ข้าวของพ่อ

Page 1

ข้าวของพ่อ

กระทรวงวัฒนธรรม

๖๖๖ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๕๓-๘ สายด่วนวัฒนธรรม ๑๗๖๕ www.m-culture.go.th

ข้าวของพ่อ


ข้าวของพ่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสครบ ๖๐ ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชฯ ประทับพระทีน่ งั่ ราชยานพุตตาลทอง มีเจ้าพนักงานเชิญพระแสงคูเ่ คียงขนาบพระทีน่ งั่ ในกระบวนราบใหญ่ วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชฯ มีพระปฐมบรมราชโองการแก่ประชาชนชาวไทยว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพือ่ ประโยชน์สขุ แห่งมหาชนชาวสยาม” แล้วทรงหลัง่ ทักษิโณทกตัง้ พระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบตั พิ ระราชกรณียกิจ โดยทศพิธราชธรรมจริยา ณ พระทีน่ งั่ ไพศาลทักษิณ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในนาสาธิต สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต


“…ข้าวต้องปลูก เพราะอีก ๒๐ ปี ประชากรอาจจะ ๘๐ ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทย จะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก...”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร โครงการโคกกูแว จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. ๒๕๓๖


6

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

สาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ปีพทุ ธศักราช ๒๕๕๓ นับเป็นศุภวาระสำคัญอีกวาระหนึง่ ของปวงชนชาวไทย เนื่องด้วยเป็นโอกาสมหามงคล ครบ ๖๐ ปี แห่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เสด็จขึน้ ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยอย่างเป็นทางการ และ ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง มหาชนชาวสยาม” เมือ่ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรชาวไทย

ทั่วหล้า ด้วยเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ พระราช กรณียกิจอเนกประการ ทีท่ รงบำเพ็ญล้วนเพือ่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ก่อประโยชน์แก่อาณา ประชาราษฎร์ใต้รม่ พระบารมีอย่างถ้วนทัว่ เนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าว กอปรกับโอกาสพระราชพิธีพืชมงคลจรด

พระนังคัลแรกนาขวัญ กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ข้าวของพ่อ”

ฉบับภาษาไทย และ “Father’s Rice” ภาษาอังกฤษขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติ “ข้าว” เป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย ข้าวเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ผูกพันกับ

วิถีชีวิตไทยมายาวนาน พระมหากษัตริย์ไทยทรงตระหนักถึงความสำคัญของชาวนาไทย


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ทีม่ ีอาชีพหลัก คือ ทำนา ปลูกข้าว ได้พระราชทานความช่วยเหลือ คำแนะนำตลอดมา และได้ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จนถึงรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูราชประเพณีจรด

พระนังคัลแรกนาขวัญ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย และกำหนดเป็นพระราชพิธพี ชื มงคลจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ ถือเป็นพระราชพิธที เี่ ป็นสิรมิ งคล สร้างกำลังใจแก่ชาวนาผูป้ ลูกข้าว เป็นอย่างมาก กระทรวงวัฒนธรรม หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสือเรือ่ ง “ข้าวของพ่อ” จะช่วยให้ คนไทยได้ศึกษาเรียนรู้ ตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าความสำคัญของข้าวเป็นอย่างดี ประการสำคัญคือ ทำให้เข้าใจความหมายของ “ข้าวของพ่อ” ได้อย่างลึกซึ้ง ชัดเจน

และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อันยิง่ ใหญ่ไพศาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในฐานะ “พ่อแห่งแผ่นดิน”

(นายธีระ สลักเพชร) รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม

7


8

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

คำนำ

…เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว... ข้อความดังกล่าวปรากฏบน

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นถ้อยคำที่คนไทยส่วนใหญ่จำได้ ขึ้นใจ สะท้อนให้เห็นวิถีไทย และความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินไทย “ข้าว” คำสั้นๆ พยางค์เดียว ที่เป็นบ่อเกิดและสะท้อนวิถีวัฒนธรรมไทย

ในหลายมิติ อาทิ พระราชพิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ฯลฯ ได้แก่ พระราชพิ ธี พื ช มงคลจรดพระนั ง คั ล แรกนาขวั ญ ประเพณี ท ำขวั ญ แม่ โ พสพ หรื อ

ทำขวัญข้าว ประเพณี (แห่นางแมว) ขอฝน ประเพณีบุญบั้งไฟ การละเล่นพื้นบ้าน

เต้นกำรำเคียว ระบำชาวนา เป็นต้น ในโอกาสมหามงคล ครบ ๖๐ ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัฐบาลได้

มอบหมายให้ ห น่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชน ร่ ว มกั น ดำเนิ น โครงการ จั ด กิ จ กรรม

เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทรวงวัฒนธรรม น้อมสำนึก

ในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ข้าวของพ่อ” ภาษาไทย และ “Father’s Rice” ภาษาอังกฤษ ซึ่งนางสาววิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ผู้เขียน ได้กรุณา มอบต้นฉบับมาให้จัดพิมพ์ และนางขนิษฐา บุนปาน ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ เนื้อหา ของหนังสือ “ข้าวของพ่อ” เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของข้าวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ด้วยภาษาที่สละสลวย เข้าใจง่าย ประการสำคัญคือ สะท้อนพระราชกรณียกิจและ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อชาวนาไทยในฐานะ กระดูกสันหลังของชาติ โดยได้พระราชทานขวัญกำลังใจ ทรงห่วงใยพระราชทานความ ช่วยเหลือ แนะนำ เกี่ยวกับการปลูกข้าวมาโดยตลอด จนเป็นที่มาของ “ข้าวของพ่อ” ในนามของกระทรวงวัฒนธรรม ผมขอขอบคุณผู้เขียนและผู้แปลทั้งสองท่าน เป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรื่อง “ข้าวของพ่อ”

จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเผยแพร่พระเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ ไพศาลของพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ให้ ข จรไกลทั้ ง ในและต่ า งประเทศ อี ก ทั้ ง เป็ น ส่ ว นสำคั ญ ที่ ส ร้ า งความ

ภาคภูมิ ใจ และความปีติยินดี ให้แก่พสกนิกรชาวไทยผู้อยู่ ใต้ร่มพระบารมีของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

(นายวีระ โรจน์พจนรัตน์) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

9


10

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

จากผู้เขียน

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ข้าวของพ่อ” ขึ้นมาเผยแพร่อีกวาระหนึ่ง โดยมีภาคภาษาอังกฤษ จากฝีมือการแปลอันงดงามของขนิษฐา

บุนปาน นักแปลคุณภาพอีกคนหนึ่งของวงการแปลในประเทศไทย ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสอันเป็นมหามงคล เนื่องในการ

พระราชพิธบี รมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี ในเดือนพฤษภาคม ปีนี้ หนังสือเรือ่ ง “ข้าวของพ่อ” เป็นเรือ่ งราวและประวัตคิ วามเป็นมาของข้าวในแผ่นดิน ไทย รวมไปถึงความเชื่อทางวัฒนธรรมและสายใยความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย ์ กับชาวนาไทย ในฐานะทีท่ รงเป็นศูนย์รวมแห่งการดำรงอยู่ และหล่อหลอมวิถชี วี ติ จิตวิญญาณ

ของคนไทย สังคมไทยมิ ให้แตกสลาย ทำให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวต่างๆ ของข้าวไทยและ

ชาวนาไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริยผ์ ทู้ รงคุณอันประเสริฐ เปีย่ มล้น ด้วยพระมหากรุณาธิคณ ุ ทรงเป็น “ขวัญข้าวขวัญแผ่นดิน” เป็นรากฐานและเป็นหลักชัยแห่งชีวติ ของคนไทยทุกคน ผูเ้ ขียนจึงมีความเต็มใจและภาคภูมิใจทีก่ ระทรวงวัฒนธรรมได้เห็นคุณค่าของหนังสือ เล่มนี้และได้ดำเนินการจัดพิมพ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในวโรกาสอันสำคัญที่เป็นความปลาบปลื้มปีติ และเป็นความสุขยิง่ ของคนไทยทัง้ ชาติ อีกวาระหนึง่


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

บทนำ

เรือ่ งใหญ่ทสี่ ดุ ของมนุษย์นอกจากการหายใจก็คอื การกิน และสิง่ ทีค่ นทัง้ โลกกินมาก ทีส่ ดุ นอกจากน้ำก็คอื ข้าว แผ่นดินไทยเป็นอูข่ า้ วอูน่ ำ้ ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ทสี่ ดุ แห่งหนึง่ ในโลก และ เป็นอันดับหนึง่ ในเอเชีย คนไทยปลูกข้าว กินข้าว และมีกจิ กรรมต่างๆ เกีย่ วกับข้าวมากยิง่ กว่าเรือ่ งอืน่ ๆ แต่ เดิมเราปลูกข้าวเพือ่ กินและนำส่วนทีเ่ หลือไปแลกกับสิง่ ทีผ่ ลิตเองในครัวเรือนไม่ได้ ต่อมาก็กลับ กัน คือคนไทยเป็นชาวนาน้อยลง แทนทีจ่ ะทำกิน ก็กลายเป็นทำมาหากิน คือทำอาชีพอืน่ ๆ กัน มากขึน้ แล้วค่อยนำเงินตราไปแลกอาหาร และแลกกับปัจจัยอืน่ ๆ ทัง้ ปัจจัยทีจ่ ำเป็นและไม่จำเป็น คนไทยยุคใหม่กินข้าวโดยเนื้อแท้น้อยลง แต่กินข้าวแปรรูปและกับข้าว ตลอดจน ของกินเล่นและของที่ไม่จำเป็นต้องกินมากขึ้น ตามแรงโฆษณาชวนเชื่อและตามความนิยมที่มา จากต่างประเทศ ส่วนกิจกรรมและพิธกี ารต่างๆ เกีย่ วกับข้าวก็พลอยเลือนหายไปไม่นอ้ ย เพราะวัตถุ เข้ามาแทนที่มนุษ ย์และสัตว์ ผู้คนอ้างว่าไม่มีเวลาจึงใช้เครื่องทุ่นแรงแทนคน กสิกรยุคใหม่

ผู้ปฏิเสธภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ก็อ้างว่าการเกษตรสำเร็จได้ด้วยวิทยาศาสตร์และการฝืน ธรรมชาติ และละทิง้ จิตวิญญาณและความเชือ่ ตลอดจนพิธกี รรมต่างๆ ทีแ่ ท้จริงแล้วบรรพบุรษุ ก็ ได้สร้างสมมาอย่างแนบเนียนด้วยวิธีการและเหตุผลที่สอดคล้องกันดียิ่งกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ธรรมชาติแห่งฤดูกาลและภูมิปัญญาอันมีภูมิธรรมเป็นแก่น มีพิธีการและวัตถุต่างๆ เป็นกระพีแ้ ละเปลือก

11


12

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนแปลงแล้วได้ผลดีก็น่าจะ เปลีย่ น แต่หากได้ผลในทางกลับกัน ผลนัน่ แหละจะกลับมาทำลายมนุษย์เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริยน์ กั พัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงพัฒนาแผ่นดินสมดังพระปรมาภิไธย ทรงพัฒนาชีวิตของผู้ที่อยู่ติดดิน

มากทีส่ ดุ คือ ชาวนา ทรงตระหนักมาตัง้ แต่ยงั ทรงพระเยาว์ ผลผลิตทีม่ ปี ริมาณมากทีส่ ดุ มีคณ ุ ค่าสูงสุด ทัง้ ต่อชีวติ คนไทย ต่อสังคม และเศรษฐกิจของชาติกค็ อื ข้าว จึงทรงเอาพระทัยใส่ตอ่ กิจกรรมของ กสิกรอย่างจริงจัง ดังประจักษ์พยานได้ปรากฏแก่พสกนิกรไปจนถึงชาวต่างประเทศทัว่ โลก ข้าวของพ่อ เป็นหนังสือสำคัญที่คนไทยทุกเพศทุกวัยพึงอ่าน เพื่อให้ได้ทราบและ ซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ล้นกระหม่อมแก่ชาวนาชาวไร่ และคนไทยทุกชัน้ วรรณะ ผูอ้ า่ นจะได้ทราบประวัตแิ ละตำนานข้าวในโลกจนถึงข้าวในดินแดนไทย ได้รจู้ กั พันธุ์ ข้าว การปลูกข้าว การขายข้าว อาหาร และขนมไทยทีท่ ำจากข้าว รวมทัง้ คุณค่าทางโภชนาการ ของข้าว แต่ขา้ วมิได้มคี วามสำคัญแต่เพียงเป็นอาหารสำหรับคนไทยแต่โบราณมา ข้าวคือชีวติ และวัฒนธรรม คนไทยจึงมีทงั้ พิธหี ลวงและพิธรี าษฎร์ ตัง้ แต่กอ่ นปลูกข้าว ขณะทีข่ า้ วเจริญเติบโต และเมือ่ เกีย่ วข้าว เก็บข้าวแล้ว แต่ละขัน้ ตอนของพิธเี หล่านัน้ ล้วนแสดงความสำนึกบุญคุณของ ข้าว เทวดาอารักษ์ บรรพบุรษุ ดินและน้ำ ตลอดจนสัตว์และสิง่ ของที่ใช้ในการทำนา ธรรมชาติและพิธกี รรมต่างๆ อาจมิได้เอือ้ อำนวยให้พชื พรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เสมอไป และระบบสังคมเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ซำ้ เติมให้ชาวนาแท้ๆ ทุกข์ยากลำบากยิง่ กว่า เดิม ราวกับว่าข้าวช่วยให้ผทู้ ี่ไม่ได้ทำนาร่ำรวยขึน้ ส่วนชาวนาจำนวนมากต้องซือ้ ข้าวกิน ทัง้ ยังเป็น หนีท้ ชี่ ดใช้ทงั้ ชีวติ ก็ไม่หมด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นปัญหาเหล่านี้ทั้งหมด และทรง พยายามแก้ไขด้วยกุศโลบายนานาประการ อาทิ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ประกอบพระราชพิธพี ชื มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอย่างโบราณราชประเพณี และโปรดฯ ให้ นักวิชาการเกษตรทำแปลงนาทดลองในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา แล้วพระราชทาน


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ข้าวเปลือกเพื่อใช้ในพระราชพิธีนั้น นับเป็นข้าวขวัญแก่ชาวนาทั่วประเทศ ทรงมีโครงการตาม

พระราชดำริหลายโครงการ ซึง่ เอือ้ อำนวยปัจจัยเพือ่ การเกษตร ได้แก่ การจัดการทรัพยากรน้ำ การทำฝนหลวง ส่วนที่เป็นพระราชดำริสำหรับชาวนาชาวไร่โดยตรงคือ โรงสีข้าวพระราชทาน ธนาคารโค-กระบือ โครงการสหกรณ์พฒ ั นาพระราชดำริ และธนาคารข้าว มาจนถึงการเกษตร ทฤษฎีใหม่ เพือ่ ความเป็นอยูท่ พี่ อดีและพอเพียง การลงทุนลงแรง ทั้งแรงกายและแรงใจ แม้มากเท่าใดก็ยังมิอาจนับความสำเร็จได้ หากคนไทยยังไม่ตระหนักถึงคุณค่าและมูลค่าของข้าว ยังนิยมกินอาหารแปรรูปและกินทิง้ กินขว้าง นิยมสิง่ ปรุงแต่งซึง่ เน้นรสชาติมากกว่าคุณค่าทีแ่ ท้จริง การแปรรูปจนเกินพอดี นอกจากจะทำให้ คุณค่าทางโภชนาการสลายไปมากแล้ว ยังสลายคุณค่าของวัฒนธรรมการกินการอยู่แบบไทย

อีกด้วย หนังสือเรือ่ ง “ข้าวของพ่อ” จึงให้ความรูแ้ ละเตือนสติคนไทยให้รจู้ กั รากเหง้า ทีม่ า แห่งเลือดเนือ้ และจิตวิญญาณของคนไทยแต่โบราณถึงปัจจุบนั และให้ความคิดว่าเราควรกินข้าว กันอย่างไร ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหา-

กรุณาธิคณ ุ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม โปรดเกล้าฯ ให้เกิดโครงการต่างๆ นับพันโครงการ เพือ่ ช่วย ชาวนาให้มีกำลังกาย กำลังใจ และใช้กำลังปัญญา เพื่อให้ได้ข้าวดี บริบูรณ์ ทำให้ครอบครัว

สิ่งแวดล้อม และคนกินข้าวปลอดภัย ได้คุณค่าเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าขายก็ขายได้ราคาดีและ ชาวนาเป็นผู้ได้รายได้นนั้ อย่างยุตธิ รรม “พ่อ” ได้ดแู ลกสิกรและพสกนิกรมาโดยตลอด เมือ่ ใดทีเ่ รากินข้าวเจ้า ข้าวเหนียว

ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง ข้าวแดง ข้าวขัดขาว หรือข้าวแปรรูปอย่างใดก็ตามที พึงระลึกถึง

พระมหากรุณาธิคณ ุ ว่าเราได้กนิ “ข้าวของพ่อ” นัน่ เอง

สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธขิ า้ วไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

13


14

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

สารบัญ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

๑. ข้าวแดงแกงร้อน ๒. ข้าวของแผ่นดิน ๓. พระคุณข้าว ๔. คุณวิเศษของข้าว ๕. ข้าวกับพระมหากษัตริย์ ไทย ๖. แรกนาขวัญ ๗. ขวัญชีวิตชาวนาไทย ๘. ขวัญข้าว ขวัญแผ่นดิน ๙. นาข้าว นาขวัญ ๑๐. “พันธุ์ข้าวมงคล” ๑๑. “ฝนหลวง” ๑๒. สหกรณ์ข้าว-ธนาคารข้าว ๑๓. เมื่อวัว-ควาย เข้าธนาคาร ๑๔. การเกษตรทฤษฎี ใหม่ “พอดีและพอเพียง” ๑๕. “ข้าวของพ่อ”

