เครื่องเขินนันทาราม

Page 1

เครื่องเขินนันทาราม



เครื่องเขินนันทาราม


2 เครื่องเขินนันทาราม


เครื่องเขินนันทาราม ภาชนะเครื่องรัก หรือเครื่องเขิน เป็นภาชนะเครื่องใช้ที่สานด้วยไม้ไผ่ แล้วเคลือบด้วยรัก เขียนลวดลายประดับตกแต่งด้วยชาด ทองค�าเปลวหรือ เงินเปลว เป็นภาชนะเครื่องใช้ที่นิยมใช้กันในกลุ่มชาวไทเขิน เมืองเชียงตุง และ กลุ่มชาวล้านนาทางภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้าน ผลิตภาชนะเครื่องใช้ดังกล่าวอยู่ด้วย ซึ่งในภาษาพื้นเมืองเรียกสิ่งของเครื่องใช้ ประเภทนี้รวมๆ ไปว่า เครื่องฮักครัวหาง เครื่องฮักเครื่องหาง หรือ เครื่องฮัก เครื่องค�า บ้างทั้งนี้จะเรียกไปตามลักษณะการประดับตกแต่ง ว่าจะตกแต่งด้วย ชาดหรือ ปิดทองค�าเปลวและเรียกชื่อผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น ไปตามหน้าที่การ ใช้สอยของ ภาชนะนั้นๆ เช่น ขันดอก ขันหมาก ขันโอ หีบผ้า แอบ หมาก อูบ ปุง เป็นต้น ในกรณีที่ต้องการเรียกให้เห็นถึงความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ท�าภาขนะนั้น ก็จะเรียกภาชนะนั้นให้ชัดเจน เช่น ขันฮัก หรือบางทีจะเรียกไปตามวัสดุที่ใช้ ตกแต่งด้วยว่า ขันฮักขันหาง หรือ ขันฮักขันค�า เป็นต้น แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน นี้จะเรียกภาชนะเครื่องใช้เหล่านี้ว่า เครื่องเขิน

<< วิหารหลวงพ่อเพชร ในวัดนันทารามที่ชาวไทเขินอพยบเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ เป็นอาคาร ปูนศิลปะล้านนา ประดับด้วยลายปูนปั้นพรรณพฤกษา ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อเพชร” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด อายุมากกว่า ๕๐๐ ปี

เครื่องเขินนันทาราม 3


ภาชนะเครื่องรักหรือเครื่องเขินที่พบในเขตเมืองเชียงใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. เครื่องเขินแบบพื้นบ้านมีลักษณะเป็นงานเครื่องสานที่ทาด้วยยางรักเพียงไม่กี่ ครั้ง และประดับตกแต่งอย่างง่าย ส�ำหรับเป็นของใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เครื่อง เขินชนิดนี้คงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ชาวล้านนาแต่ดั้งเดิมสามารถผลิตขึ้นใช้เอง ภายในครัวเรือนได้ 2. เครือ่ งเขินเชียงใหม่หรือเขินนันทาราม เครือ่ งเขินนีม้ โี คตรงสร้างเป็นโครงสาน ลายขัดด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ ทีม่ กี ารเหลาให้ได้ขนาดเล็ก เรียบบางคล้ายทางมะพร้าว สานขัดกับตอกเส้นบางแบนเป็นรูปแฉกรัศมีจากก้นของภาชนะจนได้รูปทรงตาม ที่ต้องการ โดยไม่ต้องมีการดามโครงให้แข็งเป็นที่ที่ เครื่องเขินชนิดนี้จะมีโครงที่ แน่นแข็งแรง เรียบเสมอกันโดยตลอด เมื่อทารักสมุก แล้วขัด ก็จะได้รูปภาชนะ

