MJR1202

Page 1

ศิลปเพือ่ งานสือ่ สารมวลชน

Art for

Mass

Communication

MC211 MC211

เอกสารประกอบการสอน ISBN 978มหาวิทยาลัยรามคำแหง 24

MC 211

Study Guide

ยงยุทธ รักษาศรี ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะการสือ ่ สารศาสตร์


บรรณานุกรม

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะในงานสื่อสารมวลชน (Art of Mass Communication Literacy) เค้าโครงเรื่อง 1. ความหมายของศิลปะและสือ่ สารมวลชน 2. ประเภทของศิลปะและสือ่ สารมวลชน 3. ความสำคัญของศิลปะในงานสือ่ สารมวลชน 4. ศิลปะทีใ่ ช้ในงานสือ่ สารมวลชน

สาระสำคัญ 1. ศิลปะ เป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับความสวยความงาม การแสดงออกความดีงาม การถ่ายทอด ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการสื่อสารทางวัฒธรรม สำหรับสื่อสารมวลชน เป็นองค์ประกอบ ของกระบวนการสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นช่องทางการส่งสารไปมวลชน หรือเป็นตัวกลางส่งผ่าน ข้อมูลข่าวสาร จากผูส้ ง่ สารหนึง่ หน่วยไปยังมวลชน (One to many/to mass) 2. ศิลปะแบ่งประเภทได้หลายเกณฑ์ เช่น ถ้าใช้เกณฑ์การรับรู้ มี 3 ประะเภทได้แก่ ทัศนศิลป หรืองานศิลปะที่เห็นด้วยตา (Visual art)เป็นการสัมผัสความสวยงามทางตา หรือเพื่อให้รับรู้ ความหมาย ความคาดฝัน จินตนาการ ประเภทต่อมา คือโสตศิลปะ (Audio art)หรือมีการเทียบเคียง เป็น จินตนะศิลป (Imagination art) ก็ได้ เป็นศิลปที่อาศัยการรับรู้ทางหู เพื่อสัมผัสซาบซึ้ง และใช้จนิ ตนาการตามอัตลักษณ์แต่ละบุคคล ประเภทสุดท้าย ศิลปะผสม (Mixed art) เป็นการผสม ผสานงานศิลปะที่กล่าวมาทั้งสองประเภท คือ ทั้งจักษะและโสต รวมกันอาจเรียกว่า โสตทัศน์ (Audio-Visual art) เป็นการรับรู้งานศิลปะผ่านทั้งการได้ยินได้เห็นพร้อมกัน นอกจากนั้นอาจแบ่ง ศิลปะตามลักษณะงาน จะได้ 2 ประเภท คือ วิจติ รศิลปและศิลปประยุกต์ ส่วนสือ่ สารมวลชน มี 2 ประเภท เช่นกัน ได้แก่ สือ่ สิง่ พิมพ์และสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ สือ่ สิง่ พิมพ์มี 2 ประเภท ได้แก่ สิง่ พิมพ์ทก่ี ำหนดระยะเวลาเผยแพร่ หรือรายคาบ เช่น (1) หนังสือพิมพ์ (2) วารสาร (3) นิตยสาร (4) จดหมายข่าว ฯลฯ และสือ่ สิง่ พิมพ์ทไ่ี ม่กำหนดระยะเวลา เผยแพร่ เช่น (1) หนังสือ (2) คูม่ อื (3) รายงานประจำปี (4) โปสเตอร์ (5) แผ่นพับ (6) ใบปลิว ฯลฯ สำหรับสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ มี 2 ประเภท ได้แก่ สือ่ อิเล็กทรอนิกส์ทม่ี กี ารออกอากาศ เช่น (1) วิทยุกระจายเสียง (2) วิทยุโทรทัศน์ และสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ทไ่ี ม่การออกอากาศ หรือใช้การส่งทางสาย (Cable) เช่น (1) ภาพยนตร์ (2) เทปเสียง (3) วีดทิ ศั น์ (4) ซีด/ี ดีวดี ี (5) เคเบิลทีวี ฯลฯ 2

MC 211

Arntson, Amy E., Graphic Design Basics, 3rd Edition, Wisconsin : Wadsworth Publishing,1998 Elliott, Marjorie and Emeritus, Bevlin, Design Through Discovery: An Introduction, 6th Ed. : Wadsworth Publishing, 1994 Lauer, David and Pentak, Stephen, Design Basics 5th Edition, Ohio : Wadsworth Publishing, 2000 Lewis, Richard L. and Lewis, Susan Ingalls, The Power of Art, 1st Edition, Binghamton : Wadsworth Publishing,1995 Rathus, Lois Fichner, Understanding Art,6th Ed., New Jersey :Published by Wadsworth Publishing, 2001 Zelanski, Paul and Fisher, Mary Pat, Design Principles and Problems,2nd Ed.,Connecticut :Wadsworth Publishing, 1996 Zelanski, Paul and Fisher, Mary Pat, Shaping Space, 2nd Edition, Connecticut : Wadsworth Publishing, 1995

Study Guide

23


หรือกราฟิคให้มาก ประการสำคัญ ภาพหรือกราฟิค ควรสอดคล้องกับงาน หรือข่าวสารข้อมูล เพือ่ ความเข้าใจทีง่ า่ ยและสะดวก จะทำให้เกิดความประทับใจ เผือ่ โอกาสหน้าทีผ่ อู้ า่ นจะกลับมาอีก การเชือ่ มโยงจะต้องไม่สบั สน ในการจัดเครือข่ายภายในเว็บไซด์

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. บอกความหมายและขอบเขตสือ่ สารสนเทศโลกได้ 2. บอกวัตถุประสงค์สอ่ื สารสนเทศโลกได้ 3. ระบุองค์ประกอบของสือ่ สารสนเทศโลกได้ 4. อธิบายศิลปะในงานสือ่ สารสนเทศโลกได้ 5. บอกความแตกต่างโฮมเพ็จ, เว็บเพ็จและเว็บไซด์ได้ 6. อธิบายหลักทัว่ ไปของการออกแบบโฮมเพ็จและเว็บเพ็จได้

22

3. ศิลปะมีความสำคัญต่องานสื่อสารมวลชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการถ่ายทอด สิง่ ดีงาม เป็นตลาดแห่ง ความคิดสร้างสรรค์ เป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรม รวมทัง้ เป็นการสร้างสิง่ จูงใจในข่าวสารข้อมูล รวมทัง้ เป็นสิง่ สนับสนุนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวให้ถงึ ผูร้ บั ได้ผลดี 4. ศิลปะทีใ่ ช้ในงานสือ่ สารมวลชน มีหลายประเภท ได้แก่ ศิลปะทางภาพ ศิลปะทางแสง ศิลปะทางสี ศิลปะทางเสียง และศิลปะทางกราฟฟิค

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากคูม่ อื แล้ว สามารถ 1. ระบุคำจำกัดความของศิลปะและสือ่ สารมวลชนได้ 2. บอกประเภทของศิลปะและสือ่ สารมวลชนได้ 3. อธิบายความสำคัญศิลปะในงานสือ่ สารมวลชนได้ 4. จำแนกศิลปะทีใ่ ช้ในงานสือ่ สารมวลชนแต่ละประเภทได้

MC 211

Study Guide

3


บทที่ 2

บทที่ 13

ภาษาศิลปะและอวัจนะภาษา (The Language of Art and Nonverbal Language)

