า ป่ า ๓ อย่ า ง นี้ มี ประโยชน์ ๔ อย่าง ไม่ ใช่ ๓ อย่าง. “ป่า ๓ อย่าง“ ที่บอกว่าเป็นไม้ฟืน เป็นไม้ผล และไม้สร้างบ้าน นั้น ความจริงไม้ฟืนกับไม้ ใช้สอยก็อันเดียวกัน ไม้สร้าง บ้านกับไม้ใช้สอยก็อันเดียวกัน. แต่เราแบ่งออกไปเป็นไม้ทำ ฟืน ไม้สร้างบ้านเรือน รวมทั้งไม้ทำศิลปหัตถกรรมแล้วก็ ไม้ผล...” วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ พิธีปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

19

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพยายามคิดค้น วิธีที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทย ให้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยการใช้วิธีการ ที่เรียบง่ายและประหยัด

การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

จึงทรงพยายามคิดค้นวิธีที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ ในประเทศไทยให้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร

โดยการใช้วิธีการที่เรียบง่ายและประหยัด ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ ในลักษณะ

อันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งหนึ่งในวิธีการนั้นก็คือการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นการอนุรักษ์ป่าโดยอาศัยระบบวงจรป่าไม้และการทดแทน

ตามธรรมชาติด้วยการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ และควบคุมไม่ ให้

มีคนเข้าไปตัดไม้ หรือเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ เพื่อที่ว่าเมื่อทิ้งช่วงระยะหนึ่ง พืช ลูกไม้ พรรณไม้ต่างๆ

จะค่อยๆ เจริญเติบโต และขยายพันธุ์ฟื้นตัวขึ้นได้ กลยุทธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้

นับเป็นวิธีที่แยบยล ง่าย และประหยัดที่สุด แต่กลับให้ผลที่มีคุณค่าอย่างมหาศาล ดังพระราชดำรัส

ความตอนหนึ่งว่า “...ถ้าเลือกได้ที่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ป่าจะ เจริญเติบโตขึ้นมา เป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว...” จากปั ญ หาการบุ ก รุ ก ทำลายพื้ น ที่ ป่ า ชายเลนอย่ า งต่ อ เนื่ อ งและรุ น แรง ประกอบกั บ

การที่มนุษ ย์พยายามเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง นาเกลือ และแหล่งอุตสาหกรรม ทำให้

ป่าชายเลนอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม และลดลงอย่างที่มิอาจประมาณการได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ แก่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษ ฏ์) ในพระราชพิธี


ทรงส่งเสริมให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วม ในการปลูกป่า จนกระทั่งสามารถจัดตั้ง เป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าช่วยกันดูแลรักษาป่า

แรกนาขวัญหว่านข้าว บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สรุปแนวพระราชดำริว่า “...ป่ า ชายเลนมี ป ระโยชน์ ต่ อ ระบบนิ เ วศน์ ข องพื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ทะเลและอ่ า วไทย แต่ ปั จ จุ บั น ป่ า ชายเลนของประเทศไทยเรากำลั ง ถู ก บุ ก รุ ก และถู ก ทำลายลงไปโดยผู้ แ สวงหา ผลประโยชน์ ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกัน อนุรักษ์ และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ต้ นโกงกางเป็นไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้น น้ ำ ลงในการเติ บ โตด้ ว ย จึ ง ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์ โกงกางและปลู กสร้างป่าชายเลนกันต่อไป...” การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทยที่ถูกบุกรุกทำลาย ด้วย การปลูก ป่าชายเลน ในลักษณะอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโต จะสามารถเป็นแนวป้องกัน ลมและป้ องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่สำคัญ อีกทั้งได้ใช้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ช่วยสร้างความ สมดุลให้ ธรรมชาติกลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม การอนุรัก ษ์และพัฒนาป่าพรุ ป่าพรุ ถือเป็นป่าไม้ทึบ ไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงผืนเดียวในภาคใต้ของ ประเทศไทย เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังทั่วบริเวณ ครั้ ง หนึ่ ง ประมาณปี 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น แปร

พระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทรงรับทราบความเดือดร้อนของ


ในหลวงกั บ การอนุ รั ก ษ์ ป่ า

21

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ทุกสรรพสิ่งสามารถที่จะเกื้อกูลกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์

ราษฎรที่นั่นว่ามีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพรุ เข้าไร่นาเสียหาย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ร่วมมือ กันระบายน้ำออกจากพรุธรรมชาติทั้งหลาย เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด และในการ ระบายน้ำออกจากพรุครั้งนั้นเอง ทำให้ทรงพบว่ามีสภาพดินเปรี้ยวเกิดขึ้น จึงทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์วิจัย และศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติและ สภาพแวดล้อมของป่าพรุอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ในคราวที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำบางนรา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2535 พระองค์ ได้พระราชทานพระราชดำริ

เกี่ยวกับการพัฒนาป่าพรุ ความตอนหนึ่งว่า “...ควรก่อสร้างและปรับปรุงระบบรับน้ำเปรี้ยวที่ ไหลออกจากพรุให้ ไปลงระบบระบายน้ำ ของโครงการมูโนะ เพื่อระบายน้ำเปรี้ยวทั้งหมดไปลงคลองปูยูทางด้านท้ายประตูระบายน้ำปูยู รวมทั้งวางโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำเปรี้ยวจากพรุกาบแดงไปลงทะเล และส่งเสริมการ ปลูกป่าในบริเวณพรุเพื่อรักษาพื้นที่ขอบไม่ให้ถูกทำลาย...” จากแนวพระราชดำริต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สะท้อนถึงความห่วงใย

ในเหล่าพสกนิกรและผืนป่าของเมืองไทย ได้ก่อกำเนิดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ขึ้นมากมาย เสมือนกระจกเงาที่ส่องให้เห็นถึงความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่สนองตอบพระเมตตา

อย่างไม่เสื่อมคลาย แต่ผืนป่าย่อมไม่อาจอยู่รอดได้ด้วยดี หากไร้ซึ่งความผูกพันและการทำนุบำรุง อย่างต่อเนื่องของผู้ที่ ให้กำเนิดทรัพย์ ในดินนั้น ต่อเมื่อความรู้สึกนี้เข้าถึงใจของผู้ปลูกป่าเมื่อใด แม้นปลูกต้นไม้เพียงหนึ่งต้น ก็ย่อมนับว่าได้ดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริอย่างสมบูรณ์ยิ่งแล้ว


22

ก่อนจะมาเป็น

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง


23

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าคือหนึ่งในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อแผ่นดินไทยนับตั้งแต่

ต้นรัชกาล สืบเนื่องจากการที่ ได้เสด็จพระราชดำเนินออก เยี่ยมเยียนราษฎรทั่วทุกภูมิภาคภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ ไ ม่ น าน และได้ ท อดพระเนตรเห็ น ถึ ง สภาพป่ า ไม้ ท ี่ ทรุดโทรมและถูกทำลายในที่ต่างๆ มากมาย จากการใช้ ทรัพยากรป่าไม้โดยไม่มีแผนการจัดการที่ดี ซึ่งไม่เพียงส่ง ผลกระทบต่อการสูญเสียเฉพาะป่าไม้ แต่ยังกระทบถึงระบบ นิเวศน์ทั้งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและจำนวน

สัตว์ป่าที่ลดลง ไปจนถึงประชาชนที่อาศัยป่าเป็น ที่ทำกิน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความแปรปรวนทางด้านภูมิอากาศ ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดภัยแล้งและอุทกภัยสร้าง ความเสียหายให้แก่พสกนิกรและเศรษฐกิจของประเทศได้ อย่างมหาศาล ซึ่งหากจะวัดจำนวนความสูญเสียของพื้นที่ป่าที่เกิด ขึ้ น ในรอบ 100 ปี ที่ ผ่ า นมาเป็ น ตั ว เลขแบบง่ า ยๆ แล้ ว เท่ากับว่าจากเดิมที่ประเทศไทยเคยมีพื้นที่ป่าถึง 230 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 72 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ ได้ถูกนำมา ใช้ ไ ปเป็ น จำนวนมาก อั น เป็ น ผลพวงจากแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจแห่งชาติและจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จนปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่ถึงร้อยละ 20 ซึ่งความสำคัญ ของการสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ ได้เป็นที่ตระหนักดี ในพระราชหฤทั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว จึ งได้ ท รงริ เ ริ่ ม หลากหลายโครงการในพระราชดำริเพื่อฟื้น ฟูและอนุรักษ์

ผืนป่าเพื่อรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทั้งน้ำ ดิ น และป่ า ไม้ เพื่ อให้ พ สกนิ ก รของพระองค์ ไ ด้ มี ชี วิ ต

ความเป็ น อยู่ ที่ ดี ใ นสภาพแวดล้ อ มที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ และ สามารถพึ่งพาตนเองได้สืบไป


24

พรรณไม้ถิ่นเดียวและพรรณไม้หายาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อลูกหลานไทย

พรรณไม้ที่รวบรวมมาไว้ ในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่ เป็นพืชหายาก (rare) และพืชถิ่นเดียว (endemic plant) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าพืชเฉพาะถิ่นอัน มีความหมายถึง พืช

ชนิดที่พบขึ้นแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณภูมิศาสตร์ เขตใดเขตหนึ่ ง ของโลกที่ มี แ นวเขตค่ อ นข้ า งจำกั ด และ

เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ลั ก ษณะจำกั ด ทางระบบนิ เ วศน์ เช่ น เป็ น

เกาะโดดเดี่ ย วกลางทะเลหรื อ มหาสมุ ท ร ยอดเขาและ หน้าผาภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพ จำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะแหล่ง (microclimate) ซึ่งพืชถิ่นเดียวของไทยหลายชนิดพบขึ้น เฉพาะบนภู เ ขาหิ น ปู น หรื อ ดิ น ที่ ส ลายมาจากหิ น ปู น และ

จากการประเมิ น จำนวนพื ช ถิ่ น เดี ย วของไทยในเบื้ อ งต้ น

พบว่ า มี น้ อ ยมากเมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั น กั บ พื ช ถิ่ น เดี ย วของ ประเทศใกล้เคียง ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีความหลากหลาย ของชนิ ด พั น ธุ์ พื ช อยู่ ใ นลำดั บ สู ง ก็ ต าม เพราะที่ ตั้ ง ของ ประเทศไทยอยู่ตรงบริเวณรอยต่อของเขตพฤกษภูมิศาสตร์ ถึง 3 ภูมิภาคด้วยกัน ได้แก่ภูมิภาคอินเดีย-พม่า (IndoBurmese) ภูมิภาคอินโดจีน (Indo-Chinese) และภูมิภาค มาเลเซีย (Malaysian) แต่จำนวนชนิดพืชถิ่นเดียวของเรา กลับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากพันธุ์พืชส่วนใหญ่กระจายพันธุ์

มาจากประเทศใกล้เคียงของทั้งสามภูมิภาคนั่นเอง ส่วนพืชหายาก (rare) นั้น ได้แก่พืชที่มีจำนวนน้อย แต่ส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ แต่มีความ เสี่ยงต่อการเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ ได้ ในอนาคต หากว่าปัจจัย ต่างๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนประชากรพืชลดลงยังคง ดำเนิ น อยู่ พื ช ถิ่ น เดี ย วส่ ว นใหญ่ ข องไทยจั ด ว่ า เป็ น พื ช

หายาก ยกเว้ น เพี ย งไม่ กี่ ช นิ ด ที่ มี ขึ้ น กระจายพั น ธุ์ ต าม ธรรมชาติอยู่มากมาย ดังนั้นจึงยิ่งทวีค่าควรแก่การรักษา และฟื้นฟูขยายจำนวนออกไปให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นสมบัติ แก่แผ่นดินและลูกหลานไทยสืบต่อไป

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง


ก่ อ นจะมาเป็ น ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

25


26

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ลักษณะป่าไม้ในเมืองไทย ในแต่ละภาคของประเทศไทย ล้วนแล้วแต่มีสภาพภูมิอากาศ แหล่งพันธุกรรมของสัตว์ป่าใหญ่หลายชนิด และระบบนิเวศน์แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะของธรณี พรรณไม้ที่เจริญเติบโตในแหล่งนั้นๆ พรรณไม้

หายากและไม้ถิ่นเดียวที่ทั้ง 84 ชนิดได้รับการคัดสรรมานำเสนอในหนังสือเล่มนี้ มีเขตการกระจายพันธุ์ตามลักษณะป่า จำแนกได้ตามภาคดังต่อไปนี้ ภาคเหนือ ความพิเศษของป่าในภาคเหนืออยู่ตรงที่มีความ สำคั ญ ในฐานะเป็ น ต้ น น้ ำ ลำธารซึ่ ง อยู่ บ นภู เ ขาสู ง

มี อ ากาศหนาวเย็ น หากเป็ น ภู เ ขาที่ มี ค วามสู ง ต่ ำ กว่ า ระดับ 1,000 ม. จะถูกจัดว่าเป็นป่าดิบชื้น ซึ่งพรรณไม้

ที่ขึ้นในป่าประเภทนี้ได้แก่ กระเจาะ คำมอกหลวง จำปีรัชนี เป็นต้น และหากอยู่บนภูเขาที่มีความสูงมากกว่า นั้นจะเรียกว่าเป็นป่าดิบเขา ซึ่งพรรณไม้ที่จะพบได้ตาม ป่าลักษณะนี้รวมถึง จำปีช้าง ชมพูภูคา กุหลาบขาวเชียงดาว เป็นต้น ภาคใต้ สิ่ ง ที่ ท ำให้ ป่ าไม้ ท างภาคใต้ มี ค วามโดดเด่ นไม่ เหมือนที่ ไหน คือเป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกไปในทะเล และมี ป่ า บนภู เ ขาและพื้ น ที่ ร าบลุ่ ม สลั บ กั นไป ดั ง นั้ น

พื ช ที่ ส ามารถพบได้ ใ นป่ า ลั ก ษณะนี้ จ ะเป็ น พื ช ที่ ช อบ ความชื้นสูงและหากขึ้นอยู่บนภูเขาเตี้ยๆ ใกล้ทะเลก็จะ เพิ่มคุณลักษณะทนลมทะเลได้ดีขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง เช่น ต้นพุดภูเก็ต รักนา โมกเขา เป็นต้น ซึ่งหลายๆ พรรณไม้ เช่น จำลา พรหมขาว เล็ ง เก็ ง ก็ จั ด ว่ า เป็ น พรรณไม้

ภาคใต้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อีกด้วย


ก่ อ นจะมาเป็ น ๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

27 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะผืนป่าของภาคอีสานนี้บางแห่งเป็นภูเขา หินทรายที่สูงมากกว่า 1,000 ม. เช่น ภูกระดึง ภูหลวง บนยอดเขามีอากาศหนาวเย็นและมีความชื้นสูง จึงมี สภาพเป็ น ป่ า ดิ บ เขา ซึ่ ง พบพรรณไม้ ห ายาก อาทิ

ก่วมแดง จำปีศรีเมืองไทย จำปีหนู ส่วนภูเขาหินทราย

ที่มีความสูงต่ำลงมา จะมีอากาศร้อนจัดและมีความชื้นต่ำ จึ ง มี ส ภาพเป็ น ป่ า เต็ ง รั ง จะพบพรรณไม้ จ ำพวก กระมอบ หมักม่อ หากมีความชื้น มากขึ้นก็จะมีสภาพ เป็นป่าดิบแล้ง ซึ่งมีพรรณไม้จำพวก พะยูง ฝาง มะป่วน

ภาคตะวันออก ป่ าในภาคนี้ มี คุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะตั ว ตรงที่ เ ป็ น ป่าดิบชื้นบนเขาที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 ม. และมีป่า ชายเลนตามแนวชายฝั่งเป็น หย่อมๆ ซึ่งพรรณไม้ที่จะ พบได้ในแถบนี้คือ กะหนาย พุงทะลาย พันจำ เป็นต้น

ภาคตะวันตกและภาคกลาง ภาคกลางนั้ น มี ผื น ป่ า บนที่ ร าบลุ่ ม และหากมี พรรณไม้ ใ ดที่ ขึ้ น บนภู เ ขาก็ จ ะมี ค วามสู ง ไม่ เ กิ น

100-200 ม. ป่าบางแห่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง ซึ่งพรรณไม้ ที่ชอบสภาพป่าเช่นนี้ ได้แก่ จำปีสิรินธร ส่วนชายแดน ด้านตะวันตกที่ติดฝั่งประเทศพม่าจะเป็น ภูเขาหิน ปูน

ที่ ส ามารถพบพรรณไม้ จ ำพวก จั่ น น้ ำ โกงกางน้ ำ จื ด กลาย และมหาพรหม เป็นไม้ประจำถิ่น


28

สถานการณ์การอนุรักษ์ป่าไม้ไทยโดยรวม ณ ปัจจุบัน

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ความจริงที่เราต้องยอมรับคือ ป่าไม้ ในเมืองไทยของเราคือหนึ่ง ในป่าเขตร้อนบนโลกใบนี้ที่ระบบนิเวศน์ถูกคุกคามมากที่สุด พื้นที่ป่าของ เราลดลงอย่างรวดเร็วจาก 53.3% เหลือเพียง 24% ในช่วงเวลา 44 ปี และถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้ยกเลิกการให้สัมปทานการทำไม้ทั้งหมด

ตั้งแต่ปี 2532 หลังเกิดเหตุการณ์อุทกภัยและภูเขาถล่มอันน่าสลดใจที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการช่วยชะลอการลดลงของ ป่าไม้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น วิธีกอบกู้ผืนป่าของเราซึ่งเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบันคือ นอกจากจะต้องพยายามปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่ม พื้นที่ป่าให้มากขึ้นแล้ว ยังต้องเร่งจัดหาข้อมูลเบื้องต้นของพรรณพืชพื้นเมืองให้เสร็จสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย เพราะจะ ทำให้เราได้รับรู้ถึงลักษณะของพืชและเขตการกระจายพันธุ์ในสภาพป่าต่างๆ รวมไปถึงจำนวนประชากรและสถานะ ของพืช ไม่ว่าจะเป็น พืชหายากหรือพืชถิ่นเดียว อันจะแปรมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรพืชของ ประเทศไทยด้วยความเข้าใจและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลดีจากความเข้าใจที่ ได้ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ เราไม่เน้น

ไปที่การปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงเดี่ยวซึ่งไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้พื้นเมือง เช่น ไม้สัก ไม้สน หรือพรรณไม้ต่างประเทศ เช่น ยูคาลิปตัส ที่แม้จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้จริง แต่หาได้มอบประโยชน์ ในเชิงการอนุรักษ์ความหลากหลาย

ทางชีวภาพได้มากเท่าที่จำเป็นไม่ เนื่องจากป่าไม้ลักษณะนี้มีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ต่ำ ทำให้สัตว์ที่จะ เข้ามาใช้ประโยชน์ ในพื้น ที่มี ได้เพียงไม่กี่ชนิด หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งให้ข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการเพิ่มพื้น ที่ป่า

อย่างมีคุณภาพ ที่ ไม่ ได้มุ่งหวังเพื่อเพิ่มพื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุม แต่จะต้องฟื้นฟูระบบนิเวศน์ทั้งระบบไปพร้อมๆ กัน และที่ ส ำคั ญ คื อ ให้ ข้ อ สั ง เกตในการคั ด เลื อ กพรรณไม้ ที่ ป ลู ก ให้ มี ค วามหลากหลายและสอดคล้ อ งกั น กั บ

ดินฟ้าอากาศในท้องถิ่นนั้นด้วย


29 แนวความคิ ด ของการปลู ก ป่ า ด้ ว ยความเข้ าใจใน ลักษณะของพรรณไม้ท้องถิ่นนี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้

ผลดีจากตัวอย่างในโครงการฟื้น ฟูพื้น ที่ป่าบ้านแม่สาใหม่

ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ ได้

ร่วมมือกับหน่วยวิจัยการฟื้น ฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในการพลิกฟื้นป่าต้นน้ำเหนือป่าในหมู่บ้านจากพื้นที่ไร่เก่าที่เคย ทำการเกษตรให้กลับมาเป็นป่าสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียง 5-6 ปี ด้ ว ยการปลู ก “พรรณไม้ โ ครงสร้ า ง” ซึ่ ง ก็ คื อ พรรณไม้

ท้องถิ่นของภาคเหนือ เพียง 20-30 ชนิด ที่ได้รับการคัดเลือก แล้ ว ว่ า เป็ น พรรณไม้ ป ระจำท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง จะก่ อ ให้ เ กิ ด คุณลักษณะพิเศษที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัวของป่าได้เร็วขึ้น เพราะจะสามารถเพาะและขยายพันธุ์ได้ง่าย เติบโตได้ดีและ เร็ว จากวันที่เริ่มปลูกจนถึงปัจจุบัน แปลงฟื้นฟูป่าดังกล่าวมี พรรณไม้ ข ยายขึ้ น มากกว่ า 90 ชนิ ด พร้ อ มๆ กั บ การ

กลั บ มาของความหลากหลายทางชี ว ภาพต่ า งๆ เช่ น นก

ที่พบในพื้นที่มีมากถึง 87 ชนิด และมีสัตว์ป่าจำพวกอีเห็น หมูป่า ชะมดเข้ามาในพื้นที่อีกด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรพืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ของแต่ละท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของป่าใน

พื้นที่นั้นๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเก็บรักษาพรรณไม้ และพืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ แต่อาจมีศักยภาพใน เชิ ง เศรษฐกิ จในอนาคต และเก็ บ รั ก ษาประชากรพื ช ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะพิ เ ศษสำหรั บ การปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาต่ อไปใน อนาคต แต่ไม่ว่าจะเพื่อเหตุผลใดก็ตาม คุณอนันต์ของผืนป่า ย่อมไม่เคยเสื่อมสลาย มีแต่จะทวีประโยชน์และการปกป้อง ผู้ ค นให้ อ ยู่ อ ย่ า งร่ ม เย็ น เป็ น สุ ข ตามวั น และเวลาที่ เ พิ่ ม ขึ้ น

ดุจเดียวกับน้ำพระทัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ ไ ด้ ริ น รดให้ ค วามผาสุ ก แก่ ทั้ ง ผื น ป่ า และราษฎรของ พระองค์ ม าอย่ า งยาวนาน นั บ เป็ น พระมหากรุ ณาธิ คุ ณ ที่

คนไทยผู้รับสนองพระราชดำริในการผดุงรักษาป่าไม้ทุกคน ต้องจดจำและดำเนินรอยตามพระปณิธานอันดีงามนี้สืบต่อไป ชั่วกาลนาน



อากาศหนาวเย็นและไม้ดอกสีสันงดงามแปลกตาในป่า บนภูสูงที่ชุ่มชื้น คือเอกลักษณ์ของป่าภาคเหนือ ของประเทศไทย และเป็นถิ่นกำเนิดของพรรณไม้หายาก หลากชนิดที่ผลิบานเมื่อใดก็ละลานตาเมื่อนั้น


32

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กระเจาะ Millettia kangensis Craib

ชื่ออื่น ขะเจาะ ขะเจาะน้ำ

ท่ามกลางความหลากหลายของป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนื อ ตอนบนของประเทศ ยั ง มี พ รรณไม้

ชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นอยู่บริเวณริมลำธาร ออกดอกสีชมพู อมม่วงสดใสในช่วงปลายฤดูหนาว และสะพรั่งบานอวดช่อ ดอกอันงดงามละลานตาไปจนถึงเดือนเมษายน นามว่า กระเจาะ ไม้ ป่ า หายากติ ด อั น ดั บ ต้ น ๆ ชนิ ด หนึ่ ง ของ เมืองไทย ซึ่งในปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เปลี่ยนฐานะ เป็ น ไม้ ป ระดั บ ปลู ก ตามรี ส อร์ ต และสวนสาธารณะ เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นและทรงพุ่มที่สวยงาม ไม่แพ้ไม้ประดับชนิดอื่น

กระเจาะเป็นพรรณไม้ที่อยู่ในวงศ์ถั่ว มีการสำรวจ พบครั้งแรกโดยหมอคาร์ นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช

ซึ่ ง เข้ า มาทำงานสำรวจพรรณไม้ ใ นเมื อ งไทยสมั ย

รัชกาลที่ 6 ที่ลำน้ำแม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัด เชียงใหม่ ที่ ร ะดั บ ความสู ง 300 ม. คำระบุ ช นิ ด ของ พรรณไม้ ช นิ ด นี้ จึ ง ตั้ ง ขึ้ น ตามสถานที่ ที่ ค้ น พบว่ า kangensis อันหมายถึง “พบที่กาง” ซึ่งออกเสียงเพี้ยน มาจากคำว่า “กลาง” หรือลำน้ำแม่กลางนั่นเอง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

33

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 15-18 ม. แต่อาจ ออกดอกเป็นช่อ สีชมพูอมม่วง สู ง ได้ ถึ ง 20 ม. เรื อ นยอดค่ อ นข้ า งกลมหรื อ ทรง กระบอก เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ กระพี้สีขาวอมน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลดำ ใบ ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนนุ่มคล้ายไหม ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 7-9 ใบ ใบแก่มีขนทั้งสองด้าน ช่อดอกแยกแขนง ดอก ออกดอกเป็นช่อ สีชมพูอมม่วง ยาว 2-2.5 ซม. กลีบดอกด้านนอกมีขนยาวเป็นมัน ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. เมล็ด แบน กลมมน สีน้ำตาลเข้ม กว้างและยาว

1-1.2 ซม. ด้วยวิสัยที่กำเนิดอยู่ริมแม่น้ำลำธาร ชาวบ้านจึง การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ควรส่งเสริมให้มี เรี ย กพรรณไม้ ช นิ ด นี้ อี ก ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า “ขะเจาะน้ ำ ”

กระเจาะเป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ค่อนข้างรวดเร็ว การนำไปปลูกริมลำธารแต่ละพื้น ที่ ในภาคเหนือ เพื่อ เพราะอาศั ย อยู่ ใ นบริ เ วณที่ ชื้ น แฉะ และความชื้ น สู ง เป็นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ เวลาที่กระเจาะผลิดอกและติดฝัก ฝักแก่จะแตกออก แล้ ว ทิ้ ง เมล็ ด ร่ ว งลงสู่ ล ำธาร ปล่ อ ยให้ ส ายน้ ำ พั ด พา เมล็ดไปขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่อยู่ต่ำลงมา กลายเป็นพืช ที่สร้างสีสันอันสวยงามได้ตลอดลำน้ำ ด้านประโยชน์ของกระเจาะ ชาวบ้านที่อิงอาศัยอยู่

