แคแสดสาร : ฉบับธันวาคม 2558

Page 1

ฉบับที่ ๑๒ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ www.pkru.ac.th

pkrupage

ธุรกิจการบิน เสวนาสร้างความเชือ่ มัน ่ ระบบความปลอดภัยท่าอากาศยาน วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ สาขาวิชาการจัดการ ธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดโครงการ เสวนา เรื่อง “ระบบนิรภัยการบินและความปลอดภัยของ ท่าอากาศยานในศตวรรษที่ ๒๑” (International Airport Security and Reguration Control in 21st Century) โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.สุทิพย์ จีนาวุธ รองอธิการบดี ผศ.นพดล จันระวัง คณบดี คณะวิทยาการจัดการ นางสาวบงกชรัตน์ เปีย่ มสิรกิ มล ประธาน สาขาวิชา ตลอดจนผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา นักเรียน และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วม ณ โรงละคร ม.ราชภัฏภูเก็ต นายฟูลูส์ ลือบากะมูติง นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ ธุรกิจการบิน ประธานโครงการ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมการ บินได้รับการยอมรับว่า มีความปลอดภัยในการเดินทาง และ มี ค วามรวดเร็ ว ในการขนส่ ง สิ น ค้ า และบริ ก ารมากที่ สุ ด

เนื่องจากมีเทคโนโลยี และการจัดการทีท่ นั สมัย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลับมีอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่ไม่ คาดฝันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเกิดความ วิตกกังวลถึงมาตรการความปลอดภัย ทำให้อุตสาหกรรม การบินได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม สาขาวิชาฯ ตระหนักถึงสภาวการณ์ดังกล่าว จึงจัดโครงการเสวนาใน ครั้งนี้ขึ้น โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร ได้แก่ นายวิชัย เกษจันทร์ ผูอ้ ำนวยการศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต พันตำรวจเอก อัศวิน นาคสวัสดิ์ ผูก้ ำกับด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยาน ภูเก็ต นายมงคล วงศ์สนุ ทร นักการบินสายการบินโอเรียนไทย นายมนตรี เพิ่มผล เจ้าหน้าที่บริหารระดับ ๗ ส่วนตรวจค้น ท่าอากาศยานภูเก็ต และนายพิมพ์พงษ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดูแลระบบความ ปลอดภัยในองค์กรชัน้ นำด้านอุตสาหกรรมการบิน ได้ถา่ ยทอด ความรู้ที่ถูกต้องแก่นักศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่จะประกอบอาชีพ ด้านการบินในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การปฏิบัติ งานในศตวรรษที่ ๒๑ นอกจากนี้ยังช่วยให้สาธารณชนเกิด ความเชื่อมั่นในมาตรการความปลอดภัยของอุตสาหกรรม การบินของประเทศไทย และเลือกใช้บริการด้วยความอุ่นใจ”


เปิดศูนย์หนังสือราชภัฏภูเก็ต พร้อมเป็นคลังปัญญาครบวงจร วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภูเก็ต เครือข่ายศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดศูนย์ หนังสือฯ และทำบุญใส่บาตรหนังสือโดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.ศรัณยา นาคแก้ว ผู้อำนวยการ ศูนย์หนังสือฯ นายเกรียงศักดิ์ หรรษาเวก รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาฯ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมและเยี่ยมชมศูนย์ หนังสือฯ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ (ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์) ม.ราชภัฏภูเก็ต ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี กล่าวว่า “ศูนย์หนังสือฯ จัดตั้ง ขึ้นเพื่อให้บริการทางการศึกษา ได้แก่ หนังสือ สื่อการเรียนการสอน แก่นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย สถานศึกษาต่างๆ และ บุคคลภายนอก โดยมุง่ เน้นการให้บริการแบบครบวงจร เป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการพัฒนาวงการศึกษาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัด ใกล้เคียง ทัง้ นีศ้ นู ย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยความร่วมมือ

กับศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นแหล่งทรัพยากรหนังสือ และสื่อการสอน ที่ช่วยส่งเสริมการอ่าน และสร้างบรรยากาศทาง วิชาการ และการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทั้ง ภาครัฐ และเอกชน รวมทัง้ ประชาชนในพืน้ ทีเ่ ขตอันดามัน สามารถเข้าถึง และใช้บริการได้อย่างครบวงจร โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงกรุงเทพฯ ทางด้าน ผศ.ศรัณยา นาคแก้ว ผอ.ศูนย์หนังสือฯ กล่าวว่า “ศูนย์หนังสือฯ รับจัดหาและสั่งซื้อหนังสือ ตำราเอกสารประกอบ การสอน ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการศึกษา พร้อมเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นำมาเผยแพร่ต่อ สาธารณชน โดยเน้นความทันสมัยพร้อมการให้บริการที่ตรงต่อ ความต้องการของคณาจารย์ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจ พร้อมทั้งมีแนวคิดที่จะมีการจัดนิทรรศการแสดงหนังสือ และเสวนา ทางวิชาการในมิติของ AEC และการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ อย่างมีคุณภาพ”

สร้างภูมิคุ้มกันครูดนตรีมือใหม่ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ ๔ จัดโครงการสัมมนาดนตรี เรื่อง “ภูมิคุ้มกัน สำหรับครูดนตรีมอื ใหม่” โดยมี นายมานพ ชาชิโย คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นประธาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประโมทย์ พ่อค้า ประธานสาขาวิชา คณาจารย์ และนักศึกษา เข้าร่วม ณ ห้องคีตารมย์ อาคารแสดดำสังคีต ม.ราชภัฏภูเก็ต โดยการสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายณัฐวุฒิ มาจันทึก รองผูอ้ ำนวยการโรงเรียนพิบลู ย์สวัสดี นายศรายุธ พรหมพันธุ์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ ภูเก็ต แคแสดสาร 2

นายวรยุทธ รักสิทธิ และนายนวพฤกษ์ นิจพรพงศ์ นักศึกษาฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครู เป็นวิทยากรถ่ายทอดแนวคิดในการจัด กระบวนการเรียนรู้วิชาดนตรี เพื่อให้นักศึกษา ซึ่งกำลังจะเป็นว่าที่ครู ดนตรีในอนาคต ทราบถึงวิธีการเตรียมตัว รวมทั้งทราบถึงปัญหาและ แนวทางในการแก้ไขร่วมด้วยการพัฒนาการสอน นอกจากนั้นยังใช้ เป็นเวทีในการแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างนักศึกษา กับครูดนตรีมอื อาชีพ เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนเทคนิคจากวิทยากร นำไปปรับใช้ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ต่อไป


ตลาดนัดวิชาการ กิจกรรมอุดมปัญญาเต็มพื้นที่ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำนัก ส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดกิจกรรม ตลาดนัดวิชาการ สืบสานวิถีไทย โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.ดรุณี บุณยอุดมศาสตร์ รองอธิการบดี ดร.สำราญ ชัยสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะ และวัฒนธรรม ตลอดจน คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วม อย่างคับคั่ง ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏภูเก็ต ผศ.ดรุณี บุณยอุดมศาสตร์ กล่าวว่า “กิจกรรมตลาดนัด วิชาการ สืบสานวิถีไทย จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาจากทุกคณะของ มหาวิทยาลัย มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางวิชาการ ทำให้นักศึกษามีความรู้และประสบการณ์ทั้งภาค ทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผูเ้ รียนทีพ่ ร้อม

รับการเปลีย่ นแปลงของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ และเสริมสร้างปัจจัย แวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน จึงเกิดเป็น กิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบที่หลากหลาย และใช้ แนวคิดที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีทักษะด้านคณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ และมี คุณธรรมจริยธรรม ภายในงานมีการจัดนิทรรศการทางวิชาการ กิจกรรมการแข่งขัน การละเล่น การแสดง การบรรยายทางวิชาการ การจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษา ทั้งนี้ เชือ่ มัน่ ว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวจะยกระดับความรู้ ปลูกจิตสำนึก ให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย จิตสาธารณะ ก้าวทันต่อการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างแน่นอน”

แคแสดสาร

3


คณาจารย์อุซเบฯ - ยูเครน บินดูงานครุศาสตร์ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี ม.ราชภัฏภูเก็ต นายมานพ ชาชิโย คณบดีคณะครุศาสตร์ คณาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และคณาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ พร้อมด้วย บุคลากร ให้การต้อนรับ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยในประเทศอุซเบกิสถาน (Uzbekistan) และประเทศยูเครน (Ukrain) ในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชม มหาวิทยาลัย พร้อมทัง้ แลกเปลีย่ นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอน

การจัดกิจกรรม การผลิตบัณฑิตสายครู การประเมินคุณภาพ การศึกษา และการผลิตผลงานวิชาการ นอกจากนี้ยังได้หารือ เกี่ยวกับโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างกันในอนาคต ทั้งนี้ คณาจารย์จากทั้งสองประเทศ ให้ความชื่นชมศักยภาพใน การทำงานของคณะครุศาสตร์ ที่สามารถดำเนินงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพทั้งในเชิงนโยบาย และการปฏิบัติงาน

Mister & Miss PCIT เฟ้นคุณภาพ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ วิทยาลัยการท่องเทีย่ วนานาชาติ ม.ราชภัฏภูเก็ต (Phuket College of International Tourism : PCIT) จัดกิจกรรมประกวด Mister & Miss PCIT 2015 โดยมี ผศ.ดร.อรไท ครุธเวโช รักษาการคณบดี PCIT Prof. Dr. Jeffrey Dale Hobbs อาจารย์ประจำ PCIT คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วม ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

4

แคแสดสาร

ม.ราชภัฏภูเก็ต สำหรับกิจกรรมดังกล่าว จัดขึน้ เพือ่ พัฒนาศักยภาพ นักศึกษาให้เป็นผูม้ คี ณ ุ ลักษณะบันฑิตทีพ่ งึ ประสงค์ มีบคุ ลิกภาพทีด่ ี กล้าแสดงออก ทั้งนี้ ผู้เข้าประกวดทุกคนได้แสดงความสามารถ เฉพาะตัว และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงถึง คุณภาพของนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยวนานาชาติให้เป็นที่ ประจักษ์


กยศ. มอบรักแด่คนชรา

วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ กองพัฒนานักศึกษา ร่วมกับ ชมรม กิจกรรมสันทนาการ และเลี้ยงอาหารกลางวัน ช่วยสร้างรอยยิ้ม กยศ. ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดกิจกรรม “กยศ. มอบรักแด่คนชรา ครั้งที่ ๑” และมอบความสุขให้แก่คุณตา คุณยาย นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ณ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ตำบลป่าคลอก ของนักศึกษาชมรม กยศ. ที่แสดงออกถึงความมีจิตอาสาเพื่อสังคม อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยมี นักศึกษา และบุคลากร ร่วมจัด

เปิดแล้ว! ศูนย์บริการ ด้านกฎหมาย ใกล้บ้าน บริการ ครอบคลุม

วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ สาขาวิชานิตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต เปิดศูนย์บริการวิชาการด้าน กฎหมาย โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี ผศ.ดร.ธวัชชัย ทุมทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ นายอิทธิโชติ กุลรัตนโชติ รองอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง กฎหมายและการบังคับคดี จ.ภูเก็ต พร้อมด้วย คณาจารย์ นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วม ณ ศูนย์บริการวิชาการด้านกฎหมาย ห้อง ๗๓๒ ม.ราชภัฏภูเก็ต ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี กล่าวว่า “ศูนย์บริการวิชาการ ด้านกฎหมาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต ดำเนินงานโดยสาขาวิชานิติศาสตร์ มีนโยบายการจัดการศึกษา

กฎหมายในระดับที่สูงขึ้นจากปริญญาตรี โดยได้รับความร่วมมือจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิต ถ่ายทอดสัญญาณ (Streaming) มายังมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการให้โอกาสแก่นักกฎหมาย ใน จ.ภูเก็ต ที่ต้องการทบทวนความรู้ ตลอดจนได้ยกระดับความรู้ ข้อกฎหมายทีท่ นั สมัยขึน้ เพือ่ นำไปใช้ในการประกอบอาชีพนักกฎหมาย ของตน โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาถึง กรุงเทพฯ อีกทั้งการดำเนินงานในครั้งนี้เป็นการสนับสนุนนักศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์ให้มีโอกาสหาความรู้เพิ่มเติม การจัดตั้งศูนย์ฯ นอกจากจะให้ ค วามรู้ แ ก่ นั ก กฎหมายและนิ ติ ศ าสตรบั ณ ฑิ ต แล้ ว ยังมุ่งหวังให้ศูนย์ให้การช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ประชาชน ด้านกฎหมายอีกด้วย” แคแสดสาร 5