การใช้ศิลปะในงานสื่อสารสนเทศโลก (Art Utilization for Gobal Information Media) เค้าโครงเรื่อง

เค้าโครงเรื่อง

1. ความหมายและขอบเขตสือ่ สารสนเทศโลก 2. วัตถุประสงค์สอ่ื สารสนเทศโลก 3. องค์ประกอบของสือ่ สารสนเทศโลก 4. ศิลปะในงานสือ่ สารสนเทศโลก

1. ความหมายภาษาศิลปะ 2. ขอบเขตของภาษาศิลปะกับอวัจนะภาษา 3. องค์ประกอบของการรับรู้ 4. กระบวนการของการรับรู้ 5. ความสัมพันธ์ของสิง่ ทีเ่ ห็นกับการรับรู้

สาระสำคัญ

สาระสำคัญ 1. ภาษาศิลปะ เป็นเรื่องของการแสดงออก หรือการสร้างสรรค์ 2 สาขาประกอบด้วย วิจติ รศิลป์ มีกฎเกณฑ์ทางภาษาประกอบด้วย จุด เส้น รูปร่างพืน้ ผิว คุณค่า สมดุล ลีลา เอกภาพ หนักแน่น ฯลฯ และประยุกต์ศลิ ป์ เป็นการนำภาษาวิจติ รศิลปมาใช้ โดยผสมผสานระหว่างวัจนภาษา กับอวัจนภาษา 2. วัจนภาษา หมายถึง ภาษาพูดและภาษาเขียน ส่วนอวัจนภาษา เป็นภาษาที่ไม่ใช่ ภาษาพูดหรือภาษาเขียน แต่สอ่ื ความหมายกันได้ กล่าวได้วา่ ภาษาศิลปะนัน้ เสมือนอวัจนะภาษา 3. การรับรูป้ ระกอบด้วย สิง่ เร้าอาจเป็นวัตถุสง่ิ ของ หรือปรากฎการณ์กบั การตอบสนอง 4.ในกระบวนการของในการรับรู้ เริม่ ต้นจากการเลือกรับ หรือเลือกทีจ่ ะเปิดทีจ่ ะรับหรือไม่ ถ้าเปิดรับ มีความตัง้ ใจรับ หรือใส่ใจในการรับนัน้ ๆ เพียงใด และถ้าสามารถทีจ่ ะจดจำสิง่ ทีร่ บั ได้ หรือสามารถระลึกสิ่งที่รับได้ หรือถ้าได้ ได้เพียงใด ที่กล่าวมาเป็นการผ่านกระบวนการในการรับรู้ หรืออาจเกิดการรับรูแ้ ล้ว แต่จะมากน้อยเพียงใด ขึน้ อยูก่ บั เงือ่ นไข มากน้อยในแต่ละขัน้ ตอนดังกล่าว 5. สิง่ ทีเ่ ห็นกับการรับรู้ หากอาศัยทฤษฎีการเลือกสรร (Selection Theory) มีประเด็นทีค่ วร ศึกษา ได้แก่ การเลือกรับรู้ส่วนที่เป็นภาพกับส่วนที่เป็นพื้น (Figure-Groud) ส่วนที่มืดหรือสว่าง ส่วนดำ หรือขาว ตรงกับภาพทีเ่ ป็นลายเส้น (Notan) (Notan เป็นภาษาญีป่ นุ่ ตรงกับ Light-Dark) และประการสุดท้าย คือ การมีจดุ หมายในการค้นหา (Visual Search) สำหรับกรณีทฤษฎีการจัดกลุม่ หรือจัดพวกตามแนวเกสตอล (Gestalt Grouping) มีประเด็นศึกษาได้แก่ เรื่องความเป็นพวก (Proximity) ความเหมือน (Simility) ความต่อเนือ่ ง (Continuity) และความปิดเปิด (Closure) 4

MC 211

1. สื ่ อ สารสนเทศโลก หมายถึ ง สื ่ อ ที ่ ใ ช้ ใ นการเผยแพร่ หรื อ แลกเปลี ่ ย นข่ า วสาร ข้อมูลไว้ในสถานที่ ณ แห่งหนึง่ แห่งใด เจ้าของผูผ้ ลิตเปิดโอกาสให้ ประชาชนทัว่ ไป ทีส่ ามารถ เข้าสู่ ระบบดังกล่าวได้ ย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสืบค้นตามทีต่ นต้องการ (Information on Demand) อาจเรียกว่า สื่อตามอุปสงค์ แตกต่างจากสื่อสารมวลชน ที่เป็นการนำเสนอข้อมูลจาก ผูผ้ ลิต (Information on Supply) อาจเรียกว่า สือ่ สารตามอุปทาน โดยผูร้ บั สารไม่มสี ทิ ธิเลือกรับ อย่างแท้จริงเป็นตามผูส้ ง่ สารเลือกส่งให้ 2. วัตถุประสงค์สื่อสารสนเทศโลก เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลที่ความคล้ายคลึง กับสื่อสาร มวลชนทั่วไป แต่แตกต่างที่เป็นสื่อสารสองทาง และเป็นสื่อตามอุปสงค์ เป็นการเน้นด้านข่าวสาร ข้อมูล แต่กม็ กี ารโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การบันเทิง การแลกเปลีย่ นความคิดเห็นเช่นกัน ทัง้ นี้ ผูเ้ ข้าสูร่ ะบบจะมีสทิ ธิเลือกเปิดรับได้ตามทีต่ อ้ งการ สิง่ ทีไ่ ม่พงึ ประสงค์กไ็ ม่ตอ้ งเปิดรับ 3. ส่วนประกอบของสือ่ สารสนเทศโลก ได้แก่ เนือ้ หา ภาพ กราฟิคและการออกแบบ ไม่แตก ต่างจากการออกแบบสือ่ ทัว่ ไป แต่แตกต่างทีเ่ ป็นการออกแบบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ ดิจิตอล ที่ควรคำนึงถึงความสวยงาม ความชัดเจน น่าอ่าน ไม่รกหูรกตา และต้องคำนึงว่าการ ส่งผ่านจากฐานข้อมูล หรือทีเ่ รียกขานว่า เว็บไซด์ (Web site) ไปยังผูร้ บั จะต้องรวดเร็ว 4. ศิลปะทีใ่ ช้ในงานสือ่ สารสนเทศโลก เป็นการใช้ศลิ ปะทางแสง ศิลปะทางเสียง ศิลปะทางสี และศิลปะทางภาพทัง้ ภาพนิง่ และภาพเคลือ่ นไหว รวมทัง้ กราฟิคต่าง ๆ และภาพ 3 มิตทิ ท่ี ำให้มคี วาม น่าสนใจ หรือจูงใจผูอ้ า่ น ให้เข้ามาอ่านโดยเฉพาะหน้าแรกที่ เรียกขานว่า โฮมเพ็จ (Home page) หน้านี้เสมือนโชว์รูมมีเพียงหน้าเดียว แล้วดึงหรือจูงให้เข้าไปอ่าน หน้าด้านในที่ต่อเนื่องไป เรียกขานว่า เว็บเพ็จ (Web pages) กลุม่ หน้านีม้ หี ลายหน้า นอกจากนัน้ การจัดหน้าให้มคี วามเป็น ระเบียบ สะดวก ง่ายต่อการใช้ และควรเลือกกราฟิค หรือภาพสนับสนุน หรือเป็นการสือ่ สารด้วยภาพ Study Guide