กับป่า รู้จักนำเปลือกของกระเจาะมาใช้ย้อมผ้ากันเป็น

เวลานานแล้ว เปลือกของกระเจาะยังมีสรรพคุณเป็น

สมุ น ไพร นำมาเข้ า ยาแก้ ซ างตามตำรั บ ยาพื้ น บ้ า น

อีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ปลูกกระเจาะเป็น ไม้ประดับในหลายพื้นที่ และเชื่อกันว่า ในอีกไม่ช้า ไม้ป่า เมืองเหนือที่เคยซ่อนตัวอยู่ตามขุนเขาอย่างกระเจาะนี้ จะอวดโฉมให้คนไทยได้เห็นกันอย่างแพร่หลาย


34

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กาสะลองคำ Radermachera ignea (Kurz) Steenis

ชื่ออื่น กากี สำเภาหลามต้น จางจืด สะเภา อ้อยช้าง ปีบทอง

กาสะลองคำ หรือปีบทอง เป็นพรรณไม้พระราชทาน เพื่ อ ปลู ก เป็ นไม้ ม งคลของจั ง หวั ด เชี ย งราย และเป็ น พรรณไม้ประจำมหาวิทยาลัยสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัย ราชภั ฏ เชี ย งราย เรี ย กว่ า กาสะลองคำ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ ปีบทอง กาสะลองคำ เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Bignoniaceae ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทาง ภาคเหนือ ส่วนในต่างประเทศ พบตั้งแต่พม่าตอนใต้ เรื่อยไปถึงเกาะไหหลำในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ลั ก ษณะเด่ น อย่ า งหนึ่ ง ของกาสะลองคำ คื อ เป็ น

พรรณไม้ เ บิ ก นำเพื่ อ เพิ่ ม ความชุ่ ม ชื้ น ให้ แ ก่ พื้ น ที่ จึ ง สามารถปลู กได้ ใ นพื้ น ที่ ที่ ค่ อ นข้ า งแห้ ง แล้ ง หรื อ พื้ น ที่

ซึ่ ง ปลู ก พรรณไม้ อื่ น ๆ ไม่ ค่ อ ยเจริ ญ เติ บ โต เมื่ อ ต้ น

กาสะลองคำเจริญเติบโตได้ประมาณ 1-2 ปี ก็ไม่มีความ จำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งรดน้ ำ เพิ่ ม เติ ม อาศั ย เพี ย งน้ ำ ตาม ธรรมชาติก็เพียงพอในการเจริญเติบโต ปัจจุบันจึงมีคน ให้ความสนใจนำมาปลูกขยายพันธุ์มากขึ้น โดยสามารถ ปลู ก เป็ น ไม้ ป ระดั บ ตามอาคารบ้ า นเรื อ น สถานที่ ราชการ ริมถนน ริมสระน้ำ และเป็นไม้สมุนไพรไว้ ใช้ ในชีวิตประจำวันของผู้คนในชนบท


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

35

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 6-20 ม. เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นเปลาตรง ตามลำต้ น และกิ่ ง ก้ า นจะมี ช่ อ งหายใจกระจายอยู่ เปลือกต้นเรียบสีเทา เรือนยอดทึบแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกตรงข้ามกัน ใบย่อย 2-5 คู่ แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่แกม การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรจากต้นกาสะลองคำ รูป ใบหอก หรือขอบขนานแกมรูป ใบหอก กว้าง 2-5 สามารถนำไปเป็ น สมุ นไพรได้ ตั้ ง แต่ ส่ ว นลำต้ น โดย ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบ นำไปผสมกับสมุนไพรอื่นๆ ฝนน้ำกินแก้ซาง เปลือกต้น แหลม ขอบใบเรียบ ยั ง สามารถต้ ม น้ ำ ดื่ ม แก้ ท้ อ งเสี ย ใบตำคั้ น น้ ำ ทาหรื อ ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกดอกเป็นช่อ พอกใช้รักษาแผลสด แผลถลอก และห้ามเลือดได้ดี ตามกิ่งและลำต้น ช่อละ 5-10 ดอก ทยอยบาน โคน ใครที่อยากชื่นชมความงามของดอกกาสะลองคำ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4-7 ซม. ปลายเป็น สามารถหาชมได้ตามป่าเขาหินปูนในภาคเหนือช่วงเดือน แฉกสั้นๆ 5 แฉก มกราคมถึงเมษายน จะทยอยเห็นความงามในแต่ละ ผล เป็ น ฝั ก ยาว 26-40 ซม. ไม่ มี ข นปกคลุ ม ช่วงตั้งแต่ผลัดใบ แล้วผลิดอกตามมา ส่วนผู้ต้องการ เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก และบิดงอ ภายในฝักมีเมล็ด เห็ น กาสะลองคำปลู ก เป็ น แถวเป็ น แนว เป็ น ระเบี ย บ ขนาด 2-13 มม. สวยงาม ออกดอกสีเหลืองส้มพรูเต็มต้น กระจายเต็ม เมล็ด แบน มีปีกเป็นเยื่อบางๆ สีขาว ทั่ ว พื้ น ที่ ก็ จ ะต้ อ งเข้ า ไปเยื อ นมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งราย ในจั ง หวั ด เชี ย งราย หรื อ มหาวิ ท ยาลั ย การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เทคโนโลยี สุ ร นารี ในจั ง หวั ด นครราชสี ม าในช่ ว งที่

กาสะลองคำบาน ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกไว้ชื่นชมเป็นการ ดอกสีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ส่วนตัว ก็สามารถปลูกให้เจริญเติบโตสวยงามได้ ไ ม่ ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งและลำต้น ยากนัก ซึ่งมีเทคนิคพิเศษเป็นเคล็ดลับก็คือ จะต้องปลูก กลางแจ้งให้มีระยะห่างจากต้นไม้อื่นอย่างน้อย 5 ม.

จะต้องปักหลักผูกยึดให้ลำต้นตั้งตรง และคอยตัดแต่ง กิ่งให้แตกออกรอบลำต้นในลักษณะมีสมดุล มิฉะนั้นต้น กาสะลองคำจะมี กิ่ ง ยาวมากแล้วฉีกหัก หรือมีลำต้น เอียงแล้วล้มไม่สวยงาม


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

36

กุ หลาบขาวเชียงดาว

เกสรสีเหลือง

Rhododendron ludwigianum Hoss.

ชื่ออื่น คำขาว

ธรรมชาตินั้นช่างเสกสรรปั้นแต่ง และก่อกำเนิด

ความงามอันน่าอัศจรรย์อยู่เสมอ ใครเลยจะคิดว่าบน ยอดเขาหินปูนที่แห้งแล้งและแทบจะหาชั้นดินไม่ ได้เลย อย่างยอดดอยเชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ กลับเป็น แหล่งกำเนิดของกุหลาบป่าที่งดงามที่สุดชนิดหนึ่ง ที่

ชาวดอยเรี ย กขานกั น ว่ า คำขาว หรื อ กุ ห ลาบขาว เชียงดาว ซึ่งเป็นกุหลาบป่าชนิดที่หายากที่สุดและมีดอก ขนาดใหญ่ที่สุดของไทย

กลีบดอก 5 กลีบ ค่อนข้างกลม

กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวนั บ เป็ น กุ ห ลาบป่ า ที่ มี คุณสมบัติทรหดอดทน ด้วยถือกำเนิดบนยอดเขาหินปูน ที่แห้งแล้งบนที่โล่งตามหน้าผาหรือตามซอกหินที่มีชั้น อิน ทรียวัตถุทับถม อีกทั้งยังต้องทนต่อความร้อนแรง ของแสงอาทิ ต ย์ แ ละกระแสลมที่ ผั น ผวนอยู่ ทุ ก เมื่ อ

เชื่ อ วั น กระนั้ น ก็ ต าม ธรรมชาติ ก็ ไ ด้ ส รรค์ ส ร้ า งให้ กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวเป็ น ดอกไม้ ที่ ส วยงามราวกั บ ดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งถือกำเนิดอยู่บนยอดเขา

ที่ สู ง “เพี ย งดาว” แต่ ง แต้ ม ความสดชื่ น มี ชี วิ ต ชี ว า

ให้แก่ขุนเขา รอการมาเยือนของผู้เดินทาง กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวเป็ น พรรณไม้ ในวงศ์ Ericaceae ในสกุลกุหลาบป่า (Rhododendron) เช่น เดี ย วกั บ กุ ห ลาบพั น ปี มี ลั ก ษณะเป็ นไม้ พุ่ ม ไม่ ผ ลั ดใบ ลำต้ น แตกกิ่ ง มาก กุ ห ลาบขาวเชี ย งดาวจั ด เป็ น พื ช

ถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่เขาหิน ปูนดอยเชียงดาว

ที่ระดับความสูง 1,800-2,190 ม. ปัจจุบันอยู่ ในสภาพ ใกล้ สู ญ พั น ธุ์ จึ ง ควรช่ ว ยกั น อนุ รั ก ษ์ ไ ว้ ใ นถิ่ น กำเนิ ด เดิ ม


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

37

ด้ ว ยการประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ เ ป็ น พรรณไม้ ส่ ง เสริ ม การ

ท่องเที่ยวรวมทั้งต้องช่วยกันปกปักรักษา ด้วยการป้องกัน

ไฟไหม้ ป้ อ งกั น การบุ ก รุ ก ทำลาย และป้ อ งกั น การ ชะล้างจากน้ำฝน รวมทั้งช่วยกันขยายพันธุ์ ให้มีจำนวน ต้นเพิ่มมากขึ้นบนพื้นที่ระดับสูงอื่นๆ ของดอยเชียงดาว ด้วยการเก็บผลแก่ แล้วนำเมล็ดไปโรยในพื้นที่เหมาะสม เพื่อให้เมล็ดงอกตามธรรมชาติ กลายเป็นกุหลาบแสนสวย แห่งดอยเชียงดาว ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มอิงอาศัย สูง 1.5-3 ม. ตามลำต้นและกิ่งคดงอ แตกกิ่งขนาดเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มกลมแน่นและเตี้ย ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง

รูปรีแกมรูปไข่กลับ ยาว 3-8 ซม. ปลายใบแหลมหรือ มนเป็นติ่งสั้น ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็น มัน ด้านล่าง

มีเกล็ดสีน้ำตาล ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งช่อละ 2-3 ดอก ดอกตูมสีขาวอมชมพู เมื่อบานมีกลีบดอก 5 กลีบ ค่อน ข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-13 ซม. ออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกยาว 2-3 ซม. ผิวแห้งแข็ง เป็นตุ่มขรุขระ มีเกล็ดปกคลุม แก่จัด แตกเป็น 5-6 เสี่ยง เมล็ด ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปร่างแบน มีปีก

บางใสล้อมรอบ การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการงอกจากเมล็ด


38

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กุหลาบพันปี

Rhododendron arboreum Sm. subsp. delavayi (Franch.) Chamb.

ชื่ออื่น คำแดง

ในช่วงฤดูหนาว บรรดากุหลาบป่าที่แฝงพุ่มอยู่ตาม ยอดดอยสูงทางภาคเหนือ จะพากันแย้มกลีบบานเพื่อ เผยให้เห็นความงดงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ไว้อย่าง น่ า อั ศ จรรย์ โดยเฉพาะกุหลาบป่าสีแดงสดที่ชาวดอย

เรียกขานว่า “กุหลาบพันปี” จะพร้อมใจกันออกดอกสีแดง เจิดจ้าสวยงามเพิ่มสีสันให้แก่พงไพร ดึงดูดนักท่องเที่ยว

ผู้ ห ลงใหลธรรมชาติ ใ ห้ ดั้ น ด้ น เดิ น ทางมาเยี่ ย มชม

แม้จะต้องบุกป่าฝ่าดงขึ้นมาจนถึงยอดดอย

กุหลาบพัน ปี เป็น พรรณไม้ ในวงศ์ Ericaceae ซึ่ งไม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กุ ห ลาบที่ เ รารู้ จั ก กั น ซึ่ ง อยู่ ใ นวงศ์ Rosaceae กุหลาบพันปีเป็นพรรณไม้ในสกุลกุหลาบป่า Rhododendron ซึ่งหากมองดูเผินๆ คล้ายพุ่มกุหลาบ คนจึงนิยมเรียกกันว่ากุหลาบป่า คำว่า Rhododendron มาจากภาษากรีก คือ rhodo ซึ่ ง แปลว่ า กุ ห ลาบ และ dendron ซึ่งแปลว่า ต้นไม้ ส่วนที่เรียกกุหลาบป่าชนิดนี้ ว่ากุหลาบพันปีนั้นเป็นเพราะลำต้นมีมอสปกคลุมจนดู คล้ายมีอายุเป็นพันปี


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

39

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. เปลื อ กต้ น

สีน้ำตาลอมแดงเข้ม หลุดออกเป็นแผ่นได้ ใบ เป็ น ใบเดี่ ย วเรี ย งสลั บ รู ป ขอบขนานหรื อ

รูปใบหอก ยาว 7-15.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเรียว สอบหรือมน แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดขุยและขนสีขาวเทา

ดอกออกเป็นช่อแน่น อมสีนำ้ ตาลเหลือง หนาแน่น เป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ดอก สี แ ดงออกเป็ น ช่ อ แน่ น เป็ น กระจุ ก ตาม มี 10-20 ดอก ปลายกิ่ ง มี 10-20 ดอก กลี บ เลี้ ย งและกลี บ ดอก

มีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกติดเป็นหลอดคล้าย รูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกเกือบกลม ผล แบบแคปซูล รูปทรงกระบอก ยาว 1.5-3 ซม. เมล็ด ขนาดเล็กจำนวนมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ กุหลาบพันปีเป็นไม้ตน้ ขนาดเล็กทีม่ ลี ำต้นและกิ่งก้าน การขยายพันธุ์ คดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้ ขยายพั นธุ์โดยการเพาะเมล็ด ควรส่ งเสริม ให้ ขึ้นอยู่บนพื้นที่ชุ่มชื้น สันเขา หรือหน้าผา ที่ระดับความ ปลูกในพื้น ที่อนุรักษ์ ในระดับสูง ตามอุทยานแห่งชาติ สูง 1,600-2,500 ม. ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หน่วยพัฒนาต้นน้ำ เนื่องจากเป็น

อุ ท ยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และ พรรณไม้ที่ต้องการอากาศหนาวเย็น อุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย ในต่างประเทศ พบได้ที่เนปาล ภูฏาน พม่า และจีนในมณฑลยูน นาน และกุ้ยโจ้ว กุหลาบพัน ปีถือเป็นราชินีแห่งเทือกเขาหิมาลัย

ชาวเนปาลยกย่องให้ดอกไม้ชนิดนี้เป็นดอกไม้ประจำ ชาติ ซึง่ ผูกพันอยูก่ บั วิถชี วี ติ ของชาวหิมาลัยมาอย่างช้านาน ชาวเนปาลนิยมนำไม้ชนิดนี้มาทำเชื้อฟืนสำหรับหุงต้ม อาหารและสร้างความอบอุน่ ภายในทีพ่ กั อาศัย สำหรับบ้านเรา กุหลาบพันปีถอื เป็นพรรณไม้หายาก

ที่มีการใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย จึงควรส่งเสริมให้มี การปลูกอย่างกว้างขวางในพื้นที่อนุรักษ์ระดับสูงตาม อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ต่ า งๆ เพื่ อให้ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ สำคัญประจำภูมิภาค


40

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ขมิ ้ น ต้ น Mahonia duclouxiana Gagnep.

ชื่อพ้อง Mahonia siamensis Takeda ex Craib ชื่ออื่น –

ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่

หรือรูปใบหอก

ก่ อ นหน้ า นี้ ขมิ้ น ต้ น เป็ น พรรณไม้ ที่ ไ ด้ รั บ การ กล่าวขวัญในฐานะที่เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ดังที่ ได้เคยมีการตั้งชื่อระบุชนิดของพรรณไม้นี้ว่า siamensis อั น เป็ น การบ่ ง บอกถึ ง แหล่ ง ที่ ม าของขมิ้ น ต้ น ว่ า เป็ น พรรณไม้ ที่ มี ก ารค้ น พบเป็ น ครั้ ง แรกในประเทศไทย กระนั้นก็ดี ขมิ้นต้นก็ยังนับเป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่าของ ในแง่ พ รรณไม้ ส มุ นไพรที่ มี ก ารใช้ กั น อย่ า งกว้ า งขวางมา

ไทย ไม่ ว่ าในแง่ ข องการเป็ น พรรณไม้ ด อกหอมที่ ไ ด้ ตั้งแต่ครั้งอดีต อีกทั้งยังปรากฏอยู่ในภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ รับความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่ระดับสูง หรือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ชื่อ “เทพธิดาขมิ้นต้น” ซึ่ ง เป็ น ภาพที่ ส มเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยาม-

บรมราชกุมารี ทรงแย้มพระสรวลอยู่ท่ามกลางดอก ขมิ้นต้นที่ชูช่อเหลืองอร่ามอย่างพระเกษมสำราญ ขมิ้ น ต้ น เป็ น พรรณไม้ ที่ แ ตกแต่ กิ่ ง ยาวหรื อ ที่

เรียกว่ากิ่งกระโดง จึงมองเห็นเป็นพุ่มโปร่ง ตามลำต้น มี เ ปลื อ กแตกเป็ น ร่ อ งลึ ก อั น บ่ ง บอกได้ ว่ า เป็ น พื ช

พื้นเมืองที่ทนแล้งทนลมหนาวได้อย่างทรหด ส่วนใบ

มีลักษณะหนาและแข็ง ปลายใบมีหนามแหลม ซึ่งแสดง ถึงการปรั บ ตั วให้ อ ยู่ ร อดได้ ใ นภู มิ ป ระเทศและสภาพ อากาศที่ทารุณ และเพื่อปกป้องตนเองจากสัตว์ป่าพวก กระต่าย รวมทั้งสัตว์เลี้ยงจำพวกแพะและวัวของชาวไทย ภูเขาไม่ให้มากัดกินหรือทำลายต้นให้เสียหาย ขมิ้ น ต้ น เป็ น พรรณไม้ ที่ อ อกดอกสี เ หลื อ งสดใส ดอกอันบอบบางทยอยบานทั้งช่อ แต่เพียงแค่วันเดียวก็ ร่วงโรย ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ในเวลากลางวัน และหอมแรง ในช่วงพลบค่ำ ในฤดูหนาวที่อากาศเย็นสดชื่น ขมิ้นต้น จะชูช่อไสวหยอกล้อลมหนาวที่พัดผ่านมาในช่วงเดือน มกราคมไปจนถึงเดือนมีนาคม


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

41

ขมิ้นต้นเป็นพรรณไม้อยู่ ในวงศ์ Berberidaceae มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย จีนตอนใต้ และ พม่า ในไทยพบทางภาคเหนือที่ดอยสุเทพ และดอย เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นในป่าดิบเขา หรือตามที่ โล่ ง บนเขาหิ น ปู น ระดั บ ความสู ง 1,000-2,200 ม.

ในต่างประเทศพบในระดับความสูงจนถึง 2,800 ม. พรรณไม้ชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร เปลือกรากใช้ แก้ ไข้อีดำอีแดง แก้ท้องเสีย ตาเจ็บ และช่วยให้เจริญ อาหาร ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. แตกกิ่งเป็นลำยาว เปลือกแตกเป็นร่องลึก ดอก สีเหลือง กลีบเลี้ยงยาว 3-8 มม. กลีบดอก ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 20-70 ซม. ใบย่ อ ยมี 4-9 คู่ เป็ น รู ป ขอบขนานแกมรู ป ไข่ ห รื อ บางสีเหลืองรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 6-7 มม. ที่โคน รูปใบหอก ยาว 4-15 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวยาว กลีบมีต่อมชัดเจน ปลายมนหยักเว้า โคนใบกลม เบี้ยว ขอบใบจักซี่ฟันห่างๆ ไม่มีก้านใบย่อย ผล เป็นผลกลม มีเนื้อหลายเมล็ด สุกสีม่วงเข้ม ช่อดอกมี 4-15 ช่อ ยาว 8-30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 มม. มีนวลฉาบอยู่ เมล็ด สีขาวหม่น กลมขนาด 3 มม. มี 1 เมล็ด การขยายพันธุ์ ควรทำการอนุรักษ์ขมิ้นต้นด้วยการร่วมมือกันปกปัก รักษาต้นที่มีอยู่ ในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติให้เจริญเติบโต เป็นต้นแม่พันธุ์ ออกดอกและติดผล สามารถขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี และควรทำการขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ ด เก็ บ ผลแก่ น ำเมล็ ด มาเพาะแล้ ว

ส่ ง เสริ ม ให้ ป ลู ก ในแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว แหล่ ง พั ก ผ่ อ น สำนักงานและเขตอนุรักษ์ ในพื้น ที่ระดับสูงที่มีอากาศ หนาวเย็ น นอกพื้ น ที่ ถิ่ น กำเนิ ด เดิ ม จึ ง นั บ เป็ น การ อนุรักษ์ขมิ้นต้นได้โดยสมบูรณ์ ทั้งในพื้นที่ถิ่นกำเนิดเดิม และในแหล่งใหม่ที่มีสภาพอากาศคล้ายคลึงกัน


42

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

คำมอกหลวง Gardenia sootepensis Hutch.

ชื่ออื่น ไข่เน่า คำมอกช้าง ยางมอกใหญ่

พรรณไม้ ใ นสกุ ล พุ ด หรื อ Gardenia เป็ น พื ช

สมุนไพรที่มีความสำคัญในแพทย์แผนจีน มานานกว่า พัน ปีแล้ว สำหรับประเทศไทยมีพรรณไม้ ในสกุลนี้อยู่

ไม่ถึง 10 ชนิด แต่ละชนิดล้วนมีสรรพคุณในทางยาและ ใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาช้านานเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ คำมอกหลวง ไม้ต้นขนาดเล็กที่พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ตามป่า เต็งรัง หรือป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 200-800 ม. ตำรั บ ยาพื้ น บ้ า นล้ า นนานำเมล็ ด เคี่ ย วกั บ น้ ำ ผสมเป็ น

ยาสระผมฆ่าเหา ปัจจุบันนักวิจัยกำลังศึกษาเรื่องความ เป็ น พิ ษ ต่ อ เซลล์ ม ะเร็ ง ปากมดลู ก ซึ่ ง คาดว่ า จะมี ประโยชน์ต่อการบำบัดมะเร็งชนิดนี้ในอนาคต

คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของคำมอกหลวงคือ มีการนำมาใช้เป็นไม้ประดับได้อย่างสวยงาม ต้นที่ปลูกอยู่กลางแจ้ง ห่างจากต้นไม้อื่นๆ จะมีทรงพุ่มที่ กลมแน่น และออกดอกเหลืองอร่ามได้เต็มทรงพุ่ม จึง ได้รับความนิยมนำมาปลูกตามสนามกอล์ฟ หรือตาม สวนที่มีพื้นที่กว้างขวาง ในปัจจุบัน มีการคัดเลือกพันธุ์

ที่มีต้นเตี้ย ดอกใหญ่ สีเข้มสดใส ออกดอกตลอดปีและ มีกลิ่นหอมแรง แล้วขยายพันธุ์โดยการตอน ทาบกิ่งหรือ


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

เสียบกิ่ง ทำให้ต้นขนาดเล็กออกดอกได้ จึงได้รับความ นิยมปลูกเป็นไม้ดอกกระถางและไม้ประดับตามบ้าน

กันมากขึ้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้นำดอกคำมอกหลวง มาสกัดเป็น น้ำมัน หอมระเหยเพื่อใช้ประโยชน์ ในทาง สุคนธบำบัดอีกด้วย คำมอกหลวงเป็นพรรณไม้ที่ ได้รับการสำรวจพบ ครั้ ง แรกโดยหมอคาร์ นั ก พฤกษศาสตร์ ช าวไอริ ช

บนดอยสุ เ ทพที่ ร ะดั บ ความสู ง 750 ม. คำระบุ ช นิ ด sootepensis ของพรรณไม้ ช นิ ด นี้ จึ ง ตั้ ง ตามสถานที่

ที่ค้น พบครั้งแรก และมีรายงานการตั้งชื่อในปี 2454

คำมอกหลวงเป็นภาษาคำเมือง แปลว่าดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่ (คำ แปลว่า สีเหลือง มอก แปลว่า ดอกไม้ หลวง แปลว่า ใหญ่) แต่มีคำเรียกขานตามภาษาพื้นเมือง ในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป เช่น นครพนมเรียกว่า ไข่เน่า นครราชสีมาเรียกว่ายางมอกใหญ่ เป็นต้น

43 ผลสีเขียวสด รูปไข่มีติ่งที่ปลาย

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ผลัดใบ สูง 7-15 ม. เรือนยอดกลม โปร่ง หรือแผ่กว้าง ลำต้นบิดงอ เปลือกต้นสีครีมอ่อน หรือเทา ค่อนข้างเรียบหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบ ขนาน กว้าง 4-15 ซม. ยาว 9-28 ซม. ใบอ่อนสีชมพู อ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่ด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านข้าง มีขนละเอียด ผิวใบสากคาย ดอก เป็นดอกขนาดใหญ่สีขาว แล้วเปลี่ยนเป็น

สี เ หลื อ งทอง ออกที่ ซ อกใบ โคนกลี บ ดอกเชื่ อ มเป็ น หลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกลิ่นหอม เส้นผ่าศู น ย์ ก ลางของดอก 5.5-7 ซม. ออกดอกราวเดื อ น กุมภาพันธ์ถึงเมษายน ผล สีเขียวสด รูป ไข่มีติ่งที่ปลาย มีขนาดกว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 2.2-4 ซม. เมล็ด มีขนาดเล็กจำนวนมาก การขยายพันธุ์ มีการนำผลแก่มาเพาะเมล็ดให้งอกเป็นต้นกล้า สามารถนำไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วประเทศ ต้นกล้า แข็งแรง มีระบบรากแก้วจึงทนทานต่อความแห้งแล้ง

ได้ดี ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมี

ดอกสวยงามและมีกลิ่น หอม เท่ากับเป็นการช่วยกัน อนุรักษ์คำมอกหลวงได้เป็นอย่างดี


44

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

งิ ้วป่า Bombax ceiba L.