๑๗ ๒๗ ๓๗ ๔๗ ๕๗ ๖๗ ๗๗ ๘๙ ๙๙ ๑๐๙ ๑๒๓ ๑๓๓ ๑๔๗ ๑๕๗ ๑๖๗

15


16

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๑   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

17

ข้าวแดงแกงร้อน

ฉัน

ก็เหมือนกับเด็กสมัยนี้ทั่วไปที่ ไม่ชอบกินข้าวนัก

ฉันชอบอาหารฟาสต์ฟดู้ อย่าง พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ แซนวิช ฮ็อทด็อก และขนมปังมากกว่า

ทุกมื้อที่กินข้าว ฉันต้องกล้ำกลืนฝืนใจ

พ่อคงจะสังเกตเห็นอาการเบือ่ ข้าวของฉันมานานแล้ว วันหนึง่ พ่อจึงได้เปรยกับฉันขึ้นมาว่า “ลูกต้องกินข้าว”


18

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พ่อบอกว่า

แผ่นดินของเราเป็นอูข่ า้ วอูน่ ำ้ โคตรตระกูลของเรา ของคนไทย ทำนาปลู ก ข้ า วและกิ น ข้ า วกั น ตลอดมาแต่ ชั่ ว บรรพบุ รุ ษ ข้ า ว คื อ ธัญญาหารของแผ่นดิน ที่เหมือนว่าสวรรค์ได้ประทานลงมาให้ คนไทยเป็นตัวตน เป็นชาติ เป็นประเทศขึ้นมาได้ก็เพราะข้าว โดยแท้ ข้าวเปรียบเสมือนหนึ่งธารน้ำนมที่หล่อเลี้ยงคนไทยทุกรุ่น

ให้เติบโตมา ดุจดั่งแม่ดูแลลูกฉะนั้น


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

19


20

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

“ลู ก รู้ ไ หม” พ่ อ ว่ า “พระเจ้ า แผ่ น ดิ นไทยแต่ ก่ อ นก็ ท ำนา

ปลูกข้าว แม้แต่ ในหลวงของเรา ทุกวันนี้ ท่านก็ทำนาปลูกข้าวและ

กินข้าวเหมือนกับคนไทยทุกคน” แล้วพ่อก็เริ่มต้นเล่าเรื่องข้าวให้ฉันฟัง... พ่อบอกว่า ข้าวคือ อาหารแห่ ง อารยะ เป็ น เครื่ อ งหมาย

บ่งบอกถึงอารยธรรมแห่งมนุษย์


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ข้าวต้นแรกเกิดขึ้นในเอเชีย มนุษ ย์ที่เพาะปลูกข้าวขึ้นเป็น พวกแรกก็ ได้แก่ คนเอเชีย อย่างจีน และในเขตร้อนชื้นแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย พม่า ที่มีมานานนับกว่าหมื่นปีแล้ว มนุษ ย์เริ่มอารยธรรมเมื่อ ๔-๕ พันปีก่อน พร้อมกับการ

ทำนาปลูกข้าว มนุษ ย์กินข้าวเป็นอาหารหลักมานานช้า โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเอเชีย

21


22

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ผาหมอนห้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงให้เห็นวิถีเกษตรกรรม

คนเอเชียมีตำนานและนิทานเกี่ยวข้องอยู่กับข้าวมากมาย ที่ แสดงให้เห็นว่า ข้าวนั้นมีความสำคัญยิ่งใหญ่ คนเอเชียทุกประเทศ ต่างยกย่องให้ข้าวเป็นพืชทิพย์วิเศษที่มาจากสรวงสวรรค์ ยิ่งสำหรับคนไทยแล้ว ข้าวคือสิ่งสำคัญของชีวิต


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

มีหลักฐานว่า คนไทย-สยาม ทำนาและปลูกข้าวกันมาแล้ว ตั้ ง แต่ เ มื่ อ กว่ า ห้ า พั น ปี ก่ อ น ข้ า วเป็ น จิ ต วิ ญ ญาณของคนไทย วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนคติความเชื่อต่างๆ ของคนไทย ล้วน เกิดขึ้นมาจากข้าวทั้งสิ้น คนไทยทำนาข้ า วเหนี ย วและกิ น ข้ า วเหนี ย วมาแต่ โ บราณ

เพิ่งจะมาปลูกข้าวกินข้าวเจ้าเอาในยุคหลังกรุงศรีอยุธยา เมื่อได้มี

การติดต่อค้าขาย และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอินเดีย และได้รับ

พันธ์ุข้าวใหม่คือข้าวเจ้าจากอินเดียเข้ามา

23


24

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

และนั บ ตั้ ง แต่ นั้ น มาข้ า วในความหมายของคนไทย ก็ คื อ

ข้าวเจ้ากับข้าวเหนียว คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ทั้งยังใช้ข้าวเจ้าข้าวเหนียว

ทำเป็นขนมกินอีกด้วย ทุกวันนี้ประชาชนกว่าครึ่งโลกกินข้าว แต่สำหรับคนไทยแล้ว

มีมากกว่าร้อยละ ๘๐ ที่กินข้าวเป็นอาหารหลัก คนไทยบริ โภคข้าว

ตกวันละ ๓ มื้อ ๓ ครั้ง เฉลี่ยแล้วก็ประมาณถึง ๑๓๐ กิโลกรัมต่อปี

และต่อคน มีคนไทยมากถึง ร้อยละ ๗๐ ที่เป็นชาวนาอยู่ ในทุ่งกว้าง

ทั่วประเทศรวมพื้นที่แล้วถึง ๖๐ ล้านไร่ ได้เอาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน อย่างเหน็ดเหนือ่ ยเมือ่ ยล้าปลูกข้าวให้เรากิน และเลีย้ งคนในแผ่นดินนี้ กว่า ๖๐ ล้านคน พ่อบอกว่า เป็นคนไทยไม่ควรลืมพระคุณข้าว และอย่าให้ เหมือนกับคำเปรียบเปรยคนโบราณที่ว่า “ไม่รู้คุณข้าวแดงแกงร้อน”

ฉันฟังแล้วก็ได้แต่นั่งนิ่งอึ้ง


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

25


26

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

แม่โพสพ คือ เจ้าแม่แห่งข้าว คือ เทพธิดาผู้รักษาข้าว จึงเปรียบเสมือนกับมารดา ที่ให้น้ำนมแก่บุตร


๒   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

27

ข้าวของแผ่นดิน

พ่อ

กำข้าวสารไว้ในกำมือก่อนโปรยลงตรงหน้าฉัน ให้ เห็นเมล็ดข้าวสีขาวนวลสะอาด เปล่งปลั่ง และสุกใส

“ยกมือไหว้ข้าวสิลูก” พ่อว่า

ฉันปฏิบัติตามคำพ่อทั้งที่ยังงงอยู่

“ไหว้แม่โพสพ” พ่อบอก “แม่โพสพคือเจ้าแม่แห่งข้าว คือ เทพธิดาผู้รักษาข้าว” ตำนานและนิทานไทย เชือ่ ว่า ข้าวมาจากเทวดา พระฤๅษี และ แม่โพสพ แล้วพ่อก็เล่านิทานโบราณพื้นบ้านที่เกี่ยวกับข้าวให้ฉันฟัง


28

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

นิทานของพ่อช่างแสนสนุก เมื่อกล่าวถึงแรงอธิษ ฐานของ เทพเทวดาที่ ได้สังเวยตนเองเป็นทาน ให้กลายเป็นข้าว เป็นอาหาร ของมนุษ ย์ และกล่าวถึงพระฤๅษีว่า เป็นผู้บริ โภคข้าวเป็นคนแรก

ก่อนใคร


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

แม่โพสพ และพ่อโพสพ (จากสมุดข่อยคู่มือทำมาหากินของชาวนาภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๓๕)

ข้าวที่พระฤๅษี ได้แนะนำให้มนุษ ย์ ได้รู้จักกินต่อมานั้น ที่แท้ แล้วก็คือ เนื้อหนังมังสาหรือว่าเลือดเนื้อของแม่โพสพ โดยที่แม่โพสพ ได้อุทิศร่างกายตนให้เป็นทาน เป็นอาหารของมนุษย์ แม่โพสพผู้เป็นเจ้าแม่แห่งข้าว จึงเปรียบเสมือนกับมารดาที่ ให้น้ำนมแก่บุตร

29


30

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ตามตำนานข้าวนั้น เมื่อเป็นข้าวแล้วต้นข้าวก็จะขึ้นเองตาม ธรรมชาติ มีเมล็ดโตเท่าผลแตงโม โตเท่าผลมะพร้าว และจะมีปีก

บินได้ เมื่อสุกแล้วข้าวก็จะบินไปสู่ยุ้งฉางได้เองโดยไม่ต้องเกี่ยวให้ เหนื่อยแรง พ่อบอกว่า ตำนานและนิทานที่ได้เล่ามานี้ ล้วนแล้วแต่เกีย่ วกับ คติความเชื่อ ประเพณี หรือพิธีกรรมอันเกี่ยวกับข้าวของคนไทย ส่วนพระเจ้าแผ่นดินนั้น ตามคติของคนไทยแล้ว คือ เจ้า ชีวิต เจ้าของแผ่นดิน และเป็นเจ้าของที่นาในพระราชอาณาจักรนี้

โดยทั้งหมด

31


32

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระเจ้าแผ่นดินไทยทุกพระองค์ ต่างก็ทรงอุปถัมภ์บำรุงการ ปลูกข้าว และชาวนา ไทย-สยาม ตลอดมาในทุกยุคทุกสมัย ตามหลักวิชาพฤกษศาสตร์ มีขา้ วป่าขึน้ ตามธรรมชาติอยูแ่ ล้ว ต่อมามนุษ ย์จึงนำมาปลูก มีการพัฒนาข้าวปลูกโดยคัดเลือกข้าวป่า มาผสมข้ามสายพันธุ์กันรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนได้พันธุ์ข้าวปลูกที่ปรับตัว เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีรสชาติตามความต้องการของมนุษ ย์ แต่ละภูมิภาค คาดว่าในโลกนี้มีพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อบริ โภคอยู่นับเป็นแสน พันธุ์ สำหรับเฉพาะประเทศไทยแล้ว มีพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อบริ โภคอยู่ มากกว่าหกพันสายพันธุ์ พันธุ์ข้าวไทยชื่อปิ่นแก้ว ได้เคยสร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อ ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นพันธุ์ข้าวดีเยี่ยมเป็นที่หนึ่งของโลก จากการ ประกวดข้าวทั่วโลกในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พ่อบอกว่า ข้าวปิ่นแก้วเป็นพันธุ์ข้าวเจ้านาสวน ที่มีเมล็ด

ข้าวเปลือกยาวรี สวยงาม สะอาดและเป็นมันเลื่อม ไม่ต่างไปจากข้าว ที่พ่อได้เอามาโปรยลงอยู่ตรงหน้าฉันนี้


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

33

ป ฏิ ทิ น ช า ว น า

พฤษภาคม

ฝนเริ่มตก เตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืช แล้วจึงเริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนา มีหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

มิถุนายน เริ่มทำนา โดยหว่านเมล็ดพันธ์ุข้าวลงในที่นา สำหรับประเภทนาหว่านมีการทำขวัญข้าว และไหว้แม่โพสพ

มิถุนายน ส่วนนาดำจะทำหลังจากเตรียมดินและ ตกกล้าไว้แล้วประมาณ ๑ เดือน

กันยายน ข้าวเริ่มตั้งท้อง (เริ่มสุก) กำจัดวัชพืช ที่รบกวน และมีการทำบุญสารทไทย

ตุลาคม ข้าวตั้งท้อง ทำพิธีรับขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ ด้วยการถวายของ และดอกไม้ โดยผูกไว้กับผ้าแดงบนไม้ที่ปักไว้ข้างที่นา

กรกฎาคม - สิงหาคม กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยบำรุง


34

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ปั จ จุ บั น พั น ธุ์ ข้ า วปิ่ น แก้ ว ได้ สู ญ หายไปนานแล้ ว ด้ ว ยภั ย ธรรมชาติ ในขณะที่ข้าวหอมมะลิ ได้เข้ามาสร้างชื่อเสียงแทนให้แก่

ข้าวไทยจนเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลก ข้ า วพั น ธุ์ ข้ า วขาวดอกมะลิ ห รื อ ว่ า ข้ า วหอมมะลิ ข องไทย ปัจจุบันนี้ ได้เป็นที่นิยมแก่ผู้บริโภคข้าวทั่วไป ทั้งในและนอกประเทศ ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากที่สุด ก็เพราะ ว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดพันธุ์หนึ่งของโลก ปั จ จุ บั น ประเทศไทยครองตำแหน่ ง ผู้ ส่ ง ออกข้ า วมากเป็ น อันดับ ๑ ของโลก ติดต่อกันมากว่า ๒ ทศวรรษแล้ว

ข้าวจากผืนแผ่นดินไทยกำลังส่งกลิน่ หอมฟุง้ กระจายไปทัว่ โลก

ข้าวจึงนับว่ามีพระคุณต่อประเทศและคนไทยยิ่งนัก

พ่อบอกฉันให้ยกมือไหว้ขา้ วของแผ่นดิน ไหว้แม่โพสพอีกครัง้

คราวนี้ฉันทำตามคำพ่ออย่างไม่ลังเล


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

35

พฤศจิกายน ข้าวเริ่มสุก ใกล้เวลาเก็บเกี่ยว มีการทำพิธีแรกขวัญข้าว ด้วยการเก็บข้าว มาไว้ที่บ้าน เหน็บไว้บนหลังคา เพื่อรับขวัญก่อนเกี่ยว

ธันวาคม - มกราคม ข้าวสุกเต็มที่แล้ว ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวนา ช่วยกันเกี่ยวข้าวในที่นาทั้งหมด มีการละเล่น พืน้ บ้าน ฉลองฤดูกาลนี้ เช่น การเต้นกำรำเคียว

ธันวาคม - มกราคม ข้าวสุกเต็มที่แล้ว ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวนา ช่วยกันเกี่ยวข้าวในที่นาทั้งหมด มีการละเล่น พืน้ บ้าน ฉลองฤดูกาลนี้ เช่น การเต้นกำรำเคียว

กุมภาพันธ์ นำข้าวขึ้นลาน และนวดข้าว เสร็จแล้วนำข้าว ขึ้นยุ้ง หรือส่งโรงสี มีการทำบุญลาน และทำขวัญยุ้งด้วย

มีนาคม หมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวนาอาจปลูกพืช สวนครัว บำรุงดิน หรือทำเครื่องมือจักสาน ทอผ้า

เมษายน คัดเลือกพันธ์ุข้าวเก็บไว้ปลูก หรือแบ่งขาย เก็บไว้กินในครอบครัว และเตรียมทำนา ตามฤดูกาลต่อไป


36

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๓   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

37

พระคุณข้าว

วัน

หนึ่งพ่อนำรูปชาวนาซึ่งทำพิธี ไหว้ต้นข้าวที่กำลัง ออกรวงเหลืองอร่ามไปทั้งทุ่ง มาให้ฉันดู พลางก็พูดขึ้นว่า “ชาวนามักจะมีพิธีเซ่นไหว้ข้าวอยู่เสมอ เพื่อรำลึกถึงพระคุณ ข้าว”

ข้าวนั้นมีพระคุณต่อเราใหญ่หลวงนัก

นอกจากข้าวจะเลี้ยงคนไทยทั้งหลายให้อิ่มปากอิ่มท้องอยู่กัน อย่างอุดมสมบูรณ์มานานนักหนาแล้ว ข้าวยังถือเป็นเสบียงกรังที่เป็น รากฐานของความมั่นคงของชาติ และบ่งบอกถึงความก้าวหน้าทาง เศรษฐกิจของประเทศด้วย


38

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

“ลูกรู้หรือเปล่า” พ่อว่า “ข้าวช่วยกู้ชาติเรามาแล้ว” เอ๊ะ ยังไง ! ฉันสงสัย พ่อกล่าวความย้อนไปไกลถึงเรื่องการค้าข้าวของไทยกับต่าง ประเทศว่า ได้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยโน่น ลงมาจนยุคอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และกรุงเทพฯ ปัจจุบนั ข้าวถือเป็นสินค้าออก ที่สำคัญของไทยสืบเนื่องมาไม่ขาดสาย พ่อวาดภาพให้ฉันเห็นเรือสำเภาค้าขายเนืองแน่นอยู่ในแม่น้ำ ใหญ่ และเรือเล็กเรือน้อยที่ขึ้นล่องไปตามแม่น้ำและลำคลองสาย ต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่บรรทุกข้าว เมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำก็เพราะว่า

มีข้าวอยู่ทุกหนทุกแห่ง ในฤดูฝนทั้งแผ่นดินเขียวชอุ่มไปด้วยนาข้าว และเมื่อถึงฤดูหนาวทั้งทุ่งนาก็เหลืองอร่ามด้วยต้นข้าวสีทอง