ไทยฯสื่อสาร ชวนคิด...คำ...เขียน อย่างสร้างสรรค์ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย เพื่อการสื่อสาร ชั้นปีที่ ๔ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดโครงการสัมมนา “คิด...คำ...เขียน อย่าง สร้างสรรค์” โดยมี นายสุรยิ า ทองคำ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นประธาน พร้อมด้วย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วม ณ ห้องสัมมนา ม.ราชภัฏภูเก็ต ทั้งนี้ ได้รับ เกียรติจากคณะวิทยากรที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการใช้ ภาษาไทย ประกอบด้วย นายชิดเทพ ธมชยากร นักเขียนมือรางวัล

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์พื้นถิ่น ดร.วรพงศ์ ไชยฤกษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการ สื่อสาร และ นางสาวอชัถยา ชื่นนิรันดร์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ โดยการสัมมนาจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาของสาขา วิชาได้เพิ่มทักษะการเขียนอย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาในด้าน การเขียน เพือ่ ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องชัดเจน ตลอดจนสามารถ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

MOU ๑๒ ภาคีเครือข่าย นศ.ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย ๑๐๐%

วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับองค์กร ภาคีเครือข่าย ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สำนักงานประกันสังคม จ.ภูเก็ต สำนักงานขนส่ง จ.ภูเก็ต ตำรวจภูธร จ.ภูเก็ต ศูนย์ปอ้ งกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขต ๑๘ สโมสรโรตารีพรหมเทพภูเก็ต บริษัท โอดี้นิวส์ จำกัด สอจร.ภาคใต้ บริษัท กลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ประชาสัมพันธ์ จ.ภูเก็ต และชมรม ผูส้ อ่ื ข่าว จ.ภูเก็ต ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เป็นองค์กร ต้นแบบ “ขับขี่ปลอดภัยห่วงใยความปลอดภัยคนในองค์กร” โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผศ.ดรุณี บุณยอุดมศาสตร์ รองอธิการบดี ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมด้วย ผู้บริหารส่วนราชการ ตัวแทนภาคเอกชน และนักศึกษา เข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุม ม.ราชภัฏภูเก็ต

6

แคแสดสาร

ผศ.ดรุณี บุณยอุดมศาสตร์ รองอธิการบดี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมป้องกันและอุบัติเหตุหลายโครงการ เช่น โครงการ อบรมระเบียบวินัยการจราจร และโครงการรณรงค์สวมหมวก นิรภัย ๑๐๐% ฯลฯ สำหรับการลงนาม MOU ในครั้งนี้ นับเป็น การดำเนิ น การครั้ ง สำคั ญ ของมหาวิ ท ยาลั ย และจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต ที่ร่วมมือกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการรณรงค์ด้านความ ปลอดภัยทางถนน การส่งเสริมให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกฎจราจร และการออกมาตรการสวมหมวกนิรภัยทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย ภายใน ม.ราชภัฏภูเก็ต ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลจากการลงนาม ระหว่างภาคีเครือข่าย จะช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน และส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน”


ต่สืบอสานวั ยอดผ้ า ปาเต๊ ะ ฒนธรรมถิ่นใต้ เสริมรายได้แก่ชุมชน วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ สาขาวิชาการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปการเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี ดร.ประเจียด อักษรธรรมกุล รองผู้ว่าราชการ จ.ภูเก็ต เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี ผศ.ดรุณี บุณยอุดมศาสตร์ รองอธิการบดี ผศ.นพดล จันระวัง คณบดี คณะวิทยาการจัดการ รศ.ประภาศรี อึ่งกุล ประธานสาขา วิชาฯ นายภูดิท รักษาราษฎร์ นายกเทศมนตรี ทบ.ต.รัษฎา ตลอดจน ประชาชน แขกผู้มีเกียรติ และนักศึกษา เข้าร่วม อย่างเนืองแน่น ณ ห้องประชุมเล็ก ศูนย์ประชุม ม.ราชภัฏภูเก็ต รศ.ประภาศรี อึง่ กุล เผยว่า “โครงการในครัง้ นี้ ทางสาขา วิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากกระทรวงมหาดไทย โดยการประสานงานจากสำนักงาน จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบริการวิชาการ ให้ความรู้เรื่อง การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ นำเสนอต่อผู้คนในชุมชน ให้สามารถนำ ความรู้เรื่องการเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะไปพัฒนาต่อยอด ทั้งยังเป็น การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นปักษ์ใต้ให้คงอยู่และเป็น