4 เครื่องเขินนันทาราม


ที่ค่อนข้างเรียบ เกลี้ยงบาง และมีความเบา การตกแต่งเครื่องเขินชนิดนี้มี ลักษณะเด่นที่นิยมการขูดลาย หรือภาษาพื้นถิ่นเรียกกว่า ฮายดอก เมื่อฮาย ดอกเสร็จแล้ว จึงน�ำยางรักทีผ่ สมกับสีชาดถมลงไปในร่องทีก่ รีดไว้ เมือ่ ขัดแล้วจะ มองเห็นเส้นลวดลายสีแดงฝังอยูใ่ นพืน้ ด�ำ เครือ่ งเขินในกลุม่ นีม้ กั จะท�ำเป็นสิง่ ของ เครื่องใช้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น ขันหมากหรือเชี่ยนหมาก ขันดอก ขันน�ำ้ ขัน โอ ขันโตก แอบใส่ของ แอ็บในขันหมาก ถาด กระโถน ตลอดจนกล่องคัมภีร์ ฝาบาตร และเชิงบาตร เป็นต้น 1. เครื่องเขินแบบสันป่าตองหรือแบบพื้นเมือง เครื่องเขินแบบนี้ส่วนใหญ่มีโครง สานเป็นลายขัดหรือขดให้เกิดรูปทรงแบบต่าง ๆ มีการดามและรัด ขอบเป็น ชั้นๆ ให้เกิดความแข็งแรงและสวยงามด้วยตอกหรือหวาย การประดับตกแต่ง เกิดลวดลายของการสานเส้นตอกไม้ไผ่ในบางส่วน และอีกหลายส่วนเป็นการ ถมพื้นให้เรียบ เขียนลวดลายด้วยสีชาดแดงบางก็มีการแตะทองค�ำเปลว เน้น ส่วนส�ำคัญของลวดลายให้เด่นชัดขึ้น เครื่องเขินแบบนี้มักจะเป็นสิ่งของ เครื่องเขินนันทาราม 5


6 เครื่องเขินนันทาราม


เครื่องใช้ขนาดใหญ่ เช่น ขันหมากทรงกระบอก และของจุกจิกทั่วไป กระบุงเล็ก หรือขัน โอส�ำหรับใส่ของถวายพระและเครื่องประกอบพิธีกรรม หีบใส่ผ้าขนาด ปานกลางส�ำหรับพิธีแต่งงาน เป็นต้น ในภาคกลางก็มีการท�ำภาชนะเครื่องรัก คล้ายคลึงกับการท�ำภาชนะเครื่องเขินของภาคเหนือยอยู่เหมือนกัน แต่เรียกว่า ภาชนะลายก�ำมะลอ ภาชนะที่เป็นลายก�ำมะลอส่วนมากจะลงพื้นด้วยชาด ตัด เส้นลายด้วยรัก หรือบางทีก็พื้นเป็นสีรัก ตัวลายเป็นสีแดงชาดหรือสีอื่นๆ สีที่ใช้ เขียนส่วนมากเป็นสีฝุ่นผสมรักเป็นสีพื้นๆ ลายก�ำมะลอนิยมเขียนลงบนภาชนะ เครื่องใช้ที่มีขนาดใหญ่ เช่น หีบใส่เสื้อผ้าโบราณ แอบใส่ข้าวเหนียว พานไม้ และ หีบใส่บุหรี่ เป็นต้น เครื่องเขินเชียงใหม่ ตั้งแต่เดิมคนในเมืองเชียงใหม่และบริเวณใกล้เคียงมีการท�ำเครื่องเขินแบบ พื้นเมืองอยู่แล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องเขินประเภทใช้โครงสานด้วยไม้ไผ่ ทาด้วย ยางรักเพียงไม่กี่ครั้งและตกแต่งประดับประดาอย่างง่าย ๆ ส�ำหรับของใช้ประจ�ำ วันและภาชนะในพิธีกรรม ต่อมาเมื่อมีการน�ำเอาชาวไทเขินเข้ามาเป็นช่างท�ำ เครื่องเขิน ตามแบบอย่างที่เคยท�ำมาเมื่อครั้งอยู่ในลุ่มน�ำ้ขืนที่เชียงตุงรูปแบบ เครื่องเขินใหม่ ๆ จังได้เกิดขึ้นในระยะหลัง จากการผสมผสานรูปแบบดั้งเดิม ของเชียงใหม่ กับรูปแบบจากเชียงตุง เพื่อการสนองตอบความต้องการและ รสนิยมใหม่ในล้านนา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเครื่องเขินเชียงใหม่สามารถจ�ำแนก ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ได้คือ “แบบพื้นเมือง” ซึ่งพบมากในชนบทของ เชียงใหม่ และ “แบบเครื่องเขินวัวลาย” ซึ่งเรียกชื่อตามละแวกหมู่บ้านที่มรการ ผลิตเครื่องเขินของเมืองเชียงใหม่ ในเขตวัวลาย บ้านนันทาราม