21


จุดประสงค์การเรียนรู้

บทที่ 12 การใช้ศิลปะในงานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Art Utilization for Electronic Media)

เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. ระบุความหมายของภาษาศิลปะได้ 2. บอกองค์ประกอบการรับรูไ้ ด้ 3. บอกกระบวนการของการรับรูไ้ ด้ 4. จำแนกความสัมพันธ์ของสิง่ ทีเ่ ห็นกับการรับรูไ้ ด้

เค้าโครงเรื่อง 1. ประเภทของสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ 2. ศิลปะในงานสือ่ อิเล็กทรอนิกส์

สาระสำคัญ 1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์มี 2 ประเภท ได้แก่ (1) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ออกอากาศ เพื่อสาธารณะ เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ (2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ ผ่านสายเชือ่ ม หรือเคเบิล หรือ เคเบิลไร้สาย เช่น วิดทิ ศั น์ ภาพยนตร์ เคเบิลทีวี อินเตอร์เนต 2. การใช้ศิลปะในงานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ออกอากาศเพื่อสาธารณะ (1) วิทยุ กระจายเสียง เช่น ศิลปะทางเสียง (2) วิทยุโทรทัศน์ เช่น การใช้ศิลปะทางแสง ศิลปะทางเสียง ศิลปะทางสี และศิลปะทางภาพ รวมทัง้ ศิลปะทางกราฟิคต่าง ๆ และภาพ 3 มิตโิ ดยเฉพาะเทคนิค การใช้เลนส์ 3. การใช้ศลิ ปะในงานสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ทไ่ี ม่เผยแพร่ออกอากาศเพือ่ สาธารณะ เช่น วิดทิ ศั น์ ภาพยนตร์ เคเบิลทีวี ฯลฯ มีลกั ษณะและวิธกี ารเหมือนกับสือ่ สิง่ พิมพ์ทอ่ี อกอากาศ ทัง้ นีข้ น้ึ อยูก่ บั ความคิดสร้างสรรค์งานของผูผ้ ลิต

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกประเภทของสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ได้ 2. อธิบายศิลปะในงานสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ได้

20

MC 211

Study Guide

5


บทที่ 3

บทที่ 11

วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือของช่างศิลป์ (The Artist’s Materials and Tools)

การใช้ศิลปะในงานสื่อสิ่งพิมพ์ (Art Utilization for Printed Media)

เค้าโครงเรื่อง

เค้าโครงเรื่อง 1. ประเภทของสือ่ สิง่ พิมพ์ 2. ศิลปะในสือ่ สิง่ พิมพ์รายคาบ 3. ศิลปะในสือ่ สิง่ พิมพ์ไม่กำหนดเวลาระยะการเผยแพร่

1. วัสดุอปุ กรณ์และเครือ่ งมือของช่างศิลป์แบบดัง้ เดิม 2. วัสดุอปุ กรณ์และเครือ่ งมือของช่างศิลป์แบบร่วมสมัย

สาระสำคัญ 1. เครื่องมือการสร้างสรรค์งานศิลปะแบบดั้งเดิม ได้แก่ การวาด (Drawing) การระบาย (Painting) การพิมพ์ (PrintMaking) ผลการออกแบบจะเกีย่ วข้องกับเรือ่ ง พืน้ ผิว (Textures) ลีลา (Rhythms) เน้น (Emphasis) รูปทรง (Shapes) และสมดุล (Balances) 2. เครือ่ งมือร่วมสมัย เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครือ่ งคอมพิวเตอร์ (Computer Hardware) และชุดคำสัง่ (Computer Software) ประกอบด้วย คำสัง่ ระบบปฏิบตั กิ าร (Operating System Software) คำสัง่ ปลุกจิตและวิญญาณเครือ่ ง (BIOS: Basic Input Output System) ชุดคำสัง่ ในการสือ่ สารคนกับเครือ่ ง เช่น ดอส (DOS) คำ พยางค์ ฯลฯ เพือ่ ใช้เขียนเป็นคำสัง่ (CUI : Command Line User Interface) หรือ วินโดว์ (Window) หรือแม็กอินทอช (MacIntosh) ทีร่ ปู ภาพ กราฟิคแทนคำสัง่ (GUI : Graphic User Interface) ชุดคำสั่งใช้งาน (Application Software) ชุดคำสั่งภาษาเฉพาะ (Specific Language/ Program) เช่น ภาษาซี (C Language) ฟอร์แทรน (Fortran Language) โคบอล (COBOL Language) แอสเซมบี (Assembly Language) etc. และชุดคำสัง่ สำเร็จรูป (Package/Canned Program) เช่น ใช้ออกแบบจัดหน้า (PageMaker) ใช้ปรุงแต่งภาพถ่าย (PhotoShop) สร้างสรรค์ภาพ (Illustrator) เป็นต้น

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกเครือ่ งมือของช่างศิลป์แบบดัง้ เดิมได้ 2. ระบุเครือ่ งมือของช่างศิลป์แบบร่วมสมัยทีส่ ำคัญได้ 3. บอกประเภทเครือ่ งมือร่วมสมัยใช้งานได้ 4. เลือกเครือ่ งมือร่วมสมัยใช้งานได้อย่างเหมาะสม 6

MC 211

สาระสำคัญ 1. สือ่ สิง่ พิมพ์แบ่งเป็น (1) สิง่ พิมพ์รายคาบ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จดหมายข่าว และ (2) สิ่งพิมพ์ไม่กำหนดเวลาระยะการเผยแพร่ เช่น หนังสือ คู่มือ รายงานประจำปี โปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร กระดาษหัวจดหมายและซองจดหมาย เป็นต้น 2. ศิลปะทีใ่ นงานสือ่ สิง่ พิมพ์รายคาบ ได้แก่ (1) เตรียมต้นฉบับ เช่น การออกแบบจัดหน้า การแก้ไขปรุงแต่ภาพ การสร้างสรรงานภาพ ทีเ่ ป็นภาพถ่าย หรือภาพวาดและภาพเขียน การใช้สี การใช้กราฟิค เป็นต้น (2) การเตรียมต้นฉบับก่อนการพิมพ์ เป็นการเตรียมภาพทีเ่ ป็นภาพลายเส้น และภาพฮาล์ฟโทน 3. ศิลปะในงานสื่อสิ่งพิมพ์ไม่กำหนดเวลาระยะการเผยแพร่ มีการใช้ภาพในรูปแบบ และวิธกี ารเช่นเดียวกับงานสือ่ สิง่ พิมพ์รายคาบ ได้แก่ การเตรียมต้นฉบับ และการเตรียมต้นฉบับก่อน การพิมพ์

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกประเภทของสือ่ สิง่ พิมพ์ได้ 2. อธิบายศิลปะในสือ่ สิง่ พิมพ์รายคาบได้ 3. อธิบายศิลปะในสือ่ สิง่ พิมพ์ทไ่ี ม่กำหนดระยะเวลาเผยแพร่ได้ ่

Study Guide

19


บทที่ 10

บทที่ 4

ศิลปะทางภาพ 3 มิติ (Art of three Dimension)

