แคแสดสาร : ฉบับพฤศจิกายน 2558

Page 1

ฉบับที่ ๑๑ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ www.pkru.ac.th

pkrupage

ก้าวสู่ e-University ยกเครื่องระบบไอที วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการบริหารจัดการ โครงข่ายและระบบสารสนเทศ โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี ดร.พิทา จารุพนู ผล ผูอ้ ำนวยการสำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ร่วมด้วย ดร.ยงยุทธ์ พุทธพฤกษ์ ผูอ้ ำนวยการสำนักงานบริการ ลูกค้า CAT เขตภาคใต้ และคณะ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม พรหมเทพ อาคารอำนวยการ ม.ราชภัฏภูเก็ต ผอ.สำนักวิทยบริการฯ กล่าวถึงรายละเอียดของการลงนาม ในครั้งนี้ว่า “เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศของ ม.ราชภัฏภูเก็ต ให้มศี กั ยภาพ พร้อมสูก่ ารเป็น e-University อย่างเต็มรูปแบบ ทัง้ นี้ CAT คือผูน้ ำด้านโทรคมนาคมของประเทศไทย เพียบพร้อม

ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย และมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพร้อม ให้คำปรึกษา นำไปสู่การกำหนดแนวนโยบายและแผนการ ดำเนินงานวางระบบปฏิบตั กิ ารและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ซอฟท์แวร์ (Software) รวมถึง อินเทอร์เน็ตและระบบโครงข่ายสือ่ สารข้อมูลทัง้ ภายใน และภายนอก (Internet & Intranet) ตลอดจนการสนับสนุน ทางการศึกษา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา งานวิจัยและพัฒนาของคณาจารย์ และการจัดกิจกรรมทาง วิชาการร่วมกันระหว่างสององค์กร คาดว่าผลการลงนามใน ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการไอทีของแวดวงการศึกษา เขตอันดามันในหลากหลายมิติ ทั้งยังเป็นการเสริมศักยภาพ ให้ ม.ราชภัฏภูเก็ต พร้อมรับโอกาสและความท้าทายของโลก แห่งการสื่อสารไร้พรมแดนเช่นปัจจุบัน ”


จับมือยามาฮ่า ติวเข้มศาสตร์ดนตรี วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ สาขาวิชาดนตรีศกึ ษา คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดโครงการความร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง สาขาวิชาดนตรีศึกษา กับโรงเรียนดนตรียามาฮ่า ภูเก็ต โดยมี นายดิสนั แหล่ทองคำ รองอธิการบดี เป็นประธานเปิดโครงการ ร่วมด้วย ผศ.ดร.ประโมทย์ พ่อค้า ประธานสาขาวิชาดนตรีศกึ ษา นายศาสวัต หลิมพานิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เค. อินเตอร์ มิวสิค จำกัด ดร.ภาวศุทธิ์ พิริยะรัตน์ อาจารย์ ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะวิทยากร แขกผูม้ เี กียรติ ตลอดจน นักศึกษา เข้าร่วม ณ โรงเรียนดนตรียามาฮ่า สาขานครภูเก็ต ประธานสาขาวิชาดนตรีศึกษา กล่าวว่า “การจัดโครงการใน ครั้งนี้เป็นผลจากการลงนามความร่วมมือระหว่างสาขาวิชา

2

แคแสดสาร

ดนตรีศึกษา และโรงเรียนสอนดนตรียามาฮ่า เพื่อร่วมกัน พั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ ไ ด้ รั บ ความรู้ แ ละทั ก ษะดนตรี ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ทั้งยังเป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายทางวิชาการดนตรีในระดับ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานภาคเอกชน กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการวิชาเปียโน กีตาร์ และขับร้อง คลาสสิก โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภาวศุทธิ์ พิริยะรัตน์ และ คณะวิทยากรผู้มากความสามารถ ร่วมถ่ายทอดความรู้ทั้ง ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำศาสตร์ ทางดนตรีที่ได้รับ รวมถึงเทคนิคการเล่นของครูและนักดนตรี มืออาชีพ กลับไปฝึกฝนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของตน และ ในอนาคตสาขาวิชาฯ จะจัดกิจกรรมความร่วมมือเช่นนี้อย่าง ต่อเนื่องในรูปแบบการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน”