และมีคนปลูกข้าวอยู่ทั่วผืนแผ่นดินนี้


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

39


40

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ข้าว คือทรัพย์สินที่เหมือนว่า ฟ้าและดินนั้นประทานมาให้แก่ เราคนไทยทั้งหลาย ชาวนาไทยแต่โบราณมาปลูกข้าวด้วยมือ มีควายและวัวช่วย ไถนา ชาวนาใช้แรงงาน หยาดเหงื่อ ตำข้าวด้วยครกกับสาก ปัจจุบัน มีควายเหล็ก มีเครื่องจักรกล มี โรงสีที่ ใหญ่ โตทันสมัย ข้าวได้นำ ความมั่งคั่งมาสู่สังคมไทยและประเทศไทยตลอดมา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ นับเป็นยุคที่การค้าข้าวของสยามเจริญรุ่งเรืองมากยุคหนึ่ง และนับ เป็นยุคเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตแบบพอมีพอกิน พอ เลี้ยงตัวเองและครอบครัวไปสู่การผลิตเชิงเศรษฐกิจแบบการค้า ปรากฏว่าการค้าขายกับต่างประเทศของไทยเจริญรุ่งเรืองขึ้น อย่างที่ ไม่เคยมีมาก่อน สินค้าไทยหลายชนิดเป็นสินค้าออกที่นานา ประเทศต้องการมากทีส่ ดุ อย่างเช่น น้ำตาล ไม้สกั แร่ดบี กุ ยางพารา และข้าว การขายข้าวให้ชาวต่างประเทศได้มาก ช่วยให้ข้าวมีราคาสูง ขึ้น อันนับเป็นก้าวแรกในการยกระดับเศรษฐกิจของชาวไร่ชาวนาไทย ให้สูงขึ้นตามไปด้วย

41


42

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ข้าวได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทย และได้เป็นยุทธ ปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง เมื่อโลกมีสงคราม ข้าวก็ ได้ช่วยคนไทยไว้ ใน ยามยาก สงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้ โลกเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร และอดอยากไปทั่ว ทุกคนหิวโหยต้องการข้าว แต่ประเทศไทยและ

คนไทยไม่เคยอดอยากขาดแคลนข้าว หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ประเทศไทยซึ่งต้องตก อยู่ ในฐานะผู้พ่ายแพ้สงคราม เพราะเป็นมิตรกับญี่ปุ่นนั้น ก็ถูกฝ่าย สัมพันธมิตรบังคับให้ส่งข้าวไปชดใช้ค่าสงคราม

43


44

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ไทยต้องส่งข้าวให้เป็นการชดใช้ค่าสงคราม ถึงปีละ ๑ ล้าน ๕ แสนตัน ข้าวไม่เพียงแต่เลี้ยงคนไทยให้อยู่รอด ไม่อดตาย และผ่าน สงครามอันร้ายกาจมาได้เท่านั้น ข้าวยังได้ช่วยชาติ ให้พ้นจากภัยใน ฐานะผู้พ่ายแพ้อีกด้วย ประเทศไทยไม่ตกระกำลำบาก และคนไทยไม่ต้องประสบ เคราะห์กรรมในยามสงคราม ก็เพราะได้ข้าวช่วยเอาไว้โดยแท้

พระคุณเอ๋ย พระคุณข้าว

ข้าวไทยทุกวันนี้ส่งออกไปขายทั่วโลกมากถึง ๑๗๓ ประเทศ แต่ละปีทำรายได้ให้ประเทศมากเกือบแปดหมื่นล้านบาท รายได้ของประเทศซึ่งได้จากการขายสินค้าให้ต่างประเทศนั้น ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบได้มาจากการขายข้าว.....

พ่อเล่าจบแล้ว ก็ยกมือไหว้ข้าวไปทั่วสารทิศ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

45


46

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๔   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

47

คุณวิเศษของข้าว

วัน

นีพ้ อ่ ซือ้ ขนมหลายอย่างเข้าบ้าน ล้วนแต่เป็นขนมไทย ขนมของคนไทยก็ลว้ นแต่ทำขึน้ จากข้าว ทัง้ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ด้วยการแปรรูปข้าวด้วยภูมิปัญญาหลากหลายของคนไทยแต่ดั้งเดิม เราจึงได้มีอาหารทั้งคาวหวานกินกันกระทั่งถึงทุกวันนี้ แป้งทำขนมทำจากข้าว โดยเอาข้าวและปลายข้าวมาโม่ ให้ ละเอียดจนเป็นแป้ง ผสมแป้งเข้ากับน้ำตาลมะพร้าวและกะทิ ใส่ผลไม้ บ้าง ใส่ถั่วบ้าง แล้วทำให้สุกด้วยวิธีต่างๆ ก็กลายเป็นขนมในรูปแบบ ต่างๆ กัน


48

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าที่พ่อยกตัวอย่างให้ดู ก็ได้แก่ ขนม ตาล ขนมกล้วย และขนมสอดไส้ต่างๆ ส่วนขนมที่ทำจากข้าวเหนียว ก็มีเช่น ข้าวหลาม ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวเปียก ข้าวเหนียวตัด และ ข้าวเหนียวมูน ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ก๋วยจั๊บ ขนมจีน ผลิตภัณฑ์เส้นต่างๆ ก็ ล้วนแต่แปรรูปขึ้นจากแป้งข้าวทั้งสิ้น พ่ อ บอกว่ า การแปรรู ป ข้ า วเป็ น การถนอมอาหารวิ ธี ห นึ่ ง

ของคนไทยแต่ โบราณ เมื่อยามจะออกเดินทางไกล หรือว่าต้องไป สงครามไปรบพุ่ง ก็เอาห่อใบตองใส่ไถ้ไป เก็บเอาไว้กินได้นาน อย่าง ข้าวตาก ข้าวตู หรือข้าวเม่า


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

คุณวิเศษของข้าวที่คนไทยแต่เก่าก่อนได้ทำเป็นขนม และ ดัดแปลงพัฒนาจนตกมาถึงลูกหลานทุกวันนี้นั้น ยังมีอีกนานัปการ เช่น ขนมใส่ไข่ที่ได้อิทธิพลจากฝรั่ง อย่างทองหยอด หรือว่า ขนมหม้อแกง ขนมที่ ได้จากจีน อย่างขนมจันอับ ขนมเปี๊ยะ จนถึง ขนมที่ ใช้แป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งอื่นๆ เป็นต้นว่า แป้งมัน ทำเป็น

ขนมชั้นที่กินกันอร่อย

ขนมไทยไม่เป็นแต่เพียงแค่ของกินเล่นเท่านั้น

49


50

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ขนมไทยแต่ โ บราณยั ง ใช้ เ ป็ น ส่ ว นสำคั ญ ในการประกอบ พิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีอีกด้วย ทั้งเซ่นผี บวงสรวงเทพเทวดา ไหว้ครู สู่ขวัญ ทำบุญตามเทศกาล และบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ขนมในพิธีกรรมก็มี เช่น ข้าวตอก (ดอกไม้) กระยาสารท ข้าวทิพย์ ขนมต้ม ข้าวต้มลูกโยน ฯลฯ นอกเหนือไปจากการทำขนม ซึ่งถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวม ทั้งเทวดาด้วยแล้ว คนไทยยังแปรรูปข้าวได้อีกหลายวิธี เช่น ตอนที่ ข้าวตัง้ ท้อง เนือ้ ข้าวยังเป็นน้ำนมอยู่ ก็นำมาทำข้าวยาคู ส่วนข้าวเปลือก ก็หมักทำอุ ทำสาโท หรือเหล้าขาว เป็นเครื่องดื่มน้ำเมาที่ขาดไม่ได้ ในการประกอบพิธีกรรมและในงานเลี้ยงในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่งานเกิด จนถึงงานตาย วันนี้ฉันกับพ่อกินขนมไทยกันหลายอย่าง ฉันรู้สึกว่า ขนม ไทยช่ า งชุ่ ม ลิ้ น ชื่ น คอ และเย็ น เข้ า ไปถึ ง หั ว ใจ พ่ อ บอกว่ า คุ ณ ประโยชน์ของข้าวนั้นเหลือที่พรรณนา

ข้าวมีคุณค่าทั้งในด้านโภชนาการและการค้า

นักโภชนาการวิเคราะห์พบว่า เมล็ดข้าวนั้นมีทั้งน้ำ ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และวิตามินหลายชนิดที่มีประโยชน์ มากต่อร่างกายของคนเรา เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดพืชอื่นๆ

51


52

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การที่ข้าวอุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใย ทำให้ข้าว เป็นอาหารที่ทรงคุณค่าวิเศษยิ่งสำหรับสุขภาพพลานามัยของคน อย่างเช่นข้าวกล้อง เป็นข้าวที่มีสีน้ำตาลอ่อน เนื่องจากผ่าน การกะเทาะเอาเปลือกออกเท่านั้น ไม่ได้สีเอารำและเยื่อหุ้มเมล็ดออก ไปด้วย จึงยังคงมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวที่อุดมด้วยวิตามิน

แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารติดอยู่ ส่วนนี้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วย ส่งเสริมสุขภาพ และช่วยรักษาโรคได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทาน แก่สื่อมวลชน ณ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ว่า


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

“ข้ า วที่ อ อกเป็ น สี ลั ก ษณะนี้ เ ป็ น ข้ า วที่ มี ป ระโยชน์ อย่ า ง

ข้าวกล้อง คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกัน เพราะเห็นว่าเป็นข้าวของ คนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวย แต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง

เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่ก็คนจน” พ่ อ บอกว่ า เมื่ อ ก่ อ นนี้ ข้ า วกล้ อ งเป็ น ข้ า วราคาถู ก เอาไว้ สำหรับให้คนติดคุกต้องโทษกิน ที่เรียกกันว่า “ข้าวแดง” แต่เดี๋ยวนี้ เมื่อพบว่าเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วยวิตามิน แร่ธาตุ มีสารอาหาร ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ข้าวกล้องจึงกลายเป็นข้าวที่มีคุณค่า มี ราคาสูงขึน้ และกำลังเป็นทีต่ อ้ งการมากขึน้ เรือ่ ยๆ ในตลาดการค้าข้าว ทุกวันนี้

53


54

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ปัจจุบันก็มีข้าวสำเร็จรูป หรือข้าวกึ่งสำเร็จรูปขายกันมาก อย่างเช่น ข้าวสวยบรรจุกระป๋อง ทำจากข้าวหอมมะลิ ข้าวสวยบรรจุ ซอง หรือข้าวกึ่งสำเร็จรูปชนิดแห้ง เช่น โจ๊ก และข้าวต้ม เป็นต้น ส่ ว นผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ าหารเสริ ม เดี๋ ย วนี้ ก็ มี ม ากเช่ น กั น อย่ า ง

ข้าวกล้องผสมกับถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวยาคู แชมพูสระผมจนถึง ขนมกรอบยุคใหม่หลายยีห่ อ้ ทำจากข้าว นอกจากนีแ้ ล้วรำข้าวก็ยงั สกัด ใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหารและผสมน้ำมันสำหรับนวดทำครีมบำรุงผิวได้ อีกด้วย หลังจากที่ ได้ฟังพ่อสาธยายเรื่องประโยชน์อันเป็นคุณวิเศษ ของข้าวมาพอหอมปากหอมคอแล้ว ฉันก็ลุกขึ้นบอกกับพ่อว่า อยาก จะไปอาบน้ำสักหน่อย

เสียงพ่อบอกไล่หลัง

“ลูกอยากจะลองใช้สบู่ที่ทำจากไขรำข้าวดูก็ได้นะ พ่อเพิ่งซื้อ มาก้อนหนึ่งอยู่ในห้องน้ำนั่นแล้ว”

อะไรจะขนาดนั้น ! ฉันคิด


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

55


56

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเกี่ยวข้าว ณ บริเวณท้องนาด้านหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทุ่งภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙


๕   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

57

ข้าวกับพระมหากษัตริย์ ไทย

ใน

แผ่นดินที่เป็นราชอาณาจักรไทยทุกวันนี้ มีสถาบัน พระมหากษัตริย์สืบต่อเนื่องมายาวนานนับกว่าพันปีแล้ว พระมหา กษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขแห่งสังคม คำว่า พระมหากษัตริย์ ตามคติของอินเดียหมายถึง นักรบ แต่ ในความหมายของคนไทยแล้วคือ พระเจ้าแผ่นดิน เป็นเจ้าของ แผ่นดินและเป็นเจ้าชีวิตของผู้คนทั้งปวงในพระราชอาณาจักร และ พระมหากษัตริย์ยังหมายถึง ผู้ป้องกันภัยให้แก่คนทั้งปวงด้วย ในอีกความหมายหนึ่งของคนไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็น สมมติ เ ทวราช คื อ เปรี ย บดั ง เทวดาที่ ม หาชนนั บ ถื อ ยกย่ อ งและ ยอมรับร่วมกันให้ปกครองแผ่นดิน ไพร่ฟ้าประชาชน


58

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีภาระหน้าที่โดยตรง ทั้งในด้าน การปกครองป้องกันและดูแลผืนแผ่นดินและผูค้ นในพระราชอาณาจักร ให้มีความสงบสุข ดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขหมู่ชนทั้งปวง ทั้งในด้าน การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและเป็นที่ทำมาหากิน สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะเจ้าแผ่นดิน และผูป้ อ้ งกันภัย จึ ง เกี่ ย วข้ อ งอยู่ อ ย่ า งสำคั ญ กั บ ผื น แผ่ น ดิ น และนาข้ า วในพระราช อาณาจักร พระมหากษัตริย์ไทยก็ได้ทรงปฏิบัติพระราชภาระหน้าที่เช่นนี้ ตลอดมาในทุกยุคทุกสมัย


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ในฐานะที่ ท รงเป็ น เจ้ า ของแผ่ น ดิ น เจ้ า ของที่ นา หรื อ ว่ า เกษตรบดี พระมหากษัตริย์ ไทยทุกพระองค์ นับตั้งแต่อาณาจักร

ล้านนา อาณาจักรสุโขทัย ลงมาจนถึงกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ ต่างก็ทรงให้ความสำคัญแก่การทำนาและการเพาะปลูก ตลอดมา

59


60

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโยนกล้าข้าวในแปลงสาธิตการเกษตร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

พระมหากษัตริย์ทรงปกป้องคุ้มครองดูแลผืนแผ่นดินนาไร่ให้ เกิดความสงบสุข ปลอดภัย และไร้อันตราย ทรงจัดสรรแบ่งปันที่ดิน อย่างเป็นธรรมแก่ราษฎรตามฐานะและตำแหน่ง และทรงเป็นผู้ไกล่เกลีย่ ตัดสิน เมื่อเกิดมีกรณีพิพาทขึ้น เพื่อมิ ให้เกิดความอยุติธรรม และ

เอารัดเอาเปรียบกัน ระหว่างผู้ทำกินด้วยกัน ทั้งพระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง ต่อเหล่าราษฎรผู้มีความอุตสาหะ ในการบุกเบิกที่ดินเพื่อทำนา ทำไร่ ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการส่งเสริมให้ขวัญให้กำลังใจแก่พสกนิกรผูท้ ำนาทำสวน


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีหว่านข้าว ณ บริเวณแปลงนาเกษตร ต.บางงาม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

61


62

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

บทบาทของรัฐและพระมหากษัตริยน์ บั ตัง้ แต่โบราณกาลลงมา จนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการจัดระบบ การถือครองที่นา และขยายพื้นที่การทำนาเพาะปลูกเพื่อเพิ่มพูนการ ผลิต เช่น ขุดคลองเพื่อการชลประทาน จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยต่อมา ใน สมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ การปฏิ รู ป การปกครองประเทศใหม่ ใ นแผ่ น ดิ น พระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาลที่ ๕ เฉพาะในด้ า น การเกษตรต้องนับว่าเป็นก้าวแรกของชีวิตใหม่และโลกใหม่ของข้าว และชาวนาไทยทีเดียว เมื่อได้สถาปนากระทรวงใหม่แบบสากลโลก สำหรับการพัฒนาข้าวและการทำนาไทยขึ้นเป็นการเฉพาะ นั่นก็คือ กระทรวงเกษตราธิการ ในรัชกาลนี้ได้มีการเริ่มพัฒนาข้าวและการทำนาขึ้นตามหลัก วิ ท ยาการการเกษตรสมั ย ใหม่ ได้ มี ก ารขุ ด คลองใหม่ ด้ ว ยระบบ ชลประทานแบบใหม่ ขึ้ น ในหลายที่ ห ลายแห่ ง ด้ ว ยกั น ทั้ ง ยั ง ได้ มี

ความพยายามที่จะแสวงหาพันธุ์ข้าวดี ใหม่ๆ มาเพื่อเพาะปลูกให้มี ประสิทธิภาพขึ้น

63


64

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

จนถึงในที่สุดได้มีการออกโฉนดที่ดินรับรองและคุ้มครองสิทธิ ผู้ถือครองที่ดิน เพื่อทำไร่ทำนาอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจังขึ้นเป็น ครั้งแรก อันส่งผลให้ชาวนาเกิดขวัญและกำลังใจในการสร้างชีวิตใหม่ ของตนขึ้นด้วย หลายพื้นที่ของประเทศในรัชสมัยนี้ ได้กลายเป็นที่เหมาะสม สำหรับปลูกข้าวโดยเฉพาะ ดังนั้นการผลิตข้าวแบบเลี้ยงตัวเองที่ ได้ พัฒนามาเป็นเศรษฐกิจแบบการค้า ก็ถึงช่วงเวลาอันสำคัญที่จะก้าว ขึ้นไปสู่การค้าโลก กรุงเทพฯ ได้กลายเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ทสี่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก ก็ในรัชกาลที่ ๕ นี้ ... ฉั น ฟั ง พ่ อ เล่ า เรื่ อ งความเป็ น มาของพระมหากษั ต ริ ย์ ไ ทย กับข้าวด้วยความสนใจใคร่รู้และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ห้วยทุ่งจ้อ และม่อนอังเกต อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๑

65


66

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๖   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

67

แรกนาขวัญ

ฉัน

พอจะรู้จักวันพืชมงคลหรือว่าวันแรกนาขวัญอยู่บ้าง ก็จากจอโทรทัศน์เพราะในวันนีม้ กี ารถ่ายทอดงานพิธที ที่ อ้ งสนามหลวง ฉันเห็นแต่ภาพคนแต่งชุดเทวดาออกมาไถนา มีเทพีสาวหาบ ข้าวและพระโคที่เสี่ยงทายกินหญ้า นอกจากนั้นแล้วฉันก็ไม่รู้อะไรเลย