หลักการออกแบบ (Design Principles) เค้าโครงเรื่อง

เค้าโครงเรื่อง

1. ความหมายของการออกแบบ 2. หลักการออกแบบ

1. องค์ประกอบศิลปะทางภาพ 3 มิติ 2. วิธกี ารสร้างภาพ 3 มิติ

สาระสำคัญ

สาระสำคัญ 1. ส่วนประกอบของภาพ 3 มิติ ได้แก่ แกน Z (The Z-axis) องค์ประกอบทาง ความลึกทาง กราฟิค (Graphic depth factors) ได้แก่ การทำความเหลื่อมซ้อน (overlapping plannes) ความสัมพันธ์ทางขนาด (relative size) ความสูงในพืน้ ราบ (height in plane) การใช้เส้นตรง (linear perspective) การใช้ความสูงทางอากาศ (aerial perspective) และการใช้คุณลักษณะของ ความชัดลึกของเลนส์ (dept characteristics of lenses) 2. วิธกี ารสร้างภาพ 3 มิติ โดยการใช้ความลึกและปริมาตร โดยปกติภาพทีเ่ ห็นเป็นสองมิติ กล่าวง่าย ๆ คือ ใช้แกน X และ Y แต่ถา้ มีแกน Z (The Z-axis) เข้ามามี ส่วนร่วมก็จะทำให้เกิดมิติ อิ กี หนึง่ มิติ หรือเป็น 3 มิติ นอกจากนัน้ เป็นการใช้องค์ประกอบทางกราฟิคทีท่ ำให้เห็นเกิดความลึก หรือเกิดมิติ เช่น วิธีทำให้ภาพเหลื่อมซ้อนกัน การใช้ความสัมพันธ์ในทางขนาด การใช้ความสูง และความสึกของเส้นตรง การใช้คุณลักษณะของความชัดลึกของเลนส์ การเหลื่อมซ้อนภาพโดย ใช้เลนส์มมุ กว้างและเลนส์มมุ แคบ (wide angle lens and narrow angle lens) การใช้ความสัมพันธ์ ทางขนาดโดยใช้เลนส์มมุ กว้างและเลนส์มมุ แคบ รวมทัง้ การเลือกใช้ ระยะชัด (selective focus)

จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกองค์ประกอบศิลปะทางภาพ 3 มิตไิ ด้ 2. อธิบายวิธกี ารสร้างภาพ 3 มิตไิ ด้

18

1. การออกแบบ หมายถึง การแสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการของมนุษย์ อารมณ์ความรูส้ กึ เป็นผลงานความพึงพอใจ ผลทางความงามของศิลปิน อาจก่อให้เกิดความชืน่ ชม ยินดี ความสลด ความรัดทดใจ ความหวาดกลัว ความน่าเกลียดน่าชัง ต่อผูท้ ไ่ี ด้สมั ผัสผลงานดังกล่าว อาจเป็นไปไดทุกกรณี 2 . หลักการออกแบบ ได้แก่ การใช้เรือ่ งความสมดุล (Balance) ทีเ่ กีย่ วข้องกับการกระจาย น้ำหนักในจัดวางองค์ประกอบในหน้างานออกแบบ การใช้เรื่อง จังหวะ หรือลีลา (Rythm) ทีเ่ กีย่ วข้องกับการสร้างสรรค์องค์ประกอบทีซ่ ำ้ ๆ กัน อาศัยความหลากหลาย เช่น ลีลาตามธรรมชาติ (Nature of Rythm) ลีลาแบบแมตทริก (Matrix Rythm) ลีลาแบบการไหลลืน่ (Flowing Rhythm) ลีลาแบบการหมุนวน (Swirling Rhythm) ลีลาจแห่งทีส่ ดุ ๆ (Climax Rhythm) นอกจากนัน้ เป็นเรือ่ งใช้การเน้น (Emphasis) ทีเ่ กีย่ วข้องกับสิง่ ทีต่ อ้ งการให้ออกมาโดดเด่น เพื่อการที่จะเห็นได้เด่นชัดกว่าองค์ประกอบอื่น นอกจากนั้นเป็นเรื่องความเป็นเอกภาพ (Unity) ทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดองค์ประกอบทัง้ หลายให้ดเู สมือนเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน หรือจัดให้เข้าด้วยกัน ประหนึง่ เป็นพวกเดียวกัน

เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. สรุปจำกัดความของการออกแบบด้วยตนเองได้ 2. อธิบายหลักและวิธกี ารออกแบบได้

MC 211

Study Guide

7


สนใจระยะสัน้ การเว้นช่วง การเคลือ่ นไหว ทิศทางการเคลือ่ นที่ เคลือ่ นตำแหน่ง บอกมิติ กำหนด ตำแหน่ง สร้างสภาพแวดล้อม เน้นการแสดง การแสดงทีเ่ ข้มข้น สร้างความขบขัน สัญลักษณ์ การสือ่ ความหมาย ฯลฯ(4) เสียงเพลงและดนตรี (Music) สนับสนุนภาพ สร้างบรรยากาศ เสริมช่วง การหยุดสนทนา สร้างความรูส้ กึ ต่อเนือ่ ง หน้าทีเ่ สียงเพลงและดนตรีโดยทัว่ ไป ได้แก่ สร้างตำแหน่ง เน้นการแสดง สร้างความขบขัน เตือนความจำหรือบอกเหตุการณ์ ปลุกเร้าบรรยากาศและอารมณ์ ฯลฯ (5) ความเงียบ (Silence) 3. เสียงในงานสื่อสารมวลชน เป็นเรื่องของการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับภาพ (Functions of Sound in Relation to Picture) (1) เสียงเท่าเทียมกับภาพ (Sound parallels Picture) (2) เสียงกำหนดภาพ (Sound defines Picture) (3) ภาพกำหนดเสียง (Picture defines Sound) (4) เสียงและภาพกำหนดเสียงประกอบ (Sound and Picture defines Effect) (5) เสียงสวนทาง กับภาพ (Sound counterpoints Picture

บทที่ 5 องค์ประกอบการออกแบบ (Design Anatomy) เค้าโครงเรื่อง 1. องค์ประกอบการออกแบบ 2. ประเภทขององค์ประกอบการออกแบบ 3. การใช้องค์ประกอบการออกแบบ