เครื่องเขินนันทาราม 7


8 เครื่องเขินนันทาราม


เครื่องเขินนันทาราม ต�ำบลหายยา เครื่องเขินถือเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยทางภาคเหนือที่มีความเป็น งานประณีตศิลป์อย่างหนึ่ง ด้วยการน�ำวัสดุในท้องถิ่นตามธรรมชาติมาประดิษฐ์ เป็นภาชนะเครื่องใช้สอยต่างๆ ด้วยลวดลายทั้งประดับด้วยสี ชาด มุก ทองค�ำ เปลว เปลือกไข่ได้อย่างงดงาม เครื่องเขินทางภาคเหนือได้มีการพัฒนาใดด้านการใช้โครงภาชนะอย่าง มากมาย มีทั้งโครงวัสดุจ�ำพวก โลหะ พลาสติก ดินเผา ตลอดจนการใช้ กระอัด รวมถึงมีการตกแต่งลวดลายแบบใหม่ๆ กรรมวิธีการลงรักก็ยังคงใช้รูป แบบวิธีอย่างเดิม ที่เรียกกว่าการลงยางรัก ซึ่งจะเรียกงานพวกนี้ว่าเครื่องเขิน ส่วนวิธีการลงยางรักแล้วปิดทองจ�ำพวก ประตู หน้าต่าง หรือช่อฟ้า จะเรียกว่า งานลงรักปิดทอง

เครื่องเขินนันทาราม 9


10 เครื่องเขินนันทาราม


เครื่องเขินแบบฮายดอก หรือลายขุดบ้านนันทาราม 1. ใช้ไม้ไผ่เฮียะจักเป็นเส้นแบน โดยการผ่าเป็นซีกขนาด 1 ซ.ม. เอาผิวออกและ จักเป็นเส้นยาว ๆ เพื่อเตรียมสานขึ้นรูปเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ 2. การขึ้นโครง โดยสานเส้นตอกปื้นเป็นโครงแล้วน�ำเส้นตอกกลมสานขึ้นรูป ภาชนะขันโอเล็ก 3. น� ำ แบบไม้ ข นาดเท่ า กั บ ขั น โอมาทาบกั บ เส้ น ตอกที่ ส านเตรี ย มไว้ เ ป็ น ก้ น ภาชนะ ใช้เชือกผูกเข้ากับแบบแล้วดันโครงพร้อมกับสานให้เข้ากับแบบจนถึง ส่วนปากโอ จะได้ภาชนะที่สานเสร็จพร้อมที่จะลงยางรักชั้นแรก 4. เมื่อได้เป็นรูปโครงร่างต่าง ๆ น�ำยางรักทาขอบปากโอเพื่อเก็บขอบเส้นตอก กันไม่ให้หลุด ทิ้งไว้ให้แห้ง 5. น�ำกากยางรักทาจนทั่วภาชนะ หรือโครงประเภทไม้ไผ่ และน�ำภาชนะไปผึ่ง อากาศบนตะแกรงไม้ในบริเวณที่มีความชื้นจะท�ำให้แห้งเร็ว 6. เมื่อยางรักแห้งแล้ว เอาเหล็กปลายแหลม ขูดตกแต่งผิวที่ขรุขระให้เรียบ โดย ใช้เครื่องกลึงให้เรียบทั้งด้านนอกและด้านใน แล้วใช้กระดาษทรายขัดผิว ภาชนะให้ผิวเรียบเนียน 7. น�ำมาลงสมุก (เรียกสมุกว่า “มุก”) สมุกเหล่านี้ส่วนผสมของน�ำ้รักกรองแล้ว 3 ส่วนผงขี้เถ้าแกลบเผาต�ำละเอียด 1 ส่วน (เมื่อทาสมุกที่ขอบปากด้านนอก แล้ว ผึ่งไว้ให้แห้งประมาณ 7 วัน) ปัจจุบันได้ใช้ดินสอพองแทนผงขี้เถ้าแกลบ เป็นส่วนผสมของสมุกรัก เครื่องเขินนันทาราม 11