วันนี้พ่อเล่าเรื่องวันแรกนาขวัญให้ฉันฟัง

พ่ อ บอกว่ า พระราชภารกิ จ ของพระมหากษั ต ริ ย์ ไ ทยแต่ โบราณมา นอกจากการส่งเสริมเรื่องการทำนาปลูกข้าว และการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับข้าวและชาวนา ดังที่ได้เล่ามาแล้วนั้น อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ก็ คื อ การบำรุ ง ขวั ญ และกำลั ง ใจให้ แ ก่ ร าษฎรผู้ ท ำนา ในพระราช อาณาจักรเขตสยามประเทศนี้


68

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระราชพิ ธี จ รดพระนั ง คั ล แรกนาขวั ญ ถื อ เป็ น พระราช กรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ ไทยในการช่วยสนับสนุนขวัญ และกำลังใจของราษฎรผู้ทำนาและประกอบการเกษตรทั้งหลาย ซึ่ง

ได้มีมานานนับแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว ทั้ ง นี้ เนื่ อ งจากว่ า พระมหากษั ต ริ ย์ ใ นฐานะที่ ท รงเป็ น

เกษตรบดี หรือว่าเจ้าของที่นานั้น ย่อมจะทรงตระหนักดีถึงปัญหา และอุปสรรคทั้งปวงในการทำนา เพาะปลูก อันจะเกิดขึ้นมาจากความ ไม่ แ น่ น อนของธรรมชาติ อ ย่ า ง ดิ น ฟ้ า อากาศ เช่ น ว่ า ลมแรง

ฝนแล้ง น้ำท่วม หรือแม้อาจจะเกิดเหตุการณ์อย่างฝูงแมลงและ

โรคระบาดลงนาข้าวให้เกิดเสียหายได้ พระราชพิธีบำรุงขวัญเช่นนี้

จึงได้เกิดขึ้นจนเป็นโบราณราชประเพณีที่มีต่อเนื่องกันมายาวนาน พระราชพิธีนี้มีความสำคัญมาก เพราะการที่พระมหากษัตริย์ ออกไถนา หรือทรงแต่งตั้งผู้แทนพระองค์ออกไปไถนาเป็นปฐมฤกษ์ นั้น นับว่าเป็นพระราชกรณียกิจที่ใกล้ชิดต่ออาณาประชาราษฎร์ที่สุด แสดงให้เห็นว่าแม้องค์พระมหากษัตริย์ก็ยังมิ ได้ทรงหลงลืม หรือละเลยคันไถ อันเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของชาติของประเทศ สำคัญยิ่งกว่าศาสตราวุธหรือเครื่องประดับอิสริยยศใดๆ

พิธีแรกนานั้นจึงเป็นเครื่องแสดงเกียรติแห่งชาวนาทั้งปวง


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระราชพิ ธี จ รดพระนั ง คั ล แรกนาขวั ญ แต่ เ ดิ ม เป็ น พิ ธี พราหมณ์ ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงได้โปรดให้เพิ่มพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาด้วย ซึ่งเรียก ว่า พระราชพิธีพืชมงคล ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เมล็ดพันธุ์ พืชต่างๆ นั้น ต่ อ มาพิ ธี ทั้ ง สองนี้ ได้ มี ชื่ อ รวมกั น เรี ย กว่ า พระราชพิ ธี

พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

69


70

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พิธีแยกกันทำคือ พิธีพืชมงคล ทำที่

ท้องสนามหลวง ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำที่

ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร ทั้งสองพิธี ใช้ฤกษ์เดียวกันและวันเดียวกัน โดยพระยาแรกนาขวัญกับเทพีทงั้ สี่ เข้าฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ในปะรำพิธีพืชมงคลก่อน แล้วจึงไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเริ่มพิธีแรกนา พระยาแรกนาขวัญก็คือ คนที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้งให้ เป็นตัวแทนของพระองค์ ในการเริ่มพิธี ไถนา เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่ราษฎรนั่นเอง


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ พระมหากษัตริย์ ไทยที่ทรงทำหน้าที่ เป็นเกษตรบดีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ก็ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ การค้าข้าวไทยได้เติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นมา ก็เนื่องมาจาก การปฏิรูปประเทศ ตามแนวทางตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพัฒนาการปลูกข้าวเป็นสินค้าส่งออกอย่าง เป็นรูปแบบมากยิ่งขึ้น หลังจากที่พระองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก ในรัชกาลนี้ ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว โดยเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวขึ้นในหลายที่หลายแห่ง รวมทั้งมีการขุดคลอง ต่างๆ เพื่อใช้ในการชลประทาน และคมนาคมเพิ่มขึ้นหลายสิบคลอง เฉพาะที่ฉะเชิงเทราและชานเมืองกรุงเทพฯ เริ่มการคมนาคมขนส่ง โดยทางรถไฟ และรวมทั้งปฏิรูปการปกครองใหม่ ที่ ได้มีการจัดตั้ง

กระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาแทนกรมนา ดังที่กล่าวแล้ว นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ ทรงสนับสนุนให้จัดการประกวดพันธุ์ข้าวเพื่อส่งเสริมให้ชาวนามีพันธุ์ ข้าวดี เพื่อการเพาะปลูกที่จะทำให้มีรายได้ ทรงสนับสนุนการวิจัย เทคโนโลยีที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของข้าวไทยโดย ส่วนรวมด้วย

71


72

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีแรกนาขวัญในรัชกาลนี้ ทำที่นาหลวงทุ่งพญาไท โดยทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงสร้างพระราชวัง พญาไทขึน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เพือ่ ใช้เป็นทีเ่ สด็จประพาสทอดพระเนตร การทำนา การปลูกผัก และเลี้ยงไก่ ตามแบบอย่างที่ได้ทอดพระเนตร มาในต่างประเทศ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การสร้ า งวั ง ในครั้ ง นั้ น พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ใช้พื้นที่ด้านตรงข้ามกับ ตำหนั ก พญาไทเป็ น ที่ ท ำนา และให้ ส ร้ า งโรงนาสำหรั บ ประกอบ

พระราชพิธีแรกนาขวัญด้วย ครั้นเมื่อถึงฤดูทำนา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ก็จะทรงนำเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ลงดำนาเป็นการประเดิม ด้วยพระองค์เอง

73


74

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความ สำคัญของข้าวและชาวนาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากการจัดตั้งสถานี ทดลองข้ า วขึ้ น ที่ ค ลองรั ง สิ ตในรั ช กาลของพระองค์ ก็ ดี จนถึ ง การ

ที่ ส ายพั น ธุ์ ข้ า วไทยได้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ พั น ธุ์ ข้ า วที่ ดี ที่ สุ ด ของโลก

ในรัชกาลต่อๆ มาก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า การค้าข้าว

ของไทยได้เข้าสู่ระบบที่มีมาตรฐานทางคุณภาพอันเป็นที่ยอมรับใน ตลาดโลกแล้ว จะว่าไปแล้วพระมหากษัตริย์ ในพระบรมราชจักรีวงศ์แห่ง

กรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ ต่างก็ทรงเห็นความสำคัญของข้าวและ ชาวนาไทยตลอดมา พ่อบอกให้ฉนั น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระเจ้าอยูห่ วั ทุกพระองค์ ในพระบรมราชจักรีวงศ์


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๑

75


76

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๗   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

“ศรี

ขวัญชีวิตชาวนาไทย

ศรี วันนี้ก็เป็นวันดีอันเลิศลบ

ข้าจะขออัญเชิญขวัญแม่พระโพสพอย่าระคายคาง ขอเชิญมาสู่ยุ้งฉางในเพลาวันนี้ อันขวัญแม่อย่าหนีไปทางไหน...” วันนี้พ่อมาแปลก เอื้อนลงลูกคอ ร้องเพลงเป็นทำนองแหล่ เทศน์ให้ฉันฟัง ประกอบการเล่าเรื่องการทำขวัญข้าวของชาวนา เรื่องที่พ่อเล่าวันนี้ก็คือ ชีวิตชาวนาไทยส่วนใหญ่แต่ดั้งเดิม ฉันเห็นภาพในใจราวกับได้เห็นของจริง และได้กลิ่นหอมของธูปเทียน ดอกไม้ บายศรี ลอยอบอวลไปทั้งท้องนากว้างยาวสุดลูกหูลูกตา

77


78

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ฉันเห็นภาพชาวนาเดินตามรอยไถ มีวัวควายเทียมแอกลาก ไถ พลิกฟื้นหน้าดิน พอฝนตกดินชุ่มฉ่ำก็หว่านโปรยเมล็ดข้าวลงไป กับท้องนาที่ชอุ่มน้ำ ข้าวค่อยๆ เติบโตแตกใบเป็นต้นกล้า ชาวนาถอน กล้าไปปักดำ วันเวลาผ่านไปราวๆ สักสี่เดือน ข้าวก็ออกรวงเหลือง อร่ามไปทั้งทุ่ง เสียงใบข้าวต้องลมเกรียวกราวดูราวกับคลื่นทยอยพัด เข้าจรดขอบฟ้า ชาวนาสวมงอบก้มๆ เงยๆ ใช้เคียวเกี่ยวรวงข้าวมากองรวม

ทีล่ านเพือ่ นวดข้าวให้เมล็ดหลุดจากรวง ตากข้าวให้แห้ง แล้วขนข้าวขึน้ ยุ้งฉาง ภาพวัวควาย ลอมฟาง ระหัดวิดน้ำ และเสียงเพลงเกี่ยวข้าว คือสัญลักษณ์ของชีวิตชาวนาไทยแต่ดั้งเดิม


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

“พิธีแรกนาขวัญอย่างที่พ่อได้เล่ามาแล้วนั้น เป็นพิธีหลวง หรือพิธีที่เกี่ยวกับราชการ และเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ทว่าชาวนาแต่เก่า ก่อนก็มีพิธีแรกนาเหมือนกัน มีทั้งพิธีของแต่ละครอบครัวและพิธีของ ชุมชนส่วนรวม” พ่อสรุปว่าพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการทำนานี้ มีทั้ง พิธีหลวงและพิธีราษฎร์ พิ ธี แ รกนาของชาวนาโดยทั่ ว ๆ ไปนั้ น มั ก จะทำกั น หลั ง

พระราชพิธีของหลวงในเดือน ๖ เช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วพิธีชาวบ้านจะทำอย่างง่ายๆ คือ เมื่อเซ่นไหว้ บนบานศาลกล่ า วขอพรจากผี แ ละเทวดาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การทำนา อย่างเช่น พระภูมิเจ้าที่ แม่โพสพ แม่ธรณี ผีนาผีไร่ หรือว่าผีตาแฮก แล้ว ก็จะลงมือไถนาพอให้เป็นพิธี พอให้ครบ ๓ รอบ ก็เป็นอันว่า เสร็จพิธี ในบางท้องที่ก็อาจจะทำแตกต่างกันออกไปบ้าง

79


80

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

เช่นเดียวกับงานบุญบั้งไฟ ประเพณีที่สำคัญของคนอีสาน และชาวนาอีสานทุกคน ซึ่งถือเป็นการจัดงานรื่นเริงครั้งใหญ่ของคน อีสาน เพื่อเรียกความมั่นใจก่อนลงมือทำนา


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ชาวนานั้ น นั บ ตั้ ง แต่ โ บราณมาแล้ ว มั ก จะมี พิ ธี ก รรม

เกี่ยวกับข้าวและการทำนาอยู่เสมอ ตามคติตำนานและตามความเชื่อ ของตน ประเพณี พิธีกรรมเหล่านี้จะมีนับตั้งแต่ก่อนเริ่มฤดูทำนาถึง ระหว่างการทำนาเพาะปลูก และมีไปถึงตลอดจนกระทัง่ ฤดูกาลเก็บเกีย่ ว และหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็เชิญข้าวขึ้นยุ้งฉาง และมีงานฉลองเกือบ ตลอดปีก็ว่าได้

81


82

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พ่อเรียกเรื่องเหล่านี้ว่า วัฒนธรรมข้าว

...วัฒนธรรมข้าว คือวิถีชีวิตของชาวนาไทย คือส่วนหนึ่งของ ชี วิต และเป็นขวัญชีวิต วิญญาณของชาวนาไทยที่ ไ ด้ มี ม าแต่ ค รั้ ง โบราณดั้งเดิม คนไทยและชาวนาไทยเชื่อว่า ดิน น้ำ ลม ฟ้า และป่าไม้ล้วน มีเทพเจ้าสิงสู่ ข้าวก็เช่นกัน มีจิตวิญญาณ มีเนื้อ มีหนัง มีตัวตน ซึ่ง มองเห็น ซึ่งใครก็ตามที่ปฏิบัติดีย่อมได้ผลดีตอบ

ตรงกับคำพูดที่ว่า เซ่นไหว้ดี พลีถูก เพาะปลูกบริบูรณ์ เฉลว สิ่งที่สานด้วยตอกขัดกันเป็นแฉกๆ อาจมี ห้าแฉก หกแฉก หรือมากกว่านั้น มักทำขึ้นตาม ความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ หักตอกครั้งแรก พูดว่า นะ ครั้งที่สอง โม ครั้งที่สาม พุท ครั้งที่สี่ ธา ครั้งที่ห้า ยะ รวมเป็น นะโมพุทธายะ หมายถึง พระเจ้าห้าพระองค์ มักพบว่ามีการปักเฉลวไว้บน เครื่องเซ่นพลีตามริมทางหรือทางแยก เพื่อเป็น เครื่องหมายบอกให้ภูตผีและวิญญาณมารับ เครื่องเซ่นพลีนั้น หรือปักเฉลวขนาดใหญ่ไว้ในนาข้าว ขณะข้าวตั้งท้อง เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้ทำลาย ข้าว หรือปักเฉลวไว้บนลานก่อนทำบุญลานนวดข้าว โดยปักไว้ ๔ มุม แล้วขึงสายสิญจน์ล้อมรอบ เพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคลไม่ให้เข้าไปในลานนวดข้าว ภาคเหนือ ภาคอีสาน เรียก ตาแหลว


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พิธีขึ้นข้าวทั้งสี่ เพื่อไล่ศัตรูข้าวและแมลง ที่จังหวัดน่าน

ชาวนาไทยทุ ก ภาคต่ า งก็ มี พิ ธี ก รรม ประเพณี ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กับข้าวและการทำนาเพาะปลูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะคล้ายกัน ทั้งนี้ ไม่ ว่าจะเป็นการบวงสรวงขอขมา บูชา สวดอ้อนวอน เสี่ยงทาย บอก กล่าว ฝากฝัง สู่ขวัญ ทำขวัญ หรือว่าฉลองขวัญก็ตาม ไม่มี โรค ระบาด และได้ผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ประเพณีและพิธีกรรมเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นการเติมเต็มเพื่อ สร้างความมั่นใจ และความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่ชาวนาไทย ทั้งในเรื่อง ของการงาน การดำเนินชีวิต เพื่อเป็นการแสดงความอ่อนน้อม ความ เคารพและเพือ่ ความเป็นสวัสดิมงคล ทีแ่ น่นอนทีส่ ดุ ก็เพือ่ ให้พชื พรรณ ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ดังที่ชาวนาทุกคนประสงค์

83


84

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

แม้แต่เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้อง อุ้มท้อง ชาวนาก็จะมีพิธีทำขวัญ แม่โพสพ แสดงให้เห็นว่าชาวนานั้นทะนุถนอมข้าวยิ่งนัก ข้าวเป็นสิ่งมีชีวิตและมีขวัญที่จะต้องมีการบำรุงขวัญมิให้หนี หายไปไหน จนแม้ แ ต่ วั ว ควาย ซึ่ ง เป็ น ผู้ มี พ ระคุ ณ ก็ มี ก ารทำขวั ญ

สู่ขวัญข้าว ขวัญควาย ชาวนาเซ่นไหว้นับตั้งแต่ผีทุ่ง ผีป่า ผีเรือน และผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตาทวด สู่ขวัญทุ่ง รับขวัญข้าวขวัญยุ้งฉาง ตลอดจนสัตว์เลี้ยง และเครื่องมือสิ่งแวดล้อมอันสำคัญ ที่ช่วยให้ข้าวเติบโตไม่เสียหาย และเมื่อได้ผลดีก็จะแก้บน หรือทำบุญทำทานฉลองรื่นเริงทั้งที่บ้าน และที่วัด การทำบุญกับพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นการปรับ เปลี่ยนประเพณีและพิธีกรรมของชาวนาไทย ให้เข้ากับพุทธศาสนาที่ ตนนับถือโดยเฉพาะ


เมื่อได้ฟังพ่อเล่าถึงเรื่องชาวนากับประเพณี พิธีกรรมตาม ฤดูกาลต่างๆ นั้น ในหัวใจฉันจึงครึกครื้นราวกำลังฟังเสียงสวด เทศน์ กับการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ของชาวนาที่กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรี อย่างตะโพน กลองยาว ซอ แคน และระนาด ตลอดจนแม้เสียงปรบมือ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี และท่วงทำนองของเพลงเกีย่ วข้าวทีม่ เี นือ้ ความ เกี้ยวพาราสีกัน เสียงเหล่านี้คือชีวิต และคืออดีตที่ผ่านมาของชาวนาไทย

นับร้อยๆ ปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าบางครอบครัว บางชุมชนจะทำ พิธีกรรมน้อยลง แต่ก็ยังต้องทำ