สาระสำคัญ 1. การออกแบบมีองค์ประกอบ หลายประการ ได้แก่ (1) เส้น (Line) คือ จุดต่อเนื่องกัน หลาย ๆจุด หรือการต่อเชือ่ มกันจากจุดหนึง่ ไปยังอีกจุดหนึง่ หรือการเชือ่ มกันหว่างจุดสองจุด (2) รูปทรง (Shape) เป็นเรือ่ งความสูงและความกว้างทีจ่ ะทำให้เกิดรูปทรง (3) พืน้ ผิว (Texture) เป็นเรือ่ ง ความรูส้ กึ หรือการมองเห็นพืน้ ภายนอกของวัตถุทแ่ี ตกต่างกัน (4) พืน้ ที่ (Space) เป็นเรือ่ งระยะทาง หรือความห่างระหว่างพืน้ ที่ หรือ ระยะรอบ ๆ วัตถุ (5) ขนาด (Size) เป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับความใหญ่ ความเล็กของบางสิง่ บางอย่าง (6) ความเข้มข้น (Value) เป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับ ความมืด หรือความสว่าง ของพื ้ น ที ่ ใ นวั ต ถุ (7) สี (Color) เป็ น เรื ่ อ งการเติ ม เต็ ม เครื ่ อ งมื อ การสื ่ อ ความ หรือสัญลักษณ์การสือ่ สาร เพือ่ ความสนใจ 2. ประเภทองค์ประกอบการออกแบบ แบ่งย่อยได้ดงั นี้ (1) เส้น ได้แก่ (ก)เส้นตัง้ ให้ความรูส้ กึ มัน่ คง แข็งแรง สง่า สงบ ฯลฯ (ข) เส้นนอน ให้ความรูส้ กึ ราบเรียบ หยุดนิง่ วังเวง ตาย ฯลฯ (ค) เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง กำลังจะล้ม อันตราย ฯลฯ (ง) เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึก มั่นใจ มีเป้าหมาย ฯลฯ รูปทรง มีทง้ั 2 มิติ 3 มิติ (2) รูปทรงมี 3 ประเภท ได้แก่ (ก) รูปทรงเหมือนของจริง (Realistic) เช่น รูปทรงทีถ่ า่ ยไว้ เขียนขึน้ ตามเหมือนจริง ฯลฯ (ข) รูปทรงตัวแทน (Abstract) เช่น ภาพเขียน เป็นการ์ตนู ภาพการ์ตนู เลียนภาพคน ภาพสัญลัญลักษณ์เลียนภาพนักกีฬาประเภทต่าง ๆ ฯลฯ และ (ค) รูปทรงไร้ ความหมาย (Non-objective) เป็นรูปทรงหรือภาพ ที่ไม่มีความหมาย ฯลฯ (3) พื้นผิว เป็นพื้น ภายนอกวัตถุ อยู่ในส่วนผิวนอก ทำให้เกิดความรู้สึกตอบสนอง ไม่ว่ารู้สึกนิ่มนวล รู้สึกว่าบอบบาง หนา บึกบึน ฯลฯ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สัมผัส แต่เป็นความรู้สึก เมือ่ ได้สมั ผัสด้วยตา เช่น ผิวกระดาษทราย กับผิวกระจก ผิวบนใบหน้าเด็กอ่อน กับวัยชรา ฯลฯ (5) ขนาด เป็นการเปรียบเทียบ สัดส่วนสิง่ ทีม่ องเห็น เชือ่ มโยงไปยัง ความรูท้ เ่ี คยรับรูแ้ ล้ว ทำให้เกิด ความเข้าใจ (6) ความเข้มข้น หรือแสง ทีเ่ กีย่ วข้องทำให้เกิดความมืด หรือสว่าง เกิดขึน้ ตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น ทำให้เกิดอารมณ์ จินตนาการ ความนึกคิดได้ เมื่อความเข้มข้นของแสง 8

MC 211

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกองค์ประกอบและโครงสร้างของเสียงได้ 2. บอกประเภทของเสียงได้ 3. บอกความหมายของเสียงได้ 4. ระบุศลิ ปะทางเสียงในสือ่ มวลชนได้

Study Guide

17


บทที่ 9 ศิลปะทางเสียง (Art of Sound) เค้าโครงเรื่อง 1. องค์ประกอบและโครงสร้างของเสียง 2. ประเภทของเสียง 3. ศิลปะทางเสียงในงานสือ่ มวลชน

สาระสำคัญ 1. องค์ประกอบและโครงสร้างของเสียง (Basic components/ound Structure) ได้แก่ (1) ระดับเสียง (Pitch) เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับความสูงต่ำของเสียงเสียงสูง จะบอกความละเอียดอ่อน สดใส ร่าเริง เสียงต่ำจะบอก ความน่ากลัว แข็งแรง ความสงบ (2) น้ำหนัก เสียง (Loudness) เป็นความดัง ความเบาของเสียง เสียงที่ดัง บอกความใกล้ชิด ความเข้มแข็ง และความสำคัญ ส่วนเสียงเบา บ่งบอก ระยะทาง ความอ่อนแอ และความเงียบ (3) ลักษณะเสียง (Timbre) เป็นระดับของเสียง เสียงคูห่ รือแผกกัน จากแหล่งเสียงและคุณภาพของเสียง (4) จังหวะ เสียง (Tempo) เป็นความรวดเร็ว ของเสียง จังหวะเสียว ถ้าจังหวะเร็ว หมายถึง ก่อกวน ตื่นเต้น รีบเร่ง ถ้าจังหวะช้า หมายถึง ความน่าเบือ่ ภูมฐิ าน มีอำนสจ (5) ลีลาของเสียง (Rhythm) มีลลี าธรรมาดา ลีลาคงที่ ลีลาซับซ้อน และลีลาที่เปลี่ยนแปลง (6) ช่วงระยะเสียง เป็นช่วงระยะเวลาสั้นหรือยาว ระหว่างเริ่มจนสุดท้าย ถ้าระยะสั้นหมายถึง (7) เสียงจู่โจม (Attack) เสียงเริ่มจู่โจมหนักและเบา ถ้าเสียงจู่โจมหนักแน่น หมายถึง ระมัดระวัง อันตราย ตืน่ เต้น หากเสียงจูโ่ จมเบา หมายถึง ความสุภาพ อ่อนโยน เบือ่ หน่าย นิง่ (8) ลดถอย (Decay) ความเร็วในการเบาเสียงจากระดับความดัง ทีป่ รากฏ ถ้าการลดเสียงลงเร็ว หมายถึง ความรูส้ กึ รับรู้ ถ้าลดเสียงลงช้า หมายถึง ระยะทาง หนทางยังยาวไกล ความราบรืน่ 2. ประเภทของเสียง (Kinds of Sound) ได้แก่ (1) คำพูด (Speech) เป็นเสียงการบรรยาย ได้แก่การบรรยายโดยตรงเป็นการบรรยายตามที่ได้เห็นและได้ยิน และการบรรยายโดยอ้อม เป็นพูดเพิ่มเติมจากข้อมูลและภาพ (2) การสนทนา (Dialoque) เป็นการพูดระหว่างบุคคลตั้งแต่ สองคนขึน้ ไปทัง้ วัจนะและอวัจนะภาษา (3) เสียงประกอบ (Sound Effects) เป็นเสียงทีไ่ ม่ใช่คำพูด หรือเสียงเพลง ได้แก่ เสียงประกอบเชิงบริบท (Contextual sound) เสียงประกอบ เชิงบรรยาย (Narrative sound) เสียงประกอบเชิงอธิบาย(Descriptive sound) เสียงประกอบ เชิงวิพากษ์ (Commentative sound) หน้าทีข่ องเสียงประกอบ (Functions of sound effects) ได้แก่ เน้นความ 16