ชื่ออื่น งิ้วบ้าน งิ้วแดง งิ้วปงแดง

ช่ ว งเดื อ นธั น วาคมถึ ง มกราคม เป็ น ช่ ว งเวลา

ที่ดอกงิ้วเริ่มผลิกลีบสีส้มแดงค่อยๆ บานออกมาเต็มช่อ กระจุกอยู่ตามปลายกิ่ง เมื่อตัดกับสีฟ้าใสของท้องฟ้า

ในหน้าหนาว จึงกลายเป็นภาพความประทับใจที่บรรดา นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ ไปชื่นชมพรรณไม้อดที่จะถ่ายภาพ เก็บไว้เป็น ที่ระลึกไม่ ได้ หรือแม้กระทั่งช่วงที่ดอกงิ้ว

ร่วงหล่นเรียงรายบนพื้นดิน ก็เป็น ภาพความสวยงาม

ที่ น่ า จดจำ หลั ง จากนั้ น งิ้ ว ป่ า จะติ ด ผล เป็ น ผลกลมรี คล้ายฝักนุ่น ภายในมีเมล็ดสีดำหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว พอผลแก่แล้วฝักจะแตก ปลดปล่อยให้เมล็ดปลิวลอยไป ตามลม ไปงอกในที่ห่างจากต้นแม่

งิ้ ว ป่ า เ ป็ นไ ม้ ต้ น ข นา ดใ ห ญ่ อ ยู่ ใ น ว ง ศ์ Bombacaceae มักพบในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณแล้ง เป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดดจัด และขึ้นได้ดีในดิน ร่วนปนทราย เนื้อไม้อ่อนจึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ลำต้นตรง โคนลำต้นใหญ่ และมีพูพอน มักแตกกิ่งรอบ ลำต้นเป็นช่วงๆ คล้ายฉัตร เป็นลักษณะเด่น ที่เห็นได้ ชัดเจนเมื่อขึ้นอยู่รวมกับพรรณไม้อื่นในป่าเบญจพรรณ แล้ง ถึงแม้ว่าจะอยู่ ในช่วงผลัดใบที่มีแต่กิ่งก้านก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ออกดอกแล้ว จะสะดุดตา โดดเด่ น กว่ า พรรณไม้ อื่ น จึ ง เริ่ ม มี ก ารปลู ก เป็ น ไม้ ประดับริมทางหลวงบางสาย เช่น ในภาคเหนือตอนล่าง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

ดอกออกเป็นช่อเดี่ยว หรือเป็นกระจุก ตามปลายกิ่ง 3-5 ดอก ไม่มีก้านดอก กลีบรองกลีบดอกรูปถ้วย สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ

งิ้ ว ป่ า เป็ น อี ก หนึ่ ง พรรณไม้ ที่ มี คุ ณ ประโยชน์ มหาศาล ชาวบ้านมักเก็บดอกงิ้วแล้วเอาเกสรตัวผู้ที่มี ลักษณะเป็นเส้นใสเหนียวๆ นำมาร้อยเป็นพวงหรือวาง ใส่กระด้งไม้ ไผ่เพื่อความสะดวกในการตากเก็บไว้กิน ตลอดปี โดยลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ มีทั้งนำไปทำ อาหาร ด้วยการนำดอกงิ้วไปใส่ ในแกงแคและน้ำเงี้ยว รั บ ประทานร่ ว มกั บ ขนมจี น หรื อ ถ้ า เป็ น ดอกสด ก็ สามารถนำมาต้มจิ้มน้ำพริกกินได้ ในตำรับยาจีน มีการใช้ดอกในสภาพดอกแห้ง โดยตากแดดหรืออบ จะมีรสหวาน จืด เย็น สามารถนำ ไปใช้ ใ นทางยามี ส รรพคุ ณ ลดไข้ ขั บ ไล่ ค วามชื้ น ถอนพิษ และใช้ ในกรณีเป็น บิด โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้ อั ก เสบ ปอดร้ อ น และไอ เกสรดอกงิ้ ว ยั ง มี สรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย ดังนั้นหากนำมาปรุง เป็นอาหารตามฤดูกาลในช่วงที่เริ่มออกดอกหรือช่วงที่ เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ย่อมเป็นสมุนไพรชั้นดีที่เหมาะสำหรับ ปรับธาตุในร่างกาย ปัจจุบันจึงควรเร่งทำการขยายพันธุ์ งิ้วป่าให้มีการปลูกแพร่หลายมากขึ้น เพื่อให้สามารถ

นำมาวิเคราะห์ถึงคุณค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ ใน ทางสมุนไพรต่อไป

45

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดใหญ่ ผลั ดใบ สู ง 20-30 ม. ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม ลำต้นตรง และแตกกิ่งก้าน ในแนวตั้งฉากกับลำต้น เรือนยอดแผ่กว้าง ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 5-7 ใบ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายใบแหลม ขอบ ใบเรียบ โคนใบสอบ ก้านใบยาว ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่

สีเขียวเข้มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองก่อนหลุดร่วง ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยว หรือเป็นกระจุกตามปลาย กิ่ง 3-5 ดอก ไม่มีก้านดอก กลีบรองกลีบดอกรูปถ้วย สี เ ขี ย ว กลี บ ดอก 5 กลี บ ส่ ว นใหญ่ สี แ ดง สี ส้ ม แต่

สีเหลืองจะมีน้อยมาก กลีบรูปขอบขนาน แต่ละกลีบยาว 5-8 ซม. เมื่อบานเต็มที่ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วน กลับ มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล รูปรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลเทา เมื่อ แก่จัดแตกออกเป็นแฉก เมล็ด สีดำ หุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาวจำนวนมาก การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง


46

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปาขาว Magnolia champaca X baillonii

ชื่ออื่น -

ดอกจำปาที่คนส่วนใหญ่รู้จักมักมีสีเหลืองส้ม อย่าง

ที่เราเรียกกันว่าสีจำปา หากแต่ก็มีจำปาชนิดหนึ่งที่ดอกมี

สีขาวนวลแตกต่างจากจำปาทั่วไป เรียกว่า จำปาขาว ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ มีลักษณะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างจำปาและจำปีป่า ไม่ว่าจะ

เป็นสีของดอกที่มีสีขาวนวล หรือลักษณะของผลที่เป็น

รูปทรงกระบอกเรียวยาว มีเปลือกผลเชื่อมติดกันเป็นตุ่มๆ จำปาขาวเป็นต้นไม้ที่มีประวัติยาวนานสืบย้อนกลับ

ซึ่ ง เกิ ด จากการผสมกั น ระหว่ า งผลย่ อ ยรู ป ทรงกลม ไปได้ถึงอาณาจักรสุโขทัย กล่าวกันว่า จำปาขาวต้น

ขนาดเล็กของจำปา และผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว ดั้งเดิมซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึงกว่า 700 ปี ปัจจุบันยังคงยืนต้น ตระหง่านอยู่ที่วัดกลางศรีพุทธาราม อำเภอนครไทย

ของจำปีป่า จังหวัดพิษณุโลก ชาวนครไทยเชื่อกันว่า จำปาขาวต้นนี้ เป็นต้นที่ปลูกโดยพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง

ซึ่งปลูกไว้เมื่อครั้งก่อนยกไพร่พลไปตีเมืองสุโขทัยซึ่งอยู่ ภายใต้การปกครองของขอมได้สำเร็จ แล้วสถาปนา ตนเองเป็น “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยตั้งสัตยาธิษ ฐานว่า

ถ้าตีเมืองสุโขทัยได้สำเร็จ ก็ขอให้ต้นจำปาขาวไม่ตาย และออกดอกเป็นสีขาว จากคำอธิษฐานนั้น จำปาขาว

ต้นนี้จึงถือเป็นไม้คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอนครไทย (เมือง บางยางในอดีต) ทุกวันนี้หากใครมีโอกาสได้ ไปเที่ยวชมวัดกลาง-

ศรีพุทธาราม จะพบจำปาขาวต้นนี้ที่ด้านหลังอนุสาวรีย์ พ่อขุนศรีอิน ทราทิตย์ แม้จะผ่านกาลเวลามาเนิ่น นาน

หลายศตวรรษ หากจำปาขาวต้นนี้ก็ยังคงยืนหยัดอยู่อย่าง มั่ น คง สง่ า งาม ลำต้ น ขนาดใหญ่ วั ด เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง

ที่โคนต้นได้ถึง 1.5 ม. สูงประมาณ 10 ม. เมื่อถึงเวลา ออกดอก จำปาขาวจะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว สร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

47

จำปาขาวเป็นพรรณไม้ในวงศ์จำปา (Magnoliaceae) สกุ ล Magnolia สำหรั บ ประเทศไทยพบที่ อ ำเภอ นครไทย จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก และจากการสำรวจพบ

เพิ่มเติมที่จังหวัดเชียงราย ปราจีนบุรี และกาญจนบุรี สำหรับการปลูกเป็นไม้ประดับ ในปัจจุบันนิยมคัดเลือก พันธุ์ที่ต้นค่อนข้างเล็ก มีดอกดก และออกดอกตลอดปี เปลือกผลเชื่อมติดกัน ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีแดง

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8-10 ม. แต่มีโคน ลำต้นใหญ่ ได้ถึง 1.5 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งจำนวน มากที่ยอด ยอดทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ใบ ยอดอ่อน และใบอ่อนมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบใบเป็ น คลื่ น เล็ ก น้ อ ย เนื้ อใบบาง แผ่ น ใบด้ า นบน

สีเขียวอ่อนเป็นมันวาว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ดอก เป็ น ดอกเดี่ ย ว ออกตามซอกใบ ดอกบาน

ตั้งขึ้น สีขาวนวลคือมีสีเหลืองอ่อนเกือบขาว แต่บางต้นก็มี

สีขาวล้วนโดยไม่มีสีเหลืองปนเลย เมื่อใกล้โรยกลีบดอกจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองมากขึ้นใกล้เคียงกับสีของจำปาทั่วไป

มีกลิ่นหอมแรง ดอกอ่อนรูปกระสวย กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 3-4 ซม. กลีบดอกมีจำนวน 12-15 กลีบ กลีบชั้นนอก รูปใบหอกค่อนข้างยาว กลีบชั้นในแคบและสั้นกว่า

ผล เป็ น ผลกลุ่ ม รู ป ทรงกระบอกยาว 6-9 ซม.

ผลย่อย 15-40 ผล ไม่มีก้านผล แต่ละผลค่อนข้างกลม หรือรี ขนาด 1-2 ซม. เปลือกผลหนาและแข็ง ผลอ่อน

สีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน ผลแก่เปลือกผลเชื่อมติดกัน เปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ละผลมีเมล็ดแก่สีแดง 1-4 เมล็ด เมล็ด รูปทรงกลมหรือกลมรี ยาว 8-10 มม. จำปาขาวออกดอกเดือนเมษายนถึงตุลาคม แต่ บางครั้ ง ทยอยออกตลอดปี ผลแก่ เ ดื อ นธั น วาคมถึ ง กุมภาพันธ์ ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ดอกบานตั้งขึ้น สีขาวนวล

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

มีเกษตรกรทำการขยายพันธุ์จำหน่ายและได้รับความนิยม ปลู ก กั น ทั่ วไป นั บ เป็ น วิ ธี ก ารอนุ รั ก ษ์ พั น ธุ ก รรมของ

ต้นจำปาขาวได้ดีอีกวิธีหนึ่ง ช่วยให้มีต้นจำปาขาวจำนวน มากสามารถเจริญเติบโตมีชีวิตได้ยืนยาวต่อไป


48

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปี ช้าง Magnolia citrata Noot. & Chalermglin

ชื่ออื่น -

เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว ที่คนไทยได้รู้จักกับจำปี

ชนิดใหม่ของโลกที่ชื่อ จำปีช้าง จำปีแสนสวยชนิดหนึ่ง

ซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย และในธรรมชาติมีสภาพเป็น พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะของ

คณะวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่ ง ประเทศไทย ซึ่ ง นำที ม โดย ดร.ปิ ย ะ เฉลิ ม กลิ่ น

ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ได้แกะรอยการสำรวจเข้าไปจนพบ

ถิ่นกำเนิดของจำปีชนิดนี้ ช่วยให้จำปีช้างซึ่งไม่มีการ ขยายพั น ธุ์ ต ามธรรมชาติ ม านานกว่ า 50 ปี แ ล้ ว

สามารถขยายพันธุ์ ได้จนมีจำนวนต้นเพิ่มมากขึ้น และ ปลูกเป็นไม้ประดับที่ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

ไปทั่วประเทศ

จำปีช้างเป็นพรรณไม้ในวงศ์จำปา (Magnoliaceae) สกุล Magnolia พบได้ในบริเวณป่าดิบเขาที่ระดับความสูง

ไม่ต่ำกว่า 1,200 ม. ในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน และเลย สาเหตุที่ ได้ชื่อว่าจำปีช้างนั้นก็เป็นเพราะว่า จำปีชนิดนี้

มีผลขนาดใหญ่ที่ สุดเมื่อเที ยบกั บจำปีช นิดอื่น ในสกุ ล เดี ย วกั น โดยมี ข นาดผลยาว 7-8 ซม. นอกจากนี ้ จำปีช้างยังมีลักษณะเด่นอื่นๆ ต่างจากจำปีทั่วไป เช่น ใบมี รู ป ร่ า งค่ อ นข้ า งกลม ใบใหญ่ แ ละหนาคล้ า ยใบ กระท้อน เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีแดง กลิ่นคล้ายตะไคร้แต่ฉุน กว่า จึงเป็นที่มาของชื่อระบุชนิด citrata ซึ่งหมายถึง ”ตะไคร้” นั่นเอง จำปี ช้ า งต้ น แรกถู ก สำรวจพบบนยอดเขาใน

เขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2533 โดย ศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันท์ ซึ่งในสมัยนั้นเข้าใจว่า เป็นจำปีชนิดเดียวกับจำปี ในประเทศจีนที่ชื่อ Michelia tignifera และเรียกชื่อไทยว่าจำปีดง ต่อมาในปี 2541 ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ได้นำพรรณไม้นี้มาตรวจสอบอีกครั้ง ก็พบว่าจำปีช้างเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกซึ่งไม่เคยค้นพบ ที่ ใ ดมาก่ อ น และตั้ ง ชื่ อใหม่ ว่ า Magnolia citrata Noot. & Chalermglin มีการรายงานการตั้งชื่อในปี 2551 นี้เอง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

49

จากพรรณไม้ที่ ไม่สามารถให้กำเนิดลูกหลานมา นานกว่าครึ่งศตวรรษ ปัจจุบัน จำปีช้างสามารถขยาย พันธุ์ได้ด้วยวิธีการทาบกิ่งโดยใช้จำปาเป็นต้นตอ ปลูก เป็นไม้ประดับได้ดี ในพื้น ที่อุทยานแห่งชาติและแหล่ง

พักผ่อน เช่น รีสอร์ตที่อยู่บนพื้นที่ระดับสูง รวมทั้งใน

พื้นที่ราบทั่วไป จำปีช้างส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงใกล้พลบค่ำ มีกลิ่นหอมแรง แต่น่าเสียดายที่ดอกอันบอบบางบานอยู่ เพียงแค่วันเดียวแล้วก็ร่วงโรยในวันถัดไป และออกดอก ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-30 ม. ลำต้น ให้ ผู้ ป ลู ก เลี้ ย งได้ ชื่ น ใจเพี ย งแค่ ช่ ว งเดื อ นเมษายนไป เปลาตรง แตกกิ่งเป็นพุ่มอยู่ที่ยอด เปลือกลำต้นสีเทา จนถึงเดือนพฤษภาคมเท่านั้น อมขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว เนื้อไม้และกิ่งเหนียว เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี ใบ เป็นใบเดี่ยว รูป ไข่ กว้าง 12-18 ซม. ยาว 20-25 ซม. เรี ย งเวี ย นรอบกิ่ ง รู ป รี จ นถึ ง เกื อ บกลม เนื้อใบหนา เหนียว สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีอ่อน กว่า มีเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบนูนเด่น กลีบดอกสีขาวนวล ดอก เป็ น ดอกเดี่ ย วออกที่ ซ อกใบ ดอกตู ม รู ป กระสวย เมื่อแรกแย้มกลีบนอกสุด 3 กลีบจะบานลู่ลง เริ่มส่งกลิ่นหอมแรงตั้งแต่ช่วงเย็น กลีบดอกสีขาวนวล ผลมีขนาดใหญ่ที่สุด 9-12 กลีบ เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 4-5 ซม. ในสกุลจำปี จำปา ใกล้โรยกลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผล เป็นผลกลุ่ม ติดอยู่บนแกนช่อผล มีผลย่อย 5-8 ผล แต่ละผลมีขนาดใหญ่ เปลือกหนา เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-7 ซม. ยาว 7-8 ซม. แตกออกเป็น 2 ซีก ดอกตูมรูปกระสวย เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี กว้าง 1.6 ซม. ยาว 1.8 ซม. หนา 4 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ โ ดยการเสี ย บยอดและทาบกิ่ ง ควร ขยายพั น ธุ์ แ ละปลู ก เพิ่ ม จำนวนต้ น ให้ ม ากขึ้ น ในพื้ น ที่ อนุ รั ก ษ์ ในพื้ น ที่ ร ะดั บ สู ง มี อ ากาศหนาวเย็ น จะเจริ ญ เติบโตและออกดอกได้ดี


50

จำปี รัชนี

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

สำหรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วหรื อ ผู้ ส นใจที่ อ ยากชื่ น ชม

ดอกจำปี รัชนี อาจต้องหาโอกาสไปเยือนภาคเหนือ เนื่องจาก Magnolia rajaniana (Craib) Figlar จำปีรัชนีเป็นพรรณไม้หายากที่พบเฉพาะภาคเหนือของ ชื่ออื่น จำปีหลวง ชะแก ไทย ชอบขึ้นตามไหล่เขาบริเวณป่าดิบเขาค่อนข้างโปร่ง จำปีรัชนี หรือจำปีหลวง สำรวจพบครั้งแรกโดย ในระดั บ ความสู ง 900-1,300 ม. ชอบอากาศหนาว

หมอคาร์ ชาวไอริช เมื่อเดือนพฤษภาคม 2464 จาก เย็นและมีความชื้นสูง ทนทานต่อลมพัดรุนแรงได้ดี จำปี ดอยอิน ทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในป่าดิบเขา ระดับ รั ช นี จ ะออกดอกในช่ ว งเดื อ นเมษายนถึ ง พฤษภาคม ความสูง 1,300 ม. คำระบุชนิด rajaniana ตั้งขึ้นให้ ออกดอกดกพร้อมกันเต็มต้น แล้วกลีบดอกจะร่วงพรู เป็นเกียรติแก่ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เต็มใต้ต้น ส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายไปทั่วแนวป่า พบเห็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ต้นสกุลรัชนี ผู้ทรงกำกับดูแล ได้ง่ายบริเวณใกล้วัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือบริเวณ

กิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ ในยุคบุกเบิกงาน ถ้ำฤาษีที่อยู่ริมถนนบนดอยสุเทพของจังหวัดเชียงใหม่

สำรวจพรรณไม้ ในประเทศไทย มีรายงานการตีพิมพ์ ส่วนผลจะแก่เต็มที่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ดังนั้น ใครที่ ตั้ ง ใจไปชื่ น ชมและหวั ง จะถ่ า ยรู ป เป็ น ที่ ร ะลึ ก

เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อนี้ในปี 2543 จึงต้องไปให้ตรงช่วงเวลาดังกล่าว


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ ดอกขนาดใหญ่กว่าดอกจำปีหรือ จำปา ออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ

51 ดอกตูมรูปกระสวย กลีบรวมสีขาวอมเหลือง

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 10-13 ซม. ยาว 17-30 ซม. ปลายใบมนหรือตัด โคน ใบหยักเว้า มน หรือกลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้าน ล่ า งมี ข นนุ่ ม ยาวปกคลุ ม หนาแน่ น ใบอ่ อ นนุ่ ม สากมื อ

ใบแก่แข็งกรอบ เส้นแขนงใบและเส้นกลางใบเป็นร่อง ตื้น ที่ด้านบนของใบและเป็นสัน นูน ที่ด้านล่างของใบ

มีรอยหูใบเด่นชัดยาวสามในสี่ของความยาวก้านใบ ดอก ขนาดใหญ่ ก ว่ า ดอกจำปี ห รื อ จำปา ออก เดี่ยวๆ ตามซอกใบ บนกิ่งด้านข้าง มีกลิ่นหอม ดอกตูม รูปกระสวย กลีบรวมสีขาวอมเหลือง ยาว 2.5-3.5 ซม. มี 12-15 กลี บ เรี ย งเป็ น รู ป วง วงละ 3 กลี บ กลี บ ปัจจุบันจำปีรัชนีได้รับการจัดเป็นพืชถิ่นเดียว และ วงนอกกว้างกว่ากลีบวงใน เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่ พืชหายากของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ ในภาค จำนวนมาก แต่ละอันเรียงเวียนสลับบนแกนยาว เหนื อ ตอนบนที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เชี ย งราย ลำพู น ผล ออกเป็นผลกลุ่ม ช่อผลยาว 15-20 ซม. มีผล พะเยา ลำปาง แพร่ น่านและแม่ฮ่องสอน ควรเร่งขยาย ย่อย 12-30 ผล แต่ละผลรูปไข่ค่อนข้างยาว กว้าง 1.5 พันธุ์และอนุรักษ์ด้วยการนำมาปลูกเพื่อให้ร่มเงาและ ซม. ยาว 2-3 ซม. ผิวของผลมีช่องอากาศเป็นจุดนูน

ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน เพื่อให้พ้นจาก สีขาว ผลย่อยแตกตามแนวยาว แต่ละผลมี 1-6 เมล็ด สภาพพืชหายาก มีการเพาะเมล็ดแล้วนำต้นกล้ามาปลูก เมล็ด สีแดงเข้ม รูปรี ยาว 1-1.4 ซม. เป็นไม้ปลูกป่าบนพื้นที่ระดับสูงตามหน่วยพัฒนาต้นน้ำ ของภาคเหนือตอนบน เป็นจำปีที่เจริญเติบโตได้อย่าง การขยายพันธุ์ รวดเร็ว ออกดอกดกและติดผลได้เป็นจำนวนมาก ได้มี โดยการเพาะเมล็ดและทาบกิ่ง สามารถใช้จำปา งานทดลองวิจัยปลูกและบำรุงรักษาจำปีรัชนี ในพื้นราบ เป็นต้นตอทาบกิ่งได้ ติดภายใน 6 สัปดาห์ ที่มีอากาศร้อนจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดโดยรอบ พบว่าจำปีรัชนีเจริญเติบโตช้า มีกิ่ง แห้งตายมาก และไม่ชอบดินเปรี้ยวจัด ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็น พุ่มกลมทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน หนา มี ก ลิ่ น ฉุ น เฉพาะตั ว เปลื อ กแตกเป็ น ร่ อ งตื้ น ๆ

ตามยาว


52

ชมพู พิมพ์ใจ

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ดอกสีชมพูมีกลิ่นหอม

Luculia gratissima (Wall.) Sweet var. glabra Fukuoka

ชื่ออื่น ชมพูเชียงดาว พิมพ์ใจ

ความมหัศจรรย์ของดอยเชียงดาวคือ เป็นแหล่ง

กำเนิดพืชพรรณกึ่งอัลไพน์ (subalpine) ที่มีความสวยงาม และเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย นอกเหนือจากกุหลาบขาวเชียงดาวที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของดอยสูงแห่งนี้ ชมพูพิมพ์ใจ ก็นับเป็นอีกหนึ่งดาวเด่นของดอยเชียงดาวที่ดึงดูดบรรดา

นักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลมาชื่นชมความมหัศจรรย์ของ

ผื น ป่ า ที่ ถึ ง แม้ จ ะแห้ ง แล้ ง และหยั ด ยื น อยู่ ท่ า มกลาง สายลมกระโชกแรง หากทว่ากลับซุกซ่อนความงดงาม อันบอบบางของดอกไม้ป่าไว้ได้อย่างน่าพิศวง ชมพูพิมพ์ ใจเป็น พรรณไม้ที่สวยทรงเสน่ห์ ดอก สีชมพูกระจิริดออกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มส่งกลิ่น หอม

ชื่นใจ สมดังชื่อระบุชนิด gratissima ซึ่งแปลว่า “น่ารัก

น่าชื่นชม” ชมพูพิมพ์ใจจึงเป็นดอกไม้ที่สร้างความประทับใจ ให้แก่ผู้พบเห็นได้ไม่รู้ลืม ก่อนหน้านี้ ชมพูพิมพ์ ใจมีชื่อ เรียกเพียงสั้นๆ ว่า “พิมพ์ใจ” ซึ่งได้มาจากชื่อของหญิงสาว ในคณะสำรวจ ที่มีรอยยิ้มสดใสน่ารักเหมือนดอกไม้นี้

แต่ต่อมาภายหลังเปลี่ยนมาเรียกว่า ชมพูพิมพ์ ใจ เพื่อ

บ่งบอกถึงลักษณะของสีดอกที่มีสีชมพูเข้มสวยงาม พรรณไม้งามแห่งยอดดอยเชียงดาวชนิดนี้ เป็น

พรรณไม้ในวงศ์ Rubiaceae ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในเขต เทือกเขาหิมาลัย จากเนปาลถึงภูฏานไปจนถึงจีนตอนใต้

ที่ระดับความสูง 1,500-2,000 ม. สำหรับประเทศไทย พบที่ดอยเชียงดาวเพียงแห่งเดียว จึงจัดเป็นพรรณไม้

หายากชนิดหนึ่งของไทย ที่ควรส่งเสริมให้มีการปลูก อนุรักษ์พันธุ์บนพื้นที่ระดับสูง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ พื้นที่และใช้เป็นพรรณไม้ส่งเสริมการท่องเที่ยว


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

53

สำหรับผู้ที่ต้องการชื่นชมความงามและถ่ายภาพ

ชมพูพิมพ์ ใจไว้เป็นที่ระลึกควรเดินทางไปในช่วงเดือน ธั น วาคมถึ ง กุ ม ภาพั น ธ์ ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งที่ ช มพู พิ ม พ์ ใ จ ออกดอกบานสะพรั่ง แต่งแต้มสีสันให้แก่ดอยเชียงดาว นช่อ จนกลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงความงามอย่างยากที่จะหา ออกดอกเป็ ลักษณะเป็นชั้น ลดหลั่นกันเป็นระนาบ พรรณไม้ชนิดใดทัดเทียมได้

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่มสูง 1.5-2 ม. แตกลำต้นในระดับ เหนือผิวดิน แตกกิ่งค่อนข้างมากเป็นพุ่มกลม เปลือก ลำต้นสีม่วงอ่อน ยอดอ่อนสีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่สลับตั้งฉาก รูป ใบหอก โคนและปลายใบแหลม เนื้อใบคล้ายแผ่น หนัง เกลี้ยง หูใบเป็นแผ่นรูปสามเหลี่ยมหลุดร่วงง่าย ดอก มี ด อกสี ช มพู มี ก ลิ่ น หอม ออกเป็ น ช่ อ ลั ก ษณะเป็ น ชั้ น ลดหลั่ น กั น เป็ น ระนาบ มี ด อกย่ อ ย

20-30 ดอก แต่ละดอกมี 5 กลีบ บานวันเดียวแล้วโรย ผล เป็นผลกลม เมื่อแก่แล้วแตกตามยาวเป็นสองซีก เมล็ด มีจำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกเล็กๆ

การขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติมีการขยายพันธุ์โดยงอกจากเมล็ด จึงควรเก็บผลแก่นำเมล็ดไปเพาะในพื้นที่เหมาะสมอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน เพื่อให้มีจำนวนต้นมากขึ้น เพิ่มแหล่งสวยงามให้มีมากขึ้น หรืออาจจะขยายพันธุ์ โดยการปักชำ ปลูกลงแปลงกลางแจ้งในพื้นที่ระดับสูง มีอากาศหนาวเย็น สำหรับเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ เป็น แหล่งธรรมชาติที่มีทัศนียภาพสวยงาม สำหรับส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวขึ้นมาท่องเที่ยวถ่ายรูปที่ระลึก


54

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ชมพู ภูคา Bretschneidera sinensis Hemsl.