86

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

วั ฒ นธรรมข้ า วไทยแต่ โ บราณดั้ ง เดิ ม มา ถื อ เป็ น การจั ด ระเบียบของชุมชน ท้องถิ่น และสังคมชาวนาวิถีหนึ่งซึ่งสอนคนให้ พึ่งพาซึ่งกันและกัน มีน้ำใจอาทรต่อกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่โลภมาก ไม่ เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักสุขสนุกสนานรื่นเริง และรู้จักเพียงพอ ทั้งยังสอนให้ยอมรับความเป็นจริงของดุลธรรมชาติและชีวิต ทั้งหลายสอนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขทั้งในฐานะผู้ให้และผู้รับ รู้จัก รักษาสิ่งจำเป็นที่ควรจะรักษาไว้ และรู้ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย ควรจะ ต้องระมัดระวัง วัฒนธรรมข้าวของไทยที่ ได้แสดงออกในประเพณี พิธีกรรม ทั้งหลายนี้ล้วนแล้วแต่สะท้อนทัศนคติของคนไทย ชาวนาไทย ในเรื่อง ของการยอมรับคุณงามความดีและจริยธรรม มีความกตัญญูกตเวที ไม่ประมาท หากแต่อ่อนน้อมเคารพต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และไม่ ละเลยถึงผู้มีพระคุณ... “ชาวนารู้บุญคุณข้าวอยู่เสมอ ข้าวคือชีวิตของคนไทยทุก คน” พ่อพูดลงท้าย “พวกไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักบุญคุณ โบราณท่านถึงด่าว่า เป็น พวกเลี้ยงเสียข้าวสุก ยังไงล่ะลูก”

ฉันสะดุ้ง อ๊ะ ! นี่พ่อว่าฉันหรือว่าใครกัน


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พิธีส่งข้าวบิณฑ์ไหว้แม่โพสพขณะตั้งท้อง เครื่องพลีกรรมประกอบด้วย ข้าว ผลไม้รสเปรี้ยว แป้ง กระจก เสื้อผ้า หวี

87


88

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๘   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

89

ขวัญข้าว ขวัญแผ่นดิน

“เว

ลานึกถึงทำไมมีข้าวมาก ราคาข้าวก็ตก ก็น่าจะ เป็นการดีที่มีข้าวมาก พวกเราที่บริโภคข้าว ก็จะได้ซื้อข้าวในราคาถูก

แต่หารู้ไม่ว่าข้าวที่บริโภคทุกวันนี้ ราคาก็ยังแพง เป็นที่เดือดร้อนแก่ ประชาชนทั่วไป ก็ต้องหาเหตุผล ทำไมแพง ข้าวที่บริโภคแพง และ ข้าวที่ชาวนาขายถูก... ... เข้าไปหากลุ่มชาวนา ถามเขาว่าเป็นอย่างไร เขาบอกว่า แย่ ข้าวราคาถูก ก็ถามเขาว่า ยุ้งฉางมีหรือเปล่าที่จะเก็บข้าว เขาบอก ว่ามี ก็เลยเห็นควรที่จะเก็บข้าวเอาไว้ก่อนหลังจากที่ข้าวล้นตลาด

แต่ว่าไม่ทัน นึกดูว่าทำไมเขาเก็บข้าวไม่ได้ แม้จะมียุ้งฉาง ก็เพราะเขา ติดหนี้ ...


90

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

... เหตุที่ติดหนี้ ก็คือ เสื้อผ้าเหล่านั้น หรือกะปิ น้ำปลา หรือแม้แต่ข้าวสารก็ต้องบริโภค ถ้าไม่ได้ไปซื้อที่ตลาดหรือร่วมกันซื้อ ก็คงเป็นพ่อค้าหรือผู้ที่ซื้อข้าวเป็นผู้นำมา อันนี้ก็เป็นจุดที่ทำให้ข้าวถูก ข้าวเปลือกถูก แล้วก็ทำให้ข้าวสารแพง... ... คือว่า ชาวนาทำนาไปตลอดปี ก็ต้องบริ โภค เมื่อต้อง บริโภคก็ต้องเอาสิ่งของ ต้องไปติดหนี้เขามา สำหรับหาสิ่งของบริโภค แล้วก็เอาเครื่องบริ โภคก็ ได้รับบริการอย่างดีที่สุดจากผู้ที่มาซื้อข้าว บอกว่า ไม่ต้องเอาข้าวมาเดี๋ยวนี้ เวลาได้ผลแล้วก็จะเอา แต่ว่าเอา สิ่งของมาให้ แล้วก็เชื่อของนั้นก็มีราคาแพงเพราะว่านำมาถึงที่ ข้าวที่ เวลาได้แล้วจะขายก็ต้องขายในราคาถูกเพราะว่าเขามารับถึงที่ อันนี้ เป็นปัญหาสำคัญ...”


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระราชดำรั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาล ปั จ จุ บั น ที่ ท รงห่ ว งใยและทรงรั บ รู้ ปั ญ หาของชาวนาได้ ต รั ส ไว้ ใ น วโรกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันเสาร์ที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ อันแสดงให้เห็นว่า เมื่ อ ประเทศและโลกเปลี่ ย นไปตามกาลเวลาและยุ ค สมั ย ไทยก็หนีไม่พ้นความเปลี่ยนแปลงในช่วงกาลเวลาที่ผ่านมาภายในไม่กี่ ทศวรรษนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตของชาวนาไทยนั้น เปลี่ยนแปลง มากที่สุด

91


92

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ชีวิตชาวไร่ชาวนาไทย ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองลงมา และเมื่อ โลกเกิด “การปฏิวัติเขียว” ด้วยเทคโนโลยี และด้วยกรรมวิธีทาง วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ที่ทำให้นาไร่ ผืนแผ่นดินและพรรณพืชต้อง เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ชีวิตเก่า สังคมเก่าของชาวนาทั้งหลาย ก็เหมือนหนึ่งว่า ลม ผ่านทุ่งข้าวไปอย่างไม่มีวันที่จะหวนกลับมาอีก สิ่งที่ชาวนาไทยจะต้องเผชิญสำหรับโลกปัจจุบัน ล้วนแต่เป็น สิ่งใหม่ ใหญ่โต ที่ท้าทายอยู่ตรงหน้า เช่นว่า ข้าวพันธุ์ใหม่ กับของ ใหม่อย่างปุ๋ย ยาเคมี เครื่องจักรกลทางการเกษตรยุคใหม่ ที่ส่งผล ทำให้ต้องมีการปรับกระบวนการทำนาใหม่ทั้งหมด นับตั้งแต่การ

เพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การนวดข้าว รวมถึงระบบการทำนาใหม่ที่ทำ ได้หลายๆ ครั้งในรอบปี ทั้งยังมีตลาดแบบใหม่ของระบบการค้าข้าว ซึ่งชาวนาทั่วไปไม่เข้าใจ รู้ไม่ทัน สิ่งเหล่านี้เป็นยิ่งกว่าฝูงแมลงและโรคระบาดที่ชาวนาไทยเคย ได้พบ ได้เผชิญมาในอดีตเสียอีก ผลก็คือ ในรอบหลายสิบปีมานี้ อาชีพชาวนาไทยส่วนใหญ่มีแต่ตกต่ำ ย่ำแย่ลง


ภาพยันต์จากสมุดข่อยโบราณสำหรับลงผ้าขาว ทำเป็นธงปักไว้กลางไร่นา ไล่เพลี้ย หนอน แมลง ไม่ให้เบียดเบียนข้าวได้

ชาวนาไทยยุคใหม่ส่วนใหญ่ต่างตกอยู่ในสภาพยากจน ต้อง เป็นหนี้ เป็นสิน หรือต้องตกอยู่ ในสภาพที่เรียกว่า ล้มละลายทาง สังคม แม้วา่ จะทำงานเท่าใด รายได้ก็ไม่พอกับค่าใช้จา่ ยในชีวติ ประจำวัน ซ้ำหนี้สินเพิ่มพูนขึ้นเพราะต้องลงทุนมากขึ้น แต่ขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อวัฒนธรรมข้าวดั้งเดิมเปลี่ยนไปไม่เหมือนเก่า ลักษณะ ความสัมพันธ์ในชุมชนชาวนา ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป


94

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ชาวนาจะต้ อ งใช้ เ งิ น ลงทุ น นั บ ตั้ ง แต่ จ้ า งรถไถดิ น แทนใช้

วัวควายไถนา จ้างลูกจ้างช่วยทำนา นวดข้าว แบก ขน ไปจนถึง จำเป็นต้องซื้อปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีฆ่าแมลง ต้องลงทุนซื้อเครื่องมือ

ที่จำเป็นบางอย่าง และอาจต้องเสียค่าเช่าที่นาทำกินด้วย ล้วนแต่

จะต้องกู้ยืมเงินเป็นหนี้เป็นสินเพิ่มขึ้นทั้งนั้น นอกจากธนาคารที่ชาวนามักจะตกเป็นลูกหนี้เงินกู้แล้ว เงินที่ ชาวนาส่วนใหญ่กู้มักจะมาจากพ่อค้าข้าวคนกลางที่รับซื้อข้าวนั่นเอง ซึ่งในที่สุดก็ต้องเสียทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไปเป็นข้าว ประกอบกับ การที่พ่อค้าข้าวและโรงสีนายทุนบางกลุ่ม มักกดราคาซื้อข้าวและเอา รัดเอาเปรียบชาวนา ชาวนาจึงไม่อาจปลดหนี้ปลดสิน และมีชีวิตที่ดี ขึ้นได้ อีกอย่างหนึ่งเมื่อโลกเปลี่ยน ระบบนิเวศถูกทำลายลง และ ธรรมชาติต้องเสียสมดุล ทรัพยากรธรรมชาติมีแต่สูญสิ้นไป ในขณะที่ สารพิ ษ มี แ ต่ เ พิ่ ม มากขึ้ น ดิ น ได้ สู ญ เสี ย ความสมบู ร ณ์ ที่ เ คยมี ม า เพราะป่าไม้ถูกทำลาย เกิดฝนแล้ง น้ำท่วม เหล่านี้ก็เหมือนยิ่งจะ กระหน่ำชะตากรรมชาวนาไทยให้ต้องยิ่งยากจนตกต่ำลงไปอีก ข่าวชาวนาอพยพเข้าเมือง ข่าวชาวนาทิ้งแผ่นดินนาไร่ ข่าว ชุมชนของชาวนาแตกสลาย ครอบครัวชาวนาต้องบ้านแตกสาแหรก ขาด เหล่านี้ก็เป็นที่ได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอในปัจจุบัน

95


96

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ชาวนาผู้มีชีวิตหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน และได้ชื่อว่าเป็นกระดูก สันหลังของชาติ กำลังอยู่ ในความทุกข์และเมื่อทุกข์ชาวนาคือทุกข์ ของแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงดำรงฐานะ “เกษตรบดี” ก็ไม่อาจ ที่จะทรงนิ่งอยู่ได้ กระแสพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ดังที่ได้ยกมาข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า ได้ทรงตระหนัก เป็นอย่างดี ถึงวิถีชีวิตชาวนาไทย ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร งานของพระประมุข ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่ง ขวัญข้าวขวัญ แผ่นดิน และ “พ่อของแผ่นดิน” จึงได้เริ่มต้นขึ้น และนั่นก็คือที่มา แห่ง “ข้าวของพ่อ”...

“ข้าวของพ่อ” พ่อกล่าวกับฉันด้วยสีหน้าที่ปลื้มปีติ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

97


98

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๙   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

99

นาข้าว นาขวัญ

วัน

นี้ พ่ อ ได้ พ าฉั นไปดู พ ระราชพิ ธี พื ช มงคลจรดพระ นังคัลแรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวง ฉั นได้ รั บ รู้ จ ากพ่ อ ว่ า คนที่ แ ต่ ง ชุ ด คล้ า ยเทวดา คื อ สวม ลอมพอกบนศีรษะและสวมเสื้อครุยนั้น คือพระยาแรกนาขวัญ ที่ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และในกระบุงสีทอง กระบุงสีเงิน ที่เทพีสาวทั้งสี่คนหาบอยู่นั้น บรรจุไว้ด้วยเมล็ดข้าว เปลือกที่เป็นพันธุ์ข้าวมงคล อันเป็น “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” เพื่อใช้ในพระราชพิธีนี้โดยเฉพาะ


100

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระราชพิธี ได้ดำเนินไป ณ มณฑลพิธี และหน้าพลับพลา พระที่นั่ง ในท่ามกลางฝูงชนเนืองแน่น ที่มีทั้งชาวนา ชาวไร่ และผู้คน ทั่วไป ทั้งหญิงชาย คนเฒ่า เด็ก แห่ห้อมล้อม ดูกันอย่างใจจดใจจ่อ แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังสนใจมาชมงานด้วย ฉันได้เห็นพระยาแรกนาพาพระโคเทียมแอกไถ แล้วไถไป ตามกระบวนที่ ก ำหนด เสร็ จ แล้ ว จึ ง หว่ า นเมล็ ด ข้ า วเปลื อ ก และ

หลังจากนั้นได้พาพระโคไปเสี่ยงทายกินข้าวเลี้ยงต่อหน้าพราหมณ์

โหรหลวง

“ปีนี้พระโคกินหญ้า น้ำท่าจะบริบูรณ์” พ่อบอกฉันอย่างดีใจ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

หลังจากที่พระราชพิธีได้เสร็จสิ้นไปแล้ว ฉันก็รู้สึกตื่นเต้นเมื่อ ได้เห็นผู้คน ชายหญิงทั้งหลาย พากันวิ่งกรูเข้าไปในบริเวณมณฑลพิธี ผู้คนต่างชุลมุนวุ่นวาย แย่งกันเก็บเมล็ดข้าวเปลือกเพื่อนำกลับไปบ้าน บ้างก็นำไปบูชาบนหิ้งสูงเพื่อความเป็นสิริมงคล และชาวนาจะนำไป ผสมกับเมล็ดข้าวของตนเพื่อปลูกในปีนี้ “นั่นเป็นเมล็ดข้าวเปลือก ที่ในหลวงของเราทรงปลูกขึ้น จาก นาทดลองที่สวนจิตรลดา”

101


102

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พ่อบอกฉัน “มีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่ทรง

ทำนา แถมที่นานั้นก็อยู่ในวังท่านเองด้วย” ฉันนึกไม่ถึงจริงๆ ในเรื่อง นี้ และอยากเห็นว่านาในวังนั้นเป็นอย่างไร ระหว่างที่เดินทางกลับบ้านพ่อได้เล่าให้ฉันฟังว่า พระราชพิธี พื ช มงคลจรดพระนั ง คั ล แรกนาขวั ญ ที่ ไ ด้ เ ห็ น วั น นี้ เ ป็ น พระราชพิ ธี

ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปั จ จุ บั น ได้ ท รงพระกรุ ณา

โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เนือ่ งจากว่าพระราชพิธนี ี้ได้วา่ งเว้นไปในช่วงหลังเปลีย่ นแปลง การปกครองระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๙ - ๒๕๐๒ คงเหลืออยู่แต่พระราช พิธีพืชมงคลที่กระทำกันเฉพาะในพระอุโบสถวัดพระแก้วเท่านั้น


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญใน รัชกาลปัจจุบัน นอกจากจะทำเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชพรรณ ธัญญาหารและเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กสิกรชาวนา ของชาติตามพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณแล้ว ยังได้มีการปรับปรุงพิธี บางอย่างตามแนวพระราชดำริให้เหมาะสมกับยุคสมัยด้วย โดยทรง ให้ความสำคัญแก่ชาวนาเป็นหลักใหญ่ ทั้งยังทรงโปรดฯ ให้วันพระราชพิธีพืชมงคลของทุกปีเป็น “วันเกษตรกร” ด้วย พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแยกได้เป็น ๒ พิธีด้วยกันคือ พืชมงคล และพิธีแรกนาขวัญ พิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ เช่น ข้าว เปลือก ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน และพืชอื่นๆ เพื่อให้เมล็ดพืชเหล่านั้นเจริญงอกงาม ปราศจากโรคตลอดจนภัยจาก แมลง และศัตรูพืชทุกประเภท ส่วนพิธีแรกนาขวัญเป็นพิธีแรกไถ โดยมีพระมหากษัตริย์ หรือว่าผู้แทนพระองค์เป็นประธานในพิธี ก่อนที่ชาวนาจะทำพิธีแรกนา ในนาของตนเอง

103


104

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

จิตรกรรมฝาผนัง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

พระราชพิธีดังกล่าวนี้ เหมือนเป็นสัญญาณบอกชาวนาว่า

ฤดูฝนได้มาถึงแล้ว และการทำนากำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว ยิ่งกว่านั้นในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ สำหรับรัชกาลนี้แล้ว ต้องนับว่าเป็น “นาข้าว นาขวัญ” ของชาวนา ไทยอย่างแท้จริง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้จัด ทำ “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” ขึ้นในแปลงนาของพระองค์เพื่อ นำไปใช้ในพระราชพิธีนี้โดยเฉพาะ

105


106

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

เมื่อได้ข้าวแล้วจึงจะแจกจ่ายต่อไปยังพสกนิกร ผู้เป็นชาวนา ชาวไร่ทั่วไป เป็นประเพณีด้วย “นาข้าวทดลอง สวนจิตรลดา” จึงนับว่าเป็นพยานแห่งพระ มหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อชาวนาไทย...