UBI อบรมถ่ายภาพต่อยอดทำธุรกิจออนไลน์ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ ผศ.สุทิพย์ จีนาวุธ รองอธิการบดี ให้ เ กี ย รติ เ ป็ น ประธานในพิ ธี ม อบเกี ย รติ บั ต รแก่ ผู้ ผ่ า นการ อบรมในหลักสูตรถ่ายภาพและธุรกิจภาพถ่ายออนไลน์ โดยมี นางสาวขนิษฐา ธนาวิรัตนานิจ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กล่าวรายงานสรุปผลการฝึกอบรม ทั้งนี้ การอบรมได้รับเกียรติจาก นายสมชาย ยิ้มพัฒน์ พร้อมด้วย ทีมวิทยากรจากชมรมถ่ายภาพภูเก็ต ได้แก่ นายอชิรวิช เชื้อมั่ง นายภาณุวัฒน์ แน่นดี นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ และนายสุมิตร

เครือสนิท ซึ่งผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติหลักการถ่ายภาพ ฝึกการใช้กล้อง การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ การถ่ายภาพสินค้าและ บุคคล การทำผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากภาพถ่าย อาทิ โปสการ์ดทำมือ โฟโต้บุ๊ค (Photo Book) ตลอดจนการสร้างความรู้ความเข้าใจ ในธุรกิจขายภาพถ่ายออนไลน์ ซึง่ จัดเป็นช่องทางการตลาดทีส่ ำคัญ ในการหารายได้จากภาพถ่ายในยุคปัจจุบันสำหรับนักถ่ายภาพ มืออาชีพและมือสมัครเล่น ทำให้ผู้เข้าอบรมได้รับทั้งความรู้และ ยังสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อต่อยอดธุรกิจในอนาคตอีกด้วย

ระดมสมองเพื่อหลักสูตรคุณภาพ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ สำนักส่งเสริมวิชาการและ งานทะเบียน จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปรับปรุง และแก้ไขหลักสูตรปรับปรุง และการพัฒนาหลักสูตรใหม่ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต” โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.ดรุณี บุณยอุดมศาสตร์ รองอธิการบดี ตลอดจนคณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเล็ก ศูนย์ประชุม ม.ราชภัฏภูเก็ต ทั้งนี้ ได้รับ เกียรติจากคณะวิทยากรประกอบด้วย นางสาวนุชนภา รื่นอบเชย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผล อุดมศึกษา นางสาวศุภลักษณ์ โอสถานนท์ และนางสาวมนัสวี เชียะไชย จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ สำหรับการอบรมในครั้งนี้

จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปรับปรุง/พัฒนา หลักสูตร เพือ่ ให้รายวิชาในหลักสูตรมีความทันสมัย สอดคล้อง ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มุ่งสู่ เป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

แคแสดสาร

3


สร้างโอกาสการศึกษา มูลนิธิโตโยต้าฯ มอบทุนปีที่ ๑๐ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ กองพัฒนานักศึกษา จัดพิธีมอบทุน การศึกษาประจำปี ๒๕๕๘ จากมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ในการนี้ได้รับเกียรติจาก นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิ โตโยต้า ประเทศไทย เป็นประธานมอบทุนการศึกษา แก่นกั ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน ๑๓๐ ทุน เป็นเงินจำนวน ๑ ล้านบาท ร่วมด้วย ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี และ คณะกรรมการมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ร่วมมอบทุนในครั้งนี้ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมพิธี

ณ ห้องประชุมเล็ก ศูนย์ประชุม ม.ราชภัฏภูเก็ต มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย เป็นมูลนิธิฯ ที่สนับสนุนด้านการ ศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อให้ มีโอกาสเรียนในระดับที่สูงขึ้น สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้รับการสนับสนุนทุนจากมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย มาตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๔๙ รวมระยะเวลา ๙ ปี เป็นเงินทั้งสิ้น ๗.๒๕ ล้านบาท สร้างโอกาสทางการศึกษาให้นักศึกษาประสบผลสำเร็จ พัฒนาตนเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป

Google

อบรมการใช้แอพฯ เพือ่ การศึกษา วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับ บริษัท Google ประเทศไทย จัดอบรม “Google For Education” โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย ดร.พิทา จารุพูนผล ผูอ้ ำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจน คณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วม ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ ม.ราชภัฏภูเก็ตทัง้ นี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภธิดา พรหมพยัคฆ์ ผู้จัดการโครงการ Google for Education เป็นวิทยากรอบรมการใช้เทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น โปรแกรม และบริการจาก Google ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ กล่าวว่า “โครงการอบรม หลักสูตรการใช้งาน Google for Education นับว่าเป็นการเปิด โอกาสให้ประชาชน อาจารย์และบุคลากร ที่สนใจการใช้งาน แอพพลิเคชั่นของ Google ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์เทคโนโลยีพกพาต่างๆ ได้มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยี แคแสดสาร 4

ใหม่ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ให้รู้จักการนำ เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นที่มีประโยชน์ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานที่สะดวกรวดเร็ว สร้างสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ ให้มีความหลากหลาย บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ได้ง่ายและ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ด้าน นางสาวศุภธิดา พรหมพยัคฆ์ วิทยากร กล่าวถึง ความน่าสนใจของ Google Apps for Education ว่า “แอพพลิเคชั่นของบริษัทเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนรูปแบบ การเรียนการสอนของประเทศไทยโดยสิ้นเชิง รวมทั้งจะช่วยให้ มหาวิทยาลัยใช้งานอุปกรณ์ไอที ทีไ่ ด้ลงทุนไปแล้วให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถใช้และจัดสรรงบประมาณและ ทรัพยากรทีม่ อี ยูไ่ ด้อย่างถูกต้องตามลำดับความสำคัญ ด้วยการใช้ Google Apps มหาวิทยาลัยจะสามารถจัดการอีเมล ปฏิทิน เอกสารออนไลน์ รวมถึงการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวเพื่อใช้แบ่งปัน กับผู้ใช้อื่นๆ ได้โดยที่ทางมหาวิทยาลัยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น”


MOU ปีนัง รุกการศึกษา AEC วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ ผศ.ดรุณี บุณยอุดมศาสตร์ รองอธิการบดี ม.ราชภัฏภูเก็ต และ Dr.ChiangGeokLian CEO of SENTRAL Colleage Penang, Malaysia ลงนามข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) โดยมีคณาจารย์ และนักศึกษา จาก ๒ สถาบัน การศึกษา ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม SENTRAL Colleage Penang รองอธิการบดี เผยว่า “ในปีนี้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะรวมเป็นหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องของภาษา และวัฒนธรรม เป็น ภารกิจสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรและแสวงหา ความร่วมมือจากประเทศในสมาชิก AEC เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ทางวิสัยทัศน์ในการบริหารงานการศึกษา และเปิดโลกทัศน์แก่

คณาจารย์ และนักศึกษา ดังนั้น การลงนามร่วมกับ SENTRAL Colleage Penang ซึ่งเป็นวิทยาลัยชั้นนำของเมืองปีนัง บ้านพี่ เมืองน้องที่มีความคล้ายคลึงกันทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม กับ จ.ภูเก็ต มัน่ ใจได้วา่ จะช่วยยกระดับศักยภาพด้านการแลกเปลีย่ น เรียนรู้หลักสูตรการศึกษา การวิจัยและพัฒนา การจัดกิจกรรม การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์ โดยยึดถือผลประโยชน์ ร่วมกันของทั้งสองมหาวิทยาลัย และเป็นเครื่องการันตีว่า ม.ราชภัฏภูเก็ต ได้ดำเนินงานในเชิงรุกเพือ่ ก้าวสูก่ ารเป็นมหาวิทยาลัย มาตรฐานสากล พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของ AEC”

เสริมนักวิจัยใช้โปรแกรม NRMS เพิ่มโอกาสขอทุน วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ สถาบันวิจยั และพัฒนา ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบ NRMS” เพื่อเสนอ ขอรับทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยได้รับเกียรติ จาก นายจักรพงศ์ วรสุวรรณาบุญ และ นางสาวภาชินี อุบลวิโรจน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ ร่วมด้วย นางสาวดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ รองผูอ้ ำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา คณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมอบรม ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ๗๒๑ รอง ผอ. สถาบันวิจยั ฯ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมุง่ หวังให้นกั วิจยั สามารถใช้งานระบบบริหารจัดการงานวิจยั ของประเทศ หรือ NRMS ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานผ่านเครือข่าย Cloud บน อินเทอร์เน็ต ถูกออกแบบมาให้นักวิจัย ผู้ประสานงานวิจัย