ชื่ออื่น -

ดอยภูคาในจังหวัดน่าน เป็นยอดดอยที่สูงที่สุด แห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบาง และเป็นยอดดอยที่สูง เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ยอดดอยแห่งนี้อยู่สูงจาก ระดั บ น้ ำ ทะเลถึ ง 1,980 ม. จึ ง ทำให้ มี ร ะบบนิ เ วศน์

ของพืชพรรณที่หลากหลาย ทั้งป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น รวม ทั้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง อีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำ ของแม่น้ำน่านอีกด้วย และบนยอดดอยภูคาแห่งนี้ก็เป็น แหล่ ง กระจายพั น ธุ์ ข องพรรณไม้ ช นิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น พื ช

หายากและใกล้สูญพันธุ์ที่ชื่อว่า ชมพูภูคา

ชมพูภูคาเป็นไม้ต้นขนาดกลางที่เจริญเติบโตได้ดี ในป่ า ดงดิ บ ตามไหล่ เ ขาสู ง ชั น ที่ ร ะดั บ ความสู ง ตั้ ง แต่ 1,200 ม. ขึ้ น ไป กระจายพั น ธุ์ อ ย่ า งกว้ า งขวางใน

มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน เรื่อยลงมายังตอนเหนือ ของพม่ า และลาว ในปี 2532 ดร.ธวั ช ชั ย สั น ติ สุ ข

ได้ค้น พบชมพูภูคาต้น หนึ่งที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

ซึ่ ง ถื อ เป็ น ถิ่ น ที่ อ ยู่ เ พี ย งแห่ ง เดี ย วของชมพู ภู ค าใน ประเทศไทย ต่ อ มามี ก ารสำรวจพบต้ น ชมพู ภู ค าอี ก หลายต้นที่อีกด้านหนึ่งของดอยภูคา ซึ่งใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ ในการเก็บเมล็ดสำหรับขยายพันธุ์ในปัจจุบัน ชมพูภูคาเป็นพรรณไม้ในวงศ์ Bretschneideraceae ดอกมีสีชมพูสดใสออกเป็นช่อสวยงามบริเวณปลายกิ่ง เมื่อชมพูภูคาเริ่มบาน ดอกจะชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลมสวย ตามปกติ จ ะออกดอกราวเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง มี นาคม

ซึ่งทางจังหวัดน่านได้จัดให้เป็นเทศกาล “ผ่อดอกชมพูภูคา” หรือเทศกาลชมดอกชมพูภูคา เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว เดินทางไปชมความงดงามและถ่ายภาพพรรณไม้หายาก แห่งยอดดอยภูคาได้อย่างใกล้ชิด


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

55

ด้วยความที่เป็นพรรณไม้ซึ่งมีความสำคัญชนิดหนึ่ง ผล รูปกลมรี ยาว 3-4 ซม. ผนังหนา ก้านผล ของไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช ยาว 2.5-3.5 ซม. กุมารี จึงพระราชทานให้ชมพูภูคาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ เมล็ด กลมรีหรือเกือบกลม ยาว 1.5-2.5 ซม. ในโครงการอนุ รั ก ษ์ พั น ธุ ก รรมพื ช อั น เนื่ อ งมาจาก

พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช การขยายพันธุ์ กุมารี และจังหวัดน่านประชาสัมพันธ์ ให้เป็นเอกลักษณ์ จากความพยายามเก็บผลแก่มาเพาะเมล็ด ช่วยให้

มีต้นกล้าจำนวนมากขึ้นแล้วนำไปปลูกในบริเวณอื่นๆ ของ ของจังหวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ดอยภูคาที่มีสภาพภูมิอากาศและความชื้นใกล้เคียงกัน

พบว่ า ต้ น ชมพู ภู ค าเจริ ญ เติ บ โตได้ ดี จึ ง หวั งได้ ว่ าใน อนาคตอั น ใกล้ นี้ จ ะมี ต้ น ชมพู ภู ค าออกดอกสดใสเป็ น แปลงใหญ่หลายแปลงบนดอยภูคา นับเป็น พรรณไม้ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยือน จากการนำต้ น กล้ า ชมพู ภู ค าไปปลู ก บนภู เ ขาใน

เหมืองอีต่อง ตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี นับว่าเจริญเติบโตได้ดี คาดว่าน่าจะเป็นต้น ที่ออกดอกนอกถิ่นกำเนิดได้อย่างสวยงาม ดอกเป็นช่อยาว สีชมพูเข้ม มีริ้วสีแดง

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-25 ม. เปลือกเรียบสีเทาน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบยาว 30-70 ซม. ใบย่อย 3-9 คู่ ใบรูปรี รูป ใบหอก หรือรูป ไข่แกมรูป ใบหอก ยาว

6-25 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม หรือกลม ดอก ออกเป็นช่อยาว 20-45 ซม. ดอกยาว 3.5-4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 1.5-2 ซม. ปลายเป็นแฉกตื้นๆ กลีบดอกสีขาว สีชมพู เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม มีริ้วสีแดง


56

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ชมพูภูพิงค์ Carasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D. Don) S. Y. Sokolov

ชื่อพ้อง Prunus cerasoides D.Don ชื่ออื่น ฉวีวรรณ นางพญาเสือโคร่ง (ภาคเหนือ) เส่คาแว่ เส่แผ่ เส่สาแหล่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ซากุระดอย ซากุระเมืองไทย (กทม.)

ยามเมื่อสายลมเหนือพัดพาความหนาวเย็นห่มคลุม

ไปทั่วผืนป่า บนดอยสูงภาคเหนือ ผืนป่าจะถูกแต่งแต้มไป ด้วยสีชมพูสดใสของดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือที่เรียก

เป็นทางการว่า ชมพูภูพิงค์ ซึ่งจะผลิบานให้เห็นเพียงปีละ ครั้งในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ชมพูภูพิงค์ หรือ Himalayan wild cherry เป็น พรรณไม้ ใ นวงศ์ กุ ห ลาบ (Rosaceae) ที่ มี เ ขตการ กระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศในแถบหิมาลัย จีนตอนใต้ พม่า และทางตอนเหนือของเวียดนาม สำหรับประเทศ ไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และบนภูเขา สูงที่ระดับตั้งแต่ 800 ม. ขึ้นไปจนถึง 1,500 ม.

ปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งทางภาคเหนือ อย่ า งบ้ า นม้ ง ขุ น ช่ า งเคี่ ย น ขุ น แม่ ย ะ ขุ น วาง และดอย

แม่ ส ลอง มี นางพญาเสื อโคร่ ง เป็ น นางเอกที่ ค อยดึ ง ดู ด

นักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ เพื่อชื่นชม ความงดงามและบัน ทึกภาพสีสันอัน น่าประทับใจของ ชมพูภูพิงค์ ที่พร้อมใจกัน ทิ้งใบเพื่อให้ดอกสีขาวและ ชมพูได้สะพรั่งบานงดงามไม่แพ้ดอกซากุระญี่ปุ่นจนได้รับ สมญาว่า “ซากุระเมืองไทย”


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

57

ก้านดอกยาว 1-2 ซม. ดอกบานมี 5 กลีบ สีชมพูอมขาว

ชมพูภูพิงค์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีดอกสวยสด งดงามราวกับเจ้าหญิงแห่งพงไพร ลักษณะของเปลือก

ลำต้นและกิ่งแตกลายคล้ายลายเสือโคร่ง คนทั่วไปจึง เรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า ”นางพญาเสือโคร่ง” ไม้ต้นชนิดนี้

ไม่เพียงแต่มีดอกที่งดงามโดดเด่นเป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น บรรดาสัตว์ต่างๆ ก็ชื่นชอบด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแมลง และนกเล็กๆ หลายชนิดที่ชอบมาดูดกินน้ำหวานจากดอก และผลสีแดงสดคล้ายผลเชอร์รี่ ซึ่งมีรสชาติถูกใจบรรดา

นกและสัตว์ต่างๆ อีกด้วย คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งคือ เป็นไม้โตเร็ว จึงเหมาะแก่การนำมาเป็นพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูป่า

ที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้แก่ เปลือกต้น ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไอ เลือดกำเดาไหล ลดน้ำมูก และแก้คัดจมูก หรือตำแล้วคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้

ข้อเท้าแพลงและฟกช้ำ ปวดตามข้อ ส่วนเนื้อไม้ ชาวบ้าน นิยมนำมาทำด้ามมีด เครื่องมือการเกษตร หรือปรุงเป็น ยารั ก ษาแผลไฟไหม้ บาดแผล ท้ อ งร่ ว ง แก้ ไ อ และ กามโรค ผลสุกรับประทานได้ รสเปรีย้ วชุม่ คอ แก้กระหายน้ำ

ลักษณะพรรณไม้ ต้ น เป็ นไม้ ต้ น ผลั ดใบขนาดเล็ ก ถึ ง ขนาดกลาง

บางครั้งสูงได้ถึง 30 ม. เปลือกต้นเป็นมัน สีน้ำตาลอม แดง แตกลายตามขวาง และลอกหลุดเป็นแถบตามขวาง

หูใบรูปลิ่ม จักเป็นครุย มีต่อมสีส้ม 2-4 ต่อม ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน หรื อ แกมรู ป ใบหอก ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลมยาว

โคนใบแหลมหรือกลม ขอบใบจักฟันเลื่อยชั้นเดียวหรือ

สองชั้น ปลายเป็นตุ่ม แผ่นใบเกลี้ยง หรือมีขนตามเส้นใบ ด้านล่าง เส้นใบมี 9-15 เส้น ก้านใบยาว 0.8-2 ซม. ดอก ออกเป็นกระจุกหรือเป็นช่อแบบซี่ร่ม มี 1-4 ดอกในแต่ละช่อย่อย ดอกสีชมพูหรือขาว ฐานรองดอก

รูประฆัง สีแดงอมชมพู กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมหรือมน ยาว 0.4-0.5 ซม. หลุดร่วงง่าย กลีบดอก

5 กลีบ แยกอิสระต่อกัน ติดบนหลอดกลีบดอก รูปไข่กลับ หรือรูปไข่ ปลายเว้าตื้นๆ ยาว 1.5-2 ซม. รวมก้านสั้นๆ ผล เมล็ ด เดี ย ว แข็ ง ผิ ว ย่ น รู ป รี ห รื อ รู ป ไข่

ยาวประมาณ 1.5 ซม. สีแดง สุกสีม่วงดำ การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ได้มีการทดลองปลูกนางพญาเสื อโคร่ ง บนพื้ น ที่ ต้ น น้ ำ ลำธารมาเป็ น เวลา 10 ปี แ ล้ ว ปรากฏว่าได้ผลดี นกกินปลีหางเขียวชอบมาดูดน้ำหวาน จากดอกนางพญาเสือโคร่ง


58

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

บุหรงสุเทพ Dasymaschalon sootepensis Craib

ชื่ออื่น -

แม้จะไม่ ใช่พรรณไม้ที่มีดอกสวยงามหรือมีดอก หอม เมื่อเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่นๆ ที่สวยทั้งรูปแถมจูบ ยั ง หอม แต่ พ รรณไม้ ใ นสกุ ล บุ ห รงก็ เ ป็ น พรรณไม้ ที่

ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากสกุลหนึ่ง เนื่องจากมี สรรพคุณเป็นสมุนไพร ทางภาคเหนือและภาคตะวันออก-

เฉียงเหนือ ใช้เข้ายาทำสมุนไพรพื้นบ้าน ส่วนคณะนักวิจัย ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ก็กำลังเร่งทำการศึกษาวิจัยหา

สารสำคัญที่มีประโยชน์ทางเภสัชวิทยาซึ่งมีอยู่มากมาย

ในพรรณไม้สกุลนี้

บุหรงสุเทพ เป็น หนึ่งในพรรณไม้ ในสกุลบุหรง (Dasymaschalon) ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 12 ชนิด นับเป็นพรรณไม้หายากชนิดหนึ่งของไทย พบใน ภาคเหนือตอนบนที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ น้ำตก ขุ น กรณ์ จั ง หวั ด เชี ย งราย และที่ ภู เ มี่ ย ง จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เมื่ อ ก่ อ นเคยมี ข้ อ มู ล ว่ า บุ ห รงสุ เ ทพเป็ น

พรรณไม้ ถิ่ น เดี ย วของไทย แต่ ภ ายหลั ง มี ก ารค้ น พบ

เพิ่มเติมที่ประเทศจีนในมณฑลยูนนาน


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

59

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 ม. โคนลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซม. แตกกิ่งยาวอ่อนลู่ ทรงพุ่ม โปร่งแผ่กว้าง ใบ รูปรีกว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-18 ซม. แผ่นใบ บางและเหนียว ด้านล่างของใบมีนวลสีขาวเคลือบอยู่ ดอก เป็นดอกเดียวออกที่ปลายยอด กลีบดอก

มีสามกลีบ ประกบกันเป็นแท่งสามเหลี่ยม ยาว 2.5-4.5 ซม. ปลายแหลมเรียวบิดเป็นเกลียวคล้ายเหล็กขูดชาร์ฟ ผล เป็ น ผลกลุ่ ม มี ผ ลย่ อ ย 7-8 ผล รู ป ทรง กระบอกยาว 3-5 ซม. มีเมล็ด 1-4 เมล็ด ผลเรียวคอด ตามรอยเมล็ด เมล็ด รูปรี ยาว 1 ซม. (ยาวที่สุดในสกุลเดียวกัน) การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

บุ ห รงสุ เ ทพค้ น พบครั้ ง แรกในเมื อ งไทยโดย

หมอคาร์ นั ก พฤกษศาสตร์ชาวไอริช ที่ดอยสุเทพใน ระดับความสูง 1,050-1,260 ม. เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2454 พรรณไม้ชนิดนี้จึงมีชื่อระบุชนิดว่า sootepensis ตามสถานที่ที่ค้นพบเป็นครั้งแรก ในปัจจุบัน บุหรงสุเทพยังคงสภาพของความเป็น ไม้ป่าไว้ ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีการค้นพบพรรณไม้ ชนิ ด นี้ ม านานเกื อ บร้ อ ยปี แ ล้ ว ก็ ต าม แต่ ก็ ยั ง ไม่ มี

การนำมาขยายพันธุ์ ไปปลูกในพื้น ที่อื่น เนื่องจากเป็น บุหรงที่หายาก มีเมล็ดน้อย และมีข้อจำกัดที่ชอบขึ้น กลีบดอกประกบกัน บนที่ สู ง อากาศหนาวเย็ น และจะต้ อ งขึ้ น อยู่ ริ ม น้ ำ เป็นแท่งสามเหลี่ยม ริมลำธาร เพราะต้องการความชื้นสูง ลักษณะเด่นของ บุหรงชนิดนี้คือ กลีบดอกบางสีขาวอมเขียว ปลายบิด เป็นเกลียว ต่างจากบุหรงชนิดอื่น ที่กลีบดอกหนากว่า และปลายดอกตรง

เมล็ด ยาวที่สุดในสกุลเดียวกัน


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

60

พะยอม Shorea roxburghii G.Don

ชื่ออื่น กะยอม ขะยอม ขะยอมดง พะยอมดง แดน เชียง เซี่ยว สุกรม พะยอมทอง ยางหยวก

เมื่อครั้งที่สุน ทรภู่เดินทางไปนมัสการพระแท่น-

ดงรัง ที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างทาง ท่ า นได้ พ รรณนาถึ ง ความงามของดอก พะยอม ที่ ออกดอกเป็น พวงระย้า ส่งกลิ่น หอมระรื่นไว้อย่างน่า ประทับใจ “ระรวยรื่นชื่นหอมพะยอมสด คันธรสโรยร่วงพวงเกสร ต้องพระพายชายช่ออรชร แมลงภู่ฟอนเฝ้าเคล้าประคองชม แมลงภู่เป็นคู่ของบุปผา บุราณว่าเห็นจริงทุกสิ่งสม หญิงกับชายก็เป็นคู่ชู้อารมณ์ ชั่วปฐมกัปกัลป์พุทธันดรฯ”

พะยอมเป็นไม้ที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตของคนไทย

มาช้านาน เนื่องจากเป็น พรรณไม้ที่มีประโยชน์หลาก หลาย ในด้านสมุนไพร เปลือกนำมาต้มน้ำดื่มเป็นยา สมาน แก้ท้องเดินและลำไส้อักเสบ ดอกเข้ายาหอม บำรุ ง หั วใจ ลดไข้ ส่ ว นชาวสวนที่ ท ำน้ ำ ตาลมะพร้ า ว

จะนำเปลือกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ที่รอง น้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวเป็นสารกันบูด เนื้อไม้นำมา ใช้ ใ นงานก่ อ สร้ า ง เช่ น เสา รอด ตง พื้ น ฝา และ

ไม้หมอนรถไฟ


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

61

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 15-25 ม. ลำต้ น ตรง กิ่ ง อ่ อ นเกลี้ ย ง เรื อ นยอดเป็ น พุ่ ม แคบๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือเทา เป็นสะเก็ดหนาและแตก เป็นร่องตามยาว ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. โคนใบมน ปลายใบมนหรือหยัก ขอบใบมักเป็นคลื่น เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบ 15-20 คู่ ก้านใบยาว 2-2.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว เหนือรอยแผลใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก สีขาว กลิ่นหอมจัด กลิ่นหอมจัด กลีบเลี้ยงเกลี้ยง สีขุ่น มี 5 กลีบ เรียงบิด ผล เป็ น ผลแห้ ง รู ป กระสวย กว้ า ง 1 ซม. ยาว

เป็นที่รู้กันดีว่า พะยอมถือเป็นไม้มงคลที่คนนิยม 2 ซม. ปีกสั้น 2 ปีก ยาว 2 ซม. ปีกยาว ยาวประมาณ ปลูกกันตามบ้าน ด้วยมีความเชื่อว่าหากบ้านใดปลูก 8 ซม. มีเส้นปีก ปีกละ 10 เส้น พะยอมไว้ประจำบ้านจะทำให้คนบ้านนั้นมีอุปนิสัยอ่อนน้อม เมล็ด กลมรียาว 1 ซม. ถ่อมตน เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นอกเห็นใจและได้รับการ อุปถัมภ์ค้ำชูจากผู้อื่น ด้วยความที่เป็นพรรณไม้ที่มีทั้ง การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ใช้ใน ความสวยงามและมากด้วยประโยชน์ กวี ในสมัยต่างๆ จึงมักพรรณนาถึงพะยอมไว้ ในวรรณคดีหลายต่อหลาย การปลูกป่าชนิดหนึ่ง เนื่องจากทนแล้งได้ดี ถึงแม้ว่า

เรื่ อ ง อาทิ บทละครเรื่ อ งอิ เ หนา ลิ ลิ ต พระลอ เสภา จะเจริญเติบโตค่อนข้างช้า เรื่ อ งขุ น ช้ า งขุ น แผน โคลงโลกนิ ติ และพระอภั ย มณี เป็นต้น พะยอมเป็นไม้ต้นขนาดกลาง พบกระจายในป่า เบญจพรรณแล้ง ป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังทั่วประเทศ

แต่มีมากในภาคเหนือที่ระดับความสูง 100-1,000 ม. เติ บ โตได้ ดี ใ นพื้ น ที่ แ ห้ ง แล้ ง แต่ เ ป็ น ไม้ ที่ โ ตช้ า และ ออกดอกเพียงปีละครั้งในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ การปลูกพะยอมจึงต้องอาศัยความอดทนและมี

ใจรั ก อย่ า งแท้ จ ริ ง จึ ง จะได้ เ ชยชมดอกที่ ส ะพรั่ ง บาน

พร้อมกันทั่วทั้งต้น และส่งกลิ่นหอมอันแสนจรุงใจ ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ตามปลายกิ่ง หรือตามกิ่ง


62

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โพสามหาง Symingtonia populnea (R. Br. ex Griff.) Steenis

นอกจากจะเป็นแหล่งก่อกำเนิดต้นน้ำลำธารเพื่อ หล่อเลี้ยงชีวิตแล้ว ยอดดอยอิน ทนนท์ยังเป็นเสมือน อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ด อยอิ น ทนนท์ เ ป็ น พื้ น ที่ ต้ น น้ ำ แผ่นดินแม่ผู้ ให้กำเนิดระบบนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์ ไม่ ลำธารที่ ส ำคั ญ ของแม่ น้ ำ ปิ ง ให้ ก ำเนิ ด แม่ น้ ำ ลำธาร เพียงแต่จะอุดมพร้อมทั้งไม้ ใหญ่ดึกดำบรรพ์ หรือไม้หา หลายสาย ที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่กลาง ยากเท่านั้น บนจุดสูงสุดแห่งสยามประเทศยังเป็นแหล่ง ลำน้ ำ แม่ ย ะ ลำน้ ำ แม่ ห อย ลำน้ ำ แม่ แ จ่ ม และลำน้ ำ ให้กำเนิดไม้พุ่มหรือไม้ขนาดกลาง ทรงสวยงามอย่าง แม่เตี๊ยะ ซึ่งลำน้ำเหล่านี้จะไหลผ่านและหล่อเลี้ยงชุมชน โพสามหาง อีกด้วย ชื่อของโพสามหางถูกเรียกตาม ต่างๆ ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอ ลั ก ษณะของใบที่ อ วบอ้ ว นคล้ า ยใบโพธิ์ ทว่ า มี แ ฉก

ฮอด อำเภอแม่ ว าง และอำเภอสั น ป่ า ตอง จั ง หวั ด 3 แฉกงอกเงยคล้ายหางขึ้นมาอีกเล็กน้อย ผู้ที่พบเห็น เชียงใหม่ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง จึงเรียกพืชชนิดนี้ว่า โพสามหาง

ชื่ออื่น -


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

63

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งน้อย มี ใบเฉพาะตอนปลายกิ่ง หูใบรูป ไข่กลับ ยาว 1.5-2.5 ซม. เกลี้ยง หนา หลุดร่วงง่าย ใบ เป็ น ใบเดี่ ย วเรี ย งสลั บ รู ป ไข่ ห รื อ รู ป ฝ่ า มื อ

มี 3-5 แฉก ยาว 5-16 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน กลมหรือกึ่งรูปหัวใจ แผ่นใบหนา เส้นโคนใบ 3-5 เส้น ก้านใบยาว 2-6 ซม. ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแน่น เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 ซม. ไม่มีกลีบเลี้ยง กลีบดอก 2-7 กลีบ ดอกออกเป็นกระจุกแน่น ผล แบบแคปซูล ติดกันเป็นช่อกระจุกแน่น แข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มี 7-11 ผล ในแต่ละช่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ก้านช่อยาว 1.5-2.5 ซม. โพสามหาง เป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ Hamame-

เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม รูปรี มีปีก lidaceae มีเขตการกระจายพันธุ์ตามป่าดิบเขา พบตั้งแต่ อิ น เดี ย เนปาล ภู ฏ าน จี น ตอนใต้ พม่ า เวี ย ดนาม การขยายพันธุ์ คาบสมุทรมลายู และบอร์เนียว ในประเทศไทยพบทาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ภาคเหนื อ ที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ บ นดอยอิ น ทนนท์ และ

ทางภาคใต้ที่จังหวัดยะลา ขึ้นตามสันเขาในป่าดิบเขา ยกตามลักษณะของใบ ระดับความสูง 1,400-2,200 ม. เท่านั้น ด้วยข้อจำกัด ชื่อถูทีก่อเรีวบอ้ วนคล้ายใบโพธิ์ มี 3 แฉกคล้ายหาง ทางธรรมชาติ จึงทำให้พบโพสามหางได้ยากตามพื้นที่ ป่าทั่วๆ ไป ประกอบกับสถานการณ์ป่าไม้ ในปัจจุบันที่ ถูกรุกรานและทำลายไปมากด้วยน้ำมือมนุษย์ จึงเป็นการ เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ให้แก่บรรดาไม้ที่หายาก อยู่แล้ว ซึ่งมีโพสามหางเป็นหนึ่งในนั้น ด้วยคุณสมบัติของโพสามหางที่ขึ้นอยู่ตามพื้น ที่

บนเขาสูงที่ระดับ 1,400-2,200 ม. โพสามหางจึงเป็น พรรณไม้ที่ ใช้วัดดัชนีบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของผืน ป่าบนพื้นที่ระดับสูงได้ หากผืนป่าดิบเขาบนยอดเขาสูง ยังมีโพสามหางเจริญงอกงามดีอยู่ ก็หมายถึงว่า ระบบ นิเวศวิทยาของไทยยังคงสมบูรณ์ดีนั่นเอง


64

มณฑาป่า Magnolia garrettii (Craib) V.S. Kumar

ชื่ออื่น มณฑาดอย มะองนก ปอนาเตอ

คนไทยส่ ว นใหญ่ มั ก คุ้ น เคยกั บ มณฑา ซึ่ ง เป็ น พรรณไม้ชนิดหนึ่งในสกุล Magnolia ที่มีดอกสวยงาม น่ารัก อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมหวานรวยรื่น เป็นที่ชื่นชอบ ของบรรดาผู้รักไม้ดอกหอมทุกท่าน หากทว่าในราวป่า บนเขาสู ง ทางภาคเหนื อ ยั ง มี ม ณฑาอี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ มี

ดอกสี ม่ ว งแดง ส่ ง กลิ่ น หอมอ่ อ นๆ ในเวลากลางคื น

ที่เรียกว่า มณฑาป่า พรรณไม้หายากอีกชนิดหนึ่งของ ไทยที่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาให้ ก ลายเป็ นไม้ ป ระดั บ จนพ้ น สภาพของความเป็นไม้หายากแล้ว มณฑาป่าถูกค้น พบครั้งแรกของโลกในประเทศ ไทย โดย H.B.G. Garrett นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ดอยผ้าขาว จังหวัดเชียงใหม่ มีรายงานเมื่อปี 2465 ว่า

มณฑาป่ า นี้ มี เ ขตการกระจายพั น ธุ์ เ ฉพาะภาคเหนื อ

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ของไทยในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,000-1,900 ม. ในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เชี ย งราย แม่ ฮ่ อ งสอน ตาก พิษ ณุโลก ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่มณฑลยูน นาน ประเทศจีน และในเวียดนาม ดอกสี ม่ ว งแดงของมณฑาป่ าในบางครั้ ง ก็ ส ร้ า ง ความสั บ สนให้ แ ก่ นั ก สำรวจและจำแนกพรรณไม้ เนื่ อ งจากยั ง มี ม ณฑาอี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ มี ด อกสี ม่ ว งแดง