เมื่อฉันกับพ่อกลับถึงบ้าน ได้ยินฟ้าร้องครืนครืน

“ฝนจะตกไหมพ่อ” ฉันถาม

พ่อพยักหน้าอย่างเชื่อมั่น

“ตกสิลูก ตกแน่ๆ เพราะวันนี้ในหลวงไถนา”

พ่อพูดยังไม่ทันขาดคำ ฝนก็ตกลงมาจริงๆ

ฝนตกจนแผ่นดินชุ่มฉ่ำเมื่องานที่สำคัญของชาวนา งานของ แผ่นดิน กำลังจะเริ่มต้น ฉันยืนมองฟ้า มองฝน ด้วยหัวใจอันเป็นสุข


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

107


108

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๑๐   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

109

พันธุ์ข้าวมงคล

ข้า

พเจ้ามีโอกาสได้ศกึ ษาการทดลองและทำนามาบ้าง และ ทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบากอยู่มิใช่น้อย จำเป็นจะต้อง อาศัยพันธุข์ า้ วทีด่ แี ละวิชาการต่างๆ ด้วย จึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน... พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงตระหนักถึง ความยากลำบากของชาวนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕

ขณะมองฝนตกชุ่มฉ่ำ พ่อได้เปรยกับฉันขึ้นว่า

“ลูกเคยคิดไหมล่ะว่า จะมีนาข้าวขึ้นในวัง”

ว่าแล้วพ่อก็ได้นำเอาภาพจากหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ฉันดู ภาพนาข้าวเขียวขจี โรงสีข้าว กับกองข้าวเปลือกสีทองทำให้ ฉันรู้สึกตื่นตา


110

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรควายเหล็ก และกิจการในสวนจิตรลดา

“นี่แหละนาข้าวทดลองในสวนจิตรลดาของพระเจ้าอยู่หัว กับพันธุ์ข้าวที่ทรงปลูกพระราชทานชาวนา และที่ใช้ในพิธีแรกนาที่เรา ได้เห็นกันมาแล้ว” พ่ออธิบาย ...ทั้งนี้เนื่องจากที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้จัดทำ “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” ขึ้น


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ โปรดเกล้าฯ ให้นำ เมล็ดพันธุข์ า้ ว “นางมล” ทีก่ รมการข้าวได้จดั ถวายไปปลูกทีส่ วนจิตรลดา เพื่อนำไปใช้ ในพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปีต่อไป แทนพันธุ์ข้าวเดิมที่

กรมการข้าวจัดทำเอง และด้วยเหตุนี้นาข้าวในสวนจิตรลดาจึงก่อ กำเนิดขึ้น แปลงนาดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร โดย การเตรียมดินนั้นวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พระองค์ได้ทรงมี รับสั่งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล นำควายเหล็ก เครื่องยนต์ดีเซล ๘.๕ แรงม้า มาใช้ ในงานนี้ โดยเฉพาะ พร้ อ มกั บ พระราชทานคำ แนะนำในการปรับปรุง “ควายเหล็ก” ให้ได้รูปแบบที่ดีเหมาะสมกับ การใช้งานและผลิตในประเทศไทย

111


112

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

อีกทั้งพระองค์ยังทรงขับรถไถนาควายเหล็กเพื่อเตรียมแปลง ปลูกข้าว ตลอดทั้งทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เอง ต่ อ มาครั้ น เมื่ อ ต้ น ข้ า วอยู่ ใ นระยะตั้ ง ท้ อ ง พระองค์ ยั งได้

โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำพิธีขวัญข้าวตามประเพณีโบราณด้วย เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ในการทำพิธีขวัญข้าวนี้ได้มีการตั้งศาลแม่โพสพ ปักฉัตร ๙ ชั้นขึ้น ทำด้วยรวงข้าวปักธงสีต่างๆ รอบแปลงนาข้าว ตลอดจนมีการ แต่งบทร้องเพลง ทำขวัญแม่ โพสพตามแบบโบราณด้วย โดยจัด เครื่องหอม สำหรับแม่โพสพไว้พร้อมเพื่ออาบน้ำ ตัดแต่งผม (ใบข้าว) ให้แม่โพสพเสร็จสรรพ อันนับว่าเป็นอุบายหนึ่งซึ่งสอดคล้องต้องกัน กับหลักวิชาการด้วย คือธงสีที่ปักปั้นไว้ ใช้สำหรับไล่นกที่จะลงจิกกิน ข้าว ส่วนการตัดแต่งใบข้าว ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเฝือใบ อันจะ ทำให้ผลผลิตตกต่ำ “เห็นไหมว่า ในหลวงท่านไม่ทรงทิ้งประเพณี โบราณ ท่าน ทรงเข้าใจประเพณีของชาวนาดี” พ่อพูดด้วยน้ำเสียงปลาบปลื้ม “นอกจากนี้ ลูกควรรู้ไว้ว่า พระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงเกี่ยวข้าว นาแปลงนี้ด้วยพระองค์เองอีกด้วย”


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ฉันย้อนนึกถึงภาพชาวบ้านวิ่งกรูกันเข้าเก็บเมล็ดข้าวเปลือก ในวันพืชมงคลฯ แล้วก็สิ้นสงสัย “พันธุ์ข้าวมงคล” แท้จริงนี่แหละ คือ “ข้าวของพ่อ” ... ปัจจุบันพื้นที่ทำนาทดลองแปลงนี้อยู่ฝั่งถนนศรีอยุธยา ตรงข้ า มสนามม้ า นางเลิ้ ง หรื อ ที่ มี ชื่ อ เป็ น ทางการว่ า สนามม้ า ราชตฤณมัย เป็นโครงการในพระองค์โดยมีสถานีทดลองข้าวบางเขน กรมวิ ช าการเกษตร (กรมการข้ า วเดิ ม ) เป็ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านสนอง

พระราชดำริ

113


114

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การปฏิบัติงานภายในรอบปีที่นาข้าวทดลองสวนจิตรลดา คือ การปลูกข้าวนาสวน ข้าวไร่ในฤดูฝน หลังจากการเก็บข้าวเสร็จแล้วใน ช่วงฤดูแล้งได้ปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนในนาข้าวด้วย

พันธุ์ข้าวที่ปลูกแยกเป็น ๒ ประเภท คือ

ข้าวพันธุ์คัด : เป็นข้าวพันธุ์ดีหลายสายพันธุ์ แยกปักดำและ เก็บเกี่ยวได้แล้วขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำรวงข้าวไปปลูก ขยายพันธุ์ตามสถานีทดลองของกรมการข้าวทุกแห่งและแพร่ขยายให้ ชาวนาทั่วพระราชอาณาจักรรับไปปลูกต่อไป ข้ า วพั น ธุ์ ห ลั ก : เป็ น ข้ า วพั น ธุ์ ดี ที่ คั ดไว้ จ ากข้ า วพั น ธุ์ คั ด ที่ เหมาะสมแก่การปลูกตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มีข้าวเหนียว และ ข้าวเจ้า ซึง่ เป็นข้าวนาสวน และข้าวนาเมือง (ข้าวฟางลอยหรือข้าวขึน้ น้ำ)


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ปัจจุบันนาข้าวทดลองสวนจิตรลดา ปลูกข้าว ๓ วิธี คือ

การทำนาสวน : เป็นการปลูกข้าวแบบตกกล้าปักดำในนาลุ่ม น้ำขัง เนื้อที่ประมาณ ๓.๖ ไร่ มีข้าวพันธุ์หลัก ๘ พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ มาตรฐานที่ส่งเสริมให้ชาวนาปลูกในภาคต่างๆ ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแปลงนาสาธิตแสดงพันธุ์ข้าวของรัฐบาลอีก ๔๘ พันธุ์ และเพือ่ ส่งเสริมการศึกษาทางภาคปฏิบตั เิ รือ่ งการปลูกข้าวใน ฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงของการปลูกข้าวนาปีนั้น ทางโครงการนาทดลองยัง ได้จัดแปลงนาพิเศษสำหรับฝึกสอนวิธีการปลูกข้าวแบบปักดำให้แก่ นักเรียนโรงเรียนจิตรลดาเป็นประจำทุกปี เพื่อการศึกษาอีกด้วย การปลูกข้าวไร่ : ปลูกแบบเมล็ดหยอดในนาดอน เนื้อที่ ประมาณ ๑.๒ ไร่ พันธุ์ข้าวไร่ที่ปลูกมีทั้งข้าวเหนียว และข้าวเจ้า เป็น ข้าวพันธุ์ดีที่ส่งเสริมให้ชาวนาปลูกเช่นกัน การปลูกพืชหมุนเวียนในนาข้าว : จะปลูกพืชตระกูลถั่วชนิด ต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง โดยปลูกในฤดูแล้งหลังจากที่ เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เพื่อบำรุงดิน อีกทั้งยังเป็นการสาธิตการปลูก พืชไร่หลังการทำนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในรอบปี เมล็ดพันธุ์ถั่วที่เก็บได้นี้ กรมส่งเสริมการเกษตรก็ ได้นำไป แจกจ่ายเกษตรกรเช่นเดียวกับ “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน”

115


116

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

นอกจากโครงการนาทดลองแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัว ยังมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับข้าวอีกคือ โครงการโรงสีข้าวแบบ ระบบแรงเหวี่ยงสวนจิตรลดา และโรงบดแกลบ เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งในเรื่องของโรงสี และค่า

ใช้จ่ายต่างๆ ในการสีข้าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงสีตัวอย่างขึ้น โดยให้ข้าราชการใน พระองค์รวมกลุ่มกันในรูปสหกรณ์ พร้อมกับพระราชทานเงินทดรอง จ่ายให้ก่อนจำนวนหนึ่งแสนบาท เพื่อเริ่มกิจการขั้นต้น ทั้งนี้โรงสีข้าวในสวนจิตรลดา ได้ดำเนินการซื้อข้าวเปลือกใน ราคาที่เป็นธรรม จากนั้นก็จะสีเป็นข้าวสารจำหน่ายในราคาถูก


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

โรงสีแห่งนี้เป็นโรงสีระบบแรงเหวี่ยง โดยม.ร.ว.เทพฤทธิ์

เทวกุล คิดแบบให้เหมาะสมมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑ ใช้เวลาดำเนิน การก่อสร้างเสร็จทั้งระบบถึง ๓ ปีเต็ม รูปแบบของโรงสีนี้ ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ของโรงสีขนาดเล็ก ตามหมู่บ้านในชนบทอีกหลายแห่ง เช่น นิคม สหกรณ์ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนา เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรง เป็นประธานในพิธีเปิดโรงสีข้าวตัวอย่างนี้ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๑๔

117


118

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

โรงสี แ ห่ ง นี้ น อกจากจะเพิ่ ม มู ล ค่ า ของผลผลิ ต ข้ า ว ช่ ว ย อนุรักษ์ป่าไม้และใช้ประโยชน์ของเหลือ จากโรงสี ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สูงสุดแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระองค์ยงั ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงบดแกลบขึ้นอีกแห่งหนึ่งใกล้ๆ กับโรงสีนี้ด้วย โรงบดแกลบแห่งนี้ได้ทดลองบดแกลบผสมกับผักตบชวาอัด เป็นแท่งแล้วไปเผาให้เป็นถ่าน ตลอดจนทดลองผลิตแกลบบดผสม กับปุย๋ เคมีและปุย๋ คอกสูตรต่างๆ ออกจำหน่ายในราคาถูก ซึง่ ปรากฏว่า ได้รับความนิยมเป็นอย่างดียิ่ง


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานพระราชทรั พ ย์ ส่ ว นพระองค์ จำนวน ๖,๘๒๐,๐๐๐ บาท (หกล้านแปดแสนสองหมื่นบาท) เพื่อ ก่อสร้างโรงสีข้าว ขนาด ๖๐ เกวียนต่อวัน ที่ตำบลโนนศิลาเลิง

กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ และพระราชทานชื่อว่า โรงสีข้าว พระราชทาน เมื่อก่อสร้างโรงสีข้าวพระราชทานเสร็จ จึงให้ชาวบ้านสมาชิก สหกรณ์เข้าไปจัดการดูแล ตั้งแต่การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวเพาะปลูก การ ปรับเปลี่ยนวิธีปลูกแบบดั้งเดิม โดยลดการใช้สารเคมี เสริมการใช้

ปุ๋ยอินทรีย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำคนหนุ่มคนสาวกลับสู่ไร่นา ไม่ต้อง ออกไปขายแรงงานในเมืองหลวงหรือในต่างประเทศ

119


120

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ครั้นได้ผลผลิตแล้วก็นำข้าวมาขายให้โรงสีพระราชทาน ซึ่งมี บริษั ทเอกชนเข้ามาช่วยบริหารด้านการตลาด เพื่อขยายผลผลิตให้ ทั น กั บ ความต้ อ งการของตลาด และเพิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ ข้ า วไทยจน สามารถส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และใน ยุโรปบางประเทศ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข้ า วจากโรงสี ข้ า วพระราชทานจึ ง เป็ น ข้ า วที่ มี คุณภาพ ปราศจากสิ่งปลอมปน สามารถคัดเกรดของเนื้อข้าว บรรจุ หีบห่ออย่างสวยงาม ทั้งยังแยกประเภทของข้าวชนิดต่างๆ ได้อย่าง หลากหลายอีกด้วย โครงการนาทดลองสวนจิตรลดา โครงการโรงสีข้าวบดแกลบ และโครงการโรงสีข้าวพระราชทาน แม้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในโครงการ ส่วนพระองค์หลายโครงการ หากแต่แสดงว่าทรงมีพระมหากรุณาธิคณ ุ

ต่อชาวนาไทยอย่างเหลือล้น ฝนยังคงตกลงมา ช่างเย็นชื่นหัวใจแท้ สายฝนหลั่งมาจาก ฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน ดุจดั่งน้ำพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อ พสกนิกรของพระองค์ ผู้เป็นชาวไร่ชาวนาทั่วแผ่นดิน


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรกิจการโรงสีข้าวตัวอย่าง สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

121


122

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๑๑   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

123

ฝนหลวง

“แต่

มาเงยหน้าดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึ ง เมฆนี่ ล งมาได้ ก็ เ คยได้ ยิ น เรื่ อ งทำฝนก็ ม าปรารภกั บ

คุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือ ทำได้” พระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคิดหาหนทางในการแก้ปัญหา ฝนแล้งให้แก่พสกนิกรชาวไร่ชาวนา เทพเทวดาที่สถิตอยู่บนฟ้าและบันดาลให้ฝนตกลงมา เมื่อ ชาวบ้านร้องขอ ในขณะที่เทพเทวดาบนแผ่นดินนี้ทรงปรากฏพระองค์ อยู่อย่างรู้ใจใกล้ชิดกับชาวบ้านยิ่งกว่า


124

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พิธีแห่นางแมว

ชี วิ ต ของชาวนาเมื่ อ แต่ ก่ อ น ยามฝนฟ้ า แห้ ง แล้ ง ก็ ไ ม่ รู้ จ ะ

หันหน้าไปทางไหน นอกจากสวดอ้อนวอนขอเอาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือ เทพยดาเบื้องบนแล้ว ยังขอฝนกระทั่งจากสัตว์อย่างแมวที่ชาวบ้าน เชื่อว่า เมื่อแมวร้อง ฝนจะตก “นางแมวเอย...ขอฟ้าขอฝน ขอน้ำมนต์รดหัวนางแมว... เอย...เอ้า...ตกลงมาๆๆๆๆ ฝนเทลงมาๆๆๆๆ ตกมาพอทำนาได้...

อย่าให้ถึงกับต้องให้ใช้เรือแจวเอย...” ฉันถึงกับหัวเราะ เมื่อพ่อทำท่าว่าเป็นขบวนแห่นางแมวขอฝน ให้ฉันดู และเอื้อนทำนองเพลงร้องข้างบนนั่นให้ฉันฟังไปด้วย เมื่อฉัน บอกพ่อว่า ไม่เคยเห็นขบวนแห่นางแมว


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

125


126

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พิธีแห่นางแมวที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พ่อบอกว่าพิธีแห่นางแมวทั่วไป หรือว่าพิธีเต้านางแมวทาง อีสาน เป็นขบวนการขอฝนอีกรูปแบบหนึ่งของคนไทยในทุกภาค ด้วย เชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ถ้านำแมวมาแห่ ฝนจะตก ข้าวขาดฝน นาขาดน้ำ นับเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับชาวนา ไทย ดั ง นั้ น พิ ธี ข อฝน คติ ค วามเชื่ อ เกี่ ย วกั บ ฝนและน้ ำ จึ ง เป็ น วัฒนธรรมข้าวที่ขาดไม่ ได้ของคนไทยและชาวนาดั้งเดิม ที่เชื่อว่าฝน มาจากเทพเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขอฝนจากแมว จากพญาแถน จากแม่ พระธรณี หรือว่าจากพญาปลาช่อน ปลาค่อ และพญาคันคาก ที่เชื่อ กันว่าเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้าก็ตาม อย่างเช่นงานบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ของอีสาน ที่มีทั้งขบวนแห่ บั้งไฟและขบวนรำเซิ้งกันอย่างสนุกสนานทุกวันนี้ ก็เป็นประเพณี พิธีกรรมที่คนอีสานและชาวนาอีสานขอฝนจากเทพยดาพญาแถน ด้วยเชื่อว่าพญาแถนเป็นเทพยดาองค์หนึ่ง ซึ่งจะบันดาลให้ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและทำให้ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ “แต่ในหลวงของเราก็ทรงทำให้ฝนตกได้ ลูกพอจะรู้ใช่ไหม” พ่อว่า ฉันรีบพยักหน้า “ใช่แล้วพ่อ ฝนหลวง ฝนของในหลวง”

127


128

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

งานบุญบั้งไฟ จังหวัดร้อยเอ็ด


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พ่อบอกว่า จากกระแสพระราชดำรัสที่ได้ทรงรับสั่งมาข้างบน นั่นได้ทำให้เกิดฝนเทียม หรือว่าฝนหลวงขึ้นในเวลาต่อมา พระราชดำริโครงการฝนหลวงหรือโครงการทำฝนเทียม เพื่อ ใช้แก้ปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำนั้น นับว่าเป็นอีกโครงการ หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระมหากรุณาธิคุณเป็น ยิ่งนัก สำหรับชาวนาและราษฎรทั่วไปในยามที่เกิดฝนทิ้งช่วงห่างอยู่ นานเกินไป การทดลองทำฝนหลวงครั้ ง แรก เริ่ ม ที่ อ ำเภอปากช่ อ ง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒

129


130

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

โครงการนี้ช่วยเหลือให้พื้นที่เพาะปลูกพ้นจากความเสียหาย เนื่องจากความแห้งแล้งนับได้เป็นหลายล้านไร่ เพราะสามารถกำหนด บังคับฝนให้ตกลงสู่พื้นที่ตามเป้าหมายได้สำเร็จ ฉันนึกถึงเทพเทวดาที่สถิตอยู่บนฟ้า และบันดาลให้ฝนตกลง มาเมื่อชาวบ้านร้องขอ ในขณะที่เทพยดาบนแผ่นดินนี้ ทรงปรากฏ พระองค์อยู่อย่างรู้ใจใกล้ชิดกับชาวบ้านยิ่งกว่า “ฝนหลวง” คื อ น้ ำ ฝนจาก “ในหลวง” อั น เกิ ด จากน้ ำ

พระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาโดยแท้


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การปฏิบัติการทำฝนเทียม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒

131


132

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๑๒   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

133

สหกรณ์-ธนาคารข้าว

“เว

ลานึกถึงทำไมมีข้าวมาก ราคาข้าวก็ตก ก็น่าจะ เป็นการดีที่มีข้าวมาก พวกเราที่บริโภคข้าวก็จะได้ซื้อข้าวในราคาถูก

แต่หารู้ ไม่ว่าข้าวที่บริ โภคทุกวันนี้ ราคาก็ยังแพงเป็นที่เดือดร้อนแก่ ประชาชนทัว่ ไป ก็ตอ้ งหาเหตุผล ทำไมแพง ข้าวทีบ่ ริโภคแพงและข้าวที่ ชาวนาขายถูก... เข้าไปหากลุม่ ชาวนา ถามเขาว่าเป็นอย่างไร เขาบอก ว่ า แย่ ข้ า วราคาถู ก ก็ ถ ามเขาว่ า ยุ้ ง ฉางมี ห รื อ เปล่ า ที่ จ ะเก็ บ ข้ า ว

เขาบอกว่ามี ก็เลยเห็นว่าควรที่จะเก็บข้าวเอาไว้ก่อน หลังจากที่ข้าว

ล้นตลาด แต่วา่ ไม่ทนั นึกดูวา่ ทำไมเขาเก็บข้าวไม่ได้ แม้จะมียงุ้ ฉาง ก็ เพราะเขาติดหนี้ เหตุที่ติดหนี้ก็คือ เสื้อผ้าเหล่านั้นหรือกะปิ น้ำปลา


134

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

หรือแม้กระทัง่ ข้าวสารก็ตอ้ งบริโภค ถ้าไม่ได้ไปซือ้ ทีต่ ลาด หรือร่วมกัน ซือ้ ก็คงเป็นพ่อค้าหรือผูซ้ อื้ ข้าวเป็นผูน้ ำมา อันนีก้ เ็ ป็นจุดทีท่ ำให้ขา้ วถูก ... ข้าวเปลือกถูก แล้วก็ทำให้ขา้ วสารแพง คือว่าชาวนาทำนาไปตลอดปี ก็ต้องบริ โภค เมื่อต้องบริ โภคก็ต้องเอาสิ่งของ ต้องไปติดหนี้เขามา สำหรับหาสิ่งของบริโภค แล้วก็เอาเครื่องบริโภคก็ได้รับบริการอย่างดี ที่สุดสำหรับผู้มาซื้อข้าว บอกว่าไม่ต้องเอาข้าวมาเดี๋ยวนี้ เวลาได้ผล แล้วก็จะเอา แต่ว่าเอาสิ่งของมาให้แล้วก็เชื่อ ของนั้นก็มีราคาแพง เพราะว่านำมาถึงที่ ข้าวที่เวลาได้แล้วจะขายก็ต้องขายในราคาถูก เพราะว่าเขามักรับถึงที่ อันนี้เป็นปัญหาสำคัญถ้าจะแก้ปัญหานี้ ก็จะ ต้องแก้จดุ นี้ ต้องแก้ดว้ ยการรวมกลุม่ เป็นกลุม่ ผูบ้ ริโภคเหมือนกัน แล้ว ก็ไปติดต่อกับกลุม่ ผูผ้ ลิต โดยที่ไปตกลงกันและอาจจะต้องตัง้ หรือไป ตกลงกับโรงสีให้แน่ จะได้ไม่ตอ้ งผ่านหลายมือ ถ้าทุกคนทีบ่ ริโภคข้าว ตั้งตัวเป็นกลุ่ม แล้วก็ไปซื้อข้าวเปลือก แล้วไปพยายามสีเองหรือให้

ผู้แทนของตัวสี ก็ผ่านมือเพียงผู้ที่ผลิต ผู้ที่สี และผู้ที่บริ โภค ก็ตัด ปัญหาอันนี้ (คนกลาง) ลงไป”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ทีม่ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

“…ถ้าจะแก้ปัญหานี้ ก็จะต้องแก้จุดนี้ ต้องแก้ด้วยการรวม กลุ่มเป็นกลุ่มผู้บริโภคเหมือนกันแล้วก็ไปติดต่อกับกลุ่มผู้ผลิต โดยที่ ไปตกลงกัน และอาจจะต้องตั้งหรือไปตกลงกับโรงสี ให้แน่ จะได้ ไม่ ต้องผ่านมือหลายมือ ถ้าทุกคนที่บริโภคข้าวตั้งตัวเป็นกลุ่มแล้ว ก็ไป ซื้อข้าวเปลือก แล้วก็ไปพยายามสีเองหรือให้ผู้แทนของตัวสี ก็ผ่านมือ เพียงผูท้ ผี่ ลิต ผูท้ สี่ ี และผูท้ บี่ ริโภค ก็แก้ปญ ั หาอันนี้ (คนกลาง) ลงไป” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงคิดจะ แก้ปัญหาพ่อค้าคนกลาง เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ชาวนา ในวโรกาส เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ พ่อบอกว่า เมื่อเอ่ยถึงคำว่าธนาคารแล้ว ปกติทุกคนมักจะ นึกถึงเงินทอง

แต่ธนาคารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ใช่เช่นนั้น

“ธนาคารของในหลวงเป็นธนาคารข้าว เป็นที่เก็บข้าวเปลือก ของชาวนา” พ่อว่า

135


136

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

เพื่อให้ฉันได้เห็นภาพชัด พ่อได้เล่าถึงชีวิตชาวนาเมื่อแต่ครั้ง ก่อนว่าเป็นชีวิตของครอบครัว หรือของหมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งล้วนแล้ว แต่มีความสัมพันธ์ฉันญาติสนิทมิตรสหาย ทุกอย่างจึงเป็นไปด้วย ความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

เมื่ อ ถึ ง ฤดู ก าลทำนาเพาะปลู ก ทุ ก ฝ่ า ยก็ จ ะช่ ว ยเหลื อ แลก เปลีย่ นแรงงานซึง่ กันและกัน ระดมแรงงานช่วยกัน นับตัง้ แต่การปักดำ ต้นกล้าไปจนถึงเกี่ยวข้าว นวดข้าว จนกระทั่งไปถึงการขนข้าวเข้า

ยุ้งฉาง “ลูกคงจะเคยได้ยินคำว่า ลงแขกหรือเอาแรง” พ่อเปรยกับ ฉันก่อนจะเล่าต่อ ธนาคารของในหลวงเป็นธนาคารข้าว เป็นที่เก็บข้าวเปลือก ของชาวนา คือแหล่งอาหารสำรองหมุนเวียนในหมู่บ้าน หลักการ บริหารของธนาคารข้าวเป็นการอิงลักษณะการบริหารธนาคาร โดยมี ข้าวเปลือกเป็นทรัพย์สินที่ปล่อยกู้

137


138

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ประเพณี “ลงแขก” หรือว่า “การเอาแรง” เป็นการระดม แรงงานในการปักดำและเกี่ยวข้าวของชาวนาไทย ทั้งจากครอบครัว เครือญาติ กลุ่มเพื่อนบ้าน ตลอดจนชาวบ้านทั่วๆ ไปที่อยู่ ในชุมชน เดียวกันหรือว่าใกล้เคียงกัน


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

นับเป็นระเบียบทางสังคมที่วัฒนธรรมข้าวได้สร้างขึ้นมาโดย เฉพาะ ฉันรู้สึกเสียดายเมื่อได้ฟังพ่อเล่าถึงชีวิตชาวนาไทยเมื่อครั้ง เก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการ “เอาแรง” หรือ “ลงแขก” ในฤดู เก็บเกี่ยวข้าวที่ผู้คนเกือบทุกรุ่น ทั้งคนหนุ่ม คนสาว คนเฒ่าแก่ และ แม้แต่เด็กเล็ก ต่างได้มาพบปะกันทำงานช่วยเหลือร่วมกันอยู่ ในทุ่ง ข้าวและก็ทำงานอยู่ร่วมกันที่ลานดินหน้าบ้านทั้งกลางวันและกลางคืน มีเสียงเพลงเกี่ยวข้าวที่ร้องหยอกล้อเล่นกันอย่างสนุกสนาน เฮฮา ทั้งเสียงหัวเราะ และเพลงร้องลอยอยู่เหนือทุ่งนาสีน้ำตาล

ชีวิตเหล่านี้ผ่านไปแล้วและยากที่จะหวนกลับคืนมา

“ชีวิตชาวนาเมื่อแต่ก่อน มีการรวมตัวกันเหมือนกับกลุ่ม สหกรณ์อย่างหนึ่ง” พ่อว่า “และนี่ก็น่าจะคือที่มาของงานสหกรณ์ ชาวนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นนั้น สะท้อนให้เห็นว่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า ชาวนาในทุกวันนี้ขาดอำนาจ ต่อรอง เมื่อต้องดำเนินการตามลำพัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ

ซื้อขายข้าวที่ชาวนามักขาดความรู้ความเข้าใจในกลไกของตลาดข้าว ยุคใหม่

139


140

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับทราบปัญหานี้ จึงได้ ทรงมีพระบรมราโชบายสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น หมู่บ้านสหกรณ์ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มรวมพลังกันของกลุ่มเกษตรกร และชาวนา ไม่ว่าจะเสด็จประพาสยังท้องถิ่นชนบทที่ทุรกันดาร ณ แห่ง หนใด พระองค์ก็จะทรงแนะนำ ให้นำหลักการสหกรณ์มาใช้แก้ ไข ปัญหาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ ข้อดีของระบบนี้ก็คือ สอนให้ราษฎรรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลดการเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางและ นายทุน ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มราคาผลิตผลของตนเอง โครงการสหกรณ์ตามพระราชดำริ จึงเกิดขึ้นตามท้องถิ่น ต่างๆ ทั่วประเทศ ธนาคารข้ า วก็ คื อ ส่ ว นหนึ่ ง ในโครงการสหกรณ์ ต ามพระ ราชดำริ ดังที่ ได้พระราชทานแนวทางดำเนินงานธนาคารข้าวเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เอาไว้ดังนี้ว่า “ธนาคารข้าว ให้มีคณะกรรมการควบคุม ที่คัดเลือกจาก ราษฎรในหมู่บ้านเป็นผู้เก็บรักษา พิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืม

และรับข้าวคืน ตลอดจนจัดทำบัญชีทำการของธนาคารข้าว ราษฎรที่


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ต้องการข้าวไปใช้บริโภคในยามจำเป็น ให้คงบัญชียืมข้าวไปใช้จำนวน หนึ่ง เมื่อสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้แล้วก็นำคืนธนาคาร พร้อมด้วย ดอกเบี้ย (ข้าว) จำนวนเล็กน้อยตามแต่ตกลงกัน ซึ่งข้าวเป็นดอกเบี้ย ดังกล่าว ก็จะเก็บรวบรวมไว้ในธนาคาร และถือเป็นสมบัตขิ องส่วนรวม ราษฎรต้องร่วมมือกันสร้างยุ้งฉางที่แข็งแรง ทั้งนี้หากปฏิบัติตาม

หลักการที่วางไว้ จำนวนข้าวที่หมุนเวียนในธนาคารจะไม่มีวันหมด แต่จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น และจะมีข้าวสำหรับบริ โภคตลอดไป จนถึงลูกหลาน ในที่สุดธนาคารข้าวจะเป็นแหล่งที่รักษาผลประโยชน์ ของราษฎรในหมู่บ้าน และเป็นแหล่งอาหารสำรองของหมู่บ้านด้วย” ธนาคารข้าว คือแหล่งอาหารสำรองหมุนเวียนในหมู่บ้าน หลักการบริหารของธนาคารข้าวเป็นการอิงลักษณะการบริการธนาคาร โดยมีข้าวเปลือกเป็นทรัพย์สินที่ปล่อยกู้ โดยผู้กู้เพื่อการบริโภค และ หรือเพื่อการทำพันธุ์ ต้องเสียดอกเบี้ยในรูปของข้าวเปลือก แต่ ใน อัตราต่ำ (หรือในรูปอื่นสุดแล้วแต่กฎเกณฑ์) การบริหารงานอาศัยราษฎรกันเอง โดยมีการจัดทำบัญชี อย่างเป็นระบบ ผู้บริหารธนาคารข้าวก็มีสิทธิ ในการกู้เช่นเดียวกับ ราษฎรทั่วไปในหมู่บ้านนั้น

141


142

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตนั้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ถังตวงข้าว เครื่องตวงข้าวรูปทรงกระบอก ปากกลวง ใช้เป็นมาตรตวงข้าว ทำด้วยไม้ วิธีตวงจะเทข้าว ให้พูนถัง แล้วใช้ไม้เรียบๆ ตรงๆ ปาดให้เสมอขอบปาก

ธนาคารข้าวนี้นอกจากจะทำให้ชาวนาลดการแบกภาระหนี้สิน ที่น้อยลงไปแล้ว ยังได้เรียนรู้และสร้างสมหลักการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมๆ กันไปด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้จัดตั้งธนาคาร ข้าวขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยม ราษฎรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พระราชทานข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นทุนเริ่มกิจการธนาคารข้าว พร้อมกับที่ ได้พระราชทานแนวทางดำเนินงานไว้ดังที่ ได้ยก มานั่น

143


144

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ธนาคารข้าว นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารสำรองของหมู่บ้าน โดยตรงแล้ว ยังสามารถสร้างรากฐานสำคัญของการพัฒนา สร้าง ความสมัครสมานสามัคคีของชุมชน ในการจะเรียนรู้และดำเนินการ แก้ไขปัญหาของตนอีกด้วย ธนาคารข้าวอาจทำหน้าที่เป็นโรงเรียนที่ดีได้ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนนั้นๆ ธนาคารข้าวทีป่ ระสบความสำเร็จ มิได้บรรลุเพียงจุดมุง่ หมาย พื้นฐานในการบรรเทาความขาดแคลนข้าวเท่านั้น แต่ยังสร้างกิจกรรม ต่อเนื่องอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วม สร้างภาวะผู้นำและความร่วมมือในระดับชุมชนอีกด้วย... “ในหลวงท่านไม่เพียงแต่ทำธนาคารข้าวเท่านั้นนะลูก ท่าน ยังทำธนาคารวัว ควายอีกด้วย” พ่อว่าตบท้าย “วัว ควาย ก็ไปธนาคารหรือพ่อ” ฉันทั้งแปลกใจและตื่นเต้น ด้วยอยากจะรู้

พ่อเตือนให้ฉันเคี้ยวข้าวให้ละเอียดด้วย ก่อนที่จะเล่าต่อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

145


146

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


๑๓   ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

147

เมื่อวัว-ควาย เข้าธนาคาร

พ่อ

บอกว่า วัว ควายซึ่งใช้ทำนาเมื่อครั้งก่อนนั้น มี ความสำคัญพอๆ กับคันไถ วัว ควาย นอกจากจะช่วยชาวนาไถนา ทั้งไถดะ ไถแปร และ ไถกลบแล้ว ยังช่วยนวดย่ำให้ข้าวหลุดจากรวง ทั้งมูลวัวมูลควาย ยัง ทำปุ๋ยคอกได้อีกด้วย ชาวนาเมื่อแต่ก่อนจึงไม่ลืมพระคุณของวัวควาย ถึงได้จัดพิธี สู่ขวัญ ทำขวัญวัว ควาย เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณ


148

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

เสด็จประพาสคลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗

“และลูกเชื่อไหมล่ะว่า ยังมีชาวนาอีกจำนวนไม่น้อยที่ยัง

ทำนาปลูกข้าวด้วยการใช้แรงวัวแรงควายอยู่” พ่อว่า “แต่ชาวนาที่ ยากจนยังขาดแคลนวัว ควายที่จะมาใช้แรงงานอยู่มาก” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีพระเมตตาต่อชาวนาที่ ยากไร้เหล่านี้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้ง “ธนาคารโคกระบือ” ขึ้น เป็นอีกโครงการหนึ่งซึ่งได้ ช่ ว ยเหลื อ ชาวนาชาวไร่ ที่ ยากจน ไม่มีวัว ควายอันเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตของตนเอง ธนาคารได้ ให้เช่าซื้อวัว ควายโดยผ่อนส่งระยะยาวเอาไปใช้ งาน และให้ยืมเพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ด้วย


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเกี่ยวข้าว ที่ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

149


150

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การจัดตั้งและบริหารธนาคารโค-กระบือ เป็นการรวมพลัง เพื่อร่วมมือกัน เป็นประโยชน์ต่อกัน ระหว่างเกษตรกรในหมู่บ้าน เดี ย วกั น โดยที่ โ ค-กระบื อ อั น เป็ น สมบั ติ ข องธนาคารนั้ น ได้ รั บ บริจาคมาจากประชาชนทั่วไป และจากการจัดสรรของรัฐ โค-กระบือเหล่านี้ จะถูกนำไปให้เกษตรกรที่มีฐานะยากจน แต่มีความขยันหมั่นเพียรกู้ไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ ตามที่ตกลงกัน