MC 211

ทิ ศ ทางแสงเปลี ่ ย นเป็ น ต้ น (7) สี เป็ น ความรู ้ ส ึ ก ในการเห็ น ภาพจากการสะท้ อ งจากแสง สีมอี ทิ ธิพลต่อความรูส้ กึ เช่น สีแดง บอกความสดใส สีเหลืองบอกความตืน่ เต้น ร่างเริง ฯลฯ 3. ข้อพิจารณาในใช้องค์ประกอบการออกแบบ (1) การใช้เส้นเพือ่ จัดข้อมูล เน้นคำ บอก ขนาด รูปทรง แบ่งคอลัมน์ วาดกราฟิค นำสายตา สร้างอารมณ์ฯลฯ (2) การใช้รปู ทรง เพือ่ ตัดส่วน รูปภาพ เป็นสัญลักษณ์ทางความคิด หรือตัวแทนความคิดสร้างสรร ฯลฯ (3) การใช้พื้นผิวเพื่อ เชือ่ มโยงจินตนาการ สร้างอารมณ์เฉพาะ สร้างอัตลักษณ์บคุ คล สร้างความสนใจ ดึงสายตา ฯลฯ (4) การใช้พน้ื ที่ เพือ่ พักสายตา สร้างความรูส้ กึ ให้ผกู องค์ประกอบเข้าด้วย สร้างภาพสามมิติ สร้างจุด เด่นแก่องค์ประกอบ สร้างความตรึงเครียดระหว่างสององค์ประกอบ จัดหน้าหลากหลาย จัดช่องไฟ ตัวพิมพ์ให้มีความน่าอ่าน ฯลฯ (5) การใช้ขนาด เพื่อบ่งบอกว่าสิ่งใดสำคัญที่สุด องค์ประกอบใด มาก่อนหลัง หรือลำดับก่อนหลัง ทำให้องค์ประกอบง่ายต่อการมองเห็น สร้างความต่างในสององค์ ประกอบ แบ่งพืน้ ที่ ทำให้องค์ประกอบเหมาะสมแต่ละชิน้ งาน สร้างความกลมกลืนขององค์ประกอบ ฯ ลฯ (6) ความเข้มข้นแสง หรือมืดสว่าง เพื่อจัดความหนักเบา แยกความแตกต่าง นำสายตา สร้างภาพของความลึก หรือขนาดมวลวัตถุสามมิติ ให้ความรู้สึกหวาดหวิว (เฉพาะแสงนุ่มนวล) เน้นองค์ประกอบทีส่ ำคัญ จัดวัตถุให้มคี วามรูส้ กึ ว่าสิง่ ใดอยูห่ น้าหรือหลัง ฯลฯ (7) การใช้สี เพือ่ สร้าง ความโดดเด่น ความสะดุดตา บอกผูอ้ า่ นหรือผูช้ มว่าควรจะมองสิง่ ใดก่อน สร้างความตืน่ เต้น ตืน่ ตา ตืน่ ใจ กระตุน้ อารมณ์ตอบสนอง จัดกลุม่ องค์ประกอบ ฯลฯ

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. ระบุองค์ประกอบการออกแบบได้ 2. บอกประเภทขององค์ประกอบการออกแบบได้ 3. อธิบายการใช้องค์ประกอบการออกแบบได้

Study Guide

9


กล้องใช้บังคับด้วยผู้ใช้ นอกจากนั้นปัจจุบันสามารถเขียนหรือวาดด้วยเทคโนโลยี ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์และการถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลทั้งภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว วิธีการผลิตภาพ (1) ผลิตตามความคิดสร้างสรร (2) ผลิตใหม ต่ ามแบบเดิม (3) สำเนาจากงานเดิมปรุงแต่งจากแบบเดิม 4. ศิลปะทางภาพในงานสือ่ มวลชน กล่าวคือ ภาพในสือ่ สิง่ พิมพ์ (1) ภาพประกอบเนือ้ หา เช่น ข่าว บทความ สารคดี ข้อมูลในเอกสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ (2) ภาพเป็นเนือ้ หา เช่น ภาพสารคดี ภาพการ์ตนู ภาพสาธิตการใช้อปุ กรณ์ตา่ ง ๆ ภาพโฆษณาสินค้า ฯลฯ (3) ภาพเพือ่ การออกแบบ เช่น กราฟิกชือ่ สิง่ พิมพ์ ชือ่ คอลัมน์ประจำ หัวเรือ่ งเสริมเนือ้ หาพักสายตา หรือตกแต่ง การจัดหน้า สำหรับภาพในสือ่ วิทยุโทรทัศน์ (1) ภาพเป็นเนือ้ หา เช่น รายการสารคดี รายการละคร รายการภาพยนตร์ ฯลฯ (2) ภาพประกอบเนือ้ หา เช่น รายการข่าว รายการสนทนา รายการสาธิต ฯลฯ ภาพในสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ (3) ภาพเพือ่ ศิลปะ เช่น ฉากประกอบรายการ กราฟิกชือ่ ผูร้ ว่ มรายการ ตัวอักษร กราฟิกต่าง ๆ ฯลฯ

บทที่ 6 ศิลปะทางแสง (Art of Lighting) เค้าโครงเรื่อง 1. ประเภทของแสง 2. ทิศทางของแสง 3. ศิลปะทางแสง 4. แสงในงานสือ่ มวลชน

สาระสำคัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. แสงมี 2 ประเภท ได้แก่ แสงธรรมชาติ และ แสงประดิษฐ์ แสงธรรมชาติเป็นแสงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแสงสะท้อนจากแสงของดวงอาทิตย์ ความเข้มข้นของแสงจะเป็นอย่างไร มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ส่วนแสงประดิษฐ์เป็นแสง สิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นมาใช้ แทนแสงธรรมชาติ เพื่อการควบคุมตามที่ตนต้องการได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 2. แสงมี ท ิ ศ ทางต่ า งกั น พิ จ ารณาจากประเภทของแสงได้ ค ื อ ทิ ศ ทางแสงธรรมชาติ มีทิศทางจาก (1)แสงข้ามวัตถุ (Cross light) (2) แสงจากด้านหลังวัตถุ (Back light) และ (3) แสงตรงหน้าวัตถุ (Front light) ส่วนทิศทางแสงประดิษฐ์ มีทศิ ทางมาจาก (1) แสงจากไฟหลัก (Main light) (2) แสงจากไฟลดเงา (Complement light) (3) แสงจากไฟเสริม (Spot light) และ (4) แสงจากหลัง (Bak light) 3. แสงสามารถก่อให้เกิดงานทางศิลปะได้หลายประการ พิจารณาจากการนำแสงประดิษฐ์ มาใช้ประกอบกันโดยทีแ่ สงแต่ละประเภทมีหน้าทีท่ ต่ี า่ งกัน กล่าวคือ (1) แสงจากไฟหลัก เป็นแสง ทีส่ อ่ งไปยังใบหน้าให้อารมณ์ความรูส้ กึ ห่างประมาณ 8-10 ฟุต (2) แสงจากไฟลดเงา เป็นแสงทีช่ ว่ ย ให้แสงจากไฟหลักสมบูรณ์ขึ้น ทำให้เกิดสมดุลการส่องสว่างและลดความกระด้าง ฯลฯ (3) แสงจากไฟเสริมเป็นแสงทีส่ อ่ งผม หรือส่องเฉพาะจุด สร้างขอบภาพ และลดเงาส่วนเกิน และ (4) แสงจากหลัง เป็นแสงจากด้านหลังวัตถุ เพื่อแยกวัตถุจากฉากหลังหรือ ส่องฉากโดยทั่วไป เพือ่ ให้ได้รบั ปริมาณแสงทีส่ มดุล 4. แสงที่ใช้ในงานสื่อสารมวลชน จำแนกเป็น (1) สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ การผลิตภาพถ่าย การเตรียมต้นฉบับ การเตรียมแม่พิมพ์ (2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แสงในหรือนอกห้องรายการ 10

MC 211

มือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกประเภทของภาพได้ 2. อธิบายเทคนิคศิลปะทางภาพได้ 3. บอกแหล่งทีม่ าของภาพได้ 4. ระบุศลิ ปะทางภาพในงานสือ่ มวลชนได้

Study Guide

15


บทที่ 8 ศิลปะทางภาพ (Art of Photo and Illustration) เค้าโครงเรื่อง 1. ประเภทของภาพ 2. เทคนิคศิลปะทางภาพ 3. แหล่งทีม่ าของภาพ 4. ศิลปะทางภาพในสือ่ มวลชน