และมีลักษณะดอกคล้ายคลึงกันมาก เรียกว่า มณฑา ดอย พรรณไม้ ส องชนิ ด นี้ มี ก ลี บ ชั้ น นอกสี ม่ ว งแดง เหมือนกัน เมื่อมองดูเผินๆ จึงคิดว่าเป็นพรรณไม้ชนิด เดียวกัน หากแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า มณฑาป่าจะ

มีกลี บ ดอกชั้ น ในเป็ น สี ม่ ว งเข้ ม เช่ น เดี ย วกั บ กลี บ ดอก

ชั้ น นอก ขณะที่ ม ณฑาดอย กลี บ ดอกชั้ น ในจะเป็ น

สีขาวนวล และกลิ่นหอมแรงกว่ามณฑาป่า ส่วนใบของ มณฑาดอยก็ มี ข นาดใหญ่ แ ละยาวกว่ า ยาวประมาณ

1 ศอก วิธีสังเกตความแตกต่างอย่างง่ายๆ จึงให้ดูที่ขนาด

ของใบและกลีบดอกชั้นในซึ่งมีสีที่แตกต่างกัน


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

65

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 18-30 ซม. ปลายใบเรียวแหลม หรือแหลมสั้นๆ เนื้อใบหนา เหนียว คล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมันวาว ด้านล่างเคลือบขาว ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกตามปลายกิ่ง สีม่วงอมแดง ดอกมี 9 กลีบ กลีบหนา แข็ง อวบน้ำ เมื่อบานมีเส้นผ่าผลอ่อน ศูนย์กลาง 8-10 ซม. ดอกบาน 2-3 วัน ผล เป็นผลกลุ่มรูปไข่หรือทรงกระบอก สีน้ำตาล มณฑาป่าเป็น พรรณไม้ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ถึง กว้าง 6-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ผลแก่ห้อยลง มีผลย่อย แม้ว่าจะมีเนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน แต่ชาวบ้านก็ยังตัดโค่น จำนวนมากเรียงกันอยู่บนแกนยาวอันเดียวกัน ผลย่อย มาใช้ ในงานก่อสร้าง และใช้ทำเครื่องเรือนบางชนิด แข็ง ยาว 1-1.5 ซม. เมล็ด สีแดง ยาวรีและค่อนข้างแบน ขนาด 0.7-1 ทำให้ ใ นธรรมชาติ มี จ ำนวนต้ น เหลื อ อยู่ ไ ม่ ม ากนั ก

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายๆ หน่วยงานจึงได้เร่งขยาย ซม. ผลย่อยแต่ละผลมี 1-4 เมล็ด ออกดอกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ผลแก่เดือน พันธุ์และส่งเสริมให้ปลูกเป็นไม้ประดับบนพื้น ที่ระดับ

สูง เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตุลาคมถึงพฤศจิกายน นอกจากนี้ มณฑาป่ายังมีชื่ออยู่ ในโครงการปลูกทดแทน ป่ า ที่ เ สื่ อ มโทรมในพื้ น ที่ สู ง อย่ า งได้ ผ ลดี เนื่ อ งจาก

มณฑาป่ า เป็ น พรรณไม้ ที่ เ จริ ญ เติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว

ช่วยให้ป่ากลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งได้ ใน เวลาไม่นานนัก ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูง 20-25 ม. เปลือกหนา สีเทา มีกลิ่นฉุน เกสร การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปลูกลงในแปลงที่ ร่มรำไร หรือกลางแจ้งบนพื้นที่ระดับสูงที่มีอากาศหนาว เย็ น ผู้ ที่ ชื่ น ชอบความสวยงามของดอกมณฑาป่ า พยายามนำต้น มณฑาป่ามาปลูกในกรุงเทพฯ และใน พื้ น ที่ ร าบภาคกลาง ซึ่ ง มี อ ากาศร้ อ นจั ด พบว่ า ยั งไม่ ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากต้นมณฑาป่าชะงักการเจริญ เติบโตในช่วงฤดูร้อน และค่อยๆ ตายไป


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

66

มหาพรหมราชินี Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R. M. K.Saunders

ชื่ออื่น -

เมื่อปี 2547 ประเทศไทยได้ประกาศการค้นพบ พรรณไม้ ช นิ ด ใหม่ ข องโลก ซึ่ ง ได้ รั บ พระราชทาน

พระบรมราชานุญาตให้ ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อระบุ

ชนิดพืชชนิดใหม่นี้ว่า sirikitiae และใช้ชื่อภาษาไทยว่า มหาพรหมราชินี เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณแด่สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส

ที่ทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา อันถือเป็นปีมหามงคลยิ่ง ของปวงชนชาวไทย มหาพรหมราชิ นี เ ป็ น พรรณไม้ ใ นวงศ์ ก ระดั ง งา (Annonaceae) สกุลมหาพรหม (Mitrephora) ดอกมี ขนาดใหญ่สีขาวและม่วงสวยงามมาก และมีขนาดใหญ่ที่สุด ในสกุลมหาพรหมซึ่งมีอยู่ทั่วโลก 48 ชนิด ในประเทศ ไทยที่สำรวจพบแล้วมี 7 ชนิด โดยมีมหาพรหมราชินี เป็นชนิดที่ 8 มหาพรหมราชินีจึงเป็นดอกไม้ที่ประกาศ

ให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของไม้ดอกที่งดงาม และมี ชื่ อ ตามพระนามของสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย ถิ่นกำเนิดของมหาพรหมราชินีอยู่บนสันเขาแคบๆ บริ เ วณยอดเขาสู ง ชั น เหนื อ ระดั บ น้ ำ ทะเล 1,100 ม.

ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเป็นพรรณไม้ ถิ่นเดียวที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น และยังจัด เป็น พรรณไม้หายากเนื่องจากจำนวนต้นในถิ่นกำเนิด น้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ ผู้ที่ค้นพบพรรณไม้ชนิดนี้คือ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น

ผู้ เ ชี่ ย วชาญพิ เ ศษ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทำการวิจัยและพัฒนา แล้วพบว่า มหาพรหมราชินี เป็นพรรณไม้ที่มหัศจรรย์ มากชนิ ด หนึ่ ง ที่ แ ม้ จ ะมี ถิ่ น กำเนิ ด อยู่ บ นเขาหิ น ปู น


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

67

ผลเป็นผลกลุ่ม

รูปทรงกระบอก

ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก 1-3 ดอกใกล้ ปลายยอด กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงกลีบสองชั้น เมื่อ ดอกบานเต็ ม ที่ มี เ ส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 10 ซม. ดอกดก ในระดับความสูง 1,100 ม. ที่มีอากาศหนาวเย็น มีต้นสูง ทยอยบาน แต่ละดอกบานอยู่ได้ 1-2 วัน ผล เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 5-8 ผล รูปทรงกระบอก 3-5 ม. แต่เมื่อนำเมล็ดมาเพาะในกรุงเทพฯ ที่มีอากาศ ร้อนจัด ก็สามารถปรับตัวได้โดยใช้เวลาปลูกเลี้ยง 3 ปี ยาว 5-8 ซม. มีเมล็ด 13-21 เมล็ด เมล็ด รูปคล้ายไข่หรือทรงกลม สีน้ำตาล ขนาด

มีความสูง 1.5 ม. ก็ออกดอกได้เกือบตลอดปี ปัจจุบัน ได้ พั ฒ นาให้ เ ป็ นไม้ ประดับกระถาง ซึ่งมีการปลูกกัน 5-8 มม. ทั่ ว ประเทศ ช่ ว ยให้ พ้ น สภาพจากการเป็ น พรรณไม้

กลีบดอกชั้นนอก หายากได้แล้ว สีขาว มหาพรหมราชิ นี เ มื่ อ ออกดอกจะบานพร้ อ มกั น

ทั้งต้น ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และแต่ละดอกบานอยู่ ได้ 1-2 วัน ช่วงเวลาดอกบานราวเดือนพฤษภาคม ต้นที่ ปลู ก จากต้ น กล้ า เพาะเมล็ ด จะมี ท รงพุ่ ม สวยงาม ออกดอกได้เต็มทรงพุ่ม ขณะที่ต้นที่ปลูกจากต้นทาบกิ่ง กลีบดอกชั้นในสีม่วง จะมี ท รงพุ่ ม แผ่ ก ระจายและออกดอกเฉพาะกิ่ ง ที่ อ ยู่

ด้านบนทรงพุ่ม การขยายพันธุ์ ลักษณะพรรณไม้ มีการนำผลแก่มาเพาะเมล็ดซึ่งงอกได้ดี ส่วนวิธีการ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 ม. เปลือกลำต้น สีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเทาอมขาวมีขนอ่อนปกคลุม แตกกิ่ง ขยายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดคือ การทาบกิ่ง เนื่องจากเป็น วิธีการที่รวดเร็ว สะดวก ประหยัด และสามารถกำหนดให้ น้อย ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูป ใบหอก กว้าง 4-9 กิ่งทาบมีความยาวได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ความสูง ซม. ยาว 11-19 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบ 30 ซม. จนถึง 150 ซม. โดยใช้ระยะเวลาทาบเพียง

เป็นมันทั้งสองด้าน ด้านล่างมีขน เส้นแขนงใบ 8-11 คู่ 1 เดือนครึ่งเท่านั้น มีอัตราการทาบติดได้สูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกบานสวยงาม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ซม.


68

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

รักใหญ่

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

ชื่ออื่น รัก ฮัก ฮักหลวง ซู้ มะเรียะ ฮักขี้หมู ฮักหมู

“งานรัก” เป็นงานช่างฝีมือขั้นสูงของไทยที่เป็น

มรดกสืบทอดทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องรัก ถือเป็นศิลปวัตถุอนั ทรงคุณค่า ซึง่ ในสมัยโบราณจะนำมาใช้ เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ เท่านั้น เช่น การลงรักปิดทองพระพุทธรูป ตู้พระธรรม หรือเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์และเครื่องใช้

ในราชสำนัก และส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในงานรักก็คือ “ยางรัก” ที่ได้จากต้น “รักใหญ่” ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวน

ลดน้อยลงอย่างมากจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ด้วยคุณสมบัติพิเศษของน้ำยางรัก ซึ่งมีสีดำเป็น

มันเลื่อม เมื่อแห้งสนิทแล้วสามารถยึดติดได้ดี และกัน

การรั่วซึมของน้ำได้ ทำให้ช่างฝีมือของไทยนำน้ำยางรักมา

ใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งในงานลงรักปิดทอง การเขียน

ลายรดน้ำ งานประกอบเครื่องมุก และเครื่องเขิน โดย เฉพาะเครื่องเขินของชาวเชียงใหม่ที่มีความโดดเด่น สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การที่เครื่องเขินแต่ละ

ชิ้นมีความคงทนสวยงาม ก็ด้วยอาศัยข้อดีของน้ำยางรัก ที่ติดแน่นทนทานนี่เอง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

69 กลีบเลี้ยงและ กลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ

ส่วนงานประกอบเครื่องมุกอย่างทัพพีมุก ธรรมาสน์

ลงมุก หน้าต่างพระอุโบสถ วิหาร พระแท่นที่ประทับแห่ง องค์พระมหากษัตริย์ก็อาศัยคุณสมบัติพิเศษที่เหนียวแน่น ของยางรักในการประกอบมุก จนกลายเป็นงานประณีตศิลป์ อันทรงคุณค่าของไทยที่ทั่วโลกต่างให้การยกย่อง คุ ณ สมบั ติ ท างด้ า นสมุ นไพรพื้ น บ้ า น เปลื อ กใช้ เข้ายาบำรุงกำลัง ต้มเป็นยารักษาโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร รักษาโรคเกลื้อน และโรคปวดข้อเรื้อรัง เปลือก ราก ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ยาง เป็นยาถ่ายอย่างแรง และกัดเนื้อสด นอกจากนี้ เนื้อไม้ยังใช้ทำส่วนประกอบ

ของบ้ า นเรื อ น เสา เครื่ อ งเรื อ น และด้ า มเครื่ อ งมื อ ทางการเกษตร รักใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดกลาง พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ปัจจุบัน

มีจำนวนลดลงอย่างมาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการ ศึกษายางรักใหญ่เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้เพื่อ สืบสานงานช่างฝีมือแขนงนี้ ให้ดำรงอยู่สืบไป อันจะเป็น

การช่วยให้รักใหญ่ไม่สูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินไทยของเรา ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลาง สูง 12-25 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลหรือดำปนเทา แตกเป็น ร่อง หลุดลอกเป็นแผ่นบางๆ มียางสีดำซึมตามรอยแตก

ผลกลม เปลือกแข็ง

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มอยู่ตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ มน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-12 ซม. ยาว 16-36 ซม. ด้ า นบนใบมี ข นสี น้ ำ ตาลปนประปราย

ด้านล่างมีขนหนาแน่น แต่จะหลุดร่วงไปเกือบหมดเมื่อ ใบแก่เต็มที่ เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ ปลายกิ่ง มีขนหนาแน่น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ด้านนอกของกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนสีน้ำตาล ปนเทา ผล เป็นผลกลม แข็ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.5 ซม. มีปีกสีแดง หรือม่วงแดงรูปขอบขนาน 5 ปีก ยาว 5-10 ซม. เมล็ด เป็นเมล็ดกลม เสื่อมความงอกเร็ว รั กใหญ่ อ อกดอกเดื อ นพฤศจิ ก ายนถึ ง ธั น วาคม และมีผลแก่ในเดือนมีนาคม การขยายพันธุ์ ขยายพั น ธุ์ โ ดยเมล็ ด ต้ น รั ก ใหญ่ ใ นธรรมชาติ

ถูกทำลายและมีจำนวนลดน้อยลงโดยลำดับ จึงควรเร่ง การเพาะขยายพั น ธุ์ เพื่ อ ปลู กในพื้ น ที่ เ หมาะสมให้ มี จำนวนต้นมากขึ้นสำหรับการอนุรักษ์ ไว้ ใช้ประโยชน์ ใน อนาคต


70

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

รัง Shorea siamensis Miq.

ชื่ออื่น เปา เปาดอกแดง เรียง เรียงพนม ลักป้าว แลบอง เหล้ท้อ

เหล่บอง ฮัง

แต่ เ ดิ ม นั้ น พุ ท ธศาสนิ ก ชนส่ ว นใหญ่ มั ก มี ค วาม เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับต้นรังว่าเป็นพรรณไม้ชนิด เดียวกับต้นสาละอินเดีย (Shorea robusta C.F.Gaertn) ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่เกี่ยวเนื่องกับการประสูติของ พระพุ ท ธเจ้ า หากแต่ ใ นความเป็ น จริ ง รั ง และสาละ อินเดียนั้นเป็น พรรณไม้ต่างชนิดกัน แม้จะมีรูปพรรณ สัณฐานที่คล้ายคลึงกันมาก เนื่องจากเป็นพรรณไม้ ใน วงศ์และสกุลเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าพรรณไม้สองชนิดนี้ มีลักษณะที่แตกต่าง กันอย่างเห็นได้ชัด

รังเป็นพรรณไม้ในวงศ์ Dipterocarpaceae ที่มีการ กระจายพันธุ์เป็นไม้เด่นในป่าเต็งรัง และยังพบในป่า เบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วไป พบมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูผลัดใบ ใบของ ต้นรังจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม สวยงามไปทั้งราวป่า ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึง มีนาคม ส่วนเวลาติดผล เมื่อผลแก่ถูกแรงลมจะปลิว ว่อนหมุนคว้างก่อนร่อนลงบนผืนดินคล้ายเป็นพรมลูกรัง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

71

ผล เป็นผลแห้ง เปลือกแข็ง เมล็ดเดียว ทรงไข่ กว้าง 1 ซม. ยาว 1.5 ซม. ปลายแหลม ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก เมล็ด รูปรียาว 1 ซม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเก็บผลแก่ ของต้นรังได้ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน แล้วนำมาเพาะ รังเป็นไม้เนื้อแข็ง ทนทานต่อความแห้งแล้งและ เมล็ด ต้นกล้างอกได้ดีแต่เจริญเติบโตช้า ต้องบำรุงรักษา ไฟป่าได้ดี เนื้อไม้นำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างกว้างขวาง ต้นกล้าเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี จึงจะนำต้นกล้าไป ทั้งในงานก่อสร้าง ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนชันใช้ผสม ปลูกในแปลงได้ น้ำมัน ทาไม้และเรือ นอกจากนี้ รังยังถือเป็นไม้มงคล ชนิดหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกเป็นไม้ประจำบ้าน

จะมีแต่ความสงบร่มเย็น รังเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภทที่ระบายน้ำดี ผลแข็ง มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก ชอบแดดจัด และต้องการน้ำน้อย เหมาะที่จะปลูกใน พื้นที่กว้างขวางหรือตามรีสอร์ต เนื่องจากทรงพุ่มสวยงาม นอกจากจะทนแล้งได้ดีแล้ว ยังทนลมแรงได้ดีเป็นพิเศษ ลำต้น มีเปลือกหนา สีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก อีกด้วย เป็นสะเก็ดโตๆ ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นต้นผลัดใบขนาดกลางสูง 10-25 ม. เรือน ยอดกลมหรือรูปกรวยคว่ำ ลำต้นเปลาตรงหรือคดงอ เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก เป็นสะเก็ดโตๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 7-12 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบมน โคนใบหยัก เว้าเป็นรูปหัวใจ ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลิ่น หอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบดอกติดกันเป็น

รูปถ้วย กลีบดอกมี 5 กลีบ ยาวเป็น 6 เท่าของกลีบเลี้ยง เรียงจีบเวียนกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 ซม.


72

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ลำดวนดอย Mitrephora wangii Hu

ชื่ออื่น -

ลำดวนดอย เป็น พรรณไม้ที่เพิ่งมีการค้น พบใน ประเทศไทยเมื่อปี 2542 ที่วัดพระธาตุดอยตุง จังหวัด เชี ย งราย พรรณไม้ ช นิ ด นี้ จั ด อยู่ ใ นวงศ์ ก ระดั ง งา (Annonaceae) สกุลมหาพรหม (Mitrephora) เป็นไม้ต้น ขนาดกลางที่ มี ด อกสวยงาม กลี บ ดอกชั้ น นอกสี ข าว บานแยกจากกันเป็น 3 แฉก กลีบดอกชั้นในสีเขียวอ่อน ปลายกลีบชมพูระเรื่อ ประกบกันเป็นกระเช้า เมื่อดอก แก่ ใ กล้ โ รย กลี บ ชั้ น นอกเปลี่ ย นเป็ น สี เ หลื อ งเข้ ม ขึ้ น ส่วนกลีบดอกชั้นในเปลี่ยนเป็นชมพูอมม่วง ส่งกลิ่นหอม หวานคล้ายดอกลำดวน แต่ขึ้นอยู่บนดอยจึงเรียกกันว่า ลำดวนดอย

ลำดวนดอยมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่บนเขาสูง

ในจังหวัดเชียงรายที่ระดับความสูง 1,690 ม. ในต่าง ประเทศพบที่ประเทศจีนและลาว พรรณไม้ชนิดนี้นับ เป็นพรรณไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของไทย ในสภาพธรรมชาติมีอยู่เพียง 2 ต้น ขึ้นอยู่บนยอดดอย สูง 1,690 ม. ของจังหวัดเชียงราย ที่มีอากาศหนาว

เย็ น และมี ห มอกปกคลุ ม เกื อ บตลอดปี และไม่ มี ก าร ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ เนื่องจากใต้ต้นเป็นลานหิน ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้ ในอนาคต แต่ ในปัจจุบัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทำการวิจัยเพื่อขยายพันธุ์ลำดวนดอย พบว่าวิธีการ ทาบกิ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดี จนสามารถปลูกลำดวนดอยเป็น ไม้ ก ระถางได้ ส ำเร็ จ ทำให้ มี ก ารปลู ก เป็ น ไม้ ป ระดั บ

กันอย่างกว้างขวาง จนทำให้พ้นสภาพจากความเป็นไม้

หายากแล้ว


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

73

ผล เปลือกเรียบ สีเขียวเข้ม

ลำดวนดอยนับว่าเป็นพรรณไม้มหัศจรรย์ต้นหนึ่ง ในเมืองไทย กล่าวคือ แม้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่บนเทือกเขา สูงที่มีอากาศหนาวเย็น แต่เมื่อเก็บผลแก่มาเพาะเมล็ด ในกรุงเทพฯ ที่มีระดับความสูงเกือบเท่าระดับน้ำทะเล และมีอากาศร้อนจัด ปรากฏว่าเมล็ดลำดวนดอยงอก

ได้ดี เมื่อปลูกเลี้ยงต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดได้ 3 ปี ต้ น มี ค วามสู ง 1.5 ม. ออกดอกได้ ดี แ ละเมื่ อ ทาบกิ่ ง

โดยใช้มะป่วนเป็นต้นตอ สามารถทาบติดได้ถึง 100 เปอร์ เ ซ็ น ต์ เมื่ อ นำต้น ทาบกิ่งไปปลูกต่อในพื้น ที่อื่นๆ

ทั่วประเทศ พบว่าสามารถปรับตัวได้ดีและทยอยออกดอก

เกือบตลอดปี ลำดวนดอยที่ ป ลู ก จากต้ น กล้ า เพาะเมล็ ด จะมี

ทรงพุ่มสวยงาม มี ใบดกสีเขียวเข้มเป็นมันวาวออกดอก เต็มต้น จึงได้รับความนิยมนำมาใช้ในงานจัดภูมิทัศน์กัน อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. ลำต้น เปลาตรง แตกกิ่งน้อย โคนลำต้นมีพูพอนในระดับต่ำ เปลือกลำต้นเรียบ สีดำ เนื้อไม้แข็งและเหนียว มีกลิ่นฉุน

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรี ย วยาว

และมีติ่ง ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง เป็นมันทั้ง 2 ด้าน

ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออก 1-2 ดอก ออกตามกิ่ง ตรงข้ า มใบ เมื่ อ บานมี สี ข าวแล้ ว เปลี่ ย นเป็ น สี เ หลื อ ง และมีกลิ่น หอมแรงมากขึ้น กลีบดอกชั้น นอก 3 กลีบ บานกางออกจากกัน กลีบนอกชั้นในขอบกลีบประกบกัน เป็นรูปกระเช้า มีลายประสีแดงอ่อนอยู่ตรงกลางดอก ดอกทยอยบานตลอดทั้ ง ปี และบานเต็ ม ต้ น ในเดื อ น กุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ผล เป็นผลกลุ่ม ผลอ่อนเปลือกเรียบ สีเขียวเข้ม

เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว มี 9-12 เมล็ด เมล็ด กลมแบน สีน้ำตาลขนาด 4-7 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่งอ่อน หลังจากปลูกต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง จนตั้งตัวและเจริญเติบโตดีแล้ว สามารถทาบกิ่งจากต้น ดังกล่าวได้ การทาบกิ่งเป็นวิธีที่ ได้ผลดี เมื่อนำมาปลูก แล้วออกดอกได้เร็ว สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้


74

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

สะแล่งหอมไก๋ Rothmannia sootepensis (Craib) Bremek.

ชื่ออื่น -

กลีบดอกสีขาว

โคนกลีบดอก มีจุดสีม่วงแดง

สะแล่งหอมไก๋ เป็น พรรณไม้ ในตำนานของชาว ลำพูน กล่าวกันว่าในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็ จ มาที่ ด อนสะแล่ ง มเหสี ข องเจ้ า เมื อ งได้ น ำดอก

สะแล่งมาถวายเป็น พุทธบูชา พระบรมศาสดาทรงรับ ดอกไม้ นั้ น ไว้ พ ร้ อ มอนุ โ มทนา แล้ วได้ ต รั ส เป็ น พุ ท ธ ทำนายไว้ ว่ า “ต่ อไปในอนาคตกาล สถานที่ แ ห่ ง นี้

จักเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุของเรา และจะเจริญรุ่งเรือง สืบไปในกาลข้างหน้า”

เวลาผ่ า นมาถึ ง สมั ย พระนางจามเทวี แ ห่ ง แคว้ น

หริภุญไชย พระนางทรงมีศรัทธาประสาทะในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง สถานที่สำคัญต่างๆ ในเมืองล้านนาเพื่อเสาะหาสถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ส ำหรั บ ประดิ ษ ฐานพระบรมสารี ริ ก ธาตุ

ที่ทรงได้รับพระราชทานมาจากพระราชบิดาเจ้าเมือง ละโว้ กระทั่งได้เสด็จฯ ผ่านเมืองกุกกุฎไก่เอิก ในเขตของ จังหวัดลำพูน จึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ขบวนเสด็จพักแรม ที่ดอนสะแล่ง และตั้งผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ใกล้ๆ กับปากถ้ำ เพื่อให้ราษฎรได้สักการบูชา และต่อมา ได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ปากถ้ำ กลางดอนสะแล่งแห่งนั้น และทรงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ ครอบพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้ พระเจดีย์ดังกล่าวนี้คือ พระธาตุ ข ะอู บ คำ ที่ ป ระดิ ษ ฐานอยู่ ณ วั ด สะแล่ ง

ในปัจจุบัน


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

75

สะแล่ ง หอมไก๋ เ ป็ น พรรณไม้ ป่ า ที่ พ บได้ ต าม

ป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 300-900 ม. ทางภาคเหนือ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และภาคกลาง ดอกมี

สีขาวนวล กลีบดอกมีลักษณะปลายแหลมเหมือนหอก โบราณ แต่เดิมเรียกว่า ดอกสะแล่ง แต่ด้วยความที่ พรรณไม้ชนิดนี้มีกลิ่น หอมแรง กำจายไปได้ ไกลมาก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า สะแล่งหอมไก๋ ซึ่งหมายความว่า ดอกสะแล่งที่ส่งกลิ่นหอมไกล ปัจจุบันมีผู้พยายามนำไป ปลูกเป็นไม้ดอกหอม ไม้ประดับตามอาคารสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง สะแล่งหอมไก๋เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตช้ามาก ในช่วงที่ฤดูแล้งยาวนานจะออกดอกได้ดกเต็มต้น ส่ง กลิ่น หอมรวยรื่นแสนชื่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง พลบค่ำหรือช่วงเช้ามืด แต่น่าเสียดายที่พรรณไม้ชนิดนี้ ปลูกเลี้ยงยากมาก ต้นที่ปลูกเลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้น ที่ขุดล้อมมาปลูก จะค่อยๆ ตายไปในที่สุด ดังนั้น

ผู้ปลูกเลี้ยงควรปลูกต้นขนาดเล็กจากการเพาะเมล็ด และต้องอาศัยความวิริยะอุตสาหะอดทนรอเป็นเวลา หลายปี จึงจะได้ต้นใหญ่ที่ออกดอกได้อย่างสวยงาม

ผลกลมรี ยาว 3.5 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ปลายผล

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-6 ม. เปลือกลำต้น สีน้ำตาล แตกกิ่งจำนวนมาก ออกรอบต้นเป็นชั้นๆ กิ่ง ขนานกับพื้นดิน ทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีปลายแหลม ยาว 10-12 ซม. ผิวใบเป็นมันเรียบ สีเขียวเข้มทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อดอกสีขาวที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง 1-3 ดอก โคนกลี บ ดอกเป็ น หลอด ปลายแยกเป็ น

5 กลีบ ขอบกลีบเป็นคลื่น โคนกลีบดอกด้านในมีจุด

สีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม. ผล รู ป กลมรี ยาว 3-5 ซม. มี ก ลี บ เลี้ ย งติ ด อยู่ ปลายผล เมล็ด รูปกลมรี สีดำยาว 3-4 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด โดยเก็บผลแก่ที่อยู่ บนต้นมาเพาะเมล็ด ซึ่งจะให้เปอร์เซ็นต์การงอกดีกว่า ผลแก่ที่ร่วงอยู่ที่โคนต้น ส่วนการทาบกิ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ได้ผล โดยใช้หมักม่อซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในสกุลเดียวกันมา เป็นต้นตอ


76

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

สารภีดอย Anneslea fragrans Wall.