12 เครื่องเขินนันทาราม


8. ลงสมุกทั้งด้านนอกและด้านใน ผึ่งไว้ให้แห้งด้านละ 2 วัน สมุกตอนนี้ส่วนผสม คือ น�ำ้รักที่กรองแล้ว 1 ส่วน ดินเหนียวละเอียดร่อนแล้ว 1 ส่วน น�ำ้ 1 ส่วน เมื่อแห้งแล้วใช้กระดาษทรายขัดทั้งด้านนอกและด้านในให้เรียบแล้วทาสมุก เหลว (มุกเหลว) อีกครั้งหนึ่ง ผึ่งไว้ให้แห้งด้านละ 2 วัน (ถ้าหากเป็นฤดูฝนจะ แห้งประมาณ 4 วัน) 9. ทารักที่กรองแล้ว ทั้งด้านในและด้านนอก ผึ่งไว้ให้แห้ง (ด้านในและด้านนอก ใช้เวลาอย่างละ 2 วัน) แล้วขัดให้เรียบใช้กระดาษทรายน�ำ้เบอร์ 220 ,800 ทั้ง ด้านนอกด้านใน ผึ่งไว้ให้แห้งใช้เวลา 2 วัน จากนั้น (ทารักและท�ำตามขั้นตอน เดิมอีก 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 3 ครั้ง) 10. น�ำมาลงรักเงา (รักเงาอย่างดีที่ 1 กรองแล้ว) หรือถ้ารักไม่ดี ควรใช้ส่วนผสม ดังนี้ รักดิบ 2 กิโลกรัม รักเชื้อ 1 ถ้วย แมกนีเซียม 5 กรัม โปแตสเซียม 1 กรัม น�ำ้ 100 กรัม น�ำ้มันถั่ว 150 กรัม น�ำโปแตสเซียมไปตั้งไฟให้ละลาย และน�ำ น�ำ้มันถั่วไปตั้งไฟให้อุ่น น�ำไปกวนกลางแดด ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ก่อนจะน�ำ ไปทาต้องตักออกใส่ถ้วยแก้ว ใส่น�ำ้มันสนกวนให้เหลวเข้ากันดี แล้วใช้ผ้าขาว บางและกระดาษสารองหลาย ๆ ชั้น กรองเสียก่อนจึงทาได้ การลงรักเงานั้น ลงด้านนอกแล้ว น�ำไปอบในห้องอบให้แห้งประมาณ 7 วัน เมื่อแห้งแล้วทารัก เงาด้านใน แล้วน�ำเข้าห้องอบประมาณ 10 วัน เพื่อให้พื้นรักแข็งน�ำไปขุด