ที่สนใจแก่สาธารณชน สำหรับกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย กลุ่มชาวบ้านและเยาวชน บ้านแหลมตุ๊กแก กลุม่ ชาวบ้านเกาะสิเหร่ กลุม่ ชาวบ้านตำบลป่าคลอก กลุม่ ชาวบ้าน บางหวานพัฒนา สมาคมผู้สูงอายุนครภูเก็ต สาขาวิชาฯ มุ่งหวังว่า ด้วยต้นทุนทางองค์ความรู้ด้านผ้าปาเต๊ะที่ชาวบ้าน เหล่านีม้ อี ยูเ่ ดิม เมือ่ มารวมกับความรูท้ างวิชาการทีม่ หาวิทยาลัย จะสนับสนุนเพิม่ เข้าไป โดยการบรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบตั ิ การจากปราชญ์ทอ้ งถิน่ เชือ่ มัน่ ว่าจะเป็นการช่วยเหลือประชาชน ให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงจากการผลิตผ้าปาเต๊ะ ตามแนว พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนัน้ ยังช่วยให้เยาวชน รุ่นใหม่ในชุมชน รวมถึงนักศึกษา เกิดความหวงแหนใน วัฒนธรรมพื้นถิ่น และนำผ้าปาเต๊ะ ซึ่งมีความงดงาม ประณีต และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไปประยุกต์ใช้นอกเหนือจากการ สวมใส่ เช่น เป็นชุดการแสดงโนราห์ รองเง็ง หรือนำไป ตกแต่งโต๊ะอาหาร เป็นต้น” แคแสดสาร

7


คลินิกเทคโนฯ

โชว์ของดีหมูบ่ า้ นเห็ด คนสนใจเพียบ ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ คลินกิ เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏภูเก็ต นำหมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ร่วมงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ๒๕๕๘” (National Science and Technology Fair 2015) โดยมี นายรังสรรค์ พลสมัคร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ นายกิตติศกั ดิ์ จิตต์เกือ้ รองคณบดี นายคณุตน์ ศิโรทศ ผู้นำหมู่บ้านเห็ดฯ พร้อมด้วย คณาจารย์ และทีมงานหมู่บ้าน เข้าร่วม ณ อาคารชาเลนเจอร์อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ เผยว่า “หมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ เป็นความสำเร็จของคลินกิ เทคโนโลยี ที่ใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมองค์ ความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง นำไปพัฒนาให้กับหมู่บ้าน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ จนกระทั่งปลายน้ำ ส่งผล ให้ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้สามารถพึ่งพาตนเอง สร้างงาน

สร้างรายได้ทมี่ นั่ คงและยัง่ ยืน และยกระดับให้เห็ดอินทรียเ์ ป็น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ต่อยอดสู่การแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกต่างๆ เช่น แหนมเห็ด วุ้นเห็ด น้ำเห็ด สกัด และไวน์เห็ด ซึ่งการได้มาร่วมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจาก ผูร้ ว่ มงานเป็นอย่างมาก พร้อมกันนีไ้ ด้มกี ารแลกเปลีย่ นมุมมอง ประสบการณ์ เพือ่ แสวงหาความร่วมมือจากเครือข่ายวิสาหกิจ ชุมชน สถาบันอุดมศึกษา และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ประสานงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค เพื่อนำ กลับมาพัฒนาหมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ฯ ให้เกิดประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น โดยใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามการดำเนินงานของคลินกิ เทคโนโลยี ม.ราชภัฏภูเก็ต ยังคงมีภารกิจในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับหมู่บ้านต้นแบบแห่งใหม่ ในบริเวณ ต.ฉลอง จ.ภูเก็ต ขณะนี้กำลังดำเนินงานเก็บข้อมูล เพื่อพัฒนาโครงการ ซึ่งการดำเนินงานของเราสอดคล้องกับ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยทีม่ งุ่ ให้บริการแก่สงั คม ตอบสนอง ความต้องการของท้องถิ่น”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.