ชื่ออื่น แก้มอ้น คำโซ่ ตองหนัง ตีนจำ ทำซุง บานมา พระราม โมงนั่ง ต้ำจึง ฮาฮอย ทึกลอ ทึลา ปันม้า ส้านแดง ส้านแดงใหญ่ สารภี

สารภีควาย สารภีหนู สุน ฮัก

สารภีดอย เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Theaceae มีเขต การกระจายพั น ธุ์ ตั้ ง แต่ อิ น เดี ย ถึ ง เอเชี ย ตะวั น ออก-

เฉี ย งใต้ ส่ ว นในประเทศไทย จะพบตามป่ า ดิ บ แล้ ง

ป่ า เบญจพรรณ และป่ า ดิ บ เขาที่ ร ะดั บ ความสู ง

850-1,700 ม. โดยเฉพาะทางภาคเหนื อ บนดอยสู ง

เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะ พบตามภู สู ง ที่ มี อ ากาศหนาวเย็ น เช่ น ภู ห ลวง ภู เ รื อ ภูกระดึง ในจังหวัดเลย

ดอกของสารภีดอยมีลักษณะเด่นคือ จะส่งกลิ่น หอมอ่อนๆ ในเวลากลางวัน แต่กลิ่น หอมดังกล่าวจะ แรงขึ้ น ในช่ ว งเวลากลางคื น ดั ง นั้ น ใครที่ จ ะไปชื่ น ชม ดมดอมพรรณไม้ชนิดนี้ก็ต้องเลือกไปให้ถูกช่วงเวลา และที่ ส ำคั ญ คื อไปให้ ต รงกั บ ช่ ว งฤดู อ อกดอกด้ ว ย เนื่ อ งจากพรรณไม้ ช นิ ด นี้ จ ะมี ฤ ดู อ อกดอกอยู่ ใ นช่ ว ง ปลายฤดูหนาว คือระหว่างเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

77

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 10-20 ม. เปลือกลำต้น ตะปุ่มตะป่ำ เปลือกแตกเป็นร่องเล็กๆ หรือแตกล่อน เป็นสะเก็ดแข็ง มีกลิ่นฉุน ทรงพุ่มโปร่งกลม ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงดอกหนา มี 5 กลีบ สีเหลืองแกมชมพู ใบ ใบเดี่ ย ว เรี ย งเวี ย นสลั บ แผ่ น ใบหนาคล้ า ย แผ่นหนัง เขียวเข้มเป็นมัน เส้นกลางใบเด่นชัดทั้งด้าน บนและด้านล่าง ผิวเกลี้ยงรูปหอก แกมขอบขนานกว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอก ดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 3-5 ซม. กลีบเลี้ยง เนื้อไม้ของต้นสารภีดอยเหมาะสำหรับนำมาใช้ ดอกหนา มี 5 กลีบ สีเหลืองแกมชมพู โคนเชื่อมติดกัน ทำเครื่องเรือนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีเนื้อไม้ละเอียด ปลายโค้งงุ้มเข้าหากัน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวครีม แน่นเหนียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นที่ขึ้นอยู่บนดอยสูงที่มี อยู่รวมกันเป็นก้อนกลม ปลายแหลมขนาด 1.5-2 ซม. อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว และมีความแห้งแล้งในช่วง กลางวันดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และจะหอมแรงขึ้นในช่วง ฤดูร้อนเป็นระยะเวลายาวนาน จะเจริญเติบโตช้ามาก เวลากลางคืน ฤดูออกดอกอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ผล รู ป กลมรี ผิ ว เรี ย บ ขนาดเส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง

เนื้อไม้มีวงปีที่เด่นชัด สวยงาม เคยมีผู้นำไปแกะสลัก หรือกลึงเป็นเครื่องเรือนเครื่องประดับบ้านที่เห็นแล้ว 2 ซม. ผลอ่ อ นสี เ ขี ย ว มี ก ลี บ เลี้ ย งติ ด อยู่ ที่ ป ลายผล

ต้องยอมรับว่ามีคุณค่าสูงมาก แต่ ในขณะเดียวกันก็อด จนกระทั่งถึงระยะผลแก่ เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน กลมรี ขนาด 1 ซม. จะเสียดายและหดหู่ ใจเป็นอย่างมากเมื่อเห็นผู้คนที่มา อยู่บนดอยสูงตัดต้นสารภีดอยแล้วเผาทิ้งเพื่อเอาผืนดิน มาปลูกข้าวไร่หรือปลูกผักแบบไร่เลื่อนลอย ในช่วงเวลา การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ใช้เวลาในการเพาะมากกว่า

สั้นๆ พิจารณาแล้วช่างเป็นความสูญเสียของสิ่งหนึ่งแล้ว ทดแทนด้ ว ยอี ก สิ่ ง หนึ่ ง แบบไม่ คุ้ ม ค่ า เลยที เ ดี ย ว 2 เดือนจึงเริ่มงอก ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ค่อนข้างช้ามาก นอกจากนี้ ส่ ว นต้ น ยั ง สามารถนำมาผสมสมุ น ไพร จำพวกประดง รวม 9 ชนิด ต้มน้ำดื่มรักษาโรคประดง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งได้อีกด้วย ใครที่ มี โ อกาสชื่ น ชมและดมกลิ่ น หอมอ่ อ นๆ

ของสารภีดอย อาจมีความคิดที่จะนำพรรณไม้ชนิดนี้ ไป เพาะเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งการปลูกเลี้ยงพรรณไม้ชนิดนี้

ก็ต้องอาศัยดินที่แห้ง และอากาศที่เย็น สารภีดอยจึงจะ สามารถออกดอกได้ ดี และมี ก ลี บ ดอกที่ ห นา ปั จ จุ บั น สารภีดอยเริ่มเป็นพรรณไม้ที่หายาก จึงควรมีการอนุรักษ์ ด้วยการขยายพันธุ์และนำไปปลูกให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น


78

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

เสี้ยวดอกขาว Bauhinia variegata L.

ชื่ออื่น นางอั้ว เปียงพะโก โพะเพ่

“ร้อยพันคำ แฝงฝัน อยู่ในความเงียบ บนหน้าผา ผาสูงชัน ใต้แสงตะวัน มีเงาตะวัน ความฝันของเธอ เหมือนใจของเธอ อยากเห็นดอกเสี้ยวขาว ขาว ขาว ขาว บนไหล่ดอย ไหล่ดอย ดอย ดอยเชียงดาว” สุ วิ ช านนท์ รั ต นภิ ม ล แต่ ง เพลงนี้ ไ ว้ ใ นอั ล บั้ ม “เพลงรั ก เชี ย งดาว” เพื่ อ ชื่ น ชมความงดงามของ

เสี้ ย วดอกขาว ที่ อ อกดอกพราวไปทั่ ว ทั้ ง ราวป่ า

โดยเฉพาะบนไหล่ ท างของดอยหลวงเชี ย งดาวที่

เสี้ ย วดอกขาวพากั น สะพรั่ ง บานรั บ ลมหนาว ทั ก ทาย

ผู้ ม าเยื อ นให้ เ คลิ บ เคลิ้ ม ไปกั บ ความมหั ศ จรรย์ ข อง ธรรมชาติ

เสี้ยวดอกขาวเป็น พรรณไม้ที่ชาวเหนือรู้จักกันดี โดยเฉพาะชาวจั ง หวั ด ตาก ซึ่ ง มี เ สี้ ย วดอกขาวเป็ น

พรรณไม้ประจำจังหวัด ใบอ่อนของเสี้ยวดอกขาวกิน เป็ น ผั ก สดหรื อ ลวก หรื อใส่ ต้ ม ปลาเนื้ อ อ่ อ นทำเป็ น ต้มส้มได้ ส่วนใบนำมาขยี้รักษาแผลที่เรื้อรังจนเน่าเปื่อย ให้ ห ายได้ ใบแก่ ต้ ม น้ ำ อาบแก้ ผื่ น คั น ตามตั วได้ ผ ลดี เปลือกมีรสฝาด ใช้แก้ ไอ แก้บิด และห้ามเลือด และ

ยังนำมาย้อมแหอวนให้คงทนแข็งแรง


พรรณไม้ ภ าคเหนื อ

79

เสี้ยวดอกขาวเป็นพรรณไม้ในวงศ์ถั่ว (Leguminosea) สกุ ล อรพิ ม (Bauhinia) มี ก ารกระจายพั น ธุ์ อ ยู่ ใ น ประเทศอินเดีย พม่า ลาว และเวียดนาม ในประเทศไทย พบตามป่าเบญจพรรณ และป่าหิน ปูน ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 500800 ม. ตามปกติ จ ะทยอยออกดอกตลอดปี แต่ จ ะ ออกดอกพร้อมกันทั้งต้นในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ดอกเสี้ยวเมื่อบานใหม่ๆ จะมีสีชมพูอ่อน แต่พอดอกแก่ ใกล้โรยจะกลายเป็นสีขาว ในช่วงที่ดอกเสี้ยวบานเต็มต้น จะเป็นช่วงฤดูหนาว ที่มีอากาศแห้ง ท้องฟ้าสีครามสดใสไร้เมฆหมอกตัดกับ ดอกเสี้ยวที่มีสีขาวบริสุทธิ์งามเด่นสะดุดตา ยิ่งในยามที่ ลมหนาวพัดมา ดอกเสี้ยวจะปลิดปลิวลอยคว้างไปตาม ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบสูงได้ถึง 15 ม. เรือนยอด กระแสลม เป็ น ภาพที่ น่ า ประทั บ ใจอย่ า งยิ่ ง จั ง หวั ด เชียงรายจึงได้จัดให้มีงานวันเสี้ยวบานขึ้นบนยอดดอย กลม กิ่งก้านไม่สม่ำเสมอ กิ่งและยอดอ่อนมีขนปกคลุม หลายๆ แห่ง ซึ่งในแต่ละแห่งมีต้นเสี้ยวออกดอกบาน เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาอ่อนถึงดำ มีรอยแตกหยาบๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบ สะพรั่งและส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วขุนเขา แฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ดอก ออกเป็ น ช่ อ ที่ ซ อกใบและปลายกิ่ ง 6-10 ดอก ดอกมีสีขาวหรือสีม่วงอ่อน กลีบดอกบอบบางมี

5 กลีบ รูปไข่กลับแยกจากกันชัดเจน เมื่อดอกบานเต็มที่ ดอกสีขาว กลีบดอก บอบบางมี 5 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-12 ซม. ผล เป็นฝักแบนยาว 15-20 ซม. เมื่อแก่จะแตก เป็นสองซีกดีดเมล็ดไปได้ไกล เมล็ ด เป็ น เมล็ ด กลมแบน มี 10-25 เมล็ ด

ขนาด 6-8 ซม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดที่เก็บจากต้น ขณะที่ ฝักเริ่มแก่ก่อนที่ฝักจะแตก


ความแห้งแล้งที่อยู่คู่ภาคอีสานมาเป็นนิจกลับไม่ได้ทำให้ป่า ในพื้นที่นี้ไร้ค่า แต่ดินแดนที่ราบสูงของเมืองไทย ทำหน้าที่เป็นที่พักพิงให้กับพรรณไม้ยืนต้นทรงคุณค่า นานับชนิดที่คนไทยควรหวงแหนไว้ให้อยู่คู่ท้องถิ่นสืบไป



82

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กระมอบ Gardenia obtusifolia Roxb. ex Kurz

ชื่ออื่น กระบอก ไข่เน่า คมขวาน พญาผ่าด้าม พุดนา คำมอกน้อย ฝรั่งโคก

หากท่ า นมี โ อกาสเข้ าไปเดิ น ชมธรรมชาติ ใ นป่ า

เต็ ง รั ง ช่ ว งเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง มี นาคม ทั่ ว ทั้ ง แนวป่ า จะ ครอบคลุมไปด้วยต้นไม้ที่มีกิ่งระเกะระกะปราศจากใบ มองดูคล้ายกับแนวป่าที่ขาดความชุ่มชื้น ไร้ซึ่งความมี ชีวิตชีวา เช่นเดียวกับ กระมอบ ที่พร้อมใจกันทิ้งใบหมด

แทบทั้งต้น หากแต่ ได้เบ่งบานดอกสีขาวโพลนเต็มทั่ว ทรงพุ่ม ส่งกลิ่น หอมหวาน ยังความสดชื่น มาสู่ผืน ป่า และถ้าได้มีโอกาสย้อนกลับไปหลังจากดอกบาน 2-3 วัน ก็จะพบว่ากลีบดอกที่เคยเบ่งบานได้หลุดร่วงพรูลงมา เต็มพื้น ขณะที่บนต้นก็จะผลิดอกใหม่ออกมาทดแทน คราใดที่ ท่ า นได้ มี โ อกาสเห็ น ภาพประทั บ ใจดั ง กล่ า ว

ครานั้นท่านคงไม่อยากที่จะย่างก้าวไปไหนอีกเลย เพราะ ท่านได้ยืนอยู่ ณ จุดที่สวยงามที่สุดของป่าเต็งรังแล้ว กระมอบเป็ น พรรณไม้ ใ นสกุ ล พุ ด มี เ ขตการ กระจายพันธุ์ ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก โดยจะพบทั่วไปตามป่า เต็ ง รั ง และป่ า เบญจพรรณที่ แ ห้ ง แล้ ง ส่ ว นในต่ า งประเทศพบที่พม่าและภูมิภาคอินโดจีน กระมอบเป็น พรรณไม้ ที่ ท นทานต่ อ ความแห้ ง แล้ ง มากที่ สุ ด ขณะ เดียวกันก็เป็น พรรณไม้ที่เจริญเติบโตช้าที่สุด ผู้ที่เคย ปลูกกระมอบโดยการเพาะเมล็ด คงจะทราบเป็นอย่างดี ว่ า กว่ า ต้ น กระมอบจะมี ค วามสู ง ถึ ง 3 ม. ต้ อ งใช้

เวลาในการดูแลเอาใจใส่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ด้ ว ยความที่ ก ระมอบเป็ น พรรณไม้ ที่ ใ ช้ ร ะยะ

เวลาในการเจริญเติบโตค่อนข้างนาน จึงมักมีผู้ลักลอบ เข้ าไปขุ ด ล้ อ มต้ น จากพื้ น ที่ อ นุ รั ก ษ์ ทำให้ จ ำนวนต้ น กระมอบในถิ่นธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว วิธี การอนุรักษ์ที่ถูกต้องจึงควรสนับสนุนให้เกษตรกรปลูก ต้ น กระมอบมากขึ้ น ด้ ว ยระยะปลู ก 3x4 ม. แล้ ว

หมั่นบำรุงรักษาจนกระทั่งต้นกระมอบมีทรงพุ่มสวยงาม และออกดอกได้ เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่บรรดานักจัด สวนที่มาซื้อต้นกระมอบจากเกษตรกรไปจัดสวนให้แก่ บรรดาเจ้าของบ้านที่นิยมปลูกสวนไม้ ไทยหายาก ถือ เป็นการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันก็ เป็นการอนุรักษ์ต้นแม่พันธุ์ที่อยู่ในป่า ช่วยให้ต้นแม่พันธุ์ เหล่านั้นได้ออกดอกติดผลและกระจายพันธุ์ต่อไป ดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมหวาน

83 ผลสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนบนของผลมีหลอด กลีบเลี้ยงสั้นๆ ติดอยู่

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น ผลัดใบขณะออกดอก สูง

2-8 ม. ลำต้นแคระแกร็น กิ่งก้านคดงอ เรือนยอดเป็น พุ่มกลม เปลือกสีเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาว เนื้อไม้สีขาว ยอดอ่อนผิวมัน มีชันสีเขียวอมเหลือง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากเป็นกลุ่ม

ตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ มี 2-4 คู่ กว้าง 3-7 ซม. ยาว

6-13 ซม. ปลายมนกว้าง โคนสอบมน เว้าเล็กน้อยตรง รอยต่อก้านใบ ขอบเรียบ ก้านใบสั้นมาก หูใบระหว่าง ก้ า นใบติ ด กั น เป็ น หลอดสั้ น ๆ ใบอ่ อ นมี ค ราบของชั น เหนียวติดกันตามผิวใบจนเป็นมัน ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง สีขาวแล้วเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่น หอมหวาน เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. กลีบดอกตูมบิดเวียน โคนกลีบ ดอกติดกันเป็นหลอดคล้ายรูปแจกัน ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนานปลายมน ยาว 2-3 ซม. ผล ผลมีเนื้อ รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. ผนั ง หนา สี น้ ำ ตาลอมเขี ย ว ส่ ว นบนของผลมี ห ลอด

กลีบเลี้ยงสั้นๆ ติดอยู่ เมล็ด กลมรี ค่อนข้างแบน ยาว 3-5 มม. การขยายพันธุ์ ใช้วิธีการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง


84

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ก่ วมแดง Acer calcaratum Gagnep.

ชื่ออื่น ไฟเดือนห้า

ด้วยใบรูปพัดสีแดงเจิดจ้าเต็มต้นในช่วงฤดูหนาว ของบ้ า นเรา หลายคนจึ ง ขนานนามให้ ก่ ว มแดง ว่ า เป็นต้น “เมเปิลเมืองไทย” และ “เมเปิลแดง” ไปอย่าง ไม่มีผู้ ใดคัดค้าน แต่ต่างกับใบเมเปิลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของประเทศแคนาดาตรงที่ ข องแคนาดามี ใ บห้ า แฉก ส่ ว นก่ ว มแดงนั้ น ใบเป็ น สามแฉก ซึ่ ง ใบสี แ ดงเพลิ ง ที่ เปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีเหลืองและท้ายสุดจะเปลี่ยน เป็นสีแดง ก่อนร่วงหล่นผลัดใบเกลื่อนกล่นทั่วบริเวณป่า ทำให้ก่วมแดงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “ไฟเดือนห้า” และ “มะเยาดง” อีกด้วย

ก่วมแดงจัดเป็นไม้ต้นอยู่ ในสกุลเดียวกับเมเปิล

ในวงศ์ Aceraceae ซึ่ ง ชื่ อ สกุ ล Acer มาจากภาษา ละติน หมายถึงแหลมหรือแข็ง ซึ่งในสมัยก่อนไม้ ใน สกุ ล นี้ ใ ช้ ท ำแผ่ น กระดานสำหรั บ เขี ย นหนั ง สื อ และ เพราะคุณสมบัติความแข็งแรงทนทานนี่เอง จึงยังเป็นที่ นิ ย มในการนำมาทำอุ ป กรณ์ ส ำหรั บ เล่ น กี ฬ าที่ ต้ อ ง ทนทานต่อแรงกระแทกอยู่เสมออย่างโบว์ลิ่ง โดยมักจะ นำไม้มากลึงเป็นพินโบว์ลิ่งและไม้ปูพื้นเลนโบว์ลิ่ง และ ยั ง มี ผู้ น ำไม้ ส กุ ล นี้ ม าทำเป็ น ไม้ คิ ว สนุ ก เกอร์ ไม้ ตี เบสบอลและเขียงหั่นเนื้ออีกจำนวนไม่น้อยด้วย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

85

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15-25 ม. เปลือกสีเทา ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กน้อย ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว และมีน้ำเลี้ยงใสรสหวานกระจายอยู่ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปพัด กว้าง 6-21 ซม. ยาว 6-15 ซม. โคนมนกว้ า งหรื อ เว้ า เล็ ก น้ อ ย

แผ่ น ใบครึ่ ง บนแยกเป็ น 3 แฉกลึ ก ลงมาประมาณ กึ่งกลางใบ แฉกของใบเป็นรูป ใบหอกแกมรูป ไข่หรือ

รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ใบแก่สีเขียว ดอก เป็ น ช่ อ ออกที่ ป ลายกิ่ ง ยาว 2-3.5 ซม. แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกสีขาวอมชมพู เมื่อบาน เต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูป ไข่กลับหรือรูปพัด กว้างและยาว นอกจากความแข็งที่ขึ้นชื่อลือชาแล้ว ไม้สกุลนี้ยัง 3-4 มม. มีอีกคุณสมบัติที่รู้จักกันดีว่าให้เสียงกังวานไพเราะ จึง ผล รูป ไข่ ยาว 0.8-1.3 ซม. มีปีกแบน ช่อละ

นิ ย มนำมาทำเป็น เครื่องดนตรี ไ ม่แพ้ ไ ม้ที่มีคลื่นเสียง 1-3 ผล เสนาะหูประเภทอื่นๆ เลย หากอยากที่จะสัมผัสความ เมล็ด กลมรี ยาว 4-6 มม. งามของก่ ว มแดงแบบเต็ ม ตา ควรมุ่ ง หน้ า ขึ้ นไปทาง

ภาคเหนือในฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด โดยเฉพาะที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ น่ า น (ดอยภู ค า) และ

ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ที่ จั ง หวั ด เลย (ภู ก ระดึ ง

ภู ห ลวง) โดยเฉพาะในบริ เ วณป่ า ดิ บ หรื อ ป่ า ปิ ด ซึ่ ง มี น้ ำ ตกหรื อ ริ ม ลำธารที่มีความชื้นสูงบนภูเขา ที่ระดับ ความสู ง 1,300-1,600 ม. ความร้อนแรงจากสีแดง

ของใบก่ ว มแดงที่ ก ระจายคลุ ม น้ ำ ตกขุ น พอง บน

อุทยานแห่งชาติภูกระดึงในช่วงต้นฤดูหนาว กระชาก อารมณ์ ข องนั ก ทั ศ นาจรให้ พุ่ ง สู ง ขึ้ น สุ ด ขั้ ว แต่ แ ล้ ว อารมณ์ก็ค่อยๆ ลดวูบต่ำลงตามความเย็นของกระแส น้ ำ ตกที่ ไ หลริ น ลงสู่ แ อ่ ง น้ ำ ใสปานกระจก รองรั บ อยู่ เบื้องล่าง ก่วมแดงยังสามารถพบได้อีกในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่าและเวียดนามเช่นกัน


86

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

กั นเกรา Frgraea fragrans Roxb.