เครื่องเขินนันทาราม 13


14 เครื่องเขินนันทาราม


ลวดลายได้ดีการทารักเงาเป็นการทาครั้งสุดท้ายของขั้นตอนการลงรัก จึง ต้องผึ่งในห้องเพื่อป้องกันฝุ่นละอองไปติด ถมด้วยทรายแล้วเอาน�ำ้ใส่พอให้มี ความชุ่มชื้น จะท�ำให้รักแห้งเร็วขึ้น 11. การฮายดอกหรือขุดด้วยเหล็กมีคมหรือแหลม เป็นลวดลายตามถนัด 12. การท�ำลายสีโดยการใช้สีฝุ่นผสมกับน�ำ้ปูนใส (ปูนขาว) ให้ส่วนผสมเท่า ๆ กัน ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดให้เรียบ น�ำ้สีจะติดอยู่ในร่องที่แกะหรือขุดไว้เป็น สีต่าง ๆ ตามที่ต้องการส่วนที่เหลือก็เป็นสีด�ำตามสีรัก ในสมัยก่อนเมื่อ 60-80 ปีมาแล้ว ใช้น�ำ้ปูนขุ่นผสมวัตถุอื่น ๆ เป็นน�ำ้สี เช่นสีขาวก็ใช้น�ำ้ปูนขาวล้วน สีส้มใช้น�ำ้ปูนกับขมิ้น สีเหลืองใช้น�ำ้ปูนกับหรดาล (แร่ชนิดหนึ่งเป็นสีเหลือง เมื่อจะใช้น�ำมาผสมกับน�ำ้จะได้สีเหลืองขุ่น ๆ ขณะนี้ยังนิยมใช้หรดาลอยู่กับ เครื่องเขินลายขุด) ถ้าเป็นสีแดงจะใช้น�ำ้ปูนแดงผสมสีเสียดและขมิ้น ปูนนี้ เวลาผสมจะเดือดปุด ใส่เกลือผสมลงไปเล็กน้อย น�ำ้สีอย่างนี้ใช้ทาลงไปบน ภาชนะแล้วเอาผ้าเช็ด สีจะติดอยู่ในร่องที่แกะหรือขุดไว้ แต่ขณะนี้นิยมใช้สี ฝุ่นกันมาก การตกแต่งลวดลายบนเครื่องเขิน การตกแต่งลวดลายลงบนเครื่องเขินที่เป็นแบบดั้งเดิมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การ เขียนลายขูด และการเขียนลาย ปิดทองรดน�้ำ ส่วยการตกแต่งแบบอื่นๆ นั้น เช่น การใช้เปลือกไข่ เกล็ดมุกมาตกแต่งประดับเป็นลวดลาย หรือมีการน�ำเอา เทคนิครักสีมาใช้ ท�ำให้เครื่องเขินมีสีสันแปลกตาแตกต่างออกไป มีการน�ำเอาสี อะครีลิคมาใช้เขียนสีบนผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการน�ำเอา เทคนิคการตกแต่งผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่ามาใช้อีกด้วย เหล่านี้ถือเป็น เทคนิควิธีสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาในภายหลัง

เครื่องเขินนันทาราม 15


16 เครื่องเขินนันทาราม


เทคนิคการขูดลาย เป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดของหม่า คือ วิธีขูดผิวหรือจารให้เป็นลวดลายโดย มีรักด�ำเป็นพื้นลานที่ขูดออกเป็นร่องตื้นๆ จะถูกถามด้วยยางรักผสมสีต่างๆ เช่น สีชาดออกส้ม หรือแดง บางครั้งเป็นสีเขียว ซึ่งในการท�ำแต่ละขั้นตอนนั้นใช้เวลา นานดังนั้นการที่จะได้เครื่องเขินมาแต่ละชิ้นจึงใช้เวลานานเป็นอย่างมาก เครื่องเขินชนิดนี้มีโครงสร้าง เป็นโครงสานลายขัดด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ที่มีการ เหลาให้ได้ขนาดเล็กเรียบบางคล้ายทางมะพร้าวสานขัดกับตอกเส้นบางแบนเป็น รูปแฉกรัศมีจากก้นของภาชนะจนได้รูปทรงตามความต้องการ โดยไม่ต้องมีการ ดามโครงให้แข็งเป็นที่ ที่เครื่องเขินชนิดนี้จะมีโครงที่แน่นแข็งแรงเรียบเสมอกัน โดยตลอด เมื่อทารักสมุกแล้วขัดก็จะได้รูปภาชนะที่ค่อนข้างเรียบเกลี้ยงบาง และมีความเบาการตกแต่งของเครื่องเขิน ชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่นิยมการขูดลาย หรือภาษาพื้นถิ่นว่า ฮายดอก เทคนิคการตกแต่งผิดภาชนะด้วยวิธีการขูดลายนี้ ภาชนะที่จะท�ำลวดลายได้จะต้องมีผิวบาง รักที่แห่งสนิทและเรียบ การฮายดอก ต้องใช้เหล็กปลายแหลมได้จะต้องมีผิวบาง รักที่แห้งสนิทและเรียบร้อย การ ฮายดอก ต้องใช้เหล็กปลายแหลมคล้ายเหล็กจาร ใบลานกรีดลงไปบนผิวยางรัก ของภาชนะ การฮายดอกต้องอาศัยความช�ำนาญเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่ให้เกิด เส้นลึกมาก จนยางรักกะเทาะออก หรือแผ่วเบาเกินไปจนท�ำให้ลวดลายมองเห็น ได้ยาก เมื่อฮายดอกเสร็จแล้วจึงน�ำยางรักที่ผสมกับ ชาดสีแดงถมลงไปในร่องที่กรีด ไว้รอให้แห้งอีกหลายวันแล้ว จึงจะขัดส่วนนอกสุดออกจนมองเห็นเส้นลวดลาย สีแดงฝังอยู่ในพื้นที่สีด�ำของยางรัก จากนั้นจะเคลือบด้วยยางรักใสหรือรักเงา เพื่อเป็นการปิดเคลือบลวดลายทั้งหมดให้ติดแน่นกับภาชนะเครื่องเขินเหล่านั้น