สาระสำคัญ 1. ภาพมี 2 ประเภท คือ ภาพถ่าย และภาพวาดหรือเขียน กล่าวคือ ภาพถ่ายเป็นภาพ ที่เกิดจากแสงสะท้อนจากวัตถุกลับไปที่ตา จะทำให้มองเห็นภาพวัตถุ ดังกล่าว ส่วนภาพวาดหรือ ภาพเขียน เป็นการสร้างสรรงานด้วย ปากกา ดินสอ พูก่ นั และอืน่ ๆ ทีท่ ำให้เกิดภาพ หรือกราฟิก ลักษณะของภาพมี 2 ประเภท คือ ภาพนิง่ และภาพเคลือ่ น กล่าวคือ ภาพนิง่ เป็นภาพทีว่ าด หรือเขียน หรือถ่ายภาพเดียว หรือหลายภาพ แต่ละภาพอิสระแก่กนั นำเสนอเป็นภาพ ๆ สำหรับภาพ เคลื่อนไหวเป็นการวาด หรือเขียน หรือถ่ายหลายภาพมีความต่อเนื่องกัน นำเสนอตาม ลำดับท ต่ี อ่ เนือ่ งให้เร็วดูเสมือนเป็นภาพเคลือ่ นไหวจึงพัฒนาเป็นภาพยนตร์ วิดโิ อ ชนิดของภาพ มี 2 ชนิด คือ ภาพฮาล์ฟโทน (Halftone) และภาพลายเส้น(Line aet) กล่าวคือ ภาพฮาล์ฟโทน เป็นภาพทีม่ คี วามเข้มข้นของสีลดหลัน่ กัน จากเข้มไปจาง ภาพมีแสงเงา เสมือนจริง ดังภาพถ่าย ภาพวาดทีว่ าดด้วย พูก่ นั หรือระบายด้วยดินสอ สำหรับภาพลายเส้นภาพ ทีค่ วามเข้ม ของสี สองแบบ คือ มีสี กับไม่มสี สี ว่ นทีม่ สี ี จะมองเห็น แต่ไม่มคี วามเข้มของสีลดหลัน่ กัน หรือเป็นสี 100% ดังภาพเขียน ทีเ่ ขียนด้วยปากกา ดินสอ 2. เทคนิคทางพิจารณาจาก (1) ระยะมองภาพ ได้แก่ใกล้มาก (big close) ใกล้ (close) ปานกลาง (medium) ไกล (long) ไกลมาก (very long) (2) มุมมองภาพ ได้แก่ มองต่ำ หรือก้มดู (tilt down) มองสูง หรือเงยดู (tilt up) มองตาม หรือหันตามดู (pan) มองรอบ ๆ หรือดูโดยรอบ (dolly) 3. แหล่งทีม่ าของภาพ ได้มาจากการผลิตทีเ่ ป็นเครือ่ งมือการผลิตแบบดัง้ เดิม คือ การเขียน หรือวาด ด้วยเครือ่ งเขียนปากกา ดินสอ ยางลบ สี พูก่ นั โต๊ะเขียนแบบ ไม้บรรทัด และจากการถ่าย ด้วยกล้องภาพนิ่ง หรือ กล้องวิดิโอ/ภาพยนตร์ (ระบบอานะล็อก) อาจเป็นกล้องทำงานอัตโนมัติ 14

MC 211

เพือ่ สนับสนุนการดำเนินในการผลิตรายการต่าง ๆ และใช้แสงชนิดใดขึน้ อยูก่ บั ฝ่ายสร้างสรร สำหรับหน้าทีแ่ สงนอกห้องรายการ ได้แก่ (ก) กำหนดตำแหน่ง เช่น แสงทำให้เห็นรูปทรง และบอกตำแหน่ง วัตถุวา่ อยู่ ณ ทีใ่ ดตรงไหน ตามสภาพแวดล้อมของแสง (ข) กำหนดพืน้ ผิว เช่น แสงที่ตกกระทบวัตถุ ทำให้เห็นพื้นผิวที่ต่างกัน เมื่อปริมาณแสงที่ต่างกัน (ค) กำหนดเวลา เช่น การควบคุมความเข้มข้น ระยะห่าง ทิศทาง หรือมุม เสมือนเป็นเวลากลางวัน กลางคืน เวลาเช้า สาย บ่าย เย็น ฤดูตา่ ง ๆ ร้อน ฝน หนาว ฯลฯ (2) หน้าทีแ่ สงในห้องรายการ เช่น (ก) สร้างอารมณ์และ บรรยากาศ โดยใช้แสงที่ต่ำหรือสูงกว่าระดับสายตาจะเกิดบรรยากาศ/อารมณ์ต่างกัน เมื่อการ กระจาย/ความเข้มข้นของแสงต่างกัน รวมทั้งตำแหน่ง ทิศทางของแสงเป็นปัจจัยหนึ่งด้วย (ข) บอกเหตุ การเปลีย่ นแสงให้ผดิ จากปกติทว่ั ไป การเคลือ่ นที่ ทีม่ าของแสงหรือแหล่งแสง จะทำให้ เกิดภาพ หรือสัญลักษณ์ หรือบ่งบอกเหตุ ทีก่ ำลังจะมาหรือจะไป หรือจะเกิดเหตุการณ์ อะไร (ค) หน้าในประกอบการแสดง แสงทีใ่ ช้ประกอบ การแสดง เป็นแสงทีแ่ รง เข้มข้นมากใช้โดยตรง เช่น ไฟส่องการแสดงคอนเสริตต่าง ๆ .

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกประเภทของแสงได้ 2. บอกทิศทางของแสงได้ 3. อธิบายหศิลปะทางแสงได้ 4. ระบุแสงในงานสือ่ มวลชนได้ 5. บอกตัวอย่างของแสงและหน้าทีไ่ ด้

Study Guide

11


บทที่ 7 ศิลปะทางสี (Art of Colours) เค้าโครงเรื่อง 1. ประเภทของสี 2. หลักการศิลปะทางสี 3. ศิลปะทางสีในสือ่ มวลชน