ชื่ออื่น ตำเสา ทำเสา มันปลา ปันปลา กันเตรา ตาเตรา ทำมะซู่ ตำมูซู

กันเกรา เป็นพรรณไม้ที่นอกจากจะมี “รูป” งาม อันหมายถึงลักษณะลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกลม แหลมคล้ายเจดีย์ และดอกมีกลิ่นหอมรวยรื่นตลอดทั้ง วัน หากยังเป็น พรรณไม้ที่ “นาม” มีความหมายเป็น มงคล ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 9 ไม้มงคลที่ ใช้ ในพิธีวางศิลา ฤกษ์ มีความหมายว่า จะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย ชาวอีสานเรียกกันเกราว่า มัน ปลา เหตุที่เรียก

เช่ น นี้ เ พราะมั น ปลาเป็ น ไม้ เ นื้ อ แข็ ง และเหนี ย ว มี สี เหลื อ งปนมั น คล้ า ยไม้ สั ก มี น้ ำ มั น หล่ อ เลี้ ย ง เนื้ อไม้ คล้ายทาด้วยน้ำมันจากปลา ชาวบ้านนิยมนำไม้มันปลา มาทำเสารั้ว เสาเรือน เสาโรงนา หรือการก่อสร้างที่ ต้องตากแดด ตากฝน หรือฝังลงดิน เพราะไม้มันปลามี น้ำมันหล่อเลี้ยง ปลวกจึงเจาะไม่เข้าและไม่ผุ นอกจาก นี้ชาวอีสานยังถือว่ามันปลาเป็นไม้มงคล จึงนิยมนำมา แกะพระพุทธรูปไม้และทำเครื่องรางของขลังอื่นๆ รวม ทั้งก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันยังมีผู้นิยมนำไม้ มันปลาไปแกะสลักพระเครื่องไม้อีกด้วย ส่วนในภาคใต้ จะเรียกกันเกราว่าตำเสาหรือทำเสา เนื่องจากนิยมนำ ลำต้นมาใช้ทำเสาบ้าน กันเกราหรือมัน ปลายังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร โดยแก่นกันเกราจะมีรสเฝื่อน ฝาด ขม ใช้เข้ายาบำรุง ธาตุ แก้ ไข้จับสั่น แก้หืด ไอ ริดสีดวง ท้องมาน แน่น หน้าอก แก้พิษฝีกาฬ บำรุงม้าม แก้เลือดแก้ลมต่างๆ และเป็นยาอายุวัฒนะ เปลือกใช้เข้ายาบำรุงโลหิต แก้ ผิวหนังพุพองปวดแสบปวดร้อน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

87

กันเกราเป็นพรรณไม้ ในวงศ์ Gentianaceae มี เขตการกระจายพันธุ์ ในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ ต่ำที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ พบทั่วทุกภาคของประเทศ พรรณไม้ ชนิ ด นี้ อ อกดอกในช่ ว งปลายฤดู ร้ อ นต้ น ฤดู ฝ น ราว

เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ในช่วงเวลานี้พื้นที่ที่มีกันเกรา ขึ้นอยู่มากจะส่งกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่ว ดึงดูดให้หมู่ แมลงและผึ้งพากันมาดูดกินน้ำหวานและผสมเกสรให้ กันเกราได้ขยายพันธุ์ต่อไป ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 15-25 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกหยาบ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลืองอ่อน เรือนยอดรูปกลมแหลมหรือรูปเจดีย์ ใบ ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ รูปรีแกมรูปหอก กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 8-11 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เป็นแผ่นหนัง ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็ น ช่ อ ตามง่ า มใบและปลายกิ่ ง รู ป แจกันทรงสูง เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 ซม. โคน กลีบเชื่อมติดกันเป็นกลีบ ดอกเมื่อแรกบานมีสีขาวแล้ว ผล กลม มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองแก่เมื่อดอก 6 มม. มีติ่งแหลมสั้นๆ ติดอยู่ตรงส่วนบนสุดของผล ใกล้โรย ผลแก่จัดมีสีเหลืองจนถึงสีแดงเลือดนก เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน มีหลายเมล็ด ขนาด 2-3 มม. ดอกออกเป็นช่อ รูปแจกันทรงสูง

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


88

กั ลปพฤกษ์ Cassia bakeriana Craib

ชื่ออื่น ชัยพฤกษ์

กั ล ปพฤกษ์ ไม้ ด อกสี ข าวแกมชมพู แ สนงดงาม นามมงคลเสนาะหูนี้ ในแต่ละถิ่นก็มีชื่อเรียกต่างกันไป เช่ น กานล์ ในภาษาเขมรและแถบจั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ ชัยพฤกษ์ในแถบภาคเหนือ และเปลือกขมในแถบจังหวัด ปราจีนบุรี ด้วยความที่ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ดอกดก สี สั น สวยงาม เพาะเมล็ ด เป็ น ต้ น กล้ า ได้ ง่ า ย ทำให้

กัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นพรรณไม้ป่าของไทย ที่เปลี่ยนสภาพ

มาเป็นไม้ปลูกประดับข้างทางหลวง ยืนต้นเด่นสวยงาม

อยู่เป็นระยะๆ และหากเดินทางผ่านป่าเบญจพรรณใน

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ช่ ว งเดื อ นมกราคมถึ ง มี นาคม จะเห็ น ต้ น กั ล ปพฤกษ์ ออกดอกสล้างไปทั้งต้น แซมกับพรรณไม้หลากชนิด

ดูสวยงามแปลกตา ตามคติ โ บราณต้ น กั ล ปพฤกษ์ ถื อ ว่ า เป็ น ต้ น ไม้ สารพัดนึก เช่นเดียวกับต้นปาริชาติ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ ในแดนสวรรค์ ไม่ ว่ า ชาวสวรรค์ จ ะปรารถนาสิ่ ง ใดก็ สามารถนึ ก ขอเอาได้ ทุ ก สิ่ ง ในงานพิ ธี ห ลวงในสมั ย โบราณ เช่น ในงานพระราชทานเพลิงศพ ได้มีความ นิ ย มจำลองต้ น กั ล ปพฤกษ์ ขึ้ น โดยผู ก โครงไม้ เ ป็ น

ทรงพุ่ ม ข้ า วบิ ณ ฑ์ เ ป็ น ชั้ น ๆ แต่ ล ะชั้ น เสี ย บผลมะนาว

ผลส้มและมะกรูดที่เจาะรูไว้สำหรับใส่เงิน ปลีก สำหรับ

การทิ้งทานให้คนยากจน โดยเมื่อถึงเวลาเจ้าพนักงานจะ


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ดอกสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว

เหวี่ยงไม้ที่เสียบผลไม้เหล่านั้นให้ปลิวไปตกห่างๆ และ ผู้คนก็เข้ามากลุ้มรุมชิงลูกส้มกัน ต่อมาประเพณีตั้งต้น กัลปพฤกษ์จำลองตามงานศพได้เสื่อมความนิยมลงใน ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เริ่มกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขในงาน รื่นเริงต่างๆ เช่นในเทศกาลปี ใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นนำ สลากของขวัญไปติดไว้บนต้นกัลปพฤกษ์จำลอง แล้วให้ ผู้ที่มาร่วมงานไปสอยมาจับของขวัญกันเป็นที่สนุกสนาน กั ล ปพฤกษ์ จั ด เป็ น ไม้ ใ นวงศ์ Leguminosae

มีเขตการกระจายพันธุ์ ในป่าเบญจพรรณแล้งทางภาค เหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก บางครั้งพบขึ้นอยู่บนภูเขาหินปูนบนพื้นที่สูงจากระดับ

น้ำทะเล 300-1,000 ม. นิยมปลูกในที่โล่ง จะทิ้งใบแล้ว ผลิดอกเต็มต้น และทยอยบานใน 3-4 สัปดาห์ รูปทรง สวยและให้ดอกสวยงามแต่ใช้เวลาในการปลูกนานจึงจะ มีดอก ทนแล้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นเนื้อในฝักยังมี สรรพคุ ณ เป็ น ยาระบาย เปลื อ กฝั ก และเมล็ ด ทำให้ อาเจียนและช่วยลดไข้ได้อีกด้วย

89

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 5-15 ม. เปลือกเรียบสีเทา เรือนยอดทรงกลม หรือรูปร่ม แผ่กว้าง แตกกิ่งในระดับต่ำ มีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมาก ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยาว 15-40 ซม. ใบย่ อ ย 5-8 คู่ กว้ า ง 1.5-3.5 ซม. ยาว 6-9 ซม. ปลายใบมน หรือมีติ่งสั้น โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบ ด้านบนและด้านล่างมีขน ดอก สี ช มพู แ ล้ ว เปลี่ ย นเป็ น สี ข าว ออกเป็ น ช่ อ

ตามกิ่ ง ช่ อ ดอกยาว 4-8 ซม. กลี บ เลี้ ย ง 5 กลี บ

กลีบดอก 5 กลีบ รูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกบานเต็มที่ กว้าง 3-5 ซม. ผล เป็ น ฝั ก แห้ ง ทรงกระบอกแคบ สี น้ ำ ตาล กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 30-40 ซม. มีขนนุ่มสีเทาหนาแน่น ภายใน มีเมล็ด 30-40 เมล็ด เมล็ด สีน้ำตาลแดง กลมแบน ขนาด 5-8 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

90

จำปี ศรีเมืองไทย

ผลอ่อน

Magnolia thailandica Noot. & Chalermglin

ชื่ออื่น -

อาจเรียกได้ว่า จำปีศรีเมืองไทย คือดอกไม้แห่ง ความภาคภูมิใจของคนไทยก็ว่าได้ เพราะดอกไม้หอมที่ มีขนาดเล็กเพียง 2-2.5 ซม. และขึ้นเป็นต้น มีทรงพุ่ม สวยงามนี้ คื อ พรรณไม้ ว งศ์ จ ำปาชนิ ด ใหม่ ข องโลก

ที่ เ พิ่ ง มี ร ายงานการตั้ ง ชื่ อโดยผู้ เ ชี่ ย วชาญพิ เ ศษของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เมื่ อ ไม่ น านนี้ โดยได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย จาก

ความโชคดี ใ นการค้ น พบจำปี ศ รี เ มื อ งไทย

การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไม่ ได้มีอยู่เพียงที่เป็นไม้ดอกหอมชนิดใหม่ แต่ยังอยู่ที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความเป็นพรรณไม้หายากที่มีเขตการกระจายพันธุ์ตาม แหล่งใกล้น้ำและริมลำธารในป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น

ที่ระดับความสูง 900-1,300 ม. ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ และยังไม่มีรายงานว่าพบในประเทศอื่นแต่อย่างใด จึง คาดว่าน่าจะเป็นไม้เฉพาะถิ่น ที่สามารถพบได้เพียงใน พื้นที่ 4 จังหวัดของประเทศไทยเท่านั้น คือ เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ และกาญจนบุรี และด้วยความที่มีต้นแม่พันธุ์ ขนาดใหญ่ อ ยู่ เ พี ย งไม่ กี่ ต้ น จำปี ศ รี เ มื อ งไทยจึ ง เป็ น

พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในสภาพธรรมชาติมากที่สุด เพราะมีวิวัฒนาการต่ำที่สุด ในไม้วงศ์จำปา เนื่องจากยังมีการแยกเพศเป็นต้นเพศผู้ และเพศเมีย ถึ ง แม้ ว่ า ต้ น จำปี ศ รี เ มื อ งไทยจะขึ้ น อยู่ ใ นพื้ น ที่

ของอุทยานแห่งชาติหรือเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่ ไม่มี โอกาสถูกตัดฟัน หรือถูกไฟไหม้เพราะอยู่ติดลำธารใน เขตที่ ชื้ น มาก แต่ เ นื่ อ งจากมี ก ารขยายพั น ธุ์ ใ นสภาพ ธรรมชาติน้อยมาก มีดอกเพศเมียอยู่บนต้นเพศเมีย และมีดอกเพศผู้อยู่บนต้นเพศผู้ ผสมเกสรได้ยาก จึงมี โอกาสที่จะสูญพันธุ์ได้ในอนาคต


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. แตกกิ่งสูง

มีกิ่งเล็กจำนวนมาก ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดประ

สีขาว เนื้อไม้เหนียว เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว ใบ รู ป รี กว้ า ง 3.5-5 ซม. ยาว 10-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรู ป ลิ่ ม แผ่ น ใบเรี ย บ ด้ า นบน

สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีนวลสีขาวฉาบอยู่ เนื้อใบ ค่อนข้างบาง ใบรูปรียาว 10-13 ซม.

ดอกมีกลิ่นหอมแรง

91

ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ปลายยอด ดอกบานตั้งขึ้น สีขาว กลิ่นหอมแรง ดอกบานอยู่ ได้ 1-2 วัน ดอกตูม รูปไข่ปลายแหลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.6 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. มีกาบหุ้มดอกสีเขียวเคลือบขาว 1 แผ่น และ จะหลุดไปเมื่อดอกแรกแย้ม ดอกแยกเพศเป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย ออกดอกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ผล รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. มีผลย่อย 7-10 ผล เปลือกผลแข็งเชื่อมติดกัน ผลอ่อน มีสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล แตกออกเป็น พูตามแนวตั้ง คล้ายผลทุเรียน ผลย่อยแต่ละผลมีเมล็ดสีแดงเข้ม 1-2 เมล็ด เมล็ ด สี แ ดง รู ป กลมรี และค่ อ นข้ า งแบนยาว

10-12 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ดอกตูม


92

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

จำปี หนู Magnolia philippenensis P.Parm.

ชื่ออื่น -

จำปีหนู พรรณไม้วงศ์จำปาที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอด ของพรรณไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทย เพราะถึ ง ขณะนี้ ยั ง ไม่ ส ามารถขยายพั น ธุ์ จ ากต้ น ใน ธรรมชาติได้เลย เนื่องจากมีจำนวนต้นน้อยมาก อีกทั้ง ยังขึ้นอยู่ตามอุทยานแห่งชาติ จึงมีการอนุรักษ์ หวงห้าม มิให้นำพรรณไม้ออกไปนอกอุทยาน ทำให้ ไม่สามารถ นำมาขยายพันธุ์ ได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความประสงค์จะปลูก จำปีหนู หนทางที่ง่ายที่สุดคือต้องไปซื้อต้น ที่ปลูกขาย ตามเนอสเซอรี่หรือเรือนเพาะชำบางแห่งในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์

แ ม้ จ ำปี ห นู จ ะเป็ น พรรณไม้ ที่ ห าเก็ บ เมล็ ด หรื อ

ต้นกล้าได้ยากมาก แต่เนื่องจากมีทรงพุ่มที่กลมกะทัดรัด ดอกดก หอม และสวยงาม จึงมีความเหมาะสมที่จะนำ มาใช้เป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี โดยปกติ จ ำปี ห นู เ ป็ น พรรณไม้ ที่ จ ะออกดอก

บานเต็มต้นในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ส่วนใน เดือนอื่นๆ ก็จะทยอยออกดอกเรื่อยๆ แต่อาจจะไม่มาก นัก และมีเขตการกระจายพันธุ์ ในป่าดิบเขาทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 1,000-1,300 ม. ส่วนในต่างประเทศจะพบมากที่ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักเพาะพันธุ์จำปีหนูในต่างประเทศ เกี่ยวกับวิธีการปลูกจำปีหนูให้ ได้ผลดี ผู้ปลูก ควรขุ ด หลุ ม กว้ า งและลึ ก 50 ซม. ใส่ ปุ๋ ย คอกรอง

ก้น หลุมเพื่อช่วยให้ดิน มีความอุดมสมบูรณ์และอุ้มน้ำ

ได้ดี พร้อมทั้งใส่ยาป้องกันและกำจัดแมลงปีกแข็งและ ปลวก ซึ่งเป็นศัตรูร้ายกาจที่อยู่ในดิน หลังจากปลูกแล้ว ก็ควรปักหลักผูกมัดต้นให้ตั้งตรงเพื่อป้องกันลมพัดโยก และควรใช้ ฟ างหรื อ หญ้ า แห้ ง คลุ ม โคนต้ น เพื่ อ รั ก ษา ความชื้นในดิน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันวัชพืชไปในตัว ด้วย เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้ต้นจำปีหนูที่สวยงาม เป็นที่ ถูกอกถูกใจของบรรดาผู้นิยมปลูกพรรณไม้หายาก แต่ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะปลูกบนพื้นที่สูง และมีอากาศหนาว เย็น เนื่องจากจำปีหนูจะเจริญเติบโตได้ดี ในสถานที่ที่ เหมาะสมเท่านั้น


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ผลอ่อน

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8-12 ม. แตกกิ่งอยู่ ใน ระดับสูงจำนวนมาก เปลือกโคนต้นสีน้ำตาลปนดำ มี กลิ่นฉุนเฉพาะตัว เปลือกแตกเป็นสะเก็ด ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบกิ่ง รูป ใบหอก แกมรู ป ขอบขนาน กว้ า ง 2-3 ซม. ยาว 7-11 ซม. ปลายใบเรียว มีติ่งปลายใบยาว 1-5 มม. โคนใบรูปลิ่ม แหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา เหนียวเป็นมันทั้งสอง ด้าน ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอก บานตั้งขึ้น สีขาว ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเล็กน้อย เริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมตั้งแต่พลบค่ำ ดอกบานอยู่ ได้ 2 วัน ดอกตูมรูปกระสวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6-1 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. กลีบดอกบางมี 9 กลีบ เรียงเป็น

3 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปไข่กลับแกมรูปขอบ ขนาน กลีบชั้นในแคบและสั้นกว่าเล็กน้อย

93

ผล ผลกลุ่ม ช่อยาว 2-3 ซม. มีผลย่อย 2-4 ผล แต่ละผลเรียงติดอยู่บนแกนกลางผล ผลรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. ผิวของผลมีช่องอากาศเป็นจุดสีขาว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน แต่ละ ผลมี 1-2 เมล็ด เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี ยาว 5 มม. การขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติมีการขยายพันธุ์จากเมล็ด แม้จะ ออกดอกดก แต่ ก็ ติ ด ผลน้ อ ยมาก และเมล็ ด สู ญ เสี ย ความงอกเร็วมาก จึงไม่สามารถเพาะเป็นต้นกล้าขึ้นมา ได้ ส่ ว นการขยายพั น ธุ์ ด้ ว ยวิ ธี ก ารตอนและทาบกิ่ ง

ยังไม่ ได้มีการทดลอง สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

จากยอดอ่อนและเมล็ดอ่อนยังไม่ประสบความสำเร็จ จากการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ ดอกเดี่ยว สีขาว ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็น สีเหลืองเล็กน้อย


94

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ชมพู พาน Wightia speciosissima (D.Don) Merr.

ชื่ออื่น ตุมกาแดง

ชมพูพาน เป็นพรรณไม้ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดปี มีเขตการกระจาย พันธุ์ตั้งแต่เนปาล สิกขิม อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า และ ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบกระจายห่างๆ อยู่ตามภูเขา สูงทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักขึ้นตามคบไม้หรือบนก้อนหิน ในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,300-2,000 ม.

ชมพู พ านจั ด เป็ น ไม้ ต้ น กึ่ ง อิ ง อาศั ย ที่ ขึ้ น เอง

ตามซอกหินที่มีดินสะสม ลำต้นของชมพูพานมีลักษณะ แคระแกร็น แตกกิ่งระเกะระกะ หรือขึ้นตามคาคบของ ต้นไม้ ใหญ่ ต่อมาเมื่อมีรากเจริญลงดิน ลำต้นจึงเจริญ เติบโตใหญ่ขึ้นโอบต้นเดิม ใครที่ ได้มีโอกาสไปชมต้น

ชมพู พ าน จะได้ เ ห็ น ลั ก ษณะเด่ น ของพรรณไม้ ช นิ ด นี้ โดยเฉพาะในช่วงที่ออกดอก ชมพูพานจะทิ้งใบจนหมดต้น เผยให้เห็นกลีบดอกสีชมพูม่วงติดกันเป็นรูปหลอดแตร โค้งตอนปลาย แลดูสวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ ที่ ขั บ รถขึ้ นไปบนดอยอิ น ทนนท์ ห รื อ ขึ้ นไปบน

ภูหลวงในช่วงปีใหม่ จะรู้สึกตื่นเต้นไปกับความหนาวเย็น ของฤดูกาล สายลมหนาวปะทะใบหน้าจนรู้สึกวูบวาบใน ช่วงแรกๆ แล้วต่อมาความเย็นก็จะทำให้ ใบหน้ารู้สึกชา เมื่อขับรถไต่ระดับความสูงขึ้นไป ความหนาวเย็นก็จะ เพิ่ ม มากขึ้ น จนผ่ า นระดั บ ความสู ง 1,300 ม. ขึ้ นไป

ป่าสองข้างทางจะเริ่มเปลี่ยน จากมุมสูงที่มองป่าดิบเขา ที่อยู่เบื้องล่างจะเห็นเฉพาะเรือนยอดของต้นไม้เป็นพุ่มๆ สีเขียวเข้มบ้าง สีเขียวอ่อนบ้าง บางต้น ทิ้งใบหมดจน เห็นแต่กิ่ง หรือบางต้นก็เริ่มจะผลิใบอ่อนออกมา บาง พุ่มจะมีสีพุ่มสีชมพูสอดแทรกอยู่กับพุ่มสีเขียวทั่วๆ ไป มองดูสะดุดตา เมื่อเข้าไปใกล้ทรงพุ่มสีชมพูจึงเห็นว่า เป็นดอกของต้นชมพูพานที่เป็นไม้อิงอาศัยอยู่บนคาคบ ของต้นไม้ ใหญ่ ซึ่งบางพุ่มจะมีขนาดใหญ่เท่ากับเป็น

ต้นไม้ต้นหนึ่งทีเดียว


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

95

ใบ รู ป ขอบขนานแกมรู ป รี ยาว 10-30 ซม. ปลายใบแหลมเกลี้ ย ง ด้ า นบนใบมี เ ส้ น แขนงใบเป็ น

ร่องตื้นๆ ด้านล่างใบมีเส้นแขนงใบเป็นสันนูนเล็กน้อย แต่มีเส้นกลางใบเป็นสัน นูนเด่น โคนใบรูปลิ่มหรือมน แผ่นใบหนา ถึงแม้จะมีดอกสีชมพูหวาน เพิ่มความสดใสให้แก่ ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ยาว 10-20 ผื น ป่ า แต่ ต้ น ชมพู พ านก็ ยั ง เป็ น เพี ย งพื ช ป่ า ที่ ยั งไม่ มี ซม. มี ด อกย่ อ ยจำนวนมาก ก้ า นช่ อ ดอกยาว 1 ซม. ผู้ศึกษากันอย่างจริงจัง และยังไม่มีผู้ใดนำมาขยายพันธุ์ ก้านดอกย่อยสั้น มาก มีขนหนาแน่น กลีบดอกสีชมพู หรือปลูกเป็นไม้ประดับแต่อย่างใด ยาว 2.5-3.5 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น กลีบปากบน 2 แฉก กลีบปากล่าง 3 แฉก ชมพูพาน

ลักษณะพรรณไม้ มีฤดูออกดอกในเดือนธันวาคมถึงมกราคม ต้ น เป็ น ไม้ พุ่ ม หรื อ ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก อิ ง อาศั ย

ผล เป็นฝักสีน้ำตาล ผิวเรียบ รูปขอบขนาน ยาว บนต้นไม้หรือบนก้อนหิน สูง 1-3 ม. แต่อาจสูงได้ถึง 2.5-4 ซม. แตกกลางเป็น 2 ส่วน มีเมล็ดจำนวนมาก

10 ม. แตกกิ่งสั้นๆ เป็นพุ่มเตี้ยแน่นทึบ กิ่งอ่อนมีช่อง มีผลแก่ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ระบายอากาศเห็นได้ชัดเจน เมล็ด เป็นรูปแถบยาว 7 มม. มีปีกบางและแคบ

ช่อดอก

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการงอกเมล็ด เป็น พรรณไม้ป่าที่ยังไม่มีการศึกษา


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

96

ธนนไชย Buchanania siamensis Miq.

ชื่ออื่น ศรีธนนไชย พังพวยนก พังพวยป่า ลันไชย รวงไซ รางไซ รางไทย ลังไซ

ธนนไชย เป็น พรรณไม้พื้นเมืองของไทย มีการ สำรวจพบครั้ ง แรกในประเทศไทยโดยนักสำรวจชาว เนเธอร์ แ ลนด์ นามว่ า J.E.Teijsmann สำรวจพบที่ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ในป่ า ผลั ดใบ ระดั บ 50-100 ม.

ออกดอกเดื อ นมกราคมถึ ง มี นาคม ส่ ว นผลจะแก่ ใ น เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีรายงานการตั้งชื่อเมื่อปี 2411 โดยมีคำระบุชนิดว่า siamensis เป็นการตั้งขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย แม้ว่าธนนไชยจะเป็นพืชพื้นเมืองของไทยแต่กลับ มีการบั น ทึ ก การค้ น พบครั้ ง แรกโดยชาวต่ า งชาติ จ าก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจมี คนไทยหลายคนค้นพบธนนไชยมาก่อนหน้านี้ แต่ ไม่ ได้ มีการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ทำให้เราต้องสูญเสีย

หลักฐานการค้นพบที่ควรจะเป็นของคนไทยไปอย่างน่า เสียดาย ธนนไชยเป็น พรรณไม้ ในสกุลมะม่วงหัวแมงวัน

มี ท รงพุ่ ม โปร่ ง รู ป กรวยคว่ ำ หรื อ รู ป ทรงกลม ซึ่ ง เป็ น ลักษณะที่สวยงาม ประกอบกับมี ใบหนา ติดทนไม่ร่วง ง่าย ลำต้นและกิ่งเหนียว อีกทั้งยังทนแล้งได้ดี ทำให้ ง่ายต่อการดูแล ไม่ต้องเสียเวลาดูแลมาก จึงเหมาะที่ จะนำมาใช้ ในงานภูมิสถาปัตย์ สำหรับจัดสวนตามบ้าน หรือตามสำนักงานได้เป็นอย่างดี แต่ขณะนี้ธนนไชยยัง จัดเป็นพรรณไม้หายาก ผลสุกของธนนไชยมีสีแดงเข้ม เด่นสะดุดตา จึง ช่วยล่อให้นก ค้างคาว และพวกกระรอกมากัดกิน หาก เทียบกับผลไม้ป่าที่มีขนาดเท่ากัน หลายชนิด ไม่ว่าจะ เป็นนมแมว ติ่งตั่ง พีพวน ซึ่งมีรสหวาน ธนนไชยถือว่า เป็นพรรณไม้ที่คนไม่นิยมกิน มากที่สุด เนื่องจากผลมี ขนาดเล็ก มียางค่อนข้างมาก กัดคอ กัดลิ้น ผลของ ธนนไชยจึงเป็นแค่อาหารของพวกนกและแมลงเท่านั้น


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

97

ผลแก่สีแดง

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรืออนุรักษ์ด้วย การปลูกเป็นไม้ประดับตามสองข้างทาง เช่น ในจังหวัด นครราชสีมา ใบอ่อนเรียงชิดกัน

ผลอ่อนสีเขียว

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอก มีขนนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ทรงพุ่มกลมหรือ สูงชะลูด ใบ เดี่ ย ว เรี ย งสลั บ แผ่ น ใบรู ป ไข่ ก ลั บ หรื อ

รูปช้อน กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบมน หรือกลมเว้าเป็นแอ่ง โคนใบมน หรือสอบแคบ มีขนนุ่ม ด้านล่างโดยเฉพาะตามเส้นใบ ดอก เล็ก สีขาวหรือขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อ ตามง่ามใบ ผล ค่อนข้างกลม หรือรูปหัวใจเบี้ยว แบนด้าน ข้าง กว้าง 1.5 ซม. ยาว 1 ซม. ปลายตัด มีขนเล็กน้อย

หรือเกลี้ยง เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน กลม ขนาด 6-8 มม.


98

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

โปร่ งกิ่ว Dasymaschalon lomentaceum Finet & Gagnep.