เครื่องเขินนันทาราม 17


18 เครื่องเขินนันทาราม


เทคนิคการเขียนลาย (ปิดทองรดน�้ำ) การเขียนลายทองรดน�ำ้ หลังจากเตรียมพื้นรักขัดผิวและแห้งสนิทแล้วก็ เตรียมการท�ำลวดลาย โดยการเขียนลายลงบนภาชนะเลย หรือจะใช้แบบปรุ ก็ได้ แบบปรุท�ำจากกระดาษไขใช้เข็มปรุเป็นรูตามลาย จากนั้นใช้ดินสอพองเผา ไฟบดละเอียดห่อผ้าขาวบางท�ำเป็นลูกประคบแตะลงไปบนลายปรุสร้างเป็นลาย แล้วเขียนลายด้วยน�ำ้ยาหรดาล ซึ่งได้มาจากหิน มีสีเหลือง น�ำมาละลายโดยฝน กับหินลับมีด ผสมน�ำ้แล้วเขียนลงบนพื้นรักบริเวณที่ไม่ต้องการให้ทองติด จาก นั้นน�ำรักใสอย่างดี มาทาบางๆ แล้วน�ำทองค�ำเปลวมาปิดให้ทั่วจนเต็ม ถูทองค�ำ เปลวให้ติดแน่นดี น�ำไปล้างน�ำ้หรือรดน�ำ้ ทองค�ำเปลวที่ปิดไว้บน ส่วนที่เป็นน�ำ้ ยาหรดาลจะพองตัว หลุดร่อนออกไป เหลือแต่ส่วนที่ เป็นลวดลายทองที่ไม่ได้ลง น�ำ้ยาหรดาล

เครื่องเขินนันทาราม 19


ประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในปัจจุบัน เครื่องเขิน ในปัจจุบันถือว่าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่มนุษย์ สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยมิได้อาศัยเครื่องจักร ท�ำด้วยฝีมือตนเอง จะ เป็นการเลียนแบบจากสิ่งที่พบเห็นหรือตามความต้องการที่จะน�ำไปใช้งาน และ การตกแต่ง ประดับประดาให้สวยงามตามความเหมาะสม เช่น ตลับ ถาด แจกัน ขันน�ำ้ แอบยา กล่องใส่ยาเส้น เชี่ยนหมาก เป็นต้น รูปทรงของเครื่องเขิน เป็นการก�ำหนดรูปแบบของวัตถุด้วยการออกแบบ หรือสิ่งที่ผลิตขึ้นให้ได้ซึ่ง ความต้องการของผู้ใช้สอยความบันดาลใจของผู้ผลิต ที่มีรูปลักษณะ รูปร่าง รูปทรงของเครื่องเขินมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมมีส่วนส�ำคัญในการก�ำหนดการออกแบบรูปทรง อันประกอบด้วย ความงาม ความรู้สึก และการขึ้นรูปด้วยมืออย่างมาก งานเครื่องเขินจึงได้รับ การพัฒนาให้มีคุณค่าทั้งการผลิต การออกแบบและรูปทรงต่างๆ การสร้างรูป ทรงของเครื่องเขินแตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอยจองเครื่องเขินแต่ละชนิด