ผู้ประเมิน หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานให้ทุน สำนักงบประมาณ ใช้ดำเนินการและติดตามสถานะและผลการดำเนินงานของโครงการ วิจัยที่ได้รับทุน ตั้งแต่ยื่นข้อเสนอ จนปิดโครงการนำผลงานไปใช้ ประโยชน์ ระบบสามารถรองรับข้อเสนอโครงการจากทุกแหล่งทุน โดยจะปรับแบบฟอร์มเป็นแบบเดียวกันทัง้ หมด มีการอัพเดทแบบ ประวัตินักวิจัย สามารถประเมินออนไลน์ แจ้งข่าวประกาศทุน และแจ้งเตือนสถานะโครงการผ่านอีเมล หรือ SMS ดังนัน้ เชือ่ มัน่ ว่า ความรู้ที่นักวิจัยของเราได้รับจากวิทยากร จะช่วยเพิ่มโอกาสใน การพัฒนางานวิจยั ได้อย่างต่อเนือ่ ง และมีระบบการบริหารจัดการ ที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การขอรับทุนวิจัยที่มีคุณภาพ ต่อไป” แคแสดสาร

5


ครุศาสตร์ ฝากแนวคิดเครือข่าย “การจัดการศึกษาเพื่อมีงานทำ” วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์ นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยมี ผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ รองอธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย นายมานพ ชาชิโย คณบดีคณะครุศาสตร์ คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจน ผูบ้ ริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาจากโรงเรียนเครือข่าย ร่วมพัฒนาวิชาชีพครูในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และยะลา เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเล็ก ศูนย์ประชุม ม.ราชภัฏภูเก็ต คณบดีคณะครุศาสตร์ กล่าวว่า “การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหาร และครูพี่เลี้ยงของสถานศึกษา ที่เป็น เครือข่ายของมหาวิทยาลัย มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับ กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวมทั้งยังเป็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีคุณค่าระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม เนื่องจากการผลิตบัณฑิตครู จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากภาคีที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายผลิต ผู้ใช้บัณฑิต รวมทั้งองค์กร วิชาชีพครู ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานบัณฑิตเกี่ยวกับการ ปฏิ บั ติ ก ารสอนในสถานศึ ก ษาที่ แ สดงถึ ง ความสามารถ

6

แคแสดสาร

จัดการเรียนรูส้ าขาวิชาเฉพาะด้าน และสามารถทำวิจยั ในชัน้ เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อีกด้วย ปัจจุบันมีแนวคิดจากรัฐบาลให้ สถานศึกษาจัดทำหลักสูตร ‘การจัดการศึกษาเพื่อมีงานทำ’ ซึ่ ง มี ส ถานศึ ก ษาหลายแห่ ง นำแนวคิ ด นี้ ไ ปประกาศใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน และบูรณาการ หลักสูตรทางเลือก ให้เน้นวิชาเฉพาะที่สอดคล้องกับระบบ เศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับท้องถิ่น ดังนั้น จึงอยากฝากถึงบุคลากรทางการศึกษา ในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยม และอุดมศึกษา ให้เตรียมพร้อมรับมือกับ ความเปลี่ยนแปลงของหลักสูตรและแนวปฏิบัติที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต หากเครือข่ายทางการศึกษาในเขตพื้นที่ของเรายัง คงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และมีความร่วมมือระหว่างกัน อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เชื่อว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะการศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญในการบ่มเพาะต้นกล้าให้เติบโตอย่าง เข้มแข็ง และพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติให้เดินไป ข้างหน้าได้อย่างมั่นคง”


ไหว้ครูโขน ละคร เสริมสิริมงคลชาวนาฏศิลป์ วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ สาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดพิธี ไหว้ครูโขน ละคร ประจำปี ๒๕๕๘ โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.ดร.ธวัชชัย ทุมทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ รศ.ดร.สาวิตร พงศ์วชั ร์ ประธานสาขา วิชาศิลปะการจัดการแสดง ตลอดจน ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ครู นักศึกษา นักเรียน ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการธุรกิจ การจัดการแสดง และประชาชนทั่วไปเข้าร่วม ณ โรงละคร ม.ราชภัฏภูเก็ต พิธใี นครัง้ นี้ ได้รบั เกียรติจาก นายไพฑูรย์ เข้มแข็ง ครูชำนาญการพิเศษ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และคณะ เป็นประธานประกอบพิธี ตั้งแต่การสรงน้ำเทพแห่งครู พิธีถวาย เครื่องสังเวย พิธีครอบครู พิธีอัญเชิญเทพ เทวดา ครู สถิตสู่ที่ ประทับ เป็นต้น

ประธานสาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง กล่าวว่า “สาขาวิชา ศิลปะการจัดการแสดง เน้นการเรียนการสอนเกีย่ วกับนาฏศิลป์ไทย และการแสดงร่วมสมัย โดยนำศาสตร์การเรียนรู้นี้ให้บริการแก่ ชุมชนและท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นให้บริการด้าน บุคลากรนาฏศิลป์ การให้บริการด้านการแสดงประกอบพิธีการ แก่ภาครัฐและเอกชน ดังนั้น จึงได้จัดให้มีพิธีไหว้ครูโขน ละคร ซึ่งเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเติมเต็มประสิทธิภาพองค์ความรู้นั้น รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนเป็นการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงาน ภายนอก และเป็นการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับการอนุรักษ์ และเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยอันเป็นมรดกประจำชาติอีกด้วย”

นิเทศเสวนา “กว่าจะเป็นนักข่าวมือรางวัล” เชิญ บก.ร่วมแชร์

วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดเสวนา “กว่าจะ เป็นนักข่าวมือรางวัล” โดยมี นายมนตรี สังขาว (ช้าง) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตรังไทม์ และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐประจำจังหวัดตรัง ให้เกียรติเป็นวิทยากร ถ่ายทอด ประสบการณ์ให้แก่นกั ศึกษา ดำเนินการเสวนา โดย ผศ.อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ณ ห้องสัมมนา ม.ราชภัฏภูเก็ต บก.ช้าง ให้ขอ้ แนะนำกับรุน่ น้องว่า “การเป็นนักนิเทศศาสตร์ ต้องมีความรู้รอบตัว รู้เรื่องข่าวสารดี นักข่าวเป็นอาชีพ

ที่ไม่รวย แต่มีเกียรติ ทำงานเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” คอย ตรวจสอบพฤติ ก รรมผู้ มี อ ำนาจแทนประชาชนในสั ง คม อย่างไรก็ตาม นักข่าวต้องไม่ใช้อำนาจของตนเองในทางที่ผิด นักข่าวไม่ใช่ผพู้ พิ ากษา ควรให้โอกาสกับทุกฝ่ายในการทำข่าว ไม่ว่าฝ่ายที่ถูกกล่าวหาหรือฝ่ายที่เดือดร้อน” ช่วงท้ายของ การเสวนา นักศึกษาได้ซกั ถามและขอคำแนะนำในการทำข่าว เช่น หลักการคัดเลือกประเด็นข่าว หากแหล่งข่าวไม่ยอมให้ สัมภาษณ์จะทำอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยสร้างประสบการณ์ ที่มีคุณค่ายิ่งให้แก่นักศึกษา แคแสดสาร

7


ไอเดี ย บรรเจิ ด ! เพ้นท์ลายปาเต๊ะ

ต่อยอดภูมิปัญญา

วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดอบรม “การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ” โดยได้รับ เกียรติจาก นายฤทธิพงษ์ ฤทธ์ท้วม อาจารย์จากสถาบันสอน ศิลปะภูการ์ เป็นวิทยากรบรรยายและสาธิต โดยมี ผศ.ดร.หิรญ ั ประสารการ รองอธิการบดี เป็นประธาน ร่วมด้วย ดร.สำราญ ชัยสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะฯ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดจน ประชาชน และนักเรียน ให้ความสนใจ เข้าร่วมอบรม ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะฯ กล่าวว่า “การแต่งกายของ สุภาพสตรีในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ มักนิยม สวมใส่ผ้าปาเต๊ะ ซึ่งมีความโดดเด่นของลวดลายและมีความ สวยงามเฉพาะตัว ทางสำนักศิลปะฯ จึงจัดอบรมขึ้นเพื่อ มุ่งหวังการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นมิให้

สูญหายไป โดยได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการ ออกแบบและผลิตผ้าปาเต๊ะ รวมถึงมีประสบการณ์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด บรรยายให้ความรู้ พร้อมทั้ง สาธิตการออกแบบลวดลายของผ้าให้สวยงามขึ้นด้วยเทคนิค ต่างๆ”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.