สาระสำคัญ 1. แม่สีมี 2 ประเภท คือ แม่สีบวก (Additive colors) เป็นสีของแสงที่ปรากฏในจอ อิเล็กทรอนิกส์ จอคอมพิวเตอร์ จอเครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ เมื่อสีสองสีรวมกันแล้วทำให้เพิ่ม ความสว่างขึน้ ปริมาณแสงมากขึน้ จึงเรียกขานว่า แม่สบี วก และแม่สลี บ (Subtractive colors) เป็นสี ทีใ่ ช้ทาบ้าน ใช้ระบายของนักเรียน เมือ่ สีสองรวมกันแล้วทำให้ความสว่างลดลง มืดลง คล้ำลง จึงเรียก ขานว่า แม่สลี บ 2. หลักทัว่ ไปทางสี เมือ่ นำแม่สบี วกหรือแม่สลี บมาผสมกันจะได้ระดับเฉดสีตา่ ง ๆ กัน เช่น การนำแม่สบี วก หรือแม่สลี บจัดในรูปวงกลม แล้วผสมสีทอ่ี ยูข่ า้ งเคียง ผสมกันจะได้สใี หม่ จากสีใหม่ ผสมกับสีข้างเคียงอีก สีที่ผสมกันแล้ว จะได้ระดับเฉดสีตามลำดับต่าง ๆ ดังตัวอย่างคือ เมื่อนำสี ปฐมภูมิซึ่งเป็นสีจากต้นตอ มาผสมกัน จะได้สีใหม่ เรียกขานว่า สีทุติยภูมิเป็นสีระดับที่สอง และเมือ่ นำสีทตุ ติยภูมไิ ปผสม กับสีขา้ งเคียงอีก จะได้สใี หม่ เรียกขานว่า สีตติยภูมเิ ป็นสีระดับทีส่ าม จากนัน้ ถ้านำสีตติยภูมไิ ปผสมสีขา้ งเคียงอีก ก็จะสีใหม่ เรียกขานว่า สีจตุยภูมเิ ป็นสีระดับทีส่ี ผสมไป เรือ่ ย ๆ จนพึงพอใจในสีทต่ี อ้ งการ อาจมีทผ่ี สมกันแล้วเป็นล้านสี ดังในคอมพิวเตอร์ทม่ี รี ะดับตัง้ แต่ สองสี สีส่ ี 256 สี หมืน่ สี ล้านสี ฯลฯ ดังนัน้ แม่สบี วก สามารถจำแนกการผสมสี ได้คอื (1) สีปฐมภูมิ (Primary Colors) เป็นสี จากต้นตอแหล่งสี ได้แก่ สีแดง สีเขียวและสีนำ้ เงิน (Red, Green, Blue) (2) สีทตุ ยิ ภูมิ (Secondary Colors) เป็นสีระดับทีส่ องเมือ่ ผสมกันระหว่างสีปฐมภูมแิ ล้ว ได้แก่ สีเหลือง (Yellow) ได้จากสีเขียว ผสมกับสีแดง และสีฟา้ (Cyan) ได้จากสีนำ้ เงินผสมกับสีเขียว สุดท้ายสีบานเย็น (Magenta) ได้จาก สีแดงผสมกับสีน้ำเงิน (3) สีตติยภูมิ (Tertiary Colors) เป็นสีระดับที่สามเมื่อนำสีระดับทุติยภูมิ ผสมกับสีขา้ งเคียงอีกและ (4) สีอน่ื ๆ (Other Colors) ทีผ่ สมกันไปเรือ่ ย ๆ แต่ถา้ นำสีปฐมภูมผิ สมกัน ทัง้ สามสีจะได้เสมือนสีขาว เป็นความสว่างสูงสุด เห็นสีตรงกลางจากโลโกสถานีโทรทัศน์ชอ่ ง7 สี แม่สลี บ สามารถจำแนกการผสมสี ได้คอื (1) สีปฐมภูมิ (Primary Colors) เป็นสี จากต้นตอ 12

MC 211

แหล่งสี ได้แก่ สีแดง สีเหลืองและสีนำ้ เงิน (Red, Yellow, Blue) (2) สีทตุ ยิ ภูมิ (Secondary Colors) เป็นสีระดับทีส่ องเมือ่ ผสมกันระหว่างสีปฐมภูมแิ ล้ว ได้แก่ สีมว่ ง (Violet) ได้จากสีนำ้ เงิน ผสมกับ สีแดง และสีเขียว (Green) ได้จากสีนำ้ เงินผสมกับสีเหลือง สุดท้ายสีสม้ (Orange) ได้จากสีแดงผสม กับสีเหลือง (3) สีตติยภูมิ (Tertiary Colors) เป็นสีระดับทีส่ ามหลังจากทีไ่ ด้นำ สีระดับทุตยิ ภูมผิ สม กับสีขา้ งเคียงอีก และ (4) สีอน่ื ๆ (Other Colors) ทีผ่ สมกันไปเรือ่ ย ๆ แต่ถา้ นำแม่สลี บผสมกันทัง้ สามสีจะได้สดี ำสนิท เสมือนไร้แสงสว่างอย่างทีส่ ดุ ตรงกันข้ามกับแม่สบี วก ทีก่ ล่าวแล้ว 3. สีในสือ่ มวลชน เป็นการนำคุณสมบัตติ า่ ง ๆ มาใช้ประโยชน์ คุณสมบัตขิ องสีมดี งั นี้ สี สีเรียกขาน (Hue) เป็นสีบริสทุ ธิ์ (Pure Colo)ยังไม่มกี ารผสม ไม่มกี ารปรับปรุงใด ๆ (UnMixed or UnModified) ค่าสว่างของสี (Value) เป็นความส่องสว่าง (Brightness) หรือน้ำหนักในความใส สว่าง หรือความมืดมัว (Degree of Lightness or Darkness) ความเข้มของสี (Intensity or Saturations or Chroma) เป็นการวัดค่าของสี (Measurement of Color) ความบริสทุ ธิข์ องสี (Purity of Color) ความเข้มข้นของสี (Strenght of Color) สีผสมจางลง(Tints) เป็นการผสมสีขาวเข้าไป ในสีเดิมให้เข้มจางลงกว่าสีปกติ (Lighter than Normal) สีผสมเข้มขึน้ (Shades) เป็นการผสมสีดำ เข้าไปในสีเดิมให้เข้มกว่าปกติ (Darker than Normal) สีในงานสื่อมวลชน ที่เป็นสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบัน มีสีที่ควรทำความเข้าใจ (Understanding Electronic Colors) ได้แก่ สีแดงเขียวน้ำเงิน หรือเรียกขานย่อ ๆ ว่า อาร์ จี บี (RGB มาจาก Red, Green, Blue) และสีฟา้ บานเย็นเหลืองดำ เรียกย่อ ๆ ว่า ซีเอ็มวายเค (CMYK มาจาก Cyan, Magenta, Yellow, Black ) รวมทัง้ ความบริสทุ ธิ์ ความเข้มและความสว่าง เรียกย่อ ฟ ว่า เอชเอสแล (HSL มาจาก Hue. Saturation. Lightness) ความหมายของสี สีแดง หมายถึง ความน่าทึง่ ตัญหา โลภ โกรธ หลง ตืน่ เต้น ความดุรา้ ย ความรุนแรง สีน้ำเงิน หมายถึง อำนาจ ความสุขุม ความเศร้า ความกลัว สีเหลือง หมายถึง ความอบอุน่ ความยินดี ความประทับใจ พรสวรรค์ สุขภาพดี สีสม้ หมายถึง ร่าเริง เบิกบาน มีพลัง สนุกสนาน ความสมบูรณ์ แข็งแรง สีมว่ ง หมายถึง โศรกเศร้า อาลัย ภูมฐิ าน เกียรติยศ ประหลาด วิเศษ โดดเดี่ยว หมดหวัง สีขาว หมายถึง บริสุทธิ์ สะอดา เปิดเผย ความนุ่มแน่น ความเยาว์ ภาวะปกติ และสีดำ หมายถึง ความตกต่ำ ความมืดคลึม้ เศร้าสลด ไร้จติ วิญญาณ ความตาย

จุดประสงค์การเรียนรู้ เมือ่ นักศึกษาได้เรียนทัง้ ในห้องเรียน และ/หรือ ศึกษาจากตำราแล้ว สามารถ 1. จำแนกประเภทของสีได้ 2. อธิบายหลักการศิลปะทางสีได้ 3. อธิบายคุณสมบัตทิ างสีได้ 4. ระบุการนำสีมาใช้ในงานสือ่ มวลชนได้ Study Guide

13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.