20 เครื่องเขินนันทาราม


เครื่องเขินนันทาราม 21


22 เครื่องเขินนันทาราม


ซึ่งถือได้ว่า เป็นลักษณะพิเศษไม่เหมือนเครื่องใช้อย่างอื่น สิ่งที่น่าสนใจอย่าง มาก คือรูปแบบต่างๆ ตามหน้าที่ใช้สอย และการเน้นฝีมือการช่าง ความคิด สร้างสรรค์ที่ใช้วัสดุพื้นบ้านมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพี่อการด�ำรงชีวิตประจ�ำวันได้ เป็นอย่างดี งานเครื่องเขินเป็นลักษณะงานหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรม ซึ่งมี ความคล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างกัน ช่างหัตถกรรมมีความสามารถเชิง ศิลปะสูง สามารถสร้างงานให้มีความงดงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ใช้ผู้ชม อาจถือ ได้ว่างานหัตถกรรมนั้นเป็นงานศิลปหัตถกรรมมากกว่า จะท�ำเพื่อนใช้งานเท่านั้น ดังนั้นงานเครื่องเขินจึงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย ความงามและทั้ง ขบวนการผลิต การสร้างสรรค์ ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความประสาน สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ใช้ปัจจุบัน รูปทรงของผลิตภัณฑ์เครื่องเขินจึงมี บทบาทควบคู่กับหน้าที่ใช้สอยจองผลิตภัณฑ์ แต่ละประเภทอย่างมาก ดังนั้น คุณสมบัติและหน้าที่ใช้สอยของรูปทรงผลิตภัณฑ์จึงจัดแบ่งออกได้ 4 ประเภท ใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อบรรจุของเหลว เช่น กระบอก กระป๋อง ขวด ถ้วย จาน ชาม โถ ตลับ แจกัน เป็นต้น 2. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อบรรจุของแข็ง เช่น กล่อง ตลับ หีบ กลัก ถ้วย จาน โถ ตู้ ถาด เป็นต้น 3. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อการประดับตกแต่งกาย เช่น ก�ำไล ต่างหู สร้อย คอ หวี งอบ เป็นต้น 4. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อการใช้สอยตกแต่งอาคารบ้านเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ตั่ง ชิ้นงานแกะสลักต่าง ๆ เป็นต้น

เครื่องเขินนันทาราม 23


24 เครื่องเขินนันทาราม


งานเครื่องเขิน พอที่จะแบ่งแยกที่มาของรูปทรงได้ คือ รูปทรงธรรมชาติ รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงประดิษฐ์และรูปทรงอิสระรูปทรงธรรมชาติ ได้แก่ รูป ทรงจากพืชพรรณไม้ และรูปทรงจากสัตว์รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ รูปทรง กระบอก รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงรี รูปทรงแปดเหลี่ยม และรูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงประดิษฐ์ เป็นรูปทรงที่เกิดจากจินตนาการของนักออกแบบโดยดัดแปลง มาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ ตัวรูปทรงอิสระ เป็นลักษณะของรูปทรงที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น มา มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามความคิดฝันของผู้ออกแบบอาจจะมี ความคล้ายคลึงกับ ธรรมชาติเดิมของวัตถุนั้นๆ เช่น คลื่นน�้ำ หยดน�้ำ เป็นต้น ความหลากหลายในรูปลักษณ์ของลายที่ปรากฏบนงานเครื่องเขิน สามารถแบ่ง แยกจัดหมวดหมู่ได้ตามลักษณะที่เรียกขานกันทั่วไปได้ดังนี้ 11. ประเภทลายประดิษฐ์ ได้รับความบันดาลใจจากลายไทยซึ่งเป็นศิลปะประจ�ำ ชาติน�ำมาออกแบบให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์เครื่องเขินและประโยชน์ใช้สอย 22. ประเภทลายเลียนแบบธรรมชาติ ได้แก่ ลายดอกไม้ ลายภาพสัตว์และภาพ ทิวทัศน์ 33. ประเภทเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี ชาดก ศาสนา และความเชื่ออื่นๆ 44. ประเภทเบ็ดเตล็ด มีการเขียนลวดลายลงบนผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปทรงตัวสัตว์ ต่างๆ โดยลวดลายเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากลายไทย แต่ดัดแปลงให้ดูง่าย