ลูกโค-กระบือที่เกิดใหม่ครั้งหนึ่ง จะเป็นสมบัติของธนาคาร


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การใช้ประโยชน์จากธนาคารโค-กระบือ ได้ดำเนินไปด้วยดี โดยที่สมาชิกต่างก็ช่วยกันรักษาประโยชน์ของส่วนรวม และเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกก็ ได้รับบริการอย่างทั่วถึงกันและรัฐไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย มากในการซื้อโค-กระบือ มาแจกให้แก่เกษตรกรยากจนเหมือนเช่น อดีต อีกทัง้ ธนาคารโค-กระบือ ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตท่ามกลาง การผลิตแบบสมัยใหม่ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและมีต้นทุนสูงสำหรับ ชาวนาผู้ยากไร้เหล่านี้ด้วย ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าทั้งกิจการโรงสีข้าว ธนาคารข้าว และ ธนาคารโค-กระบือนั้น ล้วนแต่เป็นการดำเนินงานโดยใช้หลักการของ ระบบสหกรณ์ทั้งสิ้น

151


152

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ดังจะเห็นได้จากความสำเร็จของการพัฒนาข้าวแบบครบ วงจรที่นิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ดังนี้ นิ ค มสหกรณ์ อ่ า วลึ ก จั ง หวั ด กระบี่ มี เ นื้ อ ที่ ป ระมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ พื้นที่ส่วนใหญ่ ปลูกปาล์ม จึงจำเป็นต้องซื้อข้าวเพื่อบริโภค เดิมมีพื้นที่อยู่ ในนิคมฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ เ พื่ อ ทำนา แต่ เ นื่ อ งจากมี ปั ญ หาเรื่ อ งน้ ำ เกษตรกรทำนามาไม่ ไ ด้ ผ ล จึ ง ทิ้ ง นาให้ ร กร้ า งว่ า งเปล่ า ไม่ ไ ด้ ใ ช้ ประโยชน์ เ ป็ น เวลาหลายปี ครั้ น เมื่ อ วั น ที่ ๒๓ ธั น วาคม ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง เนื่องจาก เกษตรกรในภาคใต้ที่ทำสวนปาล์มมีเวลาว่างมาก ควรหางานอย่างอื่น ทำเพื่อเพิ่มรายได้ไปด้วย


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

153


154

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า สิ่งที่ควรกระทำคือ การส่งเสริมให้ปลูกข้าวทุกท้องที่ถ้ามีทำเลที่เหมาะสม เพื่อจะได้มีข้าว ไว้บริโภคยามขาดแคลน โครงการปลูกข้าวที่อ่าวลึกได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ถึงปัจจุบัน โดยพัฒนาพื้นที่นาที่ทิ้งร้างมานานให้ปลูกข้าวได้ อีก ด้วยการสนับสนุนในด้านพันธุ์ข้าวและวิธีปลูกที่เหมาะสม ในปีแรก (๒๕๓๑/๓๒) ได้ปลูกข้าวประมาณร้อยละ ๘๐ หรื อประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ ได้ผลผลิ ต เฉลี่ ย ประมาณไร่ ล ะ ๕๐๐ กิโลกรัม และผลผลิตรวมประมาณ ๖๐๐ ตันข้าวเปลือก และเพิ่มขึ้น เป็นประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ ในปีต่อมา ซึ่งได้ผลผลิตรวมประมาณถึง ๙๐๐ ตันข้าวเปลือก... ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นนี้ ทำให้ฉันหวนนึกถึงชีวิต ของชาวนาในอดีต ดังที่พ่อได้เล่าให้ฟังตั้งแต่ต้น ทำให้ฉันได้กลิ่นสาบ ของวัว ควาย ที่คละเคล้าปนไปกับกลิ่นหอมของไอดิน ฟางข้าว ข้าว เปลือก และข้าวสวยหุงสุกใหม่ๆ หอมกรุ่นน่ากิน กับเสียงเพลงเก่าๆ ที่เป็นชีวิตและวิญญาณเก่าแก่ของปู่ ย่า ตา ยาย บนผืนแผ่นดินไทย ฉันกับพ่อได้พร้อมใจกันก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งนัก


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

155


156

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

การเกษตรทฤษฎี ใหม่ พอดีและพอเพียง

ตอน

สำคั ญ ในพระราชดำรั ส เกี่ ย วกั บ เศรษฐกิ จ

พอเพียง มีว่า “ทฤษฎีใหม่เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ประชาชน มีกนิ ตามอัตภาพ คืออาจไม่รวยมากแต่กพ็ อกิน ไม่อดอยาก หลักมีวา่ แบ่งดินเป็นสี่ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนสำหรับ ปลูกพืชไร่ พืชสวน และก็มีที่สำหรับขุดสระน้ำ” วันนี้ฉันกับพ่อกินข้าวด้วยกันอย่างอิ่มเอม อิ่มทั้งปากท้อง และอิ่มทั้งหัวใจ

157


158

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ชาวนาชาวไร่ทกุ วันนี้ ยังคงตรากตรำเหนือ่ ยยาก และมีรายได้ ไม่เพียงพอ จึงต้องเป็นหนี้เป็นสิน เพราะรายได้ที่ ได้จากการขาย

พืชผล ขายข้าวก็ดี มักจะไม่เพียงพอกับต้นทุนรายจ่ายที่ได้สูญเสียไป พ่อบอกให้ฉันรำลึกคุณของข้าว-แม่ โพสพผู้เป็นต้นกำเนิด รำลึกถึงคุณของชาวนาผู้ทำนาปลูกข้าวให้เรากิน และแม้แต่ วัว ควาย ก็มีบุญคุณต่อเรา

พ่อเล่าว่า ชาวนาทุกวันนี้ส่วนใหญ่แล้ว มีชีวิตไม่สุขสบายนัก


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ชาวนาผู้ได้ชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ยังคงตรากตรำ เหนือ่ ยยากและมีรายได้ไม่เพียงพอ ทัง้ นีก้ เ็ พราะการทำนาทำไร่ยคุ ใหม่ ล้วนแต่ ใช้ต้นทุนสูง ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าเมล็ดพันธุ์ และ

ค่าจ้างแรงงาน ฯลฯ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ชาวนาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็น เงินทองทั้งสิ้น ชาวนาชาวไร่ทุกวันนี้ จึงต้องเป็นหนี้เป็นสินเพราะรายได้ที่ได้ จากการขายข้าวและพืชผล มักจะไม่เพียงพอกับต้นทุนและรายจ่ายที่ ได้สูญเสียไป ด้วยเหตุนี้การเกษตร “ทฤษฎีใหม่” แบบพอเพียง อันเป็น แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้เกิดขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ ผู้กำลังประสบกับปัญหาเดือดร้อนที่ว่านี้

159


160

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

เกษตร “ทฤษฎีใหม่” ตามแนวพระราชดำรินี้เกิดขึ้นเนื่องมา แต่ ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว นั้ น ทรงมุ่ ง ปฏิ บั ติ พ ระราช กรณียกิจเพื่อประโยชน์ของราษฎรทุกท้องถิ่น โดยมุ่งหมายให้ราษฎร มีความเป็นอยู่อย่าง “พอดี พอเพียง” เป็นหลักคือ ไม่รวยมากแต่ก็ พอกินไม่อดอยาก ทั้งนี้ ด้วยการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งนี้ เพื่อพัฒนา ชีวติ และอาชีพเกษตรกรทีม่ พี นื้ ทีจ่ ำกัด และมีปญ ั หาเรือ่ งน้ำไม่เพียงพอ สำหรับการปลูกพืช การแบ่งพื้นที่เกษตรตามแนวทฤษฎีนี้คือ การแบ่งออกเป็น สัดส่วนหรือเป็นสูตรได้ดังนี้คือ ร้อยละ ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ส่วนแรก ร้อยละ ๓๐ ขุดบ่อเก็บน้ำฝนเพื่ออุปโภค ใช้รดน้ำ พืชหน้าแล้ง ใช้ปลูกพืชอายุสั้นราคาดี อย่างเช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสงและผักต่างๆ เป็นต้น ส่วนที่สอง ร้อยละ ๓๐ ใช้ปลูกข้าวเนื่องจากทรงมีพระบรม ราชวินิจฉัยว่า “ข้าวเป็นอาหารหลัก” ของคนไทย เป็นสิ่งสำคัญที่ จำเป็นอันดับแรกของชีวิต จึงควรปลูกให้ครอบครัวนั้นกินตลอดปี ส่วนที่สาม ร้อยละ ๓๐ ปลูกพืชสวน ไม้ยืนต้น พืชผักและ พืชไร่อื่นๆ แบบผสมผสาน เพื่อกินเองและจำหน่ายส่วนที่เหลือ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

161


162

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ส่วนที่สี่ ร้อยละ ๑๐ ส่วนสุดท้าย สำหรับพื้นที่นี้ก็คือ พื้นที่ สำหรับอยู่อาศัย ทำถนน คันดิน ยุ้งข้าวเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาและ

โรงเลี้ยงสัตว์ต่างๆ การเกษตร “ทฤษฎี ใหม่” อันเป็นลักษณะไร่นาสวนผสมนี้ ได้มีการทดลองที่ โครงการพัฒนาวัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และได้มีการพิสูจน์แล้วว่า การบริหารที่ดินตามทฤษฎี ใหม่ นี้ ทำให้ มี น้ ำ พอใช้ ต ลอดปี แ ละเพิ่ ม ผลิ ต ผลให้ สู ง ขึ้ นได้ อ ย่ า ง แท้จริง ด้วยทฤษฎีนี้ เกษตรกรจึงมีข้าวและอาหารเพียงพอสำหรับ การบริโภค

163


164

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ตามสำนวนโบราณที่ว่า “ข้าวเหลือเกลืออิ่ม” และช่วยให้มี รายได้ พ อเลี้ ย งชี พ ไปตลอดปี อย่ า งเข้ า ลั ก ษณะที่ ว่ า “พอดี แ ละ

พอเพียง” นั่นแล้ว... “ในหลวงท่านทรงคิดที่จะช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ทั้งหลาย ให้อยู่ ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพในท่ามกลางที่สังคมไทยกำลัง เปลี่ยนแปลงไปอย่างในทุกวันนี้” พ่อว่า “การที่ลูกตักข้าวมาจนล้นจานแล้วกินไม่หมด นั่นเป็นการ ไม่รู้จักคำว่าพอดีและพอเพียง” พ่อชี้มื อ ไปที่ ข้ า วเหลื อ อยู่ ใ นจาน

ของฉัน “ข้าวทุกเม็ดมีคุณค่า อย่ากินทิ้งกินขว้าง” พ่อสำทับแล้วฉัน ก็รู้สึกละอายใจ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

165


166

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

167

ข้าวของพ่อ

พระ

บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรง เล็งเห็นความสำคัญของข้าวว่า ข้าวคือวิถี ไทย ถือเป็นสมบัติและ

ศักดิศ์ รีของคนไทยทุกคน และข้าวคือทุนรากฐานของชีวติ ชาวนา ผูเ้ ป็น เสมือนหนึง่ กระดูกสันหลังของชาติ ซึง่ ควรทีจ่ ะได้สร้างภูมคิ มุ้ กันตัวเอง ให้อยู่รอดปลอดภัยเพื่อเป็นหลักของบ้านเมือง พระราชปณิธานประการหนึ่งแห่งองค์พระประมุข ซึ่งเปรียบ เสมือน “พ่อของแผ่นดิน” นี้ จึงมีอยู่ว่า จะทรงทำอย่างไรให้ชาวนา ไทย ได้มีชีวิตที่อยู่ดีมีสุขตามอัตภาพและพอเพียง


168

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงทุ่มเทพระวรกายอุทิศบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจอย่างมากมายหลายประการด้วยกัน เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ของชาวนาชาวไร่ไทย นอกจากโครงการส่วนพระองค์ตามพระราชประสงค์ที่จะ

ช่วยเหลือเกษตรกรไทยให้สามารถพึ่งตนเองได้ ด้วยการพระราชทาน

พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อดำเนินการต่างๆ ทางด้านการเกษตร เพื่อให้เป็นทั้งตัวอย่างและเป็นแหล่งรวมความรู้แล้ว ยังได้ทุ่มเทเพื่อ การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาและการทดลองเกี่ยวกับการผลิตข้าว อย่างครบวงจรในอีกหลายๆ ทาง


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

169


170

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเรื่ อ งข้ า ว อั น เนื่ อ งมาจาก

พระราชดำริ จึงกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของสังคมไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับรางวัลเกียรติยศจาก องค์กรนานาชาติหลายแห่ง เพราะพระปรีชาสามารถ และพระวิริย

อุตสาหะของพระองค์มิเพียงแต่เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชน ชาวไทยทั้งประเทศเท่านั้น พระอัจฉริยภาพในด้านการพัฒนาการ เกษตรยังเลื่องลือไปถึงนานาประเทศทั่วโลก


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ดังที่เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ องค์การอาหารและ เกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ทูลเกล้าถวายเหรียญ AGRICOLA พร้อมสดุดีพระเกียรติคุณของพระองค์ ในด้านการพัฒนาการเกษตร ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ พระตำหนักจิตรลดา รโหฐาน สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) ที่มีชื่อเสียงที่สุด

ในโลกในเรื่ อ งงานวิ จั ย ข้ า ว ก็ ไ ด้ ทู ล เกล้ า ฯ ถวายเหรี ย ญทอง เฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ซึ่งสถาบันแห่งนี้

ยั ง มิ ไ ด้ เ คยมอบเหรี ย ญดั ง กล่ า วนี้ แ ก่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ห รื อ ประมุ ข

ของประเทศใดมาก่อนเลย

171


172

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

จากการที่ฉันได้ฟังพ่อเล่าเรื่องความเป็นมาของข้าว เรื่อง

ข้ า วกั บ คนไทย ข้ า วกั บ ชาวนาไทย วั ฒ นธรรมไทย และข้ า วกั บ

พระมหากษัตริย์ ไทยมาโดยลำดับนับตั้งแต่ต้นแล้วนั้น ได้ทำให้ฉัน ประจักษ์ตระหนักเห็นภาพชีวิต อันเป็นสายใยวิญญาณร่วมชาติของ ชาวนาไทยและคนไทยอย่างฉันกับพ่อ ที่สำคัญยิ่งเหนืออื่นใดนั่นก็คือ พระมหากษั ต ริ ย์ ไ ทยที่ ท รงเป็ น เสมื อ นหนึ่ ง ศู น ย์ ร วมสายใยชี วิ ต วิญญาณของคนไทย สังคมไทย และชาติไทยเอาไว้มิให้แตกสลาย ประเพณีพิธีกรรมในวัฒนธรรมข้าวของไทย ก็คือการสอนให้ คนไทยและชาวนาไทยทั้งหลายได้รู้รักสามัคคี และมีความสมานฉันท์ ไม่ โดดเดี่ยว ไม่ฟุ่มเฟือย และไม่ตั้งอยู่บนความประมาท หลักการ เหล่านี้เป็นรากฐานของเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั่นเอง

173


174

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

พ่ อ บอกฉั น ว่ า ดร.สุ เ มธ ตั น ติ เ วชกุ ล เลขาธิ ก ารมู ล นิ ธิ

ชัยพัฒนาเล่าไว้ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีวิถีชีวิตของ พระองค์ที่เรียบง่ายที่สุด ผมเคยถามพระองค์ว่าทรงโปรดเสวยอะไร พระองค์ท่านบอกคำเดียวว่า “ข้าว” และถ้าเรารู้สักนิดก็จะพบว่าข้าว เป็นพืชที่มหัศจรรย์มาก ฝรั่งเคยวิจัยว่าข้าวมีสารชนิดหนึ่งที่ทำให้

ไม่เครียด คนไทยเลยได้หัวเราะกันตลอด แต่มายุคนี้เราไม่เอากันเลย จะเอาแต่ขนมปัง ไข่ดาว สเต๊ก” คำบอกเล่าของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ทำให้ฉันคิดได้ว่า เจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ทรงเห็นความสำคัญของข้าว ถึงปานนี้ ชีวิตชาวนาและราษฎรไทยก็ดีขึ้นตามลำดับ ข้าวจึงเป็นทั้ง รากฐานและหลักชัยของแผ่นดิน ข้าวคือชีวิตของคนไทยทุกคน

ก็แล้วคนไทยอย่างฉันเล่า จะหลงลืมข้าวได้อย่างไร

ข้าวของแผ่นดิน ข้าวของคนไทย ข้าวของพระเจ้าอยู่หัว

“ข้าวของพ่อ”…

ทุกวันนี้ฉันกินข้าวทุกมื้ออย่างอิ่มท้อง อิ่มหัวใจ และกตัญญู รู้คุณ “ข้าวของพ่อ” งดงามขึ้นในใจฉันแล้ว และก็จะงดงามต่อไปใน หัวใจไทยทุกคน


ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

175


176

ข้ า ว ข อ ง พ่ อ

ข้าวของพ่อ

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ผู้เขียน ผู้จัดพิมพ์ กระทรวงวัฒนธรรม ปีที่พิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓ จำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ข้าวของพ่อ กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๓ ๑๗๖ หน้า ISBN 978-616-543-043-2 ที่ปรึกษา ๑. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นายวีระ โรจน์พจนรัตน์) ๒. รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นายอภินันท์ โปษยานนท์) ๓. รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นางโสมสุดา ลียะวณิช) คณะทำงาน นางพิมพร ชัยจิตร์สกุล นางสาวทิพย์สุดา อิ่มใจ นางสาวเมทินี จันทร์บุญนะ

นางจุฑาทิพย์ โคตรประทุม ว่าที่ร้อยตรีธรรมนูญ กลิ่นคุ้ม

จัดพิมพ์ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๖๖๖ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๒๒-๘๘๕๑-๘ www.m-culture.go.th ขอขอบคุณ กรมการข้าว • สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ • ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี • ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย


ข้าวของพ่อ

กระทรวงวัฒนธรรม

๖๖๖ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๕๓-๘ สายด่วนวัฒนธรรม ๑๗๖๕ www.m-culture.go.th

ข้าวของพ่อ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.