ชื่ออื่น ติดต่อ

โปร่งกิ่ว หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ติดต่อ มีที่มาของชื่อ จากลักษณะของผล เนื่องจากผลของโปร่งกิ่วจะมีรูป ทรงกระบอก มีเมล็ดเรียงต่อกันและมีเปลือกหุ้มเป็น รอยหยักถี่ติดต่อกัน คนจึงนิยมเรียกกันว่า ติดต่อ ในจำนวนพรรณไม้สกุลบุหรงที่มีอยู่ทั่วประเทศ 12 ชนิด โปร่งกิ่วถือเป็นพรรณไม้ที่มีขนาดของลำต้น เล็กที่สุด ขณะเดียวกันก็มีดอกและผลขนาดเล็กที่สุด ด้วย แต่ทั้งนี้โปร่งกิ่วไม่ ได้เป็น พรรณไม้ที่มีอยู่เฉพาะ

ในประเทศไทยหรื อ ค้ น พบที่ ป ระเทศไทยเป็ น ที่ แ รก ตัวอย่างแห้งต้นแบบโปร่งกิ่วครั้งแรกเก็บมาได้จากเขมร

ผลอ่อน

ในปี 2413 โดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Pierre ขึ้น อยู่ในป่าดิบแล้ง ส่วนในประเทศไทย เนื่องจากโปร่งกิ่ว ชอบสภาพของดิน ทราย จึงพบขึ้นอยู่ ในดิน ทรายของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในภาคตะวันตกเฉียงใต้ อี ก แห่ ง หนึ่ ง ที่ อ ำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์

ซึ่งเป็นพื้นที่ดินทรายเช่นกัน โปร่งกิ่วเป็น พรรณไม้ที่มีทรงพุ่มแน่น มี ใบเล็ก หนา ไม่ร่วงง่าย อีกทั้งออกดอกและติดผลตลอดปี จึง ได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ทรงพุ่ม ซึ่งมีวิธี การปลูกง่ายๆ เหมือนกับพืชทั่วไป คือต้องขุดหลุมให้ กว้างและลึก 30 ซม. หากใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอิน ทรีย ์ รองก้นหลุม ก็จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น และเนื่องจากโปร่งกิ่วมีทรงพุ่มแน่น เมื่อเวลาลมแรง

จึงมีโอกาสทำให้ทรงพุ่มเอียงล้มได้ง่าย การปักหลัก และปลูกยึดลำต้นให้ตั้งตรงจึงมีส่วนสำคัญต่อการปลูก และบำรุงรักษา


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

99

ข้อดีอีกอย่างของโปร่งกิ่วคือเป็น พรรณไม้เรียก นก เนื่ อ งจากมี ผ ลดก เมื่ อ เวลาผลสุ ก มี สี แ ดงเข้ ม

รสหวาน จึ ง สามารถเรี ย กนกมากิ น ได้ เ ป็ น อย่ า งดี

ผู้ที่ปลูกโปร่งกิ่วในบริเวณบ้าน จึงมักได้ยินเสียงขับขาน ของนกขณะมากินผลแก่ ส่วนคนก็สามารถรับประทาน ผลสุกของโปร่งกิ่วเป็นผลไม้ ได้ด้วย นอกจากนี้ ในตำรา สมุ นไพรพื้ น บ้ า นอี ส าน ยั ง มี ก ารใช้ ส่ ว นของรากเข้ า ตำรั บ ยา โดยมี ส รรพคุ ณ บรรเทาอาการปวดเมื่ อ ย

กล้ามเนื้อ หรือเคล็ดขัดยอก ดอกอ่อนสีขาวอมเขียว ดอกบานสีเหลือง ลักษณะพรรณไม้ กลีบดอกติดกันเป็นกรวย ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 ม. แตกกิ่งจำนวน มาก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนสีเขียว มีช่อง ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ อากาศสีขาวเป็นจุดๆ เนื้อไม้เหนียว ใบ รูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ใกล้ปลายกิ่ง ดอกอ่อนสีขาวอมเขียว ดอกบานสีเหลือง โคนใบมนหรื อ เว้ า เล็ ก น้ อ ย ปลายใบเรี ย วทู่ ผิ ว ใบ

กลี บ ดอกติ ด กั น เป็ น กรวย ยาว 2-3 ซม. โคนดอก

ด้านบนเป็นมันเรียบ สีเขียวเข้ม ด้านล่างสีฟ้าอมขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7-1 ซม. ปลายกรวยมน ผล เป็นกลุ่ม มีผลย่อยจำนวน 7-12 ผล แต่ละ ผลรูปทรงกระบอก ยาว 2-2.5 ซม. มีเมล็ด 2-5 เมล็ด เรียงชิดติดกัน เปลือกผลคอดถี่ตามรูปเมล็ด ผลอ่อน

สีเขียวอมขาว ผลแก่สีแดง เมล็ด กลม สีขาว ขนาด 5-7 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ผลเป็นกลุ่ม เมื่อแก่มีสีแดง


100

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

ฝาง Caesalpinia sappan L.

ใหม่ก็สามารถนำมาดัดแปลงเป็น บลัชที่ ให้สีระเรื่อบน โหนกแก้มได้อย่างไม่ขัดเขิน ก่อนยุคแห่งความทันสมัย ที่มนุษ ย์เรารู้จักใช้สี นอกจากนี้ ฝ างยั ง มี ส รรพคุ ณ แก้ ธ าตุ พิ ก าร

วิ ท ยาศาสตร์ ที่ ส ดใสย้ อ มอาภรณ์ ใ ห้ ง ดงามสะดุ ด ตา ท้องร่วง นำมาต้มกับน้ำพร้อมผสมมะขามเปียกช่วย คนไทยโบราณนิยมใช้สีจากเปลือกไม้ที่อาจไม่จัดจ้านนัก บำรุงโลหิตสตรีและขับประจำเดือน หรือแก้ปอดพิการ แต่ ให้ความเย็นตาเย็นใจ เช่น สีชมพูและสีแดงได้จาก ขับหนอง แก้เสมหะ แก้คุดทะราด แก้โลหิตออกทาง เปลือกและแก่นของต้น ฝาง คนรุ่นก่อนมักจะมีน้ำผสม ทวารหนักและเบา แก้เลือดกำเดา หรือเอาแก่นฝางมา น้ำยาอุทัยกลิ่นหอมชื่นใจของน้ำสีชมพูอ่อนเจือรสฝาด ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นเหนียวทาบริเวณน้ำกัดเท้า ตัวยา หวานปนขมแปลกลิ้น นิดๆ เป็นเครื่องดื่มรับรองแขก

“ฝาดสมาน” ในแก่ น ฝางช่ ว ยสมานผิ วได้ เ ป็ น อย่ า งดี

ผู้มาเยือน เพราะช่วยดับร้อนจากไอแดดได้เป็นอย่างดี สีน้ำตาลออกแดงสวยของเนื้อไม้ของฝางยังเป็นที่นิยม ซึ่งน้ำยาอุทัยนี้ก็มีส่วนผสมของฝางเช่นกัน เด็กสาวสมัย ในการนำมาทำเครื่องเรือนอีกด้วย ชื่ออื่น ง้าย ฝางส้ม


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

101

ฝักจะมีจะงอยแหลม

ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับกัน ช่อ ใบยาว 15-45 ซม. มีช่อใบย่อย 8-16 คู่ แต่ละช่อย่อย มี ใบย่อย 7-18 คู่ ใบย่อยขนาดเล็ก กว้าง 6-10 มม. ยาว 10-20 มม. ปลายมน โคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยงทั้ง สองด้าน ดอก ออกเป็นช่อ ออกใกล้กัน บริเวณปลายกิ่ง ก้ า นดอกยาว 15-20 มม. แต่ ล ะช่ อ มี ห ลายสิ บ ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ดอกสีเหลือง ผลิดอกในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ผล เป็ น ฝั ก เมื่ อ แห้ ง จะแข็ ง และแตกอ้ า ออก

ฝักแก่สีน้ำตาลแก่เป็นจุดๆ รูปรี ปลายฝักมีจะงอยแหลม มี 2-4 เมล็ด ผลแก่ในเดือนสิงหาคมถึงกุมภาพันธ์ เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปกลมแบน ขนาด 3-5 มม.

ฝางจัดเป็นไม้ในวงศ์ถั่ว ที่มีชื่อเรียกต่างกันออกไป ในหลายจั ง หวั ด เช่ น กะเหรี่ ย งในแถบกาญจนบุ รี

เรียกว่า “ง้าย” “หนามโค้ง” ในภาษาของชาวจังหวัดแพร่ การขยายพันธุ์ และ “ฝางเสน” สำหรับชาวกรุงเทพฯ มีเขตการกระจาย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการปักชำ พันธุ์ในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง และตามชายป่าดงดิบทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศ พบที่อเมริกาใต้ ปลูกกันอย่างกว้างขวางตลอดเขตร้อน อินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ ไม้ ที่ อ ยู่ ใ นสกุ ล ฝาง (Caesalpinia) ทุ ก ชนิ ด จะเป็ น

ไม้เลื้อย มีเฉพาะต้นฝางนี้เท่านั้นที่เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ลักษณะพรรณไม้ ต้ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก หรื อ ไม้ พุ่ ม สู ง 3-6 ม.

มีหนามแข็งทั่วทั้งลำต้น ผลัดใบแต่ผลิใบเร็ว จะแตกกิ่ง แขนงชิดพื้นดิน เปลือกนอกสีเทาออกเหลือง มีปมใหญ่ ขนาดปลายนิ้วชี้ทั่วทั้งเถา ส่วนปลายกิ่งจะมีหนามแหลม สีดำ ถ้าปมหนามหลุดจะเป็นรอยแผลเป็น


102

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

พะยู ง Dalbergia cochinchinensis Pierre

ชื่ออื่น กระยูง ขะยูง พยุง

ในช่วงฤดูร้อนที่อากาศอบอ้าวและมีความชื้นต่ำ อย่างเดือนมีนาคมและเมษายน จะพบว่าพรรณไม้ในป่า เต็งรังและป่าดิบแล้งแทบทุกชนิดล้วนพากันผลัดใบ ทิ้ง ลำต้นให้เดียวดาย เช่นเดียวกับต้น พะยูง ที่ยังคงมีแต่ กิ่งก้านระเกะระกะ ราวกับว่าเป็นต้นไม้ที่ยืนต้นตาย

ดู ไ ร้ ชี วิ ต ชี ว า แต่ พ อถึ ง เดื อ นพฤษภาคม พะยู ง กลั บ

แตกช่อออกดอกเต็มต้น ผลิดอกขนาดเล็กสีขาวจำนวนมาก ช่วยให้ป่าเต็งรังเปลี่ยนสภาพ คืนความสดชื่น และมี สีสันขึ้นมาทันที จะเห็นได้จากแมลงจำนวนมากที่บินมา ตอมน้ ำ หวานเสี ย งดั ง อื้ อ อึ ง สลั บ กั บ เสี ย งของนกตั ว เล็กๆ ในบางช่วงที่เข้ามาแย่งดูดกินน้ำหวาน

พะยูงกระจายพันธุ์อยู่ ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ แล้ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่ ร ะดั บ ความสู ง 100-300 ม. มี ม ากที่ จั ง หวั ด ชั ย ภู มิ สกลนคร นครราชสี ม า ขอนแก่ น ร้ อ ยเอ็ ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ส่วนในต่างประเทศ

พบในภู มิ ภ าคอิ น โดจี น พะยู ง จะออกดอกช่ ว งเดื อ น พฤษภาคมถึงกรกฎาคม และมีฝักแก่ในเดือนกรกฎาคม

ถึงกันยายน พะยู ง เป็ น พรรณไม้ ที่ ท นทานต่ อ ความแห้ ง แล้ ง สามารถขึ้นได้แม้ดิน ที่ขึ้นจะเป็นดิน ทรายหรือดินร่วน

ที่ ร ะบายน้ ำ ดี มี ชั้ น หน้ า ดิ น ตื้ น หรื อ ดิ น มี ค วามอุ ด ม สมบูรณ์ต่ำ ด้วยเหตุนี้พะยูงจึงเป็นพรรณไม้ที่ได้รับการ คัดเลือกให้มีการเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า แล้วนำต้นกล้า ไปปลู ก เป็ น พรรณไม้ ป ลู ก ป่ าในพื้ น ที่ ต่ า งๆ เกื อ บทั่ ว ประเทศ แต่ทั้งนี้พะยูงกลับเป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโต ได้ช้ามาก จึงต้องอาศัยระยะเวลาในการดูแลค่อนข้าง นาน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากต้นพะยูงหลายทาง เนื้อไม้สีแดงอมม่วงเป็น มันเลื่อม เนื้อละเอียดเหนียว ทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือน บุผนัง และใช้ในงานก่อสร้าง ทำส่วนต่างๆ ของเกวียน กระบะรถยนต์ ด้ามเครื่องมือ การเกษตร ใช้ ในงานแกะสลัก ใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น ลูกระนาด ซออู้ ซอด้วง ในตำรายาสมุนไพรพื้น บ้าน รากของพะยูงยังสามารถแก้ไข้พิษ เปลือกต้มเอาน้ำอม แก้ปากเปื่อย และด้วยความที่เป็นไม้ที่มีเนื้อคุณภาพดี จึงเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์กัน มาก จนมี การสั่งซื้อไม้พะยูงจากไทย ลาว และกัมพูชา เป็นเหตุ ให้จำนวนต้นที่มีอยู่ตามธรรมชาติลดน้อยลง กลายเป็น พรรณไม้หายาก และมีมูลค่าสูงในปัจจุบัน ใบสีเขียวเข้ม เป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่

ลักษณะพรรณไม้ ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15-25 ม. ลำต้ น เปลาตรง เปลื อ กสี เ ทาเรี ย บ และล่ อ นเป็ น

แผ่นบางๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง ปลาย กิ่งห้อยย้อยลง

103

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ช่อใบยาว 10-15 ซม. มี ใบย่อย 7-9 ใบ เรียงสลับใบรูป ไข่แกม รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายสุด ของช่อเป็นใบเดี่ยวๆ โคนใบมน ปลายใบแหลม ผิวใบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล ดอก เป็นช่อสีขาวแยกแขนง ออกตามซอกใบเหนือ ปลายกิ่ ง กลี บ เลี้ ย งรู ป ถ้ ว ยสี เ ขี ย ว ปลายแยกเป็ น

5 แฉก กลี บ ดอกแบบดอกถั่ ว มี 5 กลี บ เมื่ อ บาน

มีขนาด 5-8 มม. ผล เป็นฝักแห้งไม่แตก แบนและบาง ผิวเกลี้ยง กว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เมล็ดเรียงตามความยาว ของฝัก จำนวน 1-4 เมล็ด เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปไต ยาว 8-10 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ลำต้น มีเปลือกสีเทา


104

๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

มะป่ วน Mitrephora tomentosa Hook. f. & Thomson

ชื่ออื่น นมหนู ปอแฮด แฮด ลำดวนดง

มะป่ ว น เป็ น 1 ใน 8 ชนิ ด ของพรรณไม้ ส กุ ล

มหาพรหมที่มีอยู่ ในประเทศไทย โดยมีลักษณะเด่นคือ เป็นพรรณไม้ที่มีเมล็ดจำนวนมาก มีระบบรากแข็งแรง ทนแล้งได้ดี จึงนิยมนำมาเป็นต้นตอทาบกับพรรณไม้ ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในสกุลมหาพรหมด้วยกัน ดอกมะป่วนจะออกในเดือนเมษายน ส่วนผลจะแก่ เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม มะป่วนมีการกระจายพันธุ์ ในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 100-300 ม. ปัจจุบัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และเป็น พืชสมุนไพร แก่นมะป่วนใช้ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 กำมือ วันละ 3 ครั้ง

โดยปกติมะป่วนจะกระจายพันธุ์ ได้ดี เนื่องจาก ผลสุกมีรสหวานและเป็นอาหารของสัตว์ป่าหลายชนิด นับตั้งแต่ กระรอก นก ค้างคาว และเมื่อร่วงหล่นลงมา แล้วยังเป็นอาหารของพวกเก้งและไก่ป่า เมื่อสัตว์เหล่านี้ กินผลมะป่วนเข้าไปพอถ่ายมูลออกมาก็จะมีเมล็ดมะป่วน งอกขึ้นในบริเวณดังกล่าวด้วย


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

105

ดอก ออกเป็นกระจุก 2-3 ดอก ตรงข้ามใบ ก้าน ดอกยาว 1-1.5 ซม. กลีบดอกสีเหลือง 6 กลีบ เรียง ใบเดี่ยว เป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม เป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนานปลายแหลมและ โค้ง ขอบกลีบหยักเว้า กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2.5 ซม. กลีบดอกชั้นในรูปช้อน กว้างและยาวประมาณ 1.5 ซม. เรียงตัวชิดกันเป็นรูปโดม ผล ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 16-24 ผล แต่ละผล รูปกลมรี ยาวประมาณ 3 ซม. ก้านยาวประมาณ 1.5 ซม. ผลสุกสีเหลือง มีขนสีน้ำตาลคลุม มี 3-7 เมล็ด มะป่ ว นมี ท รงพุ่ ม ที่ ก ลมสวยงาม จึ ง เหมาะที่ จ ะ เมล็ด สีน้ำตาล กลมแบน ขนาด 6-8 มม. ปลู ก เป็ น ไม้ ป ระดั บ โชว์ ท รงพุ่ ม โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง

ในงานจัดภูมิทัศน์และในสนามกอล์ฟ แต่การที่มะป่วน จะออกดอกได้พร้อมกันทั้งต้นเป็นทรงพุ่มหรือไม่ จะขึ้น อยู่กับสภาพความแล้ง หากพื้นที่ปลูกเป็นเนินและเป็น โคกที่ แ ห้ ง แล้ ง หรื อ เนิ น ที่ ร ะบายน้ ำ ได้ ดี มะป่ ว นจะ ออกดอกได้ พ ร้ อ มกั น ทั้ ง ต้ น มี ค วามสวยงามมาก

แตกต่างจากต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ลุ่มหรือมีน้ำแฉะตลอดเวลา รวมทั้งต้นที่ปลูกตามบ้านพัก ซึ่งมีการให้น้ำกันอยู่แทบ ทุกวัน จนดินปลูกมีสภาพความชื้นสูง จะทำให้ต้นมะป่วน แตกใบอ่ อ นอยู่ ต ลอดเวลาและไม่ อ อกดอก หรื อ มีด อก

ออกน้อยมาก ผลออกเป็นกลุ่ม

ลักษณะพรรณไม้ ต้น ไม้ต้นสูง 10-15 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้าง การขยายพันธุ์ กลม เปลื อ กต้ น เรี ย บสีน้ำตาล กิ่งอ่อนและใบอ่อนมี

โดยการเพาะเมล็ด แต่หากต้องการให้ออกดอก ขนสีน้ำตาลหนาแน่น ได้รวดเร็วขึ้นจะใช้วิธีทาบกิ่ง โดยใช้ต้นมะป่วนทาบกับ ใบ เป็ น ใบเดี่ ย ว เรี ย งสลั บ สองข้ า งของกิ่ ง ใน กิ่งยอดของมะป่วนที่ออกดอกแล้ว ระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 9-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบมีขนสีน้ำตาล


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

106

ลำดวนแดง Melodorum fruticosum Lour. cv. ‘Lamduan Daeng’

ชื่ออื่น -

ในอดีต ลำดวนแดง เป็นพรรณไม้ที่มีต้นแม่พันธุ์ อยู่เพียงต้นเดียวในโรงเรียนประชาพัฒนศึกษา อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเกิดมาจากการกลาย พันธุ์ของต้นลำดวนที่มีดอกสีเหลือง จึงนับเป็นพรรณไม้ แปลกประหลาด ทำให้ มี ค วามพยายามขยายพั น ธุ ์

เมื่อเริ่มบานกลีบดอกมี

สีพื้นเป็นสีเหลืองนวล ปลายกลีบด้านในมี

สีม่วงแดงเข้ม

ทั้งโดยวิธีการเพาะเมล็ด และการทาบกิ่ง โดยใช้ลำดวน ดอกเหลืองเป็นต้นตอ ปรากฏว่าการขยายพันธุ์ทั้งสอง วิธีได้ผลดี มีจำนวนต้นเพิ่มมากขึ้น และได้รับความนิยม ในการนำไปปลูกทั่วประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันสามารถ พบเห็นต้นลำดวนแดงได้ทั่วไป ลำดวนแดงเป็นพรรณไม้วงศ์กระดังงา มีช่วงฤดู ดอกบานอยู่ ใ นเดื อ นมกราคมถึ ง เมษายน ปั จ จุ บั น

จากการที่มีการปลูกลำดวนแดงเป็นไม้ประดับตามบ้าน มากขึ้นก็พบว่าลำดวนแดงมีช่วงฤดูออกดอกนานมาก

ขึ้น บางครั้งจะมีดอกหลังเดือนเมษายน และมีโอกาส ทยอยออกดอกในเดื อ นอื่ น ๆ ได้ อี ก ขณะที่ ล ำดวน

ดอกเหลื อ งจะออกดอกเฉพาะในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง มีนาคมเท่านั้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่ผู้ปลูกมีการ รดน้ ำ และใส่ ปุ๋ ย ลำดวนแดงอยู่ ต ลอดเวลา ทำให้ พฤติกรรมการออกดอกของต้นลำดวนแดงที่ปลูกอยู่ เปลี่ยนแปลงไป


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

107

หากใครที่คิดจะปลูกลำดวนแดงแต่ยังไม่ทราบวิธี สังเกตความแตกต่างระหว่างลำดวนแดงกับลำดวนที่ม ี ดอกเหลืองตามปกติ ก็สามารถดูได้จากดอก เนื่องจาก สีดอกของลำดวนทั้งสองจะแตกต่างกัน แต่หากไม่ ได้ อยู่ ในช่วงฤดูออกดอก ก็สามารถสังเกตได้จากลักษณะ

รูปร่างของใบ โดยลำดวนธรรมดามี ใบรูปขอบขนาน เรียวยาว เนื้อใบหนา และด้านล่างของใบมีนวลสีขาว ฉาบอยู่ ขณะที่ลำดวนแดงมี ใบรูปรี ขนาดใบใหญ่กว่า ออกดอกเดี่ยว ลำดวนธรรมดา และด้านล่างของใบมีนวลขาวฉาบอยู่ มีกลิ่นหอม เพียงเล็กน้อย แม้ลำดวนแดงกับลำดวนธรรมดาจะมีสีดอกและ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ลั ก ษณะใบแตกต่ า งกั น แต่ ใ นการจำแนกชื่ อ ทาง พฤกษศาสตร์ ยังคงจัดให้ลำดวนทั้งสองมีชื่อวิทยาศาสตร์ กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบมน ปลายเรียว เป็นต้นเดียวกันอยู่ แหลมมีติ่ง ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาเป็นมันทั้งสองด้าน ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ลักษณะพรรณไม้ ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม สูง 5 ม. เปลือก ใกล้ปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบานกลีบดอกมีสีพื้นเป็นสีเหลือง ลำต้นเรียบ สีดำ เนื้อไม้แข็งและเหนียว และมีกลิ่นฉุน นวล ปลายกลี บ ด้ า นในมี สี ม่ ว งแดงเข้ ม มี ก ลิ่ น หอม แตกกิ่งที่ปลายยอดจำนวนมาก กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ รูปไข่ บานกางออก กลีบนอก ชั้นในประกบกันเป็นรูปกลม ผล กลุ่ม มีผลย่อย 20-35 ผล ผลรูปรี ผลอ่อน เปลือกเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วง อมดำ มี 1 เมล็ด ใบเดี่ยวรูปรี เมล็ด กลมรี สีขาว ยาว 5-8 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และทาบกิ่ง


๘๔ พรรณไม้ ถวายในหลวง

108

หมั กม่อ Rothmannia wittii (Craib) Bremek.

ชื่ออื่น ต้นขี้หมู หม่อ

หมักม่อ เป็นพรรณไม้ ในสกุลสะแล่งหอมไก๋ของ วงศ์ เ ข็ ม ที่ มี ค ำระบุ ช นิ ด wittii ตั้ ง เป็ น เกี ย รติ แ ก่ อำมาตย์เอกพระยาวินิจวนันดร นักพฤกษศาสตร์นาม กระเดื่องของไทย มีการสำรวจพบครั้งแรกของโลกใน ประเทศไทย ที่จังหวัดนครราชสีมา บริเวณป่าเต็งรัง ระดับ 60 ม. มีรายงานตีพิมพ์เปลี่ยนมาใช้เป็นชื่อนี้ในปี 2454 หมักม่อมีลักษณะใกล้เคียงกับพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในสกุลเดียวกันซึ่งมีทั้งหมด 8 ชนิด ส่วนใหญ่มีทรง พุ่มขนาดเล็กหรือขนาดกลาง มีเนื้อไม้แข็งและเหนียว เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำและมีดอกหอม ซึ่ง เป็นลักษณะเด่นของพรรณไม้ ในสกุลนี้ นอกจากนี้ยังมี

ดอกออกเป็นกระจุก

ใกล้ปลายยอด มีสีขาวนวล

ดอกรู ป ระฆั ง คว่ ำ สี ข าวนวล ปลายแยกเป็ น 5 กลี บ

มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 ซม. กลีบดอกด้านใน

มีจุดประสีม่วงแดง หากจะเปรียบเทียบกับสะแล่งหอมไก๋ ซึ่ ง มี ลั ก ษณะต่ า งๆ และขนาดของต้ น ใกล้ เ คี ย งกั น

ก็จะพบส่วนที่แตกต่างกันได้ โดยที่หมักม่อมีจำนวนดอก ต่อกระจุก 5-12 ดอก มีใบนิ่มค่อนข้างใหญ่ บางและมี ขนมาก ขณะที่สะแล่งหอมไก๋มีดอกกระจุกละ 1-3 ดอก มี ใบรูปรี ปลายใบเรียวแหลม ค่อนข้างเล็ก หนาและ เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน


พรรณไม้ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ถิ่ น กำเนิ ด และการกระจายพันธุ์ของหมักม่อจะ

ขึ้นอยู่ ในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ และป่า ละเมาะที่เป็นดิน ทรายหรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี

มีค วามทนทานต่ อความแห้งแล้ง อยู่ตามเนินเขาที่มี

หน้าดินตื้น ชั้นล่างเป็นหินทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ต้น หมักม่อจึงเจริญเติบโตช้ามาก และมีขนาดลำต้น

ไม่ สู ง ใหญ่ ขึ้ น อยู่ ใ นพื้ น ที่ ร ะดั บ ความสู ง 200-500 ม.

ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของ ภาคกลาง จังหวัดที่พบมากได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ สกลนคร หมักม่อเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการใช้ส่วนแก่นหรือรากของหมักม่อต้มน้ำ เดือดช่วยแก้ ไข้ และใช้ลำต้นเข้าตำรับยาสมุนไพรอื่นๆ เนื้อในของผลมีสีดำแฉะเล็กน้อย มีลักษณะเป็นลอน คล้ายขี้หมู กินได้มีรสหวาน มีสรรพคุณเป็นยาแก้เจ็บ คอ ส่ ว นการปลู ก ต้ น หมั ก ม่ อ เพื่ อใช้ ป ระโยชน์ เ ป็ น

ไม้ดอกไม้ประดับ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากที่มี ข้อมูลและภาพเผยแพร่ออกมาจากหนังสือไม้ดอกหอม ทำให้หลายคนได้รับรู้และชื่นชมว่าหมักม่อเป็นพรรณไม้ ที่มีทรงพุ่มสวยงาม มีดอกดกเต็มต้น และมีกลิ่นหอม ลักษณะพรรณไม้ ต้ น เป็ น ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 6-8 ม. เปลื อ ก

สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่ง 3-4 กิ่งออกจากจุดเดียวกันคล้าย ฉั ต ร กิ่ ง อ่ อ นมี ข นปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ มี ใบ เฉพาะตอนปลายกิ่ง ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบ เป็ น ใบเดี่ ย วเรี ย งตรงข้ า มเป็ น คู่ รู ป รี ยาว

6-10 ซม. ใบอ่ อ นมี ข นปกคลุ ม และเห็ น เส้ น แขนง

ใบชัดเจน ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบ บาง

109

ดอก ออกเป็ น กระจุ กใกล้ ป ลายยอดสี ข าวนวล แต่ ล ะกระจุ ก มี 5-12 ดอก รู ป ระฆั ง ปลายแยกเป็ น

5 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 ซม. กลีบดอก ด้ า นในมี จุ ด ประสี ม่ ว งแดง ออกดอกพร้ อ มกั น ทั้ ง ต้ น

มีฤดูดอกบานนาน 1 สัปดาห์ มีกลิ่น หอมอ่อนในช่วง กลางวันและกลางคืน ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน ผล กลม ขนาด 3-4 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่

สีดำ มีรสหวาน รับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปกลมรี ยาว 4-6 มม. การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.