เครื่องเขินนันทาราม 25


26 เครื่องเขินนันทาราม


เครื่องเขินในปัจจุบัน ปัจจุบันเครื่องเขินนันทารามมีการเก้าตามโลกที่ดีและทันสมัยมาก เพื่อให้คน รุ่นหลังได้เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมกัน เครื่องเขินในปัจจุบันมีการผลิตออก มาหลายรู ป แบบอย่ า งมากเพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของโลกในปั จ จุ บั น เครื่องเขินถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการวิวัฒนาการที่ดีในเข้ากับสมัยนี้และ ทุกๆ ยุคทุกสมัยเลย แต่ก็ยังคงเดิมที่เครื่องเขินมักจะเป็นสิ่งของที่ใช้เสมอ ความสวยงาม ความเป็นไทย ท�ำให้ในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมจากคนรุ่นหลัง เครื่องเขินในปัจจุบันนอกใจได้รับความนิยมภายในประเทศแล้วยังได้รับ ความ นิยมจากต่างชาติอีกด้วยเนื่องจากสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องเขินพวกนี้ มีทั้งความ สวยงามเดิม ที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก นอกจากความ สวยงามแล้ว ยังเป็นความทนทานด้วย สามารถท�ำสินค้าเกี่ยวกับเครื่องน�ำไป ใช้ได้จริงไม่ใช้เป็นเพียงของประดับตกแต่ง และที่มาแรงในปัจจุบันก็เป็นพวก เครื่องประดับเขิน ที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงส่วนมาก เพราะท�ำให้เห็นถึง ศิลปะไทยที่ละเอียดอ่อนสวยงามไม่แพ้เครื่องประดับต่างชาติ และราคาก็ไม่ได้ แพงมาก ทั้งหมดนี้อาจจะเป็ฯการแปลงโฉมสินค้าหัตถกรรมไทยประเภท เครื่องเขิน ครั้งใหญ่เลยทีเดียว เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าของใช้ในบ้านไปสู่ ของใช้ในชีวิตประจ�ำวัน และเข้าสินค้าที่คนรุ่นใหม่สามารถใช่ได้ ทั้งสินค้าเคส โทรศัพท์มือถือ เคสไอแพด ไปจนถึงทัมบ์ไดรฟ์ การสร้างสินค้าให้เข้าถึงลูกค้าได้ ทุกกลุ่ม ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นการปรับลุค ของเครื่องเขินจากเดิมจะมี ลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่เป็นแฟนพันธุ์แท้เครื่อง เขิน ที่นิยมน�ำไปใช้เป็นของตกแต่ง บ้าน ของใช้ในวัด หรือส่งออกไปต่างประเทศ การขยายกลุ่มสินค้าเครื่องเขินไป ยังสินค้ากลุ่มไอทีหลากหลายมิติ ทั้งเคสโทรศัพท์มือถือเคสไอแพดหรือสินค้าไอที ต่างๆ รวมทั้งมีการน�ำวัสดุโพลีเมอร์มาผสมใช้กับงานไม้ เพื่อให้สินค้ามีความ คงทนและมีสีที่ติดทนนาน คงลวดลายไทยไว้ได้ยาวนาน จึงได้สินค้าแต่ละแบบที่ มีเอกลักษณ์ และสินค้าบางรายการมีชิ้นเดียวในโลก เครื่องเขินนันทาราม 27


28 เครื่องเขินนันทาราม


เครื่องเขินนันทาราม © 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สิริญา จิโนตัน สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย สิริญา จิโนตัน ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Sarabun New หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เครื่องเขินนันทาราม 29



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.